You are on page 1of 29

ผลไม้

น้อยหน่า
ชื่อสามัญไทย : น้อยหน่า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Sugar Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L.
ชื่ออื่น ๆ : น้อยแน่ (ภาคใต้) มะนอแน่ มะแน่ ( ภาคเหนือ) มะออจ้า มะ
โอล่า (เงี้ยว-ภาคหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) หน่อเกล๊าะแซ (เงี้ยว-
แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน)
ตระกูล : Annonaceae
ลักษณะ : ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. เรือนยอดเป็ นพุ่มกลม แตกกิ่ง
ก้านสาขาออกเป็ นก้านเล็ก ๆ ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล
ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6
ซม. ยาว 7-13 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม
ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ กลีบดอก
6 กลีบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสี
เหลืองอมเขียว หนาอวบน้ำ มีเกสรเพศผู้และรังไข่จำนวนมาก
ผล ผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม ผิวขรุขระเป็ นช่อง ในแต่ละช่องนั้นภายใน
เป็ นเนื้อสีขาว และมีเมล็ดสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน
เปลือกผลสีเขียว ถ้าสุกตรงขอบ ช่องนูนนั้นจะออกสีขาวบีบดูจะนุ่ม ๆ
การใช้ประโยชน์ : ผลสามารถกินได้ ใบผสมกับเหล้าขาวกำจัดเหาได้
เมล็ดกำจัดเห็บหมัดในสุนัขได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบยอด
ทุเรียน
ชื่อสามัญไทย : ทุเรียน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Durian
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus Murray
ชื่ออื่น ๆ : ภาคเหนือเรียก มะทุเรียน ภาคใต้เรียก เรียน มาเลเซีย-ใต้
เรียก ดูรียัน (กัวลาลัมเปอร์-เคดาห์) ดือแย (กลันตัน-ตรังกานู)
ตระกูล : Bombacaceae
ลักษณะ : ต้น สูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านจากลำต้น
โดยรอบ เรือนยอดทรงกลมหรือทรงเจดีย์ เปลือกสีเทาหรือน้ำตาลแดง
ใบ เป็ นใบเดี่ยว เขียวเป็ นมัน ใต้ใบเป็ นสีน้ำตาล ปลายใบแหลม ขอบใบ
เรียบ รูปขอบขนาน ก้านใบอวบอ้วน
ดอก เป็ นกระจุก สีขาวนวล ห้อยลงตามกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบดอก 4-5
กลีบ
ผล ลักษณะกลมหรือรีเป็ นพู ๆ มีหนามสีเขียวหรือเขียวอมเหลืองแข็ง
เต็มทั่วลูก เนื้อกลิ่นแรง
เมล็ด ลักษณะตรงกลางป่ องและหัวท้ายเรียวมน เมล็ดค่อนข้างใหญ่ มี
เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร เมล็ดที่แก่จัดจะมีสีน้ำตาลเหลืองหรือ
อมแดง เป็ นเยื่อบางๆ หุ้มอยู่
การใช้ประโยชน์ : ผลสามารถกินได้ หรือนำมาแปรรูปเช่น ทุเรียนทอด
เปลือกใช้เป็ นเชื้อเพลิง เมล็ดทุเรียนสามารถรับประทานได้ โดยนำมา
ทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง ใบอ่อน
หรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบ
เขียวได้เช่นกัน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ทาบกิ่ง เสียบยอด การตอน ติดตา
ขนุน
ชื่อสามัญไทย : ขนุน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Jackfruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่ออื่น ๆ : ขะนู (จันทบุรี), นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา),
ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง (แม่ฮ่องสอน), นากอ (ปัตตานี), มะหนุน
(ภาคเหนือ ภาคใต้), ลาน ล้าง (ภาคเหนือ), หมักหมี้ (ตะวันอองเฉียง
เหนือ) และชื่ออื่น ๆ เช่น ขะเนอ, ขนู,นากอ, มะยวยซะ
ตระกูล : MORACEAE
ลักษณะ : ต้นขนุน เป็ นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่ง
และลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา ลักษณะของ
ใบขนุน เป็ นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็ นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคน
ใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็ นมัน ส่วนผิวใบด้าน
ล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-
15 เซนติเมตร
ดอกขนุน ออกเป็ นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็ นช่อสีเขียว อัดกัน
แน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอก
ใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า "ส่า" ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และ
ลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็ นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย
1 ดอกจะกลายเป็ น 1 ยวง
ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็ นวงศ์
เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้า
กรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนาม
จะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ด
จะอยู่ในยวง โดยดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-
พฤษภาคม และในช่วงธันวาคม-มกราคม
การใช้ประโยชน์ : ผลขนุนมีรสหวานรับประทานได้ และต้นขนุนจัด เป็ น
1 ใน 9 ไม้มงคลของไทย ไม้ขนุนมีความหมายว่า การช่วยหนุนบารมี
เงินทอง ความร่ำรวย ให้ดียิ่งขึ้น มีผู้ให้การเกื้อหนุนจุนเจือ โดยนิยม
ปลูกไว้หลังบ้านด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใบ ยวง เมล็ด แก่น ส่าแห้ง
ของขนุนมีสรรพคุณทางยา เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
ลำไย
ชื่อสามัญไทย : ลำไย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Longan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan Lour.
ชื่ออื่น ๆ : เงาะป่ า (เหนือ) เจ๊ะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลำไย ลำไย
ป่ า (ทั่วไป) สะแงน (ตะวันออกเฉียงใต้)
ตระกูล : Sapindaceae
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-
8 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้น สีน้ำตาลหรือน้ำตาล
เข้ม แตกสะเก็ดและหลุดล่อนเป็ นแผ่นบาง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบ ประกอบ
ยาว 20-50 ซม. มีใบย่อย 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูป ขอบขนาน
กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ และเบี้ยวแผ่น
ใบบางแต่เหนียวสีเขียวเข้มเป็ นมันผิวใบด้านล่างมีต่อม แบนๆ สีเข้มใน
ซอกของเส้นแขนงใบ ผิวเรียบหรือมีกลุ่มขนกระจาย บนเส้นแขนงใบ
ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็ นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว
10-40 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ซ้อนกันและโคนเชื่อมติดกัน เป็ นรูปถ้วย
กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบมีขนอ่อนๆ เกสรเพศผู้สีขาว 8-10 อัน เส้น
ผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.8 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลสดมีเนื้อ ทรงกลมหรือเบี้ยวเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2
ซม. สีเขียวอมน้ำตาล เมื่อสุกน้ำตาลอมเหลือง เปลือกผลบาง แต่ค่อน
ข้างเหนียว มีเนื้อใสๆ สีขาวอมชมพูห่อหุ้มเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล เข้ม
เรียบเป็ นมัน 1 เมล็ดต่อผล
การใช้ประโยชน์ : รับประทานเนื้อที่หุ้มเมล็ด อาจรับประทานสดหรือนำ
ไปปรุงอาหาร เนื้อผล ตากหรืออบแห้งมีสีน้ำตาลนำมาต้มเป็ นน้ำผลไม้
หรือแปรรูปเป็ นลำไยกระป๋ อง เนื้อไม้สีแดงของต้นลำไยมักนิยมนำมาใช้
เป็ นเครื่องประดับ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนหรือทาบกิ่ง
ตะลิงปลิง
ชื่อสามัญไทย : ตะลิงปลิง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Bilimbi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa bilimbi L.
ชื่ออื่น ๆ : มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง),
บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้)
ตระกูล : OXALIDACEAE
ลักษณะ : ต้นตะลิงปลิง ลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม เป็ นไม้ผลยืนต้น
ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้น
สีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง
ลักษณะของใบตะลิงปลิงเป็ นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุย
นุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมี
ใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-
5 เซนติเมตร
ลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็ นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและ
ลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5
กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอก
สีขาว
ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6
เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็ นพูตามยาว ออกผลเป็ นช่อ
ห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็ นสี
เหลือง เนื้อข้างในเป็ นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของ
เมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาว มีสีขาว
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็ นไม้ประดับในสวน ผลสามารถนำมารับ
ประทานร่วมกับพริกเกลือหรือนำไปใส่แกงก็ได้ ทำเป็ นตะลิงปลิงตาก
แห้ง ทำเป็ นตะลิงปลิงแช่อิ่ม หรือทำเป็ นเครื่องดื่มน้ำตะลิงปลิง ใบ
สามารถนำพอกใช้รักษาสิวได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ทับทิม
ชื่อสามัญไทย : ทับทิม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Pomegranate
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.
ชื่ออื่น ๆ : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ
(เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)
ตระกูล : Punicaceae
ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-5 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาค่อนข้าง
เรียบ กิ่งและยอดอ่อนเป็ นเหลี่ยมมีหนามแหลม ส่วนของลำต้นที่ผลิ
ออกมาใหม่มีสีแดง ปลายกิ่งอ่อนห้อยลู่ลง แตกกิ่งก้านโปร่งยาว
ใบเป็ นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายแหลม
ใบยาว 2-9 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่ค่อนไป
ทางปลายใบกว้าง ขอบเรียบ ผิวใบหนาและเป็ นมัน ใบอ่อนมีสีแดง
ดอกออกเป็ นช่อหรือเดี่ยว บริเวณปลายยอดหรือง่ามใบ 2-5 ดอก ดอกมี
ขนาดใหญ่ กลีบดอกสีส้มแดง ร่วงง่าย มี 6 กลีบ ปลายกลีบดอกแยก
ออกจากกัน รูปดอกคล้ายระฆัง ตรงกลางดอกมีเกสร ดอกตัวผู้จำนวน
มาก สีเหลือง เกสรตัวผู้ติดอยู่ที่กลีบเลี้ยงด้านใน ดอกตัวเมียมี 1 อัน
ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงหนาแข็งโคนกลีบติดกันเป็ นหลอด ปลายหลอด
จักเป็ นฟันเลื่อยและปลายหยักโค้งออก สีส้มแกมเหลือง
ผลรูปกลม ขนาด 5-12 เซนติเมตร เปลือกผลหนา ผิวเรียบเกลี้ยง เป็ น
มัน เมื่อสุกมีสีเหลืองปนน้ำตาลและมีสีแดงฉาบบางๆ เป็ นตอนๆ ผลแก่
จะแตกอ้าเห็นภายในมีเมล็ดจำนวนมาก และมีเนื้อสีชมพูอ่อน โปร่งแสง
มีรสเปรี้ยวอมหวาน ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดรูปร่างเป็ นเหลี่ยมมนๆ อัดกัน
แน่นเต็มผล เมล็ดมีทั้งชนิดสีแดง ชมพู และสีเหลืองซีด
การใช้ประโยชน์ : สามารถรับประทานผลสด หรือนำไปทำเป็ นน้ำทับทิม
ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ลดความเสี่ยงต่อการเป้นมะเร็ง ปรับ
ความดันโลหิต เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ส้มเขียวหวาน
ชื่อสามัญไทย : ส้มเขียวหวาน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Tangerine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus reticulata Blanco
ชื่ออื่น ๆ : ซาโบโค ซ่าซุยโบโข (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะขุน มะแง
มะจุก ส้มเขียวตุง (ภาคเหนือ) มะเขียว มะขวง (เชียงใหม่) สีมากุเละนี
ปี ห์ ลีมากุเละลอเก๊าะ (มลายู-ปัตตานี) ลีมาจีนา ลีมายือโม (มลายู-ใต้)
ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มจันทบูร ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน
ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแสงทอง (กรุงเทพฯ) ส้มขี้ม้า (นครราชสีมา) ส้มจุก
(ภาคเหนือ-ปัตตานี) ส้มเหม็น (ภาคกลางใช้เรียกผลอ่อน)
ตระกูล : Rutaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีทรงพุ่ม มีกิ่งก้าน
ขยาย มีต้นสูงโปร่ง เป็ นเนื้อไม้แข็ง เปลือกมีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่ง มีหนาม
ยาวเล็กน้อย เปลือกมีสีน้ำตาล
ใบ เป็ นใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะทรงไข่ยาวรี ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบ
เรียบเกลี้ยงเป็ นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมาก เพราะมีต่อมน้ำมันอยู่
ใบด้านบนมีสีเข้ม ใต้ใบมีสีอ่อนกว่า
กิ่ง มีลักษณะกลมๆ จะมีใบและมีหนามแหลมคมอยู่ทั่วๆ ไป มีกิ่งก้าน
ขยาย มีสีเขียวเข้ม
ราก เป็ นระบบแก้ว มีลักษณะกลม แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและ
รากฝอยขนาดเล็กๆ แทงกระจาย บริเวณรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล
ดอก ออกเป็ นช่อ หรือออกเดี่ยว จะมีดอกออกเป็ นกระจุก กลีบดอกมีสี
ขาว มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน และมีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบและปลาย
ยอดกิ่ง
ผล มีลักษณะกลมแป้น เปลือกบางผิวเรียบเกลี้ยงลื่น เปลือกแกะออก
ง่าย ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลสุกจะมีสีเหลือง หรือสีเขียวอมเหลือง ตาม
สายพันธ์ุ ภายในผลมีเนื้อฉ่ำน้ำสีเหลือง อยู่ข้างในแยกเป็ นกลีบๆ จะมี
เปลือกเยื่อบางๆสีขาว หุ้มกลีบติดกันเป็ นวงกลมหุ้มแกนกลางอีกที ข้าง
ในจะมีเนื้อเป็ นถุงน้ำเล็กๆ สีเหลือง อยู่เบียดกันแน่น และมีเมล็ดอยู่
ประปราย มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน หรือหวานตามสายพันธ์ุ มีกลิ่นหอม
สดชื่น
เมล็ด มีลักษณะรูปกลมรี เมล็ดเล็ก เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีขาวนวล จะมี
เมล็ดอยู่ข้างในเนื้อ
การใช้ประโยชน์ : ผลสามารถทานสดและสามารถแปรรูปเป็ นน้ำส้มคั้น
แยมส้ม เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ติดตา เสียบกิ่ง ตอนกิ่ง

มังคุด
ชื่อสามัญไทย : มังคุด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Mangosteen
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana L.
ชื่ออื่น ๆ : แมงคุด เมงค็อฟ
ตระกูล : Guttiferae
ลักษณะ : ต้น ลำต้นตรง เปลือกภายนอกมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ภาค
ในเปลือกประกอบไปด้วยท่อน้ำยางมีลักษณะสีเหลือง
ใบ มีรูปยาวรี มีความยาวประมาณ 9-25 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.5-
10 เซนติเมตร ด้านบนมีลักษณะเป็ นมันสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างสีเขียว
ปนเหลือง แผ่นใบโค้งเล็กน้อย มีตาข้างอยู่บริเวณซอกใบ และมีตายอด
อยู่บริเวณซอกใบคู่สุดท้าย
ดอก เป็ นแบบเดี่ยวและบางสภาพอาจเป็ นดอกกลุ่ม ซึ่งดอกจะปรากฎที่
บริเวณปลายยอดของกิ่งแขนง ที่มีช่อดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ใน
ดอกเดียวกันดอกจัดเป็ นดอกสมบูรณ์เพศ แต่เกสรตัวผู้จะเป็ นหมัน ดอก
มังคุดประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีกลีบดอกค่อนข้างหนา 4 กลีบ
ดอก เกสรอยู่ที่ฐานรอบๆ ของรังไข่
ผล เป็ นแบบเบอรี่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4-7.5 เซนติเมตร มีเปลือกหนา
6-10 เซนติเมตร เนื้อสีขาวขุ่นลักษณะของผลอ่อนเปลือกนอกจะมีสี
เขียวปนเหลือง มียางสีเหลืองอยู่ภายใน
เมล็ด ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด เมล็ดมีความยาว
ประมาณ 2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร
การใช้ประโยชน์ : รับประทานผลสดหรือแปรรูปเป็ นน้ำมังคุด ชามังคุด
มังคุดกวน เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด เสียบยอด และทาบกิ่ง
แอปเปิล
ชื่อสามัญไทย : แอปเปิล
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malus domestica Borkh.
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Rosaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีทรงพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่ง
ก้านเป็ นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อไม้แข็งเหนียว มีสีน้ำตาล
ราก เป็ นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลึกลงในดิน มีรากแขนง
และรากฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ผิวใบด้านบนเรียบ
ใบด้านล่างมีขนอ่อนๆ ขอบใบหยักเล็กๆ มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเดี่ยว อยู่เป็ นกระจุก มีลักษณะมีห้ากลีบ กลีบดอกมีสีขาว
อมชมพู มีเกสรเป็ นเส้นยาวสีเหลืองนวล มีก้านดอกยาว ดอกออกซอก
ใบและซอกกิ่ง
ผล เป็ นผลเดี่ยว มีลักษณะทรงกลม ตรงก้นผลมีรอยบุ๋มลึก ผิวเปลือก
บางผิวเรียบ ผลดิบสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดง มีเนื้อแน่นฉ่ำน้ำ สีขาวนวล
มีรสชาติหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ในกลางผลมีห้าโพรง
เรียงอยู่ ผ่าครึ่งออกมาเป็ นรูปดาว มีเมล็ดอยู่ข้างในโพรง
เมล็ด มีเมล็ดอยู่ข้างในโพรง ในกลางผล มีลักษณะทรงกลมรี เมล็ดแข็ง
มีสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : รับประทานผลสด นำไปประกอบอาหารหรือแปรรูปได้
เช่น เค้กแอปเปิล พายแอปเปิล น้ำแอปเปิล เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ติดตา ตัดกิ่ง
เงาะ
ชื่อสามัญไทย : เงาะ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Rambutan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium lappaceum L.
ชื่ออื่น ๆ : เงาะป่ า(นครศรีธรรมราช) พรวน(ปัตตานี) กะเมาะแต มอแต
อาเมาะแต (มาเลย์ปัตตานี)
ตระกูล : Sapindaceae
ลักษณะ : ราก มีระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย
ลำต้น เป็ นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 15-25 ม. ลำต้นจะ
แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอมน้ำตาลเข้ม กิ่งเล็กกลมสีน้ำตาล
อมแดงคล้ำ มีรอยเหี่ยวละเอียด ทรงพุ่มเป็ นรูปครึ่งวงกลมแผ่ออกกว้าง
ใบ เป็ นใบรวม มีใบย่อย 2-4 คู่ ก้านใบระหว่างใบย่อยมีขนาดใหญ่ กลม
สีน้ำตาลอมแดง ฐานก้านใบหนา รูปร่างใบเป็ นรูปโล่ยาวหรือรูปไข่หัว
กลับ ขอบใบเรียบสีเขียวอมเหลืองหรือสีนวล เส้นกลางใบขนาดใหญ่
ใต้ใบจะมีคลื่นเล็กน้อย
ดอก มี 2 ลักษณะ คือ ช่อดอกตัวผู้ เป็ นดอกเงาะที่มีดอกตัวผู้ทั้งช่อดอก
และอีกลักษณะ คือ ดอกสมบูรณ์เพศ หรือที่เรียกว่า ดอกกระเทย เป็ น
ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน /
ผล รวมกันอยู่เป็ นช่อ ติดอยู่บนก้านช่อดอก ผลค่อนข้างกลม สีแดง
บางพันธุ์สีแดงปนเหลือง ขนาดของผลยาวประมาณ 3.5-8 ซม. กว้าง
ประมาณ 2-5 ซม. ขนสั้นยาวขึ้นกับชนิดพันธุ์ แต่โดยทั่วไปยาวเฉลี่ย
0.5-1.8 ซม. เนื้อในใส อ่อนนุ่ม หรือเป็ นสีขาวอมเหลือง ห่อหุ้มเมล็ดอยู่
เมล็ด ลักษณะรูปแบนยาวรี หรือบางครั้งกลมเป็ นรูปไข่ ผิวนอกของ
เมล็ดจะหุ้มด้วยผิวเปลือกบางๆ สีน้ำตาลอ่อน
การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็ นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็ นผลไม้ ทำผลไม้
กระป๋ อง ทำแยม ทำน้ำผลไม้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่งการติดตา
มะม่วง
ชื่อสามัญไทย : มะม่วง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
ชื่ออื่น ๆ : ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี
เรียก ขุ ,โคก จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก นครราชสีมา เรียก โตร้ก
มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป กะเหรี่ยง-
แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า เขมร เรียก สะวาย เงี้ยว-ภาค
เหนือ เรียก หมักโม่ง จีน เรียก มั่งก้วย
ตระกูล : Anacardiaceae
ลักษณะ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 ม. ลำต้นตรง เรือน
ยอดกลม ทึบ
ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 3-10 ซม. ยาว 16-45 ซม.
โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1.5-6 ซม.
ดอก ดอกช่อสีนวล ออกเป็ นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 18-30 ซม. กลีบดอก
มี 5 กลีบ ยาว 3.5-4 มม. เกสรสีแดงเรื่อ ๆ
ผล ผลเดี่ยว ผลดิบมีสีเขียวเมื่อสุกเปลี่ยนเป็ นสีเหลือง หรือเหลือง
ส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
การใช้ประโยชน์ : ทานได้ทั้งตอนสุกและดิบ เมื่อสุกแล้วสามารถทาน
กับข้าวเหนียวได้ นำไปแปรรูปเป็ นส้มแผ่น ยำมะม่วง พายมะม่วง
เป็ นต้น และเนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็ นเฟอร์นิเจอร์ได้
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง
กระท้อน
ชื่อสามัญไทย : กระท้อน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Santol
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape Burm.f. Mer.
ชื่ออื่น ๆ : เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี)
มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-
ปัตตานี)
ตระกูล : MELIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 6 – 8 ม. เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาว
เป็ นวงบริเวณลำต้น ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออก มียางสีแดงหรือสี
น้ำตาล
ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่
หรือรูปรี โคนใบกลมหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็ นคลื่น
ผิวใบเป็ นคลื่น มีไขนวลปกคลุม ด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อ
แก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆ แดง แล้วจะร่วงหล่น ก้านใบมน
ดอก สีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็ น 5 แฉก
กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้มี 10 อัน ติดกันเป็ นหลอด
ออกเป็ นช่อแบบแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
ผล ผลเดี่ยวแบบผลสด เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ผิว
ขรุขระ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรี มีเยื่อหุ้มสีขาวเกิด
มาจากเปลือก
การใช้ประโยชน์ : กินสดๆ สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนู ทั้งยำ
ตำ แช่อิ่ม หรือแม้กระทั่งของหวานสดชื่นๆ อย่าง กระท้อนลอยแก้ว
เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การเสียบยอด การติดตา
สละ
ชื่อสามัญไทย : สละ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Salak
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca zalacca
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Arecaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นเหง้ามีทรงพุ่มต้นเตี้ย ลำต้นมีลักษณะเป็ นแกน
กลม มีเนื้อไม้นุ่มยุ่น มีก้านใบปกคลุมลำต้น เปลือกมีสีน้ำตาล
ราก เป็ นระบบรากแขนง มีลักษณะกลมเล็กๆ แทงลึกลงในดิน มีราก
แขนงและรากฝอยเล็กๆ แทงออกจากเหง้า มีสีน้ำตาล
ใบ เป็ นใบประกอบแบบ ใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะทรงรีเรียวยาว แทงออก
จากกลางยอด ใบแตกออกจากก้านใบ มีก้านใบยาว มีหนามแหลมคม
ยาว แข็งมาก มีสีเขียวเข้ม มียอดแตกเป็ นกอ
ดอก จะมีดอกออกเป็ นช่อ มีก้านช่อดอกสั้น มีก้านช่อดอกย่อยแยกออก
กลีบดอกสีแดง มีรังไข่ขนนุ่มสีชมพู บานจากโคนช่อก่อน แล้วค่อยๆ
บานสู่ปลายช่อ ดอกแทงออกตามซอกใบ
ผล ออกเป็ นทลาย มีลักษณะทรงรี ผิวเปลือกแข็งขรุขระ เปลือกคล้าย
เกล็ดเล็กๆ เรียงซ้อนกันอยู่ ผลอ่อนมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อผลสุกจะเปลี่ยน
เป็ นสีน้ำตาลอมแดง แกะเปลือกออกง่าย ภายในผลจะมีเนื้อเป็ นกลีบ มี
สีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเนื้อเยอะกว่าระกำ มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน
มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดอยู่ข้างในเนื้อ มีเมล็ดเล็กกว่าระกำ เนื้อ
ล่อนเมล็ด
การใช้ประโยชน์ : ผลสละเป็ นผลไม้รับประทานสด สละเชื่อม และทำน้ำ
ผลไม้ ยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร เช่น แกง หรือรับประทานสด สละมี
รากฝอยจำนวนมาก ช่วยป้องกันการพังทะลายของดิน และการลุกล้ำ
ของดินเค็ม ใบและก้านสละสามารถนำมามุงหลังคา ทำร่มบังแดด หรือ
ทำรั้ว ทำแนวกั้น ใช้ห่อขนมหรือห่ออาหาร เมล็ดนำมาสกัดน้ำมันใช้ทา
นวดกล้ามเนื้อ บำรุงผม และนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ก้านใบกรีดให้เล็กใช้
ทำเป็ นเชือกรัดของ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด แยกหน่อ
มะยม
ชื่อสามัญไทย : มะยม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Star gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus Skeels.
ชื่ออื่น ๆ : หมากยม หมักยม (ภาคอีสาน), ยม (ภาคใต้)
ตระกูล : Euphorbiaceae
ลักษณะ : ลำต้น มะยมเป็ นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูง
ประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เป็ นลูกคลื่น
เล็กน้อย ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น กิ่งค่อนข้างเปราะ และ
หักง่าย แตกใบจำนวนมากตามกิ่ง
ใบมะยมเป็ นใบประกอบ แทงออกตามกิ่ง แต่ละก้านใบมีใบออกเป็ นคู่
ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียว แผ่นใบเรียบ ใบเป็ นรูปไข่ค่อนข้างเบี้ยว ฐานใบ
ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม
ดอกมะยมออกเป็ นช่อ แทงออกตามกิ่ง และลำต้น แต่ส่วนมากออกตาม
ปลายกิ่งจนถึงยอด มักแทงงอกบริเวณด้านล่างของใบ เป็ นดอกเพศผู้
และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน กลีบดอกมีรูปร่างคล้ายไต มีสีเขียวหรือ
สีแดงรื่อ ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3-4 ห้อง
ต้นมะยมอาจแบ่งเป็ นต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย โดยต้นตัวผู้จะมีลักษณะสูง
ใหญ่ แตกกิ่งก้านน้อย ใบใหญ่ ออกดอกเป็ นสีแดงม่วง ไม่ติดผลหรือติด
ผลน้อย เพราะเป็ นต้นที่ดอกมีเกสรตัวผู้มากกว่าเกสรตัวเมีย แต่ก็ติดผล
บ้าง ส่วนต้นตัวเมียมักมีลักษณะลำต้นเตี้ยกว่า ออกใบเล็ก แต่ใบดก
แตกกิ่งก้านมาก ดอกมีสีเหลืองเขียว ออกดอกดก ติดผลดกทั่วลำกิ่ง
เพราะต้นตัวเมียจะมีเกสรตัวเมียมากกว่าเกสรตัวผู้
ผลมะยมมีลักษณะเป็ นพูเว้านูนรอบผล ประมาณ 6-8 พู ผลค่อนข้างกลม
แบน กว้างประมาณ 1-3 ซม..ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองอมเขียว
เล็กน้อย และแก่จัดจะเปลี่ยนเป็ นสีเหลืองนวล เนื้อผลมีรสเปรี้ยว ผล 1
ผล มีเมล็ด 1 เมล็ด มีลักษณะเป็ นพูคล้ายพูผล เมล็ดมีสีนวลอมน้ำตาล
เนื้อเมล็ดแข็งมาก
การใช้ประโยชน์ : รับประทานผลสด หรือนำมาทำเป็ นยำหรือดองได้
ต้นมะยมใช้ปลูกเป็ นไม้มงคล ตามความเชื่อว่า จะทำให้คนในครอบครัว
เป็ นที่นิยมรักใคร่ของคนที่รู้จัก ซึ่งทั่วไปมักนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน ใบ
มะยมมักใช้เป็ นเครื่องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต้นมะยมทั้งต้นตัว
เมีย และตัวผู้มีลักษณะใบดกเขียว ช่วยเป็ นร่มเงาให้อาศัย
การขยายพันธุ์ : การตอน เพาะเมล็ด
สับปะรด
ชื่อสามัญไทย : สับปะรด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Pineapple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่ออื่น ๆ : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้)
บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด
(เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง
(เพชรบูรณ์)
ตระกูล : Bromeliaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นพืชล้มลุก มีลำต้นเดี่ยวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะ
กลมๆ แข็งและเหนียว มีสีน้ำตาล
ราก มีระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลมเล็กๆ จะมีรากแขนงฝอยๆ มีสี
น้ำตาล
ใบ เป็ นใบเดี่ยว มีลักษณะใบจะรูปยาว ปลายใบแหลม มีหนามแหลม
ตรงปลาย ใบเรียงสลับซ้อนกันรอบต้น มีสีเขียว ไม่มีก้านใบ
ดอก มีดอกเป็ นช่อ มีลักษณะทรงกรวย มีสีแดง มีดอกย่อยเล็กๆ มีสีฟ้า
จำนวนมาก ออกจากกลางต้น ก้านช่อดอกจะสั้น
ผล มีลักษณะทรงกระบอก มีเปลือกแข็ง มีตารอบผล ผลอ่อนมีสีเขียว
ผลสุกมีสีเขียวปนสีเหลือง สีเหลือง มีกลิ่นหอม มีกลุ่มใบเล็กๆที่ปลาย
ผล เมื่อผลสุกข้างในมีเนื้อสีเหลือง จะมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ มีรสชาติ
หวานหอมเย็น
เมล็ด จะมีหลายเมล็ดในผล เมล็ดมีลักษณะยาวรี เล็กๆ มีสีดำ
การใช้ประโยชน์ : ใช้นำมารับประทานเป็ นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็ น
อาหาร เช่น แกงสับปะรด เป็ นต้น แปรรูปเป็ นสับปะรดกระป๋ อง ทำเป็ น
สับปะรดกวน ทำไวน์สับปะรด แยมสับปะรด เป็ นต้น ใบสับปะรดที่
สามารถนำมาทำเป็ นผ้าใยสับปะรด กระดาษ และเชือก เปลือกสับปะรด
ก็นำมาทำเป็ นอาหารของวัว และหมักเป็ นปุ๋ ย
การขยายพันธุ์ : ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การ
เพาะเมล็ด เหมาะสำหรับผสมพันธุ์ใหม่
สตรอว์เบอร์รี
ชื่อสามัญไทย : สตรอว์เบอร์รี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Strawberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fragaria x ananassa Duchesne
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : ROSACEAE
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีทรงพุ่มเตี้ย แตกกิ่งก้านแผ่
คลุมดิน ลำต้นเป็ นกออยู่ใต้ผิวดิน มีลักษณะกลมๆ มีสีน้ำตาล มีก้านใบ
ยาวแทงออกมาจากลำต้น มีแขนงแตกจากต้นเรียกว่าไหล มีขนนุ่ม
ปกคลุม
ราก เป็ นระบบรากตื้น มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากแขนงและราก
ฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
ใบ มีลักษณะกลมรี ใบมีขนาดใหญ่ ขอบใบมีรอยฟันหยักเล็กๆ มีก้านใบ
ยาวมีขนนุ่มปกคลุม มีใบย่อย 3 ใบบนก้านเดียวกัน ใบสากมือมีขนนุ่ม
ปกคลุม มีสีเขียว
ดอก ออกดอกเดี่ยว มีลักษณะรูปทรงแตร กลีบดอกมีสีขาว มีเกสรสี
เหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว มีก้านช่อดอกยาว แทงออกมาจากลำต้น
ผล เป็ นผลเดี่ยว มีก้านผลยาวแทงออกจากลำต้น มีลักษณะทรงกลมรี
คล้ายรูปหัวใจ ตรงขั้วมีกลีบเลี้ยงสีเขียว ผิวเปลือกมีเมล็ดเล็กๆเกาะอยู่
บนผล มีเสี้ยนเล็กๆบางๆอยู่ทั่วผล ผลอ่อนสีขาว ผลสุกจะมีสีแดง หรือสี
แดงอมส้ม มีเนื้อสีแดง เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีรสชาติเปรี้ยวหรือหวาน ตามสาย
พันธุ์ มีกลิ่นหอม
เมล็ด มีเมล็ดเล็กๆเกาะอยู่บนผล มีลักษณะทรงรีเล็กๆ เมล็ดแข็ง มีสี
น้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : รับประทานผลสด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการจะ
ลดน้ำหนักและความอ้วน เพราะมีพลังงานต่ำ มีการนำไปแปรรูปอย่าง
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็ นสตรอเบอร์รี่เชื่อม น้ำสตรอเบอร์รี่ แยมสตรอ
เบอร์รี่ ไวน์สตรอเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่อบแห้ง เค้กสตรอเบอร์รี่ โยเกิร์ตสต
รอเบอร์รี่ เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : ขยายต้นไหลจากต้นแม่พันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด เพาะ
เลี้ยงเนื้อเยื่อ
มะพร้าว
ชื่อสามัญไทย : มะพร้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Coconut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera Linn.
ชื่ออื่น ๆ : ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า
(แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น
ตระกูล : Palmae
ลักษณะ : ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง มีรอยแผลจากการหลุดร่วง
ของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผล
นี้ คือ ในปี หนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมี
รอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล
ใบ เป็ นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง
( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทาง
ประมาณ 200 – 250 ใบ
ดอก ออกเป็ นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อ
เดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอก
ย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้
ผล มะพร้าวเป็ นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มี
เปลือก 3 ชั้นคือ
1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็ นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมี
สีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็ นเส้นใย มีความหนาพอ
ประมาณ
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา (
shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็ นช่อกลวงขณะ
ผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำเป็ นน้ำส้มสายชูได้จากน้ำมะพร้าว มะพร้าวอ่อน
นอกจากรับประทานสดแล้ว ยังนำมาทำเป็ นวุ้นมะพร้าวได้ ยอดอ่อน
มะพร้าว นำไปใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว รวม
ไปถึงยำยอดอ่อนมะพร้าว หรือ "สลัดเจ้าสัว" (Millionaire's salad)
มะพร้าวแก่ นำมาแปรรูปเป็ นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็ น
คั้นกะทิสด กะทิกล่อง ใบมะพร้าวนิยมนำมาใช้สานเป็ นภาชนะใส่ของ
การขยายพันธุ์ : เพาะกล้าจากผลแก่ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กีวี
ชื่อสามัญไทย : กีวี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Kiwi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Actinidia chinensis
ชื่ออื่น ๆ : ภาษาจีนเรียกหมีโหวเถา
ตระกูล : Actinidiaceae
ลักษณะ : ราก กีวีเป็ นผลไม้ที่มีทั้งระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย
ที่สามารถแผ่ขยายตัวรากลึกลงไปในดินได้ถึง 0.4-1 เมตรขึ้นไป ขึ้นอยู่
กับสภาพของดินด้วยรวมถึงตัวรากสามารถแผ่ขยายแตกออกไปได้กว้าง
ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 เซนติเมตร มีความสูงกว่า 9 เมตร
ถูกปกคลุมด้วยขน สามารถพยุงปลายเถาได้เองหรือสามารถใช้ปลาย
เถาสำหรับการพิงหรือพยุงเถาได้ แตกกิ่งออกด้านข้าง กิ่งก้านมีสีเขียว
อ่อน เมื่อแกจะกลายเป็ นสีน้ำตาล มีตาสำหรับเจริญเป็ นดอกอยู่บริเวณ
เหนือก้านใบ
ใบ มีลักษณะเป็ นรูปไข่ หรือ รูปทรงหัวใจ มีลักษณะเป็ นสีเขียวเข้ม
เจริญออกจากข้อกิ่งเป็ นใบเดี่ยวสลับกันไปมา มีความกว้างประมาณ 10-
15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ขอบใบจะมีลักษณะเป็ นใบ
หยักคล้ายๆฟันเลื่อยทั้งด้านบนและด้านล่างของใบปกคลุมไปจนสี
น้ำตาล มีก้านใบยาว
ดอก การออกดอกของกีวีจะออกดอกเป็ นดอกเดี่ยวหรือเป็ นช่อ ซึ่งจะ
ออกดอกออกมาตามบริเวณตาเหนือก้านใบ ดอกเป็ นสีขาว มีกลีบดอก
ประมาณ 3-7 กลีบ ดอกเพศเมียและเพศผู้จะแยกออกกันคนละต้น โดย
ดอกเพศผู้นั้นจะบานออกก่อนดอกเพศเมียเสมอ
ผล มีลักษณะเป็ นรูปไข่ หรือ ทรงกระบอก เปลือกเป็ นสีน้ำตาลอมเขียว
มีขนเล็กๆขึ้นตามผลปกคลุมไปทั่ว เมื่อผลโดเต็มที่จะมีเส้นผ่าขนาด
ศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร เนื้อภายในจะเป็ นสีเขียวใส เมื่อ
ทานจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ภายในผลจะมีเมล็ดกระจายตัว เรียงกัน
อยู่รอบผลจำนวนมาก เมื่อเป็ นผลอ่อนเมล็ดจะมีสีขาว หากเป็ นผลสุก
หรือแก่เมล็กจะกลายเป็ นสีดำ
การใช้ประโยชน์ : เป็ นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
เพราะการรับประทานกีวีช่วยให้อิ่มเร็ว ใช้แต่งหน้าเค้กและสลัดต่าง ๆ
นำมาแปรรูปเป็ นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลไม้กระป๋ อง กีวีกวน กีวีตาก
แห้ง น้ำผลไม้ ไวน์ ผลไม้แช่แข็ง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด การปักชำ และการเสียบยอด
เชอร์รี
ชื่อสามัญไทย : เชอร์รี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus avium
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Rosaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่ง
ก้านเป็ นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลม ๆ เนื้อแข็งเหนียว มีสีน้ำตาล
ราก เป็ นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากแขนงและ
รากฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ขอบใบหยัก มีก้าน
ใบยาว ใบมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็ นช่อ มีดอกย่อย มีลักษณะรูปแตร กลีบดอกมีสีขาว
หรือชมพู มีก้านช่อดอกยาว ดอกออกซอกใบซอกกิ่งและปลายยอด
ผล เป็ นผลเดี่ยว อยู่เป็ นพวง มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ ผิวเปลือกเรียบลื่น
มีก้านผลยาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดง สีแดงเข้ม สีส้ม หรือสี
เหลือง มีเนื้อสีแดง เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว
ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นหอม
เมล็ด มีเมล็ดเล็กๆอยู่ในเนื้อ มีลักษณะกลมเล็กๆ เมล็ดแข็ง มีสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : ผลมีเมลาโทนินช่วยในการนอนหลับ มีแคลอรี่ต่ำ
เชอร์รี่ยังนำไปเป็ นส่วนประกอบของหลากหลายเมนู เช่น ทำพายเชอร์รี่
ไอศครีม เค้ก และแยมเชอร์รี่ เป็ นต้น
การขยายพันธุ์ : เมล็ดเพาะต้นพันธุ์ ทาบกิ่ง ติดตา หรือตอนกิ่ง
พลัม
ชื่อสามัญไทย : พลัม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus domestica
ชื่ออื่น ๆ : ลูกไหน, ลูกพลัม, เชอรี่ดอย, ลูกพรุน
ตระกูล : Rosaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็ นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่ง
ก้านเป็ นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อแข็งเหนียว มีสีน้ำตาล
ราก เป็ นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากแขนงและ
รากฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ขอบใบหยักรอย
เลื่อย มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็ นช่อ มีดอกย่อย มีลักษณะรูปแตร กลีบดอกมีสีขาว มี
เกสรเป็ นเส้นยาวสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียว มีก้านช่อดอกยาว ดอกออก
ซอกใบซอกกิ่งและปลายยอด
ผล เป็ นผลเดี่ยว อยู่เป็ นพวง มีลักษณะรูปไข่ ทรงกลมรี ผิวเปลือกเรียบ
มีนวลสีขาวทั่วผล มีก้านผลยาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกจะมีสีม่วงอมดำ สี
แดงเข้ม สีม่วงเข้ม สีเหลือง สีส้ม มีเนื้อสีเหลือง ตามสายพันธุ์ เนื้อนุ่ม
ฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นหอม
เมล็ด มีเมล็ดอยู่ในเนื้อตรงกลางผล มีลักษณะยาวรีๆ เมล็ดแข็ง มีสี
น้ำตาล
การใช้ประโยชน์ : การรับประทานลูกพรุนเป็ นประจำในปริมาณมากจะ
ช่วยในการลดน้ำหนักได้ เพราะลูกพรุนมีไขมันต่ำ มีแคลอรีน้อย และยัง
มีฤทธิ์เป็ นยาระบายอ่อน ๆ ส่วนลูกไหนอบแห้ง หรือ ลูกพรุน ที่หลายคน
นิยมกินกันเป็ นอาหารลดความอ้วน ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กัน มีระดับดัชนี
น้ำตาลในระดับที่ต่ำ ทำให้เป็ นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่ วยโรคเบาหวาน
การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดเพาะต้นพันธุ์ ทาบกิ่ง ติดตา หรือตอนกิ่ง

You might also like