You are on page 1of 82

การศึกษาผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ผสม

ยางธรรมชาติและพอลิแลคติคแอซิด

โดย

นางสาวอมรา ขวดบา

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2558
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษาผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ผสม
ยางธรรมชาติและพอลิแลคติคแอซิด

โดย

นางสาวอมรา ขวดบา

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2558
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
THE EFFECT OF PEPTIZING AGENTS ON THE PROPERTIES OF
POLY (LACTIC ACID)/NATURAL RUBBER BLENDS

BY

MISS AMARA KHUADBA

A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS


FOR THE DEGREE OF MASTER DEGREE OF ENGINEERING
(ENERGY AND ENVIRONMENTAL TECHNOLOGY MANAGEMENT)
DEPARTMENT OF CHEMICAL ENGINEERING FACULTY OF ENGINEERING
THAMMASAT UNIVERSITY
ACADEMIC YEAR 2015
COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY
(1)

หัวข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อคุณสมบัติของ
พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและพอลิแลคติคแอซิด
ชื่อผู้เขียน นางสาวอมรา ขวดบา
ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.แคทลียา ปัทมพรหม
ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารช่วยย่อย 2 ชนิด คือ PEPTON22 และ ULTRA


PEP96 ต่อการลดความหนืดของยางธรรมชาติ, ผลข้างเคียงต่อพอลิแลคติคแอซิด และต่อคุณสมบัติ
ของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิดและยางธรรมชาติ โดยใช้เครื่องผสมแบบปิด (internal
mixer) ในกระบวนการลดขนาดโมเลกุล ของยางธรรมชาติ และในการคอมพาวด์ พอลิ เมอร์ ผ สม
ระหว่างยางธรรมชาติกับพอลิแลคติคแอซิด ผลการศึกษาในส่วนการบดยางธรรมชาติกับสารช่วยย่อย
พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดความหนืดที่ดีกว่าการไม่ใช้สารช่วยย่อย และชนิดของสารช่วยย่อยที่มี
ประสิทธิภาพดีกว่าคือ ULTRA PEP96 โดยปริมาณที่เหมาะสมในการลดความหนืดของยางธรรมชาติ
คือ ULTRA PEP96 0.3 phr ผลของความเร็วรอบโรเตอร์ในการบดยางธรรมชาติที่ 100 รอบ/นาที
ให้ผลในการลดความหนื ดของยางธรรมชาติได้ดีกว่าความเร็วรอบโรเตอร์ 60 รอบ/นาที และเมื่อ
พิจารณาพลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติกับสารช่วยย่อย พบว่าที่ปริมาณสารช่วยย่อย ULTRA
PEP96 0.3 phr ใช้พลังงานลดลงร้อยละ 20.25 เมื่อเทียบกับกรณีไม่ใช้สารช่วยย่อย จากการศึกษา
ผลกระทบของสารช่วยย่อยต่อสมบัติของพอลิแลคติคแอซิดพบว่าสารช่วยย่อยไม่ส่งผลเสียต่อพอลิ
แลคติคแอซิด ทั้งนี้พิจารณาจากค่าความหนืด ความทนแรงกระแทก และคุณสมบัติทางความร้อนที่มี
แนวโน้มไปในทางที่ดี สาหรับการศึกษาการบดผสมยางลดขนาดโมเลกุลด้วยสารช่วยย่อยกับพอลิ
แลคติคแอซิด พบว่ายางที่ใช้สารช่วยย่อยปริมาณ 0.3 phr นั้นเมื่อบดที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที
ให้ผลค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างกันมากนักที่เวลาบดผสมต่างกัน แต่เมื่อบดที่ความเร็วรอบ
100 รอบ/นาที พบว่าเวลาในการบดผสมมีผ ลต่อสมบัติการรับแรงกระแทกโดยการบดผสมเป็ น
เวลานาน 9 นาที ให้ค่าความทนแรงกระแทกสูงที่สุด 152.8 J/m แต่ถ้าบดผสมนานเกินไปค่าความ
(2)

ทนแรงกระแทกจะลดลง ในส่วนของยางที่ใช้สารช่วยย่อยในปริมาณที่ต่างกันและบดที่ 60 รอบ/นาที


พบว่า ยางที่ใช้สารช่วยย่อย 0.3 phr ให้ค่าความทนแรงกระแทกสูงที่สุด ในเกือบทุกช่วงเวลาของการ
บดผสม นอกจากนี้การใช้สารช่วยย่อยทาให้ขนาดอนุภาคยางมีขนาดเล็กลงกว่ากรณีที่ไม่ใช้ และไม่ส่ง
ผลเสียต่อสมบัติทางความร้อนของพอลิแลคติคแอซิด

คาสาคัญ: พอลิแลคติคแอซิด, ยางธรรมชาติ, สารช่วยย่อย, พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและ


พอลิแลคติคแอซิด
(3)

Thesis Title THE EFFECT OF PEPTIZING AGENTS ON THE


PROPERTIES OF POLY (LACTIC ACID)/NATURAL
RUBBER BLENDS
Author Miss Amara Khuadba
Degree Master of Engineering
Major Field/Faculty/University Energy and Environmental Technology
Management
Engineering
Thammasat University
Thesis Advisor Assoc. Prof. Cattaleeya Pattamaprom, Ph.D.
Academic Years 2015

ABSTRACT

This research examined the effect of peptizing agents on the decrease


in viscosity of natural rubber, the side effect on poly(lactic acid) properties and their
effect on the properties of poly(lactic acid) (PLA) blended with natural rubber. Two
types of the peptizing agents used here were PEPTON22 and ULTRA PEP96. An internal
mixer was used for masticating natural rubber to reduce its molecular sizes and for
compounding natural rubber and poly(lactic acid). In the case of natural rubber
mastication, both with and without the peptizing agents, it was found that the use of
peptizing agents decreased the viscosity of natural rubber more efficiently than
without. The ULTRA PEP96 also reduced the viscosity slightly more efficiently than
PEPTON22. The suitable quantity of the ULTRA PEP96 for decreasing the viscosity of
natural rubber was 0.3 phr. It was found that the role of peptizing agents was more
pronounced at 60 rpm than at 100 rpm, even though 100 rpm could better reduce
the viscosity of natural rubber. For energy consumption, the energy used to masticate
natural rubber with the presence of ULTRA PEP96 decreased by 20.25% compared to
the case without peptizing agents. For the effect on poly(lactic acid) properties, we
found that the peptizing agents had no negative effects on the properties of poly(lactic
(4)

acid). The examined properties also included the viscosity, the impact strength and
the thermal properties which showed good trends. In the case of PLA blended with
the natural rubber masticated at 60 rpm with 0.3 phr of ULTRA PEP96, the impact
strengths were similar for different mixing time. The PLA blended with natural rubber
masticated at 100 rpm with 0.3 phr of ULTRA PEP96 had the highest impact strength
(152.8 J/m) when compounding for 9 minutes. However, the impact strength decreased
when the mixing time was too long. For the effect of peptizing agent content, it was
found that 0.3 phr. of the ULTRA PEP96 provided the highest impact strength at almost
all compounding time. The peptizing agents also reduced the size of natural rubber
domains in the PLA matrices. Additionally, the addition of the peptizing agents did not
negatively affect the thermal properties of poly(lactic acid).

Keywords: Poly(lactic acid) (PLA), Natural rubber (NR), Peptizing agent, PLA/NR blends
(5)

กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาค้นคว้าวิจัยนี้สาเร็จลุล่วงด้วยดี เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ ตลอดจน


คาแนะนาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์จากบุคคลและองค์กรต่างๆ ดังนี้
ขอขอบพระคุ ณ รองศาสตราจารย์ ดร.แคทลี ย า ปั ท มพรหม อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา
วิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสาคัญอย่างยิ่งในการทาให้วิทยานิพนธ์สาเร็จลุล่วง รวมทั้งการติดตามให้
คาแนะนาที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์และในทุกๆ ด้าน
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.นพรัตน์ พฤกษ์ทวีศักดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราภรณ์
ฐิติว งศ์เศวต และ ดร.นุกูล เอื้อพันธเศรษฐ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้ช่วยกรุณาตรวจสอบ
วิทยานิพนธ์ รวมทั้งให้คาแนะนาในการแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์
ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจาก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุศาสตร์ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือ และคาแนะนาในการใช้เครื่อ งมือ
ต่างๆ ในการทาวิจัย
ขอขอบคุณน้ องๆ ที่ห้ องปฏิบัติการพอลิเมอร์ มหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ ที่ให้ ความ
ช่วยเหลือ และคาปรึกษาแนะนาอย่างดี
ขอขอบคุณเพื่อนๆ สมัยปริญญาตรี เพื่อนร่วมงาน ที่คอยให้ความช่วยเหลือ และให้
กาลังใจที่ดีเสมอมา
ขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทาวิจัยนี้
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณพระเจ้า บิดา มารดา และน้องชาย ที่ให้การสนับสนุนและเป็น
กาลังใจให้แก่ผู้วิจัยตลอดมาจนสาเร็จการศึกษา

นางสาวอมรา ขวดบา
(6)

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

บทที่ 1 บทนา 1

1.1 ที่มาและความสาคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ 2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย 2
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3

บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4

2.1 พอลิแลคติคแอซิด (Poly (lactic acid), PLA) 4


2.1.1 โครงสร้าง องค์ประกอบและการสังเคราะห์ 4
2.1.2 คุณสมบัติของพอลิแลคติคแอซิด 6
2.2 ยางธรรมชาติ (natural rubber) 7
2.3 พอลิเมอร์ผสม (polymer blend) 8
2.4 สารช่วยย่อย (peptizing agent) 9
2.5 การบดยาง (Mastication) 12
2.6 การคอมพาวด์แบบแบท (batch compounding) 14
2.7 กลไกการผสม 15
2.8 การทดสอบสมบัติของพลาสติก 16
(7)

2.8.1 การทดสอบความทนแรงกระแทก 16
2.8.2 การทดสอบสมบัติทางรีโอโลยี (Rheological test) 17
2.8.3 การวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนด้วยเครื่อง DSC 17
2.8.4 การศึกษาขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) 18
2.9 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารช่วยย่อยกับยางธรรมชาติ 19
2.10 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิดและยางธรรมชาติ 21

บทที่ 3 วิธีการวิจัย 22

3.1 วัตถุดิบและสารเคมี 22
3.2 ขั้นตอนการวิจัย 22
3.2.1 การเตรียมยางธรรมชาติ (NR) และยางบดลดขนาดโมเลกุลโดย 22
ใช้สารช่วยย่อย (NRMP)
3.2.2 การคอมพาวด์ PLA กับยาง NRMP ที่ทาการบดผสมที่เวลาต่างกัน 25
3.2.3 การขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างของ PLA ผสมยางธรรมชาติ 27
3.3 การทดสอบสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิด (PLA) และ 28
ยางธรรมชาติ
3.3.1 การทดสอบความหนืดของยาง 28
3.3.2 การทดสอบความเสถียรต่ออุณหภูมิของ PLA และ PLA บดผสม 29
กับสารช่วยย่อย
3.3.3 การทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก (Impact resistance) ของ 29
PLA ผสมยางธรรมชาติ
3.3.4 การศึกษาสัณฐานวิทยาโดยการศึกษาการกระจายตัว 31
ของยาง NRMP ใน PLA
3.3.5 การทดสอบสมบัติทางความร้อนของ PLA, PLA ผสมสารช่วยย่อย 31
ULTRA PEP96 และ PLA ผสมยาง NRMP โดยใช้สารช่วยย่อย
ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ
3.3.6 การศึกษาการใช้พลังงานในการบดยางธรรมชาติ (NR) 33
(8)

บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล 34

4.1 การบดยางธรรมชาติกับสารช่วยย่อยด้วยเครื่องบดผสมแบบปิด 34
4.1.1 ผลของชนิดสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ 34
4.1.2 ผลของปริมาณสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ 36
4.1.3 ผลของความเร็วรอบโรเตอร์ต่อการบดยางธรรมชาติ 39
4.1.4 พลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติ 41
4.2 การศึกษาผลกระทบของสารช่วยย่อยต่อสมบัติของ PLA 42
4.3 การบดผสมพอลิเมอร์ผสมระหว่างยางบดลดขนาดโมเลกุลที่ใช้ 46
สารช่วยย่อยกับ PLA
4.3.1 ผลของยางบดลดขนาดโมเลกุลกับสารช่วยย่อยที่ใช้ความเร็วรอบ 46
ในการบดต่างกัน
4.3.2 ผลของยางบดลดขนาดโมเลกุลที่มีปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน 50

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 54

5.1 สรุปผลการวิจัย 54
5.2 ข้อเสนอแนะ 55

รายการอ้างอิง 56

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก ข้อมูลทางเทคนิคของพอลิแลคติคแอซิด (Poly (lactic acid), PLA) 60


ภาคผนวก ข ข้อมูลทางเทคนิคของสารช่วยย่อย (Peptizing agents) 63

ประวัติผู้เขียน 66
(9)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
3.1 สูตรยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย 25
3.2 สูตรคอมพาวด์ PLA กับยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย อัตราส่วน 26
PLA ต่อยางเป็น 90:10 โดยน้าหนัก
4.1 สมบัติทางความร้อนจากการให้ความร้อนครั้งที่ 1 ของ PLA บด และ 45
PLA ใส่สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr
4.2 สมบัติทางความร้อนจากการให้ความร้อนครั้งที่ 1 ของ PLA/NRMP ซึ่งมีสารช่วยย่อย 53
ULTRA PEP96 ปริมาณต่างๆ
(10)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
2.1 โครงสร้างของพอลิแลคติคแอซิด (PLA) 5
2.2 โครงสร้างทั้ง 3 รูปแบบของ lactide ที่แตกต่างกัน ได้แก่ แอลแลคไทด์ (L-lactide), 6
เมโซแลคไทด์ (Meso-lactide) และดีแลคไทด์ (D-lactide)
2.3 การสังเคราะห์พอลิแลคติคแอซิดจากกรดแลคติคชนิดแอลและดี 6
2.4 โครงสร้างยางธรรมชาติ 8
2.5 ตัวอย่างโครงสร้างของสารช่วยย่อย (peptizing agents) 10
2.6 โครงสร้างของ Dibenzamido diphenyl disulphide 11
2.7 กลไกการทางานของสารช่วยย่อยกับสายโซ่ยาง 12
2.8 กลไกการบดยางในขั้นตอนเชิงกล 13
2.9 ประสิทธิภาพการบดยางที่อุณหภูมิต่างๆ 14
2.10 ลักษณะการแตกตัวและกระจายตัวของอนุภาคในเมทริกซ์ (a) การแตกตัวและ 15
การกระจายต่า (b) การแตกตัวดีแต่การกระจายตัวต่า (c) การแตกตัวต่าแต่
การกระจายตัวดี และ (d) การแตกตัวและกระจายตัวดี
2.11 การทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทกแบบ pendulum test 16
2.12 รูปแบบการวางชิ้นงานสาหรับการทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทก 17
แบบ Charpy test และ Izod test
2.13 แสดง DSC เทอร์โมแกรม 18
3.1 ยางธรรมชาติเกรด STR 5L (ซ้าย) และยางธรรมชาติตัดเม็ด (ขวา) 23
3.2 เครื่องตัดเม็ดยาง 23
3.3 เครื่องบดผสมแบบปิด (Internal mixer) 24
3.4 สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 (U) (ซ้าย) และ PEPTON22 (P) (ขวา) 24
3.5 ยางที่บดผสมที่ใส่สารช่วยย่อย (NRMP) 24
3.6 คอมพาวด์ที่บดผสม (ซ้าย) และคอมพาวด์ที่บดเป็นเม็ดเล็กๆ (ขวา) 27
3.7 เครื่องขึน้ รูปแบบกดอัด (compression mold) 27
3.8 ชิ้นงานที่ได้จากการขึ้นรูปแบบกดอัด 28
3.9 เครื่องรีโอมิเตอร์ 28
3.10 เครื่องทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก 30
(11)

3.11 ขนาดและลักษณะชิ้นงานทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก 30
ตามมาตรฐาน ASTM D256
3.12 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) 31
3.13 เครื่อง DSC 32
3.14 โปรแกรม Barbender Mixer Program Version 4.2.10 33
4.1 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อย 35
และใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.2 phr
4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อย 35
และใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.3 phr
4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อย 36
และใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.4 phr
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อย 37
PEPTON 22 ที่ปริมาณต่างๆ
4.5 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อย 37
ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ
4.6 ความหนืดที่ความถี่ต่างๆ ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ 38
ใช้สารช่วยย่อยปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ (a) 60 รอบ/นาที
(b) 100 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส
4.7 ความหนืดของยางธรรมชาติที่บดโดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ 39
ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส และความถี่ในการทดสอบเป็น 10 rad/s
4.8 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อย 40
และใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60
และ 100 รอบ/นาที
4.9 ความหนืดที่ความถี่ต่างๆ ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อย 41
และใช้สารช่วยย่อยปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60 และ 100 รอบ/นาที
ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส
4.10 ผลของชนิดสารช่วยย่อยและปริมาณ ที่มีต่อพลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติ 42
เมื่อความเร็วรอบโรเตอร์ 100 รอบ/นาที เวลาบด 15 นาที
(12)

4.11 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบด PLA แบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ 43


ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60 รอบ/นาที
อุณหภูมิผสม 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 นาที
4.12 ความหนืดของ PLA บด และ PLA บดผสมสารช่วยย่อย 0.3 phr 44
แบบ time sweep ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส ที่ความถี่ 10 rad/s
4.13 ความทนแรกกระแทกของ PLA บด และ PLA บดผสมสารช่วยย่อย 0.3 phr 44
4.14 เทอร์โมแกรมจากการให้ความร้อนแก่ PLA บดไม่ใช้สารช่วยย่อย และ PLA 45
บดผสมสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr การให้ความร้อนครั้งที่ 1 จาก 25◦C
ไปถึงอุณหภูมิ 220◦C ด้วยอัตรา 10◦C/นาที
4.15 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM บดผสมที่ 47
เวลา 12 นาที โดยใช้ยาง NRM60, NRM100, NRM60-U0.3 และNRM100-U0.3
4.16 ความทนแรงกระแทกของ PLA กับยางบดโดยใช้สารช่วยย่อย 48
ULTRA PEP96 0.3 phr ที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที (NRM60) เทียบกับ
100 รอบ/นาที (NRM100) ที่บดผสมเวลาต่างกัน
4.17 สัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ผสม PLA/(NRM100) และ PLA/(NRM100-U0.3) 49
ที่เวลาบดผสมต่างกัน (8,9,10 และ 12 นาที)
4.18 ขนาดอนุภาคเฉลี่ย (ไมครอน) และความทนแรงกระแทก (J/m) ของ 50
PLA/(NRM100-U0.3) ที่เวลาบดผสมต่างกัน
4.19 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM60 51
ที่มีปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน บดผสมที่เวลา 12 นาที
4.20 ความทนแรงกระแทกของ PLA กับยางบดโดยใช้สารช่วยย่อย 52
ULTRA PEP96 เปรียบเทียบที่เวลาบดผสมเดียวกัน ปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน
4.21 เทอร์โมแกรมจากการให้ความร้อนแก่พอลิเมอร์ผสม PLA/NRM60 และ 53
PLA/NRMP60 ที่ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างกัน การให้ความร้อน
ครั้งที่ 1 จาก 25◦C ไปถึงอุณหภูมิ 220◦C ด้วยอัตรา 10◦C/นาที
1

บทที่ 1
บทนา

1.1 ที่มาและความสาคัญ

พอลิแลคติคแอซิด (PLA) เป็นหนึ่งในพลาสติกชีวภาพที่มีปริมาณการผลิตในปริมาณที่


มาก และจั ด เป็ น พลาสติ ก ย่ อยสลายได้ ท างชี ว ภาพ ที่ ผ ลิ ต จากวั ต ถุดิ บ มวลชีว ภาพ (bio-based
biodegradable plastics) เช่น ข้าวโพด มันส าปะหลั ง และอ้อย เป็นต้น โดยพอลิ แลคติคแอซิด
(PLA) สามารถย่อยสลายได้ เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้า ได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติภาย
หลังจากการใช้งาน
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ได้แก่
- ฟิล์มสาหรับหุ้มอาหาร
- ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร เช่น กล่อง จาน ช้อน มีด ส้อม ตะเกียบ แก้วน้า ที่ใช้ครั้งเดียว
ทิ้ง รวมทั้ง ถุงหูหิ้ว ถุงใส่กล่อง เป็นต้น
- เส้นใยและสิ่งทอนามาใช้ในงานด้านการผลิตเป็นเสื้อผ้าและผ้าเบาะรถยนต์
เนื่องจากข้อจากัดของพอลิแลคติคแอซิด (PLA) บางประการ คือ ความเปราะและความ
เป็นผลึกต่า จึงทาให้การนาพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ นั้นได้ไม่หลากหลาย
จึงมีการหาแนวทางในพัฒนาปรับปรุงคุณสมบัติดังกล่าว ตัวอย่างเช่น
1. บรรจุ ภั ณ ฑ์ ต ลั บ แป้ งจากพลาสติ ก ชี ว ภาพ เป็ น การพั ฒ นาคอมพาวนด์ พ ลาสติ ก
ชีวภาพชนิด PLA และสารตัวเติม อาทิ สารเพิ่มความเหนียว และสารเพิ่มความเป็นผลึก เพื่อปรับปรุง
คุณสมบัติให้เหมาะสมต่อการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ตลับแป้ง ที่จะต้องทนต่อแรงกระแทกได้ดี และทนต่อ
ความร้อนได้ไม่ต่ากว่า 85 องศาเซลเซียส
2. บรรจุภัณฑ์โยเกิร์ตอินทรีย์จากพลาสติกชีวภาพ เป็นการพัฒนาคอมพาวด์ระหว่าง
พลาสติกชีวภาพชนิด PLA กับสารเพิ่มความเหนียวเพื่อลดความแข็งเปราะของ PLA ทาให้มีคุณสมบัติ
ทนต่อแรงกระแทกได้ดีในอุณหภูมิต่า
อีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงข้อจากัดของพอลิแลคติคแอซิด (PLA) คือ การทา
พอลิเมอร์ ผสม โดยนาพอลิเมอร์ ชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ามาปรับปรุงข้อด้อยของพอลิแลคติค
แอซิด (PLA) โดยพอลิเมอร์ที่ได้รับความสนใจในการนามาปรับปรุง ได้แก่ ยางธรรมชาติ เนื่องด้วยมี
คุณสมบัติที่ดีด้านความเหนียว และเป็นพอลิเมอร์ จากธรรมชาติ แต่เนื่องด้วยความหนืด (viscosity)
ของยางธรรมชาติสูง ซึ่งเป็นสมบัติที่สาคัญสาหรับการบดผสมที่ส่งผลต่อระยะเวลาและความเข้ากันใน
2

การคอมพาวด์ โดยก่อนที่จะนายางธรรมชาติไปใช้ในการคอมพาวด์กับพอลิเมอร์ชนิดอื่น ถ้ายางมี


ความหนืดสูงจะทาให้การบดผสมเป็นไปได้ยากเนื่องจากสารเคมีจะเข้าผสมกับยางได้ยาก และจะใช้
พลังงานในการบดผสมสูง ด้วยเหตุนี้ก่อนการนายางธรรมชาติไปใช้จึงต้องมีการลดความหนืดโดยการ
บดยางให้นิ่ม (mastication) ซึ่งในบางครั้งมีการเติมสารช่วยย่อย (peptizing agent) เพื่อให้ยางนิ่ม
เร็วขึ้น โดยจะทาการบดยางในเครื่องผสมระบบปิด (internal mixer) การใช้สารช่วยย่อยเป็นอีก
หนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดความหนืดของยาง ตัวอย่างสารช่วยย่อยที่ใช้กับยางธรรมชาติ ได้แก่ เพนตะ
คลอโรไทโอฟีนอล, ไดเบนซะมิโดไดฟินิลไดซัลไฟด์ เป็นต้น การที่จะนายางธรรมชาติมาผสมกับพอลิ
แลคติคแอซิด (PLA) โดยตรงโดยไม่ลดความหนืด มักจะไม่สามารถทาให้ เกิดการกระจายตัวของยาง
ธรรมชาติในพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ได้ดี ทาให้ความเข้ากันได้ระหว่างยางธรรมชาติและพอลิแลคติค
แอซิด (PLA) เป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ผสม
จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาผลของสารช่วยย่อยในการลดความหนืดของยางธรรมชาติ
ก่อนที่จะนาไปผสมกับพอลิแลคติคแอซิด (PLA) และผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อคุณสมบัติของพอลิ
เมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิดและยางธรรมชาติ

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อศึกษาการใช้สารช่วยย่อย (peptizing agent) ในการลดความหนืดของยาง


ธรรมชาติ
1.2.2 เพื่อศึกษาผลของสารช่วยย่อย (peptizing agent) ต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์
ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิดและยางธรรมชาติ

1.3 ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการวิจัยในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารช่วยย่อย 2 ชนิด คือ


PEPTON22 และ ULTRA-PEP96 ในการลดความหนืดของยางธรรมชาติชนิดแท่ง (STR5L) พร้อมทั้ง
ศึกษาผลของสารช่วยย่อยต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิด (PLA, Injection Grade
3051D) และยางธรรมชาติ ในอัตราส่วน พอลิแลคติคแอซิด ต่อยางธรรมชาติ เป็น 90:10 โดยน้าหนัก
และท าการผสมในเครื่ อ งผสมแบบปิ ด (Internal Mixer) ขึ้ น รู ป ชิ้ น งานโดยใช้ แ ม่ พิ ม พ์ แ บบอั ด
(Compression moulding) และทาการศึกษาคุณสมบัติด้านความต้านทานแรงกระแทก (Impact
3

resistance), คุณสมบัติการไหล (Rheological), คุณสมบัตทางความร้อนโดย DSC และสัณฐานวิทยา


(Morphology)

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.4.1 สามารถใช้สารช่วยย่อยในการลดความหนืดของยางธรรมชาติได้
1.4.2 ทราบถึงผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อสมบัติของยางที่บดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สาร
ช่วยย่อย และผลกระทบต่อ พอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิ แลคติคแอซิด (PLA) และยางธรรมชาติ ที่ล ด
ขนาดโมเลกุลด้วยสารช่วยย่อย
4

บทที่ 2
วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 พอลิแลคติคแอซิด (Poly (lactic acid), PLA)

พอลิแลคติคแอซิด (Poly(lactic acid), PLA) เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งจัดอยู่ใน


กลุ่มพอลิเอสเทอร์ที่มีสายโซ่ตรง (Aliphatic polyester) สังเคราะห์ได้จากกรดแลคติค (Lactic acid)
ซึ่งกรดแลคติ คสามารถผลิ ตได้ จ ากการหมัก แป้ งหรือ น้้าตาล ดั งนั้ นพืช ที่มี แป้ งหรือน้้ าตาล เป็ น
องค์ประกอบหลัก เช่น ข้าวโพด มันส้าปะหลัง ข้าวสาลีหรืออ้อย จึงสามารถน้ามาใช้เป็นวัตถุดิบใน
การผลิตได้ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ สามารถสร้างขึ้นทดแทนใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง พอลิแลคติคแอซิด
จัดเป็นเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) สามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้กันทั่วไป เช่น
การฉี ด ขึ้ น รู ป (Injection molding) การขึ้ น รู ป ด้ ว ยความร้ อ น (Thermoforming) การอั ด ขึ้ น รู ป
(Compression molding) การอั ด รี ด (Extrusion) และการเป่ า ขึ้ น รู ป (Blow molding) เป็ น ต้ น
ภายหลังการใช้งาน ผลิตภัณฑ์จากพอลิแลคติคแอซิด สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อน้าไปฝัง
กลบในดินโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น เมื่อเทียบกับพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบจาก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ในอดีตการใช้งานของพอลิแลคติคแอซิด จ้ากัดอยู่ในวงการแพทย์ เช่น อุปกรณ์การปลูกถ่ายอวัยวะ
(Implant devices) วัสดุค้าจุนส้าหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue scaffolds) และ ไหมละลาย
(Sutures) เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง หาได้ยากและพอลิเมอร์มีน้าหนักโมเลกุลต่้า ท้าให้มีสมบัติ
ทางกลต่้า เช่น ความเปราะโดยค่าความต้านทานแรงกระแทกแบบไอซอด (Izod impact strength)
และ ความยื ด ณ จุ ด ขาด (elongation at break) ต่ ากว่ า พอลิ เ มอร์ ช นิ ด อื่ น (Lim, Auras, and
Rubino, 2008, p.820) ซึ่งความเปราะของ PLA ทาให้ยากต่อการนาไปใช้งาน นอกจากนี้ PLA ยัง
สลายตัวได้ง่าย ซึ่งยังเป็นข้อเสีย คือ PLA อาจเกิดการสลายตัวระหว่างกระบวนการผลิต (Auras et
al, 2003, p.123-135)

2.1.1 โครงสร้าง องค์ประกอบและการสังเคราะห์


พอลิ แลคติ คแอซิด มี โ ครงสร้างแสดงดังภาพที่ 2.1 สั งเคราะห์ ขึ้ นจากกรดอั ล
ฟาไฮดรอกซี (α-Hydroxy acids) หน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ของพอลิแลคติคแอซิด คือ กรดแลคติค
หรือมีชื่อทางเคมีคือ 2-ไฮดรอกซี โพรพิโอนิคแอซิด (2-Hydroxy propionic acid)
5

ภาพที่ 2.1 โครงสร้างของพอลิแลคติคแอซิด (PLA) (Petinakis, Yu, Simon and Dean, 2013)

กรดแลคติคมีไอโซเมอร์สองรูปแบบ คือ แบบดี และแอล แสดงดังภาพที่ 2.2 ซึ่ง


เป็นอิแนนชิโอเมอร์ (Enantiomer) ที่มีความว่องไวต่อแสง (Optical active) ต่างกัน กล่าวคือ มีสูตร
เคมี เหมือนกันแต่จัดเรียงตัวในสามมิติไม่เหมือนกัน และบิดระนาบแสงโพลาไรซ์ในทิศทางต่างกัน ใน
ธรรมชาติส่วนใหญ่พบในรูปแบบแอล-ไอโซเมอร์ หรือพบในรูปของผสมระหว่างแอล-และดี- ไอโซ
เมอร์ เรี ย กว่ า ของผสมราซิ มิ ก (Racemic mixture, อั ต ราส่ ว น = 1:1 เขี ย นแทนด้ ว ย DL) หรื อ
สารประกอบมีโซ (meso-compound) ซึ่งไม่มีสมบัติบิดระนาบแสงโพลาไรซ์ (Optically inactive)
ปัจจุบันการผลิตกรดแลคติคอาศัยการหมักเป็นหลัก ซึ่งสามารถให้ผลิตภัณฑ์ที่มีความบริสุทธิ์เชิงแสง
(Optical purity) ที่ดี การผลิตพอลิแลคติคแอซิด แสดงดังภาพที่ 2.3 อาจกระท้าโดยสังเคราะห์ผ่าน
ปฏิกิริย าการควบแน่ นแบบ อะซิโอโทรปิค (Azeotropic dehydrative condensation) ปฏิกิริยา
การควบแน่นโดยตรง (Direct condensation polymerization) และ/หรือการสังเคราะห์ผ่านการ
เกิดแลคไทด์ (Lactide formation) พอลิแลคติคแอซิดน้้าหนัก โมเลกุลสูง (มากกว่า 100,000 ดาล
ตัน) ในเชิงพาณิชย์สังเคราะห์ได้โดยผ่านการเปิดวง (Ringopening polymerization) ของแลคไทด์
เนื่องจากกรดแลคติคมีสองไอโซเมอร์ สายโซ่หลักของพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้ส่วนใหญ่อาจประกอบ
ขึ้นจากมอนอเมอร์ชนิดแอล- ไอโซเมอร์เกือบทั้งหมด (พอลิแอล-แลคติคแอซิด (PLLA)) หรือประกอบ
ขึ้นจากมอนอเมอร์ที่เป็น ของผสมราซิมิก (พอลิดีแอล-แลกติกแอซิด (PDLLA)) ในปัจจุบันการผลิตดี-
ไอโซเมอร์ของ กรดแลคติคที่บริสุทธิ์นั้นท้าได้ยาก การผลิตพอลิเมอร์ที่สายโซ่หลักประกอบไปด้วย
มอนอเมอร์ ชนิด ดี หรือพอลิดี-แลคติคแอซิด (PDLA) ในเชิง พาณิชย์จึงยังไม่มี (อมรรัตน์ เลิศวรสิริ
กุล, 2554, น.101-102)
พอลิ แลคติคแอซิดมีโครงสร้างผลึ กสาม รูปแบบ ได้แก่ แอลฟา ( α) เบตา ( β)
และแกมมา (γ) ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของอิแนนชิโอเมอร์แอล หรือดี ,แอล โครงสร้างแบบอัลฟาเป็น
โครงสร้ า งที่ เ สถี ย รที่ สุ ด หลอมเหลวที่ อุ ณ หภู มิ 185 องศาเซลเซี ย ส ในขณะที่ โ ครงสร้ า งเบต้ า
หลอมเหลวที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส (อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล, 2554, น.102) การเลือกชนิดพอลิ
แลคติคแอซิดที่เหมาะสมมีความสาคัญต่อชิ้นงาน ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นงานพอลิแลคติคแอซิด ที่ต้องการ
การทนความร้ อนสู งควรใช้ PLA ที่มีความเป็นผลึ กสู งและขึ้นรูปโดยวิธีการฉีด (injection mold)
ในทางกลับกันพอลิแลคติคแอซิด ที่มีความเป็นผลึกต่า มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปโดย
วิธีการขึ้น รูป ด้วยความร้ อน (thermoforming), การอัดรีด (extrusion) และการเป่าภาชนะกลวง
(blow molding) เพื่อให้ขึ้นรูปง่าย (Drumright, Gruber, and Henton, 2000, p. 1842)
6

ภาพที่ 2.2 โครงสร้างทั้ง 3 รูปแบบของ lactide ที่แตกต่างกัน ได้แก่ แอลแลคไทด์ (L-lactide),


เมโซแลคไทด์ (Meso-lactide) และดีแลคไทด์ (D-lactide) (Nampoothiri, Nair, and John, 2010,
p. 8494)

ภาพที่ 2.3 การสังเคราะห์พอลิแลคติคแอซิดจากกรดแลคติคชนิดแอลและดี (Lim, Auras, and


Rubino, 2008, p.820)

2.1.2 คุณสมบัติของพอลิแลคติคแอซิด
ความบริสุทธิ์เชิงแสง (Optical purity) ของพอลิแลคติคแอซิดส่งผลอย่างมากต่อ
สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกลและสมบัติต้านการซึมผ่ านของก๊าซและของเหลว พอลิแลคติค
แอซิ ด ที่ มี สั ด ส่ ว นของ แอล-ไอโซเมอร์ สู ง กว่ า ร้ อ ยละ 90 มี แ นวโน้ ม เป็ น พอลิ เ มอร์ กึ่ ง ผลึ ก
(Semicrystalline polymer) ในขณะที่พอลิ เมอร์ที่มีดี - ไอโซเมอร์ในองค์ประกอบเพิ่มขึ้น มีความ
7

บริสุทธิ์เชิงแสงต่้าลงและมีแนวโน้มเป็นพอลิเมอร์อสัณฐาน (Amorphous) นอกจากนี้อุณหภูมิการ


หลอมเหลว อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว และระดับความเป็นผลึกมีแนวโน้มลดลงตามสัดส่วน
ของแอล-ไอโซเมอร์ที่ลดลงด้วย สัดส่วนของไอโซเมอร์ที่แตกต่างกันใน สายโซ่พอลิเมอร์ท้าให้พอลิ
แลคติคแอซิดที่สังเคราะห์ขึ้นนั้นมีสมบัติได้หลากหลาย จึงสามารถปรับให้รองรับความต้องการการใช้
งานได้กว้างขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับพอลิเมอร์ที่ผลิตจากวัต ถุดิบที่มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น
พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) และ พอลิสไตรีน (PS) พอลิแลคติคแอซิดมีความใส และมีสมบัติทาง
กายภาพ สมบัติเชิงกล และสมบัติต้านการซึมผ่านของก๊าซใกล้เคียงกัน (อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล, 2554,
น.102-103)
พอลิแลคติคแอซิดมีความถ่วงจ้าเพาะประมาณ 1.25 พอลิเมอร์ที่ไม่ผ่านการดึง
ยืด (Unoriented PLA) มีความเปราะมากแต่มีความคงรูป (Stiffness) และความแข็งแรง (Strength)
สูง พอลิแลคติคแอซิด จัดเป็นพอลิเมอร์ชนิดเทอร์มอพลาสติก (thermoplastic polymer) ซึ่งเป็น
พอลิเมอร์กึ่งผลึกจึงมีทั้งค่าอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (glass transition temperature,Tg)
และอุณหภูมิหลอมเหลว (melting temperature,Tm) โดยค่า Tg และ Tm ของ พอลิแลคติคแอซิดมี
ค่ า ประมาณ 55 องศาเซลเซี ย ส (°C) และ 175 °C ตามล าดั บ และอุ ณ หภู มิ ที่ ใ ช้ ใ นการขึ้ น รู ป มี
ค่าประมาณ 185-190 °C (Garlotta, 2001, p.65) อุณหภูมิที่สาคัญอีกค่าหนึ่งในกระบวนการผลิตพอ
ลิแลคติคแอซิด คือ อุณหภูมิที่ทาให้พอลิแลคติคแอซิด เริ่มสลายตัวมีค่าตั้งแต่ 200 °C (Auras et al,
2003, p.124) ที่อุณหภูมินี้จะทาให้พอลิแลคติคแอซิด เกิดการสลายตัวกลับมาเป็นมอนอเมอร์ ซึ่ง
ส่งผลให้มวลโมเลกุลของพอลิเมอร์ลดลง และมีผลต่อโครงสร้างแลคไทด์

2.2 ยางธรรมชาติ (natural rubber)

ยางธรรมชาติ มีชื่อทางเคมี คือ พอลิไอโซพรีน (cis-1,4-polyisoprene) กล่าวอีกอย่าง


คือในโมเลกุลของยาง 1 โมเลกุลจะประกอบด้วยหน่วยไอโซพรีน (C5H8) ต่อกันเป็นสายยาวดังภาพที่
2.4 โดยทั่วไปยางธรรมชาติมีโครงสร้างการจัดเรียงตัวของโมเลกุลเป็นแบบอสัณฐาน (Amorphous)
แต่ในบางสภาวะโมเลกุลของยางจะสามารถจัดเรียงตัวกันได้ค่อนข้างเป็นระเบียบที่อุณหภูมิต่้า หรือ
เมื่ อ ถูก ยึ ด จึ ง สามารถที่จ ะเกิด เป็ น ผลึ ก ได้ (Crystalline) ซึ่ ง ในการเกิ ด ผลึ ก เนื่ องจากอุ ณ หภูมิ ต่้ า
(Low temperature crystallization) จะท้าให้ยางมีความแข็งมากขึ้น แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นยางจะ
อ่ อ นตั ว ลง และกลั บ สู่ ส ภาพเดิ ม ในขณะที่ ก ารเกิ ด ผลึ ก เนื่ อ งจากการยื ด ตั ว ( Strain induced
crystallization) จะส่ งผลท้าให้ ย างมี ส มบัติเชิงกลที่ดีขึ้น มาก คือ มีค่าความทนทานต่อแรงดึงสู ง
(Tensile strength) มีค่าความทนทานต่อการฉีกขาด (Tear resistance) และมีค่าความทนทานต่อ
การขั ด สี สู ง (Abrasion resistance) (www.rubber.sc.mahidol.ac.th) โดยทั่ ว ไปยางธรรมชาติ มี
น้ าหนั ก โมเลกุ ล เฉลี่ ย อยู่ ใ นช่ ว ง 72,000 ถึ ง 4,500,000 (B. Westal, 1968, p. 243) และมี ก าร
8

กระจายตั ว ของน้ าหนั กโมเลกุล ที่ก ว้ างมาก ยางธรรมชาติ มีค วามหนาแน่ นเท่า กั บ 0.93 กรัม ต่ อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3) ที่อุณหภูมิ 20 °C และมีอุณหภูมิของการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (glass
transition temperature , Tg) ประมาณ -72 °C (พงษ์ธร แซ่อุย, 2547)

H3C H

C C

CH2 H2C
n

ภาพที่ 2.4 โครงสร้างของยางธรรมชาติ (พงษ์ธร แซ่อุย, 2547)

เนื่องจากยางธรรมชาติมีความหนืดสูงซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมที่จะน้าไปใช้ผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางได้โดยตรงหรือน้าไปบดผสมกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น จากการที่ยางมีความหนืดสูงจะท้าให้
การบดผสมเป็นไปได้ยากเนื่องจากสารเคมีจะเข้าผสมกับยางได้ยาก และจะใช้พลังงานในการบดผสม
สูง ด้ว ยเหตุนี้ ก่อนการใส่ส ารเคมีจึงต้องมีการลดความหนืดโดยการบดยางให้นิ่ม (mastication)
ด้วยวิธีเชิงกล หรือในบางครั้งมีการเติมสารช่วยย่อยโมเลกุลหรือ peptizing agent เพื่อท้าให้ยางนิ่ม
เร็วขึ้น โดยจะท้าการบดยางในเครื่องบดระบบปิด (internal mixer) หรือเครื่องบดระบบเปิด (two-
roll-mill) โดยขั้นตอนนี้ยางจะถูกท้าให้นิ่มโดยโมเลกุลของยางถูกท้าให้ฉีกขาดด้วยแรงเฉือนจาก
เครื่องบด ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการบดนานเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความหนืดเริ่มต้นของยาง ถ้ายางมี
ความหนืดสูงมาก เช่น ยางธรรมชาติ จะใช้เวลาบดนาน หลังจากบดยางจนนิ่มแล้วจะท้าการเติม
สารเคมีต่างๆ ลงไป

2.3 พอลิเมอร์ผสม (polymer blend)

การทาพอลิเมอร์ผสมเป็นวิธีการปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์ที่นิยมใช้กันมาก โดยการ
น าพอลิ เมอร์ 2 ชนิ ด ซึ่ง อยู่ ในสถานะที่เป็ นของไหล ได้แก่ เป็น สารละลาย (solution) หรื อสาร
หลอมเหลว (molten) มาผสมให้ อ ยู่ ร วมเป็ น เนื้ อ เดี ย วกั น (blending) ได้ เ ป็ น พอลิ เ มอร์ ผ สม
(polymer blend) ซึ่งมีสมบัติที่ดีของพอลิเมอร์แต่ละชนิดมารวมกัน แต่การผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ของพอลิเมอร์ต่างชนิดกันนั้น โดยธรรมชาติแล้วจะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นพอลิเมอร์ผสมที่ได้จึงไม่เป็น
9

สารละลายของแข็งที่แท้จริง และพบว่าเมื่ออยู่ในสถานะที่เป็นของแข็ง พอลิเมอร์ชนิดหนึ่ งจะกระจาย


อยู่ในเนื้อหรือเมทริกซ์ที่ต่อเนื่อง (continuous matrix) ของพอลิเมอร์อีกชนิดหนึ่ง ทั้งนี้การกระจาย
ตัวดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างสม่าเสมอ มิฉะนั้นจะทาให้เกิดเป็นข้อบกพร่อง (defects) ของผลิตภัณฑ์
และส่งผลให้สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมต่ากว่าของพอลิเมอร์บ ริสุทธิ์ได้ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึง
สภาพความเข้ากันได้ (compatibility) ของพอลิเมอร์ที่นามาผสมกันซึ่งบางชนิดสามารถเข้ากันได้ดี
บางชนิดไม่สามารถเข้ากันได้เนื่องจากโครงสร้างสายโซ่ต่างกันจึงไม่สามารถกระจายตัวอย่างอิสระเกิด
การแยกชั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางพลังงาน (energy factor) ที่ทาให้พอลิเมอร์ 2 ชนิดเข้ากันไม่ได้
นั่นคือ พลังงานที่ใช้ในการผสมผสานโมเลกุลหรือสารโซ่ของพอลิเมอร์ เช่น การดูดกลืนพลังงานความ
ร้อนของพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่ต่างกัน

2.4 สารช่วยย่อย (peptizing agent)

ท้าหน้าที่โดยช่วยเร่งปฏิกิริยาการขาดของสายโซ่ (Chain scission) ของยางทั้งในการ


บดย่ อ ยแบบเชิ งกล และช่ ว ยในกลไกการตัด ขาดสายโซ่ ยางจากปฏิ กิริ ย าออกซิ เดชั่ น ที่เ รี ยกว่ า
“thermo-oxidative breakdown” โดยที่ อุณหภูมิต่้ า สารช่ว ยย่อยจะท้ าหน้ าที่ เป็ นสารจับ อนุมู ล
อิสระ (radical acceptor) ที่ปลายสายโซ่ยางเพื่อป้องกั นการกลับมารวมตัวกันของสายโซ่ยาง และ
ช่วยเร่งให้การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมีประสิทธิภาพที่อุณหภูมิสูง ท้าให้น้าหนักโมเลกุลลดลง เป็น
ผลให้ความหนืดของยางลดลง เกิดการผสมได้ง่ายขึ้น นิยมใส่เพื่อลดเวลาการบดย่อย (Mastication)
โดยเฉพาะยางดิบที่แข็งเนื่องจากมีน้าหนั กโมเลกุลมาก เช่น ยางธรรมชาติ (NR) สารช่วยย่อยส่วน
ใหญ่จะเป็นสารประเภท เมอร์แคปแทน, ฟีนอล และไดซัลไฟด์ โดยสารช่วยย่อยจะมีทั้งชนิดแบบ
ดั้งเดิม คือ เป็นสารเคมีบริสุทธ์ และแบบทันสมัย คือ การน้าสารเคมีบริสุทธิ์มาผสมกับออกาโนเมทัล
โดยมีโลหะจ้าพวก เหล็ก, ทองแดง และโคบอลต์ เป็นองค์ประกอบ เพื่อช่วยเป็นตั วเร่งปฏิกิริยาออกซิ
เดชั่น โดยองค์ประกอบของสารที่ใส่เข้าไปจะต้องไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของยาง เช่น สมบัติเชิงกล,
เสถียรภาพของยาง และการเชื่อมโยงของยาง ตัวอย่างสารช่วยย่อยได้แก่ เพนตะคลอโรไทโอฟีนอล,
ซิงค์ เพนตะคลอรอไทโอฟีเนต, เอริล เมอร์แคปแทน, เมอร์แคปโทเบนโซไทอะโซล, กรดซัลโฟนิก
และไดเบนซะมิโดไดฟีนิลไดซัลไฟล์ เป็นต้น ตัวอย่างโครงสร้างของสารช่วยย่อยแสดงดังภาพที่ 2.5
และในทางการค้าจะมีการตั้งชื่อที่เรียกแตกต่างกันแสดงดังตัวอย่างต่อไปนี้
- RPA No.6 (Pentachlorothiophenol) หรือ Renacit V
- RPA No.10 (Mixed dixylyl disulphides)
- PEPTON22 (Dibenzamido diphenyl disulphide)
- Sulfonic acid
- Renacit (Activated 2',2'''-dithiobisbenzanilide absorbed on clay (powder
form))
10

- ULTRA-PEP 96 (Dibenzamido diphenyl disulphide with organo-metal


complex)
- Noctizer SS (2',2'''-Dithiobisbenzanilide (powder form)

ภาพที่ 2.5 ตัวอย่างโครงสร้างของสารช่วยย่อย (peptizing agents) (Physical and Chemical


Peptizers, p.30)

สารช่วยย่อยจะใส่ในยางเมื่อเริ่มต้นการบดในเครื่องบดผสมแบบปิดหรือการบดในเครื่อง
บดผสมสองลูกกลิ้ง โดยปริมาณสารช่วยย่อยที่ใช้นั้นจะใช้ในปริมาณที่น้อยคือ 0.1-1 phr และปล่อย
ให้สารเคมีนั้นท้าปฏิกิริยากับยางเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะใส่สารอื่นๆ ลงไป การท้าเช่นนี้เพื่ อให้
ประสิทธิภาพของสารช่วยย่อยสูงสุด เพราะถ้าใส่สารอื่นๆ เช่น สารเชื่อมโยงหรือสารตัวเติม เป็นต้น
สารเหล่านี้จะเข้าไปท้าปฏิกิริยากับสารช่วยย่อยจะท้าให้ประสิทธิภาพของสารช่วยย่อยด้อยลงไป
สารช่วยย่อยเป็นสารที่จะเข้าไปท้าปฏิกิริยาเคมีกับยางขณะท้าการบดผสมโดยปฏิกิริย า
จะเป็นดังนี้
R-R คือโมเลกุลของยาง ArSH คือโมเลกุลของเมอร์แคปแทน (mercaptan)
R-R  R + R (2.1)
R + ArSH  RH + ArS (2.2)
R + ArS  RSAr (2.3)
กรณีถ้าเป็นฟีนอลหรือไดซัลไฟด์ ปฏิกิริยาที่ (2.2), (2.3) จะเปลี่ยนเป็นดังนี้
ถ้าเป็นฟีนอล
R + Ar-OH  RH + ArO (2.4)
R + ArO  R-OAr (2.5)
11

ถ้าเป็นไดซัลไฟด์
R + Ar-S-S-Ar  R-SAr + ArS (2.6)
R + Ar-S  R-S-Ar (2.7)
จากปฏิกิริยาดังกล่าวพบว่า สารช่วยย่อย (peptizing agent) เหล่านี้จะท้าหน้าที่จับ
อนุมูลอิสระของยางที่แตกออกเนื่องจากการบด ท้าให้อนุมูลอิสระไม่สามารถกลับไปรวมตัวกันได้อีก
ดังนั้นโมเลกุลของยางจะสั้นลง โดยประโยชน์ของสารช่วยย่อยมีดังนี้
- ช่วยเร่งการบดย่อยยาง (ลดเวลาบดย่อย)
- ลดการใช้พลังงานในการบดย่อย
- ช่วยให้การผสมยางกับสารเคมีอื่นเข้ากันได้ดี
- ลดต้นทุนในการบดผสม
- ช่วยให้เกิดการกระจายตัวของยางที่ดี
ในงานวิจัยนี้เลือกใช้สารประเภท Dibenzamido diphenyl disulphide เป็นสารช่วย
ย่อยโดยมีโครงสร้างแสดงดังภาพที่ 2.6 และกลไกในการเกิดปฏิกิริยากับสารโซ่ยางดังภาพที่ 2.7

ภาพที่ 2.6 โครงสร้างของ Dibenzamido diphenyl disulphide


12

ภาพที่ 2.7 กลไกการทางานของสารช่วยย่อยกับสายโซ่ยาง (พรพรรณ นิธิอุทัย, 2528, น. 274)

2.5 การบดยาง (Mastication)

การบดยาง (Mastication) นับเป็นขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการผสม โดยหลังจากใส่


ยางเข้าไปในเครื่องบดผสม ผู้ผสมจะต้องบดยางให้นิ่มเพื่อลดความหนืดของยางธรรมชาติลงก่อนที่จะ
เติมสารเคมีอื่นๆ ลงไป การบดยางให้นิ่มดังกล่าวจะช่วยทาให้สารเคมีที่เติมลงไปนั้นผสมเข้าไปรวมกับ
เนื้อยางได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการบดยางจึงเป็นขั้นตอนสาคัญในการผสมยางธรรมชาติที่มีความหนืดสูงและ
สามารถทาได้โดยใช้เครื่องผสมระบบปิด (Internal mixer) หรือเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง (two-
roll-mill) แรงเฉือนจากเครื่องผสมจะทาให้โมเลกุลยางขาดออกจากกัน ส่งผลให้ความหนืดของยาง
ลดลง ยางอ่อนตัวและไหลง่าย ซึ่งทาให้กระบวนการผสมเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งกลไกการบดยางหรือ
การตัดสายโซ่โมเลกุลยางจะเกิดผ่านกลไก 2 ขั้นตอน พร้อมๆ กัน คือ ขั้นตอนเชิงกลและขั้นตอน
ทางเคมี
- ขั้นตอนเชิงกล (Thermo-mechanical breakdown)
ขั้นแรกเมื่อใส่ยางเข้าไปในเครื่องผสม อุณหภูมิให้ห้องผสมยังต่าอยู่ ยางมีความ
หนืดสูง ส่งผลให้แรงเฉือนที่เกิดขึ้นระหว่างการผสมมีค่าสูงด้วย ดังนั้นกลไกการบดยางเพื่อตัดสายโซ่
โมเลกุลยางให้สั้นลงในขั้นนี้จึงเกิดผ่านกลไกแรงเฉือนที่เกิดจากความหนืดค่อนข้างสูงของยางและการ
หมุนของโรเตอร์เครื่องผสม (หรือการหมุนของลูกกลิ้งของเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง) เป็นสาคัญ และ
เมื่อสายโซ่โมเลกุลยางถูกตัดขาดจะเกิดอนุมูลอิสระที่ปลายสายโซ่ ซึ่งถ้าในระบบที่ไม่มีออกซิเจนหรือ
13

สารเคมีที่ว่องไวต่อการทาปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น อนุมูลอิส ระเหล่านี้จะกลับมารวมกัน


(Recombination) เป็นสายโซ่โมเลกุลยาวเหมือนเดิม แต่โดยทั่ว ไปแล้วในอากาศมีออกซิเจนเป็น
องค์ประกอบ ซึ่งมีความว่องไวในการทาปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระสูง ออกซิเจนจะเข้าไปทาปฏิกิริยากับ
อนุมูลอิสระแล้วเปลี่ยนรูปไปเป็นอนุมูลอิสระของเปอร์ออกไซด์ (peroxide radical) ซึ่งพร้อมที่จะทา
ปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 2.8 ส่งผลให้สายโซ่โมเลกุลยางสั้นลงและความหนืดของยางก็
จะลดต่าลงด้วย

ภาพที่ 2.8 กลไกการบดยางในขั้นตอนเชิงกล (Physical and Chemical Peptizers, p.27)

- ขั้นตอนทางเคมี (Thermo-oxidative breakdown)


หลังการบดยางต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้น อุณหภูมิในห้องผสมจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
มีผลทาให้ความหนืดของยางลดลงและเมื่อความหนืดยางลดลงส่งผลให้แรงเฉือนระหว่างยางกับโร
เตอร์หรือลูกกลิ้งลดลงตามไปด้วย ดั งนั้นเมื่ออุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นประสิทธิภาพการบดยางในขั้นตอน
เชิงกลจะลดต่าลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อเพิ่มอุณหภูมิในห้องผสมจนถึงจุดๆ หนึ่งจะส่งผลทาให้
ประสิทธิภาพในการบดยางเริ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ดังแสดงในภาพที่ 2.9 ด้วยสาเหตุสาคัญอันเนื่องมาจากที่
อุ ณ หภู มิ สู ง ๆ นี้ เ กิ ด กลไกของการตั ด ขาดสายโซ่ โ มเลกุ ล ยางจากปฏิ กิ ริ ย าออกซิ เ ดชั่ น ที่ เ รี ย กว่ า
“thermo-oxidative breakdown” เป็นสาคัญ ซึ่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่ออุณหภูมิใน
การผสมสูงขึ้น (วีนัสรินทร์ อินทร์ติยะ, 2554)
14

ภาพที่ 2.9 ประสิทธิภาพการบดยางที่อุณหภูมิต่างๆ (Physical and Chemical Peptizers, p.29)

2.6 การคอมพาวด์แบบแบท (batch compounding)

เป็นการผสมพลาสติกกับสารเคมี โดยใช้เครื่องผสมหลัก 2 ชนิด คือ เครื่องผสมแบบสอง


ลูกกลิ้ง (two-roll mill) และเครื่องผสมแบบปิด (internal mixer) แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงเครื่อง
ผสมแบบปิด
การคอมพาวด์พลาสติกในเครื่องบดผสมแบบปิด ใช้การหมุนของโรเตอร์ (rotor) ภายใน
ห้องผสม (mixing chamber) เพื่อผสมสารเคมีกับพลาสติกเข้าด้ว ยกัน ลั กษณะของโรเตอร์จะไม่
ราบเรียบ ทาให้ในขณะการหมุนเกิดแรงเฉือนภายในห้องผสมสูงมาก ส่งผลให้การกระจายตัวของ
สารเคมีในพลาสติกดี และใช้เวลาในการผสมน้อย โดยทั่วไปเครื่องผสมระบบปิดมีองค์ประกอบที่
ส้าคัญ 4 ส่วนได้แก่ ห้องผสม (chamber) ตัวบดผสมหรือ โรเตอร์(rotor) แท่งกดหรือแรม (ram)
และระบบหล่อเย็น (cooling system) เครื่องผสมระบบปิดให้ประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการ
ผสมมากกว่าการใช้เครื่องผสมยางแบบสองลูกกลิ้งเพราะสารเคมีไม่ฟุ้ง กระจายระหว่างการผสม ลด
การสูญเสียสารเคมีขณะผสม และลดการผิดพลาดเนื่องจากการใช้แรงงานคนในการผสม การท้า งาน
ของเครื่องผสมเพื่อให้เกิดการผสมคลุกเคล้าของยางกับสารเคมีส่วนใหญ่จะมาจากแรงเฉือนที่เกิดขึ้น
ระหว่างปีกของโรเตอร์กับผนังของห้องผสมยางและสารเคมีจะถูกบีบนวดผสมกันในสภาวะที่ควบคุม
อุณหภูมิของห้องผสมอย่างเหมาะสม ท้าให้สารเคมีต่างๆ กระจายตัวในยางได้ดีขึ้น
15

2.7 กลไกการผสม

ในระหว่างการผสมคุณภาพของการผสมขึ้นอยู่กับสารตัวเติมสามารถกระจายในเมทริกซ์
เพื่อให้วัสดุที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) มากที่สุด ซึ่งเกิดจาก 2 กระบวนการคือ
การแตกตัว (dispersion) และการกระจายตัว (distribution) ของสารตัวเติม ซึ่งลักษณะกลไกการ
ผสมประกอบด้วย 2 กลไกดังนี้
การแตกตัว (dispersion) เป็นขั้นตอนแรก ประกอบด้วยการสร้างการไหลของเมทริกซ์
ท้าให้เกิดการท้าลายแรงที่สารตัวเติมใช้เกาะกลุ่มกัน อนุภาคของสารตัวเติมจึงเล็กลง ซึ่งการแตกตัวนี้
ขึ้นกับแรงเฉือนและลักษณะของฟันสกรู (screw flight)
การกระจายตัว (distribution) ขั้นตอนที่สองนี้คือ ขั้นตอนการผสมที่สร้างการไหลที่
เหมาะสมที่จะกระจายอนุภาคให้สม่้าเสมอเป็นเนื้อเดียวกันทั่วทั้งเมทริกซ์
โดยตัวอย่างของการแตกตัวและการกระจายตัวที่ดีและไม่ดี แสดงไว้ดังภาพที่ 2.10

ภาพที่ 2.10 ลักษณะการแตกตัวและการกระจายตัวของอนุภาคในเมทริกซ์ (a) การแตกตัวและการ


กระจายต่า (b) การแตกตัวดีแต่การกระจายตัวต่า (c) การแตกตัวต่าแต่การกระจายตัวดี และ
(d) การแตกตัวและกระจายตัวดี (Sui, Youn, and Song, 2011, p. 1474)
16

2.8 การทดสอบสมบัติของพลาสติก

2.8.1 การทดสอบความทนต่อแรงกระแทก
ความทนต่อแรงกระแทก (impact resistance) ของพอลิเมอร์มักจะสัมพันธ์กับ
สมบัติความเหนียว (toughness) พอลิเมอร์ที่มีแนวโน้มจะแตกง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก มักจะไม่
ค่อยมีประโยชน์ในการน้าไปประยุกต์ใช้ เช่น พอลิเมอร์ที่อยู่ในสถานะคล้ายแก้ว (glassy state) หรือ
พอลิเมอร์ที่อยู่ในสภาวะอุณหภู มิต่้ากว่าค่าอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ของพอลิเมอร์นั้น
การทดสอบโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือการเหวี่ยงลูกตุ้ม (pendulum) จากความสูงต่างๆ ให้กระแทก หรือ
การปล่อยก้อนน้้าหนักจากระดับความสูงต่างๆ ให้ตกลงมากระแทกตัวอย่าง โดยเพิ่มน้้าหนักหรือแรง
กระแทกจนตัวอย่างพอลิเมอร์แตก ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบนี้สามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบสมบัติ
ความเหนียว (toughness) โดยต้องค้านึงถึงขนาดและความหนาของตัวอย่างด้วย
การทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทกเป็นการวัดการส่งถ่ายพลังงานที่จ้าเป็น
ในการแตกหักของวัสดุ ค่าความแข็งแรงการกระแทกจะบ่งบอกถึงความสามารพในการรับแรงแบบ
ฉับพลัน (shock load) แม้พลังงานไม่สามารถสร้างและท้าลาย แต่พลังงานการกระแทกจะสูญเสียไป
ในหลายลักษณะ เช่น ถูกใช้ในการเสียรูปแบบยืดหยุ่นและแบบถาวรของวัสดุและแรงเสียดทานจาก
การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่างๆ เป็นต้น
การทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทก (impact resistance) การทดสอบ
สมบัติด้านการทนแรงกระแทกของพอลิเมอร์จะมีจุดเด่นตรงที่เป็นการทดสอบด้วยอัตราการกระแทก
ด้ว ยความเร็ ว สู ง โดยมี รู ป แบบ 2 ลั กษณะ คื อ แบบ pendulum test และ falling weight test
ลักษณะการทดสอบแบบ pendulum test จะใช้ค้อนเหวี่ยงลงมากระแทกชิ้นงาน พลังงานส่วนหนึ่ง
สูญเสียไปในการท้าให้ชิ้นงานแตกหัก ซึ่งสามารถอ่านค่าพลังงานที่ใช้ไปได้จากเข็ม หน้าปัด (หน่วย
เป็น ft-lbs) ซึ่งในกรณีที่ทดสอบแล้วชิ้นงานไม่หักแสดงว่าพลังงานไม่พอ ซึ่งจะต้องเพิ่มน้้าหนักขึ้นไป
อีก (หรือใช้เครื่องที่ มีขนาดใหญ่กว่าหรือ specification ตรงกว่า) ชิ้นงานทดสอบจะต้องมีการท้ารอย
บากเพื่อให้เกิดจุดรวมแรง (stress concentration point) ดังภาพที่ 2.11

ภาพที่ 2.11 การทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทก แบบ pendulum test (จตุพร วุฒิกนก


กาญจน์, Polymer Characterization and Analysis)
17

การวางชิ้นงานจะท้าได้ 2 ลักษณะตามรูปแบบของการทดสอบกล่าวคือถ้าเป็น
แบบ Charpy test จะวางแนวนอน แต่ถ้าเป็นแบบ Izod test จะวางแนวตั้ง แสดงดังภาพที่ 2.12

ภาพที่ 2.12 รูปแบบการวางชิ้นงานส้าหรับการทดสอบความต้านทานต่อแรงกระแทก แบบ Charpy


test และ Izod test (จตุพร วุฒิกนกกาญจน์, Polymer Characterization and Analysis)

2.8.2 การทดสอบสมบัติทางรีโอโลยี (Rheological Test)


การทดสอบค่าความหนืดและสมบัติการไหลในช่วง Shear rate ต่าๆ จนถึงช่วง
ประมาณ 100 s-1 นิ ย มวัดโดยใช้เครื่องรีโ อมิเตอร์ (rheometer) ส่ว นที่ shear rate สู งขึ้น มักใช้
rheometer แบบกดผ่านหัว die ที่เรียกว่า capillary rheometer การทดสอบที่ใช้ในงานวิจัยนี้เพื่อ
ดูความหนืดของยางธรรมชาติเป็นการทดสอบที่ความถี่ค่าต่างๆ (Frequency Sweep Test) เป็นการ
ทดสอบสมบัติที่ความถี่เปลี่ยนแปลง โดยใช้ค่า Strain คงที่ในช่วง linear viscoelastic เพื่อศึกษา
ลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์นั้นๆ

2.8.3 การวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนด้วยเครื่อง DSC


เทคนิ ค differential scanning calorimetry (DSC) เป็ น เทคนิ ค ที่ ใ ช้ ศึ ก ษา
ปริมาณความร้อนและการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของพอลิเมอร์ ซึ่งสามารถ
แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงานความร้อนออกมาสู่ภายนอก (exothermic)
และการเปลี่ ย นแปลงแบบดู ด พลั ง งานความร้ อ นจากภายนอก (endothermic) เครื่ อ ง DSC มี
หลักการท้างาน คือสารตัวอย่างและสารอ้างอิงที่เฉื่อยต่อการเกิ ดปฏิกิริยาที่บรรจุในถ้วยอะลูมิเนียม
(aluminum) ขนาดเล็ ก จะถู ก ให้ ความร้อ นภายใต้ บ รรยากาศไนโตรเจน ส้ าหรั บ การวิ เ คราะห์ ที่
อุณหภูมิสูงกว่า 800 °C จะใช้ถ้วยทองแดง หรือแกรไฟต์ จากนั้นสมบัติทางความร้อนของตัวอย่างที่
เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิในตัวอย่าง จะถูกตรวจวัดและแปรผล โดยข้อมูลที่ได้จะถูกแสดงเป็นกราฟ
ระหว่างอุณหภูมิ (temperature) กับค่าพลังงานความร้อน (dQ/dt) ที่ใช้ในการรักษาอุณหภูมิของ
ตัวอย่างและสารอ้างอิงให้เท่ากัน กราฟที่ได้เรียกว่าเทอร์โมแกรม (thermogram) ดังภาพที่ 2.13
18

Exo
Endo Tc Td

Tg
T

Exo Td
Endo Tm
Temperature

ภาพที่ 2.13 แสดง DSC เทอร์โมแกรม

ข้อดีของเทคนิค DSC นอกจากจะแสดงค่าอุณหภูมิหลอมเหลว (Tm) อุณหภูมิ


การเกิดผลึก (Tc) อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ของพอลิเมอร์แล้วพื้นที่ใต้กราฟจะสัมพันธ์
โดยตรงกับค่าเอนทาลปี (enthalpy) หรือการเปลี่ยนแปลงความร้อนของตัวอย่าง ซึ่งมีความสัมพันธ์
กับความจุความร้อน ความร้อนของการหลอมเหลว หรือเอนทาลปีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

2.8.4 การศึกษาขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM)


เทคนิคนี้ใช้ล้าอิเล็กตรอนสแกนไปบนผิวหน้าของสารตัวอย่าง ซึ่งท้าให้เกิดการ
กระเจิงของอิเล็กตรอน (scattered electron) และเกิดสัญญาณเพื่อใช้ในการสร้างภาพที่สามารถ
เห็นความลึก เทคนิค SEM มีประโยชน์มากในการศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้าของพอลิเมอร์ เนื่องจากมี
ก้าลังขยายสูงและเป็นภาพสามมิติ การประยุกต์ใช้เทคนิคนี้มีหลากหลาย เช่น การศึกษาการกระจาย
ของเม็ดสีที่แขวนลอยอยู่ในสี โครงสร้างของรูพรุนในพอลิเมอร์ประเภทโฟม การพองหรือการแตกออก
ของวัสดุที่ใช้เคลือบผิว การแยกเฟสในพอลิเมอร์ผสม และลักษณะการแตกของผิวหน้าระหว่างวัสดุ
และสารที่ใช้ยึดติด เป็นต้น
หลั ก การท้ า งานของกล้ อ งจุ ล ทรรศน์ อิ เ ล็ ก ตรอนแบบส่ อ งกราดดั ง นี้ ระบบ
สุญญากาศจะต้องสร้างสภาพสุญญากาศภายในคอลัมน์ ซึ่งบรรจุระบบอิเล็กตรอนออพติคก่อน โดย
ระบบอิเล็กตรอนออพติคที่อยู่ในคอลัมน์สุญญากาศ จะประกอบด้วยต้นก้าเนิดอิเล็กตรอน (Electron
Gun) ซึ่งท้าจากไส้ทังสเตน (Tungsten Filamen) ท้าหน้าที่ปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมา จากส่วน
ปลายเมื่อเกิดความร้อนจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน และเป็นแคโทดไปในตัวด้วยเลนส์อิเล็กตรอน
(Magnetic Lens) ช่องบังคับ (Aperture) และอุปกรณ์ปรับแก้แกนของล้าอิเล็กตรอนส่วนประกอบ
เหล่านี้จะแยกเป็นส่วนๆ สามารถถอดประกอบได้ง่าย เพื่อสะดวกในการบ้ารุงรักษา และท้าความ
19

สะอาด จากนั้นระบบจ่ายก้าลั งไฟฟ้าหลัก (Main Power Supply) ซึ่งมี 2 ส่วน คือ แหล่งจ่ายไฟฟ้า
ศักย์สูง (High Voltage PowerSupply) และแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าส้าหรับเลนส์แม่เหล็ก (Magnetic
Lens Supply) จึงจะท้างานได้ แหล่งจ่ายไฟฟ้าศักย์สูง ท้าหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าเร่งให้กับระบบ
อิเล็กตรอนออพติคเพื่อสร้างล้าอิเล็กตรอนความเร็วสูง ท้าให้อิเล็กตรอนมีสมบัติคล้ายคลื่นแสง และ
แหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าส้าหรับเลนส์แม่เหล็กจะควบคุมการท้างานของระบบเลนส์อิเล็กตรอนเพื่อสร้าง
ก้าลังขยายภาพขึ้นในระบบอิเล็กตรอนออพติคทั้งระบบสุญญากาศ และแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ
เลนส์อิเล็กตรอนจะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เกิดความร้อนสูง ได้แก่ เครื่องสูบอากาศ แบบดิฟฟิวชัน
ทรานซิสเตอร์ก้าลังส้าหรับขับกระแสในขดลวดแม่เหล็ก เป็นต้น ดังนั้น จึงจ้าเป็นต้องมีระบบระบาย
ความร้อนด้วยน้้าเย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิของการท้างานให้อยู่ที่อุณหภูมิห้อง ชิ้นตัวอย่างที่ต้องการ
ศึกษาโครงสร้างจะต้องใส่ในห้องสุญญากาศภายในคอลัมน์ที่จัดได้สภาพโครงสร้างของระบบเลนส์
ภาพสัญญาณอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นในระบบอิเล็กตรอนออพติคต้องอาศัยระบบการสร้างภาพ (Image
Translating Unit) เพื่อ ให้ ส ามารถมองเห็ นภาพขยายนั้ นด้ว ยตาเปล่ า และสามารถบันทึ กลงบน
แผ่นฟิล์มได้ด้วยหน่วยบันทึกภาพ (Photo Recording Unit) ระบบบันทึกสัญญาณ

2.9 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารช่วยย่อยกับยางธรรมชาติ

Aron และคณะ (1974) ได้ศึกษากระบวนการใหม่ในการคอมพาวด์ยางธรรมชาติและ


ยางสังเคราะห์โดยใช้สารช่วยย่อยที่ประกอบด้วย salts of aromatic sulfonic acids พบว่าการใช้
สารช่วยย่อยจะช่วยในขั้นตอนการบดย่อยยางโดยลดเวลาในการบดย่อย, ช่วยให้การกระจายตัวของ
สารเติมแต่งในยางได้ดี และสามารถคอมพาวด์ยางได้ที่อุณหภูมิต่้า นอกจากนี้การใช้สารช่วยย่อยตัวนี้
ยังช่วยให้การบดย่อยยางและขั้นตอนการคอมพาวด์สามารถท้าได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณสมบัติ
ทางกายภาพของยางคอมพาวด์ดีขึ้นเพราะสารช่วยย่อยช่วยให้เกิดการกระจายตัวอย่างสม่้าเสมอของ
สารเติมแต่งในยางท้าให้ผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มีคุณภาพที่ดี
Kaplan และคณะ (1978) ได้ศึกษาสารช่วยย่อยส้าหรับยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
บิวตะไดอีน-สไตรีน พบว่าสารช่วยย่อยจะท้างานได้ดีที่อุณหภูมิ 70-150 องศาเซลเซียส โดยสารช่วย
ย่อยคือ 1. สารผสมระหว่าง iron-free peptizer และ zinc salt of mixed fatty acids และ 2. สาร
iron phthalocyanine โดยประสิ ท ธิ ภ าพของสารช่ ว ยย่ อ ยทั้ งสอง คือ สามารถท้ างานได้ใ นช่ ว ง
อุณหภูมิที่กว้าง, มีประสิทธิภาพสูงกว่าสารช่วยย่อยชนิดเดียว และมีสามารถใช้ได้ในปริมาณที่น้อยแต่
ให้ประสิทธิภาพที่สูง
Growther (1983) ท้าการศึกษากระบวนการช่วยย่อยยางธรรมชาติในเครื่องผสมแบบ
ปิด โดยใช้กรดไขมันผสมกับสารเคมีช่วยย่อย เพื่อลดความหนืดของยางธรรมชาติ ซึ่งผลจากการผสม
ในเครื่องผสมแบบปิดดีกว่า การใช้สารเคมีช่วยย่อยทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับการบดย่อยยางเชิงกล
สามารถประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการด้าเนินการ ซึ่งสามารถชดเชยกับต้นทุนของยางผสมสูตร
ได้ แต่ข้อเสนอแนะที่อยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่ของสารช่วยย่อยตัวนี้คื อ กลไกในการลดความหนืดที่
20

แตกต่างจากสารช่ว ยย่อยทั่วไป ซึ่งน่าจะเป็นกลไกที่ให้ผลที่ดีต่อการน้าไปประยุกต์ใช้ในงานแบบ


ไดนามิกส์
Engels และคณะ (1991) ท้ า การศึ ก ษาด้ า นเศรษฐศาสตร์ ก ารผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าง
ธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อย โดยการบดย่อยยางธรรมชาติเป็นเทคนิคที่ใช้ในการลดความหนืดของ
ยางโดยใช้สารตัวเร่ง เรียกว่า สารช่วยย่อย ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้ เพนตะคลอโรไทโอฟีนอล ซึ่งช่วยให้ลด
ระยะเวลาและประหยัดพลังงานในการบดย่อยยาง สามารถลดต้นทุน ท้าให้สามารถเพิ่มก้าลังการ
ผลิตได้ การผสมยางที่อุณหภูมิต่้าจะท้าให้ความหนืดของยางคอมพาวด์มีความเสถียรเหมาะในการเก็บ
รักษา จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่ายางธรรมชาติที่ใช้สารช่วยย่อยเติมลงไปในขั้นตอนการ
บดผสมยางจะให้คุณสมบัติของการเชื่อมโยงยางและการบ่มเร่งยางที่ดีกว่าการบดย่อยยางด้วยวิธีการ
ทางเชิงกล ถ้ามีการใส่เขม่าด้าเป็นสารตัวเติมในขั้นบดยางให้นิ่ม จะท้า ให้ใช้ปริมาณเพนตะคลอโรไท
โอฟีนอล มากขึ้น เพื่อให้เกิดการผสมเข้ากันได้ดี
Kadivec และคณะ (1993) ท้าการศึกษาผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อการบดย่อยยางและ
การผสมยางธรรมชาติ ซึ่งการบดย่อยางธรรมชาติเป็นขั้นตอนแรกในการเตรียมยางผสม เนื่องจากยาง
ธรรมชาติมีความแข็งและเหนียว และขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ยากถ้าไม่มีการตัดย่อยโมเลกุลของยาง
ธรรมชาติก่อน เดิมวิธีการบดย่ อยยางใช้วิธีการทางเชิงกลเพียงอย่างเดียว ซึ่งต่อมามีการค้นพบ
สารเคมีซึ่งมีความสามารถเป็นเร่งปฏิกิริยาในการบดย่อยยางให้เร็วขึ้นและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของกระบวนการผลิตได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสมบัติสารช่วยย่อยที่มีต่อคุณสมบัติการไหล
การขึ้นรูป พลังงานที่ใช้ในการผสม การเกิดการเชื่อมโยงยาง คุณสมบัติทางกายภาพของยางที่
เชื่อมโยงแล้ว
Hensel และคณะ (2004) ท้าการศึกษากระบวนการบดย่อยยางธรรมชาติด้วยวิธีใหม่
พบว่าความหนืดของยางธรรมชาติสามารถลดได้โดยการบดย่อยยางเชิงกล หรือการใช้สารช่วยย่อย
ซึ่ ง จะท้ า ให้ ส ายโซ่ ย างสั้ น ลง และช่ ว ยให้ คุ ณ สมบั ติ แ บบไดนามิ ก ส์ ดี ขึ้ น และเป็ น ประโยชน์ ต่ อ
กระบวนการขึ้นรูป การใช้สารตัวเติม เช่น เขม่าด้า หรือซิลิกา จะมีผลต่อประสิทธิภาพของสารช่วย
ย่อย โดยจะขัดขวางการท้างานของสารช่วยย่อย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบการใส่สารเติม
แต่งและล้าดับขั้นในการผสมเพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุดที่ท้าให้ค่าความหนืดลดลง โดยวิเคราะห์ในส่วนของ
ความหนืดที่ลดลงในช่วงการผสมต่างๆ เวลาที่ใช้ การใช้พลังงาน ต้นทุนการผลิต คุณสมบัติแบบ
ไดนามิกส์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
Subrahmanian และคณะ (2006) ศึกษาผลของสารช่วยย่อยที่มีต่อการเกิดปฏิกิริยา
ของยางผสมเขม่าด้าจากการผสมในเครื่องผสมแบบปิด โดยศึกษาสมบัติเชิงกลแบบไดนามิกและกลไก
ของสารเสริมแรงโดยใช้เทคนิค ไฟไนต์เอเลเมนต์ (FEM, finite element method) ในการวิเคราะห์
ความเค้น จากการทดลองมีการบดยางธรรมชาติเพื่อควบคุมน้้าหนักโมเลกุลและช่วยให้การผสมเข้า
กันกับยางธรรมชาติและสารตัวเติมดีขึ้น ปริมาณสารช่วยย่อย 0.1 phr ที่ผสมในยางธรรมชาติ ท้าให้
ยางผสมมีสมบัติทนต่อการขัดสีดีที่สุด ปริมาณสารช่วยย่อย 0.3 phr ผสมกับยางธรรมชาติ ให้ค่า
มอดูลัสสูงสุด ส้าหรับค่าความแข็งแรงดึงสูงสุดของยางผสมสูตรคือการใช้ปริมาณสารช่วยผสม 0.1
21

phr น้้ามันอะโรมะติก ซึ่งช่วยในกระบวนการผสมยาง 10 phr และเขม่าด้า และยังพบว่าการใส่


สารช่วยย่อยลงในยางผสมเขม่าด้าจะช่วยลดความหนืดได้ 2-3 หน่วย

2.10 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิดและยางธรรมชาติ

Suksut and Deeprasertkul (2011, p.288–296) ศึ ก ษาผลของสารก่ อ ผลึ ก (ได้ แ ก่


Cyclodextrin (CD), CaCO3 และทัล ค์) และยางธรรมชาติต่อสมบัติทางกายภาพของพอลิ แลคติค
แอซิดผสมยางธรรมชาติ พบว่าการเติมยางธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก ผสมกับ PLA ด้วย
เครื่องบดผสมภายใน (internal mixer) พบว่าสามารถเพิ่มทั้ง tensile และ impact toughness ให้
สู ง ขึ้ น คื อ ส้ า หรั บ tensile toughness เพิ่ ม จาก 330 MPa เป็ น 735 MPa และส้ า หรั บ impact
toughness เพิ่ ม ขึ้ น จาก PLA บริ สุ ท ธิ์ ถึ ง 3 เท่ า ส่ ว นสารก่ อ ผลึ ก เพี ย ง 1 เปอร์ เ ซ็ น ต์ โ ดยน้้ า หนั ก
สามารถเพิ่ ม ความเป็ น ผลึ ก ให้ แ ก่ PLA ผสม นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า ทั ล ค์ ท าให้ ค่ า มอดุ ลั ส ความแข็ ง
(storage modulus) ลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและท้าให้ PLA ผสมมีความเป็นผลึกสูงขึ้น
เมื่ อ เที ย บกั บ PLA บริ สุ ท ธิ์ แ ละ PLA ผสมตั ว อื่ น ต่ อ มา Bitinis, Verdejo, Cassagnau, and
Manchado (2011, p. 823– 831) ก็ได้ท้าการศึกษาเกี่ยวกับการนา PLA ผสมกับยางธรรมชาติด้วย
เครื่องบดผสมภายใน เพื่อปรับปรุงสมบัติทั้งทางกายภาพและเชิงกลเช่นกัน โดยพบว่าอุณหภูมิที่ใช้ใน
การผสมสู ง ขึ้ น จะส่ ง ผลให้ อ นุ ภ าคยางใน PLA ผสมมี ข นาดเพิ่ ม ขึ้ น ด้ ว ย และพบว่ า การเติ ม ยาง
ธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก มีผลให้ PLA ผสมมีค่าความยืดสูงสุด ณ จุดขาด (Elongation
at break) เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งมากคื อ เพิ่ ม จาก 3.3 เปอร์ เ ซ็ น ต์ เป็ น 200เปอร์ เ ซ็ น ต์ นอกจากนี้
Jaratrotkamjorn, Khaokong, and Tanrattanakul (2011, p. 5027-5036) ได้ ท้ า การเพิ่ ม ความ
เหนี ย วของ PLA โดยใช้ย างธรรมชาติ 10 %wt แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ ม คื อ ผลของยาง
ธรรมชาติดัดแปร (ENR (ENR 25, ENR 50) และ ยางธรรมชาติท้าปฏิกิริยาเชื่อมกิ่งกับ PMMA (NR-
g-PMMA)) และผลของการบดยางเพื่อลดขนาดโมเลกุล พบว่า ยางธรรมชาติสามารถเพิ่มความเหนียว
ของ PLA ได้ดีกว่ายางดัดแปร คือ ส้าหรับ impact strength เพิ่มขึ้นจาก PLA บริสุทธิ์ถึง 3 เท่า (เพิ่ม
จาก 2.85 เป็น 6.36 kJ/m2) และการลดขนาดโมเลกุลของยางด้วยเครื่องบดผสมแบบสองลูกกลิ้ง
(two roll mill) ที่จ้านวนรอบในการบดยางตั้งแต่ 20-240 รอบ พบว่ายางที่ผ่านการบดเพื่อลดขนาด
โมเลกุล สามารถปรับปรุงการรับแรงกระแทกของ PLA ได้ดีกว่ายางที่ไม่มีการลดขนาด คือเมื่อจ้านวน
รอบการบดยางมากขึ้น มีผลให้สมบัติเชิงกลทั้งในด้านความเหนียวและการต้านแรงกระแทกสูงขึ้น
โดยจ้ า นวนรอบที่เหมาะสมในการบดยางคือ 80-180 ซึ่งท้า ให้ได้อนุภ าคของยางมีขนาดระหว่าง
0.5 – 1.0 μm ให้ผลของ impact strength ดีที่สุด (ประมาณ 9.8 kJ/m2)
22

บทที่ 3
วิธีการวิจัย

3.1 วัตถุดิบและสารเคมี

3.1.1 พอลิแลคติคแอซิด (Polylactic acid, PLA) เกรด 3051 สาหรับงานฉีด ซื้อจาก


บริษัท Nature works LLC, Melt Index 10-30 g/10min (190C/2.16K)
3.1.2 ยางธรรมชาติ (Natural rubber) เกรด STR 5L
3.1.3 สารช่วยย่อย PEPTON22 (P) เป็นสารประเภท Dibenzamido diphenyl
disulphide ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท Michelin Siam Co. Ltd. (melting point range
136-150C, specific gravity 1.35)
3.1.4 สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 (U) เป็นสารประเภท Dibenzamido diphenyl
disulphide ผสมกับออกาโนเมทัลและกรดไขมัน ซื้อจากบริษัท Behn Meyer Chemical (T) Co.,
LTD (melting point range 90-140C, specific gravity 1.26)

3.2 ขั้นตอนการวิจัย

ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้


3.2.1 การเตรียมยางธรรมชาติ(NR) และยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย(NRMP)
การเตรียมยางธรรมชาติให้เป็นเม็ด แสดงในภาพที่ 3.1 โดยการนายางแท่ง เกรด
STR 5L ไปตัดเป็นเม็ดด้วยเครื่องตัดเม็ดยางยี่ห้อ gold spring รุ่น YKP40 ดังแสดงในภาพที่ 3.2 ซึ่ง
ยางที่ได้จะเรียกว่า NR (Natural rubber) จะถูกเก็บใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
23

ภาพที่ 3.1 ยางธรรมชาติเกรด STR 5L (ซ้าย) และยางธรรมชาติตัดเม็ด (ขวา)

ภาพที่ 3.2 เครื่องตัดเม็ดยาง

การเตรียมยางบดลดขนาดโมเลกุลตัดเม็ดโดยใช้สารช่วยย่อย(NRMP) ทาโดยนา
ยางเม็ดที่ตัดไว้และสารช่ว ยย่ อยปริมาณต่างๆ ไปบดในเครื่องผสมแบบปิด (Internal mixer) รุ่น
350E 3Z ของบริษัท Brabender ดังแสดงในภาพที่ 3.3 โดยใช้โรเตอร์ชนิดแบนบูรี (Banbury rotor)
ทาการบดยางด้ว ยความเร็ วรอบโรเตอร์เท่ากับ 60 และ 100 รอบต่อนาทีที่อุณหภูมิ เริ่มต้น 100
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที โดยมีการเปรียบเทียบการใช้สารช่วยย่อย 2 ชนิด คือ PEPTON22
และ ULTRA PEP96 ดังแสดงในภาพที่ 3.4 ซึ่งมีการกาหนดปริมาณในการใช้ดังนี้ คือ 0, 0.2, 0.3
และ 0.4 phr ซึ่งสูตรยางที่ได้แสดงดังตารางที่ 3.1 โดยยางที่บดลดขนาดโมเลกุลโดยไม่ใช้สารช่วย
ย่อย ในที่นี้ เรี ยกว่ายาง NRM ส่ ว นยางที่บดลดขนาดโดยใช้ส ารช่ว ยย่อยเรียกว่า ยาง NRMPและ
ลักษณะยางที่บดผสมที่ใส่สารช่วยย่อยแล้วดังแสดงในภาพที่ 3.5
24

ภาพที่ 3.3 เครื่องบดผสมแบบปิด (Internal mixer)

ภาพที่ 3.4 สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 (U) (ซ้าย) และ PEPTON22 (P) (ขวา)

ภาพที่ 3.5 ยางที่บดผสมที่ใส่สารช่วยย่อย (NRMP)


25

ตารางที่ 3.1

สูตรยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย
ชนิดสารช่วย ปริมาณสารช่วยย่อย ความเร็วรอบโรเตอร์
สูตรที่ ชื่อตัวอย่าง
ย่อย (phr) (รอบต่อนาที)
1 NRM60 - - 60
2 NRM100 - - 100
3 NRM60-U0.2 ULTRA PEP96 0.2 60
4 NRM60-U0.3 ULTRA PEP96 0.3 60
5 NRM60-U0.4 ULTRA PEP96 0.4 60
6 NRM100-P0.2 PEPTON22 0.2 100
7 NRM100-P0.3 PEPTON22 0.3 100
8 NRM100-P0.4 PEPTON22 0.4 100
9 NRM100-U0.2 ULTRA PEP96 0.2 100
10 NRM100-U0.3 ULTRA PEP96 0.3 100
11 NRM100-U0.4 ULTRA PEP96 0.4 100

3.2.2 การคอมพาวด์ PLA กับยางNRMP ที่ทาการบดผสมที่เวลาต่างกัน


การผสม PLA กับยางNRMP ซึ่งถูกเก็บไว้ในเดซิเคเตอร์ ทาโดยนา PLA มาอบไล่
ความชื้นที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นผสม PLA กับยางNRMP ในเครื่อง
บดผสมแบบปิด (Internal mixer)
การคอมพาวด์ด้วยเครื่องบดผสมแบบปิด ซึ่งบดผสม PLA กับยางNRMP โดยใช้
โรเตอร์ชนิดโรลเลอร์ (roller roter) ความเร็วรอบของโรเตอร์ 60 รอบต่อนาที อุณหภูมิในการผสม
160 องศาเซลเซียส และเวลาในการบดผสมที่ต่างกัน ดังนี้ 8, 9, 10 และ 12 นาที ซึ่งสูตรการบดผสม
แสดงดังตารางที่ 3.2 โดยลักษณะของคอมพาวด์ที่บดผสมแล้วจะมีลักษณะแสดงดังภาพที่ 3.6 (ซ้าย)
ซึ่งยากต่อการนาไปขึ้นรูปจึงจาเป็นต้องนาไปทาให้มีขนาดเล็กก่อ นด้วยการบดพลาสติก จะทาให้ได้
คอมพาวด์ที่เป็นเม็ดเล็กๆ ดังภาพที่ 3.6 (ขวา)
26

ตารางที่ 3.2

สูตรคอมพาวด์ PLA กับยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย อัตราส่วน PLA ต่อยาง


เป็น 90:10 โดยน้าหนัก
ชุดที่ ชื่อตัวอย่าง ชนิดยางที่ใช้ ระยะเวลาในการบดผสม (นาที)
1 12M-PLA - 12
2 12PLA/(NRM100) NRM100 12
3 8PLA/(NRM60) NRM60 8
4 9PLA/(NRM60) NRM60 9
5 10PLA/(NRM60) NRM60 10
6 12PLA/(NRM60) NRM60 12
7 8PLA/(NRM60-U0.2) NRM60-U0.2 8
8 9PLA/(NRM60-U0.2) NRM60-U0.2 9
9 10PLA/(NRM60-U0.2) NRM60-U0.2 10
10 12PLA/(NRM60-U0.2) NRM60-U0.2 12
11 8PLA/(NRM60-U0.3) NRM60-U0.3 8
12 9PLA/(NRM60-U0.3) NRM60-U0.3 9
13 10PLA/(NRM60-U0.3) NRM60-U0.3 10
14 12PLA/(NRM60-U0.3) NRM60-U0.3 12
15 8PLA/(NRM60-U0.4) NRM60-U0.4 8
16 9PLA/(NRM60-U0.4) NRM60-U0.4 9
17 10PLA/(NRM60-U0.4) NRM60-U0.4 10
18 12PLA/(NRM60-U0.4) NRM60-U0.4 12
19 8PLA/(NRM100-U0.3) NRM100-U0.3 8
20 9PLA/(NRM100-U0.3) NRM100-U0.3 9
21 10PLA/(NRM100-U0.3) NRM100-U0.3 10
22 12PLA/(NRM100-U0.3) NRM100-U0.3 12
27

ภาพที่ 3.6 คอมพาวด์ที่บดผสม (ซ้าย) และคอมพาวด์ที่บดเป็นเม็ดเล็กๆ (ขวา)

3.2.3 การขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างของ PLA ผสมยางธรรมชาติ


การขึ้ น รู ป ตั ว อย่ า งของคอมพาวด์ ผ สม PLA และยางธรรมชาติ บ ดลดขนาด
โมเลกุลด้วยสารช่วยย่อยสูตรต่างๆ ดังตารางที่ 3.2 โดยใช้เครื่องขึ้นรูปแบบกดอัด (compression
mold) ดังแสดงในภาพที่ 3.7 ใช้แม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมหนา 3 มิลลิเมตร โดยใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป
190 องศาเซลเซียส ความดัน 90 บาร์ เวลา 20 นาที และทาให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง ชิ้นงานที่ได้มี
ลักษณะแสดงในภาพที่ 3.8

ภาพที่ 3.7 เครื่องขึ้นรูปแบบกดอัด (compression mold)


28

ภาพที่ 3.8 ชิ้นงานที่ได้จากการขึ้นรูปแบบกดอัด

3.3 การทดสอบสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิด (PLA) และยางธรรมชาติ

3.3.1 การทดสอบความหนืดของยาง
การทดสอบความหนืดของยางธรรมชาติบดลดขนาดโมเลกุลและยางบดลดขนาด
โมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย โดยทาการขึ้นรูปยางให้เป็นแผ่นมีความหนา 1 มิลลิเมตรด้วยเครื่องขึ้น
รูปแบบกดอัด ใช้อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียสในการขึ้นรูป เป็นเวลา 2 นาที จากนั้นนาชิ้นงานที่ได้มา
ตัดเป็นชิ้นตัวอย่างทดสอบรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร เท่าหัววัดแบบ Parallel-
plate การทดสอบหาค่าความหนืดของยางโดยใช้วิธีการทดสอบแบบ Frequency sweep ด้ว ย
เครื่ อ งรี โ อมิ เ ตอร์ Rotational Rheometer, Gemini 200 HR Nano ดั ง แสดงในภาพที่ 3.9 โดย
กาหนดสภาวะในการทดสอบดั งนี้ ค่าความถี่อยู่ในช่วง 0.1-100 rad/s อุณหภูมิทดสอบ 160 องศา
เซลเซียส ค่า strain คงที่เท่ากับ 1%

ภาพที่ 3.9 เครื่องรีโอมิเตอร์


29

3.3.2 การทดสอบความเสถียรต่ออุณหภูมิของ PLA และ PLA บดผสมกับสารช่วยย่อย


การทดสอบสมบัติความเสถียรต่ออุณหภูมิของ PLA และ PLA บดผสมกับสาร
ช่วยย่อย โดยทาการขึ้นรูป PLA ให้เป็นแผ่นมีความหนา 1 มิลลิเมตรด้วยเครื่องขึ้นรูปแบบกดอัด ใช้
อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียสในการขึ้นรูป เป็นเวลา 20 นาที ความดัน 90 บาร์ จากนั้นนาชิ้นงานที่
ได้มาตัดเป็ นชิ้นตัวอย่ างทดสอบรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิ เมตร เท่าหัว วัดแบบ
Parallel-plate การทดสอบการเปลี่ ยนแปลงของมอดูลัส แบบความหนืดตามเวลาโดยใช้วิธีการ
ทดสอบแบบ Time sweep ด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ โดยกาหนดสภาวะในการทดสอบดังนี้ ค่าความถี่อยู่
ในช่วง 10 rad/s อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส ค่า strain คงทีเ่ ท่ากับ 1% ระยะเวลาทดสอบ
25 นาที

3.3.3 การทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก (Impact resistance) ของ PLA ผสม


ยางธรรมชาติ
การทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก เป็นการวัดพลังงานที่ทาให้วัสดุแตกหัก
เมื่อได้รับแรงกระแทก แสดงผลในรูปของความสามารถในการดูดซับแรงหรือพลังงานที่เกิ ดจากการ
ถ่ายโอนพลังงานจลน์ของมวลที่เคลื่อนที่ไปยังชิ้นงานทดสอบ มีหน่วยเป็นจูลต่อความกว้างของชิ้น
ทดสอบ โดยงานวิจัยนี้ทดสอบคุณสมบัติการรับแรงกระแทกแบบไอซอด (Izod Impact Test) ตาม
มาตรฐาน ASTM D256 ด้ ว ยเครื่ อ ง Rasil Impactor ดั ง แสดงในภาพที่ 3.10 โดยตั ดตั ว อย่า งชิ้ น
ทดสอบให้มีขนาดกว้าง 12.7 มิลลิเมตร ยาว 63.5 มิลลิเมตร และหนา 3 มิลิเมตร บากชิ้นงานเป็นรูป
ตัว V บริเวณกึ่งกลาง เก็บชิ้นงานไว้ 1 วันก่อนการทดสอบเพื่อให้ชิ้นงานคลายความเค้น จากนั้นนาไป
ทดสอบการรับแรงกระแทก โดยใช้ค้อนขนาด 2.7 จูล กระแทกบนชิ้นงานด้วยความเร็ว 3.46 เมตรต่อ
วินาที
การหาค่าความทนแรงกระแทก จากปริมาณพลังงาน (impact energy) ที่ชิ้น
ทดสอบดูดซับไว้ก่อนเกิดการแตกหัก แสดงผลในรูปพลังงานต่อหน่วยความยาวของบริเวณที่เกิดการ
แตกหักในหน่วยจูลต่อเมตร สูตรการคานวณดังสมการที่ 3.1

ความทนแรงกระแทก (J/m) = พลังงานในการทาให้วัสดุแตก (J) x 1,000 (3.1)


ความหนาของชิ้นงาน (mm)
30

ภาพที่ 3.10 เครื่องทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก

A 10.16± 0.05 mm. B 31.8 ± 1.0 mm.


C 63.5 ± 2.0 mm. D 0.25R ± 0.05 mm.
E 12.70 ± 0.20 mm.

ภาพที่ 3.11 ขนาดและลักษณะชิ้นงานทดสอบสมบัติการรับแรงกระแทก ตามมาตรฐาน ASTM D256


31

3.3.4 การศึกษาสัณฐานวิทยาโดยศึกษาการกระจายตัวของยางNRMP ใน PLA


การศึ ก ษาสั ณ ฐานวิ ท ยาโดยใช้ ก ล้ อ งจุ ล ทรรศน์ อิ เ ล็ ก ตรอนแบบส่ อ งกราด
(Scanning Electron Microscope, SEM) ดังแสดงในภาพที่ 3.12 เป็นการส่องดูพื้นผิวของวัสดุอย่าง
ละเอียดเพื่อศึกษาการกระจายตัวของยางบดลดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3
phr ใน PLA ที่ทาการบดผสมที่เวลาต่างกัน การเตรียมชิ้นทดสอบทาได้โดยนาชิ้นงานที่ขึ้นรูปเป็น
แผ่นแล้วนาไปตัดเป็นแท่งเล็กๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัด 2 x 2 ตารางมิลลิเมตร จากนั้นนาชิ้นงานไปแช่ใน
ไนโตรเจนเหลวเป็นเวลา 30 นาที แล้วนาขึ้นมาหักทันที นาตัวอย่างที่ได้ไปทาการเคลือบผิวหน้าด้วย
ทอง ใช้เวลาเคลือบ 220 วินาที จากนั้นนาตัวอย่างไปส่องดูสัณฐานวิทยา โดยดูลักษณะการกระจาย
ตัวของยางใน PLA และขนาดของยาง และใช้โปรแกรม ImageJ เพื่อวัดขนาดของอนุภาคยางเฉลี่ยใน
PLA เมทริกซ์

ภาพที่ 3.12 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM)

3.3.5 การทดสอบสมบัติทางความร้อนของ PLA , PLA ผสมสารช่วยย่อย ULTRA


PEP96 และ PLA ผสมยางNRMP โดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ
การทดสอบสมบั ติ ท างความร้ อ นของ PLA , PLA ผสมสารช่ ว ยย่ อ ย ULTRA
PEP96 และ PLA ผสมยางNRMP โดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ (0, 0.2, 0.3,
0.4 phr) โดยใช้เครื่ อง DSC (Differential Scanning Calorimeter, DSC) ดังแสดงในภาพที่ 3.13
เพื่อศึกษาสมบัติทางความร้อนและปริมาณผลึกของ PLA ผสมยางเมื่อผ่านกระบวนการขึ้นรูป โดย
การเตรียมตัวอย่างน้าหนัก 5-10 มิลลิกรัมใส่ลงในภาชนะอลู มิเนียม โดยให้ความร้อนแก่ตัวอย่าง
อุณหภูมิ 25-220 องศาเซลเซียส อัตราการให้ความร้อน 10 องศาเซลเซียส/นาที นาข้อมูลที่ได้มา
วิเคราะห์หาอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงสถานะคล้ายแก้ว (Tg), อุณหภูมิการหลอดเหลว (Tm), อุณหภูมิ
32

การตกผลึก (Tc), เอนทัลปีในการหลอมเหลว (Hm) และเอนทัลปีในการตกผลึก (Hc) ของ PLA


และ PLA ผสมสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PLA ผสมยางNRMP ที่ปริมาณต่างๆ (0, 0.2, 0.3,
0.4 phr) จากนั้นจึงคานวณหาปริมาณผลึก (crystallinity) โดยใช้สมการ 3.2

H m - H c
Crystallinity (%) = x 100 (3.2)
X PLA H f

เมื่อ Hc คือ เอนทัลปีการตกผลึก


Hm คือ เอนทัลปีการหลอมเหลว
XPLA คือ สัดส่วนโดยน้าหนักของ PLA
Hf คือ เอนทัลปีการหลอมเหลวของ PLA ที่ตกผลึก 100% เท่ากับ 93.1 J/g
(Lim, Auras, & Rubino, 2008, p.824)

ภาพที่ 3.13 เครื่อง DSC


33

3.3.6 การศึกษาการใช้พลังงานในการบดยางธรรมชาติ(NR) ที่ใช้สารช่วยย่อยต่าง


ชนิดกัน และปริมาณต่างกัน
การศึกษาการใช้พลังงานบดลดขนาดโมเลกุลยางโดยใช้สารช่วยย่อยต่างชนิดกัน
คือ PEPTON22 และ ULTRA PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ ดังนี้ 0, 0.2, 0.3 และ 0.4 phr สามารถทาได้
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากโปรแกรม Barbender Mixer Program Version 4.2.10 แสดงดัง
ภาพที่ 3.14 ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานที่ใช้ในการบดผสม

ภาพที่ 3.14 โปรแกรม Barbender Mixer Program Version 4.2.10


34

บทที่ 4
ผลการวิจัยและอภิปรายผล

งานวิจัยนี้ได้ทาการศึกษาผลของสารช่วยย่อยในการลดขนาดโมเลกุลของยางธรรมชาติ
และผลของสารช่วยย่อยต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติคแอซิด (PLA) กับยางธรรมชาติ
โดยใช้สารช่วยย่อย (peptizing agent) คือ PEPTON22 และ ULTRA PEP96 ซึ่งผลการศึกษาที่ได้
แสดงดังนี้

4.1 การบดยางธรรมชาติกับสารช่วยย่อยด้วยเครื่องบดผสมแบบปิด

4.1.1 ผลของชนิดสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ
การศึกษาผลของชนิดสารช่วยย่อย PEPTON22 และ ULTRA PEP96 ต่อการบด
ยางธรรมชาติในเครื่องผสมแบบปิดเปรียบเทียบกับการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยโดย
พิจารณาจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ทอร์ค -เวลา ที่ใส่ปริมาณสารช่วยย่อย 0.2, 0.3 และ 0.4
phr ดังแสดงในภาพที่ 4.1, 4.2 และ 4.3 ตามลาดับ พบว่าในช่วงเริ่มต้นที่ใส่สารตั้งต้นลงไปในเครื่อง
ผสมแบบปิดค่าทอร์คจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนสูงสุดเนื่องด้วยความหนืดของยางธรรมชาติที่มาก
หลังจากนั้นเมื่อเกิดการบดด้วยเชิงกลเพื่อลดขนาดโมเลกุลจึงทาให้ค่าทอร์คค่อยๆ ลดลงจนเข้าสู่
สมดุล ซึ่งแสดงได้จากกราฟเส้น NRM100 และเมื่อเปรียบเทียบกับในกรณีที่มีการเติมสารช่วยย่อยลง
ในการบดยางพบว่าผลของสารช่วยย่อยนั้นช่วยลดความหนืดของสารได้ดีและเร็วกว่าการบดด้วย
เชิงกลแสดงดังกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าทอร์ค -เวลา แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างชนิด
ของสารช่วยย่อยจะพบว่าไม่เ กิดความแตกต่างมากนักในการลดความหนืดของยางธรรมชาติโดยสาร
ช่วยย่อย ULTRA PEP96 มีประสิทธิภาพดีกว่า PEPTON22 เล็กน้อย
35

140

120 NRM100
NRM100-U0.2
100
Torque (Nm)

NRM100-P0.2
80

60

40

20
Time (min)
0

ภาพที่ 4.1 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ


ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.2 phr

140

120 NRM100
NRM100-U0.3
100
Torque (Nm)

NRM100-P0.3
80

60

40

20
Time (min)
0

ภาพที่ 4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ


ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.3 phr
36

140
NRM100
120
NRM100-U0.4
100
Torque (Nm)

NRM100-P0.4
80

60

40

20
Time (min)
0

ภาพที่ 4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ


ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 และ PEPTON22 ปริมาณ 0.4 phr

4.1.2 ผลของปริมาณสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ โดยพิจารณาจาก
กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ทอร์ค -เวลา กรณีที่ใช้สารช่วยย่อย PEPTON22 ดังแสดงในภาพที่ 4.4
พบว่าปริมาณของสารช่วยย่อยที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าทอร์ค แต่ให้ค่าทอร์คที่ต่า
เมื่อเปรียบเทียบกับการบดยางธรรมชาติด้วยเชิงกล แสดงให้เห็นว่าสารช่วยย่อยมีประสิทธิภาพลด
ขนาดโมเลกุลของยางธรรมชาติได้ดีกว่าการบดด้วยเชิงกล สาหรับกรณีสารช่วยย่อย ULTRA PEP96
ให้แนวโน้มค่าทอร์ค-เวลา ลดลงและเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้นเมื่อปริมาณ ULTRA PEP96 เพิ่มขึ้นแต่ผล
ของปริมาณที่เหมาะสมและทาให้ค่าทอร์คลดลงได้เร็วที่สุดอยู่ที่ 0.3 phr แสดงดังภาพที่ 4.5 และเมื่อ
พิจารณาค่าความหนืดที่ปริมาณสารช่วยย่อยต่างๆ พบว่ากรณีที่ความเร็วรอบในการบด 60 รอบ/นาที
ความเร็วรอบโรเตอร์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณสารช่วยย่อยที่เพิ่มขึ้น คือ ปริมาณสารช่วยย่อย
ที่เพิ่มขึ้นจะทาให้ค่าความหนืดลดลงได้มาก แสดงดังภาพที่ 4.6 (a) แต่ในกรณีที่ความเร็วรอบในการ
บด 100 รอบ/นาที ปริมาณสารช่วยย่อยที่เพิ่มขึ้นทาให้ค่าความหนืดลดลงไม่แตกต่างกันมาก แสดง
ดังภาพที่ 4.6 (b) โดยความหนืดที่ได้หลังบดที่ความเร็ วรอบโรเตอร์ 60 และ 100 รอบ/นาที ได้สรุป
รวมไว้ในภาพที่ 4.7
37

140
NRM100
120
NRM100-P0.2
Torque (Nm)

100 NRM100-P0.3

80 NRM100-P0.4

60

40

20
Time (min)
0

ภาพที่ 4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อย


PEPTON22 ที่ปริมาณต่างๆ

140
NRM100
120 NRM100-U0.2
100 NRM100-U0.3
Torque (Nm)

80 NRM100-U0.4

60

40

20
Time (min)
0

ภาพที่ 4.5 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA


PEP96 ที่ปริมาณต่างๆ
38

(a)

(b)
ภาพที่ 4.6 ความหนืดที่ความถี่ต่างๆ ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและใช้สารช่วย
ย่อยปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ (a) 60 รอบ/นาที (b) 100 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิทดสอบ
160 องศาเซลเซียส
39

at frequency = 10 rad/s
6000

5000
4634
60 rpm
4000
100 rpm

3000 2481
1878
2000 1687
1339 1439
1222 1207
1000

0 0.2 0.3 0.4


ปริมาณ ULTRA PEP96

ภาพที่ 4.7 ความหนืดของยางธรรมชาติที่บดผสมที่ 60 รอบ/นาที และที่ 100 รอบ/นาทีโดยใช้สาร


ช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างๆ ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส และความถี่ในการ
ทดสอบเป็น 10 rad/s

4.1.3 ผลของความเร็วรอบโรเตอร์ต่อการบดยางธรรมชาติ
ความหนืดของยางธรรมชาติเป็นปัจจัยที่สาคัญที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของยาง
ใน PLA โดยถ้าความหนืดต่าจะส่งผลให้การกระจายตัวของยางใน PLA ได้ดี ดังนั้นการศึกษาความ
หนื ด ของยางจึ งเป็ น ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่น ามาประกอบการพิ จารณา และการลดขนาดโมเลกุ ล ของยาง
ธรรมชาติมีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าความหนืด โดยการลดลงของค่าความหนืดสามารถพิจารณาได้
จากค่าทอร์ค-เวลา แสดงดังภาพที่ 4.8 โดยในกรณีที่ไม่ใช้สารช่วยย่อยที่ความเร็วรอบบดสูงขึ้นค่า
ความหนืดจะลดลงได้มากกว่าที่ความเร็วรอบต่าอย่างเห็นได้ชัดเจน และเมื่อมีการใช้สารช่วยย่อย
เพิ่มขึ้นพบว่าจะมีประสิทธิภาพในการลดความหนืดมากขึ้นโดยดูจากค่าทอร์คที่ลดลงอย่างมากเมื่อ
เวลาผ่านไป ซึ่งเมื่อพิจารณาในกรณีที่ความเร็วรอบบด 60 รอบ/นาที อิทธิพลของสารช่วยย่อยในการ
ลดความหนืดมีมากกว่าในกรณีที่ความเร็วรอบ 100 รอบ/นาที แสดงให้เห็นว่าการใช้สารช่วยย่อยนั้น
ทาให้สามารถลดความเร็วรอบในการบดยางลงมาที่ความเร็วรอบต่าๆ ได้ ช่วยให้ประหยัดพลังงานใน
การบดได้ และเมื่อพิจ ารณากราฟค่าความหนืดแสดงดังภาพที่ 4.9 ให้ ผลมีแ นวโน้มไปในทิศทาง
เดียวกันกับค่าทอร์ค
40

ภาพที่ 4.8 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและ


ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60 และ 100 รอบ/นาที
41

ภาพที่ 4.9 ความหนืดที่ความถี่ต่างๆ ของการบดยางธรรมชาติแบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและใช้สารช่วยย่อย


ปริมาณต่างๆ ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60 และ 100 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส

4.1.4 พลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติ
เมื่อพิจารณาพลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อยแต่ละชนิดที่
ปริมาณต่างๆ แสดงดังภาพที่ 4.10 จะเห็นได้พลังงานที่ใช้นั้นน้อยกว่าร้อยละ 20.25 เมื่อเทียบกับ
กรณีที่ไม่ใช้สารช่วยย่อย แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบชนิดและปริมาณสารช่วยย่อยจะเห็นได้ว่าค่า
พลังงานไม่แตกต่างกันมากนัก โดยสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ปริมาณ 0.3 phr ให้ค่าพลังงานที่
ใช้ต่าไม่แตกต่างกับปริมาณ 0.4 phr และ PEPTON22 0.4 phr ดังนั้นในการเลือกชนิดสารช่วยย่อย
และปริมาณที่เหมาะสมกับยางธรรมชาติเพื่อนาไปคอมพาวด์เป็นพอลิเมอร์ผสมระหว่าง PLA/NRMP
จึงเลือกสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr เนื่องจากผลของความหนืดและพลังงานที่ใช้
42

ภาพที่ 4.10 ผลของชนิดสารช่วยย่อยและปริมาณ ที่มีต่อพลังงานที่ใช้ในการบดยางธรรมชาติ


เมื่อความเร็วรอบโรเตอร์ 100 รอบ/นาที เวลาบด 15 นาที

4.2 การศึกษาผลกระทบของสารช่วยย่อยต่อสมบัติของ PLA

การใช้ยางบดผสมสารช่วยย่อยในการคอมพาวด์ พอลิเมอร์ผสม PLA/NRMP นั้นอาจ


เกิดการกระจายของสารช่วยย่อยเข้าไปในเฟสของ PLA เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าสารช่วยย่อยจะ
ส่ งผลต่อเฟสของ PLA หรื อ ไม่นั้ น จึง ได้ท าการทดสอบเปรีย บเที ยบหาค่า ความหนื ดของ PLAบด
(M-PLA) กับ PLAบดผสมสารช่ว ยย่อย (PLA-U0.3) โดยศึกษาจากความสั ม พันธ์ของทอร์ ค -เวลา
แสดงดังภาพที่ 4.11 พบว่าการใช้สารช่วยย่อยมีส่วนช่วยให้ PLA สามารถหลอมได้ในระยะเวลาอันสั้น
โดยดูจากค่าทอร์คที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรกและลดลงเข้าสู่สมดุลได้อย่างรวดเร็วกว่าการไม่ใช้สารช่วยย่อย
สาหรับกรณีความหนืดผลที่ได้แสดงดังภาพที่ 4.12 โดยพบว่าความหนืดเริ่มต้นของ PLAบดผสมสาร
ช่ ว ยย่ อ ย(PLA-U0.3)สู ง กว่ า PLAบด (M-PLA) เล็ ก น้ อ ย เมื่ อ ผ่ า นไประยะหนึ่ ง ค่ า ความหนื ด ของ
PLAบด (M-PLA) ลดลงอาจด้วยผลของการเกิดออกซิเดชันด้วยออกซิเจนและความร้อน (thermo-
oxidative degradation) แต่ ก รณี PLAบดผสมสารช่ ว ยย่ อ ย(PLA-U0.3) ไม่ เ กิ ด การเสื่ อ มสลาย
(degradation) แสดงให้เห็นว่าผลของสารช่วยย่อยนั้นส่งผลให้ PLA เกิดการเสื่อมสลายได้ช้ากว่า
PLAบด (M-PLA) และเมื่อพิจารณาค่าความทนแรงกระแทกของ PLAบดผสมสารช่วยย่อย (PLA-
U0.3) กับ PLAบด (M-PLA) แสดงดังภาพที่ 4.13 พบว่าค่าความรับแรงกระแทกของ PLAบดผสมสาร
43

ช่วยย่อย (PLA-U0.3) ให้ค่าสูงกว่า PLAบด (M-PLA) เล็กน้อย นอกจากนี้ยังพิจารณาคุณสมบัติทาง


ความร้อนของ PLA บด (M-PLA) และ PLAบดผสมสารช่วยย่อย (PLA-U0.3) แสดงเทอร์โมแกรมดัง
ภาพที่ 4.14 พบว่าเมื่อให้ความร้อนกับ PLA บด (M-PLA) อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ที่
65.1 ◦C อุณหภูมิหลอมเหลว (Tm) ที่ 152 ◦C, 156.5 ◦C และเมื่อเปรียบเทียบกับ PLAบดผสมสาร
ช่วยย่อย (PLA-U0.3) พบว่าอุณหภูมิ Tg และ Tm ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อุณหภูมิการเกิดผลึก (Tcc)
ของ PLA ลดลงเล็กน้อยเมื่อมีการใช้สารช่วยย่อย แสดงให้เห็นว่าสารช่วยย่อยมีส่วนช่วยในการเกิด
ผลึกผลแสดงดังตารางที่ 4.1 ซึ่งจากผลต่างๆข้างต้นที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าสารช่วยย่อยไม่ส่งผล
ในทางลบกับ PLA

250
12PLA-U0.3
200 12M-PLA
Torque (Nm)

150

100

50

Time (min)
0

ภาพที่ 4.11 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของการบด PLA แบบไม่ใช้สารช่วยย่อยและใช้สาร


ช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60 รอบ/นาที อุณหภูมิผสม 160 องศา
เซลเซียส เป็นเวลา 12 นาที
44

Complex viscosity (*, Pa• s) 13000

12000
PLA-U0.3
11000
M-PLA
10000

9000

8000

7000

6000

5000 Time (s)


0 500 1000 1500

ภาพที่ 4.12 ความหนืดของ PLA บด และ PLA บดผสมสารช่วยย่อย 0.3 phr แบบ time sweep
ที่อุณหภูมิทดสอบ 160 องศาเซลเซียส ที่ความถี่ 10 rad/s

40
29.47
35
Impact resistance (J/m)

30 27.85

25

20

15

10

0
M-PLA PLA-U0.3

ภาพที่ 4.13 ความทนแรงกระแทกของ PLAบด และ PLAบดผสมสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr
45

ภาพที่ 4.14 เทอร์โมแกรมจากการให้ความร้อนแก่ PLA บดไม่ใช้สารช่วยย่อย และ PLA บดผสมสาร


ช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr การให้ความร้อนครั้งที่ 1 จาก 25◦C ไปถึงอุณหภูมิ 220◦C ด้วย
อัตรา 10◦C/นาที

ตารางที่ 4.1

สมบัติทางความร้อนจากการให้ความร้อนครั้งที่ 1 ของ PLA บด และ PLA ใส่สารช่วยย่อย ULTRA


PEP96 0.3 phr
ตัวอย่าง Tg (◦C) Tcc (◦C) Tm (◦C) Hc (J/g) Hm (J/g) %Xc
Masticated PLA 65.1 115.7 152, 156.5 28.25 27.67 0
PLA/0.3UL96 65.0 115.3 152.4 25.12 27.73 2.80
46

4.3 การบดผสมพอลิเมอร์ผสมระหว่างยางบดลดขนาดโมเลกุลที่ใช้สารช่วยย่อยกับ PLA

จากผลการศึ ก ษาการบดยางธรรมชาติ กั บ สารช่ ว ยย่ อ ย PEPTON22 และ ULTRA


PEP96 พบว่ า สารช่ ว ยย่ อ ย ULTRA PEP96 ให้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ดี ก ว่ า PEPTON22 ตามข้ อ มู ล ผล
การศึกษาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งทาให้การศึกษาในส่วนพอลิเมอร์ผสม PLA/NRMP เลือกใช้ยางบด
ผสมสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 โดยผลการศึกษาแสดงดังนี้

4.3.1 ผลของยางลดขนาดโมเลกุลพร้อมสารช่วยย่อยที่ใช้ความเร็วรอบในการบด
ต่างกัน
จากการศึกษาผลของทอร์ค -เวลา ของการบดผสม PLA กับยาง NRMP ที่มีสาร
ช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณ 0.3 phr ที่ใช้ความเร็วรอบ 60 และ 100 รอบ/นาที แสดงดังภาพ
ที่ 4.15 พบว่าการผสม PLA กับยางที่มีความหนืดน้อยลงค่าทอร์คจะขึ้นช้า แบ่งพิจารณาได้ 2 กรณี
คือ กรณีที่ 1 ยางที่มาจากการบด 100 รอบ/นาที โดยไม่ใช้สารช่วยย่อย ซึ่งมีความหนืดต่ากว่าทอร์ค
จะขึ้นช้ากว่ายางบดที่ 60 รอบ/นาที และกรณีที่ 2 ยางบดที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที และใช้สาร
ช่วยย่อยจะทาให้ค่าความหนืดของยางต่ากว่าและทาให้ค่าทอร์คของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM60-0.3
ขึ้นช้ากว่ายางที่บดโดยไม่ใช้สารช่วยย่อย และเมื่อพิจารณายางบดที่ความเร็วรอบ 100 รอบ/นาที
แบบใช้และไม่ใช้สารช่วยย่อยพบว่ามีค่าความหนืดใกล้เคียงกันดังรูปที่ 4.7 แต่กรณียางใช้สารช่วยย่อย
ULTRA PEP96 0.3 phr ทาให้ทอร์คของพอลิเมอร์ผสมขึ้นและลงเร็วขึ้น ลดเวลาในการบดผสมได้
47

100
90 PLA/NRM60
80 PLA/NRM100
Torque (Nm)

70
PLA/NRM60-U0.3
60
PLA/NRM100-U0.3
50
40
30
20
10
0 Time (min)

ภาพที่ 4.15 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลาของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM บดผสมที่เวลา 12 นาที


โดยใช้ยาง NRM60, NRM100, NRM60-U0.3 และ NRM100-U0.3

จากการศึกษาเปรียบเทียบการปรับปรุงคุณสมบัติความทนแรงกระแทกของ PLA
ด้วยยางNRMP ที่มีสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณ 0.3 phr ที่มาจากการบดที่ความเร็วรอบ 60
รอบ/นาที เทียบกับ 100 รอบ/นาที ที่ระยะเวลาในการบดผสมต่างกันดังภาพที่ 4.16 พบว่าโดยส่วน
ใหญ่แล้วการใช้สารช่วยย่อยให้ค่าความทนแรงกระแทกเท่ากับการไม่ใช้สารช่วยย่อยในเวลาบดผสมที่
สั้ น กว่ า และให้ ค่ า ควานทนแรงกระแทกที่ สู ง กว่ า (152.89 J/m) ที่ ค วามเร็ ว รอบ 100 รอบ/นาที
9 นาที แต่เมื่อระยะเวลาในการบดผสมมากกว่า 9 นาที ค่าความทนแรงกระแทกลดลง ทั้งนี้อาจ
เนื่องจากเกิดการรวมตัวกันของอนุภาคยางในเฟส PLA จากการบดที่นานเกินไปโดยไม่มีสารเสริม
ความเข้ากันได้ (compatibilizer) มาช่วย ส่วนกรณียางบดจากความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที เมื่อนามา
บดผสมกับ PLA ที่เวลาต่างกันพบว่าให้ค่าความทนแรงกระแทกที่ไม่แตกต่างกันมาก ผลแสดงดังภาพ
ที่ 4.16
48

ภาพที่ 4.16 ความทนแรงกระแทกของ PLA กับยางบดโดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr


ที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที (NRM60) เทียบกับ 100 รอบ/นาที (NRM100) ทีเ่ วลาบดผสมต่างกัน

จากการศึกษาสัณฐานวิทยาของพอลิ เมอร์ผ สม PLA/(NRM100-U0.3) ที่เวลาบด


ผสมต่างกันเทียบกับกรณีที่ไม่ใช้สารช่วยย่อย ดังแสดงในภาพที่ 4.17 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
ขนาดอนุภาคเฉลี่ยกับค่าความทนแรงกระแทกดั งภาพที่ 4.18 พบว่าขนาดอนุภาคเฉลี่ยที่มีขนาดเล็ก
ที่สุดอยู่ในช่วงเวลาการบดผสม 9 นาที และให้ค่าความทนแรงกระแทกสูงสุดซึ่งมีความสอดคล้องกัน
คือการที่อนุภาคเฉลี่ยมีขนาดเล็กและกระจายตัวสม่าเสมอจะเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงกระแทก
เมื่อเทียบกับเวลาบดผสมอื่นๆ แต่เมื่ อเปรียบเทียบพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM100 ที่ไม่มีการใช้สาร
ช่วยย่อยกับ PLA/(NRMP100-U0.3) ที่มีการใช้สารช่วยย่อยพบว่าขนาดอนุภาคเฉลี่ยของยางบดที่มี
การใช้สารช่วยย่อยจะมีขนาดเล็กกว่าและกระจายตัวได้อย่างสม่าเสมอในเฟสของ PLA ดีกว่า แสดง
ว่าสารช่วยย่อยส่งผลดีต่อการลดขนาดโมเลกุล ทั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการเลือกใช้สารช่วยย่อยช่วยลด
ขนาดโมเลกุลยาง และช่วยย่นระยะเวลาในการบดผสมPLAกับยางโดยไม่ทาให้ความทนแรงกระแทก
ของพอลิเมอร์ผสมลดลงอีกด้วย
49

12PLA/(NRM100)

8PLA/(NRM100-U0.3) 9PLA/(NRM100-U0.3)

10PLA/(NRM100-U0.3) 12PLA/(NRM100-U0.3)

ภาพที่ 4.17 สัณฐานวิทยาของ ของพอลิเมอร์ผสม PLA/(NRM100) และ PLA/(NRM100-U0.3)


ที่เวลาบดผสมต่างกัน (8, 9, 10 และ 12 นาที)
50

ภาพที่ 4.18 ขนาดอนุภาคเฉลี่ย (ไมครอน) และความทนแรงกระแทก (J/m) ของ PLA/(NRM100-U0.3)


ที่เวลาบดผสมต่างกัน

4.3.2 ผลของยางบดลดขนาดโมเลกุลที่มีปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน
จากการศึกษาผลของทอร์ค -เวลา ของการบดผสม PLA กับยาง NRMP บดที่
ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที โดยมีสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างกันดังภาพที่ 4.19 พบว่า
เมื่อปริมาณสารช่วยย่อยเพิ่มขึ้นความหนืดจะลดลงค่าทอร์คขึ้นช้าลงแต่เข้าสู่สมดุลในเวลาใกล้เคียงกัน
51

ภาพที่ 4.19 ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์ค-เวลา ของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM60 ที่มีปริมาณสารช่วย


ย่อยต่างกัน บดผสมที่เวลา 12 นาที

จากการนายางบดผสมสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ที่ความเร็วรอบโรเตอร์ 60


รอบ/นาที ที่ปริมาณต่างๆ (0, 0.2, 0.3 และ 0.4 phr) มาทาพอลิเมอร์ผสมกับ PLA โดยทาการบด
ผสมที่เวลาต่างๆ (8,9,10 และ 12 นาที) เปรียบเทียบค่าความทนแรงกระแทกที่เวลาบดผสมเดียวกัน
ปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน แสดงผลดังภาพที่ 4.20 พบว่า ปริมาณสารช่วยย่อยที่ทาให้ค่าความทน
แรงกระแทกสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาบดผสมโดยส่วนใหญ่ คือ 0.3 phr แต่อย่างไรก็ตามผลของค่า
ความทนแรงกระแทกของพอลิเมอร์ผสม PLA/NRM แบบไม่ใช้สารช่วยย่อยมีค่าสูงกว่าแบบใช้สาร
ช่วยย่อยเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าผลของสารช่วยย่อยไม่ใช่สารที่ทาหน้าที่เสริมความเข้ากันของยาง
ธรรมชาติและPLA โดยตรงเป็นเพียงสารที่ช่วยลดขนาดโมเลกุลของยางเพื่อช่วยให้การกระจายตัวของ
อนุภาคยางในเฟสของ PLA ดีขึ้น
52

ภาพที่ 4.20 ความทนแรงกระแทกของ PLA กับยางบดโดยใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96


เปรียบเทียบที่เวลาบดผสมเดียวกัน ปริมาณสารช่วยย่อยต่างกัน

เมื่อพิจารณาคุณสมบัติทางความร้อนของพอลิ เมอร์ผ สม PLA/(NRM60) และ


PLA/(NRMP60) ที่ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างๆ โดยผ่านกระบวนการขึ้นรูปแบบกด
อัด ศึกษาด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิ่งคาลอริมิท รี (DSC) โดยให้ความร้อนด้วยอัตรา 10◦C/
นาที ช่วงอุณหภูมิ 25◦C -220◦C แสดงเทอร์โมแกรมดังภาพที่ 4.21 ค่าอุณหภูมิ Tg, Tcc, Tm และ
ปริมาณผลึกจากการใช้สารช่วยย่อยในปริมาณต่างๆ สรุปดังในตารางที่ 4.2 พบว่า อุณหภูมิเปลี่ยน
สถานะคล้ายแก้ว (Tg) ไม่เปลี่ยนแปลงมากแต่จะมี แนวโน้มลดลงเล็กน้อยเมื่อปริมาณสารช่วยย่อย
เพิ่มขึ้น อุณหภูมิหลอมเหลว (Tm) ไม่เปลี่ยนแปลงมาก สาหรับปริมาณผลึก (%Xc) จะมีปริมาณน้อย
ใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่าผลของสารช่วยย่อยไม่ส่งผลเสียต่อคุณสมบัติทางความร้อนของพอลิเมอร์
ผสม PLA/NRMP
53

ภาพที่ 4.21 เทอร์โมแกรมจากการให้ความร้อนแก่พอลิเมอร์ผสม PLA/NRM60 และ PLA/NRMP60


ที่ใช้สารช่วยย่อย ULTRA PEP96 ปริมาณต่างกัน การให้ความร้อนครั้งที่ 1 จาก 25◦C ไปถึงอุณหภูมิ
220◦C ด้วยอัตรา 10◦C/นาที

ตารางที่ 4.2

สมบัติทางความร้อนจากการให้ความร้อนครั้งที่ 1 ของ PLA/NRMP ซึ่งมีสารช่วยย่อย ULTRA PEP96


ปริมาณต่างๆ
ตัวอย่าง Tg (◦C) Tcc (◦C) Tm (◦C) Hc (J/g) Hm (J/g) %Xc
PLA/NRM60 64.4 109.2 151.5, 158.5 28.01 28.71 0.84
PLA/NRMP60-0.2UL96 64.6 109.2 151.8, 159 27.01 28.5 1.78
PLA/NRMP60-0.3UL96 63.8 110.1 150.9, 158.2 27.99 28.88 1.06
PLA/NRMP60-0.4UL96 63.7 109.7 150.5,157.5 28.61 28.63 0.02
54

บทที่ 5
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการวิจัย

1. จากการศึกษาผลของชนิดของสารช่วยย่อยต่อการบดยางธรรมชาติ พบว่าสารช่วย
ย่ อ ย ULTRA PEP96 ซึ่ ง มี ส ารช่ ว ยในการกระจายตั ว (dispersing agent) เป็ น องค์ ป ระกอบด้ ว ย
เหมาะสมที่จะใช้ในการบดลดขนาดโมเลกุลของยางธรรมชาติ โดยดูจากค่าทอร์ค -เวลาที่ลดลงและเข้า
สู่สมดุลได้อย่างรวดเร็ว และปริมาณสารช่วยย่อยที่เหมาะสม คือ 0.3 phr. เนื่องจากให้ผลในการลด
ความหนืดของยางธรรมชาติได้มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยบทบาทของสารช่วยย่อยที่ความเร็วรอบโร
เตอร์ 60 รอบ/นาที ให้ผลชัดเจนกว่าที่ความเร็วรอบ 100 รอบ/นาที โดยสามารถช่วยลดความหนืด
และพลังงานในการบดได้ดีกว่าการไม่ใช้สารช่วยย่อยและเมื่อพิจารณาพลังงานที่ใช้ในการบดยาง
ธรรมชาติพบว่าปริมาณสารช่วยย่อย ULTRA PEP96 0.3 phr สามารถลดการใช้พลังงานได้ดีที่สุด คือ
20.25% ที่เวลาบด 15 นาที เมื่อเทียบกับไม่ใช้สารช่วยย่อย
2. สาหรับการใช้งานกับ PLA จาเป็นต้องศึกษาผลกระทบของสารช่วยย่อยต่อสมบัติ
PLA พบว่าสารช่วยย่อยไม่ส่งผลเสียต่อ PLA ทั้งนี้พิจารณาจากค่าความหนืด ความทนแรงกระแทก
และคุณสมบัติทางความร้อนที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดี และพบว่าการใช้สารช่วยย่อยใน PLA โดยตรง
ช่วยให้ PLA หลอมได้เร็วขึ้น
3. การนายางบดขนาดโมเลกุลโดยใช้สารช่ว ยย่อย ULTRA PEP96 มาคอมพาวด์กับ
PLA เป็นพอลิเมอร์ผสม ที่ปริมาณสารช่วยย่อย 0.3 phr พบว่าการใช้สารช่วยย่อยมีผลให้การบดผสม
ยางกับ PLA เกิ ดขึ้น ได้ ช้าลงแม้จ ะมีข นาดอนุ ภ าคยางใน PLA ที่เล็ กกว่า ทาให้ ค่ าความทนแรง
กระแทกมีแนวโน้ มต่าลงเล็ กน้ อย แต่ยางที่บดที่ความเร็วรอบ 100 รอบ/นาที นามาบดผสมเป็น
เวลานาน 9 นาที ให้ค่าความทนแรงกระแทกสูงที่สุด 152.8 J/m แต่ถ้าบดผสมนานเกินไปค่าความ
ทนแรงกระแทกจะลดลง
4. กรณีปริมาณสารช่วยย่อยต่างกันของยางที่บดที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/นาที และ
ควบคุมเวลาในการบดผสมกับพอลิแลคติคแอซิดเท่ากัน พบว่า ปริมาณสารช่วยย่อย 0.3 phr ให้ค่า
ความทนแรงกระแทกสูงที่สุดในทุกช่วงเวลาการบดผสม (8, 9, 10 และ 12 นาที)
55

5. การใช้สารช่วยย่อยไม่ส่งผลเสียต่อสมบัติทางความร้อนของ PLA และช่วยลดขนาด


อนุภาคยาง อย่างไรก็ตามแม้ว่าการใช้สารช่วยย่อยทาให้ขนาดอนุภาคยางมีขนาดเล็กลงกว่ากรณีที่ไม่
ใช้แต่กลับทาให้ค่าความทนแรงกระแทกมีแนวโน้มต่าลงเล็กน้อย

5.2 ข้อเสนอแนะ

จากผลการศึกษาที่ได้ อาจนาไปสู่การศึกษาวิจัยในหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจของพอลิเมอร์


ผสมระหว่าง PLA กับยางธรรมชาติ เช่น การขยายขนาดการบดยางธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย่อยโดย
เครื่องผสมแบบต่อเนื่อง เป็นต้น
56

รายการอ้างอิง

หนังสือและบทความในหนังสือ

บุญธรรม นิธิอุทัย. (2530). ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ และคุณสมบัติ. ปัตตานี:


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บุญธรรม นิธิอุทัย. (2539). กระบวนการแปรรูปยาง. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา
เขตปัตตานี
พงษ์ธร แซ่อุย. (2547). ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ
และวัสดุแห่งชาติ
พรพรรณ นิธิอุทัย. (2528). สารเคมีสาหรับยาง. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี
อิทธิพล แจ้งชัด. (2545). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Robeson, L. M. (2007). Polymer blends: a comprehensive review. Berlin: Druckhaus
Thomas Muntzer
W.F. Watson. (1965). Reinforcement of Elastomers. New York: Interscience

บทความวารสาร

อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล. (2554). พอลิแลกติกแอซิด: พอลิเอสเทอร์ จากทรัพยากรที่สร้างทดแทนใหม่ได้.


วิศวกรรมสาร มก, 77, 99-110.
Auras, R., Harte, B., Selke, S., & Hernandez, R. (2003) Mechanical, physical, and barrier
properties of poly(lactide) films. Journal of Plastic Film and Sheeting, 19,
123–135.
Bitinis, N., Verdejo, R., Cassagnau, P., & Lopez-Manchado, M. (2011). A.Structure and
Properties of Polylactide/Natural Rubber Blends. Materials Chemistry and
Physics, 129, 823– 831.
Crowther B.G. (1983). PEPTIZATION OF NATURAL RUBBER IN AN INTERNAL MIXER-PART
2. FATTY ACID SOAPS AND BLENDS WITH CHEMICAL PEPTIZERS. NR
Technology (Natural Rubber), 14 (1), 1-7.
57

Earl Kaplan. (1978). PEPTIZING AGENT FOR NATURAL RUBBER AND SYNTHETIC
BUTADIENE-STYRENE RUBBER. American Cyanamid Company, Stamford,
Conn. 1-8.
Drumright, R. E., Gruber, P.R., & Henton, D.E. (2000). Polylactic acid Technology.
Advance Material, 12, 1841–1846.
Erwin Aron. (1974). NOVEL PROCESSING AIDS FOR NATURAL AND SYNTHETIC RUBBER
COMPOUNDS. Technical processing, Inc., Paterson, N.J. 1-10
Engels H.-W., Abele M. (1991). Improved economics in the production of NR goods
through the use of peptizers. Rubber World, 204 (5), 5.
Garlotta, D. (2001). A Literature Review of Poly(lactic acid). Journal Polymer
Environment. 9, 63–84.
Jaratrotkamjorn, R., Khaokong, C., & Tanrattanakul, V. (2011). Toughness Enhancement
of Poly (lactic acid) by Melt Blending with Natural Rubber. Journal of
Applied Polymer Science, 124, 5027-5036.
Lim, L. T., Auras, R., & Rubino, M. (2008). Processing Technologies for Poly(lactic acid).
Progress in Polymer Science, 33, 820–852.
Nampoothiri, K. M., Nair, N. R., & John, R. P. (2010). An Overview of the Recent
Developments in Polylactide (PLA) Research. Bioresource Technology, 101,
8493–8501.
Suksut, B., & Deeprasertkul, C. (2011). Effect of Nucleating Agents on Physical
Properties of Poly(lactic acid) and Its Blend with Natural Rubber. Journal
Polymer Environment, 19, 288–296.
Sul, I. H., Youn, J. R., & Song, Y S. S. (2011, April 4). Quantitative Dispersion Evaluation
of Carbon Nanotubes Using a New Analysis Protocol, Carbon, 49, 1473–1478.
Westall, B. (1968). The Molecular Weight Distribution of Natural Rubber Latex.
Polymer, 9, 243–248.
Hensel M., Menting K.-H., Mergenhagen T., Umland H. (2004). New Insights Into the
Mastication Process. KGK-Kautschuk und Gummi Kunststoffe, 57 (3), 95-98.
Kadivec I., Susteric Z., Rus B. (1993). Effects of a peptizer on the mastication and
mixing of a compound with natural rubber. Polimeri, 14 (1), 13-18.
Subahmanian V., Arun B., Taneja V., Nithya A. (2006). The effect of peptizer on carbon
black-rubber interaction in the internal mixer. Rubber World, 234 (1), 37-41.
58

วิทยานิพนธ์

พัชราภรณ์ สมดี. (2552). พอลิแลกติกแอซิดเสริมความเหนียวด้วยยางธรรมชาติ. (วิทยานิพนธ์


ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชา
วิศวกรรมพอลิเมอร์.
วิไลภรณ์ เจริญสลุง. (2556). การปรับปรุงสมบัติรับแรงกระแทกของพอลิแลตติกแอซิดโดยใช้ยาง
ธรรมชาติปรับสภาพ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

www.rubber.sc.mahidol.ac.th
59

ภาคผนวก
60

ภาคผนวก ก
ข้อมูลทางเทคนิคของพอลิแลคติคแอซิด (Poly (lactic acid), PLA)
61
62
63

ภาคผนวก ข
ข้อมูลทางเทคนิคของสารช่วยย่อย (Peptizing agents)
64

PEPTON22
65
66

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นางสาวอมรา ขวดบา


วันเดือนปีเกิด 10 กันยายน 2524
วุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2545: วิทยาศาสตรบัณฑิต
(เคมีอุตสาหกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 2547: ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตาแหน่ง ข้าราชการครู
โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม

ผลงานทางวิชาการ

A. Khuadba, and C. Pattamaprom. (December 2014). The Effect of Peptizing Agents


on the Properties of Poly (Lactic Acid)/Natural Rubber Blends. The 4th
TIChE International Conference 2014, Chiangmai.

ประสบการณ์ทางาน 2555-ปัจจุบัน: ข้าราชการครู


โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม
2554-2555: ครูอัตราจ้าง
โรงเรียนสะแกโดดประชาสรรค์
2546-2554: ครู กศน.ตาบลโยธะกา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อาเภอบางน้าเปรี้ยว

You might also like