You are on page 1of 244

บทนําเกี่ยวกับชีววิทยา (Introduction to Biology)

1. ลักษณะของสิ่งมีชีวิต (Characteristics of Life)


ลักษณะของสิ่งมีชีวิตมีหลายประการ ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากเซลล์ (cell)
2. สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบในร่างกาย (biological organization หรือ biological hierarchy)
3. สิ่งมีชีวิตมีความต้องการพลังงาน
4. สิ่งมีชีวิตมีกลไกในการรักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย (homeostasis)
5. สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (response to stimulus)
6. สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ (reproduction)
7. สิ่งมีชีวิตมีการเติบโต (growth) และการเจริญ (development)
8. สิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (inheritance)
9. สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ (evolution)

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร (Scientific Process)


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การสังเกต (observation)
2. การตั้งคําถาม (asking question)
3. การทบทวนเอกสารวิจัย (literature review)
4. การตั้งสมมติฐาน (hypothesis formulation)
5. การตรวจสอบสมมติฐาน (hypothesis testing) – การสํารวจ (survey) หรือการทดลอง (experiment)
6. การสรุปผล (conclusion)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (2) ______________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ชีววิทยาของพืช (Plant Biology
การจัดระบบของโครงสร้างของพืช (organization) เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับในสัตว์ สรุปได้ ดังนี้
เซลล์พืช → เนื้อเยื่อพืช → ระบบเนื้อเยื่อพืช → อวัยวะ → ระบบอวัยวะ → พืช
ระบบอวัยวะพืช (system) แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ ระบบราก (root system) และระบบยอด (shoot
system)
โครงสร้างของแต่ละอวัยวะของพืชจะประกอบขึ้นจากระบบเนื้อเยื่อพืช (tissue system) ซึ่งมี 3 ระบบ คือ
1. ระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal tissue system)
2. ระบบเนื้อเยื่อพื้น (ground tissuesystem)
3. ระบบเนื้อเยื่อท่อลําเลียง (vascular tissue system)

1. กระเนื้อเยื่อพืช (Plant Tissues)


เนื้อเยื่อพืชแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) เนื้อเยื่อเจริญประกอบขึ้นจากกลุ่มเซลล์ที่มีความสามารถในการ
แบ่งเซลล์ได้ เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic cell) มีขนาดเล็ก นิวเคลียสใหญ่ แวคิวโอลขนาดเล็ก เนื้อเยื่อ
เจริญแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามตําแหน่ง คือเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) พบได้ในพืชทุกชนิด
และทําให้พืชมีการเติบโตในแนวเพิ่มความสูง เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) หรือแคมเบียม
(cambium) พบเฉพาะในพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดเช่น เข็มกุดั่น ศรนารายณ์ โดยเนื้อเยื่อเจริญ
ด้านข้างจะทําให้พืชมีการเติบโตในแนวเพิ่มความกว้าง และเนื้อเยื่อเจริญระหว่างข้อ (intercalary meristem)
พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและทําให้เกิด primary growth
เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อพืชที่เซลล์มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยทั่วไปมี
รูปร่างคงที่ มีองค์ประกอบภายในที่ทําให้เซลล์ทําหน้าที่เฉพาะได้และมักไม่มีการแบ่งเซลล์อีก เนื้อเยื่อถาวรชนิด
ต่าง ๆ สรุปได้ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปเนื้อเยื่อถาวรแบบต่าง ๆ ของพืช
เนื้อเยื่อพืช ลักษณะของเนื้อเยื่อพืช
พาเรงไคมา - เนื้อเยื่อพื้นฐานที่พบมากที่สุดในพืช
(parenchyma) - เซลล์มีผนังเซลล์ปฐมภูมิและเป็นเซลล์ที่มีชีวิต
- เซลล์ขนาดใหญ่ มักมีผนังเซลล์บาง มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ อาจมีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน
- บทบาทหน้าของที่เซลล์พาเรงไคมา
1. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง (chlorenchyma)
2. เก็บสะสมอาหาร (แป้ง) เรียกว่า storage (reserved) parenchyma
3. การเกิดโพรงอากาศเรียกพาเรงไคมานี้ว่า aerenchyma เช่น stellate parenchyma
4. การลําเลียงสารตามแนวรัศมี (radial transport) เช่น xylem parenchyma

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ______________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (3)


เนื้อเยื่อพืช ลักษณะของเนื้อเยื่อพืช
คอลเลนไคมา - เซลล์มีผนังเซลล์ปฐมภูมิและเป็นเซลล์ที่มีชีวิต
(collenchyma) - ผนังเซลล์มีความหนาไม่สม่ําเสมอ มักพบว่ามีความหนามากตามมุมของลําต้น
- มักมีลักษณะมันวาว เนื่องจากมีเพกติน (pectin) เป็นองค์ประกอบมาก
- มีหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงกับพืชโดยเฉพาะในพืชที่ยังอ่อน (อยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส)
มักมีความยืดหยุ่นสูง (flexibility สูง) จึงอาจพบที่บริเวณก้านใบพืชด้วย
สเคลอเรนไคมา - มีการสะสมของสารลิกนินในผนังเซลล์ทุติยภูมิ ทําให้เมื่อเซลล์โตเต็มที่จะไม่มีชีวิต
(sclerenchyma) - มีหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงกับพืชแต่มีความยืดหยุ่นต่ํากว่า collenchyma
- Sclerenchyma แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. สเคลอรีด (sclereid)
เซลล์รูปร่างหลากหลาย อาจมีรูปร่างกลมหรือคล้ายรูปดาว มักไม่อยู่รวมกันเป็นมัด
รอยบาง (pit)มักมีจํานวนมากและอาจแตกแขนง (branched-pit) ได้
2. ไฟเบอร์ (fiber)
เซลล์รูปร่างเรียวยาวมักอยู่ต่อกันเป็นสาย มักมี pit จํานวน 1 – 2 อันต่อเซลล์
เนื้อเยื่อผิว - เซลล์มีผนังเซลล์ปฐมภูมิและมีชีวิต
(epidermis) - บริเวณลําต้นและใบมักมีการสะสมสารคิวทิน (cutin) เป็นชั้นที่เรียกว่า cuticle
- อาจมีรูปร่างและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป โดย บางชนิดอาจมีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน
กลายเป็น เซลล์คุม (guard cell)ขณะที่บางเซลล์อาจเปลี่ยนไปเป็น ขน (trichome)
หรือต่อมสําหรับทําหน้าที่หลั่งสารต่าง ๆ ในพืชได้
ไซเล็ม (xylem) - เนื้อเยื่อถาวรที่เกี่ยวข้องกับการลําเลียงน้ํา แร่ธาตุ และให้ความแข็งแรงกับพืช
- ไซเล็มประกอบขึ้นจากเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่
1. เทรคีด (tracheid) เซลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อยาว สอบหัวสอบท้าย มีผนังเซลล์
ทุติยภูมิเป็นสารลิกนิน (lignified secondary cell wall) ทําให้เมื่อโตเต็มที่เป็นเซลล์ที่
ตายแล้ว มีรอยบางแบบมีขอบ (bordered pit) จํานวนมาก พบในพืชที่มีท่อลําเลียงทุกชนิด
2. เวสเซล (vessel) มีลักษณะเป็นท่อสั้นและกว้างกว่า tracheid เรียงซ้อมต่อกัน
ผนังด้านหัวท้ายมักมีแผ่นลักษณะคล้ายตะแกรง เรียกแผ่นหรือผนังนี้ว่า perforation
plate มีผนังเซลล์ทุติยภูมิเป็นสารลิกนิน (lignified secondary cell wall) ทําให้เป็น
เซลล์ที่ตายเมื่อเติบโตเต็มที่เช่นเดียวกับ tracheid พบเฉพาะในพืชดอก และ gnetum
บางชนิดได้
3. Xylem parenchyma ทําหน้าที่ในการลําเลียงน้ําและเกลือแร่ในแนวรัศมี
4. Xylem fiber ทําหน้าที่ในการค้ําจุน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (4) ______________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เนื้อเยื่อพืช ลักษณะของเนื้อเยื่อพืช
โฟลเอ็ม - เนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่ในการลําเลียงอาหาร เช่น น้ําตาล กรดอะมิโน
(phloem) - ประกอบขึ้นจากเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่
1. Sieve tube member เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ปลายเซลล์มี
แผ่นตะแกรง เรียกว่า sieve plate เซลล์มีชีวิต มีผนังเซลล์ปฐมภูมิ แต่ออร์แกเนลล์
ต่าง ๆ ภายในไซโทพลาซึม เช่น นิวเคลียส ไรโบโซมเยื่อหุ้มแวคิวโอลจะลดรูปหายไป
เหลือแต่ modified mitochondria พลาสติด และ SER
2. Companion cell เป็นเซลล์พาเรงไคมาที่เปลี่ยนแปลงมาประกบอยู่กับเซลล์ซีฟทิวบ์
มีต้นกําเนิดเดียวกับเซลล์ซีฟทิวบ์ เซลล์มีขนาดเล็ก ผนังบาง นิวเคลียสขนาดใหญ่และ
ไซโทพลาซึม มีออร์แกเนลล์ต่าง ๆ จํานวนมาก สําหรับควบคุมการทํางานของ sieve
tube member ในการลําเลียงอาหาร
3. Phloem parenchyma ทําหน้าที่ในการลําเลียงอาหารในแนวรัศมี
4. Phloem fiber ทําหน้าที่ในการค้ําจุน

2. โครงสรางและหนาที่ของราก (Root Structure and Function)


ราก (root) เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่ใต้ดินเป็นอวัยวะหลักในระบบราก ทําหน้าที่ในการดูดซึมน้ําและ
แร่ธาตุเข้าสู่ภายในต้นพืช รวมถึงทําหน้าที่ในการค้ําจุนและให้ความแข็งแรงกับพืชอีกด้วย ระบบรากแบ่งเป็น 2
ระบบ คือระบบรากแก้ว (tap root system) พบในพืชใบเลี้ยงคู่ และระบบรากฝอย (fibrous root system)
พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
โครงสร้างตัดตามยาวของปลายรากแบ่งออกเป็นบริเวณต่าง ๆ ได้ดังนี้ (จากด้านล่างสุดขึ้นมาด้านบนดัง
ภาพที่ 1)
1. บริเวณหมวกราก (root cap) พบอยู่บริเวณปลายสุดของราก มีหน้าที่ช่วยในการชอนไชของรากเข้า
ไปในดินและป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อเจริญปลายรากที่อยู่ในส่วนถัดขึ้นมา นอกจากนี้ยังทําหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับการตรวจรับแรงโน้มถ่วงโลกอีกด้วย หมวกรากประกอบขึ้นจากเซลล์พาเรงไคมาที่สามารถผลิตเมือกออกมา
ช่วยให้ดินชุ่มชื้นมากขึ้น
2. บริเวณเซลล์กําลังแบ่งตัว (zone of cell division หรือ zone of cell proliferation) เป็นบริเวณที่
อยู่ถัดขึ้นมาจากหมวกราก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญที่ยังสามารถแบ่งเซลล์ได้อยู่
3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (zone of cell elongation) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดขึ้นมา เซลล์จะสะสม
สารต่าง ๆ ทําให้เซลล์มีขนาดใหญ่และยาวขึ้น
4. บริเวณเซลล์เติบโตเต็มที่ (zone of cell maturation หรือ zone of cell differentiation) เป็น
บริเวณที่เซลล์มีการเจริญเติบโตเต็มที่ และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เกิดขึ้น บริเวณนี้สามารถพบส่วน
ของเซลล์ขนราก (root hair cell) ซึ่งเป็นเซลล์ผิวที่มีผนังเซลล์ยื่นออกไปทางด้านนอกเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการ
ดูดซึมน้ําและแร่ธาตุเข้าสู่รากพืช

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ______________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (5)


ภาพที่ 1 โครงสร้างของรากพืชตัดตามยาว (longitudinal section)
โครงสร้างรากพืชปฐมภูมิ (primary root) ตัดตามขวางมีการจัดเรียงตัวของชั้นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนี้
1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis)
- ชั้นนอกสุดของราก เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์และมักไม่พบ cuticle
- เอพิเดอร์มิสในบริเวณที่เซลล์เติบโตเต็มที่ อาจพบเซลล์ขนราก (root hair cell)
2. ชั้นคอร์เทกซ์ (cortex)
- ชั้น กลางที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสและชั้น สตีลประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาโดยรากพืช
หลายชนิดมักมีเนื้อเยื่อพาเรงไคมาเป็นแบบ storage parenchyma ที่เก็บสะสมอาหาร เช่น แป้ง
- ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ เรียกว่า ชั้นเอนโดเดอร์มิส (endodermis) มีการพอกของสารซูเบอริน
(suberin) และลิกนิน (lignin) เป็นแนว เรียกว่า แถบแคสพาเรียน (Casparian strip)
3. ชั้นสตีล (stele) ประกอบขึ้นจาก 3 ส่วน คือ
4.1 ชั้นเพอริไซเคิล (pericycle) เป็นชั้นนอกสุดของสตีล มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดรากแขนง
(lateral root) และการเจริญทุติยภูมิ (secondary growth) ของราก
4.2 ท่อลําเลียงน้ําลําเลียงอาหาร (vascular cylinder) มีการจัดเรียงโดยท่อไซเล็ม (xylem) อยู่
ตรงกลางเรียงเป็นแฉก และมีท่อโฟลเอ็ม (phloem) อยู่ระหว่างแฉก โดยพืชแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบการเรียงตัว
แตกต่างกัน คือ พืชใบเลี้ยงคู่จะมีแขนงของไซเล็ม 3-4 แฉกขณะที่ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนของไซเล็มจะมีจํานวน
แฉกมากกว่า ลักษณะรากพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแสดงดังภาพที่ 2 และภาพที่ 3
4.3 พิธ (pith) เป็นส่วนกลางราก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาเป็นหลัก พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (6) ______________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ภาพที่ 2 โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง

ภาพที่ 3 โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง
รากของพืชบางชนิดอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปเพื่อทําหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
1. รากสะสมอาหาร เช่น หัวผักกาด (หัวไชเท้า) แครอท มันเทศ มันแกว กระชาย มันสําปะหลัง
2. รากหายใจที่มีปลายรากโผล่ขึ้นมาเหนือดินและผิวน้ํา เช่น รากลําพู โกงกาง และแสม
3. รากที่ช่วยในการค้ําจุนลําต้นพืช เช่น รากเตยทะเล รากไทร
4. รากที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น รากสีเขียวของกล้วยไม้
5. รากที่ใช้ในการยึดเกาะกับผนัง เช่น รากของต้นพลู พริกไทย พลูด่าง
6. รากปรสิตที่ใช้ในการแทงเข้าไปแย่งน้ําและอาหาร เช่น รากกาฝาก รากต้นฝอยทอง

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ______________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (7)


3. โครงสรางและหนาที่ของลําตน (Stem Structure and Function)
ลําต้น (stem) เป็นโครงสร้างของพืชที่อยู่ถัดจากรากขึ้นมามักพบเป็นส่วนหนึ่งของระบบยอด (shoot
system) ที่อยู่เหนือดิน ลักษณะลําต้นจะมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ซึ่งสามารถสังเกตได้ชัดเจนใน
พืชใบเลี้ยงคู่ ลําต้นพืชส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาของใบ ดอก ผลเกิดขึ้นโครงสร้างของลําต้นพืชที่มีการเติบโต
ปฐมภูมิตัดตามขวาง มีลักษณะการจัดเรียงตัวของชั้นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนี้ (ภาพที่ 4-5)
1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นชั้นที่อยู่ด้านนอกสุดของลําต้น โดยทั่วไปมักเรียงตัวแถวเดียว
อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขนหรือหนามได้ บริเวณผิวด้านนอกของชั้นนี้จะมีสารพวกคิวทิน (cutin) เคลือบอยู่
เป็นชั้นคิวทิเคิล
2. ชั้นคอร์เทกซ์ (cortex) ในลําต้นแคบมากเมื่อเทียบกับในราก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาส่วนใหญ่
อาจพบเนื้อเยื่อคอลเลนไคมาซึ่งอยู่ใต้ผิวหรือตามมุมของลําต้นที่ยังอ่อน และเนื้อเยื่อสเคลอเรนไคมาสําหรับค้ําจุน
3. ชั้นสตีล (stele) ไม่สามารถแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ชัดเจน ประกอบด้วยส่วนหลักต่าง ๆ 3 ส่วน คือ
1.1 มัดท่อลําเลียง (vascular bundle) ประกอบด้วยท่อไซเล็ม ท่อโฟลเอ็ม และแคมเบียมท่อ
ลําเลียงโดยในพืชใบเลี้ยงคู่ ส่วนของมัดท่อลําเลียงจะเรียงเป็นวงรอบลําต้น โดยมีท่อ xylem อยู่ด้านในและมีท่อ
phloem อยู่ทางด้านนอก ขณะที่ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของมัดท่อลําเลียงจะเรียงกระจายทั่วลําต้น
1.2 วาสคิวลาร์เรย์ (vascular ray) หรือพิธเรย์ (pith ray) เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อพาเรงไคมาที่แทรกอยู่
ระหว่างแต่ละมัดของท่อลําเลียง เชื่อมระหว่าง cortex กับพิธ
1.3 พิธ (pith) เป็นชั้นในสุดของลําต้น ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาเป็นหลัก

ภาพที่ 4 โครงสร้างตัดตามขวางของลําต้นพืชใบเลี้ยงคู่ (Vernonia sp.)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (8) ______________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ภาพที่ 5 โครงสร้างของมัดท่อลําเลียง (vascular bundle) ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ในพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง (woody plant) ลําต้นจะมีการเจริญขั้นที่สอง (secondary growth)
โดยการเจริญเติบโตแบบนี้จะเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง 2 กลุ่ม คือ
1. เนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) เป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างที่จะมีการสร้างท่อ
ลําเลียงทุติยภูมิ (secondary vascular tissue) ขึ้น โดยเซลล์ที่มีการแบ่งเซลล์เข้าทางด้านในของลําต้นจะ
เจริญเป็นไซเล็มทุติยภูมิ (secondary xylem) ขณะที่เซลล์ที่มีการแบ่งเซลล์ออกทางด้านนอกลําต้นจะเจริญ
เป็นโฟลเอ็มขั้นทุติยภูมิ (secondary phloem) โดยปกติการแบ่งของ vascular cambium เพื่อสร้างไซเล็มจะ
เกิดในอัตราที่เร็วกว่าโฟลเอ็ม ดังนั้นเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น (wood) จึงเป็นไซเล็มขั้นทุติยภูมิเป็นหลัก
2. เนื้อเยื่อคอร์กแคมเบียม (cork cambium) เป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างที่มีการสร้างส่วนหนึ่งของ
เปลือกไม้ โดยถ้าคอร์กแคมเบียมแบ่งเซลล์ออกไปทางด้านนอกเซลล์ส่วนนี้จะเจริญไปเป็นเป็นเซลล์คอร์ก (cork
cell) ซึ่งจะมีสารซูเบอรินพอกหนา สําหรับเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืชส่วนทางด้านในจะเจริญเป็นชั้น phelloderm
ที่มีลักษณะคล้ายกับเซลล์ใน cortex ปกติ เรียกชั้นของ cork, cork cambium และ phelloderm รวมกันว่า
periderm
วงปี (annual ring)มักพบในไม้ยืนต้นเขตอบอุ่น จัดเป็นส่วนของ secondary xylem สามารถใช้ในการ
คาดคะเนอายุของไม้ยืนตันได้ (1 รอบของวงปี ∼ 1 ปี) โดยในหนึ่งรอบของวงปีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
springwood (earlywood) เป็น secondary xylem ที่เจริญในช่วงที่มีน้ํามาก เซลล์จึงมีขนาดใหญ่ แถบที่
เกิดขึ้นจึงสังเกตเห็นเป็นสีจาง ค่อนข้างกว้าง ส่วน summerwood (latewood) ซึ่งเป็นช่วงที่พืชได้รับน้ําน้อย
ทําให้เซลล์มีขนาดเล็ก เรียงเป็นแถบแคบสีเข้มกว่า

ภาพที่ 6 โครงสร้างของเนื้อไม้แสดงวงปี

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ______________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (9)


เปลือกไม้ (bark) คือส่วนที่อยู่ถัดออกมาจาก vascular cambium ทั้งหมด ประกอบขึ้นจากโฟลเอ็ม
ทุติยภูมิ ชั้นคอร์เทกซ์ และชั้น periderm เปลือกไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เปลือกไม้ชั้นใน (inner bark) ซึ่ง
ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และเปลือกไม้ชั้นนอก (outer bark) ซึ่งประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ตายแล้ว
เนื้อไม้ (wood) คือส่วนของไซเล็มทุติยภูมิซึ่งอยู่ทางด้านในของลําต้น จากที่กล่าวมาจะพบว่าไซเล็มที่มี
อายุมากที่สุดจะอยู่ด้านในสุด ซึ่งถ้าพืชมีการเจริญเติบโตจนอายุมากขึ้น ไซเล็มทุติยภูมิที่อยู่ด้านในสุดจะไม่
สามารถลําเลียงน้ําได้อีกต่อไป และมักเห็นเป็นสีเข้มอาจมีการสะสมสารพวกแทนนินอยู่ ทําหน้าที่ในการให้ความ
แข็งแรงกับลําต้นพืชแทน เรียกเนื้อไม้ส่วนนี้ว่า แก่นไม้ (heartwood) ขณะที่ไซเล็มทุติยภูมิที่อยู่รอบนอกจะ
ยังคงสามารถลําเลียงน้ําได้อยู่และเห็นเป็นสีอ่อน เรียกเนื้อไม้ส่วนนี้ว่า กระพี้ไม้ (sapwood)
ลําต้นของพืชบางชนิดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อไปทําหน้าที่เฉพาะอย่างได้ ดังนี้
1. ลําต้นของพืชบางชนิดเปลี่ยนแปลงเป็นหนาม (thorn)เช่น ส้ม มะนาว เฟื่องฟ้า
2. ลําต้นของพืชบางชนิดเปลี่ยนไปเป็นมือเกาะ เช่น พวงชมพู องุ่น ตําลึง
3. ลําต้นของพืชบางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น กระบองเพชร
4. ลําต้นของพืชบางชนิดช่วยในการพยุงตัวและลอยน้ําได้ เช่น ส่วนของนมผักกระเฉด
5. ลําต้นของพืชบางชนิดอยู่ใต้ดิน (rhizome) เช่น ขิง ข่า พุทธรักษา
6. ลําต้นของพืชบางชนิดทําหน้าที่สะสมอาหาร (tuber) เช่น มันฝรั่ง แห้ว เผือก
7. ลําต้นของพืชบางชนิดทําหน้าที่ในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ เรียกว่า ไหล (stolon) เช่น strawberry

4. โครงสรางและหนาที่ของใบ (Leaf Structure and Function)


ใบ (leaf) เป็นโครงสร้างที่สําคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารและเป็น
บริเวณหลักที่เกิดการคายน้ํา (transpiration) และการแลกเปลี่ยนแก๊สในพืช รูปร่างภายนอกของใบจะมีความ
หลากหลายสูงมากในพืช ดังนั้นลักษณะโครงสร้างภายนอกของใบพืชจึงอาจจะนํามาใช้ในการจําแนกชนิดของ
พืชได้ ใบประกอบด้วยส่วนของแผ่นใบ (blade) ที่มีลักษณะแบนและกว้าง มีส่วนของก้านใบ (petiole) ในพืช
บางชนิดอาจจะมีหูใบ (stipule) เป็นคู่อยู่ที่บริเวณโคนของก้านใบ เช่น ใบกุหลาบ โครงสร้างภายในของใบพืชตัด
ตามขวางประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ (ภาพที่ 7)
1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด โดยทั่วไปประกอบด้วยเซลล์ที่ค่อนข้างใสสําหรับ
ให้แสงผ่าน เรียงตัวชั้นเดียว ไม่มีคลอโรพลาสต์อยู่ภายในเซลล์ ยกเว้น เซลล์คุม (guard cell) โดยเซลล์คุมของ
พืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดจะมีลักษณะคล้ายไต ชั้น epidermis ของใบมักมีชั้น cuticle โดยชั้น
เอพิเดอร์มิสในใบแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
1.1 ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน (upper epidermis) มักมีมีคิวทินเคลือบหนา ส่วนใหญ่มีเซลล์คุมน้อย
1.2 ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง (lower epidermis) มักมีมีคิวทินเคลือบบาง ส่วนใหญ่มีเซลล์คุมมาก
2. ชั้นมีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นส่วนกลางของใบ ในพืชใบเลี้ยงคู่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ
1.1 ชั้นพาลิเสด มีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาที่มีคลอโรพลาสต์
(chlorenchyma) เรียงตัวหนาแน่นเซลล์มีการเรียงตัวเป็นระเบียบ เป็นบริเวณหลักที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (10) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


1.2 ชั้นสปันจี มีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมาที่มีรูปร่างค่อนข้างกลม
มีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน แต่ไม่หนาแน่นเท่าชั้น palisademesophyll มีการเรียงตัวของเซลล์กันอย่างหลวม ๆ
ทําให้เกิดช่องว่าง (air space) จํานวนมาก จึงเหมาะสําหรับทําหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
1.3 มัดท่อลําเลียง (vascular bundle) หรือเส้นใบ (vein) ประกอบด้วยท่อไซเล็มและท่อโฟลเอ็ม
เรียงตัวอยู่ โดยมีท่อไซเล็ม (xylem) อยู่ทางด้านบน และมีท่อ phloem อยู่ทางด้านล่าง และมีเซลล์ bundle
sheath หุ้มอยู่ล้อมรอบ

ภาพที่ 7 โครงสร้างตัดตามขวางของใบพืช
ใบพืชบางชนิดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทําหน้าที่เฉพาะ เช่น
1. ใบของพืชบางชนิดเปลี่ยนเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ํา เช่น ใบกระบองเพชร
2. ใบของพืชบางชนิดทําหน้าที่ในการสะสมน้ํา เช่น ใบว่านหางจระเข้
3. ใบของพืชบางชนิดทําหน้าที่ในการสะสมอาหาร (bulb) เช่น ใบหัวหอม
4. ใบของพืชบางชนิดมีก้านใบพองโตช่วยในการลอยน้ํา เช่น ผักตบชวา
5. ใบของพืชบางชนิดทําหน้าที่ในการยึดเกาะและพยุงลําต้น (tendril) เช่น ดองดึง ถั่วลันเตา
6. ใบของพืชบางชนิดเปลี่ยนแปลงไปสําหรับจับแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง
7. ใบของพืชบางชนิดอาจมีสีสันสวยงามสําหรับดึงดูด pollinator เช่น ใบเฟื่องฟ้า ใบต้นคริสต์มาส
8. ใบของพืชบางชนิดอาจใช้ในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น ใบคว่ําตายหงายเป็น

5. การลําเลียงน้ําและอาหารของพืช
การลําเลียงน้ําในพืชจะเริ่มตั้งแต่การนําน้ําจากในดินเข้ามาภายในราก จากนั้นจึงมีการลําเลียงตามท่อ
ไซเล็มขึ้นไปยอดพืช ก่อนจะมีการคายน้ําออกไปภายนอกทางรูปากใบ ในที่นี้จะอธิบายกลไกการลําเลียงน้ําในพืช
เป็น 3 ส่วนหลักตามบริเวณที่เกิดการลําเลียงน้ํา คือการลําเลียงน้ําจากในดินเข้าสู่ท่อลําเลียงในรากการลําเลียง
น้ําภายในท่อลําเลียงจากรากไปยอด (ใบ) และการลําเลียงน้ําจากใบออกสู่สิ่งแวดล้อม - การคายน้ํา (transpiration)
และการเปิดปิดปากใบ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (11)


การลําเลียงน้ําจากในดินเข้าสู่ท่อลําเลียงในราก
เดิมนักชีววิทยาเชื่อว่าน้ําเข้าสู่รากพืชด้วยการออสโมซิส แต่ปัจจุบันนักชีววิทยาพบว่ารากพืชมี aquaporin
ซึ่งเป็น channel protein ที่ทําหน้าที่ในการลําเลียงน้ําเข้าสู่ภายในรากพืชผ่านกระบวนการลําเลียงแบบ
facilitated diffusion เมื่อน้ําเข้ามาภายในรากพืชแล้วจะมีเส้นทาง 3 เส้นทางเพื่อไปยังท่อลําเลียงน้ํา (xylem)
ในชั้นสตีลต่อไป คือ
1. Transmembrane route เป็นการเคลื่อนที่ของน้ําผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ต่าง ๆ
2. Apoplastic route เป็นการเคลื่อนที่ของน้ําผ่านผนังเซลล์และส่วนที่อยู่นอกเซลล์ของเซลล์ต่าง ๆ
3. Symplastic route เป็นการเคลื่อนที่ของน้ําผ่านช่องพลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata) บนผนังเซลล์
เมื่อน้ําเข้ามาในรากพืชแล้วน้ําจะสามารถเคลื่อนผ่านเส้นทางใดก็ได้ แต่เมื่อน้ําเคลื่อนมาถึงชั้นเอนโดเดอร์มิส
(endodermis) ซึ่งเซลล์ถูกพอกไว้ด้วยสารซูเบอรินเป็นแถบและอาจมีการสะสมลิกนินเพิ่มขึ้นเมื่ออายุพืชเพิ่มขึ้น
เรียกแถบนี้ว่าแถบแคสพาเรียน (Casparian strip) น้ําจะไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านชั้นนี้ได้โดยวิธี apoplast
โมเลกุลน้ําและแร่ธาตุต่าง ๆ ต้องลําเลียงผ่านด้วยวิถี symplast เท่านั้น
การลําเลียงน้ําในท่อไซเล็มจากรากไปยอด
เมื่อน้ําเข้ามายังไซเล็มในรากพืชแล้วน้ําจะถูกลําเลียงจากรากขึ้นไปยังยอดพืช โดยปัจจัยหลักที่ทําให้น้ํา
ภายในต้นพืชสามารถเกิดการลําเลียงได้ คือ แรงดึงจากการคายน้ํา (transpiration pull) ซึ่งเกิดจากการคายน้ํา
(transpiration) ออกทางปากใบของพืช ประกอบกับโมเลกุลของน้ําภายในท่อลําเลียงไซเล็มที่ยึดเกาะด้วยแรง
2 แรง คือ แรงโคฮีชัน (cohesion) ซึ่งเป็นพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) ระหว่างโมเลกุลของน้ํา กับแรง
ยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ํากับผนังของท่อลําเลียง เรียกว่า แรงแอดฮีชัน (adhesion) จึงทําให้เกิดการดึง
น้ําจากในดินเข้าสู่ราก และจากรากไปยังไซเล็ม เพื่อทดแทนโมเลกุลน้ําที่สูญเสียออกไปจากการคายน้ําทางปากใบ
นอกจากนี้ การที่โครงสร้างของท่อลําเลียงน้ํามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กมากมีส่วนสําคัญที่ช่วยให้การยึด
กันด้วยแรง cohesion และแรง adhesion ของพืชเกิดได้ดีขึ้น เนื่องจากมีแรงตึงผิว (surface tension)
เกิดขึ้นในท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก เรียกแรงตึงผิวที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ
ขนาดเล็กนี้ว่าแรงแคปิลลารี (capillary action)
พืชขนาดเล็กบางชนิดที่อยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นและความชื้นภายนอกสูง (อัตราการคายน้ําต่ํา) ในช่วง
กลางคืน พืชจะไม่มีการคายน้ําเกิดขึ้นเนื่องจากปากใบปิด แต่ยังคงมีการลําเลียงแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าสู่รากพืช
ตลอดเวลา ทําให้ไซเล็มในรากมีความเข้มข้นของตัวละลายสูง น้ําจากภายนอกจึงออสโมซิสเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
และเกิดแรงดันขึ้น ซึ่งแรงดันนี้ทําให้น้ําถูกดันขึ้นไปทางด้านบนของพืชได้ น้ําและแร่ธาตุ (xylem sap) จะถูกดัน
ออกทางรูไฮดาโทด (hydathode) ตรงบริเวณขอบใบเกิดเป็นหยดน้ําออกมา เรียกกระบวนการสูญเสียน้ําในรูป
หยดน้ํานี้ว่า กัตเตชัน (guttation) และเรียกแรงดันที่เกิดขึ้นว่า แรงดันราก (root pressure) การกัตเตชันนี้
เกิดขึ้นในพืชที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถเกิดขึ้นหรือไม่สามารถตรวจวัดได้ถ้าพืชมีการคายน้ําตามปกติ ทั้งนี้เนื่องจาก
พืชจะไม่มีการสะสมแร่ธาตุในไซเล็มเพราะมีการสูญเสียออกไปกับน้ําในการคายน้ํา แรงดันรากจึงไม่สามารถเกิดขึ้น
ในไซเล็มและไม่สามารถเกิดการกัตเตชันได้ ดังนั้นภาวะที่เหมาะสมกับการกัตเตชัน คือ สภาวะที่ทําให้เกิดการคาย
น้ําได้น้อย เช่น อุณหภูมิต่ํา ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศสูง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (12) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การลําเลียงน้ําจากใบออกสู่สิ่งแวดล้อม: การคายน้ํา (transpiration)
การคายน้ํา (transpiration) เป็นกระบวนการที่พืชสูญเสียน้ําออกในรูปของไอน้ํา (water vapour) ซึ่ง
เกิดได้ 2 บริเวณ คือ
1. บริเวณปากใบ (stoma) ที่ใบของพืชซึ่งเป็นบริเวณหลักที่เกิดการคายน้ํา
2. บริเวณรอยแตกของเปลือกไม้ (lenticel) ที่บริเวณลําต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง
การเปิด-ปิดของปากใบเพื่อควบคุมการคายน้ําจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์คุม สามารถสรุป
เป็นแผนผังได้ ดังนี้
แสงสีน้ําเงิน (blue light) กระตุ้นให้ K+ ที่อยู่ที่เซลล์ข้างเคียงรอบเซลล์คุมถูกปั๊มเข้าไปสะสมในเซลล์คุม

ความเข้มข้นภายในเซลล์คุมเพิ่มขึ้นทําให้น้ําจากเซลล์ข้างเคียง (subsidiary cell) แพร่เข้ามาในเซลล์คุม

เซลล์คุมเต่งขึ้น (turgid) ทําให้ปากใบของพืชเปิดออก

น้ําจึงเกิดการแพร่ออกไปยังสิ่งแวดล้อมได้ ขณะเดียวกันแก๊ส CO2 ก็จะเข้ามาภายในพืชเพื่อสังเคราะห์ด้วยแสงต่อไป

เมื่อปากใบพืชเปิด แก๊ส CO2 จะเข้ามาภายในใบมากขึ้น และเซลล์คุมเองซึ่งมีคลอโรพลาสต์ก็จะสามารถ


เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เมื่อมีน้ําตาลเกิดขึ้น ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมสูงขึ้น น้ําจาก
เซลล์ข้างเคียง (subsidiary cell) ก็จะมีการแพร่เข้ามาภายในเซลล์คุมอย่างต่อเนื่องทําให้เซลล์คุมเต่งและ
ปากใบเต่งได้ตลอดช่วงเวลาที่มีแสง เมื่อแสงหมดลงในช่วงเย็นและกลางคืน กระบวนการทั้งหมดจะเกิดย้อนกลับ
กล่าวคือ K+ จะถูกปั๊มกลับไปคืนไปยังเซลล์ข้างเคียงทําให้น้ําจากภายในเซลล์คุมแพร่ออกด้วย ท้ายที่สุดเซลล์คุม
เหี่ยว (flaccid) ปากใบจึงปิดลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ําของพืช
1. อุณหภูมิ - ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นจะทําให้อัตราการคายน้ําของพืชสูงขึ้น
2. ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ - ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง อัตราการคายน้ําของพืชจะต่ําลง
3. ลม - ถ้าลมในสิ่งแวดล้อมแรง อัตราการสูญเสียน้ําของพืชทางปากใบก็จะเพิ่มขึ้น
4. สภาพน้ําในดิน - ถ้าพืชอยู่ในภาวะขาดน้ํา (water stress) ปากใบจะปิดเพื่อลดการคายน้ํา
5. ความเข้มแสง - มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงและควบคุมการเปิดปากใบของเซลล์คุมได้
6. ปริมาณแก๊ส CO2 ในใบ - ถ้าภายในใบมีแก๊ส CO2 ต่ําปากใบจะเปิดเพื่อให้แก๊ส CO2 เข้ามาได้มากขึ้น
ธาตุอาหารของพืช (Plant Mineral)
ธาตุอาหารพืช (mineral) คือ กลุ่มของสารอนินทรีย์ที่พืชนําไปเพื่อการทํางานของกระบวนการต่าง ๆ ใน
เซลล์ โดยนักพฤกษศาสตร์ใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ในการจําแนกว่าธาตุอาหารใดเป็นธาตุอาหารที่จําเป็นสําหรับพืช (essential
nutrients) คือ
1. เมื่อพืชขาดธาตุอาหารเหล่านี้จะทําให้การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตไม่ครบวงชีพ (life cycle)
2. ความต้องการของธาตุนั้นจําเพาะเจาะจง ไม่สามารถใช้ธาตุอาหารอื่นทําหน้าที่ชดเชยได้
3. ธาตุอาหารนั้นจําเป็นต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (13)


ธาตุอาหารจําเป็นสําหรับพืชแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก (macronutrients) - C H O N P K Ca Mg และ S
2. ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย เช่น Fe, Mn, Zn
การลําเลียงธาตุอาหารและแร่ธาตุเข้าสู่รากพืชที่บริเวณเซลล์ขนรากเช่นเดียวกับการลําเลียงน้ํา สามารถ
เกิดขึ้นได้ 3 วิธี คือ การแพร่แบบธรรมดา (simple diffusion) เช่น การแพร่ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และ
แก๊สออกซิเจนการลําเลียงแบบ passive transport (ไม่ต้องอาศัยพลังงานในรูปของ ATP) ซึ่งจะใช้ในการ
ลําเลียงแร่ธาตุที่ภายนอกมีความเข้มข้นสูงกว่าภายในเซลล์ และการลําเลียงแบบ active transport (ต้องอาศัย
พลังงานในรูปของ ATP) ใช้ในการลําเลียงแร่ธาตุที่ภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นต่ํากว่าภายในเซลล์ เช่น การ
ลําเลียง K+ จากในดินซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าภายในเซลล์เอพิเดอร์มิสของรากจําเป็นต้องใช้พลังงานในรูปของ
ATP เพื่อใช้ในการลําเลียง K+ เข้าสู่รากพืชได้
เมื่อธาตุอาหารเข้าสู่ชั้นเอพิเดอร์มิสของพืชแล้ว การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุและไอออนต่าง ๆ จะเคลื่อนที่ไป
กับน้ํา และส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ต่อไปผ่านทางช่องพลาสโมเดสมาตา แต่เมื่อถึงภายในไซเล็มแล้ว นักวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันเชื่อว่าการนําแร่ธาตุเข้าสู่ไซเล็มจะเกิดการลําเลียงแบบ active transport จากนั้นแร่ธาตุจึงถูกลําเลียง
ต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชพร้อมกับการลําเลียงน้ําในไซเล็มต่อไป
พืชในกลุ่มที่กินแมลงเป็นอาหาร (carnivorous plant) มักเป็นพืชที่เติบโตในดินที่เป็นกรด เนื่องจากใน
ดินที่เป็นกรด จุลินทรีย์ต่าง ๆ ภายในดินจะสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ให้อยู่ในรูปสารอนินทรีย์ที่พืชสามารถ
นําไปใช้ได้น้อย พืชจึงต้องการแหล่งของธาตุไนโตรเจนจากโปรตีนในตัวของแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กเพื่อทดแทน
ส่วนที่พืชไม่สามารถนํามาใช้จากในดินได้อย่างเพียงพอ ตัวอย่างพืชกินแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง
กาบหอยแครง สาหร่ายข้าวเหนียว หยาดน้ําค้าง
การลําเลียงอาหารในพืช (Phloem Translocation)
กลไกการลําเลียงอาหารในพืชจะเกิดขึ้นภายในท่อโฟลเอ็ม เรียกการลําเลียงนี้ว่า phloem translocation
ซึ่งการลําเลียงอาหารจะแตกต่างจากการลําเลียงน้ํา คือ การลําเลียงอาหารจะสามารถเกิดขึ้นได้หลายทิศทาง
การลําเลียงอาหารจะมีการลําเลียงจากบริเวณที่เป็นแหล่งสร้าง (source) ซึ่งมีปริมาณน้ําตาลสูงไปยังแหล่งรับ
(sink) ซึ่งมีน้ําตาลต่ํากว่า โดยทั่วไปใบจะทําหน้าที่เป็น source ขณะที่รากจะทําหน้าที่เป็น sink
กลไกการลําเลียงอาหารภายในท่อโฟลเอ็มสามารถสรุปได้ดังแผนผังต่อไปนี้
เซลล์ที่ทําหน้าที่เป็น source จะมีการส่งน้ําตาลเข้าสู่เซลล์คอมพาเนียนและเซลล์ซีฟทิวบ์ตามลําดับ

ความเข้มข้นภายในเซลล์ซีฟทิวบ์เพิ่มขึ้น ทําให้น้ําจากท่อไซเล็มที่อยู่ข้างเคียงออสโมซิสเข้ามาภายในเซลล์ซีฟทิวบ์

แรงดันน้ําที่อยู่ภายในท่อซีฟทิวบ์จะดันให้น้ําและน้ําตาลเกิดการแพร่ไปยังเซลล์ที่เป็น sink ได้

เมื่อถึงบริเวณที่เป็น sink ซึ่งมีปริมาณน้ําตาลต่ํากว่า น้ําตาลจากภายในเซลล์ซีฟทิวบ์จึงถูกนําเข้าไปยัง sink cell

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (14) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


6. การสืบพันธุและการเจริญของพืชดอก
ดอก (Flower)
ดอกเป็นกิ่งพิเศษที่วิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อใช้ในการสร้างสปอร์ของพืชดอก โดยทั่วไปดอกประกอบขึ้นจาก
ใบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทําหน้าที่เฉพาะทั้งหมด 4 วง เรียงจากทางด้านนอกเข้าไปทางด้านใน (ภาพที่ 8)
1. วงกลีบเลี้ยง (calyx) ประกอบขึ้นจากกลีบเลี้ยง (sepal) ที่ส่วนใหญ่มีสีเขียวคล้ายใบมีหน้าที่ป้องกัน
ดอกตูม
2. วงกลีบดอก (corolla) ประกอบขึ้นจากกลีบดอก (petal) ซึ่งมักมีสีสันสดใสจากสารสีใน
chloroplast หรือสารสีที่สะสมอยู่ในแวคิวโอล มีหน้าที่หลักในการดึงดูดให้ pollinator เข้ามาช่วยในการถ่ายเรณู
3. วงเกสรเพศผู้ (androecium) มีวิวัฒนาการมาจากใบที่ทําหน้าที่ในการสร้าง microspore เกสรเพศผู้
จะมีส่วนที่ทําหน้าที่ในการสร้างสปอร์และเรณู ส่วนปลายของเกสรเพศผู้มีลักษณะเป็นพูหรือกระเปาะ เรียกว่า
อับเรณู (anther) และมักมีส่วนของก้านชูอับเรณูหรือก้านชูเกสรเพศผู้ (filament) ภายในอับเรณูจะมีโพรงที่ทํา
หน้าที่ในการสร้างสปอร์ซึ่งต่อไปเจริญเป็นเรณู เรียกว่า โพรงเรณู (pollen sac หรือ microsporangium)
4. วงเกสรเพศเมีย (gynoecium) ประกอบขึ้นจากเกสรเพศเมีย (pistil) โดยอาจมีจํานวน 1 อันหรือมี
มากกว่า 1 อันก็ได้ ซึ่งเกสรเพศเมียวิวัฒนาการจากใบเช่นเดียวกับเกสรเพศผู้ ใบที่ทําหน้าที่ในการสร้างและ
ห่อหุ้มออวุล (ovule) เอาไว้ภายในเรียกว่า คาร์เพล (carpel) ซึ่งส่วน carpel นี้จะอยู่ภายในรังไข่ (ovary) ที่มัก
มีลักษณะคล้ายคนโท มีก้านชูเกสรเพศเมีย (style) ยื่นไปทางด้านบน และบริเวณปลายสุดของเกสรเพศเมียมัก
มีลักษณะต่าง ๆ เช่น มีลักษณะเป็นตุ่ม แฉก แผ่น หรือเว้าเป็นหลุมที่ทําหน้าที่สร้างสารเหนียว ๆ ไว้ดักจับเรณูที่
ตกมา เรียกโครงสร้างนี้ว่า ยอดเกสรเพศเมีย (stigma)

ภาพที่ 8 โครงสร้างของดอก
การแบ่งประเภทของดอกไม้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ สรุปได้ ดังนี้
1. การแบ่งประเภทของดอกตามองค์ประกอบของชั้นต่าง ๆ ทั้ง 4 ชั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 ดอกสมบูรณ์ (complete flower) - ดอกที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของดอกครบทั้ง 4 ชั้น
- เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ ลิลลี่ พริก ต้อยติ่ง มะลิ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (15)


1.2 ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) - ดอกที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ชั้น
- เช่น หญ้า หน้าวัว ตําลึง มะละกอ ฟักทอง ข้าวโพด
2. การแบ่งประเภทของดอกตามองค์ประกอบของชั้นที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) - ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
- เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ
2.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) - ดอกที่มีเพียงเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใด
อย่างหนึ่ง
- เช่น ฟักทอง แตงกวา มะเดื่อ มะยม หมาก ข้าวโพด
* ดอกสมบูรณ์ทุกชนิดจะต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกไม่สมบูรณ์เพศจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์
3. การแบ่งประเภทของดอกตามตําแหน่งของรังไข่เทียบกับฐานรองดอกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 ดอกที่มีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary)
- เช่น ดอกมะเขือ จําปี ยี่หุบ บัว บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ
3.2 ดอกที่มีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary)
- เช่น ดอกฟักทอง แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กล้วย พลับพลึง
4. การแบ่งประเภทของดอกตามจํานวนของดอกบนก้านชูดอกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
4.1 ดอกเดี่ยว (solitary flower)
- ดอกที่มี 1 ดอกบนก้านชูดอก แต่ละดอกเจริญมาจากตาดอก
- เช่น มะเขือเปราะ จําปี บัว กุหลาบ ชบา พู่ระหง
4.2 ช่อดอก (inflorescence)
- ดอกซึ่งมีดอกย่อยมากกว่า 1 ดอกบนก้านชูดอก
- เช่น จามจุรี ทานตะวัน บานไม่รู้โรย กล้วยไม้ ข้าว กะเพรา ผักบุ้ง มะลิ กล้วย
ดอกย่อยของช่อดอกบางชนิดอาจอยู่รวมกันบนฐานรองดอกเดียวกันทําให้ดูคล้ายกับดอกเดี่ยว เช่น ทานตะวัน
ประกอบด้วยดอกย่อย 2 ชั้น คือดอกวงนอก (ray flower) ซึ่งเป็นดอกเพศเมียที่มักเป็นหมันและดอกวงใน
(disc flower) ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower)
การสร้างสปอร์ แกมีโทไฟต์ และเซลล์สืบพันธุ์ในพืชดอก
ลักษณะเด่นของวงชีวิตพืชคือเป็นวงชีวิตแบบ diplohaplontic life cycle ระหว่างระยะสปอโรไฟต์ (2n)
และระยะแกมีโทไฟต์ (n) โดยในพืชดอกนั้นต้นที่พบเห็นทั่วไปจัดอยู่ในระยะสปอโรไฟต์ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้าง
สปอร์ (spore) โดยผ่านการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จากนั้นสปอร์เหล่านี้จะพัฒนาต่อไปเป็นระยะแกมีโทไฟต์เพื่อ
สร้างเซลล์สืบพันธุ์ผ่านการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ท้ายที่สุดเซลล์สืบพันธุ์จะรวมกันผ่านการปฏิสนธิและเจริญ
เป็นสปอโรไฟต์ต่อไป
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และแกมีโทไฟต์เพศผู้จะเกิดขึ้นภายในโพรงเรณู (pollen sac หรือ microsporangium)
โดยในโพรงเรณูนี้จะมีเซลล์ต้นกําเนิดที่มีจํานวนชุดโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (diploid) เรียกว่า microspore
mother cell หรือ microsporocyte (2n) ซึ่งเมื่อ microspore mother cell แบ่งไมโอซิสจะได้ไมโครสปอร์
(microspore : n) ที่มีจํานวนชุดโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ หลังจากนั้นไมโครสปอร์จะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิ
สกลายเป็นโครงสร้างของแกมีโทไฟต์ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์ 2 เซลล์ คือ tube cell ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (16) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เจริญของหลอดเรณู (pollen tube) และ generative cell โครงสร้างที่ประกอบขึ้นจาก tube cell และ
generative cell นี้เรียกว่า เรณู (pollen) ซึ่งจัดเป็น male gametophyte ของพืชดอก เมื่อพืชมีการถ่ายเรณู
(pollination) แล้ว ส่วนของ generative nucleus จะมีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสอีกครั้งต่อไปกลายเป็น
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (male gamete หรือ sperm) จํานวน 2 เซลล์แล้วจึงเกิดการปฏิสนธิต่อไป
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียจะเกิดขึ้นในออวุล (ovule) การสร้างแกมีโทไฟต์เพศเมียจะมีลักษณะ
คล้ายกับเพศผู้ โดยออวุลมีเซลล์ต้นกําเนิดที่เรียกว่า megaspore mother cell หรือ megasporocyte (2n) ซึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของระยะสปอโรไฟต์ เมื่อ megaspore mother cell แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจะได้เมกะสปอร์
(megaspore : n) แต่เมกะสปอร์ที่ได้จํานวน 4 เซลล์จะมี 1 เซลล์ที่อยู่ไกลจาก micropyle มากสุดเท่านั้นที่จะ
เจริญต่อไป โดยเมกะสปอร์ที่เหลือจะแบ่งไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ออกมาเป็น 8 นิวเคลียส แต่ส่วนใหญ่จะมี 2
นิวเคลียสอยู่รวมกันเป็นเซลล์เดียว เรียกว่า polar nuclei สุดท้ายแล้วจะได้เป็นโครงสร้างที่มีทั้งหมด 7 เซลล์ 8
นิวเคลียส เรียกโครงสร้างนี้ว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) ซึ่งจัดเป็นแกมีโทไฟต์เพศเมียของพืชดอกที่เจริญ
เต็มที่ (mature female gametophyte) และมีไข่ (egg) เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (female gamete)
โดยทั่วไปถุงเอ็มบริโอประกอบขึ้นจาก 7 เซลล์ 8 นิวเคลียส และมักมีการจัดเรียงโดยมี 3 เซลล์อยู่
ทางด้านตรงข้ามกับรู micropyle เรียกว่า antipodal ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน เมื่อปฏิสนธิแล้ว
ส่วนของ antipodal นี้จะสลายไป สําหรับ polar nuclei ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่มีนิวเคลียส 2 อันจะอยู่ตรง
กลาง ทางด้านรู micropyle จะมีเซลล์ไข่ (egg) ตั้งอยู่ตรงกลาง และมีเซลล์พิเศษ synergid ขนาบอยู่ด้านข้าง
2 เซลล์ โดยเซลล์ synergid นี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณให้หลอดเรณู
(pollen tube) สามารถงอกมายังถุงเอ็มบริโอได้
การถ่ายเรณูและการปฏิสนธิ (Pollination and Fertilization)
การถ่ายเรณู (pollination) หมายถึง การที่เรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย โดยเมื่อเรณูแก่เต็มที่แล้วจะ
หลุดออกจากอับเรณูและกระจายไปยังที่ต่าง ๆ แต่ถ้าตกบนยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียจะจับเรณูไว้โดย
ใช้สารที่มีลักษณะเหนียว ถ้าการถ่ายเรณูเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันหรือในต้นเดียวกัน เรียกว่า self pollination
แต่ถ้าการถ่ายเรณูเกิดขึ้นระหว่างดอกหรือระหว่างต้น เรียกการถ่ายเรณูแบบนี้ว่า cross pollination พืชดอก
ส่วนใหญ่อาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นที่ช่วยในการถ่ายเรณู เรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า pollinator เช่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยน้ํานมขนาดเล็กบางชนิด
เมื่อเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมียจะเกิดการสร้างหลอดเรณู (pollen tube) ขึ้นจากส่วนของ tube
nucleus โดยการสร้างเป็นหลอดลงไปตามความยาวของก้านชูเกสรเพศเมียไปจนถึงออวุล พืชบางชนิด generative
nucleus อาจมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) ก่อนที่จะถ่ายเรณู ขณะที่พืช
ส่วนใหญ่จะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หลังจากที่มีการงอกหลอดเรณูไปแล้วก็ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว sperm
ทั้ง 2 ตัวจะเข้าไปรวมกับเซลล์ 2 เซลล์ ทําให้เกิดการปฏิสนธิคู่ (double fertilzation) ขึ้น โดย sperm ตัวหนึ่ง
จะเข้าไปปฏิสนธิกับ polar nuclei (n + n) เกิดเป็นเอนโดสเปิร์มนิวเคลียส (endosperm nucleus : 3n)
ซึ่งจะแบ่งตัวและเจริญต่อไปเป็นเอนโดสเปิร์ม (endosperm) ที่ทําหน้าที่เป็นอาหารเลี้ยงต้นอ่อน ส่วน sperm
อีกตัวหนึ่งจะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่เกิดเป็นไซโกต (zygote : 2n) แล้วเจริญเป็นเอ็มบริโอ ซึ่งการปฏิสนธิคู่นี้
จะเกิดขึ้นภายในถุงเอ็มบริโอของพืช หลังจากเกิดการปฏิสนธิคู่แล้ว antipodals และ synergids จะสลายตัวไป
ส่วนออวุลจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด (seed) โดยมีเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ที่เจริญมาจาก integument
สําหรับรังไข่ของพืชส่วนใหญ่จะพัฒนาไปเป็นเนื้อผล (fruit) ซึ่งจัดเป็นผลแท้ (true fruit)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (17)


ผล (fruit)
ผลของพืชส่วนใหญ่เจริญมาจากรังไข่ (ovary) ที่ออวุลได้รับการปฏิสนธิแล้ว เรียกผลที่เจริญมาจาก
รังไข่เพียงอย่างเดียวว่า ผลแท้จริง (true fruit) แต่ผลบางชนิดอาจเจริญมาจากส่วนอื่น ๆ ของดอก เช่น ฐานดอก
หรือกลีบเลี้ยง เรียกผลแบบนี้ว่า ผลเทียม (accessory fruit) เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง
สําหรับกลุ่มที่เป็นผลแท้จริงผนังรังไข่จะเจริญไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า ผนังผล (pericarp) ซึ่งผนังผล
นี้สามารถแบ่งได้เป็นผนังผลชั้นนอก (exocarp) ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) และผนังผลชั้นใน (endocarp)
ตัวอย่างของผลที่เห็นผนังผลแต่ละชั้นชัดเจน เช่น ส้มโอ มีส่วนของผนังผลชั้นนอกที่มีสีเขียวเป็นเปลือกส้ม ส่วน
ที่เป็นสีขาวรวมทั้งรกส้มหรือใยส้มจัดว่าเป็นผนังผลชั้นกลาง ส่วนของกลีบส้มและเยื่อที่หุ้มกลีบส้มจัดเป็นผนัง
ผลชั้นใน
ผลแบ่งได้เป็น 3 แบบตามรูปแบบของดอกและเกสรเพศเมีย คือ ผลเดี่ยว (simple fruit) ผลกลุ่ม
(aggregated fruit) และผลรวม (multiple fruit) ดังแสดงในภาพที่ 9 โดยผลเดี่ยวเป็นผลที่เกิดจากหนึ่งดอก
ซึ่งอาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกย่อยของแต่ละช่อดอกก็ได้ ซึ่งภายในดอกหรือดอกย่อยจะมีเกสรเพศเมียเพียง 1
อันเท่านั้น และผลที่เกิดจากดอกย่อยจะต้องไม่รวมกันเป็นผลขนาดใหญ่ ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเดี่ยว
เช่น ถั่ว ทุเรียน ส่วนผลเดี่ยวที่เกิดจากแต่ละดอกย่อยในช่อดอก เช่น องุ่น ลําไย เงาะ ลองกอง ส้ม มะกรูด และ
ข้าวโพดที่เห็นผลเป็นช่อหรือเมล็ด สําหรับผลกลุ่มจะเกิดจากดอกเดี่ยวหนึ่งดอกที่มีเกสรเพศเมียจํานวนมากอยู่
แยกกันบนฐานดอก โดยรังไข่แต่ละอันจะเจริญไปเป็นผลย่อยแยกกันอยู่อาจเห็นเป็นกระจุก เช่น บัวหลวง จําปี
จําปา กระดังงา การเวก นมแมว หรือผลย่อยอาจเชื่อมรวมเป็นเนื้อเดียว เช่น น้อยหน่า สตรอว์เบอรี ผลแบบ
สุดท้าย คือ ผลรวมเกิดจากช่อดอกที่มีดอกย่อยอยู่ชิดกันแน่นบนแกนสั้น ๆ และดอกย่อยแต่ละดอกจะเจริญเป็น
ผลย่อยที่เชื่อมรวมกันเป็นผลเดียว เช่น ขนุน สาเก หม่อน สับปะรด ยอ

ภาพที่ 9 การเกิดผลแบบต่าง ๆ ผลเดี่ยว (ก) ผลกลุ่ม (ข) และผลรวม (ค)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (18) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เมล็ด (seed) เป็นโครงสร้างที่เจริญมาจากออวุลที่ได้รับการปฏิสนธิภายในรังไข่ เมล็ดประกอบด้วยส่วน
ต่าง ๆ คือ เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ด ทําหน้าที่ป้องกันอันตรายกับต้นอ่อน
ภายในเมล็ดและป้องกันการสูญเสียน้ําออกไปยังสิ่งแวดล้อม ส่วนถัดมา คือ เอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีการ
สะสมอาหารสําหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอภายในเมล็ด และส่วนสุดท้ายคือส่วนของเอ็มบริโอซึ่งจะเจริญ
เป็นต้นใหม่ต่อไป
เอ็มบริโอในเมล็ดพืชประกอบด้วยใบเลี้ยง (cotyledon) ซึ่งจะมีจํานวนแตกต่างกัน โดยพืชใบเลี้ยงคู่ (dicot)
จะมี 2 ใบ ขณะที่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocot) จะมีใบเลี้ยงเพียง 1 ใบเท่านั้น ใบเลี้ยงของพืชบางชนิด เช่น
พืชตระกูลถั่ว มะขาม บัว จะมีการดูด endosperm เข้าไปสะสม ส่วนถัดมา คือ ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง
(epicotyl) ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นส่วนของลําต้น ใบ และดอกในพืช บริเวณปลายสุดจะมีลักษณะเป็นยอดอ่อน
เรียกว่า ยอดแรกเกิด (plumule) นอกจากนี้ยังมีส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) รวมเรียกส่วนที่อยู่เหนือใบ
เลี้ยงและใต้ใบเลี้ยงว่า ลําต้นแรกเกิด (caulicle) ส่วนสุดท้าย คือ รากแรกเกิด (radicle) ซึ่งจะออกมาจากเมล็ด
ผ่านทางรูไมโครไฟล์ที่
เมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในกลุ่มหญ้า เช่น ข้าว ข้าวโพด ส่วนใบเลี้ยงจะไม่แผ่ขยายเหมือนพืชใบเลี้ยงคู่ แต่
จะมีลักษณะเป็นเหมือนแผ่นคลุมเอ็มบริโอไว้ เรียกใบเลี้ยงแบบนี้ว่า scutellum ที่บริเวณปลายยอดแรกเกิดและ
ปลายรากแรกเกิดจะมีเนื้อเยื่อขึ้นมาห่อหุ้มไว้เพื่อป้องกันอันตราย เรียกว่า เนื้อเยื่อหุ้มปลายยอดแรกเกิด
(coleoptile) และเนื้อเยื่อหุ้มปลายรากแรกเกิด (coleorhiza) ตามลําดับ

7. การตอบสนองของพืชและฮอรโมนพืช
การเคลื่อนไหวของพืช (Plant Movement)
การเคลื่อนไหวของพืชสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวแบบทรอปิก (tropic movement) เป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า
2. การเคลื่อนไหวแบบแนสติก (nastic movement) ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่ไม่มีทางสัมพันธ์
กับสิ่งเร้า
การเคลื่อนไหวแบบทรอปิกเกิดขึ้นได้หลายแบบตามประเภทสิ่งเร้า เช่น การเบนตามแสง (phototropism)
โดยปลายยอดพืชจะมีการเบนเข้าหาแสงเรียกว่า positive phototropism ขณะที่ปลายรากจะมีการเบนหนีออก
จากแสง เรียกว่ า negative phototropism นอกจากนี้ยังพบการเบนตามแรงโน้ม ถ่วงของโลก (positive
gravitropism) ในปลายราก ส่วนปลายยอดพืชจะมีการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงของโลก (negative gravitropism)
สําหรับการงอกหลอดเรณูของพืชที่มีทิศทางตามสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากเซลล์ในถุงเอ็มบริโอจัดเป็นการ
ตอบสนองต่อ สารเคมี (positive chemotropism) ได้ ขณะที่การเกี่ ยวพัน ของเถาวั ลย์ ถั่ ว ผัก บุ้ง ตํ าลึ ง
กะทกรกจัดเป็นการตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า (thigmotropism)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (19)


การเคลื่อนไหวแบบแนสติกเป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่ไม่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า โดยอาจเกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่ง (turgor pressure) ภายในเซลล์หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่งภายในเซลล์
ก็ได้ แต่เกิดจากการที่พืชมีอัตราการเติบโตที่ไม่เท่ากันของส่วนต่าง ๆ แทนได้ เช่น การบานของดอกบัวในช่วง
กลางวันและหุบในตอนกลางคืนซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแสงของพืช
การเคลื่อนไหวแบบแนสติกที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่ง เรียกว่า turgor movement
สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น การเต่งของเซลล์คุมในการทําให้รูปากใบเปิด การสัมผัสต้นไมยราพ
(Mimosa sp.) แล้วทําให้ใบไมยราพหุบเข้าหากันก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์พิเศษ
ที่มีความไวต่อแรงดันเต่งสูงที่พบบริเวณโคนก้านใบ เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า pulvinus การหุบของใบกาบหอยแครง
เมื่อแมลงมาสัมผัสก็อาศัยแรงดันเต่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในพืชตระกูลถั่ว เช่น แค กระถิน จามจุรี จะมีการ
เคลื่อนไหวแบบพิเศษที่เรียกว่า sleep movement ซึ่งจะมีการหุบใบในช่วงพลบค่ํา และจะกางใบออกใหม่อีก
ครั้งในเวลารุ่งเช้าที่เริ่มมีแสงสว่าง การเปิดปิดของรูปากใบ
การเคลื่อนไหวแบบแนสติกอีกแบบหนึ่ง คือ การเคลื่อนไหวแบบส่าย (nutation movement) เป็นการ
เคลื่อนไหวที่พบในพืชทุกชนิด แต่เห็นชัดในพืชที่มีการเลื้อยหรือพันหลัก การเคลื่อนไหวแบบนี้เป็นการหมุนแกว่ง
ของยอดพืชขณะที่มีการเจริญเติบโต ซึ่งเกิดจากการที่พืชมีการแบ่งเซลล์ในลําต้นไม่เท่ากันจึงทําให้เห็นเป็น
ลักษณะส่ายได้
ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone)
ฮอร์โมนพืช (plant hormone) คือ สารเคมีที่พืชสร้างขึ้นจากบริเวณหนึ่งแล้วถูกลําเลียงไปยังอีกบริเวณ
หนึ่ง แล้วทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขึ้น ฮอร์โมนพืชจะมีปริมาณต่ํามากในการกระตุ้นให้เกิดการ
ตอบสนองขึ้น ฮอร์โมนพืชชนิดต่าง ๆ สามารถสรุปบทบาทและหน้าที่ได้ดังตารางที่ 1

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (20) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ตารางที่ 1 บทบาทและหน้าที่ของฮอร์โมนพืชชนิดต่าง ๆ
ฮอร์โมนพืช บริเวณที่สร้าง บทบาทและหน้าที่
ออกซิน (auxins) - เนื้อเยื่อเจริญปลาย - กระตุ้นการขยายตัวตามยาวของเซลล์ ผ่านการกระตุ้น
- ยอด การขยายขนาดของผนังเซลล์ (cell wall expansion)
- ใบอ่อน - การตอบสนองต่อแสงและแรงดึงดูดโลกของพืช
- เอมบริโอ - กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของรากในการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
- กระตุ้นการเกิดรากแขนงและรากพิเศษในกิ่งตัด
- ยับยั้งการเจริญของตาข้าง (apical dominance)
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ (ถ้าความเข้มข้นมากทําให้
ใบร่วงได้)
- กระตุ้นการเจริญของรังไข่เป็นผลโดยไม่ต้องได้รับการ
ปฏิ สนธิ (parthenocarpic fruit) เช่ น มะเขื อเทศ
แตงกวา
- ถ้าความเข้ม ข้น ออกซิน สู งจะยั บยั้ง การขยายขนาด
ของราก
ไซโทไคนิน - เนื้อเยื่อเจริญปลายราก - กระตุ้นการแบ่งเซลล์
(cytokinins) - ผลอ่อน - กระตุ้นการเจริญของตาข้าง (antagonistic hormone
กับออกซิน)
- ชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์
จิบเบอเรลลิน - เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ - กระตุ้นให้เซลล์แบ่งตัวและขยายตัวตามยาว
(gibberellins) ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว - กระตุ้นการยืดตัวของลําต้นในพืชต้นแคระ (dwarfism)
- เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด - กระตุ้นการงอกของเมล็ด (กระตุ้นการสลายแป้งในเมล็ด)
- ใบอ่อน - กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- เอมบริโอ - กระตุ้นให้ช่อองุ่นโปร่ง ทําให้ผลขององุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้น
- การรักษาสภาพ juvenile ของพืช
เอธิลีน (ethylene) - เนื้อเยื่อผลไม้ใกล้สุก - กระตุ้นการสุกของผลไม้ (fruit ripening)
- ใบแก่ - กระตุ้นการชราภาพของใบ (leaf senescence)
- บริเวณข้อ - กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ (leaf abscssion)
- การเกิด triple response ในการงอกเมล็ดพืชใต้ดิน
- กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิดเช่น สับปะรด มะม่วง
- กระตุ้นการผลิตน้ํายางของมะละกอ
กรดแอบไซซิก - ลําต้นและราก - กระตุ้นการปิดปากใบเมื่อพืชอยู่ในสภาวะเครียดขาดน้ํา
(abscisic acid) - ใบแก่ - กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ (ไม่ขึ้นกับฮอร์โมนเอทิลีน)
- ผลที่ยังดิบ - ยับยั้งการงอกของเมล็ด (กระตุ้นให้เกิดการพักตัว
ของเมล็ด)
- กระตุ้นการพักตัวของตา (bud dormancy)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (21)


หลักนิเวศวิทยา (Principles of Ecology)
นิเวศวิทยา (ecology) เป็นชีววิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม การศึกษานิเวศวิทยาแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ นิเวศวิทยาระดับสิ่งมีชีวิต
(organismal ecology) นิเวศวิทยาระดับประชากร (population ecology) นิเวศวิทยาระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต
(community ecology) และนิเวศวิทยาระดับระบบนิเวศ (ecosystem ecology) ในที่นี้จะสรุปนิเวศวิทยาใน
ระดับประชากรจนถึงระดับระบบนิเวศ

1. นิเวศวิทยาระดับประชากร (Population Ecology)


ประชากร (population) หมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (same species) ที่อาศัยอยู่รวมกัน ในบริเวณ
ใดบริเวณหนึ่ง (same place) และในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (same time) การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของ
ประชากร รวมถึงการเติบโตของประชากรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องนี้จัดเป็นนิเวศวิทยาระดับประชากร (population
ecology) ประชากรมีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง เช่น ความหนาแน่นของประชากร การกระจายของประชากร
โครงสร้างอายุ และการเติบโตของประชากร
ความหนาแน่นของประชากร (Population Density)
จํานวนของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในประชากรหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขนาดของประชากร (population size) แต่
ขนาดของประชากรไม่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้ การเปรียบเทียบประชากรจึงนิยมใช้อีกค่าหนึ่ง คือ ความ
หนาแน่นของประชากร (population density) ซึ่งคิดจากขนาดของประชากรต่อหน่วยพื้นที่กรณีของสิ่งมีชีวิตที่
อาศัยอยู่บนบกหรืออาจคิดต่อหน่วยปริมาตรในกรณีที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่น้ํา การประเมินความหนาแน่นของ
ประชากรสามารถทําได้ 2 วิธี คือ การหาค่าความหนาแน่นของประชาอย่างหยาบ (crude density) ซึ่งเป็นการ
หาจํานวนสมาชิกในประชากรต่อพื้นที่ทั้งหมด (total area) และการหาค่าความหนาแน่นของประชากรเชิงนิเวศ
(ecological density) ซึ่งเป็นการหาจํานวนของสมาชิกในประชากรต่อพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาศัยอยู่จริง
(habitat space)
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การที่จะทราบความหนาแน่นของประชากร จําเป็นจะต้องทราบขนาดของ
ประชากร ซึ่งขนาดของประชากรอาจหาได้จากการการนับโดยตรง (direct count) หรือการสุ่มตัวอย่าง
(sampling) แล้วนําค่าที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างประมาณค่า (estimation) ขนาดประชากรที่แท้จริงได้ วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างสามารถทําได้หลายแบบ เช่น การตีตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส (quadrat sampling) แล้วทําการสุ่มวัด
จํานวนสิ่งมีชีวิตใน quadrat หลาย ๆ quadrat เป็นจํานวนซ้ําก่อนจะประมาณค่าขนาดประชากรที่แท้จริงได้
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคในการทํานายขนาดประชากรอีกเทคนิคหนึ่งที่เรียกว่า mark-release-recapture
method หรือ mark-recapture method โดยเทคนิคนี้จะทําโดยการสุ่มตัวอย่างสัตว์มา 1 ครั้ง เพื่อนําสัตว์ทุก
ตัวที่จับได้มาทําเครื่องหมาย (marker) จากนั้นจึงปล่อยสัตว์ที่ทําเครื่องหมายแล้วกลับเข้าไปในระบบนิเวศใหม่
จากนั้นจึงทําการสุ่มจับสัตว์ครั้งที่ 2 อีกรอบหนึ่งเพื่อพิจารณาว่ากลุ่มสัตว์ที่จับได้ในครั้งที่ 2 นี้มีกี่ตัวที่มี
เครื่องหมายติดอยู่ นักนิเวศวิทยาจึงจะสามารถประเมินขนาดประชากรได้จากสูตรต่อไปนี้
จํานวนของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด = จํานวนของสัตว์ที่จับได้ครั้งแรก × จํานวนของสัตว์ที่จับได้ครั้งหลัง
จํานวนของสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ในครั้งหลัง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (22) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


รูปแบบการกระจายของประชากร (Population Distribution Pattern)
นักนิเวศวิทยาแบ่งรูปแบบการกระจายของสมาชิกในประชากรสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ (population distribution
pattern) ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบอยู่เป็นกลุ่ม (clumped distribution)
การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบสม่ําเสมอ (uniform distribution) และการกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบสุ่ม
(random distribution) ดังภาพที่ 1 ซึ่งประชากรหนึ่ง ๆ อาจะมีรูปแบบการกระจายมากกว่า 1 รูปแบบก็ได้ หรือ
ในประชากรเดียวกันเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปก็ทําให้รูปแบบการกระจายของประชากรเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบอยู่เป็นกลุ่ม (clumped distribution) เป็นรูปแบบการกระจายตัวที่พบ
มากที่สุดในธรรมชาติ โดยสมาชิกในประชากรอยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม ๆ การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบนี้มักพบใน
บริเวณที่มีการกระจายของทรัพยากรที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตเป็นกลุ่ม ๆ หรือทรัพยากรมีจํานวนมากและมีการ
กระจายอย่างสม่ําเสมอ นอกจากนี้การกระจายแบบนี้ยังพบในสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคมหรือครอบครัว
การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบสม่ําเสมอ (uniform distribution หรือ regular distribution)
เป็นรูปแบบการกระจายที่พบในบริเวณที่มีปัจจัยจํากัดการกระจายของสิ่งมีชีวิต สมาชิกแต่ละตัวในประชากรมี
การเว้นระยะห่างสม่ําเสมอ เช่น การกระจายของพืชในเขตทะเลทรายบางชนิดอาจจะมีการสร้างสารพิษยับยั้ง
การเจริญของพืชต้นอื่น เพื่อลดการแก่งแย่งแข่งขัน หรือสัตว์ที่มีกลไกในการป้องกันอาณาเขตของตัวเอง
(territory) ในการหากินและสืบพันธุ์
การกระจายของสิ่งมีชีวิตแบบสุ่ม (random distribution) เป็นรูปแบบการกระจายที่พบได้น้อยที่สุดใน
ธรรมชาติ มีทรัพยากรกระจายอย่างสม่ําเสมอ โดยสมาชิกแต่ละตัวในประชากรมีโอกาสถูกพบเป็นอิสระออกจาก
สมาชิก ตั วอื่ น ๆ ในประชากร การกระจายแบบนี้ มั ก ไม่ พ บการแก่ ง แย่ ง แข่ ง ขัน ทั้ ง ในประชากรและระหว่ า ง
ประชากร เช่น การแพร่กระจายของวัชพืชขนาดเล็กที่ขึ้นอยู่กับว่าลมพัดให้ไปตกและกลายเป็นต้นใหม่ที่บริเวณใด
ก็ได้ หรือในกรณีของสัตว์ทะเลที่มีการปล่อยตัวอ่อน (larva) ไปตามกระแสน้ําเป็นระยะทางไกลจนกว่าจะเกิดการ
ลงเกาะ (settlement) ในที่ที่เหมาะสมต่อไป

ภาพที่ 1 รูปแบบการกระจายของประชากรแบบต่าง ๆ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (23)


โครงสร้างอายุของประชากร (Age Structure)
โครงสร้างอายุของประชากร (age structure) คือ จํานวนหรือสัดส่วนของกลุ่มสมาชิกที่มีช่วงอายุต่าง ๆ
ในประชากร โครงสร้างอายุของประชากรมีความสําคัญในแง่ของการทํานายขนาดของประชากรได้ โดยนักนิเวศวิทยา
แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ วัยก่อนเจริญพันธุ์ (prereproductive age) เป็นระยะที่ระบบสืบพันธุ์
ของสิ่งมีชีวิตยังไม่พร้อมทํางานได้ วัยเจริญพันธุ์ (reproductive age) เป็นช่วงอายุที่สิ่งมีชีวิตสามารถสืบพันธุ์
ได้ และวัยหลังเจริญพันธุ์ (postreproductive age) ซึ่งเป็นระยะที่ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
ลดลงและไม่สามารถสืบพันธุ์ได้อีกดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 โครงสร้างของอายุประชากรมนุษย์แบบต่าง ๆ
q พลศาสตร์ของประชากร (Population Dynamics)
พลศาสตร์ของประชากรเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงรูปแบบของการเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงที่ทําให้ขนาดของประชากร
เพิ่มขึ้น คือ ประชากรของสิ่งมีชีวิตมีอัตราการเกิด (birth rate) และ/หรือมีอัตราการอพยพเข้า (immigration)
สูงกว่าอัตราการตาย (death rate) และ/หรืออัตราการอพยพออก (emigration)
รูปแบบการเติบโตของประชากรมี 2 รูปแบบ คือ การเติบโตของประชากรแบบ exponential growth
และ การเติบโตของประชากรแบบ logistic growth ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
การเติบโตของประชากรแบบ exponential growth เป็นแบบที่พบได้น้อยมากในธรรมชาติ พบในบริเวณ
ที่มีทรัพยากรต่าง ๆ (อาหาร ที่อยู่อาศัย) อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการแก่งแย่งแข่งขันกันในประชากร ไม่มีผู้ล่า และ
สิ่งมีชีวิตมีโอกาสที่จะสืบพันธุ์ได้อย่างอิสระ จึงค่อนข้างเป็นประชากรอุดมคติ (ideal population) อย่างไรก็ตาม
ประชากรที่เพิ่งมาตั้งรกรากใหม่ในบริเวณที่มีทรัพยากรต่าง ๆ เป็นจํานวนพอมากก็อาจพบการเติบโตของประชากร
รูปแบบนี้ได้ในช่วงแรก รูปแบบการเติบโตของประชากรแบบ exponential growth นี้จะมีลักษณะคล้ายรูปตัว J
(ภาพที่ 3ก)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (24) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


สําหรับการเติบโตของประชากรแบบ logistic growth เป็นแบบที่พบเป็นหลักในธรรมชาติ อัตราการ
เติบโตของประชากรในช่วงแรกจะค่อนข้างช้า (lag phase) ในระยะถัดมาจะมีอัตราการเติบโตของประชากร
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (log phase) แล้วจึงช้าลงและคงที่ในช่วงถัดมา (stationary phase) กราฟจึงมีลักษณะ
คล้ายกับรูปตัว S (ภาพที่ 3ข) ในบางครั้งหลังจากระยะ stationary phase แล้วประชากรอาจลดจํานวนลงได้
(declining phase) ขนาดของประชากรสูงสุดที่เป็นไปได้ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ เรียกว่า ค่า carrying
capacity (K) ซึ่งปัจจัยที่กําหนดค่า carrying capacity ของประชากรนี้ เรียกว่า ตัวต้านทานสิ่งแวดล้อม
(environmental resistance)

ภาพที่ 3 กราฟการเติบโตของประชากรแบบ exponentialgrowth และแบบ logistic growth ตามลําดับ


ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของประชากรแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยที่ไม่ได้ขึ้นกับความ
หนาแน่นของประชากร (density-independent factors) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดประชากร โดยปัจจัยต่าง ๆ
เหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อความหนาแน่นประชากรเปลี่ยนแปลง เช่น ความร้อน ไฟป่า พายุไต้ฝุ่น น้ําท่วม
ภู เ ขาไฟระเบิ ด การเกิ ด สึ น ามิ ขณะที่ ปั จ จั ย อี ก แบบหนึ่ ง คื อ ปั จ จั ย ที่ ขึ้ น กั บ ความหนาแน่ น ของประชากร
(density-dependent factors) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดประชากร โดยปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อความ
หนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอ การล่าเหยื่อ เป็นต้น
กราฟการรอดชีวิตของประชากร (Survivorship Curve)
ลักษณะอย่างหนึ่งของประชากร คือ อัตราการอยู่รอดในช่วงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนักนิเวศวิทยา
จะนําเสนอออกมาในรูปของกราฟการรอดชีวิตของประชากร (survivorship curve) 3 แบบ (ภาพที่ 4) ซึ่งแต่
ละแบบจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไปดังนี้
กราฟแบบที่ I (convex curve) ซึ่งสมาชิกในประชากรมีอัตราการรอดชีวิตสูงในช่วงแรกของชีวิต แต่จะ
มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายอายุขัย ประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบการรอดชีวิตแบบนี้มักจะมีการสืบพันธุ์
ที่ผลิตลูกออกมาจํานวนน้อย (low fecundity) แต่มีการเลี้ยงดูตัวอ่อน (parental care) ซึ่งช่วยลดอัตราการ
ตายในช่วงแรกได้ ตัวอย่างของประชากรที่มีกราฟการรอดชีวิตแบบนี้เช่น มนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดใหญ่
กราฟแบบที่ II (straight line) เป็นลักษณะกึ่งกลางระหว่างกราฟแบบที่ I และกราฟแบบที่ III ซึ่ง
สมาชิกในประชากรจะมีอัตราการรอดชีวิตหรืออัตราการตายคงที่สม่ําเสมอตลอดช่วงอายุขัย เช่น ไฮดรา นก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดเล็ก

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (25)


กราฟแบบที่ III (concave curve) มีสมาชิกในประชากรมีอัตราการรอดชีวิตในช่วงแรกต่ําหรืออัตรา
การตายสูงในช่วงแรก แต่จะมีอัตราการตายลดลงในช่วงท้ายของอายุขัย สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้มักจะมีการสืบพันธุ์ที่
ผลิตลูกจํานวนมาก (high fecundity) แต่มักจะมีการเลี้ยงดูตัวอ่อน (parental care) ต่ํา เช่น สัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลังส่วนใหญ่ ปลา หอย เต่าทะเล ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ภาพที่ 4 กราฟการอยู่รอดชีวิตของประชากร (survivorship curve)

2. นิเวศวิทยาระดับกลุมสิ่งมีชีวิต (Community Ecology)


กลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือชุมชนสิ่งมีชีวิต (community) คือ ประชากรของสิ่งมีชีวิตมากกว่าหนึ่งชนิดที่มาอาศัย
อยู่ร่วมกัน ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งอาจมีความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้น
ภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (intraspecific interaction) และสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน (interspecific interaction)
ในหัวข้อนี้จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและลักษณะบางประการของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
n ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต (Species Interactions)
สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดเมื่อมาอยู่รวมกันจะมีความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์ (interaction) เกิดขึ้น ในที่นี้
จะใช้คําว่าความสัมพันธ์แทนคําว่าปฏิสัมพันธ์ โดยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
ดังตาราง 1
ตาราง 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
รูปแบบความสัมพันธ์ สิ่งมีชีวิตชนิดที่ 1 สิ่งมีชีวิตชนิดที่ 2
Antagonistic interaction
- ภาวะการล่าเหยื่อ (predation) + -
- ภาวะการกินพืช (herbivory) + -
- ภาวะปรสิต (parasitism) + -
Mutualism + +
Competition - -
Commensalism + 0
(+ แทนการได้ประโยชน์ - แทนการเสียประโยชน์ และ 0 แทนการเป็นกลาง)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (26) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะนําไปสู่การเกิดวิวัฒนาการร่วม (coevolution) ระหว่างสิ่งมีชีวิต
2 ชนิด เมื่อมาอาศัยอยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์กัน เช่น สิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์แบบภาวะล่าเหยื่อ
สิ่งมีชีวิตที่เป็นเหยื่อต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจากผู้ล่าได้ ขณะที่ผู้ล่าก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถจับ
เหยื่อได้ จะเห็นได้ว่าทั้งผู้ล่าและเหยื่อแต่ต้องมีวิวัฒนาการร่วมเพื่อแข่งขันกันในการอยู่รอด การวิวัฒนาการร่วม
แบบนี้เรียกว่า evolutionary arms race เช่นเดียวกับในภาวะปรสิต (parasitism) ที่โฮสต์และปรสิตต่างมี
วิวัฒนาการร่วมเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ แม้กระทั่งการเกิด mutualism สิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์ทั้งสองชนิด
จําเป็นจะต้องมีวิวัฒนาการร่วมกันเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ รูปแบบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการเกิดวิวัฒนาการร่วมน้อยที่สุด คือ ภาวะอิงอาศัย (commensalism) ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตชนิดที่เป็นกลาง
ไม่จําเป็นจะต้องมีวิวัฒนาการร่วมกับสิ่งมีชีวิตที่มาอิงอาศัยอยู่
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ (Ecological Succession)
กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแต่ละบริเวณสามารถเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปเป็นอีกกลุ่มสิ่งมีชีวิต
หนึ่งได้โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงแทนที่ (ecological succession) ซึ่งการเปลี่ยนแปลง
แทนที่ในทางนิเวศวิทยาจะพิจารณาที่กลุ่มพืชเป็นหลัก แต่ในสัตว์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงแทนที่
แบ่งเป็น 2 แบบคือการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (primary succession) และการเปลี่ยนแปลงแทนที่
แบบทุติยภูมิ (secondary succession)
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิต
อาศัยอยู่ก่อนเลย เช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นบนก้อนหินที่มาจากภูเขาไฟ การเปลี่ยนแปลงแทนที่
แบบนี้มักเกิดเป็นลําดับโดยเริ่มจากไลเคนส์ มอส หญ้าและวัชพืช ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก จนกลายเป็นไม้ยืนต้นในที่สุด
ส่วนการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เดิมเคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่
แต่ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทําให้สิ่งมีชีวิตหายไปจากบริเวณนั้น เช่น การเกิดไฟป่า การทําไร่เลื่อนลอยของ
ชาวสวน
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ทําหน้าที่ในการบุกเบิกการเปลี่ยนแปลงแทนที่เรียกว่า pioneer species พบเฉพาะใน
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ ส่วนกลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุดท้ายที่อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มีความเสถียร
ค่อ นข้ างมากและมั ก ไม่ มีการเปลี่ ยนแปลงไปอี กเป็ น ระยะเวลานานเรี ยกว่า กลุ่ ม สิ่ งมี ชี วิต ขั้น สุด หรือ สัง คม
สมบูรณ์ (climax community) อย่างไรก็ตามนักนิเวศวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า ไม่มีระบบนิเวศใดที่มีกลุ่มสิ่งมีชีวิต
ขั้นสุดหรือสังคมสมบูรณ์เพราะถึงแม้ว่าจะมีความเสถียรสูงก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการรบกวน
(disturbance) ทั้งจากสาเหตุธรรมชาติและสาเหตุมาจากมนุษย์ที่มาเป็นระยะ ๆ และมีผลกระทบในบางบริเวณ
ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุด ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบางช่วงเวลาและบางบริเวณของกลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุดได้

3. นิเวศวิทยาระดับระบบนิเวศ (Ecosystem Ecology)


การศึกษานิเวศวิทยาระดับระบบนิเวศ (ecosystem ecology) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อนี้จะเน้นในส่วนของไบโอม (biome) ซึ่ง
ประกอบขึ้นจากระบบนิเวศที่มีความหลากหลายจํานวนมากเข้าไว้ด้วยกันและอีกส่วนหนึ่งจะเน้นไปที่ลักษณะของ
ระบบนิเวศซึ่งเกี่ยวข้องกับการถ่ายเทพลังงาน (energy flow) และการหมุนเวียนสารภายในระบบ (nutrient
cycling)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (27)


ไบโอม (Biome)
ไบโอมหรือชีวนิเวศ เป็นบริเวณหรือภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกที่ประกอบขึ้นจากกลุ่มสัตว์และพืชที่มีลักษณะ
จําเพาะกับบริเวณนั้น ๆ อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศ (climate) ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ไบโอมประกอบ
ขึ้นจากระบบนิเวศย่อย ๆ จํานวนมาก ไบโอมในโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไบโอมบนบก
(terrestrial biome) และไบโอมแหล่งน้ํา (aquatic biome)
ไบโอมบนบก (Terrestrial Biome)
นักนิเวศวิทยามีเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนกไบโอมบนบกโดยอาศัยปัจจัย 2 อย่าง คือ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอด
ทั้งปี (average temperature) และปริมาณหยาดน้ําฟ้าตลอดทั้งปี (annual precipitation) ซึ่งหมายถึง
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ําในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เช่น น้ําฝน
หิมะ ไบโอมบนบกมีหลายแบบและมีการกระจายอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของโลกดังแสดงในภาพที่ 5

ภาพที่ 5 ไบโอมบนบกบริเวณต่าง ๆ บนโลก (ดัดแปลงจาก wikipedia)


ไบโอมป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) เป็นไบโอมที่พบในบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร
และบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตรลงมาเล็กน้อย เช่น ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกากลาง ทวีปเอเชียตอนใต้รวมถึง
ประเทศไทย และบางส่วนของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไบโอมแบบป่าดิบชื้นมีปริมาณหยาดน้ําฟ้า (ปริมาณ
น้ําฝน) และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดทั้งปี การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลไม่สามารถระบุได้ชัดเจน จัดเป็นไบโอมที่มี
ความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด และป่าไม้ในไบโอมแบบนี้เป็นป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) และพืชใน
ป่าจะมีการจัดลําดับชั้น (stratification) เช่น ไม้เรือนยอด ไม้ชั้นกลาง ไม้พุ่ม และพืชชั้นล่าง สัตว์มีความ
หลากหลายสูงมากและมักมีการแบ่งปันทรัพยากร (resource partitioning) เพื่อลดการแข่งข่น ในประเทศไทย
พบไบโอมแบบนี้มากบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ที่มีฝนตกชุกตลอดปี
ไบโอมป่าผลัดใบเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest) เป็นไบโอมที่พบในบริเวณละติจูดกลาง
เหนือและใต้ลงไปจากแนวเส้นศูนย์สูตร เช่น ทวีปยุโรป ทวีปเอเชียตอนเหนือบางส่วนมีความชื้นและอุณหภูมิโดย
เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูกาลในไบโอมแบบนี้สามารถแยกได้ชัดเจนเป็น 4 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ พืชในกลุ่มนี้มักเป็นไม้ผลัดใบ (deciduous tree) ที่มีการผลัดใบ
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวเพื่อลดอัตราการคายน้ํา สัตว์ในกลุ่มนี้มีตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดใหญ่
สัตว์ปีกที่มีการอพยพ สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก และแมลงในช่วงฤดูร้อน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (28) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ไบโอมป่าสน (coniferous forest) อาจเรียกว่า ป่าไทกา (taiga) หรือป่าบอเรียล (boreal) บริเวณที่พบ
จะอยู่ที่ตําแหน่งละติจูดที่สูงกว่าป่าผลัดใบเขตอบอุ่น เช่น ตอนใต้ของประเทศแคนาดา ตอนเหนือของประเทศ
อเมริกาเหนือ บางบริเวณของประเทศรัสเซีย ในประเทศไทยอาจพบระบบนิเวศป่าสนได้ทางภาคเหนือบริเวณ
ยอดดอย ฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศจึงเย็นและแห้งตลอดปี พืชชนิดหลักคือ พืชในตระกูลสนที่มีใบเป็นเข็ม
ซึ่งไม่มีการผลัดใบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมที่พบมักมีการจําศีลเพื่อหนีหนาว (hibernation)
ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland) เป็นไบโอมที่พบมากในตอนกลางของทวีปอเมริกา
เหนือ เรียกว่า ทุ่งหญ้า prairie และบางบริเวณของประเทศรัสเซียพืชส่วนใหญ่เป็นพืชคลุมดินขนาดเล็ก
โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้าต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งอาหารที่เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังพบไม้พุ่มขนาดเล็ก
ได้ อุณหภูมิและปริมาณน้ําฝนจะอยู่ก้ํากึ่งระหว่างไบโอมป่าไม้แบบต่าง ๆ และทะเลทราย
ไบโอมสะวันนา (savannah) เป็นไบโอมพบทั่วไปในทวีปแอฟริกาทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย
อาจพบได้บ้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน มีปริมาณความชื้นปานกลาง มีต้นไม้ขึ้น
กระจายเป็นหย่อม ๆ พืชส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีไม้พุ่มขนาดเล็กกระจายอยู่
ไบโอมทะเลทราย (desert) เป็นไบโอมที่ปริมาณน้ําฝน (precipitation) ต่ําที่สุด (น้อยกว่า 25cm/ปี)
อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากในรอบวัน ตอนกลางวันร้อนจัด ขณะที่ตอนกลางคืนอากาศหนาวตัวอย่างของ
ทะเลทรายเช่น ทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกา ทะเลทรายโกบีในประเทศจีนพืชที่พบเป็นพืชขนาดเล็กและเป็นพืช
ทนแล้ง (xerophyte) เช่น กระบองเพชร สัตว์ส่วนใหญ่ในทะเลทรายเป็นสัตว์ที่สามารถทนการเปลี่ยนแปลง
ของอุณหภูมิในช่วงกว้างได้ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน แมลงขนาดเล็ก ส่วนสัตว์สะเทินน้ําสะเทินบกไม่สามารถพบได้
ในไบโอมแบบนี้
ไบโอมแบบทุนดรา (tundra) มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีน้ําแข็งปกคลุมเป็นเวลานาน เรียกว่า
permafrost ซึ่งอาจละลายในช่วงหน้าร้อน มักพบในบริเวณที่มีละติจูดอยู่เหนือป่าสนไทกาขึ้นไปจนถึงบริเวณขั้วโลก
พืชที่พบจะเป็นเพียงพืชขนาดเล็กเท่านั้น เช่น ไม้พุ่ม ไม่พบต้นไม้ใหญ่ และพบไลเคนส์ขึ้นเป็นจํานวนมาก ส่วน
สัตว์ที่พบมักเป็นสัตว์ที่กินพืชเหล่านี้เป็นอาหารและมีการปรับตัวให้สามารถทนต่ออุณหภูมิที่หนาวเย็นได้
ไบโอมแหล่งน้ํา (Aquatic Biome)
ปัจจัยจํากัดในการกําหนดไบโอมของแหล่งน้ํา คือ แสงสว่าง (light) เนื่องจากแสงมีความสามารถในการ
ทะลุผ่านแหล่งน้ําได้แตกต่างกันออกไป ไบโอมแหล่งน้ําแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามค่าความเค็มของแหล่งน้ํา
คือ ไบโอมน้ําจืด (freshwater biome) ซึ่งมีค่าความเค็มอยู่ที่ประมาณ 0-1 ppt ไบโอมแหล่งน้ําเค็ม (marine
biome) มีค่าความเค็มอยู่ประมาณ 30-35 ppt ขึ้นกับปริมาณน้ําจืดที่เข้ามาในระบบและการระเหยของน้ําใน
ทะเล และไบโอมแบบสุดท้ายที่มีค่าความเค็มหลากหลายมาก คือ ไบโอมแบบเอสทูรี (estuarine biome) ซึ่ง
เป็นบริเวณที่น้ําจืดไหลมาบรรจบกับน้ําเค็มทําให้ค่าความเค็มเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไบโอมแหล่งน้ําจืด (freshwater biomes) ประกอบขึ้นจากระบบนิเวศน้ําจืด 2 แบบ คือระบบนิเวศน้ํา
จืดที่เป็นแหล่งน้ํานิ่ง (lentic system) เช่น บ่อ บึง ทะเลสาบ และระบบนิเวศน้ําจืดที่เป็นแหล่งน้ําไหล (lotic
system) เช่น น้ําตก โดยระบบนิเวศแบบน้ํานิ่งสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณต่าง ๆ 3 บริเวณ คือ บริเวณชายฝั่ง
(littoral zone) ซึ่งมีพืช hydrophyte หลายชนิดขึ้นอยู่บริเวณนี้ บริเวณผิวน้ํา (limnetic zone) เป็นบริเวณที่
อยู่ถัดเข้ามากลางแหล่งน้ําและเป็นบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง ทําให้พบแพลงก์ตอนพืชและสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ
อยู่เป็นจํานวนมากในบริเวณนี้ สําหรับส่วนสุดท้าย คือ บริเวณน้ําชั้นล่าง (profundal zone) เป็นส่วนที่อยู่ใต้

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (29)


ชั้นผิวน้ํา แสงไม่สามารถส่องได้ถึงเป็นแหล่งที่รวมของสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่บริเวณผิวน้ํา สารอินทรีย์
เหล่านี้สามารถเกิดการหมุนเวียนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลโดยเฉพาะในเขตอบอุ่น เรียกการหมุนเวียน
ของมวลน้ํานี้ว่า overturn ซึ่งเกิดมากในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง
แหล่งน้ํานิ่งที่เป็นทะเลสาบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ oligotrophic lake ซึ่งเป็นทะเลสาบ
ที่มีน้ําใส เนื่องจากมีสารอินทรีย์และสารอาหารในแหล่งน้ําน้อย มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตต่ํา มักเป็น
ทะเลสาบที่เกิดจากการละลายของหิมะหรือน้ําแข็งส่วน eutrophic lake เป็นทะเลสาบที่มีน้ําขุ่นกว่า เนื่องจากมี
สารอินทรีย์และสารอาหารในแหล่งน้ําเป็นจํานวนมาก มีสิ่งมีชีวิตอยู่เป็นจํานวนมาก ทะเลสาบปกติจะมีแนวโน้ม
ที่จะเปลี่ยนจาก oligotrophic lake เป็น eutrophic lake ตามธรรมชาติ เรียกกระบวนการนี้ว่า eutrophication
อย่างไรก็ตามผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ในปัจจุบันสามารถส่งผลเร่งให้การเกิด eutrophication เกิดได้
รวดเร็วขึ้น เช่น การที่บ้านเรือนมีการปล่อยน้ําที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะจากผงซักฟอกซึ่งมีธาตุ
ฟอสฟอรัสอยู่เป็นจํานวนมาก เมื่อธาตุฟอสฟอรัสเหล่านี้เข้ามาในแหล่งน้ําจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มจํานวนผู้ผลิตใน
แหล่งน้ํา เช่น สาหร่าย จํานวนมาก เมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายลง แบคทีเรียจะเข้ามาย่อยสลาย (decomposition)
ซึ่งกระบวนการย่อยสลายนี้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยแก๊สออกซิเจน ดังนั้นเมื่อมีสาหร่ายจํานวนมากตายลง
ปริมาณแก๊สออกซิเจนในแหล่งน้ําจึงลดลง สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นจึงได้รับผลกระทบจากน้ําเน่า
เสียได้ การเร่งการเกิด eutrophication process ไม่ได้ส่งผลเฉพาะในระบบนิเวศน้ําจืดเท่านั้น ระบบนิเวศแหล่ง
น้ําเค็มปัจจุบันก็ได้รับผลกระทบเช่นกันจากการที่แหล่งน้ําจืดไหลลงมาในทะเล (run-off)
สําหรับไบโอมแหล่งน้ําเค็ม (marine biome) ซึ่งครอบครองพื้นที่มากกว่า 3 ใน 4 ของโลก สามารถ
แบ่งออกเป็น 2 บริเวณตามความสามารถของแสงที่ส่องผ่านได้ คือ บริเวณ photic zone ซึ่งเป็นบริเวณที่แสง
ส่องถึงได้ มีความลึกตั้งแต่ 0-200 เมตร ขึ้นกับความขุ่นของแหล่งน้ํา บริเวณนี้จะมีผู้ผลิตที่มีการสังเคราะห์
ด้วยแสงจํานวนมากทําให้มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูง ขณะที่บริเวณที่อยู่ลึกลงไป แสงสว่างจะส่องไม่ถึง
เรียกบริเวณนี้ว่า aphotic zone ซึ่งมีความหลากหลายต่ํากว่า นอกจากนี้ไบโอมแหล่งน้ําเค็มอาจแบ่งออกเป็น
บริเวณต่าง ๆ ตามลักษณะทางธรณีวิทยาและปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ได้ดังนี้
บริเวณ neritic zone เป็นบริเวณที่รวมตั้งแต่รอยต่อของแผนดินไปจนถึงบริเวณที่มีความลาดชันลงมา
ในทะเล ซึ่งยังมีความชันไม่มาก น้ําตื้นและยังมีแสงสว่างส่องถึง บริเวณที่มีความสําคัญมากบริเวณหนึ่งของ
neritic zone คือบริเวณน้ําขึ้นน้ําลง (intertidal zone) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบริเวณนี้
ค่อนข้างรุนแรง อย่างไรก็ตามบริเวณนี้มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจํานวนมากที่สามารถปรับตัวให้อยู่รอด
กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ บริเวณ intertidal zone อาจประกอบขึ้นจากระบบนิเวศหาดหิน (rocky shore) หาด
ทราย (sandy beach) และหาดเลน (muddy beach) ได้ ส่วนบริเวณที่อยู่ถัดออกมาจาก neritic zone คือ
บริเวณที่เรียกว่า oceanic zone ซึ่งเป็นบริเวณของทะเลหรือมหาสมุทรเปิดที่อยู่ไกลออกจากชายฝั่งไป ทะเล
หรือมหาสมุทรอาจแบ่งระดับความลึกได้เป็น 2 ระดับหลัก คือ ระดับความลึกในช่วงที่แสงส่องถึง (photic
zone) และระดับความลึกที่แสงส่องไม่ถึง (aphotic zone) เมื่อพิจารณาส่วนของพื้นท้องทะเลจะแบ่งได้เป็น 2
บริเวณ คือ benthic zone ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่อยู่ใต้ท้องทะเล สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็น
สิ่งมีชีวิตหน้าดิน (benthos) และ abyssal zone ซึ่งเป็นบริเวณหุบเหวที่อยู่ใต้ทะเล ไม่มีแสงสว่างส่องถึง
ดังนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในระบบนิเวศนี้จึงไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ (photoautotroph) แต่จะเป็น
สิ่งมีชีวิตที่มีการสังเคราะห์ทางเคมี (chemoautotroph) แทน ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ต่ํากว่า
บริเวณที่แสงส่องถึง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (30) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ลักษณะของระบบนิเวศ (Ecosystem Characteristics)
ลักษณะสําคัญของระบบนิเวศ คือ พลังงาน (energy) ที่เข้ามาในระบบนิเวศจะมีการถ่ายเททิศทางเดียว
(energy flow) ทั้งนี้เพราะทุกครั้งที่พลังงานมีการถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นการกิน (trophic level)
หนึ่งไปยังลําดับขั้นการกินถัดไปจะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของความร้อน (heat) ซึ่งพลังงาน
ความร้อนเหล่านี้ไม่สามารถเกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ สําหรับสารอาหารจะมีการหมุนเวียนอยู่ภายใน
ระบบนิเวศ (nutrient cycling) โดยสิ่งมีชีวิตจะทําหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมสารอินทรีย์ (organic compound)
เอาไว้ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงสารอินทรีย์เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนเป็นสารอนินทรีย์ (inorganic compound) ผ่านการ
ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposition) และเกิดซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป ลักษณะของระบบนิเวศ
สรุปได้ดังภาพที่ 6

ภาพที่ 6 ลักษณะของระบบนิเวศที่มีการถ่ายเทพลังงาน และการหมุนเวียนสาร


การถ่ายเทพลังงาน (Energy Flow)
การถ่ายเทพลังงานในระบบนิเวศส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากการที่ผู้ผลิต (producer) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่
สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ผู้ผลิตทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้อยู่ในรูปของพลังงานเคมีในสารอินทรีย์
ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น นักนิเวศวิทยากําหนดให้ปริมาณของพลังงานแสงที่เปลี่ยนมาอยู่ในรูปของพลังงานเคมี
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตนี้ว่า ผลผลิตปฐมภูมิ (primary production) สําหรับในระบบนิเวศบางระบบนิเวศ เช่น
ระบบนิ เ วศในทะเลลึ ก ที่ สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ เ ป็ น ผู้ ผ ลิ ต มี ก ระบวนการสร้ า งสารอิ น ทรี ย์ ผ่ า นการสั ง เคราะห์ ท างเคมี
(chemosynthesis) แหล่งพลังงานตั้งต้นของระบบนิเวศนี้จะเป็นสารเคมี แต่ในที่นี้จะเน้นที่การเปลี่ยนพลังงาน
แสงเป็นพลังงานเคมีเป็นหลักผลผลิตปฐมภูมิในระบบนิเวศแหล่งน้ําถูกกําหนดด้วยปัจจัยจํากัด 2 อย่าง คือ
แสงสว่าง (light) ซึ่งมี ความจํา เป็น ต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของผู้ผลิ ตในทะเล เนื่องจากแสงไม่
สามารถส่องผ่านลงไปในทะเลได้ทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น และสารอาหาร (nutrient) ส่วนปัจจัย
จํากัดของการผลิตผลผลิตในระบบนิเวศบนบก คือ อุณหภูมิและความชื้น
พลังงานที่เกิดขึ้นในจากผลผลิตปฐมภูมิจะถูกถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลําดับขั้นการกินอาหาร
(trophic level) ถัดไป โดยปริมาณของพลังงานเคมีทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตกินเข้าไปแล้วเปลี่ยนไปใช้ในการผลิตมวล
ชีวภาพใหม่ในร่างกายนี้เรียกว่า ผลผลิตทุติยภูมิ (secondary production)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (31)


เมื่อพิจารณาถึงการถ่ายเทพลังงานในมุมมองของทั้งโซ่อาหาร (food chain) โดยทั่วไปแล้วสิ่งมีชีวิตใน
ลําดับขั้นการกินอาหารถัดมาจะได้รับพลังงานจากสิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นก่อนหน้าเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น
อีกร้อยละ 90 ไม่สามารถเกิดการถ่ายเทไปยังสิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นถัดไป เรียกแนวคิดนี้ว่า ten percent law
ดังนั้นถ้าเริ่มจากผู้ผลิตที่มีพลังงานร้อยละ 100 ผู้บริโภคลําดับที่หนึ่ง (primary consumer) จะได้รับพลังงาน
เพียงร้อยละ 10 และผู้บริโภคลําดับที่สอง (secondary consumer) จะได้รับพลังงานเหลือเพียงแค่ร้อยละ 1
เท่านั้น จากข้อจํากัดเหล่านี้จึงทําให้โซ่อาหาร (food chain) ส่วนใหญ่ในระบบนิเวศมีลําดับขั้นการกินอาหาร
ประมาณ 4-5 ขั้นเท่านั้น ซึ่งการถ่ายเทของพลังงานนี้สามารถเขียนได้ในรูปของพีระมิดพลังงาน (pyramid of
energy) หรือพีระมิดของผลผลิตสุทธิ (pyramid of net production) โดยความกว้างของแต่ละขั้นของพีระมิด
แสดงเป็นสัดส่วนของพลังงาน ดังตัวอย่างในภาพที่ 7

ภาพที่ 7 ตัวอย่างของพีระมิดพลังงานหรือพีระมิดของผลผลิตสุทธิ
นอกจากนี้นักนิเวศวิทยายังสามารถนําเสนอพีระมิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ได้อีก 2 ชนิด
คือ พีระมิดจํานวน (pyramid of number) ซึ่งเป็นการแสดงจํานวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้นการกิน
อาหารว่ามีอยู่เป็นจํานวนเท่าใด อาจจะเป็นพีระมิดหัวตั้งหรือพีระมิดหัวกลับก็ได้ สําหรับพีระมิดอีกแบบหนึ่งที่
นิยมใช้ คือ พีระมิดมวลชีวภาพ (pyramid of biomass) ซึ่งแต่ละขั้นของพีระมิดจะแสดงมวลชีวภาพทั้งหมด
ของลําดับขั้นการกินอาหารนั้น (standing crop) พีระมิดมวลชีวภาพบางชนิดอาจมีฐานที่แคบได้เช่นกัน เช่น
ระบบนิเวศในทะเลส่วนที่ฐานของพีระมิดมักเป็นแพลงก์ตอนพืชขนาดเล็ก ซึ่งมีการสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต
และถูกสิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นถัดไปพวกแพลงก์ตอนสัตว์กินเร็วมาก จึงทําให้ประชากรของแพลงก์ตอนพืชมีมวล
ชีวภาพขนาดเล็ก ไม่สามารถพัฒนาเป็นประชากรที่มีขนาดใหญ่หรือมีค่า standing crop มากได้ หรืออาจกล่าว
ได้ว่าแพลงก์ตอนพืชมีอัตราการหมุนเวียน (turnover rate) สูงในช่วงเวลาสั้น ๆ และมีความสามารถในการนํา
สารอนินทรีย์มาสังเคราะห์เป็นสารอินทรีย์และส่งต่อไปยังโซ่อาหารได้รวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าแพลงก์ตอนพืชมี
ค่า standing crop น้อย เมื่อเทียบกับการผลิต (production) ดังนั้นถึงแม้จะมีมวลชีวภาพน้อยแต่ก็สามารถทํา
ให้สิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นถัดไปมีอาหารเพียงพอได้เพราะเกิด production สูงกว่าที่แพลงก์ตอนสัตว์สามารถเกิดได้

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (32) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การหมุนเวียนสาร (Nutrient Cycling)
ลักษณะสําคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบนิเวศ คือ การหมุนเวียนของสารที่เป็นวัฏจักรผ่านดินน้ําอากาศ
โดยมีสิ่งมีชีวิตเป็นตัวกลางที่สําคัญ เรียกวัฏจักรนี้ว่า วัฏจักรทางชีวเคมีธรณี (biogeochemical cycle) ซึ่งแบ่ง
ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ วัฏจักรแบบแก๊ส (gaseous cycle) มีการหมุนเวียนผ่านสถานะแก๊ส เช่น วัฏจักรน้ํา
วัฏจักรคาร์บอน และวัฏจักรไนโตรเจน ขณะที่วัฏจักรแบบตะกอน (sedimentary cycle) จะไม่มีการหมุนเวียน
สารผ่านสถานะแก๊ส เช่น วัฏจักรฟอสฟอรัส
วัฏจักรน้ํา (Hydrological Cycle)
วัฏจักรน้ําเป็นกระบวนการต่าง ๆ ที่โมเลกุลของน้ํามีการหมุนเวียนต่อเนื่องในธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ วัฏจักรระยะสั้นซึ่งเป็นวัฏจักรของน้ําที่ไม่ได้หมุนเวียนผ่านสิ่งมีชีวิต ขณะที่วัฏจักรระยะยาวจะเป็น
วัฏจักรน้ําที่มีการหมุนเวียนผ่านสิ่งมีชีวิต เช่น พืชและสัตว์มีการหายใจผลิตออกมาเป็นไอน้ํา รวมถึงการคายน้ํา
ของพืช โดยไอน้ําที่เกิดขึ้นจะเกิดการรวมกับไอน้ําจากการระเหยของน้ําในวัฏจักรระยะสั้น แล้วตกลงมาเป็นฝน
เพื่ อ เป็ น แหล่ ง น้ํ า ที่ สํ า คั ญ ให้ กั บ พื ช และสั ต ว์ ใ นกระบวนการเมแทบอลิ ซึ ม ต่ อ ไปได้ การตั ด ไม้ ทํ า ลายป่ า
(deforestation) ส่ง ผลต่ อการหมุน เวียนของวัฏจั กรน้ําโดยการลดปริมาณน้ํา ที่สามารถหมุน เวียนกลับ เข้ า
สู่วัฏจักรระยะสั้นได้ นอกจากนี้แก๊สบางอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ
แก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) อาจทําให้เกิดภาวะฝนกรด (acid rain) ได้
วัฏจักรคาร์บอน (Carbon Cycle)
ธาตุคาร์บอนจัดเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักในสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลทุก
ชนิดในร่างกาย แหล่งธาตุคาร์บอนหลักในธรรมชาติมักจะอยู่ในรูปของฟอสซิลที่อยู่ใต้ดินหรือใต้มหาสมุทร เมื่อ
มนุษย์มีการนําแหล่งพลังงานเหล่านี้มาใช้ก็จะเกิดการเผาไหม้ (combustion) และมีการปล่อยแก๊สคาร์บอน-
ไดออกไซด์ (CO2) ออกสู่ชั้นบรรยากาศ สําหรับสิ่งมีชีวิตเองก็มีบทบาทสําคัญในการเพิ่มปริมาณแก๊ส CO2 ใน
บรรยากาศโดยมีการปล่อยออกมาผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) แก๊ส CO2 ที่สะสม
อยู่ในบรรยากาศจะถูกดึงเข้ามาในระบบของสิ่งมีชีวิตใหม่อีกครั้งผ่านกระบวนการเดียวในสิ่งมีชีวิต คือ กระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงโดยสิ่งมีชีวิตที่เป็น photoautotroph จากนั้นคาร์บอนเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังผู้บริโภค
ผ่านการกินอาหารและการย่อยสลาย แล้วเกิดการทับถมเป็นเวลานานจนท้ายที่สุดจะได้ออกมาเป็นฟอสซิลและ
เชื้อเพลิงซึ่งจะถูกนํากลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
ในช่วงสมัยก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมปริมาณของแก๊ส CO2 ในชั้นบรรยากาศจะมีอยู่ในภาวะคงที่และ
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อมนุษย์เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปริมาณเชื้อเพลิงต่าง ๆ ถูกนํามาใช้เป็น
จํานวนมากเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ ท้ายที่สุดแล้วปริมาณแก๊ส CO2 ในชั้นบรรยากาศจึงเพิ่มขึ้นและ
ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน (global warming) เนื่องจากแก๊ส CO2 จัดเป็นส่วนหนึ่งของแก๊สเรือน
กระจก (greenhouse gas) นอกเหนือไปจากสาร CFC มีเธน และไอน้ํา
วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle)
ไนโตรเจนเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักในสารชีวโมเลกุลและสารอินทรีย์หลายชนิด เช่น โปรตีน กรด
นิวคลีอิก รวมไปถึงคลอโรฟิลล์ในพืช ในบรรยากาศปกติจะมีแก๊สไนโตรเจนอยู่สูงถึงร้อยละ 78 แต่การหมุนเวียน
ของไนโตรเจนจากบรรยากาศเข้ามาในระบบนิเวศเป็นกระบวนการที่อาศัยสิ่งมีชีวิตเป็นหลัก วัฏจักรไนโตรเจน
ประกอบขึ้น จากกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ กระบวนการตรึ งไนโตรเจน (nitrogen fixation)
กระบวนการแอมโมนิฟิเคชัน (ammonification) กระบวนการไนตริฟิเคชัน (nitrification)และกระบวนการ
ดีไนตริฟิเคชัน (denitrification) ดังแสดงในภาพที่ 8

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (33)


กระบวนการตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixation) เป็นกระบวนการแรกที่มีการตรึงแก๊สไนโตรเจนให้มาอยู่
ในรูปของแอมโมเนีย (NH3) แบคทีเรียกลุ่มที่ทําหน้าที่นี้เรียกว่า nitrogen-fixing bacteria เช่น แบคทีเรียไร
โซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชของต้นถั่ว อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นโดยวิธีการทาง
กายภาพ เช่น การเกิดฟ้าผ่าก็ได้ แต่มีบทบาทน้อยกว่าการตรึงไนโตรเจนโดยสิ่งมีชีวิต
เมื่อแก๊สไนโตรเจนถูกตรึงจากบรรยากาศเข้ามาอยู่ในรูปของแอมโมเนีย (NH3) แล้วจะเข้าสู่กระบวนการ
ต่อ ไป คื อ กระบวนการแอมโมนิ ฟิ เ คชั น (ammonification) ซึ่ ง เป็ น กระบวนการที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงจาก
แอมโมเนีย (NH3) ให้อยู่ในรูปของแอมโมเนียมไอออน (NH4+) รวมถึงการเปลี่ยนของเสียจากการขับถ่ายของ
สัตว์ และซากพืชซากสัตว์ให้มาอยู่ในรูปของแอมโมเนียและแอมโมเนียมไอออนตามลําดับ แบคทีเรียที่ทําให้เกิด
กระบวนการนี้เรียกว่า ammonifying bacteria
จากนั้นแอมโมเนียมไอออน (NH4+) จะเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรต์ (NO2-) และไนเตรต (NO3-) ตามลําดับ
โดยอาศัยการทํางานของแบคทีเรียกลุ่ม nitrifying bacteria และเรียกกระบวนการนี้ว่าไนตริฟิเคชัน (nitrification)
โดยกระบวนการนี้เป็นกระบวนการสําคัญที่ทําให้เกิดสารพวกไนเตรต (NO3-) ซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถดูดซึม
(assimilation) เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการสร้างสารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ก่อนจะส่งไปยังสิ่งมีชีวิตในลําดับขั้นการ
กินอาหารถัดไปได้
กระบวนการสุดท้าย คือ กระบวนการดีไนตริฟิเคชัน (denitrification) เป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยน
สารพวกไนเตรต (NO3-) ให้กลับไปอยู่สถานะแก๊สในรูปของแก๊สไนโตรเจนใหม่ แบคทีเรียกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการนี้เรียกว่า denitrifying bacteria เช่น Pseudomonas sp. และ Clostridium sp. ซึ่งแบคทีเรีย
กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นแบคทีเรียที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)

ภาพที่ 8 วัฏจักรไนโตรเจน (nitrogen cycle)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (34) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


วัฏจักรฟอสฟอรัส (Phosphorus Cycle)
สารประกอบฟอสเฟตมีความสําคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก เช่น องค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลพวก
กรดนิวคลีอิกและ ATP ในร่างกาย รวมไปถึงสารพวก phospholipid การหมุนเวียนฟอสเฟตเกิดขึ้นโดย
ฟอสเฟตที่ถูกชะโดยน้ําจะเข้าไปสะสมในพื้นดิน พืชจึงนําฟอสเฟตเหล่านั้นกลับมาใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เมื่อ
สัตว์กินพืช ฟอสเฟตจากในพืชก็จะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ในร่างกายของสัตว์ เมื่อสัตว์และพืชตาย แบคทีเรียและผู้ย่อย
สลายจะสลายฟอสเฟตในซากพืชและสัตว์ให้เป็นสารที่ละลายน้ําได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง วัฏจักรนี้ไม่หมุนเวียนผ่านชั้น
บรรยากาศสําหรับในระบบนิเวศทางทะเลก็จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตในทะเลตายลง ฟอสเฟตเหล่านี้
จะตกทับถมอยู่ใต้ท้องทะเล จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีและทําให้พื้นทะเลเกิดการยกตัวขึ้น จึงจะ
นําไปสู่การหมุนเวียนฟอสเฟตเหล่านั้นกลับเข้ามาสู่วัฏจักรในระบบนิเวศใหม่อีกครั้ง
การขยายทางชีวภาพ (Biological magnification)
สําหรับสารบางอย่างที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถกําจัดออกหรือเปลี่ยนรูปได้ เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก
สัตว์จะเกิดการสะสมของสารเหล่านี้ โดยนักนิเวศวิทยาพบว่า สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลําดับขั้นการกิน (trophic
level) ทางด้านบนของโซ่อาหารหรือสายใยอาหาร มักจะมีการสะสมของสารต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ลําดับขั้นการกินสูงขึ้น จะต้องมีการกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลําดับขั้นการกินอาหารที่ต่ํากว่า
จํานวนมากเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นผู้บริโภคที่อยู่ลําดับขั้นการกินสูงที่สุดจึงมีการสะสมของสาร
ต่าง ๆ รวมถึงสารพิษมากที่สุด นักนิเวศวิทยาเรียกการสะสมสารนี้ว่า การขยายทางชีวภาพ (biological
magnification)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (35)


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (Biodiversity)
1. หลักอนุกรมวิธานเบื้องตน (Introduction to Taxonomy)
อนุกรมวิธาน (taxonomy) เป็นชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีงาน
หลัก 3 อย่าง คือ การจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่ม ๆ (classification) ตั้งแต่ในระดับกลุ่มที่มีขนาดใหญ่และ
เล็กลงไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับชนิดได้ การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ (nomenclature) ให้ถูกต้อง
ตามหลักการทางอนุกรมวิธาน และรวมไปถึงการระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (identification)
การจัดจําแนกสิ่งมีชีวิต (Classification)
นักอนุกรมวิธานมีการจัดลําดับขั้นของกลุ่มสิ่งมีชีวิตตามความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการและความเหมือนกัน
ทั้งในด้านรูปร่าง สัณฐานวิทยา รวมไปถึงหลักฐานในระดับชีวโมเลกุล ตัวอย่างของลําดับ (category หรือ
rank) ต่ า ง ๆ และหน่ ว ยอนุ กรมวิธ าน (taxa) ของมนุษ ย์ ส ามารถแสดงได้ ดั งภาพที่ 9 (เรี ย งจากความ
หลากหลายมากที่สุดไปถึงชนิด (species) ซึ่งเป็นระดับที่มีความหลากหลายน้อย)

ภาพที่ 9 ลําดับขั้นและหน่วยอนุกรมวิธานในการจัดจําแนกมนุษย์ (Homo sapiens)


ในปัจจุบันนักชีววิทยาจึงมีระบบระเบียบวิธีการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตแบบใหม่ที่อาศัยความสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิตในเชิงวิวัฒนาการเป็นหลัก เรียกการศึกษาการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตแบบนี้ว่าซิสเต็มมาติกส์ (systematics)
และสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ ออกมาในรูปของแผนภูมิต้นไม้ที่เรียกว่า แผนภูมิวิวัฒนาการ
(phylogenetic tree) ซึ่งความสัม พัน ธ์ของสิ่งมีชีวิตหรือ phylogeny นี้จัดว่าเป็น สมมติฐานที่สามารถ
ตรวจสอบได้ (testable hypothesis) ดังนั้นเมื่อนักชีววิทยามีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลใหม่ ๆ ก็สามารถที่
จะมีการวิเคราะห์และสร้าง phylogeny ได้ใหม่ตลอดเวลา
การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (Nomenclature)
นักอนุกรมวิธานยังมีหน้าที่ในการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิตซึ่งชื่อของสิ่งมีชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ
คือ ชื่อพื้นเมือง (vernacular name) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต ชื่อสามัญ (common
name) โดยทั่วไปหมายถึงชื่อของสิ่งมีชีวิตที่เป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามการใช้ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อท้องถิ่น
อาจสร้างความสับสนได้ เพราะสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นนักชีววิทยาจึงมี
การใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ที่มีระบบชัดเจนในการกําหนดชื่อของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดและช่วยให้
นักชีววิทยาเข้าใจตรงกันได้ว่าหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใด

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (36) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


หลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เรียกว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ที่คิดค้นโดยนัก
ชีววิทยาชาวสวีเดน คือ คาโรลัสลินเนียส (Carolus Linnaeus) โดยชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยสองส่วน คือ
ชื่อจีนัส (generic name) อยู่ด้านหน้า และชื่อที่ระบุชนิด (specific epithet) อยู่ทางด้านหลัง โดยทั้งชื่อจีนัส
และชื่อระบุชนิดนี้จะใช้เป็นภาษาละติน หรือทําให้เป็นภาษาละติน (latinized) ก่อน เช่น หอยทากสยามมีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า Cryptozona siamensis จะเห็นได้ว่าชื่อ Cryptozona เป็นชื่อจีนัสของหอยทากชนิดนี้ ส่วน
siamensis เป็ น ชื่ อ ระบุ ช นิ ด ของหอยทาก และเมื่ อ นํ า ทั้ ง สองส่ ว นนี้ ม ารวมกั น จะเป็ น ชื่ อ วิ ท ยาศาสตร์ ข อง
สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้ การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์จะต้องทําให้ชื่อวิทยาศาสตร์แตกต่างจากข้อความส่วนอื่น ๆ โดย
ถ้ า เป็ นการเขี ยนจะใช้ การขี ดเส้ นใต้ ชื่ อวิ ทยาศาสตร์ ทั้ งสองส่ วนโดยที่ เส้ นทั้ งสองไม่ ติ ดกั น ในกรณี ที่ พิ มพ์ ด้ วย
คอมพิวเตอร์จะใช้ตัวเอียงแทนได้ ส่วนชื่อจีนัสจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
สําหรับชื่อที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ (correct name) จะมีได้เพียงชื่อเดียว คือ ชื่อที่ตั้งเป็นชื่อ
แรกและถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ส่วนชื่อที่ตั้งซ้ําที่เหลือจะเรียกว่า ชื่อพ้อง (synonym) ในกรณีที่ทราบชื่อผู้ตั้งชื่อ
(author name) จะต้องลงชื่อของผู้ตั้งชื่อด้วยตัวพิมพ์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ แต่ไม่ต้องเอียงหรือขีดเส้นใต้
และใส่ปีที่มีการตีพิมพ์ผลงานการค้นพบท้ายชื่อ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่นกิ้งกือกระบอก Thyropygus
allevatus Karsch, 1881
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตอาจมีการบอกถึงลักษณะที่มีการค้นพบ แหล่งที่พบ หรืออาจตั้งเพื่อเป็น
เกียรติกับบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ได้ เช่น ปูเจ้าพ่อหลวง (Potamon bhumibol) โดย bhumibol เป็นการตั้งชื่อเพื่อ
เป็นเกียรติกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือไรน้ํานางฟ้า (Streptocephalus sirindhornae) โดยคําว่า
sirindhornae เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติกับสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ส่วนกรณีของหอยมือเสือที่มีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า Tridacna gigas คําว่า gigas เป็นการบอกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ หรือปลาจิ้งจอกซึ่ง
เป็นปลาน้ําจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus siamensis คําว่า siamensis เป็นการบ่งบอกว่า
ปลาชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
การระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (Identification)
ไดโคโตมัสคีย์ (dichotomous key) เป็นเครื่องมือที่นักอนุกรมวิธานใช้ในการตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์
หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่กําลังศึกษา ลักษณะที่นิยมใช้ในการสร้าง dichotomous key มักจะเป็นลักษณะทาง
สัณฐานวิทยา กายวิภาค หรือสรีรวิทยา โดยทั่วไปไดโคโตมัสคีย์จะประกอบด้วย 2 ทางเลือกโดยจะพิจารณาจาก
ลักษณะที่เห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน นอกจาก dichotomous key แล้ว นักอนุกรมวิธานอาจใช้คีย์อีกแบบ
หนึ่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่า แต่ความละเอียดและความแม่นยําอาจต่ํากว่า คือ pictorial key ซึ่งเป็นคีย์ที่อาศัย
รูปภาพในการระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น หนังสือนกเมืองไทย (bird guide of Thailand) ของนายแพทย์บุญส่ง
เลขะกุล

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (37)


2. อาณาจักรและโดเมนของสิ่งมีชีวิต (Kingdom and Domain of Life)
ปัจจุบันนักอนุกรมวิธานมีการแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 โดเมน ได้แก่ โดเมนยูแบคทีเรีย (domain
Eubacteria) โดเมนอาร์เคีย (domain Arachaea) และโดเมนยูคาเรีย (domain Eukarya) ซึ่งความแตกต่าง
ของสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 โดเมนสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต 3 โดเมน
ข้อเปรียบเทียบ โดเมนยูแบคทีเรีย โดเมนอาร์เคีย โดเมนยูคาเรีย
นิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวเคลียส ไม่มี ไม่มี มี
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม ไม่มี ไม่มี มี
สาร peptidoglycan บนผนังเซลล์ มี ไม่มี ไม่มี
ขนาดของไรโบโซม 70S 70S 80S
ลักษณะของโครโมโซม วงแหวน วงแหวน ปลายเปิด
โปรตีนฮิสโตนบนสาย DNA ไม่มี มี มี
พลาสมิด มี มี ไม่มี
จํานวนชนิดของ RNA polymerase 1 1 จํานวนมาก
การตอบสนองของไรโบโซมต่อยาปฏิชีวนะ มี ไม่มี ไม่มี
กรดอะมิโนเริ่มต้นตัวแรกในการแปลรหัส formyl-methionine Methionine Methionine
กรดไขมันสายตรงเชื่อม กรดไขมันที่มีกิ่งเชื่อม กรดไขมันสายตรงเชื่อม
โครงสร้างของลิพิดในเยื่อหุ้มเซลล์
ด้วยพันธะ ester ด้วยพันธะ ether ด้วยพันธะ ester

ในที่นี้จะแยกอธิบายสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มหลัก 5 กลุ่ม คือ กลุ่มโพรคาริโอต (prokaryote) ทั้งที่เป็น


แบคทีเรียแท้จริงและอาร์เคีย กลุ่มโพรทิสต์ (protist) กลุ่มพืชสีเขียว (plant) กลุ่มฟังไจ (fungi) และกลุ่มสัตว์
(animal) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

3. โพรคาริโอต (Prokaryotes)
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเซลล์เป็นแบบโพรคาริโอต (prokaryotes) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ โพรคาริ
โอตใน kingdom Eubacteria ซึ่งมีสมาชิกเป็นแบคทีเรียที่แท้จริง และโพรคาริโอตใน kingdom Archaea ซึ่งมี
สมาชิกเป็นแบคทีเรียกลุ่มอาร์เคีย โดยในที่นี้จะอธิบายแยกออกจากกันเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
อาณาจักรยูแบคทีเรีย (domain Eubacteria)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย สรุปได้ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและมีเซลล์เป็นแบบโพรคารีโอต (prokaryotic cell)
2. สารพันธุกรรมเป็นสารพวก DNA ที่มีลักษณะเป็นวงปิด (circular DNA) และไม่มีโปรตีนฮิสโตน
3. แบคทีเรียทั่วไปมีรูปทรง 3 แบบ คือ รูปทรงกลม (coccus) รูปทรงท่อน (bacillus) รูปทรงเกลียว
(spirillum)
4. ผนังเซลล์ของแบคทีเรียประกอบขึ้นจากสาร peptidoglycan ยกเว้นในแบคทีเรียกลุ่ม mycoplasma
ที่ไม่มีผนังเซลล์เป็นองค์ประกอบ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (38) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


5. การดํารงชีวิตส่วนใหญ่จะดํารงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลาย บางชนิดอาจจะเป็นปรสิต ขณะที่ยูแบคทีเรียบาง
ชนิดอาจจะมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น กลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria)
6. การสืบพันธุ์ของยูแบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
ด้วยการแบ่งตัวออกเป็นสอง (binary fission) แต่บางชนิดอาจจะมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ (conjugation)
7. แบคทีเรียสามารถจัดจําแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักตามความสามารถในการย้อมติดสีของผนังเซลล์ คือ
7.1 แบคทีเรียแกรมบวก (gram-positive bacteria)
- กลุ่มที่มีชั้น peptidoglycan หนา ย้อมติดสีม่วงของ crystal violet
7.2 แบคทีเรียแกรมลบ (gram-negative bacteria)
- กลุ่มที่มีชั้น peptidoglycan บางคั่นอยู่ระหว่างเมมเบรนสองชั้น ย้อมติดสีแดงของ safranin
8. บทบาทของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มยูแบคทีเรีย
- ผู้ย่อยสลาย (decomposer) ที่สําคัญในระบบนิเวศ ช่วยในการหมุนเวียนสารต่าง ๆ
- แบคทีเรียบางกลุ่ม เช่น cyanobacteria สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงช่วยเพิ่มแก๊สออกซิเจน
- แบคทีเรียบางกลุ่มสามารถเกิดการตรึง N2 สามารถนํามาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของดิน
- แบคทีเรียหลายชนิดถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ําส้มสายชู นมเปรี้ยว เนยแข็ง
โยเกิร์ต ปลาร้า ปลาส้ม ผักดอง
- แบคทีเรียปัจจุบันถูกนํามาใช้ในทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)
โดเมนอาร์เคีย (Domain Arachaea)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรอาร์เคียสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเป็นเซลล์แบบโพรคารีโอต (prokaryotic cell)
2. ผนังเซลล์ของแบคทีเรียกลุ่มนี้ไม่ได้ประกอบด้วย peptidoglycan แต่จะเป็นสารประเภทไกลโคโปรตีนแทน
3. การดํารงชีวิตส่วนใหญ่จะอาศัยพลังงานจากการออกซิไดซ์สารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ก็ได้
4. ลักษณะเด่นของกลุ่มนี้คือ พันธะที่เชื่อมระหว่างกลีเซอรอลกับกรดไขมันใน phospholipid ของ
เมมเบรนเป็นพันธะอีเทอร์ (ether linkage) ขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จะเป็นพันธะเอสเทอร์ (ester linkage)

4. โพรทิสต (Protists)
ในปัจจุบันการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ยังมีข้อจํากัดและปัญหาจํานวนมาก
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ยิ่งได้ข้อมูลทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลมากขึ้น รูปแบบการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริ
โอตยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ในที่นี้จะยึดรูปแบบการจัดกลุ่มยูคาริโอตตามตํารา Campbell’s Biology
(Reece et al, 2014) ซึ่งแบ่งสิ่งมีชีวิตในกลุ่มยูคาริโอตออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหมด 4 supergroup ดังแสดงใน
ภาพที่ 10 อย่างไรก็ตามยังมีโพรทิสต์อีกจํานวนมากที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (39)


Domain Eukarya

ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตในกลุ่มยูคาริโอต (ดัดแปลงจาก Reece et al, 2014)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (40) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โพรทิสต์กลุ่มต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ลักษณะและตัวอย่างของโพรทิสต์กลุ่มต่าง ๆ
Clade ลักษณะ ตัวอย่างที่พบ
c Supergroup Excavata
Diplomonad - ไม่มีไมโทคอนเดรีย - anaerobic respiration Giardia sp.
- นิวเคลียส 2 อันต่อเซลล์ แฟลเจลลาจํานวนมาก
Parabasalid - ไมโทคอนเดรียลดรูปไป Trichomonas
- มี parabasal body (Golgi complex) vaginalis
Trichonympha
Euglenozoa
- Kinetoplastid - ไมโทคอนเดรียขนาดใหญ่ Trypanosoma sp.
- มี kinetoplast (กลุ่มของ circular DNA)
- Euglenid - การดํารงชีวิตแบบ mixotroph Euglena sp.
- มีแฟลเจลลา 1-2 เส้น
- คลอโรฟิลล์ a และ b
- อาหารสะสมเป็น paramylon granule
d Supergroup SAR
Stramenopile แฟลเจลลา 2 เส้น เส้นหนึ่งสั้น เส้นหนึ่งยาว
- Datom - สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง
- คลอโรฟิลล์ a และ c รวมถึง fucoxanthin
- ผนังเซลล์เป็นสารพวกซิลิกา
- สาหร่ายสีทอง - สาหร่ายน้ําจืด อาจเป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์
- มีแคโรทีนอยด์เป็นองค์ประกอบภายในเซลล์
- สาหร่ายสีน้ําตาล - สาหร่ายขนาดใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ Fucus sp.
- คลอโรฟิลล์ a และ c รวมถึง fucoxanthin Macrocystis sp.
- อาจมี holdfast สําหรับยึดเกาะ และมี bladder (kelp)
สําหรับบรรจุอากาศช่วยในการลอยตัว Laminaria sp.
Alveolata การมี alveolus เป็นถุงอยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ (kombu)
- Dinoflagellate - พบได้ทั้งในทะเลและในน้ําจืด
- แฟลเจลลา 2 เส้น เส้นหนึ่งพาดแนวตยาวลําตัว อีก
เส้นหนึ่งพันอยู่รอบร่องตามแนวขวาง Noctiluca sp.
- ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide bloom) Zooxanthellae
- Apicomplexan - การดํารงชีวิตเป็นปรสิตทําให้เกิดโรคมาลาเรีย
- มี apical complex ช่วยในการเกาะ host
- Ciliates - กลุ่มที่มี cilia ช่วยในการเคลื่อนที่ Plasmodium sp.
- มักพบอาศัยอยู่ในน้ําจืด
- macronucleus และ micronucleus Paramecium sp.
- มี cytostome สําหรับให้อาหารเข้าไปในปากได้ Vorticella sp.

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (41)


Clade ลักษณะ ตัวอย่างที่พบ
Rhizaria เคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียม มีเปลือกหุ้มเซลล์
- Radiolarian - เปลือกมีลักษณะใสและสวยงามคล้ายแก้ว
- Foraminiferan - เปลือกเป็นหินปูนและมีรูพรุนจํานวนมาก
e SG. Archaeplastida การเกิด primary endosymbiosis
สาหร่ายสีแดง - สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ Porphyra sp. (จีฉ่าย)
- คลอโรฟิลล์ a และ d รวมถึง phycoerythrin
- ผนังเซลล์มีการสะสมสาร carrageenan
สาหร่ายสีเขียว - อาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ก็ได้ Volvox sp.
- คลอโรฟิลล์ a และ b อาหารสะสมเป็นแป้ง Spirogyra sp.
- Chlorophyte และ Charophyte (สาหร่ายไฟ) (เทาน้ํา)
Chara sp.
(สาหร่ายไฟ)
พืชบก (land plant)
e SG. Unikonta
Amoebozoan - กลุ่มอะมีบาแท้จริง มีการใช้เท้าเทียม Amoeba sp.
- บางชนิดอาจเป็นผู้ย่อยสลาย เช่น ราเมือก ราเมือก
(slime mold)
Opisthokont - กลุ่มฟังไจ สัตว์ และโพรทิสต์บางชนิด Choanoflagellate

5. พืช (Plants)
ลักษณะสําคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และเป็นเซลล์แบบยูคารีโอต (multicellular eukaryote)
2. การดํารงชีวิตเป็นแบบที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ (photoautotroph)
3. มีผนังเซลล์ (cell wall) สําหรับทําหน้าที่ให้ความแข็งแรงกับเซลล์ โดยเป็นสารพวกเซลลูโลส
4. วัฏจักรชีวิตของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
พืชไม่มีเนื้อเยื่อลําเลียง (Nonvascular Plant หรือ Bryophyte)
ลักษณะสําคัญของพืชในกลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อลําเลียง สามารถสรุปได้ดังนี้
1. พืชสีเขียวขนาดเล็ก มักพบในบริเวณที่มีความชื้นสูง
2. ไม่มีราก ลําต้น และใบที่แท้จริง เนื่องจากไม่มีเนื้อเยื่อลําเลียงอยู่ภายในมีโครงสร้างคล้ายรากที่
เรียกว่า rhizoid ช่วยในการดูดน้ํา และส่วนที่คล้ายใบจะมีคิวตินบาง ๆ เคลือบ
3. ในวัฏจักรชีวิตแบบสลับจะพบระยะแกมีโตไฟต์ (gametophyte) เด่นตลอดชีวิต ขณะที่ระยะสปอโรไฟต์
(sporophyte) จะพบเพียงแค่บางช่วงในวงชีวิตเท่านั้นและจะเจริญอยู่บนระยะแกมีโตไฟต์

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (42) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การจัดจําแนกพืชกลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อลําเลียงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ไฟลัม ดังนี้
1. ไฟลัมเฮพาโทไฟตา (phylum Hepatophyta)
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) ชนิดต่าง ๆ เช่น Marchantia sp.
- ต้นแกมีโตไฟต์มีทั้งแบบที่มีส่วนคล้ายใบและที่เป็นแผ่นบาง ๆ แยกออกเป็นพู ๆ
- เซลล์แต่ละเซลล์ภายในลิเวอร์เวิร์ตจะมีหยดน้ํามัน (oil droplet)
- ลิเวอร์เวิร์ตไม่พบปากใบ (stomata) สําหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
- ต้นสปอโรไฟต์มีอับสปอร์ (sporangium) ภายในมีสปอร์และมีโครงสร้างของ elator ช่วย
กระจายสปอร์
2. ไฟลัมไบรโอไฟตา (phylum Bryophyta)
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ มอส (moss) ชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวตอกฤาษี (Sphagnum sp.) ใช้เป็นพืชคลุมดิน
- พืชขนาดเล็กเรียงกันหนาแน่นมองดูคล้ายพรม มีสีเขียวสด ขึ้นอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะหรือมีความชื้นสูง
- ระยะแกมีโตไฟต์พบตลอดชีวิต ในช่วงแรกมีลักษณะเป็นสายคล้ายสาหร่าย เรียกว่า protonema
ระยะสปอโรไฟต์ของมอสประกอบด้วยส่วน foot ทําหน้าที่ในการยึดกับต้นแกมีโตไฟต์ ส่วนก้านชู (stalk) และ
ส่วนที่เป็นอับสปอร์ (sporangium) ซึ่งมีฝาปิด (operculum) และมีโครงสร้างคล้ายฟัน เรียกว่า peristome
teeth ช่วยในการกระจายสปอร์
3. ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา (phylum Anthocerophyta)
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ ฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
- ต้นแกมีโตไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น มีรอยหยักที่บริเวณขอบ มีคลอโรพลาสต์ 1 อันต่อเซลล์
- ต้นสปอโรไฟต์มีลักษณะเป็นท่อ เรียวแหลมบริเวณปลายคล้ายเขาสัตว์ มีเนื้อเยื่อเจริญบริเวณโคนต้น
พืชมีเนื้อเยื่อลําเลียง (Vascular Plant)
ลักษณะสําคัญของพืชกลุ่มที่มีท่อลําเลียงสามารถสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มของพืชที่มีการพัฒนาท่อลําเลียงน้ํา (xylem) ท่อลําเลียงอาหาร (phloem) และมีการสะสมลิกนินขึ้น
2. ระยะ sporophyte ของพืชกลุ่มนี้จะเป็นลักษณะเด่นและแยกออกจากระยะ gametophyte ที่มีแค่ช่วงสั้น ๆ
3. เริ่มมีการพัฒนาโครงสร้างของรากสําหรับใช้ในการดูดน้ําและแร่ธาตุเข้าสู่ภายในพืช
4. ใบของพืชในกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อลําเลียงแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
a. ใบแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) - ใบขนาดเล็กมีเส้นใบเพียง 1 เส้นและไม่มีการแตกแขนง
b. ใบแบบเมกะฟิลล์ (megaphyll) – ใบขนาดใหญ่ มีการเชื่อมกันของเส้นใบทําให้เห็นเป็นร่างแห
5. รูปแบบการสร้างสปอร์ของพืชมีเนื้อเยื่อลําเลียงสามารถเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ
a. กลุ่มที่มีการสร้างสปอร์แบบเดียว (homosporous plant)
b. กลุ่มที่มีการสร้างสปอร์สองแบบที่มีขนาดไม่เท่ากัน (heterosporous plant)
- สปอร์ขนาดใหญ่ (megaspore) เจริญไปเป็นต้นแกมีโตไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)
- สปอร์ขนาดเล็ก (microspore) เจริญไปเป็นต้นแกมีโตไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (43)


พืชมีเนื้อเยื่อลําเลียงแต่ไม่มีเมล็ด (Seedless Vascular Plant)
พืชมีเนื้อเยื่อลําเลียงแต่ไม่มีเมล็ดแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. ไฟลัมไลโคไฟตา (phylum Lycophyta)
2. ไฟลัมเทอโรไฟตา (phylum Pterophyta)
n ไฟลัมไลโคไฟตา (phylum Lycophyta)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตใน phylum Lycophytaสรุปได้ดังนี้
1. พืชที่มีลําต้นและใบแท้จริง มีใบขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง (ใบแบบไมโครฟิลล์)
2. บริเวณปลายกิ่งมีกลุ่มใบสปอโรฟิลล์ (sporophyll) รวมกันอยู่สําหรับสร้างสปอร์ เรียก สโตรบิลัส
(strobilus) ยกเว้นในพืชกลุ่มกระเทียมน้ํา (Isoetes sp.)
สิ่งมีชีวิตในกลุ่ม phylum Lycophyta สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
1. กลุ่มไลโคโพเดียม (Lycopodium sp.) - ชื่อสามัญของพืชกลุ่มนี้คือ club moss หรือ ground pine
- พืชในกลุ่มนี้เช่น สนหางสิงห์ สร้อยนางกรอง ช้องนางคลี่ สามร้อยยอด
- ใบเป็นแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) เรียงเป็นวงรอบลําต้นมี strobilus ที่บริเวณปลายกิ่ง
- พืชกลุ่มไลโคโพเดียมเป็นกลุ่มเดียวที่มีการสร้างสปอร์แบบเดียว (homosporous plant)
2. กลุ่มซีแลกจิเนลลา (Selaginella sp.) – ชื่อสามัญของพืชกลุ่มนี้คือ spike moss
- พืชในกลุ่มนี้ เช่น ตีนตุ๊กแก พ่อค้าตีเมีย
- ใบเป็นแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) เรียงตัวในลักษณะที่ดูคล้ายเป็นแถว 4 แถว และบิดกลับไป
กลับมา อยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด
- พืชกลุ่มนี้มีการสร้างสปอร์สองชนิด (heterosporous plant) โดยบริเวณสโตรบิลัสประกอบด้วย
ใบแบบไมโครสปอโรฟิลล์ (microsporophyll) ซึ่งภายในมี microsporangium สําหรับสร้าง microspore และ
ใบแบบเมกะสปอโรฟิลล์ (megasporophyll) ซึ่งภายในมี megasporangium สําหรับสร้าง megaspore
3. กลุ่มกระเทียมน้ํา (Isoetes sp.) – ชื่อสามัญของพืชกลุ่มนี้คือ quillwort
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ กระเทียมน้ํา
- ไม่มีโครงสร้างสโตรบิลัส แต่มีการสร้างสปอร์สองชนิด (heterosporous plant) ที่อับสปอร์ตรงโคนใบ
o ไฟลัมเทอโรไฟตา (phylum Pterophyta)
สิ่งมีชีวิตใน phylum Pterophyta สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มหวายทะนอย
- ชนิดที่พบมากในประเทศไทย คือ หวายทะนอย (whisk fern : Psilotum sp.)
- ลําต้นมีสีเขียวสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ใบขนาดเล็กเป็นใบเกล็ด ไม่มีรากแท้จริง แต่มีลําต้น
ใต้ดิน (rhizome) ที่มีโครงสร้างของส่วนไรซอยด์ (rhizoid) สําหรับช่วยในการดูดน้ําและแร่ธาตุ
- การแตกกิ่งจะมีการแตกกิ่งเป็นคู่ ๆ ขนาดเท่ากันแยกกันไปเรื่อย ๆ เรียกว่า dichotomous
branching
- โครงสร้างของอับสปอร์ (sporangium) อยู่เชื่อมรวมกัน 3 อัน เรียกว่า synangium
- มีการสร้างสปอร์ชนิดเดียว (homosporous plant)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (44) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


2. กลุ่มหญ้าถอดปล้อง (Equisetum sp.)
- พืชกลุ่มนี้ได้แก่ หญ้าถอดปล้องหรือสนหางม้า (Equisetum sp.)
- ลําต้นส่วนที่อยู่เหนือดินเห็นข้อปล้องชัดเจน มีใบเกล็ดเรียงเป็นวงอยู่รอบข้อเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป
- ผิวของลําต้นเมื่อจับจะมีลักษณะหยาบและสาก เพราะมีการสะสมสารพวกซิลิกาอยู่ในผนังเซลล์
- ใบของหญ้าถอดปล้องจัดเป็นใบแบบไมโครฟิลล์ (microphyll)
- บริเวณปลายกิ่งจะมีการสร้างสโตรบิลัส (strobilus) ที่มีอับสปอร์ (sporangium) อยู่
- พืชในกลุ่มนี้มีการสร้างสปอร์แบบเดียว (homosporous plant) และมี pseudoelator (ไม่ได้เป็น
เซลล์แต่เป็นเพียงส่วนของผนังเซลล์) ช่วยในการกระจายสปอร์
3. กลุ่มเฟิร์นแท้ (true fern)
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ เฟิร์นชนิดต่าง ๆ จัดเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดรองจากพืชดอก
- มีลักษณะนิสัย (habit) ได้หลายแบบ ตั้งแต่ต้นขนาดเล็กที่เป็นไม้ล้มลุก จนถึงเฟิร์นที่เป็นไม้ยืนต้น
(tree fern) นอกจากนี้บางชนิดอาจเป็นเฟิร์นที่อยู่ในน้ํา เช่น ผักกูด ผักแว่น
- ใบอ่อนมีลักษณะม้วนงอ เรียกว่า circinate vernation
- ใบของเฟิร์นเป็นใบแบบเมกะฟิลล์ (megaphyll) อาจเป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบก็ได้
- กลุ่มของอับสปอร์ (sporangium) ของเฟิร์นมักอยู่ใต้ใบ เรียกว่า ซอรัส (sorus)
- แกมีโตไฟต์ของเฟิร์นมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจสีเขียว เรียกว่า โปรทัลลัส (prothallus) ซึ่งมีทั้ง
ส่วนของ antheridium สําหรับสร้าง sperm และส่วนของ archegonium สําหรับสร้าง egg
- เฟิร์นส่วนใหญ่มีการสร้างสปอร์ชนิดเดียว (homosporous plant)ยกเว้น เฟิร์นน้ําที่มีการสร้าง
สปอร์สองแบบ(heterosporous plant)
พืชมีเนื้อเยื่อลําเลียงและมีเมล็ด (Seed Vascular Plant)
ลักษณะของพืชมีเมล็ด (seed plant) สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ระยะแกมีโตไฟต์ลดรูปมาก (reduced gametophyte) อยู่ภายในต้นสปอโรไฟต์ (sporophyte)
2. พืชมีเมล็ดจะมีการสร้างสปอร์ 2 ชนิด (heterosporous plant) ทั้งหมด
3. โครงสร้างของอับสปอร์แบบที่ megasporangium มีเยื่อหุ้ม (integument)
4. โครงสร้างของออวุล (ovule) ประกอบขึ้นจาก megasporangium, megaspore และ integuments
5. มีการสร้างเรณู (pollen grain) สําหรับบรรจุแกมีโตไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)
6. ลักษณะสําคัญที่สุด คือ มีการพัฒนาโครงสร้างของเมล็ด (seed) เพื่อช่วยในการแพร่พันธุ์
กลุ่มของพืชมีเมล็ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
1. พืชเมล็ดเปลือย (naked seed) = กลุ่ม gymnosperm
2. พืชที่เมล็ดมีผลห่อหุ้ม หรือพืชดอก = กลุ่ม angiosperm

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (45)


n พืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm)
ลักษณะสําคัญของพืชเมล็ดเปลือยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ออวุลและเรณูจะติดบนกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า โคน (cone) โดยจะแยกออก
จากกันเป็นโคนเพศผู้ (male cone) และโคนเพศเมีย (female cone)
2. เมื่อปฏิสนธิออวุลจะเจริญเป็นเมล็ดติดที่กิ่งหรือแผ่นใบ ไม่มีส่วนห่อหุ้ม เรียกว่า เมล็ดเปลือย
(naked seed)
3. พืชกลุ่มนี้มีเนื้อไม้เจริญดี มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้ยืนต้น จัดเป็นพืชกลุ่มเด่นในยุคจูแรสสิก
การจัดจําแนกของพืชเมล็ดเปลือยสามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. phylum Cycadophyta
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ ปรง ปรงป่า ปรงเขา จัดอยู่ในสกุล Cycas sp. ทั้งหมดพบประมาณ 10 ชนิดในไทย
- ลําต้นของปรงมีลักษณะลําต้นเตี้ย ใบของปรงเป็นใบแบบเมกะฟิลล์และมีการจัดเรียงใบย่อยแบบ
ขนนก
- ปรงเป็นพืชที่มีการแยกเพศ (dioecious plant) คือปรงเพศผู้มีการสร้างโคนเพศผู้ (male cone)
และ ปรงเพศเมียมีการสร้างโคนเพศเมีย (female cone)
- ปรงจัดเป็น living fossil เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างน้อยมากจากสมัยก่อน
2. phylum Ginkgophyta
- พืชในกลุ่มนี้เหลือ 1 ชนิดคือ แปะก๊วย (Ginkgo biloba) ถือว่าเป็น living fossil เช่นเดียวกับปรง
- ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น มีใบรูปร่างคล้ายพัด เส้นใบมีการแตกแขนงแบบ dichotomous branching
- แปะก๊วยเป็นพืชที่มีการแยกเพศ (dioecious plant) เมล็ดมีอาหารสะสมนิยมนํามารับประทาน
- ต้นเพศผู้สร้างสโตรบิลัสที่ปลายกิ่ง ส่วนต้นเพศเมียสร้างออวุลบนก้านชูที่เรียกว่า pedunculate
ovule
3. phylum Coniferophyta
- พืชกลุ่มที่มีความหลากหลายสูงที่สุดในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm)
- พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ สนแดง สนสามพันปี พญาไม้
- พบมากในเขตหนาว เขตอบอุ่นและบนภูเขาสูงเย็น ในไทยส่วนมากพบบริเวณภาคเหนือของประเทศ
- ใบมีลักษณะคล้ายเข็ม (needlelike) หรือเป็นใบเกล็ด (scale leaf) มีสีเขียว
- พืชที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด เมล็ดไม่มีผนังหุ้มรังไข่ จึงไม่มีเปลือกหุ้มเมล็ด (เมล็ดเปลือย)
เมล็ดจะเกาะติดกับส่วนของแผ่นแข็งสีน้ําตาลเข้มของโคนเพศเมีย (female cone)
- โคนเพศผู้และโคนเพศเมียอาจเกิดบนต้นเดียวกันหรืออาจจะแยกต้นก็ได้แต่โดยทั่วไปจะไม่แยกเพศ
โคนเพศผู้ (male cone) จะเจริญอยู่บริเวณปลายกิ่งและมักอยู่รวมกัน ขณะที่โคนเพศเมีย (female cone) มัก
เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ แยกกันอยู่ตามกิ่ง
- การถ่ายเรณูจะใช้ลมในการช่วยแพร่กระจายเรณู
4. phylum Gnetophyta
- พืชกลุ่มนี้ได้แก่ มะเมื่อย (Gnetum sp.) พืชในสกุล Ephedra sp. และ Welwitschia sp.
- พืชในกลุ่มนี้แตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่น เนื่องจากมีเวสเซล (vessel) ช่วยในการลําเลียงน้ํา
- มีการปฏิสนธิซ้อน (double fertilization) คล้ายกับพืชดอก แต่จะไม่มีอาหารเลี้ยง (endosperm)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (46) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


o พืชดอก (Angiosperm)
ลักษณะสําคัญของพืชดอก (angiosperm) สามารถสรุปได้ดังนี้
1. พืชดอกเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายสูงสุด จัดอยู่ในไฟลัมแอนโทไฟตา (phylum Anthophyta)
2. มีราก ลําต้น ใบที่แท้จริง รวมถึงมีวิวัฒนาการของท่อลําเลียงที่สมบูรณ์ ท่อลําเลียงน้ํามีทั้งเทรคีด
และเวสเซล
3. วิวัฒนาการมาจากพืชเมล็ดเปลือย โดยที่บรรพบุรุษของพืชดอกจะมีออวุลเจริญอยู่บน sporophyll
บริเวณขอบใบ ต่อมา sporophyll ม้วนขอบใบเข้ามาเชื่อมกันโดยให้ ovule อยู่ภายใน จึงเกิดเป็นโครงสร้างเรียก
คาร์เพล (carpel) ทํานองเดียวกับการวิวัฒนาการของอับเรณูที่เกิดจากการพับม้วนของขอบใบ
4. โครงสร้างของดอก (flower) สําหรับใช้ในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ กลีบเลี้ยง
(sepal), กลีบดอก (petal), เกสรเพศผู้ (stamen) และเกสรเพศเมีย (pistil)
5. การปฏิสนธิของพืชดอกจัดเป็นการปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
6. เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เมื่อรังไข่เจริญเติบโตเต็มที่จะกลายเป็นผล

6. ฟงไจ (Fungi)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ประกอบขึ้นจากเซลล์ยูคารีโอต โดยอาจจะประกอบจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว
(unicellular fungi) เช่น ยีสต์ หรืออาจจะประกอบจากเซลล์มากกว่า 1 เซลล์ (mold) เช่น เห็ด รา
2. การดํารงชีวิตของฟังไจส่วนใหญ่จะเป็นผู้ย่อยสลาย (saprophyte) บางชนิดอาจเป็นปรสิต
3. ผนังเซลล์ประกอบด้วยสารประเภทไคทิน (chitin)
4. ฟังไจส่วนใหญ่จะมีเส้นใยขนาดเล็ก เรียกว่า ไฮฟา (hypha) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีเยื่อกั้นแต่ละเซลล์
(septum) เส้นใยไฮฟามักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) ช่วยในการดูดซึมน้ําและอาหาร
ไมซีเลียมของฟังไจบางชนิดจะมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาเป็นโครงสร้างที่โผล่พ้นดิน เรียกว่า fruiting body ใน
กลุ่มที่ดํารงชีวิตเป็นปรสิต เส้นใยจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างสําหรับดูดเอาสารอาหารจากโฮสต์ได้
5. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) ของฟังไจ จะเริ่มจากการรวมไซโตพลาสซึม
ก่อน (plasmogamy) ทําให้เซลล์อยู่ในสภาวะที่มีนิวเคลียส 2 ชุด เรียกว่า dikaryotic stage จากนั้นจึงจะมีการ
รวมกันของนิวเคลียส (karyogamy) ก่อนจะเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสต่อไป
6. ฟังไจโดยทั่วไปจะมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจสามารถจําแนกออกได้เป็น 5 ไฟลัมตามลักษณะของ sexual
spore ดังนี้
1. ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา (phylum Chytridiomycota) มีการสร้าง Zoospore
2. ไฟลัมไซโกไมโคตา (phylum Zygomycota) มีการสร้าง zygospore
3. ไฟลัมโกลเมอโรไมโคตา (phylum Glomeromycota)
4. ไฟลัมแอสโคไมโคตา (phylum Ascomycota) มีการสร้าง ascospore
5. ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (phylum Basidiomycota) มีการสร้าง basidiospore

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (47)


4.7 สัตว (Animals)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ (kingdom Animalia) สามารถสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) และประกอบขึ้นจากเซลล์ยูคารีโอต
2. สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่ม heterotroph ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จําเป็นต้องได้รับจากสิ่งแวดล้อม
ภายนอก
3. ไม่มีคลอโรพลาสต์และรงควัตถุที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. สัตว์เกือบทุกชนิดยกเว้นฟองน้ํา จะมีการรวมกลุ่มกันของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อ
5. สัตว์กลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงจะมีการพัฒนาของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวที่ดี
6. การเจริญเติบโตของสัตว์จะมีระยะที่เซลล์เกิดการเคลื่อนที่ (morphogenic movement) ในระยะแกสตรูลา
7. เซลล์สัตว์จะมีโปรตีนคอลลาเจน (collagen) เป็นส่วนของ extracellular matrix นอกเซลล์
เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการจัดหมวดหมู่ของสัตว์มีหลายประการดังนี้
1. การรวมกลุ่มกันของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อ แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (parazoa) ได้แก่ ฟองน้ํา (phylum Porifera)
1.2 สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (eumetazoa) ได้แก่ สัตว์กลุ่มที่เหลือทั้งหมด
2. สมมาตรของสิ่งมีชีวิต (body symmetry) ซึ่งมี 3 แบบ คือ
2.1 สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) ได้แก่ ไนดาเรียน (phylum Cnidaria) เรียกสัตว์กลุ่มนี้
ว่า radiate
2.2 สมมาตรแบบครี่งซีก (bilateral symmetry) ได้แก่ สัตว์กลุ่มที่เหลือทั้งหมด เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า
bilateria
3. จํานวนชั้นของเนื้อเยื่อขณะเจริญเติบโต (germ layer) ในสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อแท้จริง แบ่งออกเป็น 2
กลุ่ม คือ
3.1 สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น (diploblastic animals)
- มีเนื้อเยื่อ germ layer 2 ชั้น คือ ectoderm และ endoderm
- พบในสัตว์กลุ่มไนดาเรีย (phylum Cnidaria)
3.2 สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสามชั้น (triploblastic animals)
- มีเนื้อเยื่อ germ layer 3 ชั้น คือ ectoderm, mesoderm และ endoderm
- พบในสัตว์กลุ่มที่เหลือทั้งหมดในอาณาจักรสัตว์
4. การจัดช่องว่างภายในร่างกาย (coelom) ในสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสามชั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
4.1 สัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างในลําตัว (acoelomate)
- สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ germ layer ทั้งสามชั้นอยู่ติดกันทั้งหมด
- พบในกลุ่มหนอนตัวแบน (phylum Platyhelminthes)
4.2 สัตว์กลุ่มที่มีช่องว่างในลําตัวแบบเทียม (pseudocoelomate)
- สัตว์ที่มีช่องว่างลําตัวอยู่ระหว่างชั้น mesoderm กับชั้น endoderm
- พบในกลุ่มหนอนตัวกลม (phylum Nematoda)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (48) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


4.3 สัตว์กลุ่มที่มีช่องว่างในลําตัวแบบแท้จริง (coelomate)
- สัตว์ที่มีช่องว่างลําตัวอยู่ภายในชั้น mesoderm
- พบในสัตว์กลุ่มที่เหลือทั้งหมดในอาณาจักรสัตว์
5. รูปแบบของการเจริญเติบโต (development pattern) ในระยะตัวอ่อน
5.1 สัตว์กลุ่ม protostomia
- ส่วนของ blastopore ในระยะแกสตรูลาจะพัฒนาไปเป็นปาก
- พบในกลุ่มหนอนตัวแบน หนอนตัวกลม แอนเนลิด มอลลัสก์ และสัตว์ขาข้อ
5.2 สัตว์กลุ่ม deuterostomia
- ส่วนของ blastopore ในระยะแกสตรูลาจะพัฒนาไปเป็นทวารหนัก
- พบในกลุ่มเอไคโนเดิร์ม (echinoderm) และคอร์เดต (chordate)
6. ลักษณะการเจริญของตัวอ่อนและโครงสร้างพิเศษ แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
6.1 สัตว์กลุ่ม lophotrochozoa
- ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มนี้เป็นแบบ trochophore larva (คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนตัวแบน มอลลัสก์ แอนเนลิด
6.2 สัตว์กลุ่ม ecdysozoa
- ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มนี้มีการลอกคราบ (ecdysis) ขณะเกิดการเจริญ
- สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนตัวกลม และสัตว์ขาข้อ (arthropod)
การจัดหมวดหมู่ของสัตว์ (animal phylogeny) แบบที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันจะเป็นการจัดจําแนก
โดยอาศัยการเปรียบเทียบลําดับเบสบนสาย rRNA ของไรโบโซม แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทาง
วิฒนาการ จากลักษณะของเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจําแนกสัตว์ จึงสามารถจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังภาพที่ 11

ภาพที่ 11 การจัดจําแนกกลุ่มของสัตว์ (animal phylogeny) โดยอ้างอิงจากการเปรียบเทียบลําดับเบสบน rRNA

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (49)


การจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์สามารถจัดออกได้เป็น 9 ไฟลัมหลัก ดังนี้
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (phylum Porifera) เช่น ฟองน้ําหินปูน ฟองน้ําแก้ว ฟองน้ําถูตัว
2. ไฟลัมไนดาเรีย (phylum Cnidaria) เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา
3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (phylum Platyhelminthes) เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด
4. ไฟลัมนีมาโทดา (phylum Nematoda) เช่น หนอนตัวกลม (พยาธิชนิดต่าง ๆ)
5. ไฟลัมมอลลัสกา (phylum Mollusca) เช่น หอยกลุ่มต่าง ๆ หมึก
6. ไฟลัมแอนเนลิดา (phylum Annelida) เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนดิน ปลิงน้ําจืด ทากดูดเลือด
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (phylum Arthropoda) เช่น กุ้ง กั้ง ปู แมงดาทะเล แมงมุม แมลง ตะขาบ กิ้งกือ
8. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (phylum Echinodermata) เช่น ดาวทะเล ปลิงทะเล ดาวขนนก เม่นทะเล
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (phylum Chordata) เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส สัตว์มีกระดูกสันหลัง
n ไฟลัมพอริเฟอรา (phylum Porifera)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอราสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ํา (sponges) ชนิดต่าง ๆ เช่น ฟองน้ํา ฟองน้ําแก้ว ฟองน้ําถูตัว
2. สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (parazoa)
3. ฟองน้ําตัวเต็มวัยเกาะอยู่กับที่ (sessile animal) แต่ตัวอ่อนสามารถว่ายน้ําได้
4. มีระบบน้ําในการผ่านเข้าออกของร่างกาย โดยน้ําเข้าทางรูข้างลําตัวที่เรียกว่า ออสเตีย (ostia)
เข้ามาภายในโพรงลําตัวของฟองน้ํา (spongocoel) และออกทางรูเปิดด้านบนเรียกว่า ออสคูลัม (osculum)
5. โครงสร้างที่ทําหน้าที่ในการจับอาหาร เรียกว่า โคแอโนไซต์ (choanocyte) หรือเซลล์ปลอกคอ
(collar cell) เรียงอยู่ภายในตัวของฟองน้ํา ทําหน้าที่ในการโบกพัดและดักจับอาหารเพื่อย่อยต่อไปในเซลล์
amoebocyte
6. โครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของฟองน้ํา เรียกว่า สปิคูล (spicule) โดยอาจเป็นสารพวก
CaCO3, silica หรือเส้นใยโปรตีน spongin นักอนุกรมวิธานใช้ลักษณะของ spicule ในการจําแนกคลาสของ
ฟองน้ํา
7. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ใช้การแตกหน่อภายใน (internal budding) ที่เรียกว่า เจมมูล
(gemmule) หรืออาจมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
o ไฟลัมไนดาเรีย (phylum Cnidaria)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมไนดาเรียสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ตัวอย่างของสัตว์กลุ่มนี้ เช่น ไฮดรา (Hydra sp.) โอบีเลีย (Obelia sp.) แมงกะพรุน (jellyfish)
ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ปะการัง (coral) กัลปังหา (sea fan) ปากกาทะเล (sea pen)
2. มีสมมาตรแบบรัศมีตั้งแต่ตอนเป็นตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย (primary radial symmetry) – radiate
3. มีเนื้อเยื่อแท้จริงและมี germ layer 2 ชั้น คือ ectoderm และ endoderm และมีชั้น mesoglea
แทรกอยู่
4. มีเข็มพิษ (nematocyst) อยู่ในเซลล์ที่เรียกว่า ไนโดไซต์ (cnidocyte) บริเวณหนวด จึงเป็นที่มาของ
ชื่อไฟลัม

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (50) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


5. มีรูปร่าง 2 แบบ คือ รูปร่างแบบโพลิป (polyp form) ลักษณะคล้ายต้นไม้ เช่น ไฮดรา ปะการัง และ
รูปร่างแบบเมดูซา (medusa form) ลักษณะคล้ายร่มหรือระฆังคว่ํา เช่น แมงกะพรุน
6. ท่อทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์ เรียกท่อทางเดินอาหารนี้ว่า gastrovascular cavity
นอกจากนี้ท่อนี้ยังทําหน้าที่แทนระบบหมุนเวียนสาร การแลกเปลี่ยนแก๊ส และระบบขับถ่ายอีกด้วย ระบบ
ประสาทเป็นแบบร่างแห (nerve net) ไม่มีการรวมกลุ่มกันของเซลล์ประสาท (cephalization)
7. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ใช้การแตกหน่อ (budding) ถ้ามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเป็น
สิ่งมีชีวิตที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphrodite) ยกเว้นแมงกะพรุนบางชนิดอาจแยกเพศ (dioecious)
และมีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (external fertilization)
8. มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (metagenesis) คือ ในช่วงชีวิตมีทั้งรูปร่างแบบ polyp และ medusa
สลับกัน หรืออาจกล่าวว่า มีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศสลับกัน
p ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (phylum Platyhelminthes)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิสสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์กลุ่มนี้คือ หนอนตัวแบน (flatworm) เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้ (fluke) พยาธิตัวตืด (tapeworm)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic animals)และไม่มีช่องว่างลําตัว (acoelomate)
3. สัตว์กลุ่มแรกที่มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) มีรูปร่างแบนบาง
4. ท่อทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) ในพยาธิตัวตืดจะไม่มีทางเดินอาหาร
5. มีการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านผิวลําตัวโดยตรงด้วยวิธีการแพร่ (simple diffusion)
6. ระบบขับถ่ายใช้เฟลมเซลล์ (flame cell) เรียกระบบขับถ่ายแบบนี้ว่า โปรโตเนฟริเดียม
(protonephridium)
7. ระบบประสาทแบบขั้นบันได (ladder-type system) และมีการรวมกลุ่มของเซลล์ประสาทที่บริเวณหัว
(cephalization) ในพวกที่ดํารงชีวิตแบบอิสระบางชนิดอาจมี eyespot ช่วยในการตรวจจับความเข้มแสงได้
8. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การงอกใหม่ (regeneration) ในขณะที่การสืบพันธุ์แบบอาศัย
เพศมีการปฏิสนธิภายใน และเป็นสัตว์กระเทย (hermaphrodite) คือมี 2 เพศในตัวเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีการ
ปฏิสนธิข้ามตัว (cross fertilization) ยกเว้นพยาธิตัวตืดที่จะมีการปฏิสนธิภายในตัวเดียวกัน (self fertilization)
q ไฟลัมนีมาโทดา (phylum Nematoda)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมนีมาโทดาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์กลุ่มนี้เรียกรวมว่า หนอนตัวกลม (roundworm) เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า
พยาธิเข็มหมุด พยาธิที่ทําให้เกิดโรคเท้าช้าง ไส้เดือนฝอย
2. พบประมาณมากกว่า 25,000 species
3. สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic animals) และมีช่องว่างลําตัวแบบเทียม (pseudocoelomate)
4. หนอนตัวกลมเป็นสัตว์ในกลุ่ม ecdysozoa สามารถเกิดการลอกคราบได้ (ecdysis) 4 ครั้งในช่วงชีวิต
5. การดํารงชีวิตส่วนใหญ่มีการดํารงชีวิตแบบปรสิต บางชนิดดํารงชีวิตแบบอิสระ
6. ท่อทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเป็นแบบสมบูรณ์ (complete digestive tract)
7. การแลกเปลี่ยนแก๊สใช้การแพร่แบบธรรมดาผ่านผิวลําตัว (simple diffusion)
8. โครงร่างภายในร่างกายใช้ของเหลวในการค้ําจุน เรียกว่า hydrostatic skeleton
9. ระบบสืบพันธุ์แยกเพศ (dioecious) และมีการปฏิสนธิภายใน (internal fertilization)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (51)


r ไฟลัมมอลลัสกา (phylum Mollusca)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในไฟลัมนี้ เรียกรวมว่ามอลลัสก์ (mollusks) เช่น หอยกลุ่มต่าง ๆ ลิ่นทะเล หมึก
2. พบประมาณมากกว่า 50,000 species พบในน้ําเป็นส่วนใหญ่ทั้งน้ําจืดและน้ําเค็ม บางชนิดอาศัยอยู่
บนบก
3. สมมาตรของร่างกายเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic animal)
4. ช่องว่างภายในลําตัวเป็นแบบแท้จริง (coelomate) และเป็นสัตว์กลุ่มโปรโตสโตม (protostomia)
5. ลักษณะลําตัวอ่อนนุ่ม บางชนิดจึงมีการสร้างเปลือก CaCO3 บางชนิดสามารถสร้างมุก (pearl) ได้
6. ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแมนเทิล (mantle) ลักษณะเป็นเยื่อหุ้ม ทําหน้าที่สร้างเปลือกหอย
บางชนิดเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ส่วนของอวัยวะภายใน (visceral mass) และส่วนเท้า (foot)
7. มอลลัสก์เกือบทุกชนิด ยกเว้นหอยสองฝา จะมีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกับฟันเลื่อยสําหรับขูด
อาหารและเป็นสารประเภทไคทินเรียกว่า แรดูลา (radula)
8. ท่อทางเดินอาหารของมอลลัสก์เป็นแบบสมบูรณ์
9. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ยกเว้น หมึกเป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
10. การแลกเปลี่ยนแก๊สใช้เหงือกและแมนเทิลในกลุ่มที่อาศัยในน้ํา แต่กลุ่มที่อยู่บนบกจะใช้ปอด
11. การขับถ่ายใช้ metanephridia ตําราบางเล่มกล่าวว่า มอลลัสก์เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ขับถ่าย
โดยใช้ไต
12. ระบบประสาทมีเส้นประสาทอยู่ทางด้านท้อง เริ่มมีการรวมกลุ่มเป็นปมประสาทบริเวณหัว (cerebral
ganglion) ในสัตว์ที่ดํารงชีวิตเป็นผู้ล่าระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสจะเจริญดี เช่น พวกหมึก
13. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ส่วนใหญ่จะมีระบบสืบพันธุ์แยกเพศ (dioecious) ยกเว้นหอยทากบกที่
เป็นกะเทย
14. ตัวอ่อนของมอลลัสก์บางชนิดเป็นแบบโทรโคฟอร์ (trochophore larva) จึงจัดอยู่ในกลุ่ม
lophotrochozoa
การจัดจําแนกมอลลัสก์กลุ่มต่าง ๆ (classification) สามารถจําแนกได้ดังนี้
1. คลาสพอลิพลาโคฟอรา (class Polyplacophora) กลุ่มของลิ่นทะเลหรือหอยแปดเกล็ด (chiton)
2. คลาสแกสโตรโปดา (class Gastropoda) กลุ่มหอยที่พบมากที่สุดใน phylum Mollusca มีการบิด
ของอวัยวะภายในและการบิดของเปลือก (torsion and coiling) หอยในกลุ่มนี้เรียกว่าหอยฝาเดียว เช่น หอย
เป๋าฮื้อ หอยเต้าปูน หอยสังข์หนาม หอยทากบก หอยทากจิ๋ว ทากเปลือยในทะเล
3. คลาสไบวาลเวีย (class Bivalvia) กลุ่มหอยที่มี 2 ฝามีการดํารงชีวิตแบบกินอาหารโดยการกรอง
(suspension feeder) บางชนิดสามารถสร้างมุก (pearl) ที่สวยงามได้ ตัวอย่างหอยสองฝา เช่น หอยแมลงภู่
หอยลาย หอยแครง หอยมือเสือ หอยเชลล์ หอยกาบน้ําจืด หอยนางรม
4. คลาสสแคโฟโพดา (class Scaphopoda) กลุ่มของหอยงาช้าง
5. คลาสเซฟาโลโพดา (class Cephalopoda) กลุ่มที่เชื่อกันว่ามีการพัฒนาส่วนของระบบประสาทได้ดี
ที่สุด ส่วนเท้ามีการเปลี่ยนรูปร่างเป็นหนวด ได้แก่ หอยงวงช้างหมึกกล้วย หมึกกระดอง หมึกยักษ์

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (52) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


s ไฟลัมแอนเนลิดา (phylum Annelida)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในกลุ่มนี้เช่น แม่เพรียง ตัวร้อยขา ตัวสงกรานต์ ไส้เดือนดิน ปลิงน้ําจืด ทากดูดเลือด
2. พบประมาณ 12,000 species พบทั้งกลุ่มที่อยู่ในน้ําจืด น้ําเค็ม และกลุ่มที่อยู่บนบก
3. สมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic animals)
4. ช่องว่างลําตัวเป็นแบบแท้จริง (coelomate) และจัดอยู่ในกลุ่มโปรโตสโตม (protostomia)
5. สัตว์กลุ่มนี้มีการแบ่งปล้องลําตัวแบบแท้จริง (metameric segmentation)
6. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system) มีหัวใจเทียม (pseudoheart)
7. การแลกเปลี่ยนแก๊สในกลุ่มที่อยู่ในน้ําใช้เหงือกบริเวณ parapodia หรือผิวหนังในกลุ่มที่อยู่บนบก
8. มีปมประสาทบริเวณหัว (cerebral ganglia) ขนาดใหญ่ และมีเส้นประสาทเป็นท่อตันอยู่ทางด้านท้อง
9. ระบบขับถ่ายใช้ metanephridia อยู่เป็นคู่ ๆ โดยแต่ละปล้องจะมี 1 คู่
10. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศอาจมีการแยกเพศ (dioecious) หรือเป็นกะเทย (hermaphrodite) ก็ได้
11. ตัวอ่อนเป็นแบบโทรโคฟอร์ (trochophore larva) จึงจัดอยู่ในกลุ่ม lophotrochozoa
t ไฟลัมอาร์โทรโพดา (phylum Arthropoda)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์กลุ่มที่มีความหลากหลายสูงที่สุด ทั้งในแง่ของชนิดและจํานวน โดยมีมากกว่า 1 ล้านชนิด
สามารถพบได้ทั่วไปทุกพื้นที่ทั้งบนบก ในน้ําจืด น้ําเค็ม หรือในอากาศ ตัวอย่างของอาร์โทรพอด เช่น แมงดา
ทะเล แมงมุม แมงป่อง เห็บ ไร ไรน้ํา เพรียงหิน กุ้ง กั้ง ปู ตะขาบ กิ้งกือ และแมลงต่าง ๆ
2. สมมาตรของร่างกายเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic
animal)
3. ช่องว่างลําตัวแบบแท้จริง (coelomate) และมีรูปแบบการเจริญเป็นแบบโปรโตสโตม (protostomia)
4. มีโครงร่างแข็งภายนอก (exoskeleton) เป็นสารพวกไคติน (chitin) ในการให้ความแข็งแรง
5. อาร์โทรพอดสามารถลอกคราบ (ecdysis) ได้ จึงจัดอยู่ในกลุ่มของ ecdysozoa
6. มีการแบ่งปล้องเป็นแบบแท้จริง (metameric segmentation) และมีการแบ่งส่วนของร่างกาย
(tagmosis) ออกเป็นหลายแบบ เช่น แมลงมีการแบ่งส่วนร่างกายเป็น หัว (head) อก (thorax) ท้อง (abdomen)
7. รยางค์มีลักษณะเป็นคู่และมีลักษณะเป็นข้อ ๆ เรียงต่อกัน (jointed-paired appendages)
8. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด มี haemocoel ลําเลียงโดยมีรงควัตถุพวก hemocyanin หรือ
hemoglobin
9. การแลกเปลี่ยนแก๊สใช้ระบบท่อลม (tracheal system), เหงือก (gill), book lung หรือ book gill
10. การขับถ่ายใช้ Malpighian tubules หรือ green/coxal gland
11. ระบบสืบพันธุ์แบบแยกเพศ (dioecious)
12. บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะมีการเจริญเติบโต เรียกว่า เมตามอร์โฟซิส (metamorphosis)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (53)


การจัดจําแนกอาร์โทรพอด (classfication) สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

ข้อเปรียบเทียบ Merostomata Arachnida Diplopoda Chilopoda Insecta Crustacea


แมงมุม แมง- แมลงกลุ่ม
ตัวอย่างสัตว์ แมงดาทะเล กิ้งกือ ตะขาบ กุ้ง กั้ง ปู
ป่อง เห็บ ไร ต่าง ๆ
Cephalothorax (ส่วนหัวและอกที่ หัว อก Cephalothora
การแบ่งลําตัว หัวกับลําตัว
เชื่อมรวมกัน) กับท้อง ท้อง x กับท้อง
จํานวนขา/รยางค์ ขาเดิน 5 คู่ ขาเดิน 4 คู่ ขา 2 คู่/ปล้อง ขา 1 คู่/ปล้อง ขาเดิน 3 คู่ ขาเดิน 5-6 คู่
จํานวนหนวด ไม่มีหนวด 1 คู่ 2 คู่
การแลกเปลี่ยนแก๊ส Book gill Book lung ระบบท่อลม เหงือก
การขับถ่าย Coxal gland ท่อมัลพิเจียน (Malpighian tubules) Green gland
การเจริญเติบโต โดยตรง ไม่มีระยะ larva มีระยะ larva

u ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (phylum Echinodermata)


ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดาวทะเล (sea star) ดาวเปราะ (basket star) เม่นทะเล (sea urchin)
เหรียญทะเลหรืออีแปะทะเล (sand dollar) ปลิงทะเล (sea cucumber) พลับพลึงทะเลหรือขนนกทะเล (sea lilies)
2. พบประมาณ 13,000 species โดยพบในทะเลเกือบทั้งหมด อาจมีพบในน้ํากร่อยบางชนิด
3. สมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) ในระยะตัวอ่อน แต่ตัวเต็มวัยมีสมมาตรแบบรัศมี
(radial symmetry) นักอนุกรมวิธานถือว่าเป็นสัตว์กลุ่ม bilateria เพราะยึดระยะตัวอ่อนเป็นหลัก
4. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic animals) ช่องว่างลําตัวแบบแท้จริง (coelomate)
5. รูปแบบการเจริญเติบโตจัดเป็นแบบดิวเทอโรสโตม (deuterostomia)
6. มีระบบลําเลียงน้ํา (water vascular system) ภายในร่างกายของดาวทะเล
7. โครงร่างแข็งภายในเป็นแผ่นหินปูน เรียก ossicle เรียงอยู่รอบตัวของกลุ่มเอไคโนเดิร์ม
8. การแลกเปลี่ยนแก๊สอาจใช้ระบบการลําเลียงน้ํา สําหรับในปลิงทะเลมีโครงสร้าง respiratory tree
9. การเคลื่อนที่ใช้หลักการบีบน้ําออกจาก ampulla ทําให้ท่อ tube feet มีลักษณะยืดยาวออก
10. ระบบสืบพันธุ์เป็นแบบแยกเพศ มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
v ไฟลัมคอร์ดาตา (phylum Chordata)
ลักษณะของสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะที่สําคัญที่สุด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคอร์เดต (unique characteristics) คือ
- การมีโนโตคอร์ด (notochord) เป็นแกนค้ําจุนในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
- การมีช่องเหงือก (gill slit) ในตอนเป็นระยะตัวอ่อน ในตัวเต็มวัยอาจจะมีหรือไม่มีอยู่ก็ได้
- การมีเส้นประสาทเป็นท่อกลวงอยู่ทางด้านหลัง (dorsal hollow nerve cord)
- การมีหางที่มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้ออยู่ทางด้านท้ายของลําตัว (muscular postanal tail)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (54) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


2. รูปแบบการเจริญเป็นแบบดิวเทอโรสโตม (deuterostomia)
3. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องแบบแท้จริง (metameric segmentation)
4. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system)
5. มีอวัยวะรับสัมผัสแบบพิเศษอยู่เป็นคู่ (paired special sense organs)
6. การสืบพันธุ์เป็นแบบแยกเพศ
กลุ่มยูโรคอร์ดาตา (Urochordata)
ลักษณะของสัตว์ในกลุ่มยูโรคอร์ดาตาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ เพรียงหัวหอม (tunicate) เพรียงลอย เพรียงสาย
2. ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (sessile animal) แต่ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนที่ได้
3. เพรียงหัวหอมมีเยื่อหุ้มเหนียว ประกอบด้วยเซลลูโลส เรียกว่า ทูนิค (tunic)
4. ตัวอ่อนมีลักษณะสําคัญของคอร์เดตครบทั้ง 4 อย่าง แต่ในตัวเต็มวัยจะเหลือแค่ช่องเหงือก (gill slit)
เท่านั้นที่เห็นชัดเจน สําหรับส่วนของ dorsal hollow nerve cord ลดรูปเหลือแค่ปมประสาท
5. มีระบบ water vascular system มีรูน้ําเข้า (incurrent siphon) และรูน้ําออก (excurrent siphon)
กลุ่มเซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata)
ลักษณะของสัตว์ในกลุ่มเซฟาโลคอร์ดาตาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ แหลนทะเล (amphioxus หรือ lancelet)
2. รูปร่างเรียวยาว แบนทางด้านข้าง ลําตัวใส อยู่ในทะเลดํารงชีวิตโดยการขุดฝังตัวเองอยู่ในทราย
3. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system)
4. กลุ่มเดียวที่มีลักษณะสําคัญของคอร์เดตครบทั้ง 4 ประการ ตลอดช่วงชีวิต
กลุ่มเวอร์ทีบราตา (Vertebrata)
ลักษณะของสัตว์ในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrata) สามารถสรุปได้ดังนี้
1. สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) ทุกชนิด
2. มีลักษณะสําคัญของคอร์เดต 4 ประการ ในช่วงตัวอ่อนเท่านั้น ตอนโตขึ้นอาจลดรูปลงไป
3. มีกะโหลกศีรษะ (skull / cranium) ยกเว้น ในกลุ่มปลาปากกลม
4. ส่วนของ notochord ลดรูปไป (ยกเว้นในกลุ่มปลาไม่มีขากรรไกร) เริ่มมีกระดูกสันหลัง (vertebral
column) ขึ้นมาแทนที่ โดยอาจเป็นกระดูกอ่อน (cartilage) หรือกระดูก (bone) เป็นแกนค้ําจุนหลัก
5. มีระบบปกคลุมผิว (integumentary system) ประกอบด้วยชั้นเอพิเดอร์มิสและชั้นเดอร์มิส
6. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system)
7. มีไตเป็นคู่ (paired kidney) ทําหน้าที่ในการขับถ่าย
8. สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) 10-12 คู่
การจัดจําแนกของสัตว์ในกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ซุปเปอร์คลาสแอนาทา (superclass Agnatha) - กลุ่มปลาที่ไม่มีขากรรไกร
- สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ปลาที่ไม่มีขากรรไกร (jawless fish) ได้แก่ lamprey และ hagfish
- รูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล ไม่มีเกล็ด มีแต่ครีบหลัง ไม่มีครีบอกและครีบท้อง
- แกนค้ําจุนของร่างกายเป็นกระดูกอ่อน (cartilage) มีโนโตคอร์ดตลอดชีวิต

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (55)


2. ซุปเปอร์คลาสนาโทสโตมาตา (superclass Gnathostomata) - กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีขากรรไกรแบ่งเป็น
1.1 กลุ่มปลา (fishes) แบ่งออกได้เป็น 2 คลาสหลัก คือ
- Class Chondrichthyes กลุ่มของปลากระดูกอ่อน
- Class Osteichthyes กลุ่มของปลากระดูกแข็ง
1.2 กลุ่มสัตว์เททราพอด (tetrapod) แบ่งออกได้เป็น 4 คลาสหลัก คือ
- Class Amphibia กลุ่มของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
- Class Reptilia กลุ่มของสัตว์เลื้อยคลาน
- Class Aves กลุ่มของสัตว์ปีก กลุ่ม amniotes
- Class Mammalia กลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ในที่นี้จะอธิบายแยกทีละคลาส ดังนี้
1. คลาสคอนดริกไทอิส (class Chondricthyes)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน เช่น ฉลาม กระเบน ฉนาก
- โครงร่างค้ําจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อน (cartilage) ทั้งหมด
- เหงือกสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงไม่มีแผ่นปิดเหงือก (operculum)
- ปากอยู่ทางด้านล่าง (ventral mouth) หางส่วนบนใหญ่กว่าส่วนล่าง
- ผิวหนังปกคลุมด้วยเกล็ดละเอียด เรียกว่า เกล็ดแบบพลาคอยด์ (placoid scale)
- มีการปฏิสนธิภายใน (internal fertilization) ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว (viviparous animal)
ยกเว้นปลาฉลามจะเป็น ovoviviparous animal
2. คลาสออสเทอิกไทอิส (class Osteichthyes)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆและม้าน้ํา
- โครงร่างค้ําจุนร่างกายเป็นกระดูกแข็ง (bone) ผิวหนังปกคลุมด้วยเกล็ด (scale)
- เหงือกอยู่ภายใน มีแผ่นปิดเหงือก (operculum)
- มีกระเพาะลม (air bladder) ช่วยในการลอยตัว
- หัวใจมี 2 ห้อง เลือดที่มีออกซิเจนต่ําเท่านั้นที่ไหลผ่านหัวใจ จัดเป็นสัตว์กลุ่ม ectotherm
- ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (external fertilization)
3. คลาสแอมฟิเบีย (class Amphibia)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา เช่น กบ เขียด ปาด เขียดงู ซาลามานเดอร์
- ผิวหนังเรียบชื้น ไม่มีเกล็ด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านทางผิวหนังได้
- มีการหายใจด้วยปอดและผิวหนังในระยะตัวเต็มวัย แต่ตัวอ่อนมีการหายใจด้วยเหงือก
- หัวใจมี 3 ห้อง จัดเป็นสัตว์กลุ่ม ectotherm
- ระบบสืบพันธุ์เป็นแบบแยกเพศ มีการปฏิสนธิภายนอก ไข่จะมีวุ้นหุ้มช่วยในการลอยตัว
- บางชนิดในช่วงการเจริญเติบโตสามารถเกิดเมตามอร์โฟซิสได้ (metamorphosis)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (56) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


4. คลาสเรพทิเลีย (class Reptilia)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) เช่น งู กิ้งก่า เต่า จระเข้
- ผิวหนังแห้ง มีเกล็ด (dermal scale) ปกคลุมร่างกาย
- หัวใจ 4 ห้องไม่สมบูรณ์ ยกเว้น จระเข้ มีหัวใจ 4 ห้องสมบูรณ์เป็นสัตว์กลุ่ม ectotherm
- ขับถ่ายของเสียในรูปของกรดยูริก
- สัตว์กลุ่มแรกที่ตัวอ่อนมีถุงน้ําคร่ํา (amnion) ห่อหุ้ม จึงจัดอยู่ในสัตว์กลุ่มแอมนิโอต (amniote)
5. คลาสเอวีส (class Aves)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ สัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ
- ผิวหนังปกคลุมด้วยขนที่มีลักษณะเป็นแผง เรียกว่า feather
- ขาเดินคู่หน้าเปลี่ยนเป็นปีกสําหรับบิน หายใจด้วยปอดมีถุงลมช่วยเก็บอากาศสํารองขณะบินแต่
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส
- ปากมีลักษณะเป็นจงอย ฟันไม่ค่อยเจริญมีหางที่สั้นเพื่อช่วยในการทรงตัวขณะบิน
- หัวใจ 4 ห้องสมบูรณ์ จัดเป็นสัตว์กลุ่ม endotherm
- การปฏิสนธิภายในและมีการออกลูกเป็นไข่ จัดเป็นกลุ่ม amniotes
6. คลาสแมมมาเลีย (class Mammalia)
- สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammal) ชนิดต่าง ๆ
- โครงสร้างเฉพาะของสัตว์กลุ่มนี้ คือ มีต่อมน้ํานม (mammary gland)
- ผิวหนังปกคลุมด้วยขนเป็นเส้น (hair) และมีต่อมเหงื่อ (sweat gland)
- มีใบหู (pinna) ช่วยในการรวมเสียงเข้าสู่ภายในรูหู
- ภายในหูชั้นกลางมีกระดูกหู 3 ชิ้น คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน
- หัวใจมี 4 ห้องโดยสมบูรณ์ เป็นสัตว์กลุ่ม endotherm

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (57)


เก็งขอสอบ
1. พิจารณากระบวนการต่อไปนี้
ก. การหุบของใบกาบหอยแครงเมื่อมีแมลงเคลื่อนที่ผ่าน
ข. การเบนเข้าหาแสงของยอดทานตะวันที่ปลูกไว้ริมหน้าต่าง
ค. การที่พืชที่เป็นไม้ยืนต้นมีความสูงเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ จากการพัฒนาของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
กระบวนการใดต่อไปนี้จัดเป็นการตอบสนอง (responsive process) ของสิ่งมีชีวิต
1) ก. 2) ก. และ ข. 3) ก. และ ค.
4) ข. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.
2. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลําดับการจัดระบบในสิ่งมีชีวิต (biological organization) ได้ถูกต้องที่สุด
1) cell → organ → tissue → system → organism
2) cell → tissue → system → organ → organism
3) cell → tissue → organ → system → organism
4) cell → organ → system → tissue → organism
5) cell → tissue → system → organism → organ
3. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิดเกี่ยวกับเซลล์พืช
1) เซลลูโลสสามารถพบได้ทั้งที่ผนังเซลล์ปฐมภูมิและผนังเซลล์ทุติยภูมิของพืช
2) เซลล์พืชทุกชนิดมีผนังเซลล์ปฐมภูมิ แต่อาจมีหรือไม่มีผนังเซลล์ทุติยภูมิก็ได้
3) ลิกนินและซูเบอรินเป็นสารที่สามารถพบได้เฉพาะในผนังเซลล์ทุติยภูมิ แต่ไม่พบในผนังเซลล์ปฐมภูมิ
4) เซลล์ไฟเบอร์และเซลล์สเคลอรีดมีผนังเซลล์ทุติยภูมิที่เป็นสารพวกลิกนินหรือซูเบอริน
5) เซลล์เทรคีดและเซลล์เวสเซลมีผนังเซลล์ทุติยภูมิที่เป็นสารพวกลิกนิน
4. ถ้านักเรียนต้องการศึกษาเนื้อเยื่อพืชในภาพ ควรเลือกบริเวณใดต่อไปนี้มาศึกษามากที่สุด

1) บริเวณเปลือกไม้ของต้นมะม่วง 2) บริเวณผิวของรากถั่วเขียว
3) บริเวณผิวของรากข้าวโพด 4) บริเวณก้านใบของต้นขึ้นช่าย
5) บริเวณแผ่นใบของต้นหูกวาง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (58) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


5. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลําดับความหนาของผนังเซลล์จากน้อยไปมากได้ถูกต้องที่สุด
1) Collenchyma → Chlorenchyma → Fiber → Stone cell
2) Collenchyma → Chlorenchyma → Stone cell → Fiber
3) Chlorenchyma → Cork cell → Collenchyma → Fiber
4) Collenchyma → Cork cell → Fiber → Stone cell
5) Chlorenchyma → Collenchyma → Fiber → Stone cell
6. ข้อใดต่อไปนี้เปรียบเทียบความแตกต่างของ tracheid และ vessel ได้ถูกต้อง
เทรคีด (tracheid) เวสเซล (vessel)
1) ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนินและซูเบอริน ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน
2) พบได้ในพืชที่มีท่อลําเลียงทุกชนิด พบได้ในพืชเมล็ดเปลือยทุกชนิดและพืชดอก
3) ผนังเซลล์ไม่มีรอยบาง ผนังเซลล์มีรอยบาง
4) ไม่มี perforation plate มี perforation plate
5) ใช้ในการลําเลียงน้ําเพียงอย่างเดียว ใช้ในการลําเลียงทั้งน้ําและแร่ธาตุ
7. พิจารณาภาพถ่ายแสดงลําต้นของ black walnut ตัดตามขวางต่อไปนี้

จากข้อมูลที่กําหนดให้ จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. โครงสร้าง A ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ตายแล้วและมีผนังเซลล์ทุติยภูมิเป็นสารพวกลิกนิน
ข. โครงสร้าง B เป็น primary xylem ที่ไม่ได้ทําหน้าที่ในการลําเลียงน้ําแล้ว
ค. โครงสร้าง C เป็น secondary xylem ที่ยังมีความสามารถในการลําเลียงน้ําได้อยู่
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1) ค. 2) ก. และ ข. 3) ข. และ ค.
4) ก. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.
8. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลําดับของโครงสร้างรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจากด้านนอกเข้ามาด้านในได้ถูกต้อง
1) Epidermis → Cortex → Endodermis → Vascular cylinder → Pericycle → Pith
2) Epidermis → Cortex → Endodermis → Pericycle → Vascular cylinder → Pith
3) Epidermis → Cortex → Endodermis → Pericycle → Pith → Vascular cylinder
4) Epidermis → Endodermis → Cortex → Vascular cylinder → Pericycle → Pith
5) Epidermis → Endodermis → Cortex → Pericycle → Vascular cylinder → Pith

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (59)


9. การศึกษาการลําเลียงอาหารของพืชนิยมใช้เพลี้ย (aphid) ในการศึกษา โดยองค์ประกอบของท่อลําเลียง
อาหารในพืชสามารถตรวจสอบได้โดยการนําสารตัวอย่างจากเพลี้ยออกมาวิเคราะห์ ดังภาพ

ถ้านักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งทําการนําสารตัวอย่างที่ออกมาจากเพลี้ย ไปทําการตรวจสอบกับสารละลาย
เบเนดิกต์และสารละลายไอโอดีน ข้อใดต่อไปนี้ควรเป็นผลการทดลองที่เกิดขึ้น
การทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์
การทดสอบด้วยสารละลายไอโดดีน
ก่อนการเกิดไฮโดรไลซิส หลังการเกิดไฮโดรไลซิส
1) สารละลายสีฟ้า ตะกอนสีแดงอิฐ สารละลายสีน้ําตาล
2) สารละลายสีฟ้า สารละลายสีฟ้า สารละลายสีม่วงแกมน้ําเงิน
3) ตะกอนสีแดงอิฐ สารละลายสีฟ้า สารละลายสีม่วงแกมน้ําเงิน
4) ตะกอนสีแดงอิฐ ตะกอนสีแดงอิฐ สารละลายสีน้ําตาล
10. พิจารณาแผนภาพแสดงการทดลองในเรื่อง mass flow hypothesis ของพืชต่อไปนี้

โครงสร้าง W, X, Y และ Z คือส่วนใดของพืช ตามลําดับ และจะเกิดการเคลื่อนที่ของสารจากด้านใดไปยังด้านใด


Phloem Xylem ราก ใบ ทิศทางการ flow
1) W X Y Z จาก Z ไปยัง Y
2) W X Z Y จาก Y ไปยัง Z
3) X W Y Z จาก Y ไปยัง Z
4) X W Z Y จาก Z ไปยัง Y

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (60) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


11. พืชสายพันธุ์หนึ่งเป็นพืชที่มีการกลายทําให้พืชชนิดนี้ไม่สามารถเปิดปากใบได้ และทําให้ปากใบปิดตลอดเวลา
ข้อใดต่อไปนี้น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพืชกลายพันธุ์ชนิดนี้เทียบกับพืชนิดเดียวกันที่มีลักษณะ
ปกติ
ก. อัตราการลําเลียงซูโครสในท่อโฟลเอ็มเกิดได้น้อยลง
ข. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ palisade mesophyll ของใบพืชเกิดได้น้อยลง
ค. อุณหภูมิภายในต้นของพืชกลายพันธุ์สูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่มีลักษณะปกติ
1) ก. 2) ก. และ ข. 3) ก. และ ค.
4) ข. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.
12. ถ้าเริ่มต้นจาก microspore mother cell และ megaspore mother cell อย่างละ 1 เซลล์ จะได้เซลล์
สืบพันธุ์เพศผู้ (male gamete) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (female gamete) ทั้งหมดกี่เซลล์ ตามลําดับ
จํานวนเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ จํานวนเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
1) 4 เซลล์ 1 เซลล์
2) 4 เซลล์ 2 เซลล์
3) 4 เซลล์ 4 เซลล์
4) 8 เซลล์ 1 เซลล์
5) 8 เซลล์ 4 เซลล์
13. ดอกของพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวที่มีการออกดอกตามซอกกิ่ง มีลักษณะเป็นดอกสมบูรณ์ที่มี
กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 20 อัน และเกสรเพศเมีย 10 อัน โดยเกสรเพศเมียแต่ละ
อันจะมีรังไข่ 1 อันที่มีออวุล 1 อันต่อรังไข่ จากข้อมูลที่กําหนดให้ ข้อใดต่อไปนี้น่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากพืช
ชนิดนี้
1) ผลเดี่ยวที่มีเมล็ด 10 เมล็ด
2) ผลเดี่ยวที่มีผลย่อย 10 ผล
3) ผลกลุ่มที่มีผลย่อย 10 ผล แต่ละผลมี 1 เมล็ด
4) ผลกลุ่มที่ผลย่อยแต่ละผลมีเมล็ด 10 เมล็ด
5) ผลรวมที่มีผลย่อย 10 ผล แต่ละผลมี 1 เมล็ด
14. โดยทั่วไปแล้วในพืชต้นเดียวกัน โครงสร้างใดต่อไปนี้ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรม
เหมือนกับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก (root apical meristem)
1) เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) 2) เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
3) เอ็มบริโอ (embryo) 4) ใบเลี้ยง (cotyledon)
5) เยื่อหุ้มยอดแรกเกิด (coleoptile)
15. โครงสร้างในข้อใดต่อไปนี้เทียบได้กับระยะแกมีโตไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ต
1) pollen และ pollen sac 2) embryo และ embryo sac
3) pollen และ embryo sac 4) embryo และ pollen sac
5) pollen sac และ embryo sac

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (61)


16. ส่วนใดของมะพร้าวที่เซลล์มีจํานวนชุดโครโมโซมเป็น 3n (triploid)
1) จาวมะพร้าว กะลามะพร้าว 2) กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว
3) เนื้อมะพร้าว กะลามะพร้าว 4) เนื้อมะพร้าว น้ํามะพร้าว
5) เนื้อมะพร้าว จาวมะพร้าว
17. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง turgor pressure
1) การเปิดปิดรูปากใบของข้าวโพด
2) การเลื้อยของไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์
3) การแกว่งของปลายยอดพืชในการเติบโต
4) การเคลื่อนไหวตามแรงโน้มถ่วงของรากถั่วเขียว
5) การเคลื่อนที่ของ sperm ไปยัง polar nuclei
18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของฮอร์โมนพืช
1) ฮอร์โมนพืชต้องเป็นสารอินทรีย์ (organic compound)
2) ฮอร์โมนพืชที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องมีการลําเลียงจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งในพืชได้
3) ฮอร์โมนพืชที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องมีผลให้เกิดการตอบสนองทางสรีรวิทยาของเซลล์เป้าหมายได้
4) ฮอร์โมนพืชต้องมีปริมาณและความเข้มข้นต่ําเสมอ
5) ฮอร์โมนพืชจะต้องมีการลําเลียงด้วยการแพร่ในเซลล์ parenchyma ในท่อ xylem หรือ phloem ก็ได้
19. ถ้านักเรียนนําเมล็ดข้าวโพดแช่น้ําเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ฮอร์โมนพืชในข้อใดต่อไปนี้ควรมีปริมาณ
เพิ่มขึ้น และกลูโคสภายในเมล็ดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
ฮอร์โมนพืช ปริมาณกลูโคสในเมล็ด
1) Gibberellins ลดลง
2) Gibberellins เพิ่มขึ้น
3) Auxins ลดลง
4) Auxins เพิ่มขึ้น
5) Abscisic acid ลดลง
20. ปัจจัยในข้อใดต่อไปนี้ใช้ในการกําหนดไบโอมบนบก (terrestrial biome)
1) Latitude และ Longitude 2) Latitude และอุณหภูมิเฉลี่ย
3) Longitude และอุณหภูมิเฉลี่ย 4) ปริมาณน้ําฝนและอุณหภูมิเฉลี่ย
5) Latitude ปริมาณน้ําฝน และอุณหภูมิเฉลี่ย
21. นักนิเวศวิทยาคนหนึ่งทําการวัดจํานวนประชากรกระรอกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าในการจับครั้ง
แรกจับกระรอกได้ทั้งหมด 200 ตัว นักนิเวศวิทยาคนนี้จึงทําการติดเครื่องหมายไว้ทั้งหมดแล้วปล่อย
กลับไป หลังจากนั้นผ่านไปสองสัปดาห์จึงสุ่มจับกระรอก ได้มาทั้งหมด 250 ตัว พบว่ามี 50 ตัวที่มี
เครื่องหมายติดไว้ จากข้อมูลที่กําหนดให้แสดงว่าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกระรอกทั้งหมดประมาณกี่ตัว
1) 100 ตัว 2) 200 ตัว 3) 250 ตัว 4) 400 ตัว 5) 1000 ตัว

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (62) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


22. ปัจจัยในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น density-independent factor ในการจํากัดการเติบโตของประชากร
1) การเพิ่มจํานวนของผู้ล่าทําให้การล่าเพิ่มขึ้น
2) การแข่งขันภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
3) การเพิ่มขึ้นฮอร์โมนเนื่องจากความเครียด
4) การที่ฤดูหนาวในปีนั้นมาถึงเร็วกว่าปกติ
5) การลดลงของพื้นที่ในการวางไข่และสืบพันธุ์
23. ในประชากรแห่งหนึ่งที่มีอัตราการรอดของลูกต่ําและมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงตลอด
ปี ข้อใดต่อไปนี้ควรเป็นลักษณะที่พบในประชากรกลุ่มนี้
1) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวเล็กและมีจํานวนมาก เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็ว
2) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวใหญ่และมีจํานวนมาก เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า
3) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวเล็กและมีจํานวนน้อย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า
4) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวใหญ่และมีจํานวนน้อย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็ว
5) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวใหญ่และมีจํานวนน้อย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า
พิจารณากราฟแสดงการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต (survivorship curve) แล้วตอบคําถามข้อ 24-25

24. ข้อใดต่อไปนี้จับคู่สิ่งมีชีวิตกับกราฟการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตได้ถูกต้องที่สุด
กราฟ A กราฟ B กราฟ C
1) แมวน้ํา ไฮดรา หอยนางรม
2) แมวน้ํา หอยนางรม ไฮดรา
3) ไฮดรา หอยนางรม แมวน้ํา
4) ไฮดรา แมวน้ํา หอยนางรม
5) หอยนางรม ไฮดรา แมวน้ํา
25. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขนาดไซโกตและการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต A และ C
1) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A ใหญ่กว่าของสิ่งมีชีวิต B มาก
2) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A ใหญ่กว่าของสิ่งมีชีวิต B เพียงเล็กน้อย
3) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A เท่ากับของสิ่งมีชีวิต B
4) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A เล็กกว่าของสิ่งมีชีวิต B เพียงเล็กน้อย
5) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A เล็กกว่าของสิ่งมีชีวิต B มาก

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (63)


26. ในบริเวณชายทะเลแห่งหนึ่งที่อยู่ติดกับเขตเกษตรกรรม พบว่ามีการใช้ DDT ในการกําจัดศัตรูพืชจํานวน
มาก ต่อมามีผู้สังเกตพบว่าจํานวนของนกทะเลที่กินปลามีจํานวนลดลงมาก และเปลือกไข่มีลักษณะบางลง
ทําให้ไข่แตกง่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สัมพันธ์กับกระบวนการใดต่อไปนี้มากที่สุด
1) Biodegradation 2) Bioremediation 3) Biomagnification
4) Biotransformation 5) Bioterrorism
27. นักเรียนกลุ่มใช้การสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลงหาความหนาแน่นประชากรของไส้เดือนดินในสนามหญ้า
ทั้งหมดของโรงเรียน แล้วรายงานว่าโรงเรียนแห่งนั้นมีความหนาแน่นไส้เดือนดินเท่ากับ 12 ตัวต่อตาราง
เมตร ความหนาแน่นไส้เดือนดินที่นักเรียนรายงานนั้นจัดเป็นความหนาแน่นประชากรแบบใด
1) ความหนาแน่นที่แท้จริง (true density)
2) ความหนาแน่นอย่างหยาบ (crude density)
3) ความหนาแน่นเชิงนิเวศ (ecological density)
4) ความหนาแน่นเชิงเปรียบเทียบ (relative density)
28. การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด จะรุนแรงที่สุดในกรณีใดต่อไปนี้
1) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นเป็นผู้บริโภคเนื้อสัตว์เหมือนกัน
2) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นเป็นผู้บริโภคลําดับเดียวกันในโซ่อาหาร
3) มีผู้ล่าคอยจํากัดจํานวนประชากรสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นอยู่ตลอดเวลา
4) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการดํารงชีวิตเหมือนกัน
29. เมื่อแหล่งน้ําเกิดยูโทรฟิเคชัน อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้ปลาในแหล่งน้ํานั้นตาย
1) แบคทีเรียเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว
2) แสงสว่างไม่สามารถส่องผ่านลงไปในน้ําได้
3) แก๊สออกซิเจนที่ละลายน้ําลดลงจนหมดไปในที่สุด
4) สาหร่ายและพืชน้ําเจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว
30. แบคทีเรียในลําไส้ปลวก Microcerotermes sp. อาศัยและเจริญอยู่ในลําไส้ปลวกโดยย่อยสลายลิกโน
เซลลูโลสในเยื่อไม้ที่ปลวกกินเข้าไป แบคทีเรียชนิดนี้และปลวกมีความสัมพันธ์กันแบบใด
1) ภาวะปรสิต 2) ภาวะอิงอาศัย
3) ภาวะพึ่งพา 4) ภาวการณ์ได้ประโยชน์ร่วมกัน
5) ภาวะล่าเหยื่อ
31. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลําดับขั้นการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตจากกลุ่มใหญ่สุดไปเล็กสุดได้ถูกต้องที่สุด
1) Family → phylum → class → kingdom → order → species → genus
2) Kingdom → phylum → class → order → family → genus → species
3) Kingdom → phylum → class → family → order → genus → species
4) Phylum → kingdom → order → class → species → family → genus
5) Phylum → family → class → order → kingdom → genus → species

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (64) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


32. ข้อใดต่อไปนี้เขียนชื่อวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องตามหลัก binomial nomenclature
1) Burkholderia Thailandensis Brett, 1998
2) Burkholderia thailandensis Brett, 1998
3) Burkholderia thailandensis Brett, 1998
4) Burkholderia thailandensis Brett, 1998
5) Burkholderia Thailandensis Brett, 1998
33. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของสิ่งมีชีวิตใน domain Eubacteria
1) สิ่งมีชีวิตในกลุ่ม eubacteria อาจมีหรือไม่มีผนังเซลล์ก็ได้ ถ้ามีจะเป็นสารพวก peptidoglycan
2) สิ่งมีชีวิตในกลุ่ม eubacteria อาจสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงหรือสังเคราะห์ทางเคมีก็ได้
3) แฟลเจลลาเป็นโครงสร้างที่ไม่สามารถพบได้ใน domain Eubacteria
4) การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตใน domain Eubacteria จะเป็นการแบ่งเป็นสอง (binary fission)
5) สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตใน domain Eubacteria ที่พบในนิวคลีออยด์เป็น DNA ทั้งหมด
34. สิ่งมีชีวิตในกลุ่มใดต่อไปนี้ที่มีบรรพบุรุษร่วมใกล้ชิดกับพืชบก (land plant) มากที่สุด
1) สาหร่ายสีแดง 2) สาหร่ายสีเขียว 3) สาหร่ายสีน้ําตาล
4) ไดโนแฟลเจลเลต 5) ไซยาโนแบคทีเรีย
35. ยูคาริโอตกลุ่มใดต่อไปนี้ที่พบเฉพาะสมาชิกที่มีการดํารงชีวิตแบบปรสิตเท่านั้น
1) Euglenozoan 2) Apicomplexans 3) Amoebozoans
4) Dinoflagellates 5) Slime mold
36. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. เฟิร์นใบมะขามสามารถสร้างสปอร์ได้แบบเดียว (homosporous plant)
ข. ส่วนของ prothallium ในเฟิร์นก้านดําเทียบเท่ากับเรณูของพืชดอก
ค. Strobilus ที่พบในตีนตุ๊กแกสามารถสร้างสปอร์ได้ 2 ขนาด (heterosporous plant)
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1) ก. 2) ก. และ ข. 3) ก. และ ค.
4) ข. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.
37. ลักษณะในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช้ในการจําแนกสัตว์จากหลักฐานทางด้านพันธุศาสตร์โมเลกุล
1) จํานวนชั้นของเนื้อเยื่อแรกเกิด 2) สมมาตรของร่างกาย
3) ลักษณะของโพรงลําตัว 4) ชนิดและรูปแบบของตัวอ่อน
5) รูปแบบของการเจริญของ blastopore
38. ลักษณะในข้อใดต่อไปนี้พบในสัตว์ที่มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)ทั้งหมด
ก. การมีชั้นเนื้อเยื่อแรกเกิด 3 ชั้น
ข. การมีโพรงลําตัวแบบแท้จริง
ค. การวิวัฒนาการของอวัยวะรับสัมผัส
1) ก. 2) ก. และ ข. 3) ก. และ ค.
4) ข. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (65)


39. สัตว์ชนิดหนึ่งมีการสร้างเปลือกแข็งเป็นสารพวกหินปูน ไม่มีการลอกคราบได้ อาศัยอยู่ในทะเล บางชนิดมี
ฟันที่เป็นสารพวกไคทินสําหรับขูดอาหาร จากข้อมูลที่กําหนดให้ต่อไปนี้น่าจะเป็นลักษณะของสัตว์ในไฟลัมใด
1) Phylum Platyhelminthes 2) Phylum Annelida 3) Phylum Nematoda
4) Phylum Mollusca 5) Phylum Arthropoda
40. เกณฑ์ในข้อใดต่อไปนี้สามารถจําแนกกลุ่มของปลาฉลามออกจากปลากะพงได้
ก. ลักษณะและชนิดของเกล็ด
ข. การมีกระเพาะลม (swim bladder)
ค. ตําแหน่งของปากเทียบกับลําตัว
1) ก. 2) ก. และ ข. 3) ก. และ ค.
4) ข. และ ค. 5) ก., ข. และ ค.

เฉลย
1. 2) 2. 3) 3. 4) 4. 4) 5. 5) 6. 4) 7. 1) 8. 2) 9. 1) 10. 2)
11. 4) 12. 4) 13. 3) 14. 2) 15. 3) 16. 4) 17. 1) 18. 5) 19. 2) 20. 4)
21. 5) 22. 4) 23. 1) 24. 5) 25. 4) 26. 3) 27. 2) 28. 4) 29. 3) 30. 3)
31. 2) 32. 2) 33. 3) 34. 2) 35. 2) 36. 5) 37. 3) 38. 3) 39. 4) 40. 5)

1. เฉลย 2) ก. และ ข.
ข้อ ก. การหุบของใบกาบหอยแครงเมื่อมีแมลงเคลื่อนที่ผ่าน เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดย
มีการเคลื่อนที่ของแมลงจัดเป็นสิ่งเร้า
ข้อ ข. การเบนเข้าหาแสงของยอดทานตะวันที่ปลูกไว้ริมหน้าต่าง เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
โดยมีแสงเป็นสิ่งเร้า
ข้อ ค. ไม่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แต่เป็นคุณสมบัติในการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
2. เฉลย 3) cell → tissue → organ → system → organism
การจัดระบบในสิ่งมีชีวิต สามารถเรียงได้ดังนี้
cell → tissue → organ → system → organism
3. เฉลย 4) เซลล์ไฟเบอร์และเซลล์สเคลอรีดมีผนังเซลล์ทุติยภูมิที่เป็นสารพวกลิกนินหรือซูเบอริน
เซลล์ไฟเบอร์และเซลล์สเคลอรีดมีผนังเซลล์ทุติยภูมิที่มีลิกนินเท่านั้น ไม่พบซูเบอริน
4. เฉลย 4) บริเวณก้านใบของต้นขึ้นช่าย
เนื้อเยื่อที่เห็นในภาพเป็นเนื้อเยื่อคอลเลนไคมา (collenchyma) ซึ่งพบได้ตามมุมของลําต้น
ก้านใบ และใบพืชบางชนิด ดังนั้นเนื้อเยื่อในภาพจึงสามารถพบได้ที่บริเวณก้านใบของต้นขึ้นช่าย

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (66) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


5. เฉลย 5) Chlorenchyma → Collenchyma → Fiber → Stone cell
ความหนาของผนังเซลล์สามารถเรียงได้ดังนี้
Chlorenchyma (parenchyma) → Collenchyma → Fiber → Stone cell (sclereid)
6. เฉลย 4) เทรคีด (tracheid) = ไม่มี perforation plate และเวสเซล (vessel) = มี perforation plate
1) ผิด เพราะทั้งเทรคีดและเวสเซลมีเฉพาะลิกนิน ไม่พบซูเบอริน
2) ผิด เพราะเวสเซลพบได้เฉพาะในพืชดอก และพืชเมล็ดเปลือยกลุ่ม gnetum เท่านั้น
3) ผิด เพราะทั้งเทรคีดและเวสเซลมีรอยบาง (pit)
5) ผิด เพราะทั้งเทรคีดและเวสเซลใช้ในการลําเลียงน้ําและแร่ธาตุ
7. เฉลย 1) ค.
ข้อ ก. ผิด เพราะโครงสร้าง A เป็นเปลือกไม้ มีเซลล์คอร์กซึ่งมีซูเบอรินอยู่ที่ผนังเซลล์ทุติยภูมิ
ข้อ ข. ผิด เพราะโครงสร้าง B คือ แก่นไม้ (heart wood)ซึ่งจัดเป็น secondary xylem
ข้อ ค. ถูก เพราะโครงสร้าง C คือ กระพี้ (sap wood)ซึ่งเป็น secondary xylem ที่ยังทํางานได้อยู่
8. เฉลย 2) Epidermis → Cortex → Endodermis → Pericycle → Vascular cylinder → Pith
โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจากด้านนอกเข้ามาด้านใน เรียงได้ดังนี้
Epidermis → Cortex → Endodermis → Pericycle → Vascular cylinder → Pith
9. เฉลย 1) ก่อนการเกิดไฮโดรไลซิส = สารละลายสีฟ้า และหลังการเกิดไฮโดรไลซิส = ตะกอนสีแดงอิฐ
และการทดสอบด้วยสารละลายไอโดดีน = สารละลายสีน้ําตาล
จากภาพแสดงการดูด phloem sap ของเพลี้ย ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่เป็นองค์ประกอบอยู่ใน
phloem sap จะเป็นซูโครส (sucrose) เป็นหลัก ซึ่งเมื่อทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์จะให้ผลลบ
(สารละลายสีฟ้า และไม่เกิดตะกอนสีแดงอิฐ) แต่เมื่อนําไปทําการไฮโดรไลซิสได้เป็นกลูโคสและฟรักโทสจะ
ให้ผลบวกกับสารละลายเบเนดิกต์ (เกิดตะกอนสีแดงอิฐ) และเมื่อทดสอบกับสารละลายไอโอดีนจะให้ผลลบ
เช่นกัน (สารละลายสีน้ําตาล)
10. เฉลย 2) Phloem = W, Xylem = X, ราก = Z, ใบ = Y และทิศทางการ flow = จาก Y ไปยัง Z
W คือ phloem X คือ xylem ส่วนราก คือ Z (มี sucrose น้อยกว่า) และใบ คือ Y
(มี sucrose มากกว่า) การลําเลียงใน phloem จึงเกิดจากทิศ Y ไป Z ตามแนวคิดการลําเลียงเรื่อง bulk
flow (pressure flow)
11. เฉลย 4) ข. และ ค.
เมื่อปากใบของพืชปิดตลอดเวลา ทําให้พืชไม่สามารถนําแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาในใบได้
อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ palisade mesophyll ของใบจะเกิดได้ลดลง ขณะเดียวกันพืชไม่มีการคายน้ํา
ทําให้อุณหภูมิภายในต้นพืชกลายพันธุ์สูงกว่าพืชปกติ เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนผ่านการคายน้ําได้
12. เฉลย 4) จํานวนเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ = 8 เซลล์ และจํานวนเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย = 1 เซลล์
1 microspore mother cell สามารถผลิตได้ 4 microspore และเรณู 4 อัน ตามลําดับ โดย
เรณูแต่ละอันจะสามารถผลิตเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ 2 เซลล์ดังนั้น 1 microspore mother cell
จึงสามารถผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ได้ทั้งหมด 8 เซลล์
1 megaspore mother cell สามารถผลิตได้ 1 megaspore โดย megaspore แต่ละอันจะ
สามารถผลิตเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย1 เซลล์ดังนั้น 1 megaspore mother cell จึงสามารถผลิตเซลล์
สืบพันธุ์เพศเมียได้ทั้งหมด 1 เซลล์

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (67)


13. เฉลย 3) ผลกลุ่มที่มีผลย่อย 10 ผล แต่ละผลมี 1 เมล็ด
จากข้อมูลที่กําหนดให้ ดอกของพืชชนิดนี้เป็นดอกเดี่ยว ที่มีเกสรเพศเมีย 10 อัน บนดอก
เดียวกัน ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลกลุ่มเท่านั้น โดยแต่ละผลย่อยมี 1 เมล็ด เพราะ รังไข่ 1 อัน มีออวุล 1 อัน
14. เฉลย 2) เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นโครงสร้างเดียวในตัวเลือกที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อของต้นแม่
โดยตรง (เจริญมาจากส่วน integument ใน ovule) ส่วนตัวเลือกที่เหลือเป็นผลลัพธ์มาจากการปฏิสนธิ
ดังนั้นจึงมีเฉพาะเปลือกหุ้มเมล็ดเท่านั้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณ
ปลายราก (root apical meristem)
15. เฉลย 3) pollen และ embryo sac
แกมีโทไฟต์เพศผู้ของพืชดอก คือ เรณู (pollen)
แกมีโทไฟต์เพศเมียของพืชดอก คือ ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)
16. เฉลย 4) เนื้อมะพร้าว น้ํามะพร้าว
เนื้อมะพร้าวและน้ํามะพร้าวเป็นเนื้อเยื่อ endosperm ที่มีจํานวนชุดโครโมโซมเป็น 3n
17. เฉลย 1) การเปิดปิดรูปากใบของข้าวโพด
การเปิดปิดรูปากใบของพืชเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor pressure)
18. เฉลย 5) ฮอร์โมนพืชจะต้องมีการลําเลียงด้วยการแพร่ในเซลล์ parenchyma ในท่อ xylem หรือ
phloem ก็ได้
ฮอร์โมนพืชมีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์
2. ฮอร์โมนพืชสามารถลําเลียงจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้
3. ฮอร์โมนพืชมีปริมาณและความเข้มข้นต่ํา
4. ฮอร์โมนพืชต้องมีผลทําให้เกิดการตอบสนองทางสรีรวิทยาของเซลล์เป้าหมายได้
19. เฉลย 2) ฮอร์โมนพืช = Gibberellins และปริมาณกลูโคสในเมล็ด = เพิ่มขึ้น
เมื่อนําเมล็ดข้าวโพดซึ่งมีการสะสมแป้งในเนื้อเยื่อ endosperm จะทําให้มีการหลั่ง gibberellins
เพิ่มขึ้น แล้วมีการกระตุ้นเอนไซม์ในการสลายแป้งที่สะสมในเมล็ดให้กลายเป็นกลูโคส ดังนั้นกลูโคสในเมล็ด
จึงมีปริมาณเพิ่มขึ้น
20. เฉลย 4) ปริมาณน้ําฝนและอุณหภูมิเฉลี่ย
ปัจจัยที่ใช้ในการกําหนดไบโอมบนบก คือ ปริมาณน้ําฝนและอุณหภูมิเฉลี่ย
21. เฉลย 5) 1000 ตัว
นักนิเวศวิทยาสามารถประเมินขนาดประชากรในเทคนิคการจับทําเครื่องหมายแล้วปล่อย ได้จากสูตร
จํานวนของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด = จํานวนของสัตว์ที่จับได้ครั้งแรก × จํานวนของสัตว์ที่จับได้ครั้งหลัง
จํานวนของสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ในครั้งหลัง
ดังนั้น จํานวนของกระรอกทั้งหมด = (200 × 250)/50 = 1000 ตัว

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (68) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


22. เฉลย 4) การที่ฤดูหนาวในปีนั้นมาถึงเร็วกว่าปกติ
ปัจจัยที่เป็น density-independent factor คือ ปัจจัยที่ความหนาแน่นของประชากรไม่มีผล
ต่อความรุนแรงของปัจจัยนั้น ดังนั้นการที่ฤดูหนาวมาถึงเร็วกว่าปกติซึ่งไม่สัมพันธ์กับความหนาแน่นของ
ประชากรจึงเป็นปัจจัยที่เป็น density-independent factor
23. เฉลย 1) สมาชิกในประชากรจะมีลูกขนาดลําตัวเล็กและมีจํานวนมาก เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็ว
ถ้าประชากรสิ่งมีชีวิตอยู่ในที่ที่มีอัตราการรอดของลูกต่ําและมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
รุน แรงตลอดปี สมาชิกในประชากรควรมีลูกขนาดเล็กแต่มีจํานวนมากเพื่อเพิ่มโอกาสรอดในประชากร
นอกจากนี้การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วจะช่วยให้สามารถแพร่พันธุ์ได้ไวขึ้น โอกาสรอดในประชากรเพิ่มขึ้น
24. เฉลย 5) กราฟ A = หอยนางรม, กราฟ B = ไฮดรา และกราฟ C = แมวน้ํา
กราฟ A มีอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตในช่วงต้นสูง เช่น หอยนางรม
กราฟ B มีอัตราการตายคงที่ตลอดช่วงชีวิต เช่น ไฮดรา
กราฟ C มีอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตในช่วงท้ายสูง เช่น แมวน้ํา
25. เฉลย 4) ขนาดของไซโกตของสิ่งมีชีวิต A เล็กกว่าของสิ่งมีชีวิต B เพียงเล็กน้อย
สิ่งมีชีวิตที่มีอัตราการตายในช่วงแรกสูง (สิ่งมีชีวิตในกราฟ A) ควรมี zygote ขนาดเล็กกว่า
ของสิ่งมีชีวิตที่มีอัตราการตายคงที่ (สิ่งมีชีวิตในกราฟ B) เล็กน้อย เพื่อให้มีจํานวนของเอ็มบริโอและตัว
อ่อนเพิ่มขึ้นและมีโอกาสอยู่รอดในประชากรมากขึ้นได้
26. เฉลย 3) Biomagnification
Biomagnification เป็นกระบวนการที่มีการสะสมสารพิษต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละลําดับ
ขั้นการกินอาหาร (trophic level) ดังนั้นการสะสม DDT ที่มีผลกับจํานวนนกทะเลและเปลือกไข่ที่บางลง
ของนกทะเล ซึ่ ง เป็ น สั ต ว์ ที่ อ ยู่ ใ นลํ า ดั บ ขั้ น การกิ น อาหารสู ง ๆ จึ ง เป็ น ผลมาจากกระบวนการ
biomagnification
27. เฉลย 2) ความหนาแน่นอย่างหยาบ (crude density)
การรายงานขนาดของประชากรเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด ถือว่าเป็นการหาความหนาแน่นอย่าง
หยาบ (crude density) ซึ่งแตกต่างจากการหาความหนาแน่นเชิงนิเวศ (ecological density) ที่เป็นการ
หาขนาดของประชากรเทียบกับพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่จริง (พื้นที่บริเวณสนามหญ้าของโรงเรียน)
28. เฉลย 4) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการดํารงชีวิตเหมือนกัน
การแก่ ง แย่ ง (competition) ของสิ่ ง มี ชี วิ ต เป็ น ผลมาจากการที่ สิ่ ง มี ชี วิ ต สองชนิ ด มี ค วาม
ต้องการของปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการดํารงชีวิตเหมือนกัน (niche overlap)
29. เฉลย 3) แก๊สออกซิเจนที่ละลายน้ําลดลงจนหมดไปในที่สุด
การเกิด eutrophication ทําให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายน้ําลดลงและทําให้น้ําเน่าเสียได้
30. เฉลย 3) ภาวะพึ่งพา
แบคทีเรียได้รับอาหารและที่อยู่อาศัย ส่วนปลวกมีแบคทีเรียที่ช่วยย่อย lignocellulose ได้
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียและปลวงจึงเป็นภาวะพึ่งพา (mutualism)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (69)


31. เฉลย 2) Kingdom → phylum → class → order → family → genus → species
การเรียงลําดับขั้นการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตจากใหญ่ไปเล็กสามารถเรียงได้ ดังนี้
Kingdom → phylum → class → order → family → genus → species
32. เฉลย 2) Burkholderia thailandensis Brett, 1998
เขียนชื่อถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature)
33. เฉลย 3) แฟลเจลลาเป็นโครงสร้างที่ไม่สามารถพบได้ใน domain Eubacteria
แฟลเจลลัมสามารถพบได้ใน eubacteria แต่องค์ประกอบจะแตกต่างจากของยูคาริโอต โดยใน
eubacteria จะประกอบขึ้นจากโปรตีนแฟลเจลลิน (flagellin protein) ส่วนของยูคาริโอตจะประกอบขึ้น
จากไมโครทูบูลเรียงตัวกัน
34. เฉลย 2) สาหร่ายสีเขียว
สาหร่ายสีเขียว (green algae) มีความใกล้ชิดกับพืชบก (land plant) มากที่สุด
35. เฉลย 2) Apicomplexans
Apicomplexan มีสมาชิกเป็นโพรโทซัว Plasmodium spp. ที่ทําให้เกิดโรคมาลาเรีย
36. เฉลย 5) ก., ข. และ ค.
คําตอบถูกต้องทุกข้อ
37. เฉลย 3) ลักษณะของโพรงลําตัว
ลักษณะโพรงลําตัว (coelom) ไม่ได้ใช้ในการจัดจําแนกสัตว์ที่อาศัยหลักฐานทางพันธุศาสตร์
โมเลกุล
38. เฉลย 3) ก. และ ค.
การมีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) เป็นลักษณะที่มีวิวัฒนาการสัมพันธ์กับการ
มีเนื้อเยื่อแรกเกิด (germ layer) 3 ชั้น และการวิวัฒนาการของอวัยวะรับสัมผัส (sense organ)
39. เฉลย 4) Phylum Mollusca
จากข้อมูลที่กําหนดให้เป็นลักษณะของสัตว์ใน phylum Mollusca
40. เฉลย 5) ก., ข. และ ค.
ทุกข้อสามารถใช้ในการแยกความแตกต่างของปลาฉลามและปลากะพงได้
- ปลาฉลามมีเกล็ดละเอียด (placoid scale) ส่วนปลากะพงจะมีเกล็ดขนาดใหญ่ (ctenoid scale)
- ปลาฉลามไม่มีกระเพาะลม ส่วนปลากะพงมีกระเพาะลม
- ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านท้อง (ventral mouth) ส่วนปลากะพงมีปากอยู่ทางด้านหน้า
(anterior mouth)

————————————————————

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (70) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


จุดสําคัญชีววิทยา (BIO FOCUS)
จับเขาคุย…ชีววิทยา สไตลครูกาแฟ
ธรรมชาติของวิชานี้ นักเรียนทราบโดยทั่วกันว่าเนื้อหาอัดแน่นบางตําราเขียน 23 บท บางตําราเขียน 20 บท
หรื อ 19 บท ก็ ว่ า กั น ไปขึ้ น อยู่ ว่ า ผู้ เ ขี ย นจะจั ด กลุ่ ม จั ด เรี ย งเนื้ อ หาอย่ า งไร เนื้ อ หาชี ว วิ ท ยามาแบบเต็ ม ที่
ศัพท์เทคนิคภาษากรีก ภาษาละติน รากศัพท์มากมาย เหมาะสําหรับนักเรียนสายถึก สายอึด
แท้ที่จริงวิชาชีววิทยา ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเราเพราะศาสตร์นี้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง องค์ประกอบ
กลไกการทํางานของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเราเองก็นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งในโลก ครูอยากให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเข้าใจ
และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันมากกว่าที่จะจําทื่อๆ เพื่อทําข้อสอบ สอบๆ จบๆ ให้ผ่านๆ
ส่วนในการทําข้อสอบที่นักเรียนเป็นกังวลนั้น ไม่อยากให้เครียดมาก เราลองหยิบกระดาษสักแผ่นมานั่ง
สกัด นั่งวาดผัง ดูสารบัญเนื้อหาอีกครั้ง เอาข้อสอบเก่า มานั่งดูแนวโน้ม บทไหนออกมาก ออกน้อย เทียบเวลา
ที่เหลือ จัดทําปฏิทินการอ่านหนังสือ การทําแบบฝึกหัด ที่สําคัญถ้าเนื้อหาหรือศัพท์มันจําได้ยาก ก็ลองทําความ
เข้าใจสมองของเราเองว่าชอบจําแบบไหน วาดภาพ แต่งกลอน เขียนรหัส ตัดคําย่อๆ สั้นๆ หรือเปล่า นี่เป็น
เทคนิคที่ครูเองก็ใช้อยู่ อยากฝากไว้ในใจให้ขบคิด “คนที่สอบติดไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่เป็นคนที่พร้อมที่สุด
ต่างหาก”

O-NET (ชีววิทยา)
ออกเนื้อหาพื้นฐานที่สายวิทย์ สายศิลป์เรียนคล้ายๆ กัน อยู่รวมในฉบับของวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งในฉบับ
ข้อสอบ นักเรียนจะพบเจอทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ มาในรูปแบบข้อคําถามที่
หลากหลาย การทดลอง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีข้อสอบแบบปรนัย 5 ตัวเลือกและข้อสอบแบบ
เชิงซ้อนตอบ ใช่/ไม่ใช่

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (71)


วิชาสามัญ (ชีววิทยา)
ออกเนื้อหาทุกบทของชีววิทยา มัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คําถามจะไม่ซับซ้อนมาก แต่ก็ถือว่ายากพอตัว
จํานวนข้อสอบเยอะ เมื่อเทียบกับเวลาที่ให้มา นับว่าเป็น speed test เลย Trick ในการทําข้อสอบนี้ จะมี
keyword ซ่อนในตัวเลือกค่อนข้างเด่น
ในเอกสารฉบับนี้ครูกาแฟเลือกหัวข้อชีววิทยาพื้นฐานที่เด็กๆ จําเป็นในการทําแบบทดสอบเท่านั้นนะครับ
เนื้อหาเพิ่มเติมเด็กๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมในส่วนอื่นของตํารานี้ครับ

BIO FOCUS
BIO FOCUS 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ในส่วนนี้นักเรียนต้องเข้าใจลักษณะพื้นฐาน 7 ลักษณะของสิ่งมีชีวิต โดยครูมีรหัสลับให้ดังนี้ สืบ สาร
เติบ เร้า ดุล เพาะ ระบบ โดยข้อสอบอาจมีรูปภาพหรือข้อความแล้วให้นักเรียนอนุมานว่าแสดงถึงลักษณะใดของ
สิ่งมีชีวิต
• สืบ : สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ (reproduction) (แบบอาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศ)
• สาร : ต้องการสารอาหารและมีปฏิกิริยาภายในเซลล์ (metabolism)
• เติบ : เจริญเติบโต (growth and development)
• เร้า : ตอบสนองต่อสิ่งเร้า(response)
• ดุล : รักษาดุลยภาพ/ภาวะธํารงดุล เพื่อความอยู่รอด (homeostasis)
• เพาะ : มีลักษณะจําเพาะ (individual) โดย DNA เป็นสารพันธุกรรม มี gene เป็นหน่วยควบคุม
• ระบบ : มีการจัดระบบ (organization) เรียงจากซับซ้อนน้อยไปซับซ้อนมาก

ภาพแสดงการจัดระบบ (organization) ของสิ่งมีชีวิต

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (72) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


BIO FOCUS 2 การศึกษาชีววิทยา
พื้นฐานที่สําคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ รวมถึงชีววิทยา เพราะข้อสอบปัจจุบันนิยมยกสถาการณ์หรือ
การทดลองมาให้นักเรียนวิเคราะห์หรือกําหนดตัวแปร ดังนั้น Focus นี้สําคัญมาก
• กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดําเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ (scientific method)
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skills)
3) จิตวิทยาศาสตร์ (scienctific mind)
• จุดเน้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทํางานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหา
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ สามารถสรุปเป็นแผนผังดังนี้
ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา

ขั้นตั้งสมมติฐาน

ขั้นการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบสมมติฐาน

ขั้นวิเคราะห์และสรุปผล

• ตัวแปร (Variable) ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท


1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ต้องการศึกษาหรือ
เป็นสาเหตุของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม (Controlled Variable) หมายถึง ตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการ ทดลองและไม่
ต้องการศึกษาผลของตัวแปรเหล่านี้จึงตองควบคุมให้คงที่การควบคุมตัวแปรเหล่านี้ต้องจัดชุดทดลองเป็น 2 ชุด คือ
• ชุดทดลอง (Experimental Group) หรือชุดทดสอบ (Treated Group) ใช้ศึกษาผลของตัว แปรต้น
• ชุดควบคุม (Controlled Group) ใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบกับชุดทดลอง เพื่อสนับสนุนผล
การทดลองว่าเกิดจากตัวแปรต้นที่ตั้งสมมติฐานไว้จริง

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (73)


• สาขาทางชีววิทยา (Biology & Mojors)
ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) ประกอบด้วยสาขาต่างๆ มากมาย สาขาที่
เกี่ยวข้องกับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายที่น่าสนใจ เช่น

แขนงวิชาทางชีววิทยา ลักษณะการศึกษา
Anatomy (กายวิภาคศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
Biochemistry (ชีวเคมี) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการเปลี่ยนแปลของสารชีวโมเลกุลใน
สิ่งมีชีวิต
Botany (พฤกษศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับพืช
Cytology (เซลล์วิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์
Ecology (นิเวศวิทยา) ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสิ่ ง มี ชี วิ ต ด้ ว ยกั น และสิ่ ง มี ชี วิ ต กั บ
สิ่งแวดล้อม
Entomology (กีฏวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับแมลง
Embryology (คัพภวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต
Evolution (วิวัฒนาการ) ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเปลี่ยนแปลของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Genetics (พันธุศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายถอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
Microbiology (จุลชีววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์
Morphology (สัณฐานวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง โครงสร้างของร่างกาย
Physiology (สรีรวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่การทํางานของอวัยวะในร่างกาย
Taxonomy (อนุกรมวิธาน) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ การตั้งชื่อและการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต
Zoology (สัตววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์
• กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการศึกษาชีววิทยาและช่วยให้เรามองเห็นในสิ่งที่เล็กมากๆ
อีกด้วย กล้องจุลทรรศน์สามารถขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตาให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า
เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น
ประเภทของกล้องจุลทรรศน์ ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope)
1.1 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา (Simple Light Microscope) ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิด
คือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพบนวัตถุอย่างชัดเจน ทําให้
เกิดภาพแบบ 2 มิติ เป็นภาพเสมือนหัวกลับ กลับซ้ายเป็นขวา

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (74) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


1.2 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (Stereo Light Microscope) เป็นกล้องที่ประกอบด้วย
เลนส์ที่ทําให้เกิดภาพแบบ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้
กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย และใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน (Electron Microscope) เป็นกล้องที่ใช้อิเล็กตรอนความถี่สูง
ให้การทํางานแทนแสง สามารถขยายได้ถึง 500,000 เท่า จนเห็นโมเลกุลที่อยู่ในโครงสร้างต่างๆ ได้เลย
2.1 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope)
เรียกย่อว่า TEM เอิร์น รุสกา สร้างได้เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในเซลล์โดย
ลําแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งต้องมีการเตรียมแบบพิเศษและบางเป็นพิเศษด้วย
ทําให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ 2 มิติ
2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope)
เรียกย่อว่า SEM เอ็ม วอน เอนเดนนี สร้างสําเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2481 ใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของวัตถุที่นํามา
ศึกษา โดยลําแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิววัตถุ ทําให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ 3 มิติ
ตัวอย่างภาพจากกล้องแบบต่างๆ

Simple Light Microscope Stereo Light Microscope TEM SEM


ตารางเปรียบเทียบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
สิ่งเปรียบเทียบ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ตัวกลางที่ใช้ส่องผ่านวัตถุ ลําแสงธรรมดา ลําอิเล็กตรอน
เลนส์ในตัวกล้อง เลนส์แก้ว เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า
ตัวกล้อง มีอากาศ สุญญากาศ
เลนส์รวมแสง เลนส์แก้ว เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า
ระบบถ่ายเทความร้อน ไม่ต้องใช้ ใช้น้ํา
ภาพที่ได้ ภาพเสมือนหัวกลับ ภาพจริงปรากฏบนจอรับภาพ
เซลล์ที่ใช้ศึกษา มีชีวิตหรือตายแล้ว ตายแล้ว
กําลังขยายสูงสุด 1,000 เท่า 500,000 เท่า
ขนาดวัตถุเล็กสุด 0.2 ไมโครเมตร 0.0005 ไมโครเมตร

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (75)


BIO FOCUS 3 เคมีที่เปนพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เรื่องนี้ Focus ลูกครึ่งนะครับ เพราะเป็นชีวะและเคมี นักเรียนต้องวิเคราะห์ให้ได้เกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล
สารอินทรีย์ อนินทรีย์ หมู่ฟังก์ชัน พันธะ พอลิเมอร์ มอนอเมอร์ หน้าที่ แหล่งที่พบ การทดสอบสาร
สารชีวโมเลกุล (Biomolecule)
หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือเซลล์ ภายในเซลล์มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมี
หลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดนั่นคือ อะตอม รวมกันเป็นธาตุ สารประกอบ
ชนิดของสารเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. สารอนินทรีย์ (inorganic substance) ได้แก่ water, mineral
2. สารอินทรีย์ (organic substance) ได้แก่ carbohydrate, lipid, protein, nucleic acid และ vitamin

องค์ประกอบของสารต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
สารชีวโมเลกุล คือ สารเคมีต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอนและ
ไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยทั่วไปมีขนาดโมเลกุลใหญ่ เมื่อเทียบกับโมเลกุลทั่วไป พบอยู่ในสิ่งมีชีวิต
1. สารอนินทรีย์ (inorganic substance)
สารอนินทรีย์ เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กและไม่ให้พลังงาน
น้ํา (water)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (76) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


แร่ธาตุ (mineral)
แร่ธาตุ เป็นสารอนินทรีย์ที่ร่างกายนํามาใช้เป็นส่วนประกอบของสารอินทรีย์ เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และ
โปรตีนต่างๆ แร่ธาตุที่สิ่งมีชีวิตต้องการจะอยู่ในรูปของไอออน เช่น โซเดียมไอออน (Na+) โพแทสเซียมไอออน
(K+) แคลเซียมไอออน (Ca+) ไนเตรตไอออน (NO3-) ไอออนเหล่านี้จะละลายในน้ํา รากพืชจะสามารถดูดซึม
นําไปใช้ประโยชน์ได้
ในร่างกายคน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยธาตุ C H O และ N ซึ่งมีปริมาณรวมกัน 90% ของน้ําหนักตัว
ซึ่งมักอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆ ส่วนที่เหลืออีก 4-5% ของน้ําหนักตัว จะเป็นเกลือแร่ต่างๆ ที่จําเป็นต่อ
การดํารงชีวิตที่อยู่ในรูปของไอออน
2. สารอินทรีย์ (organic substance)
สารอินทรีย์ที่พบมากในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า สารชีวโมเลกุล (biological molecular) มีโครงสร้างพื้นฐานที่
สําคัญเหมือนกัน คือ มีคาร์บอน (C) และ ไฮโดรเจน (H) เป็นองค์ประกอบ โดยมีคาร์บอนเป็นแกนกลาง กลุ่ม
ของอะตอมที่มาเกาะ หรือจับกับคาร์บอนที่เป็นแกนนี้เรียกว่า หมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่
กําหนดสมบัติ และความสามารถในการทําปฏิกิริยาเคมีของโมเลกุลนั้นๆ
ตารางแสดงหมู่ฟังก์ชันที่พบในสารอินทรีย์บางชนิด
หมู่ฟังก์ชัน (functional group)
ชื่อ โครงสร้าง แหล่งที่พบ
ไฮดรอกซิล (hydroxyl) sugar, glycerol
คาร์บอกซิล (carboxyl) fatty acid, amino acid

คาร์บอนิลกลุ่มคีโตน (ketone) sugar

คาร์บอนิลกลุ่มอัลดีไฮด์ sugar
(aldehyde)
อะมิโน (amino) amino acid, protein

ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl) amino acid, protein


ฟอสเฟต (phosphate) phospholipid, nucleotide, nucleic acid

R แทนหมู่อะตอมไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (77)


สารชีวโมเลกุลโดยส่วนใหญ่ เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ (macromolecules)
Polymer เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยหน่วยย่อย (monomer) ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
การเกิดและการแตกสลาย polymer มีหลักคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่ polymer เกิดจากปฏิกิริยา
condensation ของ monomer ซึ่งมีการสูญเสียน้ํา (บางครั้งอาจเรียกว่าเป็นปฏิกิริยา dehydration) ในการ
แตกสลายของ polymer ต้องมีการนําน้ําเข้าไปใช้ในปฏิกิริยา จึงเรียกปฏิกิริยานี้ว่า hydrolysis

แผนภาพแสดงการสร้างและสลายโมเลกุลขนาดใหญ่
https://www.bioexplorer.net/dehydration-synthesis.html/
คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)

การเรียงตัวของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน เป็นแบบ polyhydroxy aldehyde โดยน้ําตาลที่มีหมู่


aldehyde group เรียกว่า น้ําตาลแอลโดส (aldose) และ polyhydroxy ketone ซึ่งมีหมู่ ketone group
จึงเรียกน้ําตาลที่มีหมู่คีโตนว่า น้ําตาลคีโตส (ketose)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (78) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลเล็กส่วนใหญ่ละลายน้ําได้ เพราะพันธะระหว่าง O และ H ในหมู่ไฮดรอกซิลเป็นแบบ
มีขั้ว คล้ายในโมเลกุลของน้ํา
ประเภทของคาร์โบไฮเดรต
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยใช้จํานวนโมเลกุลของมอนอแซคคาไรด์เป็นเกณฑ์ ดังนี้
1. มอนอแซคคาไรด์ (monosaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กสุด ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เลยมีสูตรทั่วไป
เป็น (CH2O)n โดย n มีจํานวนตั้งแต่ 3–7 การเรียกชื่อมักเรียกตามจํานวนอะตอมของคาร์บอน (C) เช่น
จํานวนคาร์บอนอะตอม สูตรโมเลกุล ชื่อน้ําตาล ตัวอย่าง
3 (tri) C3H6O3 Triose ไดไฮดรอกซีอะซีโตน, กลีเซอรัลดีไฮด์
4 (tetra) C4H8O4 Tetrose เอริโทรส, เอริทูโลส
5 (penta) C5H10O5 Pentose ไรโบส, ดีออกซีไรโบส, ไรบูโลส
6 (hexa) C6H12O6 Hexose กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส
7 (hepta) C7H14O7 Heptose ซีโดเฮฟทูโลส

มอนอแซคคาไรด์ที่มีความสําคัญ ได้แก่
1) น้ําตาลเพนโทส (pentose sugar) ได้แก่
• น้ําตาลไรโบส (ribose sugar) มีสูตรเป็น C5H10O5 เป็นส่วนประกอบสําคัญในโมเลกุลของ
RNA ซึ่งมีความสําคัญในการสังเคราะห์ไรโบโซมและโปรตีน
• น้ําตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose) มีสูตรเป็น C5H10O4 มีความสําคัญเนื่องจากเป็น
ส่วนประกอบของ DNA ซึ่งเป็นส่วนประกอบสําคัญอยู่ใน chromosome ทําหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์

น้ําตาลเพนโทส ที่พบบ่อยในอาหาร เช่น arabinose และ xylose พบในผลไม้และผักที่มีหัวอยู่ใต้ดิน


2) น้ําตาลเฮกโซส (hexose sugar) ได้แก่

Glucose Galactose Fructose

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (79)


Monosaccharide โดยเฉพาะ glucose และ isomer ส่วนใหญ่มักมีช่วงชีวิตภายในเซลล์สั้น ถ้าไม่ถูก
สลายเพื่อปลดปล่อยพลังงานเคมีมาใช้ในการทําปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ ก็มักจะไปจับกันเองโดยกระบวนการ
dehydration เพื่อสังเคราะห์ disaccharide หรือ polysaccharide
2. โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยว ตั้งแต่ 2-10 โมเลกุล ได้แก่
ไดแซกคาไรด์ (disaccharide) เกิดจาก monosaccharide 2 โมเลกุล จับกันด้วยพันธะโควาเลนต์
มีชื่อเรียกเฉพาะว่า glycosidic bond หรือ glycosidic linkage อาจเป็น α หรือ β ขึ้นกับว่า ขณะที่จับกันนั้น
-OH บน C1’ อยู่ที่ตําแหน่งใด ตัวอย่างเช่น
• มอลโทส (maltose) หรือ malt sugar เกิดจากการรวมตัวของกลูโคส 2 โมเลกุล พบในต้นข้าวมอลต์
ที่กําลังเจริญ ในต้นถั่ว และได้จากการย่อยแป้ง

C6H12O6 + C6H12O6 dehydration C12H22O11 + H2O


• ซูโครส (sucrose) เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสกับฟรักโทส พบในอ้อย หัวบีท อาจเรียกว่า
น้ําตาลทราย หรือน้ําตาลอ้อย

C6H12O6 + C6H12O6 dehydration C12H22O11 + H2O


• แลกโทส (lactose) เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสกับกาแลกโทส พบในน้ํานม และอาจพบใน
ปัสสาวะของหญิง มีครรภ์ ในน้ํานมจะมีแลกโทสอยู่ประมาณ 2-6%

C6H12O6 + C6H12O6 dehydration C12H22O11 + H2O

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (80) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


3. โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบมากที่สุด ประกอบด้วยมอนอแซคคาไรด์หลายๆโมเลกุลต่อกันด้วยพันธะ
glycosidic bond การต่อกันมีทั้งที่เป็นสายโซ่ยาวหรือแตกกิ่งก้านสาขา มีสูตรทั่วไปคือ (C6H10O5)n สารพวกนี้
ไม่เป็นผลึก ไม่มีรส และไม่ละลายน้ํา แบ่งออกเป็น
1) โพลีแซคคาไรด์แบบสะสม (storage polysaccharide) เป็นอาหารสะสมของสิ่งมีชีวิต เช่น
• แป้ง (starch) เป็นผลผลิตที่พืชสร้างขึ้นเพื่อเก็บสะสมไว้ มีมากในเมล็ดธัญพืช หรือราก ลําต้น
สะสมอาหารของพืช เป็นสารประกอบผสมระหว่างโมเลกุลของโพลีแซคคาไรด์ 2 ชนิด คือ amylase และ amylopectin
ƒ amylose ประกอบด้วยกลูโคสจับกันด้วยพันธะ α1, 4 glycosidic linkage ประมาณ
250-300 โมเลกุล ดังนั้น amylose จึงมีลักษณะเป็นสายยาวไม่แตกแขนง
ƒ amylopectin ต่างจาก amylase ตรงที่โครงสร้างโมเลกุลมีการแตกสาขา โดยสายยาวหลักเป็น
กลูโคสจับกันด้วย α1, 4 glycosidic linkage และทุกๆ ประมาณ 24-30 โมเลกุลของกลูโคสก็จะมีสาขาออกไป

• ไกลโคเจน (glycogen) เป็นโพลีแซคคาไรด์ที่สะสมอยู่ในเซลล์ของสัตว์ เช่น เซลล์ตับ และกล้ามเนื้อ


เกิดจากกลูโคสมาต่อกันเป็นสายยาว โครงสร้างมีการแตกสาขามากมาย คือมีสาขาแตกออกมาทุกๆ ประมาณ
10-12 โมเลกุล และละลายน้ําได้ดีกว่าแป้งของพืช ในระหว่างที่ไม่ได้รับประทานอาหาร ไกลโคเจนในตับจะสลาย
ได้กลูโคสแล้วปล่อยสู่กระแสเลือด เป็นการรักษาความเข้มข้นของกลูโคสในเลือดให้ค่อนข้างคงที่

glycogen

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (81)


2) โพลีแซคคาไรด์แบบโครงสร้าง (structure polysaccharide) เป็นโครงสร้างที่สําคัญของ
สิ่งมีชีวิต เช่น
• เซลลูโลส (cellulose) ทําหน้าที่เป็นโครงสร้างที่สําคัญที่สุดชนิดหนึ่งโดยเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่
ของผนังเซลล์ (cell wall) โมเลกุลประกอบด้วยกลูโคสหลายๆ หน่วยจับกันเช่นเดียวกับแป้ง แต่การจัดตัวของ
พันธะที่ยึดกลูโคสในเซลลูโลสจะเป็น β - glycosidic bond นอกจากนี้โมเลกุลของเซลลูโลสยังสามารถจัดเรียง
ขนานกันเป็นเส้นใยยาว แต่ละเส้นยึดกันไว้ด้วยพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) เซลล์พืชมักมีเส้นใยเซลลูโลส
จัดเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทํามุมต่างๆ กันสานไปมา ทําให้เซลล์พืชมีความแข็งแรง และทนทานต่อการฉีกขาดดีมาก

• ไคติน (chitin) เป็นสารประกอบสําคัญของเปลือกแข็งหุ้มตัว


ภายนอก (exoskeleton) ของสัตว์ ขาปล้อง เช่นแมลง กุ้ง ปู เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบที่ผนังเซลล์ของเห็ดราหลายชนิด ประกอบด้วยกลูโคสจับ
กันเป็นสายยาวเหมือนเซลลูโลสทุกอย่าง แต่ต่างกันที่กลูโคสแต่ละโมเลกุล
มีการดัดแปลงไปโดย –OH กลุ่มหนึ่งจะถูกแทนด้วยหมู่ฟังก์ชันที่มี N เป็น
องค์ประกอบ เช่น N-acetyl glycosamine
ลิพิด (lipid)
คําว่า lipid หมายถึง สารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ํา แต่ละลายได้ดีในตัวทําละลาย
อินทรีย์ (เบนซิน ครอโรฟอร์ม อีเธอร์) ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน แต่อัตราส่วน
ระหว่าง H : O ≠ 2 : 1 ไม่เหมือนในคาร์โบไฮเดรตที่ H : O = 2 : 1
ประเภทของลิพิด
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยใช้ลักษณะของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ ดังนี้
1. ลิพิดเชิงเดี่ยว (simple lipid)
ประกอบจากกลีเซอรอล(glycerol)และกรดไขมัน(fatty acid) รวมเรียกว่า กลีเซอไรด์ (glyceride)
ซึ่งถ้าอยู่ในสภาพของเหลวจะเป็นน้ํามัน (oil) แต่ถ้าอยู่ในสภาพที่เป็นของแข็งเรียกว่า ไขมัน (fat)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (82) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โครงสร้างของลิพิดเชิงเดี่ยว
ประกอบด้วย
- กลีเซอรอล (glycerol)
เป็นแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม และ
มี hydroxyl group (-OH) 3 หมู่

- กรดไขมัน (fatty acid)


ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็น
สายตรงยาว หรื อเรี ย กว่ า สายของไฮโดร-
คาร์บอน โดยมีปลายด้านหนึ่งเป็น carboxyl
group (-COOH) เสมอ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง
เป็นหมู่ฟังก์ชัน –CH3 หรือหมู่ R

จากโครงสร้างทางเคมีของกรดไขมันทําให้อาจบอกได้ว่าส่วนไฮโดรคาร์บอน (CH2)n และส่วน R เป็น


ส่วนที่ไม่ชอบน้ํา แต่ส่วน -COOH ซึ่งมี -OH อยู่ และมีขั้ว เป็นส่วนที่ชอบน้ํา
กลีเซอไรด์ (glyceride) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1.1 มอนอกลีเซอไรด์ (monoglyceride) ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล และกรด
ไขมัน (fatty acid) 1 โมเลกุล
1.2 ไดกลีเซอไรด์ (diglyceride) ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล และกรดไขมัน (fatty
acid) 2 โมเลกุล
1.3 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล และกรดไขมัน
(fatty acid) 3 โมเลกุล
• ชนิดของกรดไขมัน (fatty acid)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระดับความอิ่มตัว
1) กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่ยึดระหว่างอะตอมของ
คาร์บอน (C) ในหมู่ไฮโดรคาร์บอน จึงสามารถรับอะตอมของไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุลได้อีก มีจุดหลอมเหลวต่ํา
ละลายได้ง่าย เรียก น้ํามัน (oil) เช่น น้ํามันมะกอก (น้ํามันพืช มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ยกเว้นน้ํามันมะพร้าว)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (83)


2) กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ยึดระหว่างอะตอมของ
คาร์บอน (C) ในหมู่ไฮโดรคาร์บอน จึงไม่สามารถรับอะตอมของไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุลได้อีก เช่น ไขมันสัตว์
และน้ํามันมะพร้าว จะมีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่มาก

• ชนิดของกรดไขมัน (fatty acid)


แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามความต้องการของร่างกาย
1) กรดไขมันจําเป็น (Essential fatty acid) คือ กรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้
แต่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ได้แก่ linoleic acid, linolenic acid,
arachidonic acid
2) กรดไขมันที่ไม่จําเป็น (Nonessential fatty acid) คือ กรดไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้
มีอยู่ในอาหารพวกไขมันทั่วไป ได้แก่ butylic acid, palmitic acid
2. ลิพิดเชิงประกอบ (Complex lipid)
ประกอบด้วย ลิพิดเชิงเดี่ยวที่อยู่รวมกับสารประกอบชนิดอื่นๆ มี 3 ชนิด คือ
2.1 ฟอสโฟลิพิด (phospholopid) เป็นลิพิดที่มีหมู่ฟอสเฟต (phosphate group) และแอลกอฮอล์
เพิ่มขึ้นมากจากลิพิดเชิงเดี่ยว เป็นสารประกอบที่พบในเซลล์ทุกชนิด เพราะส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของ
เยื่อหุ้มเซลล์ นอกจากนี้ยังพบในเนื้อเยื่อประสาท ไข่แดง

2.2 ไกลโคลิพิด (glycolipid) เป็นลิพิดที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย พบมากในเยื่อหุ้ม


เซลล์ของสมองและเซลล์ประสาท นอกจากนี้ยังพบที่อวัยวะอีกหลายแห่ง เช่น ไต ตับ และม้าม
2.3 ลิโพโปรตีน (lipoprotein) เป็นลิพิดที่มีโปรตีน หรือกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบส่วนประกอบ
ของเยื่อหุ้มเซลล์ และทําหน้าที่ขนส่งไขมันในเลือด

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (84) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


3. อนุพันธ์ลิพิด (Derived lipid)
เป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างแตกต่างจากลิพิดทั่วไปประกอบด้วยอะตอมของ C จัดตัวเป็นวงเกี่ยวกัน
4 วง ซึ่งจะมี 3 วงที่ประกอบด้วย C 6 อะตอม และวงที่ 4 ประกอบด้วย C 5 อะตอม ได้แก่ สเตอรอยด์ (steroid)
ตัวอย่างสารสเตอรอยด์ เช่น โคเลสเตอรอล (cholesterol) พบเฉพาะในสัตว์ ไม่มีในพืช ใช้ในการ
สังเคราะห์วิตามินดี เทสโทสเตอโรนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศ

Cholesterol

โปรตีน (protein)
โปรตีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบมากในเซลล์ หรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอันดับ 2 รองจากน้ํา โดย
เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน (amino acid) เชื่อมติดกัน
ด้วยพันธะ เพปไทด์ (peptide bond)
ส่วนประกอบของโปรตีน

amino group carboxyl group

ƒ ประกอบด้วยมอนอเมอร์ คือ กรดอะมิโน (amino acid)


ƒ โครงสร้างพืน
้ ฐานของกรดอะมิโน ประกอบด้วยอะตอมของ C เป็นแกน 1 อะตอม จับกับหมู่ฟังก์ชัน
4 หมู่ คือ
- H
- NH2 เรียก หมู่อะมิโน (amino group)
- COOH เรียก หมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group)
- R group เรียกหมู่ตัวแปร (variable group)
ƒ ดังนั้นโปรตีนทุกโมเลกุลจึงประกอบด้วย C H O และ N
ƒ ในกรดอะมิโนต่างชนิดกันจะมี –H, -NH2, -COOH เหมือนกันหมด แต่ –R จะต่างกัน

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (85)


• ชนิดของกรดอะมิโน (amino acid)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามความต้องการของร่างกาย
1) กรดอะมิโนที่จําเป็น (Essential amino acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถ
สังเคราะห์ขึ้นได้ จึงต้องได้รับจากอาหาร ได้แก่ Lysine, Leucine, Isoleucine, Methionine, Phenylalanine,
Threonine, Tryptophan,Valineในทารกเพิ่ม Histidine และ Arginine ด้วย เพราะถึงแม้ร่างกายจะสามารถ
สังเคราะห์ได้ แต่มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2) กรดอะมิโนที่ไม่จําเป็น (Nonessential amino acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถ
สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน หรือสารอินทรีย์อื่นๆ ได้แก่ Alanine, Arginine, Asparagine, Aspartic acid,
Glutamic, Glycine, Proline, Serine, Tyrosine
แสดงสูตรโครงสร้างของกรดอะมิโน 20 ชนิด

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (86) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ความสําคัญของโปรตีนต่อสิ่งมีชีวิต
1. ทําหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอ
2. ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น โปรตีน actin และ myosin เป็นองค์ประกอบของเซลล์
กล้ามเนื้อ
3. เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่อร่างกายรองจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
4. โปรตีนบางชนิดทําหน้าที่เป็นเอนไซม์ (enzyme) และเอนไซม์ทุกชนิดมีโครงสร้างเป็นเอนไซม์
ซึ่งปฏิกิริยาในร่างกายสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เพราะมีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง
5. ทําหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง เช่น ฮีโมโกลบินบนเซลล์เม็ดเลือดแดงลําเลียง O2
6. โปรตีนบางชนิดเป็นสารพิษ เช่น พิษอหิวาห์ (cholera toxin) ซึ่งจะเปลี่ยนคุณสมบัติของเยื่อหุ้ม
เซลล์ในลําไส้ พิษงู ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ที่ย่อยพวกไขมัน
7. โปรตีนบางชนิด เช่น immunoglobulin ทําหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย
กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
กรดนิ ว คลี อิ ก เป็ น สารอิ น ทรี ย์ ที่ สํ า คั ญ ของสิ่ ง มี ชี วิ ต ทุ ก ชนิ ด
พบในปี ค.ศ. 1870 โดย Friedrich Miesher จากนิวเคลียสของเซลล์
หนอง และพบว่ามีคุณสมบัติเป็นกรดจึงตั้งชื่อว่า nucleic acid หมายถึง
กรดในนิวเคลียส
กรดนิ ว คลี อิ ก เป็ น สารอิ น ทรี ย์ ที่ มี โ มเลกุ ล ใหญ่ แ ละซั บ ซ้ อ น
ประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) มาเชื่อมต่อกัน
ด้วยพันธะโควาเลนต์ที่เรียกว่า phosphodiester bond ระหว่าง -OH ของ
คาร์บอนตําแหน่งที่ 3 และ phosphate group ของคาร์บอนตําแหน่งที่ 5
ของอี ก นิ ว คลี โ อไทด์ ห นึ่ ง เป็ น สายยาว เรี ย กว่ า โพลี นิ ว คลี โ อไทด์
(polynucleotide)
ส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก
นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (87)


1. Nitrogenous base แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.1 Purine โครงสร้างมี 2 วง ได้แก่ adenine (A)
และ guanine (G)
1.2 Pyrimidine โครงสร้างมี 1 วง ได้แก่ cytosine (C)
thymine (T) และ uracil (U)
2. Pentose sugar ได้แก่
2.1 Ribose sugar มีสูตรเป็น C5H10O5
2.2 Deoxyribose sugar มีสูตรเป็น C5H10O4
3. Phosphate group

ชนิดของกรดนิวคลีอิก
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามชนิดของน้ําตาล
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง DNA และ RNA
ส่วนประกอบ DNA (deoxyribonucleic acid) RNA (ribonucleic acid)
1. Nitrogenous base adenine (A) guanine (G) cytosine (C) และ adenine (A) guanine (G)
thymine (T) cytosine (C) และ uracil (U)
2. Pentose sugar Deoxyribose sugar Ribose sugar
3. Phosphate group Phosphate Phosphate
4. Structure 2 polynucleotides พันกันคล้ายบันไดเวียน 1 polynucleotide (สายเดี่ยว)
5. Function ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สังเคราะห์โปรตีน

DNA ทั้ง 2 สายยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะ hydrogen bond ระหว่างคู่เบสที่อยู่บนสายตรงข้ามเป็นคู่ๆ กัน


ไป การจับคู่เบส Aกับ T และ C กับ G เรียกว่า คู่สม (base pair) โดยหันด้านที่มีเบสเข้าข้างใน (เปรียบเหมือน
ขั้นบันได) ส่วนโครงสร้างของน้ําตาลเพนโทส และฟอสเฟตอยู่ด้านนอก (เปรียบเหมือนราวบันได)
ความสําคัญของกรดนิวคลีอิกต่อสิ่งมีชีวิต
1. DNA ทําหน้าที่สร้าง RNA ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรม
2. RNA ทําหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน
3. ATP (Adenosine triphosphate) จัดเป็นสารนิวคลีโอไทด์ที่ทําหน้าที่เก็บสะสมพลังงาน และ
สามารถปล่อยพลังงานออกมาได้

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (88) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


วิตามิน (vitamin)
วิตามิน หมายถึง สารอินทรีย์ที่สําคัญต่อชีวิต วิตามินเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย
แต่ไม่สามารถขาดได้ถ้าขาดจะทําให้ระบบต่างๆ ของร่างกายผิดปกติหรือเกิดโรคต่างๆ ได้
ประเภทของวิตามิน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามคุณสมบัติในการละลาย
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ vitamin A D E และ K ดูดซึมและลําเลียงโดยระบบน้ําเหลือง
วิตามินเหล่านี้ถ้าได้รับมากๆ มักเกิดการสะสมในร่างกาย ถ้าขาดจะแสดงความผิดปกติช้า
2. วิตามินที่ละลายในน้ํา ได้แก่ vitamin B และ C ดูดซึมโดยระบบเลือด วิตามินเหล่านี้ไม่สะสมใน
ร่างกาย จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าขาดจะแสดงออกความผิดปกติเร็ว
วิตามินเป็นสารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้จึงจําเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน
หากได้รับวิตามินในปริมาณน้อยจะทําให้ร่างกายขาดวิตามินได้ซึ่งจะมีผลทําให้ระบบของร่างกายผิดปกติ

BIO FOCUS 4 เซลลของสิ่งมีชีวิต


ถ้าเคมีสิ่งที่เล็กสุด คือ อะตอม ชีววิทยาก็คงเป็น เซลล์ที่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดเช่นกัน ข้อสอบอาจถาม
ทฤษฎีเซลล์ โครงสร้าง องค์ประกอบ การจําแนกประเภทของเซลล์ การเปรียบเทียบโครงสร้างเซลล์
การลําเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ รวมถึงการติดต่อระหว่างเซลล์
• แผนผังแสดงส่วนประกอบของเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล
(Plasma Membrane)
ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์
Ribosome
Rough
Endoplasmic
(Cell Wall)
Mitochondrion Reticulum
Cytoplasm Plasma
Membrane สารเคลือบเซลล์
Microtubules
(Part of Cytoskeleton)
Lysosome เยื่อหุ้มนิวเคลียส
(Nuclear Membrane) นิวคลีโอลัส (Nucleolus)
นิวเคลียส
(Nucleus)
สารในนิวเคลียส โครมาทิน (Chromatin)
Nucleus (Nucleoplasm)
Smooth Nucleolus
Endoplasmic
Reticulum
Chromatin
Nuclear Pore ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคลู มั (ER)
Free Ribosome Nuclear Envelope
Golgi Complex
Centriole
ไรโบโซม (Ribosome)
ไซโทชอล
ไซโทพลาซึม (Cytosol) กอลจิบอดี (Golgi Body)
(Cytoplasm)
ออร์แกเนลล์ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
(Organelle)
พลาสติด (Plastid)

เซนทริโอล (Centriole)

ไลโซโซม (Lysosome)

แวคิวโอล (Vacuole)

ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)

เพอร์ออกซิโซม (Peroxisome)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (89)


• ตารางแสดงองค์ประกอบของโครงสร้างเซลล์แบบยูคาริโอต

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (90) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


จําแนกเซลล์ตามเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Membrane) สามารถแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เซลล์โพรแคริโอต (Prokaryote Cell) คือ เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส พบในสิ่งมีชีวิตอาณาจักร
มอเนอรา (Kingdom Monera) เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน
2. เซลล์ยูแคริโอต (Eukaryote Cell) คือ เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น
สาหร่าย อะมีบา เห็ด ยีสต์ พืช สัตว์ เป็นต้น

ภาพแสดงโครงสร้างเซลล์โพรคาริโอตกับเซลล์ยูคาริโอต
ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างเซลล์โพรคาริโอตกับเซลล์ยูคาริโอต

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (91)


การเปรียบเทียบระหว่างเซลล์พืชกับเซลล์สัตว์ (Comparison Of Plant & Animal Cells)

ภาพโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์พืช ภาพโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์สัตว์
ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืช เซลล์สัตว์
(Plant Cell) (Animal Cell)
โครงสร้างภายนอก
1. ผนังเซลล์ มี ไม่มี
2. เยื่อหุ้มเซลล์ มี มี
3. แฟลกเจลลัมหรือซิเลีย ไม่มี (ยกเว้นสเปิร์มของพืชบางชนิด) มี (ในบางเซลล์)
โครงสร้างภายใน
1. นิวเคลียส มี มี
2. ไรโบโซม มี มี
3. ไลโซโซม ไม่มี มี
4. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มี มี
5. กอลจิคอมเพล็กซ์ มี มี
6. แวคิวโอล มี มี
7. เซนทริโอล ไม่มี มี
8. ไซโทสเกเลตอน มี มี
9. ไมโทคอนเดรีย มี มี
10. คลอโรพลาสต์ มี ไม่มี

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (92) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ชนิดของรอยต่อและการสื่อสารระหว่างเซลล์ (Cell junction)
เป็นโครงสร้างที่เซลล์ใช้ในการยึดติดกันระหว่างเซลล์

• พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata) ในเซลล์พืช ช่วยให้ไซโทพลาสซึมระหว่างเซลล์แพร่ถึงกัน


ทําให้สารต่างๆ ในไซโทพลาสซึมเกิดการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเซลล์
• ไทท์จังชัน (tight junction) ในเซลล์สัตว์ เป็นโครงสร้างที่เกิดจากเยื่อหุ้มเซลล์ที่อยู่ติดกัน เกิดการ
รวมตัวกันป้องกันการรั่วไหลของ ของเหลวภายในเซลล์และนอกเซลล์เข้าหากัน
• เดสโมโซม (desmosome) ในเซลล์สัตว์ ทําหน้าที่ตรึงเซลล์เข้าด้วยกัน โดยมี อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์
ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ เดสโมโซม
• แกพจังชัน (gap junction) ในเซลล์สัตว์ เป็นช่องที่เกิดขึ้นระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันทําให้สารและ
โมเลกุลสามารถเคลื่อนที่จาก เซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งกระแสไฟฟ้า สามารถเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีก
เซลล์หนึ่ง โดยผ่านทางแกพจังชัน
การแบ่งเซลล์ (CELL DIVISION)
การเพิ่มจํานวนเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ผลของการแบ่งเซลล์ทําให้เซลล์มีขนาดเล็กลง ทําให้สิ่งมีชีวิต
ชนิดนั้นเจริญเติบโตหรือสร้างเซลล์สืบพันธุ์
วัฏจักรของเซลล์ (Cell Cycle) คืออะไร
วัฏจักรของเซลล์ คือ วงจรการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์รุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน
เซลล์รุ่นเก่าที่หมดอายุขัยหรือเสียหายไป ซึ่งพบในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเท่านั้น
วัฏจักรของเซลล์ประกอบด้วย 3 ระยะหลัก
1. ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) มี 3 ระยะย่อยตามลําดับ ดังนี้
1.1 ระยะ G1 (First gap) เป็นระยะก่อนการสร้าง DNA ซึ่งเซลล์มีการเจริญเติบโตเต็มที่ ระยะนี้
จะมีการสร้างสารบางอย่าง เพื่อใช้สร้าง DNA ในระยะต่อไป
1.2 ระยะ S (Synthesis) เป็นระยะที่มีการสังเคราะห์ DNA หรือมีการจําลองโครโมโซม อีก 1 เท่าตัว
1.3 ระยะ G2 (Second gap) เป็นระยะหลังสร้าง DNA ซึ่งเซลล์มีการเจริญเติบโต และ
เตรียมพร้อมที่จะแบ่งโครโมโซม และไซโทพลาซึมต่อไป

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (93)


2. ระยะไมโทซิส (Mitosis) มี 4 ระยะย่อยตามลําดับ ดังนี้
2.1 โพรเฟส (Prophase)
2.2 เมทาเฟส (Metaphase)
2.3 แอนาเฟส (Anaphase)
2.4 เทโลเฟส (Telophase)
3. ระยะแบ่งไซโทพลาซึม (Cytokinesis)

แผนภาพแสดงวัฏจักรเซลล์
G0 คืออะไรเอ่ย
ในเซลล์บางชนิดจะมีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น เซลล์เนื้อเยื่อของพืช เซลล์ไขกระดูกเพื่อสร้างเม็ด
เลือดแดง เซลล์เยื่อบุผิว ดังนั้นเซลล์พวกนี้จะอยู่ในวัฏจักรของเซลล์ตลอดเวลา แต่เซลล์อีกบางชนิดเมื่อมีการ
แบ่งตัวเสร็จแล้วจะไม่มีการแบ่งตัวอีกต่อไป ได้แก่ เซลล์ประสาท โดยจะเข้าสู่ระยะ G0 อย่างถาวรจนกระทั่ง
เซลล์ชราภาพ (Cell Aging) และตายไป (Cell Death) ในที่สุดหรืออาจกลับมาแบ่งตัวได้หากมี การกระตุ้น เช่น
Parenchyma ของพืช
MITOSIS VS MEIOSIS

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (94) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ลักษณะเปรียบเทียบ ไมโทซิส ไมโอซิส
1. วัตถุประสงค์ของการแบ่ง เพื่อเพิ่มจํานวนเซลล์ เพื่อลดจํานวนโครโมโซม
2. จํานวนครั้งในการแบ่งนิวเคลียส 1 ครั้ง 2 ครั้ง
3. จํานวนเซลล์ลูกที่ได้ต่อ 1 เซลล์แม่ 2 เซลล์ 4 เซลล์
4. จํานวนโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ลูก เท่าเซลล์แม่ เป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์แม่
5. ปริมาณดีเอ็นเอ (สารพันธุกรรม) เท่าเซลล์แม่ เป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์แม่
6. ข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ลูก เหมือนกับเซลล์แม่ทุกประการ แตกต่างจากเซลล์แม่
7. ตัวอย่างแหล่งที่พบ ผิวหนัง กระเพาะอาหาร อัณฑะ รังไข่ของคน อับเรณู
ไขกระดูก บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ และรังไข่ของพืชดอก
ของพืช (ปลายยอด ปลายราก)

ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing Over) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน (สารพันธุกรรม) ระหว่างโฮโมโลกัส-


โครโมโซม (Homologous Chromosome) ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะโพรเฟส I ของไมโอซิส ส่งผลต่อความ
หลากหลายของสิ่งมีชีวิต
• การลําเลียงสารเข้าออกจากเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์ (Plasma Membrane) เป็นโครงสร้างของเซลล์ ที่ทําหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ผ่าน
เข้า-ออกของสารระหว่างภายในเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะดังนี้
- ประกอบด้วยสารหลัก 2 ชนิด คือ ฟอสโฟลิพิด และโปรตีนโดยฟอสโฟลิพิด
- จัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น ซึ่งจะหันส่วนที่ไม่ชอบน้ํา (ส่วนหาง) เข้าหากัน และหันส่วนที่ชอบน้ํา
(ส่วนหัว) ออกจากกัน โดยมีโมเลกุลของโปรตีนกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของฟอสโฟลิพิด
- เยื่อหุ้มเซลล์จึงมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable Membrane)

ภาพแสดงโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (95)


การเคลื่อนทีข่ องสารเข้า-ออกเซลล์

การเคลื่อนทีแ่ บบผ่านเยื่อหุม้ เซลล์ การเคลื่อนทีแ่ บบไม่ผ่านเยื่อหุม้ เซลล์

การเคลื่อนทีแ่ บบพาสซิฟ การเคลื่อนทีแ่ บบแอกทีฟ เอนโดไซโทซิส เอกโซไซโทซิส


(Passive Transport) (ACtive Transport) (Endocytosis) (Exocytosis)

1. การแพร่ (Diffusion) 1. ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)


2. การแพร่แบบซิลิเทด 2. ฟิโนไซโทซิส (Pinocytosis)
(Facilitaaed Diffusion) 3. การนําสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ
3. ออสโมซิส (Osmosis) (Receptor-Mediated Endocytosis)

แผนผังแสดงรูปแบบการเคลื่อนที่ของสารเข้า-ออกเซลล์
• การเคลื่อนที่ของสารเข้า-ออกเซลล์
1. การเคลื่อนที่แบบผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านฟอสโฟลิพิดหรือโปรตีนของ
เยื่อหุ้มเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1.1 การเคลื่อนที่แบบพาสซีฟ (Passive Transport) หมายถึง การเคลื่อนที่ของสารเข้า-ออก
เซลล์ โดยไม่ต้องใช้พลังงานซึ่งไอออน (Ion) และโมเลกุลของสารบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จาก
บริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย

รูปแบบ ภาพประกอบ ตัวอย่างการเคลื่อนที่ของสาร


1. การแพร่ - การเคลื่อนที่ของแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
(Diffusion) - การเคลื่อนที่ของแอลกอฮอล์

- การเคลื่อนที่ของไอออนบางชนิด
เช่น แคลเซียมไอออน (Ca2+)
คลอไรด์ไอออน (Cl-), โซเดียมไอออน (Na+)
และโพแทสเซียมไอออน (K+)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (96) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


รูปแบบ ภาพประกอบ ตัวอย่างการเคลื่อนที่ของสาร
2. การแพร่ - การเคลื่อนที่ของกลูโคสเข้าสู่เซลล์
แบบฟาซิลิเทต
(Facilitated
Diffusion)

3. ออสโมซิส Aquaporin โมเลกุลน้ํา - การเคลื่อนที่ของน้ํา (การเคลื่อนที่


(osmosis) ของน้ําโดยอาศัยโปรตีนเฉพาะที่ชื่อว่า
Aquaporins)

1.2 การเคลื่อนที่แบบแอกทีฟ (Active Transport) หมายถึง การเคลื่อนที่ของสารเข้า-ออก


เซลล์จากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ซึ่งต้องใช้พลังงานในการเคลื่อนที่
รูปแบบ ภาพประกอบ ตัวอย่างการเคลื่อนที่ของสาร
แอกทีฟทรานสปอร์ต - กระบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั๊ม
(Active Transport) ของเซลล์ประสาท

2. การเคลื่อนที่แบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นกระบวนการลําเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เข้า-ออก


เซลล์ โดยอาศัยโครงสร้างที่เรียกว่า “เวสิเคิล (Vesicle)”
รูปแบบ ภาพประกอบ ตัวอย่างการเคลื่อนที่ของสาร
เอกโซไซโทซิส - การหลั่งเอนไซม์ของเซลล์ต่างๆ
(Exocytosis) - การหลั่งเมือก
- การหลั่งฮอร์โมน
- การหลั่งสารสื่อประสาทของเซลล์ประสาท

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (97)


รูปแบบ ภาพประกอบ ตัวอย่างการเคลื่อนที่ของสาร
ฟาโกไซโทซิส - การกินแบคทีเรียของเซลล์
(Phagocytosis) เม็ดเลือดขาวบางชนิด
- การกินอาหารของอะมีบา
เอนโดไซโทซิส (Endocytosis)

พิโนไซโทซิส - การนําสารอาหารเข้าสู่เซลล์ไข่
(Pinocytosis) ของมนุษย์

การนําสารเข้า - การนําคอเลสเทอรอลเข้าสู่เซลล์
สู่เซลล์โดย
อาศัยตัวรับ
(Receptor
Mediated

ความเข้มข้นของตัวละลาย (Solute) ทั้งหมดในสารละลาย เรียกว่า ความเข้มข้นออสโมติก (Osmotic


Concentration) ของสารละลาย ดังนั้นเราจึงแบ่งสารละลายออกเป็น 3 ประเภท ตามความเข้มข้นของตัวละลาย
1. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic Solution) หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นของตัวละลาย
มากกว่าความเข้มข้นของสารละลายบริเวณข้างเคียง
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic Solution) หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นของตัวละลาย
น้อยกว่าความเข้มข้นของสารละลายบริเวณข้างเคียง
3. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic Solution) หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นของตัวละลาย
เท่ากับความเข้มข้นของสารละลายบริเวณข้างเคียง

ภาพการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สัตว์และเซลล์พืชเมื่ออยู่ในสารละลายแต่ละประเภท
แรงดันออสโมติก (Osmotic Pressure) คือ แรงดันน้ําสูงสุดของสารละลายใดๆ ณ จุดสมดุลของการ
ออสโมซิส โดยแรงดันออสโมติกจะแปรผันตรงกับความเข้มข้นของสารละลาย กล่าวคือ สารละลายที่มีความ
เข้มข้นมากจะมีแรงดันออสโมติกสูง และสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยจะมีแรงดันออสโมติกต่ํา

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (98) _____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


BIO FOCUS 5 ภาวะธํารงดุล
Focus นี้นิยมออกในข้อสอบ ONET มาก นักเรียนจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ได้ว่าร่างกายมีการรักษา
ดุลภาพเพื่อความอยู่รอด ด้วยกลไกหรือปรับเปลี่ยนร่างกายเช่นไร
การรักษาดุลยภาพของน้ําและสารต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
รายละเอียดของการทํางานของไตและหน่วยไตเด็กๆไปตามในแบบเรียนนะครับ ครูขอเสนอเรื่องยอดฮิต
คือการปัสสาวะและการดูดน้ํากลับนะครับ
ฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone : ADH) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวาโซเพรสซิน (Vasopressin) เป็น
ฮอร์โมนสําคัญที่ทําหน้าที่กระตุ้นการดูดน้ํากลับเข้าสู่ร่างกายบริเวณท่อรวมของหน่วยไต
ตารางนี้น่าสนใจ
ADH มีปริมาณน้อย
ครูกาแฟดื่มน้ํามาก ฉี่เยอะ เข้มข้นต่ํา
ดูดน้ํากลับปริมาณน้อย
ADH มีปริมาณมาก
ครูกาแฟดื่มน้ําน้อย ฉี่นิดเดียว เข้มข้นสูง
ดูดน้ํากลับปริมาณมาก

การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในร่างกายมนุษย์
การเพิ่มหรือลดอัตราการหายใจ
ถ้า CO2 ในเลือดมีปริมาณมากจะส่งผลให้ศูนย์ควบคุมการหายใจซึ่งคือสมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา
(Medulla Oblongata) ส่งกระแสประสาทไปควบคุมให้กล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงทํางาน
มากขึ้นเพื่อจะได้หายใจออกถี่ขึ้น
ระบบบัฟเฟอร์ (Buffer) คือ ระบบที่ทําให้เลือดมีค่า pH คงที่แม้ว่าจะมีการเพิ่มของสารที่มีฤทธิ์เป็น
กรดหรือเบส
การควบคุมกรดและเบสของไต
ไต (Kidneys) สามารถปรับระดับกรดหรือเบสออกทางปัสสาวะได้มาก สามารถแก้ไขค่า pH ที่เปลี่ยนแปลง
ไปมากให้เข้าสู่ภาวะสมดุล
การรักษาดุลยภาพของน้ําและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

พารามีเซียม (Paramecium) ใช้ Contractile Vacuole รักษาสมดุลของน้ําในเซลล์

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 _____________________________________วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (99)


นกทะเลใช้ต่อมนาสิก หรือต่อมเกลือ (Nasal Salt Glands) รักษาสมดุลของเกลือในร่างกาย
ปลาน้ําเค็ม ปลาน้ําจืด

VS

ปลาน้ําเค็ม VS ปลาน้ําจืดรักษาสมดุลอย่างไร

ปลาน้ําเค็ม (Osmotic Pressure ของของเหลวในร่างกายน้อยกว่าน้ําทะเล) : กลไกการรักษาสมดุล คือ


มีผิวหนังและเกล็ดป้องกันน้ําซึมออกขับปัสสาวะน้อยและปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง มีเซลล์ซึ่งอยู่บริเวณเหงือก
ทําหน้าที่ขับแร่ธาตุส่วนเกินออกโดยวิธีแอกทีฟทรานสปอร์ตขับแร่ธาตุส่วนเกินออกทางทวารหนัก
ปลาน้ําจืด (Osmotic Pressure ของของเหลวในร่างกายมากกว่าน้ําจืด) : กลไกการรักษาสมดุล คือ มี
ผิวหนังและเกล็ดป้องกันน้ําซึมเข้า ขับปัสสาวะมากและปัสสาวะเจือจาง มีโครงสร้างพิเศษที่เหงือกทําหน้าที่ดูด
แร่ธาตุกลับคืนสู่ร่างกาย

การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิร่างกายของสัตว์
1. สัตว์เลือดเย็น (Poikilothermic Animal/Ectotherm) หมายถึง สัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่
เพราะจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวอย่าง เช่น ไส้เดือนดิน หอย แมลง ปลา
สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน
2. สัตว์เลือดอุ่น (Homeothermic Animal/Endotherm) หมายถึงสัตว์ที่มีกลไกรักษาอุณหภูมิ
ร่างกายให้คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมได้แก่ สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (100) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมกับอุณหภูมิของร่างกาย
ในสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น
การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์
ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

อุณหภูมิของเลือด อุณหภูมิของเลือด
สูงกว่า 37°C ต่ํากว่า 37°C

กระตุ้นศูนย์ควบคุม
ที่ไฮโพทาลามัส

ลดอัตรา เพิ่มอัตรา
เมแทบอลิซึม เมแทบอลิซึม
หลอดเลือดขยายตัว หลอดเลือดหดตัว
ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อ ต่อมเหงื่อไม่สร้างเหงื่อ
ขนเอนราบ ขนลุก ร่างกายหนาวสั่น
เพิ่มการระเหย ลดการระเหย
และการแผ่รังสี และการแผ่รังสี

อุณหภูมิของเลือด อุณหภูมิของเลือด
ลดลง เพิ่มขึ้น

อุณหภูมิของเลือด
ปกติ 37°C

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (101)


ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือ ความสามารถของร่างกายในการต่อต้านและกําจัดจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย
หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
ภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด (Innate Immunity)
1.1 ระบบปกคลุมร่างกาย (ผิวหนัง)
- ต่อมผลิตน้ํามันและต่อมเหงื่อจะหลั่งสารช่วยทําให้ผิวหนังมีค่า pH 3-5 ซึ่งสามารถยับยั้ง
การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หลายชนิดได้
- เหงื่อน้ําตาและน้ําลายมีไลโซไซม์ (Lysozyme) ซึ่งสามารถทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้
- ผิวหนังเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียและเชื้อราที่ไม่ก่อให้เกิดโรคซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย
ที่ก่อให้เกิดโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่าย
- ผนังด้านในของอวัยวะทางเดินอาหารอวัยวะหายใจและอวัยวะขับถ่าย (ปัสสาวะ) ประกอบด้วย
เซลล์ที่สามารถสร้างเมือก (Mucus) เพื่อดักจับจุลินทรีย์ได้รวมถึงกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารก็สามารถ
ทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้
1.2 ภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ (Nonspecific Immunity)
- เม็ดเลือดขาว 3 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะมีดังนี้
1. นิวโทรฟิล (Neutrophil)
2. แมโครฟาจ (Macrophage)
3. Natural Killer Cell (NK Cell)
- การอักเสบเกิดโดยการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะทําให้เลือดไหลไปยังบริเวณที่
อักเสบมากขึ้นรวมทั้งหลอดเลือดฝอยบริเวณดังกล่าวจะยอมให้สารต่างๆ ผ่านเข้าออกได้มากขึ้น
- การเป็นไข้ (Fever) จะไปกระตุ้นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ (Phagocyte)
เพื่อไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์นั้นๆ
- อินเทอร์เฟอรอน (Interferon) จะป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสโดยการทําลาย RNA ของ
ไวรัสชนิดนั้นๆ
2. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังกําเนิด (Acquired Immunity)
ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (Specific Immunity)
- เป็นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) โดยการสร้างแอนติบอดี
(Antibody) ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม (Antigen) ที่เข้าสู่ร่างกาย
- เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มีตัวรับอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งสามารถจดจําชนิด
ของแอนติเจนได้และทําให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ
- อวัยวะที่ส่งเสริม ระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะประกอบด้วยอวัยวะน้ําเหลืองปฐมภูมิและอวัยวะ
น้ําเหลืองทุติยภูมิอวัยวะน้ําเหลืองปฐมภูมิทําหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ได้แก่ ไขกระดูก (Bone Marrow)
ต่อมไทมัส (Thymus) อวัยวะน้ําเหลืองทุติยภูมิทําหน้าที่กรองแอนติเจน (จุลินทรีย์ต่างๆ เช่นแบคทีเรีย) ได้แก่
ม้าม (Spleen) ต่อมน้ําเหลือง (Lymph Node) เนื้อเยื่อน้ําเหลืองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมือก (Mucosal-
Associated Lymphoid Tissue : MALT) ได้แก่ ต่อมทอนซิลไส้ติ่งและกลุ่มเซลล์ฟอลลิเคิลในชั้นเนื้อเยื่อ
เกี่ยวพันที่อยู่ด้านใต้ของชั้นเนื้อเยื่อสร้างเมือก

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (102) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่มาของแอนติบอดี ได้แก่
1. ภูมิคุ้มกันก่อเอง (Active Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี
(Antibody) ขึ้นมาเองโดยเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวซึ่งถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่อไปนี้
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
- การฉีดทอกซอยด์ (Toxoid) ป้องกันโรคบางชนิด
- การคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคนั้นๆ
ประเภทของวัคซีน
วัคซีนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัตถุดิบ ดังนี้
1) เชื้อโรคที่ตายแล้ว
2) เชื้อโรคที่ถูกทําให้อ่อนฤทธิ์ลง
3) สารพิษจากเชื้อโรค (Toxoid) ซึ่งถูกทําให้หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว

ภาพแสดงกลไกการทํางานของเม็ดเลือดขาวเพื่อหลั่งสารก่อภูมิแพ้

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (103)


2. ภูมิคุ้มกันรับมา (Passive Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายรับแอนติบอดี
(Antibody) จากภายนอกเข้ามาเพื่อต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ทันทีและเป็นภูมิคุ้มกันในระยะสั้นตัวอย่าง
ภูมิคุ้มกันรับมา เช่น
- การฉีดเซรุ่มเพื่อรักษาโรคบางชนิด เช่น เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- การดื่มน้ํานมแม่ของทารก
- การได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ของทารกที่อยู่ในครรภ์
• ระบบน้ําเหลือง (Lymphatic System)
หน้าที่ของระบบน้ําเหลือง
1. นําของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์กลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด
2. ดูดซึมสารอาหารประเภทไขมันบริเวณลําไส้เล็ก
3. เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ส่วนประกอบของระบบน้ําเหลือง ได้แก่
1. น้ําเหลือง
2. หลอดน้ําเหลือง
3. อวัยวะน้ําเหลืองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
3.1 อวัยวะน้ําเหลืองปฐมภูมิได้แก่ไขกระดูกและต่อมไทมัส
3.2 อวัยวะน้ําเหลืองทุติยภูมิได้แก่ม้ามต่อมน้ําเหลืองและต่อมทอนซิล
1. น้ําเหลือง (Lymph) คือ ของเหลวไม่มีสีที่ซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอยออกมาอยู่บริเวณช่องว่าง
ระหว่างเซลล์ ซึ่งของเหลวดังกล่าวจะเคลื่อนที่เข้าสู่หลอดน้ําเหลืองต่อไป น้ําเหลืองมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับ
เลือดแต่มีจํานวนและปริมาณโปรตีนน้อยกว่ารวมทั้งไม่มีเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด
น้ําเหลืองจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาร่วมกับเลือดเสียจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งการไหลเวียน
ของน้ําเหลืองภายในหลอดน้ําเหลืองจะอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ โดยภายในหลอดน้ําเหลืองจะ
มีลิ้นกั้น เพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ําเหลืองให้ไปในทิศทางเดียวกัน

ภาพแสดงระบบน้ําเหลืองของมนุษย์ (Lymphatic System of Human)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (104) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


2. หลอดน้ําเหลือง (Lymphatic Vessels)
หลอดน้ําเหลืองมีหลายขนาดเป็นหลอดที่มีปลายด้านหนึ่งตันหลอดน้ําเหลืองบริเวณอก (Thoracic
Duct) จะมีขนาดใหญ่ที่สุด ทําหน้าที่ลําเลียงน้ําเหลืองไปยังหลอดเลือดดําบริเวณไหปลาร้า (Subclavian Vein)
เพื่อส่งเข้าสู่หลอดเลือดดําใหญ่ (Vena Cava) ต่อไป
3. อวัยวะน้ําเหลือง (Lymphoid Organs) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
3.1 อวัยวะน้ําเหลืองปฐมภูมิ ได้แก่ ไขกระดูก และต่อมไทมัส
1. ไขกระดูก (Bone Marrow) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในโพรงกระดูกทําหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว
และเม็ดเลือดแดงรวมทั้งเกล็ดเลือดด้วย
2. ต่อมไทมัส (Thymus) เป็นอวัยวะน้ําเหลืองที่เป็นต่อมไร้ท่อ (สร้างฮอร์โมนได้) อยู่ตรง
ทรวงอกรอบหลอดเลือดเอออร์ตา (Aorta) โดยหน้าที่ของต่อมไทมัสสร้างและพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
(Lymphocyte) ลิมโฟไซต์ที่ไทมัสไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้แต่เมื่อโตเต็มที่จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียน
เลือดเพื่อไปยังอวัยวะน้ําเหลืองอื่นๆ และสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้
3.2 อวัยวะน้ําเหลืองทุติยภูมิ ได้แก่ ม้ามต่อมน้ําเหลือง และต่อมทอนซิล
1. ม้าม (Spleen) เป็นอวัยวะน้ําเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีลักษณะนุ่มสีม่วงอยู่ในช่องท้อง
ด้านซ้ายใต้กะบังลมติดกับด้านหลังของกระเพาะอาหารภายในม้ามมีแมโครฟาจ (Macrophage) และเม็ดเลือดแดง
อยู่เป็นจํานวนมาก
ม้ามมีหน้าที่ ดังนี้
- กรองจุลินทรีย์ (แบคทีเรีย) และสิ่งแปลกปลอมออกจากเลือด
- สร้างและทําลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
- ทําลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว
- เป็นอวัยวะเก็บสํารองเลือดไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ภาวะที่ร่างกายสูญเสียเลือดมาก
2. ต่อมน้ําเหลือง (Lymph Node) มีลักษณะค่อนข้างกลม มีหลากหลายขนาดกระจายตัวอยู่
ภายในหลอดน้ําเหลืองทั่วร่างกาย พบมากตามบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ เป็นต้น ซึ่งภายในต่อมน้ําเหลืองจะ
พบเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่รวมกันเป็นกระจุกมีลักษณะคล้ายฟองน้ํา
ต่อมน้ําเหลืองมีหน้าที่ ดังนี้
- กรองเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ําเหลือง
- ทําลายแบคทีเรียและไวรัส
3. ต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่หลอดอาหาร
และกล่องเสียงซึ่งมีอยู่ 3 บริเวณ ดังนี้
- บริเวณเพดานปากบริเวณคอหอยบริเวณลิ้น
Pharyngeal
tonsil

Palatine
tonsil

Lingual
tonsil
S
R L

ภาพแสดงตําแหน่งของต่อมทอนซิลในมนุษย์

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (105)


BIO FOCUS 6 พันธุศาสตร
กฎของเมนเดล (Mendel’s Law)
เมนเดลทําการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตา จนสามารถสรุปเป็นกฎ (Law)
ที่ใช้อธิบายกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ 2 ข้อ ดังนี้
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (Law of Segregation)
สรุปได้จากการผสมโดยพิจารณา 1 ลักษณะ กฎแห่งการ
แยกตัวมีใจความสําคัญสรุปได้ดังนี้ ยีนที่อยู่กันเป็นคู่จะแยก
ออกจากกั น ในระหว่ า งกระบวนการสร้ า งเซลล์ สื บ พั น ธุ์
(เกิดขึ้นในระยะแอนาเฟส I ของไมโอซิส) จึงทําให้เซลล์
สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มียีนควบคุมลักษณะนั้นๆ เพียง 1 แอลลีล
กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระของยีน
(Law of Independent Assortment) สรุปได้จากการผสม
โดยพิจารณา 2 ลักษณะกฎแห่ งการรวมกลุ่ ม อย่ างอิ สระ
ของยีน มีใจความสําคัญสรุปได้ดังนี้ ยีน ที่แยกออกจากคู่
ของมันจะไปรวมกลุ่มอย่างอิสระกับยีนอื่นๆ ที่แยกออกจาก
คู่เช่นเดียวกันเพื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์

ตารางแสดงการพิจาณาลักษณะของถั่วลันเตาในการศึกษาของเมนเดล

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (106) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ความแปรผันทางพันธุกรรม(Genetic Variation)
สามารถจําแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuous Variation) เป็นลักษณะทาง
พันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เช่น สีผิว ความสูง น้ําหนัก ไอคิวของคน ลักษณะ
เหล่านี้ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ ยีนจึงมีอิทธิพลต่อการควบคุมลักษณะดังกล่าวน้อย แต่สิ่งแวดล้อมจะมี
อิทธิพลมาก
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Variation) เป็นลักษณะ
ทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ความสามารถในการห่อลิ้น จํานวนชั้นของตา การถนัดมือ
ขวาหรือมือซ้าย

มีลักยิ้ม ไม่มีลักยิ้ม

ขวัญเวียนขวา ขวัญเวียนซ้าย

ห่อลิ้นได้ ห่อลิ้นไม่ได้

กระดูกโคนนิ้วหัวแม่มือ กระดูกโคนนิ้วหัวแม่มือ
กระดกไปมาได้ กระดกไปมาไม่ได้
แผนภาพแสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง

แผนภาพแสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่องและแบบต่อเนื่อง

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (107)


การผสมโดยพิจารณาหนึ่งลักษณะ (Monohybrid Cross) และการผสมโดยพิจารณาสองลักษณะ
(Dihybrid Cross)
การผสมโดยพิจารณาหนึ่งลักษณะ (Monohybrid Cross) คือ การผสมระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โดย
พิจารณาลักษณะที่ต้องการผสม 1 ลักษณะ เช่น ต้นแม่พันธุ์ดอกสีแดงผสมกับต้นพ่อพันธุ์ดอกสีขาว เป็นต้น
การผสมโดยพิจารณาสองลักษณะ (Dihybrid Cross) คือ การผสมระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โดย
พิจารณาลักษณะที่ต้องการผสม 2 ลักษณะ ควบคู่กัน เช่น ต้นสูงดอกสีม่วงผสมกับต้นเตี้ยดอกสีขาว (การผสม
ในตัวอย่างพิจารณา 2 ลักษณะคือ ลักษณะความสูงของลําต้นและลักษณะของสีดอก)
ลักษณะเด่นแต่ละระดับ
1. ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete Dominance) หมายถึง การแสดงออกของลักษณะเด่นที่เกิดจาก
การที่ยีนเด่นสามารถข่มการแสดงออกของยีนด้อยได้ 100% ทําให้จีโนไทป์ที่เป็นโฮโมไซกัสยีนของลักษณะเด่น
(Homozygous Dominance) และเฮเทอโรไซกัสยีนมีการแสดงออกของฟีโนไทป์ที่เหมือนกัน

ดอกสีแดง (RR) ดอกสีขาว (rr)

ดอกสีแดง (Rr) ทั้งหมด

ภาพการถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบสมบูรณ์
2. ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominance) หมายถึง การแสดงออกของลักษณะเด่นเป็นไป
ไม่เต็ม 100% ทั้งนี้เกิดจากการทํางานของยีนเด่นร่วมกับยีนด้อยเพราะยีนเด่นไม่สามารถข่มการแสดงออกของ
ยีนด้อยได้ 100% จึงทําให้จีโนไทป์ที่เป็นเฮเทอโรไซกัสมีลักษณะค่อนไปทางโฮโมไซกัสของลักษณะเด่น (Homozygous
Dominance) และเฮเทอโรไซกัสยีนมีการแสดงออกของฟีโนไทป์ที่เหมือนกัน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (108) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ดอกสีแดง (RR) ดอกสีขาว (rr)

ดอกสีชมพู (Rr) ทั้งหมด

ภาพการถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์
3. ลักษณะเด่นร่วมกัน (Co-Dominance) หมายถึง การแสดงออกของลักษณะใดลักษณะหนึ่งของ
สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการทํางานร่วมกันของยีนที่ควบคุมลักษณะเด่นทั้งคู่ เนื่องจากไม่สามารถข่มกันและกันได้ เช่น
หมู่เลือด AB ในคนที่ถูกควบคุมโดยจีโนไทป์ IAIB เป็นต้น
มัลติเปิลแอลลีล (Multiple Alleles)
มั ล ติ เ ปิ ล แอลลี ล คื อ ยี น ที่ มี แ อลลี ล มากกว่ า 2 แบบขึ้ น ไปซึ่ ง ควบคุ ม ลั ก ษณะพั น ธุ ก รรมเดี ย วกั น
ตัวอย่างเช่นหมู่เลือดระบบ ABO มียีนควบคุมอยู่ 3 แอลลีล
หมู่เลือดระบบ ABO
แอลลีล (Allele) ที่ควบคุมการแสดงออกของหมู่เลือดระบบ ABO มีทั้งหมด 3 แบบดังนี้ IA, IB และ
i ซึ่งหน้าที่ของแอลลีลแต่ละแบบคือควบคุมการสร้างแอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
หมู่เลือด จีโนไทป์ แอนติเจนที่ผิวเม็ดเลือดแดง แอนติบอดีในพลาสมา
A IAIAหรือ IAi A B
B IBIBหรือ IBi B A
AB IAIB A และ B ไม่มี
O ii ไม่มี A และ B

การให้เลือด
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด คือ ผู้ให้ (เลือด) และผู้รับ (เลือด) ซึ่งในการให้เลือดผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ
ชีวิต คือ ผู้รับ เพราะถ้าเลือดของผู้รับไม่สามารถเข้ากับเลือดของผู้ให้ได้ จะทําให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้รับจับ
ตัวกันเป็นกลุ่มแล้วตกตะกอนอุดตันหลอดเลือด ซึ่งจะนําไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้นผู้ให้และผู้รับควรมี
เลือดหมู่เดียวกันจึงจะปลอดภัยที่สุด

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (109)


หลักการสําคัญในการให้และรับเลือดอย่างปลอดภัย คือ แอนติเจน (Antigen) ของผู้ให้ต้องไม่ตรงกับ
แอนติบอดี (Antibody) ของผู้รับ

O
AB AB
AB
แผนผังแสดงการให้เลือดในระบบ ABO

เทคนิคการจําเด้อจ้า!!
ผู้ให้ → ผู้รับ O ใจดี AB ใจร้าย O ผู้ให้สากล AB ผู้รับสากล
เพิ่มเติม การพิจารณาหมู่เลือดระบบ Rh

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (110) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


พอลิยีน (Polygene)
พอลิยีน คือ กลุ่มของยีนหรือยีนหลายๆคู่ที่อยู่บนโครโมโซมคู่เดียวกันหรือต่างคู่กัน (ก็ได้) ทําหน้าที่
ร่วมกันในการควบคุมลักษณะพันธุกรรมหนึ่งๆ ของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่าง
ได้อย่างชัดเจนเช่นลักษณะสีผิวของคนความสูงสติปัญญาโดยการแสดงออกของลักษณะเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมด้วย

การแสดงออกของยีน
1. เสริมกัน

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (111)


2. ส่งอิทธิพลข่มยีนอื่น

อิทธิพลของเพศ (sex influenced traits)

พันธุกรรมจํากัดเพศ (sex limited traits)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (112) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ยีนบนโครโมโซมเพศ (sex linked gene)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (113)


การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม (Autosome) และโครโมโซมเพศ
(Sex Chromosome)
ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม
1. อาการผิวเผือก (Albino)
2. โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
3. โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell Anemia)
ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X
1. โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
2. โรคตาบอดสี (Color Blindness)
3. โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบชนิดดูเชนน์ (Duchenne Muscular Dystrophy)
Karyotype

ความผิดปกติของคนจากจํานวน และรูปร่างโครโมโซม : คนปกติจะมีโครโมโซม 46 แท่ง เป็นโครโมโซม


ร่างกาย 44 แท่ง โครโมโซมเพศ 2 แท่ง โดยโครโมโซม Y เป็นโครโมโซมแสดงออกลักษณะเพศชาย เป็นยีนเด่น
จะแสดงออกเมื่อจับเข้าคู่กับโครโมโซม X ทั้งนี้ถ้าเป็น “ผู้ชาย = 44 + XY” และหากเป็น “ผู้หญิง = 44 + XX”
1. ผิดปกติจากออโตโซม คือ โครโมโซมร่างกายมีจํานวนเกินมาจากขั้นตอนการแบ่งเซลล์หรือรูปร่างผิดปกติ
2. ผิดปกติจากโครโมโซมเพศ คือ โครโมโซม X หรือ Y มีการเกินหรือขาด ทําให้เกิดโรคทางพันธุกรรมต่างๆ

รู้หรือไม่ จาก karyotype Chromosome ที่เล็กที่สุด ไม่ใช่คู่ที่ 22 นะครับ มันคือคู่ที่ 21 จ้า

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (114) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ประเภท สาเหตุ โครโมโซม กลุ่มอาการ ลักษณะเด่นที่สําคัญ
ปากแหว่ง เพดานโหว่
คู่ที่ 13 เกิน พาเทาซินโดรม
อายุสั้นมาก
โครโมโซมเกิน 45 + 90% เสียชีวิตก่อน 1 ขวบ
คู่ที่ 18 เกิน เอ็ดเวิร์ดซินโดรม
ความผิดปกติ XX หรือ 45 + XY ระบบผิดปกติมาก
ออโตโซม ปัญญาอ่อน คิ้วห่าง
คู่ที่ 21 เกิน ดาวน์ซินโดรม
เส้นลายมือขนานกัน
คู่ที่ 5 แขน เสียงร้องแหลมคล้าย
รูปร่างผิดปกติ คริดูชาต์/แคทคราย
ไม่สมบูรณ์ แมวร้อง ศีรษะเล็ก
หญิงเป็นหมัน เตี้ย
โครโมโซม X ขาด : 44 + XO เทอร์เนอร์ซินโดรม
คอเป็นแผง ไม่มีเต้านม
โครโมโซม X เกินในชาย ชายเป็นหมัน ไม่สร้างอสุจิ
ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม
ความผิดปกติ : XXY,XXXY แถมมีเต้านม
โครโมโซมเพศ ชายลักษณะปกติ
โครโมโซม Y เกินในชาย : XYY ซูเปอร์เมน
สูง ใหญ่ นิสัยก้าวร้าว
หญิงปกติ แต่มีสติปัญญา
โครโมโซม X เกินในหญิง : XXX ทริปเปิลเอ็กซ์ซินโดรม
ต่ํากว่าทั่วไป

เพดิกรีหรือพันธุประวัติหรือพงศาวลี (Pedigree)
เพดิก รี คือ แผนภาพแสดงความสั ม พัน ธ์ ในการถ่า ยทอดลักษณะทางพัน ธุกรรมของครอบครั วหรื อ
ตระกูลหนึ่งๆ

รุ่นพ่อแม่
หญิงปกติ

ชายปกติ
ลูกรุ่นที่ 1
หญิงเป็นโรค

ชายเป็นโรค
ลูกรุ่นที่ 2

ภาพเพดิกรีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

Check in ตรงนี้นิดนึง Pedigree ช่วงหลังข้อสอบออกเยอะนะครับ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (115)


มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยีนหรือโครโมโซมซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี
หรือไม่ดีก็ได้ มิวเทชันที่เกิดขึ้นกับยีน (Gene Mutation หรือ DNA Mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนใน
DNA อย่างถาวรซึ่งจะส่งผลต่อการทํางานของยีน

ยีน โครโมโซม ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ


ยีน (Gene) คือ ส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ (DNA Segment)
ที่ทําหน้าที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต
โครโมโซม (Chromosome) คือ โครงสร้างที่อยู่ภายในนิวเคลียส
ประกอบด้วย DNA และโปรตีน

Satellite Shortarm
Centromere
Stalk
Centromere

Long arm

Telocentric Acrocentric Submetacentric Metacentric

ภาพแสดงรูปร่างของโครโมโซม

ข้อสอบบางปีออกโครงสร้าง
“nucleosome : คล้ายลูกปัด” แวะทําความเข้าใจนิดนึงครับ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (116) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ตัวใหญ่ใช่ว่าจํานวนโครโมโซมจะเยอะนะจ๊ะ

จํานวน จํานวน
สิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิต
โครโมโซม (2n) โครโมโซม (2n)
มนุษย์ (Homo sapiens) 46 สน (Pinus ponderosa) 24
ลิงซิมแพนซิ (Pan trogodytes) 48 กะหล่ําปลี (Brassica oleracea) 18
ม้า (Equus calibus) 64 ถั่วลันเตา (Pisum astivum) 14
สุนัข (Canis familiaris) 78 ฝ้าย (Gossypium hirsuturm) 52
แมว (Feris domesticus) 38 มะเขือเทศ (Lycopercicon esculentum) 24
หนู (Mus musculus) 40 หอม (Allicum cepa) 16
ไก่ (Gallus domesticus) 78 ยาสูบ (Nicotiana tabacum) 48
กบ (Rama pipiens) 26 ข้าว (Oryza sativa) 24
ผึ้ง (Apis mallifera) 32 ข้าวโพด (Zea Mays) 20
แมลงวัน (Musca domestica) 12 กล้วย (Musa paradisiacal) 22
แมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) 8 แตงโม (Citrllus vulgalis) 22
ยุงก้นปล่อง (Anopheles dinus) 6 ชา (Cemellia sinensis) 30

คารีโอไทป์ (Karyotype) คือ การศึกษาโครโมโซมโดยใช้ภาพของโครโมโซมในระยะเมตาเฟสของ


ไมโทซิส (mitosis) เรียงกันตามขนาดตําแหน่งของเซนโทรเมียร์โดยจะเรียงจากใหญ่สุดไปจนถึงเล็กสุด

ภาพแสดงคารีโอไทป์ของมนุษย์ปกติ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (117)


การศึกษาเกี่ยวกับสารพันธุกรรม
Frederick Griffith discovery

ดีเอ็นเอ(DNA)หมายถึง สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและบางส่วนของ DNA แต่ละโมเลกุลทําหน้าที่เป็น


ยีน (Gene) คือ สามารถควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้
DNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่งมีโครงสร้างเป็นพอลิเมอร์ (Polymer) สายยาวประกอบด้วยมอนอเมอร์
(Monomer) ที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ซึ่งแต่ละนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ ประกอบด้วยสาร 3 ชนิด ดังต่อไปนี้
1. น้ําตาลเพนโทส (Pentose) ที่มีชื่อว่าน้ําตาลดีออกซีไรโบส (Deoxyribose)
2. ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base หรือ N-Base) คําศัพท์เพิ่มเติม
มีโครงสร้างเป็นวงแหวน (Ring) Nucleoside = น้ําตาล + เบส
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ Back bone = น้ําตาล + หมู่ฟอสเฟต
2.1 เบสเพียวรีน (Purine) มี 2 ชนิด คือ
กวานีน(Guanine) และอะดีนีน (Adenine)
2.2 เบสไพริมิดีน (Pyrimidine) มี 2 ชนิด คือ
ไซโทซีน (Cytosine) และไทมีน (Thymine)

ภาพแสดงสารที่เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (118) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


3. หมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group)

อย่าเข้าใจผิดนะครับ
เบสทั้ง 4 ชนิด ที่พบในสายเกลียวคู่ DNA จะอยู่กันเป็นคู่ๆ
โดยมีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวกันไว้ดังนี้
A คู่ T ยึดกันด้วย 2 พันธะไฮโดรเจน (ไม่ใช่ พันธะคู่ (Double Bond))
C คู่ G ยึดกันด้วย 3 พันธะไฮโดรเจน (ไม่ใช่ พันธะสาม (Triple Bond))
Deoxyribonucleic Acid (DNA) Nucleotides
Sugar Nucleotide Sugar Guanine Cytosine
phosphate base pairs phosphate
backbone backbone

Hydrogen
bonds

Adenine Thymine

Nucleotide

Uracil
Base pair

Nucleic acid replaces Thymine in RNA

ภาพซ้ายแสดงสายดีเอ็นเอ ภาพขวาแสดงเบสชนิดต่าง
กฎของชาร์กาฟฟ์

ชนิดของเบส (ร้อยละ) อัตราส่วน


ชนิดของสิ่งมีชีวิต
อะดีนีน (A) ไทมีน (T) กวานีน (G) ไซโทซีน (C) A:T G:C
ยีสต์ 31.3 32.9 18.7 17.1 0.95 1.09
แมลงหวี่ 27.3 27.6 22.5 22.5 0.99 1.00
ผึ้ง 34.4 33.0 16.2 16.4 1.04 0.99
เม่นทะเล 32.8 32.1 17.7 18.4 1.02 0.96
ปลาแซลมอน 29.7 29.1 20.8 20.4 1.02 1.02
หนู 28.6 28.4 21.4 21.5 1.01 1.00
คน (เซลล์ตับ) 30.7 31.2 19.3 18.8 0.98 1.03

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (119)


รู้จัก RNA กันสักหน่อย!!!
สายพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) สายเดี่ยว (Single Strand) ทําหน้าที่เหมือนแม่แบบ
(Template) สําหรับแปลข้อมูลจากยีนไปเป็นข้อมูลในโปรตีน แล้วขนย้ายกรดอะมิโนเข้าไปในออร์แกเนลล์ไรโบโซม
(Ribosome) ของเซลล์ เพื่อผลิตโปรตีนและแปลรหัส (Translation) เป็นข้อมูลในโปรตีน
ชนิดของอาร์เอ็นเอ (RNA)มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
1. เอ็มอาร์เอ็นเอ หรือเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ (Messenger RNA, mRNA)
2. ทีอาร์เอ็นเอ หรือทรานสเฟอร์อาร์เอ็นเอ (Transfer RNA, tRNA)
3. อาร์อาร์เอ็นเอ หรือไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ (Ribosomal RNA, rRNA)

ภาพแสดงสาย mRNA
ตารางเปรียบเทียบองค์ประกอบของ DNA และ RNA ของเซลล์ยูแคริโอต
ข้อมูลเปรียบเทียบ DNA RNA
ตําแหน่งที่พบ ในนิวเคลียส ในไซโทพลาซึมและในนิวเคลียส
จํานวนสายโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 1
น้ําตาล Deoxyribose Ribose
ไนโตรจีนัสเบส AGCT AGCU

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (120) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


central dogma

DNA replication

Protien synthesis

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (121)


Genetic Code

มาลองฝึกอ่าน มาลองฝึกแปลรหัสพันธุกรรมกันเถอะ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (122) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
พันธุวิศวกรรมเป็นเทคนิคการสร้าง DNA สายผสมหรือรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (Recombinant DNA)
เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามต้องการซึ่งเทคนิควิธีดังกล่าวจะต้องอาศัยเอนไซม์พื้นฐานสําคัญ 2 ชนิด คือ
เอนไซม์ตัดจําเพาะ (Restriction Enzyme) และเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกส (DNA Ligase Enzyme)
จีเอ็มโอ (GMOs)
จีเอ็มโอ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการตัดต่อยีนแล้วหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีดีเอ็นเอ
สายผสม (Recombinant DNA) อยู่ภายในเซลล์ซึ่งยีนที่ถูกใส่เข้าไปใน DNA ของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน (Host) นั้น
จะทําให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ มีลักษณะตามที่มนุษย์ต้องการ
การโคลน (Cloning)
การโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิต (ตัวหรือต้น) ใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิต
ต้นแบบทุกประการ เช่น การปักชําการต่อกิ่งการทาบกิ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprint)
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ คือ รูปแบบของแถบดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงความแตกต่างของขนาดโมเลกุลดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต
แต่ละตัวหรือแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล

การทําลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เลือกใช้เซลล์ที่มี nucleus นะจ๊ะ

กําหนด
ลายพิมพ์นิ้วมือ 2 3 ใช้ได้
ปลายผม 2
เม็ดเลือดแดง 2 2 ใช้ไม่ได้
คราบอสุจิ 3
เลือด 3

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (123)


BIO FOCUS 7 ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในการดํารงชีวิตอยู่ในแหล่ง
ที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านชนิดและจํานวน หรือ
แม้เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันก็อาจมีความแตกต่างหลากหลายได้เช่นกัน
ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity)
2. ความหลากหลายทางสปีชีส์ (Species Diversity)
3. ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity)
อนุกรมวิธาน (Taxonomy หรือ Systematics) ซึ่งจะศึกษาในด้านต่างๆ 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ในลําดับขั้นต่างๆ (Classification)
2. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต (Identification)
3. การกําหนดชื่อที่เป็นสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (Nomenclature)
1. การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (Classification)

ภาพแสดงการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
การจัดจําแนกแบบ Domain โดยมีการจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 โดเมน ได้แก่
1. Archaea (แบคทีเรียโบราณ)
2. Bacteria/Eubacteria
3. Eukarya/Eukaryota
สปีชีส์ (Species) คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันสามารถผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกที่ไม่เป็นหมัน

การจัดจําแนกตาม Domain ใช้ความรู้เกี่ยวกับสารพันธุกรรมมาร่วมพิจารณา

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (124) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักรตามลักษณะร่วมภายนอกและภายในเซลล์ดังนี้
1. อาณาจักรมอเนอรา (Monera Kingdom)
2. อาณาจักรโพรทิสตา (Protista Kingdom)
3. อาณาจักรฟังไจ (Fungi Kingdom)
4. อาณาจักรพืช (Plantae Kingdom)
5. อาณาจักรสัตว์ (Animalia Kingdom)

แผนภาพแสดงการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 5 อาณาจักร
ตารางเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิต 5 อาณาจักร
อาณาจักร
ลักษณะ ฟังไจ
มอเนอรา โพรทิสตา พืช สัตว์
(เห็ด รา ยีสต์)
1. ไรโบโซม 3 3 3 3 3
2. นิวเคลียส 2 3 3 3 3
3. ผนังเซลล์ 3 3 3 3 2
4. ดีเอ็นเอ 3 3 3 3 3
5. สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่
3 3 2 2 2
มีเซลล์เดียว
6. สังเคราะห์ด้วยแสงได้ 3 3 2 3 2
7. คลอโรพลาสต์ 2 3 2 3 2

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (125)


2. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ (Identification) : ใช้ไดโคโตมัสคีย์ (Dichotomous Key)
3. การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ (Nomenclature) : ใช้ภาษาละตินเท่านั้น ย้ํา!! ละตินเท่านั้น ตามระบบการ
ตั้งชื่อแบบทวินาม (Binomial Nomenclature) ชื่อแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าและส่วนหลัง ส่วนหน้า
คือ Genus หรือ Generic Name ส่วนหลัง คือ Specific Epithet (ไม่ใช่ Species นะ หลายคนเข้าใจว่าคําหลัง
เป็น Species) ทั้งสองคํารวมกันจึงจะเรียกว่า Species หลักการเขียนมี 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวบ้าน
1. Felis catus (ตัวเอียง) 2. Felis catus (ตัวตรงขีดเส้นใต้)
เลือกเขียนแบบใดแบบหนึ่งนะจ๊ะ
ไวรัส (Virus) ไม่มีลักษณะเป็นเซลล์ เนื่องจากไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาซึม และไรโบโซมแต่เป็น
อนุภาคที่ประกอบด้วยโปรตีนซึ่งห่อหุ้มสารพันธุกรรมเอาไว้ ไวรัสมีขนาดเล็กมากซึ่งเราจะมองเห็นได้โดย
ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้นไวรัสสามารถเพิ่มจํานวนตัวเองได้เมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์หรือร่างกายของ
สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ดังนั้นในสภาวะดังกล่าวจึงถือว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิต ในทางตรงกันข้ามถ้าไวรัสไม่ได้อยู่
ภายในเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ไวรัสก็ไม่สามารถเพิ่มจํานวนตัวเองได้ ดังนั้นในสภาวะ
เช่นนี้จะถือว่าไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต

นิเวศวิทยา (Ecology) หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและศึกษา


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ณ แหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ณ แหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง

ภาพแสดงการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต (Organization of Life)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (126) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1) องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component) ได้แก่
1. อนินทรียสาร (Inorganic Substance) ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ต่างๆ และแร่ธาตุ เช่น
คาร์บอน (C), ออกซิเจน (O), ไนโตรเจน (N), น้ํา (H2O) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นต้น
2. อินทรียสาร (Organic Substance) สารอินทรีย์ที่จําเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน และซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยทับถมกันในดิน (humus/ฮิวมัส) เป็นต้น
ทั้งนี้รวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ แสง อากาศ ความชื้น ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น
2) องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component) แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถนําพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหาร
ขึ้นเองได้ (Autotroph) ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) จากสารที่มีอยู่
ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืช แบคทีเรียบางชนิด (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน) สาหร่ายสีเขียว แพลงก์ตอนพืช

ภาพแสดงสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ (อาณาจักรมอเนอรา)

Trick นิดนึงไม่ได้มีเฉพาะพืชนะครับ แบคทีเรียบางชนิด (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน)


จัดอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา สาหร่ายสีเขียว จัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา

2. ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง (Heterothroph) จึง


จําเป็นต้องได้รับอาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่
• ผู้บริโภคพืช (Herbivore) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ช้าง ม้า โค กระต่าย เป็นต้น
• ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต จระเข้ จิ้งจก นก
เหยี่ยว เป็นต้น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (127)


• ผู้บริโภคที่กินทั้งพืช และสัตว์ (Omnivore) เช่น มนุษย์ ไก่ นก แมว สุนัข สุกร เป็ด
นกเป็ดน้ํา เป็นต้น
• ผู้บริโภคซากอินทรีย์ (Detritivore) เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ ถ้ากินแต่ซากสัตว์ เรียกว่า
“Scavenger” เช่น นกแร้ง
3. ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง แต่จะรับสารอาหารโดย
การผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารโมเลกุลเล็กแล้วจึงดูดซึมไปใช้ เช่น ฟังไจ แบคทีเรีย

ภาพแสดงเห็ดทําหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายโดยการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากขอนไม้

ประเภทของระบบนิเวศ
จําแนกประเภทของระบบนิเวศได้ ดังนี้
1) ระบบนิเวศธรรมชาติ และใกล้ธรรมชาติ (Natural and Seminatural Ecosystems) : เป็นระบบ
นิเวศที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศทางน้ํา
1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่าง
กันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลัก โดยความแตกต่างของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และปริมาณน้ําฝน
1.1 ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้
1.2 ระบบนิเวศทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศที่พืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น
1.3 ระบบนิเวศทะเลทราย (Desert Ecosystems) : เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อย

ภาพแสดงระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystems) : ป่าดงดิบ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (128) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


2. ระบบนิเวศทางน้ํา (Aquatic Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ําต่างๆ ของโลก มี
โครงสร้างหลักคือน้ํา
2.1 ระบบนิเวศน้ําจืด (Fresh water Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศที่มีน้ําจืดเป็นองค์ประกอบหลัก
2.2 ระบบนิเวศน้ํากร่อย (Estuarine Ecosystems) : ระบบนิเวศที่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อน้ําจืด
กับน้ําเค็มมักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ําต่างๆ จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้น แต่บางพื้นที่อาจ
เป็นแหล่งน้ําขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ํากร่อยมีพืชน้ําสลับป่าโกงกาง
2.3 ระบบนิเวศน้ําเค็ม (Marine Ecosystems) : ระบบนิเวศที่มีน้ําเป็นน้ําเค็ม มีทั้งที่เป็นทะเลปิด
และทะเลเปิด เนื่องจากเป็นห้วงน้ําขนาดใหญ่

ภาพแสดงระบบนิเวศน้ําเค็ม (Marine Ecosystems)

ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. ระบบนิเวศเมือง และอุตสาหกรรม (Urbanindustrial Ecosystems) : เป็นระบบที่มนุษย์สร้าง
ขึ้นมาใหม่ และจําเป็นต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม อาทิ น้ํามันเชื้อเพลิง พลังงานนิวเคลียร์ ยกตัวอย่างระบบ
นิเวศ เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural Ecosystems) : เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างระบบนิเวศ เช่น แหล่งเกษตรกรรม ตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา เป็นต้น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (129)


ชีวภูมิภาคหรือไบโอม (Biomes)
ขอบเขตหรือบริเวณของสังคมสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ซึ่งมีลักษณะจําเพาะของลักษณะของสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง
ลักษณะของภูมิประเทศ และภูมิอากาศของแหล่งที่อยู่อาศัยและองค์ประกอบของระบบนิเวศ
ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ป่าสน
(Tropical rain forest) (Temperate deciduous forest) (Coniferous forest)
9 ใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลก 9 ปริมาณความชื้นเพียงพอ 9 ภู มิ อ ากาศมี ฤ ดู ห นาวค่ อ นข้ า ง
9 ภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตก 9 อากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ นาน อากาศเย็ น และแห้ ง พื ช
ตลอดปี และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อน จําพวกสน
9 ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ฤดูหนาว
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
(Temperate grassland)
9 เหมาะสําหรับการทํากสิกรและ
ปศุสัตว์
9 ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้า
นานาชนิดขึ้นอยู่
สะวันนา ทะเลทราย ทุนดรา
(Savanna) (Desert) (Tundra)
9 ภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่ 9 ปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 9 ฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อน
เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็น เซนติเมตรต่อปี ช่ ว งสั้ น ชั้ น ของดิ น ที่ อ ยู่ ต่ํ า กว่ า
หย่อมๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า 9 พืช ที่ พ บในไบโอมทะเลทรายนี้ มี จากผิ วดิ น ชั้ นบนลงไปจะจั บ ตั ว
การป้องกันการสูญเสียน้ํา โดยใบ เป็นน้ําแข็งถาวร
ลดรู ปเป็น หนาม ลํ า ต้ นอวบเก็ บ 9 พบพื ช และสั ต ว์ อ าศั ย อยู่ น้ อ ย
สะสมน้ํา นอกจากนีย้ ังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ํา

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (130) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ภาพแสดงแผนที่ชีวภูมิภาคหรือไบโอม (Biomes)
ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
ในสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ต่างๆ จะมีอิทธิพลก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2
ประเภท ดังนี้
1) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Factors) ได้แก่
1. อุณหภูมิ : เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดการจําศีล และการอพยพของสัตว์หลายชนิด ตัวอย่าง
• การจําศีลในฤดูหนาว (Hibernation) เพื่อลดอัตราการใช้เมแทบอลิซึม เช่น กบ
• การจําศีลในฤดูร้อน (Aestivation) เป็นการหลบหนีความร้อน และการออกหากินในเวลา
กลางคืน เช่น ค้างคาว
• นอกจากนี้ อุณหภูมิยังเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวทางรูปร่างตัวอย่างเช่น
ต้นกระบองเพชรมีการเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ํา
2. น้ํา และความชื้น : เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิต และเป็นสิ่งจําเป็นต่อการดํารงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะช่วยให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
3. แสงสว่าง : เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อการสร้างอาหารของพืช เพราะมีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วย
แสงของพืชสีเขียว

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (131)


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อมทางชีวภาพ (Biotic Factors)
รูปแบบ
ลักษณะ ตัวอย่างความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์
ภาวะพึ่งพา (+, +) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด - ไลเคนส์
(Mutualism) ที่อยู่ร่วมกันโดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ซึ่งถ้า - โพรโทซัวในลําไส้ปลวก
แยกออกจากกันจะเกิดการตาย - แบคทีเรีย E. coli ในลําไส้ใหญ่
ของคน
ภาวะได้ประโยชน์ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด - นกเอี้ยงกับควาย
ร่วมกัน (+, +) ที่อยู่ร่วมกันโดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ แต่ก็ - ดอกไม้กับแมลง
(Protocooperation) สามารถแยกกันอยู่ได้โดยไม่มีการตายเกิดขึ้น - มดดํากับเพลี้ย
ภาวะเกื้อกูล (+, 0) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด - ดอกไม้ทะเล (ซีแอนีโมนี) กับ
(Commensalism) ที่อยู่ร่วมกันโดยมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีก ปลาการ์ตูน
ฝ่ายไม่ได้-ไม่เสียประโยชน์ - เหาฉลามกับฉลาม
ภาวะล่าเหยื่อ (+, -) เป็น รูปแบบความสัม พัน ธ์ที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งเป็น - งูกินกบ
(Predation) ผู้ล่า (Predator) จับสิ่งมีชีวิตที่เป็นเหยื่อ (Prey) - นกกินงู
กิน เป็น อาหาร โดยผู้ ล่ าได้ ป ระโยชน์เ หยื่อ เสี ย
ประโยชน์ (ตาย)
ภาวะปรสิต (+, -) เป็น รูปแบบความสัม พัน ธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง - กาฝากกับต้นไม้
(Parasitism) อาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยผู้อาศัย - พยาธิตัวตืดในอวัยวะทางเดิน
(Parasite) ได้ประโยชน์แต่ผู้ถูกอาศัย (Host) อาหารของสัตว์
เสียประโยชน์ - เหากับหัวคน
ภาวะแข่งขัน (-, -) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่าย ภาวะแข่ ง ขั น เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าเพื่ อ
(Competition) ต่ า งแก่ ง แย่ ง ชิ ง ปั จ จั ย บางอย่ า งที่ มี อ ยู่ อ ย่ า ง อาหารของกลุ่มสัตว์
จํากัด

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (132) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การถ่ายทอดพลังงาน (Energy Flow)
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ มีลักษณะการถ่ายทอด 2 แบบ คือ โซ่อาหาร และสายใยอาหาร
1) โซ่อาหาร (Food Chain) หมายถึง การบริโภคกันเป็นขั้นๆ ของสิ่งมีชีวิต (Trophic Level)
• โซ่อาหารแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
1. โซ่อาหารแบบผู้ล่า (Predator food chain หรือ Grazing food chain) มีผู้ล่าอยู่ในโซ่อาหาร
2. โซ่อาหารแบบปรสิต (Parasitic food chain) มีปรสิตอยู่ในโซ่อาหาร
3. โซ่อาหารแบบซากอินทรีย์/ย่อยสลาย (Detritus food chain) มีผู้บริโภคซาก หรือ ผู้ย่อย
สลายอินทรียสาร
4. โซ่อาหารแบบผสม (Mixed chain) เป็นโซ่อาหารหลายๆ แบบผสมอยู่ในสายเดียวกัน

• ตัวอย่างโซ่อาหาร

ภาพแสดงโซ่อาหาร

การถ่ายทอดพลังงานจะเริ่มจากผู้ผลิตดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สร้างอาหาร จากนั้นพลังงานจะ
ถ่ายทอดผ่านการกินไปเป็นทอดๆ ผู้บริโภคจะได้พลังงานเพียง 10% จากอาหารที่บริโภค เรียกว่า “กฎ 10%”
พลังงานส่วนที่เหลือจาก 10% จะถูกใช้ไปในกระบวนการหายใจ และการขับถ่าย และกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมในรูป
พลังงานความร้อน ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย คือ ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
2) สายใยอาหาร(Food Web)
• หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารหลายๆ โซ่อาหารในระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน
• ผู้บริโภคแต่ละชนิดไม่ได้กินอาหารชนิดเดียว และไม่ได้เป็นอาหารของสัตว์ชนิดเดียว

ภาพแสดงสายใยอาหาร

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (133)


พีระมิดนิเวศ (Ecological Pyramid)
ในลักษณะของสามเหลี่ยมพีระมิดของสิ่งมีชีวิต (Ecological Pyramid) แบ่งได้ 3 ประเภท ตามหน่วยที่
ใช้วัดปริมาณของลําดับขั้นในการกิน
1. พีระมิดจํานวน (Pyramid of Number) เป็นพีระมิดที่บอกจํานวนสิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้นเชิง
อาหารในหน่วยต้นหรือตัวต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร
2. พีระมิดมวลชีวภาพ (Pyramid of Biomass) เป็นพีระมิดแสดงปริมาณสิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้น
เชิงอาหารในหน่วยน้ําหนักแห้งหรือจํานวนแคลอรีต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร
3. พีระมิดพลังงาน (Pyramid of Energy) เป็นพีระมิดแสดงปริมาณสิ่งมีชีวิตโดยบอกเป็นอัตราการ
ถ่ายทอดพลังงานหรืออัตราผลิตของแต่ละลําดับขั้นเชิงอาหารในหน่วยของพลังงานต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร
ต่อหน่วยเวลา
พลังงานที่ผู้บริโภคนําไปสร้างเนื้อเยื่อของตนเองจึงเหลือเพียง 10% (กฎ 10% ของการถ่ายทอด
พลังงานในโซ่อาหาร) ของพลังงานศักย์ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของตนเอง

Pyramid of Energy Pyramid of Biomass Pyramid of Numbers


แผนภาพพีระมิดนิเวศแบบต่างๆ

เรื่องพีระมิดออกบ่อยๆ นะครับเด็กๆ

การถ่ายทอดสารปนเปื้อนในโซ่อาหารและสายใยอาหาร : การสะสมสารเคมี/สารมลพิษผ่านการกินต่อ
กันในสายใยอาหาร (Food Web)
โดยความเข้มข้นของสารเคมีที่เกิดการสะสมนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Biomagnification) ตามลําดับขั้นอาหาร
(Tropic Level)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (134) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ
การหมุนเวียนของสารเคมีอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากสารหนึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นอีกสารหนึ่ง มีการ
หมุนเวียนในระบบของสิ่งมีชีวิตไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายจะหมุนเวียนกลับมาอยู่ในสภาพเดิมแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) วัฏจักรของสารที่มีการหมุนเวียนผ่านบรรยากาศ เช่น ออกซิเจนคาร์บอน น้ํา ไนโตรเจน เป็นต้น
2) วัฏจักรของสารที่มีการหมุนเวียนโดยไม่ผ่านบรรยากาศ เช่น ฟอสฟอรัส กํามะถัน แคลเซียม เป็นต้น
ประชากร (Population)
กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิด (Species) เดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ (Habitat) เดียวกัน ในช่วงเวลา
เดียวกัน
ความหนาแน่นของประชากร (Population Density) : เป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวกับขนาดของประชากร
หากไม่สมดุลกับสิ่งแวดล้อมจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ สามารถวัดความหนาแน่นประชากรได้
ดังนี้
• ความหนาแน่นของประชากร (บนบก) =
จํานวนสมาชิกของประชากร
พื้นที่ของแหล่งที่อยู่
• ความหนาแน่นของประชากร (ในน้ํา) =
จํานวนสมาชิกของประชากร
ปริมาตรของแหล่งที่อยู่
การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร คือ การเปลี่ยนแปลงจํานวนของประชากรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ในช่วงเวลาที่ระบุไว้ สิ่งที่มีผลต่อขนาดของประชากรมี 4 ปัจจัย ดังนี้
1. การเกิด (Natality) หมายถึง ความสามารถที่จะถ่ายทอดพันธุกรรมให้มีจํานวนมากขึ้น
2. การตาย (Mortality) หมายถึง การตายของประชากรในประชากรกลุ่มหนึ่งๆ
3. การอพยพเข้า (Immigration) หมายถึง การเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในกลุ่ม
4. การอพยพออก (Emigration) หมายถึง การเคลื่อนย้ายออกไปจากกลุ่ม
การอพยพ (Migration) หมายถึง การออกไปจากกลุ่มของสัตว์บางชนิดอย่างชั่วคราวตามฤดูกาล
และจะกลับเข้ามาเมื่อสิ่งแวดล้อมในถิ่นที่อยู่อาศัยของมันกลับคืนเข้าสู่สภาวะตามปกติโดยมีสาเหตุของการ
อพยพ เช่น หลีกเลี่ยงจากสภาพอากาศและฤดูกาลที่ไม่เหมาะสม เพื่อหาแหล่งสืบพันธุ์ในการขยายเผ่าพันธุ์ เป็นต้น
อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร
1. อัตราการเพิ่มของประชากร = อัตราการเกิดมาก + อัตราการอพยพเข้ามาก
2. อัตราการลดของประชากร = อัตราการตายมาก + อัตราการอพยพออกมาก

แผนผังแสดงปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของประชากร

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (135)


รูปแบบการเพิ่มของประชากร
จํานวนประชากร (พันตัว)

70
60
50
40
ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว
30
20 ระยะที่มีการเพิ่มของประชากร
อย่างช้าๆ
10
0 รุ่น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
กราฟแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential)
จํานวนเซลล์ยีสต์ ระยะที่มีอัตราการเพิ่มประชากรคงที่
700
600 ระยะที่มีอัตราการเพิ่มประชากรช้าลง
500
400
ระยะที่มีอัตราการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว
300
200 ระยะที่มีอัตราการเพิ่มประชากรอย่างช้าๆ
100
0 เวลา (ชั่วโมง)
2 4 6 8 10 12 14 16 18
การเพิ่มประชากรเป็นแบบ Logistic
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีแบบแผนการรอดชีวิตของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุขัย (Life Span) ของ
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แมลงมีช่วงอายุขัยสั้น แต่ในสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างและคนมีช่วง
อายุขัยยาวนานเฉลี่ย 70-120 ปี

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (136) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การรอดชีวิตของประชากร
ตลอดช่วงอายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีอัตราการอยู่รอดในช่วงอายุขัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน การรอด
ชีวิตของประชากรในช่วงวัยต่างๆ กัน ทําให้ความหนาแน่นของของประชากรที่อยู่ในวัยต่างๆ แตกต่างกันด้วย
การรอดชีวิตต่อ 1,000 หน่วย

1,000 รูปแบบที่ 1

100 รูปแบบที่ 2

รูปแบบที่ 3
10

0 ร้อยละของอายุขยั
25 50 75 100
กราฟการรอดชีวิตของประชากรสิ่งมีชีวิต
กราฟการรอดชีวิตของประชากรจะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตสูงในวัยแรกเกิดและจะคงที่เมื่อโตขึ้น หลังจากนั้นอัตราการ
รอดชีวิตจะต่ําเมื่อสูงวัยขึ้นสิ่งมีชีวิตดังกล่าว เช่น มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข เป็นต้น
รูปแบบที่ 2 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตที่เท่ากันในทุกวัย เช่น ไฮดรา นก เต่า เป็นต้น
รูปแบบที่ 3 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตต่ําในระยะแรกของช่วงชีวิต หลังจากนั้นเมื่ออายุมากขึ้นอัตรา
การรอดชีวิตจะสูง เช่น ปลา หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (Ecological Succession)
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หมายถึง การแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเป็นยุคๆ
จากยุคแรกจนถึงยุคสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุด (Climax Community) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของ
กลุ่มสิ่งมีชีวิตในสถานที่ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่ก่อนเลย

ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
เรื่องการเปลี่ยนแปลงแทนที่ออกข้อสอบบ่อยนะครับ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (137)


2. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (Secondary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของ
กลุ่ม สิ่งมีชีวิตในบริเวณที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก่อน แต่ถูกทําลายด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น น้ําท่วมนานๆ
ไฟไหม้ป่า เป็นต้น
มนุษย์กับสภาวะแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งเป็นปกติ แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจนเป็น
อันตรายต่อการดํารงชีวิตในด้านใดด้านหนึ่งแล้ว จนถึงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจะ เรียกว่า มลพิษ (Pollution)
มลพิษทางน้ํา
วิธีการตรวจน้ําเสียทําได้ 2 วิธีหลักดังนี้
1. วัดปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม
2. วัดปริมาณแก๊สออกซิเจนในน้ําซึ่งทําได้ 3 วิธีดังนี้
2.1 วัดค่า DO (Dissolved Oxygen) คือ ปริมาณ O2 ที่ละลายในน้ําถ้า DO น้อยกว่า 3 mg/lit
แสดงว่าน้ําเสีย
2.2 วัดค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2 ในน้ําที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ใน
การย่อยสลายสารอินทรีย์ถ้าค่า BOD มากกว่า 100 mg/lit แสดงว่าน้ําเสีย
2.3 วัดค่า COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2 ที่ใช้ในการสลายสารอินทรีย์ในน้ํา
โดยใช้สารเคมีเช่นโพแทสเซียมไดโครเมต เป็นต้น
มลพิษทางอากาศ
อากาศที่มีส่วนประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ มีสาเหตุหลายประการ สาเหตุสําคัญ เช่น การปล่อย
สารต่างๆ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริเวณที่มีการก่อสร้าง ซึ่งอาจทําให้มีสารเจือปนอยู่
ในอากาศปริมาณมากจนก่อให้เกิดผลเสียต่อการดํารงชีวิตของคน สัตว์ พืช รวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในบริเวณนั้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) คือ ปรากฏการณ์ที่แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมี
ปริมาณมากเกินไป ซึ่งแก๊สเหล่านั้นจะดูดซับความร้อนและคายความร้อนคืนสู่โลกจึงทําให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
แก๊สเรือนกระจกที่สําคัญ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สมีเทน (CH4) ออกไซด์ของไนโตรเจน
และไอน้ํา (H2O) แก๊สเหล่านี้มีความสามารถในการเก็บกักความร้อนได้ดี
การทําลายโอโซนในบรรยากาศ
การลดลงของโอโซน (O3) ในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ส่องผ่าน
มายังโลกได้มากขึ้นและสาร CFC เป็นสาเหตุสําคัญในการทําลายโอโซน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (138) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เก็งขอสอบ
1. พืช A และ B เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน คือ ทะเลทรายและป่าดิบชื้น โดยพืชแต่ละชนิด
มีลักษณะใบต่างกัน ดังนี้
พืช A ใบมีการลดรูปให้มีขนาดเล็ก มีสารเคลือบที่ผิวใบหนา และมีจํานวนปากใบน้อย
พืช B ใบมีขนาดใหญ่ มีสารเคลือบที่ผิวใบบาง และมีจํานวนปากใบมาก ผลการศึกษาอัตราการคายน้ํา
ของพืช 2 ชนิด ในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นดังกราฟ
กราฟแสดงอัตราการคายน้ํา
การคายน้ํา (g/m2 )
1

2
เวลา (นาที)

จากข้อมูล ข้อใดระบุกราฟแสดงอัตราการคายน้ําของพืชและลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโต


ของพืชดังกล่าวได้ถูกต้อง (ONET 62)
1) กราฟที่ 1 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
2) กราฟที่ 1 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช B ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
3) กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
4) กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ป่าดิบชื้น
5) กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช B ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ป่าดิบชื้น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (139)


2. นักเรียนจัดชุดการทดลอง 5 ชุด โดยใช้กิ่งไม้ที่มีอายุเท่ากันจากต้นเดียวกัน เด็ดใบในชุดการทดลองที่ 3
และ 5 ออกบางส่วน จากนั้นแช่กิ่งไม้ในหลอดทดลองที่มีน้ํา 32 มิลลิลิตร และมีน้ํามันพืช 3 มิลลิลิตร
เททับอยู่ แล้วตั้งไว้ในสภาวะที่แตกต่างกัน ดังภาพ

ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 ชุดที่ 5


ความเข้มแสงมาก ความเข้มแสงน้อย ความเข้มแสงมาก ความเข้มแสง ความเข้มแสงมาก
ความชื้นสัมพัทธ์มาก ความชื้นสัมพัทธ์มาก ความชื้นสัมพัทธ์น้อย ความชื้นมากสัมพัทธ์น้อย ความชื้นสัมพัทธ์มาก
เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที พบว่ามีปริมาณน้ําคงเหลือในหลอดทดลอง ดังตาราง
ชุดการทดลองที่ ปริมาณน้ําคงเหลือในหลอดทดลอง (mL)
1 15
2 20
3 25
4 10
5 30
ข้อใดเลือกชุดการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคายน้ําและเปรียบเทียบ อัตราการคายน้ําได้
ถูกต้อง (ONET 62)
ชุดการทดลองที่ใช้ ปัจจัยที่ต้องการศึกษา ผลการเปรียบเทียบอัตราการคายน้ํา
1) 1 และ 2 ความเข้มแสง ชุดการทดลองที่ 2 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า
ชุดการทดลองที่ 1
2) 1 และ 4 ความชื้นสัมพัทธ์ ชุดการทดลองที่ 4 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า
ชุดการทดลองที่ 1
3) 2 และ 4 จํานวนใบ ชุดการทดลองที่ 4 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า
ชุดการทดลองที่ 2
4) 3 และ 4 จํานวนใบ ชุดการทดลองที่ 3 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า
ชุดการทดลองที่ 4
5) 3 และ 5 ความเข้มแสง ชุดการทดลองที่ 5 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า
ชุดการทดลองที่ 3

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (140) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


3. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากดับอ่อนสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” ได้น้อยหรือสร้างไม่ได้เลยซึ่งฮอร์โมนชนิด
นี้ทําหน้าที่ช่วยให้ร่างกายสลายน้ําตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายไม่
สามารถนําน้ําตาลในเลือดไปใช้ได้ ทําให้ปริมาณน้ําตาลในเลือดสูง ร่างกายจะปรับตัวไปใช้พลังงานจากการ
สลายสารอาหารอื่น เช่น ไขมัน หรือ โปรตีน ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมของของเสียที่เป็นอันตรายในเลือด
น้ําตาลและของเสียปริมาณมากทําให้เลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเข้มข้นสูง ร่างกายจึงต้องขับ
น้ําตาลและของเสียผ่านทางปัสสาวะ ทําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะบ่อยในปริมาณมากและรู้สึกกระหายน้ํา
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะบ่อย ในปริมาณมาก (ONET 62)
1) น้ําจะออสโมซิสจากเซลล์มาสู่เลือด
2) ร่างกายกําจัดน้ําตาลที่มีมากเกินในเลือด
3) ร่างกายกําจัดของเสียที่เป็นอันตรายในเลือด
4) ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นท่อหน่วยไต
5) ของเหลวที่ผ่านท่อหน่วยไตมีปริมาณน้ําตาลมาก น้ําจึงถูกดูดกลับได้น้อย
4. โรคลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายอยู่กลางแจ้งแดดร้อนจัดเป็นเวลานาน ร่างกายจึงปรับสมดุลอุณหภูมิไม่ทัน
ทําให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส โดยอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมแดด คือ มีอาการ
เป็นลม เพ้อ หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ข้อใดกล่าวถึงวิธีการที่สามารถป้องกันโรคลมแดดได้ถูกต้อง (ONET 62)
1) รับประทานยาที่กระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
2) ดื่มน้ําในปริมาณมากเพื่อให้เลือดเข้มข้นมาก และมีความดันเลือดต่ํา
3) รับประทานอาหารปริมาณมากเพื่อเพิ่มการเผาผลาญอาหารในร่างกาย
4) สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาบางเพื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อและการพาความร้อน
5) ใช้ผ้าเย็นประคบส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นอัตราเมแทบอลิซึมให้เพิ่มขึ้น
5. ผู้ป่วยรายหนึ่งมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยแพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยรายนี้มีความผิดปกติที่เซลล์
เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์และเซลล์ที ต่อมาเมื่อผู้ป่วยรายนี้ได้รับวัคซีน พบว่า ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน
ต่อโรคนั้นได้ เพราะเหตุใดผู้ป่วยรายนี้จึงไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นได้ (ONET 62)
1) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ไม่สามารถจับกับแอนติบอดีได้
2) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ที่ไม่สามารถส่งสัญญาณให้เซลล์บีแบ่งเซลล์ได้
3) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมาได้
4) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างแอนติบอดีที่จําเพาะกับแอนติเจนได้
5) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ที่ไม่สามารถกระตุ้นให้เซลล์มีจดจําและจําแนกแอนติเจนได้
6. ข้อใดคือกลไกของร่างกายที่ทําให้เกิดโรคภูมิแพ้ (ONET 62)
1) สร้างแอนติเจนเพื่อไปจับแอนติบอดี
2) สร้างแอนติบอดีเพื่อยับยั้งการสร้างภูมิคุ้มกัน
3) สร้างสารฮิสตามินออกมาเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้
4) สร้างแอนติฮิสตามินเพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
5) สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ให้สร้างแอนติบอดี

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (141)


7. โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยืนบนโครโมโซมเพศเพดดิกรีแสดงการถ่ายทอด
ลักษณะโรคฮีโมฟีเลียของครอบครัวหนึ่ง เป็นดังแผนภาพ
รุ่นที่
I
1 2 3 4

II
1 2 3 4 5 6

III
1 2 3 4 5

กําหนดให้ ผู้ชายปกติ ผู้หญิงปกติ


ผู้ชายเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ผู้หญิงเป็นโรคฮีโมฟีเลีย
จากข้อมูล บุคคลใดที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย (ONET 62)
1) รุ่นที่ I คนที่ 2 2) รุ่นที่ II คนที่ 3 3) รุ่นที่ II คนที่ 4
4) รุ่นที่ III คนที่ 1 5) รุ่นที่ III คนที่ 5
8. สีขนของสัตว์ชนิดหนึ่งถูกควบคุมด้วยยีน Agouti มีแอลลีล 2 แบบ คือ A และ 2 โดยแอลลีล A ควบคุม
ลักษณะขนสีเหลืองซึ่งเป็นลักษณะเด่น และแอลลีล 2 ควบคุมลักษณะขนสีดําซึ่งเป็นลักษณะด้อย เพดดิกรี
ของสัตว์ชนิดนี้ในป่าแห่งหนึ่ง เป็นดังแผนภาพ
รุ่นที่
I
1 2 3 4

II
1 2 3 4

III
1 2 3 4

IV
1

กําหนดให้ และ คือ สัตว์ที่มีขนสีเหลือง


และ คือ สัตว์ที่มีขนสีดํา
จากข้อมูล สัตว์ตัวใดที่สามารถระบุคู่ยีนได้แน่นอนว่าเป็น Aa (ONET 62)
1) รุ่นที่ I ตัวที่ 2 2) รุ่นที่ I ตัวที่ 4 3) รุ่นที่ II ตัวที่ 2
4) รุ่นที่ II ตัวที่ 4 5) รุ่นที่ III ตัวที่ 2

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (142) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


9. เหตุการณ์ในข้อใดที่พบเฉพาะในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเท่านั้น (ONET 62)
1) การเข้าคู่กันของโครโมโซมคู่เหมือน
2) การจําลองตัวเองของโครโมโซมเป็น 2 โครมาทิด
3) การแยกกันของโครมาทิดที่ยึดติดกันไปยังแต่ละขั้วเซลล์
4) การแบ่งเซลล์เริ่มต้นจากเซลล์ที่มีโครโมโซมเท่ากับ 2n
5) การแบ่งเซลล์ในขั้นตอนสุดท้ายจะได้เซลล์ที่มีโครโมโซม 2 ชุด
10. ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพ่อแม่สองครอบครัว และลูกสามคน ได้แก่ A B และ C เป็นดังภาพ

จากข้อมูล ข้อใดระบุความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ถูกต้อง (ONET 62)


1) A กับ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 1 และ B เป็นลูกของครอบครัวที่ 2
2) A กับ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 2 และ B เป็นลูกของครอบครัวที่ 1
3) A เป็นลูกของครอบครัวที่ 1 และ B กับ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 2
4) A B และ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 1
5) A B และ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 2
11. ข้อใดกล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพไม่ถูกต้อง (ONET 62)
1) การเกิดภัยพิบัติจะทําให้ความหลากหลายทางชีวภาพเปลี่ยนแปลงไป
2) การล่าสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อาจทําให้ความหลากหลายของสปีชีส์ลดลง
3) การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนของมนุษย์อาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศอื่นด้วย
4) การละลายของธารน้ําแข็งจะส่งผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศเฉพาะแถบขั้วโลก
5) การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นผลจากความหลากหลายทางพันธุกรรมของแบคทีเรีย

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (143)


12. หมีน้ําเป็นสัตว์น้ําขนาดเล็ก (0.05-1.20 มิลลิเมตร) มี 8 ขา โดยปลายขามีกรงเล็บ จึงมีลักษณะคล้ายหมี
หมีน้ําส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่บนบก ซึ่งหมีน้ําบนบกเหล่านี้ต้องการน้ําในการดํารงชีวิต จึงอาศัยอยู่ตามมอส
ไลเคน ดิน และกองเศษใบไม้ รวมไปถึงบนพืชอิงอาศัย โดยหมีน้ําบนบก มีความทนทานมาก สามารถอยู่
รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดํารงชีวิต ในขณะที่หมีน้ําที่อาศัยอยู่ในทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มที่เก่าแก่
และโบราณที่สุด ไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมเช่น นี้ได้ข้อความใดต่อไปนี้สอดคล้องกับทฤษฎี
การคัดเลือกตามธรรมชาติมากที่สุด(ONET 62)
1) หมีน้ําบนบกมีลําตัวขนาดเล็ก
2) หมีน้ําบนบกสามารถพรางตัวได้ดี
3) หมีน้ําบนบกสามารถซ่อมแซมร่างกายได้ดี
4) หมีน้ําบนบกสามารถกินอาหารได้หลากหลาย
5) หมีน้ําบนบกสามารถอยู่รอดจนมีลูกรุ่นถัดไปได้
13. แพลงก์ตอนบลูม คือ ปรากฏการณ์ที่แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากในน้ํามีธาตุอาหารสูงและมีสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญของแพลงก์ตอนพืช จึงมองเห็นน้ําเป็น
สีต่างๆ ซึ่งแพลงก์ตอนพืชที่มีจํานวนมากจะบดบังแสงอาทิตย์ จึงส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ําอื่นๆ แม้ว่าแพลงก์ตอนพืชจะสามารถให้แก๊สออกซิเจน จากการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
แต่เมื่อปริมาณธาตุอาหารในน้ําหมดลงแพลงก์ตอนพืชจํานวนมากนี้จะตาย จึงถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์
ซึ่งต้องใช้แก๊สออกซิเจนปริมาณมาก ทําให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนในน้ําลดลงระบบนิเวศแหล่งน้ําแห่งหนึ่ง
มีสายใยอาหารเป็นดังแผนภาพ

ฉลาม
ปลา ดาวทะเล
หมึก

แพลงก์ตอนสัตว์ หอยสองฝา หอยฝาเดียว

แพลงก์ตอนพืช สาหร่าย

ถ้าระบบนิเวศแหล่งน้ําแห่งนี้เกิดแพลงก์ตอนบลูม จะส่งผลต่อองค์ประกอบของระบบนิเวศนี้อย่างไร (ONET 62)


1) อาหารของแพลงก์ดอนสัตว์จะลดลง
2) จํานวนของสาหร่ายและหอยฝาเดียวจะลดลง
3) ในช่วงเวลากลางคืน ปริมาณแก๊สออกซิเจนในน้ําจะมากกว่าเวลากลางวัน
4) หากแพลงก์ตอนพืชสะสมสารพิษภายในเซลล์ หอยสองฝาจะสะสมสารพิษมากที่สุด
5) การถ่ายทอดพลังงานจากแพลงก์ตอนพืชไปยังหมึกมากกว่าแพลงก์ตอนพืชไปยังดาวทะเล

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (144) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


14. ระบบนิเวศหนึ่งที่อยู่ในภาวะสมดุล จะมีจํานวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้นของโซ่อาหารเป็นดังแผนภูมิแท่ง
สิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้นของโซ่อาหาร

ผูบ้ ริโภคลําดับที่ 2

ผูบ้ ริโภคลําดับที่ 1

ผูผ้ ลิต
จํานวน (ตัว/ต้น)
จากข้อมูลจํานวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลําดับขั้นของโซ่อาหารสอดคล้องกับพีระมิดมวลชีวภาพและตัวอย่าง
ชนิดของสิ่งมีชีวิตในข้อใด (ONET 62)

นกเหยี่ยว
นกกระจาบ
1) 2) นกกระจาบ
ต้นหว้า
นกเหยี่ยว
ต้นหว้า

นกกระจาบ นกกระจาบ
ตั๊กแตน นกเหยี่ยว
3) 4)
ต้นข้าว ต้นหว้า

นกเหยี่ยว
นกกระจาบ
5)
ต้นหว้า

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (145)


15. ป่าพรุแ ห่งหนึ่ง ถูกเผาจนเกิด ความเสียหายเป็น พื้น ที่ก ว้าง โดยพื้ น ที่ ที่ได้ รับ ความเสียหายถูกแบ่ง เป็ น
2 บริเวณ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ดังนี้
บริเวณที่ 1 ถูกปล่อยทิ้งร้างจนเกิดเป็นระบบนิเวศแบบใหม่ที่พบเฉพาะพืชล้มลุก
บริเวณที่ 2 ถูกปล่อยทิ้งร้างจนเกิดเป็นระบบนิเวศแหล่งน้ํา
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นของทั้ง 2 บริเวณ (ONET 62)
บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2
1) เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่
2) ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
3) เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
4) เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
5) เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
16. ในทะเลทราย ซึ่งมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ถ้ามนุษย์ทํากิจกรรมโดยไม่ดื่มน้ําข้อใดคือการเปลี่ยนแปลง
ของร่างกายเพื่อปรับสมดุลน้ําทันทีที่หยุดทํากิจกรรม (ONET 61)
ความเข้มข้นของเลือด ต่อมใต้สมอง ท่อหน่วยไต
1) ลดลง ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ไม่ดูดน้ํากลับ
2) ลดลง สร้างฮอร์โมน ดูดน้ํากลับ
3) สูงขึ้น ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ไม่ดูดน้ํากลับ
4) สูงขึ้น สร้างฮอร์โมน ดูดน้ํากลับ
5) ไม่เปลี่ยนแปลง ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ดูดน้ํากลับ
17. การตรวจสอบโปรตีนบนผิวน้ําของละอองเรณูในดอกไม้ 3 ชนิด เป็นดังตาราง

ถ้าผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ละอองเรณู พบแอนติบอดี 3 แบบ คือ เป็นจํานวนมาก


จากข้อมูล ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงละอองเรณูของดอกไม้ชนิดใด เพราะเหตุใด (ONET 61)
1) ชนิดที่ 1 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน
2) ชนิดที่ 1 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะไม่จับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
3) ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน
4) ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
5) ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะไม่จับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (146) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


18. นาย ก เคยเป็นโรคอีสุกอีใสตอนอายุ 8 ขวบ ต่อมามีการระบาดของโรคอีสุกอีใสอีกแต่พบว่า นาย ก ไม่เป็น
โรคนี้แล้วข้อใดกล่าวถึงระบบภูมุ้มกันในร่างกายของนาย ก ต่อเชื้อโรคอีสุกอีใสได้ถูกต้อง (ONET 61)
1) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบรับมา โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน
2) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน
3) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติบอดี
4) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบรับมา โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นทั้งแอนติเจนและแอนติบอดี
5) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นทั้งแอนติเจนและแอนติบอดี
19. กระบวนการแบ่งเซลล์ของกบ 2 รูปแบบ เป็นดังแผนภาพ

จากภาพจําลองการแบ่งเซลล์ของกบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง (ONET 61)


1) ขั้นตอน 1A และ 2A ทําให้จํานวนชุดโครโมโซมเพิ่มขึ้นจาก 2n เป็น 4n
2) ขั้นตอน 1B ทําให้มีการแลกเปลี่ยนยีนของโครโมโซมคู่เหมือน
3) ขั้นตอน 2B ทําให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
4) ขั้นตอน 1C และ 2C ทําให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
5) ขั้นตอน 1C และ 2C ทําให้จํานวนชุดโครโมโซมลดลงจาก 2n เป็น n

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (147)


20. ชายคนหนึ่งตาบอดสี แต่งงานกับหญิงตาปกติ แล้วมีลูกชายคนแรกตาบอดสีข้อใดกล่าวถึงลักษณะตาบอด
สีในครอบครัวนี้ได้ถูกต้อง (ONET 61)
1) ลูกชายทุกคนจะตาบอดสี
2) ลูกสาวทุกคนจะมีตาปกติ แต่เป็นพาหะ
3) ลูกชายมีโอกาสตาบอดสีมากกว่าลูกสาว
4) ลูกชายแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 50
5) ลูกชายและลูกสาวแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 25
21. ข้อใดเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ไม่ถูกต้อง (ONET 61)
1) การตรวจหาคนร้ายโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
2) การระบุความแตกต่างระหว่างแฝดร่วมไข่ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
3) การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ให้มีลักษณะคงเดิมด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4) การสร้างกระต่ายที่เหมือนกับกระต่ายต้นแบบด้วยการโคลนจากเซลล์ตับ
5) การสร้างแบคทีเรียที่ผลิตน้ํามันจากยีนของสาหร่ายด้วยการใช้โมเลกุลดีเอ็นเอลูกผสม
22. ข้อใดไม่ใช่ผลของการคัดเลือกทางธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของโครงสร้างร่างกาย (ONET 61)
1) ยีราฟมีลําคอยาว เพื่อให้สามารถเล็มกินใบไม้บนต้นไม้สูงๆ ได้
2) กระต่ายแลพัสมีขนสีขาวที่กลมกลืนกับหิมะ เพื่อช่วยพรางตัวในการหลบหลีกศัตรู
3) สุนัขจิ้งจอกทะเลทรายมีหาง หู และขายาว เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อน
4) กิ้งก่าทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน
5) นกจาบมีจะงอยปากใหญ่และแข็งแรง เพื่อให้สามารถกินเมล็ดพืชขนาดใหญ่และมีเปลือกแข็งได้
23. กระบวนการใดที่ทําให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นและลดลง ตามลําดับ (ONET 61)
1) การคายน้ํา การหายใจ
2) การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ
3) การหายใจ การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์
4) การสังเคราะห์ด้วยแสง การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์
5) การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ การสังเคราะห์ด้วยแสง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (148) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


24. ในระบบนิเวศที่สมดุลแห่งหนึ่ง มีการถ่ายทอดพลังงานในรูปสายใยอาหาร ดังแผนภาพ
เหยีย่ ว

กบ นก กระต่าย

แมลง หอยทาก

หญ้า

ข้อใดอธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหารนี้ไม่ถูกต้อง (ONET 61)


1) หญ้าเป็นผู้ผลิต จะมีชีวภาพมากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในระบบนิเวศ
2) ถ้ามีการฉีดสารเคมีกําจัดวัชพืช นกจะมีการสะสมสารเคมีมากกว่าหอยทาก
3) ถ้ากระต่ายเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้จํานวนแมลงและหอยทากลดลงเพราะอาหารน้อยลง
4) ถ้ากบและนกมีจํานวนลดลง แมลงและหอยทากจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นเพราะผู้ล่าลดลง
5) พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
25. พื้นที่ใดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (ONET 61)
1) พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม 2) พื้นที่มีการเผาทําลายป่า
3) พื้นที่ป่าที่เกิดน้ําท่วมอย่างรุนแรง 4) พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ
5) พื้นที่ทําไร่นาของชาวนาที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง
26. ข้อมูลแสดงปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และจํานวนชนิดของไลเคนที่พบในบริเวณที่มีระยะห่างจากตัว
เมืองต่างกัน ดังตาราง
ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (ppm) จํานวนชนิดของไลเคน
ระยะห่างจากตัวเมือง (Km)
พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2555
0 1.5 2.0 5 2
25 1.2 1.5 8 5
50 1.0 1.2 10 7
75 0.8 1.0 15 13
100 0.6 0.8 17 15
125 0.4 0.6 20 18
150 0.2 0.4 24 20
จากข้อมูล ข้อใดกล่าวถูกต้อง (ONET 61)
1) คุณภาพอากาศใน พ.ศ. 2555 ดีกว่า พ.ศ. 2550
2) จํานวนชนิดของไลเคนจะเพิ่มขึ้นตามคุณภาพอากาศที่ลดลง
3) ความหลากหลายของไลเคน แปรผกผันกับระยะห่างจากตัวเมือง
4) ความหลากหลายของไลเคนแปรผกผันกับปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
5) จํานวนชนิดของไลเคนในทุกระยะห่างจากตัวเมืองใน พ.ศ. 2555 มากกว่า พ.ศ. 2550

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (149)


27. ตารางแสดงจํานวนแพลงก์ตอน และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ํา ของแหล่งน้ํา 2 บริเวณ ทั้งก่อนและ
หลังการสร้างโรงงาน เป็นดังนี้

ก่อนสร้างโรงงาน หลังสร้างโรงงาน
แหล่งน้ํา จํานวนแพลงก์ตอน ปริมาณออกซิเจนที่ จํานวนแพลงก์ตอน ปริมาณออกซิเจน
(หน่วย/mL) ละลายในน้ํา (หน่วย/mL) ที่ละลายในน้ํา
(mg/L) (mg/L)
บริเวณที่ 1 50 7 60 6.5
บริเวณที่ 2 55 6 400 1
จากข้อมูล หลังสร้างโรงงาน ข้อความใดกล่าวถูกต้อง (ONET 61)
1) แหล่งน้ําบริเวณที่ 2 มีจํานวนแพลงก์ตอนมากขึ้น ทําให้น้ํามีคุณภาพดีขึ้น
2) แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 มีค่า DO สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ําดีกว่า
3) แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 มีค่า BOD สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ําต่ํากว่า
4) แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 แพลงก์ตอนใช้ออกซิเจนมากกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีค่า BOD สูงกว่า
5) แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 มีจํานวนแพลงก์ตอนน้อยกว่าบริเวณที่ 2 แสดงว่า บริเวณที่ 1 ได้รับผลเสียจาก
โรงงานมากกว่า
28. รับประทานไข่ต้มเฉพาะไข่ขาวจะได้รับสารอาหารใดมาก (สามัญ 58)

หลอด A B C D E
1. เติมสาร น้ํา น้ําแป้ง น้ําแป้ง น้ําแป้ง น้ําแป้ง
2. เติมสาร น้ํา น้ํา amylase amylase น้ํา
3. บ่ม 10 นาที ที่อุณหภูมิ 30°C 30°C 30°C 4°C 100°C
4. เติมสาร iodine iodine iodine iodine iodine
ตัวแปรตามของการทดลองนี้คือข้อใด (สามัญ 58)
1) น้ํา และน้ําแป้ง 2) น้ํา และ amylase
3) อุณหภูมิ 4) สีของ iodine ในแต่ละหลอด
5) ความเข้มของสีน้ําเงินในหลอด
29. โครงสร้างใดของเซลล์ไม่มี actin เป็นองค์ประกอบ (สามัญ 58)
1) Centriole
2) Microvilli
3) cytoskeleton
4) pseudopodium
5) cleavage furro (รอยคอดของการแบ่งเซลล์)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (150) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


30. การจับคู่ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ในข้อใดไม่ถูกต้อง (สามัญ 58)
1) epididymis - แหล่งพักอสุจิ
2) placenta - แลกเปลี่ยนสารระหว่างแม่ลูก
3) fallopian tube - ตําแหน่งที่เอ็มบริโอฝังตัว
4) seminal vesicle - ผลิตน้ําเลี้ยงอสุจิที่มีน้ําตาลและเมือก
5) corpus luteum – ผลิตโปรเจสเตอโรนในระหว่างการตั้งครรภ์
31. เมื่อตัดต่อมไร้ท่อของหนูแรทออกจะทําให้หนูไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ (สามัญ 58)
1) ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ 2) ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์
3) ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล 4) ต่อมหมวกไต ต่อมไทมัส
5) ต่อมหมวกไต ต่อมพาราไทรอยด์
32. เกษตรกรทําการทดลองใช้สารละลายที่ได้จากการหมักซากพืชกับมูลสุกร พบว่ามีฤทธิ์เร่งการงอกรากของ
กิ่งชําได้ สารละลายนี้มีฤทธิ์คล้ายคลึงกับฮอร์โมนพืชกลุ่มใดมากที่สุด (สามัญ 58)
1) Auxin 2) Cytokinin 3) Gibberellin 4) Abcisic acid 5) Ethylene
33. ข้อใดคือความหมายของคาริโอไทป์ของคน (สามัญ 58)
1) ภาพของโครโมโซมแต่ละแบบ
2) ภาพของโครโมโซมคู่เหมือนที่เข้าคู่กัน
3) ภาพของโครโมโซมที่ผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคพันธุกรรม
4) ภาพของโครโมโซมในระยะที่เห็นชัดเจนในขณะแบ่งนิวเคลียส
5) ภาพของโครโมโซมแต่ละบุคคลจัดเรียงกันในรูปแบบมาตรฐาน
34. ปฏิกิริยาภายในเซลล์ข้อใดที่สามารถเกิดได้ทั้งภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน (สามัญ 59)
1) glycolysis 2) Kreb cycle
3) electron transport 4) oxidative phosphorylation
5) glycolysis และ Kreb cycle
35. เส้นใยประสาท 4 เส้น มีสมบัติดังนี้

เส้นใยประสาท ขนาด เยื่อไมอีลิน


A เล็ก ไม่มี
B ใหญ่ มี
C กลาง ไม่มี
D กลาง มี
ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความเร็วในการนํากระแสประสาทของเส้นใย (สามัญ 59)
1) A เร็วกว่า B 2) B เร็วกว่า C 3) C เร็วกว่า D 4) A เท่ากับ C 5) B เท่ากับ D

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (151)


36. ผู้ที่สมองส่วน hypothalamus มีความเสียหายจะเกิดการผิดปกติในเรื่องใด (สามัญ 59)
1) การหายใจ 2) การทรงตัว
3) ความดันโลหิต 4) ความจําระยะสั้น
5) การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
37. สิ่งมีชีวิตคู่ใดที่มีความใกล้ชิดทางสายวัฒนาการมากที่สุด (สามัญ 59)
1) ไลเคนกับโพรทิส 2) แมงมุมกับแมงป่อง
3) ปลิงทะเลกับปลิงน้ําจืด 4) พยาธิไส้เดือนกับไส้เดือนดิน
5) หอยมือเสือกับหมึกกระดองลายเสือ
38. ในการจําลอง DNA เอนไซม์ DNA polymerase ทําหน้าที่เชื่อมนิวคลีโอไทด์ให้ต่อกันเป็นสายยาวใน
ลักษณะใด (สามัญ 60)
1) สังเคราะห์ leading strand และ lagging strand ในทิศทาง 3’ → 5’
2) สังเคราะห์ leading strand และ lagging strand ในทิศทาง 5’ → 3’
3) สังเคราะห์ leading strand ในทิศทาง 5’ → 3’ และ lagging strand ในทิศทาง 3’ → 5’
4) สังเคราะห์ leading strand ในทิศทาง 5’ → 5’ และ lagging strand ในทิศทาง 3’ → 5’
5) สังเคราะห์ leading strand ในทิศทาง 3’ → 5’ และ lagging strand ในทิศทาง 5’ → 3’
39. ในการสังเคราะห์โปรตีน codon บน mRNA เป็นตัวกําหนดลําดับของกรดอะมิโนในสายพอลิเพปไทด์
ข้อใดคือจํานวน codon ทั้งหมด จํานวน codon ที่กําหนดชนิดของกรดอะมิโน และจํานวน codon ที่มี
รหัสหยุด ตามลําดับ (สามัญ 60)
1) 20, 19, 1 2) 20, 17, 3 3) 62, 60, 2 4) 64, 63, 1 5) 64, 61, 3
40. การแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ โพรโทสโตเมีย และดิวเทอโรสโตเมีย อาศัยความแตกต่างในเรื่องใด
(สามัญ 60)
1) เนื้อเยื่อ 2) โพรงลําตัว
3) ลักษณะสมมาตร 4) การเจริญในระยะตัวอ่อน
5) การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (152) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เฉลย
1. 3) 2. 2) 3. 4) 4. 4) 5. 2) 6. 3) 7. 4) 8. 3) 9. 1) 10. 1)
11. 4) 12. 5) 13. 2) 14. 5) 15. 5) 16. 4) 17. 4) 18. 2) 19. 3) 20. 4)
21. 2) 22. 4) 23. 5) 24. 5) 25. 4) 26. 4) 27. 2) 28. 5) 29. 1) 30. 3)
31. 5) 32. 1) 33. 5) 34. 1) 35. 2) 36. 3) 37. 2) 38. 2) 39. 5) 40. 5)

1. เฉลย 3) กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย


กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ําของพืช A เพราะมีอัตราการคายน้ําต่ําซึ่งควรเป็นพืชเจริญได้ดี
ในพื้นที่ทะเลทรายหรือพื้นที่แห้งแล้ง
2. เฉลย 2) ชุดการทดลองที่ใช้ = 1 และ 4, ปัจจัยที่ต้องการศึกษา = ความชื้นสัมพัทธ์ และผลการ
เปรียบเทียบอัตราการคายน้ํา = ชุดการทดลองที่ 4 มีอัตราการคายน้ํา มากกว่า ชุดการทดลองที่ 1
ชุดที่ 4 คายน้ํามากกว่า เนื่องจากความเข้มแสงสูงและความชื้นต่ํา ทําให้ปากใบเปิดมากกว่า
อัตราการคายน้ําจึงสูงกว่า
3. เฉลย 4) ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นท่อหน่วยไต
ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน ADH เข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นท่อหน่วยไต ให้ปัสสาวะน้อย
4. เฉลย 4) สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาบางเพื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อและการพาความร้อน
ข้อ 1 รับประทานยาที่กระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว มีโอกาสเสียชีวิต
ข้อ 2 ดื่มน้ําในปริมาณมากเพื่อให้เลือดเข้มข้นต่ํา
ข้อ 3 รับประทานอาหารปริมาณมากเพื่อเพิ่มการเผาผลาญอาหารในร่างกาย เผาผลาญมาก
ข้อ 5 ใช้ผ้าเย็นประคบส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นอัตราเมแทบอลิซึมให้เพิ่มขึ้นนั้น ผิด
เพราะการประคบเย็น จะช่วยลดอัตราเมแทบอลิซึม
ข้อ 4 จึงถูกต้อง สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาบางเพื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อและการพาความร้อน
5. เฉลย 2) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ที่ไม่สามารถส่งสัญญาณให้เซลล์บีแบ่งเซลล์ได้
เซลล์บีแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
เซลล์บี และพัฒนาเป็นเซลล์ 2 ชนิด

แอนติเจน เซลล์จดจําทําหน้าที่
เซลล์บีตรวจจับชนิดของแอนติเจน จดจําชนิดของแอนติเจน
บนเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
เซลล์พลาสมาเร่งผลิต
แอนติบอดีจําเพาะ
เพื่อกําจัดเชื้อโรค
แอนติบอดี เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
หรือสิ่งแปลกปลอม หมดความเป็นพิษหรือถูกทําลาย

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (153)


6. เฉลย 3) สร้างสารฮิสตามินออกมาเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้
สารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย

สารก่อภูมิแพ้เข้า
รวมกับเม็ดเลือดขาว
สารก่อภูมิแพ้เข้า
สู่ร่างกายเป็นครั้ง
สารก่อภูมิแพ้กระตุ้น ที่สอง
เม็ดเลือดขาวให้เป็น
พลาสมา เซลล์
(plasma cell)
พลาสมาเซลล์สร้าง
สารต่อต้าน
เมื่อสารก่อภูมิแพ้
(antibodies) ออกมา
รวมกับสารต่อต้าน
จะทําให้เกิดการหลั่ง
ฮิสตามีน

สารต่อต้านเข้าจับกับแม็สเซลล์ (mast cell)

7. เฉลย 4) รุ่นที่ III คนที่ 1


รุ่นที่ III คนที่ 1 ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย
เพราะ สามารถเป็นไปได้ทั้ง XHXH XHXh ส่วนข้ออื่น สามารถสรุปได้ว่า XHXh เป็นพาหะ
8. เฉลย 3) รุ่นที่ II ตัวที่ 2
1) รุ่นที่ I ตัวที่ 2 มีโอกาสเป็นทั้ง AA Aa
2) รุ่นที่ I ตัวที่ 4 มีโอกาสเป็นทั้ง AA Aa
3) รุ่นที่ II ตัวที่ 2 สรุปได้แน่นอนว่าเป็น Aa เพราะแม่ aa พ่อ AA หรือ Aa โดย a ของแม่จะจับ
A ของพ่อ เป็นลูก Aa โดยไม่เป็น aa เพราะถ้า aa สัญลักษณ์จะเป็น
4) รุ่นที่ II ตัวที่ 4 มีโอกาสเป็นทั้ง AA Aa
5) รุ่นที่ III ตัวที่ 2มีโอกาสเป็นทั้ง AA Aa
9. เฉลย 1) การเข้าคู่กันของโครโมโซมคู่เหมือน
การเข้าคู่กันของโครโมโซมคู่เหมือน (Homologous Chromosome)
เกิดใน Prophase I : Crossing Over

แสดงกระบวนการ Crossing over ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (154) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


10. เฉลย 1) A กับ C เป็นลูกของครอบครัวที่ 1 และ B เป็นลูกของครอบครัวที่ 2
สังเกตความสอดคล้องของแถบที่ปรากฏ

11. เฉลย 4) การละลายของธารน้ําแข็งจะส่งผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศเฉพาะแถบขั้วโลก


ตัวเลือกทุกข้อกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
แต่การละลายของธารน้ําแข็งจะส่งผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศเฉพาะแถบขั้วโลก
แท้จริงแล้วเกิดผลกระทบต่อโลกทั้งระบบ
12. เฉลย 5) หมีน้ําบนบกสามารถอยู่รอดจนมีลูกรุ่นถัดไปได้
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) กล่าวคือ
สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีจะมีชีวิตอยู่รอดได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และถ่ายทอดลักษณะที่
ปรับเปลี่ยนไปยังชั่วรุ่นถัดไป เมื่อเวลาผ่านไปลักษณะที่ปรับเปลี่ยนซึ่งเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมจึงเพิ่ม
มากขึ้นในแต่ละชั่วรุ่น ขณะที่ลักษณะที่ไม่เหมาะสมลดน้อยหรืออาจหมดไป จนในที่สุดเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่
แตกต่างจากเดิมกลายเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่
13. เฉลย 2) จํานวนของสาหร่ายและหอยฝาเดียวจะลดลง
เมื่อแพลงก์ตอนบลูมหรือเพิ่มมากขึ้น ทําให้แสงส่องถึงใต้พื้นน้ําได้น้อย พืชใต้น้ําหรือสาหร่าย
ตาย ในที่นี่ส่งผลต่อปริมาณหอยฝาเดียวด้วย
นกเหยี่ยว
นกกระจาบ
14. เฉลย 5)
ต้นหว้า

Pyramid of mass รูปที่ 5 สอดคล้องมากที่สุด ต้นหว้าควรมีมวลชีวภาพมาก เพียงพอต่อนก


กระจาบและนกกระจาบควรมีมวลเพียงพอต่อการเป็นอาหารของนกเหยี่ยว

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (155)


15. เฉลย 5) บริเวณที่ 1 = เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ และบริเวณที่ 2 = เกิดการ
เปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่
ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในสถานที่ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่ก่อนเลย

ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
2. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (Secondary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลง
แทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก่อนแต่ถูกทําลายด้วยปัจจัยบางอย่างเช่นน้ํา
ท่วมนานๆ ไฟไหม้ป่าเป็นต้น
บริเวณที่ 1 ถูกปล่อยทิ้งร้างจนเกิดเป็นระบบนิเวศแบบใหม่ที่พบเฉพาะพืชล้มลุก : ทุติยภูมิ
บริเวณที่ 2 ถูกปล่อยทิ้งร้างจนเกิดเป็นระบบนิเวศแหล่งน้ํา : ทุติยภูมิ
16. เฉลย 4) ความเข้มข้นของเลือด = สูงขึ้น, ต่อมใต้สมอง = หลั่งฮอร์โมน และท่อหน่วยไต = ดูดน้ํากลับ
ถ้ามนุษย์ทํากิจกรรมโดยไม่ดื่มน้ํา ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น ร่างกายหลั่ง ADH เพื่อปรับ
สมดุลน้ําโดยดูดน้ํากลับมากขึ้น
17. เฉลย 4) ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
ในภาพแอนติเจน สามารถจับ แอนติเจน/ละอองเรณู 2 กับ 3 เมื่อเกิดอาการแพ้
ร่างกายจะหลั่งสารฮิสตามีน
18. เฉลย 2) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน
ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง
แอนติบอดี
19. เฉลย 3) ขั้นตอน 2B ทําให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
ขั้นตอน 2B สามารถพบใน Meiosis : Prophase I - Crossing Over

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (156) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


20. เฉลย 4) ลูกชายแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 50
ชายคนหนึ่งตาบอดสี XcY แต่งงานกับหญิงตาปกติ XCXC หรือ XCXc แล้วมีลูกชายคนแรกตา
บอดสี XcY ข้อมูลเบื้องต้น หมายความว่าแม่ต้องเป็น พาหะจะได้พ่อกับแม่ XcY x XCXc
สรุปจะได้ลูกชายตาบอดสีร้อยละ 50
21. เฉลย 2) การระบุความแตกต่างระหว่างแฝดร่วมไข่ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
ทุกข้อคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ยกเว้นข้อ 2 เพราะแฝดร่วมไข่มีความใกล้เคียง
ทางด้านพันธุกรรมมาก
22. เฉลย 4) กิ้งก่าทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน
กิ้งก่าทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวันเป็นการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างร่างกาย
23. เฉลย 5) การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ การสังเคราะห์ด้วยแสง
กระบวนการใดที่ทําให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น คือ การย่อยสลายซากพืช
และซากสัตว์กระบวนการใดที่ทําให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ลดลง คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง
เพราะนําไปสร้างคาร์โบไฮเดรต/น้ําตาล
24. เฉลย 5) พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ตามกฎการ
ถ่ายทอดพลังงานในพีระมิดพลังงานผู้บริโภคลําดับสุดท้ายจะได้รับพลังงานน้อยสุด
25. เฉลย 4) พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ
พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เพราะการ
เปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
ในสถานที่ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่ก่อนเลย
26. เฉลย 4) ความหลากหลายของไลเคนแปรผกผันกับปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
ไลเคนเป็นดัชนีบอกความอุดมสมบูรณ์จะเพิ่มสูงถ้าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
27. เฉลย 2) แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 มีค่า DO สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ําดีกว่า
แหล่งน้ําบริเวณที่ 1 มีค่า DO สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ําดีกว่าโดย
พิจารณาจากปริมาณออกซิเจนละลายในน้ําของแหล่งที่ 2 มีเพียง 1 mg/L
28. เฉลย 5) ความเข้มของสีน้ําเงินในหลอด
ความเข้มของสีน้ําเงินในหลอดเป็นสิ่งที่สังเกตได้และแปรผันตามปริมาณของสารที่ต้องการ
ศึกษา ในที่นี้เกิดสีน้ําเงินจากหลังหยดไอโอดีน จึงถือว่า ตัวเลือกนี้เป็นตัวแปรตาม
29. เฉลย 1) Centriole
Centriole มีโปรตีนหน่วยย่อยคือ tubulin ไม่ใช่ actin

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (157)


30. เฉลย 3) fallopian tube - ตําแหน่งที่เอ็มบริโอฝังตัว
fallopian tube - ตําแหน่งที่เอ็มบริโอฝังตัวไม่ถูกต้อง
fallopian tube หรือ oviduct เป็นตําแหน่งเกิดการปฏิสนธิ
ตําแหน่งที่เอ็มบริโอฝังตัวคือ endometrium ผนังมดลูก
31. เฉลย 5) ต่อมหมวกไต ต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมไร้ท่อที่ตัดแล้วตาย (essential endocrine gland) มี 3 ต่อม
1. parathyroid gland ตายเพราะขาด PTH (เพิ่ม calcitonin ในเลือด) ทําให้กล้ามเนื้อทํางาน
ล้มเหลวเกร็งและชักกระตุก
2. ตับอ่อน ตายเพราะขาด insulin ทําให้ metabolism ของกลูโคสไม่ดี เลือดเป็นกรด
การหายใจผิดปกติ
3. adrenal cortex ตายเพราะขาด aldosterone (เพิ่ม Sodium ในเลือด) ทําให้ร่างกายเสีย
สมดุลของน้ําและเกลือแร่ ปริมาณเลือดลดลงความดันลดต่ํา
32. เฉลย 1) Auxin
ฮอร์โมนพืช แบ่งตามลักษณะการทํางานได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่ม คือ
1. ออกซิน (auxins)
2. ไซโตไคนิน (cytokinins)
3. จิบเบอเรลลิน (gibberellins)
4. เอทธิลีน (ethylene)
5. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (inhibitors)
• สารออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA (indol-3-acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง
โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซล การยืดตัวของเซล และยัง
มีผลกระตุ้นการเกิดราก รวมถึงมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของพืช
33. เฉลย 5) ภาพของโครโมโซมแต่ละบุคคลจัดเรียงกันในรูปแบบมาตรฐาน
คาริโอไทป์ คือ การจัดลําดับโครโมโซมตามขนาดและรูปร่างโดยอาศัยตําแหน่งต่างๆ บน
โครโมโซมเพื่อช่วย ศึกษารายละเอียดของโครโมโซมแต่ละแท่ง นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกประเภทคาริโอ
ไทป์ได้หลายวิธี แต่ที่ทํา การศึกษาครั้งนี้คือ การจําแนกประเภทคาริโอไทป์ โดยดูจากขนาดของโครโมโซม
และชนิดของโครโมโซมเป็นหลัก

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (158) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


34. เฉลย 1) glycolysis
ปฏิกิริยาภายในเซลล์ข้อใดที่สามารถเกิดได้ทั้งภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน คือ glycolysis

35. เฉลย 2) B เร็วกว่า C


แอกซอน (Axon) การส่งสัญญาณประสาทของแอกซอนจะอยู่ในรูป action potential และ
สายแอกซอนมักมีเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) หุ้มเป็นการเพิ่มความเร็วในการเดินทางของ action
potential การเกิด action potential เริ่มต้นที่บริเวณโคนแอกซอน (axon hillock) ซึ่งเกิดจาก
กระบวนการรวบรวมสัญญาณ depolarization จากเมมเบรนบริเวณตัวเซลล์และแขนงต่างๆ ของเดนไดรต์

36. เฉลย 5) การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย


ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นมาติดต่อกับ
ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทําหน้าที่สร้างฮอร์โมน
ประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ไฮโพทาลามัสทําหน้าที่สําคัญ คือ เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การนอนหลับ การเต้น
ของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว ความอิ่ม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก
ต่างๆ เช่น โศกเศร้า ดีใจ ความรู้สึกทางเพศ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (159)


37. เฉลย 2) แมงมุมกับแมงป่อง
แมงมุมกับแมงป่องจัดอยูใน phylum เดียวกัน

38. เฉลย 2) สังเคราะห์ leading strand และ lagging strand ในทิศทาง 5’ → 3’


สังเคราะห์leading strand และlagging strand ในทิศทาง 5’ 3’

39. เฉลย 5) 64, 61, 3


64 Codons
61 Codons ที่สามารถกําหนดอะมิโนได้ ยกเว้น 3 Codons เป็น stop codons
Stop codons 3 UGA UAA UAG
40. เฉลย 5) การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์

————————————————————

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (160) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (161)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (162) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (163)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (164) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (165)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (166) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (167)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (168) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (169)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (170) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (171)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (172) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (173)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (174) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
อาหารและการยอยอาหาร
การยอยทางเคมี

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (175)


การดูดซึม

เป็นการนําอาหารโมเลกุลเล็กๆ ที่ผ่านการย่อยแล้ว เช่น น้ําตาลกลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน กลีเซอรอล


ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนําไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย การดูดซึมอาหารที่บริเวณต่างๆ เป็น
ดังนี้
- ปาก คอหอย และหลอดอาหาร มีน้อยมากแทบไม่ต้องคํานึงถึง
- กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการดูดซึมแอลกอฮอล์และยาต่างๆ
- ลําไส้เล็กดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด โดยผนังของลําไส้เล็กจะมีส่วนยื่นของกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัว
เป็นแถวเดียวเรียกว่า วิลลัส (villus) ในคนเรามีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร ภายใน
วิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตาข่ายเพื่อรับอาหารที่ย่อยแล้วและส่วนแกนกลาง เป็นเส้นน้ําเหลือง
ซึ่งจะดูดซึมอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล
- ลําไส้ใหญ่ดูดซึมน้ําและเกลือแร่เป็นหลัก ดังนั้นถ้ามีอาการท้องเสียจะสูญเสียน้ําและเกลือแร่ออกจาก
ร่างกายมาก ทําให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (176) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การหายใจของมนุษย
กลไกการหายใจ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (177)


การลําเลียงแกส

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (178) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ความจุปอด (วัดโดย spirometer)

y ปริมาตรอากาศปกติที่หายใจเข้าออก 500 cm3/ครั้ง (Tidal volume; TV)


- anatomical dead space หมายถึง อากาศส่วนที่ตกค้างอยู่ในท่อทางเดินอากาศ ≈ 150 cm3
- อากาศที่เข้าไปถึงถุงลมและมีการแลกเปลี่ยนแก๊สจริงมีเพียง 350 cm3
- Alveolar Ventilation; AV (ปริมาตรอากาศเข้าถุงลมปอด/นาที = ปริมาตรอากาศที่ผ่านถุงลม
× อัตราการหายใจ; หน่วย ลิตร/นาที)
y ปริมาตรหายใจเข้าสํารอง
- ปริมาตรที่หายใจเข้าได้เพิ่มขึ้นจากปกติจนถึงเต็มที่ 2,500 cm3 (Inspiratory Reserve Volume;
IRV)
y ปริมาตรหายใจออกสํารอง
- ปริมาตรที่หายใจออกได้เพิ่มขึ้นจนถึงเต็มที่ (Expiratory Reserve Volume; ERV)
y ปริมาตรส่วนที่เหลือ
- อากาศที่ตกค้างภายในปอด ≈ 1,500 cm3 (Residual Volume; RV)
- ไม่สามารถวัดได้โดย spirometer
y ความจุหายใจเข้า
- ความจุปอดที่รับอากาศได้มากที่สุดหลังหายใจออกตามปกติ
(Inspiratory Capacity; IC)
- TV + IRV = 3,000 cm3
y ความจุชีพ
- ความจุปอดที่หายใจเข้ามากหรือลึกมากที่สุด หลังหายใจออกอย่างเต็มที่ (Vital Capacity; VC)
- TV + IRV + ERV =4,500 cm3

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (179)


y ความจุส่วนเหลือที่ใช้งานได้
- อากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังหายใจออกปกติ (Functional Residual Capacity; FRC)
- ERV + RV = 3,000 cm3
y ความจุปอดรวม
- อากาศทั้งหมดที่ปอดสามารถบรรจุได้เต็มที่ (Total Lung Capacity; TLC)
- คนปกติค่าเฉลี่ย ≈ 6,000 cm3
y ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างรวดเร็วใน 1 วินาที (Forced Expiratory Volume in one
second ; FEV1)
- ใช้ตรวจสมรรถภาพการทํางานของปอด
- ในคนปกติ ค่า FEV1 ต้อง > 80%

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (180) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การสรางพลังงานในสิ่งมีชีวิต

การหายใจแบบใช O2 อิสระ (aerobic respiration)

การสลายสารอาหารโดยใช้ออกซิเจนเข้าร่วมปฏิกิริยา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ


1. ไกลโคไลซิส (glycolysis)
2. การสร้างอะซิติลโคเอนไซม์เอ (acetyl coenzyme A) หรือการออกซิเดชันกรดไพรูวิก (pyruvate
oxidation)
3. วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle)
4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (electron transport system)และ chemiosmosis

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (181)


ไกลโคไลซิส (glycolysis)
y เกิดที่ไซโทซอลของเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกสภาวะไม่ว่าจะใช้ O2 หรือไม่ใช้ O2 หายใจก็ตาม
y เป็นกระบวนการสลายหรือออกซิไดส์กลูโคสไปเป็นไพรูเวท (C-3 compound)
y ถ้าเริม
่ ต้นจากกลูโคส (C6H12O6) 1 โมเลกุล จะได้ผลลัพธ์สําคัญ คือ
- ไพรูเวท 2 โมเลกุล (2C3H3O3)
- ใช้พลังงานร่วมในกระบวนการ 2 ATP และเกิด ATP จากกระบวนการ 4 ATP เพราะฉะนั้นจึงได้
พลังงานสุทธิ (Net ATP) 2 ATP
- เกิดไฮโดรเจน (H) 4 อะตอม ซึ่งจะมีตัวรับไฮโดรเจน คือ NAD+ กลายเป็น NADH + H+ 2 โมเลกุล

การสรางอะซิติลโคเอนไซมเอ (acetyl coenzyme A) หรือ


การออกซิเดชัน กรดไพรูวิก (pyruvate oxidation)
y เกิดที่ matrix ของ mitochondria (ต้องมี O2 เหนี่ยวนําในการเกิด)
y ไพรูเวทแต่ละโมเลกุลจะถูกเปลี่ยนเป็นแอซิทิลโคเอนไซม์เอ โดยกลุ่มของเอนไซม์ pyruvate
dehydrogenase complex
y ปฏิกิริยาการเปลี่ยนไพรูเวทแต่ละโมเลกุลไปเป็นแอซิทิลโคเอนไซม์เอนี้ได้ผลลัพธ์สําคัญคือ
- เกิด CO2 1 โมเลกุล จากแต่ละปฏิกิริยา แต่
จากกลูโคส 1 โมเลกุล ทําให้ได้ไพรูเวท 2 โมเลกุล
เพราะฉะนั้นจึงได้ผลลัพธ์ CO2 รวมทั้งสิ้น 2 โมเลกุล/
1 โมเลกุลของกลูโคส
- เกิดไฮโดรเจน 2 อะตอม จากแต่ละปฏิกิริยา
ซึ่งจะรวมกับ NAD+ กลายเป็น NADH + H+ 1 โมเลกุล
แต่เมื่อเริ่มต้นจากกลูโคส 1 โมเลกุล ซึ่งทําให้ได้ไพรูเวท
2 โมเลกุล เพราะฉะนั้น จึงได้ผลลัพธ์เป็นไฮโดรเจนทั้งสิ้น
4 อะตอม หรือ NADH + H+ 2 โมเลกุล

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (182) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


วัฏจักรเครบส (Krebs cycle)

y เกิดที่ matrix ของ mitochondria


y acetyl CoA จะรวมกับ oxaloacetate (C-4 compound) โดยมีเอนไซม์ citrate synthase เป็น
ตัวเร่งปฏิกิริยาได้ C-6 compound คือ citrate เกิดขึ้น
y citrate จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างเป็น isocitrate ซึ่งเป็น substrate ของปฏิกิริยา oxidation ต่อไป
โดย isocitrate จะถูกดึง 2 e- และ H+ ออกจากโมเลกุลและส่งไปยัง NAD+ ทําให้เกิด NADH โดยมีเอนไซม์
dehydrogenase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น 2 ครั้ง ทําให้ได้ C-4 compound จากนั้นจึงมี
การปรับโครงสร้างเพื่อให้ได้ oxaloacetate กลับคืนมาเช่นเดิม
y ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจาก 1 รอบของ Krebs cycle คือ NADH 3 โมเลกุล FADH2 1 โมเลกุล และ ATP
1 โมเลกุล
y ดังนั้นผลิตภัณฑ์สุทธิที่ได้จากกระบวนการสลายกลูโคส 1 โมเลกุล คือ NADH 6 โมเลกุล FADH2
2 โมเลกุล และ ATP 1 โมเลกุล

การถายทอดอิเล็กตรอน (electron transport system) และ chemiosmosis


y เกิดที่ inner membrane ของ mitochondria หรือ cristae
y เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ถ่ายทอดอิเล็กตรอนไปตามตัวรับอิเล็กตรอนที่ฝังอยู่ใน inner membrane ของ
mitochondria โดยมากสารเหล่านี้เป็น cytochrome ปฏิกิริยานี้ทําให้เกิดการสร้างพลังงานขึ้นมากมาย
y ไฮโดรเจนจาก NADH จะผ่านไปยัง FMN (Flavin Mononucleotide), ubiquinone (cytochrome Q),
และกลุ่มของโมเลกุลของ cytochrome โดยมีออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย และทําให้เกิดพลังงาน
ขึ้นมากมาย เมื่อ O2 รับอิเล็กตรอนแล้วก็จะกลายเป็น H2O
y เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุด
- จาก NADH 1 โมเลกุล จะมีการสร้าง ATP 3 โมเลกุล
- จาก FADH2 1 โมเลกุล จะมีการสร้าง ATP 2 โมเลกุล
y ดังนั้นจาก 1 โมเลกุลของกลูโคส โดยกระบวนการ aerobic respiration จะได้พลังงาน 36 ATP
สําหรับเซลล์ปกติ และ 38 ATP สําหรับเซลล์หัวใจไต และตับ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (183)


การหายใจแบบไมใช O2
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน มี 2 กระบวนการ
1. Lactic acid fermentation
2. Alcohol fermentation

Lactic acid fermentation


y เกิดขึ้นที่cytosol ของเซลล์กล้ามเนื้อ, เซลล์เม็ดเลือดแดง, พยาธิต่างๆ, Bacteria บางชนิด เช่น
Lactobacillus, Streptococcus ในสภาวะขาด O2
y สารตั้งต้น glucose; C6H12O6 → 2C3H6O3 + 2ATP
y ขั้นตอน
1. glycolysis
ƒ glucose → 2pyruvate
ƒ ได้ 2 ATP, 2NADH
2. fermentation
ƒ 2pyruvate → 2lactic acid
ƒ ใช้ 2NADH จ่าย e- ให้ pyruvate
ƒ ตัวรับ e- ตัวสุดท้าย คือ pyruvate
y ผลิตภัณฑ์สุทธิที่ได้
- 2 lactic acid/glucose
ƒ ทําให้กล้ามเนื้อเกิดความเมื่อยล้า
ƒ เพิ่มความเป็นกรดในเลือด เกิดภาวะ lactic acidosis
- 2 ATP/glucose

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (184) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


Alcohol fermentation
y เกิดที่ เกิดขึ้นที่ cytosol ของยีสต์, เซลล์พืช (โดยเฉพาะเมล็ด) ในสภาวะขาด O2
y สารตัง้ ต้น glucose; C6H12O6 → 2C2H5OH + 2CO2 + 2ATP
y ขั้นตอน
1. glycolysis
ƒ glucose → 2pyruvate
ƒ ได้ 2 ATP, 2NADH
2. fermentation
2CO2
ƒ 2pyruvate → 2acetaldehyde → 2ethanol
ƒ ใช้ 2NADH จ่าย e- ให้ acetaldehyde
ƒ สูญเสียคาร์บอนในรูป CO2
ƒ ตัวรับ e- ตัวสุดท้าย คือ acetaldehyde
y ผลิตภัณฑ์สุทธิที่ได้
- 2 ethanol/glucose
- 2CO2/glucose → ทําให้ขนมปังฟู
- 2 ATP/glucose

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (185)


ระบบหมุนเวียนเลือดและภูมิคุมกัน
ทิศทางการไหลเวียนเลือดผานหัวใจ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (186) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ระบบภูมิคุมกัน (immune system )

ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ หรือแบบได้รับมาภายหลัง (acquired immunity)


เป็นภูมิคุ้มกันที่มีความจําเพาะต่อแอนติเจน มีการตอบสนองช้า โดยในการกระตุ้นครั้งแรกจะตอบสนอง
ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ในการกระตุ้นครั้งต่อๆ มาจะใช้เวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์ จึงตอบสนองซึ่งเป็นผลมาจาก
memory cell จดจําแอนติเจน ทําให้ตอบสนองได้รวดเร็ว และแรงมากขึ้นในครั้งถัดไป นอกจากนี้มีโอกาสเกิด
autoimmunity เพราะอาจเกิดความผิดพลาดในกระบวนการเรียนรู้ ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. การตอบสนองภูมิคุ้มกันที่มีการสร้างแอนติบอดี (โดยอาศัย B-cell)
y B-cell สร้างและพัฒนาที่ไขกระดูก ออกมาอยู่ที่ต่อมน้ําเหลือง
y เมื่อเจอแอนติเจน จะเปลี่ยนรูปไปเป็น plasma cell ที่สร้างแอนติบอดี
y memory B-cell จะจดจําแอนติเจน
y แอนติบอดีเป็น immunoglobulin ช่วยในกระบวนการ phagocytosis และกระตุ้น
complement ทําให้เซลล์แตก

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (187)


2. การตอบสนองภูมิคุ้มกันโดยผ่านเซลล์โดยตรง (โดยอาศัย T-cell)
y T-cell สร้างจากไขกระดูก และพัฒนาที่ต่อมไทมัส
y แบ่งเป็น helper T-cell (มี CD4 บนผิว) และ cytotoxic T-cell (มี CD8 บนผิว)
y helper T-cell ทําหน้าที่เรียนรู้แอนติเจนจากภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด กระตุ้น B-cell กระตุ้น
cytotoxic T-cell กระตุ้นตัวเอง และเปลี่ยนรูปไปเป็น memory helper T-cell รวมทั้งเป็นเป้าหมายของ HIV
y ส่วน cytotoxic T-cell ทําหน้าที่เรียนรู้แอนติเจนจากภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด ทําลาย
เซลล์มะเร็ง ทําลายเซลล์ติดเชื้อไวรัส และทําลายเซลล์ของอวัยวะปลูกถ่าย ซึ่ง cytotoxic T-cell ไม่ใช่ memory cell

การสร้างภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย (immunization) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active) ภูมิคุ้มกันรับมา (passive)


- ร่างกายผลิตแอนติบอดีเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันโรคด้วยตัวเอง - ร่ า ง ก า ย ไ ม่ มี บ ท บ า ท ใ น ก า ร ส ร้ า ง
ภูมิคุ้มกันโรค ความต้านทานโรคเกิดจาก
การได้รับสารที่มีคุณสมบัติป้องกันโรค
- เกิดภูมิคุ้มกันช้า - เกิดภูมิคุ้มกันทันทีทันใดหลังได้รับเซรุ่ม
- มีภูมิคุ้มกันยาวนาน - มีภูมิคุ้มกันสั้นกว่า
วัคซีน (vaccine) ทอกซอยด์ (toxoid) เซรุ่ม (serum)
- เชื้อโรคที่ตายแล้ว (intact - toxin ของเชื้อโรค - เดิม ทํามาจากการกระตุ้น ในสัตว์ทดลอง
killed organism) เช่น เชื้อ ที่ ถู ก ทํ า ใ ห้ ห ม ด (กระต่าย ม้า) เพื่อสร้างแอนติบอดี แ ล้ ว
ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาต์ ฤ ท ธิ์ เ ช่ น เ ชื้ อ สกัดออกมาใช้รักษา เช่น พิษงู พิษสุนัขบ้า
- เชื้อโรคที่อ่อนกําลังลง (live บาดทะยัก คอตีบ บาดทะยัก
attenuated organism) เช่น - ปั จ จุ บั น ได้ จ ากกระบวนการตั ด ต่ อ ยี น
เชื้อโปลิโอ หัด คางทูม วั ณโรค แล้วสังเคราะห์ในห้องทดลอง
หัดเยอรมัน - นอกจากนี้ ภู มิ คุ้ ม กั น รั บ มา (passive)
- ชิ้นส่วนของเชื้อโรค เช่น เ ชื้ อ ยั ง พบได้ ใ นน้ํ า นมแม่ และแอนติ บ อดี ที่
อี สุ ก อี ใ ส ฝี ด าษ ตั บ อั ก เสบ ผ่านรกมา
ปากมดลูก พิษสุนัขบ้า

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (188) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ระบบขับถายและการรักษาสมดุลในรางกายมนุษย
กลไกการทํางานของไต

1. บริเวณก่อนการกรอง (คล้ายกับเลือดเข้าไต)
y มีสารทุกชนิด ได้แก่ สารดีขนาดใหญ่ สารดีขนาดเล็ก ของเสียขนาดเล็ก
y มีน้ําผ่าน 720 ลิตร/วัน
y ตัวอย่างสาร ได้แก่
- สารดีขนาดใหญ่ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง (ฮีโมโกลบิน + ออกซิเจน) เซลล์เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด โปรตีนอัลบูมิน
- สารดีขนาดเล็ก เช่น กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ
- ของเสียขนาดเล็ก เช่น สารพิษ ยูเรีย บิลิรูบิน
y พบที่อวัยวะ : afferent arteriole, renal artery, aorta

2. บริเวณหลังการกรอง (คล้ายกับน้ํากรอง)
y ผ่านได้เฉพาะสารที่เล็กกว่าโปรตีนอัลบูมิน ได้แก่ สารดีขนาดเล็ก ของเสียขนาดเล็ก
y มีน้ําผ่าน 180 ลิตร/วัน
y ตัวอย่างสาร ได้แก่
- เซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกที่
- สารดีขนาดเล็ก เช่น กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ
- ของเสียขนาดเล็ก เช่น สารพิษ ยูเรีย บิลิรูบิน
y พบที่อวัยวะ : Bowman’s capsule, ท่อหน่วยไต

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (189)


3. บริเวณที่ไม่สามารถผ่านการกรองได้
y มีเฉพาะสารขนาดใหญ่
y คงเหลือน้ําที่กรองได้ไม่หมดคิดเป็น 540 ลิตร/วัน
y ตัวอย่างสาร ได้แก่
- สารดีขนาดใหญ่ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง (ฮีโมโกลบิน) เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด
โปรตีนอัลบูมิน
y พบที่อวัยวะ : efferent arteriole, vasa recta

4. น้ํากรองที่ถูกดูดสารดีกลับไปแล้ว
y มีเฉพาะสารดีขนาดเล็กส่วนเกินและของเสียขนาดเล็ก
y คงเหลือน้ําส่วนเกินในร่างกายประมาณ 1.5 ลิตร/วัน
y ตัวอย่างสาร ได้แก่
- สารดีขนาดเล็กส่วนเกิน เช่น วิตามินส่วนเกิน แร่ธาตุส่วนเกิน กรดส่วนเกิน
- ของเสียขนาดเล็ก เช่น สารพิษ ยูเรีย บิลิรูบิน
y พบที่อวัยวะ : collecting duct (ท่อไตรวม) กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
เพื่อขับปัสสาวะออกมา
5. บริเวณหลังจากการดูดของเล็กดีกลับ (คล้ายกับเลือดออกจากไต)
y หลังจากกําจัดของเสียออกไปแล้ว พบสารดีขนาดใหญ่และสารดีขนาดเล็ก
y มีน้ํากลับเข้าสู่ระบบประมาณ 720 ลิตร/วัน
y ตัวอย่างสาร ได้แก่
- สารดีขนาดใหญ่ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง (ฮีโมโกลบิน แต่ไม่พบออกซิเจน) เกล็ดเลือด
โปรตีนอัลบูมิน
- คาร์บอนไดออกไซด์ (ในรูป HCO3-)
- สารดีขนาดเล็ก เช่น กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ
y พบที่อวัยวะ : renal venule, renal vein, inferior vena cava

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (190) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การรักษาสมดุลในรางกายมนุษย

น้ํา
การควบคุมสมดุลน้ําโดยฮอร์โมน ADH หรือ vasopressin เป็นการควบคุมแบบ negative feedback
แบ่งเป็น 3 สภาวะ ดังนี้คือ
1. สภาวะขาดน้ํา
พบในนักกีฬา และผู้ที่ทํากิจกรรมกลางแดด ซึ่งมีปริมาณน้ําในเลือดต่ําและความเข้มข้นของเลือดสูง
ทําให้แรงดันออสโมติกที่สูงไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่ง ADH ออกมา ADH จึงไปกระตุ้นที่ท่อหน่วย
ไตส่วนปลายและท่อรวมดูดให้น้ํากลับ ส่งผลให้ปริมาณน้ําในเลือดเพิ่มขึ้นพร้อมกับปัสสาวะน้อยลงและเข้มข้น
ทําให้ปริมาณน้ําในเลือดสูงเป็นปกติ ความเข้มข้นของเลือดต่ําเป็นปกติ และแรงดันออสโมติกต่ําลงไปยับยั้งต่อม
ใต้สมองส่วนหลังให้หยุดหลั่ง ADH แต่ ADH ยังกระตุ้นการกระหายน้ํา
2. สภาวะน้ําเกิน
พบในผู้ที่ดื่มน้ํามากเกิน ซึ่งมีปริมาณน้ําในเลือดสูงและความเข้มข้นของเลือดต่ํา ทําให้แรงดันออสโมติก
ที่ต่ําไปยับยั้งการหลั่ง ADH ท่อหน่วยไตส่วนปลายและท่อรวมจึงดูดน้ํากลับน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณน้ําในเลือด
ลดลงพร้อมกับปัสสาวะมากขึ้นและเจือจาง ทําให้ปริมาณน้ําในเลือดต่ําเป็นปกติ ความเข้มข้นของเลือดสูงเป็น
ปกติและแรงดันออสโมติกสูงขึ้นเป็นปกติ ดังนั้น ADH จึงลดการกระตุ้นการกระหายน้ํา
3. สภาวะ ADH หลั่งผิดปกติ
ในกรณีที่ ADH สูงเกิน เกิดจาก
สารที่กระตุ้นการหลั่ง ADH เช่น อีเธอร์
มอร์ ฟี น นิ โ คติ น ฮี ส ทามี น เอพิ เ นฟริ น
ส่งผลให้น้ําคั่งในร่างกายมากตัวจึงบวม และ
มีโซเดียมใน plasma ต่ํา (hyponatremia)
ส่วนกรณีที่ ADH ต่ําเกิน เกิดจาก
สารที่ยับยั้งการหลั่ง ADH เช่น คาเฟอีน
แอลกอฮอล์ diuretic (ยาขั บ ปั ส สาวะ)
ส่งผลให้เกิดโรคเบาจืด ซึ่งปัสสาวะมาก และ
เจือจาง

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (191)


ระบบประสาท
โครงสรางระดับเซลล

เซลลประสาท
หน่วยย่อยที่สุดของระบบประสาทคือ เซลล์ของประสาท ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neuron/
nerve cell) และเซลล์ค้ําจุน (neuroglial cell/ glial cell) รวมกันเป็นเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) และ
กลายเป็นอวัยวะในระบบประสาทในที่สุด
เซลล์ประสาทของคนมีประมาณ 10,000 ถึง 100,000 ล้านเซลล์ ส่วนใหญ่อยู่ในสมอง ทําหน้าที่
เกี่ยวกับการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยแต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นๆ จํานวนมาก
ซึ่งขนาดและรูปร่างจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน้าที่และตําแหน่งที่อยู่ของเซลล์

เซลล์ประสาทประกอบด้วย
1. ตัวเซลล์ (cell body) เป็น แหล่งพลังงานและสังเคราะห์สารสื่อประสาท ภายในประกอบด้วย
นิวเคลียส, ไมโทคอนเดรีย,neurofilament, microtubule และ RER ที่รวมตัวกัน (Nissl body)เพื่อสร้าง
สารสื่อประสาท
2. ใยประสาท (nerve fiber) แบ่งออกเป็น
y เดนไดรต์ (dendrite) เป็ น ส่ ว นของเซลล์ ป ระสาทที่ ยื่ น ออกไปส่ ว นใหญ่ จ ะอยู่ ร อบๆ ตั ว เซลล์
ทําหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
y แอกซอน (axon) เป็น ส่ วนของใยประสาทที่ ทํา หน้า ที่นํ า กระแสประสาทออกจากตัวเซลล์
เซลล์ประสาทที่มีใยประสาทยาวๆ ซึ่งมักจะเป็นใยประสาทของ axon จะมีเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) หุ้มเป็น
ระยะ โดยเยื่อไมอีลินกําเนิดจากเยื่อหุ้มเซลล์ของ Schwann cell ที่มีการม้วนตัวพันรอบแอกซอนซ้อนกันแน่น
เยื่อไมอีลินเป็นสารประเภทไขมันจึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีซึ่งในการส่งกระแสประสาทเกิดจากการมีการแลกเปลี่ยน
ไอออน เฉพาะที่ node of Ranvier ดังนั้นใยประสาทที่หุ้มด้วย myelin sheath จึงมีการเคลื่อนที่ของกระแส
ประสาทแบบกระโดดเป็นช่วงๆ ใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจึงส่งกระแสประสาทได้เร็วกว่าใยประสาทที่ไม่มีเยื่อ
ไมอีลินหุ้ม

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (192) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การทํางานในระดับเซลล
กลไกภายในเซลล์ = action potential

กลไกการส่งกระแสประสาทหรือการเกิด action potential มี 5 ระยะ ดังนี้


1. สภาวะพัก (resting stage/ polarization)

ระยะนี้เป็นระยะที่ใช้พลังงานหรือ ATP และเกิดกระบวนการ Na+ - K+ pump โดยนํา Na+ ออกนอก


เซลล์ และนํา K+ เข้าสู่เซลล์ในอัตราส่วน 3 : 2 โดย Na+ จะมีมากด้านนอกเซลล์ และมี K+ มากด้านในเซลล์
ทําให้ศักย์ไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) เป็นลบ
2. rising phase of membrane potential

หลังเกิดการกระตุ้นจะเกิดการเปิดของประตู Na+ บางส่วนทําให้เกิดการไหลเข้าของ Na+ ทําให้


membrane potential เป็นบวกมากขึ้นจนถึงระดับ threshold ค่า membrane potential ที่เพิ่มขึ้นจะแปรผัน
ตามแรงกระตุ้นที่เพิ่มขึ้น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (193)


3. depolarization

ระยะกระตุ้นที่ถึงระดับ threshold แล้ว ส่งผลให้ประตู Na+ เปิดทั้งหมด Na+ จึงไหลเข้าสู่ด้านในเซลล์มาก


ระยะนี้ค่า membrane potential จะเป็นบวกสูงสุด โดย action potential ที่เกิดจะไม่ขึ้นกับความแรงที่มา
กระตุ้น (all-or-none-law)
4. repolarization

ระยะนี้ประตู Na+ ปิด แต่ประตู K+ เปิด ทําให้ K+ ไหลออกนอกเซลล์ membrane potential กลับมา
เป็นลบ
5. undershoot (hyperpolarization)

ระยะนี้ประตู K+ ปิดได้ช้ากว่าประตู Na+ ทําให้ K+ ไหลออกนอกเซลล์มากเกิน membrane potential


กลับมาเป็นลบมากกว่าปกติ โดย Na+ มีมากด้านในเซลล์และ K+ มีมากด้านนอกเซลล์ ระยะนี้ทําให้ไม่สามารถ
เกิดการกระตุ้นได้ (refractory period) และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าไหลย้อนกลับได้ กระแสไฟฟ้าจึงไหล
ไปในทิศทางเดียวอย่างต่อเนื่อง

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (194) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


กลไกระหวางเซลล = synapse
เมื่อกระแสประสาทดําเนินมาถึงปลายของ axon จะพบรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทเรียกว่า synapse
การส่งสัญญาณประสาทผ่าน synapse มี 2 ประเภท คือ
1. electrical synapse
การส่งสัญญาณประสาทในรูปกระแสไฟฟ้า เชื่อมต่อกันด้วย gap junction การส่งสัญญาณในรูป
กระแสไฟฟ้านี้ เป็นการส่งกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงและเกิดได้รวดเร็ว แต่มีประสิทธิภาพในการควบคุมทิศทางต่ํา
พบได้ในสัตว์ชั้นต่ํา เช่น ไฮดรา และกล้ามเนื้อภายใน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ และทางเดินอาหาร
(peristalsis)
2. chemical synapse
การส่งสัญญาณประสาทในรูปสารเคมี (neurotransmitter) เชื่อมต่อกันด้วย synaptic cleft ใช้การ
แพร่ของสารเคมีซึ่งจะเกิดได้ช้ากว่า electrical synapse แต่มีประสิทธิภาพการควบคุมทิศทางดีเนื่องจากเกิดได้
ทิศทางเดียว คือ ส่งจาก presynaptic neuron → postsynaptic neuron โดยมีกลไกดังนี้
1) กระแสประสาทเคลื่อนมาที่บริเวณ synaptic terminal แบบทิศทางเดียว
2) action potential กระตุ้นการเปิดประตู Ca2+ ไหลเข้าสู่ presynaptic neuron
3) Ca2+ กระตุ้นถุงบรรจุสารสื่อประสาทให้เกิด exocytosis
4) สารสื่อประสาทแพร่เข้าสู่ synaptic cleft → จับกับ ligand-gated Na+ channel
5) ประตูNa+เปิด = Na+ ไหลเข้าสู่ postsynaptic neuron → depolarization ส่งกระแสประสาทต่อ
6) สารสื่อประสาทถูกทําลายเพื่อหยุดการส่งสัญญาณ : acetylcholine acetycholinesterase acetic
acid + choline

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (195)


โครงสรางระดับอวัยวะ

สมอง (brain)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (196) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การทํางานในระดับอวัยวะ
somatic nervous system autonomic nervous system
- ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ (voluntary nervous - ทํางานนอกอํานาจจิตใจ (involuntary nervous
system) system)
- ศูนย์ควบคุม : cerebrum - ศูนย์ควบคุม : hypothalamus/brain stem
- ใช้ 1 motor neuron - ใช้ 2 motor neuron
- สารสื่อประสาท : acetylcholine - สารสื่อประสาท : acetylcholine/norepinephrine
- หน่วยปฏิบัติงาน : กล้ามเนื้อลาย - หน่วยปฏิบัติงาน : กล้ามเนื้อเรียบ/กล้ามเนื้อหัวใจ/
ต่อมต่างๆ

กลไก กลไก : ใช้ระบบคานอํานาจของสองระบบที่ทํางาน


1. มีสิ่งเร้ามากระตุ้นอวัยวะรับความรู้สึก ตรงกันข้ามกัน
2. เกิ ด กระแสประสาทเข้ า สู่ เ ซลล์ ป ระสาทรั บ 1. sympathetic nervous system
ความรู้สึก = การตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานแบบ exciting
3. กระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ประสาทไขสันหลัง - เซลล์ประสาทสั่งการตัวที่ 1 หลั่งสารสื่อประสาท
4. กระแสประสาทเข้าสู่สมอง acetylcholine
5. สมองส่วน cerebrum ส่งกระแสประสาทไป - เซลล์ประสาทสั่งการตัวที่ 2 ส่วนใหญ่หลั่งสาร
ตามเส้ น ประสาทสั่ ง การของสมองหรื อ สื่อประสาท norepinephrine ยกเว้น ต่อมเหงื่อ
ไขสันหลัง และกล้ามเนื้อเรียบโคนขนจะหลั่ง acetylcholine
6. กระแสประสาทถูกส่งไปกล้ามเนื้อลายเพื่อเกิด 2. parasympathetic nervous system
การตอบสนอง = การตอบสนองของหน่ ว ยปฏิ บั ติ ง านแบบ
sleeping
- เซลล์ประสาทสั่งการตัวที่ 1 และ 2 หลั่งสาร
สื่อประสาท acetylcholine

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (197)


reflex
- กลไกการแทรกแซงการทํางานของระบบประสาทส่วนกลางให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าในทันทีทันใด
เพื่อป้องกันอันตราย
- ศูนย์ควบคุม : ไขสันหลัง (สั่งการโดยไม่ผ่านสมอง)

กลไก

somatic reflex autonomic reflex


- reflex action ของระบบประสาทใต้อํานาจจิตใจ - reflex action ของระบบประสาทอัตโนมัติตอบสนอง
ตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า/อยู่นอกอํานาจจิตใจชั่วขณะ ต่อสิ่งเร้า/อยู่นอกอํานาจจิตใจชั่วขณะ
- หน่วยปฏิบัติงาน : กล้ามเนื้อลาย เช่น การ - หน่วยปฏิบัติงาน : กล้ามเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ
กระตุกขา เมื่อถูกเคาะที่หัวเข่า, การชักมือหนี อวัยวะภายใน และต่อมต่างๆ เช่น การหลั่งน้ําย่อย,
เมื่อจับของร้อน การเกิดเพอริสทัลซิส ของท่อทางเดินอาหาร, การ
หลั่งน้ําตา

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (198) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (199)
อวัยวะรับสัมผัส

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (200) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ฮอรโมน (hormone)

Hypothalamic pituitary hormone = releasing & inhibiting hormone

ฮอร์โมน แหล่งสร้าง อวัยวะเป้าหมาย หน้าที่


1. Growth Hormone (GH) anterior pituitary ตับ/กระดูก/กล้ามเนื้อ/เซลล์ - ควบคุมการเจริญติบโตของร่างกาย
gland ร่างกาย/เนื้อเยื่อไขมัน - ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูก
และกระดูกอ่อน
2. Thyroxine (T4)/ thyroid gland เซลล์ร่างกาย - ควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกาย/
Thiiodothyroxine (T3) metamorphosis
3. prolactin anterior pituitary ต่อมน้ํานม - ควบคุมการเจริญและพัฒนาของเต้านม
gland
4. epinephrine adrenal medulla เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย - เพิ่มการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ/
(หัวใจ หลอดเลือด) เพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลาย/
เพิ่มความดันโลหิต/เพิ่มน้ําตาลในเลือด
5. NorEpinephrine ปลายปมประสาท/ เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย - เพิ่มการหดตัวของหลอดเลือด/
adrenal medulla เพิ่มความดันโลหิต/เพิ่มน้ําตาลใน
เลือด
6. ACTH anterior pituitary ต่อมหมวกไตชั้นนอก - เพิ่มน้ําตาลในเลือด/ เพิ่มความทนต่อ
gland สภาวะเครียดของร่างกาย/ต่อต้าน
7. cortisol adrenal cortex เซลล์ร่างกาย การอักเสบ
8. FSH anterior pituitary รังไข่/อัณฑะ - เพิ่มการเจริญเติบโตของอัณฑะ/
gland กระตุ้นการสร้างอสุจิ/ กระตุ้นให้เซลล์
ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต
9. LH anterior pituitary รังไข่/อัณฑะ - เพิ่มการเจริญเติบโตของอสุจิ/กระตุ้น
gland การตกไข่
10. testosterone testis/adrenal เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ - เพิ่มการเจริญของอัณฑะ/ควบคุม
cortex ลักษณะของเพศชาย
11. estrogen ovary/adrenal เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ - ควบคุมลักษณะของเพศหญิง/เพิ่ม
cortex/adipose ความหนาของผนังมดลูก/สะสมไขมัน
tissue/ รก
12. progesterone ovary/ รก มดลูก/ เต้านม - เพิ่มความหนาของผนังมดลูก/เพิ่ม
การเจริญของเต้านม/ สะสมไขมัน
13. HCG รก รังไข่ - สร้าง estrogen และ progesterone
14. melatonin ต่อมไพเนียล hypothalamus - ยับยั้งพัฒนาการทางเพศ/ควบคุมสี
ผิวในสัตว์เลือดเย็น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (201)


Neurohormone = สรางจาก hypothalamus แลวสงไปยังตอมใตสมองสวนหลัง
ผานทาง axon

ฮอร์โมน แหล่งสร้าง อวัยวะเป้าหมาย หน้าที่


1. ADH neurosecretory cell distal tubule (หลอดไตส่วนท้าย) เพิ่มการดูดกลับน้ําที่ไต
ของ hypothalamus และ collecting duct (ท่อไตรวม)
2. Oxytocin neurosecretory cell ของ มดลูกและ ต่อมน้ํานม เพิ่ ม กา ร บี บ ตั ว ของต่ อ ม
hypothalamus (หลั่งที่ น้ํ า นม และมดลู ก / ช่ ว ยใน
posterior pituitary gland) การหลั่งน้ําอสุจิ

ฮอรโมนที่ทําหนาที่รักษาสมดุลในรางกาย

ฮอร์โมน แหล่งสร้าง อวัยวะเป้าหมาย หน้าที่


1. aldosterone adrenal cortex distal tubule (หลอดไต เพิ่ ม การดู ด กลั บ Na+ /
ส่วนท้าย) และ collecting duct เพิ่มการดูดกลับน้ํา
(ท่อไตรวม) ของไต
2. calcitonin parafollicular cell (C-cell) กระดูก/ไต/ลําไส้เล็ก ลดระดับ Ca2+ ในเลือด
ของต่อมไทรอยด์
3. parathyroid parathyroid gland กระดูก/ไต/ลําไส้เล็ก เพิ่มระดับ Ca2+ ในเลือด
4. insulin β-cell ของ islets of ตับ/กล้ามเนื้อ/เนื้อเยื่อไขมัน ลดระดับน้ําตาลในเลือด
Langerhans ในตับอ่อน
5. glucagon α-cell ของ islets of ตับ/เนื้อเยื่อไขมัน เพิ่มระดับน้ําตาลในเลือด
Langerhans ในตับอ่อน
6. gastrin เนื้อเยื่อชั้น mucosaของ กระเพาะอาหาร เพิ่มการหลั่งน้ําย่อย
กระเพาะอาหาร pepsinogen และ HCl
7. secretin เนื้อเยื่อชั้นในของลําไส้เล็ก ตับอ่อน/ถุงน้ําดี เพิ่มการหลั่ง NaHCO3 และ
ส่วน duodenum pancreatic juice enzyme
จากตับอ่อน/เพิ่มการหลั่ง
น้ําดี/เพิ่มการหลั่ง pepsin
8. CholeCystoKinin- เนื้อเยื่อชั้นในของลําไส้เล็ก ตับอ่อน/ถุงน้ําดี เพิ่มการสร้างและหลั่งน้ําดี/
PancreoZymin ส่วน duodenum และ เพิ่ มการหลั่ ง pancreatic
(CCK-PZ) jejunum juice enzyme จากตับอ่อน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (202) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


การเคลื่อนที่ (locomotion)
กลไกของกลามเนื้อ = sliding filament theory
1. ขณะที่กล้ามเนื้อคลายตัว myosin จะไม่
จับกับ actin โดย tropomyosin และ troponin จะ
บังส่วน myosin-binding site ที่จับกับ actin
ในขณะที่ sarcoplasmic reticulum จะดูด Ca2+
กลับตลอดเวลา (ใช้พลังงานจาก ATP) ในบริเวณ
head ของ myosin จะมี ATP มาเกาะอยู่ในรูป
ADP+Pi (พร้อมทํางาน)
2. เมื่ อ กล้ า มเนื้ อ ได้ รั บ คํ า สั่ ง จากระบบ
ประสาทให้ทํางาน sarcoplasmic reticulum จะ
ปล่ อ ย Ca2+ ออกมา อย่ า งรวดเร็ ว (ภายใน 1-2
มิลลิวินาที)
3. Ca2+ จะถูกปล่อยออกจาก sarcoplasmic reticulum ไปจับกับ troponinC ของ thin filament
ทําให้โครงสร้าง troponin และ tropomyosin เคลื่อนตัวออกห่างจาก myosin-binding site
4. myosin head จับกับ actin บริเวณ myosin-binding site เกิดเป็น cross bridge

5. เกิดการปลดปล่อย ADP+Pi ออกจาก myosin head ทําให้ myosin head เกิดการดึงรั้งให้ thin
filament เคลื่อนที่เข้าสู่ใจกลางของ sarcromere
6. กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว ทําให้ความกว้างของ sarcromere, I-band และ H-band หดสั้นลง
7. มีการเติม ATP กลับเข้าสู่ myosin head ทําให้ myosin แยกตัวออกจาก actin
8. sarcoplasmic reticulum ดูด Ca2+ กลับ ทําให้ tropomyosin และ troponin กลับมาปิดส่วน
myosin-binding site
9. กล้ามเนื้อคลายตัว sarcoplasmic reticulum กลับมาอยู่ในสภาพเดิม
10. rigor mortis = ภาวะที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวจากการขาด ATP หลังการเสียชีวิต

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (203)


ชนิดของกลามเนื้อ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (204) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (205)
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต (behavior)
รูปแบบพฤติกรรมมี 3 ประเภท คือ

1. พฤติกรรมที่มีมาแตกําเนิด (innate behavior)


เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง สามารถ
แสดงพฤติกรรมที่ได้มาจากพันธุกรรม ไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน และมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดย
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงลักษณะเหมือนกัน ประกอบด้วย
1. พฤติกรรมการเคลื่อนที่หรือโอเรียนเตชัน (orientation)
y พฤติ ก รรมแบบไคนี ซิ ส (kinesis) คื อ การ
เคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้าอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน
ทิศทางการเคลื่อนที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า พบใน
กลุ่มโพรทิสต์หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลังชั้น ต่ํา เช่น การ
เคลื่อ นที่ ออกจากบริเ วณที่ อุณ หภู มิ สูง ของพารามีเ ซีย ม,
การเคลื่อนที่ของตัวกุ้งเต้นเมื่ออยู่ในความชื้นที่แตกต่างกัน
เป็นต้น
y พฤติ ก รรมแบบแทกซิ ส (taxis) คื อ การ
เคลื่ อนที่ เข้ าหาหรื อหนี จากสิ่ง เร้ าอย่ างมีทิศ ทางแน่ น อน
ทิศทางการเคลื่อนที่สัม พัน ธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า พบใน
สัตว์กลุ่มต่างๆ เช่น การเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่างของแมลง
เม่า, การบินเข้าหากลิ่นผลไม้สุกของแมลงหวี่, การเคลื่อนที่
เข้าหาแหล่งอาหารตามเสียงสะท้อนของค้างคาว เป็นต้น
2. พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ (reflex) คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วหรือทันทีทันใดเพื่อ
ป้องกันอันตราย และเป็นการแทรกแซงการทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง (ไม่สามารถควบคุมได้) พบ
เฉพาะในสัตว์ที่มีปมประสาทและระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การไอ/จามเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดิน
หายใจ, การกระพริบตาเมื่อมีผงเข้าตา, การกระตุกขาเมื่อเหยียบของแหลม เป็นต้น
3. พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflexes) หรือสัญชาตญาณ (instinct) คือเกิดจาก
รีเฟล็กซ์หนึ่งไปกระตุ้นให้เกิดรีเฟล็กซ์อื่นๆ ทําให้เกิดพฤติกรรมย่อยๆ หลายพฤติกรรมต่อเนื่องกัน มีแบบแผนที่
ชัดเจนแน่น อนในสปีชีส์เดียวกัน สามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้นได้เมื่อได้รับประสบการณ์ม ากขึ้น เช่น
การสร้างรังของนกและแมลง, การชักใยของแมงมุม,การดูดนมของทารก, การเกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์ของสัตว์
เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (206) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


2. พฤติกรรมการเรียนรู (learned behavior)
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเรียนรู้มาก่อน อาศัยประสบการณ์ในอดีต สัตว์ที่มีระบบประสาท
พัฒนาดีจะมีรูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มากกว่า และพบในสัตว์ที่มีระบบประสาทส่วนกลางแล้ว (เริ่มพบในหนอน)
ประกอบด้วย
1. พฤติกรรมการฝังใจ (imprinting) เป็นพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น
ต่อ เมื่ อ สิ่ ง เร้ า นั้ น ต้ อ งกระตุ้ น ในช่ ว งเวลาวิ ก ฤต (เมื่ อ พ้ น ระยะนี้ สิ่ ง เร้ า ที่
กระตุ้ น จะไม่ ส่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรม) เช่ น การเดิ น ตามวั ต ถุ ที่ ส่ ง เสี ย งและ
เคลื่อนที่ได้ของลูกห่านหลังฟักออกจากไข่ (การทดลองของ ดร.คอนราด
ลอเรนซ์ ) , การว่ ายน้ํ ากลั บจากทะเลเพื่อไปวางไข่ ยังแม่น้ํา ที่เกิ ดของ
ปลาแซลมอล เป็นต้น

2. พฤติกรรมความเคยชิน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่ลด


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิมที่เกิดอยู่บ่อยๆ โดยที่สิ่งเร้านั้นไม่เกิดประโยชน์
หรือโทษต่อตัวเอง จําเป็นต้องอาศัยการจดจํา เช่น การลดอัตราการบินหนี
หุ่น ไล่กาของนก, การลดการเห่าของสุนัขต่อคนที่ม าบ้านบ่อยๆ, ฝูง
นกพิราบไม่ตกใจบินหนีเมื่อมีคนเดินเข้ามาใกล้ ซึ่งก่อนหน้านี้จะบินหนีทุก
ครั้ง เป็นต้น

3. พฤ ติ ก รร ม ก า รเ รี ย น รู้ อ ย่ า งมี เ งื่ อ นไ ข ( conditioned


response) เป็นการนําสิ่งเร้าไม่แท้ (มีเงื่อนไข) เข้าไปร่วมกับสิ่งเร้าแท้
(ไม่มีเงื่อนไข) จนเข้าใจผิดว่าสิ่งเร้าไม่แท้เป็นสิ่งเร้าแท้ โดยสิ่งมีชีวิตในกลุ่ม
นี้ต้องมีความสามารถในการจดจําสิ่งเร้าได้ มีระบบประสาทเจริญดี เช่น
สุนัขน้ําลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง (การทดลองของ Pavlov), เมื่อเปิด
ไฟแล้วให้อาหารแก่ปลาที่เลี้ยงในตู้เพาะเลี้ยง ปลาจะว่ายน้ําขึ้นมายังผิวน้ํา
เสมอ หลังจากนั้นเมื่อเปิดไฟปลาจะรีบว่ายขึ้นมาบนผิวน้ําทันที ทั้งๆ ที่ยัง
ไม่ได้ให้อาหาร, การฝึกสิงโตให้กระโดดข้ามบ่วงไฟ โดยมีการให้รางวัลหรือ
ลงโทษ เป็นต้น

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (207)


4. พฤติกรรมการลองผิดลองถูก (trial and error) เป็นพฤติกรรมที่ทดลองทําโดยไม่ทราบผลของ
การกระทําว่าจะถูกต้องหรือไม่ ถ้ากระทําถูกก็จะกระทําอีก แต่ถ้าไม่ถูกจะไม่กระทําอีก โดยความถี่ในการกระทําผิด
จะลดลง เช่น การเดินในทางวกวนของหนูเพื่อไปหาแหล่งอาหาร, การเคลื่อนที่ของไส้เดือนในกล่องรูปตัว T ที่มี
ด้านโปร่งและด้านที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เมื่อทําการทดลองซ้ําไม่ต่ํากว่า 200 ครั้งพบว่าไส้เดือนดินจะเลือกทางได้
ถูกต้อง, คางคกไม่กินผึ้งหลังจากที่เคยถูกต่อยมาก่อน เป็นต้น

5. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล (reasoning) เป็นพฤติกรรมที่ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา


ต่างๆ โดยใช้ประสบการณ์หลายอย่างในอดีตมาแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ได้ สามารถแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่
ได้ในครั้งแรก โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก จัดเป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วย
นม เช่น การใช้เหตุผลของคนในการแก้ปัญหาต่างๆ, ลิงชิมแปนซีใช้กล่องวางซ้อนกันเพื่อขึ้นไปหยิบกล้วย เป็นต้น

3. พฤติกรรมทางสังคม (social behavior)


พฤติกรรมทางสังคมประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual signal) เป็นท่าทางที่สัตว์แสดงออกมา อาจมีมาแต่กําเนิด หรือ
เกิดจากการเรียนรู้ เช่น การแยกเขี้ยวของแมว, เป็นต้น

2. การสื่อสารด้วยเสียง (sound signal) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์จะส่งเสียงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่ง


เร้าต่างๆ และสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เช่น เสียงร้องของกบและคางคก/เสียงขยับปีกของยุงตัวเมียเพื่อเรียก
ตัวผู้เป็นต้น

3. การสื่อสารด้วยการสัมผัส (physical contact) เป็นพฤติกรรมการใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งสัมผัส


เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมโต้ตอบกัน เช่น สุนัขเข้าไปเลียปากสุนัขตัวที่เหนือกว่าเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมิตร
หรืออ่อนน้อม เป็นต้น

4. การสื่อสารด้วยสารเคมี (chemical signal) เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้สารเคมีที่เรียกว่า “ฟีโรโมน”


ซึ่งเป็นสารเคมีที่สร้างจากต่อมมีท่อที่ส่งผลต่อการทํางานของสัตว์ตัวอื่นในสปีชีส์เดียวกัน เช่น ผีเสื้อกลางคืนตัวเมีย
ปล่อยสารล่อตัวผู้ให้มาผสมพันธุ์ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (208) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


ระบบสืบพันธุ

อวัยวะสืบพันธุเพศชาย
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วย
1. testis (อัณฑะ)
y interstitial cell of Leydig ทําหน้าที่
สร้าง androgen : testosterone ควบคุมลักษณะ
ของเพศชาย เช่น เสียงแตก, มีหนวด, การขยาย
ขนาดของอวัยวะเพศ เป็นต้น
y seminiferous tubule (หลอดสร้าง
อสุจิ : ท่อขดไปมาใน testis)
2. rete testis คือ ท่อรวมจาก seminiferous
tubule ลักษณะเป็นร่างแหอยู่ที่ขั้วของอัณฑะ
3. vas efferens คือ ท่อขนาดเล็กเชื่อมระหว่าง rete testis กับ epididymis
4. epididymis (หลอดเก็บอสุจิ) เป็นท่อยาวพันทบไปทบมาอยู่บริเวณขั้วด้านบนของอัณฑะ ทําหน้าที่
เก็บอสุจิแล้วสร้างอาหารเลี้ยงอสุจิ (ใช้เวลา 3 สัปดาห์จึงเจริญเต็มที่)
*scrotum (ถุงอัณฑะ) ทําหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิ ~34°C ป้องกันการตายของอสุจิ
5. vas deferens (ท่อนําอสุจิ) เป็นทางผ่านของอสุจิที่เปิดไปรวมกับท่อจาก seminal vesicle และ
บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่ทําหมันชายโดยการตัดและผูก vas deferens
*seminal vesicle คือต่อมสร้างน้ําเลี้ยงอสุจิ เป็นท่อ 2 ท่อขดไปมา ทําหน้าที่สร้างอาหารเลี้ยงอสุจิ
(fructose, vitamin C, globulin protein) ควบคุมโดย testosterone
6. prostate gland (ต่อมลูกหมาก) ทําหน้าที่สร้าง prostatic fluid เป็นสารสีขาว มีส่วนประกอบ
ของ citric และacid phosphatase โดยมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ช่วยลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะและยังช่วยให้
อสุจิแข็งแรงขึ้น
*Cowper’s gland สร้างสารช่วยในการหล่อลื่นท่อปัสสาวะ
7. penis (องคชาต) คือ ทางผ่านของ
น้ําอสุจิและน้ําปัสสาวะออกสู่ภายนอก (น้ําอสุจิมี
สีขาวขุ่น อยู่นอกร่างกายได้ 2-3 ชั่วโมง/ ในร่างกาย
เพศหญิงได้ 2 วัน)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (209)


อวัยวะสืบพันธุเพศหญิง
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย
1. ovary (รังไข่) โครงสร้างมี 1 คู่ ขนาด
เท่านิ้วหัวแม่มือ ภายในมี follicle (egg cell) ที่
ห่อหุ้มด้วย follicular cell โดยรังไข่ทําหน้าที่สร้าง
เซลล์ไข่ และสร้างฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ estrogen
ควบคุมลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น สะโพกผาย
เสียงแหลม และ progesterone ทําหน้าที่กระตุ้น
มดลูกให้เตรียมรับไข่
2. oviduct/ fallopian tube (ท่อนําไข่/ ปีกมดลูก) มี 2 ข้างยาวประมาณ 10 ซม. เป็นที่ปฏิสนธิและ
นําตัวอ่อนไปฝังตัวที่มดลูก
3. uterus (มดลูก) เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อน โดยผนัง
มดลูกแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
y perimetrium : เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคลุมบางๆ
y myometrium : ชั้นกล้ามเนื้อเรียบ มีความยืดหยุ่น
สูงสามารถหดตัวได้ดีภายใต้อิทธิพลของ prostaglandin/ oxytocin
y endometrium : เป็นเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ํา มีการ
เปลี่ยนแปลงความหนาตามฮอร์โมน progesterone และ estrogen
มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าไม่มีการ
ปฏิสนธิ endometrium จะสลายหลุดลอกออกเป็นประจําเดือน
4. vagina (ช่องคลอด) เป็นท่อกลวงต่อจากปากมดลูก เป็นทางผ่านของอสุจิ มีฤทธิ์เป็นกรดเพื่อ
ป้องกันเชื้อโรคอื่นๆ มีต่อมเมือกสร้างความชุ่มชื้นและหล่อลื่น
5. clitoris เทียบได้กับ penis ของเพศชาย
6. labia minora & labia majora เทียบได้กับ scrotum ของเพศชาย

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (210) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


กลไกการเขาปฏิสนธิ
1. อสุจิจะออกจาก penis เข้าทางปากมดลูกไปเจอกับไข่ที่บริเวณ 1/3 ของความยาวท่อนําไข่
2. อสุจิจะแหวกว่ายชั้น corona radiata (กลุ่มเซลล์ follicle)
3. acrosome ปล่อย enzyme สลายชั้น zona pellucida
4. อสุจิจะปล่อยนิวเคลียสเข้าสู่ cytoplasm ของไข่
5. cortical granule บริเวณใต้เยื่อหุ้มเซลล์ของไข่จะปล่อยสารที่ทําให้ zona pellucida แข็งตัวป้องกัน
อสุจิตัวอื่นเข้ามาผสม
6. อสุจิ + ไข่ = zygote (1 เซลล์) ถ้ามีการแบ่งเซลล์จะเข้าสู่ระยะ embryo

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (211)


แนวขอสอบ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (212) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (213)
วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (214) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31
โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (215)
เก็งขอสอบ
1. จากการทดลองของ Griffith ที่พบการเปลี่ยนสายพันธุ์ของแบคทีเรีย โดยการฉีดแบคทีเรียที่ทําให้เกิดโรค
ปอดบวมเข้าไปในหนู ข้อสรุปของการทดลองนี้คือข้อใด (วิชาสามัญ 62)
1) โครโมโซมประกอบด้วย DNA และโปรตีน
2) เอนไซม์ดีออกซีไรโบนิวคลีเอสสามารถย่อยสลาย DNA ได้
3) แบคทีเรียที่มีผิวหยาบไม่ทําให้เกิดโรค ส่วนแบคทีเรียที่มีผิวเรียบทําให้เกิดโรค
4) DNA เป็นสารที่เปลี่ยนพันธุกรรมของแบคทีเรียจากสายพันธุ์หนึ่งเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งได้
5) สารบางอย่างในแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งสามารถทําให้แบคทีเรียอีกสายพันธุ์เปลี่ยนลักษณะได้
2. ชิ้นส่วน DNA โมเลกุลหนึ่งมีลําดับเบส ดังรูป

ข้อใดถูกต้อง (วิชาสามัญ 61)


1) พันธะไฮโดรเจนใช้เชื่อมต่อระหว่างไนโตรจีนัสเบส T กับ A ในกรอบสี่เหลี่ยมดังรูป
2) ชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ทั้งหมด 13 พันธะ
3) ชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ทั้งหมด 14 พันธะ
4) ชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจนทั้งหมด 34 พันธะ
5) ชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจนทั้งหมด 36 พันธะ
3. โครงสร้างเกลียวคู่ของ DNA มีลักษณะคล้ายบันไดเวียน ข้อใดเปรียบได้เป็นราวบันได (วิชาสามัญ 62)
1) นิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกัน
2) ไนโตรจีนัสเบสที่เป็นคู่สมจับคู่กัน
3) ไนโตรจีนัสเบสจับกับหมู่ฟอสเฟส
4) น้ําตาลดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟต
5) น้ําตาลดีออกซีไรโบสจับกับไนโตรจีนัสเบส

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (216) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


4. จากรูปแสดงโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียส

A, B และ C เรียกว่าอะไร (วิชาสามัญ 61)


A B C
1) nucleosome histone protein DNA
2) nucleosome histone protein chromatin
3) histone protein non-histone protein DNA
4) histone protein non-histone protein chromatin
5) histone protein nucleosome DNA
5. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจําลอง DNA (DNA replication) (PAT2 ต.ค. 59)
1) DNA โมเลกุลใหม่ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย Polynucleotide สายเดิมและสายใหม่อย่างละ 1 สาย
2) Ligase เป็นเอนไซม์ที่เชื่อมสาย lagging strand ให้เชื่อมต่อเป็นสายเดียวกันที่เรียกว่า leading strand
3) DNA polymerase สร้างสาย leading strand อย่างต่อเนื่องจากทิศ 3′ → 5′
4) Nucleotide จากภายนอกเซลล์ที่ถูกนํามาต่อแบบคู่สมกับ DNA template จะนําเบส A มาเข้าคู่กับ U
และนําเบส C มาจับคู่กับ G
5) Polynucleotide 2 สาย ที่เกิดการจําลอง DNA จะมีเพียงสายเดียวเท่านั้นที่ทําหน้าที่เป็น DNA
template
6. พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการถอดรหัส (transcription) ต่อไปนี้
ก. การถอดรหัสเป็นกระบวนการถอดลําดับเบสบนสายดีเอ็นเอไปเป็นลําดับเบสบนสายอาร์เอ็นเอ
ข. เอ็นไซม์ที่ทํางานในกระบวนการถอดรหัสคือ DNA polymerase
ค. เมื่อ polynucleotide 2 สายแยกออกจากกัน polynucleotide เพียงสายเดียวจะทําหน้าที่เป็นดี
เอ็นเอแม่แบบ (DNA template)
ง. การถอดรหัสเกิดขึ้นบนดีเอ็นเอแม่แบบในทิศทาง 5'ไปยัง 3'
จ. ไรโบนิวคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์จะเข้ามาจับกับดีเอ็นเอแม่แบบโดย C เข้าคู่กับ G Gเข้าคู่กับ C
U เข้าคู่กับ A และ A เข้าคู่กับ T
จากข้อความข้างต้น มีข้อถูกกี่ข้อ (PAT2 มี.ค. 60)
1) 1 2) 2 3) 3 4) 4 5) 5

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (217)


7. นักเรียนคนหนึ่งวาดรูปกระบวนการแปลรหัสดังภาพซึ่งมีความผิดพลาดหลายตําแหน่ง

หากนักเรียนเขียนอธิบายกระบวนการข้างต้นดังต่อไปนี้
ก. mRNA มีลําดับเบสดังนี้ 3′ AAUTTCGCACCGGUCGUA 5′
ข. ไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กเข้ามาจับกับ mRNA แล้วหน่วยย่อยขนาดใหญ่จึงเข้ามาจับเพื่อพร้อม
ทํางาน
ค. ไรโบโซมจะเคลื่อนที่ไปบน mRNA ในทิศทางจากปลาย 3′ ไปยังปลาย 5′
ง. tRNAที่มีแอนติโคดอน 5′ CGT 3′ คู่สมกับโคดอนบน mRNA นํากรดอะมิโน 1 ตัวมาเรียงต่อ
จ. tRNA โมเลกุลถัดมานํากรดอะมิโนอีกตัวมาเรียงต่อ แล้วสร้างพันธะเพปไทด์เพื่อเชื่อมกันเป็นสาย
ยาวเรียกว่า พอลิเพปไทด์
คําอธิบายข้างต้นผิดจากหลักการแปลรหัสที่ถูกต้องกี่ข้อ (PAT2 ก.พ. 61)
1) 1 2) 2 3) 3 4) 4 5) 5
8. เมื่อต้องการเพิ่มปริมาณ DNA ด้วยเทคนิค PCR จําเป็นต้องใช้องค์ประกอบใดในหลอดทดลอง
(PAT2 ต.ค. 59)
1) Restriction enzyme, plasmid, nucleotide, DNA polymerase
2) DNA template, primer, nucleotide, DNA polymerase
3) Plasmid, primer, DNA template
4) recombinant DNA, nucleotide, primer
5) DNA polymerase, primer, nucleotide
9. สารอาหารในข้อใดเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์บุผิวลําไส้เล็กแล้วจะถูกลําเลียงเข้าสู่หัวใจโดยตรงโดยไม่ผ่านตับ
(วิชาสามัญ 62)
1) กลูโคส 2) วิตามินซี
3) กรดไขมัน 4) กาแลกโทส
5) กรดอะมิโน
10. อวัยวะใดที่ทําหน้าที่ทั้งสร้างเอนไซม์และฮอร์โมน (วิชาสามัญ 62)
1) ต่อมน้ําลายและลําไส้เล็ก 2) ตับอ่อนและต่อมหมวกไต
3) ลําไส้เล็กและต่อมหมวกไต 4) ตับอ่อนและกระเพาะอาหาร
5) ต่อมน้ําลายและกระเพาะอาหาร

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (218) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


11. ปฏิกิริยาใดเกิดขึ้นในเซลล์เม็ดเลือดแดงก่อนเข้าสู่หลอดเลือด pulmonary vein (วิชาสามัญ 62)
1) Hb + O2 → HbO2 2) HbO2 → Hb+ O2
3) Hb + CO2 → HbCO2 4) HbCO2 → Hb + CO2
5) CO2 + H2O → H2CO3
12. ในการทดลองวัดปริมาตรอากาศที่หายใจด้วย spirometer ได้ผลดังภาพ

ปริมาตรอากาศที่ปอดสามารถบรรจุได้เต็มที่คือข้อใด (วิชาสามัญ 62)


1) 1,100 cm3 2) 1,800 cm3 3) 3,600 cm3 4) 4,900 cm3 5) 6,000 cm3
13. ข้อใดเป็นผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการสลายกลูโคส 1 โมเลกุลเป็น lactic acid (วิชาสามัญ 62)
จํานวนโมเลกุลของผลผลิต
CO2 NADH ATP Lactic acid
1) 0 0 2 2
2) 0 2 2 2
3) 0 2 4 2
4) 2 2 2 2
5) 2 4 4 2
14. เมื่อเกิดบาดแผลวิตามิน K และแคลเซียมกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงใดที่ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของเลือด
(วิชาสามัญ 62)
1) platelet → fibrin 2) fibrinogen → fibrin
3) thrombin → fibrinogen 4) prothrombin → platelet
5) prothrombin → thrombin
15. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบน้ําเหลือง (วิชาสามัญ 62)
1) หลอดน้ําเหลืองขนาดใหญ่ส่งของเหลวเข้าสู่หัวใจโดยตรง
2) ของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ําเหลืองฝอย
3) หลอดน้ําเหลืองขนาดใหญ่จะมีความดันมากกว่าหลอดน้ําเหลืองขนาดเล็ก
4) ของเหลวจากหลอดน้ําเหลืองฝอยจะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยโดยตรง
5) หลอดน้ําเหลืองฝอยมีปลายเปิดเพื่อส่งสารไปยังของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (219)


16. เซลล์ใดมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันทั้งแบบจําเพาะเจาะจงและแบบไม่จําเพาะเจาะจง (วิชาสามัญ 62)
1) basophil 2) monocyte 3) eosinophil
4) neutrophil 5) lymphocyte
17. ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากข้อใดมีระยะเวลาคุ้มกันสั้นที่สุด (วิชาสามัญ 60)
1) ปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ
2) ฉีดเซรุ่มให้กับผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด
3) ภูมิคุ้มกันที่เกิดหลังจากติดเชื้อหวัด
4) ฉีด toxoid ของเชื้อบาดทะยักให้ผู้ถูกตะปูตํา
5) ฉีดเชื้อคางทูม หัด สุกใส ที่ถูกทําให้อ่อนกําลังแก่เด็กอายุ 2 เดือน
18. การฉีดซีรัมแก้พิษสุนัขบ้าภายหลังจากถูกสุนัขบ้ากัด ทําให้เกิดการทํางานของซีรัมดังข้อใด (วิชาสามัญ 62)
1) ซีรัมซึ่งมีแอนติเจนพิษสุนัขบ้า จับกับไวรัสพิษสุนัขบ้าทําให้ไวรัสหมดฤทธิ์
2) ซีรัมซึ่งมีแอนติบอดีต่อพิษสุนัขบ้า จับกับไวรัสพิษสุนัขบ้าทําให้ไวรัสหมดฤทธิ์
3) ซีรัมซึ่งมีแอนติเจนทําลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า ทําให้ร่างกายไม่เป็นโรค
4) ซีรัมซึ่งมีแอนติเจนกระตุ้นให้ B-cell สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ดี
5) ซีรัมซึ่งมีแอนติบอดีจับกับ phagocyte ทําให้ phagocyte ทําลายไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ดีขึ้น
19. เมื่อนาย ก ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไปยับยั้งการหลั่ง ADH จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับนาย ก (วิชาสามัญ 62)
1) ปัสสาวะเข้มข้นมีปริมาณมาก
2) ปัสสาวะเจือจางมีปริมาณมาก
3) มีการกรองผ่าน glomerulus เพิ่มมากขึ้น
4) collecting duct ดูดสารกลับได้มากขึ้น
5) proximal tubule ดูดสารกลับได้น้อยลง
20. จากข้อมูลในตาราง

ความเข้มข้นของสาร (กรัม/100 มิลลิลิตร)


สาร
ของเหลว ก ของเหลว ข ของเหลว ค
โปรตีน 8.01 0 0.01
กลูโคส 0.10 0 0.10
ยูเรีย 0.03 2.0 0.03

ของเหลว ก ได้มาจากส่วนใดของไต (วิชาสามัญ 62)


1) glomerulus 2) distal tubule
3) Henle’s loop 4) collecting duct
5) Bowman’s capsule

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (220) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


21. กระทรวงสาธารณสุขประกาศรายการสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคต่อวันสําหรับคนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป
โดยระบุว่าสําหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ควรบริโภคโซเดียมวันละไม่เกิด 2,400
มิลลิกรัม โดยปริมาณโซเดียมที่เกินความต้องการของร่างกายจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะโครงสร้าง
ใดของหน่วยไตมีบทบาทช่วยลดปริมาณโซเดียมที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด (PAT2 ก.พ. 61)
1) glomerulus 2) proximal convoluted tubule
3) loop of Henle 4) distal convoluted tubule
5) collecting duct
22. ชายคนหนึ่งเข้าไปบริจาคเลือดให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ภายหลังจากบริจาคเลือด
ไป 450ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยที่ไม่ได้ดื่มน้ําทั้งก่อนและหลังบริจาค ร่างกายของเขาจะมีการเปลี่ยนแปลง
ระดับฮอร์โมนอย่างไร (PAT2 มี.ค. 60)
1) ไม่มีการหลั่ง rennin เนื่องจากปริมาตรเลือดลดลง
2) ระดับ angiotensin ลดลง เนื่องจากความดันเลือดลดลง
3) ระดับ vasopressin เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ําในร่างกาย
4) ระดับ aldosterone เพิ่มขึ้น เพื่อเร่งการดูดน้ํากลับที่หน่วยไต
5) ระดับ antidiuretic ลดลง เพื่อเร่งการขับปัสสาวะ
23. จากภาพการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าขณะที่เซลล์ประสาทถูกกระตุ้น

บริเวณใดที่เกิดกระบวนการ sodium-potassium pump (วิชาสามัญ 62)


1) a และ c 2) b และ d 3) c และ e 4) d และ f 5) a และ f
24. ตํารวจตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในบริเวณใกล้เคียงสถานบันเทิง และขอให้ผู้ขับรถยนต์ลงจากรถเพื่อ
ทดสอบว่าเดินได้เป็นปกติหรือไม่ แอลกอฮอล์ในสุรามีผลต่อสมองส่วนใด จึงทําให้ผู้ดื่มไม่สามารถควบคุม
การเดินให้เป็นปกติ (วิชาสามัญ 61)
1) pons 2) cerebrum 3) cerebellum
4) hypothalamus 5) thalamus
25. สมองส่วนใดของมนุษย์ที่ควบคุมการกลั้นหายใจขณะดําน้ํา (วิชาสามัญ 62)
1) pons 2) thalamus 3) mid-brain
4) cerebrum 5) medulla oblongata

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (221)


26. การตอบสนองของมนุษย์ในข้อใดใช้วงจรประสาทแบบ monosynaptic reflex (วิชาสามัญ 62)
1) หดมือเมื่อแตะกระทะร้อน
2) เหยียบเบรกรถเมื่อเห็นสัญญาไฟแดง
3) กระตุกขาเมื่อถูกเคาะเบาๆ ที่เอ็นใต้เข่า
4) ชักเท้าออกทันทีเมื่อบังเอิญเหยียบของมีคม
5) เขียนคําตอบในกระดาษคําตอบหลังจากอ่านโจทย์เสร็จ
27. ข้อใดเป็นผลจากการทํางานของระบบประสาทพาราซิมพาเททิก (วิชาสามัญ 61)
1) รูม่านตาหรี่ 2) ถุงน้ําดีคลายตัว
3) หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น 4) ต่อมน้ําลายลดการหลั่งน้ําลาย
5) หลอดลมฝอยในปอดขยายตัว
28. การเปลี่ยนแปลงในข้อใดเกิดขึ้นขณะมองภาพในระยะไกล (วิชาสามัญ 62)
1) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาหดตัว เลนส์ตาโค้งนูนน้อยลง
2) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาหดตัว เลนส์ตาโค้งนูนมากขึ้น
3) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาคลายตัว เลนส์ตาโค้งนูนน้อยลง
4) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาคลายตัว เลนส์ตาโค้งนูนมากขึ้น
5) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาหดตัว เลนส์ตาห่างจากเรตินามากขึ้น
29. จากภาพการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในรอบเดือนของผู้หญิง

ข้อใดถูกต้อง (วิชาสามัญ 62)


1) A คือ FSH จากฟอลลิเคิลในรังไข่ กระตุ้นให้มีการสร้างและหลั่ง estrogen
2) B คือ estrogen จากฟอลลิเคิลในรังไข่ กระตุ้นให้เกิดการตกไข่
3) C คือ LH จากต่อมใต้สมอง กระตุ้นให้เกิดการตกไข่
4) D คือ progesterone จากคอร์ปัสลูเทียมถูกกระตุ้นให้หลั่งโดย B
5) A จะกระตุ้นให้ C สูงขึ้นจนทําให้เกิดการตกไข่

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (222) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


30. กลไกในการสร้างและหลั่งฮอร์โมนใดแตกต่างจากข้ออื่น (วิชาสามัญ 62)
1) LH 2) TSH 3) insulin
4) estrogen 5) glucocorticoid
31. กลไกใดเป็น positive feedback (วิชาสามัญ 62)
1) ระดับ inhibin ในกระแสเลือดกับการหลั่ง FSH
2) ระดับ thyroxin ในกระแสเลือดกับการหลั่ง TSH
3) ระดับน้ําตาลในกระแสเลือดกับการหลั่ง glucagon
4) ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดกับการหลั่ง parathormone
5) ระดับ oxytocin ในกระแสเลือดกับการบีบตัวของมดลูกระหว่างคลอด
32. เหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหดตัวทําให้เกิดการงอแขน (วิชาสามัญ 62)
1) การเลื่อนเข้าหากันของไมโอซิน โดยอาศัย ATP
2) การจับกันของโปรตีนควบคุมกับแอกตินและไมโอซิน
3) การเลื่อนเข้าหากันของแอกติน โดยอาศัย ATP และแคลเซียม
4) การเลื่อนเข้าหากันของแอกตินและไมโอซิน โดยอาศัยแคลเซียม
5) กระแสประสาทกระตุ้นเกิดการสะสมของแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อ
33. ปรากฏการณ์ rigor mortis หรือการแข็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายภายหลังการเสียชีวิต เกิดขึ้นเพราะ
เหตุใด (PAT2 มี.ค. 60)
1) มี Ca2+ อยู่ในเซลล์น้อยเกินไป
2) มี ATP และ Ca2+ อยู่ในเซลล์น้อยเกินไป
3) มี ATP และ Ca2+ อยู่ในเซลล์มากเกินไป
4) มี ATP อยู่ในเซลล์น้อยเกินไป และมี Ca2+ อยู่ในเซลล์มากเกินไป
5) มี ATP อยู่ในเซลล์มากเกินไป และมี Ca2+ อยู่ในเซลล์น้อยเกินไป
34. จงเรียงลําดับกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่าง หลังจากเซลล์ประสาทนําคําสั่งกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ
โดยพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้ (วิชาสามัญ 60)
A Ca2+ จับกับโปรตีนควบคุม
B ไมโอซินจับกับแอกทิน
C แอกทินเลื่อนเข้าหากันและกล้ามเนื้อหดตัว
D sarcoplasmic reticulum หลั่ง Ca2+ ออกสู่ cytoplasm
1) A → B → C → D 2) B → C → D → A 3) C → D → A → B
4) D → A → B → C 5) D → B → A → C
35. นักอนุรักษ์สัตว์ป่าช่วยลูกอุรังอุตังตัวหนึ่งให้รอดพ้นจากนักค้าสัตว์ป่า ลูกอุรังอุตังตัวนี้ถูกขังไว้ในกรงขนาด
ใหญ่อย่างดี ในตอนแรกมันจะหนีไปแอบที่มุมหนึ่งของกรงทุกครั้งที่มีคนมาใกล้ๆ กรง ต่อมามันเริ่มไม่หนี
ไปแอบเมื่อเห็นคนเพราะมันเริ่มรู้ว่าคนเหล่านั้นไม่มีอันตรายต่อมัน และในที่สุดมันก็ไม่หนีคนที่มาใกล้ๆ กรง
อีกเลยพฤติกรรมของลูกอุรังอุตังตัวนี้จัดเป็นพฤติกรรมแบบใด (วิชาสามัญ 62)
1) การฝังใจ 2) การมีเงื่อนไข 3) แฮบบิซูเอชัน
4) การใช้เหตุผล 5) การลองผิดลองถูก

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (223)


36. การที่พ่อแม่กล่าวชมหรือให้รางวัลเมื่อลูกๆ ทําถูกต้อง และว่ากล่าวตักเตือนหรือทําโทษเมื่อทําผิด เป็นการ
สอนลูกๆ ให้เรียนรู้แบบใด (วิชาสามัญ 61)
1) reasoning 2) imprinting 3) habituation
4) conditioning 5) trial and error
37. เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสื่อสารด้วยสัญญาณแบบอื่นๆ แล้ว การสื่อสารด้วยสารเคมีมีข้อเสียเปรียบใน
เรื่องใด (วิชาสามัญ 62)
1) ใช้สื่อสารกับสัตว์ชนิดอื่นไม่ได้
2) สัตว์สามารถรับสารเคมีได้หลายวิธี
3) อัตราเร็วในการถ่ายทอดสัญญาณช้ากว่า
4) สารเคมีอาจตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน
5) ใช้พลังงานน้อยกว่าในการสร้างและส่งสัญญาณ
38. การสื่อสารระหว่างสัตว์ด้วยสัญญาณแบบใดใช้สื่อสารในระยะไกลได้ และยังปลอดภัยจากการตรวจหาของ
ผู้ล่าได้ดีกว่า (วิชาสามัญ 61)
1) เสียง 2) ไฟฟ้า 3) ท่าทาง 4) สารเคมี 5) การสัมผัส
39. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเจริญของไข่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (วิชาสามัญ 62)
1) primary oocyte เป็นเซลล์ haploid
2) เอ็มบริโอระยะ gastrula ฝังตัวที่ผนังมดลูก
3) polar body เกิดขึ้นในการแบ่ง meiosis I เท่านั้น
4) เซลล์ที่ตกในระยะ ovulation เป็น primary oocyte
5) การเจริญเป็นเซลล์ไข่ (ovum) ต้องถูกกระตุ้นด้วยเซลล์อสุจิ
40. การปฏิสนธิในคนเกิดขึ้นที่โครงสร้างใด (วิชาสามัญ 61)
1) รังไข่ 2) ท่อนําไข่
3) ช่องคลอด 4) ปากมดลูก
5) โพรงมดลูก

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (224) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


เฉลย
1. 5) 2. 5) 3. 4) 4. 1) 5. 1) 6. 3) 7. 3) 8. 2) 9. 3) 10. 4)
11. 1) 12. 5) 13. 1) 14. 5) 15. 2) 16. 5) 17. 2) 18. 2) 19. 2) 20. 1)
21. 2) 22. 3) 23. 5) 24. 3) 25. 4) 26. 3) 27. 1) 28. 3) 29. 3) 30. 1)
31. 5) 32. 3) 33. 4) 34. 4) 35. 3) 36. 4) 37. 1) 38. 4) 39. 5) 40. 2)

1. เฉลย 5) สารบางอย่างในแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งสามารถทําให้แบคทีเรียอีกสายพันธุ์เปลี่ยนลักษณะได้
ถู ก เพราะจากผลการศึ ก ษาของ Friedrich Griffith โดยศึ ก ษาผลการฉี ด Streptococcus
pneumoniae 2 สายพันธุ์เข้าสู่หนูแล้วติดตามผล ได้ผลดังตาราง
วิธีการทดลอง ผลการทดลอง
ฉีดสายพันธุ์ R (Rough) ผิวหยาบ หนูไม่ตาย
ฉีดสายพันธุ์ S (Smooth) ผิวเรียบ มีแคปซูลหุ้ม หนูตาย
ฉีดสายพันธุ์ S ที่ทําให้ตายด้วยความร้อน หนูไม่ตาย
ฉีดสายพันธุ์ S ที่ทําให้ตายด้วยความร้อน + สายพันธุ์ R หนูตาย
โดยสรุปผลการทดลอง : สารบางอย่างจากสายพันธุ์ S ทําให้สายพันธุ์ R เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์
S ได้
ตัวเลือกที่ 1), 2), 3) และ 4) ผิด เพราะไม่สอดคล้องกับสรุปผลการทดลองของ Friedrich
Griffith
2. เฉลย 5) ชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจนทั้งหมด 36 พันธะ
ถูก เพราะไนโตรจีนัสเบสที่เป็นคู่สมกันจะจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจน โดยเบส A กับT จะเชื่อม
กันด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ ส่วนเบส C กับ G จะเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ
โดย A กับ T มี 6 คู่ = 6 × 2 = 12 พันธะ และ C กับ G มี 8 คู่ = 8 × 3 = 24 พันธะ
เพราะฉะนั้นชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจนทั้งหมด = 12 + 24 = 36 พันธะ
1) ผิด เพราะพันธะไฮโดรเจนเป็นพันธะที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างไนโตรจีนัสเบสของ DNA สายคู่ที่เป็นคู่
สมกัน ไม่ใช่ไนโตรจีนัสเบสของ DNA สายเดียวกัน
2) และ 3) ผิด เพราะพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์เป็นพันธะที่เชื่อมระหว่างน้ําตาลดีออกซี-
ไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟส ซึ่งชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ไม่ได้แสดงโครงสร้างของน้ําตาลดีออกซีไร
โบสกับหมู่ฟอตเฟสให้ จึงต้องทราบว่านิวคลีโอไซด์ประกอบไปด้วยน้ําตาลเพนโทส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่
ฟอตเฟส จึงสามารถกําหนดได้ว่าหนึ่งไนโตรจีนัสเบสเท่ากับหนึ่งนิวคลีโอไซด์ โดยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์เป็น
พันธะที่เชื่อมระหว่างน้ําตาลดีออกซีไรโบสของนิวคลีโอไซด์หนึ่งจับกับหมู่ฟอสเฟสของนิวคลีโอไซด์ที่ติดกัน
ดังนั้น DNA เกลียวคู่นี้จึงประกอบด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์สายละ 13 พันธะ รวมเป็น 26 พันธะ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (225)


4) ผิด เพราะชิ้นส่วน DNA เกลียวคู่นี้ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจนทั้งหมด 36 พันธะ

พันธะไฮโดรเจน

พันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์
3. เฉลย 4) น้ําตาลดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟต
ถูก เพราะเนื่องจากส่วนของ DNA ที่เปรียบขั้นบันไดคือไนโตรจีนัสเบสที่เป็นคู่สมจับคู่กันด้วย
พันธะไฮโดรเจนและส่วนที่เปรียบเสมือนราวบันได คือ น้ําตาลดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟสด้วยพันธะ
ฟอสโฟไดเอสเตอร์

ราวบันได = น้ําตาลดีออกซีไรโบสจับกับ
หมู่ฟอสเฟสด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์

ขั้นบันได = ไนโตรจีนัสเบสที่เป็นคู่สมจับคู่กัน
ด้วยพันธะไฮโดรเจน

4. เฉลย 1) A = nucleosome, B = histone protein และ C = DNA


ถูก เพราะ A คือ nucleosome ซึ่งนิวคลีโอโซมคือดีเอ็นเอพันรอบโปรตีนฮิสโตนมีลักษณะ
คล้ายลูกปัด
B คือ histone protein ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของนิวคลีโอโซมให้โปรตีนฮิสโตน
เกี่ยวข้องกับการม้วนตัวของดีเอ็นเอและการแสดงออกของยีน
C คือ DNA ซึ่งจะม้วนตัวพันรอบโปรตีนฮิสโตนจนเป็นนิวคลีโอโซมในที่สุด
ตัวเลือกที่ 2), 3), 4) และ 5) ผิด เนื่องจากคําตอบไม่สอดคล้องกับภาพ

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (226) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


5. เฉลย 1) DNA โมเลกุลใหม่ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย Polynucleotide สายเดิมและสายใหม่อย่างละ 1 สาย
ถูก เพราะสิ้นสุดกระบวนการจําลอง DNA จะได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่เป็น DNA 2 สายคู่ (4 สาย
เดี่ยวหรือ 4 polynucleotide) เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semi-conservative) คือมีสายเดิมและสายใหม่
อย่างละ 1 สาย
2) ผิด เพราะ Ligase เป็นเอนไซม์ที่ใช้เชื่อมสาย lagging strand ให้เชื่อมต่อเป็นสายเดียวกันเป็น
lagging strand สายเดิม จึงไม่ได้เรียกว่า leading strand
3) ผิด เพราะ DNA polymerase สร้างสาย leading strand อย่างต่อเนื่องจากทิศ 5’ ไป 3’
4) ผิด เพราะ Nucleotide จากภายนอกเซลล์ที่ถูกนํามาต่อแบบคู่สมกับ DNA template จะทําเบส A
มาเข้าคู่กับ T และนําเบส C มาคู่กับ G
5) ผิด เพราะ Polynucleotide ทั้ง 2 สาย ที่เกิดจากการจําลอง DNA สามารถทําหน้าที่เป็น DNA
template ได้
6. เฉลย 3) 3
ถูก เพราะ ก. ถูก เพราะการถอดรหัสเป็นกระบวนการถอดลําดับเบสบนสายดีเอ็นเอไปเป็นลําดับ
เบสบนอาร์เอ็นเอ
ข. ผิด เพราะเอนไซม์ที่ทํางานในกระบวนการถอดรหัสคือ RNA polymerase
ค. ถูก เพราะเมื่อ polynucleotide ทั้ง 2 สายแยกออกจากกันจะมี polynucleotide
เพียงสายเดียวที่ทําหน้าที่เป็นดีเอ็นเอแม่แบบในกระบวนการถอดรหัส
ง. ผิด เพราะการถอดรหัสเกิดขึ้นบนดีเอ็นเอแม่แบบในทิศทาง 3’ ไป 5’
จ. ถูก เพราะไรโบนิวคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์จะเข้ามาจับดีเอ็นเอแม่แบบโดย C
เข้าคู่กับ G G เข้าคู่กับ C U เข้าคู่กับ A และ A เข้าคู่กับ T
ดังนั้นจึงมีข้อถูก 3 ได้แก่ ก, ค และ จ
7. เฉลย 3) 3
ถูก เพราะ ก. ผิด เพราะ mRNA ต้องมีลําดับเบสที่มีเบส A, U, C และ G ไม่มี T ดังนี้ลําดับเบส
จึงควรเป็น 3’AAUUUCGCACCGGUCGUA 5’
ข. ถูก เพราะในขั้นตอนการเริ่มกระบวนการแปลรหัสไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กเข้า
มาจับ mRNA แล้วหน่วยย่อยขนาดใหญ่จึงเข้ามาจับเพื่อพร้อมทํางาน
ค. ผิด เพราะไรโบโซมจะเคลื่อนที่ไปบน mRNA ในทิศทางจากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’
ง. ผิด เพราะ tRNA เป็น RNA ดังนั้นจะมีเบสแค่ A, U, C,และ G เท่านั้น ไม่มี T
จ. ถูก เพราะขั้นตอนการต่อสายพอลิเพปไทด์ในกระบวนการแปลรหัส tRNA โมเลกุล
ถัดมานํากรดอะมิโนอีกตัวมาเรียงต่อ แล้วสร้างพันธะเพปไทด์เชื่อมเป็นสายยาว
ดังนั้นจึงมีข้อผิด 3 ได้แก่ ก, ค และ ง
8. เฉลย 2) DNA template, primer, nucleotide, DNA polymerase
ถูก เพราะการเพิ่มปริมาณ DNA ด้วยเทคนิค PCR ต้องใช้ DNA template, DNA primer,
เอนไซม์ DNA polymerase, nucleotide triphosphate 4 ชนิด คือ A, T, C และ G MgCl2, buffer,
เครื่องควบคุมอุณหภูมิ

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (227)


9. เฉลย 3) กรดไขมัน
ถูก เพราะสารอาหารประเภทไขมันจะถูกลําเลียงเข้าสู่หลอดน้ําเหลืองใน villus โดยกรดไขมันจะ
รวมตัวเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) ลําเลียงในรูป lipoprotein ที่เรียกว่า chylomicron ที่เซลล์เยื่อ
บุวิลไล (villi) เข้าสู่หัวใจโดยไม่ผ่านตับ มีทิศทางดังนี้ lymphatic duct → thoracic duct → subclavian
vein → superior vena cava → heart

1) ผิด เพราะกลูโคสมีการลําเลียงเข้าสู่หัวใจโดยผ่านตับ ซึ่งเป็นการลําเลียงแบบใช้พลังงาน


(active transport) ผ่าน Na+ - glucose/ amino acid co-transporter
2) ผิด เพราะวิตามินซีจัดเป็นวิตามินที่ละลายน้ํา มีการดูดซึมที่บริเวณเซลล์บุผิวลําไส้เล็กแล้วจะถูก
ลําเลียงด้วยวิธีการแพร่แบบธรรมดา (simple diffusion) เข้าสู่ hepatic portal vein ผ่านตับ จากนั้นจึง
เข้าสู่หัวใจ
4) ผิด เพราะกาแลกโทสการลําเลียงเข้าสู่หัวใจโดยผ่านตับ ซึ่งเป็นการลําเลียงแบบใช้พลังงาน
(active transport) ผ่าน Na+ - glucose/ amino acid co-transporter
5) ผิด เพราะกรดอะมิโนมีการลําเลียงเข้าสู่หัวใจโดยผ่านตับ ซึ่งเป็นการลําเลียงแบบใช้พลังงาน
(active transport) ผ่าน Na+ - glucose/ amino acid co-transporter
10. เฉลย 4) ตับอ่อนและกระเพาะอาหาร
ถูก เพราะตับอ่อนและกระเพาะอาหารสามารถสร้างได้ทั้งฮอร์โมนและเอนไซม์ โดยฮอร์โมนที่ตับ
อ่อนสร้างได้จากเซลล์ต่างๆ ในไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ มีดังนี้ แอลฟาเซลล์ (alpha-cell) ผลิต
ฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) เบตาเซลล์ (beta-cell) ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเดลตาเซลล์ (delta-cell)
ผลิตฮอร์โมนโซมาโทสเตทิน (somatostatin) และเอฟเซลล์ เพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ ผลิตเพนคริเอติก
พอลิเปปไทด์ (pancreatic polypeptide) เอนไซม์ที่ตับอ่อนผลิตได้นั้น มีดังนี้ เอนไซม์อะไมเลส
(amylase) เอนไซม์ที่ทําหน้าที่ย่อยโปรตีน (protease) และเอนไซม์ที่ทําหน้าที่ย่อยสารพันธุกรรม
(nuclease) ส่วนกระเพาะอาหารมีการสร้างฮอร์โมน แกสตริน (gastrin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของ
กระเพาะอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ําย่อยและกรดไฮโดรคลอริก (HCl) และการหลั่งน้ําย่อย
จากตับอ่อน รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลําไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหาร
ยังสร้างเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ทําหน้าที่ย่อยโปรตีน

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (228) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


1) ผิด เพราะต่อมน้ําลายสร้างได้เพียงเอนไซม์ โดยสร้างเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ทําน้าที่ย่อย
แป้ง ในขณะที่ลําไส้เล็กสามารถสร้างได้ทั้งฮอร์โมนและเอนไซม์ ลําไส้เล็กผลิตฮอร์โมนซีครีติน (secretin)
หลั่งจากลําไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งน้ําย่อยและกระตุ้นตับให้หลั่ง
น้ําดีออกมาช่วยย่อยอาหารนอกจากนี้เอนไซม์ที่สร้างจากลําไส้เล็ก ได้แก่ disaccharidase, dipeptidase,
tripeptidase, aminopeptidase และ lipase
2) ผิด เพราะต่อมหมวกไตไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้ สร้างได้เพียงฮอร์โมน
3) ผิด เพราะต่อมหมวกไตไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้ สร้างได้เพียงฮอร์โมน
5) ผิด เพราะต่อมน้ําลายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ สร้างได้เพียงเอนไซม์
11. เฉลย 1) Hb + O2 → HbO2
ถูก เพราะแก๊สออกซิเจน (O2) จะจับกับ hemoglobin ในเซลล์เม็ดเลือดแดงกลายเป็น
oxyhemoglobin โดย hemoglobin1 โมเลกุลจะจับกับ ได้ 4 โมเลกุล ก่อนจะลําเลียงเข้าสู่หลอดเลือด
pulmonary vein เข้าสู่หัวใจและส่งต่อไปยังร่างกายต่อไป

ตัวเลือกที่ 2), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 1)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (229)


12. เฉลย 5) 6,000 cm3
อธิบาย
ความจุปอดสามารถวัดได้โดยใช้ spirometer โดยสามารถบอกค่าต่างๆ ได้ ดังนี้
• ปริมาตรอากาศปกติที่หายใจเข้าออก 500 cm3/ครั้ง (Tidal volume ; TV)
¾ anatomical dead space หมายถึง อากาศส่วนที่ตกค้างอยู่ในท่อทางเดินอากาศ 150 cm3
¾ อากาศที่เข้าไปถึงถุงลมและมีการแลกเปลี่ยนแก๊สจริงมีเพียง 350 cm3
¾ Alveolar Ventilation ; AV (ปริมาตรอากาศเข้าถุงลมปอด/นาที = ปริมาตรอากาศที่ผ่าน
ถุงลม × อัตราการหายใจ ; หน่วย ลิตร/นาที)
• ปริมาตรหายใจเข้าสํารอง
¾ ปริมาตรที่หายใจเข้าได้เพิ่มขึ้นจากปกติจนถึงเต็มที่ 2,500 cm3 (Inspiratory Reserve
Volume ; IRV)
• ปริมาตรหายใจออกสํารอง
¾ ปริมาตรที่หายใจออกได้เพิ่มขึ้นจนถึงเต็มที่ (Expiratory Reserve Volume ; ERV)
• ปริมาตรส่วนที่เหลือ
¾ อากาศที่ตกค้างภายในปอด 1,500 cm3
(Residual Volume ; RV)
¾ ไม่สามารถวัดได้โดย spirometer
• ความจุหายใจเข้า
¾ ความจุปอดที่รับอากาศได้มากที่สุดหลังหายใจออกตามปกติ (Inspiratory Capacity ; IC)
¾ TV + IRV = 3,000 cm3
• ความจุชีพ
¾ ความจุปอดที่หายใจเข้ามากหรือลึกมากที่สุด หลังหายใจออกอย่างเต็มที่ (Vital Capacity ; VC)
¾ TV + IRV + ERV =4,500 cm3
• ความจุส่วนเหลือที่ใช้งานได้
¾ อากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังหายใจออกปกติ (Functional Residual Capacity ; FRC)
¾ ERV + RV = 3,000 cm3
• ความจุปอดรวม
¾ อากาศทั้งหมดที่ปอดสามารถบรรจุได้เต็มที่ (Total Lung Capacity ; TLC)
¾ คนปกติค่าเฉลี่ย ≈ 6,00 cm3
• ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างรวดเร็วใน 1 วินาที (Forced Expiratory Volume in
one second ; FEV1)
¾ ใช้ตรวจสมรรถภาพการทํางานของปอด
¾ ในคนปกติ ค่า FEV1 ต้อง > 80%
5) ถูก เพราะอากาศทั้งหมดที่ปอดสามารถบรรจุได้เต็มที่ เรียกว่า ความจุปอดรวม (Total Lung
Capacity ; TLC) ในคนปกติมีค่าประมาณ 6,000 cm3
ตัวเลือกที่ 1), 2), 3) และ 4) ผิด เพราะดังคําอธิบายข้างต้น

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (230) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


13. เฉลย 1) จํานวนโมเลกุลของผลผลิต = CO2 = 0, NADH = 0, ATP = 2 และ Lactic acid = 2
ถูก เพราะผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการสลายกลูโคส 1 โมเลกุลเป็นกรดแลกติก (lactic acid)
จะได้ ATP 2 โมเลกุลและกรดแลกติก 2 โมเลกุล ซึ่งกรดแลกติกจะทําให้กล้ามเนื้อเกิดการเมื่อยล้า
(fatique) เพิ่มความเป็นกรดในเลือด โดยกระบวนการนี้จะพบในบริเวณไซโทซอลของเซลล์กล้ามเนื้อ
แบคทีเรียบางชนิด เช่น Lactobacillus, Streptococcus

ตัวเลือกที่ 2), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 1)


14. เฉลย 5) prothrombin → thrombin
ถูก เพราะเมื่อเกิดบาดแผลวิตามิน K และ Ca2+ จะกระตุ้นให้ prothrombin เปลี่ยนเป็น
thrombin ดังภาพ

ตัวเลือกที่ 1), 2), 3) และ 4) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 5)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (231)


15. เฉลย 2) ของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ําเหลืองฝอย
ถูก เพราะของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ําเหลือง
1) ผิด เพราะหลอดน้ําเหลืองขนาดใหญ่จะส่งของเหลวเข้าสู่หลอดเลือด subclavian vein ก่อน
เข้าสู่ superior vena cava จากนั้นจึงเข้าหัวใจ ไม่สามารถส่งของเหลวเข้าหัวใจได้โดยตรง
3) ผิด เพราะหลอดน้ําเหลืองขนาดเล็กจะมีความดันมากกว่าหลอดน้ําเหลืองขนาดใหญ่
4) ผิด เพราะของเหลวจากหลอดน้ําเหลืองฝอยไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย
5) ผิด เพราะหลอดน้ําเหลืองจะเป็นระบบท่อปลายตัน แทรกในเนื้อเยื่อ

16. เฉลย 5) lymphocyte


ถูก เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เป็นได้ทั้งภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะเจาะจงและไม่จําเพาะ
เจาะจง ในการสร้างภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะเจาะจงเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์จะมีการสร้างแอนติบอดี
(antibody) ขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม (antigen) แบบเฉพาะเจาะจง โดยเกี่ยวข้องกับการ
ทํางานของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ทั้งชนิดบี (B-lymphocyte) และชนิดที (T-lymphocyte) โดยบี-
ลิมโฟไซต์ เมื่อสัมผัสแอนติเจนจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) เพื่อทําหน้าที่สร้าง
แอนติบอดี เรียก อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนแต่ละชนิดอย่าง
จําเพาะเจาะจง ปกติร่างกายจะสามารถสร้างแอนติบอดีได้ภายใน 14 วัน ขึ้นกับชนิด ปริมาณและวิธีการ
เข้าสู่ร่างกายของแอนติเจนนั้นๆ นอกจากนี้บางส่วนของบี ลิมโฟไซต์ ยังเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เมมเมอรี่
(memory cell) เพื่อจดจําแอนติเจนที่เคยเข้ามา และสร้างแอนติบอดีได้เร็วขึ้นหากมีเชื้อเดิมเข้ามาใน
ร่างกายอีก ส่วน T-lymphocyte จะทําลายและกําจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์ติดเชื้อ
นอกจากนี้ lymphocyte สามารถสร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะเจาะจง โดยมีการสร้างเอ็นเคเซลล์
(natural killer cell, NK cell) ที่ทําหน้าที่ทําลายสิ่งแปลกปลอมเมื่อสิ่งแปลกปลอมมาสัมผัสกับเซลล์
1) ผิด เพราะเบโซฟิลมีบทบาทในระบบภูมิคุ้ม กันแบบไม่จําเพาะเจาะจง โดยจะเกิดการอักเสบ
หลั่งสาร histamine ออกมาเมื่อเกิดอาการแพ้ หรือมีการจับกินเชื้อโรค (phagocytosis)
2) ผิด เพราะโมโนไซต์มีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะเจาะจง โดยมีการจับกินเชื้อโรค
(phagocytosis)
3) ผิด เพราะอีโอซิโนฟิลมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะเจาะจง โดยมีการจับกินเชื้อโรค
(phagocytosis) ซึ่งอีโอซิโนฟิลมักจะกําจัดพยาธิ
4) ผิด เพราะนิวโทรฟิลมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะเจาะจง โดยมีการจับกินเชื้อโรค
(phagocytosis)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (232) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


17. เฉลย 2) ฉีดเซรุ่มให้กับผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด
ถูก เพราะการฉีดเซรุ่มเป็นการรับแอนติบอดี (antibody) เข้าสู่ร่างกาย เพื่อช่วยทําลายเชื้อโรค
ได้อย่างทันที จึงมีระยะเวลาคุ้มกันร่างกายสั้นที่สุด
1) ผิด เพราะการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีเอง โดยให้
ร่างกายได้รับแอนติเจน (antigen) ซึ่งก็คือเชื้อโรคที่ตายแล้ว
3) ผิด เพราะหลังจากเป็นหวัดได้รับแอนติเจนร่างกายแล้ว ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
หวัดนั้น ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและคงอยู่ได้นาน
4) ผิด เพราะการฉีดทอกซอยด์ (toxoid) ถือเป็นการนําพิษของจุลชีพที่เป็นส่วนสําคัญในการก่อโรค
มาทําให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคได้เข้าสู่ร่างกาย กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
ซึ่งคงอยู่ได้นาน
5) ผิด เพราะการฉีดเชื้อโรคที่ทําให้มีฤทธิ์อ่อนลง จะสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้าง
ภูมิคุ้มกันโรค ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนั้นจะคงอยู่ในร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน
18. เฉลย 2) ซีรัมซึ่งมีแอนติบอดีต่อพิษสุนัขบ้า จับกับไวรัสพิษสุนัขบ้าทําให้ไวรัสหมดฤทธิ์
ถูก เพราะการฉีดซีรัมหลังถูกสุนัขกัดเป็นการรับแอนติบอดีเข้าสู่ร่างกาย โดยแอนติบอดีจะ
ทํางานทันทีเข้าจับกับไวรัสพิษสุนัขบ้าทําให้ไวรัสหมดฤทธิ์
1) ผิด เพราะซีรัมเป็นการรับแอนติบอดีเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ได้ภูมิคุ้มกันโรคโดยตรงจากเลือดของ
สัตว์หรือคนอื่นๆ ที่ฉีดให้ร่างกายหลังจากติดเชื้อในระยะที่อาจเป็นอันตราย ได้ผลทันทีต่อการต่อสู้กับเชื้อโรค
3) ผิด เพราะซีรัมมีแอนติบอดีที่จะเข้าจับกับไวรัสจึงทําให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค แต่ภูมิคุ้มกันอยู่
ได้ในระยะเวลาสั้นๆ
4) ผิด เพราะซีรัมไม่ใช่แอนติเจนที่เข้าไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคเอง แต่เป็นการรับ
แอนติบอดีเข้าสู่ร่างกายให้จัดการกับไวรัสอย่างทันทีทันใด
5) ผิด เพราะแอนติบอดีของซีรัมไม่ได้จับกับ phagocyte เพื่อเข้าทําลายไวรัสพิษสุนัขบ้า
19. เฉลย 2) ปัสสาวะเจือจางมีปริมาณมาก
ถูก เพราะแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งจะมีผลให้มีการกระตุ้นการดูดน้ํา
กลับที่ ท่อหน่วยไตส่วนปลายและท่อรวมน้อยลง ไตจะขับปัสสาวะเพิ่ม ทําให้มีปัสสาวะมีปริมาณมากแต่
เจือจาง

ตัวเลือกที่ 1), 3), 4), และ 5) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 2)

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (233)


20. เฉลย 1) glomerulus
ถูก เพราะของเหลว ก มีปริมาณโปรตีนอยู่จํานวนมาก ซึ่งยังสามารถพบได้บริเวณ โกล
เมอรูลัส (glomerulus) แต่เมื่อผ่านการกรองเข้ามายังโบว์แมนแคปซูลแล้ว จะไม่พบโปรตีนขนาดใหญ่อยู่
ในน้ํากรอง

ตัวเลือกที่ 2), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 1)


21. เฉลย 2) proximal convoluted tubule
ถูก เพราะบริเวณท่อขดส่วนต้น (proximal convoluted tubule) จะมีฮอร์โมน Atrial
Natriuretic Peptide (ANP) ทําหน้าที่ยับยั้งการดูดกลับโซเดียมไอออน (Na+) ที่ท่อขดส่วนต้น จึงทําให้มี
การขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกมากับปัสสาวะจํานวนมาก

ตัวเลือกที่ 1), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะดังคําอธิบายในตัวเลือกที่ 2)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (234) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


22. เฉลย 3) ระดับ vasopressin เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ําในร่างกาย
อธิบาย
เมื่อชายคนนี้บริจาคเลือด จะทําให้ความดันเลือด (blood pressure) ลดลง แต่ความเข้มข้น
ของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งในการบริจาคเลือดชายคนนี้จะมีการสูญเสียน้ําออกมาด้วย เพื่อลดความหนืดของ
เลือด ทําให้เลือดไหลอย่างต่อเนื่องในการบริจาค
3) ถูก เพราะระดับของ vasopressin หรือ ADH นั้นจะเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มการดูดน้ํากลับเข้าสู่ร่างกาย
1) ผิด เพราะมีการหลั่ง renin เพิ่มขึ้น ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในระดับคงที่
2) ผิด เพราะระดับฮอร์โมน angiotensin จะมีค่าเพิ่มขึ้น
4) ผิด เพราะระดับของฮอร์โมน aldosterone จะเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มการดูดกลับ Na+
5) ผิด เพราะระดับฮอร์โมน ADH จะเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มการดูดน้ํากลับเข้าสู่ร่างกาย
23. เฉลย 5) a และ f
อธิบาย
กระบวนการ sodium - potassium pump จะเกิดในระยะพัก (resting stage) เท่านั้น โดยจะ
นําเอา Na ออกนอกเซลล์ และนํา K+ เข้าสู่เซลล์ ในอัตราส่วน 3 : 2 โดยระยะนี้จะใช้ ATP
+
5) ถูก เพราะ a และ f คือช่วงที่เป็น resting stage จึงพบ sodium - potassium pump ได้
1) ผิด เพราะ c คือ ระยะ depolarization จึงไม่พบ sodium - potassium pump ในระยะนี้
2) ผิด เพราะ b คือจุดที่เรียกว่า threshold ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการกระตุ้นแล้วจะเกิด action
potential ได้ ส่วน d คือ ระยะ repolarization ซึ่งทั้ง b และ d ซึ่งไม่พบ sodium - potassium pump
3) ผิด เพราะ c คือระยะ depolarization และ e คือ hyperpolarization ซึ่งไม่พบ sodium -
potassium pump
4) ผิด เพราะ d คือ ระยะ repolarization ซึ่งไม่พบ sodium - potassium pump
24. เฉลย 3) cerebellum
ถูก เพราะสมองส่วน cerebellum ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกาย โดย
แอลกอฮอล์มีผลต่อการทํางานของสมองส่วนนี้
1) ผิด เพราะสมองส่วน pons ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ควบคุมการเคี้ยว การเคลื่อนไหว
ของลูกตา การแสดงสีหน้า
2) ผิด เพราะสมองส่วน cerebrum ทําหน้าที่เป็นศูนย์ความฉลาดระดับสูง ควบคุมการเคลื่อนไหว
รับความรู้สึกต่างๆ เป็นศูนย์กลางการได้ยิน และการมองเห็น
4) ผิด เพราะสมองส่วน hypothalamus ทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนวัติ
ควบคุมการทํางานของต่อมใต้สมองผ่านฮอร์โมน เป็นศูนย์หิวและอิ่ม ควบคุมสมดุลร่างกาย ควบคุมการ
หลับตื่นและควบคุมพฤติกรรมทางอารมณ์และความรู้สึกทางเพศ
5) ผิด เพราะสมองส่วน thalamus ทําหน้าที่เป็นศูนย์รับความเจ็บปวด

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (235)


25. เฉลย 4) cerebrum
ถูก เพราะสมองส่วน cerebrum ทําหน้าที่แทรกแซงกระบวนการหายใจแบบ autonomic ได้
ดังนั้นการกลั้นหายใจจึงเป็นหน้าที่ของสมองส่วนนี้
1) ผิด เพราะสมองส่วน pons ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ควบคุมการเคี้ยว การเคลื่อนไหว
ของลูกตา การแสดงสีหน้า
2) ผิด เพราะสมองส่วน thalamus ทําหน้าที่เป็นศูนย์รับความเจ็บปวด
3) ผิด เพราะ mid-brain ทําหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาและควบคุมการปิด-เปิดของ
ม่านตาเป็นหลัก
5) ผิด เพราะสมองส่วน medulla oblongata ทําหน้าที่ควบคุมการหายใจแบบ autonomic
นอกจากนี้ยังควบคุมการทํ างานของประสาทอัตโนวัติใ นช่องอก/ช่องท้อง การทํางานของกล่องเสีย ง
การทํางานของลิ้น และเป็นศูนย์ปฏิกิริยา reflex
26. เฉลย 3) กระตุกขาเมื่อถูกเคาะเบาๆ ที่เอ็นใต้เข่า
อธิบาย
monosynaptic reflex คือ รีเฟล็กซ์ที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเพียงสอง ตัวมาต่อกัน ได้แก่
รีเฟล็กซ์ที่ช่วยปรับการทรงตัวของร่างกาย เมื่อกล้ามเนื้อถูกยึด (stretch reflex) เช่น การกระตุกขาเมื่อ
เกิดการเคาะที่เข่า
3) ถูก เพราะกระตุกขาเมื่อถูกเคาะเบาๆ ที่เอ็นใต้เข่าจัดเป็น monosynaptic reflex

1), 2), 4) และ 5) ผิด เพราะไม่ถูกต้องตามคําอธิบายข้างต้น


27. เฉลย 1) รูม่านตาหรี่
อธิบาย
Sympathetic nervous system คือ ระบบประสาทที่ควบคุมให้ร่างกายเกิดการตอบสนองของ
แบบ exciting
Parasympathetic nervous system คือ ระบบประสาทที่ควบคุมให้ร่างกายเกิดการ
ตอบสนองของแบบ resting/sleeping

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (236) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


1) ถูก เพราะรูม่านตาหรี่ควบคุมด้วยระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
2) ผิด เพราะถุงน้ําดีคลายตัวควบคุมด้วยระบบประสาทซิมพาเทติก
3) ผิด เพราะหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้นควบคุมด้วยระบบประสาทซิมพาเทติก
4) ผิด เพราะต่อมน้ําลายลดการหลั่งน้ําลายควบคุมด้วยระบบประสาทซิมพาเทติก
5) ผิด เพราะหลอดลมฝอยในปอดขยายตัวควบคุมด้วยระบบประสาทซิมพาเทติก
28. เฉลย 3) กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาคลายตัว เลนส์ตาโค้งนูนน้อยลง
อธิบาย
การมองใกล้ - ระยะโฟกัสสั้น เลนส์ป่อง ciliary muscle หดตัว suspensory ligament หย่อน
การมองไกล - ระยะโฟกัสยาว เลนส์แบน ciliary muscle คลายตัว suspensory ligament ตึง
3) ถูก เพราะการมองไกลกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา (ciliary muscle) คลายตัว เลนส์ตาโค้งนูน
น้อยลงหรือเลนส์แบน
ตัวเลือกที่ 1), 2), 4) และ 5) ผิด เพราะไม่ถูกต้องตามคําอธิบายในตัวเลือกที่ 3
29. เฉลย 3) C คือ LH จากต่อมใต้สมอง กระตุ้นให้เกิดการตกไข่
อธิบาย
A คือ ฮอร์โมน FSH
B คือ ฮอร์โมน estrogen
C คือ ฮอร์โมน LH
D คือ ฮอร์โมน progesterone
3) ถูก เพราะ C คือ LH สร้างจากต่อมใต้สมองทําหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่
1) ผิด เพราะ A คือ FSH ที่สร้างจากต่อมใต้สมองไม่ใช่จากฟอลลิเคิลในรังไข่
2) ผิด เพราะ B คือ estrogen ทําหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศหญิงต่างๆ และกระตุ้นให้ผนัง
มดลูกหนาตัวแต่ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการตกไข่
4) ผิด เพราะ D คือ progesterone ที่สร้างจากคอร์ปัสลูเทียมซึ่งเกิดจากการตกไข่ ไม่ได้ถูกกระตุ้น
ให้หลั่งโดย B (estrogen)
5) ผิด เพราะฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้ LH สูงขึ้น คือ estrogen ไม่ใช่ FSH (A)
30. เฉลย 1) LH
อธิบาย
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ (positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบ
น้อยกว่า เป็นการทํางานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน
จะไปกระตุ้นให้มีการทํางานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback) เป็นรูปแบบการ
ควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมน
น้อยลง
1) ถูก เพราะ LH คือมีการหลั่งแบบ positive feedback โดยการที่มีฮอร์โมน estrogen มากขึ้น
จะทําให้เกิดการหลั่ง LH
2), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะมีการควบคุมหลั่งแบบ negative feedback

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (237)


31. เฉลย 5) ระดับ oxytocin ในกระแสเลือดกับการบีบตัวของมดลูกระหว่างคลอด
อธิบาย
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ (positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบ
น้อยกว่า เป็นการทํางานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน
จะไปกระตุ้นให้มีการทํางานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback) เป็นรูปแบบการ
ควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมน
น้อยลง
5) ถูก เพราะระดับ oxytocin ในกระแสเลือดกับการบีบตัวของมดลูกระหว่างคลอดถูกควบคุมการ
หลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ (positive feedback) คือ ปริมาณ oxytocin ที่มากจะส่งผลให้เกิดการ
บีบตัวของมดลูกได้มาก
ตัวเลือกที่ 1), 2), 3) และ 4) ผิด เพราะเป็นการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้ง
ย้อนกลับ (negative feedback)
32. เฉลย 3) การเลื่อนเข้าหากันของแอกติน โดยอาศัย ATP และแคลเซียม
ถูก เพราะเมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นจะเกิดการปล่อย Ca2+ ออกมาจาก sarcoplasmic reticulum
โดย Ca2+ จะจับกับ troponin C ทําให้ troponin และ tropomyosin เคลื่อนออกจาก myosin binding
site และเกิดการจับกันของ myosin head และ actin บริเวณ myosin binding site เกิดเป็น cross
bridge ซึ่งทําให้เกิดการปล่อยของ ADP + Pi ออกจาก myosin head ทําให้เกิดการดึงรั้งให้แอกติน
เคลื่อนที่เข้าหากัน
1) ผิด เพราะการที่กล้ามเนื้อหดตัวเกิดจากการเลื่อนเข้าหากันของแอกตินไม่ใช่ไมโอซิน
2) ผิด เพราะกระบวนการที่กล้ามเนื้อหดตัวไม่ได้เกิดจากการจับกันของโปรตีนควบคุม แต่เกิดจาก
การดึงรั้งทําให้แอกตินเลื่อนเข้าหากัน
4) ผิด เพราะการที่กล้ามเนื้อหดตัวเกิดจากการเลื่อนเข้าหากันของแอกตินไม่ใช่ไมโอซิน
5) ผิด เพราะกระแสประสาทไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการสะสมของแคลเซียมขณะกล้ามเนื้อหดตัว แต่
เกิดจากการดึงรั้งทําให้แอกตินเลื่อนเข้าหากัน
33. เฉลย 4) มี ATP อยู่ในเซลล์น้อยเกินไป และมี Ca2+ อยู่ในเซลล์มากเกินไป
อธิบาย
Rigor mortis คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวจากการขาด ATP หลังเสียชีวิต
4) ถูก เพราะหลังเสียชีวิตร่างกายจะเกิดภาวะเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการขาด ATP
ซึ่งส่งผลให้ไม่เกิดการดูด Ca2+ กลับโดย sarcoplasmic reticulum ด้วยเนื่องจากกระบวนการนี้ต้องใช้
ATP ดังนั้นในเซลล์จึงมี ATP อยู่น้อย และภายนอกเซลล์จะมี Ca2+ มาก
1), 2), 3) และ 5) ผิด เพราะไม่ถูกต้องตามคําอธิบายในตัวเลือกที่ 4)

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (238) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


34. เฉลย 4) D → A → B → C
ถูก เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว sarcoplasmic reticulum จะปล่อย Ca2+ออกมา และ
แคลเซียมจะไปจับกับ troponin C ทําให้เกิดการเคลื่อนตัวของ troponin และ tropomyosin ออกจาก
myosin-binding site ซึ่งทําให้ myosin head จับกับ actin บริเวณนี้ได้ เกิดเป็น cross bridge
หลังจากนั้นเกิดการดึงรั้งให้ actin เคลื่อนที่เข้าสู่ใจกลางของ sarcomere ดังนั้นในช่วงหดตัว ATP จึงไม่
จําเป็น แต่ภาวะคลายตัว ATP จะจําเป็นเนื่องจากต้องเติม ATP กลับเข้าสู่ myosin head เพื่อให้เกิดการ
แยกตัวออกของ actin และ myosin
ดังนั้นลําดับจึงเป็น D > A > B > C
1), 2), 3) และ 5) ผิด เพราะไม่ถูกต้องตามคําอธิบายข้างต้น
35. เฉลย 3) แฮบบิซูเอชัน
ถูก เพราะการที่ลูกอุรังอุตังไม่เกิดการกลัวผู้คนจัดเป็นพฤติกรรมแบบ habituation (เคยชิน)
โดยจะเกิดการลดการกระทําหรือการแสดงพฤติกรรมลงเมื่อรับรู้ได้ว่าสิ่งเร้าเดิมไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อ
ตัวเอง
ตัวเลือกที่ 1), 2), 4) และ 5) ผิด เพราะไม่ถูกต้องตามคําอธิบายในตัวเลือกที่ 3)
36. เฉลย 4) conditioning
ถูก เพราะการให้รางวัลจะเป็นพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไข (conditioning) ซึ่งเกิดจากการที่มีการ
ให้รางวัลเมื่อทําถูกและลงโทษเมื่อทําผิด
1) ผิด เพราะ reasoning คือพฤติกรรมที่ใช้เหตุผล เกิดจากการคิดหาเหตุและผลมาแก้ปัญหาต่างๆ
ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของการให้รางวัลหรือลงโทษ
2) ผิด เพราะพฤติกรรมแบบฝังใจ (imprinting) จะเกิดในช่วงเวลาวิกฤติซึ่งมักจะอยู่ในช่วงระยะ
หลังแรกเกิดซึ่งไม่ใช่ในกรณีของการให้รางวัลหรือลงโทษ
3) ผิด เพราะพฤติกรรมแบบ habituation (เคยชิน) คือพฤติกรรมที่เกิดการลดการกระทําหรือ
การแสดงพฤติกรรมลงเมื่อรับรู้ได้ว่าสิ่งเร้าเดิมไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อตัวเองซึ่งไม่ใช่ในกรณีของการให้
รางวัลหรือลงโทษ
5) ผิด เพราะพฤติกรรมแบบ trial and error (ลองผิดลองถูก) คือพฤติกรรมที่ทดลองทํา ถ้าทํา
ได้ถูกจะกระทําอีก แต่ถ้าไม่ถูกจะไม่ทําอีกซึ่งไม่ใช่ในกรณีของการให้รางวัลหรือลงโทษ
37. เฉลย 1) ใช้สื่อสารกับสัตว์ชนิดอื่นไม่ได้
ถูก เพราะการสื่อสารด้วยสารเคมีหรือฟีโรโมนจะส่งผลต่อสัตว์ตัวอื่นในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น เช่น
การที่ผีเสื้อกลางคืนปล่อยสารล่อตัวผู้ให้มาผสมพันธุ์ มดตัวหน้าปล่อยสารเคมีเพื่อนําทางให้มดตัวหลัง
เป็นต้น
2), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะไม่จัดเป็นข้อเสียเปรียบของการสื่อสารด้วยสารเคมี
38. เฉลย 4) สารเคมี
ถูก เพราะการสื่อสารด้วยสารเคมีหรือฟีโรโมนจะส่งผลต่อสัตว์ตัวอื่นในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้นซึ่ง
สามารถสื่อสารในระยะไกลได้และปลอดภัยจากผู้ล่าได้ดีกว่าการสื่อสารในรูปแบบอื่น
1), 2), 3) และ 5) ผิด เพราะการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ ไม่ปลอดภัยจากผู้ล่าเท่ากับการสื่อสารด้วย
สารเคมี

โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31 ___________________________________ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (239)


39. เฉลย 5) การเจริญเป็นเซลล์ไข่ (ovum) ต้องถูกกระตุ้นด้วยเซลล์อสุจิ
ถูก เพราะการเจริญเป็นเซลล์ไข่ (ovum) ต้องเกิดการผสมกับอสุจิก่อนจึงจะเกิดการแบ่งเซลล์
จาก secondary oocyte ในระยะ metaphase II ต่อจนครบกลไก

1) ผิด เพราะ primary oocyteเป็น diploid (2n)


2) ผิด เพราะเอ็มบริโอระยะที่เกิดการฝังตัวคือ blastulation
3) ผิด เพราะ polar body เกิดขึ้นทั้ง meiosis I และ meiosis II ได้เป็น first polar body และ
second polar body ตามลําดับ และจะฝ่อสลายไปในที่สุด
4) ผิด เพราะเซลล์ที่เกิด ovulation อยู่ในระยะ secondary oocyte
40. เฉลย 2) ท่อนําไข่
ถูก เพราะการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นบริเวณท่อนําไข่หรือปีกมดลูก

1), 3), 4) และ 5) ผิด เพราะไม่ใช่ตําแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ

————————————————————

วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา (240) ____________________________________ โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปีที่ 31


แตŒว ณฐพร เตมีรักษ

You might also like