You are on page 1of 42

TGL-3-R3-11

โครงการฉลากเขียว

ข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับผลิตภัณฑ์ตู้เย็น
(Refrigerators)

สํานักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียว
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
TGL-3-R3-11

โครงการฉลากเขียว

ข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับผลิตภัณฑ์ตู้เย็น
(Refrigerators)

คณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว
อนุมัติ
28 กรกฎาคม 2554

สํานักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียว
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2
TGL-3-R3-11

ฉลากเขียว (green label หรือ eco-label)

“ฉลากเขียว” คือ ฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย


กว่า เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทําหน้าที่อย่างเดียวกัน
ข้อดีของการมีฉลากเขียวติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ก็คือ ใช้เป็นเครื่องหมายให้กับผู้บริโภคทราบว่า
ผลิตภัณฑ์นั้นเน้นคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจะได้เลือกซื้อถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในส่วนผู้ผลิต
หรือผู้จัดจําหน่ายจะได้รับผลประโยชน์ในแง่กําไรเนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น
ผลั ก ดั น ให้ ผู้ ผ ลิ ต รายอื่ น ๆ ต้ อ งแข่ ง ขั น กั น ปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพของสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารของตนในด้ า น
เทคโนโลยีโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน
และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ฉลากเขียวจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วย
ป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน

โครงการฉลากเขียวของประเทศไทย
ฉลากเขียวเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับการ
ตอบสนองจากผู้บริโภคชาวเยอรมันเป็นอย่างดี ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศได้มีการ
จัดทําโครงการฉลากเขียว
สําหรับประเทศไทยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business
Council for Sustainable Development, TBCSD) ได้ริเริ่มโครงการฉลากเขียว เมื่อเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2536 และได้ รั บ ความเห็ น ชอบและความร่ ว มมือ จากกระทรวงอุ ตสาหกรรม
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้ อม และองค์กรเอกชนอื่ นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติ
ออกมาเป็นรูปธรรม จึงนับว่าเป็นโครงการที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล เอกชน และ
องค์กรกลางต่าง ๆ โดยมีสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทํา
หน้าที่เป็นเลขานุการ

หลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์
• เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจําวัน
• คํานึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมที่
ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกจําหน่ายออกสู่ตลาด
• มี วิ ธี ก ารตรวจสอบที่ ไ ม่ ยุ่ ง ยากและไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ่ า ยสู ง ในการประเมิ น คุ ณ ภาพของ
ผลิตภัณฑ์ทางสิ่งแวดล้อมตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนด

3
TGL-3-R3-11
• เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น้อยกว่า
ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้ออกข้อกําหนดสําหรับขอรับฉลากเขียว ได้แก่

1. ผลิตภัณฑ์พลาสติกแปรใช้ใหม่ 2. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 3. ตู้เย็น


4. สี 5. เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก: โถส้วม 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
7. เครื่องปรับอากาศ 8. กระดาษ 9. สเปรย์
10. ผลิตภัณฑ์ซักผ้า 11. ก๊อกน้ําและอุปกรณ์ประหยัดน้ํา 12. คอมพิวเตอร์
13. เครื่องซักผ้า 14. ฉนวนกันความร้อน 15. ฉนวนยางกันความร้อน
16. มอเตอร์ 17. ผ้าและผลิตภัณฑ์ทาํ จากผ้า 18. บริการซักน้ําและซักแห้ง
19. แชมพู 20. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดถ้วยชาม 21. น้ํามันหล่อลื่น
22. เครื่องเรือนเหล็ก 23. ผลิตภัณฑ์ที่ทําจากไม้ยางพารา 24. บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
25. สบู่ 26. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดพื้นผิว 27. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด
28. เครื่องถ่ายเอกสาร 29. สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง 30. เครื่องเขียน
31. ตลับหมึก 32. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ 33. สีเคลือบกระเบื้องมุงหลังคา
34. โทรศัพท์มือถือ 35. เครื่องโทรสาร 36. รถยนต์นั่ง
37. เครื่องรับโทรทัศน์ 38. เครื่องพิมพ์ 39. เครื่องเล่น/บันทึกสัญญาณภาพและเสียง
40. แผ่นอัดสําหรับงานอาคาร ตกแต่ง 41. กระเบื้องซีเมนต์มุงหลังคา 42. เครื่องดับเพลิง
และอุตสาหกรรมเครื่องเรือน
43. กระเบื้องดินเผามุงหลังคา 44. กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา 45. แผ่นยิปซัม
46. หมึกพิมพ์ 47. ท่อประปาพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน 48. ซีเมนต์บอร์ด
49. กระเบื้องเซรามิกปูพื้น/บุผนัง 50. หลั งคาและฝาครอบอเนกประสงค์ สําหรั บ 51. ปั๊มความร้อน
ยานพาหนะ
52. พัดลม 53. รถจักรยานยนต์ 54. ยางรถจักรยานยนต์
55. ยางรถยนต์ 56. วัสดุก่อผนัง 57. พรม
58. เตาไมโครเวฟ

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อออกข้อกําหนด
ข้อกําหนดของผลิตภัณฑ์ที่กําหนดขึ้น จะแตกต่างไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และความ
เสียหายของสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยทั่วไปจะคํานึงถึง
• การจั ด การทรั พ ยากรอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด ทั้ ง ที่ เ ป็ น ทรั พ ยากรหมุ น เวี ย น
(renewable resources) และทรัพยากรไม่หมุนเวียน (nonrenewable resources)

4
TGL-3-R3-11
• การลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการ
ผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกําจัดทิ้งหลังใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ
• การนําขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะอันตรายกลับมาใช้ซ้ํา (reuse) หรือ แปรสภาพกลับมา
ใช้ใหม่ (recycle)

การสมัครขอใช้ฉลากเขียว
การขอใช้ฉลากเขียวเป็นการดําเนินการด้วยความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจําหน่าย หรือผู้
ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ประสงค์จะสมัครขอใช้
ฉลากเขียว สามารถซื้อใบสมัครชุดละ 500 บาท เพื่อกรอกข้อความ และแนบเอกสารต่างๆ ตามที่ระบุ
ในข้อกําหนดเพื่อยื่นขอใช้เครื่องหมายฉลากเขียว และชําระค่าธรรมเนียมในการสมัคร 1,000 บาท
ต่ อ รุ่ น หรื อ แบบ หรื อ เครื่ อ งหมายการค้ า สถาบั น สิ่ ง แวดล้ อ มไทยและสํ า นั ก งานมาตรฐาน
ผลิตภั ณฑ์อุตสาหกรรมจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่างๆ และจัดทําสัญญาอนุ ญาตให้ ใ ช้
เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวในการโฆษณาและติดที่ผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบตาม
ข้อกําหนดแล้ว ผู้สมัครจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการใช้ฉลากเขียวเป็นจํานวนเงินปีละ 5,000 บาท
ต่อรุ่นหรือแบบ โดยมีวาระการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวไม่เกิน 3 ปี

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับฉลากเขียวสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ :
สํานักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียว สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
16/151 เมืองทองธานี ถ.บอนด์สตรีท อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 0-2503-3333 ต่อ 303, 306, 315, 316, 329
โทรสาร 0-2504-4826 ถึง 8
หรือ www.tei.or.th

5
TGL-3-R3-11
คณะอนุกรรมการเทคนิคคณะที่ 4
โครงการฉลากเขียว
ผลิตภัณฑ์ตู้เย็น

ประธานคณะอนุกรรมการเทคนิค

นายศุภชัย โปฎก ผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

คณะอนุกรรมการเทคนิค

นายพิธาน ชัยจินดา ผู้แทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง


นายสถิตย์ สุขอนันต์ ประเทศไทย

ดร. เชิดพันธ์ วิทูราภรณ์ ผู้แทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายพงษ์จรูญ ศรีโสภณ ผู้แทนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน


นายประภาส พจนา และอนุรักษ์พลังงาน

นายทิวากรณ์ จิตชนะวงศ์ ผู้แทนจากสํานักงานมาตรฐาน


ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

นางสาวจรินทร์ภรณ์ ติพพะมงคล ผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ

นายธนะวัฒน์ จุนชยะ ผู้แทนจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง


สหประชาชาติ

นายเอนก มีมูซอ ผู้แทนจากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า


นายวิรยุทธ รังหอม และอิเล็กทรอนิกส์

นางสาววราภรณ์ ภิญโญ ผู้แทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ


ดร.เปรมฤดี กาญจนปิยะ แห่งชาติ (MTEC)

6
TGL-3-R3-11
คณะอนุกรรมการเทคนิค (ต่อ)

นายมานพ ชุลวงศ์ ผู้แทนจากบริษัท โตชิบาไทยแลนด์


จํากัด

นายนพพร พลมาตย์ ผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ


นายคณยศ พลมาตย์ อิเล็กทรอนิกส์

นายประดิษฐ์ นิลพิมาย ผู้แทนจากบริษัท ฮิตาชิ คอนซูมเมอร์


นายพรศักดิ์ เจียมสวัสดิ์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จํากัด

นายจีรศักดิ์ จารุพงศ์ ผู้แทนจากบริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค


(ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

ผู้แทนคณะกรรมการโครงการฉลากเขียว
ดร.ลัณฉกร ประทุมรัตน์ ฝ่ายเลขานุการโครงการฉลากเขียว
นางสาวประกายธรรม สุขสถิตย์ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
นางสาวเหมือนจิตต์ วิเชฏฐะพงษ์

7
TGL-3-R3-11
ข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับตู้เย็น (Refrigerators)
(TGL-3-R3-11)
จัดทําโดย
คณะอนุกรรมการเทคนิคคณะที่ 4
โครงการฉลากเขียว

1. เหตุผล

ตู้ เ ย็ น เป็ น เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ประเภทหนึ่ ง ที่ ใ ช้ ไ ฟมากที่ สุ ด ในที่ อ ยู่ อ าศั ย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 20
ของค่าไฟฟ้า ในแต่ละเดือนสําหรับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และมากกว่าร้อยละ 30
สําหรั บ ประชากรในต่า งจังหวั ด ตู้เย็ นแบบ 1 ประตู ขนาด 5-6 คิ ว 100 วัต ต์ เปิ ด ตลอด
24 ชั่วโมง (โดยคอมเพรสเซอร์ทํางานร้อยละ 50) ใช้ไฟวันละ 1.2 หน่วย จะจ่ายค่าไฟฟ้า
ประมาณ 108 บาทต่อเดือน" (ในที่นี้ ค่าไฟฟ้าใช้คํานวณโดยคิดที่ค่าเฉลี่ยหน่วยละ 3 บาท) ใน
การผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มาจากทรัพยากรพลังงาน เช่น น้ํามันซึ่งมีปริมาณจํากัดลง นอกจากนี้
การใช้ทรัพยากรพลังงานอื่นๆ ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทิ้งขี้เถ้า การขจัดฝุ่นและ
ก๊าซที่ จะเกิ ดขึ้ นจากการเผาไหม้ของลิกไนต์ ปรากฏการณ์โลกร้ อน เนื่องจากปริมาณก๊ าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมามากในระหว่างการเผาไหม้

เนื่องจากมีความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก
สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทําให้แต่ละประเทศได้มีการนําแนวความคิดเรื่องมาตรการฉลาก
สิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นมาตรการโดยสมัครใจมาใช้ในประเทศของตน มาตรการ
ดังกล่าวจัดเป็นอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี เนื่องจากผู้ผลิตที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองจนถึง
ระดับที่สามารถขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้ จะถูกกีดกันออกจากตลาดไป
ในที่สุด ปัจจุบันมีการพัฒนาฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 สําหรับผลิตภัณฑ์ตู้เย็นในหลาย
ประเทศ เช่น เยอรมัน ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียซึ่งประกอบไป
ด้วย 5 ประเทศ คือ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน

ทั้งนี้ การพัฒนาข้อกําหนดตู้เย็นฉลากเขียว โดยกําหนดให้ตู้เย็นต้องมีประสิทธิภาพพลังงานสูง


จะช่วยให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศไทย และลดการใช้ทรัพยากรพลังงานลงได้
รวมถึงการใช้สารทําความเย็นที่ไม่ทําลายชั้นโอโซน และมีศักยภาพในการก่อให้เกิดสภาวะโลก
ร้อนต่ํา ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากสารทําความเย็นกรณีที่เกิดการรั่วไหล

8
TGL-3-R3-11
ออกสู่ภายนอกได้ด้วย อีกทั้งการใช้สัญลักษณ์บ่งบอกประเภทของพลาสติก จะทําให้ง่ายต่อการ
คัดแยกและนําไปแปรรูปใช้ใ หม่ จะช่วยให้ลดการใช้ทรัพยากร ตลอดจนลดผลกระทบต่ อ
สิ่งแวดล้อมอื่นๆที่เกิดขึ้นด้วย

2. ขอบเขต

คําว่า “ตู้เย็น” ในที่นี้ครอบคลุมเฉพาะ “ตู้เย็นสําหรับใช้ในบ้านแบบอัด”

3. บทนิยาม

ตู้เย็นสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย (Household refrigerator) หมายถึง ตู้กรุฉนวนความร้อนที่มี


อุปกรณ์และปริมาตรเหมาะสมสําหรับใช้ในบ้าน มีเครื่องทําความเย็นโดยพลังงานไฟฟ้า มีช่อง
เก็บอาหารตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไปโดย อย่างน้อยต้องมีช่องแช่เย็นหนึ่งช่อง จะมีช่องอุณหภูมิต่ํา
หรือไม่มีก็ได้

ประสิทธิภาพพลังงาน หมายถึง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้เย็น กําหนดค่าในรูป


ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อปี ตามขนาดปริมาตรปรับเทียบของตู้เย็น

ปริ ม าตรปรับ เที ย บ หมายถึ ง ปริม าตรช่อ งเก็ บ อาหารที่ ได้ รั บ การปรับ ค่า เนื่ อ งจากความ
แตกต่างด้านอุณหภูมิของช่องเก็บอาหาร โดยใช้อุณหภูมิของช่องแช่เย็นเป็นหลัก

ปริมาตรภายในที่กําหนด หมายถึง ปริมาตรภายในที่ผู้ทําระบุไว้ในฉลาก

ปริมาตรภายในทั้งหมด หมายถึง ผลผรวมของปริมาตรภายในของช่องแช่เย็น ช่องแช่เย็นจัด


และช่องอุณหภูมิต่ํา แม้ว่าจะมีประตูแยกกัน

สารทําความเย็น หมายถึง ของไหลที่ใช้ในการถ่ายเทความร้อนในระบบทําความเย็น ซึ่งจะดูด


ความร้อนที่อณ
ุ หภูมิต่ําและความดันต่ํา โดยทั่วไปจะมีการเปลี่ยนสถานะของของไหล

9
TGL-3-R3-11
4. ข้อกําหนดทั่วไป

4.1 ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในที่
อยู่อาศัย เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม: ประสิทธิภาพพลังงาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2186
และ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านความ
ปลอดภัยมาตรฐานเลขที่ มอก. 2214
4.2 ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง หรือ ผ่านการทดสอบตามคุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในบ้านมาตรฐานเลขที่ มอก. 455 หรือเป็น
มาตรฐานผลิตภัณ ฑ์ ที่ ได้รั บการรับรองตามมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือมาตรฐาน
ระดับประเทศที่สูงกว่าหรือเทียบเท่า
4.3 กรณี ที่ ตู้ เ ย็ น ที่ มี ร ะบบอิ น เวอร์ เ ตอร์ ต้ อ งได้ รั บ การรั บ รองหรื อ ผ่ า นการทดสอบตาม
คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในที่อยู่
อาศั ย เครื่ อ งมื อ ไฟฟ้ า และเครื่ อ งสํ า เร็ จ ที่ ค ล้ า ยกั น :ขี ด จํ า กั ด สั ญ ญาณรบกวนวิ ท ยุ
มาตรฐานเลขที่ มอก. 2238 หรือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระหว่าง
ประเทศ หรือ มาตรฐานระดับประเทศที่สูงกว่าหรือเทียบเท่า
4.4 กระบวนการผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์ และการกําจัดของเสียหลังกระบวนการผลิตต้อง
เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของราชการ

ข้อกําหนดพิเศษ

5.1 มีค่าประสิทธิภาพพลังงานตามค่าที่กําหนดในฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพอุปกรณ์
ไฟฟ้าประเภทตู้เย็นระดับที่ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5.2 ใช้สารทําความเย็นที่มีค่าความสามารถในการทําลายโอโซน (ODP) เป็นศูนย์
และค่าความสามารถในการทําให้โลกร้อนขึ้น (GWP) ไม่เกิน 20 กิโลกรัม CO2 ที่ 100
ปี1
5.3 ใช้สารเป่าโฟมที่มีค่า Ozone Depletion Potential (ODP) เป็นศูนย์
5.4 การใช้สารอันตรายในกระบวนการผลิต
5.4.1 เ ป็ น ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ รั บ ก า ร รั บ ร อ ง ห รื อ เ ป็ น ไ ป ต า ม ม า ต ร ฐ า น
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจมีสารอันตราย :
การจํากัดการใช้สารอันตรายบางชนิด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2368 หรือ ผ่าน

1
Fuel Efficiency Booklet เรื่อง The Economic Use of Refrigeration Plant ภายใต้โครงการ UK Government’s Energy
Efficiency Best Practice Programme ของ Department of The Environment Transport and Regions, London UK.

10
TGL-3-R3-11
เกณฑ์ที่กําหนดใน Directive 2002/95/EC The restriction of the use of
certain hazardous substances in electrical and electronic
equipment
5.5 ต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทของพลาสติกบนชิ้นส่วนพลาสติกที่มีน้ําหนักไม่น้อยกว่า
50 กรัม โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ต้องเป็นไปตามผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสัญลักษณ์สําหรับ
พลาสติกพลาสติกแปรใช้ใหม่ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1310 หรือ ISO 1043 หรือ ISO
11469 เพื่อสะดวกต่อการคัดแยกเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่
5.6 ชิ้นส่วนพลาสติกในผลิตภัณฑ์ที่น้ําหนักมากกว่า 25 กรัม ต้องไม่มีส่วนผสมของสาร
หน่วงการติดไฟ (flame retardant) ดังแสดงในตารางที่ 2 และสารที่อาจก่อให้เกิด
อันตรายตามรหัส และข้อระบุที่เป็นส่วนผสมในการเตรียมชิ้นส่วน ดังต่อไปนี้
R45 (อาจก่อให้เกิดมะเร็ง)
R46 (อาจก่อให้เกิดความเสียหายของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
R50 (เป็นพิษรุนแรงต่อจุลินทรีย์ในน้ํา)
R51 (เป็นพิษต่อจุลินทรีย์ในน้ํา)
R52 (เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในน้ํา)
R53 (อาจส่งผลลบต่อสภาวะแวดล้อมในแหล่งน้ําในระยะยาว)
R60 (อาจทําให้การปฏิสนธิไม่สมบูรณ์) หรือ
R61 (เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์)

ตารางที่ 2 ชนิดของสารหน่วงการติดไฟ (flame retardant) ที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมใน


ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีน้ําหนักมากกว่า 25 กรัม

ชื่อสาร หมายเลข CAS No.


Octa bromodiphenyl ether 32563-52-1
Nona bromodiphenyl ether 6396-56-1

5.7 เสียงที่เกิดจากการทํางานของผลิตภัณฑ์ที่ตรวจวัดในรูปของกําลังเสียงจะต้องไม่เกินกว่า
42 dB(A) และต้องมีการแสดงข้อมูลเรื่องระดับเสียงของผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคให้ชัดเจน
5.8 คู่มือในการใช้งาน ต้องมีคําแนะนําในการใช้งานในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
5.8.1 มีข้อความต่อไปนี้บนปกหรือหน้าแรก “ข้อมูลเพิ่มเติมในการใช้งานเพื่อลดผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด” ปรากฏอยู่ในคู่มือ
5.8.2 คําแนะนําการใช้งานที่เหมาะสม เพื่อการประหยัดพลังงานของตู้เย็น ได้แก่

11
TGL-3-R3-11
1) วิธีการวางและติดตั้งตู้เย็นเมื่ออยู่ท่ามกลางอุปกรณ์ชนิดอื่น ระยะห่าง
น้อย ที่สุดจากวัตถุอื่นถึงตัวตู้เย็น เพื่อให้แน่ใจว่ามีอากาศหมุนเวียน
เพียงพอ และมีคําแนะนําอย่างชัดเจนว่าหากติดตั้งในบริเวณที่เย็นจะ
ประหยัดพลังงานใน คู่มือ
2) หลี ก เลี่ ย งการวางตู้ เ ย็ น ใกล้ กั บ แหล่ ง กํ า เนิ ด ความร้ อ น (เช่ น เตาอบ
ตัวกระจายความร้อน) หรือ ท่ามกลางแสงสว่าง และควรมีฉนวนกัน
ความร้อนระหว่างตู้เย็นกับแหล่งกําเนิดความร้อนจากแหล่งอื่นหรือจาก
ใต้พื้น หากอยู่ใกล้หรือติดกัน
3) มีคําแนะนําในการตั้งอุณหภูมิในช่องแช่แข็ง และ/หรือช่องแช่เย็น
4) ไม่ควรเปิดประตูบ่อย หรือเปิดทิ้งไว้นานเกินไป ควรจะปิดตู้เย็นให้สนิท
ทุกครั้งหลังเปิดใช้งาน
5) ไม่ควรแช่อาหารร้อนในตู้เย็นทันที
6) หมั่นดูแล ช่องแช่เก็บอาหารให้สะอาด
7) ควรเปลี่ยนฉนวนยางเมื่อเสื่อมสภาพ
8) เมื่ อมี การเคลื่อนย้ายตู้เย็ นควรทิ้งช่วงเวลาให้ เพี ยงพอ ก่อนที่จะเปิด
เครื่อง อีกครั้ง
9) ในกรณีที่เป็นตู้เย็นประเภทมีแผงระบายความร้อนติดอยู่ด้านหลัง และ
ไม่ มี ฝ าปิ ด ควรทํ า ความสะอาดแผงระบายความร้ อ นที่ อ ยู่ บ ริ เ วณ
ด้านหลัง หรือบริเวณที่เกี่ยวข้องให้ปราศจากหยากไย่และเขม่าควันจาก
การทําครัว
10) มีคําเตือนในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคําแนะนําข้างต้น อาจทําให้เกิดการ
สิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น
11) มีคําแนะนําแก่ผู้บริโภคเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุ
5.8.3 ควรระบุข้อปฏิบัติจากการใช้วัตถุที่เป็นของแหลมคมในการสกัดเอาน้ําแข็งออก
ในคู่มือให้ชัดเจน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งานและ
สิ่งแวดล้อม
5.9 บรรจุภัณฑ์
5.9.1 กรณีบรรจุภัณฑ์กระดาษ
• กรณีกระดาษที่ใช้สําหรับทําผิวกล่อง ต้องเป็นกระดาษที่ได้รับการ
รั บ รองเครื่ อ งหมายฉลากเขี ย วตามข้ อ กํ า หนดฉลากเขี ย วสํ า หรั บ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ ฉบับล่าสุด หรือ ผ่านการทดสอบที่เป็นไปตาม
เกณฑ์ของข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับกระดาษที่ใช้สําหรับทําผิวกล่อง
• กรณีกระดาษทําลอนลูกฟูก ต้องเป็นกระดาษทําลอนลูกฟูกที่ได้รับการ

12
TGL-3-R3-11
รั บ รองเครื่ อ งหมายฉลากเขี ย วตามข้ อ กํ า หนดฉลากเขี ย วสํ า หรั บ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ (TGL-8-R1-06) ฉบับล่าสุด หรือ ผ่านการทดสอบที่
เป็นไปตามเกณฑ์ของข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับกระดาษทําลอน
ลูกฟูก
5.9.2 วัสดุที่ใช้เพื่อเป็นวัสดุกันกระแทกในบรรจุภัณฑ์ จะต้องไม่มีส่วนประกอบของ
สาร CFCs
5.9.3 กรณีบรรจุภัณฑ์พลาสติก ต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทของพลาสติกที่ใช้
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสัญลักษณ์สําหรับพลาสติกแปรใช้ใหม่
มาตรฐานเลขที่ มอก. 1310 หรือ ISO 1043 หรือ ISO 11469
5.9.4 สีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ต้องไม่พบโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม
และโครเมียม (+6)
กรณี เกิดจากความไม่บริสุทธิ์และปนเปื้อนจากวัตถุดิบ ให้มีปริมาณ ตะกั่ว
ปรอท แคดเมียม และโครเมียม (+6) รวมกันได้ไม่เกิน 100 ppm

6. วิธีทดสอบคุณภาพและเอกสารประกอบการขอใช้เครื่องหมายฉลากเขียว

6.1 ผู้ที่ทํา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศ ต้องได้รับ ใบอนุญาตทําผลิตภัณฑ์ตาม มาตรฐาน


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมตู้ เ ย็ น สํ า หรั บ ใช้ ใ นที่ อ ยู่ อ าศั ย เฉพาะด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม :
ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ พ ลั ง ง า น ม า ต ร ฐ า น เ ล ข ที่ ม อ ก .2 1 8 6 แ ล ะ ม า ต ร ฐ า น
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมตู้ เ ย็ น สํ า หรั บ ใช้ ใ นที่ อ ยู่ อ าศั ย เฉพาะด้ า นความปลอดภั ย
มาตรฐานเลขที่ มอก. 2214
6.2 ผู้นําเข้า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามาในประเทศ ต้องได้รับ ใบอนุญาตนําผลิตภัณฑ์เข้ามา
เพื่อจําหน่ายในราชอาณาจักร ให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็น
สําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : ประสิทธิภาพพลังงาน มาตรฐานเลขที่
มอก.2186 และ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะ
ด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 2214
6.3 ผู้ ผ ลิ ต ต้ อ ง ยื่ น ห ลั ก ฐ า น ใ บ อ นุ ญ า ต แ ส ด ง เ ค รื่ อ ง ห ม า ย ม า ต ร ฐ า น กั บ
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในบ้าน มาตรฐานเลขที่ มอก. 455 และ
หลั ก ฐานใบอนุ ญ าตแสดงเครื่ อ งหมายมาตรฐานกั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัย เครื่องมือไฟฟ้า และเครื่องสําเร็จที่คล้ายกัน: ขีดจํากัด
สัญญาณรบกวนวิทยุ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2238 (กรณีตู้เย็นที่มีระบบอินเวอร์เตอร์)

13
TGL-3-R3-11
หรือ แสดงผลทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่กําหนด หรือ แสดงผล
ทดสอบตามมาตรฐานระหว่ า งประเทศ หรื อ มาตรฐานระดับ ประเทศที่ สู ง กว่า หรื อ
เทียบเท่า ตาม มอก.455 และมอก. 2238 (ถ้ามี)
6.4 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐานผลทดสอบระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้เย็นตาม
วิธีทดสอบของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามที่กําหนดในข้อกําหนด
พิเศษข้อที่ 5.1
6.5 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐาน และหนังสือรับรอง แสดงชนิดของสารทําความเย็น และสารเป่า
โฟมที่ใช้ในกระบวนการผลิตและในผลิตภัณฑ์ ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวประทับตรา
สําคัญของบริษัท ลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของ
บริษัทผู้ผลิต แก่เจ้าหน้าที่โครงการฉลากเขียว ว่าเป็นไปตามที่กําหนดในข้อกําหนด
พิเศษข้อที่ 5.2 และ ข้อกําหนดพิเศษข้อที่ 5.3
6.6 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐานใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย หรือ หนังสือรับรองซึ่งประทับตรา
สําคัญของบริษัทและลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือรับรองนิติบุคคล
ของบริษัทผู้ผลิต ว่าผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจมีสารอันตราย : การจํากัดการใช้สารอันตรายบางชนิด
มาตรฐานเลขที่ มอก. 2368 หรื อ ผ่ า นการทดสอบตามวิ ธี ท ดสอบที่ กํ า หนดใน
Directive 2002/95/EC The restriction of the use of certain hazardous
substances in electrical and electronic equipment
6.7 ผู้ ผ ลิ ต ต้ อ งยื่ น เอกสารหลั ก ฐานรั บ รองว่ า ชิ้ น ส่ ว นพลาสติ ก ในผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ก ารแสดง
สั ญ ลั ก ษณ์ บ่ ง บอกประเภทพลาสติ ก ตามที่ กํ า หนดในข้ อ กํ า หนดพิ เ ศษข้ อ ที่ 5.5 ซึ่ ง
เอกสารหลักฐานดังกล่าวต้องประทับตราสําคัญของบริษัทลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจ
ลงนามตามหนั ง สื อ รั บ รองนิ ติ บุ ค คลของบริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ต พร้ อ มทั้ ง ส่ ง ตั ว อย่ า งชิ้ น ส่ ว น
พลาสติก 1 ชิ้นตัวอย่าง แก่เจ้าหน้าที่โครงการฉลากเขียว
6.8 ผู้ผลิตต้องยื่นเอกสารหลักฐานแสดงว่าไม่ได้มีการใช้สารหน่วงการติดไฟและสารที่มีข้อ
ระบุอันตราย ตามที่กําหนดในข้อกําหนดพิเศษที่ 5.6 ตามวิธีการที่ระบุใน Council
Directive 67/54/EEC ที่ได้รับการแก้ไข โดย Commission Directive 98/98/EEC
พร้อมทั้งแสดงรายการชื่อสารที่ใช้ ซึ่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวประทับตราสําคัญของ
บริ ษั ท และลงนามรั บ รองโดยผู้ มี อํ า นาจลงนามตามหนั ง สื อ รั บ รองนิ ติ บุ ค คลของ
บริษัทผู้ผลิต
6.9 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐานการตรวจวัดระดับเสียงและระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดย
เป็นไปตามวิธีการอ้างอิงใน Council Directive 86/594/EEC ตามวิธีการในมาตรฐาน
EN 28960 หรือ JIS C 9607 Annex 5 ตามที่กําหนดในข้อกําหนดพิเศษข้อที่ 5.7

14
TGL-3-R3-11
6.10 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐานคู่มือใช้งานตามที่ระบุในข้อกําหนดพิเศษที่ 5.8 แก่เจ้าหน้าที่
โครงการฉลากเขียว
6.11 ผู้ผลิตต้องยื่นหลักฐานว่าเป็นไปตามที่กําหนดในข้อกําหนดพิเศษข้อที่ 5.9 โดยหลักฐาน
ประกอบด้วย
6.11.1 กรณีกระดาษที่ใช้สําหรับทําผิวกล่อง ผู้ผลิตต้องแสดงใบอนุญาตเครื่องหมาย
ฉลากเขียวสําหรับกระดาษที่ใช้สําหรับทําผิวกล่อง หรือ แสดงผลทดสอบที่
เป็นไปตามเกณฑ์ของข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับกระดาษที่ใช้สําหรับทําผิว
กล่อง
6.11.2 กรณีกระดาษทําลอนลูกฟูก ผู้ผลิตต้องยื่นใบอนุญาตเครื่องหมายฉลากเขียว
สํ า หรั บ กระดาษทํ า ลอนลู ก ฟู ก หรื อ แสดงผลทดสอบที่ เ ป็ น ไปตามเกณฑ์
ข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับกระดาษทําลอนลูกฟูก
6.11.3 หนังสื อรั บรองแสดงว่าวัส ดุ ที่ใช้เพื่อเป็ นวัสดุกันกระแทกในบรรจุภัณฑ์ ไม่ มี
ส่วนประกอบของสาร CFCs หนังสือรับรองดังกล่าวต้องประทับตราสําคัญของ
บริษัทและลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามของบริษัทผู้ผลิตวัสดุกันกระแทก
6.11.4 กรณีบรรจุภัณฑ์พลาสติก ผู้ผลิตต้องยื่นหนังสือรับรองที่เชื่อได้ว่ามีสัญลักษณ์บ่ง
บอกประเภทของพลาสติกที่ใช้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสัญลักษณ์
สําหรับพลาสติกแปรใช้ใหม่ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1310 หรือ ISO 1043 หรือ
11469 หนังสือรับรองดังกล่าวต้องประทับตราสําคัญของบริษัทและลงนาม
รับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามของบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
6.11.5 ผลทดสอบโลหะหนักในสีที่ใช้ในการพิมพ์ฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ตามวิธีทดสอบ
ที่ระบุในมาตรฐาน ISO 3856-1 หรือ ASTM D 3335 สําหรับตะกั่ว, ISO
3856-4 หรือ ASTM D 3335 สําหรับแคดเมียม, ISO 3856-5 สําหรับ
โครเมียม (VI) และ ISO 3856-7 หรือ ASTM D 3624 สําหรับปรอท หรือ
แสดงผลทดสอบตามมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือ มาตรฐานระดับประเทศที่
สูงกว่าหรือเทียบเท่า

15
TGL-3-R3-11
หมายเหตุ :
1) การทดสอบต้องทําในห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
1.1) ห้องปฏิบัติการของราชการ ห้องปฏิบัติการภายใต้กํากับของราชการ ที่
เป็นไปตามข้อกําหนดในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ.2511 หรือ
1.2) ห้อ งปฏิบั ติก ารของเอกชนอิ ส ระที่ ได้ รับ การรั บ รองความสามารถของ
ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกําหนด
ทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบ
เทียบ มาตรฐานเลขที่ มอก. 17025 (ISO/IEC 17025)
2) ผลการทดสอบอายุต้องไม่เกิน 1 ปี ณ วันที่ยื่นขอใช้ฉลากเขียว

16
TGL-3-R3-11

ภาคผนวก

1. ขั้นตอนการร่างข้อกําหนดฉลากเขียวสําหรับตู้เย็น

คําจํากัดความและขอบเขต

รายละเอียดของตู้เย็นและความสําคัญทางเศรษฐกิจ

พิจารณาวัฏจักรชีวิตของตู้เย็นต่อสิ่งแวดล้อม

เปรียบเทียบและจัดลําดับผลกระทบของตู้เย็นต่อสิ่งแวดล้อม

พิจารณาสิ่งที่ทําให้ตู้เย็นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

กําหนดมาตรฐานด้านคุณภาพและด้านสิ่งแวดล้อมของตู้เย็น

17
TGL-3-R3-11
2. รายละเอียดของตู้เย็นและความสําคัญทางเศรษฐกิจ

2.1 วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ของตู้เย็น

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตู้เย็น แบ่งเป็น
1. โครงตู้และแผ่นฝา: แผ่นเหล็ก
2. ถังในและฝาใน: high impact polystyrene (HI-PS) หรือ ABS (acrylonitrile-
butadiene-styrene)
3. ฉนวนป้องกันความเย็น: โฟมโพลิยูริเทนแข็ง (rigid polyurethane foam)
4. สารทําความเย็น: HFC-134 a
5. สีพ่น: thermosetting acrylic-amino resin

ชิ้นส่วนอุปกรณ์ของตู้เย็น แบ่งเป็น
1. เครื่องอัดสารทําความเย็น (refrigerant compressor): ทําจากวัตถุดบิ เช่น แผ่นเหล็ก
อะลูมิเนียมหล่อ ทองแดง เหล็กหล่อ น้ํามันหล่อลื่น
2. ชิ้นส่วนภายในตู้เย็น: พลาสติกประเภท HI-PS หรือ ABS
3. แผงระบายความร้อน: ท่อทองแดง
4. ยางขอบตู้เย็น: พลาสติกประเภทโพลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride: PVC)

ปี 2537 มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศเป็นสัดส่วนมากขึ้น เมื่อเทียบกับ


โครงสร้างการใช้วัตถุดิบในปี 2524 ทั้งนี้เนื่องจากสามารถผลิตเครื่องอัดสารทําความเย็น ซึ่ง
เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สําคัญขึ้นได้เองภายในประเทศ อัตราส่วนการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์และ
วัตถุดิบจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมผลิตตู้เย็นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 เป็นวัตถุดิบ
และชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 67 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด ชิ้นส่วนที่ยังคงต้องมีการ
นําเข้าจากต่างประเทศได้แก่ dryer, ตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostat) โดยส่วนใหญ่จะนําเข้า
จาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์

รูปที่ 1 และตารางที่ 1 แสดงส่วนประกอบทั่วไปของตู้เย็นและวัตถุดิบ

2.2 กรรมวิธีผลิต

กรรมวิธีผลิตตู้เย็น แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ (รูปที่ 2) ดังนี้คือ

18
TGL-3-R3-11
1. การประกอบโครงตู้และฉนวนกันความร้อน เริ่มจากการนําแผ่นเหล็กมาตัดเพื่อทําเป็น
โครงสร้างตู้เย็น คือ โครงตู้ บานประตู และฝาบนของตู้ นําแผ่นเหล็กที่ตัดแล้วมาตกแต่งให้
เรียบร้อยก่อนนําไปล้างไขมัน เคลือบสารเคมีกันสนิมและอบความร้อน จากนั้นนําเข้าห้อง
พ่นสีแล้วจึงนําแผ่น ABS ซึ่งขึ้นรูปเป็นฝาด้านในของตู้ ประกอบเข้ากับโครงตู้ แล้วจึง
บรรจุสารยูรีเทนเข้าไประหว่างฝาด้านในกับตัวตู้ ตกแต่งประตูโดยการติดขอบยางพลาสติก
กับฝาด้านบน และใส่ใยแก้วหรือฟองน้ําประกอบแผ่น ABS, HI-PS ทางด้านในของฝา
ประตู ติดขอบยางฝาประตู และในขั้นสุดท้ายจะประกอบส่วนต่างๆของโครงตู้เข้าด้วยกัน
ทดสอบความคงทนของขอบยางประตูและการดูดของแม่เหล็กที่ขอบยาง
2. การประกอบอุปกรณ์ทําความเย็น ในขั้นนี้แบ่งการประกอบออกเป็น 2 ด้านคือ
- ด้าน high pressure คือการประกอบเครื่องควบแน่น และ เครื่องอัดสารทําความเย็น
เข้าด้วยกัน แล้วตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนประกอบเข้ากับตู้
- ด้าน low pressure คือการประกอบอีแวพอเรเตอร์ กับ suction line เข้าด้วยกัน
เมื่อเสร็จแล้ว เปิดเครื่องตั้งทิ้งไว้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนบรรจุหีบห่อ

19
TGL-3-R3-11
รูปที่ 1 ส่วนประกอบทั่วไปของตู้เย็น (เฉพาะบางรุ่น)

ที่มา : ข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต (2544)

20
TGL-3-R3-11
ตารางที่ 1 ส่วนประกอบทั่วไปของตู้เย็นและวัตถุดิบที่ใช้ (เฉพาะบางรุ่น)
N DESCRIPTIONS MATERIAL NO. DESCRIPTIONS MATERIAL
O
1 HANDEL 1 ABS RESIN 24 UP-HINGE STEEL
2 HANDEL 2 ABS RESIN 25 DEFROST BUTTON HI-PS
3 EGG CASE PS (POLYSTYRENE) 26 THERMOSTAT STEEL
4 SMALL RACK PS 27 DOOR SWITCH PVC
5 UTILITY CASE PS 28 LAMP GLASS
6 BIG RACK PS 29 LAMP SOCKET PVC
7 BIG RACK PS 30 LAMP COVER HI-PS
8 BOTTLE PP (POLYPROPYLENE) 31 GLASS SHELF GLASS
9 LINER HI-PS (HIGH IMPACT 32 STOPPER-2 PP (RECYCLE)
POLYSTYRENE)
10 GASKET PVC (POLYVINYL CHLORIDE) 33 LO-HINGE STEEL
11 SCREW STEEL 34 INST-BOOK PAPER
12 STOPPER 1 STEEL 35 VEGETABLE CASE PS
(CRISPER)
13 DOOR PANEL STEEL 36 DRAIN RECEIVER PP
14 SHELF TRIM PVC 37 DRYER COPPER
15 SHELF PVC + WIRE STEEL 38 EVAPORATOR PAN PP (RECYCLE)
16 MULTI CHILLER PS 39 PLUG CORD PVC + COPPER
17 MULTI CHILLER DOOR PS 40 COMPRESSOR STEEL + COPPER
+ ALUMINIUM + CAST IRON
+ LUBRICATING OIL
18 DOOR BADGE ABS 41 OVERLOAD ELECTRIC ASSEMBLY
PROTECTOR
19 EVAPORATOR DOOR AL (ALUMINIUM) 42 COVER PP
20 EVAPORATOR FRAME HI-PS 43 STARTING RELAY ELECTRIC ASSEMBLY
21 ICE TRAY PP 44 COMP BASE STEEL
22 EVAPORATOR FRAME HI-PS 45 REFRIGERATOR PP
STAND
23 DIAL 1 HI-PS
ที่มา: ข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต (2544)

21
TGL-3-R3-11
รูปที่ 2 ขั้นตอนการผลิตตู้เย็น
STEEL
PLATE EVP
CU PIPE
METAL WELDING ABS HIPS
CAPI- BACK- FORMING
HG PIPE S PIPE
TUBE CON
LEAK
TABLE I/B V/F D/L V/F
TREATMENT CHECK
SOLDERING
POLYMER
BENDING PUNCHING PUNCHING
BENDING COAT PAINTING

CABI ASS’Y ASS’Y


COMP BASE

P/U INJECTION
ASS’Y CYCLE ASS’Y
ASS’Y DOOR
DOOR ASS’Y
GASKET
CHARGE R-12
PLASTIC PARTS P/U INJECTION
ASS’Y
C/T ASS’Y
SILK SCREEN
ASS’Y STAMPING CARTON BOX REMARKS
- I/B = INNER BOX
P/K - D/L = DOOR LINER
DISTRIBUTE
ที่มา : ข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต (2544)

22
TGL-3-R3-11
2.3 การตลาด

การผลิตตู้เย็นของไทยเติบโตมาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนําเข้า ปัจจุบันมีผู้ผลิตตู้เย็นอยู่
ประมาณ 10 ราย จําแนกเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ 8 ราย มีอัตราการใช้กําลังการผลิตเฉลี่ยประมาณร้อย
ละ 75 ของกํ า ลั ง การผลิ ต ทั้ ง หมด การผลิ ต ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น การร่ ว มทุ น ระหว่ า งนั ก ลงทุ น ไทยกั บ
ชาวต่างชาติ เฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งย้ายฐานการผลิตเข้ามาตั้งในไทยมากขึ้น
การผลิตตู้เย็นของไทยจึงมีการผลิตทั้งภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง และการรับจ้างผลิตภายใต้
เงื่อนไขแบบ OEM (Original Equipment Manufacturing) อันเป็นวิธีการรับจ้างผลิตในลักษณะที่
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กําหนดรูปแบบและวิธีการผลิตตลอดจนประทับตราเครื่องหมายการค้าของผู้ว่าจ้างเอง
ทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ตู้เย็นที่ผลิตได้จะมีขนาดความจุตั้งแต่ 2.5 คิว ถึง 15 คิว ซึ่งการผลิตเน้นการใช้
วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นสําคัญ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมเพรสเซอร์ ปัจจุบัน ผู้ผลิตตู้เย็น
ยังมีนโยบายใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก (Export Center) ในภูมิภาคเอเชีย โดยทําการ
ผลิตเพื่อส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศถึงร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือจําหน่าย
ภายในประเทศ
ปริมาณการผลิตตู้เย็นของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามความต้องการของตลาด จาก
ปริมาณการผลิต 3,685,700 เครื่องในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 3,985.400 เครื่องในปี 2549 และ
4,227,300 เครื่องในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7, 8.1 และ 6.1 จากปีก่อนหน้า ตามลําดับ
สําหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 ปริมาณการผลิตตู้เย็นอยู่ที่ 4,465,000 เครื่อง หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดส่งออก
เป็นหลัก สําหรับเครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีที่เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น ได้แก่ ฮิตาชิ ชาร์ป ซันโย มิตซูบิชิ
และเนชั่นแนล แบรนด์เกาหลีใต้ ได้แก่ แอลจี และซัมซุง และแบรนด์จากจีน ได้แก่ ไฮเออร์ ทีซีแอล
ลิตเติล สวอน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (2551)

การนําเข้า-ส่งออก
จากการสรุปสถานการณ์การนําเข้าและส่งออกตู้เย็น ในช่วงปี พ.ศ.2551 ถึง พ.ศ.2553
(ตารางที่ 2 และ 3) เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากปี 2551 พบว่า แนวโน้มการนําเข้าตู้เย็นลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากปี พ.ศ.2551 พบว่า ปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ. 2553 มูลค่าการ
นําเข้าตู้เย็น ลดลงจากปี พ.ศ.2551 คิดเป็นร้อยละ 31.08 และ 50.54 ตามลําดับ
ในปี พ.ศ.2553 มูลค่าการนําเข้าตู้เย็น มาจากกลุ่มประเทศในทวีปออสเตรเลียมากที่สุด
รองลงมาคือกลุ่มทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ซึ่งประเทศที่มีมูลค่าการนําเข้าตู้เย็นมากที่สุด คือ ประเทศ
ออสเตรเลียคิดเป็นร้อยละ 81.85 ของมูลค่าการนําเข้า รองลงมาคือ ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศ
นิวซีแลนด์ คิดเป็นร้อยละ 12.26 และ 1.03 ตามลําดับ

23
TGL-3-R3-11

ตารางที่ 2 สถิติการนําเข้าตู้เย็น ปี พ.ศ.2551-2553

การนําเข้าตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 5,000 2 14,923 1 5,000
ออสเตรีย 0 0 2 123,326 0 0
ออสเตรเลีย 2,950 76,256,520 3,195 71,575,034 1,959 45,510,046
บังคลาเทศ 0 0 0 0 2 5,831
สวิตเซอร์แลนด์ 1 3,000 0 0 2 29,795
จีน 494 1,781,425 13 355,534 25 143,582
เยอรมนี 190 3,366,345 21 345,968 13 49,834
เดนมาร์ก 11 615,619 0 0 0 0
สเปน 8 254,758 22 1,060,993 0 0
อียิปต์ 0 0 0 0 7 256,444
ฝรั่งเศส 2 11,000 0 0 1 245
อังกฤษ 4 2,036,014 74 28,674 9 42,250
ฮ่องกง 0 0 0 0 4 71,585
กรีซ 0 0 2 76,144 0 0
อินโดนีเซีย 1,875 10,902,310 5 34,200 6 35,342
อินเดีย 162 1,055,163 0 0 4 26,740
อิสราเอล 0 0 2 68,291 0 0
อิตาลี 25 436,912 75 232,147 20 356,939
ญี่ปุ่น 4,341 319,712 14 197,178 28 488,212
เกาหลีเหนือ 0 0 0 0 8 289,951
เกาหลีใต้ 185 5,276,986 34 169,114 318 6,814,055
พม่า 1 4,099 1 2,477 0 0
เม็กซิโก 6 269,274 0 0 0 0
มาเลเซีย 3 9,514 1 5,500 3 10,000
เนเธอร์แลนด์ 6 13,800 6 16,500 3 16,000
นอร์เวย์ 0 0 1 25,000 1 2,102
นิวซีแลนด์ 8 87,240 71 1,308,651 36 573,979
ฟิลิปปินส์ 2 6,757 2 3,917 0 0
โอมาน 0 0 2 1,639 1 4,000
สวีเดน 2 10,000 1 1,731 0 0
ซาอุดิอาระเบีย 0 0 0 0 6 14,500
สิงคโปร์ 2 121,505 7 29,000 9 75,592

24
TGL-3-R3-11
การนําเข้าตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
โซเวเนีย 0 0 0 0 4 94,106
ไทย 2 14,825 13 113,888 11 125,013
ตุรกี 0 0 25 818,033 1 99,519
สหรัฐอเมริกา 377 9,563,409 23 846,431 11 365,852
เวียดนาม 0 0 3 21,919 14 95,269
10,658 112,421,18 3,617 77,476,212 2,507 55,601,783
รวม 7
ที่มา : กรมศุลกากร (2554)

การส่งออกตู้เย็น แสดงดังตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากปี พ.ศ.2551 พบว่า แนวโน้ม


การส่งออกตู้เย็น มีปริมาณเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเมื่อ
พิจารณาแนวโน้มจากปี พ.ศ.2551 พบว่า ปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ. 2553 มูลค่าการส่งออกตู้เย็น
เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551 คิดเป็นร้อยละ 1.43 และ 27.29 ตามลําดับ
ในปี พ.ศ.2553 มูลค่าการส่งออกตู้เย็น มาจากกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียมากที่สุด รองลงมา
คือกลุ่มทวีปยุโรปและทวีปออสเตรเลีย ซึ่งประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกตู้เย็นมากที่สุด คือ ประเทศ
ออสเตรเลีย คิดเป็นร้อยละ 12.75 รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียคิดเป็นร้อยละ 7.63
และ 7.49 ตามลําดับ

ตารางที่ 3 สถิติการส่งออกตู้เย็น ปี พ.ศ.2551-2553

การส่งออกตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ ปริมาณ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 38,787 323,286,327 31,526 286,747,974 71,993 623,448,308
อัฟกานิสถาน 0 0 872 6,839,060 2,910 18,465,881
แอลบาเนีย 2,834 19,674,830 3,316 23,797,745 609 4,065,993
อาร์มิเนีย 1,430 8,806,986 0 0 0 0
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส 388 1,985,325 378 2,479,172 212 1,103,137
แองโกลา 254 1,459,442 0 0 4 53,287
ออสเตรีย 297 1,694,311 231 1,686,137 0 0
ออสเตรเลีย 101,850 798,618,136 122,053 1,167,713,916 155,066 1,841,862,222
อารูบา 0 0 194 1,066,777 204 1,046,574
อาเซอร์ไบจัน 0 0 432 2,275,090 382 2,445,239

25
TGL-3-R3-11
การส่งออกตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ ปริมาณ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
บาบาดอส 77 423,153 30,951 212,238,132 128 626,407
บังคลาเทศ 38,197 266,554,261 0 0 25,399 144,479,512
เบลเยี่ยม 0 0 2 27,121 0 0
บูร์กินาฟาโซ 0 0 218 1,127,804 74 523,022
บัลแกเรีย 20,562 139,898,036 4,993 34,635,678 1,314 8,752,868
บาห์เรน 7,055 59,205,635 5,464 48,970,843 5,333 45,195,970
เบนิน 9 51,203 6 28,952 1 4,941
แคนาดา 0 0 5,924 109,685,214 11,378 221,650,387
คอนโก 191 1,198,401 792 5,153,680 674 3,724,706
โกตดิวัวร์ 0 0 569 3,969,959 281 1,732,343
ชิลี 12,672 51,160,884 7,488 29,535,969 24,418 99,401,609
แคเมอรูน 171 1,182,999 0 0 1 3,000
จีน 3,914 75,775,696 2,861 54,446,184 5,288 89,126,818
กัมพูชา 10,655 43,396,493 12,095 50,954,630 18,158 72,177,221
คอสตาริก้า 144 506,241 495 2,252,012 576 2,192,643
คิวบา 1 5,000 0 0 0 0
ไซปรัส 4,853 48,172,746 3,900 42,009,785 4,513 46,101,347
สาธารณรัฐเช็ก 1 15,871 0 0 0 0
เยอรมนี 18,415 177,258,950 15,029 138,021,117 18,575 174,974,858
จิบูตี 11,204 64,810,094 6,296 36,773,582 10,484 53,019,823
เดนมาร์ก 0 0 45 893,847 6 99,106
สาธารณัฐโดมินิกัน 144 532,220 1,440 6,066,452 0 0
แอลจิเรีย 43,884 298,346,876 42,574 303,529,934 8,292 38,587,129
อียิปต์ 6,773 42,268,411 14,336 135,409,611 30,123 213,586,427
สเปน 18,701 146,535,537 17,532 139,872,107 17,572 117,459,491
เอธิโอเปีย 0 0 0 0 588 4,219,631
ฟินแลนด์ 66,874 665,865,205 47,741 473,216,779 37,916 333,984,452
ฟิจิ 112 783,522 46 865,316 296 5,033,103
ฝรั่งเศส 19,005 174,682,419 25,288 205,112,063 28,114 217,906,988
กาบอง 0 0 0 0 193 971,813
อังกฤษ 4,250 22,051,099 6,067 71,280,278 5,362 100,572,074
เกรเนดา 482 2,202,131 70 585,066 148 901,342
จอร์เจีย 5,624 34,403,492 393 2,266,368 2,381 16,100,424
เฟรนชกีอานา 196 1,943,182 61 741,789 0 0
กานา 1,005 6,139,789 780 5,075,643 2,440 14,034,593

26
TGL-3-R3-11
การส่งออกตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ ปริมาณ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
แกมเบีย 0 0 0 0 72 508,294
กินี 0 0 313 2,593,364 480 4,206,264
กวาเดอลูป 2,739 23,793,485 2,414 19,923,475 2,417 18,941,036
กรีซ 20,251 181,000,749 15,441 138,716,343 12,124 92,982,060
กัวเตมาลา 5,425 22,532,361 6,135 26,585,046 5,152 20,699,598
กายอานา 667 4,283,685 623 3,700,449 678 4,342,635
ฮ่องกง 16,006 96,507,571 20,371 133,771,407 55,607 438,611,660
ฮอนดูรัส 864 3,560,592 1,583 6,581,812 1,686 6,821,375
โครเอเชีย 2,983 21,329,647 547 4,097,750 456 2,981,218
ฮังการี 4,699 29,927,599 767 4,703,303 233 1,210,703
อินโดนีเซีย 132,267 829,036,088 99,493 627,708,649 133,305 809,323,642
ไอรี่แลนด์ 0 0 542 11,543,459 1,264 28,142,489
อิสราเอล 35,631 394,168,051 38,235 454,465,232 37,231 403,095,923
อินเดีย 17,511 149,186,015 12,183 115,107,525 20,823 180,520,927
อิหร่าน 17,557 133,724,636 14,759 88,463,551 6,265 37,312,331
ไอซ์แลนด์ 0 0 0 0 1 479
อิตาลี 14,904 197,042,194 15,246 182,380,322 18,014 208,067,100
จาไมกา 920 4,129,043 634 3,307,403 460 2,356,865
จอร์แดน 11,025 100,315,039 12,199 101,595,288 16,863 131,613,651
ญี่ปุ่น 26,467 154,685,278 84,636 530,825,443 90,991 535,020,185
เคนย่า 9,385 50,641,220 13,059 72,166,771 17,451 84,672,838
คริสซีสถาน 608 4,052,547 2,696 15,964,715 390 2,218,677
กัมพูชา 6,645 24,525,934 1,175 5,150,512 2,316 10,870,914
โคโมรอส 228 2,097,228 81 559,780 2 3,000
เกาหลีเหนือ 0 0 1 16,990 0 0
เกาหลีใต้ 176 988,585 170 832,187 2,591 15,714,830
คูเวต 6,711 45,178,812 8,570 60,682,845 5,437 38,824,132
คาซัคสถาน 2,120 16,616,578 4,286 26,472,858 1,267 8,093,068
ลาว 8,248 45,967,919 8,243 42,751,195 8,074 48,484,738
เลบานอน 4,508 59,022,107 4,547 64,862,346 6,962 88,003,091
เซนต์ลูเซีย 385 1,659,106 144 605,646 296 1,913,002
ศรีลังกา 607 3,626,642 2 9,826 10 49,088
ลิกเตนสไตน์ 0 0 354 3,103,007 0 0
ไลบีเรีย 261 2,284,704 276 2,012,103 145 924,856
อาหรับลิเบีย 2,218 20,192,853 3,644 32,141,202 3,365 28,771,320

27
TGL-3-R3-11
การส่งออกตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ ปริมาณ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
โมร็ฮกโก 6,552 49,291,071 34,855 223,392,010 38,330 243,767,325
มาดาร์กัสกา 723 4,597,895 0 0 2 13,980
แมคซีโดเนีย 3,784 25,006,453 0 1,352 8,952,430 4,658,458
พม่า 33,981 159,662,421 20,154,635 60,246 302,109,034 211,634,911
มองโกเลีย 228 1,326,036 0 159 1,121,608 914,821
มาร์ตินีค 1,950 15,698,063 603,925 1,327 10,148,532 21,455,831
มอริเตเนีย 60 471,803 0 94 555,162 345,961
มอริเชียส 3,538 26,006,822 0 2,461 18,371,769 12,798,529
มัลดีฟส์ 54 365,897 0 151 633,719 93,878
มาเลเซีย 124,545 850,281,323 128,144 893,207,772 166,997 1,082,760,320
นามิเบีย 0 0 0 0 21 114,257
นิวแคลิโดเนีย 260 1,808,722 331 3,637,542 577 7,794,978
ไนจีเรีย 7,264 37,451,687 5,444 31,241,870 12 115,855
นิวการากัว 1,728 6,753,432 2,257 9,434,546 864 3,322,083
เนเธอร์แลนด์ 226 1,306,374 304 1,650,124 3,302 19,806,556
นิวซีแลนด์ 7,990 61,649,097 14,143 146,854,190 12,563 159,468,980
โอมาน 15,430 92,517,951 9,520 58,064,278 10,259 61,735,540
ปานามา 25,737 115,792,796 21,665 100,595,651 32,508 145,609,185
เปรู 33,467 185,006,039 38,742 204,219,847 57,295 293,892,821
เฟรนช์โปลินีเซีย 98 464,165 38 671,546 199 2,639,193
ปาปัวนิวกินี 778 5,423,253 223 2,426,608 302 4,643,368
ฟิลิปปินส์ 78,116 406,420,921 98,444 532,474,718 125,058 658,056,985
ปากีสถาน 744 3,269,203 67 589,210 70 269,046
โปแลนด์ 2,813 17,736,844 0 0 0 0
เปอโตริโก 385 2,136,240 0 0 0 0
โปรตุเกส 9,383 53,091,104 8,782 50,860,788 7,054 39,345,988
การ์ต้า 10,383 63,542,967 4,649 30,004,672 8,365 48,315,890
เรอูเนียง 2,203 18,132,339 1,093 9,571,389 1,471 14,074,652
โรมาเนีย 0 0 1 16,717 3,023 18,801,364
รัสเซีย 24,314 147,751,560 23,625 141,324,006 11,476 67,078,799
ซาอุดิอาระเบีย 78,477 561,185,609 74,401 530,174,416 87,733 602,139,057
หมู่เกาะโซโลมอน 0 0 27 221,073 0 0
เซเชลล์ 16 140,747 3 15,120 0 0
ซูดาน 657 4,433,665 3,000 21,587,011 2,818 13,918,432
สวีเดน 0 0 0 0 1 6,250

28
TGL-3-R3-11
การส่งออกตู้เย็น
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 พ.ศ.2553
ประเทศ ปริมาณ
ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท) (ชิ้น) มูลค่า (บาท) ปริมาณ (ชิ้น) มูลค่า (บาท)
สิงคโปร์ 92,528 681,220,948 81,768 676,196,075 144,560 1,102,376,238
โซเวเนีย 772 5,584,141 97 658,787 0 0
สโลวาเกีย 0 0 484 2,791,039 3,799 22,534,266
เซียร์ราลีโอน 0 0 0 0 75 452,267
เซเนกัล 958 6,886,679 218 1,675,289 706 4,266,360
ซูนินาเม 291 1,505,367 704 3,374,645 850 3,942,305
เอลซัลวาดอร์ 4,641 19,109,436 2,788 12,247,508 2,384 9,751,973
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย 3,921 43,332,807 2,363 28,082,927 2,314 24,820,343
โตโก 2 13,094 7 42,682 0 0
ทาจิกิสถาน 2,428 15,676,772 2,188 14,079,883 3,768 20,369,725
เติร์กเมนิสถาน 0 0 2,727 17,073,533 7,707 41,499,697
ตูนิเซีย 954 9,674,459 316 3,717,593 526 4,362,525
ตุรกี 20,159 216,708,065 10,672 110,401,773 9,794 84,141,529
ตรินิแดดแลโตเบโก 1,045 9,042,652 814 5,291,506 743 4,811,720
ไต้หวัน 1,345 18,532,660 2,696 34,985,381 13,329 176,872,963
แทนซาเนีย 1,410 7,540,022 1,557 9,874,778 3,132 18,477,425
ยูเครน 122,974 864,636,892 30,367 161,621,067 38,491 259,472,164
ยูกันดา 0 0 0 0 850 4,140,765
สหรัฐอเมริกา 0 0 4,871 88,561,212 8,375 169,406,984
อุซเบกิสถาน 0 0 262 1,598,923 979 5,146,597
เวเนซูเอลา 0 0 1,152 4,642,290 0 0
เวียดนาม 53,915 300,969,830 91,168 547,953,080 202,643 915,300,775
หมู่เกาะวาลลิสและฟุตู 50 336,277 172 938,111 75 394,020
นา
เยเมน 8,832 55,353,741 5,850 37,408,309 3,484 21,532,640
มาโยเต 0 0 21 151,500 129 318,100
แอฟริกาใต้ 340 5,616,034 3,484 15,847,034 8,682 38,830,525
อื่นๆ 10,537 69,513,016 1,635 10,917,126 726 3,880,503
รวม 1,596,016 11,352,979,014 1,569,759 11,515,032,842 2,020,839 14,451,618,400
ที่มา : กรมศุลกากร (2554)

29
TGL-3-R3-11
ตารางที่ 4 รายชื่อผู้ประกอบการผลิตและนําเข้าตู้เย็น

ที่ ชื่อโรงงาน / ทะเบียนโรงงาน สถานที่ตั้ง / โทรศัพท์ ประกอบกิจการ


1 บริษัท เทอร์มีเดซ จํากัด 245 ม. 9 ซ.ประชาพัฒนา ผลิตและประกอบเครื่องประกอบตู้เย็น
ถ.หลวงแพ่ง แขวงทับยาว ตู้แช่ เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ เครื่อง
เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 0520 ซักล้าง ซักแห้ง อุปกรณ์ไฟฟ้า
โทร. 0-2738-0705
2 บริษัท ไทคูณ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด 1117-1123 ซ.สุทธิพร ประกอบเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น
ถ.ประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพฯ10400
3 ลาซาล เครื่องเย็น 49/15 ซ.ลาซาล ถ.ศรีนครินทร์ แขวงบาง ทําตู้เย็น ตู้แช่
นา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2748-7132
4 บริษัท กันยงอีเลคทริก จํากัด 67 ม. 11 ถ.บางนา-ตราด กม.20 ต.บางโฉ ผลิตและประกอบตู้เย็น
(มหาชน) ลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า
โทร. 0-2316-8668
5 บริษัท ศิริธนาเครื่องเย็น จํากัด 141 ม.2 ถ.เทพารักษ์ ต.บางเสาธง ผลิตและประกอบเครื่องทําน้ําเย็น
อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540 ตู้เย็น
6 บริษัท แอดมิราลี่ประเทศไทย จํากัด 43 ม. 21 ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ผลิตตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
ต.สําโรงกลาง อ.พระประแดง
จ.สมุทรปราการ 10130
โทร. 0-2394-4203
7 บริษัท คอนโซลิเดเต็ด อีเล็คทริค 147 ม. 1 ซ.เทพารักษ์ ถ.สุขุมวิท ประกอบเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น
จํากัด ต.สําโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ
จ.สมุทรปราการ 10270
โทร. 0-2394-0535
8 บริษัท เชี่ยวชาญ อินเตอร์ คูล จํากัด 322 ม.2 ซ.ทิมเรืองเดช ประกอบตู้เย็น และเครื่องประกอบ
ถ.ประชาอุทิศ 90 ต.บ้านคลองสวน อ.พระ ตู้เย็น
สมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290
โทร. 0-2815-9977
9 บริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม 129/5 ม.2 ถ.ติวานนท์ ต.ท่าทราย ผลิตพัดลม ตู้เย็น เครื่องรับโทรทัศน์
จํากัด อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
10 บริษัท ไมตรี เมทัล เวิร์ค จํากัด 36/115-118 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ต. ผลิตและซ่อมตู้เย็น,ตู้แช่เย็น
บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.
นนทบุรี 11110
11 บริษัท ฮอท พอท จํากัด ม.3 ต.บึงคําพร้อย ผลิต ประกอบตู้เย็น และผลิตเครื่อง
อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 เรือนที่ทําจากโลหะ
12 บริษัท โตชิบาคอนซูมเมอร์ 144/1 ม. 5 ซ.เขตอุตสาหกรรมบริษัท สวน ผลิตเครื่องปรับอากาศสําหรับใช้

30
TGL-3-R3-11
ที่ ชื่อโรงงาน / ทะเบียนโรงงาน สถานที่ตั้ง / โทรศัพท์ ประกอบกิจการ
โปรดัคส์ (ประเทศไทย) จํากัด อุตสาหกรรมบางกะดี ภายในอาคารและตู้เย็นสําหรับใช้
ถ.ติวานนท์ ต.บางกะดี อ.เมือง ภายในบ้าน
จ.ปทุมธานี 12000
โทร. 0-2501-1400
13 บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ 313 ม.1 ซ.สวนอุตสาหกรรม ประกอบตู้เย็น
จํากัด ศรีราชา ถ.สุขาภิบาล 8 ต.บึง
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
โทร. 0-386-0812-5
14 บริษัท ซันโย ยูนิเวอร์แซล อีเลคทริค 28/3 ม. 1 ซ.วัดหนามแดง (รพช) ผลิตเตาแก๊ส และผลิตตู้เย็น
จํากัด ถ.สุวินทวงศ์ ต.คลองอุดมชลจร
อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000
โทร. 0-3835-4071-3
15 บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ 64 ม. 5 ถ.บางนา-ตราด ผลิตตู้เย็นและเตาอบไมโครเวฟ และ
(ประเทศไทย) จํากัด ต.บางสมัคร อ.บางปะกง ผลิตเครื่องปรับอากาศ และ
จ.ฉะเชิงเทรา 24180 เครื่องโทรสาร
โทร. 0-3853-8663-71
16 บริษัท พานาโซนิค โฮม แอ็พไลแอ็นซ์ 71 (นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์) ม.5 ต.บาง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (ตู้เย็น
(ประเทศไทย) จํากัด สมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24180 เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว เครื่อง
ซักผ้า กระติกน้ําร้อน)
17 บริษัท มัทสุชิตะ เรกิ ริฟริกเจอเร 71 ม.5 ต.บางสมัคร เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์
เตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24180 เครื่องใช้ไฟ้า (ตู้เย็น)
โทร. 0-3857-0010-19
18 บริษัท เอ พี เนชั่นแนล อีเล็คทริค 71 นิคมฯเวลโกร์ว ม. 5 ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟฟ้า (ตู้เย็น
จํากัด ถ.บางนา-ตราด ต.บางสมัคร เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า หม้อ
อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24180 หุงข้าว)
19 บริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศ 446 ม.9 ถ.กบินทร์บุรี-นครราชสีมา ต. ผลิตตู้เย็น ตู้แช่ ตู้โชว์ คอมเพรสเซอร์
ไทย) จํากัด (มหาชน) หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี เครื่องซักผ้า เครื่องรับโทรทัศน์
จ.ปราจีนบุรี 25110 เครื่องปรับอากาศ
20 บริษัท โซน่าร์ อินดัสเตรียล จํากัด 29,29/1,29/2 ม.3 ถ.เพชรเกษม ต.ท่า ประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น
ตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เตารีด พัดลม
เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ํา
ร้อน อื่น ๆ และประกอบเครื่องขยาย
เสียง บันทึกเสียง เครื่องรับ
หมายเหตุ 1. ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งไม่รวมถึง โรงงานเลิกประกอบกิจการตามกรอบการปรับปรุง
ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม
2. หากท่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการแจ้งแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โปรดติตต่อ ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม โทร.(662) 2024156

31
TGL-3-R3-11
ผลกระทบของตู้เย็นต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของตู้เย็น สามารถแบ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็น 3
ระยะคือ ในระหว่างการผลิต การใช้งาน และการทิ้งหลังจากใช้งาน (รูปที่ 5 และ 6 และตารางที่ 3)

ตารางที่ 5 ผลกระทบเบื้องต้นของตู้เย็นต่อสิ่งแวดล้อม

หัวข้อทางสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของตู้เย็น
(environmental aspects) ก่อนผลิต ขณะผลิต ขณะขนส่ง ขณะใช้ ทิ้งหลังใช้
3 4
การใช้ทรัพยากร (resource use) {1 {1 ×
เช่น พลังงาน น้ํา วัตถุดิบ
การเกิดวัตถุมีพิษ (hazardous substance) {1 × {1 × {
การปล่อยมลสารไปสู่
(emission/release of pollutant into)
- อากาศ {1 * {1 ×
5

- น้ํา × * × × {
- ดิน × * × × {
ขยะมูลฝอย/ของเสีย (waste) {2 { × ×
6

ผลกระทบอื่นๆ (other impacts)


- เสียง {1 * {1 7
×
- กลิ่น {1 * {1 × ×
- แสง × * × × ×
- ความร้อน {1 * {1 { ×
ความเหมาะสมสําหรับการใช้ (fitness for use) **
ความปลอดภัย (safety) **
หมายเหตุ มีผลกระทบ คณะอนุกรรมการฯ ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาร่างข้อกําหนด
{ มีผลกระทบ แต่ไม่รวมอยู่ในข้อกําหนด
× ไม่เกี่ยวข้อง
1
ผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป และการปล่อย CO2, CO, SOX, NOx
2
บรรจุภัณฑ์
3
การใช้พลังงาน น้ํา วัตถุดิบ
4
การใช้พลังงานไฟฟ้า
5
การรั่วไหลของสารซีเอฟซี
6
สามารถนํามูลฝอยกลับมารีไซเคิลได้
7
เสียงที่เกิดจากการใช้งาน
* มีข้อบังคับตามพระราชบัญญัติโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
** มีข้อกําหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

32
TGL-3-R3-11
3.1 ในระหว่างการผลิต

ในระหว่างการผลิตตู้เย็น มีการใช้วัตถุดิบ เช่น แผ่นเหล็ก อะลูมิเนียม และพลาสติก มีการใช้


ไฟฟ้า สีเคลือบ ทําให้เกิดเศษเหล็ก เศษพลาสติก ไฮโดรคาร์บอน (HC) ไนโตรเจนออกไซด์
(NOX) ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOX) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และอื่นๆ (รูปที่ 5)

นอกจากนี้ในระหว่างการผลิต ยังมีการใช้สาร CFC-12 เป็นสารทําความเย็น และใช้สาร


CFC-11 เป็นสารเป่าโฟม (polyurethane foaming agent) สาร CFCs เป็นสารที่ก่อให้เกิด
ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงถ้ามีการรั่วไหลขึ้นสู่บรรยากาศชั้นโอโซน โดยสารนี้จะแตก
ตัวเป็นก๊าซคลอรีนมอนอกไซด์และออกซิเจน คลอรีนจะไปทําลายโอโซนที่ทําหน้าที่กรอง
อัลตราไวโอเลตให้บางลงและเกิดเป็นช่องว่างขึ้น เมื่อบรรยากาศของโอโซนลดลงไป อัลตร้า
ไวโอเลตบี จะเข้ามาสู่โลกได้มากขึ้น เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แม้ว่าในปริมาณน้อย ๆ อาจเป็น
ประโยชน์ เช่น ผิวหนังคนต้องการรังสีนี้เพื่อสร้างวิตามินดี แต่หากมากเกินไป จะทําให้ผิวหนัง
ไหม้ ตาพร่า ตาต้อ ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง โดยเชื่อกันว่ารังสีนี้ไป
กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อมะเร็งผิวหนัง และโรคติดเชื้อบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นคนผิวสี
ใดก็มีผลเหมือนกัน โรคที่เกิดมากขึ้นหรือรุนแรงขึ้นคือ หัด อีสุกอีใส เริมและโรคจากเชื้อไวรัส
ต่างๆ (โดยเฉพาะโรคที่เกิดบนผิวหนัง) โรคที่พาหะเข้าทางผิวหนัง เช่น มาเลเรีย โรคติดเชื้อ
จากแบคทีเรีย อาทิ วัณโรค โรคเรื้อน และโรคเชื้อรา

ต้อเป็นโรคตาที่เกิดจากอัลตร้าไวโอเลตบี ซึ่งทําให้เลนส์ตาขุ่นมัวและเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทําให้เกิด
ตาบอดได้ การศึกษาที่ทําโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาคาดว่า หาก
บรรยากาศชั้นโอโซนลดลงร้อยละ 1 อัตราการเกิดต้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ถึง 0.6 ในโลก

สารกรรมพันธุ์หรือดีเอ็นเอในเซลของเราก็ถูกทําลายโดยอัลตร้าไวโอเลตเช่นกัน ซึ่งจะทําให้
เซลล์ตายหรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ สําหรับคนผิวขาวหรือผิวสีอ่อนจะเป็นมะเร็งได้ง่าย โดย
หากบรรยากาศชั้นโอโซนลดลงร้อยละ 1 ก็จะมีมะเร็งผิวหนังที่เรียกว่า non-melanoma
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 มะเร็งชนิด melanoma ซึ่งพบน้อยกว่าก็เชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับรังสีนี้เช่นกัน
องค์การพิทกั ษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาประเมินไว้ว่า แม้บรรยากาศชั้นโอโซน
ลดลงเพียงร้อยละ 1 ก็จะมีมะเร็งผิวหนังชนิด non-melanoma เพิ่มขึ้น 450,000 คน และ
ชนิด melanoma อีก 1,000 คน สําหรับคนที่มีชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันนี้ และใน
อนาคตรุ่นลูกหลานก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก

33
TGL-3-R3-11
นอกจากผลต่อมนุษย์แล้ว ผลต่อพืชและสัตว์คงจะมีมากเช่นกัน เพียงแต่ข้อมูลยังค่อนข้างน้อย
แม้จะมีผลการทดลองว่าอัลตร้าไวโอเลตบีมีผลด้านลบต่อพืช เช่น ถั่วเหลืองจะลดผลผลิตลง
ร้อยละ 20-25 หากบรรยากาศชั้นโอโซนลดลงร้อยละ 25 และยังมีโปรตีนและน้ํามันในเมล็ด
ลดลงด้วย ในป่าไม้เท่าที่มีการทดลอง คือ ป่าสน ก็พบว่ารังสีนี้มีผลด้านลบเช่นกัน ในทะเล
อัลตร้าไวโอเลตจะลดผลผลิตจากแพลงก์ตอนพืชร้อยละ 10-35 (ขึ้นอยู่กับว่าแพลงก์ตอนอยู่ที่
ผิวน้ําหรือลึกลงไป) หากบรรยากาศชั้นโอโซนลดลงร้อยละ 25 ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์อาจได้รับ
ผลกระทบในระยะต่าง ๆ ของการเติบโต เนื่องจากแพลงก์ตอนเป็นอาหารของสัตว์ต่าง ๆ ใน
ทะเล หากมีปริมาณลดลงก็จะทําให้สัตว์น้ําเศรษฐกิจลดลงไปด้วย จากการทดลองพบว่า หาก
บรรยากาศชั้นโอโซนลดลงร้อยละ 16 ปริมาณปลาแอนโชวีจะลดลงร้อยละ 6-9 และกุ้งจะ
เสียหายมากขึ้นไปอีก

ในปี 2535 มีการใช้สาร CFCs ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นคิดเป็นสัดส่วน ร้อย


ละ 33 จากข้อตกลงพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ที่กรุงโคเปนฮาเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ
ปี 2535 มีมติให้ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนาเลิกใช้สาร
CFC ภายในปี 2539 และ ปี 2553 ตามลําดับ และหันมาใช้สารทดแทนตัวใหม่ที่มี
ผลกระทบต่อบรรยากาศรุนแรงน้อยลงหรือไม่มีผลทําลายบรรยากาศเลย ประเทศไทยเป็นหนึ่ง
ในประเทศสมาชิกต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยี
ใหม่ใช้สารทดแทน CFCs ที่เป็นสารเป่าโฟม เช่น cyclopentane, HCFC 141B และที่เป็นสาร
ทําความเย็น เช่น HFC-134a, hydrocarbon พวก isobutane ข้อมูลเปรียบเทียบผลการ
ทําลายชั้นโอโซนของสาร CFC และสารตัวอื่นที่เกี่ยวข้องดังในตารางที่ 4 โดยกําหนดให้ CFC-
11 เป็นฐานมีค่าศักย์ในการทําลายชั้นโอโซน (ozone depletion potential : ODP) เท่ากับ
1 และค่าศักย์ในการทําให้โลกร้อนขึ้นโดยให้คาร์บอนไดออกไซด์ (global warming
potential : GWP) เท่ากับ 1

จากการสอบถามบริษัทผู้ผลิตพบว่า ในการผลิตตู้เย็นไร้สาร CFCs ต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิต


และชิ้นส่วนการผลิตบางส่วน เช่น เครื่องอัดสารทําความเย็น ฉนวนตู้ ทําให้ราคาต้นทุน ต่อตู้
สูงขึ้นประมาณร้อยละ 10-20

3.2 ในระหว่างการใช้งาน

ตู้เย็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสําคัญและจําเป็นในครัวเรือน และเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทหนึ่ง
ที่ใช้ไฟมากที่สุดในที่อยู่อาศัย คิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าไฟในแต่ละเดือนสําหรับประชาชน
ในเขตกรุงเทพมหานคร และมากกว่าร้อยละ 30 สําหรับประชากรในต่างจังหวัด ในแต่ละปียอด

34
TGL-3-R3-11
จําหน่ายตู้เย็นมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 ตู้เย็นทั่วไปจะมีฉนวนหนาประมาณ 30-35 mm
และมีอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) เท่ากับ 3.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 500
กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 800 บาทต่อปี ตู้เย็นขนาดมาตรฐานของ
ประเทศไทยคือขนาด 6 คิว ราคาตู้ละ 200 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5,600 บาท ใช้
ไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 490 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ดําเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้น ได้จากทรัพยากรพลังงาน 4
ประเภทคือ พลังน้ํา ก๊าซธรรมชาติ น้ํามัน และลิกไนต์ ซึ่งแหล่งพลังงานเหล่านี้ในประเทศมี
ปริมาณจํากัดลง ประมาณร้อยละ 26 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดใช้น้ํามันเชื้อเพลิง การ
ผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์จะก่อปัญหาเรื่องการทิ้งขี้เถ้า การขจัดฝุ่นและก๊าซที่จะเกิดขึ้นจากการเผา
ไหม้ของลิกไนต์ ส่วนการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดปัญหาการอพยพราษฎรและการ
สูญเสียพื้นที่ป่าไม้บางส่วน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์โลก
ร้อน (greenhouse effect) เนื่องจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมามากใน
ระหว่างการเผาไหม้

ในการปรับปรุงให้ตู้เย็นมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้า สามารถทําได้ 2 วิธีคือ การ


ปรับปรุงวิธีการผลิตฉนวนหรือการเพิ่มความหนาของฉนวน และการเพิ่มประสิทธิภาพของ
เครื่องอัดสารทําความเย็น จากการศึกษามาตรการทางเลือกในการปรับปรุงการออกแบบตู้เย็น
สําหรับที่อยู่อาศัยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 5) ตู้เย็นพื้นฐานจะใช้
พลังงานไฟฟ้า 492 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง แต่ถ้าปรับปรุงคุณภาพคอมเพรสเซอร์ หรือลดขนาด
คอมเพรสเซอร์ และเพิ่มความหนาของฉนวน 60 mm โดยตัวตู้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะสามารถลด
การนําความร้อน และใช้พลังงานไฟฟ้า 319 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง คือสามารถประหยัดพลังงาน
ไฟฟ้าได้ 126 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10 เหรียญสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมี
บริษัทผลิตตู้เย็นบางบริษัทในท้องตลาดได้ดําเนินการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตาม
คําแนะนําของ กฟผ. แล้ว นอกจากนี้มาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้ตู้เย็นที่มี
ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานยังเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาและดําเนินการอย่างจริงจัง โดย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ดําเนินการโครงการประชาร่วมใจประหยัดไฟฟ้า โดยกําหนดมาตรฐาน
ประสิทธิภาพ การใช้พลังงานที่มีการแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตขอรับการตรวจสอบ
และระบุบนผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้
พลังงาน โดยรายละเอียดค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานเฉลี่ยของตู้เย็นดังแสดงในตารางที่ 6

35
TGL-3-R3-11
3.3 การทิ้งหลังจากใช้งาน

เมื่อตู้เย็นหมดอายุการใช้งาน จะถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ


เหล็กและพลาสติก ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก เช่น ผนังด้านใน อุปกรณ์ภายในตู้เย็น มือจับ ขอบ
ฝาตู้ มีประมาณ 5 กิโลกรัมต่อตู้ คิดเป็นร้อยละ 20-30 ต่อน้ําหนักของตู้เย็นสําเร็จรูป (ไม่
รวมคอมเพรสเซอร์) พลาสติกเป็นวัสดุในกลุ่มของโพลิเมอร์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็น
สารอินทรีย์หนึ่งชนิดหรือมากกว่า และมีน้ําหนักโมเลกุลสูง ปัญหามลพิษที่เกิดจากพลาสติกมี 2
ประการคือ การตกค้างของมูลฝอยพลาสติกในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกมีความหนาแน่น
ต่ําและมีน้ําหนักเบา มูลฝอยจากพลาสติกจึงมีปริมาตรมากและกินเนื้อที่มากเมื่อเทียบกับ
มูลฝอยที่มีน้ําหนักเท่ากัน ทําให้เป็นปัญหาต่อการกําจัด นอกจากนี้พลาสติกยังย่อยสลายได้ยาก
มากในธรรมชาติไม่ว่าจะโดยกระบวนการทางเคมี (เช่น การละลายน้ํา อิทธิพลของ ความร้อน
แสงหรือสารเคมี) หรือกระบวนการทางฟิสิกส์ (เช่น การสึกกร่อนโดยลม) หรือกระบวนการทาง
ชีวภาพ (เช่น การย่อยสลายของบักเตรีหรือเชื้อรา) ถ้าสามารถนําชิ้นส่วนพลาสติกของตู้เย็น
แปรรูปกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยลดปริมาณการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ลง ทําให้ประหยัดทรัพยากร
น้ํามันซึ่งเป็นวัตถุดิบและพลังงานที่ใช้ในการผลิต ช่วยลดมลพิษที่เกิดกับสภาพแวดล้อมเช่นการ
ปล่อยสารคลอรีน ตลอดจนลดจํานวนขยะที่เกิดจากการทิ้งหลังใช้สอย และช่วยลดค่าใช้จ่ายใน
การกําจัดขยะ

36
TGL-3-R3-11

รูปที่ 5 วัฏจักรชีวิตของตู้เย็น (ในประเทศญี่ปุ่น)

Raw material Raw material Manufacturing stage Distribution stage Application Waste disposal stage
Procurement stage stage
Gasoline
Input
Light oil
Electric power
Heavy oil
Packing materials Gasoline
Light oil Electric
Transportation Electric Electric Electric power
by truck Electric power Steam power power Gasoline
Raw materials power Conting Gas Refrigerant Electric Light oil
Transportation (solvent) Parts Transportation power
by trian Moding and Work on by truck Electric home
work on Heat Refrigerator appliances to
Raw materials Coating Assembly
Transportation sheet metal insulator Transportation be disposed
by trian by ship
COD Nox , Sox , CO2 SOx
Noise
Raw materials BOD Waste Corresponding NOx Iron steel
Transportation Iron sheet
Nox plastics To power SOx Cox Steel
by ship Scrup
Cox consumption NOx Aluminum (To recycling)
Nox Plastic
Load (CO-CO2) Paper Cox Plastics
HC Waste
HC Scrap Parts HC Refrigerant
Cox Nox , Sox , CO2
Coating residue Miscellaneous Waste pavking Dust
(CO CO2) Corresponding
refuse material Nox , Sox , COx
SOx To power
Corresponding
consumption
ที่มา: เอกสาร [5] To power consumption

37
TGL-3-R3-11

รูปที่ 6 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ในประเทศญี่ปุ่น)


(In crude oil)
Energy Electric power 0.04 million kl
Heavy oil 0.0005 million kl
Electric power 7.25 million kl
Total 0.0045 million kl

Raw material procurement Distribution stage Manufacturing stage Distribution stage Application stage Waste disposal stage
stage (Means (Out put) (Means (Number of appliances (Amount for disposal)
(Major raw materials) of distribution) of distribution) being used)
Steel 0.44 million tons Truck 97.2% Color television 12,024,000 Truck 99.8% Color television 8,655,000 Metal 0.29 million tons (54.7%) Incineration.
Copper 0.12 million Ship 2.4% Refrigerator 4,425,000 Ship 0.0% Refrigerator 5,392,000 (Iron) 0.25 million tons Land-fill
tons Railroad 0.1% Electric Washer 5,225,000 Railroad 0.2% Electric Washer 4,835,000 (non-ferrous) (0.04 million tons) 70%
(0.37 million
Aluminum 0.06 million Airplane 0.3% Room air – conditioner 8,683,000 Airplane 0.0% Room air–conditioner 5,194,000 Non-metal 0.24 million tons (45.3%)
tons)
tons (Plastics) 0.15 million tons
Plastics 0.28 million tons (Glass) 0.05 million tons
Glass 0.26 million tons (Others) 0.04 million tons
Others 0.12 million Total 100.0% Total 30,357,000 Total 100.0% Total 24,076,000 Total 0.53 million tons (100%)
tons

Total 1.28 million


tons

Recycle (Metal scrap 95% , Paper 35% , Plastics 13% Industrial waste Waste
CO2 , NOx , SOx (Packing material)
CO2 , NOx , SOx
CO2 , NOx , SOx
ที่มา: เอกสาร [5] Recycle 30%

38
TGL-3-R3-11
ตารางที่ 5 เปรียบเทียบผลกระทบของสารต่างๆ
ค่าทางทฤษฎี
สาร ค่าศักย์ในการทําลาย ค่าศักย์ในการทําให้โลก การใช้กําลังไฟฟ้า อายุในบรรยากาศ
ชั้นโอโซน ร้อน ต่อตันความเย็น
(ODP) (GWP) (kw/ton) (year)
CFC-11 1.00 1500 0.45 60.0
CFC-12 1.00 4500 0.51 120.0
HFC-134a 0 420 0.52 16.0
HCFC-141b 0.11
Hydrocarbon (HC) 0
ที่มา: เอกสาร [7]

ตารางที่ 6 มาตรการทางเลือกในการปรับปรุงการออกแบบตู้เย็นสําหรับที่อยู่อาศัย ที่ศึกษาโดย


Institute of Energy Conservation (ปี 1992)
รายละเอียด ค่าใช้จ่าย พลังงานไฟฟ้าที่ พลังงานไฟฟ้า เหรียญ ส.ร.อ.
(เหรียญ ส.ร.อ.) ใช้ ประหยัดได้ ต่อ กิโลวัตต์
(กิโลวัตต์ชั่วโมง) (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ชั่วโมง
0. ตู้เย็นพื้นฐาน 0 492 0 -
จุดเหมาะสม : EER=2.8
1. ใช้เครื่องอัดที่ปรับปรุงแล้ว 0 445 47 0
จุดเหมาะสม: ปรับปรุงประสิทธิภาพให้มี EER-> 3.1
2. เพิ่มความหนาของฉนวน 60 mm โดยตัวตู้มีขนาดใหญ่ขึ้น 10 319 126 0.012
จุดเหมาะสม : ลดการนําความร้อน
แบบที่กําหนด : ฉนวนมีความหนา 60 mm
3. เปลี่ยนเครื่องอัดเป็นแบบ 75 W 0.6 309 10 0.008
จุดเหมาะสม : ปรับปรุงค่า COP โดยการลดช่วงการทํางาน
แบบที่กําหนด : EER 3.1 -> 3.2
4. ใช้เครื่องอัดที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2.6 267 42 0.008
จุดเหมาะสม : เพิ่มประสิทธิภาพ
แบบที่กําหนด : EER 3.2 -> 3.7
5. ปรับปรุงบานประตู 1.8 261 6 0.04
จุดเหมาะสม : ลดการสูญเสียความเย็น
แบบที่กําหนด : ลดการสูญเสียความเย็นผ่านขอบยางลงครึ่งหนึ่ง
6. ใช้เครื่องอัดที่ใช้เทคโนโลยีสูง 8 214 47 0.0224
จุดเหมาะสม : เพิ่มประสิทธิภาพ
แบบที่กําหนด : EER 3.7 -> 4.5
7. วางเครื่องอัดไว้ด้านนอกตัวเครื่อง 2 208 6 0.044
จุดเหมาะสม : ลดอุณหภูมิรอบตัวตู้
แบบที่กําหนด : อุณหภูมิโดยรอบ 100 oF -> 98 oF
8. เพิ่มความหนาของฉนวนจาก 60-> 75 mm 8 183 25 0.042
จุดเหมาะสม : ลดการนําความร้อน
แบบที่กําหนด : ฉนวนมีความหนา 75 mm

39
TGL-3-R3-11
หมายเหตุ : 1. EER (Energy Efficiency Ratio) เป็นค่าที่ใช้แสดงอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทําความเย็น
และเครื่องปรับอากาศ
EER คือ อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (มีหน่วยเป็นบีทียู/ชั่วโมง) ต่อพลังงานไฟฟ้าเข้าไป (มีหน่วยเป็นวัตต์)
ถ้าค่า EER สูงแสดงว่าอุปกรณ์นั้นมีประสิทธิภาพสูง คือกินไฟน้อยลง (EER = COP x 3.413)
2. COP (Coefficient of Performance) เป็นค่าที่ใช้แสดงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทําความเย็นและเครื่องปรับอากาศ
เช่นกัน
COP คือ อัตราส่วนของความเย็นที่ออกมาต่อพลังงานไฟฟ้าที่ป้อนเข้าไป โดยมีหน่วยเหมือนกัน (ถ้าความเย็นออกมา
เป็นหน่วยกิโลวัตต์ พลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าไปต้องมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์) ถ้าค่า COP สูง แสดงว่าอุปกรณ์นั้นมีประสิทธิภาพ
สูง คือกินไฟน้อยลง

ที่มา: เอกสาร [8]

ตารางที่ 7 แสดงค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยของตู้เย็นแบบ 1 ประตู และ 2 ประตู

ขนาด ค่าประสิทธิภาพ อัตราการปรับ ระดับประสิทธิภาพ


(ลบ.เดซิเมตร) เฉลี่ย ค่า
ประสิทธิภาพ 1 2 3 4 5
(%)
ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยของตู้เย็น 1 ประตู แบบ NON CFC

≤ 90 64.78 - 45.34 ลงมา 45.35-55.05 55.06-71.26 71.27-80.98 80.99 ขึ้นไป


> 90 ≤ 120 225.53 - 157.86 ลงมา 157.87-191.69 191.70-248.08 248.09-281.91 281.92 ขึ้นไป
> 120 ≤150 227.72 - 159.39 ลงมา 159.40-193.55 193.56-250.49 250.50-284.65 284.66 ขึ้นไป
> 150 ≤180 231.04 - 161.72 ลงมา 161.73 - 196.37 196.38-254.14 254.15-288.80 288.81 ขึ้นไป
> 180 ≤210 264.88 - 185.41 ลงมา 185.42 - 225.14 225.15-291.37 291.38-331.10 331.11 ขึ้นไป
> 210 281.66 - 197.15 ลงมา 197.16 - 239.40 239.41-309.83 309.84-352.08 352.09 ขึ้นไป
ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยของตู้เย็น 2 ประตู แบบ NON CFC NO FROST
≤ 200 104.99 0 73.48 ลงมา 73.49-89.23 89.24-115.49 115.50-131.24 131.25 ขึ้นไป
> 200 ≤ 250 139.79 10 97.85 ลงมา 97.86-118.81 118.82-153.77 153.78-174.74 174.75 ขึ้นไป
> 250 ≤ 300 172.03 10 120.41 ลงมา 120.42-146.21 146.22-189.23 189.24-215.04 215.05 ขึ้นไป
> 300 ≤ 350 179.85 15 125.88 ลงมา 125.89-152.86 152.87-197.83 197.84-224.36 224.82 ขึ้นไป
≥ 500 195.49 25 136.83 136.84-166.16 166.17-215.04 215.05-244.36 244.37 ขึ้นไป
ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยของตู้เย็น 2 ประตู แบบ NON CFC DIRECT COOL
≤ 200 157.66 ไม่เปลี่ยนแปลง 110.35 ลงมา 110.36-134.00 134.01-173.43 173.44-197.08 197.09 ขึ้นไป
≥ 200 181.99 เพิ่ม 10 % 127.39 ลงมา 127.40 - 154.68 154.69-200.20 200.21-227.49 227.50 ขึ้นไป
ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2544)

40
TGL-3-R3-11
เอกสารอ้างอิง

[1] มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตู้เย็นสําหรับใช้ในบ้าน มาตรฐานเลขที่ มอก. 455. สํานักงาน


มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.
[2] อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า. อุตสาหกรรมสาร 37 (4) ปี 2537 : หน้า 45-54.
[3] ภาวะธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2544 และแนวโน้มในอนาคต. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย : หน้า 114-115
[4] The Environmental Vision of Industries. 1994. Industrial Structure Council Global
Environment Committee. Ministry of International Trade and Industry. Japan.
247 p.
[5] สุชาดา ขอขจายเกียรติ. การเลิกสาร CFC: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง. สรุปข่าว
ธุรกิจ 23 (22) ปี 2535 : หน้า 29-32.
[6] คุณวุฒิ ดํารงค์พลาสิทธิ์. สถานการณ์ของสารทําลายชั้นโอโซนกับการปรับอากาศ. สสท.ฉบับ
เทคโนโลยี 19 (108) ปี 2536 : หน้า 67-72.
[7] การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย. การไฟฟ้าฝ่าผลิตแห่งประเทศไทย. พ.ศ. 2537.
[8] Thailand’s Energy Efficiency Industry : Potential for Investment. 1992.
International Institute for Energy Conservation.
[9] Energy Efficiency in Domestic Electric Appliances. 1990. Department of Energy,
UK.
[10] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม. เอกสารเผยแพร่.
2544.
[11] ดวงผา นิยมชัย. ภาวะมลพิษจากพลาสติก. จุลสารสภาวะแวดล้อม 11 (5) ปี 2535: หน้า 25-
34.
[12] มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย
เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : ประสิทธิภาพพลังงาน มาตรฐานเลขที่ มอก.2186
[13] มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย
เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 2214
[14] มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจมีสารอันตราย :
การจํากัดการใช้สารอันตรายบางชนิด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2368
[15] Basic Criteria for Award of the Environmental Label for Refrigerators and
Freezers, German 2009.
[16] Hong Kong Green Label Scheme Product Environmental Criteria for
Refrigeration Appliances (GL-007-005) , Hongkong 2010.

41
TGL-3-R3-11
[17] The Certifiable Technical Requirement for Environmental Labeling Products
for Household refrigerators HJBZ 1-2000, China 2000
[18] The Nordic Council of Ministers. 037 Refrigeratos and freezers, version 5.1, 9
June 2009.
[19] The Australian Ecolabel Program. GECA 43-2008 – Refrigerators, Australia
2008.
______________________________

42

You might also like