You are on page 1of 27

1.

เซลล์ (Cell)

เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ในพืช เซลล์จะมีอยู่ในทุก ๆ ส่วนของพืช เพื่อทำหน้าที่ต่าง ต่าง


แตกต่างกันไป เซลล์ของพืชจะมีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่หน้าที่ และชนิดของพืชนั้น ๆ เซลล์มีรูปร่าง และขนาดแตกต่างกัน
มากมาย โดยทั่ว ๆ ไป เซลล์มีขนาด 10 100 ไมโครเมตร สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เช่น อะมีบา ได
อะตอม โพรโทซัว เป็นต้น เซลล์บางชนิดประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก เช่น พืชกับสัตว์ เป็นต้น

เซลล์ และโครงสร้างของเซลล์
เทโอดอร์ ชวั น นฺ (Theodor Schwann) และ มั ล ทิ อ ั ส ยาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden)
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory) กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์
คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด”
ส่วนประกอบของเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมาย แต่โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่
คล้ายกัน ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1
1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall) เซลล์ของพืชประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตราย
ให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบทแตกต่าง
กันไป แล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) เซลล์พวกได
อะตอมมีสารเคลือบพวกซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้

เยื่อหุ้มเซลล์

1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ


และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้า
ออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable Membrane)
1.3 สารเคลือบเซลล์ (Cell Coat) เป็นสารที่เซลล์สร้างขึ้นมาเพื่อห่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง เป็นสารที่มีความแข็งแรง
ไม่ละลายน้ำ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ และช่วยลดการสูญเสียน้ำ
2. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้ เช่น โปรตีน
ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้
2.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) พบครั้งแรกโดยคอลลิกเกอร์ (Kollicker) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรี
ทำหน้าที่เผาผลาญอาหาร เพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
2.2 คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นโครงสร้าง พบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียว เพราะมีสารพวก
คลอโรฟิลล์ ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
2.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีน เพื่อส่งออกไปใช้นอก
เซลล์
2.4 กอลจิคอเพล็กซ์ (Goli Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำ
หน้าที่สร้างคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีนแล้วส่งออกไปใช้ภายนอกเซลล์ หรือเก็บไว้ภายในเซลล์

2
2.5 เซนทริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรทิสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์
2.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และ
แก๊สต่าง ต่าง
3. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะไม่มีนิวเคลียส
นิวเคลียส ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ประกอบด้วย
3.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มี สี ประกอบด้วยเม็ดสาร
เล็ก ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
3.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียสจะ
เปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA มีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะ
ต่าง ต่าง ของสิ่งมีชีวิต
3.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทีบ ค้นพบโดยฟอนตานา
(Fontana) เมื่อปี ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2224) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวกยูคาริโอตเท่านั้น เซลล์อสุจิ เซลล์เม็ดเลือดแดง
ที่เจริญเติบโตเต็มที่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อจะไม่มีนิวคลีโอลัสประกอบด้วย โปรตีน และ
RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (Phosphoprotein) จะไม่พบโปรตีนฮิสโตนเลย ในเซลล์ที่มีกิจกรรมสูงจะมีนิวคลี
โอลัสขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์ที่มีกิจกรรมต่ำ จะมีนิวคลีโอลัสขนาดเล็ก นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่าง ต่าง
และถูกนำออกทางรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อสร้างเป็นไรโบโซมต่อไป ดังนั้น นิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีน
เป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน

สรุปความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชกับเซลล์สัตว์
เซลล์สัตว์ - โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเหลี่ยม
เซลล์พืช - ส่วนใหญ่มีลักษณะกลม หรือรี

เซลล์สัตว์ - มีผนังเซลล์อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์
เซลล์พืช - ไม่มีผนังเซลล์ มีเฉพาะเยื่อหุ้มเซลล์

เซลล์สัตว์ - มีคลอโรพลาสต์
เซลล์พืช - ไม่มีคลอโรพลาสต์

เซลล์สัตว์ - ไม่มีเซนทริโอล
เซลล์พืช - มีเซนทริโอล

3
เซลล์สัตว์ - มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
เซลล์พืช - มีแวคิวโอลขนาดเล็ก

เซลล์สัตว์ - ไม่มีไลโซโซม
เซลล์พืช - มีไลโซโซม

2.
พันธุศาสตร์ (Genetics)
พันธุศาสตร์ เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีวิวทิ ยา ซึง่ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และ
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregor Johann Mendel) บิดาแห่งพันธุศาสตร์

เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้าน


พันธุศาสตร์ เขาทำการทดลองเกี่ยวกับลักษณะของต้นถั่ วลันเตาหลาย ๆ พันธุ์แตกต่างกันถึง
22 ชนิด นาน 7 ปี ทดลองร่วมพันครั้ง เมนเดลเป็นที่รู้จักในวงการพันธุศาสตร์ และได้รับการยก
ย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์

กฎของเมนเดล (Rules of Heredity)

ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตทีส่ ามารถถ่ายทอดลักษณะของพ่อแม่ หรือบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลาน


ลักษณะต่าง ต่าง ของสิ่งมีชีวิตจะถูกควบคุมโดยยีน (Gene) หรือหน่วยพันธุกรรม
ยีน (Gene) หรือหน่วยพันธุกรรม
ยีน หรือ หน่วยพันธุกรรม ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วย ดีเอ็ฯเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม
ต่าง ต่าง ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุ มกระบวนการเกี่ยวกับ
กิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็น หรือสังเกตได้ด้วยตา เช่ น รูปร่างหน้าตาของ
เด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น
ยีน หรือหน่วยพันธุกรรม จะอยู่เป็นคู่ ๆ อยู่บนโครโมโซม ภายในนิวเคลียสของทุก ๆ เซลล์ และจะถ่ายทอดไปยัง
ลูกหลานทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อแม่คนละครึ่ง คนเราจะมีอยู่ประมาณ 50,000 ยีน

4
โครโมโซม (Chromosome)
โครโมโซม เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม และถ่าย่ทอดข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรม
ต่าง ต่าง ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว
ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ เป็นโครงสร้างมีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ เล็ก ๆ ขดไปมา เรียกว่า โคร
มาทิ น (Chromatin) เมื ่ อ เซลล์ โ ครโมมาทิ น ขดแน่ น มากขึ ้ น และหดสั ้ น ลง จะมี ลั ก ษณะเป็ น แท่ ง เรี ย กว่ า โครโมโซม
(Chromosome) คนเรามีโครโมโซมจำนวน 46 แท่ง หรือ 23 คู่ แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย (Autosome) ซึ่งมีลักษณะ
เหมือนกันในเพศชาย และเพศหญิงจำนวน 22 คู่ ส่วนคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซมเพศ (Sex Chromosome) เช่น ในเพศชายจะเป็น
22 + X กับ 22 + Y และในเพศหญิง จะมี 22 + X ซึ่งมีลักษณะต่างกัน
ลักษณะเด่น (Dominant) เป็นลักษณะที่ปรากฏออกมาได้บ่อยครั้ง เมื่ออยู่กับลักษณะด้อย จะข่มลักษณะด้อย เช่น
ลักษณะสูง ข่มลักษณะเตี้ย ลักษณะผมหยิก จะข่มลักษณะผมเหยียดตรง เป็นต้น
ลักษณะด้อย (Recessive) เป็นลักษณะที่แสดงออกมาน้อยครั้ง หรือไม่แสดงออกด เพราะถูกลักษณะเด่นข่ม ไว้ จะ
ปรากฏออกมาได้ เมื่อจับคู่กับลักษณะด้อยด้วยกัน เช่น ลักษณะเตี้ย หรือลักษณะผมเหยียดตรง เป็นต้น
พันธุ์แท้ จะมีลักษณะเด่น หรือด้อยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีคู่ยีนที่เหมือนกัน เช่น ในความสูง พันธุ์แท้ จะมีคู่ยนี TT
(ทีใหญ่ ทีใหญ่) หรือ tt (ทีเล็ก ทีเล็ก)
พันทาง จะมีลักษณะเด่น หรือด้อยเพียงอย่างเดียว อยู่ด้วยกัน และปรากฏลักษณะที่เป็นลักษณะเด่นออกมา เช่น คู่
ยีนที่เป็น Tt (ทีใหญ่ ทีเล็ก) จะมีลักษณะสูง เพราะลักษณะเด่น T (ทีใหญ่) ข่มลักษณะด้อย t (ทีเล็ก)
แอลลีล (Allele) หรือ Allelomorps หมายถึง ยีน 2 ยีน ซึ่งอยู่ตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซม คู่เหมือนกัน โดย
ควบคุมลักษณะเดียวกัน ถ้ามียีน เหมือนกัน เรียกว่า พันธุ์แท้ (Homozygous) ถ้ามียีนไม่เหมือนกัน อยู่ด้วยกัน เรียกว่าพันทาง
(Heterozygous)
ฟีโนไทป์ (Phenotype) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาให้เห็นได้ด้วยตา เช่น สีของดอกถั่ว
สีผิวของคน จำนวนชั้นของหนังตา ลักษณะของเส้นผม หมู่เลือด เป็นต้น
จีโนไทป์ (Genotype) เป็นรูปแบบการจับคู่ของยีนทีค่ วบคุมฟีโนไทป์ตา่ ง ต่าง เช่น จีโนไทป์ที่ควบคุมความสูงของลำ
ต้นถั่ว มีได้ 3 แบบ ได้แก่ TT (ทีใหญ่ ทีใหญ่), Tt (ทีใหญ่ ทีเล็ก), และ tt (ทีเล็ก ทีเล็ก)

เมนเดลได้ตั้งกฎการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม มีดังนี้
1. กฎแห่งการแยกลักษณะ (Law of Segregation) กล่าวว่า “ยีนแต่ละคู่ที่ควบคุมแต่ละลักษณะทางพันธุกรรมของ
สิ่งมีชีวิตจะแยกตัวออกจากกันเป็นอิสระไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์” เช่น พ่อมีโครโมโซม XY จะแยกยีนเป็น X และยีน Y
2. กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of Independent Assortment) กล่าวว่า “ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จะมี
การรวมกลุ่มของหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม (ยีนเดียวของทุกยีน) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ เกิดขึ้นอย่างอิสระ” ไม่เกี่ยวข้อง
กับลักษณะอื่น เช่น ยีนควบคุมลักษณะความสูง จะไม่เกี่ยวข้องกับยีนที่ควบคุมความเตี้ย
5
กฎของเมนเดล มีลักษณะเด่น (Dominant) และลักษณะด้อย (Recessive) เมื่อพ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นมาผสม
กัน จะได้ลูกลักษณะเด่นทั้งหมด แต่ถ้านำลักษณะด้อยมาผสมกัน ก็จะได้ลูกลักษณะด้อยทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้านำลักษณะเด่น
กับลักษณะด้อยมาผสมกัน ผลที่ได้ในรุ่นลูกก็คือ “ลักษณะเด่น” ทั้งหมด แต่จะมีลักษณะด้อยแฝงอยู่ ถ้านำไปผสมกันในรุ่น
หลาย จะมีอัตราส่วนเป็น 3:1 เสมอ (โดยได้ เด่นแท้ - ด้อยแท้ - เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน) เช่น ให้ถั่วต้นสูง (T ใหญ่)
เป็นลักษณะเด่น และต้นเตี้ย (t เล็ก) เป็นลักษณะด้อย
1) ถั่วต้นสูง (T ใหญ่) + ถั่วต้นสูง (T ใหญ่) = ลูกสูงทั้งหมด (TT ทีใหญ่ ทีใหญ่)
2) ถั่วต้นเตี้ย (t เล็ก) + ถั่วต้นเตี้ย (t เล็ก) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt ทีเล็ก ทีเล็ก)
3) ถั่วต้นสูง (T ใหญ่) + ถั่วต้นเตี้ย (t เล็ก) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt ทีใหญ่ ทีเล็ก)
4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3) ลูกสูงทั้งหมด (Tt ทีใหญ่ ทีเล็ก) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt ทีใหญ่ ทีเล็ก) = ลูกสูงแท้ (TT ทีใหญ่
ทีใหญ่) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt ทีเล็ก ทีเล็ก) 25% ลูกสูงไม่แท้ (Tt ทีใหญ่ ทีเล็ก) 50%
5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT ทีใหญ่ ทีใหญ่) จากข้อ 4) ไปปลูก จะได้ลูกสูงทังหมด (TT ทีใหญ่ ทีใหญ่) และเอา
เมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt ทีเล็ก ทีเล็ก) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt ทีเล็ก ทีเล็ก) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt ทีใหญ่ ทีเล็ก) ไป
ปลูก จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4)

3.
การเจริญเติบโตของมนุษย์ (The Human Growth)

การเจริญเติบโตของมนุษย์
หลังจากที่ทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว ทารกจะมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการในด้านต่าง ต่าง ขึ้น
ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากพันธุกรรม รวมถึงการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมภายนอกที่เผชิญอยู่ ซึ่งเมื่อทารก
เจริญเติบโตขึ้น ก็ย่างเข้าสู่ช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตามลำดับ แต่วัยที่ต้องมีการปรับตัวอย่างมากในการดำรงชีวิต คือ
วัยทารก และวัยเด็ก เนื่องจาก ต้องการประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตหลายประการ
มนุษย์มีการเจริญเติบโตเหมือนพืช และสัตว์ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต คือ การมีน้ำหนัก
ตัว และส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่ เมื่อมีอายุระหว่าง 14 - 15 ปี หลังจากนั้น จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วน
เด็กผู้ชาย ส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นเต็มที่เมื่ออายุระหว่าง 17 - 18 ปี หลังจากนั้น ส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

6
แสดงการเจริญเติบโตของมนุษย์ในช่วงวัยต่าง ต่าง

การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
 น้ำหนัก
 ส่วนสูง
 ความยาวของลำตัว
 ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่
 ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
 ความยาวของเส้นรอบอก
 การขึ้นของฟันแท้

7
การเจริญเติบโตของมนุษย์เริ่มจากไข่ (Egg) ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิ (Sperm) เป็นไซโกต (Zygote) ที่บริเวณท่อ
นำไข่ส่วนต้น จากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนแล้วเคลื่อนที่ตามท่อนำไข่ ฝังตัวในผนังมดลูกเมื่ออายุได้ประมาณ 7 วัน
ระยะนี้เอ็มบริโอจะมีการเจริญเติบโตของเนื้อ่เยื่อ หัวใจเริ่มเต้นเป็นจังหวะ อวัยวะต่าง ต่าง เจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ จนครบทุก
ส่วน เมื่ออายุได้ครบ 8 วัน เอ็มบริโอที่มีอวัยวะครบแล้ว เรียกว่า ฟีตัส (Fetus) เมื่ออายุได้ 8 9 สัปดาห์ จะมีนิ้วมือ และนิ้วเท้า
เจริญเห็นได้ชัดเจนสามารถแยกเพศได้ ช่วงเดือนที่ 4 - 6 ฟีตัส จะมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการเจริญ
ของกระดูก มีผม และขน ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ในระยะนี้ จะมีขนาดของร่างกาย และระบบประสาทโตเพิ่ม
มากขึ้น หลังจากแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 280 วัน ถึงระยะครบกำหนดคลอดออกมา โดยส่วนหัวของทารกจะออกมาก่อน หลัง
หลอดประมาณ 1 นาที ทารกจะเริ่มหายใจ

ลักษณะการเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ ๆ คือ


1. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด เด็กจะสูงขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น รูปร่างขยายขึ้น อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด จะใหญ่
ขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน และสติปัญญา สัดส่วนของเด็กจะแตกต่างจากผู้ใหญ่ ส่วนด้านสติปัญญาจะ
เปลี่ยนไปตามวัย จากคำพูดไปสู่การเล่นของเล่น และในวัยรุ่นจะชอบเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว
3. ลักษณะเดิมหายไป การเติบโต ทำให้อวัยวะที่ติดตัวเรามาตั้งแต่แรกเกิดหายไป เช่น ฟันน้ำนม และขนอ่อน เป็น
ต้น
4. ลักษณะใหม่เกิดขึ้น เมื่อฟันน้ำนม และขนอ่อนหลุดไป จะมีฟันแท้ซึ่งอยู่กับเราไปจนตลอดชีวิต

การเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 6 ช่วงวัย คือ


1. เด็กวัยทารก หรือเด็กวัยแรกเกิด อายุอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี มีการเจริญเติบโตมากโดยมีสัดส่วนของ
ศีรษะต่อลำดับตัวเป็น 1 ต่อ 4
1.1 ช่วงวัยทารกแรกเกิด นับตั้งแต่คลอดจนถึง 2 สัปดาห์ เป็นระยะที่ทารกพ้นตัวจากการคลอด และมีการปรับตัว
ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอุณหภูมิภายนอกครรภ์มารดา เนื่องจากขณะอยู่ในครรภ์มารดา จะอุณหภูมิประมาณ 37 องศา
เซลเซียส แต่คลอดออกมาแล้ว จะอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส
1.2 ช่วงวัยทารก นับตั้งแต่อายุได้ 2 สัปดาห์ ถึง 2 ปี ในช่วงวัยนี้ ทารกจะแสดงความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก
สามารถสื่อสารกับคนรอบตัวได้ดีขึ้น

8
2. เด็กก่อนวัยเรียน มีอายุอยู่ในช่วง 3 –- 6 ปี รูปร่าง และสัดส่วนของเด็กเปลี่ยนไปจากวัยแรกเกิด รูปร่างค่อย ๆ ยืด
ตัวออก ใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมื่อเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่ แข็งแรง อก และไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง
3. เด็กวัยเรียน มีอายุระหว่าง 7 - 12 ปี จะมีการเติบโต โดยมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2 - 3 กิโลกรัมต่อปี
ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4 5 เซนติเมตรต่อปี ฟันน้ำนมเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่
4. เด็กวัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต แลพัฒนาการทางกายที่สำคัญ ๆ คือ ในเรื่องของโครงกระดูก ส่วนสูง
น้ำหนัก ตลอดจนต่อมไร้ท่อต่าง ต่าง
เด็กวัยรุ่น มีอายุประมาณ 13 - 20 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นวัยที่ร่างกาย และจิตใจเริ่มเปลี่ยนจาก
วัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิต ซึ่งถ้าวัยรุ่นไม่ได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง อาดจทำให้ประพฤติ
ในสิ่งที่ผิดได้ เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นทั้งเพศชาย และเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนี้
เพศชาย มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุประมาณ 15 ปี ร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้น มีกล้ามเนื้อเป็นมัด แขน
ขาใหญ่ และยาวขึ้น มีหนวดเครา มีขนขึ้น นมแตกพาน เสียงห้าว
เพศหญิง มีส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุประมาณ 15 ปี หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น เอวคอด สะโพกผาย ใบหน้า
และผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น มีสิวขึ้นที่ใบหน้า และมีประจำเดือน
5. วัยผู้ใหญ่ มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี เป็นวัยเริ่มสร้างครอบครัว เพิ่มบทบาทหลายบทบาทมากขึ้น เป็นสามี ภรรยา
และพ่อแม่ วัยนี้มีพัฒนาการทางร่างกายสมบูรณ์ถึงขีดสุด และเริ่มลดความเข้มแข็งในตอนท้ายของวัย รู้จักตนดีขึ้นกว่าวัยรุ่น
รู้จักดคิดอย่างสลับซับซ้อนขึ้น
6. วัยชรา มีอายุตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป วัยนี้มี สมรรถภาพทางกายเริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน สติปัญญา และ
ความจำเริ่มเสื่อม การเคลื่อนไหวช้าลง ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับการสูญเสียต่าง ต่าง เช่น ความเสื่อมทางพละกำลัง การออก
จากงาน เจ็บไข้ได้ป่วยมากขึ้น รู้จักใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวต่อการเก ษียณอายุสำหรับคนทำงานระบบ
เกษียณอายุ ปรับตัวใหม่ต่อสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ค้นหาความหมายของการดำรงชีวิต เผชิญความตายของผู้เป็นที่รัก
เตรียมตัวตายของตนเองอย่างสงบ และมีสติ

การติดตามดูแลการเจริญเติบโต

1. ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง


2. สำรวจตนเอง และจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และนำมาเปรียบเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน
3. ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี เป็นประจำทุก ๆ ปี
การติดตามการดูแลการเจริญเติบโตของตนเอง ทำให้เราทราบว่าตนเองมีการเจริญเติบโตทางร่างกายเป็นไปตามวัย
หรือไม่ และถ้าพบว่าตัวเรามีปัญหาด้านสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เบื้องต้น

9
สิ่งที่เป็นผลต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์

1. พันธุกรรม (Heredity) เป็นลักษณะต่าง ต่าง ที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ลักษณะต่าง ต่าง จากพ่อ และ


แม่ จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซม (Chromosome) คู่หนึ่งกำหนดเพศ ผู้เป็นพ่อทดำหน้าที่กำหนดเพศ
หญิง หรือเพศชาย อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับ
สติปัญญา เป็นต้น
2. วุฒิภาวะ (Maturation) เป็นกระบวนการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคคล เช่น
การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานของมนุษย์
3. การเรียนรู้ (Learning) เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์ การฝึกหัด หรือความสามารถทางทักษะอย่างหนึ่ง
อย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ และการฝึกหัดเป็นพื้นฐาน
4. สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ เช่น ระบบครอบครัว สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น

4.
อวัยวะภายนอก และอวัยวะภายใน (External Organs and Internal Organs)

อวัยวะ (Organ) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่อยู่ร่วมกัน และทำหน้าที่เฉพาะร่วมกัน ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะ


ภายนอก และอวัยวะภายใน อวัยวะภายนอก เป็นอวัยวะที่เราสามารถมองเห็นได้ ส่วนอวัยวะภายในเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้ผิวหนัง
ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็น อวัยวะภายในเหล่านี้มีมากมาย และทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบ เช่น ระบบการย่อยอาหาร
ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่าง
ปกติ ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความผิดปกติ ระบบการทำงานนั้นจะบกพร่อง หรือผิดปกติด้วย

อวัยวะภายนอก
อวัยวะภายนอก ของเราแต่ละส่วน มีประโยชน์ต่อเรา ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ต่าง ได้ เช่น ตาช่วยให้มองเห็น หู
ช่วยให้เราได้เยินเสียต่าง ต่าง จมูกช่วยให้เราได้กลิ่น มือช่วยในการหยิบสิ่งต่าง ต่าง เป็นต้น

หน้าที่ของอวัยวะภายนอก
1. ตา เป็นอวัยวะที่สำคัญ สำหรับการรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสี และภาพ มีลักษณะกลม บรรจุอยู่ในเบ้าตา ไม่ควรขยี้
ตาแรง ๆ เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าตา และควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ

10
2. หู เป็นอวัยวะสำคัญที่รับการสัมผัสเกี่ยวกับเสียง และการทรงตัว เราไม่ควรใช้ของแข็งแคะหู เมื่อหูผิดปกติเราต้อง
รีบไปพบแพทย์ทันที
3. จมูก เป็นอวัยวะที่รับรู้เรื่องกลิ่น การดูแลรักษาจมูกไม่ใช่ของแข็ง แคะจมูก หรือนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่รูจมูก
4. ลิ้น เป็นอวัยวะสำคัญเกี่ยวกับการรับรู้รสต่าง ต่าง โดยเซลล์ต่าง ต่าง ของลิ้นทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้รส 4 รส คือ
รสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม และรสขม
5. ฟัน มีหน้าที่ในการกัด ตัด ฉีก และบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำลาย และน้ ำย่อย
อาหารได้ดี เราควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรใช้ฟันกัดแทะของแข็งมากเกินไป เมื่อปวดฟัน ต้องรีบปรึกษาแพทย์
ทันที
6. ผิวหนัง เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ช่วยในการขับถ่ายของเสียประเภทของเหลว และยังช่วยควบคุมความชุ่มชื้นภายใน
เซลล์ของร่างกาย ช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสม ป้องกันสารแปลกแลอม และเชื้ อโรคเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งป้องกัน
อันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์อีกด้วย

การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
1. การทำความสะอาดผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสะอาด ไม่มีกลิ่น รู้สึกสดชื้น และไม่เป็นโรคผิวหนัง ควรดูแลรักษา
ผิวหนัง โดย
1) อาบน้ำถูสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และตอนเย็น
2) เช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง
3) ควรออกกำลังกาย และให้ผิวหนังได้รับแสงแดดอ่อน ทำให้ได้รับวิตามินดี แสงแดดเปลี่ยนสเตอรอล (Sterol)
เป็นวิตามินดี (Vitamin D)
2. การทำความสะอาด และระวังรักษาตา ตาเป็นอวัวะภายนอก เรามีตา 2 ตา ทำหน้าที่ดูสิ่งต่าง ต่าง ที่อยู่รอบตัวเรา
ถ้าตาบอดจะทำงานต่าง ต่าง ได้ลำบากขึ้น ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ควรต้องดูแลรักษาตาอย่างทะนุถนอม
1) เมื่อมีผงเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด ไม่ควรใช้นิ้วขยี้ตา
2) อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ ควรหยุดพักสายตา โดยหลับตาสักครู่ หรือ
มองไปไกล ๆ
3) อย่าดูโทรทัศน์ใกล้จอภาพมากเกินไป ควรดูห่างประมาณ 12 ฟุต และควรมีแสงสว่างเพียงพอ
4) ไม่อ่านหนังสือบนรถ หรือในเรือที่กำลังแล่น หรือที่ที่มีแสงน้อย
5) อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
6) ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับตา ควรไปพบแพทย์ด่วน

11
3. การทำความสะอาด และดูแลรักษาหู เรามี หู 2 หู หูของเราใช้ฟังเสียง แต่การที่เราได้ยินเสียดังมาก ๆ บ่อย ๆ
หรือเกิดอุบัติเหตุบางอย่างกับหู อาจทำให้หูตึง หรือหูหนวกได้ เมื่อหูหนวกแล้ว จะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เราควรต้องดูแล และ
ทะนุถนอมหู
1) เวลาอาบน้ำ หรือสระผม ควรระวังอย่าให้น้ำเข้าหู
2) หลังอาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดใบหู และกกหูให้แห้ง
3) หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป
4) ไม่ตะโกนใส่หู ตบหู หรือเล่นแหย่รูหูกัน
5) ไม่ควรแคะหูเอง ถ้ารู้สึกว่ามีขี้หูมาก หรือมีอะไรเข้าหูควรบอกผู้ใหญ่
6) หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ
4. การทำความสะอาด และการระวังรักษาจมูก จมูกเป็นอวัยวะภายนอก ทำหน้าที่รับกลิ่น ควรดูแลรักษาจมูก
1) ควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดในรูจมูก เมื่อฝุ่นหรือน้ำมูกติดอยู่
2) ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก ๆ
3) ไม่ควรใช้นิ้วมือ หรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูก เพราะจะทำให้จมูกอักเสบ และติดเชื้อโรคได้ง่าย
4) ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด
5) ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละออง และเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
6) ระวังไม่ใช้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล
7) ไม่นำเมล็ดผลไม้ หรือสิ่ง ต่าง ต่าง ใส่ในรูจมูกเล่น เพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูก และปิดทางเดินหายใจ
อาจทำให้ถึงตายได้
8) หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับจมูก ควรรีบปรึกษาแพทย์
5. การทำความสะอาดรักษามือ และนิ้วมือ มือและนิ้วมือ เป็นอวัยวะใช้หยิบจับ ควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี
1) ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ
2) ไม่อมนิ้วมือ เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
3) ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
4) ควรสวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น

6. การทำความสะอาด และดูแลรักษาเท้า เท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญใช้ในการเคลื่อนที่ ควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี


1) ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และน้ำสะอาดหลังจากเหยียบย่ำสิ่งสกปรก
2) ควรตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ การไว้เล็บเท้าเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่าง ต่าง
3) เมื่อล้างเท้าแล้ว ควรเช็ดให้แห้ง
4) สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรค และอันตรายจากของมีคม และควรสวมรองเท้าที่เหมาะกับเท้า

12
อวัยวะภายใน

ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่าง ต่าง ที่อยู่ภายในร่างกายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ปอด หัวใจ ตับ


กระเพาะอาหาร อวัยวะเหล่านี้เรียกว่า อวัยวะภายใน

1. ปอด
ปอด อยู่ภายในทรวงอกตอนบนทั้งด้านซ้าย และด้านขวา โดยปอดข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดข้างซ้าย ปอดมี
2 ข้าง มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีความยืดหยุ่น และภายในปอดมีถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ออกไป และรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทน
ปอดมี ห น้ า ที ่ ฟ อกเลื อ ดดำให้ เ ป็ น เลื อ ดแดง โดยรั บ เลื อ ดดำที ่ ส ่ ง มาจากหั ว ใจด้ า นล่ า งขวามาถ่ า ยแก๊ ส
คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดดำ และเพิ่มแก๊สออกซิเจน ทำให้เลือดดำเป็น เลือดแดง การหายใจเอาอากาศที่มีเขม่า ฝุ่น
ละออง ควันพิษ หรือสารพิษเข้าไป ทำให้ปอดทำหน้าทีล่ ำบากขึ้น แล้วยังก่อให้เกิดโรคต่าง ต่าง เช่น วัณโรค มะเร็งปอด ดังนั้น
เราจึงควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่สูบบุหรี่ และไม่คลุกคลีกับคนป่วยที่เป็นโรคปอด

2. กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร ตั้งอยู่บริเวณใต้ทรวงอก มีรูปร่างคล้ายอักษรตัว เจ (J) มีลกั ษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อ มีความเหนียว
และสามารถยืดตัวออก ทำหน้าที่เป็นทีเ่ ก็บอาหาร ย่อยอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อยในสภาพเป็นกรดก่อนที่อาหารจะ
เคลื่อนที่ไปยังลำไส้เล็ก
การกินอาหารที่มีรสจัด และกินอาหารไม่ตรงเวลา เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารได้ เราจึงควรกินอาหารให้
ตรงเวลา งดกินอาหารที่มีรสจัด ความเครียดทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร ดังนั้น เราควรทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่เครียด

3. ลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะขดเป็นท่อกลวงยาว อยู่ในช่องท้องตอนบน โดยลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อยอาหาร
และดูดซึมอาหาหารที่ถูกย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย

4. ลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ดูดน้ำจากกากอาหารให้แก่ร่างกาย จนเหลือเพียงกากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการ
และขับถ่ายกากอาหารออกมาในรูปของอุจจาระทางทวารหนัก การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มรี สจัด จะ
ช่วยทำให้ลำไส้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติ

13
5. ไต
ไต เป็นอวัยวะในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ไตมี 2 ข้าง อยู่ทางด้านซ้าย และด้านขวาของกระดูกสันหลังบริเวณเอว
ไตมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง มีสีแดงแกมน้ำตาล ไตมีหน้าที่กรอง และขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำออกจากร่างกายในรูปของ
ปัสสาวะ นอกจากนี้ ไตยังมีหน้าที่ดูดซึม และเก็บสะสมอาหารที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้ งไตยังทำหน้าที่
รักษาปริมาณน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอีกด้วย การดูแลรักษาไตให้ทำงานได้อย่างปกติ เราควรหลีกเลี่ยง
การกินอาหารที่มีรสเค็มจัด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว

6. หัวใจ
หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญ ตั้งอยู่กลางทรวงอก ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนมาทางซ้าย หัวใจมีรูปร่างคล้ายดอก
บัวตูม มีขนาดเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ภายในหัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนซ้าย ห้องล่างขวา ห้องบนขวา
และห้องล่างขวา หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเข้ าไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัว จะสูบเลือดเข้ามา เมื่อ
หัวใจบีบตัว จะฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย การบีบ และคลายตัวนี้ เราเรียกว่า การเต้นของหัวใจ อัตราการ
เต้นของหัวใจในคนปกติ มีการเต้นประมาณ 60 - 80 ครั้ง/นาที

5.
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)

ระบบต่าง ต่าง ในร่างกาย


ร่างกายของเรา ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอก และอวัยวะภายใน โดยอวั ยวะต่าง ต่าง ภายในร่างกายจะทำงาน
สัมพันธ์กัน เรียกว่า ระบบ ระบบต่าง ต่าง ของร่างกายประกอบด้วยระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต และ
ระบบขับถ่าย เป็นต้น

ระบบย่อยอาหาร

เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารไปยัง


กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่ง ผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่าง ต่าง ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กที่จุด
สุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับออกทางทวารหนัก

ระบบย่อยอาหาร จะประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่


14
กระบวนการในการย่อยอาหาร
1. การย่อยเชิงกล เป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน
2. การย่อยทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยอาศัยเอนไซม์ หรือน้ำย่อย

สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด ดังนี้


คาร์โบไฮเดรต  กลูโคส
โปรตีน  กรดอะมิโน
ไขมัน  กรดไขมัน + กลีเซอรอล

อวัยวะในระบบย่อยอาหาร
1. ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรกในระบบย่อยอาหาร ภายในปากมีฟัน ที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด โดยมีลิ้น
คลุกเคล้ากับอาหารกับน้ำลายจากต่อมน้ำลายใต้หู ใต้ลิ้น ใต้ขากรรไกรให้ลื่น และสะดวกในการกลืนในน้ำลาย มีเอนไซม์ชื่อว่า
ไทยาลิน (Ptyalin) หรือน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส เราจึงรู้สึกหวานเมื่อเราอมข้าว

15
2.หลอดอาหาร เป็นท่อยายที่อยู่ระหว่างปากกับกระเพาะอาหาร มีหน้าที่ในการลำเลีย งอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร
หลอดอาหารเป็นกล้ามเนื้อเรียบที่ทำหน้าที่บีบรัดอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร เรียกว่า เพอริสทัลซิส (Peristalsis) ไม่
มีการย่อยอาหาร ทำหน้าที่เป็นเพียงทางผ่านอาหารเท่านั้น
3. กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหาร เมื่ออาหารเข้ามาสู่กระเพาะอาหาร แล้วจะหดตัวบีบรัดอาหารเพื่อทำการ
ย่อยอาหาร โดยมีน้ำย่อยเพปซิน และกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก) ช่วยในการย่อยอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง
และส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะไม่มีการย่อยในกระเพาะอาหาร อาหารอยู่ใน
กระเพาะอาหารประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง แล้วจะเคลื่อนที่สู่ลำไส้เล็กต่อไป
4. ลำไส้เล็ก เมื่ออาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก ในผนังลำไส้เล็กจะสร้างน้ำย่อยอีกหลายชนิด คือ
1) เอนไซม์มอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสเป็นน้ำตาลกลูโคส
2) เอนไซม์ซูเครส น้ำย่อยน้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลฟรักโทส
3) เอนไซม์แล็กเทส ย่อยน้ำตาลแล็กโทสเป็นน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลกาแล็กโทส
ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่มีการย่อยสารอาหารพวกโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต อย่างสมบูรณ์ และดูดซึมผ่านผนัง
ลำไส้เล็กเข้าสู่เส้นเลือด โดยผ่านผนังบุภายในของลำไส้เล็ก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์ มีลักษณะเป็นติ่งเล็ก ๆ ยื่นออกมา
คล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลไล (Villi) เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหาร และถูกส่งไปเลี้ยงตามส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย
5. ลำไส้ใหญ่ กากอาหารจากลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และ
กลูโคสออกจากกากอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้กากอาหารเหนยวข้น และเป็นก้อน จากนั้น เคลื่อนไปรวมกันที่ลำไส้
ตรง และขับออกทางทวารหนังในรูปของอุจจาระ ภายในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียช่วยสังเคราะห์วิตามิน เค และวิตามีน บี 12 ที่
เป็นประโยชน์
6. ตับอ่อน สร้างเอนไซม์พิเพสย่อยไขมันเป็นกรดไขมันกับกลีเซอรอล เอนไซม์อะไมเลส ย่อยแป้งที่ยังย่อยไม่หมดจาก
ปากเป็นน้ำตาลมอลโทส และเอนไซม์ทริบซินย่อยโปรตีน หรือเพปไทด์เป็นกรดอะมิโน
7. ตับ สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์ จึงไม่มีหน้าที่ในการย่อย แต่น้ำดีจะช่วย
ทำให้ไขมันแตกตัวออกมาเป็นเม็ดเล็ก ๆ เพื่อให้เอนไซม์ลิเพสย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น

16
6.
ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
เมื่ออาหารถูกย่อยจากกระบวนการย่อยอาหาร สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และถูกลำเลียงไปเลี้ยงส่วน
ต่าง ต่าง ของร่างกาย
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ มีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะต่าง ต่าง ได้แก่ หัวใจ ซึ่งมี 4 ห้อง คอยทำหน้าที่รับ และ
ส่งเลือดไปยังส่วนต่าง ต่าง ของร่างกายผ่านหลอดเลือดที่มีหลายลักษณะ ได้แก่ หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง และหลอด
เลือดฝอย
ระบบหมุนเวียนเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจน และสารอาหารต่าง ต่าง ไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย
พร้อมทั้งนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เกิดขึ้นกำจัดออกนอกร่างกาย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย หัวใจ
หลอดเลือด และเลือด

ระบบหมุนเวียนโลหิต ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1. เลือด (Blood) ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือ พลาสมา (Plasma) 55% และเม็ดเลือด 45% ซึ่งประกอบด้วยเม็ด
เลือดแดง (Red Blood Cell) เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell) และเกล็ดเลือด (Platelet) เม็ดเลือดแดงสร้างโดยไขกระดูก
ประกอบด้วยโปรตีน และเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน แก๊สออกซิเจนจะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง
ต่าง ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวผลิตโดยม้ามจะทำหน้าทีต่ ่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือด
แข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล

17
น้ำเลือด หรือพลาสมา (Plasma) 55% นั้น ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลือเป็นสารอาหารต่าง ต่าง
เช่น โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และแก๊ส
2. เส้นเลือด (Blood Vessel) คือ ท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกาย ซึ่งมี 3 ระบบ คือ เส้นเลือดแดง เส้นเลือด
ดำ และเส้นเลือดฝอย
3. หัวใจ (Heart) หัวใจของคนตั้งอยู่ในทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองค้าง ค่อนไปทางซ้าย ภายในมีลักษณะเป็นโพรง
แบ่งออกเป็น 4 ห้อง
หัวใจ เป็นกล้ามเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แบ่งเป็นห้องบน (รับเลือด)
เรียกว่า เอเตรียม (Atrium) ห้องล่าง 2 ห้อง (สูบฉีดเลือด) เรียกว่า เวนตริเคิล (Ventricle) หัวใจตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอด
ทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว แต่ละห้องมีหน้าที่ดังนี้
3.1 หัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium) มีหน้าที่รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
3.2 หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) มีหน้าที่รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
3.3 หัวใจห้องล่างขวา (Right Ventricle) มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
3.4 หัวใจห้องล่างซ้าย (Left Ventricle) มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย
ระหว่างหัวในซีกซ้าย กับซีกขวา มีผนังที่เหนียว หนา และแข็งแรงกั้นไว้ และระหว่างห้องหัวใจด้านบนกับด้านล่าง
ของแต่ละซีกมีลิ้นของหัวใจคอยปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนั้น การไหลเวียนของเลือด จึงเป็นการไหลไปในทางเดียวกัน
ตลอด ซึ่งวิลเลียม ฮาร์วี นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการหมุนเวียนของเลือด และสรุปว่าเลือดมีการ
ไหลเวียนไปทางเดียวกัน

ระบบหมุนเวียนโลหิตภายในร่างกายมนุษย์

18
การหมุนเวียนโลหิตภายในร่างกาย

เริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำทีม่ แี ก๊สออกซิเจนต่ำจากศีรษะ แขนขาทั้ง 2 ข้าง ที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา


ผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ห้องล่างขวา จะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจาก
ปอดซึ่งมีแก๊สออกซิเจนมาก เข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้าย ผ่านลิ้นหัวใจไบคัสปิด (Bicuspid) แล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย หัวใจ
จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล่างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ ซึ่งต่อมาแยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย เพื่อนำเลือดไป
เลี้ยงยังส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย เลือดที่ใช้แล้วไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต
การหมุนเวียนของเลือดจากหัวใจ และกลับจากส่วนต่าง ต่าง ของร่างกายนั้นต้องอาศัยหลอดเลือด ซึ่งอยู่ทั่วไปทุก
ส่วนของร่างกาย หลอดเลือดในร่างกายคนเราแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังส่ว นต่าง ต่าง ของร่างกาย เลือดที่อยู่ใน
หลอดเลือดแดงมีปริมาณแก๊สออกซิเจนมาก ยกเว้นเลือดที่ส่งไปยังปอด ซึ่งเป็นเลือดดำมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก
หลอดเลือดแดงมีผนังหนา และแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดัน เลือดที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ
2. หลอดเลือดดำ (Vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือกจากส่วนต่าง ต่าง ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ เลือดอยู่ในหลอดเลือด
นี้เป็นเลือดดำ มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก ยกเว้นเลือดที่นำจากปอดมายังหัวใจจะเป็นเลือดแดง และมีลิ้นป้องกัน
ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
3. หลอดเลือดฝอย (Capillary) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอยติดต่ออยู่ระหว่างแขนงเล็ก ๆ ของ
หลอดเลือด และหลอดเลือดแดง หลอดเลือดฝอยนี้มีผนังบางมาก ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูก
ดันออกไปตามหลอดเลือดแดงด้วยความดันสูง ทำให้เคลื่อนที่ไปตามส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย และนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ
ด้วยกัน ซึ่งขณะที่หัวในรับเลือดเข้าไปนั้นจะมีความดันน้อยที่สุด

หน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิต
1. น้ำอาหาร และสารอื่น ๆ รวมทั้งแก๊สออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
2. นำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกลับมาใช้
3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาบอลิซึมเพื่อขับออกจากภายนอกร่างกาย
4. ช่วยควบคุม และรักษาดุลของน้ำภายในร่างกาย
5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
ขณะหัวใจบีบตัว เลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ต่าง
ของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนี้ จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่วัดออกมาได้ ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของ
ปรอท จึงมีสองค่า เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท
ตัวเลข 110 แสดงค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ
ตัวเลข 70 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวในคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
19
ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้ายจะพบว่าเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ภายใน เรียกว่า ชีพจร ชีพจรเป็นการหดตัว และขยายตัว
ของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ คนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70 - 80 ครั้ง/นาที ชีพจนสามารถวัดได้
จากหลอดเลือดแดงใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ขมับ ซอกคอ ขาหนีบ เป็นต้น ในวัยเด็กที่มีสภาพร่างกายปกติชีพ
จรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ การออกกำลังกายมีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงาน
สูงขึ้นกว่าปกติ จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น จะพบว่า ชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น หัวใจสูบ
ฉีดเลือดเร็วขึ้น สรุปได้ว่า การเต้นของชีพจนสัมพันธ์กับระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนโลหิตภายในร่างกาย
เครื่องมือที่ใช้ฟังการเต้นของชีพจร คือ สเตทโทสโคป (Stethoscope) และเครื่องมือที่ใช้วัดความดันเลือด เรียกว่า
มาตรความดันเลือด (Mercury Sphygmomanometer)
ปัจจัยที่มีผลต่อ ความดันเลือด ได้แก่ อายุ เพศ ขนาดของร่างกาย อารมณ์ การทำงาน การออกกำลังกาย และ
อิริยาบถต่าง ต่าง ความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบตัน ระดับไขมันในเลือดสูง อารมณ์โกรธง่าย และมีจิตใจ
เครียดเป็นประจำ

7.
ระบบหายใจ (Respiratory System)

ระบบหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ระบบทางเดินหายใจ
ประกอบไปด้วย จมูก และหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ และจะถูก
แลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ โดยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย

ระบบทางเดินหายใจ

20
เลือด มีการลำเลียงสารอาหาร และแก๊สออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย เพื่อสร้างพลังงาน ร่างกาย
จำเป็นต้องหายใจเข้า และหายใจออก เพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจาก
ร่างกาย ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. จมูก เราหายใจเอาอากาศเข้าทางจมูก โดยในจมูก จะมีขนจมูกช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคในอากาศ
หลังจากนั้นอากาศจะผ่านเข้ารูจมูก ในโพรงจมูกมีการดักจับฝุ่นละออง และเชื้อโรคด้วยเช่นกัน
2. หลอดลม ทำหน้าที่ผ่านทางผ่านของอากาศเพื่อเข้าสู่ปอด มีรูปร่างเป็นหลอดกลม ๆ เป็นกระดูกอ่อนรูปวงแหวน
โดยหลอดลมจะอยู่บริเวณลำคอทอดยาวลงไปถึงปอด ปลายสุดของหลอดลมจะแยกออกเป็นหลอดลมซ้าย และขวา เพื่อ
ต่อเชื่อมกับปอดทั้งสองข้าว
3. ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบหายใจ ปอดมีลักษณะคล้ายกับลูกโป่ง 2 ลูก อยู่ในทรวงอก ปอดทั้งสองข้าง
เมื่อมีอากาศเข้าไปจะพองขึ้นโดยพื้นที่ผิวของปอดจะประกอบไปด้วยหลอดเลือดเล็ก ๆ เมื่อแก๊สออกซิเจนถูกหายใจเข้าปอดจะ
เข้าไปสู่กระแสเลือด แล้วไหลไปสู่ส่วนต่าง ต่าง ร่างกาย ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม
ปอด เมื่อหายใจออก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกนำออกจากร่างกาย
4. ถุงลมปอด ประกอบด้วยเนื้อเยื่อซึ่งมีลักษณะบาง ๆ รอบ ๆ ถุงลม มีหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก ทำหน้าที่
แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

กระบวนการหายใจ
เมื่อเราหายใจเข้า อากาศจากภายนอกร่างกายจะผ่านรูจมูกเข้าไปตามช่องจมูก ขนและเยื่อในช่องจมูกจะช่วยกรอง
ฝุ่นละอองที่ปนมากับอากาศไว้ อากาศจะถูกปรับอุณหภูมิ และความชื้นให้พอเหมาะแก่ร่างกาย ซึ่งจะผ่านหลอดคอเข้าสู่
หลอดลม และเข้าสู่ปอดในที่สุด ที่ปอดมีถุงลมเล็ก ๆ มีหลอดเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่ออากาศมาถึงบริเวณถุงลม
อากาศที่มีแก๊สออกซิเจนสูง จะแพร่ผ่านผนังถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย โดยเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง
จากนั้นจะไหลตามหลอดเลือดกับเข้าสู่หัวใจ เพื่อให้หัวใจสูงฉีดไปยังส่วนต่าง ต่าง ของร่างกาย

21
ขณะที่เลือดถูกลำเลียงไปตามหลอดเลือดนั้น แก๊สออกซิเจนจะแพร่จากเซลล์เม็ดเลือดแดงเข้าสู่เซลล์ ต่าง ต่าง ของ
ร่างกาย และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเซลล์ จะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด โดยละลายในน้ำเลือด และไหลกลับเข้าสู่หัวใจ

กลไกการหายใจ
จังหวะการหายใจเข้า - กระดูกซี่โครง  เลื่อนสูงขึ้น
จังหวะการหายใจออก - กระดูกซี่โครง  เลื่อนต่ำลง

จังหวะการหายใจเข้า - กระบังลม  หดตัว และเลื่อนต่ำลง


จังหวะการหายใจออก - กระบังลม  ขยายตัว และเลื่อนสูงขึ้น

จังหวะการหายใจเข้า - ปริมาตรในช่องอก  เพิ่มมากขึ้น


จังหวะการหายใจออก - ปริมาตรในช่องอก  ลดน้อยลง

จังหวะการหายใจเข้า - ความดันอากาศรอบ ๆ ปอด  ต่ำลง


จังหวะการหายใจออก - ความดันอากาศรอบ ๆ ปอด  สูงขึ้น

8.

ระบบขับถ่าย (Excretory System)


การขับถ่าย เป็นกระบวนการทางชีววิทยา ที่สิ่งมีชีวิตแยกของเสียออกจากร่างกาย ของเสียจะถูกกำจัดออกจาก
ร่างกายโดยการกำจัด (Elimination) ตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระบวนการขับถ่าย คือ การทำให้เกิดปัสสาวะ โดยไต
และการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปอด
การขับถ่าย เป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกายที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงาน และกระบวนการย่อยอาหารจะ
ถูกขับออกทางระบบขับถ่าย ซึ่งมีทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่
กากอาหารที่เหลือจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหาร และดูด
ซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียว และ

22
ข้นเป็นก้อนแข็ง จากนั้น ลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทาง
ทวารหนักในรูปของอุจจาระ

การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง
การขับเหงื่อ (Perspiration) เป็นกระบวนการขับถ่ายอีกอย่างหนึ่งที่จะกำจัดเกลือ และน้ำออกจากร่างกาย ถึงแม้ว่า
งานหลักจะทำเพื่อระบายความร้อนก็ตาม
เหงื่อ ประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อ ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง
ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด

1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้น ริมฝีปาก และอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการ


ขับเงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 99 สารอื่น ๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม
และยูเรีย
2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณรักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อจัย
ถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก ต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่า ยมักมีกลิ่น คือ กลิ่นตัว เหงื่อถูกลำลัยงไปตามท่อที่เปิดอยู่
เรียกว่า รูเหงื่อ

23
การกำจัดของเสียออกทางปอด
การกำจัดของเสียทางปอดในรูปของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์
จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้น หัวใจจะสูบฉีดเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด โดยปอดจะทำการกรองแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก

การกำจัดของเสียออกทางไต

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และหน้าที่ของระบบ


ขับถ่ายปัสสาวะ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ควบคุมความดันเลือด และปริมาตรเลือดในกาย ควบคุมระดับอิเล็กโทร
ไลต์ และแมแทบอไลต์ และควบคุมค่าความเป็นกรดเบสของเลือด ทางเดินปัสสาวะเป็นระบบระบายน้ ำของร่างกาย โดยการ
ขับปัสสาวะออกในท้ายที่สุด
ไต ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเส้นเลือดฝอย เช่น ยูเรีย น้ำ และเกลือแร่ ในรูปของปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ
ที่สุดในการขับถ่ายปัสสาวะ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง มีอยู่ 2 ข้าง โดยไตจะอยู่ด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กับกระดูกสันหลัง
และประกอบไปด้วย
1. กรวยไต มีลักษณะคล้ายกับกรวย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้ปัสสาวะไหลมารวมกัน
2. ท่อไต เป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้น้ำปัสสาวะไหลไปสู่กระเพาะปัสสาวะ วันหนึ่ง ๆ เลือดที่หมุนเวียน
ในร่างกาย ต้องผ่านมายังไต ในแต่ละนาที จะมีเลือดมายังไตที่ 1,200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียออกมา
ในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวด
ปัสสาวะเมื่อมีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ
1 - 1.5 ลิตร (ดูภาพประกอบ)

24
ระบบขับถ่ายปัสสาวะของมนุษย์

9.
สารเสพติด (Narcotic)
สารเสพติด หมายถึง สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีรับประทาน ดม
สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกาย และจิตใจ นอวกจากนี้ยังจะทำให้เกิดสารเสพติดได้ ต้องเพิ่มปริมาณ
การเสพขึ้นเรื่อย ๆ หรือทำให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ จะมีอาการผิดปกติ
ทางด้านร่างกาย และจิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจ

ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการต่อผู้เสพ ดังนี้


1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในปริมาณมากขึ้น
2. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
3. มีความต้องการเสพทั้งร่างกาย และจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

25
ประเภทของสารเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น เฮโรอีน ยาหนอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมีนเมาทุกชนิด
รวมทั้งสารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น ผู้เสพติด มีร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน
อารมณ์เปลี่ยนง่าย
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน ผู้เสพติดจะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย จิต
สับสนหวาดระแวง มีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และเห็ดขี้ควาย ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง เห็นแสงสี
วิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาด หรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือ ทั้งกระตุ้น กด และหลอนประสาทร่วมกัน ได้แก่ ผู้เสพติด มักมีอาการหวาดระแวง
ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้ และป่วยเป็นโรคจิตได้ สารประเภทนี้ ได้แก่ กัญชา

จำแนกตามแหล่งที่มา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) เป็นยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่ อม กัญชา เห็ดขี้ควาย เป็น
ต้น
2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) เป็นยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน แอม
เฟตามีน ยาอี เอคตาซี เป็นต้น

จำแนกตามกฎหมายพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ


1. ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอี หรือยาเลิฟ
2. ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้
ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคเคอีน และเมทาโดน
3. ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษที่ยาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มี
ประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติดจะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้ แก่ ยา
แก้ไอที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ต่าง เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
4. ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4 คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติด
ประเภทนี้ไม่มีการนำมาใข้ประโยชน็ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติลคลอไรด์ ซึ่ง
ใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูโดอีเฟดรีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก
12 ชนิด ที่นำมาผลิตยาอี และยาบ้าได้

26
5. สารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วน
ของกัญชา ทุกส่วนของกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

สาเหตุของการติดสารเสพติด
1. อยากทดลอง เกิดความอยากรู้อยากเห็น
2. ความคึกคะนอง โดยเฉพาะวัยรุ่น
3. การชักชวนของคนอื่น
4. ถูกหลอกลวง
5. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
6. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของผู้ติดสารเสพติด
1. ตาโรย ขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
2. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความขริง
3. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
4. ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีนดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยากล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
5. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำ เพราะม่านตาขยาย และเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
6. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีด

27

You might also like