You are on page 1of 10

หน้าที่ 1

พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2

หัวข้อ ข้อมูลพื้นฐาน
ให้ไว้ ณ วันที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ปีรัชกาล เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน
วันประกาศ ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546
วันบังคับใช้ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ ณ วันที่ 10 ต.ค. 46
ผู้รักษาการ นายกรัฐมนตรี
ผู้รับสนอง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร / นายกรัฐมนตรี
มาตรา 9 หมวด 53 มาตรา
ฉบับแก้ไขล่าสุด 2562

เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้

1. มีการปฏิรูประบบราชการ จึงต้องวางหลักเกณฑ์บริหารที่ดี
2. ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้วางหลักเกณฑ์โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 2

พรบ. แผ่นดิน
ปฏิรูประบบราชการ
(ม.3/1) ฉ.5

พรฎ. GG

หมวด 1

กิจการบ้านเมืองที่ดี (7เป้าหมาย) มาตรา 6


1. เกิดประโยชน์สขุ ของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มี (ลด) ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 หมวด 8


เป้า 1 เป้า 2 เป้า 3 เป้า 4 เป้า 5 เป้า 6 เป้า 7
สุข ผล คุ้ม ลด ปรุง สะ เมิน

พ.ร.ฎ. นี้บังคับใช้กับส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐ


ที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 4)
*** การปฏิบัติตามกฎหมายนี้ ให้เป็นไปตาม ครม. กำหนด ตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร. *** (มาตรา 3)

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 3

แนวข้อสอบ หมวดที่ 1

1. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 คือข้อใด
ก. หน่วยงานราชการมีการทุจริตมากเกินไป
ข. เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
ค. มีการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ง. ถูกทั้ง ข และ ค

2. การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในเรื่องใด
สมควรที่ส่วนราชการจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามข้อใด (มาตรา 3)
ก. คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
ข. รัฐสภากำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
ค. คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ง. นายกรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

3. “การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ” บัญญัติไว้ในหมวดใดของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. หมวด 3 ข. หมวด 4 ค. หมวด 5 ง. หมวด 6

4. “การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการประชาชน” บัญญัติไว้ในหมวดใดของพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. หมวด 4 ข. หมวด 5 ค. หมวด 6 ง. หมวด 7

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 4

5. คำว่า “ส่วนราชการ” ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ


บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นั้น ให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด (มาตรา 4)
ก. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ข. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ค. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
ง. หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร

6. ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 (มาตรา 4)
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. กระทรวงยุติธรรม ง. กระทรวงมหาดไทย

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 5
หมวด 2 เป้า 1
“สุข”
เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (ภาพรวม)

ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด

สังคมส่วนรวมสงบปลอดภัย

ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
มีความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดี

แนวทางการบริหารราชการ (ภาพรวม)

Keyword “กำหนดภารกิจ, ซื่อสัตย์, วิเคราะห์ผลดี/เสีย, รับฟังความคิดเห็น, แก้ไขโดยเร็ว”

1. กำหนดภารกิจ สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ + นโยบายคณะรัฐมนตรี


2. ปฏิบัติภารกิจต้องซื่อสัตย์ สุจริต ตรวจสอบได้ ให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนระดับประเทศ + ท้องถิ่น
3. ก่อนดำเนินการ วิเคราะห์ผลดี/ผลเสีย ให้ครบถ้วน กำหนดขั้นตอนที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบ
หากมีผลกระทบต่อประชาชนให้รับฟังความคิดเห็น หรือชี้แจงให้เข้าใจ
4. ให้ข้าราชการรับฟังความคิดเห็นของสังคม + ประชาชน เพื่อนำมาปรับปรุง
5. หากเกิดปัญหาและอุปสรรค ให้แก้ไขโดยเร็ว / หากปัญหาเกิดจากส่วนราชการอื่น ให้แจ้งส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขโดยเร็ว + แจ้ง ก.พ.ร. ด้วย

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 6

แนวข้อสอบ หมวดที่ 2

7. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด
ก. ความผาสุกของประชาชน ข. ความเป็นอยู่ดีของประชาชน
ค. ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ง. ถูกทุกข้อ

8. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการต้องมีแนวทางการบริหารตามข้อใด
ก. ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วน
ข. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้ล่วงหน้า
ค. การกำหนดแผนการปฏิบัติราชการมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะใช้
ง. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น

9. ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชน
และสอดคล้องตามข้อใด
ก. สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ
ข. สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และที่ ก.พ.ร. กำหนด
ง. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี

10. หากเกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการที่เกิดจากระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น
ให้ส่วนราชการที่ประสบอุปสรรคดังกล่าวปฏิบัติอย่างไร
ก. แจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ
ข. แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อทราบปัญหา
ค. ให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ง. ถูกทุกข้อ

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 7
หมวด 3 เป้า 2
“ผล”
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

ประเด็นหลัก สาระสำคัญ
ให้ส่วนราชการทำ ดังนี้
ต้องมีแผน 1. จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ไว้ล่วงหน้า
(มาตรา 9) 2. กำหนดรายละเอียด แผนปฏิบัติราชการ
3. ติดตามประเมินผล แผนปฏิบัติราชการ
4. หากเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้แก้ไขหรือเปลี่ยน แผนปฏิบัติ
ราชการ
- อ่านต่อในแผนผังหน้าถัดไป –

- หากภารกิจมีความเกี่ยวข้อง/ใกล้เคียง/ต่อเนื่อง กับหลายส่วนราชการ
บูรณาการร่วมกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางฯ แบบบูรณาการร่วมกัน
(มาตรา 10) - ให้ส่วนราชการสนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่า / หน.คณะผู้แทน
ตปท. ให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัด / ใน ตปท.

เป็นหน้าที่ของส่วนราชการ
องค์การแห่งการเรียนรู้ - ต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สามารถประมวลผล และประยุกต์ใช้อย่าง
(มาตรา 11) ถูกต้อง
- รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์
- ส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถ
- สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ(ในสังกัด) ให้เป็น
คนที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน

นายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ สรุปผลและข้อมูลให้


ความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ นายกคนใหม่
(มาตรา 19)

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 8

สิ้นปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์แผนฯ
คณะรัฐมนตรี เสนอคณะรัฐมนตรี

รัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาแผนแล้ว หาก...


เห็นชอบ = ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบให้
ไม่เห็นชอบ
สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบให้ไม่ได้
ไม่ได้เสนอของบ

การโอนเงินงบประมาณ
เมื่อกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนฯ แล้ว
จะโอนเงินงบฯ จากภารกิจหนึ่ง ไปดำเนินการอย่างอื่น หรือเอาไปใช้
ในภารกิจที่ไม่มีในแผน จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ให้ปรับแผนฯ ให้สอดคล้องกัน

การปรับแผนฯ
จะทำได้เฉพาะในงานที่ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ /
หมดความจำเป็น / ทำแล้วเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น /
มีความจำเป็นอื่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แผนปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (5 ปี) ต้องสอดคล้องกับ


- ยุทธศาสตร์ชาติ / แผนแม่บท / แผนการปฏิรูปประเทศ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ
นโยบายของ ครม. / แผนอื่นๆ

ในแต่ละปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เสนอ รมต.


- ให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับ นโยบายของส่วนราชการ / เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์
ของงาน / รายได้-รายจ่าย / ทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
(ปีงบประมาณ 2566 = 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 66)

สำนักงบประมาณ + ก.พ.ร. กำหนดแนวทางการจัดทำแผนฯ เพื่อของบประมาณ

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 9

* ก.พ.ร. อาจเสนอ ค.ร.ม. เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร


หรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 12)

แนวข้อสอบ หมวดที่ 3

11. ในการบริหารราชการจะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้นั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องมีคือข้อใด


ก. ปฏิบัติภารกิจโดยความซื่อสัตย์ สุจริต และตรวจสอบได้
ข. มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
ค. แผนปฏิบัติราชการ
ง. บริหารราชการโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง

12. ข้อใดเป็นการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ก. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
ข. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน
ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
ค. ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วน
ง. ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
โดยเร็ว

13. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ส่วนราชการต้องปฏิบัติอย่างไร


ก. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ให้จัดทำแผนปฏิบัติการไว้ล่วงหน้า
ข. จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
ค. กรณีการปฏิบัติภารกิจหรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้
เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยน
แผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
ง. ถูกทุกข้อ

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด
หน้าที่ 10

14. ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญที่กำหนดให้ต้องมีในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ
ก. นโยบายปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ข. เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
ค. ประมาณการรายได้และรายจ่าย
ง. นโยบายของคณะรัฐมนตรี

15. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติอย่างไร


ก. จัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ
ข. บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน
ค. ใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมเพื่อลดขั้นตอน
ง. ทำแผนภูมิขั้นตอนการดำเนินการให้ชัดเจน

16. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้
ก. การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ
ข. การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ค. การสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง
ง. จัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

EP อื่น ๆ เป้าหมายที่ 3 – 7 ลงคลิปติวเฉพาะในคอร์สติวเท่านั้น


นักศึกษาที่สนใจสมัครคอร์สติว ติดต่อได้ทางไลน์ @tutornorth นะครับ

เอกสารประกอบการติว วิชากฎหมาย
เรื่อง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับปรับปรุงล่าสุด

You might also like