You are on page 1of 21

โครงงาน IS

เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเปลือก
ไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา

จัดทำโดย
1. นายพีระวิชญ์ แดงผ่องศรี เลขที่ 4
2. นางสาวสุธิดา ผาสุข เลขที่ 19
3. นางสาวจิรประภา จีโน เลขที่ 23
4. นางสาวเต็มศิริ แปงคำมูล เลขที่ 32
5. นางสาวพิริญา สิทธิกัน เลขที่ 34

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ครูที่ปรึกษา
คุณครูทิพากร สงวนวงษ์

โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34

เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเปลือกไข่ไก่ เปลือก


ไข่เป็ด และเปลือกไข่นกกระทา
ครูที่ปรึกษา คุณครูทิพากร สงวนวงษ์
ผูจ้ ัดทำ 1.นายพีระวิชญ์ แดงผ่องศรี
2.นางสาวสุธิดา ผาสุข
3.นางสาวจิรประภา จีโน
4.นางสาวเต็มศิริ แปงคำมูล
5.นางสาวพิริญา สิทธิกัน

บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเปลือกไข่ไก่ ไข่
เป็ด และไข่นกกระทา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วย
เปลือกไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา
โครงงานนี้ได้แนวคิดมาจากการที่ปัจจุบันมีการทิ้งน้ำมันทั้งจากการประกอบอาหาร โรงงาน
อุตสาหกรรม ฯลฯ ลงในแหล่งน้ำ ส่งผลให้แหล่งน้ำมีการปนเปื้อนและน้ำเน่ าเสีย ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต
และระบบนิเวศอีกด้วย
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้คิดหาวิธีการลดคราบน้ำมันในแหล่งน้ำ ด้วยการกรองน้ำมันออกจาก
น้ำ เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนและเน่าเสียของน้ำ โดยเริ่มจากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติ
ที่ช่วยดูดซับคราบน้ำมันที่หาได้ง่ายและมีราคาถูก ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า วัสดุที่ตรงกับ
วัตถุประสงค์ข้างต้น คือเปลือกไข่ ที่เหลือจากการใช้ประกอบอาหารในครัวเรือนและไม่ได้นำไปใช้
ประโยชน์อะไร ผู้จัดทำจึงเกิดแนวคิดว่า หากนำเปลือกไข่แต่ละชนิดมาใช้ในการกรองน้ำมันออกจาก
น้ำ จะมีประสิทธิภาพแตกต่างกันหรือไม่

กิตติประกาศ

โครงงานไอเอส เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเปลือก


ไข่ไก่ ไข่เป็ดและไข่นกกระทำสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความเมตตาช่วยเหลืออย่างดียิ่งของคุณครูที่ปรึกษา
ที่ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่าง ๆของการทำงานมาโดยตลอด
จึงขอขอบคุณทุก ๆท่านที่ได้สนับสนุนการทำงาน และให้กำลังใจแก่ผู้จัดทำเสมอมา กระทั่ง
การศึกษาค้นคว้าโครงงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
ผู้จัดทำมีความซาบซึ้งในความกรุณาอันดียิ่งจากทุกท่านที่กล่าวมาและขอขอบพระคุณมา ณ
โอกาสนี้

คณะผู้จัดทำ

คำนำ

โครงงานเรื่องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเปลือกไข่ไก่
เปลือกไข่เป็ด และเปลือกไข่นกกระทานี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้าง
องค์ความรู้ กลุ่มของข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมัน
ถั่วเหลืองด้วยเปลือกไข่นั่นก็คือเปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด และเปลือกไข่นกกระทาโดยมีการอธิบาย
วิธีการทดลอง ความสำคัญของการทำโครงงาน ความรู้เรื่องเปลือกไข่ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงวิธีการ
ลดคราบน้ำมันจากวัสดุเหลือใช้ โครงงานนี้ได้รวบรวมเนื้อหามาจากอินเตอร์เน็ต
คณะผู้จัดทำต้องขอขอบคุณครู ทิพากร สงวนวงษ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงาน คณะ
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่อ่านโครงงานจะได้รับความรู้จากโครงงานเรื่องนี้แล ะหวังว่าจะเป็น
ประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน โครงงานเล่มนี้อาจมีสิ่งใดผิดพลาดก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
คำนำ ค
สารบัญ ง
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
สมมุติฐานการศึกษา 1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
เอกสารอ้างอิง 3-6
บทท่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน 7
ตารางปฏิบัติกิกรรม 7
เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการศึกษา 8
วิธีการศึกษา 9-11
บทที่ 4 ผลการศึกษา 12
ผลการศึกษา 12
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา 13
สรุปผลการศึกษา 13
ภาคผนวก 14-15
บรรณานุกรม 16
1

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในการประกอบอาหารของครัวเรือน น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารมีความหลากหลายของ
น้ำมัน และวิธีการปรุงอาหารก็มีปริมาณที่แตกต่างกัน สำหรับการทอดอาหารก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้
น้ำมันทอดในปริมาณมาก หลังจากทอดเสร็จก็จะกลายเป็นน้ำมันที่คนส่วนมากมักจะเททิ้งลงสู่ท่อ
ระบายน้ำทิ้ง ส่งผลให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมทางน้ำ น้ำเน่าเสีย การบำบัดน้ำมันจากครัวเรือนก่อน
ทิ้งจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ลดการปนเปื้อนของสารที่อยู่ในน้ำมัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีทำการดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำ
2. เพือ่ ทดลองดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำโดยใช้ผงเปลือกไข่
3. เพือ่ ศึกษาประสิทธิภาพในดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำโดยใช้ผงเปลือกไข่ต่างชนิดกัน
4.

สมมติฐาน
ผงเปลือกไข่แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำแตกต่างกัน

ตัวแปรต้น ชนิดของผงเปลือกไข่
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำ
ตัวแปรควบคุม ปริมาณน้ำมัน ปริมาณผงเปลือกไข่
2

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรูว้ ิธีการดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำ
2. ได้รับความรูป้ ระโยชน์ของเปลือกไข่
3. สามารถนำความรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
4. ได้แนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกรูปแบบหนึ่ง

ขอบเขตของการศึกษา

• เปลือกไข่ไก่ได้มาจากท้องถิ่น ในบริเวณ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่


• เปลือกไข่นกกระทาและเปลือกไข่เป็ดได้มาจากเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
• ทำการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลือง
• สถานที่ทำการศึกษา คือ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ตำบล ยุหว่า อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่
50120
• ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.
2564
3

บทที่ 2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง
2.1 แคลเซียมคาร์บอเนต
แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารอนินทรีย์สารที่เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในแหล่ง
น้ำ ธรรมชาติ มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่ละลายนน้ำ มีสมบัติเฉพาะ ไม่เป็นพิษ และมีความเสถียรทาง
เคมี จึงนิยมนำไปใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่สำคัญใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นตัวเติม (filter) ใน
อุตสาหกรรมพลาสติก ยาง กระดาษ และสี แคลเซียมคาร์บอเนตยังใช้เป็นสารที่ควบคุมในการผลิต
ของอุ ต สาหกรรมเหล็ก กล้าและวัตถุที ่ทำจากเหล็ ก (Wang et al., 2007) วั ฏ จั ก รของแคลเซียม
คาร์บอเนต
ในธรรมชาติพบวัสดุหลายชนิดที่มีส่วนประกอบหลักเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต เช่น ปะการัง
เปลือกไข่ เปลือกหอย ซึ่งมีรายงานว่า เปลือกหอยจะประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียม คาร์บอเนต
มากถึงร้อยละ 95-99 และมีโปรตีนเป็น สารเชื่อมต่อประมาณร้อยละ 0.1-5.0 โดยน้ำหนัก (Kaplan,
1998) โดยเปลือกหอยจะมีชั้นผนึกแคลเซียม (prismatic layer) ซึ่งเป็นชั้นที่แข็งแรง (สุภกร, 2558)
2.2 เปลือกไข่
เปลือกไข่มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของแม่ไก่ขณะกกฟักไข่เป็นทางให้อากาศผ่านเข้าออกป้องกัน
การกระทบกระเทือนและไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกเข้าไปทำลายเชื้อลูกไก่ แต่ต้องโปร่งบางพอ
ให้ลูกไก่เจาะออกไปได้(ยุวรัตน์ ปรมีศนาภรณ์ , 2544)โดยไข่ทั้งฟองของสัตว์ปีกต่าง ๆ รวมทั้งเป็ด ไก่
มีองค์ประกอบและโครงสร้างเหมือนกัน แบ่งเป็ น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไข่แดง ไข่ขาว และเปลือกไข่ แต่
สัดส่วนและปริมาณต่างกันตามขนาดและชนิดของสัตว์ปีก โดยไข่ไก่ฟองหนึ่งน้ำหนักเฉลี่ย 58 กรัม
แบ่งเป็นไข่ขาว ไข่แดงและเปลือก เท่ากับ 32.9 , 18.7 และ 6.4 กรัมต่อฟอง ตามลำดับ ไข่ขาวและไข่
แดง นำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 89 ของน้ำหนักของไข่ทั้งฟอง ส่วนเหลือ ทิ้งอีกร้อยละ 11 เป็น
เปลือกไข่ ที่ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ร้อยละ94 แคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2)
ร้อยละ 1 แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) ร้อยละ 1 และอินทรีย์สาร ร้อยละ 4 ของน้ำหนักเปลือก
แห้ง
4

ตารางที่ 2-1 องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกไข่ (วิชัย ดำรงโภคภัณฑ์, 2555)


แร่ธาตุ % โดยน้ำหนัก
เปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด เปลือกไข่นกกระทา
CaCO3 99.0 96.5 97.3
S 0.1 1.2 0.4
Mg 0.5 0.1 1.0
P 0.2 0.5 1.1
K - 0.0839 -
2.2.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของเปลือกไข่ (ยุวรัตน์,2544)
1. ส่วนที่เคลือบผิวไข่ (Cuticle) เป็นชั้นที่อยู่บนผิวนอกของเปลือกไข่ หนาประมาณ 0.5-12.8
ไมโครเมตร เมื่อขยายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน จะปรากฏรอยแยกจำนวนมาก
บนพื้นผิว เพราะเคลือบผิวไข่มีหน้าที่ อุดรูพรุนที่ผิวด้านนอกป้องกันการสูญเสียน้ำและการบุกรุกของ
จุลินทรีย์ ประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 85-87 คาร์โบไฮเดรส 3.5-4.4 ไขมันร้อยละ 2.5-3.5 และเถ้า
ร้อยละ 3.5 ทั้งหมดประกอบกันเป็นอินทรีย์สารทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ไมโครเมตร
2. เปลือกไข่ชั้นนอก (spongy Layer) เป็นชั้นที่แคลเซียมคาร์บอเนตเรียงตัวกันอย่างหนาแน่น
ในรูปของผลึก Calcite และจัดเรียงตัวตามแนวตั้งอยู่บนเมตริกอินทรีย์ (Organic Matrix) เปลือกไข่
ชั้นนอกมีลักษณะฟองน้ำ เพราะประกอบด้วยรูพรุนจำนวนมากตั้งแต่ 7,000-17,000 รู
3. เปลือกไข่ชั้น ใน (Mammillary Knob Layer) เป็นปุ่มครึ่ งทรงกลมของผลึกแคลเซี ย ม
คาร์บอเนตรูป 6 เหลี่ยม สูง1/3 ของความหนาเปลือกไข่
4. เยื่อเปลือกไข่ (Shell Membrane) เป็นชั้นบาง 2 ชั้น แนบติดกันด้ วยตลอด ยกเว้นด้าน
ป้านของไข่ที่ถูกแยกกันด้วยช่องอากาศ (Air Sac) หนาประมาณ 70 ไมโครเมตร ประกอบด้วย โปรตีน
คาร์โบไฮเดรส และไขมันร้อยละ 95,2 และ 3 ตามลำดับ (ไม่คิดปริมาณเถ้า)
2.2.2 การใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่
เปลือกไข่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ที่ผ่านมามีการนำเปลือกไข่ไปใช้ทำปุ๋ย หรือ
ใช่ไล่มดเนื่องจากมีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เปลือกไข่บดมีแคลเซียมสูงสามารถใช้ปรับสภาพดิน
5

ที่เป็นกรดให้เป็นกลางมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานการใช้เปลือกไข่บดเป็นตัวดูดซับโลหะหนัก


บางชนิด เช่น แคดเมี่ยมและตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือดูดซับตะกั่วจากน้ำเสียของโรงงานผลิต
แบตเตอรี่ ใช้ปรับพีเอชของน้ำเสียแทนการใช้ปูนขาวและใช้เป็นสารช่วยให้เกิดการตกตะกอนในระบบ
บำบัดน้ำเสีย ในทางโภชนาการเปลื อกไข่บดใช้ผสมในอาหารเพื่อเสริมแคลเซียม เช่น ผสมเปลือกไข่
บดในผลิตภัณฑ์ขนมอบกรอบ และใช้เป็นแหล่งแคลเซียมเสริมในอาหารสัตว์
2.3 กระบวนการดูดซับ (Adsorption Process)
การดูดซับ เป็นกระบวนการที่สารดูดซับได้ดึงโมเลกุลหรือคอลลอยด์ที่อยู่ในแก๊สหรือของเหลว
ให้มาเกาะจับและติดบนผิวของสารดูดซับ ซึ่งเป็นการคลื่อนย้ายจากของเหลวหรือแก๊สมายังผิวของ
ของแข็งซึ่งมีผิวเป็นที่เกาะจับ เรียกส่วนของแข็งนี้ว่า ตัวดูดซับ (Adsorbent) ส่วนโมเลกุลหรือ
คอลลอยด์ที่เคลื่อนย้ายมาเรียกว่า ตัวถูกดูดซับ (Adsorbate)
การดูดซึมจึงเป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายของตัวถูกดูดซับจากตัวกลางหนี่งไปสะสมที่พื้นผิว
ของตัวดูดผิว เมื่อมีการสัมผัสกันของพื้นผิวระหว่างตัวดูดซับกับตัวถูกดูกซับ เช่น พื้นผิวระหว่าง
ของเหลวกับของแข็ง พื้นผิวระหว่างของแข็งกับก๊าซ พื้นผิวระหว่างของแข็งกับของแข็งและพื้นผิว
ระหว่างของเหลวกับของเหลว กระบวนการดูดซับนี้สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สารอินทรีย์
หรือโลหะถูกดูดซับในดินหรือตะกอนดินในทะเล มหาสมุทร และแม่น้ำ กระบวนการดูดซับที่เกิดขึ้น
โดยมนุษย์ เช่น การใช้ถ่านกัมมันต์ในการดูดซับเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อน จากอากาศและน้ำ การใช้ดิน
เหนียวดูดซับยาแมลงในดิน หรือดูดซับโลหะหนักจ่ากแหล่งฝังกลบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของ
สารพิษที่จะลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน(นิพจธ์และคณิตา, 2555)
2.3.1 ประเภทการดูดซับ
1. การดูดซับทางกายภาพ (Physisorption) เป็นแรงที่ทำให้เกิดการเกาะ หรือยึดเหนี่ ยว
ระหว่างโมเลกุลของตัวดูดซับกับโมเลกุลที่พื้นผิวหน้าของตัวดูดซับ เป็นแรงดูดที่ค่อนข้างอ่อน เช่น
แรงแวนเดอร์วาลส์ แรงไดโพล-ไดโพล และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีทั้งของตัวดูดซั บ
และตัวถูกดูดซับโดยที่โมเลกุลของตัวถูกดูดซับและถูกดูดซับเกาะอยู่บนพื้นผิวของตัวดูดซับในลักษณะ
ที่ซ้อนกันหลายชั้น และจำนวนชั้นของโมเลกุลของตัวถูกดูดซับจะเพิ่มขึ้น การจัดเรียงตัวของโมเลกุล
การกระจายตัว และการเหนี่ยวนำ จัดเป็ นปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับทางกายภาพ การดูดซับทาง
6

กายภาพโดยทั่วไป จะเกิดที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้พลังงาน่ของระบบลดลงเป็นการทำให้ระบบมีความ


เสถียรมากขึ้น
2. การดูดซับทางเคมี (Chemisorption) จะมีลักษณะเหมือนกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการ
สร้างพันธะเคมีของตัวถูกดูดซับกับพื้นผิวของตัวดูดซับ การดูดซับทางเคมีมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอน
หรือการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำให้แรงยึดเหนี่ยวค่อนข้างสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นในการดูดซับ
ทางกายภาพ ทำให้การดูดซับ ทางเคมีส่วนใหญ่ผันกลับไม่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการดูดซับทาง
กายภาพที่สามารถจะเกิดการผันกลับได้ภายใต้สถานะเดียวกัน การดูดวับทางเคมีจะเกิดขึ้นในบริเวณ
ที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นและโมเลกุลตัวถูกดูดซับจะเกาะอยู่บริเวณดังกล่าว จะเป็นแบบชั้นเดี ยว
(Monolayer) และจะเกิดได้ดีที่อุณหภูมิสูง แต่การดูวับทางกายภาพเกิดได้ทั่วไปบนพื้นผิวตัวดูดซับ
2.3.2 ตัวดูดซับ
สารที่มีความสามารในการดูดซับมีหลายชนิด อาจแบ่งได้ 5 ประเภท
1. สารอนินทรีย์ เช่น ดินเหนียวชนิดต่าง ๆ แมกนีเซียมออกไซด์ ซิลิกากัมมันต์ อะลูมิเนียมกัม
มันต์ ถ่านกระดูก สินแร่จำพวกอะลูมิโนซิลิเกต เช่น Kaolinite เป็นต้น
2. ถ่านกัมมันต์ เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพ และมีการนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางในด้าน
ต่าง ๆ เช่น ฟอกสี ใช้ในการกำจัดกลิ่นและรส
3. สารอินทรีย์สังเคราะห์ ได้แก่ สารแลกเปลี่ยนไอออน (เรซิน) ชนิดพิเศษที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อ
กำจัดสารอินทรีย์ต่าง ๆ สารเรซินเหล่านี้มีพื้นที่ผิวจำเพาะประมาณ 300-500 ตารางเมตรต่อกรัม
4. วัสดุชีวภาพ (Biomaterials) ส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ขี้เลื่อย ไคโต
ซาน กากกาแฟ กากชา กากถั่วเหลือง ฟางข้าว เปลือกไม้ เถ้าแกลบดำ
5. สารดูดซับชีวภาพ (Biosorbent) ได้แก่ เซลล์จุลินทรีย์ เช่น เซลล์ของแบคทีเรีย ยีสต์ หรือ
รา สายพันธ์ต่าง ๆ และสาหร่าย
7

บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน
ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วย
เปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด และเปลือกไข่นกกระทา

สัปดาห์ที่ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สถานที่ทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ


- หัวข้อการทำโครงงานและนำเสนอ ห้องศูนย์วิทย์ ห้อง 515 - สมาชิกในกลุม่
1 ครูพร้อมทัง้ เหตุผลในการทำ - ครูที่ปรึกษา
20 ก.ค. 2564 - สืบค้นทางอินเทอร์เน็ต
- ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์ส่วน ห้องศูนย์วิทย์ ห้อง 515 - สมาชิกในกลุ่ม
2 ค่าใช้จ่ายและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ - ครูที่ปรึกษา
27 ก.ค. 2564 - สอบถามครูที่ปรึกษา

3 - ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน ห้องศูนย์วิทย์ ห้อง 515 - สมาชิกในกลุ่ม


03 ส.ค. 2564 - ครูที่ปรึกษา

- เขียนรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม ห้องศูนย์วิทย์ ห้อง 515 - สมาชิกในกลุ่ม


4
และสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม - ครูที่ปรึกษา
10 ส.ค. 2564

5 - นำเสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน ห้องศูนย์วิทย์ ห้อง 515 - สมาชิกในกลุ่ม


- ครูที่ปรึกษา
26 ต.ค. 2564
8

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
อุปกรณ์
1. บีกเกอร์ ขนาด 100 ml
2. เครื่องชั่งดิจิตอล
3. กระบองตวง ขนาด 150 ml
4. ผ้าดิบ
5. กรวยกรองแก้ว ขนาด 75 mm

วัสดุ
1. เปลือกไข่ไก่ (บดละเอียด)
2. เปลือกไข่เป็ด (บดละเอียด)
3. เปลือกไข่นกกระทา (บดละเอียด)
4. น้ำมันที่ใช้แล้ว
5. น้ำ
9

วิธีการทดลอง
1. ตวงน้ำ 50 ml น้ำมัน 20 ml เทใส่ในบีกเกอร์

2. นำเปลือกไข่ทั้งสามชนิดมาชั่ง จำนวน 10 กรัม

เปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด เปลือกไข่นกกระทา

3. นำผ้าวางไว้บนกรวยกรองแก้ว
10

4. นำเปลือกไข่ทั้งสามชนิดใส่ไว้ในผ้า

5. จากนั้นนำบีกเกอร์ที่มีของเหลวเทผ่านผ้า

6. จับเวลาทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นวัดระดับน้ำมันในกระบอกตวง


ทดลองครั้งที่ 1
11

ทดลองครั้งที่ 2

ทดลองครั้งที่ 3

ผลการศึกษา
1. ได้ศึกษาสรรพคุณของเปลือกไข่
2. ได้ศึกษาวิธีลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองด้วยผงเปลือกแต่ละชนิด
12

บทที่ 4
ผลการทดลอง
ผลการทดลอง
การทดลองเพื่อการศึกษาว่า เปลือกไข่บดละเอียดแต่ละชนิด คือ เปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด
เปลือกไข่นกกระทา มีประสิทธิภาพในดูดซับสารจากน้ำมันจากการทอดซ้ำแตกต่างกัน แตกต่าง
กันหรือไม่ โดยทำการทดลอง 3 ครั้ง ได้ผล ดังนี้

ปริมาณน้ำมันที่เหลือ (มิลลิลิตร)
วัสดุ
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เฉลี่ย
1. เปลือกไข่ไก่ 13 13 11 12.33
2. เปลือกไข่เป็ด 13 14 14 13.67
3. เปลือกไข่นกกระทา 10 10 9 9.67
13

บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดคราบน้ำมันของเปลือกไข่ไก่ เปลือกไข่เป็ด และเปลือกไข่
นกกระทาโดยการนำน้ำผสมน้ำมันเทลงบนเปลือกไข่บดละเอียดทั้งสามชนิด พบว่าเปลือกไข่นก
กระทาสามารถลดคราบน้ำมันถั่วเหลืองได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในการลดคราบ
น้ำมันของเปลือกไข่ไก่และเปลือกไข่เป็ด โดยสังเกตผลของการเปรียบเทียบผลการทดลองเฉลี่ยทั้ง 3
ครั้งของการทดลองกับเปลือกไข่แต่ละชนิด พบว่าปริมาณน้ำมันที่ผ่านเปลือกไข่นกกระทามีปริมาณ
น้อยกว่าปริมาณน้ำมันที่ผ่านเปลือกไข่ไก่และเปลือกไข่เป็ด โดยปริมาณน้ำมันที่ผ่านเปลือกไข่นก
กระทามีความสูงในหลอดทดลองเฉลี่ย 9.67 เซนติเมตร ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ผ่านเปลือกไข่ไก่
และไข่เป็ด มีความสูงในหลอดทดลองเฉลี่ย 12.33 เซนติเมตรและ13.67 เซนติเมตรตามลำดับ ซึ่งจาก
ผลการทดลองทำให้สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ว่า ผงเปลือกไข่แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการดูดซับ
สารจากนํ้ามันที่ผ่านการทอดแตกต่างกัน
14

ภาคผนวก
15

ภาคผนวช
16

บรรณานุกรม
ชินวัฒน์ ศาสนนันทน์. (2554). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักโดยใช้วัสดุธรรมชาติใน
ชุมชน. ระดับอุดมศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประสิทธิ์ แผ้วบาง และ อรไท สุขเจริญ. (2542, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเปรียบเทียบการดูดซับตะกั่วโดยใช้
เปลือกไข่และเกล็ดปลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ภาษาไทย), 42(7), หน้า 51-57.
ยุวรัตน์ ปรมีศนาภรณ์. (2544). การพัฒนาวัสดุดูดซับจากเปลือกไข่เพื่อกำจัดแคดเมี่ยม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี.
ผศ.ดร.นุชนภา ตั้งบริบูรณ. 2559. อุปกรณ์คัดแยกเปลือกไข่และเยื่อหุ้มไข. [Online].
Available: https://www.arda.or.th/datas/file/Poster

You might also like