You are on page 1of 12

28-1

วิชาสัมมนา (515-497)

เรื่อง
ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ติซอลกับความเครียดของแพะ
Relationship between cortisol hormone and stress of goats

โดย
นางสาว ศรวณีย์ วงศ์กองแสง
รหัสนักศึกษา: 5810610077
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไชยวรรณ วัฒนจันทร์

ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาคการศึกษาที่ 1/2561
วันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ
จากการรวบรวมเอกสารพบว่า คอร์ติซอล คือ ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตส่วนนอก เมื่อร่างกาย
ตกอยู่ในภาวะที่มีความเครียดร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอลเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความเครียดโดยจะส่งผล
กระทบต่อสัตว์ คือ ทาให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว สัตว์แสดงอาการตื่นตัว กล้ามเนื้อสั่น เกร็ง มีอุณหภูมิ
ร่างกายสูง โดยทั่วไปร่างกายแพะจะมีระดับคอร์ติ ซอลอยู่ในช่วง 42 – 82 nmol/L แต่เมื่อแพะอยู่ในสภาวะ
เครียดระดับคอร์ติซอลจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก อุณหภูมิ ความหิว ความกระหาย ความกดดัน

คาสาคัญ: คอร์ติซอล ความเครียด แพะ

___________________________________________________________________________________________
*E- mail address: Sarawanee.miss@gmail.com (นางสาว ศรวณีย์ วงศ์กองแสง)
เอกสารนาเสนอใน วิชาสัมมนา 515-497 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์ ประจาภาคที่1 ปีการศึกษา2561
วันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
28-2

ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ติซอลกับความเครียดของแพะ
Relationship between cortisol hormone and stress of goats
บทนา
ปัจจุบันการทาปศุสัตว์ของประเทศไทย ไม่ใช่มีแค่การเลี้ยงโคเนื้อ โคนม ไก่ไข่ ไก่เนื้อ และสุกร ที่มี
การพัฒนายกระดับการเลี้ยง การปรับปรุงสายพันธุ์ หรือการยกระดับมาตรฐานการผลิต แต่ทว่าการเลี้ยงแพะ
ในประเทศไทยปัจจุบัน มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่ให้ความสาคัญมา
โดยตลอดเช่นกัน เนื่องจากเนื้อแพะจัดว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะเมื่อเทียบกับสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไปจะ
มีโปรตีนที่ย่อยได้สูงกว่า ในขณะที่มีไขมันต่ากว่า ปัจจุบันสังคมทั่วโลกให้ความสาคัญกับสวัสดิภาพของสัตว์เพิ่ม
มากขึ้นและยังคงเป็นปัจจัยสาคัญในการผลิต ซึ่งการเลี้ยงแพะย่อมเกี่ยวข้องกับการจัดการและสภาพแวดล้อม
ต่าง ๆ ที่อาจทาให้แพะเกิดความเครียด เช่น สภาพแวดล้อมที่มีอุณ หภูมิสูง การจากัดน้าและอาหาร (Kruger
et al., 2016) ความเครียดจึงมีความสาคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยง การให้ผลผลิต และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของแพะ โดยเมื่อสัตว์อยู่ในสภาวะเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่ง
เป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตีย รอยด์ที่สร้างและหลั่งจากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีหน้าที่ส าคัญในการ
ตอบสนองต่อความเครียด โดยคอร์ติซอลจะช่วยเพิ่มระดับน้าตาลในเลือด กระตุ้นการสูบฉีดเลือด ระงับยับยั้ง
การทางานของระบบภูมิคุ้มกันทาให้ร่างกายของสัตว์อ่อนแอ (เพทาย, 2538) ขณะที่ Pighin et al. (2013)
รายงานว่าระดับคอร์ติซอลที่สู งมีผลต่อคุณภาพเนื้อ ขณะที่ Sakkinen et al. (2004 อ้างโดย Kruger et al.,
2016) กล่าวว่าการวัดระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอลในเลือดถือเป็นวิธีวัดความเครียดที่ได้รับการยอมรับ
ดังนั้น การทาสั มมนาในครั้ งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสั มพันธ์ของ
ฮอร์โมนคอร์ติซอลกับความเครียดของแพะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นตอนการทางานของฮอร์โมนชนิดนี้
และเพื่อจะหาแนวทางในการลดความเครียดของแพะต่อไปในอนาคต
28-3

คอร์ติซอล (Cortisol)
คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่จัดอยู่ในกลุ่ม สเตอร์รอยฮอร์โมน (steroid hormones) เป็นฮอร์โมนที่มี
โครงสร้างคล้ายโคเลสเตอรอล (cholesterol) ขับจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) ซึ่งต่อมหมวก
ไตส่วนนอกทาหน้าที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติคอย (corticoid hormones) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ประกอบด้วยกลูโค
คอร์ติคอยฮอร์โมน (glucocorticoid hormone) เช่น cortisol และ corticosterone (เพทาย, 2538)
ในการขนย้ายคอร์ติคอยไปยังอวัยวะเป้าหมายจาเป็นต้องมีโปรตีนในพลาสมาช่วยในการเคลื่อนย้าย
การควบคุมการสังเคราะห์ฮอร์โมนคอร์ติคอยเกิดจากการทางานของ อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิคฮอร์โมน
(adrenocorticotrophic hormone : ACTH) ในลักษณะ negative feedback กล่าวคือกลูโคคอร์ติคอยที่
ผลิตจากต่อมหมวกไตส่วนนอกจะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคโทรฟิน รีเลสซิงฮอร์โมน (corticotrophin-
releasing hormone : CRH) ทาให้ลดการหลั่ง ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (ภาพที1่ ) นอกจากนั้นกลูโค
คอร์ติคอยอาจมีผล negative feedback ต่อต่อมใต้สมองโดยตรง นอกจากนี้การควบคุมระดับกลูโคคอร์ติ
คอยมีปัจจัยเนื่องจากเวลาของวันมาเกี่ยวข้องด้วย คือในเวลากลางคืนระดับ cortisol จะต่ากว่าในเวลา
กลางวัน (เพทาย, 2538)

ภาพที่ 1. แสดงการขับคอร์ติซอล
ที่มา: Jasmer (2018)
28-4

กลไกการทางานของคอร์ติซอล
สายลม และคณะ (2547) กล่าวว่าเมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดสัตว์จะหลั่งฮอร์โมน Cortisol
ฮอร์โ มนดังกล่ าวจะส่ งผลกระทบต่อสัตว์ ทาให้ความดันโลหิ ตสู งและหั ว ใจเต้นเร็ว สั ตว์จะมีอาการตื่นตัว
กล้ามเนื้อสั่น เกร็ง มีอุณหภูมิร่างกายสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิ ความหิว ความกระหาย ความกดดัน
ขณะที่ เพทาย (2538) รายงานการออกฤทธิ์ของคอร์ติซอล ดังนี้
1. กระตุ้นการผลิตกลูโคส (Gluconeogenesis) ขึ้นที่ตับ
2. เพิ่มการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนให้เป็นคาร์โบไฮเดรต ทาให้ตับมีไกลโคเจนเพิ่มขึ้น เป็นแหล่งของ
กลูโคสในเลือดต่อไป นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการนากลูโคสเข้าเซลล์ โดยเฉพาะเซล์กล้ามเนื้อ และ เซลล์
ไขมัน (Adipose tissue)
3. เพิ่มการสลายไขมัน (Lipolysis)
4. ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน และ เพิ่มการสลายรโปรตีน เพื่อให้ได้พลังงานไปสนับสนุนการผลิต
กลูโคสจากกรดอะมิโนที่ได้จากการสลายโปรตีน ดังนั้นการทางานของฮอร์โมนคอร์ติคอยอย่างต่อเนื่องจะทาให้
มีปัญหากล้ามเนื้อลีบ และ กระดูกผุกร่อน
5. กระตุ้นให้ไตมีการขับน้ามากขึ้น เนื่องจากไปยับยั้งการทางานของ ADH
6. ยับยั้งการเกิดการอักเสบ โดยการทาให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว มีของเหลวออกสู่เนื้อเยื่อ มีเม็ดเลือด
ขาวมาที่บริเวณเกิดการอักเสบ

สาเหตุของความเครียดในแพะ
1. ความเครียดจากความร้อน
ความเครียดเนื่องจากความร้อน หมายถึง สภาวะที่สัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ได้ (นาม และสิทธิชัย, 2557) สัตว์จะแสดงความเครียดออกมาโดยสังเกตได้จากพฤติกรรมสัตว์ เช่น การกิน น้า
มากกว่าปกติ การแสดงอาการหายใจทางปาก การพักผ่อนในที่ร่ม การนอนที่ชื้นแฉะหรื อการลงไปแช่น้า การ
กินอาหารน้อยลงซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นต้น ซึ่งอุณหภูมิที่สัตว์อยู่สบาย (Comfort zone)
ของแพะคือ 20 - 30 °C ในพื้นที่เขตร้อน และ 13 - 20 °C ในพื้นที่เขตอบอุ่น (สุรพล, 2537) ความร้อนที่เป็น
สาเหตุทาให้สัตว์เกิดความเครียดมี 2 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ ความร้อนจากสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดดในฤดู
ร้อน อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น และความร้อนที่มาจากตัวของสัตว์เอง เช่น กระบวนการ Metabolism ใน
ร่างกายสัตว์ (สุรพล, 2537)
ผลกระทบที่เกิดจากความเครียดจากความร้อน เช่น ผลต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ ผลต่อพฤติกรรม
การเล็มหญ้า เพราะสัตว์จะเลือกแทะเล็มหญ้าในช่วงเวลาที่อากาศเย็นทาให้สัตว์แทะเล็มหญ้าน้อยในแต่ละวัน
และส่งผลไปยังการเจริญเติบโตในที่สุด (สุรพล, 2537) ดังแสดงในภาพที่ 2
28-5

ภาพที่ 2. แสดงกลไกการเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อนในแพะ
ที่มา: Sejian (2015)

2. ความเครียดจากการอดนา
น้ามีความสาคัญต่อร่างกายมาก เพราะเป็นส่วนประกอบของอวัยวะต่าง ๆ ช่วยในการดูดซึ มอาหาร
การขนส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การหมุนเวียนโลหิต และการขับถ่ายของเสียออกจาก
ร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยระบายความร้อนได้อีกด้วย (เอกชัย, 2546) สัตว์มีความต้องการน้าแตกต่างกันตาม
ชนิด หน้าที่และสรีรวิทยาของสัตว์ตลอดจนสภาพของดินฟ้าอากาศและปัจจัยอื่น ๆ แต่โดยทั่ว ๆ ไป แพะ
ต้องการน้า 6 - 12 ลิตรต่อตัวต่อวัน (พานิช, 2535) สัตว์ขาดน้าจะตายเร็วกว่าขาดอาหาร Mcdonal et al.,
(1973 อ้างโดย พานิช, 2535) รายงานว่าถ้าร่างกายสูญเสียไขมันไปทั้งหมด หรือสูญเสียโปรตีนมากกว่าครึ่ง
ของที่มีในร่างกายสัตว์ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าร่างกายสูญเสียน้าไปเพียง 1 ใน 10 ของที่มีอยู่ เช่นกรณี
เสียเลือด อาเจียน หรือท้องเสีย สัตว์จะถึงแก่ความตายทันที
ผลกระทบที่ เ กิด จากการที่ ร่ างกายสั ต ว์ข าดน้ า คื อ ถ้า สั ต ว์ไ ด้ รับ น้ าดื่ ม น้อ ยอาจจะท าให้ สั ตว์ เ กิ ด
ความเครียดและทาให้สัตว์กินอาหารได้น้อย เป็นผลให้อัตราการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตลดลง ส่วนผลที่
กระทบถึงสุขภาพสัตว์เมื่อสัตว์ขาดน้าก็คือ สัตว์จะรู้สึกไม่สบาย เบื่ออาหาร ทาให้อุณ หภูมิในร่างกายสูงขึ้น
เนื่องจากเลือดขาดน้าทาให้การหมุนเวียนของเลือดฝืดช้า เซลล์ในร่างกายจึงระบายความร้อนได้ช้าลง
28-6

3. ความเครียดจากการอดอาหาร
แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่สามารถกินอาหารได้จุกว่าแกะและโค ถ้าคิดตามน้าหนักตัวแล้วแพะจะกินได้
มากถึง 6.5 - 11 เปอร์เซ็นต์ของน้าหนักตัว ในขณะที่โคและแกะกินได้เพียง 2.5 - 3 เปอร์เซ็นต์ของน้าหนักตัว
เท่านั้น
เมื่อสัตว์ได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรืออยู่ในภาวะอดอาหาร ทาให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ร่างกาย
ต้องการใช้ในการสร้างกลูโคส ซึ่ง อาจทาให้เกิดภาวะน้าตาลในเลือดและในสมองต่าได้ดังนั้นเมื่ออยู่ในสภาวะ
ดังกล่าวร่างกายจึงผลิต กลูโคคอร์ติคอยเพื่อกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนบางตัวเป็น
กลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน (gluconeogenesis) เรียกว่า กลูโคสสแปริ่งเอฟเฟ็ก (glucose –
sparing effect) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สาคัญ เพราะจะมีผลในการเผื่อน้าตาลกลูโคสไว้ ให้สมองใช้งานได้
ตลอดเวลา
ผลกระทบที่เกิดจากการที่สัตว์ได้รับอาหารไม่เพียงพอ คือจะทาให้สัตว์ อ่อนแอ กล้ามเนื้อสลายตัว
น้าหนักตัว ลดลง ในลูกสัตว์จะขาดสารอาหารเพราะแม่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะทาให้ลูกสัตว์ชะงักการ
เจริญเติบโต ทาให้แคระแกร็น ในสัตว์ที่กาลังท้องอาจทาให้สัตว์แท้งลูก นอกจากนี้ยังมีผลทาให้สมรรถภาพการ
สืบพันธุ์ของสัตว์ลดลงอีกด้วย (พานิช, 2535)

ความเข้มข้นของคอร์ติซอลในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทาให้เกิดความเครียด
Kruger et al. (2016) ทาการศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดของแพะพันธุ์พื้นเมือง
แอฟริกาใต้จานวน 36 ตัว อายุ 10 - 12 เดือน น้าหนักอยู่ระหว่าง 22 - 26 kg โดยแบ่งแพะออกเป็น 6 กลุ่ม
ๆ ละ 6 ตัว โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับความเครียดรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ความเครียดที่เกิดจากการจัดการทดลอง
โดยไล่ต้อนแพะ ให้แพะวิ่งเร็ว ๆ เป็นเวลา 10 นาที ความเครียดจากความร้อนทดลองโดยให้แพะอยู่ในคอกที่
โดนแสงแดดโดยตรงที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง และไม่ให้แพะกินน้าในระหว่างการทดลอง
ความเครียดจากการอดอาหารทาการทดลองโดยให้แพะอดอาหารเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ความเครียดจากการอด
น้าทดลองโดยให้แพะอดน้าเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แต่มีการให้อาหารแบบเต็มที่ระหว่างการทดลอง ความเครียด
ที่เกิดจากการจัดการและความร้อนทดลองโดยให้แพะอยู่ในคอกที่โดนแสงแดดโดยตรงที่อุณหภูมิ สูงกว่า 30 °C
เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นมีการผสมยาถ่ายพยาธิลงในน้าให้แพะกิน และความเครียดที่เกิดจากความร้อน
การอดน้าและการอดอาหารทาการทดลองโดยให้แพะอดน้าและอาหารเป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากนั้นให้แพะ
อยู่ในคอกที่โดนแสงแดดโดยตรงที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นทาการเจาะเลือดแพะ
ที่ได้รับความเครียดในรูปแบบต่างๆในระยะเวลาที่แตกต่างกัน คือนาทีที่ 0, 15, 30, 45, 60 และ 90 นาที เพื่อ
หาระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอลในเลือดแสดงในตารางที่ 1
28-7

ตารางที่ 1: ระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอลในเวลาที่แตกต่างกัน (nmol/L)


Time (min) HandStr1 HtStr2 FDS3 WDS4 HtHandSt5 HtFdWst6
0 314.2a 133.4c,d 35.0c,d 86.5b,c 203.8b 168.6b,c
15 229.0b 76.66c,d 67.8c,d 95.6b,c 191.5b,c 165.5b,c
30 161.9b 61.5c,d 94.0b,c,d 98.2b,c 181.5b,c 133.1b,c
45 129.1b,c 63.5c,d 56.2c,d 70.1b,c 150.3b,c 125.0b,c
b c,d c,d c,d b,c
60 199.3 73.3 69.2 58.7 152.5 202.9b
90 96.9b,c,d 105.4b,c,d 36.4c,d 45.2d 129.1b,c 157.6b,c
a, b, c, d
Means with the same superscript do not differ significantly at a 5% significance level (P=0.05).
LSDp = 0.05 = 79.035.
Standard Error of Means = 27.81.
1
HandStr = handling stress.
2
HtStr = heat stress.
3
FDS = food deprivation stress.
4
WDS = water deprivation stress.
5
HtHandSt = heat and handling stress.
6
HtFdWst = Heat, food deprivation and water deprivation stress.
ที่มา: Kruger et al. (2016)

ผลจากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าการที่แพะได้รับความเครียดที่เกิดจากการจัดการ ในนาทีที่ 0, 15


และ 60 มีระดับคอร์ติซอลแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P=0.05) กับระดับคอร์ติซอลมาตรฐาน (42 –
82 nmol/L) แพะที่ได้รับความเครียดจากความร้อน ความเครียดจากการอดอาหาร มีระดับคอร์ติซอลแตก
ต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (P=0.05) กับระดับคอร์ติซอลมาตรฐาน ระดับคอร์ติซอลของแพะที่ได้รับ
ความเครียดจากการอดน้ามีค่าต่ากว่าระดับคอร์ติซอลมาตรฐาน แพะที่ได้รับความเครียดที่เ กิดจากการจัดการ
และความร้อนมีระดับคอร์ติซอลแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ (P=0.05) กับระดับคอร์ติซอลมาตรฐาน ใน
นาทีที่ 0, 15 และ 30 และระดับคอร์ติซอลของแพะที่ได้รับความเครียดที่เกิดจากการความร้อน การอดอาหาร
และอดน้าแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P=0.05) กับระดับคอร์ติซอลมาตรฐาน ในนาทีที่ 60

ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ติซอลกับความเครียดของแพะ
ความสัมพันธ์ของคอร์ติซอลกับการขนส่งแพะ
Nwe et al. (1995) ได้ทาการศึกษาระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอล และระดับกลูโคสในเลือดของ
แพะพันธุ์พื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น อายุ 9 วัน ทดลองโดยนาแพะใส่คอกไม้แล้วบรรทุกด้วยรถบรรทุก เป็น
เวลา 6 ชั่วโมง ระยะทาง 140 km เจาะเลือดที่เวลา 0 และ 30 นาที จากนั้นเจาะเลือดทุก ๆ 1 ชั่วโมงระหว่าง
การเดินทาง ได้แก่ ชั่วโมงที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 เมื่อสิ้นสุดการเดินทางเจาะเลือดอีกครั้งในชั่วโมงที่ 9, 12, 18
และ 24
28-8

ผลจากการวัดระดับความเข้มข้ นของคอร์ติซอลแสดงให้เห็นว่า คอร์ติซอลเพิ่มขึ้นภายใน 30 นาที


(P<0.01) และเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งค่าอยู่ที่ 166 ng/ml โดยเฉลี่ยสูงกว่าตอนก่อนขนส่ง (42
ng/ml) เป็น 4 เท่า หลังจากสิ้นสุดการเดินทางแล้วความเข้มข้นของคอร์ติซอลลดลงกลับสู่ค่าเดิมภายใน 3
ชั่วโมง และผลของระดับกลูโคสในเลือดของแพะแสดงให้เห็นว่า ระดับน้าตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น (P<0.01)
อย่างรวดเร็วทันทีหลังเริ่มการขนส่ง ซึ่งค่าอยู่ที่ 165 mg/dl และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับสูงสุดที่เวลา
3 ชั่วโมง ซึ่งค่าอยู่ที่ 264 mg/dl แล้วลดลงกลับไปสู่ค่าเดิม (67 mg/dl) ในเวลาเดียวกันกับระดับคอร์ติซอล
ดังแสดงในภาพที่ 3

Time (Hour)
Plasma levels of (a) cortisol ( ) and (b) glucose ()
ภาพที่ 3. ระดับคอร์ติซอลและกลูโคสในแพะก่อนขนส่ง ระหว่างขนส่ง และหลังขนส่ง
ที่มา: ดัดแปลงจาก Nwe et al. (1995)

ขณะที่ Tajik et al. (2016) ทาการศึกษาระดับคอร์ติซอลในแพะ Iranian cashmere อายุระหว่าง 1


– 3 ปี น้าหนักตัวระหว่าง 20 – 30 kg จานวน 10 ตัว โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มเพศผู้จานวน 5 ตัว และ
กลุ่มเพศเมียจานวน 5 ตัว ทาการทดลองโดย เก็บตัวอย่างเลือดในตอนเช้าของวันแรก (T1) และเก็บอีกครั้ง
หลังการอดน้าและอาหาร 3 ชั่วโมง (T2) ในวันที่สองทาการการเก็บตัวอย่างเลือดก่อนที่จะขนส่ง (T3) เก็บอีก
ครั้งหลังเริ่มขนส่ง 3 ชั่วโมง (T4) และเก็บครั้งสุดท้ายหลังการขนส่ง 24 ชั่วโมง (T5)
ผลจากการศึกษาพบว่า ระดับของคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.001) แสดงให้
เห็นว่าการขนส่งมีผลทาให้ร ะดับของคอร์ติซอลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติและเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องจนถึง 24 ชั่วโมงหลังการขนส่ง (P=0.07) ดังแสดงในตารางที่ 2
28-9

ตารางที่ 2: ความเข้มข้นของคอร์ติซอลในซีรมั (mean ± SEM)


Parameter sex Parameter Time
T11 T22 T33 T44 T55
Cortisol Male goats 2.44 ± 3.81 10.50 ± 0.86 11.44 ± 0.85 25.16.± 3.15 29.64 ± 2.38
(g/dl) Female goat 31.66 ± 2.71 12.30 ± 1.26 14.16 ± 1.45 24.16 ± 1.92 28.64 ± 3.65
All sampled goats 29.55 ± 2.3 11.40*± 0.78 12.80* ±0.91 24.66* ± 1.74 29.14** ± 2.06
1
T1 = before food and water deprivation at first day.
2
T2 = 3 hours food and water deprivation at first day.
3
T3 = before transportation at second day.
4
T4 = 3 hours after transportation at second day.
5
T5 = 24 hours after arrival.
*Significant change in comparison sampling (P<0.05) **(P=0.07)
ที่มา: ดัดแปลงจาก Tajik et al. (2016)

ระดับความเข้มข้นของคอร์ติซอลในเลือดแพะที่ได้รับการฉีดยาชา
Saidu et al. (2016) ทาการศึกษาระดับคอร์ติซอลในแพะพันธุ์ซาเฮล (Sahel) ที่ได้รับการผ่าตัด
กระเพาะรูเมนโดยใช้ยาชา อายุ 15 เดือน (15±4.12 เดือน) น้าหนัก 14.4 – 21 kg โดยแบ่งแพะออกเป็น 3
กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว ได้แก่ แพะกลุ่ม A ได้รับ 2% Lidocaine HCL 4 mg/kg กลุ่ม B ได้รับ 0.5%
Bupivaccaine 15 mg/kg และกลุ่ม C เป็นกลุ่มควบคุม หลังจากฉีดยาชาเป็นเวลา 5 นาที จึงเก็บตัวอย่าง
เลือด จากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดหลังการผ่าตัดกระเพาะรูเมนที่เวลา 0, 5, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง
ซึง่ ผลจากการวัดระดับคอร์ติซอลแสดงให้เห็นว่าแพะกลุ่ม A มีระดับคอร์ติซอลสูงสุด คือ 72.53±3.79
ng/mL รองลงมาคือแพะกลุ่ม B คือ 61.59±3.90 ng/mL โดยระดับคอร์ติซอลของแพะกลุ่ม A มีค่าสูงกว่า
กลุ่ม B และ C อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในชั่วโมงที่ 5, 24 และ 48 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับระดับคอร์ติ-
ซอลก่อนที่จะได้รับยา (baseline) ส่วนระดับคอร์ติซอลของกุ่ม B ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับระดับคอร์ติ -
ซอลก่อนได้รับยา จนถึงชั่วโมงที่ 5 (P>0.05) และเพิ่มขึ้นสูงสุดในชั่วโมงที่ 8 ซึ่งค่าอยู่ที่ 61.59±3.90 ng/mL
แต่ระดับคอร์ติซอล ของกลุ่ม A,B และ C แตกต่างอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (P>0.05) ในชั่วโมงที่ 72 แสดง
ในตารางที่ 3
ตารางที่ 3: ค่าเฉลี่ยของระดับคอร์ติซองในเลือดของแพะหลังได้รับยา (PAI) และหลังการผ่าตัดในช่วงเวลาต่างๆ
G.3 baseline PAI (5mins) M1 ± SD2 of serum cortisol values (ng/ml) at various periods post - surgery
0h 5h 8h 24 h 48 h 72 h
a a a b c d c
A 16.21±2.69 15.65±1.18 16.55±1.88 52.76±6.12 72.53 ±3.79 61.71±5.06 37.10±14.21 20.53± 8.74a
B 14.75±0.83a 14.18±0.15a 14.5±0.48a 14.95±1.63a 61.59±3.90b 43.44 ±9.64c 17.44±3.46a 17.59± 2.45a
C 16.51±2.99a - - - - - - 15.64± 0.83a
1
M = mean
2
SD = Standard Diviation
3
G. = Group
ที่มา: Saidu et al. (2016)
28-10

ผลของความเครียดต่อคุณภาพของเนือแพะ
จุฑารัตน์ (2540) กล่าวว่า การที่สัตว์สามารถควบคุมการทางานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้คืน
อยู่ในสภาพปกติเมื่อตกอยู่ใต้สภาวะของความเครียดนั้น ทุก ๆ ระบบการทางานในร่างกายจะต้องทางานหนัก
ขึ้น และแน่นอนว่าความต้องการพลังงานจะต้องเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งแหล่งที่มาของพลังงานในร่ างกายนั้นได้มา
จากกระบวนทางเคมีที่สาคัญ 2 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการย่อยสลายไกลโคเจนใช้ออกซิเจน (aerobic metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยน
น้าตาลในกล้ามเนื้อและตับ (glycogen) โดยผ่านกระบวนการ glycolysis
2. กระบวนการย่อยสลายไกลโคเจนโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic metabolism) เป็นกระบวนการ
ย่อยสลายไกลโคเจนที่ไม่ต้องการใข้ออกซิเจนโดยไกลโคเจนในเนื้อจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกรด pyruvic และ
ต่อจากนั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดแลกติก
ตามปกติแล้วในการทางานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสัตว์ ซึ่งต้องใช้พลังงานนั้น กระบวนการ
ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ภายใต้สภาวะของความเครียดร่างกายจะยิ่งต้องใช้พลังงานเพิ่ม
มากขึ้น มีผลทาใก้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจน จึงทาให้กระบวนการ aerobic metabolism เป็นไปได้ไม่เต็มที่
ร่างกายจึงต้องเร่งสร้างพลังงานโดยผ่านกระบวนการ anaerobic metabolism
ขณะที่พิมพ์เพ็ญ (2553) รายงานว่าความเครียดมีผลต่อคุณภาพซากและเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อ โค
เนื้อสุกร เนื้อแพะ และเนื้อแกะ ดังนี้

ภาพที่ 4. ผลของความเครียดต่อคุณภาพเนื้อ
ที่มา: พิมพ์เพ็ญ (2553)

1. Dark Firm Dry (DFD) เป็นลักษณะที่ไม่ต้องการของเนื้อสัตว์ คือ มีสีเข้ม (dark) เนื้อแน่น (firm)
เหนียวผิดปกติ และผิวหน้าแห้ง ไม่ชุ่มชื้น (dry) มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี สัตว์มีสภาวะเครียด อดอยาก
ขาดอาหาร บาดเจ็บหรือมีโรค เมื่อสัตว์ตายค่า pH ของเนื้อสัตว์จึงสูงผิดปกติ เพราะเกิดกรดแล็กทิกจากการ
สลายตัวของไกลโคเจนปริมาณน้อย ทาให้รสชาติไม่ดี เนื้อสัมผัสแข็งเหนียว
2. Pale Soft Exudative (PSE) เป็นลักษณะของเนื้อสัตว์ที่ไม่ต้องการเช่นกัน ลักษณะคือ มีสีซีด (pale)
เนื้อนิ่ม (soft) มีน้าเยิ้ม (exudative) เกิดกับสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูปกติ มีระดับไกลโคเจนในกล้ามเนื้อปกติ
แต่สัตว์ที่มีความเครียดระยะสั้นๆ ก่อนถูกฆ่า เช่น ระหว่างการขนส่งไปโรงฆ่าสัตว์ สัตว์ดิ้นรนต่อสู้ ด้วยความ
ตกใจ หวาดกลัว การฆ่าด้วยความรุนแรง ทารุณ เป็นต้น
28-11

สรุป
จากการรวบรวมข้อมูล ความสั มพันธ์ของคอร์ติซอลกับความเครียดในแพะ พบว่า คอร์ติซอลเป็น
ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเมื่อเกิดความเครียด และมีผลกระทบในด้านลบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันทางานได้
ลดลง น้าหนักตัวลดลง จึงเป็นผลที่ไม่ดีต่อประสิทธิภาพการผลิ ตของสัตว์ ดังนั้นในการลี้ยงแพะจึงจาเป็น
จะต้องควบคุม หรือ ป้องกันไม่ให้แพะได้รับความเครียด หรือ มีความเครียดน้อยที่สุด

เอกสารอ้างอิง
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2540. การจัดการโรงฆ่าสัตว์. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์. คณะเทคโนโลยี การ
เกษตร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.
พานิ ช ทิ น นิ มิ ต ร. 2535. โภชนาศาสตร์ สั ต ว์ ป ระยุก ต์ . ภาควิ ช าสั ต วศาสตร์ คณะทรั พ ยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
พานิ ช ทิ น นิ มิ ต ร. 2535. หลั ก การเลี้ ย งสั ต ว์ . ภาควิ ช าสั ต วศาสตร์ คณะทรั พ ยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ . 2555. การเปลี่ยนแปลงของเนื้อสัตว์หลังการฆ่า . (ออนไลน์ ). สืบค้นจาก:
http://www.foodnetworksolution.com (เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2561).
นาม บัวทอง และสิทธิชัย แก้วสุวรรณ. 2557. โครงการพัฒนาโคนมและคุณภาพน้านม การจัดการเลี้ยงโค
นมในช่วงอากาศร้อน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://dairydevelopmentprogram.weebly.com
(เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2561).
เพทาย พงษ์ เ พี ย จั น ทร์ . 2538. สรี ร วิ ท ยาสั ต ว์ เ ลี้ ย ง. ภาควิ ช าสั ต วศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
สายลม เกิดประเสริฐ ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา. 2547. สารวจโลกฮอร์โมน. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://li.mahidol.ac.th (เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2561).
สุรพล ชลดารงค์กุล . 2537. สุขศาสตร์สัตว์เศรษกิจ . ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
เอกชัย พฤกษ์อาไพ. 2546. คู่มือการเลี้ยงแพะ. นนทบุรี: สานักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. นนทบุรี.
Jasmer, R. 2018. Cortisol: Everything You Need to Know About the 'Stress Hormone'.
Available at:https://www.everydayhealth.com/cortisol/guide/. Accessed on 10
October, 2018.
Kruger, L.P., T.N. Nedambale, M.M. Scholtz, and E.C. Webb. 2016. The effect of
environmental factors and nusbandry practices on stress in goats. Small
Rumin. Res. 141:1-4.
Nwe, T.M., E. Hori, M. Manda, and S. Watanabe. 1995. Significance of catecholamines and
cortisol levels in blood during transportation stress in goats. Small Rumin. Res.
20:129-135.
28-12

Pighin, D.G., S.A. Cunzolo, M. Zimmerman, A.A. Pazos, E. Domingo, A.J. Pordomingo, and G.
Grigioni. 2013. Impact of Adrenaline or Cortisol Injection on Meat Quality
Development of Merino Hoggets. J. Integr. Agr. 12:1931-1936.
Saidu, A.M., P.B. Bokko, A. Mohammed, D.N. Bukbuk, and E. Igwenagu. 2016. Serum cortisol of
goats following rumenotomy with assorted anaesthetics and sutures. Int. J. Vet. Med.
4:23-26.
Sejian, V. 2015. Impact of heat stress on goat reproduction. available at:
https://www.researchgate.net. Accessed on 20 September, 2018.
Silanikove, N. 2000. Effects of heat stress on the welfare of extensively managed domestic
ruminants. Review article. Livest. Prod. Sci. 67:1–18.
Tajik, J., S. Nazifi, and R. Eshtraki. 2016. The influence of transportation stress on serum
cortisol, thyroid hormone, and some serum biochemical parameters in Iranian
cashmere (Raini) goat. Vet. Arhiv. 86:795-804.

You might also like