You are on page 1of 21

6.

นวัตกรรม/งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปั ญหาสุขภาพของกรณี
ศึกษา

6.1.1 ต้นฉบับผลงานนวัตกรรม/งานวิจัย
ผู้วิจัย (ชนนาถ แปลงมาลย์ และ นุชนาถ มีนาสันติรักษ์, 2562)
ชื่อวิจัย ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยเบาหวาน
ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Nutritional Status and Consumption Habits of the
Diabetic Patients at Tha Song Khon Sub-district, Muang District
Mahasarakham Province
6.2.1 สรุปบทความวิจัย/นวัตกรรม
วัตถุประสงค์การวิจัย
๑. เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาาน ตําบลท่า
สองคอน อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
๒. เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน
ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ ถูกต้องและมีผลระดับน้ำตาลในเลือดที่เกี่ยวข้อง
กับโรคเบาหวานลดลงอยู่ในเกณฑ์ ดังนี ้
ผลการวิจัยพบว่า หลังการให้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ทัง้ ๒ กลุ่ม
ส่วนใหญ่มีระดับความ รู้อยู่ในระดับดีมาก ระดับน้าตาลในเลือด (DTX)
ไม่แตกต่างกัน และระดับน้าตาลสะสม (HbA ๑ C) ของกลุ่มพร้อมปฏิบัติ
พบว่าส่วนใหญ่มีระดับลดลง ในขณะที่กลุ่มลังเล–สงสัยส่วนใหญ่มีระดับ
เพิ่มข้ึน เม่อเปรี
ื ยบเทียบก่อน-หลัง การได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
ระหว่าง๒ กลุ่ม พบว่าคะแนนความรู้ และผลของระดับ DTX แตกต่าง
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p =๐.๒๗๘ และ ๐.๓๗๑ ) (p =๐.๔๗๘
และ๐.๔๔๓)ส่วนผล HbA ๑ C พบว่าทัง้ สองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ(p= ๐.๐๑๒ และ ๐.๐๐๓) จากผลการศึกษาสรุปได้
ว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีความพร้อมปฏิบัติมี ความสามารถในการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพควบคุมระดับน้ำตาลในระยะยาวได้ดีกว่า
กลุ่มที่สงสัย-ลังเล ถึงแม้ว่าจะมีความรู้และการควบคุมระดับน้าตาลไม่
แตกต่างกันก็ตาม

6.3.1 การนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุกรณี
ศึกษา
อาหารที่เหมาะสมเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ ควรรับ
ประทานอาหารให้สมดุล ทัง้ ปริมาณและสารอาหาร วิธีการที่นิยมแนะนํา
ให้กับผู้ป่วยมี ๒ วิธี คือ
วิธีที่ ๑ Plate Model โดยมีเกณฑ์ดังนี ้
๑. ใช้จาน ๙ นิว้ ลึกครึ่งนิว้
๒. เติมผักครึ่งจานโดยเลือกผักให้หลากหลายสีและหลากหลายชนิด
จะเป็ นผักสุกหรือดิบ หรือซุปผักก็ได้เติมเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่หรือปลา
1⁄4 ของจานหรือประมาณ ๙๐ กรัม
๓. เติมข้าวหรือแป้ ง 1⁄4 ของจาน
๔. เติมผลไม้ ๑ ส่วน
๕. เลือกนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ๑ ส่วนนอกจาน
๖. ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารได้เล็กน้อย
วิธีที่ ๒ การแนะนําให้นับคาร์บ เป็ นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจํา
กัดปริมาณอาหาร ที่ให้คาร์โบไฮเดรตได้ สาเหตุที่ต้องนับคาร์โบไฮเดรต
เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็ นสารอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลมากที่สุด และ
รวดเร็ว มีหลักการนับดังนี ้
๑. อาหาร ๑ ส่วนมีคาร์โบไฮเดรต ๑๕ กรัม เท่ากับ ๑ คาร์บ
๒. อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเท่ากันสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ใน
ปริมาณ ๑ต่อ ๑ หน่วย ปริมาณ อาหาร ๑ คาร์บ มีดังนี ้
ข้าวหรือแป้ ง ๑ ส่วน ที่ให้คาร์โบไฮเดรต ๑๕ กรัม หรือ ๑ คาร์บ
ได้แก่
๑. ข้าวสุก ๑/๓ ถ้วยตวง หรือ ๑ ทัพพี (ตักพอดีไม่พูน)
๒. ขนมปั ง ๑ แผ่น
๓. เส้นต่างๆ 1⁄2 ถ้วยตวง หรือ ๑ ทัพพี
๔. ธัญพืช 1⁄2 ถ้วยตวง หรือ ๑ ทัพพี
๕. ข้าวโพด เผือก มัน ฟั กทอง 1⁄2 ถ้วยตวง หรือ ๑ ทัพพี
แนะนําให้ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย ๑๓๐ กรัม
คาร์โบไฮเดรตหรือประมาณมื้อละ ๓ คาร์บ และควรเป็ นอาหารประเภท
ข้าว แป้ ง และธัญพืช และรับประทานนํา้ ตาลได้ ปรุงรส ด้วยนํา้ ตาลได้
บ้าง ถ้าแลกเปลี่ยนกับอาหารคาร์โบไฮเดรตอื่นในมื้ออาหารนัน
้ แต่ปริ
มาณนํา้ ตาล ทัง้ วันต้องไม่เกินร้อยละ ๕ ของพลังงานรวม (ประมาณ ๓-๖
ช้อนชา) โดยกระจายออกใน ๒-๓ มื้อไม่นับรวมน้ำตาลที่แฝงอยู่ในผลไม้
และผักน้ำตาลหมายถึงน้ำตาลทราย น้ำาผึง้ และน้ำหวานชนิดต่างๆ งด
เครื่องดื่มรสหวานชนิดต่างๆ เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูง (สมาคมโรค
เบาหวานแห่งประเทศไทย. ๒๕๕๗)
ผลไม้ ๑ ส่วน ให้คาร์โบไฮเดรต ๑๕ กรัม หรือ ๑ คาร์บ ได้แก่
๑. ผลไม้ ผลเล็ก ขนาดกําปั ้ นผู้หญิง
๒. ผลไม้หั่น ๖-๘ ชิน
้ คํา
๓. ผลไม้กระป๋อง 1⁄2 ถ้วยตวง หรือ ๑ ทัพพี ไม่รวมน้ำเชื่อม
๔. น้ำผลไม้ไม่เติมน้ำตาล ๑๒๐ มิลลิลิตร
นม ๑ ส่วน ให้คาร์โบไฮเดรต ๑๒ กรัม ได้แก่
๑. นมพร่องมันเนยหรือไขมัน ๐ % ๒๔๐ มิลลิลิตร
๒. นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ๒๔๐ มิลลิลิตร
๓. โยเกิร์ตไขมันตํ่า ไม่เติมน้ําตาล ๑ ถ้วยตวง
ผัก เป็ นแหล่งให้ใยอาหารที่ดี ผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภคอาหารที่มี
ใยอาหารสูง ให้ได้ ใยอาหาร ๑๔ กรัมต่ออาหาร ๑๐๐๐ กิโลแคลอรี
(สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ๒๕๕๗)
ปริมาณผัก ๑ ส่วน เท่ากับผักสุก ๑ ทัพพี หรือผักดิบ ๒ ทัพพี ผัก
แบ่งออกเป็ น ๒ เภท คือ
ประเภท ก. ผักที่ให้พลังงานตํ่ามาก (หรือไม่คิดพลังงาน)
ตัวอย่าง ผักกาดขาว ผักกาดสลัด ฟั กเขียว สายบัว กะหล่ำปลี ใบ
กระเพรา มะเขือ
แตงกวา บวบ ผักกวางตุ้ง ขิงอ่อน มะเขือเทศสีดา
ประเภท ข. ๑ ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต ๕ กรัม โปรตีน ๒ กรัม ไม่มีไข
มัน ให้พลังงาน ๒๕
แคลอรี
ตัวอย่าง ถั่วฝั กยาว ฟั กทอง ดอกแค แครอท เห็ดฟาง หน่อไม้
ถั่วงอก ผักกระเฉด
ผักคะน้า บร็อคโคลี มะละกอดิบ หอมใหญ่
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วให้คาร์โบไฮเดรต ๐ กรัม
เนื้อสัตว์ ๑ ส่วนเท่ากับ๓๐ กรัม หรือ ๒ ช้อนกินข้าว ตัวอย่างเช่น
๑. เนื้อ ปลา ไก่ หมู ๓๐ กรัม หรือ ๒ ช้อนกินข้าว
๒. กุ้งขนาด ๒ นิว้ ๔ ตัว
๓. ไข่ ๑ ฟอง
๔. ไข่ขาว ๒ ฟอง
๕. เนยแข็ง ๑ แผ่น (๓๐ กรัม)
๖. เต้าหู้ ๓๐ กรัม
ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารโปรตีนอย่างเพียงพอ คือ
ประมาณร้อยละ๑๕-๒๐ ของพลังงานทัง้ หมด และควรเป็ นโปรตีนที่มา
จากปลา หรือไข่ (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ๒๕๕๘) โปรตีน
จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่หิวบ่อย และอิ่มนานขึน
้ แต่การกินเนื้อสัตว์
มากเกินไปทํา ให้ระดับน้ําตาลเพิ่มขึน
้ อย่างช้าๆ ได้ โดยทั่วไปแนะนําให้
ทานเนื้อสัตว์ม้ือละ ๔ ช้อนโต๊ะ
ไขมัน ให้คาร์โบไฮเดรต ๐ กรัม ไขมัน ๑ ส่วน ได้แก่
1. น้ำมัน/มายองเนส/เนย/มาร์การีน ๑ ช้อนชา
๒. น้ำสลัด ๑ ช้อนโต๊ะ ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีไข
มันอิ่มตัวแต่น้อย (>๑๐%ของพลังงานทัง้ หมด) และแนะนําให้ทานไขมัน
วันละไม่เกิน ๖ ช้อนชาต่อวัน หลีกเลี่ยงไขมันเลว เช่น ไขมันทรานซ์
การออกกำลังกาย
๑. ออกกําลังกายเป็ นประจําอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ ๓-๕ ครัง้
ควรจะเป็ นการออกกําลัง กายแบบแอโรบิก คือทําต่อเนื่องครัง้ ละ
๒๐-๔๐ นาที
๒. ควรเริ่มการออกกําลังแบบเบาก่อน และเพิ่มเป็ นปานกลาง เพื่อ
ให้ร่างกายได้มีการ ปรับตัว ไม่แนะนําให้ออกกําลังกายหนักหรือในรูป
แบบที่มีแรงต้านมากๆ
๓. ควรเน้นการออกกําลังแบบแอโรบิก คือมีการออกกําลังกายแบบ
เคลื่อนไหวอย่าง ต่อเนื่อง ไม่มีแรงกระแทก หรือแรงกระแทกต่ำ เช่น การ
เดิน ขี่จักรยาน รํามวยจีน โยคะ กายบริหาร
๔. ควรออกกําลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ
ระบบประสาทควบคู่ไป ด้วยกัน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กายบริหารแบบมี
แรงต้านต่ำ การออกแรงดึงยางยืดเนื่องจากขณะออก แรงสายยางมี
ปฏิกิริยาต้านกลับ (stress reflex) ส่งผลให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
พัฒนาไปพร้อมกัน
6.4.1 ข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากบทความวิจัย/นวัตกรรม
จากการศึกษาวิจัยเรื่องนีป
้ รากฏให้เห็นว่ามีความน่าสนใจของเนื้อหา
สามารถนำบทงานวิจัยมาปรับใช้ได้จริงในเรื่องการดูแลตนเองในผู้ป่วย
โรคเบาหวาน เพื่อแนะนำรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย
โรคเบาหวาน สามารถนำเนื้อหาความรู้ไปใช้ในการให้คำแนะนำไปใช้ใน
การดูแลผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน และนำไปใช้
เป็ นเอกสารในการประกอบการศึกษา

6.1.2 ต้นฉบับผลงานวิจัย/นวัตกรรม
ผู้วิจัย (ทัชนิดา ทรัพย์กรานนท์,2562)
ชื่อวิจัย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
6.2.2 สรุปบทความวิจัย/นวัตรรม
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือด
สูง ที่มารับบริการตรวจรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน
ศรีหมวดเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ตนเองของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ที่มารับบริการตรวจรักษา ณ โรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเมือง
ลำปาง จังหวัดลำปาง
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ที่มีภาวะไขมัน
ในเลือดสูงอยู่ในระดับดี เพียงร้อยละ 64.2 และยังมีกลุ่มตัวอย่างที่มี
พฤติกรรมอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงคือการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน
และเครื่องในสัตว์เป็ นประจำ ร้อยละ 7.5 และ 6.7 ตามลำดับ กลุ่ม
ตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพียงร้อยละ 50 และพฤติกรรม
การจัดการความเครียด ร้อยละ 82.1 กลุ่มตัวอย่างสามารถหาวิธีผ่อน
คลายความเครียดที่เหมาะสมให้กับตัวเอง เช่น การไปเดินวิ่งออกกำลัง
กาย ฟั งเพลง ดูโทรทัศน์ เป็ นต้น ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่
สูบบุหรี่ (ร้อยละ 85.8) และไม่ด่ ม
ื เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ
71.6) ที่ยังสูบบุรี่และดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในปั จจุบันมีอยู่ร้อยละ 6.0 และ
20.9 ตามลำดับ

ปั จจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะ
ไขมันในเลือดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ เพศ
โดยพบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ การศึกษา อาชีพ การรับรู้
อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ
ที่แตกต่างกันทำให้ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
แตกต่างกัน
6.3.2 การนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุกรณี
ศึกษา
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (Total Lifestyle
Change)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หมายถึง การกำจัดปั จจัยเสี่ยง
ที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันให้หมดสิน
้ ไป ได้แก่ สูบบุหรี่ การนั่ง
หรือยืนอยู่กับที่เป็ นส่วนใหญ่ในแต่ละวันความเครียด ร่วมกับการออก
กำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม
การงดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้ระดับ HDL- Cholesterol ลดลง
เป็ นอันตรายต่อ endothelial cell และมีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอด
เลือดแดง รวมทัง้ ทำให้เกร็ดเลือดจับตัวกัน
การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอมีประโยชน์มาก
เพราะทำให้ภาวะดื้ออินซูลินลดลง ทำให้ไขมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
ขึน
้ กล่าวคือ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอล เพิ่มระดับ
HDL- Cholesterol และมีผลต่อ mononuclear cell ทำให้เซลล์ลดการ
หลัง่ cytokines ที่กระตุ้นขบวนการ atherosclerosis นอกจากนีก
้ าร
ออกกำลังกายยังเป็ นวิธีการสำคัญในการลดและควบคุมน้ำหนัก ข้อพึง
ปฏิบัติสำหรับการออกกำลังกายที่สำคัญ คือ เริ่มออกกำลังกายแต่น้อย
และค่อยๆ เพิ่มขึน
้ การออกกำลังกายที่ถูกต้องประกอบด้วย
การมีความสม่ำเสมอ (frequency) คือทุกวันหรือวันเว้นวันหรือ
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครัง้
ระยะเวลาออกกำลัง (duration) นานเพียงพอ คือครัง้ ละ 30-45
นาทีอย่างต่อเนื่อง ความหนักของการออกกำลังกายที่
พอเหมาะ (intensity) ซึง่ ในทางปฏิบัติใช้อัตราการเต้นของหัวใจ
เป็ นเกณฑ์ คือ ออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็ นร้อยละ 60-
85 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ซึ่งอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดได้จากการ
คำนวนโดยลบเป็ นปี ออกจากตัวเลข 220
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง หมายถึง รับประทานอาหารที่มี
พลังงานพอเหมาะ และมีสารอาหารหลักครบทุกหมู่ โดยมีสัดส่วนและ
ปริมาณโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม ซึง่ มีหลักการ ดังนีค
้ ือ
1). ปริมาณอาหารหรือพลังงาน (Kilocalories) ต่อวันพอเหมาะ
ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2). ปริมาณไขมันต่อวันให้พลังงานร้อยละ 25-35 ของพลังงาน
ทัง้ หมด โดยต้องคำนึงถึงประเภทของไขมันที่ใช้ คือ ให้เป็ นกรดไขมันอิ่ม
ตัวไม่เกินร้อยละ 7 ของพลังงานทัง้ หมดเป็ นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลาย
ตำแหน่งไม่เกินร้อยละ 10 ที่เหลือเป็ นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง ดัง
นัน
้ ควรประกอบอาหารด้วยน้ำมันพืชที่สกัดจากถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ด
ดอกทานตะวัน หรือ เมล็ดดอกคำฝอย รำข้าว มะกอก นอกจากนีต
้ ้อง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด รวมทัง้ หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่ได้รับ
การแปรรูปให้แข็ง เช่น เนยเทียม (margarine) เนยขาว (shortening)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำจากน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เช่น น้ำมัน
มะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะไขมันแปรรูปเหล่านีจ
้ ะมีปริมาณ trans
fatty acids สูง ปริมาณ trans fatty acids ที่รับประทานจะทำให้ระดับ
LDL-Cholesterol เพิ่มขึน
้ เป็ นสัดส่วนกัน
3). ปริมาณโปรตีน ให้พลังงานร้อยละ 12-15 ของพลังงานทัง้ หมด
อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ และถั่ว ประเภทเนื้อสัตว์ ยึด
หลัก ดังนี ้
ต้องงด เนื้อสัตว์ติดมันเครื่องในสัตว์และหนังสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะ
ปรุงอาหารในรูปแบบใดๆ
ควรหลีกเลี่ยงหรือสามารถรับประทานเล็กน้อยเป็ นครัง้ คราว
ได้แก่ อาหารทะเล เช่น ปลาหมึก กุ้ง ปู ไข่แดง และ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น
ไส้กรอกทุกชนิด, แฮม, แหนม, หมูยอ, กุนเชียง
รับประทานได้เป็ นประจำคือ เนื้อปลาทุกชนิด ไก่ เป็ ด หมู เนื้อ ที่
ไม่ติดหนังและมันปริมาณที่ควรรับประทาน คือ วันละ 2-4 ขีด (200-400
กรัม) หรือเนื้อสัตว์สุก 4-6 ซ้อนโต๊ะต่อมื้อขึน
้ กับน้ำหนักตัว และระดับไข
มันในเลือด
4). เลือกรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 200-300
มก/วัน ทัง้ นีข
้ ึน
้ อยู่กับความรุนแรงของการมีภาวะไขมันในเลือดสูงและ
ระดับไขมันในเลือด
5). พลังงานที่เหลือ ร้อยละ 55-65 ของพลังงานทัง้ หมด ได้จากคาร์
โบไฮเดรท คือ อาหารประเภท แป้ ง ซึ่งควรเป็ นคาร์โบไอเดรทเชิงซ้อน
ได้แก่ ธัญพืชหรือข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่าง ๆ เนื่องจาก จะให้ทงั ้ ใยอาหาร
และโปรตีนควรหลีกเสี่ยงการใช้น้ำตาลหรืออาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง
6. รับประทานผักปริมาณมากและผลไม้ทุกมื้อ ทัง้ ผักผลไม้สดเพื่อ
ให้ได้ใยอาหารมากพอ
7. ดื่มแอลกอฮอล์ได้บ้าง แต่ไม่ควรเกิน 6 ส่วนต่อสัปดาห์
(แอลกอฮอล์หนึ่งส่วนได้แก่ วิสกี ้ 1/2 ออนซ์ หรือ เบียร์ 12 ออนซ์ หรือ
ไวน์ 4 ออนซ์) ยกเว้นในผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ห้ามดื่ม
แอลกอฮอล์
2.การให้ยาลดระดับไขมันในเลือด

เมื่อควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว ไม่สามารถทำให้ระดับไข
มันในเลือดลดลงถึงระดับเป้ าหมาย จำเป็ นต้องใช้ยาร่วมด้วย โดยต้อง
เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับความผิดปกติของไขมันของผู้ป่วยแต่ละราย ยา
ลดไขมันมีหลายกลุ่ม ยาที่สามารถลดทัง้ ระดับโคเลสเตอรอลและ
ไตรกลีเซอไรด์ ทัง้ นีก
้ ารรักษาด้วยยาจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดย
แพทย์เท่านัน

6.4.2 ข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากบทความวิจัย/นวัตกรรม
จากการศึกษาวิจัยเรื่องนีป
้ รากฏให้เห็นว่ามีความน่าสนใจของเนื้อหา
สามารถนำบทงานวิจัยมาปรับใช้ได้จริงในเรื่องการดูแลตนเองในผู้ป่วย
โรคไขมันในเลือดสูง เพื่อแนะนำการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันใน
เลือดสูง สามารถนำเนื้อหาความรู้ไปใช้ในการให้คำแนะนำไปใช้ในการ
ดูแลผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง และนำไป
ใช้เป็ นเอกสารในการประกอบการศึกษา

6.1.4 ต้นฉบับผลงานวิจัย/นวัตกรรม
ผู้วิจัย (ดวงเดือน บุดดา ศิวพร อึง้ วัฒนา และ วราภรณ์ บุญเชียง,2562)
ชื่อวิจัย การพัฒนาแบบแผนการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่เป็ นโรค
ความดันโลหิตสูงชนิดควบคุมไม่ได้โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
Development of Eating Pattern for People with
Uncontrolled Hypertension Using Family Participation
Approach
6.2.4 สรุปบทความวิจัย/นวัตรรม
1. เพื่อพัฒนาแบบแผนการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่เป็ นโรค
ความดันโลหิตสูง ชนิดควบคุมไม่ได้ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
2. เพื่อศึกษาความเป็ นไปได้ของการใช้แบบแผน การรับประทาน
อาหารสำหรับผู้ที่เป็ นโรคความดันโลหิต สูง ชนิดควบคุมไม่ได้โดยการมี
ส่วนร่วมของครอบครัว
ผลการวิจัยพบว่าจากการมีส่วนร่วมในทุกด้านของครอบครัวทำให้
ได้แบบแผนการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่เป็ นโรคความดันโลหิตสูง
ชนิดควบคุมไม่ได้ที่มีช่ อ
ื แบบแผนว่า “กิ๋นหื้อดีกิ๋นหื้อลำ กิ๋นหื้อไกลโรค
ความดันโลหิตสูง” ที่มีสาระหลักของแผน 3 ประเด็น คือ “เพิ่มผัก” “ไม่
หนักเค็ม” และ “กินพออิ่ม” และ เมื่อนำแบบแผนฯที่พัฒนาขึน
้ ไปใช้ใน
สภาพการณ์จริง พบว่าแบบแผนฯมีความเหมาะสมกับบริบทวิถีชีวิตและ
การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็ นโรคความดันโลหิตสูงและสมาชิก
ครอบครัวในระดับปานกลาง (x ̅=2.50, S.D. = 0.62 และ x ̅ =2.47,
S.D.= 0.61) และจากระยะประเมินได้ข้อเสนอแนะจากการใช้แบบแผนฯ
ได้แก่ ควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละข้อของแบบแผนฯเพื่อ
ประโยชน์ต่อการประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิบัติ
ตัวตามแบบแผนฯอย่างต่อเนื่องและการรณรงค์ต่อยอดในชุมชน รวมถึง
ควรมีการ พัฒนาต่อยอดแบบแผนฯนีไ้ ปสูก
่ ารสร้างเมนูอาหารลดความ
ดันโลหิตสูงที่สามารถทำได้ง่ายและใช้ผักในท้อง ถิ่นที่มีคุณสมบัติในการ
ลดความดันโลหิตมาเป็ นวัตถุดิบต่อไป

6.3.4 การนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุกรณี
ศึกษา
สมาชิกในครอบครัวผู้ที่เป็ นโรคความดันโลหิตสูง ภายในแผนมีการ
กำหนดสัดส่วนอาหารในรูปแบบของ ธงโภชนการสำหรับผู้ที่เป็ นโรค
ความดันโลหิตสูง (วัยทำงาน)ตำบลยางเนิง้ ซึ่งเน้นอาหารในกลุ่มข้าวแป้ ง
และอาหารในกลุ่มผักผลไม้ในการกำหนดข้อปฏิบัติใน แบบแผน ได้มีการ
กำหนดเป็ นรูปแบบของโค้ดคำ โดย แต่ละโค้ดมีสาระสำคัญดังนี ้
1. เพิ่มผัก: หมายถึง การที่ผู้ที่เป็ นโรคความดัน โลหิตสูงชนิด
ควบคุมไม่ได้และสมาชิกในครอบครัวมีการ เพิ่มสัดส่วนของผักที่อุดมด้วย
แร่ธาตุโพแทสเซียม และ แมกนีเซียมในจานอาหารและรับประทานให้
ได้4-5 ส่วน ต่อวัน ในการรับประทานและการประกอบอาหารนัน
้ เน้น
สีสันของผักที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน และเน้นการรับ
ประทานผักที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นตาม แต่ละฤดูการเพื่อลดต้นทุนในการ
ประกอบอาหารที่ เหมาะสมกับโรคได้แก่กะหล่ำปลีผักกาดทุกชนิดคะน้า
เห็ดผักหวาน ยอดมะขาม ผักบุ้ง มะเขือเทศฝรั่ง กล้วย น้ำว้า และส้ม
เขียวหวาน
2. ไม่หนักเค็ม: หมายถึง การที่ผู้ที่เป็ นโรคความ ดันโลหิตสูงชนิด
ควบคุมไม่ได้และสมาชิกในครอบครัว ลดการใส่เครื่องปรุงที่มีรสเค็มใน
การประกอบอาหารเช่น เต้าเจีย
้ ว เกลือ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ซีอ๊ ว
ิ ซอส
ต่างๆ ตลอดจนผงชูรส ผงปรุงรส หรือซุปก้อนปรุงรส ลดการ เติมเครื่อง
ปรุงรสเค็มก่อนรับประทานอาหาร (Table salt) เช่น พริกน้ำปลาซอส
และน้ำจิม
้ ทุกประเภทโดยเริ่ม จากการลดลงจากปริมาณเดิมครึ่งหนึง่
และให้ชิมอาหาร ก่อนปรุง หากเป็ นอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน
ให้ ลดการซดน้ำแกง
3. กินพออิ่ม: หมายถึง การที่ผู้ที่เป็ นโรคความดัน โลหิตสูงชนิด
ควบคุมไม่ได้และสมาชิกในครอบครัวไม่รับ ประทานอาหารในปริมาณที่
มากเกินไป โดยคำว่า“อิ่ม” หมายถึง “เมื่อสิน
้ สุดการรับประทานอาหาร
ในแต่ละมื้อ ผู้รับประทานอาหารยังสามารถดื่มน้ำได้อีกประมาณ 2 แก้ว
ก่อนจบมื้ออาหาร และต้องรู้สึกสบายท้อง ไม่หนัก ท้อง หรือจุกแน่นท้อง
จนเกินไป ”เพื่อให้วงจรการหิว-อิ่ม ของธรรมชาติของแต่ละบุคคล
สามารถทำงานได้ตามปกติ และมีประสิทธิภาพมากขึน
้ และแต่ละมื้อควร
ทานแต่ พอดีและทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เน้นรับประทาน อาหาร
ในกลุ่มข้าวและแป้ งเป็ นอาหารหลักรองลงมาคือ กลุ่ม กลุ่มผักผลไม้ ด้าน
แนวทางการนำแบบแผนฯไปใช้ในสภาพการณ์ จริงได้นำใช้ในรูปแบบของ
สื่อสติ๊กเกอร์ที่ประกอบไปด้วย โค้ดคำและสรุปสาระสำคัญของแต่ละโค้ด
คำ
6.4.4 ข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากบทความวิจัย/นวัตกรรม
จากการศึกษาวิจัยเรื่องนีป
้ รากฏให้เห็นว่ามีความน่าสนใจของ
เนื้อหา สามารถนำบทงานวิจัยมาปรับใช้ได้จริงในเรื่องการดูแลตนเองในผู้
ป่ วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อแนะนำการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่
เป็ นโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำเนื้อหาความรู้ไปใช้ในการให้คำ
แนะนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในผู้ป่วยความ
ดันโลหิตสูง และนำไปใช้เป็ นเอกสารในการประกอบการศึกษา
7. การคัดกรองโดยใช้ปิงปอง 7 สี โรคควานดันโลหิตสูง

กลุ่มป่ วย สีเหลือง อยู่ในระยะเฝ้ าระวัง


การวางแผนการพยาบาล
เมื่อพบว่าผู้ป่วยโรคความโลหิตสูงอยู่ในกลุ่มสีเหลือง มีค่าความดัน
โลหิต 140/90 mmHg ได้มีแผนการพยาบาล คือ
1.การให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 3 ล. คือ
3 อ. คือ
อ.อาหาร รับประทานครบ 5 หมูแ
่ ละต้องได้รับสารอาหารใน
สัดส่วนที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม
มากเกินไป เลือกวิธีเตรียมอาหารด้วยการต้ม นึ่ง ย่าง งดของทอด ผัด ที่
ใช้น้ำมันมาก
อ.ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายเป็ นประจำ
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที
อ.อารมณ์ หมั่นใช้สติก่อนอารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึ กสมาธิ
และผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟั งเพลง ทำงานอดิเรก คิดบวก

3 ล. คือ
ล.ลดเหล้า
โทษของสุรา
- ทำให้เป็ นโรคต่าง ๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไตอักเสบ
โรคหัวใจ
- ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ เช่น พลัดตกหกล้ม รถชนกัน
- ทำให้สติปัญญาและความสามารถในการทำงานลดลง ทำงานบกพร่อง
ได้
เคล็ดลับในการลดละเลิกสุรา
- ตัง้ เป้ าว่าจะเลิกเพื่อใคร เพราะอะไร
- ลดปรึมาณการดื่มทีละน้อย เลือกวันที่จะลดหรือเล็กสุราหลีกเลี่ยงจาก
สถานที่ที่เคยดื่ม
- ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือ ดนตรี
ล.ลดบุหรี่
โรคที่เกิดจากพิษภัยของบุหรี่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด
ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบมีลิ่มเลือดอุดตันอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิด
การขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างรุนแรง
- โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งกล่องเสี่ยง ช่องปากหลอดอาหาร ตับ
อ่อน ไต และกระเพาะปั ลสาวะ โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง แผลในกระเพาะ
อาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น กลิ่นปาก ฟั นเหลือง เหงือกร่น
เคล็ดลับในการลดละเลิกบุหรี่
- ตัง้ ใจจริงที่จะเล็ก เล็กเพื่อใคร เพราะอะไร เลือกวันที่จะเลิกบุหรี่
ทิง้ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ให้หมด เช่น บุหรี่ และไฟแช็ค ตัง้ สต์
ให้มั่น เข้มแข็งเมื่อมีอาการหงุดหงิด
- หาทีพ
่ ึ่ง กำลังใจจากคนรอบข้างหรือให้รางวัลตนเองเมื่อสามารถ
ทำได้
ล.ลดความอ้วน
อ้วน เก็ดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ไขมัน นีจ
้ ะ
แตกตัวเป็ นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับมีผลทำให้อินซูลินออกฤทธิไ์ ด้ไม่ดีเกิด
เป็ น 'โรคอ้วน" ซึ่งเป็ นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการ
รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้แก่
- ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
- เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีปริมาณกากใยมาก
- บริโภคอาหารจำพวกผักได้มากโดยไม่จำกัด
- ลดสัดส่วนของอาหารที่จะรับประทาน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง
2.แนะนำให้รับประทานอย่างยาต่อเนื่องตามแพทย์ และไม่หยุดยาเอง
3.พบแพทย์ทุก 2-3 เดือน
4.ตรวจภาวะแทรกซ้อน อย่างน้อยปี ละ 1 ครัง้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
และหลอดเลือดสมอง

การคัดกรองโดยใช้ปิงปอง 7 สี โรคเบาหวาน
กลุ่มเสี่ยง สีเหลือง อยู่ในระยะเฝ้ าระวัง
การวางแผนการพยาบาล
เมื่อพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในกลุ่มสีเขียวเข้ม มีค่าระดับ
น้ำตาลในเลือด 150 mg/dL ได้มีแผนการพยาบาล คือ
1.การให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 3 ล. คือ
3 อ. คือ
อ.อาหาร รับประทานครบ 5 หมูแ
่ ละต้องได้รับสารอาหารใน
สัดส่วนที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม
มากเกินไป เลือกวิธีเตรียมอาหารด้วยการต้ม นึ่ง ย่าง งดของทอด ผัด ที่
ใช้น้ำมันมาก
อ.ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายเป็ นประจำ
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที
อ.อารมณ์ หมั่นใช้สติก่อนอารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึ กสมาธิ
และผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟั งเพลง ทำงานอดิเรก คิดบวก

3 ล. คือ
ล.ลดเหล้า
โทษของสุรา
- ทำให้เป็ นโรคต่าง ๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไตอักเสบ
โรคหัวใจ
- ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ เช่น พลัดตกหกล้ม รถชนกัน
- ทำให้สติปัญญาและความสามารถในการทำงานลดลง ทำงานบกพร่อง
ได้
เคล็ดลับในการลดละเลิกสุรา
- ตัง้ เป้ าว่าจะเลิกเพื่อใคร เพราะอะไร
- ลดปรึมาณการดื่มทีละน้อย เลือกวันที่จะลดหรือเล็กสุราหลีกเลี่ยงจาก
สถานที่ที่เคยดื่ม
- ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือ ดนตรี
ล.ลดบุหรี่
โรคที่เกิดจากพิษภัยของบุหรี่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด
ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบมีลิ่มเลือดอุดตันอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิด
การขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างรุนแรง
- โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งกล่องเสี่ยง ช่องปากหลอดอาหาร ตับ
อ่อน ไต และกระเพาะปั ลสาวะ โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง แผลในกระเพาะ
อาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น กลิ่นปาก ฟั นเหลือง เหงือกร่น
เคล็ดลับในการลดละเลิกบุหรี่
- ตัง้ ใจจริงที่จะเล็ก เล็กเพื่อใคร เพราะอะไร เลือกวันที่จะเลิกบุหรี่
ทิง้ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ให้หมด เช่น บุหรี่ และไฟแช็ค ตัง้ สต์
ให้มั่น เข้มแข็งเมื่อมีอาการหงุดหงิด
- หาทีพ
่ ึ่ง กำลังใจจากคนรอบข้างหรือให้รางวัลตนเองเมื่อสามารถ
ทำได้
ล.ลดความอ้วน
อ้วน เก็ดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ไขมัน นีจ
้ ะ
แตกตัวเป็ นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับมีผลทำให้อินซูลินออกฤทธิไ์ ด้ไม่ดีเกิด
เป็ น 'โรคอ้วน" ซึ่งเป็ นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการ
รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้แก่
- ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
- เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีปริมาณกากใยมาก
- บริโภคอาหารจำพวกผักได้มากโดยไม่จำกัด
- ลดสัดส่วนของอาหารที่จะรับประทาน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง
2.แนะนำให้รับประทานอย่างยาต่อเนื่องตามแพทย์ ไม่ควรปรับ ลดขนาด
และไม่หยุดยาเอง
3.พบแพทย์ทุก 2-3 เดือน เพื่อตรวจติดตามน้ำตาลในเลือด
4.ลด/งดการบริโภคน้ำตาลปริมาณของหวานหรืออาหารจำพวกแป้ งและ
คาร์โบไฮเดรตต่างๆลง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน

You might also like