You are on page 1of 18

DOI: 10.14456/jem.2019.

13

06
บทความวิชาการ / Viewpoint

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบ


ต่อสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
และ วิธีการจัดการ
MICROPLASTICS : ORIGIN,
ENVIRONMENTAL IMPACT,
ENVIRONMENTAL CONTAMINATION
AND MANAGEMENT METHODS
สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์a, ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์b
a
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
b
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Sukrita Punyauppa-patha, and Prasongsom Punyauppa-patha


a
Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan Surin Campus
b
Faculty of Science Ubon Ratchathani University

phira88@gmail.com
บทคัดย่อ Abstract
ตั้งแต่มีการผลิตพลาสติกในต้นปี ค.ศ. Since the production of plastic in the
1900 จนถึงปัจจุบันมีการรายงานปัญหาที่เกิดจาก early 1900s to the present, problems arising from
ผลกระทบและการปนเปื้อนของขยะพลาสติกและ the effects and contamination of plastic waste
ไมโครพลาสติ ก ในสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ and micro-plastics in the environment are
ในช่วงเวลา 10 - 15 ปีที่ผ่านมานั้นมีรายงานพบ ongoing. Last 10 - 15 years, there have been reports
การปนเปื ้ อ นของไมโครพลาสติ ก ในสิ่ ง แวดล้ อ ม on microplastic contamination in the environment
และการส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง มี ชี วิ ต เพิ่ ม มากขึ้ น and on increasing impact on living organisms in
ในแทบทุกประเทศทั่วโลก บทความนี้เป็นบทความ almost all countries of the world. This article is an
วิ ช าการที่ ไ ด้ ท บทวนวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง academic article that reviewed relevant literature,
รายงาน เอกสารทางวิชาการ จากนั้นจึงได้วิเคราะห์ reports, and academic documents. Then, the
สถานการณ์ ข องไมโครพลาสติ ก ในสิ่ ง แวดล้ อ ม situation of micro-plastics in the environment
โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษา 1) จุ ด ก� ำ เนิ ด ของ in Thailand was analyzed. This article aimed to
ไมโครพลาสติก 2) เส้นทางการปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม study 1) the origin of microplastics 2) the path to
ของไมโครพลาสติก 3) สถานการณ์ไมโครพลาสติก contamination in the environment of micro plastics
ในประเทศไทย 4) ผลกระทบของไมโครพลาสติก 3) the situation of microplastics in Thailand 4) the
ต่อสิ่งแวดล้อม 5) ไมโครพลาสติกในอาหารและ impact of microplastics on the environment 5)
เครื่องดื่ม และ 6) วิธีการจัดการกับไมโครพลาสติกใน microplastics in food and beverages and 6)
สิ่งแวดล้อม methods of dealing with micro-plastics in the
environment.
ค�ำส�ำคัญ : พลาสติก ไมโครพลาสติก ไมโครบีดส์
Keywords : Plastic, Microplastics, Microbead
90 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

บทน�ำ
ในปี ค.ศ. 1856 สารสังเคราะห์ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) หรือ Parkesine ซึง่ เป็ นพลาสติก
ชนิดแรกของโลกที่ได้จากการท�ำปฏิกิรยิ าของฝ้ายกับกรดไนตริก ได้ถกู ผลิตขึน้ ครัง้ แรกโดย Alexander Parkes
ณ ประเทศสหราชอาณาจักร ซึง่ ต่อมาได้ถกู พัฒนาต่อโดย John Wesley Hyatt ผูท้ ่ีคน้ พบการน�ำเซลลูโลสไน
เตรทมาละลาย และท�ำปฏิกิรยิ ากับการบูรภายใต้ความร้อนท�ำให้ได้เป็ นพลาสติกที่เรียกว่า เซลลูลอยด์ (Cel-
luloid) ที่สามารถน�ำไปขึน้ รูปได้ดว้ ยความร้อนและความดัน จนกระทั่งมาสูก่ ารค้นพบวิธีการผลิตสารสังเคราะห์
ฟี นอล ฟอร์มาลดีไฮด์ เรซิน (phenol formaldehyde resin) หรือ Bakelite ซึง่ พลาสติกสังเคราะห์ท่ีแท้จริงชนิด
แรกในโลกโดย Leo Baekeland ในปี ค.ศ. 1907 Bakelite จัดเป็ นเทอร์โมเซตติง้ พลาสติกประเภทหนึง่ ที่ทน
ความร้อนสูง ติดไฟได้ชา้ และน�ำความร้อนได้ไม่ดี จึงนิยมใช้ทำ� เป็ นมือจับส�ำหรับอุปกรณ์สำ� หรับเครื่องครัว
และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ นอกจากนี ้ Bakelite ยังสามารถท�ำเป็ นโฟมที่นิยมใช้ทำ� เป็ นทุน่ ลอยน�ำ้ และใช้เสริม
ความแข็งแรงในเครือ่ งบิน จากการค้นพบของ Bakelite โดย Leo Baekeland นัน้ กระตุน้ ให้เกิดการค้นหาวิธี
การผลิตพลาสติกสังเคราะห์ชนิดใหม่ การน�ำพลาสติกมาใช้เป็ นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ และท�ำให้เกิด
การเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกอย่างรวดเร็วจนถึงปั จจุบนั นี ้
จากการค้นพบวิธีการผลิตพลาสติกสังเคราะห์ชนิดใหม่ ๆ ในช่วงระยะเวลาเกือบ 50 ปี (ค.ศ. 1907
- 1954) เริม่ ขึน้ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1926 พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride: PVC) ค.ศ. 1931 พอลิสไตรีน (Poly-
styrene: PS) ค.ศ. 1933 พอลิเอทิลนี (Polyethylene: PE) ค.ศ. 1941 พอลิเอทิลนี เทเรฟทาเลต (Polyethylene
terephthalate: PET) และ ค.ศ. 1954 พอลิโพรพีลนี (Polypropylene: PP) เป็ นต้นมา ท�ำให้เกิดการผลิตพลาสติก
ชนิดต่าง ๆ ในระดับอุตสาหกรรม และน�ำพลาสติกดังกล่าวนัน้ ไปผลิตเพื่อเป็ นสิง่ ของเครือ่ งใช้เป็ นจ�ำนวนมาก
แพร่กระจายไปทุกประเทศทั่วโลก เนื่องมาจากคุณสมบัตขิ องพลาสติกที่ไม่ดดู ซึมน�ำ้ ทนต่อความร้อน สารเคมี
และการเข้าท�ำลายโดยจุลนิ ทรีย ์ รวมไปถึงคุณสมบัตทิ ง่ี า่ ยต่อการขึน้ รูปและมีราคาถูกเมือ่ เทียบกับวัสดุชนิดอืน่ ๆ
จึงท�ำให้สามารถพบเครื่องใช้ในการอุปโภคบริโภคที่ทำ� จากพลาสติกชนิดต่างๆได้มากมายในชีวิตประจ�ำวัน
นับตัง้ แต่พลาสติกถูกผลิตและเข้ามาในชีวติ ประจ�ำวัน โลกเริม่ ต้นเผชิญกับปั ญหาการสะสมของขยะพลาสติก
ในสิง่ แวดล้อม ทัง้ นีเ้ นือ่ งมาจากมีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิดเป็ นประเภททีใ่ ช้แล้วทิง้ กอปรกับการทีผ่ ลิตภัณฑ์
จากพลาสติกนัน้ มีราคาต้นทุนการผลิตที่ถกู มีคณ ุ สมบัตทิ างกายภาพที่ไม่ดดู ซึมน�ำ้ ทนต่อความร้อน สารเคมี
และการเข้าท�ำลายโดยจุลนิ ทรีย ์ ท�ำให้ขยะพลาสติกที่ถกู ทิง้ เข้าสูส่ ง่ิ แวดล้อมนัน้ ทนต่อการย่อยสลาย หรือการ
เข้าท�ำลายโดยจุลนิ ทรีย ์ ไม่เสือ่ มสภาพในเวลาอันสัน้ และตกค้างอยูใ่ นธรรมชาติได้เป็ นเวลานับร้อยปี ซึง่ ต่างจาก
วัสดุอ่นื ๆ ที่อาจคงอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมช่วงเวลาหนึง่ ก่อนเสือ่ มสภาพและถูกย่อยสลายไป
การเสื่อมสภาพของขยะพลาสติกในธรรมชาติสามารถเกิดจากกระบวนการทางกายภาพ และ
เคมีท่ีทำ� ให้เกิดการแตกหักหรือการฉีกขาดของขยะพลาสติก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปและการลดขนาดของ
ขยะพลาสติกลงจนไม่เห็นเป็ นชิน้ พลาสติกขนาดใหญ่ แต่ดว้ ยคุณสมบัติท่ีทนทานต่อการเข้าท�ำลายของ
จุลนิ ทรียข์ องพลาสติกนัน้ จึงไม่เกิดการย่อยสลายต่อโดยจุลนิ ทรียท์ ่ีทำ� ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและ
เกิดการกลับคืนสู่ธาตุหรือสารตัง้ ต้นที่ใช้เป็ นวัตถุดิบ (ดังตัวอย่างของการย่อยสลายของไม้ท่ีประกอบด้วย
เซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลสกลับคืนสูค่ าร์บอน) ดังนัน้ ขยะพลาสติกในธรรมชาติจงึ มักเกิดการแตกหัก ฉีก
ขาด และลดขนาดลงเป็ นชิน้ ขนาดเล็กซึง่ ส่วนใหญ่ยงั คงคุณสมบัตกิ ารเป็ นพลาสติกอยูเ่ ช่นเดิม และถ้าถูกลด
ขนาดลงจนมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรจะถูกเรียกว่า ไมโครพลาสติก (microplastics) ซึง่ ในปั จจุบนั นีพ้ บการ
แพร่กระจายของไมโครพลาสติกในธรรมชาติโดยเฉพาะแหล่งน�ำ้ ทั่วโลกทัง้ ในสภาพน�ำ้ จืดและน�ำ้ เค็ม นอกจาก
นัน้ ยังพบการสะสมใน แพลงก์ตอน แมลงน�ำ้ พืชน�ำ้ และสัตว์นำ้�

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 91

จุดก�ำเนิดของไมโครพลาสติก
ดังที่กล่าวมาแล้วในเบือ้ งต้นว่าไมโครพลาสติก คือ พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึง่
ในปั จจุบนั มีไมโครพลาสติกแพร่กระจายและปนเปื ้อนทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ไมโครพลาสติกนัน้ สามารถแบ่ง
ออกเป็ น 2 กลุม่ ด้วยกัน คือ ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (primary microplastics) และไมโครพลาสติกทุตยิ ภูมิ
(secondary microplastics) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้
ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ เป็ นเม็ดพลาสติกที่ถกู ผลิตให้มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรตัง้ แต่เริม่ ต้น
โดยมีวตั ถุประสงค์ท่จี ะใช้เม็ดพลาสติกขนาดเล็กนีใ้ นการขัดถูเพื่อท�ำความสะอาด สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์
ดูแลผิว และผลิตภัณฑ์ท่ีใช้ทำ� ความสะอาดร่างกาย เช่น ครีมขัดผิว สบู่เหลวส�ำหรับอาบน�ำ้ ครีมล้างหน้า
และยาสีฟัน (ดังแสดงในภาพที่ 1) ซึง่ ได้มีการจดสิทธิบตั รตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1980 โดยมีช่ือทางการค้าว่า ไมโคร
บีดส์ (micro-bead) ไมโครสเฟี ยร์ (microsphere) หรือเม็ดสครับ (scrub) (Fendall & Sewell, 2009; Cole,
Lindeque, Halsband & Galloway, 2011; UNEP, 2015) ซึง่ พบว่าไมโครบีดส์ท่ีใช้ในผลิตภัณฑ์ทำ� ความ
สะอาดเหล่านัน้ ท�ำมาจาก PE PP PET โพลิเมทิลเมทาคริเลต (polymethyl methacrylate: PMMA) และไนลอน
(nylon) (Gouin, Roche, Lohmann & Hodges, 2015; Eriksen et al., 2013; UNEP, 2015) นอกจากนีใ้ น
ภาคอุตสาหกรรมยังมีการใช้เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก (plastic grit) ในการขัดถูทำ� ความสะอาดพืน้ ผิว ขัดสนิม
หรือขัดสีออกจากพืน้ ผิวโลหะ โดยใช้เครือ่ งมือที่เรียกว่า air blasting machine ซึง่ จะใช้ไมโครบีดส์ท่ีทำ� จาก
อะคริลคิ (acrylic) เมลามีน (melamine) หรือ โพลีเอสเตอร์ (polyester) และการใช้ซำ้� หลายครัง้ จนกระทั่ง
ไมโครบีดส์สญ ู เสียความสามารถในการขัดถูกอ่ นทิง้ สูส่ ง่ิ แวดล้อม ซึง่ อาจท�ำให้เกิดการปนเปื ้อนของโลหะ และ/
หรือโลหะหนักในไมโครพลาสติกประเภทนีไ้ ด้ (Derraik, 2002; Gregory, 1996; Cole et al., 2011)

ÿ
ÿ
123ÿ5ÿ67ภาพที
8ÿ9ÿ
่ 1 : ไมโครพลาสติ
ÿÿกชนิÿดปฐมภู ÿ&' ( ÿ)า*งกายÿ+,-ÿ
 ÿ มิทÿี่ใÿช้ในผลิÿ!ÿ"ตภัณฑ์$#ท�ำ%ความสะอาดร่
.+ ÿÿ*,ÿ /*ÿ
ÿÿ.-ÿ ÿÿÿ)0ÿ1ÿ
+ÿ
ÿ !ÿ2ÿ03ÿ1,#4+ÿ0 ÿ!ÿ4+ÿ0ÿ5ÿ
ÿÿ2ÿ2*,ÿ2-)ÿÿÿ,ÿ4(*! ÿÿ -ÿ)6(ÿ+,ÿÿ ÿÿ7ÿÿ5ÿ),#ÿ
ÿ!ÿÿ ÿ2ÿ03ÿ
(+ÿÿ
ÿÿ8ÿÿ 0 ÿÿÿ9:,ÿ)6(ÿÿ2ÿ2*,ÿÿ1#ÿ ;ÿ0ÿ5ÿ)6(ÿ,ÿ-ÿ
)6(ÿ,ÿ(ÿÿ4)ÿ)6(ÿ,ÿ0 ÿÿ0+ÿÿÿ2สุก#ฤตาÿ;ÿÿ ปุ(ณ ยอุÿป!*พัทÿธ์ÿ4และ,ÿ-ประสงค์ (ÿÿ0*ส
ม9ปุ ณÿ&ยอุÿ<ป/พั*ทÿธ์=-ÿ
**ÿ9ÿ0ÿ#ÿÿ03!ÿÿ9:,ÿ'<ÿ!1ÿÿ2ÿ<>+ÿÿ?@ABCDEFAGHIBJÿÿ0ÿÿ4<#ÿÿKÿ2ÿÿ4)ÿÿ2ÿ
ÿ
.+ ÿÿ*,ÿ /*ÿ
ÿÿ.-ÿ ÿÿÿ)0ÿ1ÿ
+ÿ
ÿ !ÿ2ÿ03ÿ1,#4+ÿ0 ÿ!ÿ4+ÿ0ÿ5
ÿ2ÿ2*,ÿ2-)ÿÿÿ,ÿ4(*! ÿÿ -ÿ)6(ÿ+,ÿÿ
92 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562
ÿÿ7ÿÿ5ÿ),#ÿ
ÿ!ÿÿ ÿ2ÿ0
ÿ8ÿÿÿ 0 ÿÿÿ9:,ÿ)6(ÿÿ2ÿ2*,ÿÿ1#ÿ ;ÿ0ÿ5ÿ)6(ÿ,ÿ-
ÿ,ÿ(ÿÿ4)ÿ)6(ÿ,ÿ0 ÿÿ0+ÿÿÿ2#ÿ;ÿÿ ( ÿ!*ÿÿ4,ÿ-(ÿÿ0*
9 ÿ&ÿ</*ÿ=
กลุม่ ที่สองคือไมโครพลาสติกทุตยิ ภูมิ พลาสติกประเภทนีไ้ ม่ได้มีขนาดเล็กตัง้ แต่เริม่ ต้นแต่เกิดจาก

ÿ0ÿ#ÿÿ03!ÿÿ9:,ÿ'<ÿ!1ÿÿ2ÿ<>+ÿÿ?@ABCDEFAGHIBJÿÿ0ÿÿ4<#ÿÿKÿ2ÿÿ4)ÿÿ2
การลดขนาดของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการต่าง ๆ จนกระทั่งได้พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า
5 มิลลิเมตร ซึง่ กระบวนการลดขนาดของพลาสติกนัน้ สามารถเกิดจากกระบวนการทางกายภาพ กระบวนการ

ÿ'6#ÿ5ÿ
ÿ!ÿÿ+,ÿ+,ÿÿ ÿÿ7ÿÿÿ ÿ2ÿ03ÿ(+ÿÿ8ÿÿ 0 ÿÿ*5ÿ1ÿ-,#ÿ6ÿÿ0ÿ2*,ÿ

ทางชีวภาพ และกระบวนการทางเคมี เช่น การขัดถู ความร้อน แสงยูวี เอนไซม์ หรือปฏิกิรยิ าออกซิเดชั่น เป็ นต้น

ÿ)0ÿ0!-ÿ2ÿ03ÿÿ0ÿ5ÿÿ<.ÿÿÿ</*ÿÿ2ÿ2*,ÿ0!-ÿÿÿÿ!ÿ)6(
ซึง่ ท�ำให้ชิน้ พลาสติกขนาดใหญ่ (macroplastic) เกิดการแตกหัก ฉีกขาด และลดขนาดลงตามล�ำดับจนได้
พลาสติกรูปร่างต่าง ๆ ที่มขี นาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร นอกจากนีย้ งั พบการเกิดของไมโครพลาสติกประเภทเส้นใย

,ÿ*ÿÿÿ5ÿ)6(ÿ9#ÿ01/*"!ÿÿÿ5ÿÿKÿ2ÿ2*,ÿ0!-ÿÿÿÿ,!ÿÿ(ÿ)5'ÿ(#ÿ 
ขนาดเล็กที่เกิดจากการหลุด หรือการขาดของเส้นใยพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการผลิตสิ่งทอ จากกระบวนการ
ซักเสือ้ ผ้า จากการฉี กขาดของเส้นใยพลาสติกที่ใช้งานในชีวิตประจ�ำวันโดยทั่วไป (ดังแสดงในภาพที่ 2)

ÿÿ?ÿ,#ÿ4,ÿÿÿÿÿ ÿÿLJÿÿ( ÿ
ÿ;:,ÿÿKÿ2ÿ2*,ÿ0!-ÿÿ2*,ÿ0 /*,ÿ /*ÿÿÿ!ÿÿ) ,ÿÿ0
รวมไปถึงการฉีกขาดของเส้นใยพลาสติกของเครือ่ งมือที่ใช้ในการประมง เช่น แห อวน ตาข่าย และเอ็นส�ำหรับ

ÿÿ2+-ÿ4)ÿ0*3ÿ'<#6ÿÿÿ03!ÿ?MAEENCOÿPAQICOÿRDSFATUÿVÿWXD@EGDTOÿLYZ8Jÿ
ตกปลา เป็ นต้น (Napper, Bakir, Rowland & Thompson, 2015)

ÿ
[ÿ\ÿGXNNHOÿPÿ\ÿ]IF@Oÿ^ÿ\ÿFITN_]ÌNCOÿaÿ\ÿ]CAb@NTHOÿcÿ\ÿENFNH_bCATdFNOÿeÿ\ÿ]DA@ÿ
A = sheet, B = film, C = line/fiber, D = fragment, E = pellet/granule, F = foam

123ÿ5ÿ67fÿ9ÿ
ÿÿÿ.-ÿ ÿÿ
ÿhdOÿiXATbÿVÿjIDTbÿ?LYZkJÿ
ภาพที่ 2 : ไมโครพลาสติกชนิดทุติยภูมิ
ที่มา : Wu, Zhang & Xiong (2018)

pq2rÿsoÿlstuvoÿwoÿmx7pÿyz{|nvgÿ}vpÿ~g€rÿ3|2mqxÿ

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 93

0132ÿ567869ÿ
3ÿ0
3ÿ3ÿ17ÿ 2ÿ 7ÿ9ÿ618ÿ17ÿ7ÿ6ÿ5ÿÿÿÿ!7ÿ1669"ÿ#$7ÿ0
%3ÿÿ&ÿÿ'ÿ
6ÿ($7ÿ86)03ÿเส้ 7นÿทางการปนเปื 9ÿ61้อนในสิ8ÿÿÿ
เส้นทางการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมของไมโครพลาสติก ÿ่ง แวดล้
ÿÿ'ÿ8อ6มของไมโครพลาสติ
9ÿ5ÿ9ÿ61กแสดงดั 8ÿ
*งÿภาพที+ÿ
3่ 3ÿ0
ซึ ง่ สามารถแบ่
3ÿ3ÿ'99ง,เป็6น2ÿวิธี-ÿ'ÿ869ÿ
5ÿ9ตามแหล่
ÿ61ง8ก�ำÿ5เนิ.ด/ของไมโครพลาสติ
ÿ+ÿ
3ÿ0
3ÿ3กÿ'9คื9อวิ,ธ6ีการทีÿÿÿÿ ÿ่ไ!7มโครพลาสติ
ÿÿ&ÿÿ'ÿ869กÿ3ปฐมภู $67ÿ83ÿ3ÿ96/และวิ
ÿÿ6มิปÿนเปื8้อÿนในธรรมชาติ ÿ-0 ธ/ีการทีÿ7่ ÿ$ ÿ
ÿ3 ÿ
 ÿ ไมโครพลาสติกทุติยภูมิปนเปื้อนในธรรมชาติ ซึง่ 2 วิธีการนีม้ ีความแตกต่างกันในรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
0 1 วิ'ธ
8
ÿี ก6 9
ารที 5
ÿ 

่ÿ
    9
ไ มโครพลาสติ 
ÿ  61 
ก 8

ÿ
ปฐมภู*  มÿ

ิ ป+
 

ÿ
นเปื 3 0
ÿ้ อ

3 
ÿ 3 '
ÿ
นในธรรมชาติ 9 9 ,เ กิ6

ด 0
ÿ
ขึ8 น้ 
 
ÿ
ได้!
3

ÿ 
จ ากการใช้2
ÿ6 8 8
ÿ 6ผ9ลิÿ
 ต,ภัÿ
3
2 ณ
ฑ์
ท4
่ี มี 5 ÿ56ÿÿ
ÿ /ÿ+$ÿ0,$3ÿ869น้ ÿผิ,วÿ32หรือการใช้
9ÿน�ำ้ ยาขั61ด8ถูÿ3ท1ำ� ความสะอาดพื 45ÿ6ป+ระโยชน์ ÿÿ3ÿ1#+$ÿ0ด(ไมโครพลาสติ
ÿ3ÿ9โดยตรงจากเม็
ไมโครพลาสติกผสมอยู่ เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ครีมขัดผิว สบู่เหลวส�ำหรับอาบน�ำ้ ครีมล้างหน้า
ÿ16)(9#ÿ ก6นั#น้ ÿ3 6)ๆÿเช่9นÿการใช้ 627ÿ(362ÿ3 6)/6ÿ
ÿ1- 6กขัÿด 3 สีÿ3หรืÿ(อขั9 ด สิÿ8่ง6สกปรกออกจากพื
ÿ"+ÿ56)เม็ด6พลาสติ 9ÿ,ÿ
29-/,3ÿ6น้ /ผิว9ซึ7่งÿ2ทั6้ง8หมดนี ÿ0%ÿจ้ ะเป็9นÿการใช้ ÿ0,$3ÿ8น6การทิ
61แ8ล้ÿ3ว ทิ3ง้ ÿ7และเป็ 9ÿ,ÿ2ง้
0%ÿ6ไมโครพลาสติ
1  
8
ÿ 
 1
ÿ 
ÿ ( 9 ก 
ÿ
ออกสู 
 1
ÿ่ธ
7
1
ÿ 8

รรมชาติ 98โÿ
8 2
ÿ
ดยตรงในปริ 68 
ÿ
3
มÿ
3

าณที ÿ !
7
่ มÿ
5 7

าก(  3
ÿ 
2
ÿ
-0
ÿ

โดยเฉพาะจากการใช้% 3 8 6 9 
ÿ , 
ÿ
2
ผ ลิ2
ตÿ
5ภั
7
ณÿฑ์ด-ูแÿ0

ลผิ%3ว8 69
และ 5
ÿ 
7
ÿ
9ÿท�ไมโครพลาสติ
ำ6ความสะอาดร่
18ÿ 8กÿ1ปฐมภู +$ÿ'า9งกายเนื
9มิเ,ข้6าสู่ธ่อÿรรมชาติ
/97อÿนย่3การใช้
งจากเป็

ÿ 9  6
ใ4
นกิÿ 5จ


ÿ วั6 ต8 ÿ
ÿÿ
รประจ� ำ วั/ นÿ
08 6
ของแต่- 2
ÿ ล6 8ะบุÿ
8 6
ค9 
ÿ
คล , 3
ÿ
2
จึ
ง ท�
ำ 4

ให้ เ5
กิ ดÿ

6+
  3
ÿ
การทิ 

ง้ ÿ
ÿÿ-ÿ
56)6ÿ1- 6ÿ9$6786/ÿ03  7268ÿ0
%3869ÿ,ÿ23ÿ829ÿ
9-26)ÿ3ÿ 7ÿ$-ÿ#.ÿ2!7ÿ56)(ÿ028ÿ869ÿ5 7ÿ
างต่อเนื่องมาเป็ นเวลานานนับสิบปี

9ÿ618ÿ
*ÿ+ÿ062ÿ1+$ÿ'99,6ÿ /6$7ÿ$ ÿ03  7ÿ6ÿ0
%3ÿ06ÿ363ÿ3#ÿ1#ÿ
ÿ
ÿ

ÿ
9:;ÿ=ÿ>?ภาพที
@Aÿ0132่ 3ÿ5:6เส้78นทางการปนเปื
69ÿ
3ÿ0
3้อÿนในสิ3ÿ17่งแวดล้
ÿอมของไมโครพลาสติ
2ÿ 7ÿ9ÿก618ÿ
ÿ
&1 3ÿ4-ÿ5ÿ'ÿ869ÿ
3ÿ0
3ÿ3ÿ'99,6ÿ 7ÿ9ÿ618ÿ5./ÿ+ÿ2-ÿ08ÿ268ÿ89-#3869ÿ
ÿ36ÿ 7ÿ618ÿ36ÿ(B$ÿÿ0,$3ÿÿ6,3-ÿ#992.ÿÿ ÿÿ".7ÿÿ0132/ÿ618ÿÿ(9 ÿ345ÿ56ÿ56)ÿ268ÿ618ÿ

9-05ÿ$67ÿÿÿ7ÿÿ ÿ5ÿ"+8ÿ5 7ÿ1+$ÿ17ÿ 2ÿÿÿ9ÿ


ÿ"!7ÿ0132/ÿ618ÿ5ÿ,ÿ23ÿ89-#3869ÿ3ÿ17ÿ5 ÿÿÿ268ÿ
89-#3869ÿ8ÿ01 362ÿÿÿ 0132/ÿ618ÿ5ÿ,ÿ7263ÿ3ÿ,ÿ
9-26)ÿ3ÿ/ÿ5
ÿ5ÿ6ÿ2-ÿÿ36ÿ08%ÿ7ÿ86$ÿÿ ÿÿCÿ
09ÿÿ-ÿ
3ÿ0
3ÿ3ÿ17ÿ 2ÿÿ!7ÿ0  ÿ345ÿ56ÿ56)ÿ268ÿ618ÿ0($6ÿ3 3ÿ"+8ÿ5 7ÿ1+$ÿ17ÿ 2ÿ2-ÿ"+8ÿ
56)(ÿ2ÿ36ÿ08%ÿ7ÿ/ÿ89-#3869ÿ567ÿ86/6ÿÿ,6ÿÿ-ÿ0ÿÿ!7ÿ1$7ÿ3ÿ(ÿ028ÿ869ÿ8(8ÿ88ÿ6ÿ-ÿ
สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์
94 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

ในขณะที่วธิ ีการปนเปื ้อนในธรรมชาติของไมโครพลาสติกทุตยิ ภูมจิ ะเกิดจากกระบวนการลดขนาด


ของพลาสติกขนาดใหญ่ เช่น ภาชนะบรรจุ ถุง เส้นใยพลาสติก หรือผลิตภัณฑ์ท่ีทำ� จากพลาสติกประเภทต่าง ๆ
ที่ถกู ทิง้ สู่ส่ิงแวดล้อม รวมไปถึงเส้นใยพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการผลิตสิ่งทอ จากกระบวนการซักเสือ้ ผ้า
เส้นใยพลาสติกที่ใช้งานในชีวิตประจ�ำวันโดยทั่วไปที่ขาดจะมีขนาดเล็กลงกว่า 5 มิลลิเมตร และปนเปื ้อนใน
สิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อผลิตภัณฑ์ท่ีทำ� จากพลาสติกเหล่านัน้ ถูกทิง้ สู่ส่ิงแวดล้อมจะถูกท�ำให้มีขนาดเล็กลงโดย
กระบวนการทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี ซึง่ ส่งผลให้เกิดการแตกหัก ฉีกขาด และลดขนาดลงตามล�ำดับ
01ÿ305461ÿ71ÿ899
ÿ6ÿ
9ÿ  ÿ ÿ
ÿ151ÿ 6ÿ6 ÿ0ÿ ! ÿÿÿ ÿ"ÿÿ71ÿ899
ÿ #7$ÿ3%ÿ 9ÿ%ÿ
จนได้เป็ นไมโครพลาสติกทุติยภูมิท่ีมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร อัตราการเกิดและการปนเปื ้อนในธรรมชาติ
1 %ÿ6ÿ  ÿÿ&('ÿ9))ÿ3* ÿ+(ÿ7 ÿ151ÿ)ÿ, ÿ ! ÿ1ÿ66ÿ0ÿ
ของไมโครพลาสติกทุตยิ ภูมินนั้ ต้องอาศัยปั จจัยต่าง ๆ ในธรรมชาติทำ� ให้เกิดการลดขนาดของพลาสติกลงซึง่
,
* !ÿ*8+ÿ 9ÿ01ÿ305461ÿ71ÿ899
ÿ6ÿ
9ÿ  ÿ5ÿ6ÿ 1%ÿ)ÿ
+ÿ*
ÿ, ÿ ! ÿ1ÿ ,ÿ !ÿ
ระยะเวลาที่ใช้นนั้ จะแตกต่างกันออกไป
6 !9ÿ -
ÿ ÿ+(%ÿ,*ÿ.ÿ* !ÿ
9ÿ  ÿ+(ÿ01ÿ305461ÿ71ÿ899
ÿ151ÿ)ÿ9*
ÿ1ÿ6ÿ7!1ÿ,$!ÿ15 #ÿ/*ÿ%1ÿ
แม้ว่าวิธีการปนเปื ้อนในธรรมชาติของไมโครพลาสติกทัง้ สองชนิดจะมีความแตกต่างกัน แต่


ÿ899
ÿÿ%,!ÿÿ71ÿ,
!15 #ÿÿ #6ÿÿ,)ÿ% ÿÿ-)ÿ
ÿ9*
ÿ1ÿ71ÿ)3ÿ,)ÿ0$946ÿÿ
$ 
9ÿÿÿÿ ÿÿ123ÿ45ÿÿ789ÿ:
อย่างไรก็ตามท้ายที่สดุ แล้วพบว่าไมโครพลาสติกที่ปนเปื ้อนในธรรมชาตินนั้ จะรวมกันอยูใ่ นแหล่งน�ำ้ ผิวดินตาม

;<=>?ÿ
ÿ #%.ÿ%ÿ,%ÿ71ÿ ÿ+(ÿ@ÿÿ
ธรรมชาติ ได้แก่ ในแม่นำ้� ล�ำคลอง และสุดท้ายก็จะมารวมกันในทะเลและ/หรือ มหาสมุทร (Li et al., 2018)
ตามล�ำดับดังแสดงในภาพที่ 4
ÿ

ÿ
ÿ
BCDÿEÿFGHIÿ31ÿ  9ÿ01ÿ305461ÿ6ÿ
9ÿ  ÿ71ÿ,$!ÿ15 #ÿ4 ÿ *ÿJ,)ÿ
1KÿJ
ÿ
LMCNOCPQRÿSTUVPÿDWCLXOYÿZNÿ[P\]E^SE_ÿ
ภาพที่ 4 : เส้นทางการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน�้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์

09)3ÿÿ
!
+ÿ 9ÿ'K ÿ
!
+ÿ 9ÿ #1*`ÿ,)ÿ
!
+ÿ9  1ÿ+(ÿ3+(*6ÿ.ÿ09
`ÿ

9ÿ  ÿ,..ÿ0a
ÿ
ÿ71ÿ(ÿ,*%6
ÿ66ÿ
ÿ6 !ÿ30-1ÿ90ÿ899
ÿ ,ÿ)ÿ ÿ9  1ÿ*ÿ3+(*ÿ.ÿ 9ÿ
09)
`ÿ #1*1ÿ6ÿ3
%-ÿ
9ÿ  ÿ+(ÿ6ÿ7!1ÿ/ `bÿJ+(ÿ7 ÿ71ÿ 9ÿ #*
ÿ)6 %ÿ7.$1 ÿÿÿ,)ÿ9!  ÿ
$ ÿ 1%ÿ3 ÿ!ÿ,$!ÿ15 #ÿ71ÿ899
ÿÿ3 !1ÿÿ 1ÿ*ÿ6ÿÿcdeefgÿÿÿÿ ÿ45ÿÿ789ÿÿ1;<=h?ÿÿ%ÿ #1*`ÿ* !ÿ3
4(6ÿ7 ÿ/ `bÿJ
 #*
ÿ)6 %ÿ7.$1 ÿÿ,)ÿ9!  ÿ+(ÿ09)6.ÿ%*ÿ3
%-ÿ
9ÿ  ÿÿ ÿÿ=ÿÿ95ÿÿ)ÿ
+ÿ3
%-ÿ
9ÿ  ÿ
09)
`ÿÿ@:hi@ÿÿjÿÿi@:h<<ÿÿÿ ÿ3
%-ÿÿ+(ÿ01ÿ305461ÿÿ!ÿ15 #ÿ,)ÿkÿ ) ÿÿ!ÿ!6ÿ9). ÿ15 #ÿ!61ÿ+(ÿ)ÿ66ÿ!ÿ(ÿ,*%6
ÿ
16 ÿ151ÿÿlmn3oÿÿÿÿ 45ÿÿ789ÿÿ1;<=h?ÿÿ%ÿ09)
`ÿ15 #ÿ$1ÿ6ÿ
9ÿ  ÿ+(ÿ01ÿ305461ÿÿ!ÿ,$!ÿ15 #ÿ3
4(6ÿ7 ÿ
/ `bÿ,J !)ÿ1ÿ0*1ÿ3! .ÿÿ ÿÿ;p@ÿÿ9
ÿÿ$946ÿ09)
`ÿ<p>qrÿ9
ÿ0+ÿ01ÿ&('ÿ3
4(6ÿ1 #ÿ *3ÿ15+ÿ
ÿ #1*`ÿ.ÿ
ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 95

สถานการณ์ ไมโครพลาสติกในประเทศไทย
ประเทศไทยยัง ไม่ มี ก ารศึ ก ษา ไม่ มี ก ารค�ำ นวณ และไม่ มี ร ายงานที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ ปริ ม าณ
ไมโครพลาสติกแบบปฐมภูมใิ นสิง่ แวดล้อมออกมาอย่างเป็ นรูปธรรม และจากรายงานวิจยั เกี่ยวกับการประมาณ
จ�ำนวนของเม็ดไมโครพลาสติกที่อยูใ่ นผลิตภัณฑ์ท่ใี ช้ในการท�ำความสะอาดใบหน้า และร่างกายหลายชนิดเข้า
สูแ่ หล่งน�ำ้ ในธรรมชาติ เช่น งานวิจยั ของ Napper et al. (2015) ได้คำ� นวณว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาด
ใบหน้า และร่างกายที่ประกอบด้วยเม็ดไมโครพลาสติก 1 ครัง้ จะมีเม็ดไมโครพลาสติกประมาณ 4,594 - 94,500
เม็ด ที่ปนเปื ้อนลงสูน่ ำ้� และถูกชะล้างลงสูท่ อ่ ระบายน�ำ้ ก่อนที่จะออกสูส่ ่งิ แวดล้อม นอกจากนัน้ Gouin et al.
(2015) ได้ประมาณน�ำ้ หนักของไมโครพลาสติกทีป่ นเปื อ้ นลงสูแ่ หล่งน�ำ้ เมือ่ ใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละคน/วันเท่ากับ 2.4
กรัม หรือประมาณ 0.876 กิโลกรัม/ปี /คน ซึง่ เมื่อน�ำตัวเลขนีม้ าค�ำนวณกับประชากรประเทศไทยปี ค.ศ. 2019
ซึง่ มีทงั้ หมดประมาณ 70 ล้านคน โดยลองก�ำหนดให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ประมาณ 50% หรือ 35 ล้านคน จะพบ
ว่ามีไมโครพลาสติกที่ปนเปื ้อนลงสูน่ ำ้� 30,660 ตัน/ปี ซึง่ จากการประมาณระยะเวลาของการใช้ผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ
ที่มีเม็ดไมโครพลาสติกผสมในประเทศไทยเป็ นเวลากว่า 10 ถึง 15 ปี นั่นหมายถึงในปั จจุบนั นีค้ งมีปริมาณ
ไมโครพลาสติกชนิดปฐมภูมิเข้าสูแ่ หล่งน�ำ้ ของประเทศไทยเป็ นปริมาณที่สงู มาก
นอกจากนัน้ ยังพบว่าประเทศไทยเป็ นประเทศที่ทิง้ ขยะพลาสติกมากเป็ นอันดับที่ 6 ของโลก
(Jambeck et al., 2015) Plastic Waste Management Subcommittee (2018) รายงานว่าประเทศไทยมี
การผลิต และใช้ถงุ พลาสติกมากกว่า 45,000 ล้านใบ และในปี ค.ศ. 2017 ปริมาณขยะพลาสติกประเภท
ถุงพลาสติกหูหิว้ อยูท่ ่ี 517,054 ตัน แก้วน�ำ้ พลาสติกแบบใช้ครัง้ เดียว 241,233 ตัน หลอดพลาสติก 3,873 ตัน
กล่องโฟมบรรจุอาหาร 29,248 ตัน ซึง่ ปริมาณการเกิดไมโครพลาสติกแบบทุตยิ ภูมใิ นธรรมชาตินา่ จะมีปริมาณ
ที่สงู ตามปริมาณของขยะที่ทิง้ สูธ่ รรมชาติ เช่น ถ้าลองประมาณปริมาณการเกิดไมโครพลาสติกทุติยภูมิจาก
ขยะพลาสติก 5 - 10 % จากปริมาณขยะพลาสติกทัง้ หมดในปี ค.ศ. 2017 จะได้ปริมาณไมโครพลาสติกทุตยิ ภูมิ
ประมาณ 39,570.4 - 79,140.8 ตัน/ปี ท่ีเข้าสูส่ ่งิ แวดล้อม ซึง่ ขยะพลาสติกที่เกิดขึน้ เหล่านีจ้ ะสะสม และเพิ่มขึน้
ทุกปี จึงสามารถเกิ ดการลดขนาดจนกลายเป็ นไมโครพลาสติกทุติยภูมิเข้าสู่ส่ิงแวดล้อมได้ตลอดเวลา
อย่ า งไรก็ ต ามประเทศไทยก็ มี ง านวิ จัย เกี่ ย วกับ ไมโครพลาสติ ก ในสิ่ ง แวดล้อ มหลายชิ น้ ด้ว ยกัน ซึ่ง โดย
ส่วนใหญ่จะท�ำการส�ำรวจในทะเลตัวอย่างเช่น การปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกในหอยสองฝาบริเวณชายหาด
เจ้าหลาวและชายหาดคุง้ วิมาน จังหวัดจันทบุรี โดยพบไมโครพลาสติกในหอยเสียบบริเวณชายหาดเจ้าหลาว
และชายหาดคุง้ จ�ำนวน 3.13±2.75 ชิน้ /ตัว และ 2.98±3.12 ชิน้ /ตัว ตามล�ำดับ (Tharamon, Praisanklul &
Leadprathom, 2016) ผลของไมโครพลาสติกต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย
: แนวทางการอนุรกั ษ์เขตชายฝั่ งทะเล (Thushari, Senevirathna, Yakupitiyage & Chavanich, 2017)
ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต Ekchit & Ruamkaew (2019) ซึง่ ผลจากรายงาน
การส�ำรวจพบไมโครพลาสติกที่มี ชนิด รูปทรง และประเภทต่าง ๆ ในตะกอน และในสัตว์ทะเลประเภทต่าง ๆ
ของประเทศไทย โดยพบว่าไมโครพลาสติกประเภทเส้นใยมีจำ� นวนมากที่สดุ และที่พบรองลงมาคือประเภท
ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน สามารถสรุปได้ดงั ตารางที่ 1

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์


96 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

ตารางที่ 1 : สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับไมโครพลาสติกในประเทศไทย
สถานที่ ผลการศึกษา อ้างอิง

ชายหาดเจ้าหลาว และ - พบไมโครพลาสติกในหอยเสียบบริเวณชายหาดเจ้าหลาว และ Tharamon


ชายหาดคุ้งวิมาน ชายหาดคุ้งวิมานจ�ำนวน 3.13±2.75 ชิ้น/ตัว และ 2.98±3.12 et al. (2016)
จังหวัดจันทบุรี ชิ้น/ตัว ตามล�ำดับ
- พบไมโครพลาสติกในหอยกระปุกบริเวณชายหาดเจ้าหลาว
จ�ำนวน 11.31±2.03 ชิ้น/ตัว
- พบไมโครพลาสติกรูปร่างเส้นใย (fiber) มากที่สุดโดยพบที่
82.3% และ 78.9% บริเวณชายหาดเจ้าหลาว และ ชายหาด
คุ้งวิมาน ตามล�ำดับ
- พบไมโครพลาสติกสีด�ำมากที่สุด (23.12%) ในชายหาดเจ้า
หลาวและพบสีฟ้ามากที่สุด (25.29%) ในชายหาดคุ้งวิมาน
- ไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดเจ้าหลาวมีค่าความกว้างและ
ยาวเฉลี่ย 44.3±95.7 กับ 1809.1±1273.1 ไมโครเมตร ตาม
ล�ำดับ ในขณะที่ชายหาดคุ้งวิมานมีความกว้างและยาวเฉลี่ย
63.3±104.4 กับ 1513.7±1,045.0 ไมโครเมตร ตามล�ำดับ

ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก - พบไมโครพลาสติกในเพรียงบริเวณอ่างศิลา บางแสน และ Thushari


ของประเทศไทย : อ่างศิลา แสมสารเท่ากับ 0.43 ± 0.33 0.33 ± 0.04 และ 0.23 ± 0.10 et al. (2017)
บางแสน และแสมสาร (ชิ้น/กรัม) ตามล�ำดับ
- พบไมโครพลาสติกหอยนางรมบริเวณอ่างศิลา บางแสน และ
แสมสารเท่ากับ 0.57 ± 0.22 0.37 ± 0.03 และ 0.43 ± 0.04
(ชิ้น/กรัม) ตามล�ำดับ
- พบไมโครพลาสติกหอยฝาเดี่ยวอ่างศิลา บางแสน และ
แสมสาร เท่ากับ 0.23 ± 0.02 0 และ 0.17 ± 0.08 ตามล�ำดับ
- พบไมโครพลาสติกรูปร่างและสีที่หลากหลาย มีทั้งเส้นใย แท่ง
และรูปร่างไม่แน่นอน โดยมีสีแดง น�้ำเงิน น�้ำตาล และไม่มีสี
- ผลการวิเคราะห์พบว่าไมโครพลาสติกที่พบเป็น PE PS และ
พอลิเอไมด์ (Polyamide : PA)

ส�ำรวจการปนเปื้อนของ - พบไมโครพลาสติกจ�ำนวน 258 ชิ้นในกระเพาะปลา 110 Azad et al.


ไมโครพลาสติกในกระเพาะ ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 66.67% - พบว่า ปลาที่หากินบริเวณ (2018a)
ปลาเศรษฐกิจ จ�ำนวน165 ผิวน�้ำมี ไมโครพลาสติกสูงสุดจ�ำนวนเฉลี่ย 1.75 ชิ้น/ กระเพาะ
ตัวในทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ในขณะที่ปลาที่หากินบริเวณแนวปะการังและ ปลาที่หากิน
บริเวณอ�ำเภอสทิงพระ บริเวณหน้าดินพบไมโครพลาสติก เฉลี่ย 1.24 และ 0.97 ชิ้น/
จังหวัดสงขลา ช่วงเดือน กระเพาะ ตามล�ำดับ
สิงหาคมถึงเดือนพฤษจิ - พบไมโครพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร จ�ำนวน
กายน ค.ศ. 2017 79.52% และพบขนาด 5 - 25 ไมโครเมตรจ�ำนวน 20.48%
- พบไมโครพลาสติกมีสีแบ่งออกเป็น 7 สี และสามารถพบแบบ
ไม่มีสีมากที่สุด
- พบไมโครพลาสติกมีรูปร่างเส้นใยและรูปร่างไม่แน่นอน แต่
สามารถพบประเภทเส้นใยมากที่สุด

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 97

ส�ำรวจการปนเปื้อนของ - พบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาจ�ำนวน 57 ตัว หรือคิด Azad et al.


ไมโครพลาสติกในกระเพาะ เป็น 54.29% (2018b)
ปลาเศรษฐกิจ 4 ชนิด ได้แก่ - พบว่าไมโครพลาสติกในปลาที่หากินบริเวณหน้าดิน 59.46%
Panna croaker, Goatee และในปลาที่หากินบริเวณผิวน�้ำ 51.47%
croaker, Sharpnose - พบว่า ปลาที่หากินบริเวณผิวน�้ำและปลาที่หากินบริเวณหน้า
croaker และ Weber’s ดินมี ไมโครพลาสติกสูงสุดจ�ำนวนเฉลี่ย 4.67 ชิ้น/ กระเพาะ
croaker จ�ำนวน 105 ตัว และ 5.41 ชิ้น/ กระเพาะ ตามล�ำดับ
ซึ่งสามารถแบ่งเป็นปลาที่ - พบไมโครพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร จ�ำนวน
หากินหน้าดิน 68 ตัว ปลา 27.27% และพบขนาด 5 - 25 ไมโครเมตรจ�ำนวน 69.88%
หากินบริเวณผิวน�้ำ 37 ตัว - พบไมโครพลาสติกมีรูปร่างเส้นใยและรูปร่างไม่แน่นอน แต่
ในทะเลอ่าวไทยตอนล่าง สามารถพบประเภทเส้นใยมากที่สุด
บริเวณอ�ำเภอสทิงพระ
จังหวัดสงขลา ช่วงเดือน
มกราคมถึงเดือนเมษายน
ค.ศ. 2018

ชายหาดฝั่งตะวันตก - พบไมโครพลาสติกหาดป่าตองมีจํานวนมากที่สุด 265 ชิ้น/ Ekchit &


จังหวัดภูเก็ต : หาดป่าตอง ตารางเมตร รองลงมาคือหาดไตรตรังจํานวน 116 ชิ้น/ตาราง Ruamkaew
หาดกะหลิม และ เมตร และหาดกะหลิมจํานวน 101 ชิ้น/ตารางเมตร (2019)
หาดไตรตรัง - พบไมโครพลาสติกมีสีแบ่งออกเป็น 12 สี โดยมีสีขาวขุ่นและสี
เขียวมากที่สุด- พบไมโครพลาสติกมีรูปร่างต่าง ๆ ได้แก่
เส้นใย รูปร่างไม่แน่นอน แผ่นฟิล์ม แผ่นแข็ง ทรงกลม และแท่ง
แต่ส�ำรวจพบประเภทเส้นใย มากที่สุด

ตะกอนดินชายหาดทะเล - พบไมโครพลาสติก 3 ขนาดได้แก่ ขนาดใหญ่ (5,000 - 1,000 Chetsukchai,


อันดามันจ�ำนวน 6 หาด ไมโครเมตร) ขนาดกลาง (1,000 - 300 ไมโครเมตร) และขนาด Wongpanit &
เล็ก (300 - 20 ไมโครเมตร) จ�ำนวน 14 ชิ้น 178 ชิ้น และ 197 Kiatwongwong
ชิ้น/1 ตารางเมตร ตามล�ำดับ (2019)
- พบไมโครพลาสติกประเภทเส้นใยโพลีเอสเตอร์มากที่สุดใน
ขนาดกลางและขนาดเล็ก และขนาดใหญ่พบ PS เป็นหลัก

ตะกอนดิน บริเวณ - พบไมโครพลาสติกในตะกอนดินทั้ง 5 สถานี Kreekrinuch,


อ่าวไทยตอนล่าง 5 สถานี - ในฤดูแล้ง พบไมโครพลาสติกบริเวณหาด ตะโละกาโปร์ มาก Puttapreecha,
ได้แก่ หาดบางดี จังหวัด ที่สุด 1,144 ชิ้น แหลมสมิหลา 587 ชิ้น หาดแหลมสนอ่อน Suksuwan,
นครศรีธรรมราช หาด 480 ชิ้น หาดบางดี 403 ชิ้น และหาดพระตําหนักทักษิณราช Tangjai &
แหลมสนอ่อน จังหวัด นิเวศน์ 271 ชิ้น/1 ตารางเมตร Saisahat (2019)
สงขลา หาดสมิหลา - ในฤดูฝนพบไมโครพลาสติกมากที่สุดบริเวณหาดพระตําหนัก
จังหวัดสงขลา ทักษิณราชนิเวศน์ 974 ชิ้น หาดตะโละกาโปร์ 377 ชิ้น หาด
หาดตะโละกาโปร์ แหลมสนอ่อน 263 ชิ้น หาดบางดี 148 ชิ้น และหาดสมิหลา
จังหวัดปัตตานี และ 62 ชิ้น/1 ตารางเมตร - พบว่าประเภทไมโครพลาสติกมี
หาดพระตําหนักทักษิณ 6 ชนิด ได้แก่ PET ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมา PE PVC PP
ราชนิเวศน์ จังหวัด PS และ PA
นราธิวาส - พบไมโครพลาสติกมีขนาดในช่วง 300 - 1,000 ไมโครเมตร
และเป็นเส้นใย
- พบว่าไมโครพลาสติกส่วนใหญ่จะมีสีดํา และสีขาวใส

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์


98 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม
ไมโครพลาสติกนัน้ มีคณ ุ สมบัติต่าง ๆ ของพลาสติกแต่ละชนิดอย่างครบถ้วนไม่แตกต่างจาก
พลาสติกขนาดใหญ่ แต่การลดขนาดลงของพลาสติกนัน้ ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายตัวและปนเปื ้อนของ
พลาสติกในน�ำ้ ดิน และสิ่งมีชีวิต ในวงกว้าง และมากขึน้ กว่าเดิม ท�ำให้ในปั จจุบนั นีส้ ามารถตรวจพบการ
ปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกได้ในหลายแหล่งน�ำ้ ทั่วโลก (Faure, Corbaz, Baecher & De Alencastro,
2012; Eriksen et al., 2013; Su et al., 2016; Wang, Ndungu, Li & Wang, 2017) และยังตรวจพบไมโคร
พลาสติกในสัตว์นำ้� เช่น เต่าทะเล (Duncan et al., 2019) ปลา (Alshawafi, Analla, Alwashali, Ahechti &
Aksissou, 2018) หอย (Torre et al., 2014; Tharamon et al., 2016) ตัวอ่อน แมลงน�ำ้ แพลงก์ตอน (Setälä,
Fleming-Lehtinen & Lehtiniemi, 2014; Möhlenkamp, Purser & Thomsen, 2018) ไมโครพลาสติกใน
สาหร่ายทะเล (Besseling, Wang, Lürling & Koelmans, 2014; Sjollema, Redondo-Hasselerharm,
Leslie, Kraak & Vethaak, 2016; Zhang, Chen, Wang & Tan, 2017)
นอกจากนีย้ งั มีรายงานผลของไมโครพลาสติกต่อสิง่ มีชีวติ ในน�ำ้ หลายชนิดด้วยกัน ในสาหร่ายและ
แพลงก์ตอนพืช ไมโครพลาสติกมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสง ในสัตว์นำ้� และแพลงก์ตอนสัตว์พบว่ามีการ
สะสมในเนือ้ เยื่อ มีผลกระทบต่อระบบการหายใจ การย่อยอาหาร การสืบพันธุ์ การเจริญ ท�ำให้ตวั อ่อนมีการ
เจริญที่ผิดปกติ และเพิ่มอัตราการตายในสัตว์นำ้� ดังแสดงในรายงานของ Bhattacharya, Lin, Turner & Ke
(2010) พบว่าสาหร่าย 2 ชนิด Chlorella และ Scenedesmus สามารถดูดซับ และสะสมพลาสติกชนิด PS
ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร (nano - PS) ส่งผลให้เกิดการลดลงของกระบวนการสังเคราะห์แสง Sjollema
et al. (2016) และ Zhang et al. (2017) รายงานผลของ PVC ขนาด 1 ไมโครเมตร ที่ปนเปื ้อนในแหล่งน�ำ้
สามารถกระทบต่อการเจริญ และสังเคราะห์แสงของสาหร่ายทะเล Skeletonema costatum
Cole et al. (2013) รายงานผลของไมโครพลาสติกชนิด PS ต่อแพลงก์ตอนสัตว์ 2 ชนิด ได้แก่
Centropages typicus และ Calanus helgolandicus พบว่ามีการสะสมไมโครพลาสติกในเนือ้ เยื่อของ
แพลงก์ตอนสัตว์ (ซึง่ อาจส่งผลต่อการถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหาร) และพบว่าแพลงก์ตอนสัตว์ทงั้ 2 ชนิดมีอตั รา
การสืบพันธุล์ ดลง ไข่มีขนาดเล็กลง มีอตั ราการฟั กเป็ นตัวต�่ำ และมีอตั ราการตายที่สงู ขึน้ Gliwicz & Siedlar
(1980) Besseling et al. (2014) และ Ogonowski, SchÜrr, Jarsén & Gorokhova (2016) รายงานถึง
nano - PS ที่มีผลกระทบต่อการเจริญที่ผิดปกติของตัวอ่อน อัตราการรอดชีวติ ของแพลงก์ตอนสัตว์ (Daphnia
magna) Browne, Dissanayake & Galloway (2008) รายงานการอักเสบใน Mytilus edulis เป็ นผลมาจาก
ไมโครพลาสติกชนิด PS นอกจากนี ้ Rist, Assidqi & Zamani (2016) พบว่า PVC ขนาด 1–50 ไมโครเมตร
ส่งผลกระทบต่อการหายใจ การกรองอาหาร การสร้างสารเมือก และเพิ่มอัตราการตายของหอยแมลงภู่
(Perna viridis: green mussel)

ไมโครพลาสติกในอาหารและเครื่องดื่ม
นอกจากการตรวจพบไมโครพลาสติกในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่าย สัตว์นำ้� หลาย
ชนิดในหลายพืน้ ที่ท่ วั โลกยังมีรายงานการตรวจพบไมโครพลาสติกในอาหาร น�ำ้ ดื่ม และเครื่องดื่มได้แก่ น�ำ้
ผึง้ เกลือ น�ำ้ ตาล ปลากระป๋ อง เบียร์ น�ำ้ แร่ และน�ำ้ ประปา ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศด้วยกันทัง้ ประเทศ
ในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และโอเชียเนีย (Liebezeit & Liebezeit, 2013; Yang et al., 2015;
Karami et al., 2017; Kosuth, Mason & Wattenberg, 2018; Karami et al., 2018; Schymanski, Goldbeck,
Humpf & Fürst, 2018) โดยพบการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกชนิดต่าง ๆ หลายขนาด และหลายรูปทรงด้วย

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
%&ÿÿ#21ÿ0474ÿ'42ÿ6"ÿ'(1ÿ#
6ÿ046ÿ"ÿ04ÿ'6"'4ÿ0ÿ'6"#)ÿ74ÿ*ÿ4ÿ'6"#)ÿ8$ÿ20ÿÿ'6"#)ÿ
0ÿ +6'ÿÿ1# 624ÿÿ7"8011224ÿÿ#1#ÿÿ"ÿ 1Journal ÿ#ÿ#0ofÿÿ,-Environmental
./0/1/.2ÿÿ ÿÿ3ÿÿ-./Management
0/1/.24ÿÿ5678Vol.15 9ÿÿ:;<=No.2/2019
ÿÿÿ
ÿ>?ÿÿABCÿ4ÿ567D9ÿ99
E;F;G.ÿÿÿÿ >?ÿÿABCÿ4ÿ567H9ÿÿEIJK2L4ÿÿM;JI<ÿÿ ÿÿ3ÿÿN;2/<0/F=4ÿÿ567O9ÿÿE;F;G.ÿÿÿ ÿ>?ÿÿABCÿ4ÿ567O9ÿÿPQLRG;<JS.4ÿÿTIUV0/QS4ÿ
WKGXYÿÿÿ ÿ3ÿÿZ[FJ24ÿÿ567O\ÿÿ ÿ9
ÿ246ÿ'0ÿ#'10ÿ]1ÿ 6ÿ9472ÿ0ÿ74ÿÿ ÿÿ*ÿÿ4ÿ]04ÿÿ"ÿ4ÿ6^'ÿ6ÿ
0ÿÿÿ0123น้ 42Orbÿ00ÿmedia
กั8$นÿ2นอกจากนั ÿ_F0ÿÿGซึ/ง่Vเป็.;ÿนÿ̀องค์!&ÿ#'aก0รขนาดใหญ่
ÿ126ÿ]04ไม่ÿแสวงผลก� bÿ ÿ8ำไรทีÿ%่ทÿ2ำ�4งานด้
6ÿ!ÿา4นสิ40่งแวดล้
ÿ4$0ÿอ!มÿ8และสุ
1$ ขÿภาพÿ"ÿ
โดยมี ÿ ÿ ÿ24ย6ÿ3นในประเทศเนเธอร์
+]c49การจดทะเบี
ÿÿ ÿ"#
0ÿ0ÿ'6"#แลนด์ )ÿ#0#ไdด้1ต6รวจสอบ
0ÿ และรายงานการปนเปื
ÿ7$683ÿ1
ÿÿ"ÿ64้อ4นของไมโครพลาสติ0ÿ246ÿ'0ÿ#'10ÿ]1กÿ ในน� ำ6้ ÿ
9ดื่ม4กว่7า211ÿ0ÿ0ยี่ห4ÿอ้ ! ในÿ28124ÿÿ
ÿÿ7ประเทศ
7ÿÿ!1$ÿ0ได้ÿÿÿÿ7แ5ก่ÿÿ'ไทย6"#จี)นÿÿ อิน$เดี2ยÿÿ อินÿÿÿ
ÿ30ÿเÿ1ซี0ย#เคนยา
โดนี ÿ10 เลบานอน 0#̀ÿ#0เยอรมั 4ÿ#น
4ฝรั01่งเศส0ÿ#1อิ6ต าลี0ÿ
eสหรั6!#)ฐอเมริÿ17ก4าÿเม็ก6ซิfโก1# และบราซิ624ÿ# 2aล` ดั2งÿแสดงในภาพที
"ÿ
64̀ÿ่ ÿ5(Tyree ÿ0ÿc&49Morrison,
ÿ!ÿDÿ,gRF/2016) /ÿ3ÿMIFF.JI<4ÿ567h\ÿ
ÿ

ÿ
ijkภาพที 40ÿ246ÿ7683ÿ9
ÿ 6ÿ9472ÿก0ในน�ÿ04้ำÿดื! ่มÿยี!่ห1$้อÿ7ต่4างๆในหลายประเทศทั
ÿmÿnopÿqÿ6่ 54:รายงานการตรวจพบไมโครพลาสติ *ÿ0ÿ4ÿ'6"#)่วÿโลก8!ÿ 2ÿ
mทีrno่มjาÿq:ÿgTyree
RF//ÿ3&ÿMMorrison IFF.JI<ÿ,5(2016) 67h\ÿ
ÿ
sjtÿuwvsjtÿsxvÿyrz{tÿk|j}~sÿ€ÿ}o‚ÿƒ„w|…†rÿ
การจั24ด6ÿ 246ÿ2
ÿ'bบไมโครพลาสติ
3การกั 4ÿ 6ÿ9472ÿ!ÿ0 ÿ20กÿในสิ ÿ246ÿÿ340อ8ม0ÿ 6ÿ9472ÿ!ÿ#]4$ÿ^ÿ!ÿ
ÿ1ÿ่งแวดล้
81$ ÿÿ̀!&การจั ÿ3"ÿ4ดÿ การกั
ÿ24บ6ปัÿ#ญ2ÿหาไมโครพลาสติ
246ÿ4$ ÿÿ $ ก6ทีÿ9่นยิ 4มกั7น2คืÿอ

การลดจ� ÿ'f ÿc^ ำนวนไมโครพลาสติ


ÿ0ÿ%7c‡ˆÿ^ÿ%ก8ทีÿ่เข้า"สูÿ%ส่ ง่ิ 7แวดล้
c‡ˆอมÿ!ÿ
ซึสะอาดร่
ง่ ÿ$จะท�48ำ4โดยการเลิ

ÿ " 1 4 6
ÿก4 2 4
การห้ ÿ าÿ
# 
มใช้
0ÿไÿ
2 46
ÿ
มโครพลาสติ4
$ 
ÿ 9
ÿ$ 
ก4 
แบบปฐมภู 7 
2 
ÿ

ÿ
มÿ Iใิ ‰ I
นผลิŠX U
ต;J
ภั2
.
ณQ ÿ ฑ์ÿ
2ด46แู ÿ2
ÿ
ว4
ลผิ 6 
ÿ 
และผลิ ‹
ÿ
$ +
9
ÿ
ตภั 4
ณ
ฑ์7ท
2่ีใÿ
ช้ÿ
6 ท8
ÿ 'ÿ‹&ÿ
ำ� ความ
2จั6ด"การกั า 6ÿ3246ÿ2
กÿ]ต่า"งÿ9ๆ4เช่7น2ÿ7การใช้

80บ24ขยะพลาสติ
งกาย เช่น การห้ า มใช้ พ ลาสติ4ÿÿ
ก แบบ 0ÿÿ2ด4แปลงให้
ÿÿ*ซÿำ้� ÿ#การดั
oxo-plastic การลดการใช้ ถ ง
ุ พลาสติ ÿ%7c‡ˆไซเคิÿล ÿซึÿง่ เป็"นÿ2วิ4ธ6ีÿ
6ÿÿ̀$4ÿเป็ÿ2น46ผลิÿตภั'ณฑ์ÿใหม่ÿ#$'a0และการรี
ก รวมไปถึ ง กระบวนการ
6การที
`#่จะลดไมโครพลาสติ 6ÿ9อ4มตั72ง้ แต่ÿ#]4$ตÿน้ ^ÿทาง!ÿ8เช่น1$รั ฐÿ7สภายุ
ÿÿ̀!&ÿ#'a0ÿ8dÿ246ÿ!ÿ3ก"เข้ÿาÿ สู ส่ ง่ิ แวดล้ 7ÿ7โรปเรี
0$4ยÿกร้ÿ#อ0งให้ÿÿ6fมมี cาตรการเพิ
4ÿ +6'ÿ#6่ม2เติÿ6$1มนอก
ÿÿ $ÿ
เหนื476อ2ไปจากข้
46ÿ#9! ÿ#7อ เสนอดั 'ÿ342ÿ]1$ÿ#01ÿก#าร ได้ÿ]1แก่ÿ‡"ÿ266 4d246ÿ $2ÿ
ÿ012ÿ#ง้ เดิ0ม1ÿ ของคณะกรรมาธิ
7Œÿ1.ÿ4$ห้ าÿมใช้ÿ $ ไ มโครพลาสติ
6ÿ9472ÿก0ในเครื ÿ#6!1่อÿงส�41ำ4อางผลิÿ%7cต‡ภัˆณÿฑ์^ดแู ÿลส่80วÿ
นบุ+คคลÿÿÿ%ผงซัÿ̀2กฟอก12ÿÿÿ "ÿ%7c‡ˆÿ
ท�4ำความสะอาดภายในปี
84 ÿ"14ÿc40ÿ'ÿค.ศ.ÿÿŒ)ÿŒ2020ÿ565และมาตรการที 6ÿÿ"ÿ 47624่เ6ป็ÿน!ÿ#รู'ปa0ธรรมเพื ÿ6^'ÿd66่อ จัÿ#9ดการกั 6ÿ2
งÿอื่นๆÿ1ของไมโครพลาสติ
!1ÿ32บ4แหล่ !0ÿÿ
ÿÿ*ÿÿ]1ÿ ก6ÿ
และผลิตภัณฑ์
9472ÿ2. ห้ามไม่ให้ใช้พลาสติกชนิด oxo-plastic ซึง่ เป็นแหล่งก�ำเนิดมลพิษทางไมโครพลาสติกภายใน
ปี ค.ศ. 2020
3. ลดการใช้ส ารอั น ตรายในพลาสติ ก เพื่ อ ให้แ น่ ใ จว่ า สิ่ ง ที่ น �ำ กลั บ มาใช้ใ หม่ ป ราศจาก
สารเคมีอนั ตราย
4. ควรให้ความส�ำคัญกับการป้องกันขยะพลาสติกตัง้ แต่แรกตามด้วยการใช้ซำ้� และรีไซเคิล
โดยการฝั งกลบหรือเผาขยะพลาสติกเป็ นทางเลือกสุดท้าย (European Commission’s Scientific Advice
Mechanism, 2018)

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์


100 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

นอกจากนัน้ ในต่างประเทศมีรายงานหลายชิน้ ที่มงุ่ ชีไ้ ปยังพลาสติกประเภทย่อยสลายได้ (degrad-


able plastic) หรือที่เรียกว่า oxo-plastic ซึง่ เป็ นพลาสติกที่ผสมสารเคมีท่ีทำ� ให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นท�ำ
ให้พลาสติกสามารถแตกหรือฉีกขาดเป็ นชิน้ ขนาดเล็ก ลักษณะการฉีกขาดเช่นนีจ้ งึ เป็ นตัวการที่ทำ� ให้เกิดการ
เพิ่มขึน้ ของไมโครพลาสติกในธรรมชาติอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผา่ นมา (Thomas, Clarke, McLauchlin &
Patrick, 2010, 2012; Briassoulis, Hiskakis, Babou & Kyrikou, 2015; Hann, Ettlinger, Gibbs & Hogg,
2016) โดยได้ระบุถงึ ถุงหูหิว้ หรือ shopping bag หรือที่เรียกว่า ถุงก๊อบแก๊บ ในประเทศไทยที่ทำ� จาก oxo-
plastic เป็ นตัวการส�ำคัญเกิดที่ทำ� ให้เกิดการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกแบบทุติยภูมิ เนื่องจากมีการผลิต
และใช้กนั อย่างแพร่หลายทั่วโลก เมื่อทิง้ สูธ่ รรมชาติจะเกิดการฉีกขาด และลดขนาดลงจนกลายเป็ นไมโคร
พลาสติกที่ปนเปื ้อนอยูใ่ นสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยก็เป็ นประเทศหนึ่งที่ได้ประกาศห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และผลิตภัณฑ์ท่ีใช้
ท�ำความสะอาดร่างกาย และการห้ามใช้พลาสติกแบบ oxo-plastic ตามโรดแมพการจัดการขยะพลาสติก
ค.ศ. 2018 - 2030 (Roadmap on Plastic Waste Management - Thailand PRD, 2019) โดยในปี ค.ศ.
2019 เลิกใช้พลาสติก จ�ำนวน 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหุม้ ฝาขวด พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ (oxo-palstic) และ
ไมโครบีดส์ ในปี ค.ศ. 2022 เลิกใช้พลาสติก จ�ำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิว้ ที่มีความหนาน้อยกว่า
36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก (ยกเว้นการใช้กรณีท่ีมีความจ�ำเป็ นส�ำหรับเด็ก คนชรา ผู้
ป่ วย) และแก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครัง้ เดียว) ในปี ค.ศ. 2027 จะน�ำขยะพลาสติกตามเป้าหมายกลับมาใช้
ประโยชน์ให้ได้ทงั้ หมด (100%) คาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตัน/ปี (Pol-
lution Control Department, 2017; Plastic Waste Management Subcommittee, 2018)
อย่ า งไรก็ ต ามยัง คงมี ไ มโครพลาสติ ก ปนเปื ้ อ นที่ ต กค้า งอยู่ใ นสิ่ ง แวดล้อ มเป็ น จ�ำ นวนมาก
นอกจากนั้นขยะพลาสติกถูกทิง้ เข้าสู่ส่ิงแวดล้อมอย่างต่อเนื่ อง และสะสมกันมาเป็ นเวลาหลายสิบปี มี
จ�ำนวนมหาศาลนัน้ เป็ นแหล่งก�ำเนิดที่สามารถปลดปล่อยไมโครพลาสติกแบบทุติยภูมิออกมาปนเปื ้อนอยู่
ในสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถก�ำจัดออกได้โดยง่าย แต่อย่างไรก็ตามมีแนวความคิดเกี่ยวกับ
การก�ำจัดไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิธีทางชีวภาพ เช่น การย่อยสลายโดยจุลินทรีย ์ หรือการใช้
สิ่งชี วิตขนาดเล็กกิ นไมโครพลาสติก (Dawson et al., 2018) แต่ยังไม่ประสบความส�ำเร็จ เนื่ องจาก
ไมโครพลาสติกโดยส่วนใหญ่ยงั คงคุณสมบัตขิ องพลาสติก คือ ทนต่อการย่อยสลาย จึงไม่อาจย่อยได้งา่ ยโดย
จุลนิ ทรียใ์ นธรรมชาติ และในกรณีท่ีใช้ส่งิ มีชีวิตขนาดเล็กเพื่อกินไมโครพลาสติกในธรรมชาตินนั้ อาจท�ำให้เกิด
การสะสมและถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารได้ถา้ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนัน้ ถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตามแนวคิดจากงานวิจยั ของ Patwa et al. (2015) เกี่ยวกับการจับอนุภาคขนาดนาโนที่ปนอยูใ่ นน�ำ้
โดยใช้เมือกของแมงกะพรุน ท�ำให้เกิดโครงการ GoJelly (Javidpour & Rotter, 2018) ขึน้ ในสหภาพยุโรปที่
พยายามผลิต TRL 5-6 prototype microplastics filter หรือ GoJelly จากเมือกของแมงกะพรุน 3 ชนิดด้วยกัน
ได้แก่ Cotylorhiza tuberculata (fried egg jellyfish) Rhizostoma pulmo (barrel jellyfish) และ Mnemiopsis
leidy (warty comb jellyfish) เพื่อใช้ในการดักจับไมโครพลาสติกในน�ำ้ ทะเล (European Commission, 2018)
โดยมุง่ เน้นในการพัฒนาให้เป็ นผลิตภัณฑ์ทส่ี ามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ และสามารถใช้งานสาธารณะประโยชน์
ต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการดักจับไมโครพลาสติกในแหล่งน�ำ้ โดยผลิตภัณฑ์ตน้ แบบ GoJelly ที่ได้
นัน้ ถูกทดสอบในทะเลของประเทศสหภาพยุโรป 3 สามแห่ง ได้แก่ นอร์เวย์(Norwegian) บอลติก (Baltic) และ
เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) ซึง่ โครงการนีม้ มี หาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจยั ในสหภาพยุโรปเข้าร่วมกว่า
19 แห่ง โดยที่รายละเอียดของโครงการ GoJelly สามารถเข้าในเว็บไซต์ แสดงดังภาพที่ 6

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
$t+e!Z'%h4ÿÿf3;<ÿÿ$u%".'C4ÿÿ;ÿÿ <3n1841ÿÿ$v!('.!++%h!%h4ÿÿw95ÿ 
ÿ198ÿ8ÿ
H4
;4Iÿÿ;
16H4ÿ
1ÿHF4Iÿ71ÿ67
ÿ4 0ÿ
ÿ6HÿH
6ÿÿ
ÿÿ2xÿÿ6ÿÿ 489ÿ
4ÿ;384 ÿ3ÿ 
ÿÿ!"#ÿÿ6

oÿ
ÿ71
HfkJw<ÿn6 ÿ Iÿ7
ÿ89ÿAÿ Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 101

ÿ
yz{ÿ}ÿ~€ÿÿ‚!a)%Z!ÿ 
ÿ!"#ƒ!*ÿ
}„~zÿÿ%&'()*+ÿ,ÿ-.!+ÿ$01234ÿ ภาพที่ 6 : Webpage โครงการ GoJelly.eu

ÿ ที่มา : Javidpour & Rotter (2018)

…†‡ˆÿ สรุป
J ÿ;
6<ÿ0k1ÿ0I‰
ÿ69ÿH ;3ÿ89ÿ ÿ951ÿ71ÿfÿÿ0sÿHI9ÿ ;ÿ;ÿ4Iÿÿ0k1ÿ0I‰
ÿ89ÿ
ไมโครพลาสติ ก เป็ น ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้อ มที่ เ กิ ด ขึ น้ ในแทบทุก ประเทศทั่ว โลกและยัง คงเป็ น
ปั ญหาที่ตอ้ งการงานวิจยั เพื่อให้ได้วิธีการและกระบวนการที่สามารถน�ำไปใช้ในการลดปริมาณของไมโคร
<3
ÿ
1ÿHF4Iÿ93ÿ7ÿJ ÿHp8ÿ
ÿ;ÿfH1
ÿ89ÿ6

oÿ1
8ÿJ0ÿ7 ÿ71ÿ
ÿ; ÿ0
lÿ3ÿJ ÿ;
6<ÿ
พลาสติกเข้าสู่ส่ิงแวดล้อม ลดปริมาณการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือก�ำจัด


ÿ656ÿ9ÿH ;3ÿÿ; ÿ0
lÿ
ÿ01ÿ0931ÿ3ÿJ ÿ;
6<ÿ89ÿ8ÿ34ÿ7561ÿ69ÿH ;3ÿÿ3ÿ
8F Iÿ33ÿF
ÿ69
ออกจากสิ่งแวดล้อม รวมทัง้ ยังมีความจ�ำเป็ นต้องศึกษาในเชิงลึกในด้านต่าง ๆ เช่น การสะสม การส่งถ่าย

H ;3ÿHÿ9Iÿ4Iÿ8ÿH
ÿF
80k1ÿ<3ÿs5Š
ÿ71ÿ ÿ;5ÿ71ÿ
1ÿ<6
ÿqÿ 61ÿ
ÿ66ÿ
ÿ66ÿo6
4ÿ
ไมโครพลาสติ ก ในห่ว งโซ่อ าหาร และผลของไมโครพลาสติ ก ทั้ง แบบเฉี ย บพลัน และเรือ้ รัง ต่อ สิ่ ง มี ชี วิ ต
ส�ำ หรับ ในประเทศไทยนั้น พบว่า การศึก ษาและวิ จัย เกี่ ย วกับ ไมโครพลาสติ ก มี จ ำ� นวนน้อ ยชิ น้ โดยส่ว น
J ÿ;
6<ÿ71ÿ6Hÿ w6ÿ3

ÿ ÿ;ÿ:;ÿ3ÿJ ÿ;
6<ÿ9Iÿffÿr84f;1Iÿ;ÿ93Iÿ<63ÿ69ÿ8ÿ 8H<
ใหญ่ เป็ นการส�ำรวจการปนเปื ้ อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมที่ มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยในทะเล จึง

6
8Ifÿ71ÿ0sJ4ÿ191IÿfÿH
6
ÿs5Š
ÿ;ÿHF4Iÿ894HÿfIÿJ ÿ;
6<ÿ8ÿF
81H1ÿ134ÿ 91ÿ 4ÿ66H1ÿ7‰6ÿ
ไม่ครอบคลุมในสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ดิน แหล่งน�ำ้ จืด (น�ำ้ ผิวดินและใต้ดิน) รวมไปถึงการปนเปื ้อน

0k1
ÿ6
8HFÿ
ÿ01ÿ0931ÿ3ÿJ ÿ;
6<ÿ71ÿ69ÿH ;3ÿ89ÿ6ÿ11ÿ
ÿs5Š
ÿHF4Iÿ71ÿ;ÿ ÿF5ÿJ
ของไมโครพลาสติกในสัตว์ แมลง พืช อาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนีย้ ังไม่พบงานวิจัยที่เกี่ ยวข้องกับ
ผลกระทบของไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร ผลของไมโครพลาสติกต่อสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงวิธีการก�ำจัด
3f;ÿ71ÿ69ÿH ;3ÿ391ÿÿÿ ÿqÿÿw95ÿJ 6ÿÿ
ÿÿ 1ÿÿ;6ÿ19
8ÿF ÿÿ$ÿ19
8ÿ:Hÿ 1ÿ;ÿ7< 1ÿ4ÿÿHÿJ0ÿo5ÿ
ÿ01ÿ0931ÿ3
หรือ ลดจ�ำ นวนไมโครพลาสติ ก ในสิ่ง แวดล้อ ม ดัง นั้น จึง ควรเพิ่ ม งานวิ จัย ในด้า นต่า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ

J ÿ;
6<ÿ71ÿ6<IHÿn;ÿÿ ÿ ÿ3

ÿ;ÿ93ÿ 9ÿ13F
ÿ198ÿ4IÿJ6ÿfÿ
1ÿHF4Iÿ89ÿ894H3ÿfIÿ:;ÿÿf
ไมโครพลาสติกตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ จนถึงปลายน�ำ้ เพื่อเป็ นการหาแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากการปนเปื ้อน
ไมโครพลาสติก และเป็ นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกับไมโครพลาสติกอย่างเหมาะสมและ
3ÿJ ÿ;
6<ÿ71ÿ6Hÿ w6ÿ3

ÿÿ
ครอบคลุมทุกมิติ ÿ:;ÿ3ÿJ ÿ;
6<ÿ<63ÿ69ÿ8ÿ 8H<ÿÿ ÿHÿJ0ÿo5ÿHp8ÿ
ÿ
8F Iÿ3ÿ;
F
81H1ÿJ ÿ;
6<ÿ71ÿ69ÿH ;3ÿ Iÿ191IÿF5ÿHÿ9ÿ
1ÿHF4Iÿ71ÿ
1ÿ<6
ÿqÿ89ÿ894H3ÿfIÿ

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์


102 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

เอกสารอ้างอิง
Alshawafi, A., Analla, M., Alwashali, E., Ahechti, M., & Aksissou, M. (2018). Impacts of Marine Waste,
Ingestion of Microplastic in the Fish, Impact on Fishing Yield, M’diq. Morocco Marine
Biology Research, 3(2), 1-14.
Azad, S. M. O., Towatana, P., Pradit, S., Patricia, B. G., & Hue, H. T. (2018b). Ingestion of microplastics
by some commercial fishes in the lower Gulf of Thailand: A preliminary approach to ocean
conservation. International Journal of Agricultural Technology, 14(7), 1017-1032.
Azad, S. M. O., Towatana, P., Pradit, S., Patricia, B. G., Hue, H. T. T, & Jualaong, S. (2018a). First
evidence of existence of microplastics in stomach of some commercial fishes in the lower
Gulf of Thailand. Applied Ecology and Environmental Research, 16(6), 7345-7360.
Besseling, E., Wang, B., LÜrling, M., & Koelmans, A. A. (2014). Nanoplastic Affects Growth of
S. obliquus and Reproduction of D. magna. Environmental Science & Technology, 48,
12336-12343.
Bhattacharya, P., Lin, S., Turner, J. P., & Ke, P. C. (2010). Physical Adsorption of Charged Plastic
Nanoparticles Affects Algal Photosynthesis. The Journal of Physical Chemistry C, 114,
16556–16561.
Briassoulis, D., Hiskakis, M., Babou, E., & Kyrikou, I. (2015). Degradation in Soil Behavior of
Artificially Aged Polyethylene Films with Pro-oxidants. Journal of Applied Polymer
Science, 132(30), 1-20.
Browne, M. A., Dissanayake, A., & Galloway, T. S. (2008). Ingested microscopic plastic translocates
to the circulatory system of the mussel, Mytilus edulis (L.). Environmental Science &
Technology, 42, 5026–5031.
Chetsukchai, P., Wongpanit, W., & Kiatwongwong, S. (2019). Progress of microplastic study in
Andaman Sea coastal. Retrieved June 18, 2019, from https://www.dmcr.go.th/detailLib/4558
Cole, M., Lindeque, P., Fileman, E., Halsband, C., Goodhead, R., Moger, J., & Galloway, T. S.
(2013). Microplastics Ingestion by Zooplankton. Environmental Science & Technology,
47, 6646-6655.
Cole, M., Lindeque, P., Halsband, C., & Galloway, T. S. (2011). Microplastics as contaminants in
the marine environment: A review. Marine Pollution Bulletin, 62, 2588-2597.
Dawson, A. L., Kawaguchi, S., King, C. K., Townsend, K. A., King, R., Huston, W. M., & Nash, S.
M. B. (2018). Turning microplastics into nanoplastics through digestive fragmentation by
Antarctic krill. Nature communications, 9(1), 1-8.
Derraik, J. G. B. (2002). The pollution of the marine environment by plastic debris: a review. Marine
Pollution Bulletin, 44, 842-852.
Duncan, E. M., Broderick, A. C., Fuller, W. J., Galloway, T. S., Godfrey, M. H., Hamann, M., Godley,
B. J. (2019). Microplastics ingestion ubiquitous in marine turtles. Global Change Biology,
25(2), 744-752.

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 103

Ekchit, P., & Ruamkaew, S. (2019). Micro-plastics garbage on the west coast beach Phuket
province. Retrieved June 20, 2018, from https://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6114/70
Eriksen, M., Mason, S., Wilson, S., Box, C., Zellers, A., Edwards, W., Amato, S. (2013). Microplastics
pollution in the surface waters of the laurentian Great Lakes. Marine Pollution Bulletin, 77,
177-182.
European Commission. (2018). It is getting crowded in the Northern Adriatic!. Retrieved June 20, 2019,
from https://gojelly.eu/portfolio-post/it-is-getting-crowded-in-the-northern-adriatic/
European Commission’s Scientific Advice Mechanism. (2018). Microplastic Pollution The Policy Context.
Retrieved June 18, 2019, from https://ec.europa.eu/research/sam/pdf/topics/microplastic_pol-
lution_policy-context.pdf
Faure, F., Corbaz, M., Baecher, H., & De Alencastro, L. F. (2012). Pollution due to plastics and
microplastics in Lake Geneva and in the Mediterranean Sea. Archives Des Sciences, 65,
157–164.
Fendall, L. S., & Sewell, M. A. (2009). Contributing to marine pollution by washing your face: microplastics
in facial cleansers. Marine Pollution Bulletin, 58, 1225-1228.
Gliwicz, Z. M., & Siedlar, E. (1980). Food size limitation and algae interfering with food collection in
Daphnia. Hydrobiologie, 88, 155-177.
Gouin, T., Roche, N., Lohmann, R., & Hodges, G. (2015). A thermodynamic approach for assessing
the environmental exposure of chemicals absorbed to microplastics. Environmental Science &
Technology, 45, 1466-1472.
Gregory, M. R. (1996). Plastic ‘scrubbers’ in hand cleansers: a further (and minor) source for marine
pollution identified. Marine Pollution Bulletin, 32, 867–871.
Hann, S., Ettlinger, S., Gibbs, A., & Hogg, D. (2016). The Impact of the Use of “Oxo-degradable” Plastic
on the Environment: Final Report for the European Commission DG Environment. Retrieved
June 15, 2019, from https://www.bioplastics.org.au/wp-content/uploads/2017/06/The-Impact-
of-the-Use-of-Oxo-degrdable-Plastic-on-the-Environment-For-the-European-Commission-DG-
Environment.pdf
Javidpour, J., & Rotter, A. (2018). Go jelly. Retrieved June 20, 2019, from https://gojelly.eu/
Jambeck, J. R., Geyer, R., Wilcox, C., Siegler, T. R., Perryman, M., Andrady, A., … Law, K. L. (2015).
Plastic waste inputs from land into the ocean. Science, 347, 768-771.
Karami, A., Golieskardi, A., Choo, C. K., Larat, V., Galloway, T. S., & Salamatinia, B. (2017). The presence
of microplastics in commercial salts from different countries. Scientific Reports, 7, 1-9.
Karami, A., Golieskardi, A., Keong Choo, C., Larat, V., Karbalaei, S., & Salamatinia, B. (2018). Microplastics
and mesoplastic contamination in canned sardines and sprats. Science of the Total Environment,
612, 1380-1386.
Kosuth, M., Mason, S. A., & Wattenberg, E. V. (2018). Anthropogenic contamination of tap water, beer,
and sea salt. PLoS One, 13(4), 1-18.

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์


104 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/2562

Kreekrinuch, T., Puttapreecha, R., Suksuwan, R., Tangjai, R., & Saisahat, R. (2019) The contmonation of
microplastics in sediment beach ares, Lower Gulf of Thailand. Retrieved June 18, 2019, from
http://www.dmcr.go.th/detailLib/4536
Liebezeit, G., & Liebezeit, E. (2013). Non-pollen particulates in honey and sugar. Food Additives &
Contaminants: Part A: Chemistry, Analysis, Control, Exposure & Risk Assessment, 30(12),
2136-2140.
Möhlenkamp, P., Purser, A., & Thomsen, L. (2018). Plastic microbeads from cosmetic products: an
experimental study of their hydrodynamic behaviour, vertical transport and resuspension in
phytoplankton and sediment aggregates. Elementa: Science of the Anthropocene, 6, 1-16.
Napper, I. E., Bakir, A., Rowland, S. J., & Thompson, R. C. (2015). Characterisation, quantity and sorptive
properties of microplastics extracted from cosmetics. Marine Pollution Bulletin, 99, 178-185.
Ogonowski, M., SchÜrr, C., Jarsén, Å., & Gorokhova, E. (2016). The effect of natural and authropogenic
microparticles on individual fitness in Daphnia magna. PLoS One, 11, 1-20.
Patwa, A., Thiéry, A., Lombard, F., Lilley, K. S. M., Boisset, C., Bramard, J-T., … Barthélémy, P. (2015).
Accumulation of nanoparticles in “jellyfish” mucus: a bio- inspired route to decontamination of
nano-waste. Retrieved June 10, 2018, from https://www.nature.com/articles/srep11387
Plastic Waste Management Subcommittee. (2018). Draft action plan for plastic waste management
(2018-2037). Retrieved June 3, 2018, from http://www.pcd.go.th/public/News/GetNews Thai.
cfm?task= lt2018&id=18518
Pollution Control Department. (2017). Draft Integrated plastic waste management plan (2017-2021).
Retrieved June 30, 2018, from http://www.uncrd.or.jp/content/ documents/7538Combined-
front% 20page+report-Thailand.pdf
Rist, S. E., Assidqi, K., & Zamani, N. P. (2016). Suspended micro-sized PVC particles impair the
performance and decrease survival in the Asian green mussel Perna viridis. Marine Pollution
Bulletin, 111, 213-220.
Roadmap on Plastic Waste Management - Thailand PRD. (2019). The Roadmap on Plastic Waste
Management, 2018-2030. Retrieved June 21, 2018, from https://thailand.prd.go.th/mobile_
detail.php?cid=4&nid=7831
Schymanski, D., Goldbeck, C., Humpf, H-D., & Fürst, P. (2018). Analysis of microplastics in water by
micro-Raman spectroscopy: release of plastic particles from different packaging into mineral
water. Water Research, 129, 154-162.
Setälä, O., Fleming-Lehtinen, V., & Lehtiniemi, M. (2014). Ingestion and transfer of microplastics in the
planktonic food web. Environmental Pollution, 185, 77-83.
Sjollema, S. B., Redondo-Hasselerharm, P., Leslie, H. A., Kraak, M. H. S., & Vethaak, A. D. (2016). Do
plastic particles affect microalgal photosynthesis and growth?. Aquatic Toxicology, 170,
259–261.

ไมโครพลาสติก : จุดก�ำเนิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม การปนเปือ้ นในสิง่ แวดล้อม และ วิธกี ารจัดการ
Journal of Environmental Management Vol.15 No.2/2019 105

Su, L., Xue, Y., Li, L., Yang, D., Kolandhasamy, P., Li, D., & Shi, H. (2016). Microplastics in Taihu Lake,
China. Environmental Pollution, 216, 711-719.
Tharamon, P., Praisanklul, S., & Leadprathom, N. (2016). Contamination of micro-plastics in bivalve at
Chaolao and Kungwiman beach Chanthaburi province [In Thai]. Khon kaen Agriculture journal,
44(1), 738-744.
Thomas, N. L., Clarke, J., McLauchlin, A. R., & Patrick, S. G. (2010). Assessing the Environmental
Impacts of Oxo-degradable Plastics Across Their Life Cycle. Retrieved June 16, 2019, from
http://www.fkur.com/fileadmin/ user_upload/mediainfo/heisse_eisen/loughborough_university_
oxydegradable_study.pdf
Thomas, N. L., Clarke, J., McLauchlin, A. R., &. Patrick, S. G. (2012). Oxo-degradable plastics:degradation,
environmental impact and recycling. Proceedings of the Institution of Civil Engineers. Waste
and Resource Management, 163(3), 133–140.
Thushari, G. G. N., Senevirathna, J. D. M., Yakupitiyage, A., & Chavanich, S. (2017). Effects of
microplastics on sessile invertebrates in the eastern coast of Thailand: An approach to coastal
zone conservation). Marine Pollution Bulletin, 124(1), 349-355.
Torre, C. D., Bergami, E., Salvati, A., Faleri, C., Cirino, P., Dawson, K. A., & Corsi, I. (2014). Accumulation
and Embryotoxicity of Polystyrene Nanoparticles at Early Stage of Development of Sea Urchin
Embryos Paracentrotus lividus. Environmental Science & Technology, 48, 12302-12311.
Tyree, C., & Morrison, D. (2016). Plus plastic: Microplastics found in global bottled water. Retrieved June
18, 2019, from https://orbmedia.org/stories/plus-plastic/
UNEP. (2015). Plastic in Cosmetics. United Nations Environment Programme.
Wang, W., Ndungu, A. W., Li, Z., & Wang, J. (2017). Microplastics pollution in inland freshwaters of China:
A case study in urban surface waters of Wuhan, China. Science of the Total Environment, 575,
1369–1374.
Wu, C., Zhang, K., & Xiong, X. (2018). Microplastic pollution in inland waters focusing on Asia. Freshwater
Microplastics, 58, 85-99.
Yang, D., Shi, H., Li, L., Li, J., Jabeen, K., & Kolandhasamy, P. (2015). Microplastics Pollution in Table
Salts from China. Environmental Science & Technology, 49(22), 13622-13627.
Zhang, C., Chen, X., Wang, J., & Tan, L. (2017). Toxic effects of microplastics on marine microalgae
Skeletonema costatum: interactions between microplastics and algae. Environmental Pollution,
220, 1282-1288.

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และ ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์

You might also like