You are on page 1of 7

วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

ปฏิบัติการเรื่อง อัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการกำจัดสารอินทรีย์

1. หลักการ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเอเอส (activated sludge: AS) เป็นระบบที่ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนมา
ย่อยสลายสารอินทรีย์และให้ผลผลิตคือน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์และเซลล์ จุดมุ่งหมายของระบบบำบัดน้ำ เสียแบบตะกอนเอ
เอส คือ ต้องการเปลี่ยนสารอินทรีย์ในน้ ำเสียทั้งที่อยู่ในรูปแขวนลอย (suspended solids) และละลายน้ำ (dissolved
solids) ให้เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ (biomass) ที่เกาะกั นเป็นปุยมีขนาดใหญ่ (floc) และมีน้ำ หนักเพียงพอที่จะตกตะกอนได้
(settleable solids) เราเรียกตะกอนที่เกิดขึ้นนี้ว่าตะกอนเอเอส (activated sludge) ซึ่งโดยปกติจะมีสีน้ำตาลอ่อน จุลินทรีย์
ที่พบในตะกอนนี้ ประกอบไปด้วยแบคทีเรีย รา โปรโตซัว และหนอนต่างๆ รวมทั้งสสารเฉื่อย (inert materials) ซึ่งมาจาก
ปฏิกิริยาการย่อยสลายแบบชีวภาพดังกล่าว โดยปกติการเจริญเติบ โตของจุลินทรีย์ในที่ที่มีอาหารจำกัด จะมีอัตราการ
เจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปสัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่เหลืออยู่ โดยถ้ามีอาหารเพียงพออัตราการเจริญเติบโตจะเป็นแบบ
เอกซ์โพเนนเซียล (exponential curve) และเมื่ออาหารเริ่มไม่เพียงพอ จุลินทรีย์จะเริ่มตายลงและอัตราการเจริญเติบโตจะ
คงที่ และเมื่ออาหารหมดอัตราการเจริญเติบโตจะลดต่ำลง แสดงดังรูปที่ 3.1 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณจุลินทรีย์กับ
เวลาของการระบบตะกอนเร่งชนิดเป็นครั้ง (batch test)

รูปที่ 3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณชีวมวลกับเวลา

ในช่วงการเจริญเติบโต สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของการเจริญของจุลินทรีย์กับเวลาได้ตามสมการ 3.1


dX/dt = µX (3.1)
เมื่อ X คือมวลหรือจำนวนเชื้อ (มวลต่อปริมาตร), t คือเวลา และ µ คือ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (the specific
growth rate constant (t-1) เวลาที่ใช้ในการแบ่งตัวเรียกว่า ระยะเวลาการเจริญ (generation time). จากสมการที่ 3.1
สามารถจัดรูปสมการแบบใหม่ได้ตามสมการที่ 3.2 ถึง 3.3 เพื่อหาระยะเวลาการเจริญดังนี้
dX/X =µ dt (3.2)
ln Xt = µt + ln X0 (3.3)
เมื่อ X0 คือปริมาณเชื้อเริ่มต้น Xt คือจำนวนเซลล์หรือมวลเซลล์เมื่อที่ระยะเวลาเจริญ (t) ในทางปฏิบัติ การเดิน
ระบบบำบัดน้ำเสียต้องการรักษาระดับปริมาณของจุลินทรีย์ในระบบให้อยู่คงที่ให้มากที่สุด (stationary phase) ทั้งนี้ เพราะ
จุลินทรีย์ในระยะนี้เป็นตัวแก่มีปริมาณมากและมีน้ำหนักเพียงพอที่สามารถจะตกตะกอนแยกออกจากน้ำเสียได้และเป็นระยะที่
อาหารเริ่มหมดหรือประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์จะสูงสุด แต่เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อแต่ละชนิดแตกต่าง

1
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

กันโดยขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำเสียและชนิดของจุลินทรีย์ ดังนั้นการหาอัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สำหรับน้ำเสียแต่ละ
ชนิดจึงมีความสำคัญในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้งการเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำ
เสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในปฏิกริ ิยาแบบชีวภาพของระบบตะกอนเอเอส ความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของ
จุลินทรีย์ในระบบกับการกำจัดสารอินทรีย์ของระบบตะกอนเอเอส
3. อุปกรณ์และเครื่องมือ
• ถังปฏิกิริยา ใช้บีกเกอร์หรือถังพลาสติกใสขนาด 1-2 L
• ปั๊มเติมอากาศ
• แผ่นกรองใยแก้ว
• ตู้อบ 105 oC
• ตู้ดูดความชื้น (desiccator)
• ชุดอุปกรณ์เครื่องแก้วที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์หาซีโอดี (COD) ได้แก่ หลอดซีโอดี บิวเรต เป็นต้น
• ชุดกรองหาปริมาณของแข็ง
• หลอดแก้วหรือขวดพลาสติกขนาด 15-20 ml เพื่อเก็บน้ำตัวอย่าง
• กระบอกตวง 50 ml
• ตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนชนิดเอเอส ที่มีค่า MLSS ประมาณ 7,500-10,000 mg/L
4. การเตรียมสารอาหารในการเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์
4.1 การเตรียมสารละลายอินทรีย์: สารละลายกลูโคสเข้มข้น 93.8 g/L
ชั่งกลูโคส 93.8 g ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 ml ละลายกลูโคสด้วยน้ำกลั่น แล้วเทสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร
(volumetric flask) ขนาด 1 L ล้างบีกเกอร์ด้วยน้ำกลั่นแล้วเทลงในขวดปรับปริมาตรอีก 2-3 ครั้ง แล้วปรับปริมาตร ให้
จำนวน 1 L ปิดฝาแล้วผสมจนได้เนือ้ เดียวกัน เก็บสารละลายในขวดสารเคมีที่สะอาดที่ 4 oC ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ สารละลายนี้
จะมีความเข้มข้นของซีโอดี ประมาณเท่ากับ 100 g COD/L (100,000 mgCOD/L หรือ 1 ml ของสารละลาย มี COD เท่ากับ
100 mg)
4.2 สารละลาย A
ชั่ง K2HPO4 160 g ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 mL ละลายด้วยน้ำกลั่น เทลงในขวดปรับปริมาตรขนาด 1 L จากนั้น
ละลาย KH2PO4 80 g และ NH4Cl 60 g ด้วยน้ำกลั่นเทลงในขวดตามลำดับ ค่อยๆเขย่าสารผสมกันโดยไม่ให้เป็นฟอง แล้ว
ปรับปริมาตรด้วยน้ำกลัน่ จนได้ ปริมาตรครบ 1 L เทลงในขวดเก็บสารละลายแล้วเก็บขวดสารละลายนี้ในตูเ้ ย็น 4 oC อัตราการ
ใส่ในการทำน้ำเสียจำลองคือ 1 ml/L
ข้อควรระวัง : ห้ามเทสารแต่ละชนิดที่ยังไม่ละลายลงในขวดปรับปริมาตร
4.3 สารละลาย B
ละลายสารต่อไปนี้ ตามลำดับ คือ MgSO4.7H2O 7.0 g, FeSO4.7H2O 0.25 g, ZnSO4.7H2O 0.25 g,MnSO4.3H2O
0.25 g, CaCl2 1.0 g ในบีกเกอร์ขนาด 25 ml ด้วยน้ำกลั่น เทลงในขวดปรับปริมาตรขนาด 1 Lลิตรตามลำดับ ค่อยๆเขย่า
สารละลายให้ผสมกัน จากนั้นปรับปริมาตรให้ครบด้วยน้ำกลั่นครบ 1 L เทลงในขวดเก็บสารละลายแล้วเก็บขวดสารละลายนี้
ในตู้เย็น 4 oC อัตราการใส่ในการทำน้ำเสียจำลองคือ 1 ml/L

2
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

ข้อควรระวัง : ห้ามเทสารแต่ละชนิดที่ยังไม่ละลายลงในขวดปรับปริมาตร
4.4 การเตรียมตะกอนเอเอสข้น
นำตะกอนจากระบบเอเอสมาตั้งทิ้งประมาณ 30 นาที เพื่อให้ตะกอนตกลงแล้วค่อยๆเทน้ำหรือตักน้ำส่วนใสทิ้งหรือ
ไซฟอน (syphon) จนให้เหลือน้อยที่สุดโดยระวังมิให้ตะกอนกระเพื่อมขึ้นมาจะได้ปริมาณของแข็งแขวนลอยของตะกอนเอเอส
ชนิดข้นหรือตะกอนข้น

5. การเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์
ให้เตรียมน้ำ เสียที่มีความเข้มข้นซีโอดีดังนี้ 50, 100, 200, 300, 400, 600, 800, 1,000 และ 1,200 mgCOD/L
โดยปิเปตสารละลายกลูโคสเข้มข้น 93.8 g/L เท่ากับ 0.5, 1.0, 2.0, 3.0, 4.0, 6.0, 8.0, 10.0 และ 12.0 ml และสารอาหาร A
และ B ใส่ในถังพลาสติกอย่างละ 1 ml ทุกถังปรับปริมาตรครบ 1 L ด้วยน้ำประปา ทุกถัง เขย่าให้ผสมกัน ระบุหมายเลขถัง
ปฏิกิริยาเป็น 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ตามลำดับ

6. วิธีการทดลอง
6.1 น้ำกระดาษกรองใยแก้วมาวางไว้ในถ้วยอลูมิเนียม พรมน้ำกลั่นให้ชื้น โดยเตรียมทั้งหมด 5 ถ้วยต่อถังปฏิกิริยา (หรือถ้า
ทำซ้ำใช้ 10 ถ้วย) นำถ้วยไปอบที่ 105 oC เป็นเวลา 15 นาที หลังจากนั้นนำไปเก็บที่โถแก้วกันชื้น (desiccator) รอจน
ถ้วยเย็นลง ชั่งหาน้ำหนักถ้วยแต่ละใบ บันทึกผล เก็บถ้วยในโถแก้วกันชื้นเพื่อใช้ในการหาปริมาณของแข็งแขวนลอยรวม
ข้อควรระวัง: ห้ามใช้สติกเกอร์ติดบนถ้วยอลูมิเนียมเพื่อบันทึกน้าหนัก เนื่องจากสติกเกอร์สามารถดูดความชื้นได้ทำให้มี
ค่าคลาดเคลื่อนมาก
6.2 นำตะกอนเอเอสข้นทั้งหมดเทใส่บีกเกอร์ขนาด 2 L ตั้งไว้ที่เครื่องกวนแบบแม่เหล็ก ใส่แม่เหล็กแท่งลงไปในตะกอนข้นแล้ว
เปิดเครื่องเพื่อกวนผสมตะกอนข้นตลอดเวลา
6.3 ตวงตะกอนเร่งเข้มข้นจากข้อ 6.2 ประมาณ 50 ml ใส่บีกเกอร์ จากนั้นปิเปตตะกอนเร่งเข้มข้นจากบีกเกอร์ประมาณ 1-3
ml ลงในถังปฏิกิริยา โดยปริมาตรตะกอนขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของตะกอนเร่งเข้มข้น ทั้งนี้อาจสังเกตุว่าการเติมตะกอน
ลงในถังปฏิริยา แล้วไม่ควรมีตะกอนส่วนเกินทีต่ กนอนก้นของถังปฏิกิริยา
6.4 ใช้แท่งคนผสม MLSS ในถังปฏิกิริยาอย่างสม่ำเสมอ แล้ว ให้เก็บตัวอย่างน้ำจากถังปฏิกิริยาไปกรองทันทีเพื่อหาปริมาณ
ของแข็งแขวนลอยรวม (suspended solids) โดยให้เก็บตัวอย่างขณะคนสารละลาย โดยใช้ปิเปตเก็บตัวอย่างประมาณ
40 ml (ที่เวลา 0 นาที)
6.5 ส่วนน้ำใสที่ผ่านการกรอง (filtrate) จากข้อ 6.4 นำไปเก็บใส่ขวดเก็บตัวอย่างแล้วหยดกรดซัลฟูรกิ เข้มข้นลงในหลอดเก็บ
ตัวอย่าง 2-3 หยดทันที เขย่าให้ผสมกันเพื่อป้องกันการโตของเชื้อขณะรอการวิเคราะห์ซโี อดี แล้วนำไปวิเคราะห์หา
ปริมาณ SCOD (soluble chemical oxygen demand) ต่อไป
6.6 นำหัวเติมอากาศใส่ลงในถังปฏิกิริยาแล้ว เริม่ เป่าอากาศในถังปฏิกิริยาในอัตรา 500-600 ml/min จับเวลาไม่ต่ำกว่า 4
ชั่วโมง ให้บันทึกเวลาที่เริ่มต้น
6.7 ขณะเป่าอากาศ หากมีตะกอนติดอยู่ข้างของบีกเกอร์ให้ใช้แท่งแก้วคน เขี่ยให้ตะกอนลงในของเหลวผสม (Mixed liquor)
โดยทำอย่างสม่ำเสมอและก่อนเก็บตัวอย่างทุกครั้ง
6.8 ที่เวลา 1, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง ของการเป่าอากาศของแต่ละถังปฏิกิริยา ให้เก็บตัวอย่างครั้งละ 40 mL ขณะคนสารละลาย
จากถังปฏิกิริยา และทำซ้ำข้อ 6.4 และ 6.5
6.9 ให้เป่าอากาศในถังปฏิกิริยาไว้ต่อไปอีกจนครบประมาณ 24-30 ชั่วโมง ให้สังเกตุความขุ่นของน้ำเสียเทียบกับที่ระยะเวลา
0 และ 4 ชั่วโมง โดยสามารถใช้การบันทึกด้วยกล้องถ่ายภาพได้
3
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

7. การคำนวน
7.1 การคำนวนหาอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของตะกอนเอเอส
จากการพลอตกราฟระหว่าง เวลา (t, x-axis) และค่าลอการึธึมของมวลของตะกอนเอเอสที่วัดในรูปของ MLSS (lnX, y-axis)
อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะหาได้จากค่าความชันของกราฟตาม โดยสมการต่อไปนี้
µ = (ln Xt - ln X0) (3.4)
t
เมื่อ µ คือ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (t-1)
Xt คือ มวลของเชื้อหรือตะกอนเอเอสที่เวลา t (mgMLSS/L)
X0 Xt คือ มวลของเชื้อหรือตะกอนเอเอสที่เวลาเริม่ ต้น (mgMLSS/L)
t คือ เวลา (ชั่วโมง)
7.2 การคำนวนหาอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดของตะกอนเอเอส
จากค่า µ ที่ความเข้มข้นต่างๆกันจากข้อ 7.1 ให้พลอตกราฟระหว่าง ความเข้มข้นของซีโอดี (mgCOD/L, x-axis)
และค่า µ (h-1, y axis) จะได้ความสมพันธ์แสดงดังสมการต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสมการที่พัฒนาโดย Jacques Monod (1940s) ที่
เรียกว่า Monod equation
µ = µmaxS0 (3.5)
KS+S0
เมื่อ µ คือ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (t-1)
µmax คือ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงสุด (t-1)
S0 คือ ความเข้มข้นของสารอาหารเริม่ ต้น (mass/volume) ในที่นี้ หน่วยคือ mgCOD/L
Ks คือ ค่าคงที่ของสมการ (mass/volume) เป็นค่าทีไ่ ด้จากค่า S ที่ µmax/2 หน่วยคือ mgCOD/L
7.3 การคำนวนหาผลผลิตจุลินทรีย์ (cells yield)
Y = mass of cell mass produced (3.6)
mass of substrate consumed
Y = (Xt-Xo) (3.7)
(So-St)
เมื่อ Y = ผลผลิตจุลินทรีย์ (cell yield), mgMLSS/mgCOD
Xt = ปริมาณจุลินทรีย์ที่เวลา t, mgMLSS/L
Xo = ปริมาณจุลินทรีย์ที่เวลา 0, mgMLSS/L
So = ปริมาณสารอาหารที่เวลา 0, mgCOD/L
St = ปริมาณสารอาหารที่เวลา t, mgCOD/L

8. คำถามท้ายบท
8.1 ในถังปฏิกิริยาที่ปริมาณสารอินทรีย์ตั้งต้น (COD) มีความเข้มข้นสูงมากๆ หากต้องการให้ประสิทธิภาพการกำจัด
สารอินทรียม์ ากกว่าร้อยละ 90 โดยระบบเอเอส สามารถปรับการเดินระบบได้อย่างไร
8.2 ในกรณีที่มีสัดส่วนของสารอินทรีย์มากกว่าธาตุอาหารมากๆ อาจมีปัญหาอะไรทีเ่ กิดขึ้นกับระบบเอเอส
8.3 ปริมาณสารอินทรีย์ทสี่ ูงขึ้นทำให้มวลชีวภาพสูงขึ้นหรือไม่ ให้เหตุผล

4
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

8.4 นอกจากปริมาณสารอินทรีย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหรือไม่ต่อการเจริญของ


จุลินทรีย์และประสิทธิภาพของระบบ
8.5 หากมีการเจริญเติบโตของจุลนิ ทรีย์ในระบบมากๆ มีข้อสังเกตุอย่างไร

เอกสารอ้างอิง
Association of Environmental Engineering Professors, 1975. Environmental Engineering: Unit Operations
and Unit Processes, Laboratory Manual. Edited by J.T. O’Connor. The University of Texas at Austin, Texas,
USA.
https://www.iwapublishing.com/news/activated-sludge-process
Raina M. Maier (2009) Review of Basic Microbiological Concepts, Bacterial Growth, Environmental
Microbiology, Academic Press. Inc.

5
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

การเขียนรายงานปฏิบัติการ
เรื่อง อัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการกำจัดสารอินทรีย์
1. กลุ่มที.่ ............ วันเดือนปี.................................
2. ผู้ทำปฏิบัติการ ชื่อ .................................นามสกุล..........................รหัส...............................
3. หลักการ............................................................................................................................
4. วัตถุประสงค์......................................................................................................................
5. แผนผังการทดลอง
6. ผลการทดลองให้เขียนผลการทดลองตามแนวทางต่อไปนี้
6.1 ผลการทดลองในแสดงในตารางที่ 1 2 และ 3 อธิบายผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
Table 1 Changes of COD concentrations and %COD removal in experiment
Time Initial 60 90 120 240
(min)
No SCOD %COD SCOD %COD SCOD %COD SCOD %COD SCOD %COD
(mg/L) Removal (mg/L) Removal (mg/L) Removal (mg/L) Removal (mg/L) Removal
1
2
3
4
5
6
7
8
9

Table 2 MLSS concentration and its logarithm


Time (min) Initial 60 90 120 240
No MLSS, lnX MLSS, lnX MLSS, lnX MLSS, lnX MLSS, (X, lnX
(X, mg/L) (X, mg/L) (X, mg/L) (X, mg/L) mg/L)
1
2
3
4
5
6
7
8
9

6
วิไล เจียมไชยศรี วิชา 210314 ปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2562

Table 3 Observation of mixed liquor


No Appearance, 0 h Appearance, 4 h Appearance, 24 h
1
2
3
4
5
6
7
8
9

6.2 ให้แต่ละกลุม่ นำผลการทดลองมาพลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ln X, mgMLSS/L (Y-axis) และเวลา (h, X-axis).


หา µ ตามสมการ 3.4.
6.3 ให้ทุกกลุ่มนำผลการทดลองจากทุกกลุ่มมาพลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ความเข้มข้นซีโอดีเริม่ ต้น, So (mg COD/L),
(x-axis) และ µ (h-1, y-axis). และหา µmax และ Ks ในสมการ 3.5
6.4 จากผลการทดลองให้พลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ความเข้มข้นซีโอดี (mg COD/L) (Y-axis) และเวลา (h, X-axis).
6.5 จากสมการ 3.7 หา Y
7. สรุปผลการทดลอง
8. ตอบคำถามท้ายบท

You might also like