You are on page 1of 9

13-1

วิชาสัมมนา (515-497)

เรื่อง
ผลของสีของแสงต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ
Effect of color light on broiler performance
โดย
นาย วัศพล จันทนพันธ์
รหัสนักศึกษา : 5710610115
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.ดร.ปรัชญาพร เอกบุตร

ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาคการศึกษาที่ 1/2560
วันที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ
สีของแสง ระยะเวลาในการให้แสง ความเข้มแสง และการป้องกันโรค เป็นปัจจัยที่สาคัญสาหรับการ
เจริญเติบโตของไก่เนื้อ การจัดการไก่เนื้อให้ได้ประสิทธิภาพดี ผลผลิตสูงขึ้น สามารถทาได้โดยการใช้สีของแสง
ในการเลี้ยง เพื่อกระตุ้นการกินน้า อาหาร และพักผ่อนได้อย่างปกติ สีของแสงส่งผลต่อประสิทธิภาพการ
เจริญเติบโต พฤติกรรมที่แสดงออก และมีการตอบสนองต่อวัคซีนโรคนิวคาสเซิล (ND) ในไก่เนื้อ จากการ
รวบรวมเอกสารพบว่า แสงสีเขียวและแสงสีฟ้า มีผลให้น้าหนักตัว อัตราการแลกเนื้อและการตอบสนองต่อ
วัคซีน ND ในไก่เนื้อ ดีที่สุดเมื่อเทียบกับแสงสีขาว และแสงสีแดง อย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) อีกทั้งแสงสีเขียว
สลับแสงสีฟ้าสามารถแสดงถึงพฤติกรรมการนอนดีที่สุด ส่วนแสงสีขาวมีการจิกพื้นมากที่สุด และสีของแสงทุก
สีไม่มีผลต่อพฤติกรรมการไซร้ขน การกระพือปีก การไม่เคลื่อนไหว

คาสาคัญ: ไก่เนื้อ การเจริญเติบโต สี โรค


ผลของสีของแสงต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ
Effect of color light on broiler performance
บทนา

E-mail address: watsapon_got72@hotmail.com (วัศพล จันทนพันธ์)


เอกสารนาเสนอใน วิชาสัมมนา 515-497 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์ ประจาภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560
วันที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13-2

ไก่เนื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมบริโภคเป็นจานวนมาก เนื่องจากไก่เนื้อสามารถบริโภคได้ทุกศาสนาให้
ผลตอบแทนเร็ว ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น และเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสาคัญมากชนิดหนึ่ง การเลี้ยงไก่เนื้อ
เป็นทั้งอาชีพหลั กและอาชีพเสริมของเกษตรกรในปัจจุบัน การบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศไทยมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น จากความต้องการบริโภคเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้น ทาให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว (กรมปศุสัตว์, 2548) การจัดการการเลี้ยงจึงมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งการจัดการเรื่องสีของแสงเป็น
ปัจจัยข้อหนึ่งที่สาคัญในการผลิต แสงสว่างมีผลกระตุ้นให้ไก่กินน้า อาหาร และพักผ่อนได้อย่างปกติ ทาให้การ
เจริญเติบโตและประสิทธิภาพอัตราการแลกเนื้อที่ดี ส่วนการมองเห็นสีในไก่เนื้อจะมีความไวต่อช่วงความยาว
คลื่นแสงมากกว่ามนุษย์ทาให้ช่วงการมองเห็นสีในไก่เนื้อกว้างกว่าในมนุษย์ และสีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ
แสดงออกตามธรรมชาติส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ เช่น น้าหนักตัว อัตราการแลกเนื้อ การไซร้ขน
การนอน การจิกพื้น การกระพือปีกเพื่อระบายความร้อน และสีของแสงมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ โดย
โรคสาคัญที่พบ คือ โรคนิวคาสเซิล (Newcastle's disease, ND) เป็นโรคที่มีความสาคัญมากในไก่เนื้ออาการของ
โรคมีตั้งแต่น้อยจนถึงรุนแรง ติดต่อได้ง่าย และอาจตายเฉียบพลั นแบบไม่แสดงอาการ ซึ่งสีของแสงส่งผลต่อ
การตอบสนองของวัคซีน ND ที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคนิวคาสเซิล จากคุณสมบัติของสีของแสงจึงมี
การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้แสงสีที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการจัดทาสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลของสีของแสงต่อ
การเจริญเติบโต พฤติกรรม และการตอบสนองต่อวัคซีนโรค ND เพื่อนามาเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต เพิ่ม
ประสิทธิภาพของไก่ที่ดี และเป็นการป้องกันการสูญเสียในการผลิต

ปัจจัยพื้นฐานกับการเลี้ยงไก่เนื้อ
1. โรงเรือนและการจัดการเลี้ยงไก่เนื้อ
นิยมเลี้ ยงโดยให้ ไก่อยู่ร วมกัน เป็น ฝูงในโรงเรือนหรือคอก ขนาดใหญ่หรือ คอกขนาดเล็ กขึ้นอยู่กับ
จานวนไก่ที่เลี้ยง การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนให้สร้างโรงเรือนแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่วที่สามารถป้องกันฝน
สาดเข้าไปภายในได้ ขนาดของโรงเรียนควรยึดหลักไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่เลี้ยงประมาณ 3 ตารางฟุต โดยรอบของ
โรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีผ้าพลาสติกป้องกันลมและฝนติดด้านข้างด้วย
พื้นโรงเรือนควรปูด้วยแกลบ เพื่อดูดซึมมูลไก่หรือสิ่งสกปรกและควรเปลี่ยนทุกครั้งในการเลี้ยงไก่แต่ละรุ่น

2. อาหาร น้า
การให้อาหารลูกไก่ระยะกก ควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อให้ลูกไก่กินหมดภายในระยะเวลา 1 - 2 ชั่วโมง
ซึ่งการให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเช่นนี้จะทาให้ลูกไก่มีความกระตือรือร้นในการแย่งกันกินอาหารมากขึ้น และได้
กินอาหารใหม่ ๆ อยู่ตลอด น้าควรมีความสะอาดเพียงพอความต้องการ
3. ระยะเวลาในการรับแสง
ระยะเวลาให้แสง ไก่เนื้ออายุมากกว่า 7 วันขึ้นไปจนถึงอายุ 3 วัน ก่อนจับส่งโรงฆ่าจะต้องมีระยะเวลา
มืดอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ไก่ได้พักผ่อน โดยระยะเวลามืดนี้ ควรเป็นระยะมืดต่อเนื่องอย่างน้อย
4 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการหลังฮอร์โมน melatonin ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของสัตว์ ผ่านต่อม pineal
ส่งผลให้ไก่ลดภาวะเครียด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการพัฒนาของระบบต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะ
ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Classen et al., 2004)
13-3

4. แสง
การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลต ด้วยสมบัติพื้นฐานของแสง
และของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงคลื่น ได้แก่ ความเข้ม หรือความสว่าง ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ใน
รูปความสว่างของแสง
5. ความเข้มแสง
ระดับ ความเข้ ม แสงส่ ง ผลต่ อการกิ น อาหารและน้าของไก่ นอกจากนี้ ยัง ส่ ง ผลต่ อ พฤติ กรรมการ
แสดงออกตามธรรมชาติของไก่ด้วย เช่น ไก่ที่เลี้ยงในโรงเรือนที่มีระดับความเข้มแสงที่มากกว่า 20 ลักซ์ พบว่า
ไก่ จ ะแสดงพฤติ ก รรมกาวร้ า ว ชอบจิ ก ปี ก จิ ก กั น ขณะไก่ ที่ เ ลี้ ย งภายในโรงเรื อ นที่ มี ร ะดั บ ความเข้ ม แสง
น้อยกว่า 5 ลักซ์ พบว่าไก่ค่อนข้างสงบ ไม่ก้าวร้าว (เกรียงไกร และคณะ, 2553)
6. ความยาวคลื่นแสง
แสงที่ตามองเห็น (visible light) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลื่น ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400–700
นาโนเมตร (1 เมตร=1,000,000,000 นาโนเมตร) หากนาแท่งแก้วปริซึม (prism) มาหักเหแสงอาทิตย์จะเห็น
ว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง (380-420 nm) คราม (420-460 nm) น้าเงิน (460-490 nm) เขียว
(490-580 nm) เหลือง (580-590 nm) แสด (590-650 nm) และแดง (650-700 nm) คล้ายกับสีของรุ้งกิน
น้าเรียกว่า “สเปคตรัม” (spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด
และสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด (โครงการการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอากาศ, 2546)
7. สีของแสง
จอตาของสัตว์ปีกมีเซลล์รูปกรวย 5 ชนิด แบ่งออกเป็นเซลล์เดี่ยว 4 ชนิด และเซลล์คู่ 1 ชนิด โดย
เซลล์เดี่ยวประกอบด้วยเซลล์ที่ไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น ปานกลาง ยาวและรังสีอัลตราไวโอเลตตามลาดับ
ความไวต่อช่วงรูปกรวยมีหยดสีน้ามัน (oil droplet) ทาหน้าที่กรองแสงที่เดินทางเข้ามาภายในตา จานวน
เซลล์คู่มีประมาณครึ่งหนึ่งของเซลล์รูปกรวยทั้งหมด ความสามารถในการมองเห็นรังสี สัตว์ปีกใช้การรับรู้รังสี
อัลตราไวโอเลตเพื่อเลือกคู่ผสมพันธุ์และค้นหาอาหาร
Cao et al. (2012 อ้างโดย Mousa-Balabel et al., 2017) รายงานว่าไก่เนื้อภายใต้แสงสีเขียว
และแสงสีฟ้าสามารถกระตุ้ นให้ไก่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เพราะแสงสีเขียวและสีฟ้ามีประสิทธิภาพในการ
กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน และการเจริญเติบโตของเส้นใยกล้ ามเนื้อนาไปสู่การเพิ่มขึ้นในการ
เจริญเติบโตของร่างกาย Hassan et al. (2014) กล่าวว่าแสงสีแดงส่งผลให้ไก่มีน้าหนักตัวต่าลงและแสงสีเขียว
มีผลทาให้ไก่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น Lewis and Morris (2000) ได้รายงานว่าไก่ที่ได้รับแสงสีฟ้าและแสง
เขียวทาให้น้าหนักเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับ Rozenboim et al. (2004 อ้างโดย Firouzi et al., 2014)
รายงานไว้ว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงภายใต้แสงไฟนีออนสีเขียวหรือสีฟ้ามีน้าหนักที่มากขึ้นมากกว่าไก่ที่เลี้ยงภายใต้แ สง
ไฟสีแดงและสีขาว นอกจากนี้ สีของแสงมีผลต่อการพัฒนาและพฤติกรรมในไก่ (Mohamed et al., 2014)
และ Seo et al. (2016 อ้างโดย Mousa-Balabel et al., 2017) ได้รายงานว่าสีของแสงมีผลต่อสรีรวิทยา
และการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันของไก่เนื้อ Xie et al. (2008 อ้างโดย Firouzi et al., 2014) รายงานว่า
การได้รับแสงสีเขียวและแสงสีฟ้าสามารถเสริม ภูมิคุ้มกันมากขึ้นและเพิ่มการขยายตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว
Senaratna et al. (2016 อ้างโดย Mousa-Balabel et al., 2017) รายงานว่าการใช้สีของแสงสามารถ
ควบคุมกิจกรรมของไก่เนื้อและลดพฤติกรรมที่น่ากลัวทีเ่ ป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพ

โรคที่สาคัญในไก่เนื้อ (กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549)


13-4

โรคนิวคาสเซิล (ND)
สาเหตุ
โรคนิ ว คาสเซิล เป็ น โรคของสั ตว์ปี กที่เกิดจากเชื้อไวรัส (family Paramyxovirus, genus
Rubulavirus) มีระยะฟักตัว 4-6 วัน เชื้อทนต่ออุณหภูมิห้องได้ดีและอยู่ได้นานในอุจจาระ อัตราการเกิดโรค
และการตายจะขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ ปีกและสเตรนของเชื้อไวรัส ไก่ติดโรคได้ง่ายที่สุดส่วน เป็ดและห่านจะ
ค่อนข้างทนต่อโรค อาจพบสภาพการเป็นพาหะของโรคในนกป่าบางชนิดรวมทั้งนกในตระกูลนกแก้ว การติด
โรคเกิ ดจากสั มผั ส โดยตรงกับ สิ่ งขั บ ถ่ ายจากสั ต ว์ป่ ว ยโดยเฉพาะอุจ จาระ อาหาร น้า เครื่อ งมือ เครื่อ งใช้
โรงเรือน เสื้อผ้า น้ามูก อุจจาระ ซากสัตว์ปีก เป็นแหล่งที่พบเชื้อไวรัสซึ่งจะถูกขับออกมาในระยะฟักตัวและใน
สัตว์ที่กาลังหายป่วย และนกแก้วบางชนิดจะมีการขับเชื้อไวรัสเป็นระยะๆนานกว่าปี
อาการ
ขึ้นอยู่กับสายพันเชื้อ ชนิดรุนแรงไก่ตายเป็นจานวนมากทันที เริ่มเป็นโรคจะแสดงอาการทางระบบ
หายใจ หายใจลาบาก มีเสียงดัง ไอ จาม ซึม เบื่ออาหาร ตัวสกปรก ทวารหนักเปื้อนอุจจาระ กล้ามเนื้อสั่น หัว
สั่น คอปิด ปีกตก อัมพาตก่อนตาย เดินโซเซล้มลง ไก่ที่แสดงอาการทางประสาทแล้วจะไม่รอด อัตราการเป็น
โรค 60-100 เปอร์เซ็นต์ ไก่ที่อดจะแคระแกร็น คอบิด ปีกตกตลอดอายุ
โรคกัมโบโร (IBD)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อเบอร์น่าไวรัส (Burnavirus)

อาการ
1. แบบไม่แสดงอาการป่วย มักพบในลูกไก่อายุต่ากว่า 2 สัปดาห์ เชื้อไวรัสจะทาให้ต่อมเบอร์ซ่าฝ่อ
เป็นผลให้ระบบการสร้างภูมิคุ้มกันเสียหาย
2. แบบแสดงอาการป่วย มักพบในลูกไก่อายุประมาณ 3-6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่ต่อมเบอร์ซ่าเจริญ
เต็มที่ ไก่ป่วยอาจมีอาการ ซึม ขนยุ่งไม่กินน้าและอาหาร มีสิ่งขับถ่ายเป็นน้าผสมกับสารยูเรตสีขาว ไก่มักตาย
ใน 2-3 วันหลังจากแสดงอาการ อัตราการตายอาจสูง (25-60 เปอร์เซ็นต์) ไก่ที่ตาย มักมีจุดเลือดออกตาม
กล้ามเนื้อ เช่นที่ อก ขา ต่อมเบอร์ซ่า อาจมีจุดเลือดออก อักเสบบวมมีวุ้นหุ้ม หรือมีหนองแข็งอยู่ภายในไก่ ใน
ฝูงจะตายมากขึ้นในวันที่ 4-5 และถ้าไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อัตราตายจะลดลง และโรคสงบลงได้ในภายใน 10
วัน

สีของแสงต่อน้าหนักตัวของไก่เนื้อ
Mousa-Balabel et al. (2017) ได้ศึกษาไก่สายพันธุ์ Cobb จานวน 240 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 3 ซ้า
กลุ่มแรกโดยแสงสีขาวเป็นตัวควบคุม กลุ่มที่สองใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สามใช้แสงสีฟ้า และกลุ่มที่สี่ใช้แสงสีเขียว
สลับกับสีฟ้าสลับทุกๆ 4 ชั่วโมง ในช่วงแรก 0-7 วันใช้ความเข้มแสง 40 ลักซ์ 24 ชั่วโมง หลังจาก 7 วัน ใช้
ความเข้มแสง 25 ลักซ์ ให้แสง 23 ชั่วโมง สาหรับผลของสีของแสงต่อน้าหนักตัวของไก่เนื้อ (ตารางที1่ )

ตารางที่ 1. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่อน้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของไก่เนื้อ
Light Color
White (Control) Green Blue Green×Blue P-value
Intital body weight (g) 44±2.00 44±2.01 44±1.99 44±2.02 0.0996
13-5

Final body weight (g) 2052±92.42a 2483±45.64b 2600±55.43b 2655±54.24b 0.003


Body weight gain (g) 2008±24a 2439±36.20b 2556±31.23b 2610.3±26.78b 0.0016
ab
Mean along rows with different superscripts are significantly different (P<0.05)
ที่มา: Mousa-Balabel et al. (2017)

ผลจากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงไก่เนื้อด้วยแสงสีขาว แสงสีเขียว แสงสีฟ้า และแสงสีเขียว


สลับกับแสงสีฟ้าไม่มีผลต่อน้าหนักตัวเริ่มต้น อย่างไรก็ตามชนิดของแสงมีผลต่อน้าหนักตัวสุดท้ายและน้าหนัก
ตัวทีเ่ พิ่มขึ้น พบว่าการเลี้ยงด้วยแสงสีเขียว แสงสีฟ้า และแสงสีเขียวสลับกับแสงสีฟ้าดีกว่าแสงสีขาว (P<0.05)
โดยการเลี้ยงด้วยแสงสีเขียวสลับกับแสงสีฟ้าดีที่สุดแต่ไม่ต่างกับแสงสีเขียวและแสงสีฟ้า (P>0.05)
ขณะที่ Bradley (2015) ศึกษาในไก่เนื้อจานวน 120 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แสงสีขาว
กลุ่มที่สองใช้แสงสีฟ้า กลุ่มที่สามใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สี่ใช้แสงสีแดง ใช้ความเข้มแสง 15 ลักซ์ ให้แสง 23
ชั่วโมง เมื่อพิจารณาน้าหนักตัวตั้งแต่ 0-49 วัน ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่อน้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของไก่เนื้อ
ที่มา: Bradley (2015)

จากภาพที่ 1 สรุปได้ว่าการใช้แสงช่วง 0-21 วัน ชนิดของแสงไม่มีผลต่อน้าหนักตัว แต่ชนิดของแสงมี


ผลในช่วง 28-49 วัน โดยแสงสีฟ้าให้น้าหนักตัวเพิ่มขึ้นดีที่สุด (P<0.05)
จากการใช้ แ สงสี เ ขี ย วและสี ฟ้ า ส่ ง ผลต่ อ น้ าหนั ก ตั ว ให้ เ พิ่ ม ขึ้ น เพราะแสงสี เ ขี ย วและแสงสี ฟ้ า มี
ประสิทธิภาพในการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนและการเจริญเติบโตของเส้นใยกล้ามเนื้อนาไป
การเพิ่มขึ้นในการเจริญเติบโตของร่างกาย Cao et al. (2012 อ้างโดย Mousa-Balabel et al., 2017)

สีของแสงต่ออัตราการแลกเนื้อของไก่เนื้อ
Mousa-Balabel et al. (2017) ศึกษาไก่สายพันธุ์ Cobb จานวน 240 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 3 ซ้า
กลุ่มแรกโดยใช้แสงสีขาวเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สามใช้แสงสีฟ้า และกลุ่มที่สี่ใช้แสงสี
13-6

เขียวสลับกับสีฟ้าสลับทุกๆ 4 ชั่วโมง ในช่วงแรก 0-7 วัน ใช้ความเข้มแสง 40 ลักซ์ 24 ชั่วโมง หลังจาก 7 วัน
ใช้ความเข้มแสง 25 ลักซ์ ให้แสง 23 ชั่วโมง สาหรับผลของสีของแสงต่ออัตราการแลกเนื้อ (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่ออัตราการแลกเนื้อของไก่เนื้อ
Light Color
White Green Blue Green×Blue P-value
(Control)
Total feed intake (g) 4830±8.66a 4795±11.55a 4676±5.77b 4590±5.77c 0.001
FCR 1:2.38 1:1.98 1:1.82 1:1.75
ab
Mean along rows with different superscripts are significantly different (P<0.05)
ที่มา: Mousa-Balabel et al. (2017)

จากตารางที่ 2 สรุปได้ว่าการเลี้ยงด้วยแสงเขียวสลับกับแสงสีฟ้ามีค่าอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด โดยมีค่า


อัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 1.75 และปริมาณอาหารที่กินเท่ากับ 4590 ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแสงสีขาว แสง
สีฟ้า และแสงสีเขียวอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05)
สอดคล้องกับ Bradley (2015) ได้ศึกษาไก่เนื้อจานวน 120 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แสงสี
ขาว กลุ่มที่สองใช้แสงสีฟ้า กลุ่มที่สามใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สี่ใช้แสงสีแดง ใช้ความเข้มแสง 15 ลักซ์ ให้แสง 23
ชั่วโมง ผลของสีของแสงต่ออัตราการแลกเนื้อในไก่เนื้ออายุ 0-49 วัน แสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่ออัตราการแลกเนื้อของไก่เนื้อ
Light Treatment Feed Conversion Ratio (FCR) Avg.Carcass Weight (g)
White 1.65 3,045±227
Blue 1.82 3,150±186
Green 1.62 2,745±336
Red 1.65 2,950±236
ที่มา: Bradley (2015)
จากตารางที่ 3 การใช้แสงสีขาว แสงสีฟ้า แสงสีเขียว และแสงสีแดง ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05)
โดยการใช้แสงสีเขียวมีผลต่ออัตราการแลกเนื้อดีทสี่ ุด
ผลจากการใช้แสงสีเขียวและแสงสีเขียวสลับกับแสงสีฟ้ามีอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด เพราะ แสงสีเขียว
และแสงสีเขียวสลับกับแสงสี ฟ้ามีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้าหนักตัวที่ดีเนื่องจากปริมาณอาหารที่
กินเข้าไปน้อยเปลี่ยนเป็นน้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด

สีของแสงต่อพฤติกรรมของไก่เนื้อ
13-7

Mousa-Balabel et al. (2017) ศึกษาไก่สายพันธุ์ Cobb จานวน 240 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 3 ซ้า
กลุ่มแรกโดยใช้แสงสีขาวเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สามใช้แสงสีฟ้า และกลุ่มที่สี่ใช้แสงสี
เขียวสลับกับแสงสีฟ้าสลับทุกๆ 4 ชั่วโมง ในช่วงแรก 0-7 วัน ใช้ความเข้มแสง 40 ลักซ์ 24 ชั่วโมง หลังจาก 7
วัน ใช้ความเข้มแสง 25 ลักซ์ ให้แสง 23 ชั่วโมง สาหรับผลของสีของแสงต่อพฤติกรรม ดังแสดงในตารางที่ 4

ตารางที่ 4. ผลการใช้สีของแสงทีแ่ ตกต่างกันต่อพฤติกรรมการแสดงออก


Light Color
White(Control) Green Blue Green×Blue P-value
a b
Rest and sleep (sec) 124.4±5.93 149.4±7.62 155.7±6.02b 160.6±6.93ab 0.0096
Preening 1.67±0.19 1.33±0.19 1.25±0.25 1.67±0.18 0.3435
Wing flapping 1.50±0.26 0.92±0.15 0.75±0.25 1.25±0.22 0.3435
a b
Ground pecking 2.84±0.16 2.5±0.22 2.17±0.17ab 2.06±0.32ab 0.0952
Tonic immobility 1.40±0.30 1.20±0.23 1.23±0.26 1.21±0.12 0.0820
induction
Tonic immobility 37.50±2.14a 26.33±1.56b 26.83±1.20bc 25.50±1.12ac 0.001
duration (sec)
ab
Mean along rows with different superscripts are significantly different (P<0.05)
ที่มา: Mousa-Balabel et al. (2017)

จากตารางที่ 4 เห็นว่าการใช้แสงสีเขียวสลับแสงสีฟ้ามีผลต่อการนอนดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 160.6


วินาที แสงสีขาวส่งผลต่อการจิกพื้นมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 2.84 ครั้ง แต่การใช้สีของแสงทุกสี คือ แสงสีขาวที่
เป็นตัวควบคุม แสงสีฟ้า แสงสีเขียว และแสงสีเขียวสลับกับแสงสีฟ้าไม่มีผลต่อการไซร้ขน การกระพือปีก และ
การไม่เคลื่อนไหว
นอกจากนี้ Blatchford et al. (2009 อ้างโดย Mousa-Balabel et al., 2017) รายงานว่า
แสงได้รับการรับรองเป็นอย่างดีว่ามีประสิทธิภาพต่อการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน

ผลของสีของแสงต่อการตอบสนองของวัคซีน ND ในไก่เนื้อ
Mousa-Balabel et al. (2017) ศึกษาไก่สายพันธุ์ Cobb จานวน 240 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 3 ซ้า
กลุ่มแรกโดยใช้แสงสีขาวเป็นตัวควบคุมผล กลุ่มที่สองใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สามใช้แสงสีฟ้า และกลุ่มที่สี่ใช้แสงสี
เขียวสลับกับสีฟ้าสลับทุกๆ 4 ชั่วโมง ในช่วงแรก 0-7 วัน ใช้ความเข้มแสง 40 ลักซ์ 24 ชั่วโมง หลังจาก 7 วัน
ใช้ความเข้มแสง 25 ลักซ์ ให้แสง 23 ชั่วโมง สาหรับผลของสีของแสงต่อการตอบสนองต่อวัคซีน ดังแสดงใน
ตารางที่ 5

ตารางที่ 5. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่อการตอบสนองของวัคซีน ND ในไก่เนื้อ


Light Color
White(Control) Green Blue Green×Blue P-value
a b b
NVD Titer 0.087±0.006 3.09±0.046 3.15±0.017 3.76±0.044c 0.001
ab
Mean along rows with different superscripts are significantly different (P<0.05)
ทีม่ า: Mousa-Balabel et al. (2017)
13-8

ผลจากตารางที่ 5 การใช้แสงเขียวสลับกับแสงสีฟ้ามีค่า การตอบสนองต่อวัคซีนดีที่ สุด มีค่าเท่ากับ


3.76 เมื่อเทียบกับแสงสีขาวที่เป็นตัวควบคุม แสงสีฟ้า และแสงสีเขียว อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05)
เช่นเดียวกับ Firouzi et al. (2014) ศึกษาไก่พันธุ์ ROSS308 จานวน 40,000 ตัว เลี้ยงแบบคละเพศ
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10,000 ตัว ระยะการเลี้ยง 0-42 วัน กลุ่มแรกใช้แสงสีเขียว กลุ่มที่สองใช้แสงสีฟ้า
กลุ่มที่สามใช้แสงสีแดง และกลุ่มที่สี่ใช้แสงสีเหลืองโดยใช้ความเข้มแสง 25 ลักซ์ สาหรับผลของสีของแสงต่อ
การตอบสนองต่อวัคซีน ดังแสดงในตารางที่ 6

ตารางที่ 6. ผลการใช้สีของแสงที่แตกต่างกันต่อค่าแอนติบอดีในการตอบสนองของวัคซีน ND ในไก่เนื้อ


Items Day 8 Day 18 Day 30 Day 42
a a
Green 3.2±0.2 1.82±0.3 3.10±0.1a 4.12±0.3a
Blue 3.4±0.2a 1.70±0.2ab 3.16±0.1a 4.10±0.2a
Red 3.4±0.1a 1.66±0.1b 3.00±0.3a 3.96±0.5a
Yellow 3.3±0.2a 1.72±0.3ab 3.08±0.2a 3.98±0.4a
ab
Mean in the same colum with different superscripts differ significantly (P<0.05)
ที่มา: Firouzi et al. (2014)

ผลจากตารางที่ 6 การตอบสนองต่อวัคซีนในวันที่ 18 มีค่าการตอบสนองต่อวัคซีนที่แตกต่างกัน โดย


การเลี้ยงด้วยแสงสีเขียว มีค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับแสงสีฟ้า แสงสีแดง และแสงสีเหลือง (P<0.05) ส่วนการ
ตอบสนองต่อวัคซีนในวันที่ 8, 30 และ 42 ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05)

สรุป
การศึกษาผลของสีของแสงต่อสมรรถภาพการเลี้ยงไก่เนื้อ พบว่า แสงสีเขียว และแสงสีฟ้า มีผลทาให้
น้าหนักตัวเพิ่มมากขึ้น อัตราการแลกเนื้อมีค่าที่เหมาะสมที่สุด และการตอบสนองต่อวัคซีน ND ดีที่สุดสามารถ
เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่เนื้อ เมื่อเทียบกับแสงสีขาว แสงสีแดง และแสงสี
เหลือง ส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกของไก่เนื้อ การเลี้ยงด้วยแสงสีเขียวสลับสีฟ้าสามารถแสดงถึงพฤติกรรมการ
พักผ่อนดีที่สุด แสงสีขาวมีการจิกพื้นมากที่สุด และสีของแสงทุกสีไม่มีผลต่อพฤติกรรมการไซร้ขน การกระพือ
ปีก การไม่เคลื่อนไหว

เอกสารอ้างอิง
กรมปศุสัตว์. 2548. ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ในประเทศ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.
dld.go.th. (เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2560).
กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. โรคในไก่เนื้อ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.
region7.dld.go.th (เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2560).
เกรียงไกร วิฑูรย์เสถียร ,นวลอนงค์ สินวัต. 2553. หลักสูตร Poultry Welfare Officer 2. ใน: เอกสาร
ประกอบการสัมมนากรมปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมสัตว
แพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก.
โครงการการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ. 2546. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า . (ออนไลน์). สืบค้น
จาก: http//www.rmutphysics.com/physics/oldfront/100/2/emw1.htm (เข้าถึงเมื่อ 21
กันยายน 2560).
13-9

Bradley T.H. 2015. The effect of light color on performance and immune response Of broiler
chicken. Undergraduate Research Thesis Department of Animal Science. Ms University
of Arkansas.
Classen H.L., C.B. Annett, K.V. Schwean-Lardner, R. Gonda, and D. Derow. 2004. The effects of
lighting programs with twelve hours of darkness per day provided in one, six or
twelve hour intervals on the productivity and health of broiler chickens. Br. Poult.
Sci. 45:S31–S32.
Firouzi S., H.H. Nazarpak, H. Habibi, S.S. Jalali, Y. Nabizadeh, F. Rezaee, R. Ardali, and M.
Marzban. 2014. Effect of color light on performance, immune response and
hematological indices of broilers. J. World’s Poult. Res. 4:52-55.
Hassan, R., S. Sultana, H.S. Choe, and K.S. Ryu. 2014. A Comparison of Monochromatic and
Mixed LED Light Color on Performance, Bone Mineral Density, Meat and Blood
Properties, and Immunity of Broiler Chicks. J. Poult. Sci. 51:195-201.
Lewis, P.D. and T.R. Morris, 2000. Poultry colored effects of color and intensity of light on
behavioral and light. J. World’s Poult. Sci. 56:189-207.
Mohamed, R.A., M.M. Eltholth, and N.R. El-Saidy, 2014. Rearing broiler chickens under
monochromatic blue light improve performance and reduce fear and stress during
pre-slaughter handling and transportation. Aust. J. Basic & Appl. Sci. 30:457-471.
Mouse-Balabel T.M., R.A. Mohamed, M.M. Saleh, 2017. Using different light color as a stress
factor on broiler performance in Egypt. Aust. J. Basic & Appl. Sci. 11:165-170.

You might also like