You are on page 1of 21

พืชผัก

แคร์รอต
ชื่อสามัญไทย : แคร์รอต
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Carrot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Daucus carota L.
ชื่ออื่น ๆ : ผักกาดหัวเหลือง ผักหัวชี
ตระกูล : Apiaceae หรือ Umbelliferae
ลักษณะ : ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง สั้นๆเชื่อมอยู่ระหว่างรากกับใบ
มีลักษณะกลมๆ เป็นข้อสั้นๆ จะมีก้านใบแทงออกจากโคนลำต้น มีสีเขียวอ่อน
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว แทงออกบริเวณตรงโคนของลำต้น มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับรอบๆ มีใบย่อยออกเป็นคู่
มีลักษณะฝอยๆ เล็กๆ ใบมีสีเขียว
ราก มีระบบรากแก้ว เป็นรากแก้วที่พองโต เรียกว่าหัว ไว้เก็บสะสมอาหาร มีหัวขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ตาม
สายพันธุ์ มีลักษณะทรงกลมยาวเรียว มีสีส้ม สีม่วง สีเหลือง สีแดง สีดำ สีขาว ตามสายพันธุ์ แทงลงในดิน มี
รากฝอยเล็กๆออกรอบๆหัวเล็กน้อย มีเปลือกบางผิวเรียบ มีเนื้อแน่นฉ่ำน้ำ รสชาติหวานกรอบ
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยอยู่ ดอกมีลักษณะช่อซี่ร่ม มีขนาดเล็กๆ กลีบดอกมีสีขาว กลีบ
เลี้ยงสีเขียวอ่อน
ผล ออกเป็นเมล็ดจำนวนมาก มีลักษณะทรงยาวรี มีขนาดเล็กๆ เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่มีสีเทา
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการประกอบอาหาร เพราะมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่าง Beta carotene ซึ่ง
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำขนมได้อีกด้วย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ผักกาดขาว
ชื่อสามัญไทย : ผักกาดขาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Chinese Cabbage
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica pekinensis
ชื่ออื่น ๆ : ผักกาดขาวปลี แปะฉ่าย แปะฉ่ายลุ้ย
ตระกูล : Cruciferae
ลักษณะ : ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง มีลักษณะกลมๆ จะมีก้านใบหนา
และยาวอวบน้ำหุ้มอยู่ ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่ลำต้น จะห่อปลีหรือไม่ห่อปลี ตามสายพันธุ์ มีสีเขียว
อ่อน
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแตกออกอยู่โคนต้น ออกเรียงสลับรอบๆ ใบอยู่ด้านนอกใหญ่กว่าใบข้างในเล็กกว่า มี
ลักษณะทรงกลมรี โคนใบกว้างใหญ่กว่า ผิวใบบางเป็นมัน เห็นเส้นใบชัดเจน ขอบใบหยัก ใบมีสีเขียวอ่อน
เขียวปนเหลือง หรือสีเขียวแก่ มีก้านใบใหญ่ เป็นกาบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีขาวนวล รสชาติหวานกรอบ
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะอวบกลมๆ แทงลึกลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็กๆ ออกรอบๆบริเวณ
ลำต้น มีสีน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก แบบเชิงหลั่น มีดอกย่อยออกโคนไปที่ปลายยอด
ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน
ผล มีผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกลมเรียวยาว มีปลายเป็นจงอยยาว ฝักดิบมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล เมื่อฝักแก่
จัดจะแตกออก
เมล็ด เมื่อฝักแก่จัดผลจะแตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก เรียงอยู่ในฝัก มีลักษณะแบนยาวรี มีขนาดเล็กๆ มี
เปลือกหุ้มเมล็ดบาง มีสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการประกอบอาหาร มีคุณค่าทางอาหารมากมาย และมีสรรพคุณทางยาสามารถช่วยใน
เรื่องการย่อยอาหาร แก้ไอ ขับปัสสาวะ ท้องผูก ใช้ได้ทั้งหัว เมล็ด และใบ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
หอมใหญ่
ชื่อสามัญไทย : หอมใหญ่
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Onion
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alium cepa Linn.
ชื่ออื่น ๆ : หอมฝรั่ง, หัวหอม, หัวหอมใหญ่ และ หอมหัว
ตระกูล : Liliaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะทรงกลม ลำต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดย
รอบๆ มีสีเขียวอ่อน
ราก ระบบรากฝอยเล็กๆ สีน้ำตาล ออกเป็นกระจุก ด้านล่างของหัว
หัว มีลักษณะทรงกลมแป้น หรือทรงกลมรี หัวอ่อนมีเปลือกกาบใบห่อหุ้มหลายๆชั้นสีขาว หัวแก่มีเปลือกด้าน
นอกแห้งมีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นฉุน รสชาติเผ็ดร้อน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ อยู่เป็นกระจุก ใบเป็นท่อยาว ใบมีลักษณะดาบยาวรี ปลายแหลม ใบกลมข้างใน
กลวง โคนใบเป็นกาบใบสีขาว ออกหุ้มสลับซ้อนกันอยู่ตรงโคนลำต้น ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่น
ฉุนแรง
ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกมาจากตรงกลางลำต้น ก้านช่อดอกยาวกลมข้างในกลวง ดอกมีลักษณะคล้ายร่ม
ทรงกลมแล้วจะบานออก มีดอกย่อยเล็กๆอยู่บนก้านจำนวนมาก กลีบดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านมีสีเขียว มี
รสชาติหวานกรอบ
ผล มีลักษณะกลมๆ ผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดอยู่ข้างในผล
เมล็ด เมื่อผลแก่แตกออกได้ มีเมล็ดอยู่ข้างใน มีเมล็ดเป็นพู 3 เมล็ดต่อผล มีลักษณะทรงรีเล็กๆ ผิวเรียบ มีสีดำ
การใช้ประโยชน์ : ใช้ประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยาช่วยในเรื่องการเป็นหวัด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
และสามารถใช้ตกแต่งบ้านได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ผักบุ้ง
ชื่อสามัญไทย : ผักบุ้ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Water morning glory
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomocea aquatica Forsk.
ชื่ออื่น ๆ : ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
ตระกูล : Convolvulaceae
ลักษณะ : ผักบุ้งเป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุก
ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะๆ
ลำต้นกลวงสีเขียวมีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับเช่นรูปไข่รูปไข่แถบขอบขนาน
รูปหอก รูปหัวลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อยปลายปลายใบแหลมหรือมนฐานใบเว้าป็นรูปหัวใจ
ดอกเป็นรูประฆังออกที่ซอกใบแต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเรียงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาว สีม่วงแดง
สีชมพูม่วงกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปกรวยมีสีขาวอยู่ด้านบนและมีสีม่วงหรือสีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี 5 อัน
ยาวไม่เท่ากัน
ผลเป็นแบบแคปซูลรูปไข่หรือกลมสีน้ำตาลมีเมล็ดกลมสีดำ
การใช้ประโยชน์ : ใช้ประกอบอาหาร มีสารที่สำคัญต่อร่างกายเช่น วิตามินเอ แคลเซียมและอื่น ๆ อีกมากมาย
เมื่อกินแล้วจะช่วยในเรื่องการบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ถอนพิษแมลง รักษาแผล แก้
ปวดหัว เป็นต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
กวางตุ้ง
ชื่อสามัญไทย : กวางตุ้ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Chinese Cabbage-PAI TSAI
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica rapa L.
ชื่ออื่น ๆ : ผักกาดเขียวกวางตุ้ง,ผักกาดจ่อ,ผักกาดดอก (ทั่วไป), ผักกาดฮ่องเต้, ผักกวางตุ้งฮ่องเต้, กวางตุ้ง
ไต้หวัน, ผักกาดสายซิม (ภาคใต้), ปากโชย (ภาษาไต้หวัน)
ตระกูล : Cruciferae , Brassicaceae
ลักษณะ : ผักกวางตุ้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สายพันธุ์สีขาว และสายพันธุ์สีเขียว ได้แก่ ผักกาดเขียว
กวางตุ้ง ผักกวางตุ้งใต้หวัน ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกาดฮ่องเต้
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ก้านใบหนาและยาว
อวบน้ำ ปกคลุมที่ฐานลำต้น มีสีเขียวอ่อน หรือสีขาวตามสายพันธุ์
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่ ผิวใบบางเรียบ ใบมีสีเขียว มีก้านใบหนาและ
ยาวอวบน้ำ ก้านมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาว ตามสายพันธุ์
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสี
น้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อยออกที่ปลายยอด ดอกย่อยเริ่มบานจาก
ที่โคนด้านล่างก่อน ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลืองสด
ผล มีผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกลมเรียวยาว มีปลายจะงอยแหลม ฝักดิบมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล เมื่อฝักแก่
จัดผลจะแตกออก ข้างในมีเมล็ดเรียงอยู่
เมล็ด เมื่อฝักแก่จัดจะแตกออก มีเมล็ดจำนวนมากเรียงอยู่ในฝัก มีลักษณะทรงกลม มีขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาล
เข้ม
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการประกอบอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงสายตา กระดูก และฟัน แก้อาการท้องผูก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
กะเพรา
ชื่อสามัญไทย : กะเพรา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Holy basil, Thai basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenuiflorum L.
ชื่ออื่น ๆ : เชียงใหม่ - กอมก้อ, กอมก้อดง แม่ฮ่องสอน - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ กะเหรี่ยง - ห่อกวอซู,
ห่อตูปลู เงี้ยว – อิ่มคิมหลำ ภาคกลาง - กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง) ภาคอีสาน - อีตู่ข้า
ตระกูล : LABIATAE
ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราะแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและ
กะเพราขาว ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า
เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.3 – 1.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โคนต้นแข็ง มีขน
คลุมทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามาก และมีกลิ่นหอมแรง
ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลาย
ใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวหรือสีแดง และมีขนปกคลุม
ทั้งสองด้าน ก้านใบสีเขียวหรือสีแดงแล้วแต่พันธุ์
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อที่ยอดหรือปลายกิ่ง ริ้วประดับรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบมี
ขน ดอกย่อยแบบสมมาตรด้านข้าง ก้านดอกโค้งยาวมีขน มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นปาก
กลีบดอกสีขาวอมม่วงหรือสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยกเป็นปาก ปากบนมีแฉกมนๆ 4 แฉก ปาก
ล่างโค้งลง แบน ขอบเรียบ ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ผล เป็นแบบผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว มีขนาดเล็ก ปลายมน เกลี้ยง
เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปไข่ สีน้ำตาลมีจุดสีเข้ม หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของเมล็ด
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการประกอบอาหาร มีสรรพคุณในการขับลม บรรเทาท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และ
สามารถไล่แมลงได้ สามารถใช้ได้ทุกส่วนของต้น
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
กุยช่าย
ชื่อสามัญไทย : กุยช่าย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Chinese Chives
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler ex Spreng.
ชื่ออื่น ๆ : ผักไม้กวาด ผักแป้น
ตระกูล : AMARYLLIDACEA
ลักษณะ : ต้นกุยช่าย จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กและแตกกอ
ใบกุยช่าย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบแบน ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่โคนเป็นกาบบางซ้อน
สลับกัน
ดอกกุยช่าย หรือ ดอกไม้กวาด ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ลักษณะช่อดอกเป็นแบบซี่ร่ม ก้านช่อ
ดอกกลมตันยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร (ยาวกว่าใบ) ออกดอกในระดับเดียวกันที่ปลายของก้านช่อดอก
ด้านดอกมีความเท่ากัน และมีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นก็จะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอกมีสี
ขาว 6 กลีบ มีความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร โคนติดกัน ปลายแยก ที่กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสี
เขียวอ่อน ๆ จากโคนกลีบไปหาปลาย เมื่อดอกบานจะกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 ก้านอยู่ตรง
ข้ามกับกลีบดอก และเกสรตัวเมียอีก 1 ก้าน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
ผลกุยช่าย ลักษณะของผลเป็นผลกลม มีความกว้างและยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ภายในมีช่อง 3 ช่องและมี
ผนังตื้น ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกตามตะเข็ม ในผลมีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด
เมล็ดกุยช่าย มีลักษณะขรุขระสีน้ำตาลแบน
การใช้ประโยชน์ : สามารถใช้ใบและดอกมาประกอบอาหาร ใบมีฟอสฟอรัสสูง ช่วยในบำรุงกระดูกและ
สามารถแก้หวัดได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
พริกขี้หนู
ชื่อสามัญไทย : พริกขี้หนู
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Cayenne Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.
ชื่ออื่น ๆ : ดีปลี (ปัตตานี) ดีปลีขี้นก (ภาคใต้) ปะแกว (นครราชสีมา) พริก (ภาคกลาง,ภาคเหนือ) พริกแด้ พริก
แต้ พริกนก (ภาคเหนือ) หมักเพ็ด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตระกูล : Solanaceae
ลักษณะ : ต้นพริกขี้หนูจัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เซนติเมตร
แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปน
เหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น ใน
ประเทศไทยพบได้ทุกภาค
ใบพริกขี้หนู ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือรูปวงรี ปลายใบ
แหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวมันวาว
ดอกพริกขี้หนู ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ
กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน โดยจะขึ้นสลับกับ
กลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน และมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
ผลพริกขี้หนูมีลักษณะยาวรี ปลายผลแหลม ออกในลักษณะหัวลิ่มลง เป็นผลสดสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยน
เป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล ลักษณะของผลมีผิวลื่น ภายในผลกลวงและมีแกนกลาง รอบ ๆ แกน
จะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก
เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด เมล็ดมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร
การใช้ประโยชน์ : มีรสชาติเผ็ด ใช้ในการประกอบอาหาร ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ลดระดับน้ำตาลใน
เลือด ใช้ในการลดน้ำหนัก ที่ผลมีสาร Capsaicin ลดการจับตัวกันของเลือด และสารสกัดจากพริกขี้หนู
สามารถฆ่าแมลงได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
กระเทียม
ชื่อสามัญไทย : กระเทียม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Garlic
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
ชื่ออื่น ๆ : กระเทียมขาว, หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (ภาคเหนือ) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เทียม,
หัวเทียม (ภาคใต้) กระเทียม, กระเทียมจีน (ทั่วไป)
ตระกูล : ALLIACEAE
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบ
หลายกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละกลีบจะมีเปลือกหรือกาบสีขาวหรือม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 2 - 4 ชั้นโดยรอบ
ลอกออกได้และสามารถแยกออกจากหัวเป็นอิสระได้ บางพันธุ์แต่ละหัวมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียม
โทน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปขอบขนาน แบนและแคบยาว ปลายใบแหลม โคนของใบแผ่เป็นแผ่นและเชื่อม
ติดกันหุ้มรอบใบอ่อนกว่าด้านใน ลักษณะคล้ายลำต้นเทียม ขอบใบเรียบ ท้องใบมีรอยพับเป็นสันตลอดความ
ยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว เล็ก ติดกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ มีลักษณะกลม ประกอบด้วยดอก
หลายดอก มีกาบหุ้มเป็นจะงอยยาว กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปร่างยาวแหลม สีขาวแต้มสีม่วงหรือขาวอมชมพู
ผลขนาดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู
เมล็ด เมล็ดเล็ก สีดำ สามารถขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกับกลีบกระเทียม ซึ่งการปลูกกระเทียมในประเทศไม่ค่อย
ออกดอกหรือติดผลหรือเมล็ด
การใช้ประโยชน์ : หัวใช้ในการประกอบอาหารหรือทานสดจะช่วยในเรื่องหลอดเลือดอุดตัน ความดัน ใบมี
รสชาติร้อนฉุนทำให้เสมหะแห้ง แก้ลมในช่องท้อง
การขยายพันธุ์ : ใช้กลีบในการปลูก
ตะไคร้
ชื่อสามัญไทย : ตะไคร้
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Lemon Grass, Lapine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่ออื่น ๆ : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ตระกูล : GRAMINAE
ลักษณะ : ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูป ทรง
กระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี
ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลาง
ใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต
ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ
การใช้ประโยชน์ : ทั้งต้นสามารถนำมาปรุงอาหาร ทำน้ำตะไคร้ มีสรรพคุณในการแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มี
คุณสมบัติกันยุงได้
การขยายพันธุ์ : แยกกอ หรือหัวออกมาปลูกเป็นต้นใหม่ ปักชำ เพาะเมล็ด
กะหล่ำปลี
ชื่อสามัญไทย : กะหล่ำปลี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Cabbage
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea var. capitata L.
ชื่ออื่น ๆ : กะหล่ำใบ
ตระกูล : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)
ลักษณะ : กะหล่ำปลีแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ กะหล่ำปลีธรรมดาหรือกะหล่ำปลีขาว กะหล่ำปลีม่วงหรือ
กะหล่ำปลีแดง และกะหล่ำปลีใบย่น
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะกลมสั้นๆ มีเป็นข้อสั้นๆจะมีก้านใบหุ้มโดยรอบๆลำต้น ลำต้นมีสี
ขาวนวล สีเขียว สีม่วง
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงเวียนตรงข้อรอบๆลำต้น มีลักษณะทรงกลม มีใบกว้าง ใบจะหุ้มโดยรอบๆลำต้น
มีใบหุ้มชั้นนอกหลายชั้น กลมแน่นๆ ก้านใบสั้น จะมีสีเขียว สีขาวและสีม่วง ตามสายพันธุ์ มีรสชาติหวานกรอบ
มีกลิ่นเฉพาะตัว
ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงในดิน มีลักษณะกลม มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ ออกรอบบริเวณลำต้น จะมีสี
น้ำตาล
ดอก ช่อดอกมีหลายช่อ ช่อดอกเป็นกระจุก ทรงกลม เบียดกันแน่น มีสีขาว สีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ก้าน
ดอกสั้น อยู่ปลายของลำต้น
ผล มีผลเป็นฝัก มีลักษณะเรียวยาว ปลายฝักแหลม ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เมื่อฝักแก่จัดแตกออกได้ มี
เมล็ดเล็กๆเรียงซ้อนกันอยู่ข้างใน
เมล็ด อยู่ในฝัก มีลักษณะกลมๆ มีขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาล มีสีดำ
การใช้ประโยชน์ : ใบใช้ในการประกอบอาหาร ช่วยในการลดน้ำหนัก และกะหล่ำสามารถปลูกไว้เป็นไม้
ประดับได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
คะน้า
ชื่อสามัญไทย : คะน้า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Kale
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. cv. Alboglaba group
ชื่ออื่น ๆ : จีนกวางตุ้งเรียกว่า ไก๋หลาน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กำหนำ
ตระกูล : BRASSICACEAE
ลักษณะ : ที่นิยมปลูกกันอยู่มี 2 ประเภทคือ คะน้าใบ มีลักษณะต้นอวบใหญ่ ก้านเล็ก ใบกลมหนา กรอบ
ทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดี และคะน้ายอดหรือคะน้าก้าน มีลักษณะต้นอวบใหญ่ มีดอกสีขาว ใบแหลม ก้าน
ใหญ่
ประเภทผักล้มลุก อายุ 2 ปี (นิยมปลูกเป็นผักฤดูเดียว)
ลำต้น พุ่มสูง 30-45 เซนติเมตร ลำต้นกลมสีเขียวอ่อน
ใบ ใบรีแกมรูปไข่ แผ่นใบหนา สีเขียวอมเทา ผิวใบมีนวลเกาะ คะน้าที่นิยมปลูกมี 3 ชนิดคือ คะน้าใบกลม ต้น
อวบใหญ่ ก้านเล็ก ปลายใบมน ข้อปล้องสั้น ผิวใบเป็นคลื่น คะน้าใบแหลม ใบแคบกว่าคะน้าใบกลม ปลาย
แหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ และคะน้ายอดหรือคะน้าก้าน มีลำต้นอวบใหญ่ ใบแหลม ข้อห่าง จำนวนใบต่อต้น
น้อย
เมล็ด รูปกลม สีน้ำตาลเทา มีขนาดเล็ก
การใช้ประโยชน์ : สามารถนำลำต้น ก้าน ใบมาใช้ปรุงอาหารหรือทานสดก็ได้ มีแคลเซียมมาก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
โหระพา
ชื่อสามัญไทย : โหระพา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Sweet Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.
ชื่ออื่น ๆ : ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ตระกูล : Labiatae
ลักษณะ : ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงมีความสูง 8-28 นิ้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม
แตกกิ่งก้านสาขามีมากผิวเปลือกลำต้นมีเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุมทั้งลำต้นมีกลิ่นหอม
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบ หรือมีหยักเล็ก
น้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 ซม. ยาวประมาณ 2-6 ซม. ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.7-2
ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ชั้น ๆ คล้ายฉัตร ออกอยู่ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อม
ติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 9 มม.
ผล พอดอกร่วงโรยก็จะติดผล เป็นสีน้ำตาล ผลหนึ่งมีเมล็ด .4 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็น รูปกลมรี มีขนาด
ยาวประมาณ 2 มม.
การใช้ประโยชน์ : นำมาประกอบอาหาร ช่วยทำให้กลิ่นอาหารดี กลบกลิ่นคาว มีการใช้ในแต่งกลิ่นยาสีฟัน
โลชั่น และอื่น ๆ สามารถใช้น้ำมันโหระพาไล่แมลงได้
การขยายพันธุ์ : ปักชำ เพาะเมล็ด
มะระขี้นก
ชื่อสามัญไทย : มะระขี้นก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Balsam apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่ออื่น ๆ : ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง)
ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระ
เล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)
ตระกูล : Cucurbitaceae
ลักษณะ : ไม้เถาล้มลุก เป็นเถาเลื้อยหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน เถาหรือลำต้นเป็นเส้นเล็กๆ ยาวได้ถึง 5
เมตร มีขนนุ่มๆ ขึ้นประปราย เป็นไม้เนื้ออ่อน มีสัน 5 เหลี่ยมเรียบหรือมีขน และมีร่องตื้นๆ ตามแนวยาว มีมือ
เกาะสำหรับยึด แบบเดี่ยว เถาหรือลำต้นอ่อนสีเขียว
ใบ เดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบกว้างรูปไข่ถึงรูปไตหรือคล้ายทรงกลม เรียบมีขนนุ่มเล็กน้อย โดยเฉพาะที่เส้นใบทั้ง 2
ด้าน โคนใบเว้ารูปหัวใจ ใบหยักลึกรูปมือ 5-9 หยัก แต่ละหยักรูปไข่กลับรูปไข่เรียวยาวหรือรูปเหลี่ยมข้าว
แหลมตัดแคบไปหาโคนปลายแหลมมีติ่งขอบใบเว้าเป็นคลื่นซี่ฟัน 5-7 หยัก หรือเป็นคลื่นเล็กๆ ก้านใบยาว 1-7
ซม.
ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ตามบริเวณซอกใบและปลายยอด ช่อหนึ่งมี 5 – 8 ดอก ดอกเพศผู้
และดอกเพศเมียอยู่คนละดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลืองรูประฆังมี 5 แฉก ผิวขรุขระมาก ห้อยลง
รูปไข่กว้างสอบเรียวลงเป็นจงอย มีเส้นใบแถวไม่เรียบตามยาว 8-9 แถว ระหว่างแถวมีตุ้มเล็กๆ ขนาดไม่เท่า
กันมากมาย โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบดอกอาจจะมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย
ผล เป็นผลเดี่ยว ลักษณะผลป้อมเล็กรูปกระสวยหรือรูปรี ผิวภายนอกผลขรุขระเป็นคลื่นทั่วทั้งผล โคนและ
ปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียวสด เมื่อสุกจะสีส้มหรือสีเหลืองอมแดงและผลนั้นก็จะแตกที่ปลายแยกออกเป็น 3
ส่วน
เมล็ด ลักษณะรูปกลม แบน สีขาวหรือน้ำตาลรูปคู่ขนาน มีเนื้อสีแดงหุ้ม ผิวมีลวดลายขอบเป็นร่อง เมล็ดสุกจะ
มีสีแดงสด
การใช้ประโยชน์ : สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือลวกให้สุกแล้วจิ้มน้ำพริกกิน ใบ ผล ราก ดอกมีสรรพคุณ
ทางยา
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ชะอม
ชื่อสามัญไทย : ชะอม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Climbing Wattle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia pennata Willd.
ชื่ออื่น ๆ : ผักหละ(เหนือ),ฝ่าเซ้งดู่,พูซูเด๊าะ (กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)โพซุยโดะ(กระเหรี่ยง,
กำแพงเพชร),อม(ใต้),ผ้กขา(อุดรธานี,อีสาน), ผักหล๊ะ(ไทยยอง)
ตระกูล : MIMOSEAE
ลักษณะ : ประเภทไม้รอเลื้อย อายุหลายปี
ลำต้น ทุกส่วนปกคลุมด้วยหนามแหลม
ใบ ประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเล็ก ๆ จำนวนมาก ในช่วงกลางวันใบจะแผ่กางออกพอตกเย็นจะหุบห่อเข้า
คล้ายนอนหลับ
ดอก ช่อดอกเป็นกระจุกกลมเล็ก ๆออกตามซอกใบ คล้ายกับดอกกระถิน แต่เรามักไม่ค่อยสังเกตเห็น
การใช้ประโยชน์ : สามารถนำมาทำอาหาร อุดมไปด้วยฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กและวิตามินเอ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง โน้มกิ่งชะอมฝังดินทำให้แตกรากใหม่
ผักชี
ชื่อสามัญไทย : ผักชี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Coriander
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L.
ชื่ออื่น ๆ : ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ)
ยำแย้ (กระบี่)
ตระกูล : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ลักษณะ : ใบ ใบของผักชีนั้นมีลักษณะคล้ายทรงกลม แต่มีรอยขอบหยักอยู่โดยรอบทำให้ดูเหมือนพัด มีกลิ่น
หอมเป็นเอกลักษณ์ ส่วนใบอ่อน จะมีลักษณะคล้ายกับขนนก
ต้น ลำต้นของผักชีนั้น ก็เป็นอีกส่วนที่มีกลิ่นหอมไม่แพ้กัน โดยลักษณะโดดเด่นของลำต้นผักชี คือ มักจะเป็น
ก้านเล็กๆยาวๆ และค่อนข้างอ่อน เหมาะแก่การนำมารับประทาน
ดอก ลักษณะเด่นของพืชตระกูลผักชีนั้นอยู่ที่ดอก โดย ดอกของผักชีมักจะมีลักษณะเป็นช่อมีซี่ร่ม ดอกของ
ผักชีนั้นมีทั้งแบบสีขาว และสีม่วงแดงอ่อนๆ
อายุไข ผักชีเป็นพืชล้มลุก ที่มีอายุค่อนข้างสั้น โดยจะมีช่วงของการเจริญเติบโตเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น
การใช้ประโยชน์ : ตกแต่งหน้าอาหาร มีกลิ่นหอมสามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ มีสรรพคุณในการบำรุง
กระเพาะ รากผักชีใช้เป็นเครื่องเทศ สำหรับใช้หมักเนื้อสัตว์ต่างๆ ใช้เพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
แตงกวา
ชื่อสามัญไทย : แตงกวา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis sativus L.
ชื่ออื่น ๆ : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาค
อีสาน)
ตระกูล : Cucurbitaceae
ลักษณะ : ลำต้น มีลำต้นเดี่ยว เป็นเถาเลื้อย ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เถาแข็งและเหนียว มีสีเขียว มีอายุสั้น
มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ
ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงดิน มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ ออกรอบๆ มีสีน้ำตาล
ใบ เป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มีลักษณะรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม มีสีเขียว มีก้านใบยาวรองรับ ใบมีขน
หยาบ
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มี 2 เพศ ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลือง ดอกตัวเมียมีลูก
แตงกวาเล็กๆ ติดมาด้วย ดอกตัวผู้ เป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ดอกตัวผู้มี
เกสรยื่นออกเล็กน้อย และไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
ผล มีลักษณะทรงกลม ทรงกระบอก เรียวยาว มีใส้ภายในผล มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีรสชาติกรอบ
อร่อย แตงกวาพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีขนาดผลเล็กกว่า พันธุ์ต่างประเทศ ผลมีสีเขียวเข้ม ใช้รับประทานเมื่อ
ยังอ่อน
เมล็ด อยู่ภายในผล จะมีหลายเมล็ดในผล ภายในไส้มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เมล็ดมีลักษณะทรงยาวรี เมล็ดมีสี
น้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : สามารถกินสดได้ เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น
หรือจะใช้แตงกวาสดในการมากส์หน้าก็ได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ถั่วฝักยาว
ชื่อสามัญไทย : ถั่วฝักยาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : yardlong bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna sesquipedalis Koern.
ชื่ออื่น ๆ : ถั่วขาว, ถั่วนา, ถั่วดำ, ถั่วฝักยาว(ไทย), ถั่วมะแปะ, ถั่วชิ้น, ถั่วหมาเน่า, ถั่วดอ, ถั่วสาย, ถั่วปี๋, ถั่วไส้
หมู(พายัพ), ถั่วพุงหมู(ปราจีน), กังเต่า(จีน-แต้จั๋ว)
ตระกูล : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ลักษณะ : ไม้เถาล้มลุก (HC) ลักษณะเถาเลื้อยตามหลักไม้หรือหลังคาที่ทำไว้เพื่อเลื้อย ตามลำต้นอาจมีขนเล็ก
น้อยหรือไม่มีเลย
ใบ เป็นใบประกอบ ช่อใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ ลักษณะใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบกว้างมน หูใบ
มีเส้นเล็กๆ 2 เส้นอยู่ตรงส่วนโคนของก้านใบและติดกับลำต้น แผ่นใบมีเส้นแขนง 2 เส้นมองเห็นชัดเจน ใบมีสี
เขียวเข้ม
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะรูปดอกถั่ว ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมีลักษณะคล้ายผีเสื้อ สีม่วง
อ่อนหรือสีขาวอมเหลือง
ผล ผลออกเป็นฝักยาวประมาณ 20-30 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด
เมล็ด ลักษณะคล้ายไตหรือกลมเล็กน้อย
การใช้ประโยชน์ : สามารถกินสดหรือประกอบอาหาร ใบ เปลือกฝัก เมล็ด และรากมีสรรพคุณทางยา
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
บรอกโคลี
ชื่อสามัญไทย : บรอกโคลี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : broccoli
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea var. italica
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Cruciferae
ลักษณะ : ต้น มีลักษณะกลมๆ ลำต้นตั้งตรง มีขนาดใหญ่อวบ จะมีใบหุ้มโดยรอบๆ จะมีสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะมีโคนใบกว้าง ใบยาวปลายแหลม ใบจะหุ้มโดยรอบๆลำต้น มีใบหุ้มชั้นนอกหลายชั้น
ผิวใบเรียบ ขอบใบหยัก ไม่มีก้านใบ จะมีสีเขียว
ราก มีระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมเล็ก มีรากแขนงฝอยๆ จะมีสีน้ำตาล
ดอก อยู่เป็นช่อ เป็นดอกเดี่ยว มีดอกย่อยขนาดเล็กๆ อยู่รวมกันเป็นช่ออัดตัวกันแน่น ในดอกเดียวกัน ดอกมี
หลายช่อเกาะกลุ่มแน่นเป็นช่อๆ อยู่เป็นกระจุก มีสีเขียว สีม่วง ตามสายพันธุ์ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ก้านดอกสั้น
อยู่ปลายของลำต้น เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ รสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นเฉพาะตัว
เมล็ด มีลักษณะกลม มีขนาดเล็กๆ เมื่อแก่ผลแตกออก จะมีสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : ใช้ประกอบอาหาร มีคุณค่าทางอาหารอย่างมาก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
หน่อไม้ฝรั่ง
ชื่อสามัญไทย : หน่อไม้ฝรั่ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Asparagus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus officinalis Linn.
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Liliaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีเหง้าเล็กๆใต้ดินแตกกอ ออกหน่อเหนือดิน มีลำต้นแบ่งเป็นสอง
ส่วน ลำต้นใต้ดินมีสีขาวและลำต้นเหนือดิน มียอดอ่อนหรือหน่ออ่อน จากเหง้าเป็นลำต้นเหนือดิน มีลักษณะ
ทรงกลม ยาวเป็นแท่ง มีใบเป็นเกล็ดบางๆตามข้อ มีสีม่วง สีเขียวอ่อน และหน่อออกอยู่ใต้ดินมีสีขาว ใช้รับ
ประทาน มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นเฉพาะตัว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นต้น จะมีกิ่งก้านสาขาแตกออก
ราก มีระบบรากแก้ว มีรากฝอย มีลักษณะฝอยเล็กๆ แผ่ขยายออกรอบๆ มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาล
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีก้านใบยาว ออกตามข้อ ออกเรียงสลับกัน ออกเรียงเวียนรอบๆลำต้น มีก้าน
ใบย่อย มีใบมีลักษณะฝอยเล็กๆ มีสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อ ออกตามกิ่งตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อย อยู่เป็นกระจุก มีลักษณะรูประฆัง ทรง
ยาวรีเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลืองนวล ก้านมีสีเขียว
ผล มีลักษณะทรงกลม เล็กๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงส้ม ผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดอยู่ข้างในผล
เมล็ด เมื่อผลแก่แตกออกได้ มีเมล็ดอยู่ข้างใน มีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อผล มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ มีสีดำ
การใช้ประโยชน์ : ประกอบอาหาร เป็นแหล่งให้โฟเลต เบตาแคโรทีน วิตามินซี อี และโพแทสเซียม คลินิก
เกอร์ลินซึ่งมีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคด้วยน้ำผักผลไม้ตามแนวทางของแพทย์ธรรมชาติบำบัด ถือว่าน้ำหน่อไม้
ฝรั่งเป็นแหล่งให้วิตามินอีที่ดี
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

You might also like