You are on page 1of 27

2-1

การรักษาสภาพซากสัตว์หลังการตายเพื่อการศึกษา
Post-mortem preservation for education
นางสาวรีลนิล เอกพัน รหัสนักศึกษา634261107
นายกิตติศักดิ์ ประแจนิ่ง รหัสนักศึกษา634261114

บทคัดย่อ

การรักษาสภาพร่างกายสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาลักษณะภายนอก และเพื่อศึกษาด้าน


อนุกรมวิธาน ในการศึกษารายวิชากายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ และสัตวศาสตร์ การใช้ร่างกาย
สัตว์และอวัยวะของสัตว์ ที่ผ่านการรักษาสภาพเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ อันเนื่องจาก
ทาลายเชื้อจุลชีพเช่น เชื้อรา และแบคทีเรีย แต่ขบวนการการรักษาสภาพร่างกายสัตว์ต้องดองร่าง
และตัวอย่างอวัยวะในน้ายาคงสภาพตลอดเวลาเป็นปัญหาให้ผู้เรียนยังคงได้รับไอระเหยของน้ายาคง
สภาพระหว่างการใช้ตัวอย่างในการเรียนและเกิดอันตรายจากการระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ
จากการศึ กษาการใช้น้ ายารั กษาสภาพซากสุ นั ขที่มีเกลื อ แกงที่เป็ น ส่ ว นประกอบช่ ว ยลดปริมาณ
ฟอร์มาลิน โดยเพิ่มความเข้มข้น ของเกลือแกงร้อยละ 25 สามารถลดความเข้มข้นของฟอร์มาลิ น
ให้ เหลื อเพียงร้ อยละ 0.01 สามารถป้ องกันการเน่ าของอวัยวะและช่ว ยทาให้ กล้ ามเนื้อของสุ นัข
มีสีเข้มขึ้น ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสูตรน้ารักษาสภาพที่ประกอบด้วยสารชนิดอื่นเพื่อทดแทน
ฟอร์มาลินในอัตราส่วนที่เหมาะสมทั้งต่อคุณภาพซากและความปลอดภัยต่อผู้ใช้ซากจึงมีความจาเป็น
ที่ต้องศึกษาต่อไปในอนาคต
2-2

ความสาคัญ: การรักษาสภาพร่างกายสัตว์, กายวิภาคศาสตร์, การศึกษา


สัมมนาทางสัตวศาสตร์ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาสัตว์ศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
บทนา

ปัจจุบันธุรกิจการรักษาสภาพซากสัตว์หลังการตายเติบโตได้มาก ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ


คือ ความต้องการของเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องการสตัฟฟ์สัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตเพื่อระลึกถึงและฟื้นฟู
สภาพจิตใจ โดยตัวอย่างราคาบริการสตัฟฟ์สัตว์สาหรับสุนัขและแมวอยู่ที่ 1,250 ดอลลาร์สิงคโปร์
(33,300บาท)สาหรับ 5 กิโลกรัมแรกและ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์สาหรับกิโลกรัมถัดมา นกและแฮม
สเตอร์เริ่มต้นที่ 150 ดอลลาร์สิงคโปร์(3,996บาท) 1 ดอลลาร์สิงคโปร์=26.64บาท นอกจากนี้เจ้าของ
บางรายต้องการเก็บเฉพาะส่วนของร่างกาย หรือเลือกที่จะเก็บขนหรือขี้เถ้าใส่ไว้ในเครื่ องประดับเล็ก
ๆ เป็นที่ระลึก ประการที่ 2 ความต้องการของคนในสังคมเมืองสิงคโปร์ที่ต้องการเรียนรู้กายวิภาคสัตว์
อย่างใกล้ชิด ซึ่งการสตัฟฟ์สัตว์ได้ช่วยเปิดโอกาสให้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของเยาวชน
โดยเยาวชนได้เห็นสัตว์ของจริงที่ชัดเจนกว่าในรูปภาพและหนังสือแบบเรียน นอกจากนี้ธุรกิจสตัฟฟ์
สัตว์ยังมีลู่ทางต่อยอดอื่น ๆ เช่น โอกาสสร้างความร่วมมือด้านการอนุรักษ์และศึกษาพันธุ์ พืชและสัตว์
กับองค์กรต่าง ๆ การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่แตกต่าง
และการพัฒนาหลักสูตรอบรม Taxidermy ให้กับผู้ที่สนใจกายวิภาคของสัตว์ (ทันโลกเอเชีย, 2022)
ประเทศไทยมีห น่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการสตัฟฟ์สัตว์คือ ศูนย์บริห ารคลังตัวอย่างทาง
ธรรมชาติวิทยาและสั ตว์สตัฟฟ์ ภายใต้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีผลงานการ
สตัฟฟ์สัตว์ที่หลากหลายมากกกว่า 4,000 ผลงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนศึกษาและสร้างแรง
บันดาลใจให้เยาวชนสนใจด้านธรรมชาติ รวมถึงการเป็นแนวทางสู่เส้นทางสายอาชีพนักสตัฟฟ์สัตว์ใน
อนาคต อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสตัฟฟ์สัตว์เชิงพาณิชย์ในไทยยังมีไม่แพร่หลายนัก พบว่าทั่วประเทศมีร้าน
สตัฟฟ์สัตว์ไม่เกิน 5 ราย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยสามารถพิจารณาเพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยโดยศึกษา
จากโมเดลธุรกิจและแนวทางจากบริษัทสิงคโปร์ โดยการเจาะกลุ่มลูกค้าเจ้าของสัตว์เลี้ยง เด็กและ
ครอบครัวและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการนาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งจะช่วย
พัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจได้ (ทันโลกเอเชีย, 2022)
2-3

วิวัฒนาการการรักษาสภาพตัวอย่างมนุษย์และสัตว์

การรักษาสภาพร่างกายมีต้นกาเนิดครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์ในยุคประมาณ 3,200 ปีก่อน


คริสต์ศักราช ศพหรือร่างกายที่ผ่านการรักษาสภาพ เรียกว่า “มัมมี่” (Mummy) ตลอดช่วงเวลาเกือบ
4,000 ปีนั้นได้มีการพัฒนาเทคนิคในการรักษาสภาพมากมาย โดยวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ประกอบพิธี
ทางศาสนา มีความเชื่อว่าศพจะกลับฟื้นคืนชีพได้อีกครั้งภายหลังการตายของมนุษย์และสัตว์ ในกรณี
ของสัตว์ เลี้ยงที่รักจะได้อยู่ กับเจ้าของชั่วนิรันดร์ ดังนั้นสัตว์ที่ผ่านการรักษาสภาพแล้วจะเป็นสัตว์
ศักดิ์สิทธิ์ และเหมาะสมแกการสักการบูชา และเพื่อเป็นของรางวัลแดเทพเจา นอกจากนี้มัมมี่มนุษย์
แล้วยังมีมัมมี่สัตว์เลี้ยงได้แก่ สุนัข แมว และ ลิง โคศักดิ์สิทธิ์ก็ทาเป็นมัมมี่เช่นกัน สวนแมว นก ปลา
หรือแม้กระทัง่ งูและปลาไหลก็ถูกทาเป็นมัมมี่เพื่อถวายเป็นของรางวัลแด่เทพเจ้า การทามัมมี่สัตว์ ทา
ได้ง่ายกว่ามนุษย์อย่างเช่น นกจะใช้วิธีจุ่มทั้งตัวลงไปในยางสนหลอมเหลวแล้วจึงพันห่อศพส่วนท้ายจะ
ถูกควักเครื่องในออก ทาให้ แห้วเร็ว จากนั้น จึงใช้ผ้าพันร่างกายนกไว้ ช่วงต่อมาเป็นการดองศพ
ระหว่างปี ค.ศ. 650-1861 ซึ่งเป็นช่วงต้นของการพัฒนาวิธีการดองศพในทวีปยุโรป ซึ่งในยุคนี้มี
วัตถุประสงค์การดองศพเพื่อใช้ศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ โดยการชาแหละ เรียก
ช่วงเวลาในยุคนี้ว่าเป็นยุคแห่งนักกายวิภาค การพัฒนาวิธีการรักษาสภาพร่างกายมนุษย์ในช่วงที่สาม
คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 ถึงปัจจุบัน ถือเป็นการดองศพยุคใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบพิธีทาง
ศาสนาเป็นสาคัญ การดองศพ เป็นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อเอาชนะเชื้อโรค และ
ทาให้ศพไมถูกทาลายได้ นอกจากนีก้ ารขนย้ายศพทีใ่ ช้เวลาเดินทางในระยะนาน จึงมีความจาเป็นต้อง
ยืดอายุการเก็บรั กษาศพไม่ให้ เน่ า ด้ว ยการรักษาสภาพศพให้ เหมาะกับการนาไปประกอบพิธี ทาง
ศาสนา ซึ่งจะเน้นให้ศพอยู่ ในสภาพสวยงามเหมือนธรรมชาติก่อนเสียชีวิต และเพื่อรักษาสภาพศพ
2-4

สาหรั บงานวิจัย การเรี ย นการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ (Ashraful Kabir & Trevor J.


Hawkeswood, 2020)
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวิธีการการรักษาสภาพร่างกายสัตว์ที่เสียชีวิตให้ดูเหมือนยังมีชีวิต
โดยไม่ต้องแช่น้ายาที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การสตัฟฟ์สัตว์ ” เป็นที่รู้จักและมีการทากันมาอย่าง
ยาวนาน แต่จะทาอย่างไรให้สัตว์สตัฟฟ์นั้นดูมีชีวิตและเหมือนจริงมากที่สุดสมจริงแบบ 3 มิติ
วัตถุประสงค์การเก็บรักษาสภาพเพื่อ
1. การรักษาสภาพร่างกายสัตว์เพื่อการศึกษาเป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่เน้นการรักษาลักษณะ
ภายนอกเพื่อใช้ศึกษาด้านอนุกรมวิธาน โดยมีป้ายกากับเพื่อบอกรายละเอียดชนิด เพศ สถานที่และ
วันที่เก็บตัวอย่าง ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง ขนาดและสีของตัวอย่าง
2. การรักษาสภาพร่างกายสัตว์เพื่อการจัดแสดงเป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่มีการจัดท่าทางของสัตว์
และจัดแสดงโดยอิงจากสภาพในธรรมชาติจึงต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ดังที่ได้กล่าวไป
ข้างต้น

วิธีการเก็บรักษาสภาพสัตว์
วิธีรักษาสภาพสัตว์มีทั้งหมด 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1. การทากระดูก
การทากระดูกมีประโยชน์ในการศึกษาทางด้านกายวิภาคของโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิต มี
หลักการในการศึกษา คือ การแยกชิ้นส่วน การต้ม การแช่ และการต่อ โดยการแยกชิ้นส่วนเป็นการ
เลาะเนื้ อ เยื่ อ ออกจากกระดู ก ในแต่ ล ะโครงสร้ า งออกทั้ ง หมด ก่ อ นน ากระดู ก เหล่ า นี้ ไ ปต้ ม ด้ ว ย
ผงซักฟอก เพื่อช่วยในการกาจั ดไขมันและเศษเนื้อออกจากโครงกระดูก ต่อจากนั้นจึงทาให้โ ครง
กระดูกที่ได้ทั้งหมดไปทาให้มีสีขาวขึ้นด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide)
เป็นระยะเวลาประมาณ 12 – 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ตากแดดให้แห้ง ก่อนนาตัวอย่างไปจัดเรียงต่อ
กัน โดยมีลวดเป็นตัวเชื่อมแล้วกาวเป็นตัวประสาน (ธชัคณิน จงจิตวิมล, 2553)
2-5

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการจัดต่อกระดูก
ที่มา : พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2021)

2. การรักษาการทาตัวอย่างแห้ ง (การสตัฟฟ์ )
2.1 ตัวอย่างกลุ่มแมลง สัตว์ทะเลบางประเภท
การทาตัวอย่างแห้งวิธีนี้มักจะใช้กับสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก ได้แก่ โครงร่างของ
ปะการัง กลุ่มของสัตว์ขาข้อ เปลือกหอย เม่นทะเล เป็นต้น โดยต้องนาเอาส่วนที่สามารถเน่าเปื่อย
ออกให้หมดหรือทาให้แห้งด้วยระดับความร้อนที่เหมาะสม หรือเอาฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นสูงเข้า
ไปแทนที่ ตัวอย่างเช่น การทาแห้งตัวอย่างแมลง โดยวิธีการปักเข็มแมลงจะปักเข็มจากด้านหลังทะลุ
ท้องให้เข็มอยู่ในแนวดิ่งหรือตัวแมลงอยู่ในแนวตั้งฉากกับเข็มเสมอ หลังจากนั้นให้จัดระเบียบร่างกาย
ของแมลง โดยมีรายละเอียดการปักต่างกันในแมลงแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มผีเสื้อให้ปักเข็มตรงบริเวณอก
ระหว่างฐานปีกคู่ห น้า ให้ กางปี กคู่หน้าจนกระทั่งขอบปีกหลั งกางตั้งฉากกับลาตัว ดึงปีกคู่หลั งไป
ข้ า งหน้ า เล็ ก น้ อ ยและให้ ข อบปี ก หน้ า อยู่ ใ ต้ ข อบปี ก หลั ง ของปี ก คู่ ห น้ า กลุ่ ม ผึ้ ง แมลงชี ป ะขาว
และแมลงวัน ให้ปักเข็มตรงบริเวณระหว่างฐานปีกคู่หน้า โดยให้เยื้องไปทางขวาเล็กน้อย และให้กาง
ปีกคู่หน้าจนกระทั่งขอบปีกหลังกางตั้งฉากกับลาตัว ดึงปีกคู่หลังไปข้างหน้าเล็กน้อยและให้ขอบปีก
หน้าอยู่ใต้ขอบปีกหลังของปีกคู่หน้า กลุ่มมวน ให้ปั กตรงแผ่นสามเหลี่ยมกลางหลังโดยให้ตาแหน่งที่
ปั ก อยู่ ใ กล้ ฐ านสามเหลี่ ย ม และเยื้ อ งไปทางขวาเล็ ก น้ อ ยและไม่ ก างปี ก กลุ่ ม ตั๊ ก แตน แมลงสาบ
และจิ้ งหรี ด ให้ ปั กตรงบริเวณส่ว นท้ายของโพโรนา โดยเยื้องไปทางขวาเล็ กน้อยให้กางปีกคู่ ห ลั ง
จนกระทั่งขอบปีกหน้ากางตั้งฉากกับลาตัว ดึงปีกคู่หน้าไปข้างหน้าเล็กน้อย และให้ยกขึ้นเล็กน้อย
จนกระทั่งปีกคู่หน้าและหลังไม่เกยทับกันเหมือนปีกผีเสื้อ หรืออาจไม่กางปีก เป็นต้น หากเป็นแมลง
ที่ขนาดเล็กจะผนึกแมลงด้วยกระดาษรูปสามเหลี่ยม แทนการปั กเข็มบนตัวแมลง โดยตัดกระดาษ
เป็นรูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง 3 – 4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8 – 10 มิลลิเมตร ในการผนึกแมลง
ให้ เ อาเข็ ม ปั ก ที่ ฐ านของกระดาษสามเหลี่ ย มเอาปลายแหลมของกระดาษแตะกาวเล็ ก น้ อ ย
แล้วนาไปติดกับด้านข้างอกขวาของแมลง
2-6

ภาพที่ 2 ตัวอย่างการทาตัวอย่างแห้ง
ที่มา : Gullan and Cranston (2000)

2.2 ตัวอย่างสัตว์เล็กด้วยเทคนิคพาราฟิน
การสตัฟฟ์สัตว์ด้วยเทคนิคพาราฟินซึ่งเป็นเทคนิคการสตัฟฟ์สัตว์ที่ง่ายและขั้นตอนน้อยที่สุด
เทคนิคนี้ใช้หลักการดึง น้าออกจากเซลล์ด้วยเอทานอลแล้วแทนที่ด้วยพาราฟินหลอมเหลว เหมาะ
สาหรับการสตัฟฟ์สัตว์ที่มีขนาดเล็กและมีน้าในร่างกายน้อย ได้แก่ กลุ่มสัตว์สะเทินน้าสะเทินบกและ
สัตว์เลื้อยคลาน โดยมีวิธีการดังนี้
1. ใช้เข็มทิ่มบริเวณขาและหางของสัตว์ตัวอย่าง เพื่อให้สารเคมีซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ทั่วถึง
ในกรณีที่หางค่อนหนาให้กรีดหางทางด้านล่างด้วย

ภาพที่ 3 แสดงการใช้เข็มทิ่มบริเวณขาและหางของสัตว์ตัวอย่าง
ที่มา: ตติยนุช แช่มใส (2022)
2. ผ่าเปิดช่องท้องเพื่อให้สารเคมีซึมเข้าไปอย่างทั่วถึง จากนั้นยัดสาลีเข้าไปในช่องท้องให้ได้
สัดส่ว น โดยไม่ต้องน าอวัย วะภายในออก เนื่องจากสั ตว์ที่ตายแล้ว ขนาดของช่องท้องและอวัยวะ
ภายในจะมีการเปลี่ ยนขนาดและรูปร่าง การยัดส าลี เข้าไปภายในช่องท้องจะช่ว ยให้สั ตว์มีขนาด
และสัดส่วนเหมือนตอนมีชีวิต
2-7

ภาพที่ 4 แสดงการผ่าเปิดช่องท้องเพื่อให้สารเคมีซึมเข้าไปอย่างทั่วถึงจากนั้นยัดสาลีเข้าไปในช่องท้อง
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

3. กรณีสัตว์ที่มีรยางค์ขา เช่น กิ้งก่า ตุ๊กแก ใช้ลวดแทงบริเวณฝ่าเท้าจากขาข้างหนึ่งไปยังขา


อีกข้างหนึ่ง (ทาเหมือนกันทั้งขาหน้าและขาหลัง)

ภาพที่ 5 การใช้ลวดแทงบริเวณฝ่าเท้าจากขาข้างหนึ่งไปยังขาอีกข้างหนึ่ง
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

4. ใส่สาลีเข้าไปในช่องท้องและคอให้ผิวหนังตึง จากนั้นใช้เข็มแทงบริเวณปลายปากล่าง
เพื่อให้ปากปิด ในขั้นตอนนี้สามารถใส่ตาปลอมเข้าไปบริเวณตาแหน่งตาได้เลยโดยไม่ต้องเอาตาจริง
ออก หรือหากใส่ตาหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด สามารถทาได้โดยการกรีดบริเวณตาจริงแล้ว
จึงใส่ตาปลอมเข้าไป

ภาพที่ 6 การใส่สาลีในช่องท้อง
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)
2-8

5. น าสั ต ว์ ว างบนแผ่ น รอง (ไม้ หรื อ ฟิว เจอร์ บ อร์ด ) จัด ท่ า ทางให้ เ หมื อนธรรมชาติ
โดยใช้หมุดปักบริเวณด้านข้างผิวหนัง (ห้ามปักลงไปบนตัวสัตว์ เนื่องจากจะทาให้เกิดรูบริเวณผิวหนัง)
เพื่อให้สัตว์ที่จัดท่าทางแล้วไม่ขยับและเสียรูปทรง

ภาพที่ 7 การนาสัตว์วางบนแผ่นรอง
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

6. นาสัตว์ที่จัดท่าทางและยึดบนแผ่นรองแล้วแช่ในสารละลายฟอร์มาลิน ความเข้มข้น 4
เปอร์เซ็นต์ ในภาชนะที่มีฝาปิดเป็นเวลา 1 วัน สารละลายฟอร์มาลินจะช่วยให้เนื้อเยื่อของสัตว์แข็ง
และเป็นการทาให้สัตว์คงสภาพอยู่ในท่าที่จัดไว้

ภาพที่ 8 การนาสัตว์ที่จัดท่าทางและยึดบนแผ่นรองแล้วแช่ในสารละลายฟอร์มาลิน
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

7. จากนั้นนาสัตว์ตัวอย่างแช่ในเอทานอล ความเข้มข้นตั้งแต่ 50 เปอร์เซ็นต์ – 95


เปอร์เซ็นต์ โดยค่อย ๆ เปลี่ยนความเข้มข้นเพื่อดึงน้าออกจากเซลล์ ดังนี้
แช่ในเอทานอล ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 วัน และแช่ในเอทานอล
ความเข้มข้น 60 เปอร์ เซ็น ต์ เป็นเวลา 1 วัน และสุ ดท้ายจะแช่ในเอทานอล ความเข้มข้น
2-9

70 เปอร์เซ็นต์ ในขั้นตอนนี้สามารถแช่ทิ้งไว้ได้นานหลายวัน และเพิ่มความเข้มข้นของเอทานอลเป็น


80 เปอร์เซ็นต์ 90 เปอร์เซ็นต์ และ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยแต่ละความเข้มข้นสามารถแช่สัตว์ไว้ได้
มากกว่า 2 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวและความหนาของหนังสัตว์หลังการแช่สัตว์ในเอทานอล ให้ทาการ
แช่ในโพรพานอล เป็นเวลา 2-3 วัน

ภาพที่ 9 การนาสัตว์ตัวอย่างแช่ในเอทานอล
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

8. เตรียมสารละลายผสมระหว่างโพรพานอลและพาราฟินที่หลอมเหลวแล้ว ในอัตราส่วน
1 : 1โดยรอให้พาราฟินมีความร้อนลดลง สังเกตจากพาราฟินเริ่มจับตัวแข็งที่ก้นภาชนะแล้วจึง
เทโพรพานอลลงไปในภาชนะเดียวกัน จากนั้นจึงนาสัตว์ลงไปแช่ เป็นเวลา 2 วัน รักษาสารละลาย
ให้อยู่ในสถานะของเหลวด้วยการนาไปใส่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 65 องศาเซลเซียส ปิดฝาภาชนะ
ให้มิดชิด เพื่อป้องกันโพรพานอลระเหย
9. เปลี่ ย นสารละลายเป็ น พาราฟิ น หลอมเหลว แล้ ว แช่ ใ นตู้ ค วบคุ ม อุ ณ หภู มิ
ที่ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 วัน โดยไม่ต้องปิดฝา เนื่องจากพาราฟินมีจุดหลอมเหลวสูง

ภาพที่ 10 การเปลี่ยนสารละลายเป็นพาราฟินหลอมเหลว แล้วแช่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 65


องศาเซลเซียส
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)
2-10

10. เมื่อครบกาหนดนาสัตว์ออกมาวางผึ่งภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 65องศาเซลเซียส ให้น้า


พาราฟินหยดออก แล้วนาไปแช่ในน้าเย็น พาราฟินบางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ตัวสัตว์สามารถใช้มีด
ขูดหรือน้ามันเบนซีนเช็ดออกได้

ภาพที่ 11 การนาสัตว์ออกมาวางผึ่งภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 65 องศาเซลเซียส


ให้น้าพาราฟินหยดออก
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

11. แต่งสีให้เหมือนจริงโดยใช้สีน้ามัน

ภาพที่ 12 สัตว์ตัวอย่างหลังการสตัฟฟ์เสร็จ
ที่มา : ตติยนุช แช่มใส (2022)

2.3 ตัวอย่างสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ด้วยเทคนิคการแปลงซากให้มีชีวิตมีดังนี้
วีธีการแปลงซากสัตว์เล็ก
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมตัวอย่างก่อนการชาแหละ
2-11

เมื่อได้สัตว์ที่ตายมาแล้วต้องจัดท่าทางของนกลงกระดาษ และใช้ดินสอร่างภาพไปตามรอบ
ลาตัว (ตามภาพที่ 13) ยัดสาลีเข้าไปในปาก เพื่อป้องกันเลือดหรือของเหลวต่างๆ ไหลออกมาจากตัว
นกระหว่างเลาะหนังในขณะเดียวกัน (ตามภาพที่ 14) กรณี : ของสัตว์ใหญ่กรรมวิธีในการทาสตัฟฟ์
คือนาสัตว์ที่เสีย ชีวิตมาลอกผิวหนังออกกับนามาฟอกและนามาหุ้ มโพลียูรีเทนโฟมแล้วเย็บติดกัน
(ตามภาพที่ 15)

ภาพที่ 13 เตรียมตัวอย่างสัตว์ทดลอง
ที่มา : MGR Online (2554)

ภาพที่ 14 ยัดสาลีเข้าไปในปาก เพื่อป้องกันเลือดหรือของเหลวต่างๆ


ที่มา : MGR Online (2554)
2-12

ภาพที่ 15 นาสัตว์ที่เสียชีวิตมาลอกผิวหนังออกกับนามาฟอกและนามาหุ้มโพลียูรีเทนโฟม
ที่มา : ศิลป์สตัฟฟ์ (2565)

ขั้นตอนที่ 2 ชาแหละและเลาะหนังออกจากลาตัว
ขั้น ตอนการช าแหละหนั ง ต้ อ งใช้ นิ้ ว มื อ ค่ อ ยๆ แยกขนกลางหน้ า อกออกให้ ม องเห็ น เนื้ อ
จากนั้นใช้มีดกรีดกลางหน้าอกให้หนังขาดออกจากกันเป็นแนวตรงจนเกือบถึงด้านหน้ารูทวาร ใช้นิ้ว
มือหรือด้ามมีดสอดเข้าไปในรอยแผลค่อยๆ ดันเลาะไปด้านข้างจนรอบตัว (ตามภาพที่ 16) เมื่อเลาะ
หนังไปจนส่วนสุดท้ายของลาตัวแล้ว ใช้กรรไกรตัดกระดูกหางข้อแรกเพื่อแยกส่วนหางออกจากลาตัว
แล้วเลาะขึ้นไปจนถึงส่วนปีก ให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระดูกโคนปีก จากนั้นค่อยๆ ใช้มือถลกหนังไป
ทางด้านหัว ดึงเนื้อส่วนคอออกมาใช้นิ้วค่อยๆสะกิด เลาะไปจนถึงกะโหลก หลังจากนั้นตัดหัวออกจาก
คอ โดยตัดที่กระดูกคอข้อแรก ให้เหลือกะโหลกติดกับหนังไว้ (ตามภาพที่ 17)

ภาพที่ 16 ชาแหละและเลาะหนังออกจากลาตัว
ที่มา : MGR Online (2554)
2-13

ภาพที่ 17 เลาะหนังไปจนส่วนสุดท้ายของลาตัว
ที่มา : MGR Online (2554)

ขั้นตอนที่ 3 วัดขนาดส่วนต่างๆ ของร่างกาย และกาจัดเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ


วาดรูปร่างที่เลาะออกมาจากหนังลงบนกระดาษ และระบุจุดที่เป็นรอยต่อของปีกและขานก
กับลาตัวเอาไว้ในภาพด้วยวัดขนาดเส้นรอบวงของลาตัวส่วนที่กว้างที่สุด วัดขนาดความยาวของคอ
และลาตัวโดยใช้เชือกวัด จากนั้นถลกหนังส่วนขาไปจนสุด วาดภาพส่วนขาไว้บ นกระดาษ ในส่วนของ
กล้ามเนื้อปีกก็เช่นกันต้องวาดภาพลงกระดาษด้วย (ตามภาพที่ 18) วัดขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางตา
ด้วยเวอร์เนียร์แล้วกรีดเอาลูกตาออกลูกตานกที่ถูกควักออกมา (ซ้ายกลาง) ลักษณะของเบ้าตานกที่ถูก
ควักลูกตาออกไป (ตามภาพที่ 19) หลังจากนั้นเลาะกล้ามเนื้อขาและปีออกจากกระดูก และเลาะส่วน
ที่เป็นเนื้อออกจากลาตัว และดึงเอามันสมองออกให้เหลือแต่หัวกะโหลกไว้ (ตามภาพที่ 20)

ภาพที่ 18 วาดรูปร่างที่เลาะออกมาจากหนังลงบนกระดาษ
ที่มา : MGR Online (2554)
2-14

ภาพที่ 19 วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตาด้วยเวอร์เนียร์
ที่มา : MGR Online (2554)

ภาพที่ 20 เลาะกล้ามเนื้อขาและปีกออกจากกระดูก
ที่มา : MGR Online (2554)
ขั้นตอนที่ 4 รักษาสภาพหนัง
ล้างหนังที่ได้จากการเลาะเนื้อออกแล้วด้วยน้ายาล้างจานผสมน้า นาหนังไปแช่ในสารละลาย
อีรานสปา 10 (Eulan spa 10) ที่มีความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร ประมาณ 40-45 นาที
(ตามภาพที่ 21) เมื่อแช่ครบเวลายกหนังขึ้นมาบีบน้าพอหมาด ห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วนาไปปั่นแห้ง
หลังจากนั้นจึงเป่าด้วยเครื่องเป่าผมจนขนนกแห้งสนิท ลักษณะนกที่เป่าจนแห้งสนิทแล้ว (ตามภาพที่
21) ใช้พู่กันจุ่มเอธานอล ทาหนังด้านในให้ทั่ว รวมไปถึงกระดูกและปาก และฉีดเอธานอลเข้าไปที่น่อง
ขา ปลายปีก และปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเน่า (ตามภาพที่ 22)
2-15

ภาพที่ 21 ล้างหนังที่ได้จากการเลาะเนื้อออกแล้วด้วยน้ายาล้างจานผสมน้า
ที่มา : MGR Online (2554)

ภาพที่ 22 แช่ครบเวลายกหนังขึ้นมาบีบน้าพอหมาด ห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วนาไปปั่นแห้ง


ที่มา : MGR Online (2554)

ภาพที่ 23 ใช้พู่กันจุ่มเอธานอล ทาหนังด้านในให้ทั่ว รวมไปถึงกระดูกและปาก


ที่มา : MGR Online (2554)
2-16

ขั้นตอนที่ 5 ปั้นหุ่นนก
นาเยื่อไผ่มาปั้นหุ่น พรมเยื่อไผ่ให้ชื้นด้วยน้า นามาขยาให้เป็นก้อนให้ได้ขนาดของลาตัวตามที่
วาดไว้ จากนั้นมัดด้วยเชือกป่านให้แน่นจนได้เป็นรูปทรงตามตัว เมื่อได้ลาตัวแล้ว ใช้ลวดมาทาเป็น
แกนคอ จากนั้นจึงนาลวดขนาดเล็กสุดมาพันรอบลวด และพันด้วยกระดาษชาระเพื่อใช้แทนเป็นเนื้อ
ส่วนคอ จากนั้นใช้เชือกพันให้แน่น และใช้มือดัดคอให้เป็นตัวเอส ตามลักษณะของคอ (ตามภาพที่
24)

ภาพที่ 24 นาเยื่อไผ่มาปั้นหุ่นและแล้ว ใช้ลวดมาทาเป็นแกนคอ


ที่มา : MGR Online (2554)

ขั้นตอนที่ 6 ยึดส่วนต่างๆ เข้ากับลาตัวและจัดระเบียบ


การยึดส่วนต่างๆ เข้ากับลาตัวและจัดระเบียบและเย็บหนังจากด้านก้นไปด้านหัว ตัวอย่างที่
ได้ ห ลั ง จากเย็ บ หุ่ น เข้ า กั บ หนั ง แล้ ว (ตามภาพที่ 25) นกสตั ฟ ฟ์ ที่ ไ ด้ ห ลั ง จากขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ย
(ตามภาพที่ 26)

ภาพที่ 25 การยึดส่วนต่างๆ เข้ากับลาตัวและจัดระเบียบ


ที่มา : MGR Online (2554)
2-17

ภาพที่ 26 นกสตัฟฟ์ที่ได้หลังจากขั้นตอนสุดท้าย
ที่มา : MGR Online (2554)

2.3 การรักษาสภาพสัตว์ด้วยการดอง
การดองนิ ย มทาใน 2 รู ป แบบ คือ การดองปกติ และการดองใส การดองปกตินิยมทาใน
สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้าสะเทินบก การดองใสเป็ นเทคนิคที่ใชในการเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ มี
กระดูกสันหลังขนาดเล็กหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
วัสดุและอุปกรณ์
1. ขวดดอง
2. ฟอร์มาลีน เข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์
3. กลีเซอรีน
4. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์
5. น้ากลั่น
6. โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์
7. สีย้อมอัลเชียนบลู
8. สีย้อมอลิซาลินเรดเอส
9. เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์
10. ตัวอย่างสัตว์

แบบที่ 1 การดองสัตว์ด้วยวิธีปกติ
1. ตัวอย่างสัตว์ที่นามาดองควรทาให้สลบหรือตาย เพื่อป้ องกันการดิ้นเมื่อถูกน้ายา จะทาให้ส่วน
ต่างๆ ของร่างกายเสียหาย
2. นาสัตว์ที่จะดองล้างน้าให้สะอาดใส่ในขวดดองเทน้ายาให้ท่วมตัวสัตว์ ปิดจุกให้แน่นพันด้วย
เทปรอบฝาขวด เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในขวดและป้องกันการระเหยของน้ายา
2-18

3. การเลือกใช้น้ายาต้องพิจารณาชนิดของสัตว ์และความเข้มข้นของน้ายา สัตว์ที่มีผิวหนังอ่อน


สัตว์ขนาดเล็กและแมลงดองในฟอร์มาลีน 5-8 เปอร์เซ็นต์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ถ้า
เป็นสัตว์ผิวหนังแข็ง เช่น กบ ปลา ดองในฟอร์มาลีน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยกรีดช่องท้องให้ฟอร์มาลีนซึม
เข้าไปภายในได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีลาตัวหนา ถ้าเป็นสัตว์ทะเล เช่น ซีแอนนีโมนี แมงกะพรุนมี
ร่างกายอ่อนนิ่ม ดองด้วยฟอร์มาลีน 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเป็นสัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปู กั้ง
ดองด้วยฟอร์มาลีน 10 เปอร์เซ็นต์

ภาพที่ 27 การดองปกติ
ที่มา : วารุณี ไชยรงศรี (2565)

แบบที่ 2 การดองสัตว์ด้วยวิธีดองใส
1. นาตัวอย่างล้างด้วยน้าให้สะอาด
2. แช่ใน ฟอร์มาลิน คืออะไร นาน 40 นาที ประมาณ 2 ชั่วโมง
3. ล้าง ฟอร์มาลิน ออกด้วยน้ากลั่น 3 ครั้งๆ ละ 10 นาที
4. ยอมสีกระดูกอ่อนด้วย alcian blue solution นาน 36-48 ชั่วโมงหรือตามขนาดของตัวอย่ าง
โดยสังเกตเปลือกหุ้มตัวติดสีฟ้าประมาณ 7 วัน
5. เปลี่ยนมาแช่ใน 95 เปอร์เซ็นต์ alcohol, 70 เปอร์เซ็นต์ alcohol, 50 เปอร์เซ็นต์ alcohol,
30เปอร์เซ็นต์ alcohol และน้ากลั่นตามลาดับ ขั้นตอนละ 2 ชั่วโมง
6. เปลี่ยนมาแช่ใน trypsin solution นาน 6-72 ชั่วโมง แล้วแต่ขนาดตัวอย่าง โดยสังเกตเห็น
เนื้อเยื่อใส จากบริเวณขอบดานนอกของลาตัวเข้าดานในของลาตัว (ลักษณะเนื้อเยื่อของลาตัวสัตว์มีสี
ขาวขุ่น ) ใหเนื้ อเยื่ อใสประมาณครึ่งหนึ่งของล าตัว และถ้าเนื้อเยื่อใสมากเกินไป อาจจะเปื่อยใน
ขั้นตอนต่อไป
2-19

7. เปลี่ยนมาแช่ใน 0.5% KOH ที่เติม alizarin red ทีละหยด จนเป็นสารละลายสีม่วงเข้ม เพื่อ


ย้อมสีกระดูกแข็ง นาน 24 ชั่วโมง หรือกระดูกแข็งติดสีแดงเข้มตามตองการ และ 0.5% KOH ช่วย
ให้เนื้อเยื่อลาตัวใสเพิ่มขึ้นอีก
8. เปลี่ยนมาแชในสารละลาย 0.5% KOH : glycerol (3 : 1) นาน 24 ชั่วโมง เปลี่ยนมาแช่ใน
สารละลาย 0.5% KOH: glycerol (1:1) นาน 24 ชั่วโมง เปลี่ยนมาแช่ในสารละลาย 0.5% KOH :
glycerol (1 : 3) นาน 24 ชั่วโมง
9. เปลี่ยนมาแชใน glycerol เก็บรักษาและใส่ thymol 2-3 เกล็ด เพื่อป้องกันเชื้อราผลที่ได้คือ
เปลือกหุมลาตัวออนติดสีฟ้าเปลือกหุ้มลาตัวแข็งติดสีแดงเนื้อเยื่อลาตัวใส (วารุณี ไชยรงศรี ,2560)

ภาพที่ 28 การดองใส
ที่มา : THE Cloud (2563)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการรักษาสภาพซากสัตว์หลังการตายเพื่อการเรียนการสอน
จากการศึกษาของ ปิยะมาศ คงถึง (2553) เกี่ยวกับการใช้เกลือแกลงเพื่อลดความเข้มข้นของ
ฟอร์มาลินในการรักษาสภาพสุนัข โดยนาเกลือแกงซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ราคาถูก และสามารถ
หาซื้อได้ง่ายพัฒนาเป็นตาหรับรักษาสภาพซากสุนัขสาหรับการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์
สาหรับนักศึกษา เพื่อลดปัญหาสุขภาพจากความเป็นพิษของฟอร์มาลิน โดยการลดความเข้มข้นของ
ฟอร์มาลินอยู่ในระดับที่ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพที่ความปลอดภัยต้องไม่เกิน 0.016 ppm และค่าความ
เข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศที่อนุญาตให้มีได้ตามกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่ง
สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 0.75 ppm
2-20

น้ายาทดลองรักษาสภาพซากสุนัขถูกแบ่งเป็นจานวน 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม ทดสอบกับซากสุนัข


5 ตัว โดยเตรียมน้ายารักษาสภาพซากสุนัขที่มีความเข้มข้นของฟอร์มาลินและ เกลือแกงแตกต่างกัน
4 กลุ่ม ที่มีเกลื อแกงร้ อยละ 18 และร้อยละ 25 กับฟอร์มาลินร้อยละ 0.1 และ ร้อยละ 1
เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีฟอร์มาลิน ร้อยละ 10 และไม่มีเกลือ (ตารางที่ 1) (เติมสารเคมีที่ช่วย
เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาสภาพซาก คือ ฟนอล (Phenol) ร้อยละ 3 เอทิลแอลกอฮอล (Ethyl
alcohol) ร้อยละ 8 และ โพไพลินไกลคอล (Propylene glycol) ร้อยละ 10 ลงในน้ายาทุกกลุ่ม)

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของร้อยละการเน่าโดยรวมของซากสุนัข
กลุ่มน้ายา อัตราการเน่าของซาก (mean±SD)
1 (ไม่มีเกลือแกง/10%ฟอร์มาลิน) 0.00b±0.00
2 (18%เกลือแกง/1%ฟอร์มาลิน) 24.93ab±17.18
3 (25%เกลือแกง/1%ฟอร์มาลิน) 24.03ab±20.16
4 (18%เกลือแกง/0.1%ฟอร์มาลิน) 45.00a±32.76
5 (25%เกลือแกง/0.1%ฟอร์มาลิน) 34.93ab±9.10
ที่มา : ปิยะมาศ คงถึง (2553)
หมายเหตุ: abมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่น (P<0.05)
ผลการศึกษาการเน่าของซากสุนัข พบว่าซากสุนัขในกลุ่มควบคุมที่1 ไม่พบการเน่าในทุก
อวัยวะ ซากสุนัขกลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 พบว่าอวัยวะที่มีการเน่ามากกว่าร้อยละ 50 คือ ผิวหนัง
หลอดลม ตับ ลาไส ตับอ่อน ต่อมไทมัส ม้าม ไต และอวัยวะ สืบพันธุ์ และเมื่อทาการวิเคราะห์ข้อมูล
เปรีย บเทีย บอัตราการเน่าของซากสุนัขและการเน่าของอวัยวะต่างๆ ทีละคู่ คือ กลุ่มที่ 2 (18/1)
กับกลุ่มที่ 4 (18/0.1) กลุ่มที่3 (25/1) กับกลุ่มที่ 5 (25/0.1) กลุ่มที่ 2 (18/1) กับกลุ่มที่ 3 (25/1)
และกลุ่มที่ 4 (18/0.1) กับ กลุ่มที่ 5 (25/0.1) นั้น พบว่ าไมมีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่1)
ซึง่ ปริมาณเกลือแกงที่เหมาะสมสาหรับรักษาสภาพซากคือ ร้อยละ 25 สามารถลดปริมาณฟอรมาลิน
ให้ เหลือเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งมีทาให้การเน่าไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม (0/10) แต่ ปริมาณเกลือแกง
ร้อยละ 18 กับฟอร์มาลินร้อยละ 0.1 ในกลุ่มที่ 4 (18/0.1) นั้นยังไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพซาก
ไมให้เน่าได้ ซึ่งสาเหตุที่ทาให้อวัยวะภายในมีสภาพการเน่าแตกต่างกันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ของโครงสร้างขนาดเล็ก (Ultrastructure) ของไต ตับ ตับ-อ่อน หัวใจ และกล้ามเนื้อลายโครงสร้าง
พบว่า อวัยวะที่พบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง คือ ตับ และตับอ่อน
รองลงมาคือไตและหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เวลาผ่านไปไป 3 ชั่ว โมง สวนกล้ามเนื้อลาย
โครงสร้างจะเกิดการ เปลี่ยนแปลงช้าที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นใยไฟเบอร์
(Fibroblasts) และมีเอ็นไซม์โซโซมอยูน้อยจึงเกิดการเน่าสลายช้า (Yukari Tomita, et.al 2004)
2-21

จากการศึกษาของ ปิยะมาศ คงถึง (2553) พบว่า ความแตกต่างของสีที่อันเกิดจากปริมาณ


เกลือแกงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปริมาณเกลือแกงที่ ใช้ มีเพียงสองความเข้มข้นซึ่งยังไม
เพี ย งพอที่ จ ะใช้ วั ด ความแตกต่ า งของสี ก ล้ า มเนื้ อ ได้ โดยการประเมิน สี ด้ ว ยค่ า ความสว่ า ง ( L*)
ของซากสุนัขกลุ่มควบคุม (0/10) มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 3 (25/1) กลุ่มที่ 4 (18/0.1) และกลุ่มที่ 5
(25/0.1) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) และค่าสีเหลือง ( b*) ของซากสุนัขกลุ่มควบคุม (0/10)
มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 3 (25/1) และกลุ่มที่ 4 (18/0.1) อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ (P<0.05) (ดังภาพที่
29) ส่ว นค่า (a*) ไม่มีความแตกต่างกันทุกกลุ่ ม เนื่องจากสี ของกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
เช่น อายุของสัตว์ ชนิด และกิจกรรมของกล้ามเนื้อ และชนิดของสัตว์ เช่น โคมีสีเข้มกว่าสุกร ทั้งนี้ผล
การศึกษาเปรียบเทียบสีของกล้ามเนื้อที่ใสเกลือ และไม่ ใส่เกลือ พบว่า เกลือช่วยให้สีเข้ มมากขึ้น
เนื่ อ งจากไปเพิ่ ม ระดั บ เมทไมโอโกลบิ น (Metmyoglobin) โดยลดระดั บ ออกซี ไ มโอโกลบิ น
(Oxymyoglobin) ในกล้ามเนื้อของโค และการเติมเกลื อในเนื้อสุกรทาให้ระดับเมทไมโอโกลบิน
เพิ่มขึ้นด้วย (Maria Walczycka MNTK, et.al 2005) สอดคลองกับรายงานของ Coleman, (1998)
ที่พบว่า การใช้เกลือเข้มข้น เป็ น ส่ว นประกอบของน้ายารักษาสภาพศพมนุษยสามารถทาใหสี ของ
กล้ามเนื้อมีลักษณะคล้ายธรรมชาติ (Coleman R, Kogan t, et.al 1998) อย่างไรก็ตามจาก
การศึกษาครั้ งนี้ยังไม่ พบความแตกต่างของสีที่อันเกิดจากปริมาณเกลือแกงที่ แตกต่างกันทั้งนี้อาจ
เนื่องมาจากปริมาณเกลือแกงที่ ใช้มีเพียงสองความเข้มข้นซึ่งยังไม่ เพียงพอที่จะใช้วัดความแตกต่าง
ของสีกล้ามเนื้อได้

ภาพที่ : 29 แผนภูมิแท่งแสดงค่าเฉลี่ยของสีกล้ามเนื้อของซากสุนัขต่างๆ
หมายเหตุ : แผนภูมิแท่งแสดงค่าเฉลี่ยของสีกล้ามเนื้อของซากสุนัขต่างๆ ตัวอักษรที่แตกต่างกัน a,b
แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05)
ที่มา : ปิยะมาศ คงถึง (2553)

จากการศึกษาของ ปิยะมาศ คงถึง (2553) พบว่า ค่าแรงกดของซากสุนัขโดยรวมที่ ใช้น้ายา


รักษาสภาพทั้ง 5 กลุ่มนั้นไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อวิเคราะห์ค่าแรงกดกล้ามเนื้อที่ละกลุ่ม พบว่า
2-22

ค่าแรงกดกล้ามเนื้อของซากสุนัขกลุ่มที่ 2 (18/1) มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 4 (18/0.1 อย่างมีนัยสาคัญทาง


สถิติ (P<0.05) (ภาพที่ 30 ) ส่วนกลุ่มที่ 3 (25/1) กับกลุ่มที่ 5 (25/0.1) กลุ่มที่ 2 (18/1) กับ กลุ่มที่
3 (25/1) และ กลุ่มที่ 4 (18/0.1) กับกลุ่มที่5 (25/0.1) นั้นไม่ มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อทาการ
เปรี ย บเที ย บที ล ะคู่ โ ดยกลุ่ ม ที่ มี ป ริ ม าณเกลื อ แกงเท่ า กั น พบว่ า กลุ่ ม ที่ มี ฟ อร์ ม าลี น จะมี ค่ า แรงกด
กล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่ มที่มีฟอร์มาลิ น น้อย สาเหตุที่เกิด เนื่องจากเกลื อแกงช่วยทาให้กล้ามเนื้อนุ่ม
โดยสัญชัย จตุรสิทธา (2543) กล่าวว่าความเข้มข้นของอิออนของเกลือแกงให้ผลต่อความนุ่มของเนื้อ
เช่นเดียวกับการใช้ 0.3 M CaCl2 ที่ทาให้กล้ามเนื้อนุ่มโดยกระตุ้นการทางานของเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน
calpain นอกจากนี้จากการศึกษาของ Rosane et.al (2004) ที่ใช้เกลือแกงเป็นส่วนประกอบใน
น้ายารักษาสภาพซากสุนัขที่ ใช้ ในการฝึกการผ่าตัดพบว่า ซากสุนัขมีลั กษณะกล้ามเนื้อและผิวหนัง
ใกล้เคียงกับสุนัขที่มีชีวิต (Guimaraes da Silva RM et.al, (2004)

ภาพที่ 30 คาแรงกดของซากสุนัข
หมายเหตุ : a,b แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05)
ที่มา : ปิยะมาศ คงถึง, (2553)
2-23

สรุปผล

การรักษาสภาพเพื่อป้องกัน การเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ อันเนื่องจากทาลายเชื้อจุลชีพ เช่น


เชื้อรา และแบคทีเรีย ด้วยการดองร่างและตัวอย่างอวัยวะในน้ายาคงสภาพฟอร์มาลินตลอดเวลาเป็น
ปั ญหาให้ ผู้ เรี ย นจากการได้ รั บ ไอระเหยของน้ายาคงสภาพระหว่ างการใช้ตั ว อย่า งเพื่อ การเรีย น
แต่อันตรายจากฟอร์มาลินสร้างการระคายเคืองตา และทางเดินหายใจ จากการศึกษาการใช้น้ายา
รักษาสภาพตัวอย่างซากสุนัขที่มีการใช้เกลือแกงที่เป็นสวนประกอบมีส่วนช่วยลดปริมาณฟอร์มาลิน
ลง โดยพบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกงร้อยละ 25 และลดความเข้มข้นของฟอร์มาลิน ลง
เหลือเพียงร้อยละ 0.01 สามารถป้องกันการเน่าของอวัยวะและช่วยทาให้กล้ามเนื้อของสุนัขมีสีเข้ม
ขึ้น ดัง นั้ น หากมี ก ารศึ ก ษาเพิ่ม เติม เกี่ ยวกั บสู ต รน้ ารัก ษาสภาพที่ ป ระกอบด้ ว ยสารชนิด อื่ น ๆ
เพื่อทดแทนฟอร์มาลินได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ย่อมส่งผลต่อคุณภาพซากและความปลอดภัยต่อผู้
ใช้ซากสาหรับการเรียนการสอนในอนาคต
2-24
2-25

เอกสารอ้างอิง

ตติยนุช แช่มใส. (2022). การรักษาสภาพสัตว์ด้วยเทคนิคพาราฟิน.แหล่งที่มา:https://vs.Mahidol


.ac.th /mozwe/taxidermy-paraffin-technique. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565
ทันโลก, เอเชีย2022) ธุรกิจสตัฟฟ์สัตว์(Taxidermy)โอกาสใหม่ในสิงคโปร์.แหล่งที่มา:https://globt
hailand.com /Singapore-070122/).ค้นเมื่อ 14 กันยายน, 2565
ธชัคณิน จงจิตวิมล. 2553). ความลับของโครงกระดูก (SKELETON’S SECRETS) ศึกษากายวิภาค
สัตว์ ที่พิพิธ ภัณฑ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ย. แหล่งที่มา:http://cmuir. cum.ac.th
/jspui/handle/6653943832/18499. ค้นเมื่อ 17 กันยายน, 2565
ปิยะมาศ คงถึง. (2553). การใช้เกลือแกงเพื่อลดความเข้มข้นของฟอร์มาลินในการรักษาซากสุนัข.
แหล่งที่มา:http://cmui r.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/18499๗). ค้นเมื่อ 21
กันยายน 2565
วารุณี ไชยรงศรี.(2565). การเก็บตัวอย่างดองสัตว์.แหล่งที่มา: http://sites.google.com /a/
borabu.ac.th/krunan—labbio-m5/ptibati-karkeb-tawxyang-dxng-satw. ค้นเมื่อ 24
กันยายน 2565
สัญชัย จตุรสิทธา. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ ธนบรรณการพิมพ์ ; 2543. แหล่งที่มา:
hppp://cmuir .cmu.ac.th/jspui-handle/6653943832/18499.ค้นเมื่อ 28 กันยายน,
2565
ศิลป์สตัฟฟ์. (2565). รับสตัฟฟ์สัตว์ สตัฟฟ์สัตว์ สตัฟฟ์สัตว์ by ศิลป์สตัฟฟ์Art of Taxidermy
Thailand. แหล่งที่มา:https://business.facebook.com/hashtag/..ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม,
2565
Ashraful Kabir & Trevor J. Hawkeswood. (2020). วิวัฒนาการการรักษาสภาพตัวอย่างมนุษย์
แ ล ะ สั ต ว์ . แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://www.researchgate.net/profile/Ashraful-kabir-2/
publication/348115427_A_review_on_wildlife_taxidermy=preservation_for_co
nservation/links/. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565
2-26

Coleman R, Kogan I. An improved low-formaldehyde embalming fluid to preserve


cadavers for anatomy teaching. J Anat. 1998 Apr;192 (Pt 3): 4436.http://cmuir.
cmu.ac.th /jspui/handle/653943832/ 18499. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565
Guimaraes da Silva RM, Matera JM, Ribeiro AA. Preservation of cadavers for surgical
technique training. Vet Surg. 2004 Nov-Dec;33(6):606-8. http://cmuir.cmu.ac.th
/jspui/handle/6653943832/18499.ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565
เอกสารอ้างอิง

Gullan and Cranston. (2000). การรักษาการทาตัวอย่างแห้ง (การสตัฟฟ์). แหล่งที่มา:http://


elearning.psru.ac.th/ courses/30/lesson7.pdf.ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565
Mayer RG. Embalming: History, Theory, and Practice. 4 ed. New York, USA: The Mc
Graw-Hill Companies, Inc; 2006. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943
832/18499.ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2565
MGR Online. (2554). เผยขั้นตอนแปลงซากนกให้มีชีวิต. แหล่งที่มา:http://mgronline.com /
scice/detail/9540000075751.ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565
Maria Walczycka MNTK. The effect of salt on myoglobin forms of cattle and pig
muscles. Biotechnology in Animal Husbandry. 2005;21(5-6): 213-7. http://
cmuir. cmu.ac.th/jspui/handle/665943832/18499.ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2565
Seiichi K, Haruto K. Reduction of formaldehyde concentrations in the air and
cadaveric tissues by ammonium carbonate. Anatomical Science International.
2004; 79 (3):152-7. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/665943832/18499. ค้น
เมื่อ 28 ตุลาคม 2565
THE Cloud. (2563). การดองใส. แหล่งที่มา: https://readthecloud.co/clearing-and-staining-
chulalongkorn-university-museum/. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565
Yukari Tomita MN, Youkichi O, Shigeru S. Ultrastructural changes during in situ early
postmortem autolysis in kidney, pancreas, liver, heart and skeletal muscle of
2-27

rats.LegalMedicine.2004;6:2531.http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/66594383
2/18499.ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565

You might also like