You are on page 1of 18

วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32

การศึกษาการผลิตน้้ามันจากขยะพลาสติกด้วยกระบวนการไพโรไลซิส

ธันยบูรณ์ ถาวรวรรณ์1
1
สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เลขที่ 27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตน้้ามันจากขยะพลาสติกด้วยกระบวนการไพ
โรไลซิส โดยได้วิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพเบื้องต้น จากวิธีการก้าจัดขยะพลาสติกที่มี
ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยและสามารถน้าไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สร้างประโยชน์ได้จึง
เป็นแนวทางที่ควรจะด้าเนินการให้เหมาะ ซึ่ง กระบวนการไพโรไลซิส นั้นเป็นกระบวนการแปรรูปขยะ
พลาสติกเป็นให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวหรือผลิตภัณฑ์น้ามัน โดยกระบวนการนี้สามารถน้า มาใช้ใน
กระบวนการก้าจัดขยะพลาสติก ด้วยกระบวนการไพโรไลซิสในงานวิจัยนี้ ได้พิจารณาเลือกพลาสติก
ประเภทพอลิโพรไพลีน (Polypropylene: PP) และพลาสติกประเภทโฟม (Polystyrene : PS) มา
ทดลองผลิ ต เป็ น ผลิต ภัณ ฑ์น้ า มั น และน้ า ไปตรวจสอบเพื่ อ ศึก ษาและวิ เ คราะห์ คุณ สมบั ติ ท างฟิ สิก ส์
เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของเชื้อเพลิงน้้ามันก๊าด โดยพบว่า น้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติก
ชนิด PP จะมีจุดวาบไฟที่อุณหภูมิต่้าสุดที่ 14 oC มีค่าความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 46.134 MJ/kg
และน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากโฟม ชนิด PS มีจุดวาบไฟที่อุณหภูมิต่้าสุดที่ 35 oC มีค่าความร้อนจาก
การเผาไหม้ที่ 41.436 MJ/kg และเปรียบเทียบกับค่าจุดวาบไฟของน้้ามันก๊าดที่อุณหภูมิต่้าสุดที่จะอยู่
ระหว่าง 35 oC ถึง 65 oC ค่าความร้อนจากการเผาไหม้แบบกรอส (High Heating Value) ของ
น้้ามันก๊าดอยู่ที่ 46.2 MJ/kg

*ผู้เขียนหลัก: Tawonwan@hotmail.com
ค้าส้าคัญ: กระบวนการไพโรไลซิส, น้้ามันไพโรไลซิส, พอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิสไตรีน (PS)

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
15
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
A Study Processing of Plastic to Oil Production with Pyrolysis Process

Tanyaboon Tawonwan1
1
Department of Physics, Faculty of Science and Technology,
Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit 53000 Email: Tawonwan@hotmail.com

Abstract
This article have purpose for study processing of Plastic to Oil Production with
Simple Pyrolysis Process. Which have analysis of physics and chemical properties on
fundamentals from eliminated of plastics waste. And the elimination of plastics waste
with having been burned, which will be resulted for air pollution. Therefore, how to
find process to change plastics waste to oil with simple pyrolysis process, will be
approach to air pollution reduced. And this research have be aim for studying of
plastics waste, such as, Polypropylene (PP) and Polystyrene (PS) with simple pyrolysis
process. The result of physics and chemical properties for oil with produced from PP
and PS plastics waste, which have be flash point and high heating value per mass that
14 oC and 46.134 MJ/kg for PP plastics oil and 35 oC and 41.436 MJ/kg for PS plastics
oil, and can be compared with properties of kerosene oil that 35 oC to 65 oC for flash
point and 46.2 MJ/kg for high heating value per mass.

*Corresponding author: Tawonwan@hotmail.com


Keywords: Pyrolysis Process, Pyrolysis Oil, Polypropylene (PP) and Polystyrene (PS)

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
16
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
1. บทน้า
“พลาสติก” คือ วัสดุศาสตร์ประเภทหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความทนทานแข็งแรง มีความ
ยืดหยุ่นสูง และมีน้าหนักเบา ดังนั้นจึงนิยมน้าไปใช้สร้างสรรค์สิ่งอ้านวยความสะดวกต่างๆ ที่ใช้ใน
ชีวิตประจ้าวัน เช่นภาชนะบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์เฟอร์นิเจอร์
ของเล่นเด็กตลอดจนอุปกรณ์ในงานก่อสร้างเป็นต้น และเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่าง
รวดเร็วในช่วงระยะหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา จึงส่งผลต่อความต้องการในการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่ างๆ ที่ผลิต
จากพลาสติกที่เพิ่มขึ้นและส่งผลท้าให้เกิดการผลิตขยะพลาสติกที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมนุษย์เรานั้นได้
สร้างพลาสติกขึ้นมาประมาณ 8.3 พันล้านตัน และมี 6.3 พันล้านตัน ที่ได้กลายมาเป็นขยะโดยมีร้อยละ
9 ที่ถูกน้าไปรีไซเคิลได้ ร้อยละ 12 ถูกน้าไปก้าจัดโดยการเผา และร้อยละ 79 ถูกน้าไปก้าจัดโดยการ
น้าไปฝังกลบ[12]
การก้าจัดขยะพลาสติกด้วยวิธีการฝังกลบหรือการน้าไปเผาท้า ลายล้วนแล้วจะส่งผลกระทบ
ทางด้านลบต่อสภาพแวดล้อมได้โดยตรงต่อระบบนิเวศโดยทั่วไป ดังนั้น การค้นหาวิธีการที่จะสามารถ
จั ด การกั บ ขยะพลาสติ ก โดยก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระบทต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มน้ อ ยที่ สุด จะเป็ น แนวทางของการ
แก้ปัญหาขยะพลาสติกในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งการจัดการกับขยะพลาสติกด้วยองค์ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ในการแปรรูปขยะพลาสติกให้กลายเป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบ
ของก๊าซเชื้อเพลิงและน้้ามันเชื้อเพลิงได้ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่ากระบวนการพีจีแอล (PGL Process)
โดยย่อมาจากกระบวนการย่อย 3 กระบวนการคือ กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis Process)
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน (Gasification Process) และกระบวนการลิควิแฟรกชัน (Liquefaction
Process) โดยทั้ง 3 กระบวนการมีรูปแบบของหลักการที่คล้ายคลึงกันก็คือ เป็นกระบวนการที่ให้ความ
ร้อนแก่พลาสติก เพื่อเป็นการย่อยสลายโมเลกุลของพลาสติกนั้นให้มีขนาดเล็กลง โดยปราศจาก
ออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อย ซึ่งแต่ละกระบวนการผลิตนั้นจะมีรายละเอียดของกระบวนการทีมี
สภาวะต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป[4]
ดั ง นั้ น ในงานวิ จั ย นี้ ผู้ วิ จั ย ได้ ใ ห้ ค วามสนใจในการน้ า ขยะพลาสติ ก ประเภทพอลิ โ พพี ลี น
(Polypropylene : PP) และพลาสติกประเภทโฟม (Polystyrene : PS) ซึ่งไม่สามารถน้าไปขายต่อหรือ
น้ า กลั บ มาใช้ ใ หม่ ด้ ว ยกระบวนการรี ไ ซเคิ ล ได้ และการผลิ ต น้้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง จากขยะพลาสติ ก โดย
กระบวนการไพโรไลซิสนี้จะเป็นรูปแบบกระบวนการกระบวนการไพโรไลซิสแบบช้า ซึ่งจะมีระบบของ
กระบวนการความแน่นก๊าซร้อนที่ได้จากเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสให้กลายเป็นของเหลวด้วยกระบวนการ
ควบแน่นแบบสัมผัส (Contract Condenser) ซึ่งเป็นระบบของการควบแน่นที่มีคุณลักษณะของระบบที่

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
17
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
ง่ายต่อการออกแบบและสร้าง ซึ่ง สามารถใช้ได้กับสสารที่ต้องไม่ละลายเข้ากับสารน้าความเย็น (ใน
งานวิจัยนี้จะใช้น้าบริสุทธิ์เป็นสารท้าความเย็น)
2. วิธีการด้าเนินการ
2.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1.1 ออกแบบกระบวนการน้าขยะประเภทพลาสติก พอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิสไตรีน
(PS) มาเพื่อผลิตเป็นน้้ามันด้วยวิธีการไพโรไลซิส
2.1.2 ศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของน้้ามัน ที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิสจากขยะ
ประเภทพอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิสไตรีน (PS) ไปต่อยอดเพื่อผลิตน้้ามันในการใช้เป็น พลังงาน
ทดแทน
2.2 ขอบเขตการวิจัย
2.2.1 ศึกษาและออกแบบกระบวนการของระบบการผลิตน้้ามัน จากกระบวนการไพโรไลซิส
จากขยะพลาสติกเหลือทิ้ง
2.2.2 ทดลองการผลิตน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติกพอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิสไตรีน (PS)
ด้วยความร้อนในปฏิกรณ์ไพโรไลซิส
2.2.3 ศึกษาค่าความร้อนในเตาปฏิกรณ์ ไพโรไลซิสและวิเคราะห์การถ่ายเทพลังงานของไอ
ระเหยไปสู่สารท้าความเย็น (น้้า) ในส่วนควบแน่นแบบสัมผัส
2.2.4 ศึก ษาองค์ ป ระกอบทางกายภาพของน้้ า มั น ที่ ไ ด้ จ ากกระบวนการไพโรไลซิ ส ได้ แ ก่
ปริมาณน้้ามันที่สกัดได้และสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ , ปริมาณน้้าและตะกอน, ลักษณะสี ปริมาณความ
หนาแน่น และค่า pH, การจุดติดไฟ, จุดวาบไฟ และ ค่าความร้อนการเผาไหม้แบบกรอส[1], [2]
2.2.5 องค์ประกอบของเตาปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบระบบไพโรไลซิสแบบช้า จะมีรูปแบบของ
ระบบเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดคงที่ (Fixed-Bed Reactors) และมีให้พลังงานความร้อนจากก๊าซหุงต้ม
(LPG) โดยได้แสดงในภาพที่ 2(a) ซึ่งมีอุปกรณ์ในงานวิจัย คือ ท่อทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5/8
นิ้ว, เตาก๊าซหุงต้ม LPG ขนาด 4 kg, ถังใส่น้าส่วนควบแน่นขนาด 20 ลิตร และปฏิกรณ์ไพโรไลซิสสร้าง
จากสแตนเลสขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 cm และสูง 15 cm
2.2.6 การวิเคราะห์ระบบไพโรไลซิสเชิงความร้อนเพื่อน้าไปสู่การหาค่าอัตราการใช้พลังงานใน
การผลิตน้้ามันของระบบ จะใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ เครื่องบันทึกข้อมูล DATA Logger 10
ช่อง Graphtec รุ่น MT100, สายวัดอุณหภูมิ Thermocouple ชนิด K และหัววัดอุณหภูมิ ชนิด K

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
18
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
2.3 กระบวนการไพโรไลซิส
กระบวนการไพโรไลซิส คือ กระบวนการแตกตัวหรือสลายตัวของสารประกอบ หรือวัสดุต่างๆ
ด้วยความร้อนปานกลางที่อุณหภูมิประมาณ 500 ถึง 800 oC[3] ในบรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจน
หรือมีออกซิเจนในปริมาณที่น้อยมาก โดยทั่วไปผลผลิตที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิส [5] สามารถแบ่ง
ออกเป็น 3 ชนิด ตามสภาวะ คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นก๊าซ ของเหลว (ซึ่งโดยทั่วไปมีคุณสมบัติคล้ายน้้า มัน)
และของแข็ง (Char) เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิ (Primary product) และอัตราส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ได้
ขึ้นอยู่กับสภาวะที่ใช้ เช่น อุณหภูมิ อัตราเร็วในการให้ความร้ อน เป็นต้น แต่โดยตัวกระบวนการไพโรไล
ซิสเองแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการมากที่สุด คือ ของเหลวหรือน้้า มัน และเมื่อน้าเอาผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิ
มาเป็ นวั ตถุ ดิบ ในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่ น การน้า เอาน้้า มัน ที่เ ป็ นผลิต ภัณ ฑ์ขั้ น ปฐมภู มิม าผ่า น
กระบวนการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง เพื่อผลิตคาร์บอนแบล็ก คาร์บอนแบล็กนั้นก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นทุติย
ภูม[4]
ิ โดยกระบวนการของระบบไพโรไลซิสนั้นสามารถแสดงได้ในภาพที่ 1 และสามารถน้าไปสร้างระบบ
ปฏิกรณ์ไพโรไลซิสได้ดังแสดงในภาพที่ 2
ปฏิกิริยาที่เกิดในกระบวนการไพโรไลซิสประกอบด้วย ขั้นแรก การสลายตัวของสารที่ระเหย
ง่ายออกจากวัตถุดิบ (Devolatilization) ขั้นที่สอง เป็นการแตกตัวของวัตถุดิบเอง โดยที่องค์ประกอบที่
สามารถแตกตัวได้ที่สภาวะที่ใช้ก็จะแตกตัวออกมาเป็นโมเลกุลที่เล็กลง และเล็กลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ให้
หรืออุณหภูมิที่ก้าหนด จนกระทั่งเกิดการแตกตัวที่สมบูรณ์ของวัตถุดิบ โดยอุณหภูมิแต่ละขั้นแตกต่างกัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ แต่ ถ้ามีการให้ความร้อนและเวลามากเกินไป สารที่ได้จากการแตกตัวของ
วัตถุดิบจะกลับมารวมตัวกัน เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าออกจาก
กระบวนการ หรือเป็นของแข็งข้น เหนียวติดอยู่ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้น สภาวะที่ใช้ในการไพโรไล
ซิสจะต้องขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ด้วย ในบางครั้ง อาจมีการเติมไฮโดรเจนหรือไอน้้า เข้าใน
กระบวนการไพโรไลซิสด้วย ทั้ง นี้เพื่อเปลี่ยนการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ และท้าให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น
น้้า มั นมี ความเสถี ยรมากขึ้ น เนื่อ งจากไฮโดรเจนจะเข้ าไปรบกวนการเกิด ปฏิกิ ริ ยาออกซิ เดชั นโดย
ออกซิเจนที่มีอยู่ในเนื้อของวัตถุดิบ ดังนั้น การเติมน้้าในปริมาณไม่มากเกินไปเข้าไปเป็นตัวกลางใน
กระบวนการไพโรไลซิส จะท้าให้ไปเพิ่มความดันให้กับกระบวนการ ท้าให้วัตถุดิบเกิดเป็นของไหลได้ง่าย
ขึ้น
การเตรียมวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการไพโรไลซิส สามารถเตรียมได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 จะมีการคัดแยกประเภทของขยะพลาสติกออกจากสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ และคัดแยก
ตามประเภทของพลาสติก

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
19
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
ขั้นตอนที่ 2 ท้าการตัดและลดขนาดของพลาสติกให้มีขนาดเล็กลงขนาดประมาณ 1 ตาราง
เซ็นติเมตร จะเหมาะสมกับการน้าเข้าเตาปฏิกรณ์ได้
ขั้นตอนที่ 3 ท้าความสะอาดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ออก
ขั้นตอนที่ 4 ท้าการก้าจัดความชื้นออกจากเศษพลาสติกก่อนน้าเข้าสู่เตาปฏิกรณ์
ระบบการควบแน่นแบบสัมผัส (contact condenser) เป็นระบบควบแน่นที่จะท้าให้ไอระเหย
ที่ได้จากเตาปฏิกรณ์ไปสัมผัสกับน้้าโดยตรงและได้แสดงในภาพที่ 2 ซึ่งไอระเหยที่ได้นั้นจะมีการระบาย
ความร้ อ นจ้ า นวนมากลงไปสู่ น้ า ที่ เ ป็ น สารท้ า ความเย็ น โดยระบบการควบแน่ น แบบสั ม ผั ส นี้ จ ะมี
โครงสร้างของระบบที่ไม่ซับซ้อนและราคาถูกอีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการควบแน่นดี แต่ไอระเหยที่ได้
จากเตาปฏิกรณ์จะต้องไม่เกิดการละลายน้้า และเนื่องจากไอระเหยที่เกิดการควบแน่นกับน้้าจะผสมกัน
ในส่วนของระบบควบแน่นแบบสัมผัส ซึ่งจะต้องมีกระบวนการแยกน้้ามันที่ได้ออกจากน้้าในภายหลัง

ภาพที่ 1 แผนผังกระบวนการเทคโนโลยีไพโรไลซิส [4]

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
20
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32

ภาพที่ 2 จุดวัดอุณหภูมิเพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบสกัดน้้ามันจากเตาไพโรไลซีส เมื่อ T1 คือ อุณหภูมิ


เฉลี่ยเตาปฏิกรณ์ (oC), T2 คือ อุณหภูมิเฉลี่ยน้้าหล่อเย็นของระบบความแน่นแบบสัมผัส ( oC), T water
คือ อุณหภูมิเฉลี่ยของน้้าหล่อเย็นเริ่มต้นที่ 29.8 oC และTambient คือ อุณหภูมิอากาศแวดล้อม (oC)

2.5 วิเคราะห์ผลการทดลอง
2.5.1 วิเคราะห์ผลการทดสอบสกัดน้้ามันจากเตาปฏิกรณ์ไพโรไลซิสจากพลาสติกในเบื้องต้นนั้น
และเพื่อศึกษากระบวนการใช้พลังงานของระบบจะมีการทดสอบการสกัดน้้ามันจากพลาสติก โดยใช้
พลาสติกพอลิโพรไพลีน (ถุงพลาสติก) น้้าหนัก 0.5 kg โดยมีจ้านวนการสอดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง ดัง
แสดงในภาพที่ 2
2.5.2 ทดลองสกัดน้้ามันจากเตาปฏิกรณ์ไพโรไลซิสจากพลาสติก พอลิโพรไพลีน และโฟมพอ
ลิสไตรีน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณทางฟิสิกส์ของน้้ามันที่ได้ ได้แก่ ค่า pH ปริมาณความหนาแน่น จุดวาบไฟ
ค่าความร้อนการเผาไหม้แบบกรอส และปริมาณน้้าและตะกอน
2.5.3 การวิเคราะห์อัตราการถ่ายโอนความร้อนของส่วนควบแน่นแบบสัมผัสโดยจะใช้น้าเป็น
สารหล่อเย็น จะได้อัตราการแลกเปลี่ยนความร้อนต่อเวลาจากไอระเหยไปสู่น้าสามารถค้านวณได้จาก
สมการที่ (1) สมการสมดุลพลังงาน

[ ]
(1)

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
21
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
เมื่อ q คือ อัตราการถ่ายเทความร้อน [W]
m คือ มวลของน้้าหล่อเย็น [kg]
cp คือ ค่าความจุความร้อนจ้าเพาะของน้้า 4.187 kJ/kg.K
TH คือ อุณหภูมิของน้้าที่เพิ่มขึ้น [K]
TC คือ อุณหภูมิของน้้าเริ่มต้น [K]
t คือ เวลาของการน้างานของส่วนควบแน่น [s]

3. ผลการวิจัย
3.1 การทดสอบการใช้งานเตาไพโรไลซีส
ผลการทดสอบการพัฒนาเตาไพโรไลซีสอย่างง่าย ซึ่งได้ท้าการออกแบบและจัดสร้างแล้วท้าการ
ทดสอบการใช้งานของระบบ โดยทดสอบสกัดน้้ามันดิบจากพลาสติก ชนิด PP (ถุงพลาสติก) น้้าหนัก
0.5 kg จ้านวนการสอดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง เพื่อศึกษาถึงผลผลิตที่ได้จากระบวนการไพโรไลซีสอย่างง่าย
โดยมีรายละเอียดดังในหัวข้อต่อไปนี้
3.1.1 อุณหภูมใิ นเตาปฏิกรณ์และการถ่ายเทพลังงานของส่วนควบแน่น
ในการทดสอบเตาไพโรไลซีสอย่างง่าย ในห้องปฏิบัติการมีค่าอุณหภูมิห้องเฉลี่ย (T ambient)
ที่ประมาณ 31.5 oC และในการด้าเนินการทดลองได้มีการวัดค่าความร้อนภายในเตาปฏิกรณ์ (T1) นั้น
ผู้วิจัยได้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นเวลา 90 นาที และจะเก็บข้อมูลอุณหภูมิทุกๆ 10 นาที
พบว่าเตาไพโรไลซิสจะมีค่าความร้อนจากอุณหภูมิเริ่มต้นเฉลี่ยที่ 31.5 oC และจะเพิ่มขึ้นเป็น 421.5 oC
ในช่วงเวลา 50 นาที และนาทีที่ 60 ถึงนาทีที่ 90 อุณหภูมิเฉลี่ยภายในเตาปฏิกรณ์จะมีค่าของความร้อน
ที่คงที่ประมาณ 420 oC และในส่วนของอุณหภูมิของน้้าหล่อเย็นของส่วนควบแน่นแบบสัมผัสนั้น จะมี
การเติมน้้าสะอาดจ้านวน 25 kg และมีอุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 29.5 oC และหลังจากด้าเนินการระบบ
พบว่า ในช่วงเวลาเริ่มต้นถึงนาทีที่ 20 อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นจาก 29.5 oC ถึง 34.5 oC และนาทีที่ 30 ถึง
90 จะมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของน้้าหล่อเย็นที่คงตัวที่ 35.5 oC ซึ่งได้แสดงในภาพที่ 3

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
22
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
500.0
49.0

อุณหภูมิของน้้าหล่อเย็นและอุณหภูมิห้อง (oC)
47.0
400.0 45.0
43.0
อุณหภูมิเตาปฏิกร (oC) 41.0
300.0
39.0
37.0
200.0 35.0
33.0
31.0
100.0
29.0
27.0
0.0 25.0
0 10 20 30 40 50 60 70 80 90
เวลา (นาที)
ภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและอุณหภูมิภายในเตาปฏิก รณ์ (T1) อุณหภูมิของน้้าหล่อเย็น (T2)
และอุณหภูมิห้อง (T ambient) เมื่อ คืออุณหภูมิภายในเตาปฏิกรณ์ (Co), คือ
อุณหภูมิน้าหล่อเย็นในส่วนควบแน่น (Co) และ คืออุณหภูมิห้อง (Co)

การวิเคราะห์การถ่ายเทพลังงานของส่วนควบแน่น ซึ่งเป็นระบบการควบแน่นแบบสัมผัส คือไอ


ของก๊าซไพโรไลซิสที่ได้จากเตาปฏิกรณ์จะถูกควบแน่นในส่วนควบแน่นโดยอาศัยหลักการของการถ่ายเท
ความร้อนในกับน้้าหล่อเย็นโดยตรงและจะส่งผลท้าให้น้าหล่อเย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นดังแสดงในภาพที่ 3
โดยสามารถค้านวณได้จากสมการที่ (1) และผลของอัตราการถ่ายเทพลังงานให้กับน้้าหล่อเย็นในส่วน
ควบแน่น ซึ่งใช้น้าหล่อเย็นจ้านวน 25 kg โดยในช่วงแรกนาทีที่ 0 ถึง 10 มีอัตราการถ่ายเทพลังงาน
ให้กับน้้าที่ 26.17 kJ/นาที และจะเพิ่มขึ้นเป็น 57.57 kJ/นาที ในช่วงนาทีที่ 10 ถึง 20 และหลังจากนั้น
อัตราการถ่ายเทพลังงานให้กับน้้าหล่อเย็นจะค่อนข้างคงตัวที่ประมาณ 64.54 kJ/นาที ซึ่งได้แสดงใน
ภาพที่ 4

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
23
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
75.00

อัตราการถ่ายเทพลังงานให้กับน้้าหล่อ
65.00
55.00

เย็น (kJ/นาที)
45.00
35.00
25.00
15.00
5.00
0-10 10-20 20-30 30-40 40-50 50-60 60-70 70-80 80-90
ช่วงเวลา (นาที)
ภาพที่ 4 ผลของอัตราการถ่ายเทพลังงานให้กับน้้าหล่อเย็นในส่วนควบแน่น ที่มีอุณหภูมิน้าหล่อเย็น
เริ่มต้น 29 oC และมีมวลน้้าหล่อเย็น 25 kg

3.1.2 ปริมาณน้้ามันดิบที่สกัดได้และสัดส่วนของผลิตภัณฑ์
จากการด้าเนินการทดลองสกัดน้้ามันจากพลาสติกชนิด PP ด้วยขนาด 0.5 kg เป็นจ้านวน 4
ครั้ง และปริมาณน้้ามันดิบที่สกัดได้จากกระบวนการไพโรไลซิสมีปริมาณเฉลี่ยที่ 0.125 kg มีค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐานที่ 0.003 โดยสามารถคิดเป็นร้อยละโดยมวลที่ 25% ในส่วนที่เป็นขี้เถ้าและส่วนที่เผาไหม้ไม่
หมดรวมมีปริมาณเฉลี่ย 0.132 kg มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.001 โดยสามารถคิดเป็นร้อนละโดยมวล
ที่ 26% และในส่วนที่เป็นก๊าซและเกิดการระเหยไปมีปริมาณเฉลี่ยที่ 0.244 kg มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่
0.004 โดยสามารถคิดเป็นร้อยละโดยมวลที่ 49% ซึ่งได้แสดงรายละเอียดดังในตารางที่ 1 และในภาพที่
5
ตารางที่ 1 ข้อมูลผลของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการการทดลอง
การทดลองครั้งที่ 1 2 3 4 เฉลี่ย SD
น้้าหนักพลาสติก (kg) 0.5 0.5 0.5 0.5
น้้าหนักของน้้ามัน (kg) 0.125 0.126 0.128 0.121 0.125 0.003
น้้าหนักเถ้าและส่วนที่เผาไม่หมด (kg) 0.130 0.132 0.133 0.131 0.132 0.001
น้้าหนักก๊าซ (kg) 0.245 0.242 0.239 0.248 0.244 0.004

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
24
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32

น้้ามัน
ก๊าซ 25%
49%

เถ้าและส่วนที่เผาไม่
หมด
26%

ภาพที่ 5 สัดส่วนเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสัดน้้ามันจากเตาไพโรไลซีสอย่างง่าย ที่น้าหนัก


พลาสติกชนิด PP ขนาด 0.5 kg

3.2 ผลการทดลองสกัดน้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิส
การทดลองสกัดน้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิส ด้วยวัตถุดิบที่ใช้ในการทดลองคือพลาสติก ชนิด
PP ที่ปริมาณ 6 kg ซึ่งผลิตน้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิสได้ 820 cc และโฟม ชนิด PS ที่ปริมาณ 7 kg ซึ่ง
ผลิตน้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิสได้ 550 cc และมีการวิเคราะห์ลักษณะองค์ประกอบทางฟิสิกส์และเคมี
ในห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้
3.2.1 ปริมาณน้้าและตะกอนเจือบน
จากการทดลองในงานวิจัยนี้ได้มีการน้าตัวอย่างของน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด
PP และโฟม ชนิด PS ส่งไปตรวจหาปริมาณน้้าและตะกอนเจือปน ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงวิท ยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยที่น้ ามั นไพโรไลซิ สที่ สกั ดได้จ ากพลาสติ ก ชนิ ด PP ใช้วิ ธี
วิเคราะห์หาน้้าและตะกอนแบบ ASTM D 2709-16 พบว่ามีค่าปริมาณน้้าและตะกอนที่น้อยกว่า 0.01
ร้อยละโดยปริมาตร และน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากโฟม ชนิด PS ใช้วิธีวิเคราะห์หาน้้าและตะกอน
แบบ ASTM D 1796-11 พบว่ามีค่าปริมาณน้้าและตะกอนที่น้อยกว่า 0.05 ร้อยละโดยปริมาตร
3.2.2 ลักษณะสี ปริมาณความหนาแน่น และค่า pH
ลักษณะของสีที่ได้จากน้้ามันไพโรไลซิสที่ได้จะแสดงในภาพที่ 6 โดยที่สีของน้้ามันไพโรไลซิส
จากพลาสติก ชนิด PP จะมีสีเหลืองอ้าพัน มีค่าความหนาแน่นที่ 0.74 g/cm3 และมีค่า pH ที่ประมาณ
5.5 และสีของน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS จะมีสีน้าตาลเข้ม มีค่าความหนาแน่นที่ 0.93 g/cm3
และมีค่า pH ที่ประมาณ 5.7 และน้าไปเปรียบเทียบกับสีของน้้ามันก๊าดที่มีลักษณะสีเหลืองอ่อนที่มีค่า
ความหนาแน่นที่ 0.80 g/cm3
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
25
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32

(a) (b) (c)


ภาพที่ 6 ลักษณะของสีของน้้ามันไพโรไลซิสเปรียบเทียบกับน้้ามันก๊าด (a) ลักษณะของสีของน้้ามันไพ
โรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP, (b) ลักษณะของสีของน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS และ (c)
ลักษณะของสีของน้้ามันก๊าด

3.2.3 การจุดติดไฟและจุดวาบไฟ
ในการทดลองการจุดติดไฟของผลิตภัณฑ์น้ามันดิบจากกระบวนการไพโรไลซิสที่ ได้ ได้น้ามา
เปรียบเทียบกับน้้ามันที่ได้จาก พลาสติก ชนิด PP โฟม ชนิด PS และน้้ามันก๊าด ซึ่งแสดงในภาพที่ 7 โดย
น้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP จะใช้เวลาในการจุดติดไฟประมาณ 2 วินาที และจะให้ลักษณะ
ของเปลวไฟที่สะอาดมีเขม่าน้อย ส่วนน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS จะใช้เวลาในการจุดติดไฟ
ประมาณ 3 วินาที และจะให้ลักษณะของเปลวไฟที่ไม่สะอาดมีเขม่ามาก และลักษณะของเปลวไฟที่ได้
จากน้้ามันก๊าดจะใช้เวลาในการจุดติดไปประมาณ 6 วินาที และจะได้เปลวไฟที่มีเขม่าน้อยกว่าเปลวไฟ
จากน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS แต่จะมีเขม่ามากกว่าน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP

(a) (b) (c)

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
26
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
ภาพที่ 7 ลักษณะของเปลวไฟของน้้ามันไพโรไลซิส เปรียบเทียบกับน้้ามันก๊าด (a) เปลวไฟของน้้ามันไพ
โรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP, (b) เปลวไฟของน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS และ (c) เปลวไฟของ
น้้ามันก๊าด

จุดวาบไฟ (Flash point) เป็นอุณหภูมิต่้าสุดที่สารจะให้ไอระเหยออกมาได้มากพอ และ


สามารถลุกติดไฟได้เมื่อมีแหล่งก้าเนิดไฟ และเมื่อไอระเหยของสารหมดไป ไฟก็จะดับ แต่หากอุณหภูมิ
ของสารสูงขึ้นเกินกว่าจุดวาบไฟ ท้าให้สารให้ไอระเหยออกมาได้อีก ก็จะเกิดการลุกติดไฟต่อเนื่องไป
เรื่อยๆ ที่อุณหภูมินี้ จะเรียกว่า จุดไหม้ไฟ (Fire point) มักจะสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 10 oC ถึง 20
o
C และเมื่ อ อุ ณ หภู มิ สู ง ขึ้ น เลยจุ ด ไหม้ ไ ฟไปอี ก ก็ จ ะถึ ง จุ ด ลุ ก ติ ด ไฟได้ เ อง (Auto-ignition
temperature) ซึ่งที่อุณหภูมินี้ สารนั้นจะสามารถลุกติดไฟได้เองโดยไม่ต้องมีแหล่งก้าเนิดไฟและการหา
จุดวาบไฟนี้ ท้าได้จากการการทดลอง โดยเอาสารที่ต้องการหาจุดวาบไฟใส่ในถ้วยโลหะ แล้วค่อยๆ เพิ่ม
ความร้อนให้สูงขึ้น พร้อมกับจุดไฟในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นแต่ละช่วง จนได้แสงวาบขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งสาร
แต่ละชนิดจะมีจุดวาบไฟแตกต่างกันไป จุดวาบไฟจะมีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส ( oC) หรือ องศาฟาเรน
ไฮด์ (oF)
จากการทดลองในงานวิจัยนี้ได้มีการน้าตัวอย่างของน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด
PP และโฟม ชนิด PS ส่งไปตรวจค่าจุดวาบไฟ ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ด้วยวิธีการตามมาตรฐาน ASTM D 56-16a และ ASTM D 240-17 ซึ่งเป็นการหาค่าจุดวาบ
ไฟแบบถ้วยปิดแทก ซึ่งผลที่ได้คือน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด PP จะมีจุดวาบไฟที่ 14 oC
และน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากโฟม ชนิด PS มีจุดวาบไฟที่ 35 oC และเปรียบเทียบกับค่าจุดวาบไฟ
ของน้้ามันก๊าดอยู่ระหว่าง 35 oC ถึง 65 oC
3.2.4 ค่าความร้อนการเผาไหม้แบบกรอส
การวิเคราะห์ค่าความร้อนการเผาไหม้เป็นการวิเคราะห์ปริมาณความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาต่อ
หน่วยน้้าหนักเมื่อถ่านหินถูกน้าไปเผา เราสามารถวิเคราะห์ได้โดยน้าถ่านหินไปเผาในเครื่อง Bomb
Calorimeter และบันทึกอุณหภูมิของน้้าที่เพิ่มขึ้น ค่าความร้อนอาจรายงานเป็นหน่วยต่างๆกัน แล้วแต่
ประเทศที่ใช้เช่น MJ/kg, BTU/Lb, Cal/g หรือ kcal/kg (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2560)
เราสามารถแบ่งค่าความร้อนออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Gross Calorific Value (High Heating Value)
หมายถึ ง ค่ า ความร้ อ นที่ ไ ด้ ทั้ ง หมดจากการเผาไหม้ เ ชื้ อ เพลิ ง โดยปรกติ แ ล้ ว ใน
เชื้ อ เพลิ ง จะมี น้ า ปนอยู่ ด้ ว ย และเมื่ อ เผาไหม้ น้้ า ส่ ว นนี้ จ ะรวมกั บ น้้ า ที่ เ กิ ด จากการเผาไหม้ ข อง
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
27
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
Hydrogen ซึ่งจะมีความร้อนส่วนหนึ่งถูกน้าไปใช้ในรูปความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ ความร้อนแฝง
ส่วนนี้ ไม่สามารถน้ามาใช้ในทางปฏิบัติได้ ส้าหรับค่า Gross Calorific Value นี้ไม่ได้หักค่าความร้อน
แฝงส่วนนี้ออก
2. Net Calorific Value (Low Heating Value)
หมายถึ ง ค่า ความร้ อนที่ สามารถน้ าไปใช้ใ นทางปฏิบั ติ ได้ ซึ่ งจะเท่ า กั บค่า Gross
Calorific Value ลบด้วย (ค่าความร้อนแฝงของไอน้้า X น้้าหนักน้้าทั้งหมดต่อหน่วยน้้าหนักเชื้อเพลิง)
ซึ่งค่าความแตกต่างระหว่างค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ส้าหรับถ่านหินที่มี
คุณภาพต่้า จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น และปริมาณไฮโดรเจนที่เกิดจากสารอินทรีย์ที่มีอยู่ใ นถ่านหิน
ค่าความร้อนของถ่านหินจะมีความสัมพันธ์กับค่าปริมาณขี้เถ้าในถ่านหิน ถ่านหินที่มีค่าความร้อนต่้า จะมี
ปริมาณขี้เถ้าสูง ถ่านหินที่มีค่าความร้อน สูง จะมีปริมาณขี้เถ้าต่้า
ในงานวิจัยนี้ได้มีการน้าตัวอย่างของน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด PP และโฟม
ชนิด PS ส่งไปตรวจค่าความร้อนจากการเผาไหม้ ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ด้วยวิธีการตามมาตรฐาน ASTM D 56-16a และ ASTM D 240-17 ซึ่งเป็นการหาค่าความ
ร้อนจากการเผาไหม้แบบกรอส (Gross Calorific Value) ซึ่งผลที่ได้คือน้้ามันไพโรไลซิสที่สกั ดได้จาก
พลาสติกชนิด PP จะมีค่าความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 46.134 MJ/kg และน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จาก
โฟม ชนิด PS มีค่าความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 41.436 MJ/kg และเปรียบเทียบกับค่าความร้อนจาก
การเผาไหม้แบบกรอส (High Heating Value) ของน้้ามันก๊าดอยู่ที่ 46.2 MJ/kg
4. สรุปและอภิปรายผล
การทดลองในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างระบบของเตาไพโรไลซีสอย่างง่ายเพื่อการสกัด
น้้ามัน โดยมีการทดสอบระบบของเตาไพโรไลซิสด้วยการใช้พลาสติกชนิด PP ขนาด 0.5 kg ซึ่งมีการ
ทดสอบซ้้าจ้านวน 4 ครั้ง และแต่ละครั้งของการทดลองจะใช้เวลาในการท้างานของระบบ 90 นาที ซึ่ง
จากการทดลองจะได้ผลการกสัดน้้ามันเฉลี่ยที่ 0.125 kg คิดเป็นร้อยละโดยมวล 25% น้้าหนักเถ้าและ
ส่วนที่เผาไม่หมด 0.132 kg คิดเป็นร้อยละโดยมวล 26% และมีค่าของส่วนที่เป็นก๊าซที่สามารถควบแน่น
ได้และระเหยออกไปที่ 0.244 kg และคิดเป็นร้อยละโดยมวล 49% และหลังจากนั้นได้ทดลองสกัด
น้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิส ด้วยวัตถุดิบที่ใช้ในการทดลองคือพลาสติก ชนิด PP ที่ปริมาณ 6 kg พบว่า
สามารถผลิตน้้ามันดิบจากเตาไพโรไลซิสได้ 820 cc และโฟม ชนิด PS ในปริมาณ 7 kg สามารถผลิต
น้้ามันดิบด้วยเตาไพโรไลซิสได้ 550 cc ซึ่งในส่วนของน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP จะมีสี
เหลืองอ้าพัน มีค่าความหนาแน่นที่ 0.74 g/cm3 มีค่า pH ที่ประมาณ 5.5 มีจุดวาบไฟที่ 14 oC และมีค่า
ความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 46.134 MJ/kg ในส่วนของน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS จะมีสีน้าตาล
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
28
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
เข้ม มีค่าความหนาแน่นที่ 0.93 g/cm3 มีค่า pH ที่ประมาณ 5.7 มีจุดวาบไฟที่ 35 oC และมีค่าความ
ร้อนจากการเผาไหม้ที่ 41.436 MJ/kg
เมื่อน้าคุณสมบัติของน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP และ น้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม
ชนิด PS ที่ ได้จะการทดลองไปเปรียบเทีย บกับคุณสมบัติกั บน้้ามันก๊าดซึ่ งเป็นเชื้อเพลิงที่มีขายตาม
ท้องตลาดทั่วไป พบว่า สีของน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP จะมีสีเหลืองอ้าพัน มีค่าความ
หนาแน่นที่ 0.74 g/cm3 สามารถใช้เวลาในการจุดติดไฟประมาณ 2 วินาที และจะให้ลักษณะของเปลว
ไฟที่สะอาดมีเขม่าน้อย และน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS จะมีสีน้าตาลเข้ม มีค่าความหนาแน่นที่
0.93 g/cm3 สามารถใช้เวลาในการจุดติดไฟประมาณ 3 วินาที และจะให้ลักษณะของเปลวไฟที่ไม่
สะอาดมีเขม่ามาก และเปรียบเทียบกับสีของน้้ามันก๊าดที่มีลักษณะสีเหลืองอ่อนที่มีค่าความหนาแน่นที่
0.80 g/cm3 ซึ่งจะใช้เวลาในการจุดติดไปประมาณ 6 วินาที และจะได้เปลวไฟที่มีเขม่าน้อยกว่าเปลวไฟ
จากน้้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS แต่จะมีเขม่ามากกว่าน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP ซึ่ง
ลักษณะของการจุดติดไฟของเชื้อเพลิงทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมีความสอดคล้องกับค่าจุบวาบไฟคือ น้้ามันไพ
โรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด PP จะมีจุดวาบไฟที่ 14 oC และน้้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากโฟม
ชนิด PS มีจุดวาบไฟที่ 35 oC และเปรียบเทียบกับค่าจุดวาบไฟของน้้ามันก๊าดอยู่ระหว่าง 35 oC ถึง 65
o
C
ในการทดลองการสกัดน้้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP และโฟม ชนิด PS ด้วยวิธีการใช้
เตาปฏิกรณ์ที่ดัดแปรงมาจากวัสดุเครื่องครัว เป็นแนวทางในการสร้า งเตาปฏิกรณ์ไพโรไลซิส ซึ่งมีการใช้
ร่วมกับระบบเตาแก็ส LPG ขนาด 4 kg เป็นส่วนระบบให้ความร้อนที่เหมาะสมกับระบบไพโรไลซิสขนาด
เล็ก ซึ่งอุปกรณ์ทุกอย่างสามารถที่มีขายในท้องตลาดท้าให้ราคาต้นทุนในการสร้างระบบที่ค่อนข้างต่้า
ในการสร้ างระบบการทดลองการสกัด น้้ ามั น ไพโรไลซิ ส ต้น ทุ น ต่้า ขนาดเล็ก นี้ สามารถสรุ ป
ข้อเสนอแนะต่างๆ ควรน้ามาปรับปรุงแก้ไขได้ดังนี้
1. ส่วนของระบบปฏิกรณ์ในการสร้างปฏิกิริยาไพโรไลซิสซึ่งเป็นระบบที่ให้ความร้อนด้วยระบบ
เตาไฟจากแก๊ ส LPG และใช้ ส่ ว นของเตาปฏิ ก รณ์ ที่ ดั ด แปรงมาจากหม้ อ สแตนเลสขนาดเส้ น ผ่ า น
ศูนย์กลาง 32 นิ้ว สูง 15 cm ซึ่งเป็นขนาดของเตาปฏิกรณ์ที่มีขนาดเล็กซึ่งจะทดแรงดันที่เกิดขึ้นได้ไม่
มาก ดังนั้นจึงความเพิ่มขนาดของเตาปฏิกรณ์ที่มีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นและต้องมีการสร้างฝาของเตา
ปฏิกรณ์ที่ท้าจากแผ่นเหล็กยึดเป็นหน้าแปลนเข้ากับตัวเตาด้วยน๊อต ก็จะสามารถท้าให้เตาปฏิกรณ์
สามารถทนแรงดันได้มากขึ้นและสามารถใส่วัตถุดิบในการผลิตได้มากขึ้นไปด้วย แต่ในทางกลับกัน
อาจจะต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น เนื่องจากระบบของการให้ความร้อนนี้จะต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตาม
ไปด้วย
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
29
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
2. ส่วนของระบบควบแน่นไอระเหย ในการทดลองนี้ใช้ระบบของการควบแน่นแบบระบบ
สัมผัสซึ่งไอระเหยที่ได้จากเตาปฏิกรณ์นั้นจะมีการสัมผัสกับน้้าหล่อเย็นโดยตรง ซึ่งไอระเหยจะถ่ายเท
ความร้อนไปสู่น้าหล่อเย็นและกลั่นตัวแยกชั้นกันกับน้้า ซึ่งระบบการควบแน่นแบบสัมผัส (contact
condenser) นี้ เ ป็ น ระบบที่ มี ก ารสร้ า งที่ ร าคาถู ก กว่ า ระบบของการควบแน่ น แบบพื้ น ผิ ว (Surface
condenser) แต่จะให้ประสิทธิภาพของการควบแน่นไอระเหยที่มากกว่าแบบระบบการควบแน่นแบบ
สัมผัส
3. ในการทดลองสกัดน้้ามันด้วยระบบไพโรไลซิสนี้ ในการทดลองระบบเบื้องต้น มี การผลิต
น้้ามันที่ 0.5 ลิตร จะต้องใช้ปริมาณก๊าซหุงต้ม (LPG) เฉลี่ย 0.85 กิโลกรัม ซึ่งสามารถคิดเป็นเงินเท่ากับ
18.02 บาท ซึ่งอ้างอิงราคาก๊าซหุงต้ม กิโลกรัมละ 21.2 บาท (อ้างอิงจากเว็บไซต์ส้านักงานนโยบายและ
แ ผ น พ ลั ง ง า น อ อ น ไ ล น์ ร า ค า เ มื่ อ วั น ที่ 2 2 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 3
https://www.ryt9.com/s/nepo/3143865) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ราคาต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตต่อ
หน่วยได้ว่า ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตต่อหน่วยยังค่อนข้างสูงอยู่เมื่อเทียบกับราคาเชื้อเพลิงในการ
ผลิต (LPG) คือน้้ามันไพโรไลซิส 1 ลิตร จะใช้ราคาเชื้อเพลิงในการผลิต 36.04 บาท และเมื่อน้าไป
เปรียบเทียบกับราคาน้้ามันเชื้อเพลิง ได้แก่ ราคาน้้ามันก๊าด คือ 45 บาทต่อลิตร (อ้างอิงจากเว็บไซต์
http://www.srithongtaveep.com/product/12727 98/น้้ า มั น ก๊ า ด. html ราคาเมื่ อ วั น ที่ 6
กรกฎาคม 2563) และเปรียบเทียบกับราคาน้้ามันแก๊สโซฮอล์ 91 คือ 21.58 บาทต่อลิตร (อ้างอิงจาก
เ ว็ บ ไ ซ ต์ เ ช ล ล์ ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ร า ค า เ มื่ อ วั น ที่ 2 2 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 3
http://www.shell.co.th/th_th/motorists/shell-fuels/fuel-price/app-fuel-prices.html) ดังนั้น
สามารถสรุปได้ว่าการผลิตน้้ามันดิบจากพลาสติกเหลือทิ้งด้วยวิธีการไพโรไลซิส ณ เวลาในปัจจุบัน
อาจจะยังไม่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในชุมชนเชิงพาณิชย์ แต่การน้าขยะ
พลาสติกไปแปรรูปด้วยกระบวนการรีไซเคิลจะมีมูลค่าและความคุ้มทุนที่ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง
[1] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2560). ค่าความร้อน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://maemohmine.egat.co.th/mining_technology/coal_analysis3.html
[2] กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2560). เชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา: www.dpim.go.th/service/download?articleid=3499.
[3] กุลนันทน์ วีรณรงค์กร และ อมรชัย อาภรณ์วิชานพ. (2559). ไพโรไลซิส (Pyrolysis). Techno &
InnoMag, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 12(241), 61-64.
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
30
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
[4] เดช เหมือนขาว, ยงยุทธ ดุลยกุล และชัยยุทธ มีงาม. (2556). การศึกษาและออกแบบการผลิต
น้้ามันดิบจากขยะพลาสติก. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยงั่ ยืน 2556 ครั้งที่ 3
“ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมอาเซียน” 9-10 พฤษภาคม 2556 (502-508).
[5] รินลดา สิริแสงสว่าง, จรรยา โพธิ์บาย, ชนิกาญจน์ เพชรเลิศ, และธัญชนก เพ็ชรย้อย. (2558).
การศึกษาการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้จากการไพโรไลซิสเมล็ดมะขามแบบช้า. วารสาร
วิศวกรรม ราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 35-42.
[6] สภาบันพลาสติก. (2560). การไพโรไลซิสยางล้อเก่า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://readgur.com
/doc/2388168/การไพโรไลซิสยางล้อเก่า.
[7] A. Lopez-Urionabarrenechea, I. de Marco, B.M. Caballero, M.F. Laresgoiti and A.
Adrados. (2015). Upgrading of chlorinated oils coming from pyrolysis of plastic
waste. Fuel Processing Technology, 137, 229–239.
[8] Achyut K. Panda, R.K. Singh and D.K. Mishra. (2010). Thermolysis of waste plastics to
liquid fuel A suitable method for plastic waste management and manufacture of
value added products—A world prospective. Renewable and Sustainable Energy
Reviews, 14, 233–248
[9] Alberto Pavlick Caetani, Luciano Ferreira and Denis Borenstein. (2016). Development
of an integrated decision-making method for an oil refinery restructuring in Brazil.
Energy, 111, 197-210.
[10] BidhyaKunwar, H.N.Cheng, SriramRChandrashekaran and BrajendraKSharma. (2016).
Plastics to fuel : a review. Renewable and Sustainable Energy Reviews,
54, 421–428.
[11] Munier Elsherif, Zainuddin Abdul Manan and Mohd Zaki Kamsah. (2015). State-of-
the- art of hydrogen management in refinery and industrial process plants. Journal
of Natural Gas Science and Engineering, 24, 346-356.
[12] Roland Geyer, Jenna R. Jambeck and Kara Lavender Law. (2017). Production, use,
and fate of all plastics ever made. [online] Available at: https://advances.
sciencemag.org/content/3/7/e1700782. Accessed July 22, 2020.
[13] Rohit Kumar Singh and Biswajit Ruj. (2016). Time and temperature depended fuel
gas generation from pyrolysis of real world municipal plastic waste. Fuel, 174, 164–
Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
31
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2563(2) กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 15 – 32
171.
[14] Shafferina Dayana Anuar Sharuddin, Faisal Abnisa, Wan Mohd Ashri Wan Daud and
Mohamed Kheireddine Aroua. (2016). A review on pyrolysis of plastic
wastes. Energy Conversion and Management, 115, 308–326.
[15] S.L. Wong, N.Ngadi, T.A.T.Abdullah and I.M.Inuwa. (2015). Current state and future
prospects of plastic waste as source of fuel: A review. Renewable and
Sustainable Energy Reviews, 50, 1167–1180.

Academic Journal of Science and Applied Science 2020(2) July – December pages 15 – 32
32

You might also like