You are on page 1of 27

บทที่ 2 หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช

หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวติ
การกาเนิดสิ่งมีชีวิต
มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายการเกิดของสิ่งมีชีวิต เช่น ทฤษฎี “spontaneous
generation” ที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองจากสิ่งไม่มีชีวิตเช่น กบและแมลงเกิดจากดิน
หรือแมลงเกิดจากเนื้อเน่า อย่างไรก็ตามปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความ
จริง เป็นที่ทราบในปัจจุบันว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น สุนัขจะให้กาเนิดสุนัข
หนอนผีเสื้อเกิดจากผีเสื้อและพัฒนาเป็นผีเสื้อในลาดับต่อมา อย่างไรก็ตามหากสิ่งมีชีวิตเกิดจาก
สิ่งมีชีวิตแล้วสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกมาจากที่ใดหรือเกิดขึ้นได้อย่างไร

นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) และ


แอลเฟรด รัสเซล วอลแลนซ์ (Alfred Russel Wallance) ได้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตบนโลก (theory of evolution by natural selection)
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งทฤษฏีดังกล่าว กล่าวว่า
สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ภายในชนิดเดียวกัน (สปีชีส์ ; species) จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งเรา
เรียกว่าแตกต่างภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันนี้ว่า ความผันแปร (variations) โดยความผันแปร
ดังกล่าว จะเป็นผลให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอดในได้สภาวะแวดล้อม

ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสภาวะแห้งแล้ง แมลง สายพันธุ์ที่มีความสามารถกินอาหารได้หลาย


ชนิดทั้งใบพืชและหญ้า จะสามารถมีชีวิตรอดได้ดีกว่าแมลง สายพันธุ์ที่สามารถกินหญ้าได้อย่าง
เดียว เมื่อสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์หนึ่งสามารถมีชีวิตได้นาน ก็สามารถมีลูกหลานได้มากกว่าสิ่งมีชีวิต
สายพันธุ์อื่นที่มีอายุสั้นและเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์นั้นจะมีจานวนมากขึ้นและเกิดเป็น
ชนิดใหม่ (new species)
สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร ? แรกเริ่มเดิมทีเมื่อโลกยังร้อน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถ
อาศัยบนโลกใบนี้ได้ เมื่อเวลาผ่านไปโลกเริ่มเย็นตัวลง อุณหภูมิบนโลกจึงเหมาะที่จะเกิดสิ่งมีชีวิต
ขึ้น
โครงสร้าง การเจริญเติบโต และกระบวนการพัฒนาของพืช
ใจความสาคัญ
1. พืชมีการจัดระบบอย่างเป็นลาดับ ประกอบด้วย เซลล์ เนื้อเยื้อ และอวัยวะ
2. เนือ้ เยื่อเจริญ (meristem) แบ่งตัวให้เซลล์เพื่อการเจริญเติบโตขั้นแรก (primary growth) และ
การเจริญเติบโตขั้นที่สอง (secondary growth)
3. การเจริญเติบโตขั้นแรกเพื่อเพิ่มความยาวให้กับรากและลาต้น
4. การเจริญเติบโต กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และการเปลี่ยนแปลงไปทาหน้าที่เฉพาะของ
เซลล์ ทาให้เกิดอวัยวะของพืช
พืชมีการจัดระบบอย่างเป็นลาดับ ประกอบด้วย อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์
อวัยวะพื้นฐานของพืชประกอบด้วย ราก ลาต้น และใบ

คาศัพท์ และหน้าที่
โครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

ลักษณะเด่นของเซลล์พืช

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
1. ไลโซโซม (Iysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบ เฉพาะในเซลล์สัตว์และโปรติสต์บางชนิดรูปร่าง
ค่อนข้างกลม ทาหน้าที่สะสมเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ และทาลาย
ของเสียภายในเซลล์

2. ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์พืชส่วนใหญ่สร้างจากสารเซล


โลโลส เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทาให้เซลล์ทนทานและเป็นเยื่อที่ยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าและ
ออกจากเซลล์ได้ มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้กับเซลล์
3. ครอโรพลาสต์ (Chlorplast) พบในไซโทรพลาสซึม ของเซลล์พืชบางชนิด มีลักษณะเป็นเม็ดสี
เขียวมีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยชัน้ นอกทาหน้าที่ควบคุมโมเลกุลของสารที่ผ่านเข้าออกชั้นในมีสารสี
เขียวที่เรียกว่า ครอโรฟิลล์ (Cholorophyll) มีสมบัติดูดพลังงานแสงมาใช้ในกระบวนการ
สังเคราะห์แสง ทาให้พืชสามารถสร้างอาหารได้เอง ซึ่งเซลล์สัตว์ไม่มีครอโรพลาสต์

4. ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ประกอบด้วยสารเคมี


หลายชนิดรวมทั้งส่วนที่เป็นออร์แกเนลล์ (Organelle) เป็นส่วนประกอบที่เทียบได้กับอวัยวะ
ที่ทาหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่เซลล์มีหลายอย่าง เช่น ไรโบโซม (ribosome) มีลักษณะเป็นวงกลม
หรือรูปไข่ทาหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์โปรตีน

5. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลของโปรตีนและ


ไขมันมีลักษณะเป็นเยื่อบ่าง ๆ มีความยืนหยุ่นได้ และมีรูพรุนสามารถจากัดขนาดของสารที่
ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ ยอมให้โมเลกุลของสารขนาดเล็กผ่านได้ เช่น
น้า ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้ เช่น โปรตีน หน้าที่
คือ ห่อหุ้มเซลล์ทาให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ช่วยคัดเลือกสารและควบคุมปริมาณของสารที่ผ่านเข้า
และออกจากเซลล์

6. กอลจิบอดี (Golgi boby) หรืออีกอย่างหนึ่งว่า กอจิแอพพาราทัส มีลักษณะเป็นท่อหรือถุง


แบน ๆ เรียนซ้อนกันหลายชั้น ทาหน้าที่เป็นแหล่งสร้างคาร์โบโฮเดรตที่รวมกับโปรตีนซึ่งสร้าง
มาจากร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัมและมีส่วนสาคัญในการสร้างผนังเซลล์ของพืชและสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์

7. ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม (Endoplasmic Reticulum) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ สองชั้น


เรียงทบไปทบมาคล้ายถุงแบน ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีไรโบโซมเกาะอยู่ ทาหน้าที่
สังเคราะห์โปรตีนและเป็นทางส่งโปรตีนนี้ออกนอกเซลล์ และชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่

8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) มีลักษณะกลมจนถึงเรียวแตกต่างกันตามชนิดของสิ่งมีชีวิต


ทาหน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
9. แวคิวโอล (Vaculoe) มีลักษณะเป็นถุงใสที่มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนทาหน้าที่ควบคุม
ปริมาณน้าในเซลล์ สะสมน้า เก็บอาหาร และขับของเสียที่เป็นของเหลว

10. นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนประกอบที่สาคัญของเซลล์ มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเยื่อ


หุม้ 2 ชั้น มีรูเล็ก ๆ เป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งเป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ เข้าและออกจากนิวเคลียส
ภายในมีโครโมโซม บนโครโมโซมมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนอยู่
หน้าที่ ของนิวเคลียส เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของ
สิ่งมีชีวิต และควบคุมการทางานของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นแหล่งสังเคราะห์สารพันธุกรรม
และควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์

การลาเลียงในพืช การเเพร่ เเละออสโมซิส

ระบบเนื้อเยื่อท่อลาเลียงประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ท่อลาเลียงน้าและแร่ธาตุ (xylem) กับท่อ


ลาเลียงอาหาร (phloem)
การทางานของระบบการลาเลียงสารของพืช
ระบบลาเลียงของพืชมีหลักการทางานอยู่ 2 ประการ คือ
1. ลาเลียงน้าและแร่ธาตุผ่านทางท่อลาเลียงน้าและแร่ธาตุ (xylem) โดยลาเลียงจากรากขึ้น
ไปสู่ใบ เพื่อนาน้าและแร่ธาตุไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ลาเลียงอาหาร (น้าตาลกลูโคส) ผ่านทางท่อลาเลียงอาหาร (phloem) โดยลาเลียงจากใบ
ไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช เพื่อใช้ในการสร้างพลังงานของพืช

ระบบลาเลียงของพืชเริ่มต้นที่
1. ราก บริเวณขนราก (root hair) ซึ่งมีขนรากมากถึง 400 เส้นต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร
โดยขนรากจะดูดซึมน้าโดยวิธีการที่เรียกว่า การออสโมซิส (osmosis) และวิธีการแพร่
แบบอื่นๆ อีกหลายวิธี

2. น้าที่แพร่เข้ามาในพืชจะเคลื่อนที่ไปตามท่อลาเลียงน้าและแร่ธาตุ (xylem) เพื่อลาเลียง


ต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืช

3. น้าตาลจะถูกลาเลียงผ่านทางท่อลาเลียงอาหาร (phloem) ไปตามส่วนต่างๆ เพื่อเป็น


อาหารของพืช และลาเลียงน้าตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ ราก และลาต้น
การแพร่และออสโมซิส
การแพร่ (diffusion) เป็นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากกว่าไปสู่บริเวณที่มี
ความเข้มข้นน้อยกว่า

การออสโมซิส (osmosis) เป็นการแพร่ของน้าจากบริเวณที่มีน้ามากกว่า (สารละลายเจือจาง) ไปสู่


บริเวณที่มีน้าน้อยกว่า (สารละลายเข้มข้น)

คาถาม
1. การแพร่และการออสโมซิสต่างกันอย่างไร

2. พืช ใช้ประโยชน์จากการแพร่และการออสโมซิสอย่างไร
การสืบพันธุ์ เเละการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ คือ การสร้างชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิม เพื่อดารงสืบพันธุ์ไป เป็นกระบวนการ
ที่ทาให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง

การสืบพันธุ์ของพืชโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น2 แบบ คือ


1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ (Asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องใช้
เซลล์ สืบพันธุ์ แต่ใช่ส่วนอื่นๆขยายพันธุ์แทน เช่น
การแตกหน่อ (budding) ได้แก่ หน่อกล้วย ไผ่ กล้วยไม้ เป็นต้น
การสร้างสปอร์ (spore formation) ได้แก่ มอส เฟิร์น เป็นต้น
การตอนกิ่ง (marcotting) ได้แก่ กุหลาบ มะม่วง ส้ม เงาะ เป็นต้น
การติดตา (budding) ได้แก่ กุหลาบ ยางพารา เป็นต้น
การทาบกิ่ง (grafting) ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น
การปักชา (cutting) ได้แก่ ชบา เฟื่องฟ้า เป็นต้น
การแตกต้นใหม่จากส่วนต่างๆของพืช
3.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)
เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยดอกมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์
เพศเมีย
การจาแนกประเภทของดอกไม้
ประเภทของดอกไม้สามารถจาแนกออกได้เป็น4 ประเภท คือ

1. ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือ ดอกไม้ที่มีครบทั้ง 4วงคือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก


เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เช่น มะเขือ พริก ชบา เป็นต้น (ดอกสมบูรณ์ต้องเป็นดอกสมบูรณ์
เพศเสมอ)
2. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก
เดียวกัน เช่น มะม่วง กุหลาบ ชบา เป็นต้น(อาจเป็นดอกสมบูรณ์หรือไม่ก็ได้)
3. ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือ ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 วง อาจ
ขาดวงใดวงหนึ่งหรือ 2 วงก็ได้ เช่น กาฝาก หน้าวัว ข้าวโพด ตาลึง เป็นต้น (อาจเป็นดอก
สมบูรณ์เพศหรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้)
4. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) คือดอกไม้ที่มีแต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียง
อย่างเดียวในแต่ละดอก เช่น แตง บวบ ข้าวโพด เป็นต้น (เป็นดอกไม่สมบูรณ์เสมอ)
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
กระบวนการเจริญเติบโต
1. การเพิ่มจานวนเซลล์
2. การขยายขนาดของเซลล์
3.การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อทาหน้าที่เฉพาะ

ประกอบด้วยส่วนสาคัญ คือ
1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) อยู่ชั้นนอกสุดของเมล็ด ป้องกันอันตรายให้เมล็ด
2. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ทาหน้าที่ สะสมอาหารพวกแป้ง โปรตีน ไขมัน และน้าตาล ไว้
เลี้ยงต้นอ่อนในเมล็ด
3.ต้นอ่อน (embryo) คือ ส่วนที่เจริญไปเป็นต้นอ่อน ประกอบด้วย
- ใบเลี้ยง (cotyledon) ทาหน้าที่ สะสมอาหารให้ต้นอ่อน
- ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง(epicotyl) จะเจริญไปเป็นลาต้นส่วนบน กิ่ง ก้าน ใบ ส่วน
ปลายสุดเรียกว่า ยอดแรกเกิด (plumule)
- ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) จะเจริญไปเป็นลาต้นส่วนล่าง ส่วนปลายสุดที่
อยู่ใต้ใบเลี้ยงเรียกว่า รากแรกเกิด (radicle)ซึ่งจะกลายเป็นรากแก้วต่อไป
รากแรกเกิดจะงอกออกมาทางรอยแผลเป็น (raphae) ซึ่งบริเวณนี้จะมีรูที่เรียกว่า ไมโครไพล์
(micropyle)เป็นทางงอกของเมล็ด

ปัจจัยที่มีต่อการงอกของเมล็ด
1. น้า 2.ออกซิเจน 3.อุณหภูมิที่พอเหมาะ
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช มีปัจจัยหลัก 2 ประการ ดังนี้

1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ


1.1 การเคลื่อนไหวแบบอัตโนวัติ (Autonomic movement) ซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าภายในคือฮอร์โมน
ออกซิน ขณะเจริญเติบโตปลายยอดจะแกว่งวนเป็นวงหรือโยกไปมาเรียกว่า นิวเตชัน
(nutation)หรือในพืชบางชนิดลาต้นจะบิดเป็นเกลียวช้าๆและเป็นเกลียวถาวรเรียกว่า สไปรอล
(spiral
movement) พบในพืชพวกตาลึง บวบ ฟักทอง
1.2 การเคลื่อนไหวแบบพาราโทนิก (Paratonic movement) เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น
อุณหภูมิ แสงสว่าง แรงโน้มถ่วงของโลก หรือสารเคมีบางอย่างมาทาให้พืชเกิดการเจริญเติบโตไม่
เท่ากัน
- การเคลื่อนไหวแบบนาสติก (Nastic movement) เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีทิศทางไม่สัมพันธ์
กับสิ่งเร้า
-การเคลื่อนไหวแบบทรอปิซึม (Tropism) เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า

2. การเคลื่อนไหวเนื่องจากแรงดันเต่ง (Turgor movement)


เกิดจากการมีน้าเข้าไปทาให้เซลล์เต่งหรือเนื่องจากการสูญเสียน้าออกไปทาให้แรงดันเต่ง
ลดลง เช่น ต้นไมยราบจะหุบใบถ้ามีการกระเทือนเกิดขึ้นหรือถ้าเราไปสัมผัส
ตรงโคนก้านใบและโคนก้านใบย่อยจะมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่งรวมเป็นกระเปาะเรียกว่า พัลวินัส
(pulvinus)เมื่อมีสิ่งใดมาสัมผัสจะมีผลให้แรงดันเต่งลดลงอย่างรวดเร็ว ใบจึงหุบทันที
พืชพวกกระถิน จามจุรี และใบพืชตระกูลถั่วอย่างอื่นจะหุบใบในตอนพลบค่าเพราะเมื่อความเข้ม
ของแสงลดลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์ด้านบนและด้านล่างของโคนก้าน
ใบและแผ่นใบทาให้ใบหุบ หรือที่เรียกกันว่า “ต้นไม้รู้นอน”
พืชบางชนิดสามารถจับแมลงเป็นอาหารได้ เช่น ต้นกาบหอยแครง
1.5 การสังเคราะห์ด้วยเเสง
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

ความสาคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง

1. นาพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารเก็บไว้ในรูปของเนื้อเยื่อ ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พลังงานเหล่านี้จะถ่ายทอดไปสู่สัตว์และคนที่กินพืชและ
สัตว์เป็นอาหาร

2. ได้แก๊สออกซิเจนและไอน้า ซึ่งจะถูกปล่อยออกจากใบสู่อากาศส่วนพืชในน้าก็ปล่อยออกซิเจน
สู่แหล่งน้า สัตว์ทั้งในน้าและบนบกได้นาแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ

3. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้าเป็นสารตั้งต้น
ในปฏิกิริยา ดังนั้น พืชสีเขียวจึงมีประโยชน์ ช่วยลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่
เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
น้าตาลเป็นสารชนิดแรกที่พืชสร้างขึ้นได้เองก่อนที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นแป้งและสารอื่น ๆ
ต่อไปกระบวนการสร้างน้าตาลของพืชเราเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
(Photosynthesis) ซึ่งพืชต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในกระบวนการนี้
ปัจจัยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ปัจจัยสาคัญที่พืชจาเป็นต้องนาไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
1) คลอโรฟิลล์ มีอยู่ในคลอโรพลาสต์
2) แสง คลอโรฟิลล์จะดูดซับพลังงานแสงเข้ามาในใบพืช
3) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พืชจะรับเข้ามาทางปากใบที่เปิดในเวลากลางวัน
4) น้า รากพืชจะดูดน้าขึ้นมาแล้วลาเลียงต่อไปยังใบโดยผ่านทางลาต้นพืช

ลักษณะเด่น ของพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดียว
การคายน้าของพืช

การคายน้า คือ การแพร่ของน้าออกจากใบของพืชโดยผ่านทางปากใบ โดยทั่วไป


ปากใบปิดเวลากลางคืนและเปิดในเวลากลางวัน
ความสาคัญของการคายน้า
1. การควบคุมการเคลื่อนที่ของน้าในพืช
2. ควบคุมการดูดซึมธาตุอาหารของพืช
3. ทาให้อุณหภูมิของใบลดลง โดยลดความ ร้อนที่เกิดจากแสงแดดที่ใบ
4. เมื่อในอากาศอิม่ ตัวด้วยน้า มีความชื้นสูง การคายน้าเกิดขึ้นได้น้อย แต่การดูดน้า
ของรากยังเป็นปกติพืชจะเสียน้าในรูปของหยดน้าเรียกว่ากัตเตชัน (guttation)
ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้า
ลักษณะ ผลต่อการคายน้า
จานวนใบ
จานวนปากใบ
แสงสว่าง
อุณหภูมิ
ความชื้นสัมพัทธ์
ลม
แหล่งน้า
ปากใบของมะเขือเทศทีใ่ ช้ในการคายน้า ภาพแต่งสีจาก
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
th.wikipedia.org/wiki/การคายน้า
การคายน้า ( transpiration ) เป็นการแพร่ของน้าออกไปทางปากใบ ซึ่งจะเกิด
มากในตอนกลางวันทีอ่ ณ ุ หภูมิ อากาศมีความชื้นน้อย การคายน้าจะส่งผลให้เกิดแรงดึง
น้าจากส่วนล่างของลาต้นขึ้นไปสู่ส่วนทีอ่ ยูส่ ูงกว่า ช่วยลดอุณหภูมทิ ี่ใบ พืชถ้าคายน้ามาก
เกินไปจะทาให้ ใบเหี่ยว ทาให้พืชเจริญช้าลง
ลักษณะการลาเลียงน้าของต้นพืช
 ปากใบเปิดเวลากลางวัน
 น้าระเหยออกไปทางปากใบ
 น้าในเซลล์ใบน้อยลง
 ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์ใบมาก
 น้าแพร่เข้าสู่เซลล์ของใบ
 น้าแพร่เข้าสูร่ ากและถูกส่งต่อผ่านลาต้นไปยังใบตลอดเวลา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคายน้าของพืช
1. ชนิดของพืช พืชที่มีปากใบมากก็จะคายน้าน้ามาก แต่ถ้าพืชบางชนิดมีปากใบน้อย
ก็จะมีการคายน้าน้อย
2. อุณหภูมิของอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูงพืชจะมีการคายน้าได้ดกี ว่าช่วงเวลาทีม่ ี
อุณหภูมิต่า
3. ความชื้นของอากาศ ในช่วงที่อากาศมีความชื้นมากพืชจะมีการคายน้าได้น้อย
4. แสงสว่าง ถ้ามีมากเกินไปปากใบพืชจะเปิด ทาให้มีการคายน้ามาก
5. ลม เนื่องจากลมจะพัดไอน้าบริเวณผิวใบไป ทาให้เพิ่มความแตกต่างของพลังงาน
ที่ทางานได้ของไอน้า
อัตราการคายน้าจึงสูงขึ้นเพือ่ ปรับให้เกิดความสมดุลมากขึ้นระหว่างภายในใบ
และผิวใบ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าลมแรงมากอัตราการ คายน้าจะลดลงเพราะปากใบพืชจะ
ปิด เนื่องจากปัจจัยทางกลของพืชกระตุ้นให้ปากใบปิด
ประโยชน์ของการคายน้า
1. ช่วยให้เกิดการลาเลียงน้าและธาตุอาหาร
2. ช่วยลดอุณหภูมิภายในลาต้น
3. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิวใบ
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. สิ่งมีชีวิตในข้อใด มีชีวิตเซลล์เดียว
ก. พยาธิ ข. ไฮดรา
ค. แมงกะพรุน ง. พารามีเซียม
2. ส่วนประกอบในข้อใดพบแต่ในเซลล์พืช
ก. นิวเคลียส ข. ไซโทพลาซึม
ค. เยือหุม้ เซลล์ ง. คลอโรพลาสต์
3. เซลล์ชนิดใดมีอยู่ในพืชทุกชนิด
ก. เซลล์คุม ข. เซลล์กล้ามเนื้อ
ค. เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม ง. ไม่มีคาตอบ
4. สิ่งใดเป็นเกณฑ์การจาแนกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ก. จานวนเซลล์
ข. ขนาดของเซลล์
ค. รูปร่างของเซลล์
ง. ส่วนประกอบของเซลล์
5. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีสิ่งใดที่เหมือนกัน
ก. ขนาดของเซลล์
ข. รูปร่างของเซลล์
ค. ความแข็งของเซลล์
ง. ส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์
6. ส่วนประกอบของเซลล์พืชส่วนใดที่ทาหน้าที่คล้ายหัวใจ
ก. ผนังเซลล์ ข. นิวเคลียส
ค. เยื่อหุ้มเซลล์ ง. ไซโทพลาซึม
7. โครงสร้างสาคัญที่ทาหน้าที่ในการดูดซึมน้าและแร่ธาตุจากดินเข้าสู่พืชคืออะไร
ก. ขนราก ข. รากฝอย
ค. รากแก้ว ง. รากค้าจุน

.
8. น้าเข้าสู่รากโดยวิธีการใดมากที่สุด
ก. การแพร่ ข. การกระจาย
ค. ออสโมซิส ง. แรงเต่ง
9. ปัจจัยในข้อใด ไม่มี ผลต่อการแพร่ของอนุภาคของสารผ่านเยื่อเลือกผ่าน
ก. อุณหภูมิของสาร
ข. ขนาดของอนุภาคของสาร
ค. ชนิดของเยื่อเลือกผ่านที่กั้นอยู่ระหว่างสารทั้งสองสาร
ง. ความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นอนุภาคของสารสองบริเวณ
10. การที่เราได้กลิ่นน้าหอมเกิดจากกระบวนการใด
ก. การแพร่
ข. การออสโมซิส
ค. การลาเลียง
ง. การแพร่และการออสโมซิส
11. ขนรากดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการใด
ก. การไหล ข. การแพร่
ค. การลาเลียง ง. การออสโมซิส
12. อัตราการแพร่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยข้อใด
ก. ชนิดของสาร
ข. ชนิดของเยื่อกั้น
ค. ขนาดอนุภาคของสาร
ง. ความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นอนุภาคของสาร 2 บริเวณ
13. ข้อใดไม่ใช่วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. น้า ข. แสง
ค. ออกซิเจน ง. คลอโรฟิลล์
14. ข้อใดถูกต้อง
ก. พืชส่งอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลาต้นในรูปของน้าตาล
ข. การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นที่บริเวณใบเท่านั้น
ค. สิ่งแรกที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชคือน้า
ง. แก็สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
15. ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. น้า
ข. น้าตาล
ค. แก็สออกซิเจน
ง. แก็สคาร์บอนไดออกไซด์
16. พืชสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เพราะเหตุใด
ก. มีออกซิเจน ข. มีคาร์โบไฮเดรต
ค. มีคลอโรฟิวส์ ง. มีไนโตรเจน
17. พืชสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ อาการดีในที่นี้หมายถึงแก็สอะไร
ก. โอโซน ข. ออกซิเจน ค. ไนโตรเจน ง. ไฮโดรเจน
18. ส่วนใดของพืชที่ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
ก. ใบ ข. ดอก
ค. ราก ง. ลาต้น
19. ข้อต่อไปนี้เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศยกเว้นข้อใด
ก. การปักชา ข. การต่อกิ่ง
ค. การแตกหน่อ ง. การเพาะเมล็ด
20. ส่วนประกอบของดอกไม้ถ้าเรียงจากชั้นนอกสุดไปยังชั้นในสุดได้แก่ข้อใด

ก. กลีบเลี้ยง กลีบดอก อับละอองเรณู รังไข่


ข. กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
ค. เกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้ กลีบดอก กลีบเลี้ยง
ง. เกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้ ก้านชูอับละอองเรณู
21. ดอกไม้ในข้อเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ก. บัว ชบา ข. บวบ แตงกวา
ค. เฟื่องฟ้า มะระ ง. ฟักทอง ผักบุ้ง
22. การปฏิสนธิของพืชเกิดขึ้นเมื่อใด
ก. เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
ข. เมื่อนิวเคลียสในละอองเรณูผสมกับออวุลในรังไข่
ค. เมื่อนิวเคลียสในละอองเรณูผสมกับเซล์ไข่ในออวุล
ง. เมื่อละอองเรณูงอกหลอดแทงลงไปในเกสรตัวเมีย
23. เนื้อของผลไม้ที่เรากินส่วนมากเป็นส่วนใดของเกสรตัวเมีย
ก. ไข่ ข. รังไข่
ค. ออวุล ง. ยอดเกสรตัวเมีย
24. พืชในข้อใดที่ไม่นิยมขยายพันธ์โดยการนามาตอนกิ่ง
ก. ต้นเข็ม ข. ต้นมะนาว
ค. ต้นมะละกอ ง. ต้นมะม่วง
25. ข้อใดสรุปถูกต้อง
ก. ดอกครบส่วนจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ
ข. ดอกสมบูรณ์เพศต้องเป็นดอกครบส่วนเสมอ
ค. ดอกไม่ครบส่วนต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ
ง. ดอกไม่สมบูรณ์เพศอาจจะเป็นดอกครบส่วนก็ได้
26. ข้อใดผิด
ก. ถ้าไม่มีนกและแมลง การถ่ายละอองเรณูก็ไม่เกิดขึ้น
ข. การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ค. การถ่ายละอองเรณูอาจเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันหรือข้ามดอกก็ได้
ง. การสืบพันธุ์ของพืชดอกเริ่มขึ้นเมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
27. ข้อใดคือจุดเด่นที่สาคัญของการใช้พืชที่ได้จากการตัดแต่งยีนในการเพาะปลูก
ก. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง
ข. เพิ่มผลผลิตต่อไร่มากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม
ค. ราคาต่อหน่วยถูกกว่าการใช้พันธุ์ตั้งเดิม
ง. ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่ทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ
28. ข้อห่วงใยของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการนาความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้
ปรับปรุงพันธุ์สัตว์คืออะไร
ก. ปัญหาการกลายพันธุ์ของสัตว์
ข. ปัญหาด้านจริยธรรมในการทดลอง
ค. ปัญหาด้านการเพิ่มผลผลิตของสัตว์แต่ละประเภท
ง. ปัญหาด้านพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของสัตว์ที่ใช้ในการทดลอง
29. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืชที่เกิดจากแสงสว่าง
ก. การผลัดใบของพืชในเขตหนาว
ข. การที่รากพืชชอนไชลงไปในพื้นดิน
ค. การหุบหรือบานของดอกไม้บางชนิด
ง. การงอกของเมล็ดในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม

30. อะไรไม่ใช่สิ่งเร้าที่ทาให้รากของพืชเคลื่อนที่ลงไปในพื้นดิน
ก. ความชื้นใต้พื้นดิน
ข. อุณหภูมิของพื้นดิน
ค. แรงโน้มถ่วงของโลก
ง. แร่ธาตุที่อยู่ในพื้นดิน

*************************************************************************************************************************

You might also like