You are on page 1of 11

หน่วยที่ 2

การบริหารราชการส่วนกลาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์

การบริหารราชการส่วนกลางเป็นการบริหารที่มีลักษณะสำคัญมากที่สุดของประเทศไทย กล่าวคือได้
รวบรวมภารกิจส่วนใหญ่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางทั้งในระดับกระทรวงและกรมเป็นหลัก และมีการแบ่งอำนาจ
ในการบริหารราชการไว้ให้กับราชการส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัดและอำเภอ โดยที่หากพิจารณาไปที่
โครงสร้างทางอำนาจและในเชิงภารกิจ ขนาดกำลังพลภาครัฐ รายได้และงบประมาณแล้วพบว่าได้รวมศูนย์อยู่
ที่ราชการส่วนกลางค่อนข้างสูง รวมถึงได้มีการกระจายอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยทำการ
ถ่ายโอนพันธกิจ พร้อมกับจัดสรรทรัพยากร เช่น สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ดำเนินงานแทนส่วนกลางและ
ส่วนภูมิภาคให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยการกระจายอำนาจตัดสินใจ อำนาจทางด้านการบริหารการ
คลัง อำนาจทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบริหารงานได้โดยอิสระ และสามารถ
แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามทิศทาง
การกระจายอำนาจนั้น ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญไทยแต่ละฉบับ นโยบายพรรคการเมือง และการมีส่วนร่วมของ
ภาคประชาชนในแต่ละยุค
ในการบริหารราชการส่วนกลางเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของรัฐ
แนวนโยบายแห่งรัฐ และนโยบายรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานภาครัฐ การจัดหา
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ จัดเตรียมงบประมาณ เครื่องมือเครื่องใช้ และ
กำหนดกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้เป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติงานเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนการบังคับการต่าง ๆ ให้
เป็นไปตามกฎหมายตามที่รัฐสภาเป็นผู้กำหนด เพื่อตอบสนองต่อความสำเร็จในการบริหารราชการ
หลักการใช้อำนาจของการบริหารราชการส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดิน

การบริหารราชการส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดินมีลักษณะเป็นไปตามพระราชบั ญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้กำหนดให้การบริหารราชการของประเทศไทยมี 3 ส่วน
ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น กล่าวคือ
การบริ ห ารราชการส่ ว นกลาง ในการบริ ห ารราชการจะใช้ “ หลั ก การรวมอำนาจ”
(Centralization) โดยให้ อ ำนาจการบั ง คั บ บั ญ ชาและการวิ น ิ จ ฉั ย สั ่ ง การสู ง สุ ด อยู ่ ใ นส่ ว นกลาง คื อ
กรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ในพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้แบ่งส่วนราชการของการบริหารราชการส่วนกลางนั้น
ประกอบด้วย (1) สำนักนายกรัฐมนตรี (2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (3) ทบวง ซึ่ง
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง (4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่ง
สังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง สำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการดังกล่าวนี้มี
ฐานะเป็นนิติบุคคล

พั ฒ นาการของการบริ ห ารราชการส่ ว นกลางกั บ การบริ ห ารราชการไทย ใน สมั ย


สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ยุคสมัย ลักษณะการบริหารราชการส่วนกลางและระบบทางการ ระบอบการปกครอง


บริหารที่สำคัญ
กรุ ง สุ โ ขทั ย เป็ น 1. การบริหารราชการส่วนกลางอยู่ที่เมืองหลวง พ่ อ ปกครองลู ก (บิ ด า
ร า ช ธ า น ี (พ . ศ . 2. การปกครองหัว เมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับกรุงสุโขทัย ปกครองบุตร) รวม
1720-1863) โดยตรง หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมื อง อำนาจที ่ ศ ู น ย์ ก ลางคื อ
ลูกหลวง ล้อมรอบราชธานีทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลั ย ราชธานี
(ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้ )
และชากังราว (ด้านตะวันตก)
กรุงศรีอยุธยาเป็น 1. การปรับ ปรุงการจัดระเบียบบริห ารราชการในสมั ย ระบอบพระมหากษัตริย์
ราชธ าน ี (พ.ศ . สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยมีการจัดตั้ง มีอำนาจเด็ดขาด
1863-2310) ระบบ “จตุสดมภ์” ประกอบด้วยเสนาบดี 4 คน คือ ขุน (สมบูรณาญาสิทธิราชย์)
เมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา พร้อมทั้งตรากฎหมาย เป็นดั่งสมมติเทพ
ลักษณะอาญาหลวงและกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร
เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านความยุติธรรม
2. สมั ย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถได้ ท รงปฏิ ร ู ป การ
ปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
ออกจากกันอย่างชัดเจนโดยมี “เจ้าพระยามหาเสนาบดี”
ดำรงตำแหน่ง สมุห พระกลาโหม มีห น้าที่ดู แลกิ จ การ
ทหารทั่วอาณาจักร และ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์”
ดำรงตำแหน่ ง สมุ ห นายก รั บ ผิ ด ชอบงานพลเรื อ นทั่ว
อาณาจักร พร้อมกับดูแลหน่วยงานจตุสดมภ์ทมี่ ีพื้นฐานมา
จากการการปกครองเดิม
กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ 1. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ระบอบสมบูรณาญา-
ตอนต้นจนถึงก่อน ตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจากเดิม คือ มหาดไทย กลาโหม เมือง สิทธิราชย์
การเปลี ่ ย นแปลง วัง คลัง นา พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง
ก า ร ป ก ค ร อ ง กระทรวงแบบใหม่ ให้ เ ป็ น 12 กระทรวง เมื ่ อ วั น ที ่ 1
แ ผ ่ น ด ิ น พ . ศ . เมษายน พ.ศ. 2435
2475 2. ได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้เลิกอัครเสนาบดีทั้ง 2
ตำแหน่ ง คื อ สมุ ห นายกกั บ สมุ ห กลาโหม เป็ น ผลให้
เสนาบดีทุกกระทรวงมีตำแหน่งเสมอกัน และรวมกันเป็น
ที่ประชุมเสนาบดีสภาหรือที่เรียกว่า “ลูกขุน ณ ศาลา”
ภายหลั ง ได้ ย ุ บ กระทรวงยุ ท ธนาธิ ก ารไปรวมกั บ
กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมุรธาธิการไปอยู่ในกรม
ราชเลขานุการ คงเหลือเพียง 10 กระทรวง

พัฒนาการการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางของไทยในสมัยประชาธิไตย

ยุคสมัย ลักษณะการบริหารราชการส่วนกลางและระบบทางการ ระบอบการปกครอง


บริหารที่สำคัญ
การจั ด ระเบี ย บ 1. รัฐบาลในขณะนั้นได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบ การปกครองในระบอบ
บริหารราชการ ราชการบริ ห ารแห่ ง ราชอาณาจั ก รสยาม พุ ท ธศั ก ราช ประช าธ ิ ป ไตยอั น มี
ส ่ ว น ก ล า ง ห ลั ง 2476 ซึ ่ ง จั ด ระเบี ย บราชการบริ ห ารไว้ 3 ส่ ว น ได้ แ ก่ พระมหากษั ต ริ ย ์ ท รง
เปลี ่ ย นแปลงการ ราชการบริห ารส่ว นกลาง ราชการบริห ารส่ว นภูมิภ าค เป็นประมุข
ปกครองปี 2475 - และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบัน 2. การตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2495 สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายฉบับเดิ มที่
สำคั ญ คื อ ราชการบริ ห ารส่ ว นกลาง ได้ เ พิ ่ ม สำนั ก
นายกรัฐ มนตรี เข้ามาเป็นพิเศษ สำนักนายกรัฐ มนตรี
ประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรม
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะ
เทียบกรม
3. ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ
ที่ 218 ขึ้นมา ซึ่งมีผลให้เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม และได้ใช้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้เป็นกฎหมาย
ในการบริหารราชการแผ่นดินแทน โดยในประกาศคณะ
ปฏิ ว ั ต ิ ด ั ง กล่ า ว มาตรา 19 ได้ จ ั ด ระเบี ย บราชการใน
กระทรวง เป็ น (1) สำนั ก งานเลขานุ ก ารรั ฐ มนตรี (2)
สำนักงานปลัดกระทรวง และ (3) กรมหรือส่วนราชการที่
เรี ย กชื ่ อ อย่ า งอื ่ น ในทำนองเดี ย วกั บ พระราชบั ญ ญั ติ
ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 แต่ในมาตรา
19 วรรคสอง ได้กำหนดให้ส ่ว นราชการในลำดับที่ (2)
และที่ (3) มีฐานะเป็นกรม ส่งผลให้สำนักงานเลขานุการ
รัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรมอีกต่อไป และในปีเดียว ได้มี
การประกาศใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ขึ้นมา
บังคับใช้แทนพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ. 2506 และที ่ แ ก้ ไ ขเพิ ่ ม เติ ม โดยปรั บ ลด
กระทรวงลงเหลือ 12 กระทรวง
4. ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อใช้เป็นกฎหมายในการบริ ห าร
ราชการแผ่ น ดิน ฉบับ ใหม่ ในปี เ ดี ย วกัน ก็ ไ ด้ม ี ก ารตรา
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534
ได้เพิ่มส่วนราชการระดับกระทรวงเป็น 14 กระทรวง
5. โครงสร้ า งการบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น ตาม พ.ร.บ.
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
และ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
ได้ แ ก่ 1) การบริ ห ารราชการส่ ว นกลาง ประกอบด้ ว ย
กระทรวง ทบวง กรม โดยยึดหลักการรวมอำนาจในการ
ปกครองไว้ที่ศูน ย์กลางของการบริหารราชการแผ่ นดิน
ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง จำนวน 20 กระทรวง
2) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยยึดหลักการแบ่ง
อำนาจในการปกครอง ประกอบด้วยจังหวัดและอำเภอ
ในปัจจุบันมีจำนวนจังหวัด 76 จังหวัด จำนวนอำเภอ 878
อำเภอ และ 3) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยยึด
หลั ก การกระจายอำนาจในการปกครองตนเองให้ แ ก่
ท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบ
ทั่วไปและรูปแบบพิเศษ

สรุป การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อัน มี


พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การบริหารราชการส่วนกลางในช่วงแรก มีลักษณะเป็นไปตามบทบัญญัติตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ซึ่งจัดระเบียบ
ราชการบริหารไว้ 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และ ราชการบริหาร
ส่วนท้องถิ่น ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ได้เพิ่มสำนัก
นายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นราชการส่วนกลางและมีฐานะเทียบเท่ากรม ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยา
รชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ออกมา และ
ได้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และกำหนดให้เป็นกฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดินฉบับใหม่แทน ซึ่งในปี
เดียวกันนี้ก็ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ที่เพิ่มส่วนราชการออกเป็น
14 กระทรวง สำหรับในปัจจุบัน โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ส่งผลให้การ
บริหารราชการส่วนกลางได้เพิ่มส่วนราชการออกเป็น 20 กระทรวง ( 19 กระทรวงและ 1 สำนักนายก) ตาม
แนวนโยบายของรัฐบาลในยุคนั้น และส่งผลต่อโครงสร้างการบริหารราชการของไทยอย่างสำคัญในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน
บทบาทและอำนาจหน้าทีข่ องนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ
การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินสำหรับการบริหารราชการส่วนกลางในระดับ
กระทรวงที่เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงที่จะต้องบริหารราชการเพื่อ
ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ไว้ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำ
รายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติ
ของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหาราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่ง
หรือหลายกระทรวงหรือทบวง
(3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมและส่วน
ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(4) สั ่ ง ให้ ข ้ า ราชการซึ ่ ง สั ง กั ด กระทรวง ทบวง กรมหนึ ่ ง มาปฏิ บ ั ต ิ ร าชการ ในสำนั ก
นายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือน
ทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับและขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง
ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการ ซึ่งได้รับ
แต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้า
เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(6) แต่ ง ตั ้ ง ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ เ ป็ น ประธานที ่ ป รึ ก ษา ที ่ ป รึ ก ษา หรื อ คณะที ่ ป รึ ก ษาของ
นายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทน
ให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
(8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. รัฐมนตรี ในแต่ละกระทรวงจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และ
รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่
คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ ตัวอย่างเช่น สำนักนายกรัฐมนตรีจะมี
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์
ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรี
กำหนดหรืออนุมัติ
3. ปลัดกระทรวง โดยในแต่ละกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการ
ปฏิบัติราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงาน
ของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติ
ราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
(3 เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติ
ราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง

4. อธิบดี กรมเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ซึ่งในแต่ล ะกรมจะมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบั ญชา


ข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง
และแผนการปฏิบัติร าชการของกระทรวง โดยคำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐ มนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรื อ ที่
คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ รวมถึงนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ
การจัดองค์การเป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการในการจัดแบ่งกลุ่มของงานหรือกิจกรรมและทรัพยากร
ต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบเรียกว่าโครงสร้างองค์การ เพื่อให้การประสานงาน
ระหว่างกลุ่มของงานหรือกิจกรรมและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัด
องค์การมีหลักการ รูปแบบ และกระบวนการจัดองค์การที่สามารถนำมาใช้จัดโครงสร้างองค์การเพื่อดำเนินงาน
ได้อย่างมีประสิทธิผล
การจัดองค์การภาครัฐของไทย
การจัดองค์การภาครัฐของไทยภายหลังจากได้ปฏิรูประบบราชการได้ดำเนินการปรับปรุงบทบาท
ภารกิจที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการใหม่แล้ว จึงได้มีการจัดโครงสร้างหน่วยราชการใหม่ให้สอดรับกับบทบาท
ภารกิจของภาครัฐ โดยมีแนวทางในการจัดโครงสร้างส่วนราชการดังนี้
1. จัดโครงสร้างโดยคำนึงถึงนโยบายแห่งรัฐ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นโยบายรัฐบาลและความต้องการของประชาชนในลักษณะของการบริห ารที่ยึดวาระแห่งชาติ ( Agenda
Based) แทนการจัดโครงสร้างที่เน้นหน้าที่ของรัฐ (Functional Based) แต่เพียงอย่างเดียว
2. จัดโครงสร้างองค์การให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจหลักที่จำเป็นต้อง
ดำเนินการโดยภาครัฐ สอดรับกับประเภทของภารกิจและงาน และสอดคล้องกับการดำเนินงานในส่วนที่ต้อง
เน้นประสิทธิภาพ ความคล่องตัวการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน องค์การประชาชนและท้องถิ่น ซึ่งอาจจัด
หน่วยงานของรั ฐได้ดังนี้ คือ หน่วยราชการที่รับผิดชอบงานราชการโดยแท้ ที่เรียกว่าหน่วยงานราชการ
(Government Organization) และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบงานปฏิบัติการที่ยังเป็นภารกิจหลักของ
ภาครัฐที่ยังจำเป็นต้องดำเนินการโดยหน่วยงานราชการ อาจจัดตั้งเป็นหน่วยงานที่มีรูปแบบการบริหารงาน
พิเศษ หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการสาธารณะซึ่งเป็นงานของรัฐที่ภาครัฐจำเป็นต้องจัดให้มีหรือส่งเสริมให้มีการ
ให้บริการก็สามารถจัดเป็น องค์การมหาชน (Public Organization) รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) หรือ
องค์ ก ารที ่ จ ั ด ตั ้ ง ในรู ป แบบมู ล นิ ธ ิ (Foundation) และองค์ ก ารพั ฒ นาภาคเอกชน (Non-Government
Organization: NGOs)
3. จัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เพื่อให้มีสายการบังคับบัญชาสั้นที่สุด เพื่อให้การทำงานและ
การตัดสินใจเป็น ไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภ าพโดยยังคงยึดหลักความรับผิดชอบในการ
บริหารงานด้วย
4. จัดโครงสร้างองค์การที่มีรูปแบบผสมผสาน ในกรณีที่งานนั้นต้องการองค์ประกอบของความรู้
ความสามารถที่หลากหลายและเน้นความเป็นทีมในการปฏิบัติงาน เพื่อผลักดันงานให้บรรลุผลสำเร็จ หรือกรณี
ที่สามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อที่ทันสมัยก็สามารถจัดองค์การที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย
5. ปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจ
และโครงสร้างส่วนราชการ

การจัดองค์การระดับกระทรวงและสำนักนายกรัฐมนตรี
การจัดแบ่งส่วนราชการสำหรับการบริหารราชการส่วนกลางในระดับกระทรวงประกอบด้วยสำนัก
นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือ
กระทรวง และกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกั ดสำนั ก
นายกรัฐ มนตรี กระทรวงหรือทบวง ทั้งนี้การจัดตั้ง เปลี่ยนแปลง ยุบส่ว นราชการดังกล่าวต้องตราเป็น
พระราชบัญญัติ การจัดองค์การในการบริหารราชการส่วนกลางของไทยนั้น พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้มีสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง และ
กระทรวงต่าง ๆ จำนวน 20 กระทรวง

การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีออกเป็น กรม สำนัก สำนักงาน และส่วนราชการ


ที่มีฐานะเป็นกรมเหล่านี้อาจจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1) รูปแบบที่ส่วนราชการที ่ขึ้น ตรงต่อ ปลั ดสำนั กนายกรั ฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2) รูปแบบที่ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักเลขาธิการ
นายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความ
มั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
3) รูปแบบของหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง
ภายใน
4) รูปแบบที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักราช
เลขาธิ ก าร สำนั ก พระราชวั ง สำนั ก งานพระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ สำนั ก งานคณะกรรมการพิ เ ศษเพื่ อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยภาพรวม จากการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีออกเป็น กรม สำนัก สำนักงาน
และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม สามารถสรุปได้ ดังตาราง
ตารางสรุปการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีออกเป็นกรม สำนัก และ สำนักงาน
ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม

รูปแบบ หน่วยงาน
1) รูปแบบที่ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนัก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

2) รูปแบบที่ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาระบบราชการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3) รู ป แบบของหน่ ว ยงานในกำกั บ ของสำนั ก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
นายกรัฐมนตรี
4) รูปแบบที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่อยู่ ใ น สำนักราชเลขาธิการ
บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักพระราชวัง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ราชบัณฑิตยสถาน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในกรมนั้น ในกรณีที่เป็นกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ
มีฐานะเป็นกรม หากประสงค์จะแบ่งส่วนราชการก็ต้องดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกเป็น
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเพื่อกำหนดให้มีส่วนราชการภายในของกรมนั้น ซึ่งส่วนราชการภายในที่กำหนด
ไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการจะต้องมีฐานะเป็นกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และในกรณีที่
กรมใดมีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจากสำนักงานเลขานุการกรมหรือกองก็
ได้ กล่าวคือ อาจกำหนดให้มีส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง เช่น สำนัก สถาบัน ศูนย์ เป็นต้น
กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วน
ราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ (มาตรา
31)

บรรณานุกรม
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน. (2558). แนวทางและผลการดำเนินการปรับบทบาทภารกิจ
และโครงสร้างส่วนราชการ ปี 2545 สาระสังเขปออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 จาก
http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=4&content_id=164
http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=4&content_id=164
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ, สืบค้นจาก
https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spmthaigov/DRAWER015/GENERAL/DATA0000/00
000136.PDF , เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2564
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา 2562. (2562,
25 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 186 ง, หน้า 1-64.
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 79 ก, ลงวันที่
31 กรกฎาคม 2560
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542,
สืบค้นจาก https://www.phuketcity.go.th/news/detail/4431/data.html, เข้าถึงเมื่อ 20
สิงหาคม 2564
พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134
ตอนที่ 79 ก, หน้า 13 – 23. ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17 )พ.ศ. 2559
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2564
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
เพ็ญศรี มีสมนัย. (2559). หน่วยที่ 6 การบริหารราชการส่วนกลาง, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 33201 การ
บริหารราชการไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114
ตอนที่ 55 ก, หน้า 1-99.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124
ตอนที่ 47 ก, หน้า 1-127.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134
วิษณุ เครืองาม (2553) วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2553) หน้า 5-17

You might also like