You are on page 1of 2

ตองแตก

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Baliospermum montanum Muell.A
ชื่อพ้อง :
Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh
ชื่อสามัญ :

วงศ์ :
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :
ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์) ถ่อนดี ทนดี (ภาคกลาง, ตรัง) โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-
แม่ฮ่องสอน) นองป้อง ลองปอม (เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 ซม. ยอดอ่อนมีขน ใบ
เดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน ใบที่อยู่ตามปลายยอดรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 ซม.
ยาวประมาณ 7 ซม. ใบที่ตามโคนต้นมักจักเป็นพู 3-5 พู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเกือบกลม กว้าง
ประมาณ 7.5 ซม. ยาว 15-18 ซม. โคนสอบหรือมน มีต่อม 2 ต่อม ปลายแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ
ไม่สม่ําเสมอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และออกสองข้างของเส้นกลางใบ ข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบ
ด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน เนื้อบาง ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้น
เดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเล็กเรียว ยาว 3.5-12 ซม. ดอกเพศผู้ มีจํานวนมาก อยู่ทางตอนบนของ
ช่อ ดอกมีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. ก้านดอกย่อยเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยง
มี 4-5 กลีบ รูปกลม ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกมีต่อม 4-6 ต่อม เกสรเพศผู้มี 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ดอก
เพศเมียออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้นๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศ
เมียแยกเป็น 2 แฉก ม้วนออก ผล เป็น 3 พู กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมีย
ติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบ
ขนาน ตองแตก ขึ้นในป่าดิบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้างทั่วไป ถึงระดับความสูง 700 เมตร เขตกระจายพันธ์
ตั้งแต่อินเดีย (พบไม้ต้นแบบ) ปากีสถาน บังคลาเทศ ลงมาถึงพม่า อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย
ส่วนที่นํามาใช้ประโยชน์และสรรพคุณ :
ราก - เป็นยาถ่าย ถ่ายไม่ร้ายแรงนัก ถ่ายลมเป็นพิษ ถ่ายพิษพรรดึก ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (และมีคุณ
คล้ายหัวดองดึง) ถ่ายแก้น้ําดีซ่าน
ใบ, เมล็ด - เป็นยาถ่าย ยาถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม
เมล็ด - เป็นยาถ่ายแรงมาก (ไม่นิยมใช้)
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ํา 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือ
เล็กน้อยรับประทาน
ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้
-ยังไม่มีข้อมูล-
ข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบตองแตกแห้งสามารถแยกสารได้ 11 ชนิด เป็นของแข็ง 3 ชนิด
ซึ่งมีจุดหลอมเหลว 71.0-72.0, 135.0-137.0 และ 88.0-89.0 องศาเซลเซียส เป็นน้ํามัน 8 ชนิด โดยสารที่
เป็นของแข็ง 2 ชนิดแรก และน้ํามันทั้ง 8 ชนิด พบในผลสกัดเฮกเซน ส่วนของแข็งอีกชนิดหนึ่งพบทั้งในผล
สกัดเฮกเซนและผลสกัดไดคลอโรมีเทน โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพและปฏิกิริยาเคมีร่วมกับหลักบานทางส
เปกโทรสโกปี ได้ทําการพิสูจน์โครงสร้างของสารได้ 4 ชนิด ตามลําดับ คือ ชนิดแรกเป็นของผสม
ไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรง (C29-C34) ชนิดที่สองเป็นของผสมของ Beta-sitosterol (C29 H50O) และ stigmasterol
(C29 H48O) ชนิดที่สามเป็นของผสมของแอลกอฮอล์โซ่ตรงส่วนที่พบในผสสกัดเฮกเซนประกอบด้วย C30, C32,
C34 และ C35ส่วนที่พบในผลสกัดไดคลอโรมีเทน ประกอบด้วย C30, C32, C34 และ C36 ชนิดที่สี่ซึ่งเป็นน้ํามัน
คาดว่าเป็นไตรกลีเซอไรด์ของ 12-methyltridecanoic acid และ 14-metylpentadecanoic acid ที่มีสาร
อื่ น เ จื อ ป น ส่ ว น น้ํ า มั น อี ก 7ช นิ ด ไ ม่ ไ ด้ ทํ า ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ห า สู ต ร โ ค ร ง ส ร้ า ง
1

เอกสารอ้างอิง
1
อรอนงค์ วัจนะพุกกะ, พัชรา ติละกุล. สารเคมีจากใบตองแตก.โครงการพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ 1994

29

You might also like