You are on page 1of 91

Plant Structure and Function

สาระสำคัญ (Synopsis)
พืชเป็ นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วย
แสง พืชมีการจัดระบบในร่างกายโดยมีเซลล์พืชหลายเซลล์รวมกันเป็ น
เนื้อเยื่อพืช เนื้อเยื่อพืชหลาย ๆ ชนิดเมื่ออยู่รวมกันจะกลายเป็ นระบบ
เนื้อเยื่อพืช อวัยวะของพืช และพืช ตามลำดับ โดยในบทนี้จะอธิบายถึง
เนื้อเยื่อพืช ราก ลำต้น และใบ ตามลำดับ

หัวข้อ (Topics)
1.บทนำเกี่ยวกับโครงสร้างพืช (Introduction to Plant Body)
2.เนื้อเยื่อพืช I: เนื้อเยื่อเจริญ (Plant Tissues I: Meristematic
Tissues)
3.เนื้อเยื่อพืช II: เนื้อเยื่อถาวร (Plant Tissues II: Permanent Tissues)
4.โครงสร้างและหน้าที่ของราก (Root Structure and Function)
5.โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น I: การเติบโตปฐมภูมิ (Stem Structure
and Function I: Primary Growth)
6.โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น II: การเติบโตทุติยภูมิ (Stem
Structure and Function II: Secondary Growth)
7.โครงสร้างและหน้าที่ของใบ (Leaf Structure and Function)
8.แบบฝึ กหัดท้ายบท (End of Chapter Quiz)
Introduction to Plant Body
บทนำเกี่ยวกับโครงสร้างพืช
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของพืชบก
อธิบายการจัดระบบโครงสร้างของพืชบก
อธิบายระบบเนื้อเยื่อพืช (tissue system)
อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของเซลล์พืชที่สำคัญ ได้แก่ ผนังเซลล์
(cell wall)
สาระสำคัญ
พืชมีการระบบโดยหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของพืช คือ เซลล์พืช
(plant cell) ซึ่งเซลล์พืชหลาย ๆ เซลล์ประกอบขึ้นมาเป็ นเนื้อเยื่อพืช
(plant tissue) และเมื่อเนื้อเยื่อพืชหลาย ๆ ชนิดร่วมกันทำงานจะเกิด
เป็ นระบบเนื้อเยื่อพืช (plant tissue system) ในอวัยวะของพืช (organ)
ต่าง ๆ เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็ นต้น ซึ่งอวัยวะของพืชหลาย ๆ
อวัยวะเมื่อมาอยู่รวมกันก็จะกลายเป็ นระบบอวัยวะของพืช (organ
system) และกลายเป็ นต้นพืช (organism) ต่อไป
ระบบเนื้อเยื่อพืช (tissue system) สามารถแบ่งได้เป็ น 3 ระบบ
คือ ระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal tissue system) ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง
(vascular tissue system) และระบบเนื้อเยื่อพื้น (ground tissue
system) ซึ่งแต่ละระบบเนื้อเยื่อจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป

Concept Check
1.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพืช
1. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์พวกยูคาริโอต
2. มีผนังเซลล์เป็ นสารพวกเซลลูโลส
3. มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
4. มีการดำรงชีวิตเป็ นแบบ photoautotroph
5. มีระยะไซโกต แต่ไม่มีระยะเอ็มบริโอ
พืช (plant) เป็ นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์พวกยูคาริโอต มีความสามารถในการ
สังเคราะห์ด้วยแสง มีผนังเซลล์เป็ นสารพวกเซลลูโลส และมีวงชีวิตแบบ
สลับ
ข้อ 5. ผิด เพราะพืชมีระยะไซโกตและระยะเอ็มบริโอ โดยทั้งระยะไซโกต
และระยะเอ็มบริโอจะเจริญอยู่ในโครงสร้างของเพศเมีย
2.ข้อใดจับคู่ระบบเนื้อเยื่อ (tissue system) ผิด
1. Dermal tissue system : Epidermis
2. Dermal tissue system : Periderm
3. Vascular tissue system : Xylem
4. Ground tissue system : Cortex
5. Ground tissue system : Cork
ข้อ 5. ผิด เพราะ cork จัดเป็ นส่วนหนึ่งของ periderm ดังนั้นจึงจัดว่า
เป็ นระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal tissue system)
3. ข้อใดผิดเกี่ยวกับผนังเซลล์พืช
1. เซลล์พืชทุกชนิดมีผนังเซลล์ปฐมภูมิ
2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิประกอบขึ้นจากเซลลูโลสเป็ นหลัก และอาจมีเพก
ทิน
3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิพบในเซลล์พืชบางชนิด เช่น ไฟเบอร์ และเวสเซล
4. ผนังเซลล์ทุติิยภูมิมีเซลลูโลสและอาจมีสารอื่นพอกขึ้นมา เช่น ลิ
กนิน หรือซูเบอริน
5. พิท (pit) พบได้ทั้งในเซลล์พืชที่มีเฉพาะผนังเซลล์ปฐมภูมิและเซลล์
พืชที่มีผนังเซลล์ทุติยภูมิ
พิท (pit) เป็ นบริเวณที่ไม่ได้ถูกพอกด้วยผนังเซลล์ทุติยภูมิ ดังนั้นจึง
สามารถสังเกต pit ในเซลล์พืชได้เฉพาะในเซลล์ที่มีผนังเซลล์ทุติยภูมิ โดย
ทั่วไปพิทมักจะเป็ นบริเวณที่พบพลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)
ในตอนที่มีเฉพาะผนังเซลล์ปฐมภูมิ
Plant Tissues I: Meristematic Tissues
เนื้อเยื่อพืช I: เนื้อเยื่อเจริญ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของเนื้อเยื่อเจริญ (meristem)
สาระสำคัญ
เนื้อเยื่อเจริญเป็ นเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ยังคงความ
สามารถในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ได้อยู่ เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจึงเป็ นเซลล์ที่มีชีวิตขนาดเล็ก ผนังบาง แวคิว
โอลขนาดเล็ก แต่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เทียบกับขนาดเซลล์ เนื้อเยื่อเจริญ
แบ่งได้เป็ น 3 ประเภทตามตำแหน่งที่อยู่ในพืช คือ เนื้อเยื่อเจริญส่วน
ปลาย (apical meristem) เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem)
และเนื้อเยื่อเจริญระหว่างข้อ (intercalary meristem)

Concept Check
1.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเซลล์เจริญ (meristematic cell) ในเนื้อเยื่อ
เจริญ (meristematic tissue)
1. มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เทียบกับขนาดเซลล์
2. มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะ
3. มีผนังเซลล์ปฐมภูมิบางและมีความหนาสม่ำเสมอ
4. มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์
5. เซลล์เจริญสามารถพบได้ในพืชทุกชนิด
เซลล์เจริญ (meristematic cell) ในเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic
tissue) เป็ นเซลล์ที่มีผนังเซลล์ปฐมภูมิบางมีความหนาสม่ำเสมอ ส่วน
ใหญ่มีขนาดนิวเคลียสใหญ่เทียบกับขนาดเซลล์ และมีการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวน แต่มักยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์
เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ
2.ข้อใดถูกเกี่ยวกับเซลล์ที่ลูกศรชี้ในภาพ
ก. เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายยอด
ข. เกี่ยวข้องกับการเติบโตปฐมภูมิของพืช
ค. เนื้อเยื่อเจริญนี้พบได้ในเซลล์พืชทุกชนิด

1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
บริเวณที่ลูกศรสีแดงชี้คือเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (shoot apical
meristem) ซึ่งพบได้ในพืชทุกชนิดและเกี่ยวข้องกับการเติบโตปฐมภูมิ
(primary growth)
3.ข้อใดผิดเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเจริญ
1. vascular cambium เป็ นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างที่พบในพืชใบเลี้ยง
คู่
2. vascular cambium สามารถพบได้ทั้งในรากและลำต้นของพืชใบ
เลี้ยงคู่
3. vascular cambium มีหน้าที่สร้าง secondary phloem และ
secondary xylem
4. vascular cambium เจริญมาจาก ground meristem
5. cork cambium มีหน้าที่สร้างคอร์ก (cork)
ข้อ 4. ผิด เพราะ vascular cambium เจริญมาจาก procambium
Plant Tissues II: Permanent Tissues
เนื้อเยื่อพืช II: เนื้อเยื่อถาวร
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายและระบุชนิดของเนื้อเยื่อถาวรชนิดต่าง ๆ
สาระสำคัญ
เนื้อเยื่อถาวรเป็ นเนื้อเยื่อพืชที่เซลล์มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดย
ทั่วไปมีรูปร่างคงที่ มีองค์ประกอบภายในที่ทำให้เซลล์ทำหน้าที่เฉพาะได้
และไม่มีการแบ่งเซลล์อีก ในเนื้อเยื่อถาวรบางชนิดเซลล์อาจมีการ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ต่างๆ ผนังเซลล์อาจหนา
และแข็งแรงขึ้น เซลล์บางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ที่มีการสะสมสารต่าง ๆ
มากขึ้น เนื้อเยื่อถาวรมีหลายชนิด ได้แก่ เนื้อเยื่อผิว (epidermis) เนื้อ
เยื่อพาเรนไคมา (parenchyma) เนื้อเยื่อคอลเลนไคมา (collenchyma)
เนื้อเยื่อสเคลอเรนไคมา (sclerenchyma) เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ (xylem)
และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (phloem)

Concept Check
1.ข้อใดไม่ใช่เซลล์ผิว (epidermal cell)
1. Guard cell
2. Trichome
3. Root hair cell
4. Cortex
5. Subsidiary cell
เซลล์ผิว (epidermal cell) อาจมีการปรับตัวเป็ นเซลล์ต่าง ๆ เช่น เซลล์
คุม (guard cell) เซลล์รอบเซลล์คุม (subsidiary cell) เซลล์ขนราก
(root hair cell) และขน (trichome) ส่วนคอร์เทกซ์ประกอบขึ้นจาก
เนื้อเยื่อถาวรชนิดอื่น ๆ
2.ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพาเรงคิมา (parenchyma)
1. การสะสมอาหาร
2. การสังเคราะห์ด้วยแสง
3. การแลกเปลี่ยนแก๊ส
4. การค้ำจุนโครงสร้าง
5. การสะสมและสร้างผลึก
พาเรงคิมา (parenchyma) เป็ นเนื้อเยื่อถาวรที่มีหน้าที่หลากหลาย เช่น
การสะสมอาหาร การสะสมผลึก การสังเคราะห์ด้วยแสง และการเกิด
โพรงอากาศสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊ส แต่เกี่ยวข้องกับการค้ำจุนโครงสร้าง
น้อยที่สุด

3.เนื้อเยื่อพืชในภาพคือเนื้อเยื่อใด
1. Ground parenchyma
2. Chlorenchyma
3. Aerenchyma
4. Stellate parenchyma
5. Storage parenchyma
เนื้อเยื่อในภาพเป็ น storage parenchyma ที่มีหน้าที่ในการสะสมแป้ ง
ในอะไมโลพลาสต์ (โครงสร้างที่ย้อมติดสีม่วงในภาพ)
4.เนื้อเยื่อบริเวณที่มีเครื่องหมาย Δ ในภาพคือเนื้อเยื่อใด

1. Ground parenchyma
2. Stellate parenchyma
3. Collenchyma
4. Sclereid
5. Fiber
เนื้อเยื่อบริเวณที่มีเครื่องหมาย Δ ในภาพคือ เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา
(collenchyma) ชนิด angular collenchyma
5.เกณฑ์ในข้อใดใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของ collenchyma และ
sclerenchyma
ก. การมีหรือไม่มีผนังเซลล์ปฐมภูมิ
ข. การมีหรือไม่มีโพรโทพลาซึมในเซลล์
ค. หน้าที่ของเนื้อเยื่อพืช
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
Collenchyma พบเฉพาะผนังเซลล์ปฐมภูมิและมีโพรโทพลาซึม (มีชีวิต)
ส่วน sclerenchyma มีผนังเซลล์ทุติยภูมิและไม่มีโพรโทพลาซึม (ไม่มี
ชีวิต) ส่วนหน้าที่ของทั้ง collenchyma และ sclerenchyma ใช้ในการ
ค้ำจุนโครงสร้างพืชเหมือนกัน
6.โครงสร้างใดมีโอกาสพบเนื้อเยื่อในภาพมากที่สุด
1. กาบมะพร้าว
2. Phloem fiber
3. ส่วนที่รับประทานได้ของแอ๊ปเปิ้ล
4. ตามมุมของลำต้นที่มีการเจริญปฐมภูมิ
5. ตามมุมของรากที่มีการเจริญทุติยภูมิ
เนื้อเยื่อพืชในภาพ คือ sclereid ชนิด brachysclereid (stone cell) ซึ่ง
มักพบในผลไม้ที่มีเนื้อสาก เช่น แอ๊ปเปิ้ล สาลี่
7.ข้อใดผิดเกี่ยวกับเนื้อเยื่อในภาพ

1. มีผนังเซลล์ทุติยภูมิ
2. มีเซลลูโลสและลิกนินเป็ นองค์ประกอบของผนังเซลล์
3. ไม่มีโพรโทพลาซึม (ไม่มีชีวิต)
4. มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
5. สามารถเปลี่ยนกลับเป็ นเนื้อเยื่อเจริญได้
เนื้อเยื่อในภาพ คือ tracheary element (อาจเป็ น tracheid หรือ
vessel) มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ มีผนังเซลล์ทุติยภูมิที่มี
เซลลูโลสและลิกนินเป็ นองค์ประกอบ ไม่มีโพรโทพลาซึมและไม่มีชีวิต
8.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member)
1. มีผนังเซลล์ปฐมภูมิ
2. ไม่มีนิวเคลียส
3. มีแผ่นตะแกรง (sieve plate)
4. ไม่มีโพรโทพลาซึม
5. มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) เป็ นเซลล์ที่มีชีวิต แต่เมื่อ
เจริญเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ที่มีอาหารอยู่ภายใน มี
ผนังเซลล์ปฐมภูมิบาง และมีแผ่นตะแกรง (sieve plate)

Root Structure and Function


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายและเปรียบเทียบระบบราก (root system)
อธิบายบริเวณต่าง ๆ ของรากตัดตามยาว
อธิบายบริเวณต่าง ๆ ของรากตัดตามขวาง
อธิบายและยกตัวอย่างการปรับตัวของรากเพื่อทำหน้าที่พิเศษ
สาระสำคัญ
ราก (root) เป็ นอวัยวะของพืชที่มักเจริญอยู่ใต้ดินและมีทิศทางการ
เติบโตตามแรงโน้มถ่วงของโลก (positive gravitropism) รากพืชมีหน้าที่
หลักในการดูดน้ำและเกลือแร่จากดิน รวมถึงช่วยในการยึดและให้ความ
แข็งแรงกับลำต้น ระบบรากแบ่งออกเป็ น 2 ระบบ คือ ระบบรากแก้วและ
ระบบรากฝอย เมื่อนำรากมาตัดตามยาวพบว่าจะมีการแบ่งออกเป็ น
บริเวณต่าง ๆ คือ หมวกราก บริเวณที่เซลล์มีการแบ่งเซลล์ บริเวณที่เซลล์
มีการขยายขนาดของเซลล์ และบริเวณที่เซลล์มีการเติบโตเต็มที่ ส่วนเมื่อ
นำรากมาตัดตามขวางจะพบว่าแบ่งออกเป็ น 3 ชั้น คือ เอพิเดอร์มิส คอร์
เทกซ์ และสตีล ตามลำดับ รากพืชหลายชนิดอาจมีการปรับตัวเพื่อทำ
หน้าที่พิเศษได้

1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของรากพืชตัดตามขวางต่อไปนี้
A Xylem
B Storage parenchyma
C Pericycle
D Phloem
E Endodermis
2.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของรากพืชตัดตามขวางต่อไปนี้
A Phloem
B Xylem
C Storage parenchyma
D Pith
E Endodermis

3.ถ้านักเรียนต้องการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขนราก นักเรียน
ควรเลือกบริเวณใดมาศึกษา
1. Zone of Cell Proliferation
2. Zone of Cell Differentiation
3. Zone of Cell Elongation
4. Root cap
เซลล์ขนรากสามารถพบได้ที่บริเวณที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและมี
การเจริญเต็มที่ (zone of cell maturation หรือ zone of cell
differentiation)
4.ข้อใดผิดเกี่ยวกับรากพืช
1. เซลล์ในขั้นเอนโดเดอร์มิสมีการพอกของลิกนินและซูเบอริน
2. เอพิเดอร์มิสของรากมักไม่พบชั้นคิวทิเคิล
3. เพอริไซเคิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการการเจริญของรากฝอย (fibrous
root)
4. เพอริไซเคิลสามารถเปลี่ยนกลับเป็ น cork cambium ได้ในรากพืช
ที่มีการเติบโตทุติยภูมิ
5. พิธในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวประกอบขึ้นจาก ground parenchyma
ข้อ 3. ผิด เพราะ เพอริไซเคิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการการเจริญของราก
แขนง (lateral root)

5.ข้อใดจับคู่ผิด
1. รากสะสมอาหาร : มันเทศ
2. รากสะสมอาหาร : แครอท
3. รากค้ำจุน : รากโกงกาง
4. รากหายใจ : รากแสม
5. รากยึดเกาะ : รากข้าวโพด
รากยึดเกาะ เช่น รากกล้วยไม้ ส่วนข้าวโพดจะมีระบบรากฝอยและอาจมี
รากค้ำจุน (prop root) ได้
Stem Structure and Function I: Primary Growth
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายและระบุบริเวณต่าง ๆ ของปลายยอด
อธิบายโครงสร้างของลำต้นที่มีการเติบโตปฐมภูมิตัดตามขวาง

สาระสำคัญ
เมื่อนำส่วนปลายยอดพืชใบเลี้ยงคู่มาตัดตามยาวผ่านแนวกลาง พบ
ว่าบริเวณปลายยอดพืชประกอบด้วยโครงสร้างและบริเวณต่าง ๆ คือ
เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (shoot apical meristem) ใบแรกเกิด (leaf
primordium) ใบอ่อน (young leaf) ตาซอกแรกเกิด (axillary bud
primordium) และลำต้นอ่อน (young stem)
เมื่อนำลำต้นพืชทีมีการเติบโตเต็มที่แบบปฐมภูมิมาตัดตามขวางแล้ว
ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า ลำต้นพืชประกอบขึ้นจากชั้นต่าง ๆ
3 ชั้นหลัก คือ ชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis) ชั้นคอร์เทกซ์ (cortex) และ
ชั้นสตีล (stele) เช่นเดียวกับในราก แต่จะมีส่วนประกอบและหน้าที่แตก
ต่างกันบางส่วน

1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของปลายยอดต่อไปนี้
A Shoot apical meristem
B Leaf primordium
C Young leaf
D Axillary bud primordium
2.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของลำต้นพืชต่อไปนี้
A Bundle sheath cell
B Air space
C Vessel
D Cortex
E Phloem
3.ข้อใดผิดเกี่ยวกับลำต้นปฐมภูมิ (primary stem)
1. เซลล์คุมอาจพบได้ในชั้นเอพิเดอร์มิสของลำต้น
2. คอร์เทกซ์สามารถพบได้ทั้งพอเรงคิมาและคอลเลงคิมา
3. พืชใบเลี้ยงคู่จะมีมัดเนื้อเยื่อลำเลียงเรียงตัวเป็ นวง
4. พืชใบเลี้ยงคู่จะมี primary xylem อยู่ด้านใน และมี primary
phloem อยู่ด้านนอก
5. พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสามารถสังเกตพิธ (pith) ได้ชัดเจนกว่าพืชใบ
เลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสามารถสังเกตพิธ (pith) ได้ยากกว่าพืชใบเลี้ยงคู่
เนื่องจากเนื้อเยื่อลำเลียงมีการเรียงตัวแบบกระจาย
4.ข้อใดจับคู่ลำต้นกับพืชผิด
1. ลำต้นมือเกาะ : ตำลึง
2. ลำต้นสะสมอาหาร : มันฝรั่ง
3. ลำต้นสะสมอาหาร : เผือก
4. เหง้า (rhizome) : ขิง
5. ไหล (stolon) : ตะไคร้
ไหล (stolon) เป็ นลำต้นเหนือดินที่มีการเรียงตัวในแนวนอนขนานกับพื้น
ดิน เช่น สตรอเบอรี่
Stem Structure and Function II: Secondary Growth
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายโครงสร้างของลำต้นที่มีการเติบโตทุติยภูมิตัดตามขวาง
อธิบายการเกิดวงปี ในไม้เนื้อแข็ง
อธิบายการปรับตัวเพื่อทำหน้าที่พิเศษของลำต้น

สาระสำคัญ
ในพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็ นไม้เนื้อแข็ง (woody plant) ลำต้นสามารถเกิด
การเจริญทุติยภูมิซึ่งเป็ นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้าง โดย
การเจริญเติบโตแบบนี้เกิดจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง 2
กลุ่ม คือ เนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) และเนื้อ
เยื่อคอร์กแคมเบียม (cork cambium) โดยพืชที่มีการเติบโตทุติยภูมิจะมี
เนื้อไม้เป็ นส่วนของลำต้นที่อยู่ถัดจาก vascular cambium เข้ามาด้านใน
ขณะที่เปลือกไม้ (bark) เป็ นส่วนของลำต้นที่อยู่ถัดจาก vascular
cambium ออกไปทางด้านนอก ลำต้นพืชหลายชนิดอาจมีการปรับตัว
เพื่อทำหน้าที่พิเศษได้

1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของลำต้นทุติยภูมิต่อไปนี้
A Pith
B Phloem ray
C Springwood
D Cortex
E Summerwood
F Phloem fiber
G Xylem ray

Leaf Structure and Function


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายสัณฐานวิทยาของใบพืช
เปรียบเทียบความแตกต่างของใบเดี่ยวและใบประกอบ
อธิบายโครงสร้างของใบตัดตามขวาง
อธิบายการปรับตัวเพื่อทำหน้าที่พิเศษของใบ

สาระสำคัญ
ใบ (leaf) เป็ นโครงสร้างที่อยู่เหนือดินเช่นเดียวกับลำต้น โดยทั่วไป
มักมีลักษณะเป็ นแผ่นสีเขียว ใบทำหน้าที่เป็ นแหล่งที่เกิดกระบวนการเม
แทบอลิซึมต่างๆ เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง รวมถึงเป็ นบริเวณที่มีการ
แลกเปลี่ยนแก๊ส และการคายน้ำของพืชอีกด้วย โครงสร้างของใบพืชแบ่ง
ออกเป็ น 3 ส่วนหลัก คือ แผ่นใบ (blade หรือ lamina) ก้านใบ
(petiole) และหูใบ (stipule) นักพฤกษศาสตร์แบ่งใบพืชออกเป็ น 2
ชนิด คือ ใบเดี่ยว (simple leaf) และใบประกอบ (compound leaf)
เมื่อนำใบมาตัดตามขวางพบว่าประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น คือ
ชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis) ชั้นมีโซฟิ ลล์ (mesophyll) และมัดท่อ
ลำเลียง (vascular bundle) หรือเส้นใบ (vein) ใบพืชหลายชนิดอาจมี
การปรับตัวเพื่อทำหน้าที่พิเศษได้

1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของใบพืชต่อไปนี้
A Upper epidermis
B Guard cell
C Spongy mesophyll
D Vascular bundle
E Palisade mesophyll

2.พืชในข้อใดมีใบเดี่ยว (simple leaf) ทั้งหมด


1. มะม่วง มะขาม
2. มะพร้าว ราชพฤกษ์
3. อัญชัน หางนกยูงไทย
4. มะยม พริก
5. ชบา จามจุรี
ใบเดี่ยว (simple leaf) เป็ นใบที่ก้านใบ 1 ก้าน มีแผ่นใบติดอยู่ 1 แผ่น
เช่น มะม่วง มันสำปะหลัง มะยอม พริก ชบา หูกวาง
ใบประกอบ (compound leaf) เป็ นใบที่ก้านใบ 1 ก้าน มีแผ่นใบหลาย
แผ่นหรือใบย่อย (leaflet) เช่น อัญชัน หางนกยูงไทย จามจุรี มะขาม
มะพร้าว ราชพฤกษ์
3.ข้อใดผิดเกี่ยวกับโครงสร้างของใบตัดตามขวาง
1. เอพิเดอร์มิสด้านบนในพืชส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นเซลล์คุมน้อย
กว่าเอพิเดอร์มิสด้านล่าง
2. เอพิเดอร์มิสด้านบนในพืชส่วนใหญ่จะมีชั้นคิวทิเคิลบางกว่าเอพิเด
อร์มิสด้านล่าง
3. มีโซฟิ ลล์ในใบประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อ chlorenchyma
4. พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะแยก palisade mesophyll และ spongy
mesophyll ได้ยากกว่าพืชใบเลี้ยงคู่
5. อ้อย ข้าวโพด มีเซลล์บันเดิลชีทขนาดใหญ่และมีคลอโรพลาสต์อยู่
ล้อมรอบ vascular bundle
ข้อ 2. ผิด เพราะ เอพิเดอร์มิสด้านบนในพืชส่วนใหญ่จะมีชั้นคิวทิเคิลหนา
กว่าเอพิเดอร์มิสด้านล่าง
4.พืชในข้อใดที่มีใบใช้ในการยึดเกาะ (leaf tendril)
1. ตำลึง
2. ดองดึง
3. หม้อข้าวหม้อแกงลิง
4. เถาวัลย์
5. แตงกวา
ใบมือเกาะ (leaf tendril) เช่น ดองดึง ถั่วลันเตา พวงแก้วกุดั่น
Plant Transport
สาระสำคัญ (Synopsis)
น้ำ ธาตุอาหาร และอาหารเป็ นปั จจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของ
พืช โดยน้ำจะมีการลำเลียงจากในดินเข้าไปในรากและมีการลำเลียงไปยัง
ยอด ก่อนจะมีการคายน้ำออกไปนอกพืชต่อไป การลำเลียงน้ำจะมีการ
ลำเลียงตามค่าชลศักย์ (water potential) โดยการลำเลียงน้ำและธาตุ
อาหารจะเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ขณะที่อาหาร (น้ำตาล) ที่พืชสร้าง
ขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจะมีการลำเลียงภายในท่อโฟลเอ็ม
โดยอาศัยความแตกต่างของความดันระหว่างบริเวณที่เป็ นแหล่งสร้างและ
แหล่งรับ

หัวข้อ (Topics)
1. ค่าชลศักย์ (Water Potential)
2. การลำเลียงน้ำ I: ราก (Water Transport I: Root)
3. การลำเลียงน้ำ II: การลำเลียงระยะไกล (Water Transport II:
Long-distance Transport)
4. การลำเลียงน้ำ III: การคายน้ำ (Water Transport III: Stomatal
Biology and Transpiration)
5. ธาตุอาหารพืช (Plant Minerals)
6. การลำเลียงอาหารในโฟลเอ็ม (Phloem Translocation)
7. แบบฝึ กหัดท้ายบท (End of Chapter Quiz)

Water Potential
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายความหมายของค่าชลศักย์ (water potential)
อธิบายปั จจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าชลศักย์ในเซลล์
พืช
สาระสำคัญ
ค่าชลศักย์ (water potential: ψw) เป็ นค่าพลังงานอิสระของน้ำ มี
หน่วยวัดเป็ นหน่วยความดัน (megapascal: MPa) โดยค่าชลศักย์เป็ นผล
รวมของพลังงานอิสระของน้ำจากปั จจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพลังงานอิสระ
ของโมเลกุลน้ำ เช่น ความเข้มข้นของตัวละลาย (osmotic potential:
ψs) การเปลี่ยนแปลงของความดัน (pressure potential: ψP)

Concept Check
1.ข้อใดผิดเกี่ยวกับค่าชลศักย์ (water potential: Ψw)
1. ค่าพลังงานอิสระ (free energy) ของน้ำ
2. หน่วยของค่าชลศักย์อาจวัดออกมาในรูปความดัน
3. น้ำบริสุทธิ์มีค่าชลศักย์ (water potential: Ψw) เท่ากับ 0
4. น้ำจะมีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีค่าชลศักย์ต่ำไปสูงเสมอ
5. ความเข้มข้นและความดันในเซลล์พืชมีผลต่อค่าชลศักย์ในเซลล์พืช
ข้อ 4. ผิด เพราะ น้ำจะมีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีค่าชลศักย์สูงไปต่ำ
เสมอ
2.เซลล์พืชเซลล์หนึ่งมีค่า pressure potential (Ψp) เท่ากับ +0.15
MPa และมีค่า osmotic potential (Ψs) เท่ากับ +0.15 MPa
ข้อใดเป็ นค่าชลศักย์ (Ψw) ของเซลล์นี้ และเมื่อนำเซลล์นี้ไปแช่ใน
น้ำกลั่นจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น
1. Ψw = 0.3 MPa น้ำจะไหลเข้ามาภายในเซลล์
2. Ψw = 0.3 MPa น้ำจะไหลออกจากเซลล์
3. Ψw = 0.3 MPa น้ำจะไม่มีการไหลเข้าหรืออกจากเซลล์
4. Ψw = 0 MPa น้ำจะไหลเข้ามาภายในเซลล์
5. Ψw = 0 MPa น้ำจะไหลออกจากเซลล์
จากข้อมูลที่กำหนดให้ Ψw = Ψp + Ψs ดังนั้น Ψw จึงเท่ากับ 0.15 +
0.15 = 0.30 MPa ดังนั้นเมื่อนำเซลล์พืชนี้ไปแช่ในน้ำกลั่น (Ψw = 0) น้ำ
จึงไหลออกจากเซลล์พืช (ค่าชลศักย์สูงไปต่ำ)

Water Transport I: Root


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายกลไกการดูดซึมน้ำจากในดินเข้ามาในราก
อธิบายรูปแบบหรือเส้นทางในการลำเลียงน้ำจากในรากเข้าไปยัง
เนื้อเยื่อไซเล็มในชั้นสตีล

สาระสำคัญ
น้ำในดินสามารถเข้าสู่รากพืชด้วยการลำเลียงแบบฟาซิลิเทตผ่าน
ทาง aquaporin เมื่อนำเข้ามาในรากแล้วจะมีการลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อไซ
เล็มในชั้นสตีลได้ผ่านเส้นทาง 3 เส้นทางหลัก คือ apoplast ซึ่งเป็ นการ
ลำเลียงน้ำผ่านทางผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ symplast ซึ่ง
เป็ นการลำเลียงน้ำผ่านทาง plasmodesmata และ transmembrane
route เป็ นการลำเลียงน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง อย่างไรก็ตามเมื่อน้ำ
เคลื่อนมาถึง endodermis ซึ่งมี Casparian strip พอกอยู่ทำให้น้ำไม่
สามารถลำเลียงแบบ apoplast ได้ ต้องลำเลียงผ่านทาง protoplasm
เท่านั้น

Concept Check
1.การดูดซึมน้ำจากในดินเข้ามาในรากใช้กลไกการลำเลียงแบบใดมาก
ที่สุด
1. การแพร่แบบธรรมดา
2. ออสโมซิส
3. การแพร่แบบฟาซิลิเทต
4. การลำเลียงแบบแอกทีฟ
5. เอนโดไซโทซิส
การลำเลียงน้ำจากในดินเข้ามาในรากอาศัยการแพร่แบบฟาซิลิเทตด้วย
โปรตีน aquaporin เป็ นหลัก
2.ข้อใดเป็ นเส้นทางการไหลของน้ำที่บริเวณชั้นเอนโดเดอร์มิส
(endodermis)
1. เฉพาะ apoplast
2. เฉพาะ symplast
3. ทั้ง apoplast และ symplast
4. ไม่เกิดทั้ง apoplast และ symplast
เมื่อน้ำเคลื่อนมาถึงบริเวณชั้นเอนโดเดอร์มิสที่มีการพอกของซูเบอรินและ
ลิกนิน จะทำให้น้ำไม่สามารถเลาะผ่านผนังเซลล์หรือช่องว่างระหว่าง
เซลล์ได้ ทำให้การลำเลียงน้ำในบริเวณนี้เกิดได้เฉพาะแบบ symplast (แ
ละอาจเกิด transmembrane rout) ได้

Water Transport II: Long-distance Transport


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายผลของแรงดึงจากการคายน้ำต่อการลำเลียงน้ำ
อธิบายผลของแรงดันรากกับปรากฏการณ์กัตเตชัน (guttation)
สาระสำคัญ
ปั จจัยหลักที่ใช้ในการลำเลียงน้ำจากรากไปยอดของพืชจะอาศัยแรง
ดึงจากการคายน้ำ (transpiration pull) ในการดึงน้ำขึ้นมา โดยแรงดึง
จากการคายน้ำเกิดจากแรงโคฮีชัน (cohesion) และแรงแอดฮีชัน
(adhesion) ส่วนแรงดันราก (root pressure) มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน
ที่เกิดจากการสะสมแร่ธาตุในเนื้อเยื่อลำเลียง ทำให้มีการเคลื่อนของน้ำ
เข้ามาและเกิดแรงดันรากดันของเหลวในไซเล็ม (xylem sap) ขึ้นทาง
ด้านบน และอาจออกทางรู hydathode ที่ขอบใบเกิดเป็ นปรากฏกา
รณ์กัตเตชัน (guttation) ได้

Concept Check
1.ปั จจัยในข้อใดเกี่ยวข้องน้อยที่สุดในการลำเลียงน้ำจากรากไปยอดในพืช
ที่สูง 5 เมตร
1. Root pressure
2. Cohesion
3. Adhesion
4. Transpiration pull
แรงดันราก (root pressure) เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำในพืชที่สูง 5
เมตรน้อยที่สุด
2.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแรงดันราก
1. การสะสมแร่ธาตุใน xylem ในราก
2. การคายน้ำและแรงดึงจากการคายน้ำ
3. การเกิดกัตเตชัน
4. การเกิด pressure flow
5. ค่า water potential (Ψw) ใน xylem ลดลง
แรงดันรากมักเกิดในช่วงกลางคืน พืชจะไม่มีการคายน้ำเกิดขึ้นเนื่องจาก
ปากใบปิ ด แต่ยังคงมีการลำเลียงแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าสู่รากตลอดเวลา ทำให้
เนื้อเยื่อไซเล็มในรากมีความเข้มข้นของตัวถูกละลายสูง (ค่า water
potential (Ψw) ใน xylem ลดลง) น้ำจากภายนอกจึงออสโมซิสเข้ามา
อย่างต่อเนื่องและเกิดแรงดันขึ้น ซึ่งแรงดันนี้ทำให้น้ำถูกดันขึ้นไปทางด้าน
บนของพืชได้ น้ำและแร่ธาตุ (xylem sap) บางส่วนจะถูกดันออกทางรูไฮ
ดาโทด (hydathode) ตรงบริเวณขอบใบเกิดเป็ นหยดน้ำออกมา เรียก
กระบวนการสูญเสียน้ำในรูปหยดน้ำนี้ว่า กัตเตชัน (guttation) และเรียก
แรงดันที่เกิดขึ้นว่า แรงดันราก (root pressure)

Water Transport III: Stomatal Biology and Transpiration


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายกลไกการเปิ ดปิ ดรูปากใบ
อธิบายผลของปั จจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปิ ดปิ ดรูปากใบและการ
คายน้ำ

สาระสำคัญ
แสงสีน้ำเงินสามารถกระตุ้นให้มีการปั๊ ม K+ เข้ามาในเซลล์คุม และ
ทำให้มีการเคลื่อนที่ของน้ำเข้ามาในเซลล์คุม ส่งผลให้เซลล์คุมเต่งขึ้น รู
ปากใบเปิ ด หลังจากนั้นเซลล์คุมจะใช้ซูโครสในการรักษาสภาพแรงดันเต่ง
ภายในเซลล์ได้ โดยการเปิ ดปิ ดรูปากใบรวมถึงการคายน้ำขึ้นกับปั จจัยต่าง
ๆ เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเข้มข้น CO2 ในใบ
รวมถึงความเครียดจากการขาดน้ำ (water stress)

Concept Check
1.ปั จจัยในข้อใดกระตุ้นให้เซลล์คุมเต่งในช่วงเช้า
1. แสงสีแดง
2. แสงสีน้ำเงิน
3. อุณหภูมิที่เหมาะสม
4. ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
5. ปริมาณน้ำตาลในเซลล์คุม
แสงสีน้ำเงิน (blue light) เป็ นปั จจัยสำคัญในการกระตุ้นการเกิดปากใบ
ในช่วงเช้า
2.ข้อใดเรียงลำดับเหตุการณ์ในการเปิ ดปากใบถูก
ก. การปั๊ ม K+ เข้าไปในเซลล์คุม
ข. การสะสมซูโครสภายในเซลล์คุม
ค. การออสโมซิสของน้ำเข้าไปในเซลล์คุม ทำให้รูปากใบเปิ ด
1. ก ⇢ ข ⇢ ค
2. ก ⇢ ค ⇢ ข
3. ข ⇢ ก ⇢ ค
4. ข ⇢ ค ⇢ ก
5. ค ⇢ ข ⇢ ก
ขั้นตอนการเปิ ดรูปากใบสรุปได้ดังนี้
1.แสงสีน้ำเงิน (blue light) กระตุ้นให้ K+ที่อยู่ที่เซลล์ข้างเคียงรอบเซลล์
คุมถูกปั๊ มเข้าไปในเซลล์คุมแลกกับการปั๊ ม H+ ออก
2.ความเข้มข้นภายในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำจากเซลล์ข้างเคียง
(subsidiary cell) แพร่เข้ามาในเซลล์คุม
3.เซลล์คุมเต่งขึ้น (turgid) ทำให้รูปากใบของพืชเปิ ดออก
4.มีการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีการสะสมซูโครสในเซลล์คุมเพื่อช่วยใน
การรักษาแรงดันเต่งได้
3.การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่ทำให้อัตราการคายน้ำของพืชเพิ่มขึ้น
ก. อุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น
ข. ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเพิ่มขึ้น
ค. ความเข้มข้นของ CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นก
1. ก
2. ก และ ค
3. ข และ ค
4. ก ข และ ค
อัตราการคายน้ำของพืชจะเพิ่มขึ้นได้ ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลง ความเข้มข้นของ CO2 ในบรรยากาศลด
ลง
Plant Minerals
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายความหมายของธาตุอาหารจำเป็ น (essential nutrient)
อธิบายบทบาทและหน้าที่ของธาตุอาหารหลักในพืช
อธิบายลักษณะของพืชที่ขาดธาตุอาหารหลักบางชนิด
สาระสำคัญ
ธาตุอาหารจำเป็ น (essential nutrient) เป็ นธาตุอาหารที่มี
บทบาทเกี่ยวข้องกับการเมแทบอลิซึมและการเติบโต โดยถ้าพืชขาดธาตุ
อาหารจำเป็ นจะทำให้ไม่สามารถเจริญจนครบวงชีวิตได้ และไม่สามารถ
นำธาตุอาหารอื่นมาทำหน้าที่ทดแทนได้ ธาตุอาหารจำเป็ นแบ่งเป็ นธาตุ
อาหารหลัก (macronutrient) ซึ่งเป็ นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณ
มาก และธาตุอาหารรอง (micronutrient) เป็ นธาตุอาหารที่พืชต้องการ
ในปริมาณน้อย ธาตุอาหารแต่ละชนิดจะมีบทบาทในพืชที่แตกต่างกัน
ออกไป

1.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของธาตุอาหารจำเป็ น
1. ถ้าพืชขาดธาตุจะทำให้พืชตายในทันที
2. ถ้าพืชขาดธาตุจะไม่สามารถนำธาตุอื่นมาทำหน้าที่ทดแทนได้
3. ธาตุอาหารจะเกี่ยวข้องกับการเติบโตและเมแทบอลิซึม
4. ธาตุอาหารเป็ นสารอนินทรีย์เสมอ
ธาตุอาหารจำเป็ น (essential nutrient) เป็ นสารอนินทรีย์ที่มีลักษณะ
สำคัญ คือ
มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมแทบอลิซึมและการเติบโต
ถ้าพืชขาดธาตุอาหารจำเป็ นจะไม่สามารถนำธาตุอาหารอื่นมาทำหน้าที่
ทดแทนได้
ถ้าพืชขาดธาตุอาหารจำเป็ นจะทำให้พืชไม่สามารถเจริญจนครบวงชีวิต
(life cycle) ได้
2.จับคู่ธาตุอาหารกับบทบาทหน้าที่และการทำงานให้ถูกต้อง
องค์ประกอบของกรดอะมิโน ไนโตรเจน
และนิวคลีโอไทด์
องค์ประกอบของไซโทโครม
โพแทสเซียม
การควบคุมแรงดันเต่งภายใน
เซลล์
แคลเซียม
องค์ประกอบของมิดเดิล ลา
เมลลา
โบรอน
การขยายขนาดของเซลล์พืช
เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาแสงใน
กระบวนการสังเคราะห์ด้วย
แสง
แมกนีเซียม
องค์ประกอบของคลอโรฟิ ลล์
ฟอสฟอรัส
องค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
นิวคลีโอไทด์ และ ATP
Phloem Translocation
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายกลไกการลำเลียงอาหารในเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม

สาระสำคัญ
อาหาร เช่น น้ำตาลที่สร้างขึ้นจากแหล่งสร้าง (source) จะมีการ
ลำเลียงไปยังแหล่งรับ (sink) ผ่านทางเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem
translocation) โดยแหล่งสร้างจะมีการลำเลียงน้ำตาลเข้าไปใน sieve
tube member ทำให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น (ค่าชลศักย์ลดลง) น้ำจาก
เนื้อเยื่อไซเล็มจึงเคลื่อนเข้ามาและทำให้เกิดแรงดันในการดันของเหลวใน
โฟลเอ็มไปยังแหล่งรับแล้วมีการลำเลียงน้ำตาลเข้าไปยังแหล่งรับ ส่วนน้ำ
จะมีการเคลื่อนกลับเข้าไปในไซเล็มใหม่อีกครั้ง สมมติฐานที่อธิบายการ
ลำเลียงอาหารในโฟลเอ็มแบบนี้เรียกว่า bulk-flow hypothesis หรือ
pressure-flow hypothesis

Concept Check
1.นักชีววิทยาใช้เพลี้ย (aphid) ในการศึกษาเกี่ยวกับในเรื่องใด
1. ทิศทางการลำเลียงอาหารในโฟลเอ็ม
2. กลไกที่ใช้ในการลำเลียงอาหารในโฟลเอ็ม
3. แรงดันในบริเวณต่าง ๆ ของโฟลเอ็ม
4. องค์ประกอบของตัวถูกละลายในโฟลเอ็ม
5. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ companion cell
นักชีววิทยาใช้เพลี้ยอ่อนในการศึกษาองค์ประกอบของตัวถูกละลายใน
โฟลเอ็ม
2.โครงสร้างใดไม่ใช่ sink
1. ใบอ่อน
2. ใบที่โตเต็มที่
3. ผล
4. เมล็ด
5. ดอก
ใบที่โตเต็มที่ (mature leaf) จะทำหน้าที่เป็ นแหล่งสร้าง (source) ส่วน
ผล เมล็ด และใบอ่อนจะทำหน้าที่เป็ นแหล่งรับ (sink)
3.จากการศึกษาของนักชีววิทยาพบว่าสารนิโคตินที่อยู่ในใบยาสูบจะสร้าง
จากบริเวณรากแล้วลำเลียงขึ้นไปเก็บสะสมในแวคิวโอลในใบ ข้อใดต่อนี้
น่าจะเป็ นกลไกการลำเลียงนิโคตินในใบยาสูบ
1. การลำเลียงผ่านทาง vessel โดยอาศัยแรงดันราก (root
pressure)
2. การลำเลียงผ่านทาง vessel โดยอาศัยแรงดึงจากการคายน้ำ
(transpiration pull)
3. การลำเลียงผ่านทาง sieve tube โดยอาศัยแรงดันราก (root
pressure)
4. การลำเลียงผ่านทาง sieve tube โดยอาศัยแรงดึงจากการคายน้ำ
(transpiration pull)
5. การลำเลียงผ่านทาง sieve tube โดยอาศัยความแตกต่างของแรง
ดันเต่ง
นิโคตินในใบยาสูบมีการลำเลียงไปสะสมที่ใบแสดงว่าเป็ นการลำเลียงใน
เนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem translocation) ดังนั้นการลำเลียงนิโคตินจึง
เป็ นการลำเลียงผ่านทาง sieve tube โดยอาศัยความแตกต่างของแรงดัน
เต่งระหว่าง sieve tube member บริเวณ source cell และ sink cell
ตามแนวคิดของ Műnch hypothesis (pressure-flow hypothesis)
Photosynthesis
สาระสำคัญ
การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็ นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนสารประกอบ
คาร์บอนที่อยู่ในรูปสารอนินทรีย์ (CO2) ให้อยู่ในรูปสารอินทรีย์ (triose)
โดยอาศัยพลังงานแสง การสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
หลัก คือ ปฏิกิริยาแสง (light reaction) ซึ่งเป็ นขั้นตอนที่มีการเปลี่ยน
พลังงานแสงให้อยู่ในรูปพลังงานเคมีในสารที่มีพลังงานสูง คือ ATP และ
NADPH และขั้นตอนการตรึงคาร์บอน (carbon fixation) ซึ่งเป็ นขั้นตอน
ที่มีการรีดิวซ์แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในรูปของน้ำตาล (ไตรโอส)
โดยอาศัยพลังงานเคมีจากปฏิกิริยาแสง คือ ATP และ NADPH ซึ่งการ
ตรึงคาร์บอนอาจแตกต่างกันออกไปในพืช C3 พืช C4 และพืช CAM

หัวข้อ (Topics)
1. บทนำเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง (Introduction to
Photosynthesis)
2. ประวัติการค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง (Discovery of
Photosynthesis)
3. คุณสมบัติของแสง (Properties of Light)
4. โครงสร้างของคลอโรพลาสต์ (Chloroplast Structure)
5. รงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis
Pigments)
6. ภาพรวมของการสังเคราะห์ด้วยแสง (An Overview of
Photosynthesis)
7. ปฏิกิริยาแสง I: องค์ประกอบ (Light Reaction I: Components)
8. ปฏิกิริยาแสง II: กลไกการทำงาน (Light Reaction II:
Mechanism)
9. วัฏจักรคาลวิน (Calvin Cycle)
10. การหายใจแสง (Photorespiration)
11. พืช C4 (C4 Plants)
12. พืช CAM (CAM Plants)
13. สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของการสังเคราะห์ด้วยแสง
(Environmental Physiology of Photosynthesis)
14. แบบฝึ กหัดท้ายบท (End of Chapter Quiz)

Introduction to Photosynthesis
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง

สาระสำคัญ
การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็ นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนสารประกอบ
คาร์บอนที่อยู่ในรูปสารอนินทรีย์ (CO2) ให้อยู่ในรูปสารอินทรีย์ (triose)
โดยอาศัยพลังงานแสง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เรียกว่า
photoautotroph เช่น cyanobacteria, สาหร่าย และพืชบก

1.ข้อใดเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็ นพลังงานเคมี
ข. กระบวนการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์
ค. กระบวนการในพืชที่ต้องอาศัยน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และ
น้ำตาล
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ค. ผิด เพราะ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็ นกระบวนการที่มี
ต้องอาศัยน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดเป็ นน้ำตาล (triose)
และแก๊สออกซิเจน
2.ข้อใดผิดเกี่ยวกับ chemoautotroph
1. อาศัยพลังงานในการสังเคราะห์สารจากปฏิกิริยาเคมี
2. มีการดำรงชีวิตผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยเคมี
(chemosynthesis)
3. มีการสังเคราะห์สารต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น H2S และน้ำตาล
4. ตัวอย่างของแบคทีเรีย เช่น methanogen, iron-oxidizing
bacteria
5. มีความสามารถในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ (organic
compound) จากสารอนินทรีย์ (inorganic compound)
Chemoautotroph คือกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนสารอนินทรีย์
(inorganic compound) เช่น CO2 CH4 เป็ นสารอินทรีย์ (organic
compound) เช่น คาร์โบไฮเดรต โดยใช้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมีจาก
ปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารบางชนิด เช่น H2 และ H2S เป็ นต้น
chemoautotrophic bacteria เช่น กลุ่ม methanogen (archaea),
iron-oxidizing bacteria

Discovery of Photosynthesis
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายประวัติและการค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง

สาระสำคัญ
นักวิทยาศาสตร์ในอดีตได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วย
แสงเป็ นเวลานานจนค้นพบกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในปั จจุบันว่า
CO2 และน้ำจัดเป็ นวัตถุดิบสำคัญของกระบวนการ และมีผลิตภัณฑ์เป็ น
แก๊สออกซิเจนและน้ำตาล

1.พิจารณาการทดลองของ Joseph Priestley ต่อไปนี้

ข้อใดสรุปถูก
ก. ไฟในครอบแก้วดับเนื่องจากการขาดแก๊สบางชนิด
ข. หนูตายเมื่ออยู่ในครอบแก้วเนื่องจากแก๊สบางอย่างจากเทียนไข
ค. การที่เทียนมีแสงสว่างทำให้ครอบแก้วเกิดภาวะสุญญากาศ
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ค. ผิด เพราะ แสงสว่างจะเทียนไขไม่เกี่ยวข้องกับการแก๊สที่เกิดขึ้นใน
ครอบแก้ว
2.การศึกษาในข้อใดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบได้ว่าแก๊สออกซิเจนจาก
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมาจากโมเลกุลน้ำ (แทนที่จะมาจาก
โมเลกุลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์)
ก. sulfur ใน purple sulfur bacteria มาจาก H2S ดังนั้น
ออกซิเจนในพืชจึงควรมาจาก H2O
ข. การใช้ heavy isotope ของแก๊สออกซิเจนเข้าไปแทนที่แก๊ส
ออกซิเจนในโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แล้วดูผลลัพธ์ที่เกิด
ขึ้น
ค. คาดการณ์จากมวลโมเลกุลของน้ำและแก๊สออกซิเจน พบว่าน้ำมี
มวลโมเลกุลน้อยกว่าแก๊สออกซิเจนจึงทำให้แตกตัวได้ง่ายกว่า

1. ก
2. ข
3. ก และ ข
4. ก และ ค
5. ข และ ค
ทั้งข้อสังเกตของ Van Neil ที่พบว่า sulfur ใน purple sulfur bacteria
มาจาก H2S ดังนั้น ออกซิเจนในพืชจึงควรมาจาก H2O และการทดลอง
ของ Ruben และคณะ โดยการใช้ heavy isotope ของแก๊สออกซิเจน
เข้าไปแทนที่แก๊สออกซิเจนในโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แล้วดู
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังภาพ
Properties of Light
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายคุณสมบัติทางฟิ สิกส์เบื้องต้นของแสง
สาระสำคัญ
แสง (light) เป็ นปั จจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการสังเคราะห์ด้วย
แสง โดยแสงสามารถประพฤติตัวได้ทั้งเป็ นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า
(electromagnetic wave) และเป็ นอนุภาคที่มีพลังงานอยู่ภายใน เรียก
ว่า โฟตอน (photon) ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ
พลังงานของแสง กล่าวคือ แสงที่มีความยาวคลื่นมาก พลังงานของแสงจะ
ต่ำลง ในทางตรงกันข้ามแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น พลังงานของแสงจะ
เพิ่มขึ้น ช่วงแสงที่พืชสามารถนำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ ช่วง
แสงที่ตามองเห็น (visible light) ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380-720
nm

1.ข้อใดถูกเกี่ยวกับแสง
ก. แสงที่มีความถี่ต่ำ จะมีพลังงานน้อย
ข. แสงที่มีความยาวคลื่นสูง จะมีพลังงานสูง
ค. แสงมีคุณสมบัติเป็ นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า (EM wave)
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ข. ผิด เพราะ ความยาวคลื่นแสงแปรผกผันกับพลังงาน โดยถ้า
ความยาวคลื่นแสงสูง พลังงานจะต่ำ
ข้อ ค. ผิด เพราะ แสงมีการประพฤติตัวเป็ นได้ทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า (EM
wave) และอนุภาค (particles)
2.ข้อใดเรียงลำดับความยาวคลื่นแสงจากต่ำไปสูงได้ถูกต้อง
1. Visible light < X-ray < Microwave
2. X-ray < Visible light < Microwave
3. X-ray < Microwave < Visible light
4. Microwave < Visible light < X-ray
5. Microwave < X-ray < Visible light
ความยาวคลื่นแสงเรียงจากต่ำไปสูง สามารถเรียงลำดับได้ คือ X-ray <
Microwave < Visible light

Chloroplast Structure
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายโครงสร้างของคลอโรพลาสต์และบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาต่าง
ๆ ของการสังเคราะห์ด้วยแสง

สาระสำคัญ
คลอโรพลาสต์เป็ นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มสองชั้น คือ เยื่อหุ้มคลอโร
พลาสต์ชั้นนอก (outer membrane) และเยื่อหุ้มคลอโรพลาสต์ชั้นใน
(inner membrane) โดยคลอโรพลาสต์มีระบบเยื่อหุ้มพิเศษ คือ ระบบ
เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane system) ซึ่งเป็ นบริเวณที่
เกิดปฏิกิริยาแสง (light reaction) สำหรับส่วนที่เป็ นของเหลวในคลอโร
พลาสต์ เรียกว่า สโตรมา (stroma) เป็ นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาการตรึง
คาร์บอน (carbon reaction)

1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของคลอโรพลาสต์ให้ถูกต้อง
A Inner membrane
B Thylakoid
C Stroma
D Outer membrane
E Stroma thylakoid

Photosynthetic Pigments
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับประเภทของรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
อธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของ
รงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่อถูกกระตุ้น

สาระสำคัญ
พืชมีสารเคมีที่ทำหน้าที่นำพลังงานแสงจากสิ่งแวดล้อมมาใช้ เรียก
สารกลุ่มนี้ว่ารงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งแบ่งได้เป็ น 3 กลุ่ม
หลัก คือ คลอโรฟิ ลล์ (chlorophyll) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) และบิ
ลิน (bilin pigment) โดยรงควัตถุเหล่านี้บางชนิดทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
ปฏิกิริยาเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยตรง ขณะที่บางชนิดอาจเป็ น
รงควัตถุที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง (accessory pigments) สิ่งมี
ชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้แต่ละกลุ่มจะมีชนิดของรงควัตถุและ
สัดส่วนปริมาณของรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงแตกต่างกัน
ออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของการดำรงชีวิต
นักชีววิทยาสามารถวัดความสามารถในการดูดกลืนแสงของรงควัตถุ
ในช่วงความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ แล้วนำเสนอในรูปของกราฟที่เรียกว่า
absorption spectrum ขณะที่กราฟ action spectrum เป็ นกราฟที่
แสดงความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชหรือสิ่งมีชีวิตที่เป็ น
photoautotroph ในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน

1. ข้อใดถูกเกี่ยวกับคลอโรฟิ ลล์
ก. โมเลกุลมีทั้งส่วนที่มีขั้วและส่วนที่ไม่มีขั้ว
ข. มี Fe2+ เป็ นองค์ประกอบสำคัญของโมเลกุล
ค. คลอโรฟิ ลล์มีหลายชนิดและสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอาจมีคลอโรฟิ ลล์
ต่างชนิดกันได้
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ข. ผิด เพราะ คลอโรฟิ ลล์มี Mg2+ เป็ นองค์ประกอบสำคัญของ
โมเลกุล

2. คลอโรฟิ ลล์ชนิดใดที่พบได้ทั้งสาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีน้ำตาล


สาหร่ายสีเขียว และพืชบก
1. คลอโรฟิ ลล์ เอ
2. คลอโรฟิ ลล์ บี
3. คลอโรฟิ ลล์ ซี
4. คลอโรฟิ ลล์ ดี
5. Bacteriochlorophyll
คลอโรฟิ ลล์ เอ (chlorophyll a) เป็ นคลอโรฟิ ลล์ที่พบได้ทั้งสาหร่ายสี
แดง สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีเขียว และพืชบก
3.รงควัตถุของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งดูดกลืนในช่วงแสงสีม่วง น้ำเงิน และสี
เขียวได้ดี รงควัตถุชนิดนี้ควรสังเกตเห็นเป็ นสีใด
1. ม่วง
2. น้ำเงิน
3. เขียว
4. เหลือง
5. แดง
รงควัตถุของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งดูดกลืนในช่วงแสงสีม่วง น้ำเงิน และสีเขียว
ได้ดี แสดงว่าดูดกลืนแสงสีแดงและส้มได้น้อย จึงสะท้อนออกมาให้เห็น
เป็ นสีแดงหรือสีส้มเป็ นหลัก
4.เมื่อนำคลอโรฟิ ลล์สกัด (extracted chlorophyll) ไปส่องใต้แสง UV
จะสังเกตเห็นเป็ นสีใด
1. น้ำเงิน
2. ม่วง
3. เขียว
4. เหลือง
5. แดง
เมื่อนำคลอโรฟิ ลล์สกัด (extracted chlorophyll) ไปส่องใต้แสง UV จะ
เกิดปฏิกิิริยาการเรืองแสง (fluorescence) ขึ้น จากการเปลี่ยนระดับ
พลังงานของอิเล็กตรอน ดังภาพ

An Overview of Photosynthesis
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายภาพรวมของการสังเคราะห์ด้วยแสง
สาระสำคัญ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ
ปฏิกิริยาแสง (light-dependent reaction) ซึ่งเป็ นกระบวนการที่มี
การนำพลังงานแสงและน้ำเข้ามาใช้ในกระบวนการ แล้วเกิดผลิตภัณฑ์
เป็ นแก๊สออกซิเจน ATP และ NADPH โดย ATP และ NADPH ที่เกิดขึ้น
จะถูกนำเข้าไปใช้ในขั้นตอนต่อไป คือ ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน
(carbon fixation หรือ light-independent reaction) ซึ่งเป็ นขั้นตอน
การสร้างสารประกอบอินทรีย์คาร์โบไฮเดรตจากการตรึงแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์จากภายนอกเข้ามา โดยปฏิกิริยาแสงจะเกิดขึ้นที่
บริเวณเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane) ขณะที่ปฏิกิริยาการ
ตรึงคาร์บอนจะเกิดขึ้นที่ของเหลว (stroma) ภายในคลอโรพลาสต์
1. ข้อใดเป็ นผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาแสง (light reaction)
ก. O2
ข. H2O
ค. ATP
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ปฏิกิริยาแสง (light reaction) เกิดบริเวณเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ ได้
ผลิตภัณฑ์เป็ น O2 ATP และ NADPH
2.ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Calvin cycle
1. เกิดที่สโตรมา (stroma)
2. ได้ผลิตภัณฑ์ออกมาจากวัฏจักรเป็ นกลูโคส
3. ต้องอาศัยพลังงานจาก ATP และ NADPH
4. ต้องอาศัยแสงในการเกิดกระบวนการ
ข้อ 2. ผิด เพราะ Calvin cycle จะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาจากวัฏจักรเป็ น
ไตรโอส (triose phosphate: PGAL หรือ G3P)
Light Reaction I: Components
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในปฏิกิริยาแสง
สาระสำคัญ
ปฏิกิริยาแสงเกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ โดยมีกลุ่มของ
รงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงรวมอยู่ เรียกว่า แอนเทนนา
(antenna) โดยมีคลอโรฟิ ลล์ เอ ชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่เป็ นศูนย์กลางของ
ปฏิกิริยา (reaction center) ซึ่งทำหน้าที่ในการปล่อยอิเล็กตรอนเข้าสู่
กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนต่อไป ส่วนคำว่าระบบแสง
(photosystem) มีความหมายกว้างขึ้น หมายถึง โปรตีนตัวรับ
อิเล็กตรอน ตัวถ่ายทอดอิเล็กตรอน และแอนเทนนาที่อยู่รวมกัน ซึ่งระบบ
แสงในพืชที่ทำหน้าที่หลักในปฏิกิริยาใช้แสงแบ่งออกเป็ น 2 แบบหลัก คือ
ระบบแสง I (photosystem I) มีศูนย์กลางปฏิกิริยาที่ดูดกลืนพลังงาน
แสงได้ดีที่สุดที่ช่วงความยาวคลื่น 700 nm (P700) และระบบแสง II
(photosystem II) มีศูนย์กลางปฏิกิริยาที่ดูดกลืนพลังงานแสงได้ดีที่สุดที่
ช่วงความยาวคลื่น 680 nm (P680)
1.ข้อใดเป็ นองค์ประกอบของระบบแอนเทนนา (antenna complex)
ก. Protein ข. Reaction center ค. Accessory pigments
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ระบบแอนเทนนา (antenna complex) ประกอบด้วย reaction
center ซึ่งเป็ นศูนย์กลางของการเกิดปฏิกิริยา และ accessory
pigment เป็ นบริเวณสำหรับการปรับระดับพลังงานให้เหมาะสมสำหรับ
reaction center
2.ข้อใดเป็ นองค์ประกอบของระบบแสง (photosystem)
ก. Reaction center ข. Primary electron acceptor ค. Thylakoid
membrane protein
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ระบบแสง (photosystem) ประกอบขึ้นจาก ระบบแอนเทนนา
(antenna complex) ซึ่งรวม reaction center นอกจากนี้ยังรวม
primary electron acceptor และ thylakoid membrane protein
ด้วย

Light Reaction II: Mechanisms and Photophosphorylation


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง
เปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักรและการ
ถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร
อธิบายความสัมพันธ์ของ chemiosmosis และการเกิด
photophosphorylation
สาระสำคัญ
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักร (noncyclic electron
transfer) เริ่มต้นเมื่อแสงมากระตุ้นรงควัตถุของระบบแสง II จะทำให้
อิเล็กตรอนถูกดึงออกไปจาก reaction center จนทำให้คลอโรฟิ ลล์อยู่
ในสภาวะถูกกระตุ้น (excited chlorophyll) และมีคุณสมบัติเป็ นตัว
ออกซิไดซ์ที่แรงมากจนในที่สุดสามารถดึงอิเล็กตรอนจากน้ำเข้ามา
ทดแทนได้ โดยทำให้เกิดการแตกตัวของน้ำออกเป็ น H+ แก๊สออกซิเจน
และอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนตัวที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิ ลล์ของระบบ
แสง II จะถูกถ่ายทอดผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ โดยพลังงานที่ปลด
ปล่อยออกมาจะถูกนำไปสร้าง ATP ผ่านเอนไซม์ ATP synthase เรียก
การสร้าง ATP ที่เกิดขึ้นแบบนี้ว่า photophosphorylation จากนั้น
อิเล็กตรอนจะกลับเข้าไปที่ reaction center ของระบบแสง I แทน
เพราะอิเล็กตรอนเดิมของระบบแสง I เองก็ถูกแสงกระตุ้นให้หลุดออกเช่น
เดียวกัน โดยอิเล็กตรอนจะถูกส่งต่อผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่างๆ เหมือน
กับในระบบแสง II สุดท้ายอิเล็กตรอนที่หลุดจากระบบแสง I จะมารวมกับ
NADP+กลายเป็ น NADPH
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักรนี้สามารถอธิบายโดยใช้
หลักการ chemiosmosis เมื่ออิเล็กตรอนถูกกระตุ้นโดยพลังงานแสง
อิเล็กตรอนจะหลุดออกจากระบบแสงและมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนผ่าน
ตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการปลดปล่อยพลังงานออก เพื่อทำ
หน้าที่ในการปั๊ ม H+ จากในสโตรมา (stroma) เข้ามาสะสมภายใน
thylakoid lumen ส่งผลให้เกิดเป็ นความแตกต่างของความเข้มข้น
โปรตอน (proton gradient) ขึ้น ท้ายที่สุด H+ ที่สะสมอยู่ภายใน
thylakoid lumen จะเกิดแรงขับเคลื่อนในการผลักดันให้ H+ไหลกลับ
ออกไปยัง stroma อีกครั้งผ่านทางเอนไซม์ ATP synthase ส่งผลให้เกิด
photophosphorylation ในการสร้าง ATP ได้
สำหรับการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร (cyclic electron
transfer) จะอาศัยเฉพาะการทำงานของระบบแสง II เมื่อสิ้นสุด
กระบวนการจะมีผลิตภัณฑ์เป็ น ATP แต่ไม่ได้ NADPH รวมไปถึงจะไม่
เกิด photolysis และการผลิตแก๊สออกซิเจนขึ้น

1.ข้อใดเป็ นผลิตภัณฑ์ที่พบในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักร


(noncyclic electron transfer)
ก. ATP ข. NADPH ค. แก๊สออกซิเจน
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักร (noncyclic electron
transfer) จะให้ผลิตภัณฑ์เป็ น ATP, NADPH และแก๊สออกซิเจน
2.ข้อใดเป็ นผลิตภัณฑ์ที่พบในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร
(cyclic electron transfer)
ก. ATP
ข. NADPH
ค. แก๊สออกซิเจน
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร (cyclic electron transfer) จะ
ให้ผลิตภัณฑ์เฉพาะ ATP
3.ข้อใดผิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร (cyclic
electron transfer)
1. ใช้ระบบแสง I ในปฏิกิริยา
2. มีการทำงานของเอนไซม์ NADP+ reductase
3. มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ
4. มีการเกิด resonance energy transfer ในระบบแอนเทนนา
5. มีการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในคลอโรฟิ ลล์ไปยัง
excited state
ข้อ 2. ผิด เพราะ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร (cyclic-
electron transfer) ไม่มีการทำงานของเอนไซม์ NADP+ reductase
(พบการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้เฉพาะกระบวนการการถ่ายทอด
อิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักรเท่านั้น)
4.เอนไซม์ในข้อใดเกี่ยวข้องกับ Hill's reaction
1. ATP synthase
2. Photosystem II
3. NADP+ reductase
4. Cytochrome P450
5. Oxygen evolving complex
Oxygen Evolving Complex (OEC, water splitting enzyme) ทำ
หน้าที่ในการสลายโมเลกุลของน้ำ (photolysis หรือ Hill's reaction)
เพื่อนำอิเล็กตรอนจากน้ำเข้าไปแทนที่อิเล็กตรอนที่นำไปใช้ใน
กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่บริเวณ primary electron acceptor
ใน photosystem II
5.ข้อใดถูกเกี่ยวกับการเกิด photophosphorylation ขณะที่มีปฏิกิริยา
แสง
1. มีการสะสมโปรตอนใน thylakoid lumen และมีการสร้าง ATP ที่
เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ฝั่ ง thylakoid lumen
2. มีการสะสมโปรตอนใน thylakoid lumen และมีการสร้าง ATP ที่
เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ฝั่ ง stroma
3. มีการสะสมโปรตอนใน stroma และมีการสร้าง ATP ที่เยื่อหุ้มไท
ลาคอยด์ฝั่ ง thylakoid lumen
4. มีการสะสมโปรตอนใน stroma และมีการสร้าง ATP ที่เยื่อหุ้มไท
ลาคอยด์ฝั่ ง strom
การเกิด photophosphorylation จะเกิดโดยมีการสะสมโปรตอนใน
thylakoid lumen และมีการสร้าง ATP ที่เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ฝั่ ง stroma
Calvin Cycle
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ของวัฏจักรคาลวิน
สาระสำคัญ
วัฏจักรคาลวิน (Calvin cycle) เกิดในสโตรมาของคลอโรพลาสต์
วัฏจักรคาลวินจัดเป็ นขั้นตอนที่มีการตรึงคาร์บอนแล้วมีการผลิตเป็ นไตร
โอสฟอสเฟต โดยวัฏจักรคาลวินประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
คาร์บอกซิเลชัน (carboxylation) เป็ นขั้นตอนที่มีการนำ RuBP ไป
รวมกับแก๊ส CO2 เกิดเป็ น PGA รีดักชัน (reduction) เป็ นขั้นตอนที่มี
การรีดิวซ์ PGA เป็ น PGAL โดย ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแสง
รีเจเนอเรชัน (regeneration) เป็ นขั้นตอนมีการนำ PGAL ส่วนหนึ่งออก
ไปใช้และผลิต RuBP กลับมาหมุนเวียนใหม่อีกครั้ง
1.พืชกลุ่มใดที่พบวัฏจักรคาลวิน
ก. พืช C3
ข. พืช C4
ค. พืช CAM
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
2.ข้อใดเป็ นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากวัฏจักรคาลวิน
1. OAA
2. RuBP
3. PGAL
4. Glucose
5. Sucrose
3.ข้อใดถูกเกี่ยวกับขั้นตอน reduction ของวัฏจักรคาลวิน
1. มีการเปลี่ยน PGA เป็ น PGAL โดยอาศัยเฉพาะ ATP จากปฏิกิริยา
แสง
2. มีการเปลี่ยน PGA เป็ น PGAL โดยอาศัยเฉพาะ NADPH จาก
ปฏิกิริยาแสง
3. มีการเปลี่ยน PGA เป็ น PGAL โดยอาศัยทั้ง ATP และ NADPH
จากปฏิกิริยาแสง
4. มีการเปลี่ยน PGAL เป็ น PGA โดยอาศัยเฉพาะ NADPH จาก
ปฏิกิริยาแสง
5. มีการเปลี่ยน PGAL เป็ น PGA โดยอาศัยทั้ง ATP และ NADPH
จากปฏิกิริยาแสง
4.จากการทดลองของ Calvin ในสาหร่ายสีเขียว Chlorella sp. ถ้าขณะ
ทดลองเกิดไฟดับขึ้นมา ระดับของสารใดจะลดลงในทันที
1. RuBP
2. Rubisco
3. PGA
4. PGAL
5. Sucrose
Photorespiration
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายสาเหตุและกลไกการหายใจแสง (photorespiration)

สาระสำคัญ
รูบิสโกเป็ นเอนไซม์ที่มีความสามารถในการตรึงได้ทั้งคาร์บอนและ
ออกซิเจน โดยถ้ามีอุณหภูมิในใบสูงขึ้นจะทำให้อัตราส่วนของ [CO2] /
[O2] เพิ่มขึ้น และเกิด oxygenase activity เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการที่
RuBP รวมกับแก๊สออกซิเจนนี้จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากการสังเคราะห์
ด้วยแสงลดลง เรียกกระบวนการนี้ว่า การหายใจแสง
(photorespiration) ซึ่งจะเกิดที่ออร์แกเนลล์ 3 ชนิด คือ ไมโทคอนเดรีย
คลอโรพลาสต์ และเพอรอกซิโซม
1.ออร์แกเนลล์ใดที่เกี่ยวข้องกับการหายใจแสง (photorespiration)
ก. ไมโทคอนเดรีย ข. คลอโรพลาสต์ ค. เพอรอกซิโซม
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
การหายใจแสงเป็ นกระบวนการที่อาศัยการทำงานของออร์แกเนลล์ 3
ชนิด คือ ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ และเพอรอกซิโซม
2.สารในข้อใดที่ต้องนำไปใช้ในกระบวนการหายใจแสง
ก. O2 ข. CO2 ค. ATP
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ข. ผิด เพราะ การหายใจแสงจะใช้ O2 และ ATP ในการเกิดปฏิกิริยา
ส่วน CO2 คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ ดังภาพ

C4 Plants
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เปรียบเทียบโครงสร้างของพืช C3 และพืช C4
อธิบายกลไกการตรึงคาร์บอนในพืช C4
สาระสำคัญ
พืช C4 เป็ นพืชที่มีวิวัฒนาการเพื่อป้ องกันการเกิดปฏิกิริยาการ
หายใจแสง (photorespiration) โดยโครงสร้างใบพืช C4 ส่วนใหญ่มี
ลักษณะเป็ น Kranz anatomy การตรึงคาร์บอนในพืช C4 เกิดขึ้นสอง
ครั้ง ซึ่งการตรึงคาร์บอนครั้งแรกจะอาศัย PEP carboxylase และเกิดใน
ไซโทซอลของเซลล์มีโซฟิ ลล์ ส่วนการตรึงครั้งที่สองจะเกิดขึ้นโดยอาศัย
rubisco ในสโตรมาของคลอโรพลาสต์ในเซลล์บันเดิลชีท
1.ข้อใดไม่ใช่พืช C4
1. อ้อย
2. ข้าวโพด
3. ข้าวฟ่ าง
4. ข้าวสาลี
5. ข้าวบาร์เล่ย์
ข้าวสาลีจัดเป็ นพืช C3 ส่วนพืชที่เหลือจัดเป็ นพืช C4
2.ข้อใดเป็ นสารประกอบตัวแรกที่ได้จากการตรึงคาร์บอนในบรรยากาศ
ของพืช C4
1. PEP
2. OAA
3. PGA
4. Malate
5. Pyruvate
Oxaloacetate (OAA) เป็ นสารประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอมและจัด
เป็ นสารประกอบคงตัวตัวแรกที่ได้จากการตรึงคาร์บอนในบรรยากาศของ
พืช C4
CAM Plants
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายกลไกการตรึงคาร์บอนในพืช CAM
สาระสำคัญ
พืช CAM เป็ นพืชที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน เช่น ทะเลทราย ดังนั้นพืช
CAM จึงมีการเปิ ดปากใบเฉพาะในช่วงกลางคืน ทำให้พืช CAM ต้องมี
การปรับตัวในกลไกการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยพืช CAM จะมีการตรึง
คาร์บอนสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนโดยใช้เอนไซม์ PEP
carboxylase จากนั้นจึงเก็บไว้ในรูปของกรดมาลิกในแวคิวโอล เมื่อมีแสง
และมีปฏิกิริยาแสงเกิดขึ้นจะมีการตรึงคาร์บอนครั้งที่สองโดย rubisco
ในวัฏจักรคาลวินต่อไป
1.ข้อใดไม่ใช่พืช CAM
1. วานิลลา
2. สับปะรด
3. หญ้าหวาน
4. กุหลาบหิน
5. ว่านหางจระเข้
หญ้าหวานจัดเป็ นพืช C3
2.สารในข้อใดที่พืชมีการสะสมในแวคิวโอลของพืช CAM เพื่อเข้าสู่วัฏจักร
คาลวินต่อไป
1. Pyruvate
2. Malic acid
3. Oxaloacetate
4. Phosphoglycolate
5. Phosphoenolpyruvate
Malic acid จะถูกเก็บใน vacuole ในเวลากลางคืน หลังจากนั้นเมื่อพืช
เข้าสู่ปฏิกิริยาแสงในตอนกลางวัน malic acid จะถูกปล่อยออกจาก
vacuole เพื่อใช้ในกระบวนการการตรึงคาร์บอนต่อไป

Environmental Physiology of Photosynthesis


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายผลของปั จจัยต่าง ๆ ที่มีต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
สาระสำคัญ
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแต่ละกลุ่มอาจมีปั จจัยที่ส่งผลต่อการ
สังเคราะห์ด้วยแสงที่แตกต่างกันออกไป ปั จจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์
ด้วยแสง ได้แก่ ความเข้มแสง ความเข้มข้นของแก๊ส CO2 ในบรรยากาศ
อุณหภูมิ ปริมาณน้ำในดิน และธาตุอาหารในดิน
1.ข้อใดถูกเกี่ยวกับ light compensation point
ก. มีค่า net CO2 fixation มากกว่า 0
ข. ความเข้มแสงยังคงเป็ นปั จจัยจำกัดของการสังเคราะห์ด้วยแสง
ค. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเท่ากับปริมาณ
คาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจ
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ก. ผิด เพราะ ค่าความเข้มแสงที่เป็ น light compensation point
จะทำให้มีค่า net CO2 fixation = 0 กล่าวคือพืชจะมีปริมาณ
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ตรึงเข้าไปจากการสังเคราะห์ด้วยแสงเท่ากับ
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากการหายใจ
2.พิจารณากราฟ CO2-responded curve ของพืช C3 และพืช C4 ต่อ
ไปนี้

ข้อใดถูก
1. พืช C3 มี CO2 saturation point ต่ำกว่าพืช C4 เพราะมี
Rubisco จำกัด
2. พืช C3 มี CO2 saturation point ต่ำกว่าพืช C3 เพราะมีการตอบ
สนองต่อความเข้มแสงน้อยกว่า
3. พืช C4 มี CO2 saturation point ต่ำกว่าพืช C3 เพราะมี
Rubisco จำกัด
4. พืช C4 มี CO2 saturation point ต่ำกว่าพืช C3 เพราะมี PEP
carboxylase จำกัด
5. พืช C4 มี CO2 saturation point ต่ำกว่าพืช C3 เพราะมีการตอบ
สนองต่อความเข้มแสงน้อยกว่า
Plant Reproduction and Development
สาระสำคัญ (Synopsis)
พืชเป็ นสิ่งมีชีวิตที่มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
โดยพืชดอกจะมีระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte) เป็ นระยะเด่นและมีดอก
(flower) ที่ทำหน้าที่ในการสร้างสปอร์ เมื่อเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย
ผ่านการถ่ายเรณู (pollination) จะมีการปฏิสนธิคู่ (double
fertilization) เกิดขึ้นและเกิดเป็ นเอ็มบริโอที่อยู่ในเมล็ด (seed) ส่วนผนัง
รังไข่ (ovary wall) จะมีการเจริญต่อไปเป็ นผนังผล (fruit) ได้

หัวข้อ (Topics)
1. วงชีวิต (Life Cycle)
2. โครงสร้างและหน้าที่ของดอก (Flower Structure and
Function)
3. การสร้างสปอร์และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (Sporogenesis and
Gametogenesis)
4. การถ่ายเรณูและการปฏิสนธิ (Pollination and Fertilization)
5. ผล (Fruits)
6. เมล็ด (Seeds)
7. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในพืช (Asexual Reproduction in
Plants)
8. แบบฝึ กหัดท้ายบท (End of Chapter Quiz)
Life Cycle
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายรูปแบบของวงชีวิตแบบต่าง ๆ
อธิบายวงชีวิตแบบลสลับ (alternation of generation) ในพืช
สาระสำคัญ
วงชีวิต (life cycle) ของสิ่งมีชีวิตมี 3 รูปแบบหลัก คือ diplontic
life cycle, haplontic life cycle และ diplohaplontic life cycle
โดยพืชจะมีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation) หรือ
diplohaplontic life cycle ซึ่งมีระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte: 2n) ที่
สามารถแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์ (spore: n) หลังจากนั้นส
ปอร์จะมีการเจริญเป็ นระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte: n) และมีแบ่ง
เซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (gamete: n) โดยเมื่อแกมีตมี
การปฏิสนธิจะเกิดเป็ นไซโกตและมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเป็ น
เอ็มบริโอต่อไป โดยพืชจะมี sporangium เป็ นบริเวณที่สร้างสปอร์ ส่วน
antheridium และ archegonium เป็ นบริเวณที่สร้าง male gamete
และ female gamete ตามลำดับ
1.พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. diplontic life cycle มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์
สืบพันธุ์
ข. haplontic life cycle มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในระยะไซโกต
ค. haplodiplontic life cycle มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้าง
เซลล์สืบพันธุ์
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
2.ข้อใดผิดเกี่ยวกับวงชีวิตแบบสลับของพืช
1. การสร้างสปอร์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
2. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
3. สปอร์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสแล้วเจริญเป็ นแกมีโทไฟต์
4. ไซโกตมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสแล้วเจริญเป็ นเอ็มบริโอ
ข้อ 2. ผิด เพราะการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโท
ซิส
3.พืชในข้อใดมีการสร้างสปอร์แบบเดียว (homosporous plant)
1. Selaginella sp.
2. เฟิ ร์นน้ำ (aquatic fern)
3. เฟิ ร์นบก (terrestrial fern)
4. พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm)
5. พืชดอก (angiosperm)
พืชที่มีการสร้างสปอร์แบบเดียว เช่น เฟิ ร์นบก หวายทะนอย หญ้าถอด
ปล้อง และ Lycopodium sp.
พืชที่มีการสร้างสปอร์สองแบบ เช่น Selaginella sp. เฟิ ร์นน้ำ พืชเมล็ด
เปลือย และพืชดอก

1.Antheridium A บริเวณที่มีการสร้าง female


gamete
2.Archegonium B อับสปอร์ที่พบในมอส

3.Sporangium C แกมีโทไฟต์ของเฟิ ร์น

4.Sorus D แกมีโทไฟต์ของพืชดอก

5.Capsule E กลุ่มของอับสปอร์ที่พบในเฟิ ร์น

6.Protonema F แกมีโทไฟต์ของมอส

7.Prothallus G บริเวณที่มีการสร้างสปอร์

1.Antheridium H อับสปอร์ของพืชเมล็ดเปลือย

2.Archegonium I บริเวณที่มีการสร้าง male


gamete
Flower Structure and Function
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายโครงสร้างพื้นฐานของดอก
อธิบายและยกตัวอย่างดอกประเภทต่าง ๆ เมื่อแบ่งด้วยเกณฑ์ทาง
สัณฐานวิทยา
สาระสำคัญ
ดอก (flower) เป็ นกิ่งพิเศษที่เปลี่ยนมาทำหน้าที่ในการสร้างสปอร์
โดยพื้นฐานดอกของพืชประกอบขึ้นมาจาก 4 ชั้น คือ กลีบเลี้ยง (sepal)
กลีบดอก (petal) เกสรเพศผู้ (stamen) และเกสรเพศเมีย (pistil) เกสร
เพศผู้จะมีอับเรณูที่ภายในมีโพรงเรณู (pollen sac ทำหน้าที่เป็ น
microsporangium) ส่วนเกสรเพศเมีย (pistil) จะมีวิวัฒนาการมาจาก
ใบพิเศษที่เรียกว่า คาร์เพล (carpel) โดยเกสรเพศเมีย 1 อันอาจ
ประกอบขึ้นจากคาร์เพล 1 ใบ เรียกว่า simple pistil และมีแนวของอ
อวุลติดกันแบบ marginal placentation ขณะที่เกสรเพศเมียของดอก
บางชนิดอาจประกอบขึ้นมาจากคาร์เพลมากกว่า 1 ใบ เรียกว่า
compound pistil โดยอาจเกิดแนวของออวุลติดกันแบบ parietal
placentation หรือ axile placentation ก็ได้ ขณะที่ดอกของพืชบาง
ชนิดอาจมีคาร์เพลมากกว่า 1 อันและแยกออกจากกัน ทำให้ดอก 1 ดอก
มีเกสรเพศเมียมากกว่า 1 อัน เรียกลักษณะของเกสรเพศเมียแบบนี้ว่า
apocarpous pistil

Ovary wall
Style
Receptacle
Sepal
Petal
Stigma
Filament
Anther
Ovule

2.ข้อใดคือนิยามของออวุล (ovule)
1. Microsporophyll
2. Megasporophyll
3. Megasporangium
4. Integument megasporangium
5. Integument microsporangium
ตอบ:
Integument megasporangium
ออวุล (ovule) คือ อับเมกะสปอร์ที่มีเยื่อหุ้ม (integument
megasporangium)
3.บริเวณที่หัวลูกศรชี้ คือ ส่วนใดของพืช

1. Ovary wall
2. Carpel
3. Pistil
4. Ovule
5. Placenta
4. พิจารณาโครงสร้างตัดตามขวางของดอกพืชชนิดหนึ่ง

1. ประกอบขึ้นจาก carpel 5 อัน มี 1 locule และมี parietal


placentation
2. ประกอบขึ้นจาก carpel 1 อัน มี 5 locule และมี parietal
placentation
3. ประกอบขึ้นจาก carpel 5 อัน มี 5 locule และมี parietal
placentation
4. ประกอบขึ้นจาก carpel 1 อัน มี 5 locule และมี axile
placentation
5. ประกอบขึ้นจาก carpel 5 อัน มี 5 locule และมี axile
placentation
ดอกของพืชชนิดนี้ประกอบขึ้นจาก carpel 5 อัน มี 5 locule และมี
axile placentation (ออวุลเกาะตามแนวกึ่งกลาง)
5. ข้อใดจัดเป็ นดอกช่อทั้งหมด
1. กุหลาบ ตำลึง
2. เข็ม สายหยุด
3. บัวหลวง กล้วยไม้สกุลหวาย
4. เข็ม ทานตะวัน
ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่มีดอกเพียง 1 ดอกบนก้านดอก เช่น กุหลาบ ตำลึง
บัวหลวง สายหยุด
ดอกช่อ คือ ดอกที่มีดอกย่อยมากกว่า 1 ดอกติดอยู่บนก้านช่อดอก เช่น
เข็ม หญ้าหนวดแมว กล้วยไม้สกุลหวาย ทานตะวัน

6.ข้อใดผิดเกี่ยวกับดอกทานตะวัน
1. ทานตะวันเป็ นดอกช่อที่ก้านช่อดอกสั้นมาก
2. ทานตะวันมีฐานดอกร่วม (common receptacle)
3. ดอกย่อยวงนอกเป็ นดอกเพศเมียที่เป็ นหมัน
4. ดอกย่อยวงในเป็ นดอกสมบูรณ์เพศ
5. ดอกย่อยวงในเป็ นดอกไม่สมบูรณ์
ทานตะวันจัดเป็ นดอกช่อที่ก้านช่อดอกสั้นมากและขยายแผ่ออกมาเป็ นวง
คล้ายจาน เรียกว่า ฐานดอกร่วม (common receptacle) โดยมีดอก
ย่อยวงนอก (ray flower) เป็ นดอกเพศเมียที่เป็ นหมัน และมีดอกย่อย
วงใน (disc flower) ที่เป็ นดอกสมบูรณ์และเป็ นดอกสมบูรณ์เพศ
Sporogenesis and Gametogenesis
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายการสร้างไมโครสปอร์และแกมีโทไฟต์เพศผู้ในพืชดอก
อธิบายการสร้างเมกะสปอร์และแกมีโทไฟต์เพศเมียในพืชดอก
สาระสำคัญ
การสร้างไมโครสปอร์จะเกิดขึ้นภายในอับเรณู (anther) ซึ่งมีโพรง
เรณูทำหน้าที่เป็ น microsporangium ของเกสรเพศผู้ โดยเริ่มจากการ
แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของ microspore mother cell
(microsporocyte) ซึ่งไมโครสปอร์ที่เกิดขึ้นจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโท
ซิสกลายเป็ นเรณู (pollen) หรือ male gametophyte ของพืชดอกต่อ
ไป ส่วนการสร้างเมกะสปอร์จะเกิดขึ้นภายในออวุล (ovule) ซึ่งเป็ น
integument megasporangium โดยเกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิ
สของ megaspore mother cell โดยเมกะสปอร์ที่เกิดขึ้นจะสลายไป 3
เซลล์ เหลือเพียง 1 เซลล์ แล้วจึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส 3 ครั้งเกิด
เป็ นถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมียในพืชดอก
1. ข้อใดคือแกมีโทไฟต์เพศเมียและแกมีโทไฟต์เพศผู้ของพืชดอก ตาม
ลำดับ
1. Stigma; Pollen
2. Ovary; Anther
3. Stamens; Pistil
4. Ovule; Pollen
5. Embryo sac; Pollen
แกมีโทไฟต์เพศเมียของพืชดอก คือ ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)
แกมีโทไฟต์เพศผู้ของพืชดอก คือ เรณู (pollen)
2.พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ไมโครสปอโรไซต์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
ข. ไมโครสปอร์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
ค. เจเนอเรทีฟนิวเคลียสมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ข้อใดถูก
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
Microsporocyte (microspore mother cell) มีการแบ่งเซลล์แบบไม
โอซิสเพื่อสร้างไมโครสปอร์ (microspore) หลังจากนั้นไมโครสปอร์จะมี
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเป็ นเรณู (pollen) ที่มีสองเซลล์อยู่
ภายใน คือ tube cell และ generative cell โดย generative cell จะ
มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเป็ น male gamete 2 เซลล์ต่อไป
3.พืชชนิดหนึ่งมีจำนวนโครโมโซม 2n = 20 โครงสร้างใดต่อไปนี้มีโอกาส
มากี่สุดที่จะพบโมเลกุล DNA ภายในนิวเคลียส 40 โมเลกุล
1. Megaspore
2. Endosperm
3. Integument
4. Polar nuclei
5. Megaspore mother cell
Megaspore mother cell (2n) จะมีการเพิ่มจำนวนในระยะ S ของการ
แบ่งเซลล์ทำให้มีจำนวนโมเลกุลของ DNA เป็ น 40 โมเลกุลได้
Pollination and Fertilization
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับการถ่ายเรณู (pollination) และพาหะที่ใช้ในการ
ถ่ายเรณู (pollinator)
อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิสนธิคู่ (double fertilization) และ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังมีการปฏิสนธิคู่
สาระสำคัญ
การถ่ายเรณู (pollination) เป็ นการที่เรณูตกลงบนยอดเกสรเพศ
เมีย โดยการถ่ายเรณูมักมีพาหะที่ใช้ในการถ่ายเรณู (pollinator) ซึ่งอาจ
เป็ นสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แมลง นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำขนาดเล็ก
ช่วยในการพาเรณูไปยังเกสรเพศเมียได้ เมื่อเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศ
เมียจะเกิดการสร้างหลอดเรณู (pollen tube) ขึ้น แล้วส่วนของ
generative nucleus มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์
สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) โดย sperm ทั้ง 2 ตัวจะเข้าไปรวมกับเซลล์ 2
เซลล์ ทำให้เกิดการปฏิสนธิคู่ (double fertilization) ขึ้น โดย sperm
ตัวหนึ่งจะเข้าไปปฏิสนธิกับ polar nuclei (n + n) เกิดเป็ นเอนโดสเปิ ร์
มนิวเคลียส (endosperm nucleus: 3n) ซึ่งจะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไป
เป็ นเอนโดสเปิ ร์ม (endosperm) ที่ทำหน้าที่เป็ นอาหารเลี้ยงต้นอ่อน
ส่วน sperm อีกตัวหนึ่งจะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่เกิดเป็ นไซโกต
(zygote: 2n) แล้วเจริญเป็ นเอ็มบริโอ หลังจากเกิดการปฏิสนธิคู่แล้ว
antipodals และ synergids จะสลายตัวไป ส่วนออวุลจะพัฒนาไปเป็ น
เมล็ด (seed) โดยมีเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ที่เจริญมาจาก
integument สำหรับรังไข่ของพืชส่วนใหญ่จะพัฒนาไปเป็ นเนื้อผล (fruit)
1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอกขณะที่มีการถ่ายเรณูและการปฏิสนธิ
ต่อไปนี้
Integument
Synergid
Egg cell
Pollen tube
Sperm nuclei
Antipodal
Central cell
Pollen
2.การปฏิสนธิคู่ (double fertilization) ในพืชดอกเกิดจากข้อใด
1. sperm nuclei 1 อันไปรวมกับ polar nuclei 2 อัน
2. sperm nuclei 2 อันจาก 1 pollen ไปรวมกับ egg cell
3. pollen ไปตกบน stigma และ sperm nucleus ไปรวมกับ egg
cell
4. sperm nucleus อันหนึ่งไปรวมกับ egg cell ส่วนอีกอันหนึ่งไป
รวมกับ polar nuclei
5. sperm nuclei 2 อันไปรวมกับ egg cell และ endosperm
การปฏิสนธิคู่ (double fertilization) ในพืชดอกเกิดจาก sperm
nucleus อันหนึ่งไปรวมกับ egg cell ส่วนอีกอันหนึ่งไปรวมกับ polar
nuclei
3. Sperm nucleus 1 อันที่ไปรวมตัวกับ polar nuclei จะทำให้เกิดข้อ
ใด
1. Endosperm nucleus ที่มีจำนวนโครโมโซม 2n
2. Endosperm nucleus ที่มีจำนวนโครโมโซม 3n
3. Endosperm nucleus ที่มีจำนวนโครโมโซม n + n
4. Embryo ที่มีจำนวนโครโมโซม n
5. Embryo ที่มีจำนวนโครโมโซม 2n
Sperm nucleus 1 อันที่ไปรวมตัวกับ polar nuclei จะทำให้เกิด
endosperm nucleus ที่มีจำนวนโครโมโซม 3n
Fruits
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของผนังผล (pericarp) แบบต่าง ๆ
เปรียบเทียบผลแบบต่าง ๆ ได้แก่ ผลเดี่ยว ผลกลุ่ม และผลรวม
สาระสำคัญ
ผลของพืชส่วนใหญ่เจริญมาจากรังไข่ (ovary) ที่ออวุลได้รับการ
ปฏิสนธิแล้ว เรียกผลที่เจริญมาจากรังไข่เพียงอย่างเดียวว่า ผลแท้จริง
(true fruit) แต่ผลบางชนิดอาจเจริญมาจากส่วนอื่น ๆ ของดอก เช่น ฐาน
ดอก หรือกลีบเลี้ยง เรียกผลแบบนี้ว่า ผลเทียม (accessory fruit) เช่น
แอปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง สำหรับกลุ่มที่เป็ นผลแท้จริงผนังรังไข่จะเจริญไปเป็ น
โครงสร้างที่เรียกว่า ผนังผล (pericarp) ซึ่งผนังผลนี้สามารถแบ่งได้เป็ น
ผนังผลชั้นนอก (exocarp) ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) และผนังผลชั้น
ใน (endocarp) ผลสามารถแบ่งออกได้เป็ น 3 ประเภท ตามรูปแบบของ
ดอกและเกสรเพศเมีย คือ
ผลเดี่ยว (simple fruit) เป็ นผลที่เกิดจากหนึ่งดอกซึ่งอาจเป็ นดอก
เดี่ยวหรือดอกย่อยของแต่ละช่อดอกก็ได้ ซึ่งภายในดอกหรือดอกย่อยจะมี
เกสรเพศเมียเพียง 1 อันเท่านั้น และผลที่เกิดจากดอกย่อยจะต้องไม่รวม
กันเป็ นผลขนาดใหญ่
ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็ นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยวหนึ่งดอกที่มี
เกสรเพศเมียจำนวนมากอยู่แยกกันบนฐานดอก (apocarpous pistil)
โดยรังไข่แต่ละอันจะเจริญไปเป็ นผลย่อยแยกกันอยู่เห็นเป็ นกระจุก
ผลรวม (multiple fruit) เกิดจากช่อดอกที่มีดอกย่อยอยู่ชิดกันแน่น
บนแกนสั้น ๆ และดอกย่อยแต่ละดอกจะเจริญเป็ นผลย่อยที่เชื่อมรวมกัน
เป็ นผลเดียว
1.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของผลต่อไปนี้
A Exocarp
B Mesocarp
C Endocarp
2.ระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของผลต่อไปนี้

A ExocarpB Mesocarp C Endocarp


3.ข้อใดจัดเป็ นผลกลุ่ม (aggregate fruit) ทั้งหมด
1. มะม่วง ลำไย
2. มังคุด น้อยหน่า
3. กระดังงา ขนุน
4. สับปะรด บัวหลวง
5. สตรอเบอรี จำปี
ผลเดี่ยว (simple fruit) เช่น มะม่วง ลำไย มังคุด
ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เช่น น้อยหน่า กระดังงา บัวหลวง สตรอเบอรี
จำปี
ผลรวม (multiple fruit) เช่น ขนุน สับปะรด ยอ หม่อน
4.พืชชนิดหนึ่งดอกเป็ นดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้ และเกสรเพศ
เมียจำนวนมากใน 1 ดอก เมื่อติดผลพบว่ามีลักษณะเป็ นลูกเล็ก ๆ เรียง
กันบนก้านประมาณ 8-10 ลูก พืชชนิดนี้จัดเป็ นผลชนิดใด
1. ผลเดี่ยว
2. ผลกลุ่ม
3. ผลรวม
4. ผลเดี่ยวหรือผลกลุ่ม
5. ผลกลุ่มหรือผลรวม
ดอกเดี่ยวแต่มีรังไข่จำนวนมาก (apocarpous pistil) เมื่อมีการติดผลจะ
ทำให้เกิดได้เป็ นผลกลุ่มเท่านั้น
5.เนื้อลองกองและส่วนใหญ่ของผลสตรอเบอรีเจริญมาจากส่วนใดของ
ดอก ตามลำดับ
ผนังรังไข่ชั้นในและผนังรังไข่ชั้นนอก
1. เปลือกหุ้มเมล็ดและฐานดอก
2. เอนโดสเปิ ร์มและถุงเอ็มบริโอ
3. ถุงเอ็มบริโอและเกสรเพศเมีย
4. ฐานดอกและออวุล
เนื้อลองกองและส่วนใหญ่ของผลสตรอเบอรีเจริญมาจากเปลือกหุ้มเมล็ด
และฐานดอก ตามลำดับ

Seeds
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายโครงสร้างของเมล็ดพืชที่เป็ นตัวอย่างที่สำคัญ คือ เมล็ดถั่ว
เมล็ดข้าวโพด และเมล็ดละหุ่ง
อธิบายรูปแบบการงอกแบบ hypogeal germination และ
epigeal germination
สาระสำคัญ
เมล็ด (seed) เป็ นโครงสร้างที่เจริญมาจากออวุลที่ได้รับการปฏิสนธิ
ภายในรังไข่ เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ เปลือกหุ้มเมล็ด (seed
coat) เอนโดสเปิ ร์ม (endosperm) และเอ็มบริโอ (embryo) โดย
เอ็มบริโอประกอบด้วยใบเลี้ยง (cotyledon) ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง
(epicotyl) ส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) และรากแรกเกิด (radicle)
การงอกเมล็ด (seed germination) เกิดได้ 2 แบบ คือ การงอกเมล็ด
แบบ epigeal germination เป็ นการงอกเมล็ดแบบที่ส่วนของ
hypocotyl มีการเจริญยืดยาวออกลักษณะโค้งงอคล้ายขอเกี่ยวดันดิน
แล้วชูใบเลี้ยงโผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และการงอกเมล็ดแบบ hypogeal
germination เป็ นการงอกเมล็ดแบบที่ส่วนของ hypocotyl ไม่เจริญยืด
ตัวแต่อยู่ใต้ดิน ทำให้ส่วนของใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน การงอกแบบนี้จะใช้
epicotyl ในการดันยอดของต้นอ่อนให้โผล่ขึ้นมาเหนือดิน
1.Seed coat ลำต้นอ่อนส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง
2.Scutellum เนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด
3.Coleorhiza ใบเลี้ยงที่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
4.Coleoptile รากแรกเกิด
5.Endosperm เนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิด
6.Epicotyl ลำต้นอ่อนส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง
7.Radicle ใบเลี้ยงที่พบในพืชใบเลี้ยงคู่
8.Exalbuminous เมล็ดที่เอนโดสเปิ ร์มถูกนำไปเป็นอาหาร
seed ขณะที่มีการเจริญ
Asexual Reproduction in Plants
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายและยกตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในพืชดอกได้
สาระสำคัญ
พืชดอกสามารถมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual
reproduction) ได้ โดยเป็ นการสืบพันธุ์ที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ทำให้
ลูกที่เกิดขึ้นมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ตัวอย่างของ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การเกิด vegetative propagation
ซึ่งเป็ นการสืบพันธุ์ผ่านทาง vegetative organ หรือ apomixis ซึ่ง
เป็ นการที่พืชมีการผลิตเมล็ดโดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิขึ้น
1.ข้อใดคือลักษณะของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอก
ก. ลูกที่ได้มีพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ ข. ลูกที่เกิดขึ้นมาจากต้นกำเนิดเพียง
ต้นเดียว
ค. ลูกที่ได้เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่และ sperm nuclei
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
ข้อ ค. ผิด เพราะ ลักษณะที่พืชที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศไม่
ได้มีปฏิสนธิเกิดขึ้น
2.การสืบพันธุ์ของพืชใดที่มีโอกาสที่ทำให้ต้นลูกที่ได้มีสีแตกต่างไปจากต้น
เดิม
ก. การเพาะโดยเมล็ด ข. การปั กชำหรือตอนกิ่ง ค. การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
1. ก
2. ก และ ข
3. ก และ ค
4. ข และ ค
5. ก ข และ ค
การเพาะเมล็ดเป็ นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก ทำให้ลูกที่ได้มี
ความแปรผันทางพันธุกรรม
3.พืชชนิดใดไม่สามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้
1. กล้วย
2. มะพร้าว
3. กุหลาบหิน
4. สตอเบอร์รี่
5. คว่ำตายหงายเป็ น
กล้วยสามารถแตกหน่อได้ กุหลาบหิน และ คว่ำตายหงายเป็ นใช้
plantlet จากใบ สตอเบอร์รี่ใช้ไหล (stolon)
Plant Responses
สาระสำคัญ (Synopsis)
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็ นลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต โดยการ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารูปแบบหนึ่งของพืช คือ การเคลื่อนไหวของพืช
(plant movement) ซึ่งสิ่งเร้าที่ทำให้พืชมีการตอบสนองนี้อาจมาจากสิ่ง
เร้าภายนอกหรือสิ่งเร้าภายในพืชก็ได้ โดยพืชสามารถใช้ฮอร์โมนพืชใน
การควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางสรีระได้ ฮอร์โมนพืชมี 5 ชนิด
หลัก คือ ออกซิน (auxins) ไซโทไคนิน (cytokinins) จิบเบอเรลลิน
(Gibberellins) เอทิลีน (ethylene) และกรดแอบไซซิก (abscisic acid)

หัวข้อ (Topics)
1. การเคลื่อนไหวของพืช (Plant Movement)
2. ฮอร์โมนพืช I: ออกซิน (Plant Hormones I: Auxins)
3. ฮอร์โมนพืช II: ฮอร์โมนพืชอื่น ๆ (Plant Hormones II: Other
Hormones)
4. แบบฝึ กหัดท้ายบท (End of Chapter Quiz)
Plant Movement
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายและยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวของพืชแบบต่าง ๆ

สาระสำคัญ
การเคลื่อนไหวของพืช (plant movement) แบ่งเป็ น 2 แบบ คือ
การเคลื่อนไหวแบบทรอปิ ก (tropic movement) ซึ่งเป็ นการเคลื่อนไหว
ที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า และการเคลื่อนไหวแบบแนสติก (nastic
movement) ซึ่งเป็ นการเคลื่อนไหวของพืชที่ไม่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่ง
เร้า เช่น การเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งภายในเซลล์ นอกจากนี้พืชยังมีการ
เคลื่อนไหวแบบนิวเทชัน (nutation) ซึ่งเป็ นการแกว่างของปลายยอดพืช
ขณะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ

Plant Hormones I: Auxins


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายประวัติและการค้นคว้าเกี่ยวกับออกซิน
อธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของออกซิน

Plant Hormones II: Other Hormones


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของไซโทไคนิน
อธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของจิบเบอเรลลิน
อธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของเอทิลีน
อธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของกรดแอบไซซิก

You might also like