You are on page 1of 4

1

บทปฏิบัติการที่ 2
การหาค่ าศักย์ ของน้ำโดยวิธี Constant volume

คำนำ
ค่าศักย์ของน้ำ (Water potential) เป็ นค่าที่ก ำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงระดับพลังงานเสรี ของ
น้ำ เปรี ยบเทียบกับระดับพลังงานเสรี ของน้ำบริ สุทธิ์ เป็ นหลัก โดยกำหนดให้คา่ ศักย์ของน้ำบริ สุทธิ์ ที่
ภาวะปกติมีค่าเท่ากับ 0 น้ำใดที่มีพลังงานเสรี นอ้ ยกว่าน้ำบริ สุทธิ์ จะมีค่าศักย์ต ่ำกว่า 0 ดังนั้นความ
สามารถและทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำโดยวิธีการแพร่ หรื อออสโมซิ ส จะขึ้นอยูก่ บั ค่าศักย์ของน้ำ
กล่าวคือ น้ำจะเคลื่อนที่จากบริ เวณที่มีค่าศักย์สูงไปยังที่ๆ มีคา่ ศักย์ต ่ำกว่าเสมอ (น้ำบริ สุทธิ์ ที่ความ
ดัน 1 บรรยากาศ ค่าศักย์ของน้ำจะมีคา่ สู งสุ ดเท่ากับ 0)
ค่าศักย์ของน้ำในเซลล์พืชประกอบด้วยผลรวมระหว่างออสโมติกโพเทนเชียลและเพรชเชอ
ร์โพเทนเชียล ดังนี้
 =  + p
เมื่อ  คือ ค่าวอเตอร์โพเทนเชียล หรื อค่าศักย์ของน้ำ
 คือ ค่าออสโมติกโพเทนเชียล (มีค่าเป็ นลบเสมอ ยกเว้นน้ำบริ สุทธิ์ มีคา่ = 0)
p คือ ค่าเพรชเชอร์โพเทนเชียล (ภายในเซลล์มีชีวิตมีค่าเป็ นบวก)

ค่าศักย์ของน้ำในเนื้อเยือ่ พืช สามารถหาได้หลายวิธี เช่น Chardakov’s method หรื อ วิธี


constant weight method และวิธี constant volume method ซึ่ งการหาค่าศักย์ของน้ำในเนื้อเยือ่ ของ
มันฝรั่งโดยใช้วิธี constant volume method มีหลักการ คือ ดูการเปลี่ยนแปลงของปริ มาตรของ
เนื้อเยือ่ พืช เมื่อนำเนื้อเยือ่ พืชมาแช่ในสารละลายความเข้มข้นต่างๆ กัน ถ้าสารละลายในเนื้ อเยือ่ พืชมี
ความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นของสาระลายจะทำให้เกิดกระบวนการ plasmolysis โดยน้ำจาก
เซลล์พืชจะแพร่ ออกมาโดยกระบวนการออสโมซิ ส ทำให้ปริ มาตรของเซลล์และเนื้ อเยือ่ พืชนั้นลด
ลง แต่ถา้ หากสารละลายในเนื้ อเยือ่ พืชนั้นมีความเข้มข้นมากกว่าความเข้มข้นของสารละลายที่
เนื้อเยือ่ พืชแช่อยู่ น้ำจากสารละลายจะแพร่ เข้าไปในเซลล์พืช ทำให้เซลล์พืชและเนื้ อเยือ่ พืชมี
ปริ มาตรเพิ่มขึ้นเกิดกระบวนการ turgidity สำหรับเนื้อเยือ่ พืชที่มีปริ มาตรคงที่ แสดงว่าค่าศักย์ของ
น้ำในเนื้อเยือ่ พืชและของสารละลายที่เนื้ อเยือ่ พืชนั้นแช่อยูม่ ีค่าเท่ากัน จึงทำให้ทราบค่าศักย์ของน้ำ
ในเนื้อเยือ่ พืช เมื่อทราบค่าออสโมติกโพเทนเชียลที่แช่เนื้อเยือ่ พืชนั้น(ในกรณี ของภาชนะเปิ ดค่าออส
โมติกโพเทนเชียลจะมีค่าเท่ากับค่าวอเตอร์โพเทนเชียลของสารละลาย โดยค่าเพรชเชอร์โพเทนเชีย
ลมีค่าเท่ากับ 0)
การหาค่าออสโมติกโพเทนเชียล () ของสารละลาย คำนวณได้โดยใช้สมการของ
van’t Hoff
 = -miRT
เมื่อ  = ออสโมติกโพเทนเชียล (Mpa)
m = molal คือ mole/Kg of H2O (ความเข้มข้นของสารละลายคิดเป็ นกรัมของ solute/1000
(มล) ของ solvent)
2

i = ค่าสัมประสิ ทธิ์ ของการแตกตัวของตัวถูกละลาย


R = ค่าคงที่ของก๊าซ (0.00831 Kg.Mpa mole-1 K-1)
T = อุณหภูมิเป็ นองศาสัมบูรณ์ (273 + C = K)
สำหรับตัวถูกละลายที่ไม่แตกตัว เช่น น้ำตาลซูโครส มีค่า i = 1 สำหรับเกลือ เช่น โซเดียม
คลอไรด์ ซึ่ งแตกตัวเป็ นประจุ 2 ชนิด มีค่า i = 2
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นกั ศึกษารู้จกั วิธีการหาค่าศักย์ของน้ำในเนื้อเยือ่ มันฝรั่ง โดยวิธี constant volume
วัสดุอปุ กรณ์
1. หัวมันฝรั่ง
2. cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0 cm.
3. ใบมีดโกน
4. ไม้บรรทัด
5. ขวดขนาด 2 ออนซ์
6. สารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 0, 0.05, 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30, 0.35, 0.40,
0.45 และ 0.50 M
วิธีการ
1. เตรี ยมสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 0, 0.05, 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30, 0.35,
0.40, 0.45 และ 0.50 m
2. ใช้ cork borer เจาะหัวมันฝรั่งให้ได้ขนาดความยาว 3 ซม. เท่าๆกัน จำนวน 11 ชิ้น
3. นำมันฝรั่งแต่ละชิ้นแช่ในขวดขนาด 2 ออนซ์ ที่มีสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น
ที่เตรี ยมไว้ขา้ งต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 ชัว่ โมง แล้วบันทึกผลการทดลอง โดยวัดปริ มาตรที่เปลี่ยน
แปลงไป (คำนวณปริ มาตรจากสูตร r2h เมื่อ r คือ รัศมีของมันฝรั่ง ; h คือ ความยาวของแท่งมัน
ฝรั่ง)
4. บันทึกผลการทดลองลงในตาราง พร้อมทั้งวาดกราฟแสดงความสัมพันธ์ของปริ มาตรกับ
ความเข้มข้น
ผลการทดลอง
1. จงเติมข้อมูลลงในตารางให้สมบูรณ์
ความเข้มข้น Osmotic potential ปริ มาตรของมันฝรั่ง ปริ มาตรของมันฝรั่งที่
ซูโครส (m) () เริ่ มต้น สิ้ นสุ ด เปลี่ยนแปลง
0 0
0.05 -(0.05)(2.52) = -0.13
0.10
0.15
3

0.20
0.25
0.30
0.35
0.40
0.45
0.50
หมายเหตุ : ที่อุณหภูมิ 30 C i= 1; R=0.00831 และ T = (273+30) = 303 K
ดังนั้น  = -m (1) (0.00831) (303) = -m (2.52)
2. จงวาดกราฟแสดงความสัมพันธ์ของปริ มาตรมันฝรั่งที่เปลี่ยนแปลงกับความเข้มข้นของน้ำตาล

_
คำถาม
1. เนื้อเยือ่ มันฝรั่งมีค่าวอเตอร์โพเทนเชียลเป็ นเท่าใด
ความเข้มข้นน้ำตาลซูโครส (m)
................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

2. ถ้าท่านต้มมันฝรั่งก่อนนำมาแช่ในสารละลายน้ำตาลจะหาค่าวอเตอร์โพเทนเชียลได้หรื อ
ไม่ เพราะเหตุใด
................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

3. จงวิจารณ์ผลการทดลองนี้
4

................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

You might also like