You are on page 1of 72

การสืบพันธุ์ของพืชดอก

และการเจริญเติบโต

ชีววิทยา 3 (ว32241)
คุณครู ศิริรัตน์ ก้ านกิง่ คา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
โครงสร้างของดอก (structure of flower)

pedicel
โครงสร้างของดอก ประกอบด้วย
1. กลีบเลี้ยง(sepal) ท้าหน้าที่ป้องกันอันตรายเช่น แมลง ป้องกันการคายน้้า
ของดอก ส่วนใหญ่มีสีเขียว เรียกว่า วงกลีบดอก(calyx)
2. กลีบดอก(petal)ส่วนใหญ่มีสีสวยเพื่อล่อแมลง เรียกวงนี้ว่า วงกลีบดอก
(corolla)
3. เกสรตัวผู(้ stamen)ประกอบด้วย ก้านชูอับละอองเรณู (filament) และอับ
ละอองเรณู(anther)ท้าหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า วงเกสรตัวผู้
(androecium)
4. เกสรตัวเมีย(pistil หรือ carpel) ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย(stigma)
ก้านชูยอดเกสรตัวเมียหรือคอเกสรตัวเมีย(style)และ รังไข่(ovary) ซึ่งภายในมี
ออวุล(ovule)อยู่ เรียกว่าวงเกสรตัวเมีย(gynoecium)
เกสรตัวผู้(stamen)
เกสรตัวเมีย (pistil)
ชนิดของดอก
1. จ้าแนกโดยใช้ส่วนปะกอบเป็นเกณฑ์สามารถจ้าแนกได้ 2 ประเภท
1.1 ดอกสมบูรณ์หรือดอกครบส่วน (complete flower)
หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4 วง คือ วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก
วงเกสรตัวผู้ และวงเกสรตัวเมีย
1.2 ดอกไม่สมบูรณ์ หรือดอกไม่ครบส่วน (incomplete
flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 วง
2. จ้าแนกโดยใช้ชนิดเพศเป็นเกณฑ์ จ้าแนกได้ 2 ชนิด

2.1 ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) หมายถึง ดอกที่มี


ทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
2.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) หมายถึง ดอกที่
มีเพียงเกสรตัวผู้ หรือ เกสรตัวเมียชนิดเดียว
3. ใช้การติดอยู่บนฐานรองดอกเป็นเกณฑ์

รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก รังไข่เสมอกับฐานรองดอก รังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก


4. จ้าแนกตามจ้านวนดอกที่อยู่บนก้านดอก จ้าแนกได้ 2 ชนิด
4.1 ดอกเดี่ยว (simple flower ; solitary flower)

ดอกที่พัฒนามาจากตา ดอกหนึ่งตา ดอกเดี่ยวมีดอกเพียงดอกเดียวอยู่บนก้าน


ดอก 1 ก้าน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกพู่ระหง ดอกชบา ดอกมะเขือเปราะ ดอกฝรั่ง
ดอกจ้าปี ดอกฟักทอง
Strawberry flower structure
4.2 ดอกช่อ (inflorescence flower)
ดอกช่อ (Inflorescence flower) หรือช่อดอกเป็นดอกหลาย ๆ ดอก
ซึ่งเกิดจากก้านเดียวกัน ก้านของช่อดอกเรียกว่า Peduncle ส่วนที่เป็นแกน
ของ ช่อดอกแรกไปสู่ปลายช่อ เรียกว่า Rachis ดอกย่อย (Floret) แต่ละ
ดอกมีก้านดอกย่อยเรียกว่า Pedicel ตัวอย่างเช่น หางหมูของทะลาย
มะพร้าว ก้านช่อแบบนี้มักมีใบประดับ (Bracts) ติดอยู่ด้วย เช่น กาบเรียง
ของมะพร้าวและหมาก หรือใบสีแดง ๆ ของดอกหน้าวัว หรือ ดอกอุตพิต
ใบประดับเช่นนี้มีใบเดียวมักจะเป็นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเรียกใบประดับ
ชนิดนี้ว่า Spathe ส่วนใบประดับของพืชใบเลี้ยงคูม่ ักจะมีสองใบ ก้านช่อ
บางชนิดงอกขึ้นมาจากดิน เช่น ดอกว่านสี่ทิศ พลับพลึง ว่านแสงอาทิตย์
ก้านช่อชนิดนี้เรียกว่า Scape
ดอกช่อกระจุกแน่น (head)
ดอกช่อบางชนิดดูเผิน ๆ เหมือนดอกเดี่ยว เพราะอยู่บนฐานรองดอก และก้าน
ดอกเดียวกัน เช่น ดอกทานตะวัน ดอกดาวเรือง ดอกบานชื่น ดอกรักเร่ ดอกบานไม่รู้โรย
ดอกเยอบีร่า ถ้าเอาดอกไม้เหล่านี้มาดูใกล้ ๆ จะพบว่า ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จ้านวน
มาก ๆ อยู่รวมดันบนฐานรองดอกที่มีก้านชูดอกรวม ดอกชนิดนี้ เรียกว่า ดอกรวมหรือ
ดอกคอมโพสิท ฟลาวเวอร์ (Composite flower) ประกอบด้วยดอกย่อย 2 ชนิดรวมอยู่
ด้วยกัน ดอกที่อยู่รอบนอกมีกลีบดอกยาวและแผ่ออก เรียกว่า เรย์ฟลอเรต (Rayfloret)
ซึ่งอาจจะมีอยู่เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ดอกที่อยู่บริเวณตรงกลางหรืออยู่รอบใน
เรียกว่า ดิสก์ฟลอเรต (Disc floret) เป็นดอกเล็ก ๆ ที่มีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นท่อและ
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกทั้งสองชนิดนี้อาจมีขนเป็น
จ้านวนมากแทรกอยู่ซึ่งเกิดมาจากกลีบเลี้ยงที่เปลี่ยนแปลงไป
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือละอองเรณู (Pollen grain)
เกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับเรณู (anther) และก้านเกสรตัวผู้ (filament) ภายใน
อับเรณูมีถุงเรณู หรือโพรงเรณู 4 ถุง ภายในถุงละอองเรณู (Microsporangium) มีกลุ่ม
เซลล์ที่ เรียกว่า ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (Microspore mother cell) ซึ่งเป็นเซลล์ตั้ง
ต้นในการสร้างละอองเรณู หรือ แกมีโทไฟต์เพศผู้ (Male gametophyte) ไมโครสปอร์
มาเทอร์เซลล์นั้น มีจ้านวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์หรือ 2n เมื่อแบ่งเซลล์ด้วยวิธีไมโอซิส
เสร็จแล้วจะได้ 4 เซลล์แต่ละเซลล์มีหนึ่งนิวเคลียส
ซึ่งมีจ้านวนโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์หรือ n เรียกแต่ละเซลล์ว่า ไมโครสปอร์
(Microspore) ต่อมาเซลล์เหล่านี้แยกออกจากกัน แล้วแต่ละเซลล์แบ่งนิวเคลียสแบบไม
โทซิสท้าให้ได้นิวเคลียส 2 อัน ในแต่ละเซลล์ นิวเคลียสหนึ่ง เรียกว่า เจเนอเรทีฟ
นิวเคลียส (Generative nucleus) ส่วนอีกนิวเคลียสเรียกว่า ทิวบ์นิวเคลียส (Tube
nucleus) ที่เยื่อหุ้มภายนอกของเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปต่าง ๆ ตามชนิดของพืช
ทั้งเยื่อหุ้มภายนอกและนิวเคลียสที่อยู่ภายในรวมเรียกว่า ละอองเรณู (Pollen grain)
หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (Male gametophyte)
Microspore (n)
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก เกิดภายในรังไข่ (Ovary) ซึ่งมี
ออวูล (Ovule) เพียงหนึ่งหรือหลายออวูล ในแต่ละออวูลมีหลายเซลล์ในกลุ่มเซลล์
เหล่านั้นมีอยู่เซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อื่น ๆ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์
เซลล์ (Megaspore mather cell) ที่มีจ้านวนโครโมโซมในนิวเคลียสเป็นจ้านวนดิ
พลอยด์ ซึ่งเมื่อแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแล้วได้ 4 เซลล์แต่ละเซลล์มีจ้านวนโครโมโซม
แฮพลอยด์ หรือ n ต่อมา 3 เกิดการสลายตัวเหลือเพียงเซลล์เดียว เรียกว่า เมกะ
สปอร์ (Megaspore)
นิวเคลียสภายในเซลล์แบ่งตัวแบบไมโทซิส 3 ครั้งได้ 8 นิวเคลียส จัดตัว
อยู่ที่ปลายทั้งสองของเซลล์ข้างละ 3 นิวเคลียส และกลุ่มบริเวณตรงกลางอีก 2
นิวเคลียส เรียก โพลาร์นิวคลีไอ (Polar nuclei) โดยกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับไมโคร
ไพล์ มี 3 เซลล์ เรียกว่า แอนติโพแดล ( Antipodal ) กลุ่มทางด้านไมโครไพล์มี
อีก 3 เซลล์ กลุ่มนี้เซลล์อันกลางมีขนาดใหญ่เรียกว่า เซลล์ไข่ ( Egg cell ) อีก 2
อัน ข้าง ๆ เรียก ซินเนอร์จิด (Synergide) และเซลล์ที่มี 2 นิวเคลียสอยู่ตรงกลาง
เรียกว่า เอนโดสเปิร์มมาเทอร์เซลล์ (Endosperm mother cell) หรือเซลล์โพ
ลาร์นิวคลีไอ (Polar nuclei cell) เมกะสปอร์ในระยะนี้เรียกชื่อใหม่ว่า ถุง
เอ็มบริโอ (Embryo sac) หรือ แกมีโทไฟต์เพศเมีย (Female gametophyte)
ซึ่งภายในทั้ง 7 เซลล์นั้นมีเพียง 2 เซลล์เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ คือเซลล์
ไข่ และเซลล์โพลาร์นวิ คลีไอ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ มี 2 นิวเคลียส
การถ่ายละอองเรณู การงอกหลอดเรณู และการปฏิสนธิ

เมื่อละอองเรณูแก่ อับเรณูแตกออก ท้าให้ละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรตัว


เมีย เรียกกระบวนการนี้ว่า การถ่ายละอองเรณู (Pollination) ละอองเรณูตกลงบนยอด
เกสรตัวเมีย (Stigma) ซึ่งมีน้าหวานเหนียว ๆ มีหน้าที่คอยจับละอองเรณู เมื่อละอองเรณู
ตกลงบนยอดเกสรตัวเมียแล้วจะงอกหลอดละอองเรณู (Pollen tube) ออกจากละออง
เรณูลงไปตามคอเกสรตัวเมีย หลอดนี้จะงอกอย่างเร็วมาก ผ่านรูไมโครไพล์เข้าไปสู่ออวูล
และทิวบ์นิวเคลียสจะเคลื่อนตามหลอดลงไป ส่วนเจเนอเรทีฟนิวเคลียสจะแบ่งตัวด้วยวิธี
ไมโทซิสได้ 2 นิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสเรียกว่า สเปิร์มนิวเคลียส (Sperm nucleus)
ทิวบ์นิวเคลียสท้าหน้าที่สลายถุงเอ็มบริโอเข้าไป ท้าให้สเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปสู่ออวูล 1
สเปิร์มนิวเคลียสเข้าผสมกับไข่ได้ไซโกตที่มีจ้านวนโคโมโซม 2n ซึ่งต่อไปจะเจริญไปเป็น
เอ็มบริโอ และจะได้อาหารจากเอนโดสเปิร์ม ส่วนนิวเคลียสอื่นที่ไม่ได้ผสมและถุงเอ็มบริโอ
จะสลายไป
การถ่ายละอองเรณู (pollination)
1. การถ่ายละอองเรณูในต้นเดียวกัน (self - pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณู
ที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
2. การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น (cross-pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูที่เกิดกับ
พืชต่างต้นกัน และมีพันธุกรรมต่างกัน พืชทั้งสองต้นอาจเป็นสปีชีส์ (species)
เดียวกันหรือต่างสปีชี่ส์กันก็ได้
พาหะถ่ายละอองเรณู (pollinator)
ถ่ายละอองเรณูอาศัยลม (anemophilous)
การถ่ายละอองเรณูอาศัยแมลง (entamophilous) พบมากที่สุด
การถ่ายละอองเรณูโดยคน การถ่ายละอองเรณูโดยใช้สัตว์อื่นๆเกิดขึ้นได้น้อย
การถ่ายละอองเรณูอาศัยน้า้ (hydrophilous)
การปฏิสนธิซ้อน(double fertilization)
ด้วยเหตุที่มี 2 สเปิร์มนิวเคลียสผสมพร้อม ๆ กัน คือ 1 สเปิร์มนิวเคลียสผสม
กับไข่ และอีก 1 สเปิร์มนิวเคลียสผสมกับโพลาร์นวิ คลีไอ จึงเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน
(Double fertilization) เมื่อมีการปฏิสนธิแล้วออวูลกลายเป็นเมล็ด รังไข่เจริญไป
เป็นผล

สเปิร์ม (n) + ไข่ ( n ) ไซโกต ( 2n ) เอ็มบริโอ

สเปิร์ม (n) + โพลาร์นิวคลีไอ ( 2n ) เอนโดสเปิร์ม ( 3n )


การเกิดผลและเมล็ด
1. ผนังผลชัน้ นอก (exocarp หรือ epicarp)
2. ผนังผลชัน้ กลาง (mesocarp)
3. ผนังผลชั้นใน (endocarp)
เมื่อเกิดการปฏิสนธิซ้อนในดอก ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดมี
อาหารสะสมเอาไว้ส้าหรับใช้ในการเจริญเติบโตของต้นอ่อน คือ ส่วนของเอนโด
สเปิร์มที่เปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดการปฏิสนธิระหว่าง 2 โพลาร์นิวเคลียสกับสเปิร์ม
นิวเคลียส รังไข่หลังจากผ่านระยะปฏิสนธิไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผล ชนิดของ
ผลขึ้นอยู่กับจ้านวนดอกและจ้านวนรังไข่ที่อยู่ในดอก เช่น ผลเดี่ยว เกิดจากดอกเดี่ยว
ที่มีรังไข่ใบเดียว ผลกลุ่ม เกิดจากดอกเดี่ยวที่มีรังไข่หลายใบอยู่ชิดติดกัน ผลรวม เกิด
จากดอกช่อที่รังไข่ของดอกย่อยหลอมรวมกัน แต่ผลไม้บางชนิดเกิดมาจากส่วนอื่น
ของดอกได้ เช่น เกิดมาจากส่วนฐานรองดอก เช่น ผลมะเดื่อ ผลแอปเปิ้ล ผลชมพู่ ลูก
แพร์ เป็นต้น
ชนิดของผล
ผลไม้แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามหลักพฤกษศาสตร์ คือ
1. ผลเดี่ยว (simple fruit)
2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit)
3. ผลรวม (multiple fruit)
แบ่งตามลักษณะของผนังผล เป็น 2 กลุ่ม คือ ผลมีเนื้อและผลแห้ง ดังนี้
1. ผลเดี่ยว (Simple fruits) เป็นผลที่เกิดจากดอกเพียงดอกเดียว ดอก
อาจจะอยู่เดี่ยวๆ หรืออยู่เป็นดอกช่อ ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเพียงดอก
เดียว คือ ต้าลึง มะเขือ แตงกวา ส้ม ฟักทอง ส่วนตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจาก
ดอกช่อ เช่น ชมพู่ มะม่วง มะกอก มะปราง มะนาว ลักษณะเด่นของผลเดี่ยว
คือจะมีรังไข่เพียง 1 อัน ใน 1 ดอก ซึ่งจะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ ส้าหรับ
ดอกช่อรังไข่ของแต่ละดอกต้องไม่มีการหลอมรวมกัน

มะเขือเทศเป็นผลเดี่ยว ชนิด
Berry ที่มีเนื้อนุ่มทั้งหมด
ผิวของเปลือกนอกบาง
เช่นเดียวกับองุ่น มะละกอ
พริก ละมุด กล้วย ฝรั่ง
แอปเปิ้ลเป็นผลเดี่ยวชนิด Pome เนื้อส่วนใหญ่เกิดจากฐานรองดอก
หรือ floral tube เช่นเดียวกับ ชมพู่ สาลี่ แพร์
ผลเดี่ยว (simple fruit)
ผลแบบมีปุยหุ้มเมล็ด (aril fruit) ผลเทียม (pseudocarp)

เนื้อเกิดจากการเจริญมาจากเปลือกหุ้มเมล็ด เกิดจากการเจริญฐานรองดอก
ชั้นนอกผนังของผลท้าหน้าที่เป็นเปลือกหุ้ม
เนื้อของผลแบบนี้เรียกว่า ปุยหุ้มเมล็ด (aril)
2. ผลกลุ่ม (Aggregate fruits) เป็นผลที่เกิดจากกลุ่มของรังไข่ที่อยู่
ภายในดอกเดียวกัน และอยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน
โดยที่รังไข่แต่ละอันจะเป็นผลย่อยหนึ่งผลแต่เมื่อผลเหล่านั้นอยู่อัด
กันแน่น ท้าให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ลูกหวาย น้อยหน่า สตรอเบอรี่
แต่ผลบางชนิดก็อยู่กันอย่างไม่อัดแน่น เห็นแยกออกเป็นผลเล็ก ๆ
เช่น นมแมว การเวก กระดังงา
ลักษณะส้าคัญของดอกที่จะกลายเป็นผลกลุ่ม คือ ใน 1 ดอกของ
ดอกเดี่ยวมีรังไข่อยู่หลายอัน ซึ่งอาจจะเชื่อมรวมกันหรือไม่เชื่อมรวมกันก็ได้
รูปผ่าตามยาวผลสตรอเบอรี่ ซึ่งเป็นผลกลุ่ม ส่วนของเนื้อที่
รับประทานได้ เป็นฐานรองดอกที่ขยายใหญ่และสะสมอาหารไว้ และมี
ผลย่อยซึ่งเป็นผล เดี่ยวชนิด Achene ติดอยู่ที่ผิวนอก
เปรียบเทียบ ดอกและผลของสตรอเบอรี่ เมื่อผ่าตามยาว
ผลกลุ่ม (aggregate fruit)
3. ผลรวม (Multiple fruits) คือ ผลที่เกิดจากดอกช่อ ที่มีรังไข่ของดอกแต่ละ
ดอก รังไข่เหล่านี้ กลายเป็นผลย่อยที่เชื่อมต่อแล้วรวมกันแน่นเหมือนเป็นผลเดี่ยว
ตัวอย่างของผลชนิดนี้ได้แก่ ขนุน สาเก สับปะรด (เรียกผลเหล่านี้ว่า Sorosis) มะเดือ
(เรียกผลชนิดนี้ว่า Syconus) หมอน สน ลูกยอ (เรียกผลเหล่านี้ว่า Cone หรือ
Strobirus) บีท (เรียกผลชนิดนี้ว่า Diclesium)

ผลรวมของมะเดื่อ (Ficus carica)


ผลรวม (multiple fruit)
การเกิดเมล็ด

หลังจากเกิดการปฏิสนธิซ้อนแล้ว รังไข่เจริญไปเป็นผล ส่วนออวุล


เจริญไปเป็นเมล็ดซึ่งภายในประกอบด้วยเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม โดยมี
เปลือกหุ้มเมล็ดล้อมรอบ
เมื่อพืชดอกมีการปฏิสนธิซ้อน ท้าให้ได้ทั้งไซโกตและเอนโดสเปิร์ม
ซึ่งไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์ต่อ ๆ ไป เพื่อเพิม่ จ้านวนเซลล์กลายเป็น
เอ็มบริโอ ส่วนเอนโดสเปิร์มจะกลายเป็นอาหารให้เอ็มบริโอใช้ในการ
เจริญเติบโต ภาพถัดไปจะแสดงแผนภาพการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอพืช
ใบเลี้ยงคู่พวกกะหล่า้ ปลี
ส่วนประกอบ
ของเมล็ด
ส่วนประกอบที่ส้าคัญของเมล็ด
1. เปลือกเมล็ด (seed coat หรือ Testa)
1.1 เปลือกเมล็ดชั้นนอก (testa)
1.2 เปลือกเมล็ดชั้นใน (tegment)
2. เอ็มบริโอ (embryo)
2.1 ใบเลี้ยง (cotyledon)
2.2 ต้นแรกเกิด (caulicle)
2.2.1 ต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง (epicotyl)
2.2.2 ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl)
3. เอนโดสเปิร์ม (endosperm)
1. เปลือกหุ้มเมล็ด (Seed coat หรือ Testa) ท้าหน้าที่ป้องกันส่วนที่อยู่
ภายใน โดยป้องกันอันตรายและป้องกันการคายน้้า หากมีเปลือก 2 ชั้น ชั้นนอกจะหนา
แข็งแรงและเหนียว ส่วนชั้นในเป็นชั้นบาง ๆ ซึ่งบางครั้งชั้นในไม่มี หากเห็นก้านยึดเมล็ด
ติดกับรังไข่เรียกก้าน นี้ว่า ฟันนิคิวลัส (Funiculus) เมื่อเมล็ดหลุดออกจากก้านจะเห็น
เป็นรอยแผลเป็นเล็ก ๆ เรียกว่า ไฮลัม (Hilum) ถ้าบริเวณรอยแผลเป็นนั้นมีเนื้อเข็ง ๆ
ติดมา เนื้อนั้นเรียกว่า คารังเคิล (Caruncle) ถ้าก้านนี้ติดอยู่กับเปลือกของเมล็ด และ
เป็นสันขึ้นมาเรียกสันนั้นว่า ราฟี (Raphe) สันนี้จะอยู่เหนือ รูไมโครไพล์ (Micropyle)
รูนี้เป็นทางให้หลอดละอองเรณู (Pollen tube) ผ่านเข้าไปตอนก่อนเกิดการปฏิสนธิ
และเป็นทางให้รากอ่อน ( Radicle ) งอกออมาจากเมล็ด
2. เอ็มบริโอ (Embryo) คือส่วนที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ต่อไป ส่วนนี้
ประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ หลายส่วนคือ
1. ใบเลี้ยง (Cotyledon) ในพืชใบเลี้ยงคู่มี 2 ใบ และในพืชใบ
เลี้ยงเดี่ยวมีเพียงใบเดียว ใบเลี้ยงนี้จะไม่ท้าการสังเคราะห์ด้วยแสงและไม่
เจริญเติบโตต่อไป
2. เอพิคอทิล (Epicotyl) ส่วนที่อยู่เหนือต้าแหน่งใบเลี้ยง เมื่อ
เมล็ดงอกเป็นต้นพืชส่วนนี้จะกลายเป็นล้าต้น ใบ และดอกของพืช
3. ไฮโพคอทิล (Hypocotyl) เป็นส่วนที่อยู่ใต้ต้าแหน่งใบเลี้ยง
ลงมา เมื่อเจริญเติบโตต่อไปส่วนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของล้าต้น
4. แรดิเคิล (Radicle) ส่วนนี้อยู่ถัดจากส่วนของล้าต้น คือ อยู่
ใต้ไฮโพคอทิลลงมา ต่อไปจะเจริญไปเป็นรากแก้ว ซึ่งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีราก
แก้วอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากนั้นจะเป็นรากฝอย ซึ่งต่างจากพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มีรากแก้วอยู่ตลอด
3. เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) เป็นอาหารสะสมส้าหรับเอ็มบริโอ
ส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีนและไขมันปะปน
อยู่ด้วย พบในเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ละหุ่ง ซึ่งมีเอนโดสเปิร์ม
แข็ง ส่วนเมล็ดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น มะพร้าว มีเอนโดสเปิร์มทัง้
ของแข็งและเหลว คือ เนื้อมะพร้าว และน้้ามะพร้าว ในเมล็ดถั่วเอนโดสเปิร์ม
จะรวมสะสมอยู่ในใบเลี้ยงจึงเห็นได้ว่าเมล็ดถั่วสามารถแกะแยกออกเป็น 2 ซีก
ได้โดยง่ายแต่ละซีกนั้น
ชนิดการงอกของเมล็ด (seed germination)
1. การงอกที่ใบเลี้ยงอยู่เหนือดิน (epigeal germination)
2. การงอกที่ใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน (hypogeal germination)
ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
1. น้้า
2. อากาศ
3. อุณหภูมิ
4. แสง
ระยะพักของเมล็ด(seed dormancy) หมายถึง ระยะหนึ่งของวัฏจักรการ
ด้ารงชีวิตของพืชที่ส่วนประกอบภายในเมล็ดหยุดชะงักการเจริญชั่วขณะหนึ่ง เพื่อ
หลีกเลี่ยงสภาวะที่ไม่เหมาะสม จากสิ่งแวดล้อมภายในหรือสภาวะภายในเมล็ดของ
พืชเอง หรือทั้งสองอย่าง เพื่อความอยู่รอดของเมล็ด
สาเหตุของการเกิดระยะพักตัวของเมล็ด
1. เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนาเกินไป
2. เอ็มบริโอในเมล็ดพืชบางชนิดยังเจริญไม่เต็มที่
3. มีสารยับยั้งการงอกเคลือบอยู่

เมล็ดที่ไม่มีระยะพัก มะละกอ โกงกาง ขนุน ฯลฯ


การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ (seed vigor)
1. การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์
2. การหาดัชนีการงอก

สูตร ค่ำดัชนีกำรงอก = ผลรวมของ จำนวนเมล็ดที่งอกแต่ละวัน


จำนวนวันหลังเพำะ
2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
2.1 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการท้าเมล็ดเทียม
ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดต่าง ๆ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน้าวัว
2. การท้าเมล็ดเทียม (Artificial seed)

ส่วนประกอบของเมล็ดเทียม มีดังนี้
1. เอ็มบริโอหรือต้นอ่อน
2. เอนโดสเปิร์มเทียม (Artificial endosperm) เพื่อให้อาหารแก่เอ็มบริโอหรือต้นอ่อน
3. เปลือกหุ้มเมล็ดเทียม (Artificial seed coat) ท้าหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตราย
ให้กับต้นอ่อน

การท้าเมล็ดเทียมของกล้วยไม้ มีขั้นตอนดังนี้
1. น้าเซลล์ของพืชที่เจริญจากการเลี้ยง
เนื้อเยื่อมาเป็นเอ็มบริโอ เรียก เอ็มบริโอนี่ว่า
โพรโทคอร์ม (protocorm)

แสดงโพรโทคอร์ม (protocorm)
2. สร้างเอนโดสเปิร์ม โดยน้าโพรโทคอร์ม มาใส่ในสารละลายโซเดียมแอลจิเนต
(sodium alginate)
3. สร้างเปลือกเมล็ด โดยดูดสารละลายโซเดียมแอลจิเนต (sodium alginate) โดย
ใช้ติดโพรโทคอร์ม น้าไปหยดลงในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (calcium
chloride) จะเกิดเป็นเมล็ดกลม ๆ ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม

แสดงเอนโดสเปิร์มและการสร้าง แสดงเมล็ดเทียมของกล้วยไม้
เปลือกหุ้มเมล็ด
2.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืชโดยใช้
ส่วนประกอบต่าง ๆ พืชดอกสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการใช้เมล็ดและ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยใช้ส่วนประกอบอื่น ๆ ของพืชดังนี้
1. การตอนกิ่ง
2. การตัดช้า
3. การต่อกิ่ง หรือเสียบกิ่ง
4. การติดตา
5. การทาบกิ่ง
6. การใช้หน่อ
7. การใช้ราก
8. การใช้ใบ
9. ใช้หน่อย่อย
การเจริญเติบโตของพืช
โดยเริ่มจากพืชมีการเติบโต (growth) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณคือมี
การเพิ่มจ้านวนเซลล์ซึ่งเกิดจากการแบ่งเซลล์ (cell division)
แบบไมโทซิส (mitosis) และการขยายขนาดของเซลล์ (cell elongation)
มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบเซลล์ (cell differentitation)
ซึ่งเป็นการสร้างรูปร่าง (form) เพื่อให้เหมาะสมกับการท้าหน้าที่จ้าเพาะต่าง ๆ
เช่น ล้าเลียง สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นต้น
การเจริญเติบโตของพืชจะเกิดบริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic
tissue)
วิธีวัดการเจริญเติบโตของพืช
1. การวัดการเพิ่มขนาดหรือปริมาตร ท้าการวัดความยาว ความสูง
เส้นรอบวงของล้าต้น
2. การวัดการเพิ่มน้้าหนัก
2.1 วัดน้้าหนักสด (fresh weight)
2.2 วัดน้้าหนักแห้ง (dry weight)
3. วิธีวัดการเจริญเติบโตแบบอื่น ๆ ได้แก่
✓ การนับจ้านวนโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น
✓ การเปลีย่ นแปลงของโครงสร้างพืช
✓ ชั่งน้้าหนักหรือมวลทั้งหมดของพืช
กราฟแสดงการเจริญเติบโตของพืช
The End

72

You might also like