You are on page 1of 168

คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
คำนำ
พันธสัญญาของคอบบ์ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความต่อเนื่อง เพื่อ
เพิ่มศักยภาพการให้ผลผลิตครอบคลุม ทั้งไก่เนื้อและพ่อแม่พันธุ์ไก่
เนื้อ อย่างไรก็ตาม การที่จะบรรลุทั้งในแง่ศักยภาพตามสายพันธุ์และ
การผลิตฝูงไก่ให้มีความสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญอยู่ที่ผู้จัดการฝูงไก่ต้องมี
แผนการจัดการที่ดี ความสำเร็จของคอบบ์ที่แพร่หลายไปทั่วโลก เอื้อ
ให้เรามีประสบการณ์มากมายด้านการขยายพันธุ์ในสถานการณ์ที่
หลากหลาย เช่น ในสภาพอากาศร้อนและหนาวเย็น สิ่งแวดล้อมแบบ
ควบคุมและโรงเรือนแบบเปิด คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์
คอบบ์ฉบับนี้ ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือคุณในการจัดทำแผนการเลี้ยง
และการจัดการ
การจัดการไม่ใช่เพียงแค่การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของฝูง
ไก่ให้ได้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการปรับเปลี่ยนพลิกแพลงอย่างละ
เอียดปราณีตเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพสายพันธุ์อีกด้วย
บางสิ ่ ง บางอย่ า งในคู ่ ม ื อ ฉบั บ นี ้ อาจต้ อ งปรั บ เปลี ่ ย นให้ เ ข้ า กั บ
ประสบการณ์เฉพาะของแต่ละคน ด้วยความช่วยเหลือจากทีมงาน
ด้านเทคนิคของเรา
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์ฉบับนี้ ให้ความสนใจเป็น
พิเศษกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถภาพผลผลิตของฝูงไก่มาก
ที่สุด และเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการข้อมูลด้านเทคนิคของเรา ซึ่งมี

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ทั้งคู่มือโรงฟักไข่สายพันธุ์คอบบ์ จุลสารเทคนิคและแผนภาพแสดงผล
การดำเนินงานเต็มรูปแบบ คำแนะนำของเราอ้างอิงความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่เป็นปัจจุบันผนวกกับประสบการณ์จริงจากทั่วโลก
คุณควรตระหนักถึงตัวบทกฎหมายเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนว
ปฏิบัติด้านการจัดการที่คุณเลือกรับมาใช้
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์ฉบับนี้ มีความตั้งใจให้เป็น
เอกสารอ้างอิงและส่วนเสริมทักษะการเลี้ยงและการจัดการฝูงไก่ของ
คุณ ดังนั้น คุณจึงสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และวิจารณญาณของ
ตนเองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีจากผลิตภัณ์สายพันธุ์คอบบ์ของเราสืบ
เนื่องต่อไป
ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2555

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

สารบัญ
หน้า
1. การออกแบบโรงเรือน 1-23
1.1 ความหนาแน่นในการเลี้ยง 2
1.2 ข้อกำหนดสำคัญในการ 4
ออกแบบติดตั้งม่านกั้น
1.3 การหุ้มฉนวนกันความร้อน 5
1.4 พื้นที่กกลูกไก่ 8
1.5 อุปกรณ์ 9
1.5.1 ระบบน้ำ 9
1.5.2 มาตรวัดน้ำ 13
1.5.3 ถังกักเก็บน้ำ 14
1.5.4 ระบบอาหาร 17
1.5.5 ระบบทำความร้อน 20
1.5.6 ระบบระบายอากาศ 22

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

2. การออกแบบโรงเรือน 24-35
2.1 การจัดแบบทั่วทั้งโรงเรือน 24
2.2 การจัดแบบแบ่งส่วนโรงเรือน 24
2.3 ไฟนำทางเพื่อดึงดูดไก่เข้าหา 26
พื้นที่กก
2.4 การดูแลวัสดุรองพื้น 26
2.4.1 หน้าที่สำคัญของวัสดุ 27
รองพื้น
2.4.2 วัสดุรองพื้นประเภท 28
ต่างๆ
2.4.3 การประเมินสภาพวัสดุ 29
รองพื้น
2.4.4 คุณสมบัติขั้นต่ำของ 30
วัสดุรองพื้น
2.5 รายการตรวจสอบก่อนจัดฝูงไก่ 30
เข้าโรงเรือน

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

3. การจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน 36-41
3.1 ข้อกำหนดสำคัญในการจัดการ 36
3.2 คุณภาพลูกไก่ 37
3.3 การจัดการพื้นที่กก 38
3.4 อุณหภูมิร่างกายลูกไก่ 39
3.5 การระบายอากาศในพื้นที่กก 40
4. หลังจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน 42-48
4.1 รายการตรวจสอบหลังจัดลูกไก่ 42
เข้าโรงเรือน
4.2 การประเมินผลการเตรียมโรง 46
เรือนหลังจัดลูกไก่เข้าอยู่อาศัย
5. ระยะเติบโต 49-63
5.1 ความสม่ำเสมอของฝูง 49
5.2 อุณหภูมิ 53
5.3 แผนงานแสงสว่าง 55

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

5.3.1 ประเด็นสำคัญที่ต้อง 57
พิจารณาในการใช้
แผนงานแสงสว่าง
5.3.2 แผนงานแสงสว่าง 60
3 รูปแบบ
1) แผนงานแสงสว่าง - 60
แบบที่ 1 : ไก่น้ำหนัก
น้อยกว่า 2.0 กก.
(4.4 ปอนด์)
2) แผนงานแสงสว่าง - 61
แบบที่ 2 : ไก่น้ำหนัก
2.0 - 3.0 กก.
(4.4 - 6.6 ปอนด์)
3) แผนงานแสงสว่าง - 62
แบบที่ 3 : ไก่น้ำหนัก
มากกว่า 3.0 กก.
(6.6 ปอนด์)
5.4 ประโยชน์ของแผนงาน 63
แสงสว่าง

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

6. การจัดการระบายอากาศ 64-103
6.1 การระบายอากาศพื้นฐาน 64
6.2 แรงดันเป็นลบ – คุณสมบัติ 71
สำคัญของการระบายอากาศ
พื้นฐาน
6.3 ช่องลม 73
6.4 การระบายอากาศแบบ 77
เปลี่ยนผ่าน
6.5 การระบายอากาศแบบ 79
อุโมงค์ลม
6.6 อุณหภูมิสัมฤทธิ์ 83
6.7 การทำความเย็นด้วยการระเหย 85
ของน้ำ
6.7.1 การจัดการเครื่องสูบน้ำ 88
6.7.2 การออกแบบแผงรังผึ้ง 89
6.7.3 การจัดการแผงรังผึ้ง 91

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

6.7.4 การคำนวณความ 91
ต้องการใช้แผงรังผึ้ง
6.7.5 การระบายอากาศที่ 93
ทำให้วัสดุรองพื้นเปียก
และมีความชื้นสูงที่
พบบ่อย
6.8 ระบบพ่นหมอก 94
6.9 การระบายอากาศตาม 97
ธรรมชาติ
6.9.1 เทคนิคการจัดการใน 97
สภาพอากาศร้อน
6.9.2 เทคนิคการจัดการ 101
ม่านกั้น
6.9.3 เทคนิคการระบาย 103
อากาศแบบใช้ม่านกั้น
7. การจัดการน้ำ 104-116
7.1 ปริมาณแร่ธาตุ 104
7.2 การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ 105

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

7.3 สุขอนามัยน้ำและการกำจัดสิ่ง 106


สกปรกออกจากระบบ
7.3.1 การชำระล้าง 107
7.3.2 ศักยภาพการเกิด 107
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น-
รีดักชั่น (ORP)
7.3.3 ค่าความเป็นกรดเป็น 109
ด่าง (pH)
7.4 ปริมาณของแข็งที่แขวนลอย 111
หรือละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด
7.5 การกำจัดสิ่งสกปรกออกจาก 113
ระบบน้ำดื่มระหว่างการเลี้ยงไก่
แต่ละฝูง
7.6 การทดสอบน้ำ 114
8. การจัดการโภชนาการ 117-123
9. ขั้นตอนการจับไก่ 124-131

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

10. ความปลอดภัยทางชีวภาพและ 132-139


สุขอนามัยฟาร์ม
10.1 ความปลอดภัยทางชีวภาพ 132
10.2 สุขอนามัยฟาร์ม 135
11. สุขภาพไก่ 140-147
11.1 การให้วัคซีน 140
12. การบันทึกข้อมูล 148-150
13. ภาคผนวก 151-153
14. หมายเหตุ 154

!
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
1. การออกแบบโรงเรือน
สิ่งแวดล้อมแบบดั้งเดิมและสิ่งแวดล้อมแบบปิด
มีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกประเภทโรงเรือนและอุปกรณ์
เกี่ยวข้องที่เหมะสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อมากที่สุด แม้ว่าเงื่อนไขทาง
เศรษฐกิจดูเหมือนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น การ
จัดหาอุปกรณ์ได้ง่าย การบริการหลังการขาย และอายุใช้งานของ
ผลิตภัณฑ์ก็เป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน การจัดทำโรงเรือนควรมีความ
คุ้มค่า คงทน และมีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้
การวางแผนก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ ควรเลือกพื้นที่ซึ่งมีการ
ระบายน้ำได้ดี มีการหมุนเวียนอากาศธรรมชาติอย่างเพียงพอ ควรจัด
วางโรงเรือนในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก เพื่อลดความร้อนจาก
แสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าหาผนังด้านข้างโดยตรงในช่วงร้อนสุดของวัน
วัตถุประสงค์หลัก ก็เพื่อลดความผันผวนของอุณหภูมิในช่วง 24
ชั่วโมง การควบคุมอุณภูมิได้ดีจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตและการ
เปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเสมอ
องค์ประกอบสำคัญในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อขึ้นใหม่มีอยู่
4 ประการ คือ
⋅ วัสดุหลังคาควรมีพื้นผิวภายนอกสะท้อนความร้อนกลับ เพื่อ
ช่วยลดการเหนี่ยวนำความร้อนจากแสงอาทิตย์และควรหุ้ม
ฉนวนกันความร้อนให้ดี

คอบบ์! 1
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ระบบทำความร้อนควรมีสมรรถนะการทำงานสอดคล้องกับ
สภาพอากาศ
⋅ ควรออกแบบระบบระบายอากาศให้ ม ี ก ๊ า ซออกซิ เ จนใน
ปริมาณที่เพียงพอและรักษาสภาพแวดล้อมให้มีอุณหภูมิและ
ความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสำหรับไก่มากที่สุด
⋅ ควรวางตำแหน่ ง ไฟส่ อ งสว่ า งให้ ก ระจายแสงไปยั ง พื ้ น ได้
สม่ำเสมอถ้วนทั่ว

1.1 ความหนาแน่นในการเลี้ยง
ความหนาแน่นในการเลี้ยงที่ถูกต้องเหมาะสมมีความสำคัญต่อความ
สำเร็จของระบบผลิตไก่เนื้อ โดยให้มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่เพียงพอเพื่อให้
ได้สมรรถภาพผลผลิตดีที่สุด นอกจากคำนึงถึงสมรรถภาพผลผลิต
และผลกำไรแล้ว ความหนาแน่นในการเลี้ยงที่ถูกต้องยังแสดงให้เห็น
เจตนารมณ์ที่มีต่อสวัสดิภาพไก่เป็นสำคัญอีกด้วย เพื่อประเมินความ
หนาแน่นในการเลี้ยงได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ
เช่น สภาพอากาศ ประเภทโรงเรือน ระบบระบายอากาศ น้ำหนักไก่
พร้อมชำแหละ และกฎข้อบังคับด้านสวัสดิภาพต่างๆ ความหนาแน่น
ในการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสมจะนำไปสู่ปัญหาการบาดเจ็บที่ขา การคุ้ย
เขี่ย มีรอยจ้ำและตายได้ นอกจากนี้ยังเกิดความเสียหายกับวัสดุรอง
พื้นได้อีกด้วย

คอบบ์ ! 2
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การกำหนดสัดส่วนฝูงไก่ให้น้อยลง เป็นแนวทางอย่างหนึ่งในการ
รักษาความหนาแน่นของไก่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในบางประเทศ
จัดไก่เข้าโรงเรือนด้วยอัตราความหนาแน่นสูงและเลี้ยงดูให้มีพิกัดน้ำ
หนักแตกต่างกันไป 2 แบบ แบบพิกัดน้ำหนักน้อยกว่า จำนวนร้อยละ
20 – 50 ของฝูงไก่จะถูกจำหน่ายออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการ
ของตลาดส่วนนี้ และไก่ที่เหลืออยู่ในโรงเรือนก็จะมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
และได้รับการเลี้ยงดูให้มีน้ำหนักมากกว่าไก่แบบแรก
ความหนาแน่นในการเลี้ยงที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมีความแตกต่างหลาก
หลาย ในสภาพอากาศอบอุ่น ความหนาแน่นในการเลี้ยงซึ่งน่าจะ
เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร ข้อแนะนำทั่วๆ ไป เป็น
ดังนี้
ประเภทโรงเรือน ประเภทของ อุปกรณ์ ความหนาแน่นในการเลี้ยงสูงสุด
การระบายอากาศ
เปิดด้านข้าง ตามธรรมชาติ พัดลมกระจายอากาศ 30 กก./ตร.ม. (6.2 ปอนด์/ตารางฟุต)
เปิดด้านข้าง แรงดันบวก พัดลมติดผนังที่มุม 60 องศา 35 กก./ตร.ม. (7.2 ปอนด์/ตารางฟุต)
ผนังทึบ แบบมีลมพัดผ่านตลอด ติดตั้งตามมาตรฐานยุโรป 35 กก./ตร.ม. (7.2 ปอนด์/ตารางฟุต)
ผนังทึบ แบบอุโมงค์ลม เครื่องพ่นหมอก 39 กก./ตร.ม. (8.0 ปอนด์/ตารางฟุต)
ผนังทึบ แบบอุโมงค์ลม การทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ 42 กก./ตร.ม. (8.6 ปอนด์/ตารางฟุต)

คอบบ์ ! 3
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
1.2 ข้อกำหนดสำคัญในการออกแบบติดตั้งม่านกั้น
⋅ ด้านบนสุดของม่านกั้นต้องสอดทับอยู่กับผนังโรงเรือนเพื่อ
ป้องกันการเกิดรอยรั่ว ส่วนที่สอดทับต้องกว้างอย่างน้อย 15
เซนติเมตร (6 นิ้ว)
⋅ ติดม่านอันเล็ก ขนาด 25 ซม. (10 นิ้ว) ไว้บนผนังนอกโรง
เรือนสูงเท่าขอบชายคา จะช่วยป้องกันรอยรั่วด้านบนสุดของ
ม่านกั้นได้ดียิ่งขึ้น
⋅ ควรติดม่านกั้นให้พอดีกับขอบพับของม่านอันเล็กขนาด 25
เซนติเมตร (10 นิ้ว) ที่ปิดทับชายม่านในแนวตั้งทั้งสองด้านไว้
⋅ ควรเย็บริมม่านกั้นทบสามชั้น
⋅ จำเป็นต้องปิดทับชายม่านกั้นให้แน่นหนาเพื่อป้องกันอากาศ
ระดับพื้นรั่วไหล
⋅ ต้องทำการซ่อมแซมช่องโหว่บนผนังและ/หรือรอยขาดบน
ม่านกั้นทั้งหมด
⋅ ม่านกั้นจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หากมีการเปิด
และปิ ด อั ต โนมั ต ิ ด ้ ว ยอุ ณ หภู ม ิ แ ละความเร็ ว ลมตามที ่ ไ ด้
กำหนดไว้

คอบบ์ ! 4
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ความสูงของผนังโรงเรือนส่วนล่างที่เหมาะสมที่สุดคือ 0.50
เมตร (1.6 ฟุต)
⋅ หลังคาควรยื่นพ้นโรงเรือนออกไป 1.25 เมตร (4.1 ฟุต)

1.3 การหุ้มฉนวนกันความร้อน
สิ่งสำคัญที่ทำให้สมรรถภาพผลผลิตไก่มีคุณภาพดีขึ้น ก็คือ การจัดสิ่ง
แวดล้อมโรงเรือนให้มีสภาวะคงที่ อุณหภูมิโรงเรือนที่มีความผันผวน
สูงป็นสาเหตุให้ไก่เกิดความเครียดและส่งผลต่อการบริโภคอาหาร อีก
ทั้ง ความผันผวนเช่นนี้ยังทำให้ไก่ต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการรักษา
อุณหภูมิร่างกาย การหุ้มฉนวนช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ
ทำความร้อน ลดความรุนแรงของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผ่านทะลุเข้า
มา และป้องกันไม่ให้เกิดการควบแน่น
หลังคาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องหุ้มฉนวนกันความร้อน หลังคาที่หุ้ม
ฉนวนเป็นอย่างดีจะช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านทะลุ

คอบบ์ ! 5
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
โรงเรือนเข้ามาในวันที่มีอากาศอบอุ่น ทำให้ไก่ไม่ร้อน ในสภาพอากาศ
หนาวเย็น หลังคาที่หุ้มฉนวนอย่างดี จะช่วยลดการสูญเสียความร้อน
และการใช้พลังงานที่จำเป็นในการรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
กับลูกไก่ระยะกก ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่สุดของพัฒนาการลูกไก่
หลังคาควรหุ้มฉนวนให้มีค่าความต้านทานการถ่ายเทความร้อน
(ค่า R-Value) อย่างน้อย 20 -25 (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ)
ความสามารถในการเป็ น ฉนวนของวั ส ดุ ว ั ด ออกมาเป็ น
ค่ า R-Value หากค่า R-Value สูง คุณสมบัติการเป็นฉนวนของ
วัสดุก็จะสูงตามไปด้วย ในการเลือกวัสดุฉนวน จึงควรพิจารณา
ค่าใช้จ่ายต่อค่า R-Value ที่ได้รับเป็นสำคัญ แทนที่จะพิจารณา
ค่าใช้จ่ายต่อความหนาของวัสดุ ตารางด้านล่างแสดงข้อมูลวัสดุ
ฉนวนและค่า R-Value ตามประเภทของวัสดุ

คอบบ์ ! 6
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
วัสดุฉนวนและค่า R-Value
วัสดุ ค่า R-Value ต่อ 2.5 ซม. (1นิ้ว)
แผ่นโพลีสไตรีน ค่า R-Value เฉลี่ย 3 ต่อ 2.5 ซม.
การพ่นหรือกรุด้วยเซลลูโลสหรือแก้ว ค่า R-Value เฉลี่ย 3.2 ต่อ 2.5 ซม.
เคลือบหรือคลุมด้วยใยแก้ว ค่า R-Value เฉลี่ย 3.2 ต่อ 2.5 ซม.
โพลีสไตรีนแบบอัดรีด ค่า R-Value เฉลี่ย 5 ต่อ 2.5 ซม.
โฟมโพลียูริเทนแบบไม่มีวัสดุปิดผิว ค่า R-Value เฉลี่ย 6 ต่อ 2.5 ซม.

U Value คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของการถ่ายเทความร้อน เป็นมาตร


วัดอัตราการสูญเสียหรือการได้รับความร้อนที่ไม่ได้เกิดจากแสง
อาทิตย์ผ่านทะลุวัสดุ ค่า U-Value บอกถึงความร้อนที่วัสดุยอม
ให้ผ่านไปได้ ระดับค่า U-Value โดยปกติแล้วจะอยู่ระหว่าง 0.20
– 1.20 ยิ่งค่า U-Value ต่ำ ความต้านทานความร้อนของ
ผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งสูง และมีค่าความเป็นฉนวนมากขึ้น ค่า U-Value
และค่า R-Value จะผกผันกัน

คอบบ์ ! 7
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ค่า R-Value ของหลังคาที่ต้องการ คือ 20 (เท่ากับ 3.5 ในหน่วย SI)
และค่า U-Value เท่ากับ 0.05 ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยว
กับความร้อน ลดการผ่านทะลุของพลังงานแสงอาทิตย์ และป้องกันไม่
ให้เกิดการควบแน่น
1.4 พื้นที่กกลูกไก่
ในอาคารที่หุ้มฉนวนไว้ไม่ดี ผู้เลี้ยงจะลดความผันผวนของอุณหภูมิได้
โดยการสร้างกระโจมผ้าใบขนาดเล็กไว้ในโรงเรือน ซึ่งประกอบด้วย
เพดานหลอกขึงจากชายคาแต่ละฝั่ง โดยเพดานหลอกนี้จะช่วยลด
การสูญเสียความร้อนได้เป็นอย่างดีและทำให้ควบคุมอุณหภูมิได้ง่าย
ขึ้น จำเป็นต้องติดม่านกั้นไว้ด้านในอีกชั้น โดยห่างจากม่านชั้นนอก 1
เมตร ม่านชั้นในจะปิดสนิทจากพื้นจรดชายคาเพดานหลอก ซึ่งจะเปิด
จากด้านบนลงมาเท่านั้น ห้ามเปิดจากด้านล่างขึ้นไป อากาศที่ไหล
ผ่านเข้ามาในระดับพื้นแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นสาเหตุให้ไก่หนาวสั่นได้
ม่านชั้นในนี้สามารถนำมาใช้เพื่อการระบายอากาศในระยะต้นได้

คอบบ์ ! 8
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
1.5 อุปกรณ์
1.5.1 ระบบน้ำ
การจัดเตรียมน้ำเย็นสะอาด มีอัตราไหลกำลังดีไว้ให้ ถือเป็นพื้นฐาน
สำคัญในการผลิตสัตว์ปีกที่ดี หากไม่มีการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
การบริโภคอาหารก็จะลดลงและจะเกิดผลเสียกับสมรรถภาพผลผลิต
ของไก่ได้ในที่สุด ระบบน้ำที่ใช้อยู่ทั่วไป มีทั้งระบบเปิดและระบบปิด
ถังน้ำอัตโนมัติหรือถ้วยน้ำ (ระบบเปิด)
ถึงแม้ว่าการติดตั้งระบบน้ำแบบเปิดจะมีข้อดีในเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย
แต่ก็พบปัญหาบ่อยครั้งเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุรองพื้น การถูกยึด
ทำลายซาก และสุขอนามัยน้ำ การรักษาน้ำในระบบเปิดให้สะอาด
บริสุทธิ์เสมอเป็นเรื่องยาก เพราะไก่มักจะทำให้ภาชนะใส่น้ำเกิดการ
ปนเปื้อน ส่งผลให้ต้องทำความสะอาดทุกวัน ซึ่งไม่ใช่แค่เปลือง
แรงงานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์
อีกด้วย
สภาพวัสดุรองพื้นเป็นเครื่องมือประเมินประสิทธิผลของการตั้งแรงดัน
น้ำที่ยอดเยี่ยม หากวัสดุรองพื้นใต้แหล่งน้ำเปียกชื้น แสดงว่าติดตั้ง
อุปกรณ์ให้น้ำไว้ต่ำเกินไป แรงดันน้ำสูงเกินไป หรือมีตัวถ่วงใน
อุปกรณ์ให้น้ำไม่เพียงพอ ถ้าวัสดุรองพื้นแห้งเกินไป อาจบ่งชี้ว่าแรง
ดันน้ำต่ำเกินไป

คอบบ์ ! 9
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
คำแนะนำในการติดตั้ง
⋅ ควรจั ด ให้ ไ ก่ ม ี พ ื ้ น ที ่ ด ื ่ ม น้ ำ จากถั ง น้ ำ อั ต โนมั ต ิ อ ย่ า งน้ อ ย
0.6 ซม. (0.24 นิ้ว) ต่อไก่หนึ่งตัว
⋅ ถังน้ำอัตโนมัติทั้งหมดควรมีตัวถ่วง เพื่อลดการหกเลอะเทอะ
คำแนะนำด้านการจัดการ
⋅ ควรแขวนถังน้ำอัตโนมัติและถ้วยให้น้ำ โดยให้ขอบอุปกรณ์
อยู่สูงระดับเดียวกับหลังไก่ในท่ายืนปกติ
⋅ ควรปรับความสูงตามการเติบโตของไก่เพื่อลดโอกาสปนเปื้อน
⋅ ระดับน้ำควรอยู่ต่ำกว่าขอบของอุปกรณ์ 0.5 ซม. (0.20 นิ้ว)
สำหรับลูกไก่อายุ 1 วันและค่อยๆ ลดความลึกลงทีละน้อย
จนถึง 1.25 ซม. (0.50 นิ้ว) เมื่อพ้นอายุ 7 วันไปแล้ว ซึ่งจะลึก
ประมาณหัวแม่มือ

คอบบ์ ! 10
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ระบบหัวหยดให้น้ำ (ระบบปิด)
หัวหยดให้น้ำที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท คือ
⋅ หัวหยดแบบไหลเร็ว ปล่อยน้ำในอัตรา 80 – 90 มิลลิลิตร/
นาที (2.7 ถึง 3 ออนซ์ปริมาตร/นาที) ออกมาเป็นหยดน้ำที่
ปลายหัวหยดและมีถ้วยรองรับน้ำส่วนเกินที่รั่วหยดออกมา
โดยทั่วไปจะแนะนำให้จัดไก่ไว้ 12 ตัวต่อหนึ่งหัวหยดแบบ
ไหลเร็ว
⋅ หัวหยดแบบไหลช้า ปล่อยน้ำในอัตรา 50 – 60 มิลลิลิตร/
นาที (1.7 ถึง 2 ออนซ์ปริมาตร/นาที) มักไม่มีถ้วยไว้รองรับน้ำ
และปรั บ แรงดั น ให้ ค งอั ต ราการไหลสอดคล้ อ งกั บ ความ
ต้องการของไก่เนื้อ โดยทั่วไปจะแนะนำให้จัดไก่ไว้ 10 ตัวต่อ
หนึ่งหัวหยดแบบไหลช้า
คำแนะนำในการติดตั้ง
⋅ จำเป็นต้องเพิ่มแรงดันน้ำให้กับระบบหัวหยด ด้วยการติดตั้ง
ถังบนหรือไม่ก็ใช้ระบบสูบน้ำ
⋅ ในโรงเรือนที่พื้นลาดชัน ควรติดตั้งตัวปรับระดับความชันตาม
คำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเพื่อจัดการแรงดันน้ำให้ไปถึงทุก
ส่วนของโรงเรือน ตัวเลือกอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ ได้แก่
ท่อแยก ตัวปรับแรงดันหรือตัวปรับความชัน ในโรงเรือนที่มี

คอบบ์ ! 11
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
พื้นลาดชัน ควรติดตั้งตัวปรับแรงดันไว้ในโรงเรือนด้านที่
สูงกว่า
⋅ ไม่ควรให้ไก่ต้องเดินหาน้ำเกินระยะ 3 เมตร (10 ฟุต) หัวหยด
ควรติดตั้งไว้ศูนย์กลางที่ระยะสูงสุด 35 ซม.(14 นิ้ว)
คำแนะนำด้านการจัดการ
⋅ ระบบน้ำแบบหัวหยดมีโอกาสปนเปื้อนน้อยกว่าระบบเปิด
⋅ ต้องปรับหัวหยดให้อยู่ที่ระดับความสูงเท่ากับหลังลูกไก่และ
ปรับแรงดันน้ำให้เหมาะสม ตามกฎทั่วไป ไก่ควรยืดตัวถึงพิน
ดึงได้โดยไม่ต้องก้มหัวลงต่ำ – เท้าของไก่ต้องวางราบอยู่บน
พื้นตลอดเวลา
⋅ สำหรับระบบที่มีท่อยืน ควรทำการปรับแรงดันเพิ่มขึ้นอีก 5
ซม. (2 นิ้ว) ตามคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิต ควรดูแลระบบที่
มีถาดรองรับน้ำ อย่าให้ไก่กินน้ำจากถาด และถ้าหากมีน้ำอยู่
ในถาด แสดงว่าระบบมีแรงดันน้ำสูงเกินไป
⋅ เพื่อให้ได้สมรรถภาพผลผลิตไก่เนื้อดีที่สุด แนะนำให้ใช้ระบบ
น้ำดื่มแบบปิด การปนเปื้อนของน้ำในระบบปิดแบบใช้หัว
หยดไม่มากเท่ากับระบบเปิด ซึ่งช่วยลดปัญหาการเสียน้ำโดย
เปล่าประโยชน์ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ระบบปิดยังมีข้อดีตรงที่
ไม่ต้องทำความสะอาดทุกวันเหมือนระบบเปิด อย่างไรก็ตาม

คอบบ์ ! 12
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
นอกจากประเมินด้วยสายตาแล้ว การตรวจและทดสอบอัตรา
การไหลอย่างสม่ำเสมอก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่ใจว่าหัวหยดทั้งหมดทำงานเป็นปกติ
1.5.2 มาตรวัดน้ำ
การตรวจอัตราการดื่มน้ำด้วยมาตรวัดน้ำเป็นวิธีตรวจวัดปริมาณการ
กินอาหารที่ดีเยี่ยม เพราะสองสิ่งนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างสูง มาตร
วัดน้ำควรมีขนาดเท่ากับท่อส่งน้ำเพื่อให้มีอัตราการไหลที่เหมาะสม
ควรประเมินการดื่มน้ำในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน เพื่อให้ทราบแนวโน้ม
สมรรถภาพผลผลิตและความเป็นอยู่ของไก่ที่เลี้ยง
หมายเหตุ : ติดตั้งทางเบี่ยงมาตรวัดน้ำสำหรับล้างทำความสะอาด
แยกต่างหาก ปริมาณน้ำที่ใช้ในขั้นตอนการล้างทำความสะอาดตาม
ปกติ ไม่ควรนำมาอ่านค่ารวมกับปริมาณน้ำที่ไก่บริโภคต่อวัน
หากการใช้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ควรทำการตรวจสอบ
เพราะอาจบ่งชี้ถึงการรั่วไหล ปัญหาสุขภาพหรือปัญหาเกี่ยวกับอาหาร
ก็เป็นได้ การที่ไก่ดื่มน้ำน้อยลง มักเป็นข้อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับฝูงไก่
เป็นอันดับแรก
การบริโภคน้ำควรอยู่ที่ประมาณ 1.6 – 2 เท่าของปริมาณอาหารโดย
มวล แต่ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม คุณภาพอาหาร และ
สุขภาพของไก่ด้วย

คอบบ์ ! 13
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ การบริโภคน้ำเพิ่มขึ้น 6% ต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทุก
1 องศา ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20 – 32 ˚C
⋅ การบริโภคน้ำเพิ่มขึ้น 5% ต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทุก
1 องศา ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 32 – 38 ˚C
⋅ การบริโภคอาหารลดลง 1.23% ต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ
ทุก 1 องศา ในช่วงที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 ˚C
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิแวดล้อมกับอัตราส่วนของน้ำ
และอาหาร
อุณหภูมิ ˚C/˚F อัตราส่วนของน้ำและอาหาร
4 ˚C/ 39˚F 1.7:1
20 ˚C/ 68˚F 2:1
26 ˚C/ 79˚F 2.5:1
37 ˚C/ 99˚F 5:1
ที่มา Singleton (2004)
1.5.3 ถังกักเก็บน้ำ
ควรกักเก็บน้ำไว้ในฟาร์มให้เพียงพอในกรณีที่ระบบจ่ายน้ำหลักเกิด
ปัญหา ปริมาณน้ำที่เพียงพอคือ ปริมาณที่สามารถจ่ายเข้าฟาร์มได้
สูงสุด 48 ชั่วโมง สมรรถนะการกักเก็บขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่อยู่ใน

คอบบ์ ! 14
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ฟาร์ม รวมกับปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องใช้สำหรับระบบทำความเย็น
ด้วยการระเหยของน้ำ
ตารางด้านล่างแสดงตัวอย่างปริมาณน้ำที่ต้องการสูงสุดสำหรับแผงรัง
ผึ้งของโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลมสมัย
ใหม่ ที่ความเร็วลม 3 เมตร/วินาที (600 ฟุต/นาที)
ความกว้างโรงเรือน ความเร็วลม สมรรถนะการทำงานของพัดลม
อุโมงค์ และปริมาณน้ำที่ต้องการสำหรับแผงรังผึ้งขนาด 6 ฟุต

ความกว้างโรงเรือน ความเร็วลม สมรรถนะการทำงาน ไม่มีพัดลม ปริมาณน้ำที่


ของพัดลมอุโมงค์ (790 ลบ.ม./นาที หรือ ต้องการสำหรับ
28,000 ลบ.ฟุต/นาที) แผงรังผึ้ง
12 เมตร (40 ฟุต)3 เมตร/วินาที 6456 ลบ.ม./นาที 8 45 ลิตร/นาที
(600 ฟุต/นาที) (228,000 ลบ.ฟุต/นาที)
15 เมตร (50 ฟุต)3 เมตร/วินาที 8093 ลบ.ม./นาที 10 53 ลิตร/นาที
(600 ฟุต/นาที) (285,800 ลบ.ฟุต/นาที)
18 เมตร (60 ฟุต)3 เมตร/วินาที 9684 ลบ.ม./นาที 12 64 ลิตร/นาที
(600 ฟุต/นาที) (342,000 ลบ.ฟุต/นาที)
20 เมตร (66 ฟุต)3 เมตร/วินาที 10653 ลบ.ม./นาที 13 72 ลิตร/นาที
(600 ฟุต/นาที) (376,200 ลบ.ฟุต/นาที)

คอบบ์ ! 15
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หากแหล่งน้ำเป็นบ่อน้ำหรือถังพักน้ำ ควรติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่มี
สมรรถนะสอดคล้องกับปริมาณการบริโภคน้ำสูงสุดของไก่ รวมทั้ง
ปริมาณที่จำเป็นต้องใช้ในระบบพ่นหมอกและ/หรือระบบทำความเย็น
ด้วยการระเหยของน้ำสูงสุด
แต่ละโรงเรือนควรแยกติดตั้งระบบน้ำที่จ่ายให้ไก่บริโภคออกจากน้ำที่
ใช้ในระบบทำความเย็น
ตารางด้านล่าง แสดงอัตราการไหลของน้ำโดยประมาณสำหรับ
ท่อน้ำขนาดต่างๆ
อัตราการไหล (ลิตร/นาที) ขนาดท่อน้ำ (มม. และ นิ้ว)
20 ลิตร/นาที 20 มม. หรือ 0.75 นิ้ว
38 ลิตร/นาที 25 มม. หรือ 1 นิ้ว
76 ลิตร/นาที 40 มม. หรือ 1.5 นิ้ว
150 ลิตร/นาที 50 มม. หรือ 2 นิ้ว
230 ลิตร/นาที 65 มม. หรือ 2.5 นิ้ว
300 ลิตร/นาที 75 มม. หรือ 3 นิ้ว

ควรทำความสะอาดถังกักเก็บน้ำก่อนเลี้ยงไก่ฝูงใหม่ทุกครั้ง และใน
สภาพอากาศร้อน ควรมีร่มเงาบังแดดถังเก็บน้ำ เพราะน้ำที่อุณหภูมิ

คอบบ์ ! 16
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
สูงขึ้น จะลดปริมาณการบริโภคของไก่ลง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการ
บริโภคอยู่ระหว่าง 10 – 14 ˚C (50 - 57˚F)
1.5.4 ระบบอาหาร
พื้นที่กินอาหารของไก่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าระบบอาหารที่ใช้
จะเป็นแบบใดก็ตาม ถ้าพื้นที่ให้อาหารคับแคบไม่เพียงพอ อัตราการ
เจริญเติบโตของไก่จะลดลงและทำให้เกิดปัญหาความสม่ำเสมอของ
ฝูงอย่างร้ายแรง การกระจายอาหารและระยะห่างของอุปกรณ์ให้
อาหาร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราการบริโภคได้ตรงตามพิกัดที่ตั้งไว้
ระบบให้อาหารทุกแบบควรได้รับการตรวจสอบให้มีปริมาณอาหารที่
เพียงพอ โดยเสียอาหารทิ้งให้น้อยที่สุด
A. จานให้อาหารอัตโนมัติ
⋅ แนะนำให้ใช้จานอาหารขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 33
เซนติเมตร (12 นิ้ว) ต่อลูกไก่ 50 – 70 ตัว
⋅ ต้องทำให้มีอาหารล้นออกมาเพื่อให้ลูกไก่เริ่มกินอาหาร
โดยทั่วไปมักแนะนำให้ใช้จานอาหาร เพราะเอื้อให้ไก่สามารถเดินไป
ได้ทั่วทั้งโรงเรือน มีการหกเลอะเทอะน้อยกว่าและทำให้อัตราการ
เปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อดีขึ้น
ควรเตรียมจานอาหารไว้ให้พร้อมที่ทางเข้าโรงเรือนแต่ละจุด เพื่อให้มี
อาหารเต็มอยู่ในระบบเสมอ

คอบบ์ ! 17
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หากไก่ต้อง “จิกจานอาหารจนเอียง” เพื่อให้ได้อาหาร แสดงว่าวาง
จานไว้สูงเกินไป

ความกว้างของโรงเรือน จำนวนแถวของถาดอาหาร
12.8 เมตร (42 ฟุต) ลงมา 2 แถว
13 เมตร (43 ฟุต) ถึง 15 เมตร (50 ฟุต) 3 แถว
16 เมตร (51 ฟุต) ถึง 20 เมตร (65 ฟุต) 4 แถว
21 เมตร (70 ฟุต) ถึง 25 เมตร (85 ฟุต) 5 แถว

คอบบ์ ! 18
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

B. สายพานให้อาหารอัตโนมัติ
⋅ ควรมีพื้นที่ให้อาหารไก่อย่างน้อย 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ต่อตัว -
การกำหนดพื้นที่ให้อาหาร ต้องคิดรวมพื้นที่สายพานทั้ง
สองด้าน
⋅ ขอบรางอาหารต้องอยู่ที่ระดับหลังไก่
⋅ การดูแลรักษารางอาหาร มุมเลี้ยว และแรงตึงสายพาน
เป็นสิ่งสำคัญ
⋅ ความลึกของอาหาร ควบคุมโดยตัวเลื่อนในถังพักอาหาร
และควรดู แ ลอย่ า งใกล้ ช ิ ด เพื ่ อ ป้ อ งกั น การสิ ้ น เปลื อ ง
อาหาร

คอบบ์ ! 19
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
C. ถังเก็บอาหาร
⋅ ถังเก็บอาหารควรมีสมรรถนะในการจัดเก็บสำรองอาหาร
ไว้เพื่อให้ไก่บริโภคได้ถึง 5 วัน
⋅ การใช้ถังกันน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับเชื้อราและการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรีย
⋅ แนะนำให้มีถังเก็บอาหาร 2 ถังต่อโรงเรือน เพื่อความ
สะดวกในการเปลี่ยนอาหารแบบเร่งด่วน ถ้าเกิดเหตุ
จำเป็นที่ต้องให้ยาหรือเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดการงด
อาหารก่อนส่งขายหรือชำแหละ
⋅ ควรทำความสะอาดถังเก็บอาหารรวมก่อนเลี้ยงไก่ฝูงใหม่
ทุกครั้ง
1.5.5 ระบบทำความร้อน
สิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพผลผลิตไก่ให้ได้มากที่สุด คือ การจัด
สิ่งแวดล้อมโรงเรือนให้อยู่ในสภาวะคงที่ มีอุณหภูมิบริเวณพื้นและ
อุ ณ หภู ม ิ แ วดล้ อ มสำหรั บ ไก่ อ ายุ น ้ อ ยที ่ ส ม่ ำ เสมอ การกำหนด
สมรรถนะการทำความร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแวดล้อม การหุ้มฉนวน
หลังคา และองศาในการเชื่อมปิดโรงเรือน
คำแนะนำ : ค่า R-Value ของฉนวนหลังคาเท่ากับ 20 (หลังคาที่หุ้ม
ฉนวนอย่างดี) การกำหนดสมรรถนะการทำความร้อนอยู่ที่ 0.05 กิโล
วัตต์ต่อชั่วโมง/ลบ.ม.สำหรับโรงเรือนที่อยู่ในสภาพอากาศอบอุ่น และ
0.10 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง/ลบ.ม.สำหรับโรงเรือนที่อยู่ในสภาพอากาศ

คอบบ์ ! 20
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หนาวเย็นที่อุณภูมิปกติต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ระบบทำความร้อนที่
ใช้อยู่ มีดังนี้
⋅ เครื่องเป่าลมร้อนเป็นเครื่องทำความร้อนที่จำเป็นต้องติดตั้ง
ในบริเวณที่มีการหมุนเวียนอากาศช้าพอที่จะทำให้อากาศใน
บริเวณนั้นอบอุ่นขึ้นได้ โดยปกติแล้วจะติดตั้งไว้ตอนกลาง
ของโรงเรือน ควรอยู่สูงจากพื้น 1.4 – 1.5 เมตร ซึ่งเป็นความ
สูงที่ไม่ทำให้กระแสลมเป่าไปโดนตัวไก่ ไม่ควรติดตั้งเครื่อง
เป่าลมร้อนไว้ใกล้กับช่องลม เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องเป่า
ลมร้อนจะทำให้อากาศซึ่งเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วอุ่นขึ้นมาได้
การติดตั้งเครื่องทำความร้อนไว้ที่ช่องลมจึงเป็นการสิ้นเปลือง
พลังงานและค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนโดยใช่เหตุ
⋅ เครื่องกกแบบแผ่รังสีความร้อน / เครื่องกกเฉพาะที่ ไม่ว่าจะ
เป็นระบบเครื่องกกฝาชีแบบดั้งเดิม หรือเครื่องกกแบบแผ่รังสี
ความร้อน ก็ใช้เพื่อให้ความร้อนกับวัสดุรองพื้นภายในโรง
เรือนเช่นเดียวกัน ระบบเช่นนี้ ไก่จะหาพื้นที่อุ่นสบายให้ตัวเอง
อยู่อาศัย จึงควรจัดวางน้ำและอาหารวางไว้ใกล้กัน
⋅ การทำความร้อนใต้พื้นโรงเรือน ระบบนี้ทำงานด้วยการส่งน้ำ
ร้อนผ่านท่อลำเลียงในพื้นคอนกรีต เกิดการแลกเปลี่ยนความ
ร้อนภายในพื้น ทำให้วัสดุรองพื้นและพื้นที่กกอบอุ่นขึ้น
คำแนะนำ : เครื่องกกแบบแผ่รังสีความร้อนนำมาใช้ในบริเวณพื้นที่
เชื่อมต่อกับเครื่องทำความร้อนเฉพาะที่ เครื่องกกแบบแผ่รังสีความ
ร้อนถูกนำมาใช้เป็นแหล่งความร้อนหลักในระยะกก ขณะที่เครื่อง
ทำความร้อนเฉพาะที่ให้ความร้อนเสริมในสภาพอากาศที่มีความ
หนาวเย็น เมื่อฝูงไก่โตเต็มไว ไก่จะพัฒนาความสามารถในการ

คอบบ์ ! 21
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ควบคุมอุณหภูมิภายร่างกายของตนเอง และเมื่อไก่อายุได้ 14 วันโดย
ประมาณ เครื่องให้ลมร้อนจะกลายเป็นแหล่งความร้อนหลักให้กับไก่
ตามปกติแล้ว เครื่องทำความร้อนแบบแผ่รังสีควรใช้เป็นแหล่งความ
ร้อนหลักให้กับโรงเรือนที่มีการหุ้มฉนวนไม่ค่อยดี ขณะที่การเป่าลม
ร้อนสามารถใช้ได้กับโรงเรือนผนังทึบที่มีการหุ้มฉนวนเป็นอย่างดีได้

1.5.6 ระบบระบายอากาศ
ความสำคัญของคุณภาพอากาศ
จุดประสงค์หลักของการระบายอากาศพื้นฐาน ก็เพื่อให้มีคุณภาพ
อากาศที่ดี เป็นเรื่องสำคัญที่ไก่จะต้องมีก๊าซอ๊อกซิเจนเพียงพอ อยู่ใน
ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม และมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอนมอนนอกไซด์ แอมโมเนีย และฝุ่นละอองให้น้อยที่สุด – ดู
ตามข้อชี้แนะเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
การระบายอากาศพื้นฐานไม่เพียงพอและคุณภาพอากาศในโรงเรือน
ไม่ ด ี ซ ึ ่ ง เกิ ด ขึ ้ น ตามมา เป็ น สาเหตุ ใ ห้ ร ะดั บ ก๊ า ซแอมโมเนี ย
คาร์บอนไดออกไซด์ และระดับความชื้นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัจจัยที่
ทำให้เกิดโรคภัย เช่น โรคท้องมาน ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ให้หมั่นประเมินระดับก๊าซแอมโมเนียที่ระดับความสูงของไก่ ผลเสีย
จากก๊าซแอมโมเนียที่กระทบกับไก่ ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบที่อุ้งเท้า
ตาอักเสบ มีถุงน้ำใต้ผิวหนังช่วงอก/ผื่นแพ้ผิวหนัง น้ำหนักลดลง ความ
สม่ำเสมอของฝูงไม่ดี โรคติดเชื้อ และตาบอด

คอบบ์ ! 22
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

ข้อชี้แนะเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
% ก๊าซอ๊อกซิเจน > 19.6 %
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ < 0.3% / 3,000 ppm
คาร์บอนมอนนอกไซด์ < 10 ppm
แอมโมเนีย < 10 ppm
ความชื้นสัมพัทธ์ 45 – 65%
ฝุ่นละอองในอากาศ < 3.4 มก./ลบ.ม.

สำหรับข้อมลูโดยละเอียดเก่ียวกับการ ระบายอากาศ อ้างอิงตามหัว


ข้อที่ 6 เร่ิมต้นท่ีหน้า 26

คอบบ์ ! 23
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
2. การเตรียมโรงเรือน – ก่อนจัดฝูงไก่เข้าโรงเรือน
ลักษณะการจัดโรงเรือน
แนวทางการจัดโรงเรือนสำหรับกกลูกไก่มีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูป
แบบโรงเรือน เงื่อนไขสภาวะแวดล้อม และทรัพยากรที่มีอยู่
2.1 การจัดแบบทั่วทั้งโรงเรือน
การจัดพื้นที่กกแบบทั่วทั้งโรงเรือน ตามปกติแล้วใช้ได้กับโรงเรือนที่มี
ผนังด้านข้างปิดทึบหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ในสภาพอากาศอบอุ่นเท่านั้น
ประเด็นสำคัญที่สุดในการจัดพื้นที่กกแบบทั่วทั้งโรงเรือน ก็คือ การ
สร้างสิ่งแวดล้อมให้ปราศจากความผันผวนของอุณหภูมิ
2.2 จัดแบบแบ่งส่วนโรงเรือน
การจัดพื้นที่กกแบบแบ่งส่วนโรงเรือน ที่ใช้โดยทั่วไปก็เพื่อพยายามลด
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำความร้อน การลดขนาดพื้นที่กกทำให้
ต้องการความร้อนลดลงและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้น้อยลง
นอกจากนี้ การรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในพื้นที่ขนาด
เล็กยังทำได้ง่ายกว่าอีกด้วย
จุดประสงค์ในการจัดพื้นที่กกแบบแบ่งส่วนโรงเรือน ก็เพื่อจัดพื้นที่กก
ให้มีขนาดเหมาะสมกับสมรรถนะการทำความร้อน และการหุ้มฉนวน
โรงเรือนจะช่วยรักษาอุณหภูมิโรงเรือนที่ต้องการไว้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สภาพอากาศของแต่ละท้องถิ่น การขยายพื้นที่กกขึ้นอยู่กับสมรรถนะ

คอบบ์ ! 24
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การทำความร้อน การหุ้มฉนวนโรงเรือน และสภาพอากาศภายนอก
เป้ามายก็คือ เพื่อให้สามารถขยายพื้นที่กกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยที่ยังได้อุณหภูมิโรงเรือนตามที่ต้องการ ก่อนที่จะเปิดพื้นที่กกเพิ่ม
จำเป็นต้องทำความร้อนและระบายอากาศบริเวณพื้นที่กกซึ่งยังไม่ได้
เปิดใช้งานให้มีสภาพสอดคล้องกับความต้องการของไก่ล่วงหน้าอย่าง
น้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะปล่อยไก่เข้าไปในบริเวณพื้นที่ใหม่ ตัวอย่าง
ของการจัดพื้นที่กกแบบแบ่งส่วนโรงเรือน มีดังนี้
ช่วงอายุ 7 วันลงไป !! -! ½ ของโรงเรือน
ช่วงอายุ 8 – 10 วัน ! ! -! ½ ถึง ¾ ของโรงเรือน
ช่วงอายุ 11 – 14 วัน ! -! ¾ ของโรงเรือนทั้งหมด

วิธีแบ่งส่วนโรงเรือนที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมีหลายแบบ แบบที่แพร่หลาย
ที่สุด คือ การใช้ม่านกั้นจากพื้นจรดเพดาน ควรมีผนังกั้นสูง 20
เซนติเมตร (8 นิ้ว) อยู่ตรงหน้าม่าน เพื่อไม่ให้มีกระแสลมเป่ารบกวน
ลูกไก่ การจัดพื้นที่กกแบบแบ่งส่วนโรงเรือน สามารถดูแลจัดการได้
แบบเดียวกับการจัดพื้นที่กกแบบทั่วทั้งโรงเรือน โดยตั้งจุดกำเนิด
ความร้อนและไฟนำทางดึงดูดให้ลูกไก่เข้าหาพื้นที่กกไว้ตรงกลางพื้นที่
ความหนาแน่นในการจัดไก่เข้าโรงเรือนขึ้นอยู่กับพื้นที่กกที่นำมาใช้
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความหนาแน่นในการเลี้ยงไม่ควรเกินกว่า
50 – 60 ตัว/ตารางเมตรในช่วงฤดูหนาว และ 40 – 50 ตัว/ตารางเมตร
ในช่ ว งฤดู ร ้ อ น ต้ อ งจั ด เตรี ย มพื ้ น ที ่ ก ิ น น้ ำ ไว้ ใ ห้ ไ ก่ อ ย่ า งเพี ย งพอ

คอบบ์ ! 25
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่จัดไก่เข้าโรงเรือนในฤดูร้อน อย่าให้เกิน
กว่า 20 -25 ตัวต่อหนึ่งหัวหยด
2.3 ไฟนำทางเพื่อดึงดูดลูกไก่เข้าหาพื้นที่กก
หากใช้เครื่องทำความร้อนแบบแผ่รังสี ให้ติดตั้งไฟนำทาง เรียงเป็น
แนวพาดกลางตามความยาวพื้นที่กก โดยติดไว้ด้านบนเหนือจุด
กำเนิดความร้อนเพื่อดึงดูดให้ลูกไก่เข้าหาอาหารและน้ำ ไฟนำทางนี้
เหมาะที่สุดในช่วง 5 วันแรกหลังจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน จนวันที่ 5 จึง
ค่อยเพิ่มแสงสว่างภายในโรงเรือนขึ้นทีละน้อย จนได้แสงสว่างปกติ
เมื่อย่างเข้าสู่วันที่ 10 สามารถแขวนไฟนำทางไว้บนถาดให้อาหารเพื่อ
เตรียมระบบให้พร้อมสำหรับลูกไก่ในช่วงอายุ 14 วันแรกได้อีกด้วย
2.4 การดูแลวัสดุรองพื้น
แม้ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจเท่าที่ควร แต่การดูแลวัสดุรองพื้นเป็นอีก
หลักเกณฑ์หนึ่งของการจัดการสภาพแวดล้อมที่สำคัญเป็นอย่างมาก
การดูแลวัสดุรองพื้นอย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผล
ต่อสุขภาพไก่ สมรรถภาพผลผลิต และคุณภาพซากไก่ในท้ายที่สุด ซึ่ง
กระทบกับผลกำไรที่จะเกิดตามมาทั้งของผู้เลี้ยงและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
วัสดุรองพื้นเป็นสิ่งตกค้างส่วนใหญ่ของโรงเรือนไก่เนื้อ การใช้วัสดุรอง
พื้นซ้ำในหลายประเทศประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี แต่ก่อนที่จะ
ตัดสินใจนำวัสดุรองพื้นกลับมาใช้ซ้ำ นอกจากเรื่องสุขภาพและความ
คุ้มค่าแล้ว ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

คอบบ์ ! 26
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการนำวัสดุรองพื้นกลับมาใช้ซ้ำ มีดัง
ต่อไปนี้
⋅ ควรมีระยะพักโรงเรือนก่อนที่จะนำไก่ฝูงใหม่เข้ามาเลี้ยงอย่าง
น้อย 12 วัน เพื่อดูแลวัสดุรองพื้นให้มีคุณภาพ
⋅ ระหว่างพักโรงเรือน ให้นำวัสดุรองพื้นที่เปียกและจับตัวเป็น
ก้อนทิ้งให้หมด
⋅ หากมีปัญหาโรคในไก่ ไม่แนะนำให้ใช้วัสดุรองพื้นซ้ำ
⋅ ต้นทุนค่าใช้จ่ายและความพร้อมในการทดแทนวัสดุรองพื้น
อันเก่า
โดยทั่วไปแล้ว เพื่อให้ได้สมรรถภาพผลผลิตดีที่สุด ควรเปลี่ยนวัสดุรอง
พื้นปีละ 1 ครั้ง หรือถ้าเป็นไปได้ ก็ให้เปลี่ยนวัสดุรองพื้นหลังการเลี้ยง
ไก่ทุกๆ 4 ฝูง
2.4.1 หน้าที่สำคัญของวัสดุรองพื้น
หน้าที่สำคัญของวัสดุรองพื้น หมายถึงคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
⋅ ซึมซับความเปียกชื้น
⋅ ช่วยเจือจางมูล ให้ไก่สัมผัสกับมูลของเสียให้น้อยที่สุด
⋅ เป็นฉนวนป้องกันความหนาวเย็นจากพื้น
แม้มีวัสดุรองพื้นให้เลือกหลากหลาย แต่ก็ควรมีเกณฑ์ในการเลือกให้
ชัดเจน วัสดุรองพื้นต้องมีคุณสมบัติในการดูดซึม น้ำหนักเบา ราคาไม่

คอบบ์ ! 27
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
แพงและไม่เป็นพิษ ลักษณะของวัสดุรองพื้นควรนำไปใช้ประโยชน์
อย่างอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้บำรุงดิน ทำเป็นปุ๋ยหรือเชื้อ
เพลิง คุณสมบัติของวัสดุรองพื้นควรมีขนาดคละกัน กลางๆ ไม่เล็ก
หรือใหญ่เกินไป ซึมซับได้ดี ไม่ทิ้งคราบจับตัวเป็นก้อน แห้งไว มีความ
สามารถในการรับแรงสั่นสะเทือนแม้ต้องรองรับน้ำหนักมาก มีต้นทุน
ต่ำและหาได้ง่าย
2.4.2 วัสดุรองพื้นประเภทต่างๆ
⋅ ขี้กบจากไม้สน มีคุณสมบัติซึมซับได้ดีเยี่ยม
⋅ ขีก้ บจากไม้เนื้อแข็ง อาจมีสารแทนนินเจือปน ซึ่งทำให้เกิด
ความเป็ น พิ ษ และมี เ สี ้ ย นที ่ อ าจเป็ น อั น ตรายต่ อ กระเพาะ
อาหารไก่ได้
⋅ ขี้เลื่อย มักมีความชื้นสูง เชื้อราเจริญเติบโตได้ง่าย ซึ่งไก่อาจ
กินเข้าไปจนก่อให้เกิดโรคจากเชื้อรา aspergillosis ได้
⋅ ฟางสับเป็นท่อน ฟางข้าวสาลีมีคุณสมบัติในการดูดซับได้ดี
กว่าฟางข้าวบาร์เล่ย์ ฟางสับหยาบมีแนวโน้มที่จะจับตัวเป็น
ก้อนได้ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แรก
⋅ กระดาษ ถ้าเปียกจะดูแลได้ยาก อาจจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย
และถ้าเป็นกระดาษที่มีความเงามัน จะใช้งานได้ไม่ดีนัก
⋅ แกลบ ถือเป็นตัวเลือกที่ดี ในบางพื้นที่จะมีราคาถูกมาก
⋅ เปลือกถั่ว มีแนวโน้นจับตัวเป็นก้อน เปื่อยยุ่ย แต่ดูแลได้ง่าย
⋅ ชานอ้อย ในบางพื้นที่จะมีราคาถูก

คอบบ์ ! 28
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
2.4.3 การประเมินสภาพวัสดุรองพื้น
วิธีการประเมินความชื้นของวัสดุรองพื้น คือ ให้หยิบขึ้นมาหนึ่งกำมือ
และบีบเบาๆ วัสดุรองพื้นควรเหนียวติดมือและแตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น
ถ้ามีความชื้นมากเกินไป วัสดุจะยังคงจับตัวเป็นก้อนเมื่อตกลงพื้น ถ้า
วัสดุรองพื้นแห้งเกินไป เมื่อบีบจะไม่ติดมือ ความชื้นของวัสดุรองพื้นที่
มากเกินไป (>35%) อาจส่งผลเสียต่อสวัสดิภาพและสุขภาพ ยังผลให้
มีอุบัติการณ์ของการเกิดถุงน้ำที่ช่วงอก การอักเสบที่ผิว ความผิดปกติ
ร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งคุณภาพไก่ลดลง วัสดุรองพื้นที่มีปริมาณ
ความชื้นสูงจะเพิ่มระดับก๊าซแอมโมเนียให้สูงมากขึ้นอีกด้วย
ถ้าวัสดุรองพื้นที่อยู่ใต้อุปกรณ์ให้น้ำเปียกชื้น ควรประเมินแรงดันน้ำ
และหาสาเหตุ หลังจากระบุสาเหตุได้แล้ว ก็ดำเนินการแก้ปัญหา ต้อง
นำวัสดุรองพื้นที่สะอาดหรือแห้งจากส่วนอื่นในโรงเรือนมาปูแทนตรง
พื้นที่เกิดปัญหา การแก้ไขเช่นนี้จะกระตุ้นให้ไก่กลับมาใช้พื้นที่บริเวณ
นี้อีกครั้ง

คอบบ์ ! 29
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
2.4.4 ข้อกำหนดขั้นต่ำของวัสดุรองพื้น
ประเภทของวัสดุรองพื้น ความหนาขั้นต่ำหรือปริมาณที่ใช้
เศษไม้ 2.5 ซม. (1 นิ้ว)
ขี้เลื่อยแห้ง 2.5 ซม. (1 นิ้ว)
ฟางสับ 1 กก./ตรม. (0.2 ปอนด์/ตร.ฟุต)
ข้าวเปลือก 5 ซม.(2 นิว้ )
เปลือกเมล็ดทานตะวัน 5 ซม.(2 นิว้ )

2.5 รายการตรวจสอบก่อนจัดฝูงไก่เข้าโรงเรือน
หัวใจสำคัญในการเลี้ยงไก่เนื้อให้ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากการมี
แผนการเลี้ยงและการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยต้อง
เริ่มต้นให้ดีก่อนที่ลูกไก่จะมาถึงฟาร์ม การเตรียมโรงเรือนก่อนจัดไก่
เข้าอยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเลี้ยงและการจัดเตรียมความ
พร้ อ มพื ้ น ฐานเพื ่ อ ให้ ฝ ู ง ไก่ เ นื ้ อ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสร้ า งผลกำไร
รายการตรวจสอบที่จำเป็นมีดังต่อไปนี้
I. การตรวจสอบอุปกรณ์
หลังจากแน่ใจว่าสมรรถนะการทำงานของอุปกรณ์สอดคล้องกับ
จำนวนลูกไก่ที่จะเข้ามาอยู่ในโรงเรือน ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
สำหรับกกลูกไก่และตรวจสอบให้อุปกรณ์ทั้งหมดทำงานเป็นปกติ

คอบบ์ ! 30
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ให้แน่ใจว่ามีการปรับระบบน้ำ อาหาร การทำความร้อนและการ
ระบายอากาศเหมาะสมดีแล้ว
II. การตรวจสอบเครื่องทำความร้อน
ตรวจยืนยันว่าเครื่องทำความร้อนทั้งหมดถูกติดตั้งไว้ในระดับ
ความสูงที่แนะนำ และทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรตรวจ
สอบและเปิดเครื่องทำความร้อนให้ทำงานยาวนานเพียงพอ ก่อน
ที่จะเริ่มอุ่นโรงเรือน
III. การตรวจสอบเครื่องวัดและควบคุมอุณหภูมิ
⋅ ติดเครื่องวัดและควบคุมอุณหภูมิไว้ตรงกลางพื้นที่กกที่
ระดับความสูงเท่าตัวไก่
⋅ ควรติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ชนิดสูงสุดต่ำสุดไว้ใกล้กับตัว
ควบคุมอุณหภูมิ
⋅ ควรบันทึกการขึ้นลงของอุณหภูมิประจำวันและอย่าให้
อุณหภูมิแตกต่างกันเกินกว่า 2 ˚C (4 ˚F)ในช่วง 24
ชั่วโมง
⋅ ควรมีการตรวจค่าอุปกรณ์เหล่านี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หรือถี่กว่านั้นถ้าไม่แน่ใจในความเที่ยงตรง

คอบบ์ ! 31
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
IV. การตรวจสอบอุณหภูมิบนพื้น
⋅ ควรทำการอุ่นโรงเรือนเตรียมไว้ล่วงหน้า ให้มีอุณหภูมิ
คงที่ทั้งในบริเวณพื้นและอุณหภูมิแวดล้อม 24 ชั่วโมง
ก่อนจัดไก่เข้าอยู่อาศัย
⋅ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องเริ่มอุ่นโรง
เรือนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนจัดไก่เข้าอยู่
อาศัย
⋅ เวลาที่ใช้ในการอุ่นโรงเรือนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ การ
หุ้มฉนวนของโรงเรือน และสมรรถนะการทำความร้อน ซึ่ง
จะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละฟาร์ม
⋅ ลูกไก่ยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิร่างกายของตนได้
ในช่วง 5 วันแรกและการปรับอุณหภูมิร่างกายจะยัง
พัฒนาไม่เต็มที่จนกว่าจะมีอายุได้ 14 วัน จึงต้อง
พึ่งพาอาศัยผู้จัดการฟาร์มไก่ให้จัดเตรียมอุณหภูมิของ
วัสดุรองพื้นให้ถูกต้องเหมาะสมกับลูกไก่ ถ้าวัสดุรองพื้น
และอุณหภูมิอากาศหนาวเย็นเกินไป อุณหภูมิร่างกาย
ของลูกไก่จะลดลง ทำให้เกิดพฤติกรรมการสุมเบียดกัน
บริโภคอาหารและน้ำได้น้อยลง การเจริญเติบโตหยุด
ชะงักและเจ็บป่วยได้ง่าย

คอบบ์ ! 32
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ขณะจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน อุณหภูมิที่พื้นซึ่งได้จากเครื่อง
เป่าลมร้อน ควรอยู่ที่ 32˚C (90 ˚F) เป็นอย่างน้อย
(ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 30 – 50) ถ้าใช้เครื่องทำความ
ร้อนแบบแผ่รังสี/เตากก อุณหภูมิที่พื้นใต้จุดกำเนิดความ
ร้อนควรอยู่ที่ 40.5 ˚C (105 ˚F)
ควรบันทึกอุณหภูมิของวัสดุรองพื้นก่อนจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน ซึ่งจะ
ช่วยให้ประเมินประสิทธิผลของการอุ่นโรงเรือนได้
V. การตรวจสอบการระบายอากาศพื้นฐาน
⋅ ควรเปิดระบบระบายอากาศทันทีที่เริ่มอุ่นโรงเรือน เพื่อ
กำจัดก๊าซเสียและความชื้นส่วนเกินออกไป
⋅ ปิดรอยรั่วไม่ให้มีลมเป่าเข้ามากระทบตัวลูกไก่
VI. การตรวจสอบอุปกรณ์ให้น้ำ
⋅ ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ให้น้ำไว้ในบริเวณพื้นที่กก 14 – 16
จุดต่อลูกไก่ 1,000 ตัว (รวมทั้งอุปกรณ์ให้น้ำเสริม) ใน
จำนวนนี้จะเป็นถังน้ำอัตโนมัติ 8 -10 อันก็ได้
⋅ ควรชำระล้างอุปกรณ์ให้น้ำทั้งหมดเพื่อกำจัดน้ำยาฆ่า
เชื้อตกค้าง

คอบบ์ ! 33
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ปรับแรงดันให้มีน้ำเกาะบนหัวหยดจนมองเห็นได้ แต่ไม่
หยดทิ้งลงมา
⋅ ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำและการอุดตันของอากาศ
⋅ ให้แน่ใจว่าหัวหยดให้น้ำอยู่ในระดับที่ลูกไก่มองเห็น
⋅ น้ำต้องสะอาดและสดชื่น
⋅ ควรจัดวางอุปกรณ์ให้น้ำเสริม ด้วยวิธีที่ทำให้ลูกไก่
สามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์ให้น้ำเสริมเข้ากับระบบให้น้ำ
หลักได้
VII. ตรวจสอบอุปกรณ์ให้อาหาร
⋅ กำจัดอาหารตกค้างออกจากภาชนะให้หมดก่อนที่จะเติม
อาหารใหม่เข้าไป
⋅ ควรจัดอาหารเสริมใส่ไว้บนถาดหรือบนกระดาษ ในช่วง
7-10 วันแรก
⋅ ควรจัดถาดอาหารไว้ในอัตรา 1 ถาดต่อลูกไก่ 50 ตัว
⋅ ควรจัดถาดอาหารเสริมวางไว้ระหว่างแถวของอุปกรณ์ให้
อาหารและอุปกรณ์ให้น้ำหลัก และอยู่ใกล้กับเครื่องกก
⋅ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ต้องไม่ปล่อยให้ระบบ
อาหารเสริ ม ว่ า งเปล่ า เพราะจะทำให้ ล ู ก ไก่ เ กิ ด

คอบบ์ ! 34
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ความเครียดเป็นอย่างมาก และลดการดูดซึมอาหาร
จากถุงไข่แดง
⋅ ไม่ควรปล่อยถาดอาหารเสริมว่างเปล่าจนเห็นก้น
ถาด เติมอาหารให้เต็มไว้ตลอดเวลา
⋅ ควรเปลี่ยนอาหารในถาดเสริมให้มีความสดใหม่ 3 ครั้ง
ต่อวันจนกระทั่งลูกไก่สามารถเข้าถึงระบบอาหารหลักได้
ทั้งหมด ซึ่งมักจะเป็นในช่วงท้ายของสัปดาห์แรก
⋅ อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดซีกคุณภาพดี
⋅ ไม่ควรวางน้ำและอาหารไว้ด้านใต้ตรงกับจุดกำเนิดความ
ร้อนพอดี เพราะอาจทำให้ไก่บริโภคอาหารและน้ำได้น้อย
ลง
⋅ ควรวางระบบให้อาหารและน้ำอัตโนมัติไว้บนพื้น เพื่อให้
ลูกไก่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และหากเป็นไปได้ให้กระจาย
อาหารให้เต็มพื้นที่ระบบให้อาหารอัตโนมัติ
⋅ ถ้าให้อาหารเสริมลงบนพื้นซึ่งปูด้วยกระดาษ ควรจัดพื้นที่
ให้อาหารอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่กก แนะนำให้ใส่
อาหารไว้บนกระดาษปริมาณ 50 – 65 กรัมต่อลูกไก่ 1
ตัว และควรวางกระดาษไว้ใกล้กับระบบให้น้ำอัตโนมัติ
เพื่อให้ลูกไก่สามารถเข้าถึงน้ำและอาหารได้โดยง่าย

คอบบ์ ! 35
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
3. การจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน

3.1 ข้อกำหนดสำคัญในการจัดการ
⋅ จัดลูกไก่ที่มาจากแหล่งเดียวกัน อายุเท่ากันเข้าไว้ในโรงเรือน
เดียวกัน (ถ้ามีความจำเป็นต้องเลี้ยงไก่ต่างฝูงไว้ร่วมกัน
แนะนำว่าไก่ไม่ควรมีอายุต่างกันเกินกว่า 5 สัปดาห์)
⋅ จัดลูกไก่เข้าฟาร์มตามหลัก “เข้า-ออกพร้อมกันหมด”
⋅ การจัดลูกไก่เข้าโรงเรือนล่าช้า อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
เป็นเหตุให้มีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้นและลดอัตราการเจริญ
เติบโตของลูกไก่ลงได้
⋅ ต้องจัดเตรียมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนย้ายให้เหมาะสม
กับลูกไก่ และควรมีระยะเวลาในการเดินทางให้สั้นที่สุดเท่าที่
จะเป็นได้
⋅ ปรับความเข้มแสงให้น้อยลงระหว่างที่จัดลูกไก่เข้าโรงเรือน
เพื่อลดความเครียด
⋅ จัดลูกไก่เข้าโรงเรือนอย่างระมัดระวัง วางลูกไก่ให้อยู่ใกล้กับ
อาหารและน้ำ โดยกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่กก
หากให้อาหารเสริมบนกระดาษ ก็วางลูกไก่ไว้บนกระดาษด้วย
เลย
⋅ ชั่งน้ำหนักลูกไก่ร้อยละ5 ของกล่อง เพื่อระบุน้ำหนักลูกไก่อายุ
1 วัน
⋅ เมื่อจัดลูกไก่เข้าโรงเรือนทั้งหมดแล้ว ให้ปรับความเข้มแสงใน
บริเวณพื้นที่กกให้เต็มที่

คอบบ์ ! 36
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ เมื่อพ้นระยะปรับตัว 1-2 ชั่วโมง ให้ทำการตรวจสอบระบบ
ทั้งหมด ถ้าพบเห็นปัญหา ก็ปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะ
สม
⋅ ตรวจดูการกระจายตัวของลูกไก่อย่างใกล้ชิดในช่วง 2 – 3 วัน
แรก เพื่อหาข้อบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับระบบอาหาร น้ำ
การระบายอากาศและระบบให้ความร้อน
3.2 คุณภาพลูกไก่
ขั้นตอนการฟัก มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนการฟักจากไข่จนเข้าสู่ฟาร์มล้วนก่อให้เกิดความเครียดได้
ความพยายามในการลดความเครียดเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษา
คุณภาพลูกไก่ที่ดี
ลักษณะลูกไก่คุณภาพดี มีดังต่อไปนี้
⋅ มีขนยาวอ่อนนุ่มลู่ลงด้านล่างและแห้งสนิท
⋅ ดวงตากลมใส มีแววกระตือรือร้น
⋅ ดูกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา
⋅ มีสะดือปิดสนิทสมบูรณ์
⋅ ขามีสีสันสดใสและสัมผัสได้ถึงความมันวาว
⋅ ปราศจากรอยจ้ำแดงที่ข้อ
⋅ ลูกไม่ควรมีความผิดปกติ (เช่น ขาคุ้มงอ คอบิด และจงอย
ปากไขว้กัน)

คอบบ์ ! 37
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
3.3 การจัดการพื้นที่กก
ความสำคัญของระยะกกเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม สิบสี่วันแรกของ
ชีวิตลูกไก่ เป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานสมรรถภาพผลผลิตที่ดีในอนาคต
การทุ่มเทความพยายามเป็นพิเศษให้กับระยะกก จะให้ผลตอบแทน
ด้วยสมรรถภาพผลผลิตที่ดีของฝูงไก่ในท้ายที่สุด
ตรวจดูลูกไก่หลังจากจัดเข้าโรงเรือนได้ 2 ชั่วโมง ให้แน่ใจว่าอยู่สุข
สบายดี ดูภาพแสดงลักษณะการกกที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้
ลักษณะการกกที่เหมาะสม

คอบบ์ ! 38
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
3.4 อุณหภูมิร่างกายลูกไก่
1. อุณหภูมิร่างกายลูกไก่วัดได้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทางหู
ของเด็ก
2. อุณหภูมิร่างกายลูกไก่ที่ฟักออกมาควรอยู่ที่ 40 -41 ˚C
(104 - 106 ˚F)
3. อุณหภูมิร่างกายลูกไก่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 41 -42 ˚C
(106 -108 ˚F) ในช่วง 5 วันแรก
4. อุณหภูมิร่างกายลูกไก่ที่สูงกว่า 41 ˚C (106 ˚F)จะเหนี่ยวนำ
ให้เกิดการหอบหายใจแรง
5. อุณหภูมิร่างกายลูกไก่ที่ต่ำกว่า 40 ˚C (104 ˚F) บ่งบอกว่า
ลูกไก่หนาวเกินไป
6. ไก่ที่อยู่สุขสบายดีจะหายใจทางจมูก และสูญเสียความชื้น
1-2 กรัมในช่วง 24 ชั่วโมงแรก
7. ไข่แดงยังมีความชื้นอยู่ 1-2 กรัม ดังนั้น แม้ลูกไก่จะสูญเสีย
น้ำหนัก แต่จะไม่เกิดภาวะขาดน้ำ
8. ถ้าลูกไก่เริ่มหอบหายใจแรง พวกมันอาจสูญเสียความชื้นได้
ถึง 5 – 10 กรัมใน 24 ชั่วโมงแรก และจะมีภาวะขาดน้ำเกิด
ขึ้นตามมา

คอบบ์ ! 39
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
9. ความชื้นสัมพัทธ์ที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การสูญเสียความชื้นลด
ลง แต่การสูญเสียความร้อนก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น การ
มีอุณหภูมิที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
10. ลู ก ไก่ ท ี ่ ฟ ั ก ออกจากไข่ ใ บเล็ ก (ฝู ง ไก่ แ ม่ พ ั น ธุ ์ อ ายุ น ้ อ ย)
ต้องการอุณหภูมิกกสูงขึ้น เพราะลูกไก่กลุ่มนี้จะผลิตความ
ร้อนออกมาได้น้อย
11. ไข่แดงจะมีไขมันอยู่ 2/3 และมีโปรตีนอยู่ 1/3 ไขมันให้
พลังงาน ส่วนโปรตีนช่วยเรื่องการเจริญเติบโต
12. ปริมาณไข่แดงควรน้อยกว่าร้อยละ10 ของน้ำหนักลูกไก่โดย
รวม
13. ถ้าลูกไก่ไม่ยอมบริโภคอาหารในระยะต้น ลูกไก่จะดึงทั้งไขมัน
และโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้ระดับของโปรตีนไม่เพียง
พอต่อการเจริญเติบโต
3.5 การระบายอากาศในพื้นที่กก
นอกจากอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว การระบายอากาศก็เป็นสิ่ง
จำเป็นที่ต้องคำนึงถึง การระบายอากาศช่วยกระจายความร้อนไป
ทั่วทั้งโรงเรือนและรักษาคุณภาพอากาศในพื้นที่กกให้ดีอยู่เสมอ
เนื่องจากลูกไก่มีความไวต่อคุณภาพอากาศมากกว่าไก่โต ระดับ
ของก๊าซแอมโมเนียที่มีผลกับฝูงไก่อายุ 7 สัปดาห์เพียงเล็กน้อย

คอบบ์ ! 40
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
สามารถทำให้ลูกไก่อายุ 7 วันมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวลดลงถึง
ร้อยละ 20 จึงควรดูแลระดับก๊าซแอมโมเนียไม่ให้เกิน 10 ppm
อยู่เสมอ
อี ก ทั ้ ง ไก่ อ ายุ น ้ อ ยมี ค วามไวต่ อ กระแสลมเป่ า เป็ น อย่ า งมาก
ความเร็วลมแค่เพียง 0.5 เมตร/วินาที (100 ฟุต/นาที) ก็สามารถ
ทำให้ลูกไก่รู้สึกหนาวกว่าอุณหภูมิจริงได้แล้ว หากใช้พัดลม
กระจายอากาศ ก็ให้หันพัดลมไปยังเพดาน เพื่อลดกระแสลมที่พัด
ลงด้านล่าง
ความเร็วลมสูงสุดที่เหมาะสำหรับไก่ในช่วงอายุต่างๆ กัน
อายุของไก่ เมตรต่อวินาที ฟุตต่อนาที
0 -14 วัน 0.3 60
15 – 21 วัน 0.5 100
22 – 28 วัน 0.875 175
28 วันขึ้นไป 1.75-3.0 350 - 600

ในช่วงที่ลูกไก่อายุต่ำกว่า 14 วัน ควรใช้การระบายอากาศพื้นฐาน


เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ไก่หนาวเย็นโดยไม่ได้ตั้งใจ ห้ามใช้ระบบ
ระบายอากาศแบบอุโมงค์ลมเป็นระบบระบายอากาศพื้นฐาน

คอบบ์ ! 41
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
4. หลังการจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน

4.1 รายการตรวจสอบหลังจัดลูกไก่เข้าโรงเรือน
ให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ให้น้ำและอาหาร ถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งที่
เหมาะสม และเพียงพอกับความหนาแน่นของลูกไก่ที่จัดเข้าโรง
เรือน ควรวางอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารไว้ใกล้กันภายในพื้นที่ซึ่งมี
สภาวะอุ่นสบาย
I. ตรวจสอบอุปกรณ์ให้น้ำขนาดเล็ก (อุปกรณ์เสริม)
⋅ ควรจัดเตรียมไว้ในอัตรา 6 จุด/ลูกไก่ 1,000 ตัว
⋅ ไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้ง
⋅ ต้องทำความสะอาดและเติมน้ำเมื่อจำเป็น
⋅ ต้องเติมน้ำให้เต็มอยู่เสมอจนกระทั่งลูกไก่ตัวโตพอที่
จะทำน้ำหกเลอะเทอะได้
⋅ ควรนำอุปกรณ์ให้น้ำขนาดเล็กออก หลังจากจัดลูกไก่
เข้าโรงเรือนได้ 48 ชั่วโมงโดยประมาณ
⋅ ควรวางไว้ในตำหน่งที่สูงกว่าวัสดุรองพื้นเพื่อรักษา
คุณภาพของน้ำ แต่ต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึง

คอบบ์ ! 42
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
II.ตรวจสอบถังน้ำอัตโนมัติ
⋅ ควรวางให้ขอบปากถังอยู่ในระดับหลังไก่
⋅ การประเมินสภาพและปรับปรุงแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ
ถือเป็นเรื่องสำคัญ
⋅ ต้องทำความสะอาดทุกวันเพื่อป้องกันการสะสมของ
สิ่งปนเปื้อน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อน จำเป็นต้อง
ล้างระบบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเพื่อรักษา
อุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
⋅ ขณะลูกไก่อายุ 1 วัน ระดับน้ำควรอยู่ต่ำกว่าขอบ
ปากถัง 0.5 ซม. (0.20 นิ้ว) และค่อยๆ ลดระดับลงที
ละนิด จนถึง 1.25 ซม. (0.5 นิ้ว) หรือขนาดเท่าหัวนิ้ว
มือ เมื่อลูกไก่อายุมากกว่า 7 วัน
⋅ ควรถ่วงน้ำหนักภายในถังน้ำอัตโนมัติให้สมดุล เพื่อ
ลดการหกเลอะเทอะ

คอบบ์ ! 43
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
III.การตรวจสอบหัวหยดให้น้ำ
⋅ ควรสูงเท่ากับระดับสายตาลูกไก่ ใน 2-3 ชั่วโมงแรก
หลังจากนั้นจึงปรับเพิ่มให้อยู่สูงกว่าหัวของลูกไก่เล็ก
น้อย
⋅ ควรปรับแรงดันให้มีหยดน้ำเกาะอยู่ปลายหัวหยด
แต่ไม่รั่วหยดออกมา
⋅ เท้าของไก่ควรวางแบนราบบนวัสดุรองพื้น และไม่
ควรให้ไก่ต้องยืนเขย่งบนปลายเท้าเพื่อที่จะกินน้ำ
⋅ ชำระล้างท่อน้ำเมื่อจำเป็น

IV.ตรวจสอบอุปกรณ์ให้อาหาร
⋅ ควรเตรียมอาหารแบบเม็ดซีกไว้ในถาด จานรอง หรือ
เทลงบนกระดาษ
⋅ ควรปรับความสูงของอุปกรณ์ให้อาหารเพิ่มขึ้นตาม
การเติบโตของลูกไก่ ให้ขอบรางหรือจานให้อาหาร
อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่เสมอ

คอบบ์ ! 44
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ระดับอาหารภายในอุปกรณ์ให้อาหารควรมีไว้เพียง
พอพร้อมให้ไก่กินอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็ต้องหก
เลอะเทอะให้น้อยที่สุด
⋅ ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม อย่าปล่อยให้ระบบอาหารว่าง
เปล่า

V.ตรวจสอบน้ำหนักตัวและอัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็น
เนื้อของลูกไก่อายุ 7 วัน
น้ำหนักตัวและอัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อของลูกไก่
อายุ 7 วัน เป็นตัวบ่งชี้ภาพรวมความสำเร็จของการจัดการ
ระยะกกได้อย่างดีเยี่ยม หากไม่สามารถทำให้น้ำหนักตัวและ
อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อของลูกไก่อายุ 7 วันบรรลุ
ผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้สมรรถภาพผลผลิต
ไก่เนื้อไม่ดี

คอบบ์ ! 45
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
4.2 การประเมินการจัดเตรียมโรงเรือนหลังจัดลูกไก่เข้าอยู่
อาศัย
“การตรวจลูกไก่” ที่สำคัญอย่างมาก 2 แบบ ในระยะ 24 ชั่วโมงหลัง
จัดลูกไก่เข้าโรงเรือน ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ เป็นการประเมินการจัดการหลัง
จัดลูกไก่เข้าโรงเรือนที่ง่ายและได้ผล
“การตรวจลูกไก่แบบแรก” – ทำในช่วง 4 – 6 ชั่วโมงหลังจัดลูกไก่
เข้าโรงเรือน
⋅ สุ่มลูกไก่ตัวอย่างจำนวน 100 ตัวต่อพื้นที่กก
⋅ ตรวจสอบอุณหภูมิเท้าของลูกไก่ โดยนำมาแนบที่คอหรือ
แก้มของตน
⋅ ถ้าเท้าเย็น ให้วัดอุณหภูมิที่ใช้ในการอุ่นโรงเรือนใหม่อีกครั้ง
⋅ ผลของการมีวัสดุรองพื้นเย็น
1. การบริโภคอาหารในระยะเริ่มต้นทำได้ไม่ดี
2. การเจริญเติบโตไม่ดี
3. ความสม่ำเสมอของฝูงไม่ดี
ข้อบ่งชี้อุณหภูมิพื้นที่ดีเยี่ยม คืออุณหภูมิเท้าของลูกไก่นั่นเอง ถ้าเท้า
ลูกไก่เย็น อุณหภูมิร่างกายลูกไก่ก็จะลดลงไปด้วย ลูกไก่ที่รู้สึกหนาว
จะเห็นได้จากการซุกตัวเบียดสุมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน กิจกรรมลดลง

คอบบ์ ! 46
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ส่งผลให้การบริโภคน้ำและอาหารน้อยลง อีกทั้งอัตราการเจริญเติบโต
ก็ลดลงตามไปด้วย การนำเท้าไก่มาแนบที่คอหรือแก้มของตน จะ
ทำให้รู้ได้ทันทีว่าลูกไก่อุ่นหรือหนาว ถ้าลูกไก่อุ่นสบายดี ลูกไก่ควร
เคลื่อนไหวไปรอบๆ พื้นที่กกอย่างกระฉับกระเฉง
“การตรวจลูกไก่แบบที่สอง” – ทำหลังจัดลูกไก่เข้าโรงเรือนได้ 24
ชั่วโมง
ควรตรวจดูกระเพาะอาหารลูกไก่ในเช้าวันถัดไปหลังจัดลูกไก่เข้าโรง
เรือนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกไก่ได้กินน้ำและอาหาร ในตอนนี้อย่างน้อยร้อยละ
95 ของกระเพาะอาหารควรมีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น บ่งชี้ว่าลูกไก่
ประสบความสำเร็จในการหาตำแหน่งอาหารและน้ำ หากลูกไก่มี
กระเพาะอาหารแข็ง แสดงว่าไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอและควรตรวจ
สอบระบบน้ำโดยทันที ถ้ากระเพาะอาหารขยายและอืดแสดงว่า
ลูกไก่หาน้ำเจอ แต่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ ในกรณีนี้ควรทำการ
ประเมินการเข้าถึงและความต่อเนื่องของอาหารอย่างเร่งด่วน
⋅ สุ่มลูกไก่ตัวอย่างจำนวน 100 ตัวต่อพื้นที่กก
⋅ ผลที่ต้องการคือร้อยละ 95 ของกระเพาะอาหารมีทั้งน้ำและ
อาหาร

คอบบ์ ! 47
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ประเมินลักษณะกระเพาะอาหาร และแสดงผลลงในแบบ
ฟอร์มดังนี้

ลักษณะ เต็ม-ยืดหยุ่น เต็ม-แข็ง เต็ม-อ่อนนุ่ม ว่างเปล่า


กระเพาะ มีอาหารและ มีเฉพาะ มีเฉพาะน้ำ
อาหาร น้ำ อาหาร
การประเมิน 95% ? ? ?

คอบบ์ ! 48
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
5. ระยะเติบโต
ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการให้อาหารที่จะสร้าง
ผลผลิตให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า แผนงานดูแลการ
เจริญเติบโตที่เพิ่มประสิทธิภาพความสม่ำเสมอของฝูง อัตราการ
เปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อ การเติบโตเฉลี่ยต่อวันและความเป็นอยู่ของ
ฝูงไก่ให้ดีขึ้น น่าจะช่วยให้ผลิตไก่เนื้อได้ตรงตามความต้องการและ
สามารถสร้างผลกำไรที่ดีได้ แผนงานเหล่านี้จะรวมถึงการปรับปรุง
แก้ไขหลักเกณฑ์การให้แสงสว่างและ/หรือการให้อาหารด้วย
5.1 ความสม่ำเสมอของฝูง
ความสม่ำเสมอเป็นการวัดความแปรผันของขนาดตัวไก่ในฝูง ซึ่ง
วัดได้หลายวิธี เช่น
1. การประเมินด้วยสายตาและความรู้สึก
2. ด้วยน้ำหนัก +/- ร้อยละ10
3. ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน
4. ด้วยการประเมินคุณภาพซากหลังการชำแหละ

คอบบ์ ! 49
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
วิธีการคำนวณความสม่ำเสมอของฝูง
⋅ แบ่งโรงเรือนออกเป็น 3 ส่วน
⋅ สุ่มตัวอย่างไก่ออกมาส่วนละ 100 ตัวโดยประมาณหรือร้อย
ละ 1 ของประชากรทั้งหมด
⋅ ชั่งและบันทึกน้ำหนักไก่แต่ละตัว
⋅ ต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุกตัวภายในคอกกั้น และแยกไก่ตัวที่จะคัด
ทิ้งออก
⋅ นับจำนวนไก่ที่มีน้ำหนักอยู่ในกลุ่ม +/- ร้อยละ 10 ของน้ำ
หนักเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 100 ตัว
⋅ ตัวเลขได้ออกมาเป็นค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง ก็คือสัดส่วน
ร้อยละที่แสดงความความสม่ำเสมอของฝูงนั่นเอง

คอบบ์ ! 50
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (CV)
ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (CV) ใช้อธิบายความแปรผันภายในกลุ่ม
ประชากรที่ใช้กันโดยทั่วไป ค่า CV ต่ำบ่งชี้ว่าฝูงมีความสม่ำเสมอ ถ้า
ค่า CV สูง แสดงว่าฝูงขนาดความสม่ำเสมอ

ค่า CV ความสม่ำเสมอของ การประเมิน


ฝูง
8 ร้อยละ 80 มีความสม่ำเสมอ
10 ร้อยละ 70 ปานกลาง
12 ร้อยละ 60 ขาดความสม่ำเสมอ

ความแปรผัน แสดงออกในแง่ใดแง่หนึ่ง ดังต่อไปนี้


⋅ น้ำหนักไก่โดยเฉลี่ย
⋅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนัก
⋅ สัมประสิทธิ์ความแปรผันของน้ำหนัก
ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันเป็นมาตรวัดเชิงเปรียบเทียบความแปรผัน
ที่เปลี่ยนแปลงได้ในช่วงการเจริญเติบโตของฝูงไก่ที่ติดตาม ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐานเป็นมาตรวัดการกระจายของค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย) หาก
เป็นฝูงไก่ปกติ ร้อยละ 95 ของไก่จะตกอยู่ในช่วงส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 2 ขั้ว +/- ด้านใดด้านหนึ่งของน้ำหนักตัวเฉลี่ย

คอบบ์ ! 51
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ค่าร้อยละสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (CV%) = (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(กรัม) ÷ น้ำหนักตัวเฉลี่ย (กรัม)) x 100

ตารางต่อไปนี้แสดงการประมาณค่าความสม่ำเสมอของฝูง (ค่าร้อย
ละ ภายในกลุ่ม +/- ร้อยละ 10) ให้เป็นค่าร้อยละสัมประสิทธิ์ความ
แปรผัน (CV%)

ความสม่ำเสมอของฝูง (%) ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (%)


95.4 5
90.4 6
84.7 7
78.8 8
73.3 9
68.3 10
63.7 11
58.2 12
55.8 13
52.0 14
49.5 15
46.8 16

คอบบ์ ! 52
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
5.2 อุณหภูมิ
การตรวจกิจกรรม : ทุกครั้งที่เข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ควรหมั่นสังเกต
กิจกรรมดังต่อไปนี้
⋅ การกินของไก่ ⋅ การเล่นของไก่
⋅ การดืม่ น้ำของไก่ ⋅ การ “สือ่ สาร” กันของไก่
⋅ การพักผ่อนของไก่ ⋅ ไก่ไม่ควรเข้ามาสุม
เบียดกัน
ข้อชี้แนะเกี่ยวกับอุณหภูมิ/ความชื้น

อายุ - วัน % อุณหภูมิ ˚C (˚F) อุณหภูมิ ˚C (˚F)


ความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับไก่ที่มาจาก สำหรับไก่ที่มาจาก
ฝูงไก่แม่พันธุ์ที่ ฝูงไก่แม่พันธุ์ที่
มีอายุ 30 สัปดาห์ มีอายุ 30 สัปดาห์
หรือน้อยกว่า หรือมากกว่า
0 30-50 34 (93) 33 (91)
7 40-60 31 (88) 30 (86)
14 40-60 27 (81) 27 (81)
21 40-60 24 (75) 24 (75)
28 50-70 21 (70) 21 (70)
35 50-70 19 (66) 19 (66)
42 50-70 18 (64) 18 (64)

คอบบ์ ! 53
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ถ้ า ความชื ้ น ต่ ำ กว่ า ข้ อ มู ล ในตารางด้ า นบน ให้ เ พิ ่ ม
อุณหภูมิให้สูงขึ้น 0.5 – 1 ˚C (1 ˚F) ถ้าความชื้นสูงกว่า
ข้อมูลด้านบน ให้ลดอุณหภูมิโรงเรือนลง 0.5 ถึง 1 ˚C
(1 ˚F) ใช้พฤติกรรมของไก่และอุณหภูมิสัมฤทธิ์กำหนด
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับไก่เสมอ
⋅ ลูกไก่ที่ฟักมาจากไข่ใบเล็ก (ฝูงแม่ไก่ที่อายุน้อย) ต้องการ
อุณหภูมิกกสูงขึ้น เพราะลูกไก่กลุ่มนี้ผลิตความร้อนออกมา
น้อย ประมาณ 1 ˚C ในช่วงเจ็ดวันแรก
อุณหภูมิที่ได้จากเครื่องกกแบบแผ่รังสีความร้อนเฉพาะที่
อายุ อุณหภูมิใต้ อุณหภูมิรอบ อุณหภูมิห่างจาก %
วัน เครือ่ งกก เครื่องกก เครื่องกก ความชื้นสัมพัทธ์
เซลเซียส (F) เซลเซียส (F) 2 เมตร -
เซลเซียส (F)

0 33 (91) 31 (88) 29 (84) 55-65


7 30 (86) 28 (82) 26 (79) 55-65
14 28 (82) 26 (79) 25 (77) 60-70
21 26 (79) 25 (77) 25 (77) 60-70
28 23 (77) 23 (73) 23 (73) 60-70

คอบบ์ ! 54
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
5.3 แผนงานแสงสว่าง
แผนงานแสงสว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ได้
สมรรถภาพผลผลิตและสวัสดิภาพฝูงไก่เนื้อที่ดี แผนงานแสงสว่าง
ส่วนใหญ่มักออกแบบให้เปลี่ยนไปตามอายุไก่และมีแนวโน้มที่จะ
แปรผันตามพิกัดน้ำหนักไก่เนื้อที่ตลาดต้องการ มีการแสดงให้เห็นว่า
แผนงานแสงสว่ า งที ่ อ อกแบบมาเพื ่ อ
ป้องกันไม่ให้ไก่โตเร็วเกินไปในช่วงอายุ
7-21 วัน ช่วยลดอัตราการตายเนื่องจาก
โรคท้องมาน ภาวะตายเฉียบพลัน การ
บาดเจ็บที่ขา และการตายยกฝูงได้ งาน
วิจัยบ่งชี้ว่าแผนงานแสงสว่างที่มีช่วงมืด
สนิทติดต่อกัน 6 ชั่วโมงจะช่วยให้การ
พัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของไก่มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ไม่มีแผนงานแสงสว่างมาตรฐานอย่าง
หนึ่งอย่างใดที่สามารถทำให้เกิดผลสำเร็จ
ได้เหมือนกันในทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้น แผนงานแสงสว่างที่แนะนำใน
คู ่ ม ื อ ฉบั บ นี ้ จ ึ ง ควรได้ ร ั บ การปรั บ เปลี ่ ย นให้ ส อดคล้ อ งตามสภาพ
แวดล้อม ประเภทของโรงเรือน และวัตถุประสงค์โดยรวมของผู้เลี้ยง
หากแผนงานแสงสว่างที่นำมาใช้ไม่เหมาะสม อาจทำให้อัตราการ
เจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) ลดลงและทำให้เกิดปัญหากับ

คอบบ์ ! 55
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
สมรรถภาพผลผลิตฝูงไก่ได้ การสังเกตสมรรถภาพผลผลิตฝูงไก่ ความ
เข้มข้นของสารอาหารและการบริโภคของไก่อย่างรอบคอบเป็นสิ่ง
สำคัญในการออกแบบแผนงานแสงสว่าง ถ้าหากมีข้อมูลอัตราการ
เจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันที่แม่นยำ แนะนำให้วางแผนงานแสงสว่าง
ตามน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น
ความเข้มและการกระจายของแสงมีผลกับกิจกรรมของไก่ การกระตุ้น
ให้ไก่มีกิจกรรมที่เหมาะสมในช่วงอายุ 5-7 วันแรกเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อ
ให้ไก่มีการบริโภคอาหารที่ดี มีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและระบบ
ย่อยอาหารที่เหมาะสม การลดพลังงานที่ใช้ทำกิจกรรมในช่วงกลาง
ของระยะเติบโตจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การกระจาย
แสงอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งโรงเรือนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนงาน
แสงสว่างประสบความสำเร็จ
ในช่วงกก แนะนำให้ใช้ความเข้มแสง 25 ลักซ์ (2.5 ฟุตเทียน) ในส่วน
ที่มืดที่สุดของโรงเรือน โดยวัดที่ระดับความสูงลูกไก่ เพื่อกระตุ้นการ
เพิ่มน้ำหนักตั้งแต่ระยะต้น ความเข้มแสงระดับพื้นที่เหมาะสมไม่ควร
ต่างกันเกิน ร้อยละ 20 เมื่อพ้นช่วง 7 วันไปแล้ว หรือจะให้ดีก็ช่วงที่
ลูกไก่มีน้ำหนักตัว 160 กรัม จึงค่อยๆ ลดความเข้มของแสงลงจน
เหลือ 5-10 ลักซ์ (0.5-1 ฟุตเทียน)

คอบบ์ ! 56
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
5.3.1 ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการใช้แผนงานแสงสว่าง
⋅ ทดสอบแผนงานแสงสว่างก่อนที่จะนำไปกำหนดป็นนโยบาย
ที่แน่นอน
⋅ ให้แสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมงในวันแรกที่จัดลูกไก่เข้าโรงเรือน
เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไก่จะได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
⋅ ปิดไฟในคืนที่สอง เพื่อกำหนดเวลาปิดไฟสำหรับคืนต่อๆ มา
และเมื่อกำหนดไปแล้ว จะต้องไม่เปลี่ยนเวลาปิดไฟอีกใน
ภายหลังจนตลอดช่วงชีวิตไก่
⋅ เมื่อกำหนดเวลาปิดไฟให้กับฝูงไก่แล้ว การจะปรับปรุงแก้ไข
อะไรก็ตามหลังจากนั้น ให้ทำในเวลาเปิดไฟเท่านั้น ไก่จะคุ้น
เคยกับเวลาปิดไฟได้อย่างรวดเร็ว เมื่อใกล้ถึงเวลาปิดไฟ ก็จะ
รีบกินอาหารและดื่มน้ำจนเต็มกระเพาะก่อนที่ไฟจะดับลง
⋅ ให้มีรอบการปิดไฟแค่เพียงรอบเดียวในช่วงระยะเวลา 24
ชั่วโมง
⋅ เมื่อไก่มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 100 – 160 กรัม ให้ขยายเวลาปิดไฟ
ให้ยาวนานขึ้น
⋅ หากจัดพื้นที่กกแบบแบ่งส่วนโรงเรือน ให้เลื่อนการหรี่ไฟออก
ไปจนกระทั่งใช้พื้นที่กกเต็มโรงเรือน

คอบบ์ ! 57
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ปล่อยให้ไก่กินอาหารเต็มที่โดยไม่จำกัดปริมาณ เพื่อให้แน่ใจ
ว่าในช่วงปิดไฟ ไก่ได้บริโภคอาหารและน้ำจนอิ่มดีแล้ว และ
ให้ไก่ได้บริโภคอาหารและน้ำทันทีที่เปิดไฟ วิธีนี้จะช่วย
ป้องกันภาวะขาดน้ำและลดความเครียดลงได้
⋅ ควรจัดเวลาปิดไฟให้ตรงกับเวลากลางคืนมากที่สุดเท่าที่จะ
เป็นได้ เพื่อให้แน่ใจว่าช่วงปิดไฟเป็นช่วงที่มืดจริงๆ และเอื้อ
ให้มีเวลาเพียงพอสำหรับตรวจสอบฝูงไก่ให้แล้วเสร็จในช่วง
เวลากลางวัน
⋅ ควรชั่งน้ำหนักไก่อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งและให้ตรงกับ
วันที่มีการปรับเปลี่ยนตามแผนงานที่กำหนดไว้ แผนงานแสง
สว่างควรปรับเปลี่ยนไปตามน้ำหนักตัวเฉลี่ยของฝูงไก่ และ
ควรนำประสบการณ์จากสมรรถภาพผลผลิตเฉพาะของแต่ละ
ฟาร์มมาใช้ในการพิจารณาด้วย
⋅ ความยาวนานของช่วงปิดไฟควรปรับเพิ่มขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน
ไม่ใช่ขึ้นเป็นรายชั่วโมง (ดูที่แผนงาน)
⋅ การปรับลดช่วงปิดไฟก่อนการจับไก่จะช่วยลด “ความไม่
แน่นอน”
⋅ หากมีการลดจำนวนประชากรไก่ลงอย่างฮวบฮาบ ให้นำ
นโยบายเลี้ยงในความมืดเป็นเวลา 6 ชั่วโมงกลับมาใช้อีกครั้ง
ในคืนแรกที่มีการลดจำนวนประชากรลง

คอบบ์ ! 58
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ในสภาพอากาศอบอุ่น หากไก่เกิดความเครียดในตอนกลาง
วันและกินอาหารได้น้อยลง ให้ลดระยะเวลาดับไฟ
⋅ ในฤดู ห นาว ให้ ป รั บ ช่ ว งเวลาดั บ ไฟตามการตกของ
พระอาทิตย์ ดังนั้น ไก่จะตื่นขึ้นมาในช่วงที่อากาศหนาวเย็น
ที่สุดตอนกลางคืน
⋅ ในฤดูร้อน ให้ปรับช่วงเปิดไฟตามการขึ้นของพระอาทิตย์
⋅ ให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสลมและการเปียกชื้นของวัสดุรองพื้นอยู่
ด้านในสุดของโรงเรือนซึ่งมีถาดรับอาหารวางอยู่ เพราะอาจ
ทำให้ระบบอาหารว่างเปล่า ก่อให้เกิดภาวะแตกตื่นและ
พฤติกรรมคุ้ยเขี่ยได้
⋅ ไม่ปิดระบบให้อาหารในช่วงปิดไฟ
⋅ เป็นการดีที่สุดที่จะเพิ่มหรือลดแสงสว่างลงก่อนช่วงเปิดหรือ
หลังช่วงปิดไฟ 1 ชั่วโมงด้วยระบบไฟหรี่อัตโนมัติตามการขึ้น
และตกของพระอาทิตย์
⋅ ผู้ผลิตไก่เนื้อที่ใช้โรงเรือนแบบม่านโปร่งแสงมีทางเลือกใน
การออกแบบแผนงานแสงสว่างไม่มากนัก เพราะจำเป็นต้อง
ทำให้สอดคล้องกับแสงธรรมชาติ

คอบบ์ ! 59
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ก่อนจับไก่ 48 ชั่วโมง ให้เพิ่มความเข้มแสงจนถึง 10/20 ลักซ์
เพื่อปรับให้ไก่คุ้นเคยกับการจับ – เฉพาะการจับไก่ในตอน
กลางวันเท่านั้น
5.3.2 แผนงานแสงสว่าง 3 รูปแบบ

1. แผนงานแสงสว่างตามมาตรฐาน - วิธีการที่ 1
⋅ น้ำหนักชำแหละ : < 2.5 กิโลกรัม (5.5 ปอนด์)
อายุวัน ชั่วโมงที่ดับไฟ ชั่วโมงที่เปลี่ยนแปลง
0 0 0
1 1 1
100 – 160 กรัม 6 5
5 วันก่อนชำแหละ 5 1
4 วันก่อนชำแหละ 4 1
3 วันก่อนชำแหละ 3 1
2 วันก่อนชำแหละ 2 1
1 วันก่อนชำแหละ 1 1

คอบบ์ ! 60
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
2. แผนงานแสงสว่างตามมาตรฐาน – วิธีการที่ 2
⋅ น้ำหนักชำแหละ : 2.5 – 3 กิโลกรัม (5.5 – 6.6 ปอนด์)
อายุวัน ชั่วโมงที่ดับไฟ ชั่วโมงที่เปลี่ยนแปลง
0 0 0
1 1 1
100 – 160 กรัม 9 8
22 8 1
23 7 1
24 6 1
5 วันก่อนชำแหละ 5 1
4 วันก่อนชำแหละ 4 1
3 วันก่อนชำแหละ 3 1
2 วันก่อนชำแหละ 2 1
1 วันก่อนชำแหละ 1 1

คอบบ์ ! 61
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
3. แผนการแสงสว่างตามมาตรฐาน - วิธีการที่ 3
⋅ น้ำหนักชำแหละ : > 3 กิโลกรัม (6.6 ปอนด์)

อายุวัน ชั่วโมงที่ดับไฟ ชั่วโมงที่เปลี่ยนแปลง


0 0 0
1 1 1
100 – 160 กรัม 12 11
22 11 1
23 10 1
24 9 1
29 8 1
30 7 1
31 6 1
5 วันก่อนชำแหละ 5 1
4 วันก่อนชำแหละ 4 1
3 วันก่อนชำแหละ 3 1
2 วันก่อนชำแหละ 2 1
1 วันก่อนชำแหละ 1 1

คอบบ์ ! 62
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
5.4 ประโยชน์ของแผนงานแสงสว่าง
⋅ การมีช่วงเวลากลางคืนเป็นความจำเป็นตามธรรมชาติ
ของสัตว์โลกทุกชนิด
⋅ ขณะพักผ่อน ร่างกายจะเก็บพลังงานไว้ ทำให้มีอัตราการ
เปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อยิ่งขึ้น
⋅ อัตราการตายและปัญหาความผิดปกติของโครงสร้าง
กระดูกลดลง
⋅ ช่วงสว่าง/ช่วงมืด เพิ่มการผลิตสารเมลาโทนีน ซึ่งสำคัญ
ต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน
⋅ ช่วยปรับปรุงความสม่ำเสมอของฝูงไก่
⋅ อัตราการเจริญเติบโตดีเท่ากับหรือมากกว่าไก่ที่เลี้ยงใน
โรงเรือนที่ได้รับแสงสว่างอย่างต่อเนื่อง หากบรรลุการ
เจริญเติบโตที่ชดเชยได้
⋅ กฎหมายท้องถิ่นอาจมีผลกระทบกับแผนงานแสงสว่างที่
สามารถนำมาใช้ ไ ด้ ทุ ก ฟาร์ ม จะต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ต ามกฎ
สวัสดิภาพสัตว์ที่บังคับใช้ในแต่ละท้องถิ่น

คอบบ์ ! 63
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6. การจัดการระบายอากาศ

6.1 การระบายอากาศพื้นฐาน
คำจำกัดความ
ปริมาณระบายอากาศ(ปริมาณอากาศ)ขั้นต่ำที่จำเป็นเพื่อให้ไก่คง
ศักยภาพตามสายพันธุ์ไว้ได้ โดยการทำให้มีก๊าซออกซิเจนอย่างเพียง
พอ ขณะเดียวกันก็ต้องกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเจริญ
เติบโตและการสันดาปออกจากสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ระบบระบาย
อากาศพื้นฐานที่ดี ต้องทำงานได้ดังนี้
⋅ กำจัดความชื้น
⋅ ทำให้มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอที่จะนำไปใช้ในกระบวนการเผา
ผลาญอาหาร
⋅ ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์
⋅ รักษาสภาพของวัสดุปูพื้นให้ใช้งานได้ดี
ความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ที่ว่าการระบายอากาศพื้นฐานไม่
จำเป็นสำหรับสภาพอากาศแบบอบอุ่น สามารถใช้วิธีระบายอากาศ
แบบที่ใช้ในฤดูร้อน (การระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม) แทนที่ระบบ
ระบายอากาศพื้นฐานได้

คอบบ์ ! 64
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ซึ่งความจริงแล้ว ระบบระบายอากาศพื้นฐานควรแยกออกจากระบบ
ควบคุมอุณหภูมิ และจะได้ผลดีที่สุด หากทำงานด้วยการตั้งเวลาตาม
รอบ โดยมองข้ามเรื่องอุณหภูมิไป
ตัวจับเวลา :
⋅ ควรตั้งเวลาไว้รอบละ 5 นาที สูงสุดไม่ควรเกินรอบละ 10 นาที
⋅ ช่วงเวลาที่ระบบทำงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเวลา
ทั้งหมด
o รอบ 10 นาที ทำงาน 2 นาที หยุดทำงาน 8 นาที
o รอบ 5 นาที ทำงาน 1 นาที หยุดทำงาน 4 นาที
⋅ เมื่อคุณภาพอากาศเริ่มแย่ลง จำเป็นต้องเพิ่มช่วงเวลาทำงานให้
มากขึ้น โดยยังคงรอบเวลาทั้งหมดไว้เท่าเดิม
ระบบระบายอากาศพื้นฐานจะมีการคำนวณ 2 ขั้น คือ การระบาย
อากาศพื้นฐานขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2

คอบบ์ ! 65
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
A. การระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 1
⋅ พัดลมจะทำงานตามตัวจับเวลา ไม่ใช่ตามตัวควบคุม
อุณหภูมิ
⋅ ควรเปิดพัดลมไว้ด้วยความเร็วคงที่ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมตามตัวจับเวลา ควร
ทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศได้ทุก 8 นาที
⋅ จำนวนพัดลมที่ต้องการเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศ
ได้ทุก 8 นาที เป็นดังนี้
ปริมาตรโรงเรือน (ลบ.ม.) ÷ สมรรถนะการทำงานของ
พัดลมที่มีอยู่ (ลบ.ม./นาที)
ปริมาตรโรงเรือน (ลบ.ฟุต) ÷ สมรรถนะการทำงานของ
พัดลมที่มีอยู่ (ลบ.ฟุต/นาที หรือ cfm)

การคำนวณปริมาตรโรงเรือน
⋅ ปริมาตรโรงเรือน : ความยาว (เมตร/ฟุต) x ความกว้าง
(เมตร/ฟุต) x ความสูงเฉลี่ย (เมตร/ฟุต) = ปริมาตรโรงเรือน
(ลบ.ม./ลบ.ฟุต)

คอบบ์ ! 66
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ หมายเหตุ: ความสูงเฉลี่ย = ความสูงของผนัง + ½ ของ
ความสูงจากชายคาจนถึงจุดสูงสุดของหลังคา
พัดลมที่ใช้
⋅ ขนาด 900 มม. หรือ 36 นิ้ว สมรรถนะการทำงาน 345
ลบ.ม./นาที หรือ 12,180 ลบ.ฟุตต่อนาที
⋅ ขนาด 1,200 มม. หรือ 48 นิ้ว สมรรถนะการทำงาน 600
ลบ.ม./นาที หรือ 21,180 ลบ.ฟุตต่อนาที
ขนาดโรงเรือนตัวอย่าง
⋅ ขนาดโรงเรือน : ยาว 120 เมตร กว้าง 12 เมตร และความสูง
เฉลี่ย 4 เมตร
⋅ ขนาดโรงเรือน : ยาว 400 ฟุต กว้าง 40 ฟุต และความสูง
เฉลี่ย 12 ฟุต

หมายเหตุ : ตั ว อย่ า งต่ อ ไปนี ้ ท ั ้ ง หมดมี ห น่ ว ยเป็ น เมตร


แต่ประยุกต์ขนาดโรงเรือนเทียบเท่าได้ตามหมายเหตุด้านบน

คอบบ์ ! 67
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การคำนวณ – การระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 1
⋅ ปริมาตรโรงเรือน = 120 เมตร x 12 เมตร x 4 เมตร = 5,760
ลบ.ม.
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมขนาด 900 มม. (36 นิ้ว) = 345
ลบ.ม./นาที
⋅ มีการหมุนเวียนอากาศในโรงเรือนได้ทุก 8 นาที
⋅ 5,760 ลบ.ม. ÷ 8 = 720 ลบ.ม./นาที
⋅ 720 ลบ.ม./นาที ÷ 345 ลบ.ม./นาที = 2.08 หรือต้องใช้พัดลม 2
ตัว (ขนาด 900 มม.)

คอบบ์ ! 68
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
B. การระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 2
การระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 2 ควรทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศ
ได้ทุก 5 นาที และทำงานตามการควบคุมอุณหภูมิ ไม่ใช่ตามการจับ
เวลา พัดลมที่ใช้ควรมีขนาด 900 มม. เปิดไว้ด้วยความเร็วคงที่ ไม่
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จำนวนพัดลมทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการ
ระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 2 เป็นดังต่อไปนี้
การคำนวณ – การระบายอากาศพื้นฐานขั้นที่ 2
⋅ ปริมาตรโรงเรือน = 120 เมตร x 12 เมตร x 4 เมตร = 5,760
ลบ.ม.
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมขนาด 900 มม. (36 นิ้ว) = 345
ลบ.ม./นาที
⋅ มีการหมุนเวียนอากาศในโรงเรือนได้ทุก 5 นาที
⋅ 5,760 ลบ.ม. ÷ 5 = 1,152 ลบ.ม./นาที
⋅ 1,152 ลบ.ม./นาที ÷ 345 ลบ.ม./นาที = 3.3 หรือต้องใช้พัดลม 4
ตัว (ขนาด 900 มม.)
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงเรือนลูกไก่สูงสุดไม่เกิน
3,000 ppm ถ้ า สภาพแวดล้ อ มในโรงเรื อ นมี ป ริ ม าณก๊ า ซ

คอบบ์ ! 69
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
คาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 3,000 ppm จำเป็นต้องเพิ่มอัตราการ
ระบายอากาศให้สูงขึ้น
พัดลมระบายอากาศช่วยลดผลต่างของอุณหภูมิระหว่างเพดานกับพื้น
ได้ ดังนั้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนก็จะลดลงไปด้วย

กฎเกณฑ์การติดตั้งและการทำงานของพัดลมระบายอากาศ
⋅ ควรติดตั้งพัดลมเรียงกันเป็นแถว
ติดกับเพดาน
⋅ ใช้พัดลมขนาด 45 ซม. (18 นิ้ว)
⋅ พัดลมควรพัดออกจากศูนย์กลาง
ไปยังด้านในสุดของโรงเรือน
⋅ ห่างจากศูนย์กลาง 10 เมตร (33
ฟุต)
⋅ มีพัดลม 1 ตัวทุกๆ 20 เมตร (66
ฟุต)
⋅ ควรเปิดพัดลมไว้ตลอดเวลา

คอบบ์ ! 70
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.2 แรงดันเป็นลบ – คุณสมบัติสำคัญของการระบายอากาศพื้นฐาน

วิธีกระจายอากาศให้ได้อย่างเหมาะที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการ
ระบายอากาศพื้นฐานก็คือ การใช้ระบบระบายอากาศแบบแรงดันลบ
โดยระบบนี้จะนำอากาศที่ไหลเข้ามาพัดขึ้นไปยังส่วนบนสุดของโรง
เรือน ควรปรับแรงดันตกคร่อมตรงช่องลมจนแน่ใจว่าอากาศที่ไหลเข้า
มาจะพัดขึ้นไปถึงส่วนบนสุดของโรงเรือนซึ่งเป็นจุดที่มีความร้อน
สะสมอยู่ การเลือกแรงดันตกคร่อมที่ใช้ ขึ้นอยู่กับความกว้างของโรง
เรือนหรือระยะทางที่อากาศเคลื่อนตัวเข้ามาในโรงเรือน แรงดันอากาศ
ที ่ เ หมาะสมเกิ ด ได้ จ ากความสอดคล้ อ งกั น ของพื ้ น ที ่ ช ่ อ งลมกั บ
สมรรถนะการทำงานของพัดลม
ความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คือ หากทำให้เกิดแรงดันแตกต่าง
กันมากขึ้นด้วยการจำกัดพื้นที่ช่องลมให้แคบลง ปริมาณอากาศที่ไหล
เข้าสู่โรงเรือนก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งความจริงแล้ว กลับเกิดผลในทางตรง
ข้าม เมื่อแรงดันลบเพิ่มขึ้น ความเร็วลมที่ผ่านเข้ามาตรงจุดทางเข้าจึง
สูงขึ้น แต่แรงดันลบที่สูงขึ้น ทำให้สมรรถนะการทำงานของพัดลมลด
ลง และลดปริมาณอากาศที่เคลื่อนผ่านท่อลม ปริมาณอากาศในโรง
เรือนที่ลดลงเช่นนี้ เห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้
พัดลมดูดอากาศแบบขับตรง

คอบบ์ ! 71
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
เพื่อให้เกิดระบบแรงดันลบที่มีประสิทธิผล จึงต้องสร้างสภาพแวดล้อม
ให้เป็นแบบควบคุมได้ อากาศจะไหลเข้าตรงจุดที่มีแรงต้านน้อยที่สุด
และการรั่วไหลของอากาศจะทำให้เกิดกระจายตัวของกระแสลมได้ไม่ดี
โรงเรือนจึงต้องแน่นหนา ไม่มีช่องโหว่ หรือรอยรั่ว ส่วนใหญ่แล้วรอย
รั่วมักเกิดตรงแถวรอยต่อกับพัดลมและ/หรือกับพื้น โรงเรือนแบบ
พัดลมต้องปิดให้สนิทถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด และต้องมีบานเกล็ด
กันลมย้อนกลับเพื่อป้องกันกระแสลมพัดลงด้านล่าง และควรดูแล
สายพานพัดลมให้มีความตึงที่เหมาะสมเพื่อที่พัดลมจะได้ทำงานด้วย
ประสิทธิภาพสูงสุด
โรงเรือนที่ปิดสนิทเรียบร้อยดี รวมทั้งช่องลมด้วย และเปิดพัดลมขนาด
1.2 เมตรไว้หนึ่งตัว จะได้แรงดันสถิตย์ภายในโรงเรือนอย่างน้อย 37.5
pa ถ้าแรงดันสถิตย์ต่ำว่า 25 pa จำเป็นต้องเร่งหาวิธีแก้ไขรอยรั่วและ
ปิดโรงเรือนให้สนิท

คอบบ์ ! 72
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.3 ช่องลม
ควรควบคุมแรงดันช่องลมเพื่อรักษาความเร็วลมให้คงที่ทุกขั้นตอน
การระบายอากาศ ช่องลมเหล่านี้จะพาอากาศขึ้นไปยังส่วนบนสุดของ
โรงเรือน และจะถูกปิดไว้หากพัดลมไม่ทำงาน ควรปิดช่องลมระบาย
อากาศพื้นฐานไว้ให้สนิท และหากเปิดไว้ อากาศควรผ่านมาทางด้าน
บนสุดของช่องลมเท่านั้น ไม่ควรเข้ามาจากด้านข้างหรือด้านใต้
ช่องลมที่มีอากาศเข้ามาตามรอยรั่วด้านข้างหรือด้านใต้ จะทำให้
อากาศเย็นพัดลงที่พื้น เป็นผลให้ไก่รู้สึกหนาวและเกิดการควบแน่น
บริเวณวัสดุรองพื้น
ในโรงเรือนโครงสร้างเปิด มุมเปิดของช่องลมต้องไม่พัดตรงกับขื่อ
หลังคา ควรหลีกเหลี่ยงไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น ขื่อหลังคาหรือ
ท่อสายไฟ เพราะจะขัดขวางทางลม ทำให้มีลมเป่าลงด้านล่าง

ต้องเปิดช่องลมไว้ให้กว้างพอที่จะทำให้
มี แ รงดั น สถิ ต ย์ แ ละมี ก ระแสลมใน
ปริมาณที่ต้องการ ซึ่งต้องกว้างอย่าง
น้อย 2.5 – 5 ซม. (1-2 นิ้ว)
ควรติดตั้งมอเตอร์ขับตรงไว้กลางผนัง
ด้านข้างเพื่อลดความผันผวนของการ
เปิดช่องลม เชือกที่ใช้เปิด-ปิดช่องลม ยืดยานบ่อยครั้ง ทำให้การเปิด

คอบบ์ ! 73
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ช่องลมไม่แน่นอน กระจายอากาศได้ไม่ดี เชือกโลหะขาด 8 มม.(0.3 นิ้ว)
ขยายตัวได้น้อย จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโรงเรือนระยะยาว

ควรติดตั้งช่องลมต่ำกว่าขอบชายคาผนังด้านข้าง 30 ซม. (12 นิ้ว)


และมีตัวกันลมติดไว้ด้านนอก ลมที่พัดจากภายนอกจะทำให้เกิดแรง
ดันตกคร่อมภายในโรงเรือนลดลงอย่างเห็นได้ชัดและอากาศเย็นที่
ไหลเข้ามาจะเคลื่อนตัวลงต่ำจนถึงระดับพื้น ฝาครอบช่องลมควรมี
ขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ตัดขวางของช่องลมอย่างน้อยร้อยละ 30 เพื่อลด
การกีดขวางทางลม ฝั่งอับลมของโรงเรือนจะมีแรงดันอากาศลบอยู่
ภายนอกเสมอ ส่วนฝั่งรับลมของโรงเรือนจะมีแรงดันอากาศบวกอยู่
ภายนอกเสมอ ตัวกั้นลมจะป้องกันไม่ให้ความร้อนถูกดูดออกจากโรง
เรือนทางฝั่งรับลม
หากไม่มีตัวกั้นลม ระบบกลไกควบคุมแรงดันโรงเรือนจะไม่สามารถ
ปรับแรงดันหรือควบคุมการเปิดปิดช่องลมเพื่อให้ได้ความเร็วลมที่
เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดการควบแน่นบนผนังและพื้นหรือ
ป้องกันความเย็นจากแรงลมที่เป่ากระทบตัวไก่ได้
อากาศเย็นเข้ามารวมกับอากาศร้อนใต้สันครอบหลังคา อากาศเย็นจะ
ถูกทำให้อุ่นขึ้นและขยายตัว เพิ่มความสามารถในการอุ้มความชื้น
และลดความชื้นสัมพัทธ์ลง

คอบบ์ ! 74
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
แผนภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการช่องลม
อย่างถูกต้อง
การไหลแบบตั้งฉากของการระบายอากาศพื้นฐาน

การระบายอากาศแบบไหลตั้งฉากด้วยแรงดันตกคร่อมผ่าน
ช่องลมต่ำ

คอบบ์ ! 75
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ตารางด้านล่างนี้สามารถนำไปใช้เป็นคู่มืออ้างอิงสำหรับโรงเรือนเลี้ยง
ไก่ที่มีความกว้างขนาดต่างๆ ในการกำหนดความเร็วลมที่ไหลผ่าน
ช่องลม ความแตกต่างของแรงดันและพื้นที่ช่องลม ขนาดพื้นที่ช่องลม
ขึ้นอยู่กับสมรรถนะการทำงานของพัดลม

ความสูงของน้ำ ปาสคาล ความกว้างโรงเรือน ความเร็วลม


หน่วยเป็นนิ้ว (เมตร/ฟุต)
.03 8 10.0 เมตร (33 ฟุต) 700 ฟุตต่อนาที 3.50 เมตรต่อวินาที
.04 10 12.0 เมตร (39 ฟุต) 800 ฟุตต่อนาที 4.00 เมตรต่อวินาที
.08 20 15.0 เมตร (50 ฟุต) 1100 ฟุตต่อนาที 5.00 เมตรต่อวินาที
.10 26 18.0 เมตร (60 ฟุต) 1250 ฟุตต่อนาที 6.35 เมตรต่อวินาที
.15 37 21.0 เมตร (69 ฟุต) 1480 ฟุตต่อนาที 7.50 เมตรต่อวินาที
.17 42 24.0 เมตร (79 ฟุต) 2360 ฟุตต่อนาที 8.00 เมตรต่อวินาที

ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า
อากาศได้ไหลเข้าไปถึงส่วนกลางของโรงเรือน

คอบบ์ ! 76
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.4 การระบายอากาศแบบเปลี่ยนผ่าน
⋅ วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนอากาศในโรงเรือนโดยไม่
เกิดความเร็วลมสูงพัดผ่านตัวไก่
⋅ การระบายอากาศแบบเปลี่ยนผ่าน ตามปกติจะได้ถึงร้อยละ 40 –
50 ของสมรรถนะการระบายอากาศโดยรวมแบบอุโมงค์ลม
⋅ พัดลมทำงานด้วยตัวควบคุมอุณหภูมิ
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศได้
ทุก 2 นาที
⋅ พัดลมเหล่านี้จะใช้ช่องลมติดผนังซึ่งกระจายตัวอยู่บนผนังแต่ละ
ด้านอย่างสม่ำเสมอยาวเหยียดเต็มโรงเรือน ช่องลมจะทำงานได้
ประสิทธิภาพสูงสุดหากควบคุมด้วยแรงดันลบ
⋅ ช่องลมควรพัดอากาศไหลไปยังด้านบนสุดของโรงเรือน เพื่อ
ป้องกันการเคลื่อนตัวของอากาศเย็นพัดผ่านไปยังพื้นและตัว
ลูกไก่
⋅ หากมีพัดลมอยู่ตรงปลายสุดด้านหนึ่งของโรงเรือนและมีช่องลม
ติดกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอบนผนังโรงเรือนแต่ละด้าน อัตรา
ความเร็วลมสูงสุดที่พัดผ่านตัวไก่จะอยู่ที่ร้อยละ 25 ในช่วงที่มีการ
ระบายอากาศแบบอุโมงค์ลมเต็มกำลัง

คอบบ์ ! 77
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ระบบนี้ทำให้การควบคุมอุณหภูมิมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ช่วยลด
โอกาสที่จะทำให้ไก่จะรู้สึกหนาว และเป็นประโยชน์อย่างมากกับ
ระบบระบายอากาศทุกประเภท
⋅ ในขั้นตอนสุดท้ายของการเปลี่ยนผ่านหรือการเปลี่ยนผ่านแบบ
เต็มกำลัง ช่องลมของอุโมงค์ลมจะเปิดออก
การคำนวณ - การระบายอากาศแบบเปลี่ยนผ่าน
⋅ ปริมาตรโรงเรือน = 120 เมตร x 12 เมตร x 4 เมตร = 5,760
ลบ.ม.
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมในการขับเคลื่อนสายพาน ขนาด
1.2 เมตร = 600 ลบ.ม./นาที
⋅ มีการหมุนเวียนอากาศทุก 2 นาที
⋅ 5,760 ลบ.ม. ÷ 2 = 2,880 ลบ.ม./นาที
⋅ 2,880 ลบ.ม./นาที ÷ 600 ลบ.ม./นาที = 4.8 หรือใช้พัดลม (ขนาด
1.2 เมตร) 5 ตัว

คอบบ์ ! 78
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.5 การระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม
ระบบระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม ใช้เพื่อบรรเทาความผันผวนของ
อุณหภูมิตามฤดูกาล และให้ผลดีเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อน
ในระบบระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม พัดลมดูดอากาศที่ติดไว้ปลาย
สุดฝั่งหนึ่งของโรงเรือนทั้งหมดและจะทำให้มีอากาศไหลเข้ามาจาก
ปลายสุดฝั่งตรงข้าม ตามคู่มือแนะนำเบื้องต้น อากาศจะถูกดูดออก
ด้วยอัตราความเร็วลม 3 เมตร/วินาที (600 ฟุต/นาที) ผ่านมาตาม
ความยาวของโรงเรือน พัดเอาความร้อน ความชื้น และฝุ่นละอองออก
ไปจากโรงเรือน
กระแสลมทำให้รับรู้ความหนาวเย็นมากกว่าอุณหภูมิจริง ซึ่งลด
อุณหภูมิสัมฤทธิ์ลงได้ถึง 5-7 ˚C (10-12 ˚F) ควรรักษาอุณหภูมิ
สัมฤทธิ์ของโรงเรือนไว้ให้ต่ำกว่า 30 ˚C (86 ˚F) และอากาศควร
หมุนเวียนได้ทั้งหมดภายใน 1 นาที
การคำนวณ - การระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม
ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดขนาดโรงเรือนเบื้องต้น
⋅ สมรรถนะของโรงเรือน : ยาว 120 เมตร x กว้าง 12 เมตร x ความ
สูงเฉลี่ย 4 เมตร = 5,760 ลบ.ม.
⋅ พื้นที่ตัดขวาง : กว้าง 12 เมตร x ความสูงเฉลี่ย 4 เมตร = 48
ตร.ม.
⋅ ความเร็วลมที่ต้องการ : 3 เมตร/วินาที
⋅ การหมุนเวียนอากาศที่ต้องการ : น้อยกว่า 1 นาที

คอบบ์ ! 79
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ขั้นตอนที่ 2 : สมรรถนะการทำงานของพัดลมที่ต้องการเพื่อให้
ได้ความเร็วลมสูงสุด 3 เมตร/วินาที
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมที่ต้องการ : 48 ตร.ม. x 3 เมตร/
วินาที = 144 ลบ.ม./วินาที
⋅ จำนวนพัดลมขนาด 1.2 เมตรที่ต้องการ : 144 ลบ.ม./วินาที ÷ 10
ลบ.ม./วินาที = พัดลม 14 ตัว
หมายเหตุ : พัดลมที่เหมาะกับระบบระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม
ที่สุด ก็คือ พัดลมแบบขับเคลื่อนสายพานสมรรถนะสูงขนาด 1.2
เมตร (48 นิ้ว) 1.3 เมตร (52 นิ้ว) 1.4 เมตร (54 นิ้ว) ในโรงเรือนเลี้ยง
ไก่พันธุ์เนื้อสมัยใหม่ที่มีความเร็วลมสูง พัดลมอุโมงค์จะทำงานภายใต้
แรงดันสถิตย์สูง
ขั้นตอนที่ 3 : มีการหมุนเวียนอากาศ < 1 นาทีหรือไม่
⋅ การหมุนเวียนอากาศ : ปริมาตรโรงเรือน ÷ สมรรถนะการทำงาน
ของพัดลมทั้งหมด
5,760 ลบ.ม. ÷ (14 x (10 ลบ.ม./วินาที x
60 วินาที))
= 5,760 ลบ.ม. ÷ (14 x 600 ลบ.ม./นาที)
= 0.69 นาที

คอบบ์ ! 80
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ขั้นตอนที่ 4 : ความเร็วลมเท่ากับ 3 เมตร/วินาทีหรือไม่
⋅ ความเร็วลม : สมรรถนะการทำงานของพัดลมทั้งหมด (ลบ.ม./
วินาที) ÷ พื้นที่ตัดขวาง (ตร.ม.)
(14 x 10 ลบ.ม./วินาที) ÷ 48 ตร.ม. = 2.92 เมตร/วินาที

คอบบ์ ! 81
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
แผนภาพ 2 ภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษา
ความเร็วลมและแรงดันตกคร่อมลบบริเวณม่านกั้นลมแบบอุโมงค์ให้
อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากความเร็วลมที่ช่องลมต่ำ จะส่งผลให้เกิด
“จุดอับอากาศ”
การระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม

ความเร็วลมผ่านช่องลมต่ำกว่า 2.5 เมตร/วินาที หรือ 500 ฟุตต่อนาที

คอบบ์ ! 82
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.6 อุณหภูมิสัมฤทธิ์
อุณหภูมิสัมฤทธิ์ เป็นผลรวมขององค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
⋅ อุณหภูมิแวดล้อม
⋅ เปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์
⋅ ความเร็วลม เมตร/วินาที
⋅ ความหนาแน่นในการเลี้ยง
⋅ การมีขนขึ้นปกคลุม
⋅ ความร้อนจากการแผ่รังสี
ในช่วงอุณหภูมิสูง การสูญเสียความร้อนผนวกกับการทำความเย็น
แบบไม่ใช้การระเหยของน้ำลดลง ขณะที่ความแตกต่างระหว่าง
อุณหภูมิตัวไก่กับสิ่งแวดล้อมลดลง การสูญเสียความร้อนด้วยการ
ระเหยของน้ำ กลายเป็นส่วนสำคัญของการสูญเสียความร้อนในช่วงที่
มีภาวะความเครียดจากความร้อน ความชื้นสัมพัทธ์สูงทำให้ปริมาณ
การระเหยของน้ำลดลง ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ำกว่า 70% ไม่
ได้ มีวิธีแก้ไขเพียงอย่างเดียว ก็คือ ต้องรักษาอัตราความเร็วลม
ไว้ให้ได้ 3 เมตร/วินาที (600 ฟุตต่อนาที) เป็นอย่างน้อย

คอบบ์ ! 83
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ตารางด้านล่างแสดงดัชนีการลดลงของอุณหภูมิสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นได้
จากองค์ประกอบด้านอุณหภูมิแวดล้อม ความชื้นสัมพัทธ์ และ
ความเร็วลมที่แตกต่างกัน
หมายเหตุ : ตารางนี้ใช้ได้กับไก่ที่อายุน้อยกว่า 25 วัน ที่ขนยังขึ้นไม่
เต็ม ถ้าไก่มีขนขึ้นเต็มที่แล้ว เราจะใช้ความเร็วลมในการขจัดความ
ร้อนจากด้านใต้และรอบๆ ตัวไก่

คอบบ์ ! 84
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ที่อุณหภูมิสูงกว่า 32 ˚C ความเย็นจากลมจะมีประสิทธิผลน้อยลง วิธี
เดียวที่จะทำความเย็นให้ไก่ที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมหรือมากกว่า
อย่างได้ผลในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 38˚C ก็คือ การใช้ระบบทำความ
เย็นด้วยการระเหยของน้ำ
ประเด็นสำคัญของการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม ก็คือ
⋅ ปิดโรงเรือนให้สนิท ⋅ ความเร็วลม
⋅ แรงดันอากาศ ⋅ การทำความเย็นให้
อากาศ

6.7 การทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ
แผงรังผึ้งที่ใช้ทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำออกแบบมาเพื่อ
จำกัดอากาศที่ไหลผ่านเข้าโรงเรือนและระเหยความชื้นออกจากพื้นผิว
แผงรั ง ผึ ้ ง การระเหยได้ ม าจากความร้ อ นและความเร็ ว ลม
พลังงานจลน์ของโมเลกุลตามสัดส่วนต่ออุณหภูมิ ยิ่งอุณหภูมิสูง
การระเหยก็จะยิ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโมเลกุลที่เคลื่อนไหว
ได้รวดเร็วกว่าเล็ดลอดออกไป โมเลกุลที่เหลืออยู่จึงมีพลังงานจลน์
เฉลี่ยลดต่ำลง ยังผลให้อุณหภูมิของน้ำลดลงตามไปด้วย ปรากฏการณ์
เช่นนี้ เรียกว่า การทำให้เกิดความเย็นจากการระเหยของน้ำ พลังงาน

คอบบ์ ! 85
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ที่ปลดปล่อยออกมาระหว่างการระเหยทำให้อุณหภูมิในอากาศลดลง
ซึ่งกระบวนการนี้จะมีประสิทธิผลอย่างยิ่งที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
เมื่อร่วมกับการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม แผงรังผึ้งที่ใช้ทำความ
เย็นด้วยการระเหยของน้ำ/หรือระบบพ่นหมอก ก็จะยิ่งส่งเสริมกัน
ทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงได้ แผ่งรังผึ้งควรเปียกทั้งหมดและ
โรงเรือนก็ต้องมีการหุ้มฉนวนกันความร้อน
ตารางต่อไปนี้ เป็นข้อชี้แนะเกี่ยวกับความเย็นที่ได้รับจากการใช้ระบบ
ทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
ต่างๆ กัน

คอบบ์ ! 86
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ตัวอย่าง: ที่อุณหภูมิ 30˚C และความชื้นสัมพัทธ์ 36% การลดลงของ
อุณหภูมิในโรงเรือนที่จะได้ก็คือ 10.6 ˚C (19 ˚F)
อุณหภูมิกระเปาะแห้ง
˚C ˚F ค่าร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์ (%)

การทำความเย็นที่จะได้จากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่กำหนดให้

ลดลง ˚C
ลดลง ˚F

คอบบ์ ! 87
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.7.1 การจัดการเครื่องสูบน้ำ
อัตราการระเหยสูงสุดเกิดได้โดยไม่ต้องสูบน้ำเข้าแผงรังผึ้งตลอดเวลา
แค่ทำให้แผงรังผึ้งมีความชื้นก็เพียงพอ โดยให้เครื่องสูบน้ำทำงานด้วย
ตัวควบคุมอุณหภูมิและตัวควบคุมความชื้น ที่จะควบคุมการเพิ่ม
ความชื้นและป้องกันความชื้นสูง ถ้ามีน้ำเข้าสู่สิ่งแวดล้อมในโรงเรือน
มากกว่าที่ระบบสามารถขจัดออกได้ ก็จะทำให้วัสดุรองพื้นเปียกชื้น
ความชื้นสัมพัทธ์สูง และอุณหภูมิสัมฤทธิ์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ตัวตรวจจับอุณหภูมิควรอยู่ที่ตำแหน่งหนึ่งในสามของโรงเรือนจาก
ด้านในสุด (สิ้นสุดระยะพัดลม) ในระดับความสูงเท่าตัวไก่ ตัวตรวจ
จับความชื้นควรอยู่ที่ตำแหน่งหนึ่งในสามของโรงเรือนจากด้านหน้า
(สิ้นสุดระยะแผงรังผึ้ง) สูงจากพื้น 1.3 เมตร (4 ฟุต)
ยิ่งมีความชื้นต่ำมาก การระเหยก็จะยิ่งดี ทำให้การทำความเย็นดีขึ้น
ตามไปด้ ว ย ไม่ ค วรเปิ ด เครื ่ อ งสู บ น้ ำ ทิ ้ ง ไว้ ต ลอดเวลา หาก
ความชื้นสัมพัทธ์ภายนอกสูง ควรเปิดแค่ช่วงสั้นๆ พอทำให้แผงรังผึ้ง
เปียกเท่านั้น ปิดเครื่องสูบน้ำไว้จนแผงรังผึ้งเริ่มแห้งจึงค่อยเปิดอีกครั้ง
เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ หากความชื้นลดลง ก็สามารถเปิดเครื่องสูบ
น้ำได้บ่อยครั้งและยาวนานมากขึ้น
หมายเหตุ ไม่ ค วรทำความเย็ น ด้ ว ยการระเหยของน้ ำ หากมี
ความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 75%

คอบบ์ ! 88
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.7.2 การออกแบบแผงรังผึ้งที่ใช้กับระบบระบายอากาศด้วยการ
ระเหยของน้ำ
ขนาดของแผงรังผึ้งต้องเหมาะสมกับสมรรถนะการทำงานของพัดลม
เพื่อให้เกิดกระแสลมและการระเหยได้อย่างถูกต้อง แผงรังผึ้งที่นิยม
ใช้กันมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
⋅ แผ่นทำหมอกขนาด 5 ซม. (2 นิ้ว)
⋅ แผ่นบำบัดอากาศแบบหมุนเวียน ขนาด 10 ซม. (4 นิ้ว)
(บางครั้งก็นำไปใช้ในระบบพ่นหมอก)
⋅ แผ่นบำบัดอากาศแบบหมุนเวียน ขนาด 15 ซม. (6 นิ้ว)
การออกแบบแผงรังผึ้งที่เหมาะสมเป็นดังนี้
ความเร็วลมที่ไหลผ่านช่องลม โดยยึดตามโรงเรือนที่มีความกว้าง 12
เมตร (ความเร็วลมจะแตกต่างกันไปตามความกว้างของโรงเรือน – ดู
ตารางแสดงอัตราแรงดันลบที่แสดงไว้ในหน้า 31)
การออกแบบโรงเรือนที่ใช้แผงรังผึ้งทำความเย็นด้วยการระเหย
ของน้ำ

คอบบ์ ! 89
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ข้อกำหนดการออกแบบที่สำคัญ
⋅ จำเป็นต้องใช้ม่านกั้นแบบเย็มริมสามชั้น โดยม่านจะต้องปิด
สนิท ดูตามหัวข้อ 1.2 (หน้า 2) เกี่ยวกับการออกแบบม่าน
กั้น
⋅ ถ้าใช้ประตูรับลมแบบอุโมงค์ จะต้องปิดขอบชายให้สนิท
⋅ ด้านบนกล่องแผงรังผึ้งจะต้องหุ้มฉนวนกันความร้อน
⋅ กล่องแผงรังผึ้งต้องมีความกว้างอย่างน้อย 0.6 – 1 เมตร (2-3
ฟุต) แผงรังผึ้งควรอยู่ห่างจากม่านกันลมอย่างน้อย 30 ซม.
(12 นิ้ว)
⋅ ระบบคืนสภาพน้ำต้องอยู่สูงจากพื้น เพื่อทำให้น้ำอุ่นและ
สามารถเข้าไปทำความสะอาดได้โดยง่าย
⋅ ป้องกันน้ำในถังไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง (โดยใช้ฝาปิด)
เพื่อลดการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำ
⋅ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้กลางแผงรังผึ้ง เพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอ
ของแรงดันและทำให้แผงรังผึ้งเปียก

คอบบ์ ! 90
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.7.3 การจัดการแผงรังผึ้ง
⋅ ระบบทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำไม่ควรทำงานก่อนที่
พัดลมทุกตัวจะเปิดทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่ามีการระเหยและ
การกระจายอากาศที่เหมาะสมถูกต้อง
⋅ ควรทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า
25 ˚C เท่านั้น
⋅ ไม่ควรทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำก่อนที่ฝูงไก่จะ
มีอายุได้ 28 วัน
⋅ ไม่ควรเปิดม่านกั้นลมทั้งหมด เปิดกว้างสุดเพียงแค่ 0.75 – 1
เมตร (2.5 – 3 ฟุต) เท่านั้น
⋅ ควรชำระล้างแผงรังผึ้งทุกสัปดาห์
⋅ ควรมีแผนงานทำความสะอาดในทุกๆ รอบการทำงาน
6.7.4 การคำนวณความต้องการในการใช้แผงรังผึ้ง
ตัวอย่าง
ความเร็วลมที่ต้องไหลผ่านแผงรังผึ้ง
⋅ แผ่นขนาด 15 ซม. (6 นิ้ว) - < 1.8 เมตร/วินาที (< 350 ฟุต/
นาที)

คอบบ์ ! 91
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ แผ่นขนาด 10 ซม. (4 นิ้ว) -< 1.25 เมตร/วินาที (<250 ฟุต/
นาที)
⋅ แผ่นขนาด 5 ซม. (2 นิ้ว ) -< 0.75 เมตร/วินาที(<150 ฟุต/
นาที)
ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดขนาดโรงเรือนเบื้องต้น
⋅ สมรรถนะโรงเรือน : ยาว 120 เมตร x กว้าง 12 เมตร x ความ
สูงเฉลี่ย 4 เมตร = 5,760 ลบ.ม.
⋅ พื้นที่ตัดขวาง : กว้าง 12 เมตร x ความสูงเฉลี่ย 4 เมตร = 48
ตร.ม.
⋅ ความเร็วลมที่ต้องการ : 3 เมตร/วินาที
⋅ การหมุนเวียนอากาศที่ต้องการ : น้อยกว่า 1 นาที
ขั้นตอนที่ 2 : สมรรถนะการทำงานของพัดลมที่ต้องการทั้งหมด
เท่ากับเท่าไหร่
⋅ สมรรถนะการทำงานของพัดลมทั้งหมด : 48 ตร.ม x 3.0
เมตร/วินาที = 144 ลบ.ม/วินาที
(520 ตร.ฟุต x 600 ฟุต/นาที = 312,000 ลบ.ฟุต/นาที)
ขั้นตอนที่ 3 : พื้นที่แผงรังผึ้งที่ต้องการทั้งหมดเท่ากับเท่าไหร่
⋅ 144 ลบ.ม. ÷ 1.8 เมตร/วินาที = พื้นที่แผงรังผึ้ง 80 ตร.ม.
(312,000 ตร.ฟุต/นาที ÷ 350 ฟุต/นาที = พื้นที่แผงรังผึ้ง 891
ตร.ฟุต)

คอบบ์ ! 92
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ 80 ตร.ม. ÷ 1.5 เมตร (ความสูงของแผงรังผึ้งมาตรฐาน) =
แผงรังผึ้งขนาด 53 เมตร
(891 ตร.ฟุต ÷ 5 ฟุต (ความสูงของแผงรังผึ้งมาตรฐาน) =
แผงรังผึ้งขนาด 178 ฟุต
⋅ หรือ 26.5 เมตรต่อด้าน
(หรือ 89 ฟุตต่อด้าน)

6.7.5 การระบายอากาศที่ทำให้วัสดุรองพื้นเปียกและมีความชื้น
สูงที่พบบ่อย
⋅ ความเร็วลมที่ไหลผ่านแผงรังผึ้งสูงหรือต่ำเกินไป ต้องปรับ
การเปิดม่านกั้นลมให้อยู่ในระดับเหมาะสม
⋅ พื้นที่แผงรังผึ้งไม่เพียงพอกับสมรรถนะการทำงานของพัดลม
⋅ แผงรังผึ้งสกปรกและเกิดการอุดตัน
⋅ เปิดเครื่องสูบน้ำด้วยอัตราความเร็วลมต่ำเกินไป
⋅ เปิดเครื่องสูบน้ำขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่า 28 ˚C (82 ˚F)
⋅ เปิดเครื่องสูบน้ำขณะที่ความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 75%
⋅ ใส่แผงรังผึ้งกลับด้าน มุมชันสุดของรางต้องหันไปทางพื้นด้าน
นอกโรงเรือน
⋅ เปิดเครื่องสูบน้ำทิ้งไว้นานเกินไป แผงรังผึ้งเปียกโชก

คอบบ์ ! 93
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.8 ระบบการทำหมอก
⋅ ในโรงเรือนที่มีความกว้างน้อยกว่า 14 เมตร (45 ฟุต) ควรติด
ตั้งหัวพ่นหมอกในโรงเรือนทั้งหมด 2 แถวโดยแต่ละแถวอยู่
ห่างจากผนังแต่ละด้าน 1/3 ของความกว้างโรงเรือน
⋅ ระบบทำหมอกแรงดันต่ำทำงานที่อัตรา 7.6 ลิตร/ชั่วโมง
(2 แกลลอน/ชั่วโมง)
⋅ ติดตั้งหัวพ่นหมอกให้หันลงด้านล่างที่ระยะ 3.1 เมตร
(10 ฟุต) จากศูนย์กลางแต่ละแถว และเว้นระยะสลับฟันปลา
จากด้านหนึ่งมาอีกด้านหนึ่งตลอดทั้งโรงเรือน
⋅ ควรวางสายพ่นหมอกให้เป็นวงรอบทั่วทั้งโรงเรือน
⋅ ควรติดตั้งวาล์วปล่อยน้ำอัตโนมัติไว้บนสายแต่ละเส้นเพื่อ
ระบายน้ำออกนอกโรงเรือนขณะปิดเครื่องสูบน้ำ วาล์วปล่อย
น้ำช่วยป้องกันการหยดขณะที่ระบบไม่ได้ทำงาน
⋅ ในโรงเรือนที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม สายพ่น
หมอกหนึ่งเส้นควรแยกออกจากสายหลัก 2 เส้นตรงหน้า
ช่องลมของอุโมงค์ลม ; ห่างจากช่องลมที่เปิดอยู่ 1.2 เมตร (4
ฟุต) ด้วยอัตราการไหล 7.6 ลิตร/ชั่วโมง รัศมีการพ่น 1.5
เมตรจากศูนย์กลาง
⋅ ควรใช้สายยางขนาด 2 ซม. (3/4 นิ้ว) ส่งน้ำที่ต่อมาจากเครื่อง
สูบน้ำเข้าสายยางพ่นหมอกหลัก

คอบบ์ ! 94
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ทั้งอุณหภูมิและความชื้นจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของ
เครื่องสูบน้ำ
⋅ ตัวพ่นหมอกจะเริ่มทำงานที่อุณหภูมิ 28 ˚C (82 ˚F)
⋅ ระบบพ่นหมอกแรงดันต่ำ ทำงานที่ขนาดแรงดัน 7-14 บาร์
(100-200 psi) ละอองที่พ่นออกมามีขนาดใหญ่กว่า 30
ไมครอน
⋅ ระบบพ่นหมอกแรงดันสูง ทำงานที่ขนาดแรงดัน 28-41 บาร์
(400-600 psi) ละอองที่พ่นออกมามีขนาด 10-15 ไมครอน
ระบบนี้ทำงานได้ดีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
หากมีความเร็วลมมากกว่า 3.0 เมตร/วินาที (600 ฟุต/นาที) ก็ไม่ควร
เพิ่มความชื้นเข้าไปในช่องลมโดยตรง หัวพ่นหมอกที่อยู่บริเวณ
ช่องลมควรติดตั้งในตำแหน่งซึ่งมีความเร็วลมต่ำกว่า 3.0 เมตร/วินาที
(600 ฟุต/นาที) เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นและตัวไก่เปียก ถ้าละอองน้ำจาก
หัวพ่นหมอกอันหนึ่งไปรวมเข้ากับละอองน้ำจากหัวพ่นหมอกข้างเคียง
แสดงว่ามีหัวพ่นหมอกมากเกินไป ไม่ควรเปิดใช้งาน ลักษณะเช่นนี้จะ
ทำให้เกิดความชื้นสูงและมีโอกาสที่อัตราการตายของไก่ที่อยู่ตรง
พัดลมส่วนท้ายโรงเรือนเพิ่มสูงขึ้นได้

คอบบ์ ! 95
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

รายละเอียดการติดตั้งที่แนะนำ
⋅ ท่อหลักจากเครื่องสูบ : ใช้ท่อขนาด 2 ซม. (3/4 นิ้ว)
⋅ ท่อภายใน : ใช้ท่อขนาด 1.25 ซม. (1/2 นิ้ว)
⋅ โครงแบบวงรอบจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดหยดน้ำในช่วงที่ระบบ
ทำงาน ใช้วาล์วปล่อยน้ำป้องกันน้ำหยดขณะระบบไม่ทำงาน

คอบบ์ ! 96
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.9 การระบายอากาศตามธรรมชาติ
การระบายอากาศตามธรรมชาติ ใช้อยู่ทั่วไปในพื้นที่เขตอบอุ่น ซึ่งมี
สภาพอากาศคล้ายคลึงกับคุณสมบัติที่ต้องการ ไม่แนะนำให้ใช้ระบบ
นี้ในพื้นที่ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนหนาวรุนแรง
การระบายอากาศตามธรรมชาติให้ประสบผลสำเร็จขึ้นอยู่กับที่ตั้งของ
โรงเรือน ควรสร้างโรงเรือนให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก - ทิศตะวันตก
เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังผนังด้านข้างใน
ช่วงที่ร้อนที่สุดของวัน ควรใช้ลมประจำท้องถิ่นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
พื้นผิวหลังคาสะท้อนความร้อนที่มีค่าความเป็นฉนวน R-Value ขั้นต่ำ
อยู่ที่ 20-25 (ดูเกี่ยวกับ ค่าความเป็นฉนวน ในหน้า 2-3) และจำเป็น
ต้องมีชายคาบังแดดให้เพียงพอ
6.9.1 เทคนิคการจัดการในสภาพอากาศร้อน
1. เดินดูไก่เป็นประจำ อย่างนุ่มนวลระมัดระวังเพื่อทำให้เกิดการ
ไหลเวียนของอากาศรอบๆ ตัวไก่และ กระตุ้นให้ไก่ดื่มน้ำ
2. เก็บอาหารออก ไม่ให้ไก่กิน ด้วยการยกระบบอาหารขึ้น 6
ชั่วโมงก่อนที่จะถึงช่วงที่ร้อนที่สุดของวัน วิธีนี้จะช่วยขจัดสิ่งที่
อาจกีดขวางการไหลเวียนของอากาศและลดความร้อนที่ออก
มาจากตัวไก่เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญอาหาร
จุดสำคัญในการติดตั้งพัดลมทำความเย็นในโรงเรือนที่มีการ
ระบายอากาศตามธรรมชาติ
⋅ ขนาดต่ำสุด : พัดลมแบบขับตรง ขนาด 900 มม. (36 นิ้ว) ขึ้น
ไป ด้วยสมรรถนะการทำงาน 5.75 ลบ.ม./วินาที หรือ 345
ลบ.ม./นาที (10,500 ลบ.ฟุต/นาที) ที่ระดับ 50 พีเอ

คอบบ์ ! 97
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ พัดลมขนาด 900 มม. (36 นิ้ว) จะดูดอากาศในระยะ 1 เมตร
(3.3 ฟุต) และพัดอากาศออกไป 12 เมตร (40 ฟุต) โดย
กระจายอากาศได้สูงสุด 2.2 เมตร (7.2 ฟุต) พัดลมควรอยู่สูง
จากพื้น 1 เมตร
⋅ มวลอากาศร้อนจะก่อตัวขึ้นเหนือพื้น 2.2 เมตร (7.2 ฟุต)
⋅ พัดลมควรติดอยู่บนผนังด้านข้างในมุม 60 องศาที่ความสูง
ระดับเดียวกับผนังโรงเรือนส่วนล่าง
⋅ หากจำเป็น ในสภาพอากาศร้อน ให้เปิดพัดลมในช่วงสอง
สัปดาห์แรกเพื่อขจัดความร้อนออกจากโรงเรือนที่มีผนังด้าน
ข้างเป็นม่านกั้นร่วมกับพัดลมระบายอากาศ ควรติดตั้งพัดลม
ระบายอากาศบนผนังด้านข้างหรือติดไว้ใกล้กับหลังคาโรง
เรือน ในมุม 120 องศา อย่าให้ลมพัดเข้าหาไก่โดยตรง
⋅ ระยะห่างจากผนังด้านข้างสูงสุด 1 เมตร (3.3 ฟุต)
⋅ ควรแขวนพัดลมตั้งฉากและสูงจากพื้น 1 เมตร (3.3 ฟุต)

คอบบ์ ! 98
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
โครงร่ า งการติ ด ตั ้ ง พั ด ลมในโรงเรื อ นที ่ ม ี ก ารระบายอากาศตาม
ธรรมชาติ ความกว้างไม่เกิน 12 เมตรซึ่งพบได้ทั่วไป เรียงตาม
ประสิทธิภาพที่ได้รับดังนี้ : 1 = ดีที่สุด , 3 = แย่ที่สุด (โรงเรือนที่กว้าง
กว่า 12 เมตรจะมีจุดอับอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของโรงเรือน เนื่องจากพัดลม
ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะพัดอากาศไปไกลเกินกว่า 12 เมตร)
1.

⋅ พัดลมพัดอากาศผ่านโรงเรือนตามทิศทางของลมที่มีอยู่
ประจำท้องถิ่น
⋅ มีอัตราการหมุนเวียนอากาศที่ดีเยี่ยม
⋅ แขวนพัดลมไว้กับผนังด้านข้างในมุม 60 องศา
⋅ ไก่ทุกตัวได้รับกระแสลมเท่าเทียมกันทั้งหมด

คอบบ์ ! 99
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
2.

⋅ พัดลมพัดอากาศผ่านศูนย์กลางของโรงเรือน
⋅ พัดลมตัวแรกต้องอยู่ห่างจากประตูโรงเรือนภายในระยะ 1
เมตร (3.3 ฟุต) เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการหมุนเวียนอากาศ
สดชื่น
⋅ มีอัตราการหมุนเวียนอากาศต่ำกว่าโครงร่างแบบที่ 1 มาก
⋅ พัดลมต้องอยู่ห่างจากกัน 12 เมตร (40 ฟุต)
⋅ ไก่ทุกตัวได้รับกระแสลมเท่าเทียมกันทั้งหมด

3.

⋅ แขวนพัดลมไว้ ในรูปแบบสลับฟันปลา
⋅ ไม่มีการหมุนเวียนอากาศ
⋅ ไก่สัมผัสกับอากาศร้อนที่ไม่มีการถ่ายเท
⋅ กระแสลมไม่ครอบคลุมทั่วทั้งโรงเรือน

คอบบ์ ! 100
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.9.2 เทคนิคการจัดการม่านกั้น
ในโรงเรือนแบบเปิดด้านข้าง การจัดการม่านกั้นเป็นพื้นฐานสำคัญที่
ช่วยให้ฝูงไก่มีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการเลี้ยง การจัดการเกี่ยว
กับการระบายอากาศที่ดีจำเป็นต้องมีความผันผวนของอุณหภูมิให้
น้อยที่สุด
1. ในแต่ ล ะส่ ว นของโรงเรื อ นอาจมี ค วามแตกต่ า งกั น ของ
อุณหภูมิ
2. การระบายอากาศในทุกช่วงอายุไก่ ต้องสามารถขจัดความ
ร้อน ความชื้นและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินออกไปได้
ในช่ ว งสั ป ดาห์ แ รกที ่ โ รงเรื อ นปิ ด สนิ ท การกำจั ด ก๊ า ซ
คาร์ บ อนไดออกไซด์ เ ป็ น เรื ่ อ งสำคั ญ ระดั บ ของก๊ า ซ
คาร์บอนไดออกไซด์ไม่ควรเกิน 3,000 ppm ดูเพิ่มในข้อ
แนะนำเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
3. การจัดการม่านกั้นที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ที ่ เ กิ ด กั บ ระบบทางเดิ น หายใจและโรคท้ อ งมานในสภาพ
อากาศหนาวเย็น
4. ให้มีความผันผวนของอุณหภูมิในช่วง 24 ชั่วโมงให้น้อยที่สุด
โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ยิ่งควบคุมอุณหภูมิได้ดีมากขึ้น
เท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและอัตรา
การเจริญเติบโตดีขึ้นเท่านั้น

คอบบ์ ! 101
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
แบบโรงเรือนที่ได้รับการปรังปรุง
ลดผนังด้านข้างลงให้ต่ำกว่าขอบชายคา
ความเร็วลมพัดผ่านตัวไก่ในระดับพื้นดีขึ้น

คอบบ์ ! 102
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
6.9.3 เทคนิคการระบายอากาศแบบมีม่านกั้น
1. คำนึงถึงทิศทางลมในช่วงเช้า เปิดม่านกั้นฝั่งใต้ลมก่อน
2. เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนอากาศและความเร็วลมที่พัดเข้า
โรงเรือน ให้เปิดม่านกั้นฝั่งเหนือลมไว้เพียงร้อยละ 25
ของฝั่งใต้ลม
3. เพื่อลดการหมุนเวียนอากาศและชะลอความเร็วลมที่พัด
เข้าโรงเรือน ให้เปิดม่านกั้นฝั่งเหนือลมไว้ 4 เท่าของฝั่งใต้
ลม
4. เพื่อให้ได้ความเร็วลมพัดผ่านตัวไก่สูงสุด ควรเปิดม่านกั้น
ทั้งสองฝั่งให้เท่ากันที่ระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
5. ควรเปิดม่านกั้นเพื่อให้มีอากาศหมุนเวียนในโรงเรือน แต่
ไม่ ใ ห้ ค วามเร็ ว ลมพั ด ผ่ า นลู ก ไก่ ห รื อ พั ด ในระดั บ พื ้ น
จนกว่าลูกไก่จะมีอายุได้ 14 วัน ความเร็วลมที่พัดผ่าน
ลูกไก่ในช่วงอายุ 14 วันแรก จะทำให้ลูกไก่รู้สึกหนาวเย็น
บริโภคอาหารและน้ำน้อยลง และเพิ่มการใช้พลังงานใน
การผลิตความร้อนมากขึ้น
6. อ้างอิงตามการจัดทำกระโจมผ้าใบขนาดเล็กในหน้าที่ว่า
ด้วยการกกลูกไก่ (ดูตามหัวข้อ 1.4 หน้า 3)

คอบบ์ ! 103
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
7. การจัดการน้ำ
น้ำเป็นสารอาหารสำคัญ ที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ในร่างกายเกือบทั้งหมด น้ำมีอยู่ถึงร้อยละ 65 – 78 ของส่วน
ประกอบร่างกายไก่โดยขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยต่างๆ อันได้แก่
อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ส่วนประกอบของอาหารและอัตราการ
เพิ่มน้ำหนัก ล้วนส่งผลต่อการบริโภคน้ำ คุณภาพน้ำที่ดีสำคัญ
อย่างยิ่งในการผลิตไก่เนื้อให้มีประสิทธิภาพ การวัดคุณภาพน้ำ
ได้แก่ วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระดับแร่ธาตุ และ
ปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ การบริโภคน้ำที่เพิ่มขึ้นตาม
อายุไก่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าการบริโภคน้ำลดลงเมื่อใด จะต้อง
ทำการประเมินสุขภาพไก่ สภาพแวดล้อม และ/หรือเทคนิควิธี
เกี่ยวกับกับการจัดการน้ำใหม่อีกครั้ง
7.1 ปริมาณแร่ธาตุ
แม้ ว ่ า ไก่ เ นื ้ อ จะทนทานต่ อ ปริ ม าณแร่ ธ าตุ บ างอย่ า งที ่ ส ู ง เกิ น
มาตรฐานได้ (เช่น แคลเซียมและโซเดียม) แต่พวกมันก็ไวต่อการ
มีอยู่ของแร่ธาตุอื่นๆ อย่างมาก เหล็กและแมงกานีสมีแนวโน้มที่
จะทำให้น้ำมีรสขม ซึ่งอาจลดปริมาณการบริโภคน้ำของไก่ลงได้
นอกจากนั้น แร่ธาตุเหล่านี้ยังช่วยให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้
ดียิ่งขึ้นอีกด้วย หากเป็นธาตุเหล็ก สามารถควบคุมอย่างได้ผล
ด้วยระบบกรองน้ำและการเติมสารคลอรีน แนะนำให้ใช้เครื่อง

คอบบ์ ! 104
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
กรองน้ำ ที่มีไส้กรองขนาด 40-50 ไมครอน ควรมีการตรวจและ
ทำความสะอาดไส้กรองอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
แคลเซียมและแมกนีเซียมในน้ำวัดได้จากค่าความกระด้าง แร่
ธาตุเหล่านี้เมื่ออยู่ด้วยกันสามารถทำให้เกิดหินปูนหรือคราบ
สะสมซึ่งกระทบกับประสิทธิผลของระบบน้ำดื่มได้ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในระบบปิด อาจเพิ่มถังกรองความกระด้างรวมเข้าไว้ใน
ระบบเพื ่ อ ลดผลกระทบที ่ เ กิ ด จากแคลเซี ่ ย มและแมกนี เ ซี ย ม
อย่างไรก็ตาม ควรทำการประเมินระดับของโซเดียม ก่อนที่จะนำ
ผลิตภัณฑ์ที่มีเกลือเป็นส่วนผสมหลักมาใช้
สมรรถภาพผลผลิตไก่เนื้อถูกบั่นทอนได้ด้วยการรับสารไนเตรท
เข้าไปเพียงแค่ 10 ppm ที่แย่ก็คือ ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีกำจัดที่ได้
ผล ควรทำการทดสอบน้ำเพื่อหาสารไนเตรท เพราะปริมาณที่สูง
ขึ้น จะบ่งชี้ถึงสิ่งสกปรกหรือการปนเปื้อนของสิ่งหมักหมม
7.2 การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
สมรรถภาพผลผลิตแย่เรื้อรังอาจบ่งชี้ว่าน้ำมีการปนเปื้อน จำเป็น
ต้องรีบทำการทดสอบ ในการทดสอบน้ำ จะต้องประเมินจำนวน
แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด หากอยู่ในระดับสูงอาจก่อให้เกิด
การเจ็บป่วยได้ การประเมินจำนวนแบคทีเรียจากการตรวจนับจะ
สะท้อนให้เห็นความมีประสิทธิผลของแผนงานสุขอนามัยน้ำ การ
ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แหล่งน้ำไล่ลงมาเรื่อยๆ

คอบบ์ ! 105
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หากไม่มีแผนงานด้านสุขอนามัยน้ำที่มีประสิทธิผล จะทำให้การ
เพิ่มจำนวนเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรทำการทดสอบ
น้ำทุกครั้งเมื่อพบว่าน้ำมีสี กลิ่น หรือรสชาติเปลี่ยนไป เกิด
เหตุการณ์น้ำท่วมใกล้ๆ กับบ่อน้ำ คนหรือสัตว์เจ็บป่วยจากเชื้อ
โรคที่มากับน้ำ มีการซ่อมบำรุงระบบจ่ายน้ำ สมรรถภาพผลผลิต
ไม่ดีติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสูญเสียแรงดันในระบบน้ำ
7.3 สุขอนามัยน้ำและการทำความสะอาดระบบ
แผนงานสุ ข อนามั ย น้ ำ และการทำความสะอาดท่ อ น้ ำ อย่ า ง
สม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และการก่อตัว
ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกาะเป็นเมือกในท่อน้ำซึ่งเชื้อแบคทีเรียและ
ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภัยใช้เป็นที่หลบซ่อนจากน้ำยาฆ่าเชื้อ และยัง
เป็นแหล่งอาหารให้กับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
อีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ได้รับการยืนยันว่าสามารถขจัดกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกาะตัวอยู่ในท่อ
น้ำได้เป็นอย่างดี กลุ่มจุลินทรีย์มีอิทธิพลต่อการปนเปื้อนน้ำตาม
ธรรมชาติ - แร่เหล็ก ซัลเฟอร์ เป็นต้น - วิตามิน เกลือแร่ กรด
อินทรีย์ น้ำหวานคูลเอด เยลลี่ น้ำเชื่อม วัคซีน และสารให้ความ
คงตัว ยาปฏิชีวนะและ โปรไบโอติกส์

คอบบ์ ! 106
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
7.3.1 การชำระล้าง
ระบบน้ำในโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบทันสมัยทั้งหมดต้องมีการชำระ
ล้างอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่จะให้ดีที่สุดต้องทำความ
สะอาดทุกวันเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ การทำความสะอาดด้วย
เครื่องฉีดน้ำแรงดัน น้ำจะต้องมีแรงดันสูงและปริมาณที่มากพอ
แรงดันน้ำ 1 – 2 บาร์ (14-28 psi) จะทำให้เกิดความเร็วลมและ
แรงเคลื่อนของน้ำในท่อช่วยให้ขจัดคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่หลุด
ออกไปได้ ระบบน้ำดื่มแบบเปิดก็จำเป็นต้องทำความสะอาดด้วย
เช่นกัน ในวันที่อากาศอบอุ่นหรือร้อน อาจจำเป็นต้องทำมากกว่า
1 ครั้งต่อวันเพื่อลดอุณหภูมิน้ำให้เย็นลง การใช้ระบบชำระล้าง
อัตโนมัติ สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยประหยัดเวลา
และมั่นใจได้ว่ามีการล้างทำความสะอาดระบบน้ำอย่างแน่นอน
7.3.2 ศักยภาพการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น-รีดักชั่น (ORP)
ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ค่า ORP ในน้ำ ORP ย่อมาจาก
Oxidation-reduction potential (ศักยภาพการเกิดปฏิกิริยาออกซิ
เดชั่น-รีดักชั่น) ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติของสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
ในการเป็นตัวเพิ่มปฏิกิริยารุนแรงทำให้เกิดก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะ
ทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และสารอินทรีย์อื่นๆ ทำให้น้ำ
ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์

คอบบ์ ! 107
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ค่า ORP ในปริมารณ 650 มิลลิโวลท์ (mV) หรือมากกว่านั้น บ่งชี้
ว่าน้ำมีคุณภาพดี หากค่าต่ำกว่านี้ เช่น 250 mV บ่งชี้ว่ามีสาร
อินทรีย์หนัก ซึ่งจะทำลายคุณสมบัติของคลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค
ที่อยู่ในน้ำ
เครื่องวัด ORP มีประโยชน์ในการตรวจหาและดูแลปริมาณการใช้
คลอรีนที่เหมาะสมไม่ให้เกินความจำเป็น
คำเตือน : ชุดตรวจคลอรีนในสระว่ายน้ำไม่สามารถแยกความ
แตกต่ า งระหว่ า งสารประกอบคลอรี น อิ ส ระและสารประกอบ
คลอรีนก่อสารพิษออกจากกันได้ ดังนั้น เมื่อมีภาระอินทรีย์สูงซึ่ง
ส่งผลให้เกิดอัตราร้อยละของสารประกอบคลอรีนที่ก่อสารพิษสูง
ตามไปด้วย ทำให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคไม่ดี แม้ว่าชุด
ตรวจจะแสดงระดับคลอรีนอยู่ที่ 4-6 ppm ก็ตาม
คลอรีนจะออกฤทธิ์ดีที่สุด หากใช้ในน้ำที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง
6 – 7 ซึ่งเป็นระดับ pH ที่มีอัตราร้อยละของประจุไฮโปคลอรัสตื่น
ตัวเป็นสารฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น
กรดอนินทรีย์ เช่น โซเดียมไบซัลเฟตลดค่า pH ของน้ำโดยไม่ทิ้ง
การปนเปื้อนไว้ในน้ำ

คอบบ์ ! 108
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ระดับคลอรีนตกค้างอิสระไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นสารฆ่าเชื้อ
โรคที่มีประโยชน์ เว้นแต่ว่ามีกรดไฮโปคลอรัสไม่ต่ำกว่า 85%
สารคลอรีนที่พบได้ส่วนใหญ่ มีอยู่ในสารประกอบดังต่อไปนี้
⋅ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaOCL, สารฟอกขาวที่ใช้ในครัว
เรือน) เพิ่มค่า pH ในน้ำ ดังนั้น จึงเป็นตัวเลือกทีไ่ ม่ดีนัก
สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
⋅ ไตรคลอ (ไตรคลอโร-ส์ ไตรอาซีนไทรโอน) ซึ่งมีคลอรีนอยู่ถึง
90% โดยอยู่ในรูปแบบเม็ด ต้องใช้เวลานานในการปลด
ปล่อยสารคลอรีนออกมาอย่างช้าๆ ช่วยลดค่า pH ในน้ำได้
อย่างดี ดังนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ
⋅ ก๊าซคลอรีน ให้สารคลอรีน 100% เป็นรูปแบบที่มีคลอรีน
บริสุทธิ์ที่สุด แต่กเ็ ป็นอันตราย และมีข้อจำกัดในการใช้อย่าง
เข้มงวด
7.3.3 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
⋅ ค่ า pH เป็ น มาตรวั ด ปริ ม าณประจุ ไ ฮโดรเจนใน
สารละลายและวัดออกมาเป็นค่าระหว่าง 1.0 ถึง 14.0
โดยมี 7.0 เป็นค่ากลาง
⋅ ค่า pH ที่ต่ำกว่า 7.0 บ่งชี้ความเป็นกรด ขณะที่ค่าสูงกว่า
7 บ่งชี้ความเป็นด่าง

คอบบ์ ! 109
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ค่า pH ที่สูงกว่า 8 จะกระทบกับรสชาติเพราะให้รสขม
จึงทำให้การบริโภคน้ำลดลง
⋅ น้ำที่มีค่า pH สูง ลดลงได้ด้วยการเติมกรดอนินทรีย์ลง
ไป กรดอนินทรีย์ก็อาจส่งผลเชิงลบต่อการบริโภคน้ำได้
เช่นกัน จึงไม่แนะนำ
⋅ ค่ า pH กระทบกั บ คุ ณ ภาพของน้ ำ และความมี
ประสิทธิผลของสารฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน
⋅ ที่ค่า pH สูงกว่า 8 สารคลอรีนจะอยู่ในรูปของประจุคลอ
ริคเป็นส่วนใหญ่ จึงมีคุณภาพในการเป็นสารฆ่าเชื้อโรค
เพียงเล็กน้อย
ผลกระทบของค่า pH ตามสัดส่วนของไฮโปคลอรัส (HOCL) ต่อ
ประจุคลอริค (OCL)
ค่า PH กรดไฮโปคลอรัส – HOCL (%) ประจุไฮโปคลอไรต์ – OCL(%)
8.5 10 90
8.0 21 79
7.5 48 52
7.0 72 28
6.5 90 10
6.0 96 4
5.0 100 0

ค่า PH ของน้ำดื่มที่ต้องมีการฆ่าเชื้ออยู่ระหว่าง 5 ถึง 6.5

คอบบ์ ! 110
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
7.4 ของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด
มาตรวัดปริมาณของแข็งที่แขวนลอยหรือละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด
(TDS) หรือความเค็ม ที่บ่งชี้ระดับของประจุสารอนินทรีย์ที่ละลายอยู่
ในน้ำ สารแคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือโซเดียมเป็นสารประกอบ
หลักที่ทำให้เกิด TDS ค่า TDS ในระดับสูงมักเป็นสารปนเปื้อนที่เป็น
อันตรายต่อการเลี้ยงไก่ซึ่งพบเห็นได้บ่อยที่สุด ตารางดังต่อไปนี้ เป็น
แนวทางแนะนำจากสภาวิจัยแห่งชาติ (2517) เกี่ยวกับน้ำที่เหมาะ
สำหรับใช้เลี้ยงไก่ที่มีความเข้มข้นของปริมาณของแข็งที่แขวนลอย
หรือละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด (TDS) ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความเข้มข้น
โดยรวมของสารประกอบที่ละลายอยู่ในน้ำ

คอบบ์ ! 111
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ความเหมาะสมของน้ำที่ความเข้มข้นของปริมาณของแข็งที่
แขวนลอยหรือละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด (TDS) แตกต่างกัน

ปริมาณ TDS - ppm ความคิดเห็น


ต่ำกว่า 1,000 เป็นน้ำที่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ทุกประเภท
1,000 ถึง 2,999 เป็นน้ำที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงไก่ทุกประเภท
อาจก่อให้เกิดหยดน้ำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับ
แรงดันสูง) แต่ไม่กระทบกับสุขภาพและ
สมรรถภาพผลผลิต
3,000 ถึง 4,999 เป็นน้ำที่ไม่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ทุกประเภท
อาจก่อให้เกิดหยดน้ำ เพิ่มอัตราการตายและลด
การเจริญเติบโต
5,000 ถึง 6,999 เป็นน้ำที่ไม่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ทุกประเภท จะ
ก่อให้เกิดปัญหาบางอย่างเกือบตลอดเวลา โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกินกว่ามาตรฐาน ทำให้ลด
อัตราการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตหรือเพิ่ม
อัตราการตายสูงขึ้น
7,000 ถึง 10,000 เป็นน้ำที่ไม่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ แต่อาจเหมาะ
กับการเลี้ยงปศุสัตว์ประเภทอื่น
สูงกว่า 10,000 เป็นน้ำที่ไม่ควรใช้เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์ปีกใดๆ

แหล่งข้อมูล: สารอาหารและสารพิษในน้ำสำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์ปีก
สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วอชิงตัน ดีซี สภาวิจัยแห่งชาติ (2517)

คอบบ์ ! 112
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
7.5 การทำความสะอาดระบบน้ำดื่มระหว่างการเลี้ยงไก่แต่ละฝูง
⋅ ระบายระบบน้ำดื่มและถังเก็บน้ำ
⋅ ตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของระบบน้ำดื่ม
⋅ เตรียมสารทำความสะอาดตามคำแนะนำจากบริษัทผู้
ผลิต
⋅ หากเป็นไปได้ ให้ย้ายถังเก็บน้ำออกมาด้านนอกและขัด
ให้สะอาด
⋅ เติมสารละลายลงในระบบน้ำ ตามปกติจะใส่ลงในถังเก็บ
น้ำ
⋅ แน่ใจว่าได้สวมใส่ชุดและแว่นตาป้องกันขณะใช้สารเคมี
⋅ เปิดก๊อกน้ำที่ปลายท่อน้ำดื่มและปล่อยให้น้ำไหลออก จน
กระทั่งชะล้างสารทำความสะอาดออกมาให้เห็น แล้วจึง
ปิดก๊อกน้ำ
⋅ ยกท่อน้ำดื่มทั้งหมดให้สูงขึ้น
⋅ ปล่อยให้สารทำความสะอาดไหลเวียนในระบบน้ำดื่มให้
ทั่ว
⋅ หากไม่สามารถทำให้สารทำความสะอาดไหลเวียนใน
ระบบได้ ให้ปล่อยทิ้งไว้ในระบบเพื่อฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย
12 ชั่วโมง
⋅ หลังจากระบายน้ำออกจากระบบเรียบร้อยแล้ว ให้ชำระ
ล้างระบบอย่างทั่วถึงเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และสาร
เคมีที่ใช้ทำความสะอาดออกให้หมด

คอบบ์ ! 113
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
7.6 การทดสอบน้ำ
ควรทำการทดสอบน้ำตามรอบที่กำหนด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ควร
รวบรวมตัวอย่างน้ำจากบ่อและปลายสุดของท่อน้ำดื่ม โดยใช้ภาชนะ
ที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค และนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ผ่านการ
รับรองคุณภาพ ขณะเก็บตัวอย่างน้ำ ต้องระวังไม่ให้ตัวอย่างน้ำเกิด
การปนเปื้อน

คอบบ์ ! 114
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับการเลี้ยงไก่
สารปนเปื้อน , แร่ธาตุหรือ ระดับค่าเฉลี่ยที่ ระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดที่
ประจุ ต้องระวัง ยอมรับได้
แบคทีเรีย
แบคทีเรียทั้งหมด 0 CFU/มล. 100 CFU/มล.
แบคทีเรียกลุ่มโคลี 0 CFU/มล. 50 CFU/มล.
ฟอร์ม
ความเป็นกรดและความ
กระด้าง 6.8-7.5 6.0-8.0
ค่า PH 60-180 ppm 110 ppm
ความกระด้างโดยรวม
แร่ธาตุที่เกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติ 60 มก./ลิตร
แคลเซียม (Ca) 14 มก./ลิตร 250 มก./ลิตร
คลอไรด์ (Cl) 0.002 มก./ลิตร 0.6 มก./ลิตร
ทองแดง (Cu) 0.2 มก./ลิตร 0.3 มก./ลิตร
เหล็ก (Fe) 0 0.02 มก./ลิตร
ตะกั่ว (Pb) 14 มก./ลิตร 125 มก./ลิตร
แมกนีเซียม (Mg) 10 มก./ลิตร 25 มก./ลิตร
ไนเตรท 125 มก./ลิตร 250 มก./ลิตร
ซัลเฟต 1.5 มก./ลิตร
สังกะสี 32 มก./ลิตร 50 มก./ลิตร
โซเดียม (Na)

แหล่งข้อมูล : Muirhead, Sarah, Good, น้ำสะอาดเป็นองค์ประกอบสำคัญ


ของการผลิตไก่,วัตถุดิบอาหารสัตว์, 2538

คอบบ์ ! 115
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
เทคนิคการเก็บตัวอย่างน้ำ:
1. ทำความสะอาดปลายก๊อกน้ำหรือหัวหยดโดยใช้ไฟลนนาน
10 วินาที ห้ามใช้สารเคมี เพราะอาจมีผลต่อตัวอย่างน้ำได้
2. หากไม่มีไฟลน ให้เปิดน้ำทิ้ง 2 -3 นาทีก่อนที่จะเก็บตัวอย่างน้ำ

น้ำที่ป้อนให้ไก่ ควรเหมาะสมต่อการบริโภคของมนุษย์

คอบบ์ ! 116
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
8. การจัดการเกี่ยวกับสารอาหาร
อาหารสำหรับไก่เนื้อ เป็นสูตรให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็น
สำหรับสุขภาพและการให้ผลผลิตไก่เนื้อที่มีประสิทธิภาพ ส่วน
ประกอบทางโภชนาการพื้นฐานที่ไก่ต้องการ ได้แก่ น้ำ กรดอมิโน
พลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุ ส่วนประกอบเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกัน
เพื่อให้มีการเจริญเติบโตของโครงสร้างกระดูกและการสะสมกล้าม
เนื้ออย่างเหมาะสม คุณภาพของส่วนผสม รูปแบบอาหาร และสุข
อนามัยส่งผลโดยตรงต่อสารอาหารพื้นฐานเหล่านี้ ถ้าวัตถุดิบหรือ
กระบวนการผลิตอาหารมีปัญหาหรือรูปแบบสารอาหารขาดความ
สมดุล สมรรถภาพผลผลิตก็จะลดลงไปได้ และเป็นเพราะการเลี้ยงไก่
เนื้อมีช่วงน้ำหนักพิกัด องค์ประกอบร่างกาย และกลยุทธ์ในการผลิตที่
แตกต่างหลากหลาย การที่จะมีข้อกำหนดทางโภชนาการเพียงอย่าง
เดียวจึงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงควรพิจารณาเฉพาะข้อกำหนดทาง
โภชนาที่แสดงให้เห็นว่าใช้ได้ผลเพื่อนำมาเป็นแนวทาง และต้องนำมา
ปรับใช้ตามความจำเป็นในการรับมือกับสถานการณ์ของผู้เลี้ยงแต่ละ
ราย
การเลือกอาหารที่ดีที่สุดควรพิจารณาปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
⋅ ต้นทุนค่าใช้จ่ายและวัตถุดิบที่หาได้ง่าย
⋅ การเลี้ยงแบบแยกเพศ
⋅ น้ำหนักไก่ตามความต้องการของตลาด
⋅ มูลค่าของเนื้อและผลผลิตซาก
⋅ ระดับไขมันตามความต้องการของตลาดเฉพาะ เช่น ไก่ที่
พร้อมเอาไปทำอาหาร ผลิตภัณฑ์ปรุงสุกและแปรรูป
⋅ สีผิว
⋅ สัมผัสของเนื้อและกลิ่น
⋅ สมรรถนะการทำงานของเครื่องผลิตอาหารไก่

คอบบ์ ! 117
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
รูปแบบอาหารมีหลากหลาย อาหารที่เตรียมไว้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป
แบบอาหารป่นผสม อาหารเม็ดซีก อาหารอัดเม็ด หรืออาหารสำเร็จรูป
บางพื้นที่ก็นิยมผสมอาหารจากโรงงานเข้ากับเมล็ดธัญพืชก่อนนำไป
เลี้ยงไก่ กระบวนการแปรรูปอาหารในช่วงหลังได้รับการยอมรับมาก
ขึ้น เพราะได้ทั้งสารอาหารและง่ายต่อการจัดการ อาหารอัดเม็ดหรือ
อาหารสำเร็จรูปจัดการได้ง่ายกว่าอาหารป่นผสมเป็นอย่างมาก ในแง่
ของสารอาหาร อาหารแปรรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าช่วยเพิ่ม
คุณภาพฝูงไก่และเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบกับ
อาหารป่นผสม

โปรตีนรวม
ความต้องการโปรตีนรวมของไก่เนื้อ ความจริงก็คือ ความต้องการ
กรดอมิโนซึ่งเป็นหน่วยประกอบของโปรตีนนั่นเอง พบว่าโปรตีนเป็น
องค์ ป ระกอบทางโครงสร้ า งในเนื ้ อ เยื ่ อ ซึ ่ ง เริ ่ ม ตั ้ ง แต่ ข นไปจนถึ ง
กล้ามเนื้อ
พลังงาน
พลังงานไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นการอธิบายกระบวนการเผาผลาญ
พลังงานเพื่อให้ได้สารอาหาร พลังงานมีความจำเป็นสำหรับหล่อเลี้ยง
การทำงานของระบบเผาผลาญอาหารพื้นฐานของไก่และการเพิ่มของ
น้ำหนักตัว แต่เดิมนั้น ระบบพลังงานใช้ประโยชน์ได้ใช้ในการบอก
ปริมาณพลังงานของอาหารไก่ พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) บอก
ปริมาณพลังงานรวมของอาหารที่บริโภคลบด้วยปริมาณพลังงานที่ขับ
ออก

คอบบ์ ! 118
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

สารอาหารรอง
ให้เสริมวิตามินลงในอาหารไก่ทั้งหมดเป็นประจำ วิตามินแบ่งออกเป็น
แบบที่ละลายในน้ำและแบบที่ละลายในไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำ
ได้แก่ วิตามินบีรวม ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ วิตามิน A D
E และ K วิตามินที่ละลายในไขมันจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับและส่วน
อื่นๆ ของร่างกาย
แร่ธาตุ เป็นสารอาหารอนินทรีย์ แบ่งออกเป็นแร่ธาตุหลักกับแร่ธาตุ
รอง แร่ธาตุหลักได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม
คลอรีน ซัลเฟอร์ และแมกนีเซียม แร่ธาตุรอง ได้แก่ เหล็ก ไอโอดีน
ทองแดง แมงกานีส สังกะสี และเซเลเนียม

คอบบ์ ! 119
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การทดสอบอาหาร
แนวทางในการเก็บตัวอย่างอาหารที่เป็นระบบในฟาร์ม เป็นนโยบาย
“แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด” เทคนิคเก็บตัวอย่างอาหารที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ ที่
กำหนดว่าผลการวิเคราะห์จะสะท้อนปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ใน
อาหารได้อย่างแท้จริงหรือไม่ ตัวอย่างที่เก็บจะต้องเป็นตัวแทนของ
อาหารที่เก็บมาตรวจได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่การ “หยิบ”
ตัวอย่างอาหารออกมาจากรางหรือจานใส่อาหารเท่านั้น แต่การที่จะ
เก็บตัวอย่างอาหารที่เป็นตัวแทน จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างย่อยๆ และ
นำมารวมกันเป็นกลุ่มตัวอย่าง แนะนำให้เก็บตัวอย่างย่อยจากการ
อาหารที่ให้แต่ละครั้งออกมา 5 กลุ่ม ไม่แนะนำให้เก็บจากรางให้
อาหาร เพราะการร่อนของส่วนผสมหรือส่วนที่ละเอียดเป็นผง อาจ
ทำให้ผลการทดสอบบิดเบือนได้ ควรเก็บตัวอย่างอาหารไว้ในตู้เย็น
จนกระทั่งไก่ถูกนำไปชำแหละ ควรบันทึกข้อมูลตัวอย่างที่เก็บไว้ โดย
ระบุวันที่ ประเภทของอาหาร และหมายเลขการจัดส่ง หากเกิดปัญหา
ระหว่างการเลี้ยงและส่งสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากอาหาร ก็ให้นำกลุ่ม
ตัวอย่างที่เก็บไว้มาวิเคราะห์ โดยนำรายงานผลการวิเคราะห์จากห้อง
ปฏิบัติการมาเปรียบเทียบกับข้อกำหนดทางโภชนาการของอาหาร
แต่ละอย่างตามลำดับ
การให้อาหารตามระยะการเลี้ยง
โดยทั่วไปแล้ว ไก่เนื้อจะต้องการสารอาหารลดลงตามอายุ การแบ่ง
ช่วงที่นิยมใช้กันมานานเป็นไปตามแผนการเจริญเติบโต ได้แก่
อาหารไก่เล็ก อาหารไก่รุ่น และอาหารไก่ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความ
ต้องการสารอาหารของไก่ไม่ได้เปลี่ยนปุบปับในวันใดวันหนึ่งทันที แต่
เปลี่ยนไปแบบต่อเนื่องตามระยะเวลา บริษัทอาหารส่วนใหญ่ผลิต
อาหารออกมาหลายสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการสาร
อาหารของไก่ ยิ่งมีจำนวนอาหารที่ไก่ยอมรับมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้เลี้ยงไก่

คอบบ์ ! 120
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ก็ยิ่งให้อาหารที่มีสารอาหารตอบสนองกับความต้องการของไก่ได้มาก
ยิ่งขึ้นเท่านั้น จำนวนอาหารมีข้อจำกัดทางด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ
และการจัดส่ง รวมถึงสมรรถนะการทำงานของเครื่องผลิตอาหาร ค่า
ขนส่งและทรัพยากรที่มีอยู่ในฟาร์ม
ความเข้มข้นของสารอาหารในอาหารสัตว์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ
ผู้เลี้ยง วัตถุประสงค์ในการให้อาหารไก่เนื้อมีอยู่ 3 แบบ และผู้เลี้ยง
ส่วนใหญ่ก็นำมาใช้รวมๆ กัน
อาหารแบบที่ 1
แบบสารอาหารเข้มข้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการแลกอาหารให้เป็น
เนื้อและน้ำหนักตัวดีที่สุด แนวทางนี้ทำให้ปริมาณไขมันในซากไก่เพิ่ม
มากขึ้นและอาจก่อให้เกิดโรคจากความบกพร่องของระบบเผาผลาญ
อาหารได้นอกจากนี้ ต้นทุนอาหารก็สูงขึ้นอีกด้วย
อาหารแบบที่ 2
มีปริมาณพลังงานน้อยกว่าแต่มีปริมาณโปรตีนรวมและกรดอะมิโน
เหมาะสมที่สุด แนวทางนี้จะทำให้ไก่มีไขมันในร่างกายน้อยลง แต่ไก่
จะมีมวลรวมร่างกายที่ปราศจากไขมันดีขึ้น น้ำหนักตอนมีชีวิตและ
การแลกเนื้อลดลง แต่จะได้ต้นทุนต่อมวลรวมร่างกายที่เหมาะสม
อาหารแบบที่ 3
ความเข้มข้นสารอาหารต่ำ แนวทางนี้จะทำให้มีอัตราการเพิ่มน้ำหนัก
ของไก่ตอนมีชีวิตลดลงและมีการแลกเนื้อสูงขึ้น แต่ต้นทุนต่อน้ำหนัก
ไก่มีชีวิตจะเหมาะสมที่สุด

คอบบ์ ! 121
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การงดอาหาร
ในช่วงนี้ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับวันที่ซึ่งต้องงดให้ยาและ
วัคซีน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เหลือตกค้างอยู่ในซากไก่ขณะชำแหละ
ข้อมูลที่บันทึกไว้จำเป็นต้องนำมาใช้พิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบ
การให้ข้าวสาลีที่ไม่ขัดสีเป็นอาหารเสริม
การให้ข้าวสาลีไม่ขัดสีเป็นอาหารเสริมกับลูกไก่เนื้อ ใช้กันในหลาย
ประเทศทั่วโลก ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือ ช่วยลดต้นทุนค่า
อาหารและทำให้ต้นทุนต่อกิโลกรัม (ปอนด์) ของน้ำหนักไก่มีชีวิตลด
ลงด้ ว ยเช่ น กั น ปรั บ ปรุ ง การพั ฒ นาอวั ย วะภายใน มี ผ ลให้
ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารดีขึ้นและหากจำเป็น ก็ช่วยให้ความ
สามารถในการจัดการสารอาหารที่รับเข้าไปในแต่ละวันดีขึ้นได้ด้วย
ข้อเสียที่เกิดขึ้นได้ คือ หากไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ก็
จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง การเพิ่มกล้ามเนื้อลดลง และ
ความสม่ำเสมอของฝูงแย่ลงได้
อาจเพิ่มข้าวสาลีเสริมที่โรงงานผลิตอาหารหรือไม่ก็ที่ฟาร์ม แต่การ
เสริมที่ฟาร์มเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากทำให้เกิดความยืดหยุ่นใน
การจัดการ โดยฟาร์มต้องมีระบบเตรียมวัตถุดิบและถังอาหารที่เสริม
เข้ามา ส่วนที่โรงงานผลิตอาหาร อาจเพิ่มข้าวสาลีไม่ขัดสีเข้าไปใน
เครื่องผสมอาหารหรือระหว่างการขนถ่ายขึ้นรถขนส่งอาหารก็ได้ การ
เสริมข้าวสาลีไม่ขัดสีที่โรงงานผลิตอาหารยังสามารถทำได้ในบางขั้น
ตอนของการผลิต เช่น ขั้นตอนการโม่บดด้วยลูกกลิ้ง ในกรณีที่ใช้อยู่
ตามปกติการเสริมข้าวสาลีไม่ขัดสีจะเริ่มให้ได้ที่อายุ 7 วันหรือเมื่อไก่มี
น้ำหนัก 160 กรัมโดยประมาณ โดยเสริมเข้าไปที่ระดับร้อยละ 1 - 5
ซึ่งอาจเพิ่มได้ถึงร้อยละ 30 โดยประมาณ ซึ่งเป็นการค่อยๆ เพิ่มครั้ง
ละร้อยละ 1 – 5 อัตราส่วนร้อยละสูงสุดที่ใช้ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหาร

คอบบ์ ! 122
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ผสมและความเข้มข้นของสารอาหาร คุณภาพข้าวสาลี สมรรถภาพ
ผลผลิตที่ต้องการและสมรรถภาพผลผลิตของฝูงไก่แต่ละฝูง
เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงผลที่เกิดจากการเจือจางข้าวสาลีไม่ขัดสี
ที่ใส่เพิ่มเข้าไปในอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงตามความจำเป็นด้วย
การให้ยา เพื่อให้แน่ใจว่าไก่ได้รับอาหารในระดับที่ถูกต้องเหมาะสม
ต้องตรวจดูน้ำหนักไก่มีชีวิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลกระทบที่
เกิดจากการเสริมข้าวสาลีไม่ขัดสีเข้าไปในอาหารที่เกิดขึ้นกับไก่แต่ละ
ฝูง และควรหยุดให้ข้าวสาลีไม่ขัดสีเพิ่มในอาหาร 48 ชั่วโมงก่อนการ
ชำแหละเพื ่ อ หลี ก เลี ่ ย งการปนเปื ้ อ นซากระหว่ า งการควั ก อวั ย วะ
ภายในออก

คอบบ์ ! 123
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
9. ขั้นตอนการจับ
ระบบจัดส่ง
เป้าหมายของการวางแผนและประสานงานขั้นตอนการจับ ก็เพื่อลด
อัตราการตายเมื่อมาถึงโรงชำแหละ (DOA)ให้น้อยลง ลดการสูญเสีย
น้ำหนัก และได้ตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ขั้นสูง หากต้องการบรรลุ
ผลขั้นตอนที่ซับซ้อนนี้ได้ จะต้องมีการประสานงานเกี่ยวกับเวลาที่จะ
เริ่มต้นจับไก่ของฟาร์ม บุคลากรจำนวนมาก และตารางงานของโรง
ชำแหละ ประโยชน์ของการวางแผนที่ดีในแง่ของการปรับปรุงอัตรา
การตาย การสูญเสียน้ำหนักและผลผลิตที่ได้จากโรงชำแหละเป็นเรื่อง
ที่สำคัญมากจริงๆ และคุ้มค่าต่อความพยายาม
ขั้นตอนการจับจำเป็นต้องมีการสื่อสารและวางแผนที่ดี ซึ่งมีประเด็น
เกี่ยวข้องสำคัญดังต่อไปนี้
⋅ ตารางงานของโรงชำแหละ - ให้แน่ใจว่าไก่จะมาถึงโรง
ชำแหละโดยใช้เวลาน้อยที่สุด
⋅ ระยะทางที่ใช้ในการขนส่งและการเดินทางจากฟาร์มมายัง
โรงชำแหละ – ประสานงานกับบริษัทขนส่งให้ดีเพื่อให้ได้รับ
ประโยชน์สูงสุดจากการบริการ
⋅ ตารางการทำงานของเจ้าหน้าที่จับไก่ – ให้แน่ใจว่าได้กำหนด
ตารางงานให้กับเจ้าหน้าที่จับไก่ไว้ล่วงหน้า
⋅ การจัดการฟาร์ม - กำหนดกรอบเวลาปิดและยกอุปกรณ์ให้
อาหารและน้ำขึ้น

คอบบ์ ! 124
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การงดอาหารและน้ำ
การงดอาหารและน้ำเป็นเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ได้อัตราการ
เปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันการเสีย
เวลาและการปนเปื้อนในโรงชำแหละ เป้าหมายของการงดอาหารก็
เพื่อทำให้ไก่ท้องว่าง ป้องกันไม่ให้มีอาหารที่ถูกย่อยและมูลไก่ปน
เปื้อนซากไก่ระหว่างขั้นตอนการควักเครื่องใน
ทำให้ไก่เข้าถึงน้ำได้ตลอดเวลา นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนการ
จับ ให้ยกน้ำขึ้นตอนที่เจ้าหน้าที่จับไก่มาถึงโรงเรือนและเริ่มต้นเตรียม
การจับแล้ว สำหรับฟาร์มที่มีหลายโรงเรือน ให้งดน้ำก่อนที่จะเริ่มต้น
จับไก่เพียงเท่านั้น
เวลาเหมาะสมที่แนะนำในการงดอาหาร ก็คือ 8 – 12 ชั่วโมง หากต่ำ
กว่า 8 ชั่วโมงจะทำให้ไก่ได้รับอาหารเกินและมีมูลไก่ตกค้างอยู่ในทาง
เดินอาหาร ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่เข้าสู่กระบวนการย่อย และไม่มีการ
เปลี่ยนให้เป็นเนื้อ อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพราะมากเกินไปจะเกิด
ปัญหาในขั้นตอนแปรรูปและการผลิตในโรงชำแหละ มูลไก่ตกค้างใน
ร่างกายปนเปื้อนอุปกรณ์ในโรงชำแหละ หากงดอาหารเกิน 12 ชั่วโมง
ทำให้ลำไส้สูญเสียความความยืดหยุ่น เกิดการฉีกแตกได้ง่าย มูลไก่ที่
ค้างอยู่ในลำไส้เป็นเรื่องร้ายแรงที่จะทำให้เซลล์ลำไส้ตาย ซึ่งเป็น
สภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนอุปกรณ์ในโรงชำแหละและจะยิ่ง
เลวร้ายมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในแผนงานที่มีการวางแผนไว้อย่างเหมาะสม จะยกรางให้อาหารใน
โรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อขึ้น ดังนั้น ไก่ชุดแรกที่ขนออกจากโรงเรือน จะถูก
ถ่ายออกและชำแหละใกล้เคียงกันภายในระยะเวลา 8 ชั่วโมง โดยไก่
ชุดสุดท้ายจะถูกชำแหละภายใน 12 ชั่วโมง พึงระลึกไว้ว่าต้องมีน้ำอยู่
ในระบบจนถึงเวลาเริ่มจับเสมอ

คอบบ์ ! 125
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
อีกทั้ง ในขั้นตอนการวางแผนต้องคำนึงถึงการที่ต้องนำไก่ไปค้างไว้ที่
โรงชำแหละเป็นเวลานาน แม้จะอยู่ในอาคารและบริเวณที่มีสภาพดี
ไก่ก็ยังคงสูญเสียน้ำหนักร่างกายไปในอัตราร้อยละ 0.25 หรือมากกว่า
ต่อชั่วโมงอยู่ดีตามธรรมชาติ การวางแผนงานขนส่งควรพิจารณาทด
เวลาคงค้างเช่นนี้ด้วย
การคำนึงถึงตัวบทกฎหมายท้องถิ่นเกี่ยวกับข้อจำกัดในการงดอาหาร
เป็นเรื่องสำคัญ
การเตรียมการ
นอกจากวิธีการจับหรือประเภทของภาชนะที่ใช้แล้ว ยังมีขั้นตอนพื้น
ฐานที่ต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
⋅ ควรจับไก่ใส่ลังหรือกล่องที่สะอาด ด้วยอัตราความหนาแน่น
ตามที่โรงงานผู้ผลิตแนะนำ และควรลดอัตราความหนาแน่น
ลงในเดือนหน้าร้อน
⋅ ลดความเข้มแสงลงเพื่อลดกิจกรรมของไก่ แสงในโรงเรือน
ควรมีแค่พอให้มองเห็นและทำงานได้ ถ้าไม่สามารถปรับ
ความสว่างของแสงไฟได้ ให้ใช้หลอดไฟสีฟ้าหรือสีเขียว ซึ่ง
จะทำให้ไก่สงบและลดกิจกรรม
⋅ หากเป็นไปได้ ให้จัดตารางจับไก่ในเวลากลางคืนเพื่อลด
กิจกรรมของไก่

คอบบ์ ! 126
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ หากจับไก่ในตอนกลางวัน แนะนำให้ใช้ม่านบังแสงและวิธีการอื่นๆ
ที่ทำให้โรงเรือนมืดที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ หากไม่สามารถ
กำหนดแสง สว่างได้ ให้ล้อมรั้วและใช้ประตูกำหนดขอบเขต
ฝูงไก่ การใช้เล้าไก่กั้นเป็นคอกเพื่อจำกัดการเคลื่อนที่ของไก่ก็
ให้ผลดี ไก่ที่อยู่ในภาวะสงบ เอื้อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี
ขึ้น ลดความเครียดของไก่ และลดความเสี่ยงที่ไก่จะเหยียบ
กัน
⋅ พยายามลดกิจกรรมของไก่ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ก่อน
ทําการจับไก่ ให้แน่ใจว่าเก็บน้ําและอาหาร รวมทั้งอุปกรณ์ที่
ไม่จําเป็น หรือส่ิงของเกะกะต่างๆ ออกจากโรงเรือน
⋅ ให้มีการระบายอากาศที่ดีอยู่ตลอด
⋅ สื่อสารกับเจ้าหน้าที่จับไก่ให้เข้าใจเกี่ยวกับจํานวนไก่ต่อเล้า
หรือต่อกล่อง ซึ่งจํานวนดังกล่าวนี้จะกําหนดจากประเภท
ของภาชนะที่ใช้ ขนาดของไก่ และสภาพแวดล้อมตาม
ฤดูกาล
⋅ ในช่วงเวลารอยต่อระหว่างการขนไก่ออกจากเล้า ให้เปิดไฟ
เติมน้ํา และเดินผ่านไก่ด้วยความนุ่มนวล

คอบบ์ ! 127
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การเตรียมการจับไก่
ช่วงที่จับไก่ ควรคำนึงถึงสวัสดิภาพของไก่เป็นสำคัญ ควรให้ความ
ใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อลดการเกิดรอยช้ำ ทำให้คุณภาพไก่ลดลงน้อยที่สุด
ผู้เลี้ยงควรอยู่ควบคุมการจับไก่ เพื่อให้มีการจับที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ทำให้คุณภาพของไก่ลดลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในโรงงาน
ชำแหละ

สาเหตุ การคุ้ยเขี่ย รอยช้ำ ขาหัก ข้อเท้า/อก เป็น


แผลเปื่อย
อัตราความหนาแน่นสูงเกินไป ∙ ∙ ∙ ∙
ระบบให้อาหารล้มเหลว ∙
แผนงานแสงสว่างไม่เหมาะสม ∙
ความเข้มแสงมาก ∙
ผู้เลี้ยงขาดความระมัดระวัง ∙ ∙ ∙
การขึ้นของขนไม่ดี ∙ ∙
การจับรุนแรง ∙ ∙ ∙
วัสดุรองพื้นไม่ดี ∙ ∙
สารอาหารไม่เหมาะสม ∙ ∙ ∙
เครื่องถอนขนไก่ ∙ ∙
การระบายอากาศ ∙ ∙
การจัดการน้ำดื่ม ∙

คอบบ์ ! 128
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การตรวจดูสีของรอยจ้ำสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและกำหนด
วิธีแก้ไขได้
สีของรอยจ้ำ ระยะเวลาที่เกิดแผล
แดง 2 นาที
แดงเข้มและม่วง 12 ชั่วโมง
เขียวอ่อนและม่วง 36 ชั่วโมง
เขียวแกมเหลืองและส้ม 48 ชั่วโมง
ส้มแกมเหลือง 72 ชั่วโมง
ค่อนข้างเหลือง 95 ชั่วโมง
ดำและน้ำเงิน 120 ชั่วโมง

คอบบ์ ! 129
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การจับด้วยเครื่อง
เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทั้งหลาย อุปกรณ์ที่ใช้จับไก่ด้วยเครื่อง
ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นทุกๆ ปี
เครื ่ อ งจั บ ไก่ เป็ น ตั ว เลื อ กที ่ ใ ช้ แ ทนที ่ ก ารจั บ ไก่ ด ้ ว ยมื อ ในพื ้ น ที ่
ขาดแคลนแรงงานหรือด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ที่การจับไก่ด้วยมือ
ไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจ
สิ่งสำคัญสำหรับการจับไก่ด้วยเครื่อง ก็คือต้องมีแผนงานบำรุงรักษา
เชิงป้องกันที่ดี หากจะใช้แผนงานจับไก่ด้วยเครื่อง ต้องคำนึงถึงต้นทุน
ในการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมให้ดี
การจับไก่ด้วยมือ
วิธีการจับไก่ด้วยมือที่ทำกันอยู่ทั่วไปมี 2 แบบ คือ จับที่ขา หรือ จับที่
หลัง ทั้งจับด้วยมือหรือจับด้วยเครื่อง การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จับไก่เป็น
เรื่องสำคัญ เพื่อให้เกิดการจับที่ถูกต้องเหมาะสม ทำอันตรายต่อไก่ให้
น้อยที่สุด
ฟาร์มส่วนใหญ่จับไก่ที่ขา ซึ่งต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
⋅ ยึดที่ท่อนขาไก่ เพื่อลดรอยจ้ำจากการกระแทก
⋅ ข้อจำกัดในการจับไก่ด้วยมือ - ขึ้นอยู่กับขนาดของไก่ และการ
ออกแบบของกล่อง/รุ่น:
⋅ จับไก่ตัวใหญ่ไม่เกิน 3 ตัวต่อมือหนึ่งข้าง - น้ำหนัก 2.6
กิโลกรัมขึ้นไป (5.75 ปอนด์)

คอบบ์ ! 130
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ สำหรับไก่ตัวเล็ก – ให้ถือไม่เกินมือละ 6 ตัว
⋅ จำกัดการส่งต่อไก่ไม่ให้เกิน 1 ครั้ง ห้ามส่งต่อไก่ระหว่างผู้จับ
⋅ หากจับที่หลัง ให้จับได้ทีละ 2 ตัว ซึ่งทำกันทั่วไปในกรณีใช้
เล้าไก่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่ปีก

คอบบ์ ! 131
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
10. ความปลอดภัยทางชีวภาพและสุขอนามัยฟาร์ม

10.1 ความปลอดภัยทางชีวภาพ
ความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นคำที่ใช้อธิบายกลยุทธ์โดยรวมหรือ
ความต่อเนื่องของมาตรการที่ใช้เพื่อกันโรคติดเชื้อออกจากพื้นที่ฟาร์ม
การดูแลแผนงานความปลอดภัยทางชีวภาพให้มีประสิทธิผล การใช้
แนวปฏิบัติสุขลักษณะที่ดี และการปฏิบัติตามแผนงานสร้างภูมิคุ้มกัน
ที่ครอบคลุมเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันโรค แผนงานความ
ปลอดภัยทางชีวภาพที่ครอบคลุมเกี่ยวพันกับการวางแผน การปฏิบัติ
และการควบคุมตามลำดับ พึงระลึกไว้ว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะฆ่าเชื้อ
โรคในโรงเรือนหรือพื้นที่ฟาร์มได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือ การลดจำนวน
เชื้อโรคและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ประเด็นสำคัญในการมีแผนงานความปลอดภัยทางชีวภาพให้
ประสบความสำเร็จ แสดงตามรายการด้านล่างนี้
⋅ จำกัดการเข้าพื้นที่ฟาร์มโดยไม่จำเป็น บันทึกข้อมูลผู้เข้าพื้นที่
ฟาร์มทั้งหมดและข้อมูลฟาร์มที่พวกเขาได้เข้าไปก่อนหน้าที่
จะเข้ามาในพื้นที่ฟาร์ม
⋅ หัวหน้างานที่ดูแลฟาร์มควรเข้าหาฝูงไก่ที่มีอายุน้อยที่สุดใน
ช่วงเช้าตรู่และทำงานไล่ไปตามอายุไก่ จนถึงฝูงไก่ที่อายุมาก
ที่สุดเป็นกลุ่มสุดท้าย
⋅ หลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่นอกฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เลี้ยง
ทั่วไป
⋅ หากต้องใช้อุปกรณ์จากฟาร์มอื่น ควรทำความสะอาดและฆ่า
เชื้อโรคให้หมดจดก่อนที่จะนำเข้ามายังฟาร์ม

คอบบ์ ! 132
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับแช่หรือพ่นล้อรถยนต์ที่หน้าปากทาง
เข้าฟาร์ม และอนุญาตเฉพาะยานพาหนะจำเป็นเข้ามาใน
ฟาร์มเท่านั้น
⋅ ควรมีรั้วแสดงอาณาเขตฟาร์ม
⋅ ปิดประตูและประตูรั้วไว้ตลอดเวลา
⋅ ไม่ให้มีสัตว์ปีกอื่นอยู่ปะปนกับไก่ในฟาร์ม สัตว์ทางการ
เกษตรอื่นๆ นอกเหนือจากสัตว์ปีกควรมีรั้วกั้นแยกออกจากัน
และมีทางเข้าต่างหาก
⋅ ไม่อนุญาตให้มีสัตว์เลี้ยงในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงไก่
⋅ ทุกฟาร์มควรมีแผนควบคุมแมลงเบียดเบียน รวมทั้งตรวจดู
ความเคลื่อนไหวของหนูบ่อยๆ วางเหยื่อล่อให้เพียงพออยู่
เสมอ
⋅ โรงเรือนทุกหลังควรมีระบบป้องกันแมลงเบียดเบียน
⋅ บริเวณรอบๆ โรงเรือนควรปราศจากสุมทุมพุ่มไม้ กองเศษ
วัสดุ และอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยของ
แมลงเบียดเบียนได้
⋅ ทำความสะอาดเศษอาหารที่หกหล่นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
และอุดรอยรั่วของถังหรือท่อส่งอาหาร
⋅ ฟาร์มควรมีห้องนำและที่ล้างมือภายนอกโรงเรือนเลี้ยงไก่
⋅ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนชุดและรองเท้า
ป้องกันควรอยู่บริเวณทางเข้าฟาร์ม

คอบบ์ ! 133
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ จัดเตรียมอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดมือไว้ที่ทางเข้าแต่ละ
โรงเรือน
⋅ จัดเตรียมจุดล้างเท้าที่ได้รับการดูแลอย่างดีไว้ตรงทางเข้า
แต่ละโรงเรือน
⋅ ทำความสะอาดรองเท้าก่อนล้างเท้า เพื่อขจัดวัตถุอินทรีย์ซึ่ง
อาจยับยั้งการทำงานของสารฆ่าเชื้อโรคได้
⋅ การเลือกสารฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในอ่างล้างเท้า ต้องใช้ตัวที่มีการ
ออกฤทธิ์กว้างและรวดเร็ว เพราะมีเวลาสัมผัสกับสารไม่นาน
⋅ ให้มีจุดเปลี่ยนรองเท้าบู๊ทหรือระบบหุ้มบู๊ทไว้ตรงทางเข้าโรง
เรือนแต่ละแห่ง
⋅ แนะนำอย่างยิ่งว่าควรทำฟาร์มแบบอายุเดียว เพื่อลดวงจร
เชื้อโรคและ/หรือเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภายในฟาร์ม
⋅ ไก่ที่จัดเข้าฟาร์มควรมาจากฝูงพ่อแม่ไก่ที่มีภูมิคุ้มกันในระดับ
เดียวกันอายุเท่ากัน
⋅ ควรส่งไก่ออกจากฟาร์มให้หมดก่อนที่ลูกไก่ฝูงใหม่จะมาถึง
⋅ ควรจัดเตรียมชุดป้องกันไว้ให้เจ้าหน้าที่จับไก่สวมใส่ ควรล้าง
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์เช่น เล้าไก่ ลัง และ
ร ถ ย ก ก่อนที่จะนำเข้ามายังฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามี
การลดจำนวนประชากรไก่ลงเพราะถูกคัดทิ้ง
⋅ การมีระยะเวลาพักฟาร์มระหว่างฝูงที่นานพอเป็นเรื่องสำคัญ
มาก
⋅ ถ้าใช้วัสดุรองพื้นซ้ำ ควรนำวัสดุรองพื้นที่จับตัวเป็นก้อนและ
เปียกชื้นออกไปไว้ข้างนอก และเปิดเครื่องทำความร้อนทันที

คอบบ์ ! 134
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
เพื่อกำจัดก๊าซแอมโมเนียที่ก่อตัวขึ้น และทำให้วัสดุรองพื้น
แห้งเสียก่อนที่จะปล่อยไก่ชุดใหม่เข้าโรงเรือน แนะนำว่าควร
ใช้เวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
⋅ ควรระบายและชำระล้างระบบน้ำดื่มด้วยสารฆ่าเชื้อโรคที่
ผ่านการรับรอง ก่อนที่จะปล่อยไก่เข้าโรงเรือน และให้แน่ใจ
ว่าได้ชะล้างระบบด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งเพื่อกำจัดสารตกค้าง
ก่อนปล่อยไก่เข้าโรงเรือน
⋅ ทดสอบคุณภาพน้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจหาระดับ
เกลือแร่และคุณภาพด้านจุลินทรีย์
10.2 สุขอนามัยฟาร์ม
องค์ประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์ปีกมีสุขภาพดี ก็คือ
การรักษาสุขอนามัยให้ดี พ่อแม่ไก่สุขภาพดีและสภาพโรงฟักที่สะอาด
ปราศจากเชื้อโรค เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้ลูกไก่ปลอดโรค มาตรฐาน
สุขอนามัยที่ดีจะลดปัญหาเกี่ยวกับโรคในไก่ได้
สุขอนามัยฟาร์ม ไม่ได้หมายความเฉพาะการเลือกสารฆ่าเชื้อให้ถูก
ต้ อ งเหมาะสมเพี ย งเท่ า นั ้ น หั ว ใจของสุ ข อนามั ย ฟาร์ ม อยู ่ ท ี ่ ก าร
ทำความสะอาดที่เกิดประสิทธิผล สารฆ่าเชื้อโรคจะถูกยับยั้งด้วยวัตถุ
อินทรีย์ ประเด็นดังต่อไปนี้ เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ทำให้เกิดสุขอนามัย
ฟาร์มที่มีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนเหล่านี้ไม่สามารถใช้กับ
วัสดุรองพื้นซ้ำได้
ประเด็นสำคัญของแผนงานสุขอนามัยฟาร์มที่ประสบผลสำเร็จ
มีดังนี้
⋅ เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงไก่แต่ละฝูง ให้ขนย้ายไก่ทั้งหมดออกจาก
ฟาร์ม

คอบบ์ ! 135
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ พ่นยาฆ่าแมลงทันทีหลังลดจำนวนประชากรไก่ลงเนื่องจาก
คัดทิ้งเพราะปัญหาสุขภาพและก่อนที่วัสดุรองพื้นและโรง
เรือนจะเย็น หากมีปรสิตเยอะมาก อาจต้องทำใช้ยาฆ่าแมลง
เพิ่มเข้าไปอีกหลังขั้นตอนฆ่าเชื้อโรคแล้วเสร็จ
⋅ ดู แ ลแผนงานควบคุ ม หนู ใ ห้ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ หลั ง จากลด
ประชากรไก่ลงเนื่องจากถูกคัดทิ้งเพราะปัญหาสุขภาพ
⋅ กำจัดอาหารที่ยังไม่ได้ใช้ทั้งหมดออกจากระบบอาหาร รวม
ถึงถังอาหารและเกลียวลำเลียงอาหารทั้งหมดด้วย
⋅ พิ จ ารณาสุ ข ภาพฝู ง ไก่ ท ี ่ ด ้ อ ยประสิ ท ธิ ภ าพอย่ า งละเอี ย ด
ถี่ถ้วน ก่อนที่จะให้อาหารแบบเดิมกับไก่ฝูงถัดไป
⋅ ทำความสะอาดวัสดุรองพื้นที่นำออกจากโรงเรือนแต่ละแห่ง
และขนย้ายออกจากฟาร์มด้วยยานพาหนะที่ปิดมิดชิด
⋅ ทำความสะอาดฝุ่นและสิ่งสกปรกทั้งหมดออกจากอาคาร ให้
ความสนใจเป็นพิเศษกับซอกมุม เช่น ช่องลม กล่องพัดลม
และส่วนบนสุดของผนังและคาน
⋅ เช็ดถูทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ไม่อาจล้างด้วยน้ำโดยตรง
และปิดคลุมไว้ให้เรียบร้อยไม่ให้โดนน้ำจากขั้นตอนการล้าง
ทำความสะอาด
⋅ เปิดช่องระบายน้ำและทางน้ำออกทั้งหมดและล้างพื้นผิวโรง
เรือนและอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ทั้งหมดด้วยผงซักฟอก
ผ่านเครื่องฉีดน้ำแรงดัน หากใช้โฟมหรือเจล เพื่อให้เกิดผลดี
ให้แช่ผลิตภัณฑ์ชำระล้างตามระยะเวลาที่คู่มือระบุ ขั้นตอน
การทำควาสะอาดก็ให้เป็นไปตามปกติ นั่นคือ ล้างจากด้าน
บนมายังด้านล่างของโรงเรือน (จากเพดานมาพื้น)
⋅ ในโรงเรือนแบบมีม่านด้านข้าง ให้ความสนใจเป็นพิเศษใน
การทำความสะอาดม่านกั้นทั้งด้านในและด้านนอก
⋅ ควรล้างโรงเรือนไล่จากปลายสุดด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
(ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพัดลมและช่องลม) และล้างไล่

คอบบ์ ! 136
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ไปจนสุดโรงเรือน โดยให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรมีน้ำขังใน
บริเวณโรงเรือนเลี้ยงไก่ และแต่ละฟาร์มควรมีการระบายน้ำที่
เหมาะสมตามข้อกำหนดของกฎหมายท้องถิ่น
⋅ ควรทำความสะอาดห้องควบคุมโรงเรือนด้วยความระมัดระวัง
เนื่องจากน้ำอาจจะทำให้ระบบควบคุมไฟฟ้าเกิดความเสีย
หายได้ ให้ใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น และการเช็ด
ด้วยผ้าหมาดทำความสะอาดในบริเวณนี้ (หากสามารถทำได้
โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ)
⋅ หากมีถังกักเก็บน้ำหรือถังบน ถ้าเป็นไปได้ให้เปิดออกและขัด
ให้สะอาดด้วยผงซักฟอก
⋅ ระบายระบบน้ำดื่มและถังบนออกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเติม
สารทำความสะอาด
⋅ เป็นการดีที่สุด หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ก็ให้ปล่อยสารทำความ
สะอาดหมุนเวียนให้ทั่วระบบน้ำดื่ม แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ให้แช่ทิ้ง
ไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนชำระล้างออกด้วยน้ำสะอาด

คอบบ์ ! 137
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ขนย้ายออกจากโรงเรือนด้วยผง
ซักฟอกก่อน (หรือน้ำยาขัดสนิม ถ้าจำเป็น) แล้วจึงฆ่าเชื้อโรค
ให้สะอาดหมดจดทั่วถึง
⋅ อุปกรณ์หรือวัสดุ เช่น แผงกั้นไฟเบอร์หรือฝาครอบอุปกรณ์ให้
อาหาร ซึ่งไม่สามารถทำความสะอาดได้ ไม่ควรนำกลับมาใช้
กับไก่ฝูงถัดไป และควรนำไปทำลายทิ้งอย่างปลอดภัย
⋅ ควรทำความสะอาดและซ่อมบำรุงบริเวณภายนอก เช่น
รางน้ำ กล่องพัดลม หลังคา ทางเดิน และพื้นที่คอนกรีตให้ดี
กำจัดวัสดุรองพื้นหรือวัตถุอินทรีย์ออกจากบริเวณฟาร์ม รวม
ทั้งอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่จำเป็นด้วย
⋅ ในขั้นตอนนี้ ให้ดำเนินการซ่อมแซมอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวย
ความสะดวกและต่อช่องระบายน้ำให้เปิดไว้ก่อนที่จะชะล้าง
⋅ ควรล้างทำความสะอาดบริเวณคอนกรีตภายนอกและด้านใน
สุดของโรงเรือนให้เสร็จเรียบร้อย
⋅ หลังจากล้างแล้ว เพื่อให้ได้ผลดี ควรผึ่งไว้ให้แห้ง โดยอาจใช้
ความร้อนและ/หรือพัดลมเข้าช่วยเพื่อให้แห้งเร็วขึ้นได้
⋅ พื้นที่ส่วนพนักงาน โรงอาหาร พื้นที่เปลี่ยนเสื้อผ้าและ
สำนักงานก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึงด้วยเช่นกัน ควรซักล้าง
และฆ่าเชื้อโรครองเท้าและเสื้อผ้าให้แล้วเสร็จในขั้นตอนนี้
⋅ ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบออกฤทธิ์กว้างผ่านเครื่องฉีดน้ำแรง
ดันที่มีหัวฉีดพัดลมแรงดันสูง แช่น้ำให้เปียกชุ่มพื้นผิวภายใน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ล้างทำความสะอาดจากบนลงล่าง
ใส่ใจเป็นพิเศษกับกล่องพัดลม ช่องลม เสาและคาน

คอบบ์ ! 138
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ หลักการฆ่าเชื้อโรค ต้องนำอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัย
ทางชีวภาพกลับเข้ามาไว้ตรงทางเข้าโรงเรือนตามเดิม
⋅ การพักโรงเรือนระหว่างการเลี้ยงแต่ละฝูงที่นานพอจะเพิ่ม
ประสิทธิผลของแผนงานทำความสะอาดได้
ในการควบคุมดูแลประสิทธิผลของแผนงานทำความสะอาด แนะนำ
ให้ตรวจสอบด้วยการสังเกตด้วยสายตาและการเพาะเชื้อ ความมี
ประสิทธิผลของแผนงานทำความสะอาด สามารถตรวจวัดได้จากการ
ทดสอบในห้องปฏิบัติการเชิงปริมาณ การทำให้ปลอดเชื้ออย่างแท้จริง
ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่การตรวจเชื้อจุลินทรีย์สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งมี
ชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เชื้อซัลโมเนลลา จะถูกกำจัดออกไป การ
ตรวจสอบทางเอกสารรายงาน ได้แก่ การตรวจเชื้อจุลินทรีย์ และ
ความใส่ ใ จกั บ สมรรถนภาพผลผลิ ต ของฝู ง ไก่ ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น ตามมาจะ
กำหนดประสิทธิผลและช่วยประเมินคุณค่าของแผนงานทำความ
สะอาดได้

คอบบ์ ! 139
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
11. สุขภาพไก่
การป้องกันเป็นวิธีควบคุมโรคที่ดีและคุ้มค่าที่สุดยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การ
ป้องกันที่ดีที่สุดเกิดจากการปฏิบัติตามแผนงานความปลอดภัยด้าน
ชีวภาพที่มีประสิทธิผลร่วมกับการให้วัคซีนอย่างเหมาะสม อย่างไร
ก็ตาม เชื้อโรคก็อาจเอาชนะแนวทางป้องกันเหล่านี้ได้ และเมื่อเป็น
เช่นนั้น ก็จะต้องขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ ผู้ดูแลและบุคคลากร
เกี่ยวข้องควรได้รับการฝึกอบรมให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาที่อาจก่อ
ให้เกิดโรคได้ อันได้แก่ รูปแบบการบริโภคอาหารและน้ำ สภาพวัสดุ
รองพื้น อัตราการตายสูงผิดปกติ กิจกรรมและพฤติกรรมของไก่ การ
แก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีถือเป็นเรื่องสำคัญ
11.1 การให้วัคซีน
ไก่พ่อแม่พันธุ์ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลากหลายชนิด จะถ่ายทอด
ภูมิคุ้มกันจากแม่ไปสู่ลูกไก่เนื้อได้อย่างมีประสิทธิผล ภูมิคุ้มกันเหล่านี้
จะช่วยปกป้องลูกไก่ได้ในการเจริญเติบโตระยะต้น แต่ไม่สามารถคุ้ม
กันโรคได้ตลอดไป ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
โรคที่อาจเกิดขึ้นให้กับไก่เนื้อไม่ว่าจะอยู่ในโรงฟักหรือในฟาร์มเลี้ยงไก่
เวลาในการให้วัคซีนขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ไก่ตาม
การคาดหมาย โรคต้องสงสัย และโรคที่คุกคามอยู่ในปัจจุบัน
ความสำเร็จของแผนงานการให้วัคซีนไม่มีกฎตายตัวขึ้นอยู่กับความ
เหมาะสม ข้อชี้แนะสำคัญที่ใช้พิจารณาการให้วัคซีนไม่ว่าแบบน้ำหรือ
แบบพ่นเป็นดังนี้ ทั้งนี้คำแนะนำในการให้วัคซีนที่เฉพาะเจาะจง ควร
รับจากผู้จัดจำหน่ายวัคซีน เพราะอาจแตกต่างจากข้อชี้แนะทั่วไป
เหล่านี้ก็เป็นได้

คอบบ์ ! 140
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
A. ข้อชี้แนะสำหรับการให้วัคซีนแบบน้ำ
⋅ ฝูงไก่ควรรับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมดภายใน 1-2 ชั่วโมง
⋅ เก็บวัคซีนไว้ในอุณหภูมิที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
⋅ ให้วัคซีนในตอนเช้าตรู่ เพื่อลดความเครียด โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อน
⋅ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่มีประจุโลหะอยู่เป็นจำนวนมาก (เหล็ก
และทองแดง เป็นต้น) ถ้ารู้ว่าสภาพน้ำเป็นเช่นนี้ ให้ใช้น้ำ
คุณภาพดีกว่าที่นำมาจากภายนอก
⋅ น้ำควรมีค่า pH อยู่ที่ 5.5 – 7.5 น้ำที่มีค่า pH สูงจะมีรสขม
ทำให้ไก่รับน้ำและรับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง
⋅ เพื่อให้แน่ใจว่าไก่จะสามารถรับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายได้อย่าง
รวดเร็ว ควรงดให้น้ำไก่สูงสุด 1 ชั่วโมงก่อนเริ่มต้นให้วัคซีน
⋅ เตรียมวัคซีนผสมกับสารคงตัวในภาชนะที่สะอาดปราศจาก
สารเคมี น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาทำความสะอาด หรือวัตถุ
อินทรีย์ใดๆ
⋅ ใช้วัคซีนย้อมสีหรือผสมสีที่ได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
เพื่อให้รู้ว่าท่อน้ำมีวัคซีนเตรียมไว้พร้อมแล้วและบอกปริมาณ
วัคซีนที่ไก่รับเข้าไป
⋅ ปิดระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยสารคลอรีน 72 ชั่วโมงก่อนให้วัคซีน
⋅ ทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำด้วยน้ำเปล่า 72 ชั่วโมงก่อน
เริ่มให้วัคซีน เพื่อขจัดผงซักฟอกตกค้าง
⋅ ถ้ามีการใช้แสงยูวี ให้ปิดไว้ก่อน เนื่องจากแสงยูวีอาจยับยั้ง
การออกฤทธิ์ของวัคซีนได้
⋅ การให้วัคซีนอาจไม่สม่ำเสมอ ถ้าให้ผ่านอุปกรณ์ป้อนยา

คอบบ์ ! 141
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ คำนวณปริมาณน้ำที่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณ
น้ำที่ไก่บริโภคไปเมื่อวันก่อน หากไม่มีมาตรวัดน้ำ ให้คำนวณ
ดังนี้ : จำนวนไก่หลักพัน คูณด้วยอายุหลักวัน คูณด้วยสอง ก็
จะได้ปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการให้วัคซีนในระยะเวลา 2
ชั่วโมง มีหน่วยเป็นลิตร
⋅ ผสมหางนมผง 2.5 กรัม (2 ช้อนชา)ลงในน้ำ 1 ลิตร (1.05
ควอท) หรือไม่ก็ใช้สารคงรูปที่มีขายทั่วไปตามคำแนะนำจาก
บริษัทผู้ผลิต
⋅ เตรียมสารละลายหางนมไว้ล่วงหน้าก่อนให้วัคซีน 20 นาที
เพื่อให้แน่ใจว่าหางนมผงได้ปรับสภาพคลอรีนในน้ำให้เป็นก
ลางแล้ว
⋅ บันทึกประเภทของผลิตภัณฑ์วัคซีนที่ใช้ หมายเลขการผลิต
และวันหมดอายุลงในแผ่นชาร์ทด้วยปากกา หรือเอกสาร
บันทึกข้อมูลของไก่แบบอื่นที่เป็นกิจลักษณะ
⋅ เปิดฝาหลอดวัคซีนขณะที่จุ่มอยู่ในน้ำที่ผสมด้วยสารคงรูป
⋅ กลั้วล้างวัคซีนลงในน้ำจนหมด
⋅ ยกรางให้น้ำขึ้น
⋅ เทวัคซีน สารคงรูป และน้ำสีที่เตรียมไว้ลงในถังเก็บน้ำ
⋅ สูบน้ำเข้าท่อ จนกระทั่งสารคงรูปหรือน้ำสีเข้าไปจนถึงปลาย
ท่อน้ำ
⋅ ปรังรางให้น้ำลงและปล่อยให้ไก่รับวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย เมื่อน้ำ
ใกล้หมดถัง จึงค่อยเปิดน้ำกลับเข้าถังบน

คอบบ์ ! 142
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
⋅ เดินผ่านไก่ด้วยความนุ่มนวลเพื่อกระตุ้นให้ไก่ดื่มน้ำและได้
รับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอทั้งฝูง
⋅ จดเวลาที่ไก่ใช้รับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายและข้อปรับแก้อื่นๆ ที่
จำเป็นลงในสมุดบันทึก เพื่อใช้สำหรับไก่อายุเดียวกันในรุ่น
ถัดไป รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้วัคซีนได้หมดภายในระยะ
เวลา 1-2 ชั่วโมง

คอบบ์ ! 143
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
B. ระบบน้ำแบบเปิด ด้วยถังน้ำอัตโนมัติ
⋅ จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ 2 คนปฏิบัติงานในขั้นตอนการให้
วัคซีน คนแรกทำหน้าที่ผสมวัคซีน และอีกคนเป็นผู้ให้วัคซีน
⋅ ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้น้ำแต่ละอันจนไม่มีน้ำหรือวัสดุ
รองพื ้ น เหลื อ อยู ่ ภ ายใน ห้ า มใช้ น ้ ำ ยาฆ่ า เชื ้ อ โรคในการ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้น้ำ
⋅ เติมน้ำลงในอุปกรณ์ให้น้ำด้วยวิธีการปกติ อย่าให้สารละลาย
วัคซีนล้นหรือหกเลอะเทอะ

ตรวจดูปริมาณวัคซีนที่รับเข้าสู่ร่างกาย
⋅ เริ่มตรวจหลังจากไก่ได้รับวัคซีน
⋅ สุ่มเลือกไก่ขึ้นมาตรวจ 100 ตัวต่อโรงเรือน และตรวจสอบว่า
มีกี่ตัวที่ลิ้น จงอยปากหรือกระเพาะอาหารมีสีติดอยู่
⋅ แบ่งโรงเรือนออกเป็น 4 ส่วน และตรวจสอบสีที่ติดอยู่จากไก่
25 ตัวในแต่ละส่วนของโรงเรือน
⋅ คำนวณหาจำนวนไก่ที่มีสีติดอยู่ตามอัตราส่วนร้อยละ
⋅ การให้วัคซีนที่ถือว่าประสบผลสำเร็จ จะต้องมีจำนวนไก่ที่มีสี
ติดอยู่ถึงร้อยละ 95

สัดส่วนร้อยละของไก่ที่มีสีฟ้าติดอยู่ จำนวนชั่วโมงหลังการให้วัคซีน
ร้อยละ 75 1 ชั่วโมง
ร้อยละ 95 2 ชั่วโมง

คอบบ์ ! 144
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการให้วัคซีน ให้
ตรวจดูไก่อย่างใกล้ชิดและปรึกษาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์

คอบบ์ ! 145
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนแบบพ่น
⋅ การให้วัคซีนแบบพ่น จำเป็นต้องมีการจัดการด้วยความ
ระมัดระวัง ละอองที่พ่นออกมาอาจระเหย ปลิวไปก่อนที่จะถึง
ตัวไก่
⋅ การใช้อุปกรณ์พ่นวัคซีนควรปฏิตามคำแนะนำจากบริษัทผู้
ผลิต เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีขนาดอนุภาคที่
กระจายไปอย่างเหมาะสม
⋅ การให้วัคซีนแบบพ่นกับลูกไก่ที่อยู่ในกล่องอายุ 1 วันที่ฟาร์ม
จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นเฉพาะ (ปรึกษาบริษัทผู้ผลิตวัคซีน)
⋅ ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ให้วัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย
1 สัปดาห์ก่อนที่จะให้วัคซีน เป็นการเผื่อเวลาไว้ซ่อมแซมหาก
มีความผิดปกติเกิดขึ้น
⋅ ผู้ปฏิบัติงานที่ขาดประสบการณ์ ไม่คุ้นเคยกับลักษณะโรง
เรือนและอุปกรณ์เฉพาะ ควรทำการฝึกฝนโดยใช้น้ำเปล่าเพื่อ
ค้นหาจังหวะการพ่นที่แน่นอน
⋅ ใช้เครื่องพ่นวัคซีนโดยเฉพาะเท่านั้น ห้ามใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
หรือสารเคมีใดๆ เช่น ยาฆ่าแมลงลงในเครื่องพ่นเด็ดขาด
⋅ พ่นวัคซีนในช่วงเช้าตรู่เพื่อลดความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสภาพอากาศร้อน
⋅ เก็บวัคซีนไว้ในอุณหภูมิที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำก่อนนำมาใช้
งาน (2-8 ˚C/ 36-46 ˚F)
⋅ บันทึกประเภทของผลิตภัณฑ์วัคซีนที่ใช้ หมายเลขการผลิต
และวันหมดอายุลงในแผ่นชาร์ทด้วยปากกา หรือเอกสาร
บันทึกข้อมูลของไก่แบบอื่นที่เป็นกิจลักษณะ
⋅ เตรียมวัคซีนผสมกับสารคงรูปในภาชนะที่มีพื้นผิวสะอาด
ปราศจากสารเคมี น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาทำความสะอาด

คอบบ์ ! 146
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
หรือวัตถุอินทรีย์ใดๆ (ใช้สารคงรูปที่รับรองโดยบริษัทผู้ผลิต
อุปกรณ์และวัคซีนแบบพ่นเท่านั้น)
⋅ ใช้น้ำกลั่นที่เย็นและสดชื่น
⋅ เปิดหลอดวัคซีนแต่ละหลอดขณะจุ่มอยู่ในน้ำ
⋅ กลั้วล้างวัคซีนลงในน้ำจนหมด
⋅ ชะล้างเครื่องพ่นด้วยน้ำกลั่นและเติมน้ำกลั่นลงในเครื่องพ่น
ในปริมาณน้อยก่อนที่จะเติมวัคซีนเจือจางตามลงไป
⋅ ปริมาณน้ำยาพ่นที่ใช้กันทั่วไปอยู่ที่ 15-30 ลิตร (4-8
แกลลอน) ต่อไก่ 30,000 ตัว (ย้ำว่า ให้อ้างอิงปริมาณที่
แน่นอนกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและอุปกรณ์อีกครั้ง)
⋅ ปิดพัดลมก่อนเริ่มพ่นวัคซีนและหรี่ไฟลงเพื่อลดความเครียดที่
เกิดกับไก่และเอื้อให้ผู้พ่นวัคซีนปฏิบัติงานในโรงเรือยได้ง่าย
ขึ้น
⋅ จับไก่ใส่คอกไว้ด้านข้างบริเวณภายนอกโรงเรือนเพื่อพ่นน้ำ
วัคซีน ระยะห่างระหว่างผู้พ่นวัคซีนกับผนังด้านข้างต้องไม่
เกิน 4 เมตร (13 ฟุต)
⋅ ละอองพ่นควรสูงกว่าไก่ ประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต)
⋅ จัดมุมหัวพ่นให้ฉีดลงด้านล่าง
⋅ เดินผ่านไก่ด้วยความนุ่มนวล ระมัดระวัง
⋅ หลังจากพ่นเสร็จแล้ว ถ้าไก่ไม่เครียดจากความร้อนและไม่ถูก
ละทิ้งไว้ ให้ปิดพัดลมต่อเนื่องไปอีก 20 นาที
⋅ หลังการให้วัคซีน ล้างเครื่องพ่นด้วยน้ำกลั่นและปล่อยไว้ให้
แห้งในบริเวณที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง ดูแลรักษา
อุปกรณ์ที่มีค่านี้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คอบบ์ ! 147
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
12. การเก็บข้อมูล
การเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญต่อการตรวจสมรรถภาพ
ผลผลิตและความสามารถในการสร้างผลกำไรของฝูงไก่ และทำให้
สามารถพยากรณ์ วางแผน และคาดหมายกระแสเงินสดได้ อีกทั้งยัง
ช่วยเตือนถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย บันทึกประจำวันควรติดไว้
ที่โรงเรือนแต่ละแห่ง ในบางประเทศจะต้องส่งข้อมูลเหล่านี้ให้กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการชำแหละไก่อีกด้วย
การลงบันทึกประจำวัน ได้แก่
⋅ อัตราการตายและการคัดทิ้ง โดยแยกตามโรงเรือนและเพศ
⋅ การบริโภคอาหารต่อวัน
⋅ การบริโภคน้ำต่อวัน
⋅ อัตราส่วนของน้ำต่ออาหาร
⋅ การบำบัดน้ำ
⋅ อุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุดประจำวัน
⋅ ความชื้นต่ำสุดและสูงสุดประจำวัน
⋅ จำนวนไก่ที่ถูกนำไปชำแหละ
⋅ การแก้ไขปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการ
⋅ ประเภทของการคัดทิ้ง

คอบบ์ ! 148
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับฝูงไก่
⋅ การจัดส่งอาหาร (ผู้จัดส่ง / ปริมาณ / ประเภท/ วันที่บริโภค)
⋅ ตัวอย่างอาหารจากการจัดส่งแต่ละครั้ง
⋅ น้ำหนักไก่มีชีวิต (ประจำวัน/ประจำสัปดาห์/น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
แต่ละวัน)
⋅ การให้ยา (ประเภท/ชุด/ปริมาณ/วันที่ให้ยา/วันที่หยุดยา)
⋅ การให้วีคซีน (ประเภท/ชุด/ปริมาณ/วันที่ให้วัคซีน)
⋅ แผนงานให้แสงสว่าง
⋅ วัสดุรองพื้น (ประเภท/วันที่จัดส่ง/ปริมาณที่จัดส่ง/ผลการ
ตรวจสอบด้วยสายตา)
⋅ การจัดส่งลูกไก่ (จำนวน/วันที่/เวลา/จำนวนกล่อง/อุณหภูมิ
และความชื้นในรถขนส่ง)
⋅ ความหนาแน่นในการเลี้ยง
⋅ แหล่งที่มาของลูกไก่ (โรงฟัก/สายพันธุ์/รหัสผู้เพาะพันธุ์/น้ำ
หนักลูกไก่)
⋅ น้ำหนักบรรทุกแต่ละครั้งที่โรงชำแหละ
⋅ การลดคุณภาพ
⋅ วันและเวลาในการงดอาหาร
⋅ วันและเวลาที่เริ่มจับและสิ้นสุดการจับ
⋅ การทำความสะอาด (ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์รวม/การตรวจสอบ
ด้วยสายตา)
⋅ ผลการตรวจซากหลังการชำแหละ
⋅ การซ่อมแซมและบำรุงรักษา
⋅ การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประจำสัปดาห์
⋅ การตรวจสอบสัญญาณเตือนประจำสัปดาห์
⋅ เครื่องตรวจจับและเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (วันที่ตั้งค่าเทียบ
วัด)
⋅ การตรวจเยี่ยมทางเทคนิค

คอบบ์ ! 149
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การบันทึกข้อมูลประจำปี
⋅ น้ำ (ตรวจสอบที่จุดกำเนิดและที่อุปกรณ์ให้น้ำ)

คอบบ์ ! 150
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
13. ภาคผนวก
การแปลงหน่วยเมตริก
ความยาว
1 เมตร (m) 3.281 ฟุต (ft.)
1 เซนติเมตร (cm) 0.394 นิ้ว (in.)
พื้นที่
1 ตารางเมตร (m2) 10.76 ตารางฟุต (ft2)
1 ตารางเซนติเมตร (cm2) 0.155 ตารางนิ้ว (in2)
ปริมาณ
1 ลิตร (L) 0.22 อิมพีเรียลแกลลอน (IG)
1 ลิตร (L) 0.262 ยูเอสแกลลอน (gal)
1 ลูกบาศก์เมตร (m3) 35.31 ลูกบาศก์ฟุต (ft3)
น้ำหนัก
1 กิโลกรัม (kg) 2.205 ปอนด์ (lb.)
1 กรัม (g) 0.035 ออนซ์ (oz.)
พลังงาน
1 แคลอรี่ (cal) 4.184 จูล (J)
1 จูล (J) 0.735 ฟุตปอนด์
1 จูล (J) 0.00095 บีทียู (BTU)
1 บีทียู (BTU) 252 แคลอรี่ (cal)

คอบบ์ ! 151
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
1 บีทียู (BTU) 0.3 วัตต์ต่อชั่วโมง (kWh)
แรงดัน
1 บาร์ 14.504 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
1 บาร์ 100,000 ปาสคาล
1 ปาสคาล (Pa) 0.000145 psi
อัตราปริมาณการไหล
1 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (m3/hour) 0.5886 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (ft3/min)

อัตราความหนาแน่นในการ
เลี้ยง
1 ตารางฟุตต่อไก่ 1 ตัว (ft2/bird) 10.76 ตัวต่อตารางเมตร (birds/m2)

1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (kg/m2) 0.205 ปอนด์ต่อตารางฟุต (lbs/ft2)

อุณหภูมิ
เซลเซียสเป็นฟาเรนไฮต์ (องศาเซลเซียส x 9/5) + 32
ฟาเรนไฮต์เป็นเซลเซียส (องศาฟาเรนไฮต์ -32) x 5/9
ความสว่าง
1 ฟุตเทียน 10.76 ลักซ์
1 ลักซ์ 0.0929 ฟุตเทียน

คอบบ์ ! 152
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
การจำแนกเพศจากขนปีกในลูกไก่เนื้อ
ลูกไก่เนื้อที่สามารถจำแนกเพศจากขนปีกได้ มีรูปแบบการขึ้นของขน
ปีกช้า จะสามารถจำแนกเพศจากขนปีกได้ตั้งแต่อายุ 1 วัน ดังที่แสดง
ในภาพด้านล่าง

ลูกไก่ที่ไม่สามารถจำแนกเพศจากขนปีกได้ มีรูปแบบการขึ้นของขน
ปีกเร็ว ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีรูปแบบการขึ้นของขนเหมือนๆ กัน
ดังที่แสดงในแผนภูมิด้านล่างซึ่งสัมพันธ์กับเพศเมีย

คอบบ์ ! 153
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์
14. หมายเหตุ

คอบบ์ ! 154
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

cobb-vantress.com

คอบบ์! 1
คู่มือเลี้ยงและจัดการไก่เนื้อสายพันธุ์คอบบ์

L-1020-05
15 พฤศจิกายน 2556

คอบบ์ ! 2

You might also like