You are on page 1of 8

สรุปเนื้อหา หน่วยที่ 1

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์

1.แนวคิดในการบริหารราชการไทย
แนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริหาราชการไทย ประกอบด้วย
1) กลุ่มแนวคิดทางการปกครองและการบริหารแบบดั้งเดิม ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย ซึ่งได้แก่
แนวคิดการบริหารแบบบิดาปกครองบุตร ระบบเทวสิทธิ์ และการปฏิรูปการบริหารราชการและพัฒนาประเทศ
ให้ทันสมัย
2)กลุ่มแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย ได้แก่ แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์
แนวดั้งเดิมหรือแนวเก่า รัฐ ประศาสนศาสตร์แนวใหม่ การจัดการภาครัฐ แนวใหม่ การบริก าร
สาธารณะแนวใหม่ และการจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่ และ
3)กลุ่มแนวคิดรัฐธรรมนูญ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย
1.แนวนโยบายแห่งรัฐที่กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ
ผลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ตามแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65 ส่งผลให้มีการตรา
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการ
ปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ซึ่งส่งผลต่อทิศทางการบริหารของระบบราชการไทยโดยตรง
2. นโยบายของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาจะส่งผลต่อระบบราชการไทย ระบบ
ราชการและบุคลากรของรัฐจะต้องทำการแปลงนโยบายซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติ
3. แนวคิดระบบราชการ 4.0 คือแนวนโยบายของประเทศในปัจจุบันที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทย
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะ
ใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งส่งผลให้ระบบราชการ
ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ภาครัฐต้องปรับตัวและต้องพลิกโฉมเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital
Era)
2.หลักการในการบริหารราชการไทย
หลักการที่เกี่ยวกับการบริหารราชการไทยมีลักษณะเกี่ยวข้องกับ “อำนาจอธิปไตย”(Sovereignty)
ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจสูงสุ ดของรัฐ สำหรับประเทศไทยการใช้อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจ
บริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ในส่วนของอำนาจบริหาร พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่น ดิน ได้กำหนดให้การบริห ารราชการของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่ว น คือ การบริห ารราชการ
ส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นอำนาจการบริหาร
ราชการแผ่ น ดิ น ได้ อ ย่า งมี ค วามชอบธรรม (Legitimacy) ในการบริ ห าร (Administration)และปกครอง
(Government) รวมถึงการบริหารปกครอง (Governance) ในการบริหารราชการสมัยใหม่
ในส่วนของความสำคัญ ของอธิปไตย หากพิจารณาจากองค์ประกอบของ “รัฐ”ที่มีองค์ประกอบ 4
ประการ คือ อาณาเขต ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย อาจกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยนั้นถือว่าเป็น
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความเป็นรัฐและประเทศนั้นๆ เพราะแสดงถึงการมีอำนาจในการบริหารประเทศ
หรือรัฐที่ตนปกครองอยู่โดยเด็ดขาด มีลักษณะของความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อประเทศอื่นใด กล่าวคือมีความเป็น
เอกราชและสิทธิทางการบริหารและปกครองประเทศของตน อนึ่ง สาระสำคัญของอำนาจอธิปไตยมีการแบ่ง
การใช้อำนาจ ดังนี้
อำนาจบริหาร การใช้อำนาจทางการบริหารนั้น รัฐได้กำหนดให้มีองค์การหนึ่งที่เรียกว่ารัฐบาล เป็น
ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางการบริหารซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลไว้โดยมี
เป้าหมายอยู่ที่การสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน การใช้อำนาจการบริหารของรัฐบาลนั้นจะเป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายเพื่อให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น ๆ นำไปปฏิบัติ การอำนวย
ความสะดวก และการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
อำนาจนิติบัญญัติ องค์การฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภาเป็นองค์การทางการเมืองที่ใช้อำนาจนิติ
บัญญัติจะทำหน้าที่ในการกำหนดกฎหมายที่เรียกว่าพระราชบัญญัติ ซึ่งตามหลักการแล้วจะกำหนดให้องค์การ
ที่เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารหรือรัฐบาลไปกำหนดรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติ
กำหนดไว้ ด้ว ยการออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศต่าง ๆ อันเป็น
กฎหมายที่มีศักดิ์ในลำดับรอง ๆ ลงมาให้เป็นไปอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญฯ และ
พระราชบัญญัตินั้น ๆ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมและตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ
ของประชาชน
อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการวินิจฉัย พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อพิ พาทระหว่าง
องค์การภาครัฐด้วยกันเอง องค์การภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของอำนาจ
ในการพิจารณาประเภทข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น สามารถจำแนกแจกแจงแบ่งไปตามองค์การที่ใช้อำนาจตุลา
การที่ต่างกัน สำหรับอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์การภาครัฐด้วยกันเอง
องค์การภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน ในกรณีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนที่
เกี่ยวกับคำสั่งหรือสัญญาทางปกครองนั้นจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองซึ่งมีฐานะเป็นศาลประเภท
หนึ่ง นอกเหนือไปจากศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมือง และศาลทหาร
หลักการใช้อำนาจในการบริหารราชการ
1. หลักการรวมอำนาจในการปกครอง การรวมอำนาจ หมายถึง การกำหนดให้รัฐบาลเป็นศูนย์กลาง
ของอำนาจในการอำนวยการบริหารประเทศ รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาลในส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง
ทบวง กรมต่างๆ มีอำนาจบังคับบัญชาและดำเนินการบริหารกิจการบ้านเมืองตลอดทั่วทั้งประเทศ โดยมี
หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา ทั้งนี้ อำนาจสูงสุดในการ
ตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการเป็นของรัฐบาลในส่วนกลาง ทุกประเทศจำเป็นต้องใช้หลักการรวมอำนาจในการ
บริหารประเทศ เพื่อให้ประเทศชาติมีความเป็นเอกภาพ โดยมีรัฐบาลเป็นศูนย์กลางในการใช้อำนาจ แต่
ประเทศใดจะมีการรวมอำนาจมากหรือน้อย หรือรวมอำนาจในการบริหารกิจการใดบ้างนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับยุค
สมัย อุดมการณ์ ทางการเมื อง สภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ ในประเทศนั ้น ๆ ซึ่งทำให้บางบ้ านเมื อ ง
ดำเนินการบริหารประเทศโดยเน้นความสำคัญของรัฐ และบางบ้านเมืองบริหารประเทศโดยเน้นความสำคัญ
ของปัจเจกชน บ้านเมืองที่เน้นความสำคัญของรัฐจะมีการรวมอำนาจสูงกว่าบ้านเมืองที่เน้นความสำคัญของ
ปัจเจกชน
2. หลักการแบ่งอำนาจในการปกครอง เป็นหลักการที่ราชการบริหารส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง
ทบวง กรม ต่าง ๆ มอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่ง
ส่งไปประจำปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองต่าง ๆ ทั่วทั้งของประเทศ อันได้แก่ ส่วนราชการประจำจังหวัด
และอำเภอดำเนินงานแทนส่วนกลาง โดยเจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงเป็นข้าราชการที่ส่วนกลางแต่งตั้งเองและอยู่
ในการปกครองบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้นเป็นการจัด
ระเบียบบริหารราชการตามหลักการรวมอำนาจการปกครองมากกว่าจะเป็นการกระจายอำนาจ และเจ้าหน้าที่
ซึ่งเป็นตัวแทนของส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาคนั้นส่วนกลางจะเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนจากการการ
ปฏิบัติราชการได้
3. หลักการกระจายอำนาจการปกครอง การกระจายอำนาจเป็นหลักการใช้อำนาจบริหารที่กำหนดให้
รัฐบาลในส่วนกลาง ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริห ารประเทศ มอบอำนาจหรือคืนอำนาจบางประการให้
ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นดำเนินการบริหารกิจการท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้ ประชาชนในท้องถิ่นจะจัดตั้ง
องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น ซึ่งเป็น องค์กรของประชาชนในท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อใช้อำนาจดังกล่าวนี้แทน
ประชาชนและดำเนินการบริหารท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ของชุมชนท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นอิสระ โดยไม่ถูก
แทรกแซงจากรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกั บดูแลของ
รัฐบาลตามความจำเป็น การกระจายอำนาจ เป็นหลักการสำคัญยิ่งในการจัดการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เป็นการลดบทบาท และจำกัดอำนาจของรัฐบาลกลางลง พร้อมๆ กันกับเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
ในการบริหารท้องถิ่นของตนเอง อันเป็นรากฐานของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย (รสคนธ์
รัตนเสริมพงศ์,2563 : น. 32-34 )
พัฒนาการของการบริหารราชการไทย
1.พัฒนาการของการบริหารราชการไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สามารถอธิบายความเป็นมาการบริหารราชการไทยสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์จัดแบ่งออกเป็น 3 ยุค
สมัยดังนี้
1. การบริหารราชการไทยสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1782 – 1981)
2. การบริหารราชการไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2310)
3. การบริหารราชการไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – 2475)
2.พัฒนาการของการบริหารราชการไทยในสมัยประชาธิปไตย
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ประเทศไทยประสบ
กับปัญหาต่าง ๆ มากมายทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะประชาชนยังคุ้นเคยกับการปกครอง
ในระบอบเก่าและยังมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยไม่เพียงพอ จึงทำให้รูปแบบการปกครองแบบ
ใหม่ไม่มั่นคงเท่าที่ควร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อยมาหลาย
ฉบับเป็นผลให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเพื่อปรับปรุงการบริหาร
ราชการด้วยหลายฉบับเช่นกัน ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ สร้างความมั่งคั่ง
ของประเทศ และความผาสุกของประชาชน (เสน่ห์ จุ้ยโต, 2561) ซึ่งได้แก่
1) พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหาร พ.ศ. 2476
2) พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 (โดยยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับ พ.ศ. 2476)
และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2496 (ฉบับที่ 2) พ.ร.บ. ปี พ.ศ. 2499 (ฉบับที่ 3) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) และ
พ.ร.บ. พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 5)
3) ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218
4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (โดยยกเลิก ประกาศคณะปฏิวัติ 218)
5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
6) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546
7) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
8) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
จากพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น มีผลทำให้ในปัจจุบันมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น
3 ส่วน ดังนี้
1.1 การบริหาราชการส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม โดยส่วนราชการดังกล่าวมีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งปัจจุบันส่วนราชการที่มีฐานะเป็น
กระทรวง 20 กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวง อีกด้วย
1.2 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด กำหนดให้จังหวัดเป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอไม่มี
ฐานะเป็นนิติบุคคล สำหรับตำบลและหมู่บ้านไม่ใช่การบริหารราชการส่วนภูมิภาคแต่เป็นการจัดองค์กร
ปกครองตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่
1.3 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วน
ตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

ระบบในการบริหารราชการไทย
ระบบในการบริหารราชการไทยประกอบด้วย พันธกิจของระบบบริหารราชการไทย โครงสร้างและ
ประเภทขององค์การของรัฐ บุคลากรของรัฐ และกลไกในการบริหารราชการไทย
1. พันธกิจของระบบบริหารราชการไทย ประกอบด้วย งานบริการสังคม การควบคุมและจัดระเบียบ
งานสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และงานสนับสนุนในการดำเนิน พันธกิจเหล่านี้ จะต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของ
ผู้รับบริการ จังหวะ เวลา และปริมาณที่เหมาะสม ความต่อเนื่องและความทันสมัยของการให้บริการ
2. การบริหารราชการของไทยมีโครงสร้างประกอบด้วย การบริหารราชการส่วนกลาง การบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในส่วนของประเภทขององค์การของรัฐประกอบด้วย
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี องค์การตาม
รัฐธรรมนูญ และองค์การมหาชน
3. บุคลากรของรัฐ คือบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระบบราชการไทย อันหมายรวมถึง
ข้าราชการทุกประเภท ลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานในราชการบริหารส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน
องค์กรอิสระ องค์การภาครัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ รวมถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. กลไกพื้นฐานในการบริหารราชการ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน นอกจากนี้ยังมี
กฎหมายที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และกฎหมายที่
เกี่ยวกับการบริหารราชการในลักษณะอื่นๆ

กระบวนการในการบริหารราชการไทย
กระบวนการในการบริหารราชการไทย ประกอบด้วย การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการ
ไทยการจัดองค์การในการบริหารราชการไทย การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการคลังสาธารณะในการ
บริหารราชการไทย การบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะในการบริหารราชการไทย และการควบคุมใน
การบริหารราชการไทย
1. แนวนโยบายที่ใช้ในการพัฒนาประเทศมี 2 ลักษณะ คือ นโยบายในฐานะเป็นแนวนโยบายแห่ง
รัฐ (State Policy และนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ที่มาจากประชาชน ในส่วนของแผนใน
การบริหารราชการไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ จำแนกออกเป็น 3 ระดับ
ได้แก่ ระดับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนแม่บท และแผนพัฒนา ส่วนที่สองได้แก่ แผนของส่วน
ราชการทั้ง 3 ส่วนคือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2. การจัดองค์การของระบบราชการไทย มีลักษณะเป็นการจัดองค์การที่อยู่ภายใต้โครงสร้างการ
บริหารราชการแผ่นดินซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนถูมิภาค และราชการส่วน
ท้องถิ่น สำหรับทิศทางการจัดองค์การสมัยใหม่จะมุ่งไปสู่องค์การสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งมี 5 องค์การที่สำคัญ คือ
องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์การที่จัดบรรยากาศ กิจกรรมให้เกิดการ
เรียนรู้ของคนในองค์การตลอดเวลา องค์การแห่งคุณภาพ (Quality Organization) หมายถึง องค์การที่จัดทำ
ตัวชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล องค์การแห่งนวัตกรรม (Innovation Organization) หมายถึง
องค์ ก ารที ่ จ ั ด ให้ ม ี ก ารคิ ด และประดิ ษ ฐ์ ส ิ ่ ง ใหม่ ต ลอดเวลา องค์ ก ารฐานความรู ้ ( Knowledge-Based
Organization) หมายถึง องค์การที่จัดให้มีการประมวลสารสนเทศ เป็นความรู้เพื่อนำความรู้สู่ปัญญา เป็นการ
ใช้ความรู้สร้างมูลค่าเพิ่ม องค์การมุ่งเน้นกล-ยุทธ์ (Strategy Focused Organization) หมายถึง องค์การที่จัด
ให้มีการจัดทำวิสัยทัศน์พันธกิจและกลยุทธ์ที่สอดคล้องสัมพันธ์กันเพื่อนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการ
แข่ ง ขั น รวมถึ ง จะมุ ง ไปสู ่ ภ าครั ฐ ที ่ ม ี ข ี ด สมรรถนะ สู ง และทั น สมั ย (Smart & High-Performance
Government) มุ่งสู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” (Digital Government) และมุงสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ (พ.ศ.
2561-2580) ในด้านโครงสร้างองค์การภาครัฐที่เหมาะสมนั้นต้องมีขนาดเล็กลงและพร้อมปรับตัวให้ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลง
3.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ (HR 4.0) มีลักษณะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน
ให้ภาครัฐสามารถเคลื่อนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็น Thailand 4.0สำหรับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกล
ยุทธ์ของภาครัฐ อาจต้องดำเนินการรวม 3 เรื่อง
1)การกำหนดกลยุทธ์หรือทิศ ทางในการดำเนิน งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ใ ห้สอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์การ (HR Direction/Strategy) โดยหน่วยงานบริหารทรัพยากร
มนุษย์จะต้องทำงานควบคู่กับหน่วยงานวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การซึ่งจะทำหน้าที่วิเคราะห์สภาพแวดล้ อม
ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อจะคาดการณ์ล่วงหน้าว่าองค์การแต่ละห้วงเวลาในอนาคตจะเจริญเติบโต
หรือต้องเผชิญกับปัญหาใด ควรเคลื่อนตัวไปในทิศทางไหน หน่วยบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ต้องเตรียมการ
เสนอนโยบายและวางแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ
2)การพัฒนาขีดความสามารถของคนในองค์การ (HR Capabilities) ได้แก่ การแสวงหาทรัพยากร
มนุษย์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แล้วนำมาพัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่เดิม
ให้มีส มรรถนะครบทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลัก ษณะประจำตัว (Attribute)
รวมทั้ง การหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติงาน มีการสื่อสาร มีการประสานงาน ให้ร่วมทำงาน
กันเป็นทีม
3)การหาระบบ กลไก หรือวิธีการจูงใจให้คนมีแรงกระตุ้นหรือความผูกพันที่อยากทำงานให้องค์การ
(HR Motivation) เพราะมนุษย์เป็น สิ่งมีช ีว ิตจิตใจที่ต้องการได้รับ การดูแลเอาใจใส่ ไม่ใช่เฉพาะการให้
ค่าตอบแทนเป็นตัวเงินเท่านั้น แต่ต้องทำให้บุคลากรในองค์การทำงานในบรรยากาศแวดล้อมที่ดี สถานที่
ทำงานดี มีความปลอดภัย เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือประสานงานกันดี ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เที่ยงตรง มีการยกย่องผู้ที่ทำงานดีเป็นตัวอย่างได้ ผู้บังคับบัญชามีภาวะผู้นำ มีความยุติธรรม สิ่งเหล่านี้เป็น
แรงจูงใจให้บ ุคลากรทำงาน อย่างมีความสุข มีส ำนึกของความเป็นหมู่คณะ (Sense of Belongings)
สามารถสร้างผลงานที่ดีให้แก่องค์กร
ในส่วนของการคลังสาธารณะศึก ษาถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล
เพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่มีคุณภาพที่ดีให้แก่ประชาชน
4.การบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะในการบริหารราชการไทย การจัดบริการสาธารณะ
เป็นพันธกิจหลักของรัฐและระบบราชการที่จะต้องส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและสะดวก
รวดเร็วทันสมัย โดยระบบราชการไทยได้ปรับวิธีคิดและการเปลี่ยนรูปแบบในการบริหารงาน การให้บริการ
และการจัดบริการสาธารณะให้ทันสมัยและสอดคลองกับยุทธศาสตร์ชาติชาติ 20 ปี (2561-2580) แผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติชาติ และแผนปฏิปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงพยายามยกระดับสู่
การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการในการทำงาน และมีการทำงานแบบอัจฉริยะ โดยมีความมุ่งหวังในการ
สร้างการจัดบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการบริการทางออนไลน์ การ
ปรับเปลียนวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อ มการทำงานที่มุ่งเน้นนวัตกรรม และการเป็นภาครัฐที่มีความทันสมัย
โดยที่บริการของรัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชน
5.การควบคุมในการบริหารราชการไทย คือการตรวจสอบดูว่าการดำเนินงานของระบบราชการไทย
มีความสอดคล้องเป็นไปตามแผน (plan) คำสั่งและหลักการที่ได้จัดทำไว้หรือไม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการ
ควบคุมเพื่อเป็นการค้นหาจุดอ่อนและข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขและป้องกันมิให้ผลงานคลาดเคลื่อนจาก
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในปัจจุบันเป้าหมายใหญ่ของระบบราชการไทยคือ แผนยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นการ
ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือไม่ ในการ
ควบคุมตรวจสอบ ทำการอธิบายผ่านสถาบันและตัวแสดง (Actor) ต่างๆ ดังนี้ คือ การควบคุมโดยฝ่ายนิ ติ
บัญญัติ การควบคุมโดยฝ่ายบริหาร การควบคุมโดยฝ่ายตุลาการ การควบคุมโดยประชาชน การควบคุมโดย
สื่อมวลชน และการควบคุมโดยองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆในสังคม เพื่อเป็นหลักประกันว่าการบริหาราชการ
ไทย จะต้องมีผลงานและทิศทางการดำเนินงานเป็นไปตามแผน มีหลักธรรมภิบาล และที่สำคัญสามารถพัฒนา
สู่การเป็นองค์กรขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลประชาชน และทุกภาคส่วน มีความเชื่อมั่นและ
ไว้วางใจในการทำงานของภาครัฐได้
________________________________________________________________________________

บรรณานุกรม

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ, สืบค้นจาก


https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spmthaigov/DRAWER015/GENERAL/DATA0000/00
000136.PDF, เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา 2562. (2562,
25 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 186 ง, หน้า 1-64.
จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ (2563). หน่วยที่ 9 การบริหารท้องถิ่นไทย, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 33421
การบริหารท้องถิ่น นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ (2564). หน่วยที่ 11 รายรับของรัฐบาล, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 33207
เศรษฐศาสตร์และการคลังสาธารณะ นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2563). หน่วยที่ 8 การวางแผนยุทธศาสตร์, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 33454 นโยบาย
สาธารณะ ยุทธศาสตร์และการวางแผนการบริหารการปกครองท้องที่. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560) การขับเคลื่อนระบบราชการสู่ Government 4.0. สํานักงาน ก.พ.ร.
ไทยโพสต์. (15 เมษายน 2564) “บิ๊กตู่” ปักหมุดพลิกโฉมประเทศ เคาะ “แผนพัฒนาชาติ” ฉบับที่ 13, สืบค้น
จาก https://www.thaipost.net/main/detail/99507, เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2564
นราธิป ศรีราม. (2563). หน่วยที่ 6 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผน, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 33454 นโยบาย
สาธารณะ ยุทธศาสตร์และการวางแผนการบริหารการปกครองท้องที่. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พงศ์โพยม วาศภูติ (2563). หน่วยที่ 5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
33421 การบริหารท้องถิ่น นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
www.dla.go.th
www.egov.go.th
www.dca.or.th
www.industry.go.th
www.moac.go.th
www.opdc.go.th

You might also like