You are on page 1of 17

การวิเคราะห์โครงงานวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัย

ลำดับการสัมมนา GHB1
สมาชิก
1.ชื่อ นายธีธชั ทับเที่ยง ชั้น ม.4/4 เลขที่ 4
2.ชื่อ นายปาณัสม์ อนันต์ ชั้น ม.4/4 เลขที่ 5
3.ชื่อ นายสรณ์สิริ สุวรรณโชติ ชั้น ม.4/4 เลขที่ 16
คุณครูที่ปรึกษาสัมนา คุณครูอู ธิพงศ์ หนูนุ่น
ชื่อโครงงานวิจัย กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สํานักอนุรักษ์สตั ว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสตั ว์ป่า และ พันธุพ์ ืช. กรุงเทพฯ.
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.วุฒินันท์ พวงสาย
2.จิรชัย อาคะจักร
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
สถาบัน กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และ พันธุพ์ ืช. กรุงเทพฯ.
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ประเด็นปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา
พฤติกรรมการกินพืชอาหารและชนิดพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน ในเขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าภูหลวง
ความสำคัญของสิ่งที่เป็นปัญหา
การศึกษาพฤติกรรมการหากินมีความสําคัญต่อการจัดการสัตว์ป่า
วิธีการทั่วไปและข้อดี ข้อเสียในการแก้ปัญญหาด้วยวิธีทวั่ ไป
ใช้ระบบนิเวศในธรรมชาติในการศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของช้างป่า โดยข้อดีนั้น คือ จะได้ความสมจริงใน
การทดลองมากที่สดุ เเละทำให้ได้ผลวิจัยที่น่าเชื่อถือที่สุด เเต่ข้อเสียนั้นคือ เเผนวิจัยอาจจะตรงตามการคาดหมาย
เเละอาจมีอันตรายในระหว่างวิจัยด้วย

แนวทางการแก้ปัญหาและความเป็นไปได้ของวิธีที่ผู้วิจัยเสนอ
1. ทําการศึกษาติดตามเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงฤดูกาลตลอดทั้งปี เพื่อให้ได้ข้อมูล เกี่ยวกับพืชอา
หารท่คี รบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น
2. ในการติดตามเก็บข้อมูล ควรเก็บข้อมูลอย่างน้อย 4 - 5 วัน เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลท่ีแน่นอนและ ครบ
ถ้วน ซึ่งจะทําให้ทราบถึงลักษณะ พฤติกรรมการเดินหากินของช้าง และวงรอบลักษณะพฤติกรรมการกิน พืช
อาหารของช้างในแต่ละวัน
วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงงาน
1.เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
2.เพื่อทราบถึงชนิดพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
สมมติฐานของการศึกษาโครงงานและตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การศึกษา พฤติกรรมการหากินอาหารของช้างฝูงแและะช้างโทน ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สตั ว์ป่าภูหลวง
สมมติฐาน
1.พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะที่เเตกต่างกัน
2.ชนิดอาหารของพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะคล้ายๆกัน
ตัวแปรต้น โคลงของช้างหรือช้างโทนที่อยูใ่ นระบบนิเวศที่แตกต่างกัน
ตัวแปรตาม ระบบนิเวศของพื้นที่นั้น
ตัวแปรควบคุม ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณอาหารในระบบนิเวศ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาโครงงาน
1.ได้รู้ถึงพฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
2.ได้รู้ถึงชนิดพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
ขอบเขตการศึกษาของโครงงาน
สถานที่ทำการทดลอง : บริเวณโคกนกกระบา บริเวณพื้นที่โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่า บริเวณพื้นที่โคกห้วยเตย
บริเวณพื้นที่ห้วยน้ำสาน บริเวณพื้นที่โคกนกกระบา บริเวณพื้นที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง บริเวณพื้นที่สถานีวิจัย
สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล : การกินพืชอาหารของช้างป่าและร่องรอยของพฤติกรรม
วิธีมาตรฐานในการวิเคราะห์ : สังเกตุพฤติกรรมการกินของช้างป่าในแต่ล่ะพื้นที่แตกต่างกันและมีปัจจัยแตกต่าง
กันเช่นกัน
ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557
นิยามศัพท์เฉพาะในการศึกษาโครงงาน
ช้างฝูง ( elephant herd ) คือ ช้างที่เป็นสัตว์บกและสัตว์สังคมมาอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง โดยเรียกว่า “ โขลง” ซึ่ง
ในโขลงจะประกอบด้วย ช้างผู้นำที่เป็นช้างตัวเมีย ตัวใหญ่ที่สดุ มีอายุเยอะพร้อมกับประสบการณ์ในการนำทาง
และดูแลฝูงมากที่สุด เราเรียกช้างผู้นำนี้วา่ “จ่าโขลง” หรือ “แม่แปรก”
ช้างโทน ( solitary elephant ) คือ ช้างที่ชอบแยกออกจากฝูง โดยส่วนมากนั้นจะเป็นช้างตัวผู้ที่อายุมาก มั่นใจ
ในพละกำลังและความเก่งกาจของตนเองว่าจะสามารถป้องกันภัยอันตราย โดยเมื่อช้างอายุมากนั้น ก็จะเบื่อหรือ
รำคาญฝูง จึงแยกออกไปอยู่ตัวเดียว จะกลับเข้าฝูงเมื่อต้องการที่จะผสมพันธุ์เท่านั้น
ชนิดพืชอาหาร ( forage species ) คือ พืชตระกูลหญ้าและตระกูลถั่วที่สามารถใช้เป็นอาหารได้ พืช
จำพวกนี้นั้นมีอยู่หลายชนิด และในแต่ละชนิดนั้นก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ จะมีความเหมาะสมในการปลูกแตกต่างกัน
ในแต่ล่ะจำพวก
หญ้า
- หญ้าต้นเตี้ยที่มีการเจริญเติบโตแผ่ราบไปกับพื้นโดยไหลและลำต้นใต้ดิน ( stolons and rhizomes )
ไหลนั้นเมื่อแตะดินจะเกิดรากและเกิดเป็นต้นใหม่ได้ เช่น หญ้าซิกแนลเลื้อย
- หญ้าที่มีลกั ษณะต้นกึ่งเลื้อยกึ่งตั้ง เช่น หญ้ารูซี่ หญ้าแพงโกล่า
- หญ้าที่มีลกั ษณะเป็นกอใหญ่แยกเป็นกอๆอย่างเห็นได้ชัด เช่น หญ้ากินนีสีม่วง กินนีมอบบาซา หญ้า
อะตราตัม หญ้าพลิแคทูลั่ม
- หญ้าที่มีลกั ษณะเป็นกอลำต้นเป็นปล้องตั้งตรงให้ผลผลิตสูง เช่น หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าบาน่า
ถั่ว
- ถั่วต้นเตี้ยที่มีการเจริญเติบโตแผ่ราบไปกับพื้นโดยไหลและลำต้นใต้ดิน ( stolons and rhizomes )
ไหลนั้นเมื่อแตะดินจะเกิดรากและเกิดเป็นต้นใหม่ได้ เช่น ถั่วลิสงเถา
- ถั่วที่เจริญเติบโตแบบเถาเลื้อยพัน เช่น ถั่วเซนโตร ถั่วคาวาลเคด
- ถั่วที่มีลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มตั้งตรง เช่น ถั่วฮามาด้า ถั่วท่าพระสไตโล ถั่วพุ่ม
- ถั่วยืนต้น เช่น กระถิน ถั่วไมยรา แค มะแฮะ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสาร
ช้างเอเชีย (Elephas maximus Linnaeus, 1785) เป็นสัตว์ในอันดับ (Order) Proboscidea วงศ์ (Family)
Elephantidea สกุล (Genus) Elephas มี 3 ชนิดย่อย (Eltringham, 1991 อ้างตาม Srikrachang, 2003) คือ 1)
ช้างศรีลังกา (Elephas maximusmaximus) พบกระจายในแถบประเทศศรีลังกา และ ทางตอนใต้ของประเทศ
อินเดีย เป็นช้างเอเชียที่มีรูปร่างขนาดใหญ่และสีของผิวหนังคล้ำเข้มที่สุด 2) ช้างอินเดีย (Elephas
maximusindicus) พบกระจายในแถบประเทศเอเชียตะวันออก เฉียงใต้คือ ประเทศเนปาลภูฐาน พม่า ไทย ลาว
กัมพูชา เวียดนาม จีน และมาเลเซีย รวมไปถึงช้างที่อยู่บน เกาะบอร์เนียว เป็นช้างเอเชียที่มีรูปร่างและสีของ
ผิวหนังเข้มปานกลาง 3) ช้างสุมาตรา (Elephas maximussumatranus) พบกระจายตามแถบหมู่เกาะสุมาตรา
ของประเทศอินโดนีเซียเป็นช้างเอเชียที่มีขนาดตัวเล็กที่สุด และสีของผิวหนังจางที่สุด ช้างป่าทีพ่ บในประเทศไทย
คือชนิดย่อย Elephas maximusindicus Cuviee, 1977 (Lekagul and Mcneely, 1977) ประเทศไทยมี
ประชากรช้างป่าในธรรมชาติเหลืออยู่เพียง 3,000 - 3,500 ตัว (Srikrachang, 2003) จากการศึกษาการแพร่
กระจายของช้างป่าในประเทศไทย พบว่าช้างป่ามีการกระจายในพื้นที่กลุ่มป่าอนุรกั ษ์ 15 กลุ่มป่า ครอบคลุมพื้นที่
ป่าอนุรักษ์ 61 แห่ง พื้นที่การกระจายของช้างป่าในกลุ่มป่าภูเขียว – น้ำหนาวครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 68 %
ของพื้นที่สํารวจโดยสํารวจพบในอุทยานแห่งชาติตาดหมอก อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว 405) อุทยานแห่งชาติ
ภูกระดึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ - ห้วยใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าผาผึ้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าภูเขียว และ
เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าภูหลวงกลุ่มประชากรของช้างป่าในกลุ่มป่าภูเขียว – น้ำหนาวจัดอยู่ในระดับที่ พบเห็นได้ง่าย
มาก (very common) (กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, 2553) ช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงมี จํานวนไม่น้อยกว่า
105 ตัว (สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง, 2555) มีค่าความชุกชุมในระดับสูง (53.1 %) อยูใ่ นระดับ พบเห็นได้ง่ายมาก
(very common) ปัจจัยแวดล้อมที่มคี วามสําคัญต่อการเลือกใช้ประโยชน์พื้นที่ของช้างป่า ได้แก่แหล่งน้ำแหล่งโป่ง
และพื้นที่ที่มคี วามลาดชันต่ำ (กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, 2553)
พฤติกรรมและลักษณะทางสังคม
ช้างป่าเป็นสัตว์สังคม (social animal) ที่อยูร่ วมกันเป็นฝูง 5-20 ตัวขนาดของฝูงจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่ กับการรวม
ตัวหรือการแยกกลุ่มของช้างเพศเมียและลูกช้างแต่ละกลุ่ม การรวมฝูงหรือการแยกออกจากฝูงขึ้นอยู่กับ สภาพ
พื้นที่ถิ่นอาศัย ปริมาณอาหารและความปลอดภัย (มัทนา, 2542; Lekagul and McNeely, 1977) โดยทั่วไปช้าง
เพศเมียที่มีอายุมากจะเป็นผู้นําฝูงในการเดินหากินไปตามแหล่งอาหารแหล่งโป่ง รวมถึงการหลบภัย ช้างเพศเมียที่
นําฝูงเรียกว่า “ช้างแม่แปรก” นอกจากจะนําฝูงในการหากินแล้วช้างแม่แปรก ยังมีบทบาทสําคัญในการปกป้องฝูง
ช้างจากศัตรู (มัทนา, 2542; Lekagul and McNeely, 1977; Srikrachang, 2003) ภายในฝูงช้างป่ามีความ
สัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันประกอบด้วยกลุ่มความสัมพันธ์คือแม่ช้างและลูกช้างเพศเมีย ส่วนลูกช้างเพศผู้เมื่อมีอายุ
ประมาณ 5 ปีจะถูกกันให้แยกออกจากฝูงเพื่อสร้างอาณาเขตครอบครอง (territory) ของตนเอง ถ้าหากยังไม่
สามารถมีอาณาเขตครอบครอง ช้างเพศผูท้ ี่ถูกกันให้แยกจากฝูงจะมารวม กับช้างเพศผูต้ ัวอื่นที่มีอายุใกล้เคียงกัน
รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็กประมาณ 2-7 ตัว กลายเป็นกลุ่มช้างหนุ่มโดยไม่ รวมเป็นฝูงถาวร (Eisenberg and
Lockhart; 1972, Lekagul and McNeely, 1977; Haynes, 1991) แต่ ช้างหนุ่มเหล่านี้จะค่อยๆแยกตัวออกมา
เป็นช้างโทนเพื่อสร้างอาณาเขตครอบครองของตนเอง โดยช้างเพศผู้ที่ แข็งแรงจะครอบครองอาณาเขตพื้นที่หากิน
ที่อุดมสมบูรณ์และจะเข้ามารวมกับฝูงเพศเมียเป็นครั้งคราวในช่วงที่ ตัวเมียเป็นสัดเพื่อมาผสมพันธุ์หรือบางครั้งตัว
เมียที่เข้าสู่ช่วงเป็นสัดจะออกจากฝูงมาผสมพันธ์กับตัวผูท้ ี่ ครอบครองอาณาเขตอยู่ไม่ห่างฝูงมากนัก การเข้าสู่วัย
เจริญพันธุ์ของช้างเพศเมียขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และความอุดมสมบูรณ์ของถิ่นที่อยู่ อาศัยหากมีแหล่งอาหารดีมี
ความปลอดภัยสูงและอยู่รวมกันเป็นฝูงถาวรช้างป่าเพศเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อ มีอายุประมาณ 7 ปีถ้าสภาพ
แวดล้อมไม่ดีช้างป่าเพศเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า คือ อายุประมาณ 10 ปีหรือ มากกว่า (Eisenberg et al,
1971) ช้างเพศผู้สามารถผสมพันธุก์ ับช้างเพศเมียมากกว่าหนึ่งตัว ช้างใช้เวลาในการ ตั้งท้องประมาณ 19-21 เดือน
ให้ลูกครั้งละ 1 ตัว แต่มีน้อยกรณีทพี่ บการให้ลูกแฝด 2 ตัว และเคยพบแฝด 3 ตัว ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ.
2456 จากช่วงเวลาที่กล่าวมาส่งผลให้ระยะเวลาที่ชา้ งเพศเมียจะสามารถผสมพันธุ์ ได้ครั้งต่อไปรวมระยะเวลาไม่
น้อยกว่า 3 ปีในตอนคลอดลูกช้างจะมีแม่รับมาคอยช่วยดูแลและช่วยเลี้ยงลูก ลูกช้างเอเชียแรกเกิดจะมีขนปกคลุม
ทั่วไปตามลําตัวแต่ขนจะค่อยๆ หลุดร่วงไปจนเหลืออยู่เพียงประปราย ลูกช้าง แรกเกิดมีความสูงประมาณ 1 เมตร
หนักประมาณ 75–115 กิโลกรัม (Shoshani, 1992)
การใช้พื้นที่หากิน และเส้นทางการเคลื่อนที่
ช้างป่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ทาํ ให้มีความสามารถในการเคลื่อนที่หากินได้ระยะไกล เส้นทางการ เคลื่อนที่ของฝูงช้าง
ป่าครอบคลุมหลายสภาพพื้นที่ไปตามแหล่งน้ำแหล่งอาหารและแหล่งโป่งทําให้พื้นที่หากินของ ช้างป่าครอบคลุมใน
หลายสภาพป่าตั้งแต่ป่าทึบจนถึงทุ่งหญ้าลูกช้างและช้างวัยรุ่นที่อยู่ในฝูงจะเรียนรู้เกี่ยวกับ เส้นทางการหากินไปสู่
แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร แหล่งโป่งและแหล่งหลบภัยจากแม่ช้าง ซึ่งเป็นเส้นทางการหากินใน แต่ละช่วงฤดูกาล
Eisenberg and Lockhart (1972) กล่าวว่าพื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหมาะสมที่สุดของช้างป่าต้อง ประกอบด้วยพื้นที่ป่า
ร้อยละ 60 และเป็นทุ่งหญ้าร้อยละ 40 และจากการศึกษาของรองลาภ (2536) พบว่าช้างป่า ในพื้นที่เขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งใช้ประโยชน์พื้นที่ในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ไร่ร้างหรือป่ารุ่น ตลอดจนป่า
บริเวณลําห้วย โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งช้างป่ามักมีเส้นทางการเดินหากินวนเวียนอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ส่วน ในช่วงฤดูฝน
ช้างป่าสามารถหากินได้เกือบทุกพื้นที่เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารทัว่ พื้นที่ดังนั้นพื้นที่หากินของ ช้างป่าต้อง
ประกอบด้วยแหล่งน้ำเสมอ ในการใช้พื้นที่อยู่อาศัยและการเคลื่อนย้ายของฝูงช้างในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นไปตาม
ทฤษฎีความพอดีของการกินพืชอาหาร Khan (1967) กล่าวว่าช้างฝูงเดินทางครอบคลุมระยะทาง ประมาณ 19.20
กิโลเมตรต่อวัน ซึ่งมีพื้นที่หากิน (Home range) ประมาณ 309.769 ตารางกิโลเมตร Santaipilai and
Suprahman (1986) ศึกษาโดยใช้วิทยุ (radio-telemetry) ในป่าดงดิบชื้นของมาเลเซีย พบว่าขนาดที่เล็ก ที่สุด
ของพื้นที่หากินของช้างฝูงในป่าดั้งเดิม (primary forest) และในป่าในระยะการทดแทน (secondary forest) มี
ค่าเท่ากับ 166.90 และ 59.72 ตารางกิโลเมตร ตามลําดับ ช้างป่ามีการเคลื่อนที่หากินย้ายฝูงไปเรื่อยๆ หากินใน
พื้นที่เดิมไม่เกิน 2-3 วัน ลักษณะการเคลื่อนที่หากินมี 3 รูปแบบ คือ เดินเร็วกินน้อย เดินช้ากินมาก และเดินปกติ
เล็มอาหารไปเรื่อยๆ (Vancuylenberg, 1977) ช้างป่าออกหากินในช่วงเย็นจนถึงเช้าตรู่ และพักหลับนอนตอน
กลางวันในป่าทึบ (Lekagul and McNeely, 1977)
อุปนิสัยในการกินอาหารของช้างป่า
ช้างป่าเป็นสัตว์ที่มรี ะบบการย่อยอาหารที่ไม่ดีเหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงมีการปรับประสิทธิภาพ ของระบบ
ย่อยอาหารให้ดีขึ้นโดยการเพิ่มอัตราการผ่านเข้าออกของพืชอาหารให้เร็วขึ้นเป็น 2 เท่าของสัตว์เคี้ยว เอื้องทําให้
ช้างต้องการปริมาณอาหารเป็นจํานวนมาก และสามารถกินพืชอาหารได้หลากหลายชนิด โดยช้างป่า กินอาหารวัน
ละ 150-200 กิโลกรัม/ตัว/วัน Santiapillai and Suprahman (1986) กล่าวว่าช้างกินพืชอาหาร คิดเป็นน้ำหนัก
แห้งในระหว่างหากินเป็นเวลา 12 ชัว่ โมง ประมาณร้อยละ 1.5 ของน้ำหนักตัว หรือ 33.60 กิโลกรัม ในช่วงฤดูแล้ง
และประมาณร้อยละ 1.9 ของน้ำหนักตัว หรือ 44.40 กิโลกรัม ในช่วงฤดูฝน ซึ่งช้างป่า เป็นสัตว์กินพืช
(herbivore) จัดอยู่ทั้งพวกกินหญ้า (grazer) และพวกกินใบ (browser) นอกจากอาหารที่เป็น พืชแล้วช้างยังกิน
ดินโป่งเพื่อเพิ่มแร่ธาตุอื่นๆ ให้กับร่างกายด้วย ช้างป่าเป็นสัตว์ที่สามารถกินอาหารได้ หลากหลายชนิด หลากหลาย
รูปแบบทั้งใบ กิ่ง เปลือก ผล ราก นอกจากนั้นช้างป่ายังใช้งวงช่วยให้สามารถกินทั้ง พืชที่มีขนาดสั้นและกิ่งไม้ที่มี
ความสูงถึง 5 เมตร ได้ Delany and Happold (1979) พบว่าในช่วงฤดูแล้งช้างป่า อาศัยอยูใ่ นป่าทึบบริเวณ
ต้นน้ำหากินใบไม้ของไม้ยืนต้น หรืออาศัยอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างเพียงพอตลอดทั้งปีซึ่งช้าง
ป่ามีความต้องการน้ำในปริมาณ 300 ลิตร/วัน (อํานวย, 2523; บํารุง, 2526) โดย ในแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง
ฝูงอย่างน้อยประกอบด้วยหนึ่งระบบแม่น้ำเสมอ นอกจากนั้น Khan (1967) ยังพบว่าแหล่งดินโป่ง (salt - licks)
เป็นปัจจัยสําคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเดินหากินของช้างป่าด้วย
ชนิดพืชอาหารช้างป่า
ช้างป่าต้องการปริมาณอาหารจํานวนมากสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิด และแตกต่างกัน ไปตาม
ถิ่นที่อาศัยตัวอย่างเช่นรองลาภ (2536) พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุสัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี กินพืช
อาหารรวม 165 ชนิดจาก 67 วงศ์โดยพืชอาหารทีพ่ บว่ากินมากที่สุดคือวงศ์ Gramineae (Poaceae) พบจํานวน
23 ชนิด พืชวงศ์ถั่ว ได้แก่ วงศ์ Papilionaceae 7 ชนิด วงศ์ Caesalpiniaceae 5 ชนิด และวงศ์ Mimosaceae 4
ชนิด รวม 16 ชนิด นอกจากนี้พบว่าพืชอาหารช้างป่ายังได้แก่ วงศ์ Zingiberaceae MoraceaeSolanaceae
Meliaceae Rutaceae Compositae และวงศ์ Rubiaceae อย่างละ 4 ชนิด และ พบว่าช้างกินเปลือกของต้นไม้
11 ชนิด และจากการศึกษาพืชอาหารของช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง โดยธัญญา และวรรษรักษ์
(2542) พบว่าช้างป่ามีการใช้ประโยชน์จากพืช 105 ชนิด และหลากหลายรูปแบบทั้ง ใบ กิ่ง เปลือก ผล ราก
นอกจากนี้ชา้ งป่ายังใช้งวงช่วยให้สามารถกินทั้งหญ้าที่มีขนาดสั้น และกิ่งไม้ที่มีความสูง ถึง 5 เมตร ได้ช้างป่าจะ
เลือกใช้ประโยชน์จากพืชอาหารแตกต่างตามฤดูกาล โดยในช่วงหน้าแล้งช้างป่าจะ เลือกกินพืชอาหารพวกไม้อวบ
น้ำ เช่น กล้วยป่า ส่วนช่วงฤดูฝนช้างป่าจะเลือกกินพืชอาหารพวกหญ้า ไผ่ หน่อไม้และลูกไม้ทั้งนี้การศึกษาของไสว
และคณะ (2550) ได้ทําการพิจารณาส่วนประกอบที่เป็นกากอาหาร ในมูลช้าง พบว่าพืชอาหารหลักที่ช้างป่าใช้
ประโยชน์คือ หญ้า โดยพบว่าช้างวัยเจริญพันธุ์มีหญ้าเป็น ส่วนประกอบในมูลร้อยละ 88.57 และในลูกช้างโตมี
หญ้าเป็นส่วนประกอบในมูลร้อยละ 94.46 สอดคล้องกับ Vancuylenberg (1977) ที่กล่าว่าช้างป่าเป็นสัตว์กินพืช
ที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มัทนา และรองลาภ (2538) ได้รวบรวมพืชอาหารที่ใช้ประกอบด้วยหญ้า เปลือกไม้และ
ต้นไม้ หรือผลไม้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 จําพวก คือ 1) จําพวกหญ้า ได้แก่ พง แขม อ้อ หญ้าคา ตองกง เอื้อง
หมายนา หญ้าแพรก หญ้ายอนหู หญ้าปล้อง หญ้ากระเดือยหนูหญ้าปากควาย หญ้าก๋งกาย ฯลฯ 2) จําพวกไม้ไผ่
จําพวกไม้ไผ่นี้ช้างชอบกินส่วนที่เป็นใบ ยอดอ่อน และหน่อไม้ไม้ไผ่ที่ช้างชอบ กินได้แก่ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ซาง ไผ่ป่า
ไผ่ผาก ไผ่ซางนวล ไผ่หอม ไผ่บง ฯลฯ 3) จําพวกเถาวัลย์ได้แก่สลอดน้ำ บอระเพ็ด หนามหัน ส้มป่อย เครือสะบ้า
กระทงลายจิงจ้อ เล็บรอก หวายเครือเขาน้ำ เครือเขาขึ้น เถาวัลย์แดง ฯลฯ 4) จําพวกไม้ยืนต้น ช้างชอบกินทั้ง
เปลือกใบ และผล ได้แก่ ไทร มะเดื่อ กล้วย ขนุน นางแย้ม ป่า สัก งิว้ อ้อยช้าง มะพร้าว มะขาม มะขามป้อม
มะเฟือง มะไฟ ปอสา จามจุรีมะยมป่า ฯลฯ 5) จําพวกพืชสวน ได้แก่ข้าวเดือยข้าวโพดข้าวฟ่างสับปะรด ฟัก
แตงกวา มะละกอกล้วย ฯลฯ
อาหารหลักของช้างนอกจากจะเป็นพืชจําพวกหญ้าใบไม้และเปลือกไม้แล้ว ช้างยังสามารถใช้งวง และเท้าขุดหา
รากไม้และพืชใต้ดินบางชนิดได้อกี ด้วย
งานวิจัย
เยาวภา ติอัชสุวรรณ และคณะ ( 2564 ) ได้ทำการทดสอบการกินอาหารโดยใช้เวลาทดสอบ 1 สัปดาห์โดยแบ่ง
กลุ่มพฤติกรรมการกินเป็นสามกลุ่ม แบบที่ 1 บริโภคอาหารแบบสุขภาพที่ดี แบบที่ 2 ไม่บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อ
สุขภาพ แต่ยังคงกินแบบปกติ แบบที่ 3 บริโภคอาหารที่ดีตอ่ สุขภาพ โดยการซื้อหรือปรุง โดยจะเก็บข้อมูลโดยวัด
น้ำหนักตัว ส่วนสูง และทำแบบสอบถาม ซึ่งเมื่อผลวิจัยออกมาผู้ทำทดลองส่วนมากนั้นไม่ได้ทำทั้งสามแบบมากกว่า
60% แต่คนที่ทำนั้นมีรูปลักษณ์และสุขภาพที่ดีกว่าคนทัว่ ไป
วิธีดำเนินการ
1. วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล สมุดบันทึก และเครื่องเขียน
2. เครื่องมือหาพิกดั ตําแหน่งทางภูมิศาสตร์ (GPS)
3. กล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม
4. ถุงพลาสติกเก็บพรรณไม้
5. หนังสือจําแนกพรรณไม้
2. วิธีการศึกษาค้นคว้า
2.1 การศึกษา
การศึกษานั้นสามารถแบ่งออก 6 ขั้นตอน ได้แก่
1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการดำเนินงาน
2.ออกสำรวจร่องรอยของช้างป่าจากข้อมูลการปรากฎตัวของช้างป่าจากร่องรอย หรือ การพบเห็นของ
ชาวบ้าน
3.บันทึกพฤติกรรมการกิน ชนิดของพืชที่เป็นอาหาร ลักษณะการกินพืชอาหารถ่ายรูปพืชที่ช้างป่ากินเส้น
ทางการเคลื่อนที่หากินและลักษณะของพื้นที่ที่ชา้ งป่าเข้าไปใช้ประโยชน์ระบุพิกัดทีพ่ บด้วยเครื่อง GPS
4.บันทึกลักษณะภูมิประเทศ ชนิดป่า สภาพป่าทีช่ ้างเข้าไปใช้ประโยชน์
5.นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผล
6.จำทำรายงานฉบับสมบูรณ์
อภิปรายผล
ในการวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์
ป่าภูหลวง จังหวัดเลยสมมติฐาน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมลู การ
วิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัยการอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ซึ่งจะได้นำเสนอตามรายละเอียดดังนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
2. เพื่อทราบถึงชนิดพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทน
3. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการพืชอาหารช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

สมมติฐาน
1.พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะที่แตกต่างกัน
2.ชนิดอาหารของพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะคล้ายๆกัน

ผลการวิจัยพบว่า
1.พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตรงที่วา่ ช้างฝูงจะเดินเป็นก
ลุ่มและเลือกบริเวณใกล้เคียงแหล่งน้ำ ส่วนช้างโทนจะออกหาอาหารโดดๆ แต่จะอยูบริเวณเดียวกัน และไม่จำเป็น
ต้องอยูใ่ กล้แหล่งน้ำ
2.ชนิดอาหารของพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะคล้ายๆกัน ซึ่งพืชอาหารที่ช้างฝูงกินจัดอยู่ใน
วงศ์ไผ่และหญ้า (Poaceae) มากที่สุด ซึ่งได้แก่แขม เลา ไผ่เครือวัลย์หญ้าคา หญ้าแพรก และหญ้าเพ็ก จํานวนรวม
6 ชนิด
สมมติฐานสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
คือ 1.พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตรงที่วา่ ช้างฝูงจะเดิน
เป็นกลุ่มและเลือกบริเวณใกล้เคียงแหล่งน้ำ ส่วนช้างโทนจะออกหาอาหารโดดๆ แต่จะอยูบริเวณเดียวกัน และไม่
จำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
2.ชนิดอาหารของพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะคล้ายๆกัน ซึ่งพืชอาหารที่ช้างฝูงกินจัดอยู่ใน
วงศ์ไผ่และหญ้า (Poaceae) มากที่สุด ซึ่งได้แก่แขม เลา ไผ่เครือวัลย์หญ้าคา หญ้าแพรก และหญ้าเพ็ก จํานวนรวม
6 ชนิด
เพราะว่าช้างฝูงและช้างโทนมีลักษณะทางสังคมทางสัตว์ป่าที่แตกต่างกันจึงทำให้การออกหากินแตกต่าง
กัน
สรุป
พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูง
มีลักษณะเดินหากินไปทางเเหล่งน้ำเสมอเเละมีร่องรอยที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากเเหล่งน้ำ การเดินหากิน
จะกว้างตามสภาพพื้นที่ถ้าเป็นพื้นที่ราบช้างจะแยกเส้นทางกันออกหากิน 2 – 3 เส้นทาง ระยะทางห่างออก
ไปประมาณ 100 – 200 เมตร ช้างก็จะกลับมารวมฝูง เหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นลักษณะพื้นที่ลาดชันหรือสันเขาจะมี
ลักษณะการเดินหากินเป็นแถวเรียงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ช้างฝูงจะมีการหยุดกินพืชอาหารแต่ละพื้นที่
ค่อนข้างใช้เวลานานถ้าพื้นที่นั้นมีพืชอาหารอยู่เป็นจํานวนมาก ดูจากร่องรอยการเหยียบย่ําพืช กองมูล การหักกิ่ง
ไม้การแทงงา และการเล่นดินจะเป็นบริเวณกว้าง ในการหยุดกินพืชอาหารแต่ละครั้งจะเป็นการหยุด
พักฝูงช้างไปในตัว แต่กพ็ บว่าบางระยะทางก็มรี ่องรอยการ กินพืชอาหารแต่ไม่ได้มีการหยุดฝูง เป็นการเดินไปกินไป
เส้นทางของด่านช้างฝูงจะมีลักษณะสังเกตได้งา่ ย โดยจะพบรอยตีนเป็นจํานวนมากตามทางด่าน
มีการหักกิ่งไม้เอามาตีตวั เองเพื่อไล่แมลงตลอดเส้นทาง ถ้าเส้นทางใดที่มีแหล่งน้ําค่อนข้างน้อยหรือหายากช้างจะ
เลือกกินพืชอาหารที่มีลักษณะค่อนข้างอวบน้ําเป็นส่วนใหญ่ช้างฝูงจะใช้เวลาในช่วงกลางคืนในการ
พักผ่อนหรือหลับนอน ช่วงเวลากลางวันจะเดินหากินไปเรื่อยๆถ้าเป็นสภาพพื้นที่ทุ่งหญ้าช้างฝูงจะออกมาหากินใน
เวลาประมาณ 16.00 – 09.00 น. ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่ไม่ค่อยมีแดด พอแดดเริ่มแรงช้างจะเคลื่อน
ย้ายฝูงเข้าสู่ป่าดิบเพื่อหลบแดด ช้างฝูงจะมีความระวังภัยสูงเพราะในฝูงจะมีลูกช้างเล็กอยู่ดว้ ยในการพบเห็นตัว
โดยตรงหรือเข้าไปดูพฤติกรรมค่อนข้างจะมีความยากลําบาก ในการสํารวจพฤติกรรมการกินพืชอาหาร
ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้จากการพบร่องรอยที่ยังสดใหม่อยู่ หรือการเดินเข้าไปประชิดกับฝูงช้างในระยะที่ปลอดภัยเพื่อ
เฝ้าดูพฤติกรรม

พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างโทน
พฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างโทนมีลักษณะของการเดินไปกินพืชอาหารไปตลอดทางและจะมีระยะ
ใกล้เคียงกัน คือในแต่ละจุดทีพ่ บร่องรอยการกินพืชอาหารจะไม่ไกลกันมากนัก ซึ่งช้างจะใช้งวง
ดึงม้วนพืชอาหารป้อนเข้าปากแล้วกัดกิน โดยในพืชแต่ละชนิดก็เลือกกินในส่วนที่แตกต่างกันออกไป จากการศึกษา
พบว่า ไม่วา่ ช้างจะกินน้ํา กินอาหาร การหักกิ่งไม้มาพัดโบกไล่แมลงล้วนต้องใช้งวงช่วยทั้งนั้น ฉะนั้น
งวงของช้างจึงเป็นอวัยวะที่สําคัญมากสําหรับช้าง เปรียบเสมือนมือของคนเราที่คอยหยิบจับสิ่งของต่างๆ จากการที่
ช้างโทนมีนิสัยชอบอาศัยอยู่ตัวเดียว รักความสันโดษ ทําให้ชา้ งโทนไม่จําเป็นต้องเดินหาแหล่งน้ําขนาด
ใหญ่ในระยะทางที่ห่างไกลจากแหล่งอาหาร ขอเพียงมีแหล่งน้ําขนาดเล็กที่เพียงพอสําหรับช้าง 1 ตัว ก็สามารถดํา
รงชีวิตอยู่ได้แล้ว ซึ่งจากการติดตามสํารวจเก็บข้อมูล ช้างเคลื่อนที่หากินอาหารในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก
ประมาณ 1 – 2 กิโลเมตรต่อวัน ถึงแม้ว่าจากการสํารวจจะพบช้างเคลื่อนที่ในระยะที่ไม่ไกลมากนักต่อวันแต่ในเส้น
ทางดังกล่าวก็จะมีร่องรอยการกินพืชอาหารตลอดทาง ระยะห่างของพืชอาหารในแต่ละจุดก็ไม่ห่างกันมาก
นัก มีความถี่ของการกินพืชอาหารสูง แต่ในขณะเดียวกันในบางเส้นทางก็พบร่องรอยการเคลื่อนที่ของช้างในระยะ
ทางที่ไกลประมาณ 4 – 6 กิโลเมตร แต่ทว่าในเส้นทางที่ชา้ งเคลื่อนที่ไปนั้นจะไม่ค่อยมีร่องรอยการกินพืช
อาหาร มีร่องรอยการกินพืชอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในระยะที่คอ่ นข้างห่างกันมาก จึงสันนิษฐานว่าการที่ช้าง
เดินทางในระยะที่ไกลนั้น อาจเป็นเพราะมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการมุ่งหน้าออกไปหา
กินพืชอาหารยังแหล่งอื่นๆ บ้าง เมื่อครบวงรอบการหากินในแต่ละพื้นที่ก็จะเร่งรีบกลับมายังแหล่งอาหารเดิม

ชนิดพืชอาหารของช้างฝูงเเละช้างโทน
พืชอาหารที่ช้างฝูงกินจัดอยู่ในวงศ์ไผ่และหญ้า (Poaceae) มากที่สุด ซึ่งได้แก่แขม เลา ไผ่เครือวัลย์หญ้า
คา หญ้าแพรก และหญ้าเพ็ก จํานวนรวม 6 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 29 ของชนิดพืช
อาหารทั้งหมด รองลงมาคือพืชในวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) และวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ตามลําดับนั่น
แสดงให้เห็นว่าช้างฝูงกินพืชอาหารในวงศ์ไผ่และหญ้า (Poaceae) เป็นอาหารหลัก
และช้างโทนกินพืชในวงศ์ไผ่และหญ้า (Poaceae) เป็นอาหารหลัก สอดคล้องกับการศึกษาของรองลาภ (2536)
ไสว และคณะ (2550) และ Vancuylenberg (1977) ทีก่ ล่าว่าช้างป่าเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
ลักษณะวิสัย (Habit) เป็นพืชจําพวกหญ้าและพืชล้มลุกมากที่สดุ จํานวนอย่างละ 7 ชนิด รองลงมาเป็นไผ่จํานวน
5 ชนิด ไม้ยืนต้น จํานวน 4 ชนิด กล้วยไม้จํานวน 3 ชนิด และพืชที่มีลกั ษณะวิสัยรูปแบบอื่นๆ อีก
5 ชนิด ชนิดพืชอาหารของช้างฝูงและช้างโทนมีความเหมือนกันจํานวน 13 ชนิด ได้แก่ แขมข่าคมข่าตาแดงข่าป่า
ตองพลวง เตยป่าไผ่เครือวัลย์เร่วเลาหญ้าคมบางหญ้าคาหญ้าแพรก และหวาย โดยพืชอาหารที่เหมือนกันคิด
เป็นร้อยละ 41.9 ของพืชอาหารทั้งหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากเส้นทางทีช่ ้างฝูงหรือช้างโทนเดินหากินนั้นเป็นคนละเส้น
ทางกัน เดินผ่านชนิดป่าและความสูงจากระดับน้ําทะเลที่แตกต่างกัน ชนิดพืชในแต่ละสังคมป่าจึงมีทั้งความ
เหมือนและแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อจําแนกชนิดพืชตามความถี่หรือความชอบในการกิน 5 ลําดับแรก ที่ทั้ง
ช้างฝูงและช้างโทนชอบกิน ได้แก่แขม พบมากที่สุด จํานวนรวม 47 จุด คิดเป็นร้อยละ 17.1 รองลงมาคือ
ตองพลวง จํานวนรวม 27 จุด คิดเป็นร้อยละ 9.8 ไผ่เครือวัลย์จํานวนรวม 20 จุด คิดเป็นร้อยละ 7.3 เลา จํานวน
รวม 17 จุด คิดเป็นร้อยละ 6.2 และเร่ว จํานวนรวม 15 จุด คิดเป็นร้อยละ 5.5

ส่วนต่าง ๆ ของพืชอาหารที่ช้างป่าเเละช้างโทนกิน
ส่วนของพืชทีช่ ้างป่ากิน จากการศึกษาพบว่า ในพืชแต่ละชนิดนั้น ช้างได้เลือกกินส่วนต่าง ๆ ของพืชแตกต่างกัน
ออกไป เช่น แขม ช้างจะเลือกกินปลายยอดอ่อน ใบอ่อน ตั้งแต่ปลายใบลงมาถึงกลางลําต้นตอง
พลวง ลักษณะการกินช้างจะดึงเอาส่วนของลําต้นตั้งแต่ส่วนที่ตดิ ดินขึ้นมา (ต้นอ่อนที่เล็กๆ) ช้างจะกินลําต้นจาก
ส่วนทีต่ ิดดินไปจนถึงโคนใบ ถ้าเป็นต้นใหญ่ที่มีขนาดความสูงประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร ช้างจะกิน
ส่วนโคนใบไปถึงกลางลําต้น ส่วนของใบจะไม่มีร่องรอยการกิน เป็นต้น จากการศึกษาครั้งนี้ไม่พบชนิดพืชที่ชา้ งกิน
เปลือกหรือรากแต่อย่างใด
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. 2553. สถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในประเทศไทย. สำนัก
อนุรักษ์สตั ว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติสตั ว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ. 302 น.
ธัญญาจั่นอาจ และวรรษรักษ์ วงศ์กาฬสินธุ์. 2542. การสำารวจและศึกษาช้างป่าในป่าภู่หลวง. สถาน
วจัย สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย.
มัทนา ศรีกระจ่าง และรองลาภ สุขมาสรวง. 2538.อุปนิสัยในการกันพืชเป็นอาหารของช้างป่าในเขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง.233 – 239 น. . ใน รายงานการประชุมป่าไม้แห่งชาติประจําปี 2538. สํานัก
วิชาการ, กรมป่าไม้. กรงเทพฯ.
รองลาภ สุขมาสรวง. 2536. นิเวศวิทยาของช้างปา่ (Elephas maximus Linnaeus,1758) ในเขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีและตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วรพล พานทอง. 2557.การศึกษาพฤติกรรมการกินพืชอาหารของช้างฝูง ในพื้นที่เขตรักษาพนธุ์สัตว์ป่า ภู
หลวง จังหวดเลย .โครงงานสหกิจศึกษา วท.บ. (เกษตรป่าไม้). มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง. 2555.การสํารวจและติดตามประชากรช้างปาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาภู่
หลวง และแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น . ในรายงานผลการปฏิบัติงานประจําปีพ.ศ. 2555. กลุ่มงานวิจัย
สัตว์ป่า, สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุพ์ ืช. กรุงเทพฯ. สํานักงานหอพรรณไม้.2557.
ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้
และพันธุพ์ ืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุพ์ ืช. โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
828 น.
ไสว วังหงษา, กัลยาณี บุญเกิด, เดชชาติ แสงเส้น และศุภชาติ บัวงาม. 2550.องค์ประกอบมูลช้างป่าและ
แมลงที่ใชประโยชน์จากมูลช้างป่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน, 20-30 น. ในรายงานการศึกษา
โครงการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ. สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน. สํานักอนุรักษ์สตั ว์ป่า, กรม
อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุพ์ ืช, กรุงเทพฯ. เอกพันธ์ สุขเสริม. 2557. การศึกษาพฤตกรรมการกินพืชอาหาร
ของช้างโทน ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย.โครงงานสหกิจศึกษา วท.บ. (เกษตรป่าไม้). มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่
เฉลิมพระเกียรติ.
เยาวภา ติอชั สุวรรณ. (2020). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนิสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์และปัจจัย
ที่สัมพันธ์กัน.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน 2563.
Eisenberg F.J. and M. Lockhart. 1972. An Ecological Reconnaissance of Wilpattu
National Park, Ceylon. Smithsonian Contributions to Zoology. 101, 1 - 37. Lekagul, B. and J. A.
Mcneely. 1977. Mammals of Thailand. KurusaphaLadprao Press. Bangkok, Thailand.
Santiapillai, C. and H. Suprahman. 1986. The Ecology of the elephant (Elephas
maximus L.) in the Way Gambos Game Reserve, Sumatra. IUCN. Grand Swithzerland.
Srikrachang, M. 2003. Conservation and Management of Elephants in Thailand. Ph.D.
(Biology) Thesis. Faculty of Graduate Studies. Mahidol University.
Vancuylenberg, B.W.B. 1977. Feeding behavior of Asiatic elephant in South - east Sri
Lanka Relation to conservation. Biol. Conserv. 12, 33 - 35.

You might also like