You are on page 1of 22

หน้า 1

หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญ (Constitution) คือ กฎหมายที่บอกลักษณะหรือรูปแบบการบริหารประเทศว่าบริหารอย่างไร ใครเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด
และใช้อํานาจอย่างไร ประชาชนในประเทศมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้าง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กําหนดระเบียบแห่งอํานาจสูงสุดในรัฐ
เช่น กําหนดระบอบการปกครอง กําหนดรูปแบบและการใช้อํานาจอธิปไตย กําหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน แนวนโยบายแห่งรัฐ
เป็นต้น
รัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นจะใช้ไม่ได้
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20
จัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557–2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของไทยที่ผ่านการลงประชามติ
โดยรัฐธรรมนูญฉบับนีส้ มเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.
2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสติ กรุงเทพมหานคร
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นผูร้ ับสนองพระราชโองการ
หลังจากการประกาศใช้แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีการแก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2564 โดยแก้ไขประเด็น บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2
ใบ และแบ่งจํานวน ส.ส.ใหม่
16 หมวด 279 มาตรา
หน้า 2
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
หน้า 3
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

1. หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
1. จัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่
2. เพิ่มประสิทธิภาพของศาลและองค์กรอิสระ
3. มุ่งคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
4. กําหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน
5. ขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
6. วางแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศ
7. สร้างกลไกการปฏิรูปประเทศและลดความขัดแย้ง
2. โครงสร้างและสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
หมวดที่ ชื่อหมวด สาระสําคัญ
1 บททั่วไป บทบัญญัติที่เป็นบททั่วไปที่แสดงถึงรูปแบบและการปกครองของรัฐ การแบ่งแยกอํานาจและการใช้อํานาจนั้น
รวมถึงการรับรองถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความ
คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ มาตราที่สําคัญ เช่น
- มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
- มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- มาตรา 3 อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริยผ์ ู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทาง
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2 พระมหากษัตริย์ บทบัญญัติในหมวดนี้กําหนดขึ้นเพือ่ รองรับพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ ในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3 สิทธิและ หมวดนี้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรได้รับความคุม้ ครองจากรัฐเพื่อที่จะสามารถรักษาศักดิ์ศรี
เสรีภาพของ ความเป็นมนุษย์ไว้ได้ โดยห้ามมิให้รัฐใช้อํานาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของ
ปวงชนชาวไทย ประชาชนโดยไม่มเี หตุอันสมควร หรือเกินจําเป็น
4 หน้าที่ของปวง กําหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในฐานะประชาชนชาวไทย
ชนชาวไทย

5 หน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จึงได้กําหนดให้มีหมวดว่าด้วย “หน้าที่ของรัฐ” อันเป็น


หมวดใหม่ที่บัญญัติขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชนว่า รัฐต้องดําเนินการอันเป็น
หน้าที่ของรัฐตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดตามกําลังความสามารถทางการเงินการคลังของรัฐ เพื่อให้สิทธิของ
ประชาชนในเรื่องสําคัญ ๆ เกิดเป็นรูปธรรมโดยที่ประชาชนไม่ต้องเรียกร้อง การใช้ถ้อยคําจะใช้ว่า “รัฐต้อง ...”
ซึ่งมีนัยสําคัญว่า เป็นการบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติ
6 แนวนโยบาย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กําหนดบทบัญญัติหมวดนี้เพื่อใช้เป็น
แห่งรัฐ แนวทางให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดความ
ต่อเนื่องและสม่ําเสมอในการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม หากรัฐไม่ดําเนินการหรือไม่อาจดําเนินการ
ได้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ แต่รัฐต้องรับผิดชอบทางการเมือง ในหมวดนี้จึงใช้คําขึ้นต้นของแต่ละ
มาตราว่า “รัฐพึง...”
7 รัฐสภา บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง องค์ประกอบ และวิธีทํางานของรัฐสภา อันถือว่าเป็น
ผู้แทนของปวงชนชาวไทยและเป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
1) ส่วนที่ 1 บททั่วไป เป็นบทบัญญัติว่าด้วยองค์ประกอบของรัฐสภา หน้าที่และอํานาจของประธานและ
รองประธานฝ่ายนิติบญ ั ญัติ การพิจารณากฎหมาย รวมทั้งหลักเกณฑ์การพิจารณาเกีย่ วกับการสิ้นสุด
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
หน้า 4
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
2) ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร บทบัญญัติในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การดําเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้ง รวมทั้งวิธีการคํานวณเพื่อหาสัดส่วนจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อ
3) ส่วนที่ 3 วุฒิสภา บทบัญญัติในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับสมาชิกวุฒิสภา ทั้งองค์ประกอบ ที่มา หน้าที่และ
อํานาจ โดยมีหลักคิดพื้นฐานว่า วุฒิสภามิได้เป็นสภาพี่เลีย้ งเหมือนในอดีต หากเป็นสภาที่จะช่วยให้
กฎหมายที่จะตราขึ้นนั้นมีความละเอียดรอบคอบ และมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยประชาชน
จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคมมีส่วนร่วมในการพิจารณากฎหมายได้อย่างแท้จริง ดังนั้น
ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้จึงแตกต่างจากที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับ
ก่อน ๆ ที่แรกเริ่มมีที่มาจากการแต่งตั้ง การสรรหา การเลือกตั้ง และการผสมผสานระหว่างการสรร
หาและการเลือกตั้ง เป็น “การเลือกกันเองในหมู่ประชาชนที่มีความประสงค์จะเข้ามาทําหน้าที่สมาชิก
วุฒิสภา”
4) ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
5) ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการบัญญัติสาระสําคัญเกี่ยวกับการกําหนดตําแหน่ง
หน้าที่ และอํานาจของบุคคลในสภาทั้งสอง รวมทั้งการดําเนินการในการประชุมของสภาทั้งสอง
เพื่อให้การดําเนินการขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8 คณะรัฐมนตรี บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
หลักเกณฑ์การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี เงื่อนไขการปฏิบัตหิ น้าที่ของรัฐมนตรี ตลอดถึงการตรา
กฎหมายลําดับรองที่อยู่ในอํานาจของฝ่ายบริหาร
9 การขัดกันแห่ง บัญญัตสิ าระสําคัญในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล ในการแทรกแซงการใช้ดลุ พินจิ หรือ
ผลประโยชน์ กระบวนการตัดสินใจของบุคคลซึง่ อยู่ในตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวมทัง้ นําไปใช้
บังคับกับรัฐมนตรี และบุคคลอื่นทีเ่ กี่ยวข้องด้วย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติหน้าทีล่ ะทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติ
หน้าที่ซึ่งจะเป็นการละเมิดต่อจริยธรรมและกฎหมาย อันจะสร้างความเสียหายให้แก่รัฐและผลประโยชน์ของ
ส่วนรวมของประเทศ
10 ศาล บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ และอํานาจของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และ
ศาลทหาร อันถือว่าองค์กรฝ่ายตุลาการซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง
11 ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ด้วยการทําหน้าที่ “ควบคุม
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือเรื่องการ
กระทํา การปฏิบัติตามบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนูญขึ้น และเป็นคดีเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยนําบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญมาใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ซึ่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กร

12 องค์กรอิสระ องค์กรอิสระ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึน้ ตามรัฐธรรมนูญและได้รับมอบหมายให้ดําเนินการเกีย่ วกับภารกิจของรัฐตาม


บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกัน
ให้สามารถปฏิบัตภิ ารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงจากองค์กรอื่นของรัฐหรือสถาบัน
การเมืองอื่น โดยจัดให้ทําหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจรัฐ คุ้มครองและดูแลสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนจากการใช้อํานาจรัฐหรือการกระทําของบุคคล รวมทั้งการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน
หน้า 5
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
13 องค์กรอัยการ เพื่อรับรองความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการ และเพื่อให้พนักงานอัยการปฏิบัติหน้าที่ใน
กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์และการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง มี
อิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัตหิ น้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทงั้ ปวง
เพื่ออํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนตามกฎหมาย รวมตลอดทั้งมีความอิสระในการบริหารงานบุคคล
การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น โดยให้มรี ะบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความ
เหมาะสม
14 การปกครอง หมวดนี้บัญญัติขึ้นเพื่อให้สามารถจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นได้โดยกําหนดให้การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องไป
ส่วนท้องถิ่น เป็นตามหลักแห่งการปกครองตนเอง มีความโปร่งใส และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และ
ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผูบ้ ริหารท้องถิ่น กําหนดกลไกให้
ประชาชนเสนอความต้องการและตรวจสอบการทํางานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งกําหนดให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจในการให้บริการประชาชนและจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ มี
รายได้เป็นของตนเอง และมีอิสระในการบริหารงานต่างๆ
15 การแก้ไข โดยที่รฐั ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่กําหนดรูปแบบของประเทศและองคาพยพใน
เพิ่มเติม การบริหารกิจการบ้านเมือง ความสัมพันธ์ขององคาพยพดังกล่าว และที่สําคัญเป็นเสมือนสัญญาประชาคมที่จะ
รัฐธรรมนูญ ยอมให้รัฐมีบทบาทในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างใด แต่
แม้จะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ในยามที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป หรือความต้องการของประชาชน
เปลี่ยนแปลง ก็อาจมีความจําเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ ในรัฐธรรมนูญจึงต้องมีบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะ
16 การปฏิรปู บทบัญญัติในหมวดนี้ เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่และเป็นกลไกสําคัญ เพื่อให้เกิดการปฏิรปู ประเทศในด้าน
ประเทศ ต่างๆ ที่สําคัญและจําเป็น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อให้
สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงจึงจําเป็นต้องบัญญัติหลักการ และกําหนดกรอบเวลาในการปฏิรูปอย่างชัดเจน รวมทั้งมี
บทบังคับในตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด กําหนดให้มกี ารปฏิรปู ประเทศในด้านต่างๆ อย่างน้อย 7
ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้าน
การศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านอื่นๆ
หน้า 6
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

ใบงานเรือ่ งสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยฉบับปจจุบนั
คําสั่ง : ตอบคําถามให้ถูกต้องว่าสาระสําคัญในรัฐธรรมนูญต่อไปนี้ ปรากฏในหมวดใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
1. กําหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ เช่น บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
2. บัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบตั ิหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรงซึ่งประชาชนและชุมชนมีสิทธิในการติดตาม เร่งรัด ให้รัฐ
ดําเนินการ หน้าที่ของรัฐตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เช่น รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบตั ิตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รัฐต้อง
ดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาภาคบังคับ
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
3. ว่าด้วยเรื่องของอํานาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ที่พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบตั ิหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยง
ธรรม ปราศจากอคติทั้งปวง
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
4. กําหนดให้องค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขี้นโดยมีความอิสระในหน้าที่ การปฏิบัติ หน้าที่และการใช้อํานาจขององค์กรอิสระต้องเป็นไปโดย
สุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการ
แผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
5. บัญญัติเกีย่ วกับหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจะกระทําไม่ได้
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
6. สาระสําคัญ คือ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริยผ์ ู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
7. กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยในด้านต่างๆ เช่น สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
8. บัญญัติเกีย่ วกับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี โดยกําหนดให้มีนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็น
คณะรัฐมนตรีเพื่อปฏิบตั ิหน้าที่และใช้อํานาจบริหารด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เปิดเผย รอบคอบ และระมัดระวัง
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
9. ได้จัดหมวดศาลรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะ เนื่องจากต้องทําหน้าที่ตีความบทบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น
ผูกพันกับทุกองค์กร โดยได้กําหนดจํานวนตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่มา คุณสมบัติ การคัดเลือกและสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
10. กล่าวถึงพระราชฐานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเป็น
อัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นประมุขของชาติไทยที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี
ทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
11. กําหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน แบ่ง
ออกเป็น 2 แบบ คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจํานวน 400 คน และสมาชิกที่มาจากบัญชีรายชื่อ จํานวน 100 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภา
ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน ได้มาจากการเลือกกันเองของบุคคลตามที่กฎหมายกําหนด
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
หน้า 7
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
12. บัญญัติให้ศาลประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งศาลดังกล่าวจัดเป็นศาลพิพากษาคดีทั่วไป ซึ่งการพิจารณาคดี
พิพากษาของศาลต้องดําเนินไปตามตัวบทกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและนิติศาสตร์
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
13. บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอํานาจจากส่วนกลาง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจ
ดูแล และจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
14. ว่าด้วยการไม่รับผลประโยชน์ใดๆ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รวมถึงรัฐมนตรี โดยกําหนดแนวทางการปฏิบัตติ นที่แสดงถึง
การไม่รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
15. บทบัญญัติที่กําหนดแนวทางให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้รัฐจัดให้มี “ยุทธศาสตร์
ชาติ” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาธิบาล เช่น รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้าน
ให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................
16. กําหนดให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆ เช่น ประเทศชาติมคี วามสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนา
อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ํา
ประชาชนมีความสุข มีคณ ุ ภาพชีวิตที่ดี
ตอบ หมวด..................................................................................................................................................................................

-------------------------------------------------------------------
หน้า 8
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องอํานาจอธิปไตย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คําชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณารายละเอียดที่กําหนดให้ในแต่ละข้อ แล้วพิจารณาว่ารายละเอียดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับอํานาจ
อธิปไตยฝ่ายใด โดยให้ทําเครื่องหมาย ✓ ในช่องดังกล่าว
ข้อที่ รายละเอียด ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ
1 คณะรัฐมนตรี
2 ศาล
3 เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
4 วุฒิสภา
5 ประสานงานกับกระทรวงต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องไป
ในทางเดียวกัน
6 พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาท
7 กําหนดนโยบายและบริหารราชการแผ่นดิน
8 แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตรากฎหมาย และให้ความเห็น
ในกิจการที่สําคัญ
9 วางนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศตามที่ได้หาเสียงไว้กับ
ประชาชน
10 สภาผู้แทนราษฎร
11 พิจารณากลั่นกรองกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ
12 ตัดสินคดีความตามหลักกฎหมายเพื่อดํารงความยุติธรรม
13 ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลตามที่ได้
แถลงไว้ต่อรัฐสภา
14 ให้ความเห็นชอบในกิจกรรมสําคัญของประเทศตามที่
รัฐธรรมนูญกําหนด เช่น การตั้งผู้สําเร็จราชการแทน
พระองค์ การสืบราชสมบัติ การให้ความเห็นในการ
ประกาศสงคราม เป็นต้น
15 ควบคุมข้าราชการประจําในสังกัดกระทรวง ทบวง กรม
ให้นํานโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
16 ออกมติต่าง ๆ เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ถือ
ปฏิบัติ
17 ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และคณะรัฐมนตรี
อีกไม่เกิน 35 คน
18 ประสานงานกับกระทรวงต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องไป
ในทางเดียวกัน
19 อํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในชาติ
20 ผู้พิพากษา
หน้า 9
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

3. อํานาจอธิปไตย
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 3 อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริยผ์ ู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ
ศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
หน้า 10
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

กก
ก ก 
 
 "



 

  ก

 !  
& " & & ก 
&


 
ก


ก ก 35 #

ก !"! #


$%

ก %&'  *((* (#,ก


(&
%&', #,ก
(&
$
() ) .(
))

ก $

 *((0 . (ก 0&
# ) 0
)
$
()

& (

 กระทรวงของไทย
หน้า 11
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ (ฝ่ายรัฐสภา) 2. ฝ่ายบริหาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สภาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) คณะรัฐมนตรี (ครม.)
500 คน ตามบทเฉพาะกาล = 250 คน คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยบุคคลไม่เกิน 36 คน
จํานวน หลัง 5 ปี (หลังวุฒิสมาชิกตามบทเฉพาะกาลหมดวาระ) - นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี 1 คน
= 200 คน - รัฐมนตรีอื่นนอกจากนายกรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน
ที่มา 1. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 400 คน สว. ตามบทเฉพาะกาล - ในสถานการณ์การเมืองปกติ เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว พรรคการเมืองทีม่ ีจํานวน ส.ส. มาก
2. สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่สุดจะได้เป็นแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาล
6 คน + 194 คน + 50 คน = 250 คน
ที่มาของนายกรัฐมนตรี
จํานวน 100 คน
1. นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ โดยสภา
ผู้แทนราษฎรจะพิจารณาจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญ
กําหนด และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ที่พรรคการเมืองมีมติเสนอชื่อให้สภา
ผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ ซึ่งพรรค
การเมืองแจ้งไว้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป เฉพาะจากบัญชี
รายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อย
ละ 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มอี ยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
2. การเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
สว. ชุดปกติ ให้ความเห็นชอบนั้น ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมี เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ 3. มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทําโดย
การลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่
หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทํางานหรือเคยทํางานด้าน
มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม ในแต่ละกลุ่มอาชีพ โดย 4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทูลเกล้าฯ เพื่อให้ K. ทรงลงพระปรมาภิไธย ในการแต่งตั้งนายกฯ
ในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทําให้ประชาชน (ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ)
ซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่ม นายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูลเกล้าฯ เสนอ
หนึ่งได้ ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายกฯ และรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งสอดคล้องกับ
หน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
ภายใน 15 วัน
ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องดําเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่
ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทัว่ ไปของคณะรัฐมนตรี
หน้า 12
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) 2. ฝ่ายบริหาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สภาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.)
เสนอกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดํารงตําแหน่งสําคัญ เช่น กําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน และบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่
อํานาจ การให้ความเห็นชอบผู้ดํารงตําแหน่ง ตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตําแหน่งในองค์กรอิสระ ได้หาเสียงไว้กับประชาชน
หน้าที่ นายกรัฐมนตรี ควบคุมข้าราชการประจําให้นํานโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ประสานงานกับ
การพิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย เช่น การให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, ร่างพระราชบัญญัติ กระทรวงต่างๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกัน
ประกอบรัฐธรรมนูญ, ร่างพระราชบัญญัติ, การพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนด --> บัญญัติกฎหมาย รักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิต
และยกเลิกกฎหมายเพื่อใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือในการบริหารกิจการต่างๆ ของประเทศ และเป็นมาตรฐานในการ ทรัพย์สิน และให้มีการดําเนินชีวิตโดยปกติสุข
ปฏิบัติตนของประชาชนในประเทศ --> ควบคุมการตรากฎหมาย ออกมติต่างๆ เพื่อให้กระทรวง กรมต่างๆ ถือปฏิบัติ
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
การตั้งคณะกรรมาธิการ – การเลือกบุคคลผูเ้ ป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือ ออกพระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
คณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อกระทํากิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภา
ทราบตามระยะเวลาที่สภากําหนด
การให้ความเห็นชอบในกิจการที่สาํ คัญในการปกครองประเทศ
การถอดถอนผูด้ ํารงตําแหน่งทางการเมือง
วาระ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละ 4 ปี วุฒิสภามีกําหนดคราวละ 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการ - คราวละ 4 ปี
นับแต่วันเลือกตั้ง เลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการ
ดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างทีอ่ ยู่ปฏิบัติหน้าที่
ต่อไปหลังพ้นจากตําแหน่ง
หน้า 13
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
3. ฝ่ายตุลาการ
1. ศาลรัฐธรรมนูญ 2. ศาลยุติธรรม 3. ศาลปกครอง 4. ศาลทหาร
วินิจฉัยประเด็นปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ มีอํานาจพิจารณาคดีทั้งปวง ยกเว้นคดีที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย พิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างภายใน เขตอํานาจของศาลทหาร :
1. การสิ้นสุดของสมาชิกภาพของ บัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลอื่น ซึ่งระบบศาลยุติธรรม แบ่ง ราชการหรือราชการกับเอกชน เกีย่ วกับการปฏิบตั ิ พิพากษาเฉพาะคดีอาญาทหารและ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก ออกเป็น 3 ชั้น คือ หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือที่เรียกว่า “คดี คดีที่มีลักษณะพิเศษทางอาญา เช่น
วุฒิสภา 1. ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับพิจารณาคดีในเบื้องต้น ทั้งคดีแพ่ง ปกครอง” ซึ่งได้แก่คดีดังต่อไปนี้ คดีที่ทหารตกเป็นจําเลย คดีที่
2. ขอบเขตอํานาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คดีอาญา และคดีพิเศษอื่นๆ 1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง เกิดขึ้นในภาวะสงคราม หรือ
คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ - ศาลแพ่ง - ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบด้วย ประกาศกฎอัยการศึก
นอกเหนือจากศาล - ศาลแพ่งธนบุรี - ศาลอาญา กม. ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสัง่ ฯลฯ
3. ร่างพระราชบัญญัติทมี่ ีข้อความขัดแย้งกับ - ศาลอาญากรุงเทพใต้ - ศาลอาญาธนบุรี 2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง
รัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม - ศาลจังหวัด - ศาลแขวง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กม.
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ - ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กําหนด
4. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบังคับคดีใด - ศาลชํานัญพิเศษ ได้แก่ ศาลแรงงาน/ศาลภาษีอากร/ศาล 3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการทําละเมิดหรือความรับ
คดีหนึ่งที่ยังมิได้รับการวินจิ ฉัยจากศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ/ศาลล้มละลาย ผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง
รัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ /ศาลเยาวชนและครอบครัว 4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
หรือไม่ 2. ศาลชั้นอุทธรณ์ เป็นศาลที่มีอาํ นาจพิจารณาพิพากษาคดีทฝี่ ่าย 5. คดีที่กฎหมายให้หน่วยงานทางปกครองหรือ
5. วินิจฉัยและมีคําสั่งยุบพรรคการเมือง โจทก์หรือจําเลยอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น เจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพือ่ บังคับให้
ตามที่กฎหมายกําหนด 3. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุด มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ฝา่ ย บุคคลต้องกระทําหรือละเว้นกระทํา
มีอยู่แห่งเดียวที่กรุงเทพมหานคร โจทก์หรือจําเลยขอฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ 6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกําหนดให้
คําพิพากษาในชั้นนี้ถือว่าสิ้นสุด มีศาลเดียว ตั้งอยู่ใน อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครอง
กรุงเทพมหานคร
แผนกพิเศษในศาลฎีกา

แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
แผนกคดีเลือกตั้ง
ฯลฯ
หน้า 14
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

ใบงานเรื่องขอบเขตอํานาจศาลไทย
คําชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาข้อพิพาทที่กําหนดให้ แล้วพิจารณาว่าข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอํานาจของศาลใด โดยให้นักเรียนทํา
เครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับชื่อศาลที่รับผิดชอบให้ถูกต้อง
ข้อที่ เหตุการณ์ที่เป็นข้อพิพาท ศาลใดมีอํานาจในการพิจารณาตัดสินคดีที่เป็นข้อพิพาท
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร
1 นายเอกแอบนําผลงานเพลงของนายโทไปขายในเว็บไซต์
2 นายดําทําร้ายร่างกายนายขาว
3 กรุงเทพมหานครไม่ดูแลสะพานลอยให้ดี ทําให้เกิดเศษปูนตก
ลงมาหล่นใส่ศีรษะนายเอี้ยงที่เดินผ่านไปผ่านมาแถวนั้น
4 นายพระจันทร์ ส.ส.พรรคไทยรักถิน่ ถูกตั้งข้อสงสัยว่าขาด
คุณสมบัติการเป็น ส.ส. เพราะมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
ด้านสื่อสารมวลชน
5 นายช่อนขับรถประมาทไปชนท้ายรถของนายดุก แล้วไม่
ชดเชยค่าซ่อมรถให้กับนายดุก
6 ข้าราชการครูทําโทษทางวินัยกับนักเรียน ทําให้นักเรียนคน
ดังกล่าวเป็นลมหมดสติ ต้องเข้ารับการรักษาตัวใน
โรงพยาบาล
7 นางสวยต้องการยื่นเรื่องให้ศาลวินจิ ฉัยว่ากฎหมายที่บังคับ
การเปลีย่ นนามสกุลไปใช้นามสกุลของสามีหลังการแต่งงาน
ขัดกับรัฐธรรมนูญที่บญั ญัติว่าด้วยความเสมอภาคระหว่าง
ชายกับหญิง
8 พรรครวมพลังถิ่นไทยถูกตัดสินยุบพรรค เพราะกระทําการ
อันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9 บริษัทรับเหมาก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ฟ้องร้องเรื่องที่การ
รถไฟแห่งประเทศไทยในการจ่ายค่าดําเนินการก่อสร้างให้กับ
บริษัทล่าช้าจนได้รับความเสียหาย
10 นางหงส์ต้องการฟ้องหย่านายไก่ซงึ่ เป็นสามี
11 พลทหาร ก. ไม่พอใจจ่า ข. ที่สั่งให้ตนวิดพื้นกลางแดด จึงนํา
สมัครพรรคพวกไปแอบรุมทําร้ายจ่า ข. จนได้รับบาดเจ็บ
12 นางสาวกี้คุยโทรศัพท์ขณะที่กําลังขับรถ
13 นายกล้วย ข้าราชการกรมทีด่ ิน ออกโฉนดที่ดินผิดพลาด ทํา
ให้ที่ดินของยายหน่อไม้ มีขนาดเล็กลงกว่าความเป็นจริง
14 พลทหารรุ่งไม่พอใจที่นางสาวทุเรียน ไปมีแฟนใหม่ จึงทําร้าย
ร่างกายนางสาวทุเรียนกับแฟนใหม่จนเสียโฉม
หน้า 15
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

4. การถ่วงดุลอํานาจอธิปไตยในระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย ได้กําหนดหลักการอํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย และ
แบ่งการใช้อํานาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยทั้ง 3 ฝ่ายที่กล่าวมาข้างต้น ต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญและมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่โดยหลักการแล้วต้อง
สามารถควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะองค์กรอํานาจทั้ง 3 ฝ่าย มิได้แบ่งแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด หากแต่มีความสัมพันธ์ในเชิง “การถ่วงดุลอํานาจ” หรือ “การคานอํานาจ” กัน เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีอํานาจใดอํานาจหนึ่ง มีอํานาจเหนือกว่าอีกอํานาจหนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่มีอํานาจใดอํานาจเดียวที่รับภาระหน้าที่ของรัฐทั้งหมด
การถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายนิติบญ ั ญัติ (รัฐสภา) การถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ
1. การถ่วงดุลอํานาจฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) 1. การถ่วงดุลอํานาจฝ่ายนิติบัญญัติ การถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจตุลาการกับอํานาจนิติ
1) สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจเลือกนายกรัฐมนตรี โดยการยุบสภา  ในกรณีทสี่ ภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับ บัญญัติและอํานาจบริหาร
2) คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายก่อนเข้าบริหารราชการ คณะรัฐมนตรีอย่างรุนแรง เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าสมาชิก 1. ศาลรัฐธรรมนูญ ถ่วงดุลอํานาจกับฝ่ายนิติบัญญัติโดยวินิจฉัย
แผ่ น ดิ น จั ด เป็ น การแถลงเพื่ อ ทราบ ซึ่ ง สมาชิ ก รั ฐ สภา ส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรมีพฤติกรรมไม่เหมาะไม่ เรื่องต่อไปนี้
สามารถอภิปรายหรือท้วงติงได้ ควร และคณะรัฐมนตรีต้องการเปลี่ยนแปลง การสิ้นสุดของสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง สมาชิกวุฒิสภา
กระทู้ถามรัฐมนตรี รัฐมนตรีมสี ิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง --> นําไปสู่การคืนอํานาจให้กับ ขอบเขตอํานาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กร
ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยหรือ ประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส. และฝ่ายบริหารชุดใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์สําคัญของประเทศ ร่างพระราชบัญญัติที่มีข้อความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือตรา
4) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าเสนอญัตติอภิปรายไม่ ขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ส่วนสมาชิกวุฒิสภา บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
อาจขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้ วินิจฉัยและมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองตามที่กฎหมายกําหนด
5) วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ 2. ศาลปกครอง ถ่วงดุลอํานาจกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
ทุจริตออกจากตําแหน่ง มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างภายในราชการ
6) รัฐสภามีอํานาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ 2. การถ่วงดุลอํานาจฝ่ายตุลาการ หรื อ ราชการกั บ เอกชน เกี่ ย วกั บ การปฏิบั ติหน้ าที่ ตามที่กฎหมาย
รายจ่ายประจําปีที่คณะรัฐมนตรีเสนอ เนื่องจากฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ไต่สวนคดีความต่างๆ ด้วย บัญญัติ
7) การอนุมัติร่างพระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด ความเป็นกลางและเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย และมีกระบวนการ 3. ศาลยุ ติ ธ รรม มี อํ า นาจพิ จารณาและวิ นิ จฉัย คดีเกี่ ยวกับการ
8) รั ฐ สภามี อํ า นาจตั้ ง คณะกรรมาธิ ก ารเพื่ อ กระทํ า กิ จการ ตรวจสอบกันเองภายในของคณะกรรมการตุลาการ เลื อ กตั้ ง และการเพิ ก ถอนสิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง และมี ก ารจั ด ตั้ ง ศาลฎีกา
พิ จ ารณาสอบหาข้ อ เท็ จ จริ ง ในกรณี ที่ อ าจสงสั ย ได้ ว่ า แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในกรณีการร่ํารวย
ฝ่ายรัฐบาลใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ ผิดปกติ, การใช้อํานาจหน้าที่ในทางทุจริต และคดีที่เกี่ยวกับการยื่น
บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
หน้า 16
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
การถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายนิติบญ
ั ญัติ (รัฐสภา) การถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ
2. การถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
โดยกระบวนการควบคุมและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ซึ่ ง ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ง บประมาณรายจ่ า ยประจํ า ปี ร่ า ง
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติ
โอนงบประมาณรายจ่ายต้องผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร
และต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
การปกครองโดยกฎหมายกับระบอบประชาธิปไตย และการแบ่งแยกอํานาจ
ตรวจสอบว่าฝ่ายบริหารใช้
การปกครองโดยกฎหมาย อํานาจโดยชอบด้วยกฎหมาย
หรือไม่ ศาลปกครอง

นิติบัญญัติ กฎหมาย บริหาร ตรวจสอบ ตุลาการ


ตรากฎหมาย ใช้กฎหมาย ตีความกฎหมาย

ตรวจสอบกฎหมายว่าขัด
รัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญ

ผู้แทนราษฎร
ประชาชน ประชาชนละเมิดกฎหมายหรือ
ละเมิดสิทธิของกันและกัน ศาลยุติธรรม

ขาดคุณสมบัติหรือไม่ --> ศาลรัฐธรรมนูญ


ทุจริตการเลือกตั้งหรือไม่ --> ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง (ภายใต้ศาลยุติธรรม)
ร่ํารวยผิดปกติ/ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ --> ศาลฎีการแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทาง
การเมือง (ภายใต้ศาลยุตธิ รรม)
หน้า 17
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
ใบงานเรื่องการถ่วงดุลอํานาจอธิปไตย

คําชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาโจทย์ที่กําหนดให้ แล้วเลือกคําตอบว่าเป็นข้อที่ถูกหรือผิด โดยขีดเส้นใต้คําตอบที่เลือก


ข้อ โจทย์ คําตอบ
1 ปัจจุบันหน่วยงานตุลาการ เช่น ศาล อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ถูก / ผิด
2 ที่มาของผู้พิพากษาประจําศาลต่างๆ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจาก ถูก / ผิด
ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย
3 หากฝ่ายบริหารซึ่งนําโดยนายกรัฐประกาศยุบสภา จะทําให้สมาชิกรัฐสภา ถูก / ผิด
ทั้งหมดหมดวาระลงทันที
4 ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา หรือ สภาคู่ ถูก / ผิด
5 สมาชิกวุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ถูก / ผิด
6 ผู้ที่ดํารงตําแหน่งเป็นประธานรัฐสภา ได้แก่ ประธานวุฒิสภา ถูก / ผิด
7 ศาลฎีกาสามารถตัดสิทธิลงรับสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลที่กระทําการอัน ถูก / ผิด
ทุจริตต่อการเลือกตั้งได้
8 นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, นโยบายบัตรสวัสดิการ, นโยบายกัญชาเสรี ถูก / ผิด
ฯลฯ เป็นตัวอย่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการบริหารราชการแผ่นดิน
9 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถูก / ผิด
10 สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการสรรหาแต่งตั้งบุคคลจากหลากหลายกลุ่มอาชีพที่ ถูก / ผิด
มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ ซึ่งห้ามสังกัดพรรคการเมือง
11 สภาผู้แทนราษฎรได้รับฉายาว่า “สภาพี่เลี้ยง” เพราะมีหน้าที่กลั่นกรอง ถูก / ผิด
กฎหมายให้ถี่ถ้วนและให้คําปรึกษาแก่สมาชิกวุฒิสภา
12 โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ ถูก / ผิด
หนึ่ง หรือพรรคที่มีเก้าอี้ที่นั่งมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร
13 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประชาชนชาวไทยสามารถเลือกตั้ง ถูก / ผิด
นายกรัฐมนตรีได้โดยตรง
14 ข้าราชการประจํา เช่น ครู หมอ ตํารวจ ทหาร พยาบาล อยู่ภายใต้การ ถูก / ผิด
ควบคุม ตรวจสอบ ของฝ่ายบริหารและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของ
รัฐบาล
15 ผู้พิพากษาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง และห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ถูก / ผิด
โดยต้องตัดสินคดีด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย
หน้า 18
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
ใบงานเรื่องการถ่วงดุลอํานาจอธิปไตย

คําชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาข่าวที่กําหนดให้ แล้วตอบคําถามให้ถูกต้อง


ข้อที่ 1 ที่ ศ าลฎี ก า แผนกคดีอ าญาของผู้ดํารงตํ าแหน่ ง ทางการเมื อง พิ พ ากษาคดีที่
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมัย
รั ฐ บาลชวน หลี ก ภั ย ร่ํ า รวยผิ ด ปกติ โดยตุ ล าการเสี ย งข้ า งมากวิ นิ จ ฉั ย ให้
ทรัพย์สิน คือ บ้านของนายสมศักดิ์ ใน จ.อ่างทอง ราคา 16 ล้านบาท ตกเป็น
ของแผ่นดิน เพราะนายสมศักดิ์ ไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ จึงมีพฤติกรรมปกปิด
1. จากข่าวดังกล่าว เป็นการถ่วงดุลอํานาจที่ระหว่างฝ่ายใด ทรัพย์สินชัดเจน แม้นายสมศักดิ์ จะอ้างว่าสร้างเสร็จตั้งแต่ก่อนเข้ารับตําแหน่ง
กระทําต่อฝ่ายใดในองค์ประกอบของอํานาจอธิปไตย แต่ยังมีการแก้ไขต่อเติมอย่างต่อเนื่องในช่วงที่นายสมศักดิ์ ดํารงตําแหน่ง....
ตอบ.......................................................................... ที่มา https://www.khonkaenlink.info/home/news/2941.html

ศาลฎีกาพิพากษา ให้ ปารีณา พ้นตําแหน่ง ส.ส. พร้อมห้ามลงเลือกตั้งตลอดชีวิต ปมรุกป่าสงวน


ข้อที่ 2 ราชบุรี... โดยศาลฎีกาพิพากษาว่า น.ส. ปารีณา มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้พ้นจากตําแหน่ง
นับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. สว. ผู้บริหารท้องถิ่น
หรือตําแหน่งทางการเมืองใดๆ ของ น.ส.ปารีณา ตลอดไป และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
2. จากข่าวดังกล่าว เป็นการถ่วงดุลอํานาจที่ระหว่างฝ่ายใดกระทําต่อ ที่มา : https://www.one31.net/news/detail/54337
ฝ่ายใดในองค์ประกอบของอํานาจอธิปไตย
ตอบ..........................................................................

ข้อที่ 3 ในวันแรกของการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์


จันทร์โอชา นักการเมืองฝ่ายค้านกล่าวหารัฐบาลว่าไร้ประสิทธิภาพใน
การบริหารจัดการวิกฤตโรคระบาด อีกทั้งยังมีพฤติการณ์ "ค้าความ
ตาย" กับประชาชน สร้างกําไรและ "มีเงินทอน" จากวัคซีนป้องกันโรค
โควิด-19 ทําให้ลุกขึ้นตอบโต้ว่า "อย่าใช้คําพูดที่เว่อร์เกินไป" ใคร 3. จากข่าวดังกล่าว เป็นการถ่วงดุลอํานาจที่ระหว่างฝ่าย
ใดกระทําต่อฝ่ายใดในองค์ประกอบของอํานาจอธิปไตย
เสียชีวิต นายกฯ ก็เสียใจทั้งนั้น
ตอบ..........................................................................
https://www.bbc.com/thai/thailand-58396496
ข้อที่ 4 งบ 2566 : รวมไฮไลท์อภิปราย สภาฯ ผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2566
วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท
ส.ส. ก้ า วไกล อภิ ป รายงบขอซื้ อ รถเบนซ์ S-Class 8 ล้ า นของ ประธานศาล
รัฐธรรมนูญ แม้ว่างบประมาณในส่วนหน่วยงานของศาลในมาตรา 31 กมธ.พิจารณา
งบฯ จะปรับลดลงเพียง 472,000 บาท ในส่วนของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุ
ว่า เป็นงบเงินอุดหนุนทั่วไปและค่าครุภัณฑ์ โดยสรุปแล้ว เหลืองบประมาณรวมของ
หน่วยงานของศาลที่ผ่าน กมธ.พิจารณางบฯ มาแล้ว จํานวนกว่า 7,762 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม งบประมาณของหน่วยงานศาล ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายโดย นาย
4. จากข่าวดังกล่าว เป็นการถ่วงดุลอํานาจที่ระหว่างฝ่าย จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส. ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล (กก.) นายจิรัฏฐ์ ได้เสนอตัด
ใดกระทําต่อฝ่ายใดในองค์ประกอบของอํานาจอธิปไตย งบประมาณของสํ า นั ก งานศาลรั ฐ ธรรมนู ญ 1% โดยในปี 2566 ประธานศาล
ตอบ.......................................................................... รัฐธรรมนูญ ขอซื้อรถยนต์เมอร์ซิเดส เบนซ์ S-Class S 560e AMG Premium ราคา
8 ล้านบาท
ที่มา : https://www.bbc.com/thai/articles/cqqdqzw1rzqo
หน้า 19
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

4. การปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ

สิทธิ (Right) เสรีภาพ (Freedom) หน้าที่ (Duty


อํานาจที่กฎหมายได้บญ ั ญัติให้การ ความมีอิสระที่จะทําหรืองดเว้นการ สิ่งที่บุคคลพึงปฏิบัติ
รับรองและคุ้มครองแก่บุคคลที่จะกระทํา กระทําการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความ
หรือไม่กระทําใด ๆ ต้องการของตน
ก่อให้เกิดการเรียกร้องที่จะไม่ให้บคุ คล
อื่นเข้ามาแทรกแซงในขอบเขตสิทธิที่
เป็นของตนเอง
ก่อให้เกิดการเรียกร้องให้รัฐดําเนินการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง

สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หมวด 3 : สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย


1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคาํ สั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การค้นตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกาย จะกระทํามิได้ เว้นแต่มเี หตุตามที่
กฎหมายบัญญัติ
การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทํามิได้
2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษ
ที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่บัญญัตไิ ว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทําความผิดมิได้
ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทํา
ความผิด จะปฏิบตั ิต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้
การควบคุมหรือคุมขังผูต้ ้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี
ในคดีอาญา จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้
คําขอประกันผูต้ ้องหาหรือจําเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกัน
ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
3. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือ
ในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ
4. สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว
บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่สว่ นตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัวการกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคล
ตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
5. สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค
การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม
ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคํานึงถึงประโยชน์สาธารณะ
ผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น
หน้า 20
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
6. สิทธิเกี่ยวกับการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐ
บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทํา
หรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
7. สิทธิเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ ความเป็นอยู่ของชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปญั ญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของ
ท้องถิ่นและของชาติ จัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง
สมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
8. สิทธิของผู้บริโภคในการรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
9. สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ
บุคคลผูย้ ากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกัน
และขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
10. สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของผู้เป็นมารดา บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้
ยากไร้

เสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หมวด 3 : สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย


1. เสรีภาพในการนับถือศาสนา การปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนา
2. เสรีภาพในเคหสถาน
การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการค้นเคหสถานหรือที่รโหฐานจะกระทํามิได้ เว้นแต่มี
คําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
3. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น และเสรีภาพในทาง
วิชาการ
4. เสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสือ่ มวลชน
การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จะกระทํามิได้
การให้นําข่าวสารหรือข้อความใด ๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนจัดทําขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนําไปโฆษณาใน
หนังสือพิมพ์หรือสื่อใดๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะกระทําในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสือ่ มวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
5. เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่
บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
6. เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิน่ ที่อยู่
การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มสี ัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทํามิได้
การถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสญ ั ชาติไทยโดยการเกิด จะกระทํามิได้
7. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
8. เสรีภาพในการรวมตัวกันในรูปแบบต่าง ๆ (เป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะอื่น)
9. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
10. เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หน้า 21
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง

หมวด 4 : หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
1. พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินรวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3. ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
4. เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
5. รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
6. เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทําการใดที่อาจ
ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
7. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศเป็นสําคัญ
8. ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
9. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
10. ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
หน้า 22
หนวยการเรียนรูท ี่ 2 : การเมืองการปกครอง
ใบงานเรื่องการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ
คําสั่ง : ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แล้วพิจารณาว่าสถานการณ์ที่
กําหนดให้ตรงกับหลักสิทธิ หรือเสรีภาพ หรือหน้าที่ โดยให้นักเรียนทําเครื่องหมาย  ในช่องที่นักเรียนคิดว่าสอดคล้องกัน

ข้อที่ สถานการณ์ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่

1 นายมานพ อายุ 21 ปีบริบูรณ์เข้ารับการตรวจเลือกทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ


2 คุณยายบุญ อายุ 70 ปี มีฐานะยากจน ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐเดือนละ 3,000 บาทเพื่อใช้ใน
การดํารงชีพ
3 นายหนอนกับนางปกชอบอ่านหนังสือ จึงรวมตัวกันจัดตั้งสมาคม “หนอนหนังสือ” เพื่อให้สมาชิก
ในสมาคมมาร่วมพูดคุยแลกเปลีย่ นเกี่ยวกับหนังสือที่ตนสนใจ
4 นายไก่และเพื่อน มีแนวคิดต้องการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร ทําให้เกษตรกรไทยมี
คุณภาพชีวิตที่ดี จึงร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง “พรรคเพื่อเกษตรกรไทย” เพื่อลงสมัครรับ
เลือกตั้งเป็น ส.ส. เข้าไปผลักดันการแก้ปัญหาดังกล่าวในสภา
5 ตํารวจจะเข้าไปค้นบ้านผูต้ ้องสงสัย ต้องมีหมายค้นจากศาล จะเข้าไปค้นโดยพลการไม่ได้
6 นายดาวแต่งงานกับนางสวย ซึ่งนางสวยนับถือศาสนาอิสลาม นายดาวจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนา
อิสลามตามนางสวย
7 นางคะน้าได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาพืชผลตกต่ํา ถึงเข้าร่วมการชุมนุมหน้ากระทรวง
เกษตรและสหกรณ์
8 นางฟ้าให้ลูกสาวอายุ 2 ขวบ นั่งบนคาร์ซีท เพราะนางฟ้ารู้ว่าหากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย
9 ศาสตราจารย์ดรุณเขียนหนังสือวิชาการวิพากษ์วิจารณ์การทํางานของรัฐบาลว่าไม่สามารถ
ปราบปรามการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 สื่อหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์นําเสนอข่าวการทุจริตของข้าราชการระดับสูงในจังหวัดทางภาคเหนือ
11 นายไข่ย้ายตามภรรยาไปทํางานที่จังหวัดเชียงใหม่
12 นางเข็มได้รับเงินเดือน 200,000 บาทเดือน จึงต้องเสียภาษีอากรเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่
กฎหมายกําหนด
13 นายหนุ่ย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเลือกพรรคการเมืองที่ตนเองชอบ
เพื่อเข้าไปทํางานในสภา
14 เด็กหญิงหนูนาเข้าเรียนหนังสือในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนใกล้บ้าน
15 นางไก่รับราชการเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนชื่อดัง แต่เนื่องจากภาระงานครูมีมาก ทําให้นางไก่ลาออก
มาเป็นชาวสวนทุเรียน ปลูกทุเรียนขายจนร่ํารวย

--------------------------------------จบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ------------------------------------

You might also like