You are on page 1of 12

ธูปสมุนไพรไล่ยุง

วุฒินันท์ คงทัด
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5
ปัจจุบันประชาชนทั่วไปเป็นจ�ำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากโรคซึ่งเกิดจากแมลงโดยเฉพาะ
ยุงเป็นพาหนะน�ำโรคต่าง ๆ เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ฟิลาเรียซิส โรคต่าง ๆ เหล่านี้
นอกจากจะท�ำให้เกิดการเจ็บป่วยและตายแล้วยังก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
และสังคมโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการหยุดท�ำงานเนื่องจากการป่วยหรือตาย
ของประชาชนที่เกิดจากยุง ยุงที่ท�ำให้เกิดโรคมีหลายชนิดเช่น
1. ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) ลักษณะที่ส�ำคัญคือตัวเมียมี palpi ยาวเท่ากับปาก
ขณะพักส่วนหัว อก ท้อง จะเป็นแนวเส้นตรงท�ำมุมยาว 450 องศา กับพื้นเมื่อกัดกินเลือดคนหรือสัตว์
ส่วนหัว อก ท้องจะอยู่ในแนวดึ่งประมาณ 90 องศา ชอบวางไข่ในแหล่งน�้ำสะอาด เช่น ล�ำธาร ดังนั้น
ในเมืองใหญ่ ๆ จึงหายุงชนิดนี้ยาก ยุงก้นปล่องนี้ เป็นพาหะน�ำโรคมาลาเลีย ที่ส�ำคัญ ได้แก่

- Anopheles dirus (balabacensis เดิม)


- An. maculates
- An minimus
- An. sundaicus
ต ร ์
ร ศาส
2. ยุงร�ำคาญ (Culex spp.) เ ก ษตลักษณะที่ส�ำคัญคือตัวเมียมี palpi สั้นกว่าปาก ส่วนท้อง
ปล้องสุดท้ายมนเกล็ดบนปีกเรียยาวเล็ ลัยกไม่มีสีสรรพิเศษ ชอบวางไข่ในน�้ำเน่าเพราะมีอินทรีย์สารสูง
ซึ่งจะเป็นอาหารของลูกน�้ำต่หอาไป วิท ยุงร�ำคาญนี้เป็นพาหะน�ำโรคไข้สมองอักเสบ ที่ส�ำคัญ ได้แก่

ิ ัล ม
ม ร ู้ดิจ - Cx. tritaeniorhynchus
คว า
คลัง - Cx. gelidus
- Cx. fuscocephala
- Culex quinquefasciatus
เป็นพาหะน�ำโรค ฟิลาเรียซีส

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
49
3. ยุงลาย (Aedes spp.) ลักษณะที่ส�ำคัญคือ ตัวเมียมี palpi สั้นกว่าปากส่วนท้องปล้องสุดท้าย
แหลมหยักขนบนขาและท้องมีสีด�ำ-ขาว ชอบวางไข่ในน�้ำสะอาด ที่ขังอยู่ในภาชนะ เช่น ชามแตก ตุ่มน�้ำ
ยุงลายเป็นพาหะน�ำโรคไข้เลือดออก มี 2 ชนิด คือ

- ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)


- ยุงลายสวน (Ae. albopictus)
- ยุงลายที่เป็นพาหะน�ำโรคฟิลาเรียซีส คือ Ae. niveus

4. ยุงเสือ (Mansonia spp.) ลักษณะที่ส�ำคัญคือตัวเมียมี palpi สั้นกว่าปากส่วนท้องปล้อง


สุดท้ายมน เช่นเดียวกับยุงร�ำคาญมีเกล็ดบนปีกใหญ่ กว้าง และมีสีด�ำ ชอบวางไข่ตามแหล่งน�้ำที่มีพืชน�้ำ
เช่น จอก ผักตบขึ้นปกคลุมอยู่ ยุงเสือเป็นพาหะน�ำโรคฟิลาเรียเซีส ที่ส�ำคัญได้แก่

- Mansonia annulifara
- Ma. bonneae
- Ma. dives
- Ma. uniformis

ตร ์
พืชสมุนไพรที่ใช้ไล่ยุงและแมลง รศาส
เ ก ษต
ได้มคี วามพยายามน�ำพืชสมุ
ย าลนัยไพรมาใช้ปอ้ งกันยุงและแมลงแต่ยงั ไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าทีค่ วร
เนื่องจากการศึกษาวิจัยในเชิางวลึิทกยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น โดยน�ำสมุนไพร
มาใช้บด ขยี้ ตี ต�ำ ท�ำัลให้มปหระสิทธิผลในการป้องกันยุงและแมลงมีน้อย ผลผลิตไม่ได้มาตรฐานในการขอ
ิท
ขึ้นทะเบียนเป็นผลิรตู้ดภัิจ ณฑ์ป้องกันยุงและแมลงตามข้อก�ำหนดของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ทั้งนีไ้ ม่ครอบคลุ ว าม
มถึงการน�ำสมุนไพรมาประยุกต์เป็นรูปแบบที่น่าใช้ โดยมีการสกัดสาระส�ำคัญ และพัฒนา
ังค
เป็นต�ำรัคบลค่อนข้างน้อย ดังนั้นหากได้น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาศึกษาและพัฒนาต่อไปในเชิงลึกทาง
วิทยาศาสตร์ คาดว่าแนวโน้มในการน�ำพืชสมุนไพรมาใช้ป้องยุงที่ส�ำคัญทางการแพทย์จะมีประโยชน์
มากยิง่ ขึน้ ในอนาคตพืชสมุนไพรทีใ่ ช้ไล่แมลงและยุงได้มหี ลายชนิด เช่น กระเพราแดง ขมิน้ ชัน ขอบชะนาง
ข่า ข่าเล็ก ขี้เหล็ก ตะไคร้หอม น้อยหน่า ประค�ำดีควาย พริกไทย ไพล มะกรูด แมงลัก ยาสูบ ยูคาลิป เลี่ยน
ว่านน�้ำ สะเดาอินเดีย สาระแหน่ หนอนตายอยาก โหระพา และหางไหล

50 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557
สารเคมีส�ำคัญที่พบในพืชสมุนไพร
สารเคมีในพืชมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช การทราบสารเคมีที่ส�ำคัญ
จะช่วยให้สามารถน�ำ สมุนไพรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันก� ำจัดยุงและแมลงได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มสารเคมีส�ำคัญ ๆ อาจแบ่งได้ดังนี้
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrates) ถูกสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสงและเก็บเป็นอาหาร
สะสมของพืชสามารถใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือพวกที่เป็นน�้ำตาล และ
พวกที่ไม่ใช่น�้ำตาล
- พวกที่เป็นน�้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ น�้ำตาลเชิงเดี่ยว (monosaccharides) และน�้ำตาล
เชิงซ้อน (oligosaccharides)
- พวกที่ไม่ใช่น�้ำตาลจะไม่มีรสหวาน และไม่ละลายน�้ำ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ polysaccharides
เช่น แป้ง ได้แก่ แป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมันฝรัง่ แป้งสาคู วิลาส และ polyuronides เช่น กัม
2. โปรตีน (proteins) เป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนอยู่ในโมเลกุลเกิดจากกรดอะมิโน มาจับกัน
เป็นโมเลกุลใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- simple proteins เมื่อถูกย่อยจะให้กรดอะมิโน
- conjugated proteins ประกอบด้วยโปรตีนจับกับส่วนที่ไม่ใช่โปรตีน
- derived proteins เป็นสารที่ได้จากการสลายตัวของโปรตีน
3. ไขมัน (lipids) เป็นเอสเตอร์ที่เกิดจากกรดไขมันชนิดโมเลกุลยาวจับกับแอลกอฮอล์ แบ่งเป็น
2 ชนิด คือ
ร์ วนเมล็ด มักน�ำมาใช้เป็นอาหาร และใช้ประโยชน์
- ไขมัน และน�ำ้ มันไม่ระเหยส่วนใหญ่ได้ามสตาจากส่
ในด้านเภสัชกรรม
ษตรศ
เก ้ผึ้ง ครีม
- ไข เป็นสารที่ใช้ในการเตรีลยัยมยาขี
ยา
4. น�้ำมันหอมระเหยวิท(volatile oils) เป็นของเหลวที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนมากจะมีกลิ่นหอม

ระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง มน�ห้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเคมีที่ส�ำคัญประเภท monoterpenes,

ิ ัล
sesquiterpenes และ
ร จ

ู้ด oxygenated derivatives

5. ยางไม้ ม
า (gums) เป็นของเหนียวที่ได้จากพืช เกิดขึ้นเมื่อกรีดหรือท�ำให้พืชนั้นเป็นแผล

ค6.ลังเรซิน และบาลซั่ม (resins and balsams)
- เรซิน เป็นสารประกอบที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนมากมักเปราะ แตกง่าย บางชนิดอาจจะนิ่ม
เมื่อเผาไฟจะหลอมเหลวได้สารที่ใส ข้น และเหนียว เรซินเกิดจากสารเคมีหลายชนิด เช่น resin acid,
resin alcohol, resene และ ester

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
51
- บาลซั่ม เป็น resinous mixture ซึ่งประกอบด้วยกรดซินนามิก (cinnamic acid) หรือกรด
เบ็นโซอิค (benzoic) หรือ เอสเทอร์ของกรดทั้งสองชนิด
7. แอลคาลอยด์ (alkaloids) เป็นสารที่มีรสขม มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ มีคุณสมบัติ
เป็นด่างและมักจะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
8. กลัยโคไซด์ (glycosides) เป็นสารประกอบที่มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นน�้ำตาล (glycone)
และส่วนที่ไม่เป็นน�้ำตาล (aglycone)
9. แทนนิน (tannins) เป็นสารประกอบพวกโพลีฟนี อลซึง่ เมือ่ ท�ำปฏิกริ ยิ ากับโปรตีนในหนังสัตว์
ท�ำให้หนังไม่เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติ แทนนินมีรสฝาด
10. ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) เป็นสารประกอบพวกโพลีฟนี อล มักจะมีสี เช่น แดง ม่วง เหลือง
หรือน�้ำเงิน มักจะพบในรูปกลัยโคไซด์
11. สเตียรอยด์ (steroids) เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างเช่นเดียวกับฮอร์โมนและยาต้านอักเสบ
12. ซาโปนิน (saponins) เป็นสารประกอบจ�ำพวกกลัยโคไซด์ทมี่ สี ว่ น aglycone (sapogenin)
เป็นสารจ�ำพวก สเตียรอยด์ หรือ ไตรเทอร์ปีนอยด์ ส่วนนี้จะจับกับส่วนน�้ำตาล น�้ำตาลที่พบส่วนใหญ่
เป็น oligosaccharides 1-5 หน่วย ซาโปนินมีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายสบู่ เช่น สามารถเกิดฟองเมื่อเขย่า
กับน�้ำเป็นสารลดแรงตึงผิวที่ดี
13. แอนทราควิโนนท์ (anthraquinones) เป็นสารประกอบจ�ำพวกควิโนนที่พบมากที่สุดและ
มีความส�ำคัญที่สุด พบทั้งในรูปอิสระ และในรูปกลัยโคไซด์ มีสูตรโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย
3-ring system เป็นสารที่มีสีแดงส้ม
สารออกฤทธิ์ป้องกันก�ำจัดแมลงจากพื ต
ชร ์ นไพร
สมุ
ร ศาส
พืชมีสารออกฤทธิ์ในการป้อเงกั ก ษนต ก�ำจัดแมลงแตกต่างกัน เช่น ออกฤทธิ์เป็นสารไล่แมลง
(repellents) ออกฤทธิ์ดึงดูดแมลง ย าลัย(attractants) ออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลงตัวเต็มวัย (adulticides)
ิท
และออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าตัวอ่หอาวนแมลง (larvicides) เป็นต้น นอกจากนี้ยังแบ่งประเภทของสารออกฤทธิ์

ฆ่าแมลงตามช่องทางทีิท่สัลารเข้าท�ำลาย ได้แก่ สารประเภทกินตาย (stomach poisons) สารประเภท
สัมผัสตาย (contact ม ร ู้ดิจ poisons) และสารประเภทท�ำลายประสาท (nervous poisons) หรือแบ่งตาม

ลักษณะปฏิลังกคิรวิยาที่มีผลต่อแมลง ได้แก่ สารท�ำลายทางกายภาพ (physical insecticides) สารที่มีพิษ

ต่อระบบหายใจ (respiratory poisons) สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (nervous poisons) สารที่มีพิษ
ต่อเนื้อเยื่อเฉพาะแห่ง (protoplasmic poisons) และสารออกฤทธิ์ยับยั้งการกิน (antifeedants)
สารออกฤทธิต์ อ่ แมลงต่าง ๆ เหล่านีบ้ างชนิดใช้กนั มานานนับร้อยปี เช่น ยาฉุน โล่ตนิ๊ ไพรีทรินส์ สารออกฤทธิ์
ฆ่าแมลงที่มาจากพืชที่ส�ำคัญมีดังนี้

52 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557
1. อะซาไดแรคติน (azadirachtin) มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนแมลง โดยยับยั้งการกิน ท�ำให้ไม่มีการ
เจริญเติบโตและมีผลต่อระดับฮอร์โมนท�ำให้ไม่วางไข่สารนีพ้ บมากในสะเดาอินเดีย (Azadirachta indica)
ส�ำหรับสะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) พบว่ามีฤทธิ์ต�่ำ
2. นิโคติน (nicotine) หรือยาฉุน เป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ (alkaloid) เมื่อน�ำมาผสมกับสบู่
อ่อนในน�้ำร้อยเท่า พ่นฉีดฆ่าแมลงได้ผลดี ออกฤทธิ์แบบสัมผัสตายและกินตาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์
ต่อระบบประสาทของแมลง พบสารนี้ในยาสูบ Nicotiana tabacum และ N. rustica ในการใช้
ควรระมัดระวังเพราะระคายเคืองต่อผิวหนัง
3. โรติโนน (rotenone) หรือโรตีนอยด์ (rotenoids) หรือโล่ติ๊น เป็นแอลคาลอยด์ชนิดหนึ่ง มี
ฤทธิ์แบบสัมผัสตายและกินตาย สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน พบในพืชหลายชนิด เช่น หางไหล
แดง (Derris elliptica) หนอนตายอยาก (Stemona collinsae) และในพืชสกุล Tephrosia ได้แก่
ครามป่า (Tephrosia purpurea) และ ด่านราชสีห์ (Tephrosia vestita) สารนี้มีพิษมากต่อปลา ควรใช้
อย่างระมัดระวังไม่ให้แพร่กระจายลงสู่แม่น�้ำ ล�ำคลอง หรือแหล่งน�้ำธรรมชาติ
4. ปิปเปอรีน (piperine) เป็นแอลคาลอยด์ชนิดหนึ่ง สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าแมลง
และสารไล่แมลง พบมากในพริกไทย (Piper nigrum)
5. ไพรีทรินส์ (pyrethrins) สกัดมาจากดอกไพรีทรัม (Chrysanthemum cinerariaefolium)
ใช้กนั มาก ในประเทศจีน ญีป่ นุ่ และประเทศในแถบเปอร์เซียมีรายงานว่าชาวจีนใช้กนั มานานกว่าสองพันปี
ปัจจุบันไพรีทรินส์ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ก�ำจัดแมลงเกือบทุกชนิด ไพรีทรินส์เป็นสารก�ำจัดแมลงประเภท
ออกฤทธิ์สัมผัสตาย และเป็นพิษต่อระบบประสาทแมลงโดยตรง แต่มีพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก อีกทั้ง
สลายตัวในสภาพแวดล้อม จึงนับว่าเป็นสารฆ่าแมลงที์ ด่ ี มีผลให้การผลิตไพรีทรินส์จากธรรมชาติไม่เพียงพอ
กับความต้องการของตลาด ดังนั้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. ส ตร เป็นต้นมา ได้มีการสังเคราะห์สารที่มีคุณสมบัติ
1980
ศา
คล้ายกับไพรีทรินส์ขึ้น และเรียกสารกลุ่มษนีต้วร่าไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids)
6. ซาโปนิน (saponins)ลัยใช้เกเป็นสารฆ่าตัวเต็มวัยและสารไล่แมลง พบในพืชหลายชนิด เช่น

ปอกระเจา (Corchorus olitorius) ิา ทย สลอด (Croton tiglium) และขมิ้นชัน (Curcuma longa)

7. ไซยาโนเจนิัล คมหกลัยโคไซด์ (cyanogenic glycosides) สารกลุ่มนี้มักจะไปยับยั้งการ
เจริญเติบโตของแมลง ด
้ ู จ
ิ ิท เพราะเป็นตัวยับยั้งการกิน ออกฤทธิ์แบบสัมผัส พบในพืชหลายชนิด เช่น
ามร esculenta) ชมพูพวง (Kleinhovia hospita) ผกากรอง (Lantana camara)
มันส�ำปะหลังคว(Manihot
ัง
ผักเสี้ยนผีคล(Cleome viscosa) และผักเสี้ยน (Cleome gynandra)
8. แทนนิน (tannins) มีฤทธิ์ต่อแมลงแบบสัมผัสตาย และยับยั้งการกินพบสารนี้ในว่านน�้ำ
(Acorus calamus) และน้อยหน่า (Annona squamosa)

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
53
9. ยางขาว (latex) มีฤทธิ์เป็นสารฆ่ายุงทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย พบในมะละกอ
(Carica papaya)
10. น�้ำมันหอมระเหย (volatile oil) พบในพืชจ�ำพวกที่มีเหง้า ใบ หรือผลมีกลิ่นหอม เช่น ขมิ้น
ชัน (Curcuma longa) ข่า (Alpinia galanga) ขิง (Zingiber officinalis) ตะไคร้หอม (Cymbopogon
nardus) ไพล (Zingiber montanum) พริกไทย (Piper nigrum) แมงลัก (Ocimum americanum)
ยูคาลิป (Eucalyptus citriodora) โหระพา (Ocimum basilicum) ในน�้ำมันหอมระเหยของพืช
แต่ละชนิด จะมีสารต่าง ๆ มากมายหลายชนิดปนรวมกันอยู่ สารเหล่านี้มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
เช่นมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ไล่แมลง หรือดึงดูดแมลง เป็นต้น อย่างไรก็ตามน�้ำมันหอมระเหยมีข้อจ�ำกัด
คือสามารถระเหยได้เร็วทีอ่ ณ
ุ หภูมหิ อ้ ง หรืออุณหภูมทิ สี่ งู เกินกว่า 30 องศาเซลเซียส จึงท�ำให้มคี วามคงทน
ต�่ำในการออกฤทธิ์ ดังนั้นในการใช้ต้องน�ำมาพัฒนาเป็นต�ำรับ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และ
มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น น�้ำมันหอมระเหย essential oil หรือ volatile oil เป็นน�้ำมัน
หอมระเหยที่ได้จากพืชที่อยู่ในเซลล์ (oil cells) ในท่อหรือในต่อมขน (glandular hair) จากส่วนต่าง ๆ
เช่น ดอก ใบ ล�ำต้น เมล็ด ราก และ เหง้า

ชนิดของน�้ำมันหอมระเหย
1. Hydrocarbon volatile oils พบในมินต์ ส้ม กระวาน น�้ำมันสน อบเชย ลูกผักชี
ยูคาลิปตัส มีสาร limonine pinene และ p-cymene
2. Alcohol volatile oils พบในลูกผัรก์ ชี ลูกกระวาน ดอกส้ม ดอกกุหลาบ น�้ำมันสน
มีสาร geraniol citronellol mental และ า ส ตterpineol พบในอบเชย, ส้ม, มะนาว, ตะไคร้หอม
มีสาร geranial, neral และ citronellol ษตรศ
ล ย
ั เก
4. Ketone volatile oils ย า พบใน การบูร มินต์ มีสาร menthone carvone piperitone
pulegone fenchone และ ท

าวthojone

ัล ม oils พบใน กานพลู thyme oil creosote pinetar janiper tar
5. Phenol ิทvolatile
ร ู้ดิจ
มีสาร eugenol thymol และ
ม carvacrol
คว า
6.ังPhenolic ether volatile oils พบใน น�้ำมันโป๊ยกั๊ก และน�้ำมันจันทน์เทศ


ค7. Oxide volatile oils พบใน น�้ำมันยูคาลิปตัส มีสาร cineole
8. Ester volatile oils พบใน น�้ำมัน มัสตาด wintergreen oil มีสาร allyl isothiocyanate
และ methyl salicylate

54 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557
คุณสมบัติของน�้ำมันหอมระเหย
1. สี ส่วนใหญ่ไม่มีสี หลังจากถูกอากาศจะมีสีต่าง ๆ กัน
2. กลิ่น มีกลิ่นเฉพาะตัวตามชนิดน�้ำมัน
3. รส ต่างกันตามชนิดของน�้ำมัน
4. ความถ่วงจ�ำเพาะ 0.842-1.172 ส่วนใหญ่เบากว่าน�้ำ
5. Optical activity ใช้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ และคุณภาพ
6. Refractive index ตรวจสอบเอกลักษณ์
7. จุดเดือด 150-300 องศาเซลเซียส
8. ละลายในแอลกอฮอล์ อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม เบนซิล
9. การเสื่อมสลาย ถูกแสงและอากาศคุณภาพลดลงโดยเฉพาะน�้ำมันที่มีองค์ประกอบ terpene
จะเกิด peroxide น�้ำมันจะค่อย ๆ แข็งขึ้นเป็นผลึกเกาะข้างภาชนะบรรจุ
การเตรียมพืชสมุนไพรเพื่อใช้ท�ำธูปสมุนไพรไล่ยุง
1. คัดเลือกเฉพาะส่วนทีจ่ ะน�ำมาใช้ เช่น เสม็ดขาวใช้สว่ นของใบ กฤษณาใช้สว่ นของไม้ทสี่ กัดน�ำ้ มัน
แล้ว แพทชูลใี ช้ทงั้ ต้น สบูด่ ำ� ใช้เมล็ดทีบ่ บี น�ำ้ มันแล้ว ตะไคร้หอมใช้ทงั้ ต้น มะกรูดใช้ใบ และส้มใช้ผวิ เป็นต้น
2. ท�ำความสะอาดคัดแยกสิ่งปนเปื้อนออก
3. ถ้ามีขนาดใหญ่ควรหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
4. อบที่อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียสรหรื
ต ์ อผึ่งในร่มให้แห้งเหลือความชื้นไม่เกิน 12%
5. บดละเอียดขนาด 80-100 meshรศาส

6. เก็บในถุงพลาสติก
ัย เกษ
าล
ิาวทย
มห
ิจ ิทัล
า ม รู้ด
ค ัลงคว

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
55
ส่วนประกอบของธูปสมุนไพรไล่ยุง
1. ผงสมุนไพรบดละเอียด 30-40 % ขึ้นกับชนิดของสมุนไพร
2. ผงไม้บดละเอียด เช่น ผงจันทร์ขาว 25-30 % แต่ถา้ เป็นไม้กฤษณาไม่จำ� เป็นต้องใช้ผงไม้บดอีก
สามารถใช้ไม้กฤษณาบดละเอียดได้เลย
3. ผงไม้บง (โกบั๊ว, ก้อแดง) 25-30 % เพื่อใช้เป็นกาวให้ส่วนผสมยึดเกาะกัน
4. น�ำ้ สะอาดใช้อตั ราส่วนวัตถุดบิ ต่อสารละลาย 1:1 หรือ 1:1.5 โดยน�ำ้ หนักวัตถุดบิ ถ้าต้องเติมกลิน่
สังเคราะห์จะใช้ 5 -15% โดยใช้ มัสเป็นตัวยึดกลิ่น 0.5 - 1% ละลายในน�้ำที่มีสารอีมัลซิไฟเออร์ 1%
ของสารละลาย ถ้าต้องการใช้สารป้องกันเชื้อราควรจะใช้สารโซเดียมเบนโซเอท 0.5% โดยน�้ำหนักของ
วัตถุดิบ
ขั้นตอนการผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุง
เนื่องจากการผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุงเป็นการผลิตในปริมาณไม่มาก ดังนั้นการลงทุนเกี่ยวกับ
เครื่องจักรคงต้องพิจารณาเฉพาะที่จ�ำเป็นเท่านั้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นต่อกระบวนการ
ผลิตประกอบด้วย เครื่องบดละเอียด เครื่องชั่ง เครื่องรีดเส้นธูป ตู้อบลมร้อน และเครื่องปิดผนึกถุง
แต่ถา้ ไม่สามารถลงทุนค่าเครือ่ งมือขึน้ รูปได้อาจใช้วธิ ปี น้ั แท่งธูปด้วยมือก็ได้ ซึง่ เป็นวิธกี ารท�ำธูปสมุนไพรไล่ยงุ
แบบหัตถกรรม ธูปที่ผลิตได้ก็สามารถจ�ำหน่ายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุง

ตร ์
ร ศาส

ัยเกษ
าล
ิาวทย
ม ห
ิจิทัล
า ม รู้ด
ัลงคว
1. วัตคถุดิบ (ใบเสม็ดขาว) 2. ท�ำให้แห้งโดยการผึ่งในร่ม 3. บดละเอียดขนาด 80-100 mesh

56 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557
4. เตรียมส่วนผสมตามสูตร 5. ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน 6. รีดเส้นธูป

7. ตัดความยาว 8. เสียบก้าน 9.วางในถาดไม้

ตร ์
ร ศาส

เกษ
ย าลัย
10. ปิดฝาถาดและขันด้วหยน็าวอิทต 11. อบแห้งอุณหภูมิ 40-50 ํC 12. ธูปอบแห้งแล้ว

ิ ัล ม
ม ร ู้ดิจ
คว า
คลัง

13. ตัดก้าน 14. บรรจุซอง 15. ธูปไล่ยุงสมุนไพร

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
57
การทดสอบธูปสมุนไพรไล่ยุง
เนือ่ งจากธูปสมุนไพรไล่ยงุ เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยงุ เช่นเดียวกับยาจุดกันยุง ดังนัน้ การทดสอบคุณภาพ
จ�ำเป็นต้องทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงของส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม เช่น
กัน สิ่งที่จะต้องทดสอบประกอบด้วย
1. การทดสอบคุณภาพทางกายภาพ
มีวิธีการทดสอบดังนี้ ทั้งชนิดขดหรือแท่ง เมื่อแยกออกจากกันจะแตกหรือหักได้ไม่เกิน 5 %
ความแข็งแรงของยาจุดกันยุงแบบขดแตกหัก หรือร้าวไม่เกิน 20 % ของตัวอย่าง แบบแท่งจ�ำนวนกล่อง
ที่แตกหัก หรือร้าวไม่เกิน 15 % ของจ�ำนวนกล่อง อัตราการเผาไหม้ในห้องอับลมขนาด 3x3x2.5 เมตร
ได้ไม่นอ้ ยกว่า 6 ชัว่ โมงต่อขดเดียว และไม่นอ้ ยกว่า 2 ชัว่ โมงต่อแท่ง มีความชืน้ ได้ไม่เกิน 14 % ของน�ำ้ หนัก
แบบขด (mosquito coil) มีนำ�้ หนักไม่นอ้ ยกว่า 12 กรัม ต่อขด และแบบแท่ง (mosquito stick) มีนำ�้ หนัก
ไม่น้อยกว่า 5.50 กรัมต่อแท่ง
2. การทดสอบประสิทธิภาพทางชีววิทยา
มีวิธีการทดสอบดังนี้น�ำผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง ชนิดแท่ง ปริมาณ 0.74 กรัม หรือชนิดขด 0.50
กรัม เผาไหม้ในตูท้ ดสอบขนาด 700x700x700 ลูกบาศก์มลิ ลิเมตร จนหมด เก็บควันทีไ่ ด้ในตูท้ ดสอบ นาน
2 นาที ปล่อยยุงลาย เพศเมีย อายุ 3-5 วัน จ�ำนวน 20 ตัว (กินเลือดแล้ว) เข้าไปในตู้ทดสอบ บันทึกจ�ำนวน
ยุงลายที่ตกลงมาหงายท้อง จนครบเวลา 20 นาที ผลจะต้องท�ำให้ยุงลายหงายท้องได้ไม่น้อยกว่า 90 %
ของทั้งหมด ในเวลา 20 นาที
3. การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลั ตร ์น

มีวธิ กี ารทดสอบดังนี้ จุดตัวอย่างยาจุรดศกัานยุงในตูก้ ระจก ให้เผาไหม้ไป 0.50 กรัม ในกรณียาจุดกัน

ยุงชนิดขด และ 0.74 กรัม ในกรณียัยาจุ เ กดษกันยุงชนิดแท่ง กักควันไว้ในตู้กระจก และเมื่อยาจุดกันยุงไหม้
าล
หมดแล้วนาน 2 นาที จึงปล่อยหนู ิาวทย ขาวทดลอง จ�ำนวน 5 ตัว เข้าไปในตู้กระจก ปิดตู้กระจกให้หนูขาว
ดมควั น ยาจุ ด กั น ยุ ง นี้ นาน ม ห 1 ชั่ ว โมง แล้ ว น� ำ ออกมาสั ง เกตอาการหนู ข าวทดลอง ถ้ า หนู ข าว
ที่ ใช้ ท ดลองตายภายในเวลา ท
ิ ัล 48 ชั่ ว โมง หลั ง จากการทดสอบ จ� ำ นวน 3 ตั ว หรื อ มากกว่ า

้ ู จ

ให้ถือว่าตัวอย่าางยาจุ
ว มร ดกันยุงเป็นพิษเฉียบพลัน
ั ง ค
คล

58 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557
จากการศึกษาทดลองที่ผ่านมาโดยท�ำการศึกษาทดลองผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุงโดยใช้ใบเสม็ดขาว
เป็ น วั ต ถุ ดิ บ จากการทดสอบประสิท ธิภาพการไล่ ยุ ง ลายของสถาบั นวิ จัย วิ ท ยาศาสตร์ ส าธารณสุ ข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารสุข ผลปรากฏว่า ควันของธูปไล่ยุงไม่สามารถท�ำให้ยุงลาย
ตกลงมาหงายท้ อ งได้ เ ลย ในเวลา 20 นาที แสดงว่ า ประสิ ท ธิ ภ าพของสารในธู ป สมุ น ไพรไล่ ยุ ง มี
ความเข้มข้นต�่ำจึงไม่สามารถท�ำให้ยุงลายตกลงมาหงายท้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในเวลา 20 นาที
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงได้ ทั้งนี้ได้รับค�ำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการทดสอบว่ายา
จุดกันยุงหรือธูปไล่ยุงที่ผลิตจากพืชสมุนไพรโดยการน�ำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาเป็นวัตถุดิบไม่สามารถ
จะท�ำให้ยุงลายหงายท้องตกลงมาได้ ดังนั้นสรุปได้ว่าธูปสมุนไพรไล่ยุงจะมีอันตรายต่อผู้ใช้น้อยกว่ายาจุด
กันยุงที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม แต่การผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุงสิ่งที่ต้องค�ำนึงถึง คือ การเผาไหม้ของธูปจะ
ต้องเผาไหม้อย่างต่อเนือ่ งทัง้ แท่งโดยไม้ดบั ธูปจะต้องมีกลิน่ หอมโดยเฉพาะกลิน่ หอมทีเ่ กิดจากน�ำ้ มันหอม
ระเหยของพืชที่น�ำมาผลิตธูป ถ้ามีกลิ่นหอมมากก็ยิ่งดี ธูปจะต้องไม่มีควันมากเกินไป ดังนั้นควรปรับสูตร
และเลือกวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมที่จะน�ำมาผลิต และจะต้องไล่ยุงได้อย่างน้อย 40-60% จะช่วยท�ำให้
ผู้ใช้มีความพอใจเพิ่มมากขึ้น

ตร ์
ร ศาส

ัย เกษ
าล
ิาวทย
มห
ิจ ิทัล
า ม รู้ด
คัลงคว

KASETSART EXTENSION JOURNAL


VOLUME 59 ISSUE 2 : February - March - April -May 2014
59
เอกสารอ้างอิง
ถนอมศรี วงศรัตนาสถิตย. 2530. น�้ำมันหอมระเหย, เภสัชวินิจฉัย เลม 3. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะ
เภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ: 146-165.
วันดี กฤษณพนธ. 2544. เภสัชวินิจฉัยยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เลม 1. มหาวิทยาลัยมหิดล,
กรุงเทพฯ. 178 น
วิชยั หฤทัยธนาสันติ,์ วุฒนิ นั ท์ คงทัด, วารุณี ธนะแพสย์, เกษม หฤทัยธนาสันติ์ และชัยพร สามพุม่ พวง. 2545
การพั ฒ นาธูปไล่ยุงจากใบเม็ดขาว สถาบั นค้ นคว้ า และพั ฒ นาผลิ ตผลทางการเกษตรและ
อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 39 น.
วุฒินันท์ คงทัด, ชัยพร สามพุ่มพวง, สาริมา สุนทรารชุน, วารุณี ธนะแพสย์ และ พงษ์ศิริ วินิจฉัย 2548
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธูปหอมชนิดแท่งจากกากไม้กฤษณาที่สกัดน�้ำมัน สถาบันค้นคว้าและพัฒนา
ผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 29 น.
วุฒินันท์ คงทัด, สาริมา สุนทรารชุน และ ชัยพร สามพุ่มพวง. 2549 การพัฒนาธูปไล่ยุงจากเศษเหลือ
จากการสกัดน�ำ้ มันสบูด่ ำ
� สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 29 น.
วุฒินันท์ คงทัด, สุพนิดา วินิจฉัย, งามผ่อง คงคาทิพย์, มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ และวารุณี ธนะแพสย์ 2550
การพัฒนาธูปหอมแบบกรวยและธูปไล่ยุงแบบแท่งจากน�้ำมันและเศษเหลือแพทชูที่สกัดน�้ำมัน

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 54 น. สตร์
วุฒินันท์ คงทัด และสาริมา สุนทรารชุน. 2551 ต รศาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธูปหอมชนิดกรวยจากเนื้อไม้กฤษณา

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิัยตเกผลทางการเกษตรและอุ ตสาหกรรมเกษตร
า ล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ิา ทย . 30 น.

ส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัมณหฑ์อุตสาหกรรม. 2525. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง. มอก.309-2525.


กระทรวงอุติจสาหกรรม,ัล กรุงเทพมหานคร. 10 น.
อุษาวดี ถาวระ,วาอภิ ร ด
้ ู
ม วัฏ ธวัชสิน, ฤทัยรัตน์ ศรีธมรัตร์ และ ปณวรรณ ปุโรทกานนท์. 2546. สมุนไพร

คป้ลอังงกันก�ำจัดแมลงทางการแพทย์. ฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฎวิทยาทางการแพทย์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 72 น.

60 ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม 2557

You might also like