You are on page 1of 16

แนวโน้มการปกครองท้องถิ่นไทย

ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หลักการพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่นของไทยตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 2 : ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 3 : อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์
ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
หลักการพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่นของไทยตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
(ต่อ)
มาตรา 1 : ประเทศไทยเป็ นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยก
มิได้

มาตรา 281 : ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็ นอิสระแก่องค์กร


ปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตาม
เจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็ นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ
สาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่
หลักการบริหารราชการ
1. หลักการรวมอำนาจ (Centralization)
กระทรวง กรม
2. หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration)
จังหวัด อำเภอ
3. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
อบจ. เทศบาล อบต. เมืองพัทยา กทม.
หลักการปกครองส่วนท้องถิ่น
 องค์ประกอบ

1. พื้นที่ : จำนวนประชากร - ความหนาแน่น


2. รายได้ : มีรายได้ของตนเอง
รัฐ สนับสนุนบางส่วน
3. ภารกิจ : บริการสาธารณะ
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย

1. การปรับปรุงประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่น :
1.1 รวบรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้ง โครงสร้าง อำนาจ
หน้าที่ รายได้ การบริหารงาน และการ
กำกับดูแลใน กฎหมาย อบจ. เทศบาล อบต. ไว้ในประมวล
กฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับเดียว
1.2 นำบทบัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่และรายได้ตามพระราช-
บัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาบัญญัติ
ไว้ใน ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิด
ความชัดเจนและมีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)

1.3 การสร้างแรงจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาด
เล็กพัฒนาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาด
กลาง และขนาดใหญ่ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
1.4 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่ กกต. ประกาศรับรองผลการ
เลือกตั้งแล้วปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มี สมาชิก
สภาท้องถิ่นครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)

1.5 สร้างช่องทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกัน
ในการปฏิบัติงานในรูปของสหการ สหการเฉพาะ
สหการผสม และจัดตั้งองค์การมหาชนท้องถิ่น หรือ
วิสาหกิจท้องถิ่น
1.6 เพิ่มบทบัญญัติให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการ
บริหารงานหรือร่วมตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่น
มากขึ้น
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)

2. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการกำหนดเวลาในการ
บังคับใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)
3. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :
3.1 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนการถ่ายโอนภารกิจ และ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนรับโอนโดยต้องมีความสอดคล้องกัน
3.2 เมื่อมีการถ่ายโอนภารกิจ ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐในภารกิจที่ถ่าย
โอนเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทันที โดยไม่ต้องมีการแก้ไข
กฎหมายในเรื่องนั้นอีก
3.3 เมื่อมีการถ่ายโอนภารกิจ ให้ค่าธรรมเนียมและรายได้จากภารกิจที่
ถ่ายโอน ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)
4. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
4.1 กำหนดให้มีองค์กรบริหารงานบุคคล 2 ระดับ ได้แก่
- ระดับนโยบายและกำหนดมาตรฐาน (ก.ถ.)
- ระดับจังหวัด กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการพนักงานส่วน
ท้องถิ่น จังหวัด (อกถ. จังหวัด)
4.2 กำหนดให้คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) มี
อำนาจ โอนย้ายพนักงานส่วนท้องถิ่นได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสอบ
แข่งขัน หรือสอบคัดเลือกพนักงานส่วนท้องถิ่นในระดับผู้บริหาร และ
พิจารณาอุทธรณ์ทางวินัย
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นไทย (ต่อ)

4.3 กำหนดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเฉพาะเงินเดือนและค่าจ้าง ไม่รวม


ประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณ
รายจ่าย
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (มาตรา 288) ได้กำหนด
- เปลี่ยนชื่อ “พนักงานส่วนท้องถิ่น” เป็น “ข้าราชการส่วนท้องถิ่น”
- เปลี่ยนหลักการในการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งจาก “ตาม
ความต้องการและความเหมาะสม” เป็น “ตามความเหมาะสม และความ
จำเป็ น”
- เปลี่ยนชื่อ “คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น” เป็น “คณะกรรมการ
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น” โดยเป็นองค์กรกลาง บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
เพียงองค์กรเดียว
- การบริหารงานบุคคลต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และอาจได้รับ
การพัฒนาร่วมกันหรือสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้
- กำหนดให้มีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรมและจริยธรรม
 ขณะนี้ ก.ถ. ได้ว่าจ้าง สปร. ทำการศึกษา
ความเหมาะสมในการนำระบบแท่งมาใช้แทน
ระบบ C เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับ
กระทรวง เพื่อดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข
ร่างกฎหมาย ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว เพื่อให้เสร็จภายใน
2 ปี นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อ
รัฐสภา (ม. 303(5))

You might also like