You are on page 1of 9

โครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์ มเพาะเลีย้ งปลานิลเพือ่ การส่ งออก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิล ในปี พ .ศ. 2509


ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร จํานวน 10,000 ตัว จากบ่อดินในบริ เวณพระตําหนักสวนจิตรลดาแก่กรม
ประมงนําไปขยายพันธุ์ แจกให้แก่ราษฎรเพื่อนําไปเพาะเลี้ยง หลังจากนั้นมาได้มีการศึกษาค้นคว้าต่างๆ
เกี่ยวกับปลานิลอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านพันธุกรรม อาหาร โรค และเทคนิคการเพาะเลี้ยงต่างๆ โดยกรม
ประมง สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจําหน่ายปัจจัยการผลิต ทําให้เพาะเลี้ยงปลานิลมี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และแพร่ กระจายไปในพื้นที่ทว่ั ทั้งประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็ นปลาที่เลี้ยง
ง่าย โตเร็ ว เนื้อขาว รสชาติอร่ อย สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งลาบ ต้มยํา เผาเกลือ เมี่ยง
ปลา สเต็กปลา ปลาส้ม ปลานิลแดดเดียว ทําให้ปลานิลได้รับความนิยมในการผลิตและบริ โภคมากขึ้นเป็ น
ลําดับ
ในปั จจุบนั การเพาะเลี้ยงปลานิลได้ขยายพื้นที่ไปทัว่ ประเทศ ทําให้ปลานิลกลายเป็ นปลานํ้าจืดที่มี
มูลค่าทางเศรษฐกิจเป็ นอันดับ 1 ของไทย โดยมีปริ มาณผลผลิตกว่า 210,000 ตันในปี 2552 สามารถ
ตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศได้เป็ นอย่างดี การส่ งออกมีตลาดหลักสําคัญอยูท่ ี่
สหภาพยุโรป รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริ กา โดยในปี 2552 มีปริ มาณ
ผลผลิตปลานิลส่ งออกรวม 14,103 ตัน มูลค่าการส่ งออกสูงถึง 1,153 ล้านบาท จวบจนถึงปัจจุบนั ตลาด
ผูบ้ ริ โภคทั้งในและต่างประเทศยังมีความต้องการปลานิลในปริ มาณสูง จึงส่ งผลให้แนวโน้มการเพาะเลี้ยง
ปลาชนิดนี้ยงั มีลู่ทางที่แจ่มใส ทั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างครบวงจร
ตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยงจนถึงการแปรรู ป โดยคํานึงถึงคุณภาพและมาตรฐานเป็ นสําคัญ เชื่อว่าจะช่วย
ยกระดับให้สินค้าปลานิลมีความน่าสนใจยิง่ ขึ้นและตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริ โภคได้มากและ
สามารถนํารายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง
เพื่อเป็ นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพการผลิตปลานิลให้เกิดผลเป็ นรู ปธรรม
กรมประมงจึงได้จดั ทําโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่ งออกขึ้น
โดยมีวตั ถุประสงค์ รวบรวมองค์ความรู ้จากปราชญ์ปลานิลทัว่ ประเทศ จํานวน 50 รายใน 50 จังหวัด เพื่อ
เผยแพร่ เทคนิคการเลี้ยงที่เพิ่มคุณภาพผลผลิตปลานิลขณะที่ลดต้นทุนการผลิตสู่ เกษตรกรผูเ้ ลี้ยงปลานิล และ
พัฒนากลุ่มเกษตรกรผูเ้ ลี้ยงปลานิลให้เกิดความเข้มแข็ง สนับสนุนเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู ้เกี่ยวกับ
มาตรฐาน GAP แก่เกษตรกรผูเ้ ลี้ยงปลานิล เพื่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าํ ที่ดี ( GAP)
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด โดยจัดเทศกาลกินปลานิล ประจําปี 2554 ขึ้นในจังหวัดตามภาคต่างๆ
10 จังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู ้ถึงกระบวนการผลิตปลานิลที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
GAP และหันมาบริ โภคปลานิลเพิ่มขึ้น เป็ นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรผูเ้ พาะเลี้ยงปลานิลผลิตอาหาร
ปลอดภัย ทําให้เกิดรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็ นอยูใ่ ห้ดีข้ ึนและยังเป็ นการเปิ ดโอกาสให้กลุ่มผู ้
ประกอบอาชีพเดียวกันสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู ้ระหว่างกันได้อีกด้วย

ปลานิล

ปลานิลเป็ นปลานํ้าจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี ( Cichlidae) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Nile tilapia


ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus มีถ่ินกําเนิดเดิมอยูใ่ นทวีปแอฟริ กา พบทัว่ ไปตามหนองบึง และ
ทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกนั ดา โดยที่ปลาชนิดนี้เจริ ญเติบโตและเลี้ยงง่ายเหมาะสมที่จะนํามาเพาะเลี้ยง
ในบ่อได้ดีจึงได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่ หลายในภาคพื้นเอเชียแม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริ กาก็นิยม
เลี้ยงปลาชนิดนี้
สายพันธุ์และการจัดการพ่ อแม่ พนั ธุ์ปลานิลตามหลักพันธุศาสตร์

ปัจจุบนั ปลานิลของไทยได้รับการพัฒนาและปรับปรุ งพันธุ์จากหน่วยงานของรัฐ คือ สถาบันวิจยั


และพัฒนาพันธุกรรม กรมประมง และบริ ษทั เอกชน ทําให้เกิดเป็ นปลานิลสายพันธุ์ใหม่ๆ ประมาณ 5 สาย
พันธุ์ ดังนี้

1. จิตรลดา เป็ นปลานิลที่เจ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมาร ทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระ


เจ้าอยูห่ วั ซึ่งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ให้เลี้ยงไว้ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน พร้อมกับพระราชทานชื่อ
ว่า ปลานิล ต่อมาทรงพระราชทานปลานิลให้กรมประมงนําไปเพาะขยายพันธุ์แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรทัว่
ประเทศ

2. จิตรลดา 1 เป็ นสายพันธุ์ปลานิลที่กรมประมง ทําการปรับปรุ งด้วยวิธีการคัดพันธุ์จากปลานิลใน


พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน ประมาณ 7 ชัว่ อายุ ทําให้ได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีการเจริ ญเติบโตเร็ วกว่าสาย
พันธุ์เดิมประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์

3. จิตรลดา 2 (Genetically Male Tilapia; GMT) เป็ นปลาได้จากการจัดการพันธุกรรมในปลานิล


สายพันธุ์อียปิ ต์ ให้พอ่ พันธุ์มีโครโมโซม YY ที่เรี ยกว่า YY-male หรื อพ่อพันธุ์ซุปเปอร์เมล (YY) ซึ่งเมื่อ
นําไปผสมกับแม่พนั ธุ์ปกติจะได้ลูกปลานิลเพศผูท้ ้ งั หมด

4. จิตรลดา 3 (Genetically Improved Farmed Tilapia Line : GIFT) เป็ นปลานิลปรับปรุ งพันธุ์
ด้วยการคัดพันธุ์ปลานิล 8 สายพันธุ์ ประมาณ 5 ชัว่ อายุ (F5) ซึ่งกรมประมงนําเข้ามาจากประเทศฟิ ลิปปิ นส์
แล้วทําการคัดพันธุ์ต่อประมาณ 2 ชัว่ อายุ ได้ปลานิลที่มีหวั เล็ก ตัวกว้าง เนื้อหนา เจริ ญเติบโตเร็ วได้ขนาด
3-4 ตัว ต่อกิโลกรัม ภายใน 6-8 เดือน ผลผลิตสูงกว่าปลาทัว่ ไป 40 เปอร์เซ็นต์ อัตราการรอดสูงกว่าปลานิล
พันธุ์ปกติเกษตรกรเลี้ยงในปั จจุบนั
5. นิลแดง จากการตรวจสอบโดยมหาวิทยาลัยสเตอร์ล่ิง และมหาวิทยาลัยฟิ ลิปปิ นส์ดว้ ยวิธี
Eletrophoresis พบว่า ปลานิลสี แดงสายพันธุ์ไทยในปัจจุบนั เป็ นลูกผสมระหว่างปลานิล (Oreochromis
miloticus) และปลาหมอเทศ O. mossambicus มีรูปร่ างเหมือนปลานิล มีสีแดง สี แดงส้ม สี ขาว สี สม้
สามารถเลี้ยงได้ท้ งั ในนํ้าจืด นํ้ากร่ อย และทะเล เนื่องจากมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ได้ดี สามารถอยูใ่ นนํ้าที่มีความเค็มระหว่าง 11-35 ppt.

การเพาะเลีย้ งปลานิลในจังหวัดตรัง

การเพาะเลี้ยงปลานิลในจังหวัดตรังไม่เป็ นที่แพร่ หลายมากนัก มีเกษตรกรเลี้ยงกันเป็ นบางอําเภอ


ส่ วนใหญ่จะเลี้ยงกันในกระชัง มีเลี้ยงในบ่อดินบ้างเล็กน้อย อําเภอที่เลี้ยงกันมากได้แก่
อําเภอเมืองตรัง ทําการเลี้ยงที่แม่น้ าํ ตรังเป็ นการเลี้ยงกันในกระชังเป็ นส่ วนมาก จํานวนกระชังที่เลี้ยง
มีประมาณ 200 กระชัง
อําเภอห้วยยอดมีการเลี้ยงกันมากที่บริ เวณเขื่อนท่างิ้วมีประมาณ 100 กระชัง
อําเภอวังวิเศษมีการเลี้ยงกันมากที่ตาํ บลวังมะปรางเหนือบริ เวณอ่างเก็บนํ้าบ้านวังมะปรางเหนือ มี
การเลี้ยงรวมกันแล้วประมาณ 50 กระชัง
อําเภอกันตัง มีการเลี้ยงบริ เวณแม่น้ าํ ตรัง ส่ วนมากจะอยูท่ ี่ตาํ บลควนธานีมีประมาณ 100 กระชัง
ในตอนนี้จงั หวัดตรังได้มีปราญช์ปลานิลผูซ้ ่ ึงมีความรู ้และประสบการณ์ดา้ นการเพาะเลี้ยงปลานิล
คือ นายจรั ญ ไข่คล้าย ซึ่งเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังอยูท่ ี่ บ้านเลขที่ 84/2 หมู่ที่1 ตําบลท่างิ้ว อําเภอห้วยยอด
จังหวัดตรัง หากเกษตรกรท่านใดที่เลี้ยงปลานิลมีความสนใจอยากสอบถามความรู ้กต็ ิดต่อไปได้ที่หมายเลข
โทรศัพท์ติดต่อ 089-2905595
ปราญช์ ปลานิลคุณ นายจรัญ ไข่ คล้าย
นอกจากยังมีกลุ่มเกษตรกรผูเ้ ลี้ยงปลานิลกระชังที่จดั ตั้งกลุ่มและได้ข้ ึนทะเบียนเป็ นที่เรี ยบร้อยแล้วได้แก่
กลุ่มเลี้ยงปลานิลในกระชังวังวิเศษ ตั้งอยูท่ ี่ บ้านเลขที่ 225 หมู่ที่ 7 ตําบลวังมะปรางเหนือ อําเภอวังวิเศษ
จังหวัดตรัง ประธานกลุ่มได้แก่ นายเพียร แสงแก้ว หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 089-5870992

กลุ่มเลีย้ งปลานิลในกระชังวังวิเศษ
ประธานกลุ่ม
นายเพียร แสงแก้ว

ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มเลีย้ งปลานิลในกระชังวังวิเศษ
ด้ านความช่ วยเหลือทีศ่ ูนย์ วจิ ยั และพัฒนาประมงนํา้ จืดตรังมีให้ เกษตรกรผู้เลีย้ งปลานิล

1. แจกปัจจัยด้านการผลิตให้แก่เกษตรกรกลุ่มผูเ้ ลี้ยงปลานิลซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนฟาร์มแล้วมีการ
แจกลูกพันธ์ปลานิลแปลงเพศ และปลาทับทิมให้แก่กลุ่มเกษตรกร ผูเ้ ลี้ยงปลานิลในกระชังวังวิเศษ ตําบลวัง
มะปรางเหนือและแจกอุปกรณ์ในการสร้างกระชังได้แก่ เหล็กเส้นในการสร้างกระชัง ถังพลาสติกในการ
สร้างกระชังมีการมอบอาหารปลาทับทิมให้แก่ปราชญ์ปลานิลเมืองตรังซึ่งเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังอยูท่ ี่
ตําบลท่างิ้ว อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
2. ให้ความรู ้ทางด้านวิชาการในการเลี้ยงปลานิลที่ถูกต้องได้มาตรฐาน
3. ตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพนํ้าให้แก่เกษตรกรผูเ้ ลี้ยงปลานิลในจังหวัดตรัง
4. นําเกษตรกรมาอบรมและดูงานเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลานิล
5. สํารวจตลาดราคาปลานิลในจังหวัดตรัง
อบรมสัมมนาปราชญ์ปลานิล
ดูงาน ที่ฟาร์มปราชญ์ปลานิล คุณสมคิด เจียวก๊ก จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี

You might also like