You are on page 1of 70

การวิเคราะห์ลักษณะสมบัติดินทีป

่ นเปื้ อนสารเคมีอะลา
คอร์

ปาณิสรา จันทรวิทุร

รหัสนักศึกษา 610610204
รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หัวข้อโครการ การวิเคราะห์ลักษณะสมบัติดินที่ปนเปื้ อนสารเคมี


อะลาคอร์ (Alachlor)

โดย นางสาว ปาณิสรา จันทรวิทุร รหัสนักศึกษา


610610204

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล

ภาควิชา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

คณะ วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้นับ


โครงการนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของ

การศึกษาตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

คณะกรรมการสอบ

…………………………………………………… ประธานกรรมการ

(ศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล)


…………………………………………………… กรรมการ

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาคภูมิ รักร่วม)

…………………………………………………… กรรมการ

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุลักษณ์ สุมิตสวรรค์)

…………………………………………………… หัวหน้าภาควิชา
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปฏิรูป ผลจันทร์)


กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ที่ให้คำ


ปรึกษา แนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาของโครงการที่เป็ นประโยชน์
ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในทุกๆด้าน ตัง้ แต่
เริ่มต้นจนวิจัยนีเ้ สร็จสมบูรณ์

ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาคภูมิ รักร่วมและผู้ช่วย


ศาสตราจารย์ ดร. สุลก
ั ษณ์ สุมิตสวรรค์ คณะกรรมการคุมสอบรายงานที่
ให้คำแนะนำแก้ไขบกพร่แงจนวิจัยนีเ้ สร็จสมบูรณ์

ขอขอบคุณภาควิชาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอขอบคุณ ครูบาอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกๆท่าน ที่ได้ให้


ความรู้ ความสามารถที่สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอด ให้ข้าพเจ้ามี
ความรู้ ความสามารถในการดำเนินการวิจัยจนเสร็จลุล่วงไปด้วยดี

ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่คณะวิศกรรมศาสตร์ทุกๆท่าน ที่ช่วย
อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็ นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย รวม
ถึงให้คำปรึกาในการทำปฎิบัติการ

และขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ มิตรสหายและคนใกล้ชิด ที่ให้


ความรัก ความอบอุ่น ผลักดัน คอยให้กำลังใจช่วยเหลือเวลามีปัญหา
เสมอจนประสบความสำเร็จในวันนี ้

ปาณิสรา จันทรวิทุร

หัวข้อโครการ การวิเคราะห์ลักษณะสมบัติดินที่ปนเปื้ อนสารเคมี


อะลาคอร์(Alachlor)

โดย นางสาว ปาณิสรา จันทรวิทุร รหัสนีกศึกษา


610610204

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล

บทคัดย่อ

จากการศึกษาครัง้ นีม
้ ีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอะลา
คอร์ที่มีต่อลักษณะสมบัติดินที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช โดยทำการทดสอบ
จค

สารบัญ

เรื่อง
หน้า

กิตติกรรมประกาศ

บทคัดย่อ ข

สารบัญเรื่อง

สารบัญตาราง

สารบัญรูปภาพ

สารบัญกราฟ

บทที่ 1 บทนำ
1

1.1 ที่มาและความสำคัญ
1

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2
1.3 ขอบเขตการวิจัย
2

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2

บทที่ 2 ทฤษฎีและสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง
3

2.1 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3

2.2 ชนิดของสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช
4

2.3 อะลาคอร์ (Alachlor)


6

2.4 ความเป็ นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพช



6

2.5 อินทรียวัตถุในดิน
9

2.6 ค่าพีเอชของดิน
18

2.7 ความชื้นในดิน
19
จง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ
20

3.1 สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
20

3.2 ขัน
้ ตอนการทดลอง
20

บทที่ 4 ผลการทดลองและวิจารณ์ผลการทดลอง
26

4.1 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
26

4.2 ค่าพีเอชของดิน
28

4.3 ค่าความชื้นของดิน
30

4.4 ลักษณะพืช (ลำต้น) 32

4.5 ลักษณะพืช ความกว้างใบ) 33

4.6 ลักษณะพืช (ความยาวใบ)


34

บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
35
5.1 สรุปผลการทดลอง
35

5.2 ข้อเสนอแนะ
35

บรรณานุกรม
36

ภาคผนวก

สารบัญตาราง

ตารางที่
หน้า

4.1 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์


(Soil+ Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช 26

4.2 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของดิน(soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์


(Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืช 27

4.3 ค่าพีเอชของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+


Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช 28

4.4 ค ่า พ ีเ อ ช ข อ ง ด ิน (soil) แ ล ะ ด ิน ท ี่ม ีส า ร เ ค ม ีอ ะ ล า ค อ ร ์ (Soil+


Alachlor) ที่ปลูกพืช 29

4.5 ค่าความชื้นของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+


Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช 30

4.6 ค่าความชื้นของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+


Alachlor) ที่ปลูกพืช 31

4.7 ความสูงของลำต้นพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะ


ลาคอร์ (Soil+ Alachlor) 32

4.8 ความกว้างใบพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลา


คอร์ (Soil+ Alachlor) 33
2

4.9 ความยาวใบพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลา


คอร์ (Soil+ Alachlor) 34

สารบัญรูปภาพ

รูปภาพที่
หน้า

2.1 โครงสร้างทั่วไปทางเคมีของ Alachlor


6
3

2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดินแบ่งตามปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
18

3.1 สารเคมีที่เตรียมไว้เพื่อใช้ในการทดลอง
21

3.2 ทำการชั่งดินที่เก็บมาใส่ขวดชมพู่ขนาด 250 มล.


22

3.3 ตักดินจนชั่งได้ปริมาณ 1 กรัม


22

3.4 Dispenser ที่ใช้ในเติมสารละลายมาตรฐานมาตรฐานโปแตสเซียมได


โครเมต(K2Cr2O7) 22

3.5 เมื่อเติมสาระลายเติมสารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไดโคร
เมต(K2Cr2O7)ลงไปในดินที่ชั่งเตรียมไว้ 22

3.6 เติม H2SO4 เข้มข้น 20 มล. โดยใช้ปิเปต


23

3.7 ตัง้ ทิง้ ไว้จนสารละลายเย็นเท่าอุณหภูมิห้อง


23

3.8 หลังจากเติมน้ำกลั่น ทิง้ ไว้ให้เย็น


24

3.9 อินดิเคเตอร์ออร์โทฟี แนนโทรลีน


24
4

3.10 ไตเตรทสารละลาย FAS 0.5 N จนสารละลายเปลี่ยนสี


24

3.11 สารละลายจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็ นสีน้ำตาลแดง


25

สารบัญกราฟ

กราฟที่
หน้า

4.1 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า SOC ระหว่าง soil และ soil+


Alachlor 26

4.2 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า SOC ระหว่าง soil+ plant และ soil+


Alachlor + plant 27
5

4.3 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า pH ระหว่าง soil และ soil+ Alachlor


28

4.4 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า pH ระหว่าง soil+ plant และ soil+


Alachlor + plant 29

4.5 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า % Moisture ระหว่าง soil และ soil+


Alachlor 30

4.6 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า ค่า % Moisture ระหว่าง soil+ plant


และ soil+ Alachlor + plant 31

4.7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความสูงลำต้นระหว่าง soil+ plant และ


soil+ Alachlor + plant 32

4.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความกว้างใบระหว่าง soil+ plant และ


soil+ Alachlor + plant 33

4.9 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความยาวใบระหว่าง soil+ plant และ


soil+ Alachlor + plant 34
1

บทที่ 1

บททำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ

ในปั จจุบันนัน
้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า เกษตรกรบางกลุ่มก็
ยังมีความจำเป็ นที่จะต้องใช้ยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าอยู่อย่างแน่นอน
ด้วยเหตุผลอะไรหลายประการ ส่วนใหญ่ต้องการผลิตผลที่มีลักษณะ
สวยงาม ไม่มีร่องรอยการถูกทำลาย มีคุณภาพตรงตามความต้องการของ
ตลาด และเกษตรกรมีความประสงค์ที่จะจำหน่ายผลิตผลให้ได้ราคาสูง
และเพื่อเป็ นหลักประกันว่าผลผลิตจะไม่เสียหาย จึงทำให้เกษตรกรมี
ความจำเป็ นจะต้องใช้สารเคมีประเภทนีอ
้ ยู่ เพราะการเพาะปลูกพืชผัก
และผลไม้ทางการเกษตรนัน
้ คงจะหลีกเลี่ยงได้ยากว่าวัชพืชจะไม่ขน
ึ ้ หรือ
มีเลยในแปลงเกษตร การใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชก็เป็ นอีกทาง
เลือกเพื่อให้ได้ผลเร็วและเห็นผลในทันที

ในขณะเดียวกันดินที่ถูกปนเปื้ อนสารกำจัดวัชพืชเหล่านัน
้ มักจะพบ
สารเคมีสะสมอยู่บริเวณหน้าดินที่มีความลึก 1-2 นิว้ ส่วนใหญ่อนุภาคดิน
จะดูดซึมได้ดี และเมื่อโครงสร้างของเดินเสื่อมโทรม เช่น ขาดธาตุอาหาร
มีสารพิษเจือปน รวมทัง้ สภาพดินเค็ม สภาพดินเป็ นกรด และปั จจัยอื่นที่มี
ผลต่อความเสื่อมโทรมทรัพยากรดิน และที่สำคัญมากกว่านัน
้ ยิ่งเกษตรกร
มีความถี่ในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชมาก จะทำให้อินทรีย์วัตถุในดินรวมถึง
สิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลาย เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของสารเคมี
ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลง ทัง้ ความเป็ นกรด-ด่าง และสภาพ
ทางกายภาพของดินมีผลต่อจุลินทรีย์ในดินซึ่งเป็ นตัวการที่ทำให้เกิดการ
2

แปรสภาพของซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมอยู่ในดินเป็ นอินทรีย์วัตถุในดิน


จึงนำไปสู่การเสื่อมโทรมของดินส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดิน (วารสาร
วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-เมษายน, 2558)

ผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาลักษณะของดินโดยการหาค่าอินทรีย์วัตุใน
ดิน (soil organic matter) เพื่อเปรียบเทียบดินที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้ อน
และดินที่มีสารเคมีปนเปื้ อนอะลาคอร์ในการปลูกพืชและไม่ปลูกพืชว่า
ลักษณะสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไรและนำข้อมูลที่ได้มา
วิเคราะห์

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษาผลกระทบของสารเคมีอะลาคอร์ที่มีต่อลักษณะ
สมบัติดินที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช

1.2.2 เพื่อศึกษาว่าสารเคมีอะลาคอร์ส่งผลการเปลี่ยนแปลงของ
ลักษณะพืชที่ปลูกทัง้ ความยาวลำต้น ความกว้างใบและความยาวใบ
อย่างไร
3

1.3 ขอบเขตการวิจัย

1.3.1 ทำการเก็บตัวอย่างดินและวัดความสูงของลำต้น ความกว้าง


และความยาวใบตามวันที่กำหนดไว้ และทำการทดลองหาค่าปริมาณ
อินทรีย์วัตถุในดิน

1.3.2 ทำการทดลอง ณ Living Soil และแปลงเกษตรกร อำเภอ


สารภี

1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา

1.4.1 ทราบข้อมูลการตกค้างสารกำจัดวัชพืชอะลาคอร์

1.4.2 ทราบลักษณะสมบัติของดินเบื้องต้นจากค่าอินทรีย์ในดิน เพื่อ


เป็ นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพดินต่อไป

1.4.3 ทราบว่าอะลาคอร์ส่งผลการเปลี่ยนแปลงลักษณะของพืชที่
ปลูกในด้านความสูงลำต้น ความกว้างและความยาวใบ
4

บทที่ 2

ทฤษฎีและสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง

2.1 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticide: pest = ศัตรูพืช, -cide = การ


ฆ่าหรือกำจัด) คือ สารเคมีสังเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์ในการกำจัด ขับไล่
หรือหยุดยัง้ การเจริญเติบโตของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็ นแมลง วัชพืช โรคพืช
หรือสิ่งที่จะทำลายให้พืชผลเกิดความเสียหาย โดยทั่วไปเรียกว่ายาฆ่า
แมลงหรือยาฆ่าหญ้าตามวัตถุประสงค์ของการใช้ แต่การใช้คำว่า “ยา”
อาจเป็ นการสร้างความสับสนต่อผู้ใช้ เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็ นสาร
เคมีอันตรายทัง้ ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการใช้อย่างระมัดระวัง
เพราะในปริมาณน้อยนิดสารเคมีเหล่านีก
้ ็สามารถทำให้เกิดอาการพิษ
ต่างๆ หรือแม้แต่การเสียชีวิตได้ (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Thaipan, 2555)

สารกําจัดศัตรูพืชหมายถึง สารเคมีที่มีการนํามาใช้โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อควบคุม ป้ องกันและกําจัด ศัตรูของพืชชนิดต่างๆเช่น
แมลงต่างๆ รวมถึงสัตว์ฟันแทะ ทําให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึน

อีกทัง้ ยัง ช่วยป้ องกันและกําจัดโรคที่เกิดจากสัตว์เป็ นพาหะได้อีกทางหนึง่
ด้วย ทัง้ นีใ้ นทางกฏหมาย สารกําจัดศัตรูพืช ทุกชนิดจัดเป็ นวัตถุอันตราย
5

ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จึงจําเป็ นจะต้องมี มาตรการ


ควบคุม เพื่อจํากัดการผลิต การนําเข้าและการส่งออก ซึง่ สารบางชนิดจํา
เป็ นจะต้องมีการขออนุญาต เพื่อการมีไว้ใน ครอบครองอีกทัง้ สารบาง
ชนิดอีกด้วย

สําหรับการแบ่งกลุ่มของสารกําจัดศัตรูพืชหากใช้ชนิดของศัตรูพืชที่
ต้องการจะกําจัดเป็ นเกณฑ์จะ สามารถแบ่งออกได้เป็ น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกําจัดแมลง (Insecticides) ได้แก่ สารที่ใช้


ป้ องกัน กําจัด หรือขับไล่ศัตรูพืช และสัตว์ เช่น สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน
ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และ ไพรีทรอยด์

2. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกําจัดหนูและสัตว์ฟันแทะ (Rodenticides)
ได้แก่ สารที่ใช้ทําลายวัชพืชที่แย่ง น้ํ าแย่งอาหาร และแสงสว่างจากพืช
เพาะปลูก เช่น พาราควอท

3. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกําจัดเชื้อรา (Fungicides) ได้แก่ สารที่ใช้


ป้ องกันและฆ่าเชื้อรา เช่น แคปเทน 4. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกําจัด
วัชพืช (Herbicides) เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ วอร์ฟาริน

(สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2553)

สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ยาฆ่า


หญ้า” ในประเทศไทยมีใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว และมีแนวโน้ม
ว่าจะเพิ่มมากขึน
้ เรื่อยๆ เนื่องจากแรงงานในภาค เกษตรกรรมมีลดลง จึง
6

จำเป็ นต้องนำสารเคมีเข้ามาทดแทนมากขึน
้ ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนา
สารเคมีกลุ่มนีอ
้ อกมาจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึน
้ โดยมีการ
ปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพใน การกำจัดวัชพืชที่เฉพาะเจาะจงตาม
วัตถุประสงค์ของผู้ใช้

(คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์
พิษวิทยารามาธิบดี. 2558: ออนไลน์)

2.2 ชนิดของสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช

2.2.1 สารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชแบบจำแนกตามช่วงเวลาการใช้

2.2.1.1 สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูกจัดเป็ นสารเคมีที่ใช้


พ่นก่อนการตรียมดิน เพื่อฆ่าวัชพืชที่ขน
ึ ้ อยู่ก่อน แล้วจึงไถเตรียมดิน
หรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัด
วัชพืชประเภทนี ้ ได้แก่ ไกลโฟเซท (Glyphosate), พาราควอท
หรือที่ร้จ
ู ักกันดีในนาม กรัมม๊อกโซน (Gramoxone)

สรรพคุณ : เป็ นยาดูดซึมเพื่อใช้ป้องกันการขึน


้ ของหญ้า

อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : ยับยัง้ การหายใจระดับ


เซลล์ (Cellular Respiration) ในเซลล์พช
ื และสัตว์ที่มีช่ อ
ื ว่าไมโทคอนเด
รีย (Mitochondria)

2.2.1.2 สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกร


เรียกว่ายาคุมหญ้า เป็ นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนที่
วัชพืชจะงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน เป็ นการฉีดพ่นลง
ไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนีจ
้ ะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วน
7

ของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องฉีดพ่นในสภาพที่ดินมี


ความชื้นเหมาะสม สารกำจัดวัชพืชประเภทนีไ้ ด้แก่ บิวทาคลอร์,
เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน

สรรพคุณ : ใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้าง

อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : คลื่นไส้อาเจียน วิง


เวียนศรีษะ เป็ นลม และลมหายใจอ่อน

2.2.1.3 สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เกษตรกร


เรียกว่า ยาฆ่าหญ้าเป็ นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกขึน
้ มา
แล้วในช่วงเวลาเกินกว่า 10 วันขึน
้ ไป โดยพยายามฉีดพ่นให้สัมผัส
ส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนีไ้ ด้แก่ กลุ่มยา
2,4-ดีโซเดียมซอลท์ หรือที่ร้ก
ู ันในชื่อ ยาช้างแดง, ยาโปรปานิล ฟิ
โนซาพรอบ-พี-เอทิล

สรรพคุณ : ใช้ฆ่าหญ้าเพื่อไม่ให้หญ้างอกเร็วเกินไป

อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : เมื่อสารเคมีเหล่านี ้
สัมผัสถูกบาดแผลจะทำลายชัน
้ เนื้อเยื่อแบบต่อเนื่องไม่หยุด และมีอาการ
ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ลมหายใจมีกลิ่น
ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตาพร่ามัว พูดไม่ชัดกล้ามเนื้อกระตุก กัน

ปั สสาวะไม่อยู่ ชักหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากหัวใจและระบบ
โลหิตล้มเหลว ดังนัน
้ เกษตรกรจึงควรตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ยา
ฆ่ายาทุกชนิดและใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างถูกวิธี (บริษัท ซีพีไอ อะโกร
เทค จำกัด. มปป : ออนไลน์)
8

2.2.2 สารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชแบบจำแนกตามลักษณะการ
ทำลาย

2.2.2.1 สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม

1. กลุ่มไกลโฟเซต เป็ นสารเคมีกำจัดวัชพืชทำลายได้ทงั ้ ชนิดใบ


กว้างและใบแคบ แต่กำจัดได้ดีที่สุดกับชนิดใบแคบ ใช้กำจัดวัชพืชที่มีหัว
อยู่ใต้ดิน เช่น หญ้าคา แห้วหมู ไมยราบยักษ์ ใช้ฉีดพ่นทางใบแล้ววัชพืช
จะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ และเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3
หากต้องการให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มีใบ 4-8 ใบ หรือต้นที่แก่เต็มที่
หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล ไกลโฟเสทมีผลตกค้างในดิน
น้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินเป็ นตัวย่อยสลาย (ปั จจุบันสำนักงาน
คุ้มครองสิง่ แวดล้อมในสหรัฐฯ หรือ EPA ออกคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการ
เข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ยากำจัดวัชพืชชนิดนีเ้ ป็ นเวลา 12 ชั่วโมง
ภายหลังการฉีดพ่น และในบางประเทศ เช่น โปรตุเกส อิตาลี และนคร
แวนคูเวอร์ของแคนาดา ได้ออกกฎห้ามใช้สารไกลโฟเซตในพื้นที่สวน
สาธารณะต่าง ๆ ขณะที่ทางการศรีลังกาห้ามใช้ไกลโฟเซตเมื่อปี 2015

2. กลุ่ม 2,4- ดีโซเดียมซอลท์ เป็ นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเลือก


ทำลาย ใช้ฉีดพ่นทางใบจะเลือกทำลายเฉพาะวัชพืช ใบกว้าง และกก ผัก
ตบชวา ขาเขียด เทียนนา กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก การฉีดพ่นที่
ได้ผลดีไม่ควรมีฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง กลุ่ม 2, 4-ดีโซเดียมซอลท์ สลาย
ตัวในดินภายใน 1-4 สัปดาห์

2.2.2.2 สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัส


ตาย คือ
9

กลุ่มพาราควอต จัดอยู่ในชนิดเผาไหม้หรือสัมผัสตาย เกษตรกรไทยนิยม


ใช้ในพืชไร่ เป็ นยาเผาไหม้ออกฤทธิเ์ ร็วมาก ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตาย
์ ำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้
ได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง โดยไม่มีฤทธิท
ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ไม่ว่าจะ
เป็ นพืชใบกว้างหรือใบแคบ ก็ตาม เป็ นสารเคมี
์ ำลายได้เร็ว
ที่ออกฤทธิท มาก ดังนัน
้ ขณะที่
ฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ ละอองสารเคมีไป
สัมผัสกับต้นพืชที่ปลูก สาร เคมีกำจัดวัชพืช
กลุ่มนีจ
้ ะสลายตัวได้ 25-50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถูกแสงแดดจ้าภายในเวลา 3
สัปดาห์ นอกจากนี ้ เมื่อฉีดพ่นลงดินจะถูกอนุภาคของดินจับสารเคมีพา
ราควอตได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงไม่สามารถทำลายวัชพืชได้เลย
(ปั จจุบันมีการห้ามใช้พาราควอต อย่างน้อย 53 ประเทศทั่วโลกที่ ซึ่งรวม
ถึงประเทศในสหภาพยุโรป ที่ยกเลิกเมื่อปี 2007)

(บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด. มปป : ออนไลน์)

2.3 อะลาคอร์ (Alachlor)

รูปที่ 2.1 โครงสร้างทั่วไปทางเคมีของ Alachlor

ที่มา: https://hmong.in.th/wiki/Alachlor
10

2.3.1 คุณสมบัติ

ชื่อ IUPAC: 2-Chloro- N - (2,6-diethylphenyl) - N -


(methoxymethyl) acetamide

สูตรเคมี: C14 H20 Cl NO 2

มวลโมเลกุล: 269.767 ก. / โมล

ลักษณะ: ของแข็งสีครีม

กลิ่น: ไม่มีกลิ่น
3
ความหนาแน่น: 1.133 ก. / ซม

จุดหลอมเหลว: 39.5 ° C (103.1 ° F; 312.6 K)

จุดเดือด: 404 ° C (759 ° F; 677 K)

การละลายในน้ำ: 0.0242 ก. / 100 มล

ความสามารถในการละลาย: ละลายในอะซิโตน , เบนซิน ,


คลอโรฟอร์ม , เอทานอล , เอธิลอีเทอร์ ,

เอทิลอะซิเตท

ความดันไอ:1x10 6 มม. ปรอท

อันตรายหลัก: เป็ นพิษ

จุดวาบไฟ: 198 ° C (388 ° F; 471 K)

2.3.2 การใช้
11

การใช้อะลาคลอร์มากที่สุดคือการควบคุมหญ้าประจำปี และวัชพืช
ใบกว้างในพืชผลและการใช้อะลา-คลอร์ ถือเป็ นสิ่งผิดกฎหมายในสหภาพ
ยุโรปและปั จจุบันไม่มีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ อะลาคลอร์ ใน
สหรัฐอเมริกา

2.3.3 รายละเอียด

อะลาคลอร์ ผสมกับสารเคมีกำจัดวัชพืชอื่นๆ ได้ดี โดยออกวางขาย


ตลาดในสูตรผสมกับอาทราซีน, ไกลโฟเสต, ไตรฟลูราลินและ อิมาซาควิน
เป็ นสารกำจัดวัชพืชที่ได้รับการคัดเลือกและเป็ นระบบดูดซึมโดยหน่อที่
งอกและทางราก โหมดการออกฤทธิข์ องมันคือการยับยัง้ การยืดตัวและ
การยับยัง้ เอนไซม์ไซเคชัน geranylgeranyl pyrophosphate (GGPP)
ซึ่งเป็ นส่วนหนึ่งของจิบเบอเรลลิน กล่าวง่ายๆว่ามันทำงานโดยการ
รบกวนความสามารถของพืชในการสร้างโปรตีนและขัดขวางการเจริญ
เติบโตของราก (วิกิพเี ดีย, มปป : ออนไลน์)

2.4 ความเป็ นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ความเป็ นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำแนกตามชนิดของสารเคมี


ที่สำคัญ มีดังนี ้

1.สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิข์ ัดขวางการทำงานของระบบ


ประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึง่ มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการ
จับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อ
ต่าง ๆ ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการ
ทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มาก
12

พอที่จะ หยุดการทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ


อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้าม
เนื้ออ่อนแรง ตะคริว ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออก
มา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

2. สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนีม ์ ล้ายคลึงกับสา


้ ีการออกฤทธิค
รออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็ นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึน
้ เหมือนกับ
การได้รับสารออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่ร้ส
ู ึกตัวเกิดขึน
้ น้อย

3. สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนีถ
้ ูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับ
มาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้อ
อ่อนแรง เวียน ศีรษะ ปวดศีรษะ

4. สารไพรีทรอยด์ เป็ นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้


แบบเจือจาง สารกลุ่มนีถ
้ ูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ใน
ร่างกาย พบอาการชา หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตาม
ผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

5. สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิเ์ ร็วและจะ


์ ันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี ้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี
เสื่อมฤทธิท
ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนีม
้ ีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อ
เมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็ นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ
ระบบหายใจ พบอาการไอ เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทาน
เข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

6.สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็ นพิษมากเมื่อถูก


น้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟี น ทำลาย
13

เซลล์กระเพาะอาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด


ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะ
เวลา 2-3 ชั่วโมง

7.สารไธโอคาร์บาเมต เป็ นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการ


เกิดขึน
้ มีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง
แสบจมูก ไอ ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง
มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้ าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็น


ความสําคัญเป็ นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้ า
ระวังซึ่งสารกําจัดศัตรูพืชกลุ่มนีเ้ ป็ นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้ าระวังในการ
ใช้เนื่องจากเป็ นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็ นพิษสูง หรือมีการ
ตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อมสารทัง้ 12 ชนิดนี ้ ประกอบด้วย

1.อัลดิคาร์บ (Aldicarb)

2.บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)

3.คาร์โบฟูราน (Carbofuran)

4.ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)

5.อีพีเอ็น (EPN)

6.อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)

7.โฟมีทาเนต (Formethanate)

8.เมทิดาไธออน (Methidathion)
14

9.เมโทมิล (Methomyl)

10.อ๊อกซามิล (Oxamyl)

11.เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)

12.พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)

(กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2557)

2.5 อินทรียวัตถุในดิน

การใช้และการให้ความหมายของศัพท์ “Soil Organic Matter


(SOM)” ยังไม่ไปในทางเดียวกันหรือตรงกันทัง้ หมด ยกตัวอย่างเช่น คํา
ศัพท์ ฮิวมัส (humus) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางท่านใช้ในแง่ทีมีความหมาย
เดียวกับคําว่า soil organic matter (SOM) นั่นคือ หมายถึงวัสดุอินทรีย์
ทัง้ หมดในดินรวมทัง้ กลุ่ม humic substance ด้วย ในขณะเดียวกันคํา
ศัพท์ humus มักถูกใช้บ่อยมากเพื่อที่จะแทนความหมายเฉพาะกลุ่ม
humic substances เท่านัน

นอกจากนีย
้ ังมีการแบ่ง SOM เป็ นส่วนที่ตายแล้วหรือไม่มีชีวิต
(nonliving) เช่น ฮิวมัส และส่วนที่สลายตัวไปบางส่วนและยังคงเป็ นชิน

(particulate organic matter- POM) เป็ นต้น และส่วนทีมีชีวิต (living)
เช่น รากพืชทีมีชีวิต มวลชีวภาพจุลินทรีย์ การให้นิยาม SOM ทีแตกต่าง
กัน บางนิยาม SOM มีเฉพาะส่วนทีไม่มีชีวิตเท่านัน
้ นอกจากนี ยังมีการถก
เถียงกันว่า ขอบเขตของ SOM ใน soil profile จะรวมเศษซากพืชทียังไม่
สลาย (litter) ทีชน
ั ้ บนสุดของ soil profile ด้วยหรือไม j
15

โดยทั่วไปแล้ว SOM จึงใช้แทนองค์ประกอบทางอินทรีย์ของดินใน


รูปแบบต่างๆ ซึงรวมถึง วัสดุพืชและสัตว์ทียังไม่สลายตัว (undecayed
plant and animal materials) ซึ่งอาจจะมีชีวิตอยู่หรือเป็ นส่วนที่ตาย
แล้วก็ได้ อีกส่วนคือส่วนที่กําลังสลายตัว เช่นส่วนทีเป็ นชิน
้ (particulate
organic matter) และได้สารประกอบที่เป็ นผลิตผลของการสลายตัว
มวลชีวภาพจุลินทรีย์ (soil microbial biomass) และส่วนที่สลายตัว
สมบูรณ์หรือคงทนต่อการสลายตัว (stabilized organic matter)

(ปั ทมา วิตยากร. 2547. ความอุดมสมบูรณ์ของดินขัน


้ สูง. ภาควิชา
ทรัพยากรทีดินและสิงแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น)

อินทรียวัตถุในดิน (soil organic matter) หรือเรียกอีกอย่าง


หนึ่งว่า ฮิวมัส (humus) มีความหมายครอบคลุมตัง้ แต่ส่วนของซากพืช
หรือซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์ของจุลินทรีย์ทงั ้ ที่ยังมีชีวิตอยู่และส่วน
ของจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิต ไปจนถึงสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายหรือ
ส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขน
ึ ้ มาใหม่ โดยไม่รวมถึงรากพืชหรือเศษซากพืชหรือ
ซากสัตว์ที่ยังไม่ย่อยสลาย ดังนัน
้ อินทรียวัตถุในดินจึงประกอบไปด้วยสาร
อินทรีย์แทบทุกชนิดที่เกิดขึน
้ ได้ตามธรรมชาติ อินทรียวัตถุในดินนีน
้ ับได้
ว่าเป็ นองค์ประกอบสำคัญของดินที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่าง ๆ
ของดิน ทัง้ ที่เป็ นสมบัติทางเคมี ทางฟิ สิกส์ และ ทางชีวภาพ ส่งผลกระ
ทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสามารถในการให้
ผลผลิตของดิน รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
โดยตรง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน
เนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)
16

2.5.1 สมบัติของอินทรียวัตถุในดิน

สมบัติโดยทั่วไปของอินทรียวัตถุในดินนัน
้ กล่าวถึงได้หลาย
ประการ เมื่อดูจากสมบัติทางกายภาพแล้วจะพบว่าอินทรียวัตถุในดินมีสี
น้ำตาลเข้มจนถึงดำ ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจึงมักมีสีคล้ำ ซึ่งสีที่เข้มขึน
้ นี ้
อาจมีส่วนทำให้อุณภูมิโดยรวมของดินสูงขึน
้ เนื่องจากดินสีคล้ำดูดกลืน
รังสีความร้อนได้ดีกว่าดินสีจาง อินทรียวัตถุในดินมีความสามารถในการ
ดูดซับน้ำไว้ได้ในปริมาณมาก กล่าวได้ว่าเป็ น 6-20 เท่า ของน้ำหนัก
เนื่องจากอินทรียวัตถุมีสภาพเป็ นอนุภาคขนาดเล็กและมีลักษณะเป็ นสาร
คอลลอยด์ จึงมีพ้น
ื ที่ผิวในการดูดซับน้ำไว้ได้มากเป็ นพิเศษ นอกจากนี ้
แล้วอนุภาคของอินทรียวัตถุยังประกอบกันเป็ นโครงสร้างที่มีลักษณะ
คล้ายฟองน้ำ มีช่องขนาดเล็กที่ดูดซับน้ำได้ดีอยู่เป็ นจำนวนมาก ดังนัน

การใส่อินทรียวัตถุลงไปในดินจึงช่วยเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ
ของดินทรายหรือดินเนื้อหยาบได้ดี

ความสามารถในการเชื่อมอนุภาคดินของอินทรียวัตถุนน
ั ้ นับได้ว่า
มีสูงมาก การเกาะยึดหรือรวมตัวของอินทรียวัตถุกับอนุภาคต่าง ๆ ในดิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอนุภาคดินเหนียวหรือกับเซลล์จุลินทรีย์นน
ั ้ มี
ประสิทธิภาพสูงยิ่ง ทัง้ นีเ้ ป็ นผลเนื่องมาจากประจุในส่วนที่แตกต่างกัน
ระหว่างอินทรียวัตถุกับดินเหนียว หรือเกิดจากการยึดเกาะระหว่างประจุ
ลบของอนุภาคทัง้ สองโดยมีประจุลบที่มีค่าต่าง ๆ หลาย ๆ ค่ามาเป็ นตัว
เชื่อมโยง การสร้างสารเชื่อมโยงโดยจุลินทรีย์ทำให้ดินเหนียวเกาะยึดกัน
เป็ นเม็ดดิน ซึ่งเม็ดดินเหล่านีเ้ ป็ นหน่วยโครงสร้างย่อยที่อาจจะรวมกลุ่ม
กันเป็ นจำนวนมากก่อให้เกิดโครงสร้างของดินที่สามารถดูดซับน้ำไว้ได้
17

มาก และในขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้ดินมีสภาพร่วนซุย มีการซาบซึมน้ำ


และ ระบายอากาศได้ดี

ตามปกติแล้วส่วนที่ละลายน้ำได้ของอินทรียวัตถุในดินนัน
้ มีอยู่
น้อยมาก ซึ่งปริมาณที่พบมักจะต่ำกว่า 1% อินทรียวัตถุส่วนใหญ่เป็ นพวก
ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น เซลล์ของจุลินทรีย์ เซลลูโลส ลิกนิน ไคติน สารฮิวมิก
และ สารอินทรีย์อ่ น
ื ๆ ที่เกาะยึดกับดินเหนียวหรือทำปฏิกิริยากับแคต
ไอออนซึ่งอยู่ในสภาพไม่ละลายน้ำ ดังนัน
้ การสูญเสียอินทรียวัตถุในดิน
โดยการสลายสูญหายไปกับการชะล้างของน้ำจึงเกิดขึน
้ เป็ นเพียงส่วนน้อย
เท่านัน
้ เมื่อเทียบกับการถูกย่อยสลายไปโดยจุลินทรีย์ดิน

ความสามารถในการดูดซับไอออนของอินทรียวัตถุในดินนัน
้ สูง
มากและโดยทั่วไปจะสูงกว่าการดูดซับไอออนโดยสารคอลลอยด์อ่ น
ื ๆ คือ
สูงกว่าเป็ น 2-30 เท่า และในดินทั่วไปปริมาณของแคตไอออนที่ถูกดูดซับ
โดยอินทรียวัตถุในดินอยู่ในช่วง 30-90% ของปริมาณดินที่ดูดซับได้
ทัง้ หมด ทัง้ นีค
้ วามสามารถในการดูดซับดังกล่าวมาจากประจุลบที่มีอยู่
เป็ นจำนวนมากในอินทรียวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการแตกตัวของ
สารประกอบบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารในกลุ่มคาร์บอกซิลิก และ
กลุ่มฟี โนลิก นอกจากความสามารถในการดูดซับแคตไอออนแล้วโมเลกุล
ของอินทรียวัตถุในดินยังมีประจุบวกอยู่เป็ นบางส่วน ทำให้สามารถดูดซับ
แอนไอออนได้ด้วย ประจุบวกดังกล่าวนีเ้ กิดขึน
้ จากกระบวนการเติม
โปรตอนของสารประกอบกลุ่มอะมีนบนอณุภาคของอินทรียวัตถุ ซึง่
ประโยชน์ที่ได้จากความสามารถในการดูดซับประจุของอินทรียวัตถุในดิน
ดังกล่าวนีม
้ ีความสำคัญมากในการป้ องกันไม่ให้ธาตุอาหารพืชถูกละลาย
สูญหายไปกับน้ำได้โดยง่าย
18

ผลที่เกิดจากการที่อินทรียวัตถุในดินมีประจุลบเป็ นจำนวนมาก
และสามารถดูดซับประจุแคตไอออนได้สูงนัน
้ มีส่วนทำให้ดินที่มีอินทรีย
วัตถุสูงมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็ นกรดเป็ นด่างของดิน
ได้ดี ดังนัน
้ ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจึงมีความสามารถในตัวเองในการช่วย
ปรับ pH ไม่ให้เป็ นกรดหรือเป็ นด่างมากจนเกินไป ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม
สารประกอบที่มีสมบัติเป็ นกรดหรือเป็ นด่างก็ตามลงไปในดินนัน
้ ซึง่ การ
ปรับให้ pH เป็ นกลางนัน
้ จะเกิดขึน
้ ทันทีเมื่อมีการเพิ่มความเป็ นกรดเป็ น
ด่างให้กับดินนัน
้ ดังนัน
้ โอกาสที่กรดหรือด่างจะสะสมในสารละลายดินจึง
มีน้อยมากถ้าดินนัน
้ มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่ในประมาณที่เหมาะสมโดยตรง
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.2 การสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินและจุลินทรีย์ดิน

กกกกกกกกดินที่มีอินทรียวัตถุจะมีจุลินทรีย์ดินคอยย่อยสลายอินทรีย
วัตถุและทำให้ดินนัน
้ ปลดปล่อยธาตุที่เป็ นองค์ประกอบของสารอินทรีย์
ออกมา โดยเฉพาะ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ กำมะถัน นอกจากนีแ
้ ล้ว
การสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินยังมีผลทางอ้อมอีกด้วย เนื่องจากกรด
อินทรีย์หรือกรดคาร์บอนิคที่เกิดขึน
้ จากคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจาก
การย่อยสลายของอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์ดินนัน
้ สามารถช่วยสลาย
สารประกอบของธาตุอาหารบางชนิดให้เป็ นประโยชน์ต่อพืช และอีก
ประการหนึ่งการสลายตัวของอินทรียวัตถุทำให้เกิดสารคีเลตซึ่งสารนีเ้ ป็ น
ประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน
19

สารอินทรีย์เป็ นแหล่งอาหารหรือแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับ
จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ในดิน ดังนัน
้ ปริมาณและคุณภาพของสารอินทรีย์จึงมี
ผลกระทบต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์เหล่านัน
้ โดยตรง เช่น การตรึง
ไนโตรเจน การรีดิวซ์ไนเตรทให้เป็ นกาซไนตรัสออกไซด์หรือกาซ
ไนโตรเจน และการเกิดกาซมีเทน เป็ นต้น การที่ดินมีอินทรียวัตถุใน
ปริมาณที่พอเพียงจะช่วยให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินมีเพิ่มขึน
้ ตามไปด้วย
ซึ่งมีผลกระทบต่อการแปรสภาพของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน

การสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินเกิดขึน
้ เมื่อมีเศษซากของสิ่งมี
ชีวิตที่ตายไปแล้วทับถมกันลงไปบนผิวดินหรือถูกผสมคลุกเคล้าลงไปใน
ดิน ซากของสิ่งมีชีวิตเหล่านัน
้ จะถูกสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กัดกินหรือย่อยสลาย
ไปเป็ นอาหาร สัตว์ขนาดใหญ่ เช่น แมลง กิง้ กือ ไส้เดือน กัดกินซากดัง
กล่าวแล้วย่อยให้มีขนาดเล็กลง ในขณะที่จุลินทรีย์ดินที่มีอยู่ทั่วไปเข้า
สลายและแปรสภาพสารอินทรีย์จากซากดังกล่าวให้เป็ นอาหารด้วยการ
ขับเอนไซม์ออกมานอกเซลล์แล้วย่อยอินทรีย์สารให้มีขนาดเล็กลงจน
สามารถซึมผ่านเข้าไปภายในเซลล์ของจุลินทรีย์เหล่านัน
้ ได้ จากนัน
้ จึงนำ
เอาสารที่ย่อยได้ไปใช้เป็ นแหล่งพลังงานหรือเป็ นสารอาหารเพื่อการเจริญ
เติบโตของเซลล์ต่อไป การย่อยสลายโดยสิ่งมีชีวิตทัง้ ขนาดใหญ่และขนาด
เล็กรวมทัง้ โดยจุลินทรีย์ดินทำให้สารประกอบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ สูญ
สลายไป

ในขณะที่มีการย่อยสลายของอินทรียวัตถุถ้าหากในดินมีการถ่ายเท
อากาศดีจะทำให้การย่อยสลายเกิดขึน
้ ค่อนข้างสมบูรณ์ สารประกอบต่าง
ๆ จะแปรสภาพไปเป็ นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และ ธาตุต่างๆ ในขณะที่
บางส่วนถูกเปลี่ยนเข้าไปเป็ นองค์ประกอบของเซลล์จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิต
20

อื่นบางชนิด อีกส่วนหนึ่งแปรสภาพไปเป็ นสารฮิวมิกซึ่งเป็ นสารประกอบที่


คงทนต่อการสลายตัวและคงตกค้างอยู่ในดิน แต่ตามความเป็ นจริงแล้ว
การสลายตัวที่เกิดขึน
้ ในดินจริง ๆ นัน
้ มักจะเกิดขึน
้ ได้ไม่สมบูรณ์ เพราะ
ปริมาณของออกซิเจนมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดินมีความชื้น
สูงหรือดินมีน้ำขัง ซึง่ ในสภาพดังกล่าวนีจ
้ ะเกิดสารประกอบที่ย่อยสลาย
ไม่สมบูรณ์ส่วนหนึ่งให้คงเหลืออยู่ในดินด้วย

แหล่งที่มาของอินทรียวัตถุในดินตามธรรมชาติมาจากพืชเป็ น
ส่วนใหญ่ การสลายตัวของเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือ ซากจุลินทรีย์ มีรูป
แบบของการสลายตัวใกล้เคียงกับพืช เพียงแต่มีสารประกอบที่ย่อยสลาย
ได้ง่ายอยู่ในปริมาณที่มากกว่า และไม่มีผนังเซลล์แบบพืชซึ่งมีเซลลูโลส เฮ
มิเซลลูโลส และ ลิกนิน เป็ นองค์ประกอบสำคัญ

อัตราการสลายตัวของเศษซากพืชมีปัจจัยหลายอย่างควบคุม เช่น
ธรรมชาติของสารประกอบอินทรีย์ในพืช อัตราส่วนระหว่างอินทรีย์
คาร์บอนและไนโตรเจนทัง้ หมด (C/N ratio) ของเศษพืช ตลอดจนสภาพ
แวดล้อมขณะเกิดการสลายตัว อันได้แก่ การถ่ายเทของอากาศในดิน
ระดับความชื้น อุณหภูมิ และ ความเป็ นกรดเป็ นด่างของดินโดยตรง
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.3 การย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์ดิน

กกกกกกกกสารประกอบที่มีมากที่สุดในพืชได้แก่เซลลูโลส รองลงมาคือเฮ
มิเซลลูโลส ลิกนิน โปรตีน แป้ ง และ น้ำตาล ตามลำดับ จุลินทรีย์มีความ
สามารถในการย่อยสลายสารประกอบเหล่านีไ้ ด้ยากหรือง่ายแตกต่างกัน
21

ไป สำหรับน้ำตาล กรดอะมิโน และ กรดอินทรีย์ต่าง ๆ ที่ละลายน้ำได้มัก


จะเป็ นส่วนที่จุลินทรีย์ไม่ต้องย่อยสลายและสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง
ส่วนแป้ งหรือโปรตีนนัน
้ จุลินทรีย์จะต้องย่อยสลายสารประกอบเหล่านีใ้ ห้
เป็ นน้ำตาลหรือกรดอะมิโนก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่อย่างไร
ก็ตามสารประกอบทัง้ สองอย่างนีก
้ ็ยังจัดว่าเป็ นสารประกอบที่ย่อยสลาย
ได้ง่ายเช่นกัน จึงเป็ นสารชุดที่จุลินทรีย์ย่อยได้ก่อนแล้วใช้เป็ นแหล่ง
อาหารสำคัญเพื่อช่วยให้ประชากรของจุลินทรีย์เพิ่มขึน
้ อย่างรวดเร็วใน
ช่วงแรก ๆ ของการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับเฮมิเซลลูโลสนัน

สารประกอบนีม
้ ีสมบัติเป็ นโพลิเมอร์ของน้ำตาลเฮกโซส น้ำตาลเพ็นโทส
และ กรดยูโรนิก ตามโครงสร้างแล้วเฮมิเซลลูโลสย่อยสลายได้ง่าย แต่ใน
ธรรมชาติสารนีม
้ ักจะเกาะกันกับสารอื่นเกิดแล้วเป็ นโครงสร้างที่ซับซ้อน
มากขึน
้ เช่น เซลลูโลส หรือ ลิกนิน จึงทำให้เฮมิเซลลูโลสนัน
้ ย่อยสลายได้
ยากกว่า ส่วนเซลลูโลสซึ่งเป็ นสารที่พบมากที่สุดในพืช ประกอบด้วย
โมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับแป้ ง แต่มีโครงสร้างที่แข็งแรงและ
ย่อยสลายได้ยาก สำหรับลิกนินพบว่ามีอยู่ในพืช 10-30% เป็ น
สารประกอบที่มีโครงสร้างของโมเลกุลที่ซับซ้อน การที่ลิกนินมีสมบัติใน
การย่อยสลายได้ยากประกอบกับการที่มีอยู่เป็ นจำนวนค่อนข้างมากในพืช
จึงทำให้ปริมาณลิกนินในพืชชนิดต่าง ๆ เป็ นปั จจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะ
กำหนดว่าเศษพืชเหล่านัน
้ จะสลายได้ยากหรือง่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อ
พืชมีอายุมากขึน
้ การสะสมของลิกนินภายในต้นพืชก็จะมากขึน
้ ด้วยและมี
ผลให้เศษที่ได้จากต้นพืชที่มีอายุมากนัน
้ สลายตัวยากขึน
้ ไปอีก

ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อนำไปใช้สำหรับการเจริญ
เติบโตของจุลินทรีย์นน
ั ้ นอกจากจุลินทรีย์จะย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อให้
22

ได้พลังงานมาใช้แล้ว จุลินทรีย์ยังต้องนำเอาธาตุจากสารอินทรีย์ดังกล่าว
ไปใช้ในการสร้างสารประกอบต่าง ๆ ของเซลล์อีกด้วย โดยเฉพาะ
คาร์บอนซึ่งต้องนำมาใช้สังเคราะห์สารประกอบที่เป็ นโครงสร้างหลักของ
เซลล์ นอกจากนีย
้ ังต้องใช้ไนโตรเจนมาสร้างองค์ประกอบสำคัญของ
โปรตีน กรดอะมิโน และ กรดนิวคลีอิก ซึ่งมีอยู่มากมายในเซลล์จุลินทรีย์
ดังนัน
้ อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์จึงมัก
จะเป็ นปั จจัยที่ชว
ี ้ ่าการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านัน
้ จะมีไนโตรเจนเพียง
พอกับความต้องการของจุลินทรีย์และทำให้การย่อยสลายสารอินทรีย์
ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ อัตราส่วนของคาร์บอนและ
ไนโตรเจนที่จัดว่าเพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 20/1
ถึง 30/1 แต่ถ้าเศษพืชมีอัตราส่วนดังกล่าวสูงหรือกว้างกว่า 30/1 ขึน
้ ไป
กลับจะไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากว่าการที่มีคาร์บอนมากในขณะที่
ไนโตรเจนมีในปริมาณที่จำกัดมีผลให้การย่อยสลายเศษพืชไม่เกิดได้เร็ว
เท่าที่ควร ทำให้จุลินทรีย์ต้องไปดึงเอาไนโตรเจนในดินซึ่งอยู่ในรูปของ
แอมโมเนียมหรือไนเตรทและเป็ นสารอนินทรีย์มาใช้ในการสร้างเป็ นองค์
ประกอบของเซลล์ ทำให้ไนโตรเจนในดินที่เป็ นประโยชน์ต่อพืชลด
ปริมาณลง ในทางกลับกันถ้าหากเศษพืชมีไนโตรเจนมากจะทำให้
อัตราส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจนแคบลง ดังเช่นที่พบในพืชตระกูลถั่ว
โดยที่อาจจะมีอัตราส่วนแคบถึง 20/1 ก็จะทำให้มีไนโตรเจนเหลือมาก
พอที่จะปลดปล่อยออกมาสูส
่ ภาพแวดล้อมในรูปของแอมโนเนียมได้

โดยทั่วไปแล้วประมาณ 2/3 ของสารอินทรีย์คาร์บอนจะถูกออก


ซิไดส์ให้เป็ นคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสร้างพลังงานของ
จุลินทรีย์ ที่เหลืออีก 1/3 จึงเป็ นส่วนที่จุลินทรีย์นำไปใช้ในการสร้างเซลล์
23

ดังนัน
้ ในการย่อยสลายของสารอินทรีย์ค่าอัตราส่วนของคาร์บอนและ
ไนโตรเจนในเศษพืชจึงลดลงเรื่อย ๆ ตามอัตราการสลายตัวของเศษพืช
แล้วมาอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ที่ 12/1 ถึง 10/1 ซึง่ เป็ นค่าอัตราส่วนของ
คาร์บอนและไนโตรเจนของของเซลล์จุลินทรีย์และของอินทรียวัตถุในดิน
ตามลำดับโดยตรง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.4 ปั จจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการย่อยสลายสารอินทรีย์
ของจุลินทรีย์ดิน

กกกกกกประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์
ดินไม่เพียงแต่จะขึน
้ อยู่กับปริมาณหรือคุณภาพของสารอินทรีย์เท่านัน

สภาพแวดล้อมนับได้ว่าเป็ นปั จจัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อ
อัตราความเร็วของการย่อยสลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพของการ
ระบายอากาศหรือปริมาณของออกซิเจนในดินซึ่งเป็ นปั จจัยที่กำหนด
ประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน ในขณะเดียวกัน
ปั จจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน อันได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ
และ ความเป็ นกรดเป็ นด่างของดินก็มีผลต่ออัตราการย่อยสลายของสาร
อินทรีย์ในดินเช่นกัน

ด้วยเหตุที่กระบวนการหายใจโดยใช้ออกซิเจนเป็ นกระบวนการ
สร้างพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดของจุลินทรีย์ดินดังนัน
้ สภาพของการ
ระบายอากาศในดินจึงมีผลโดยตรงต่อกิจกรรมการย่อยสลายเศษพืชของ
จุลินทรีย์เหล่านัน
้ การย่อยเกิดขึน
้ ได้รวดเร็วในสภาพที่มีออกซิเจน และ
24

การย่อยสลายดังกล่าวเกิดขึน
้ ค่อนข้างสมบูรณ์และสลายจนกลายเป็ น
คาร์บอนไดออกไซด์ในที่สุด จุลินทรีย์ดินกลุ่มหลักในการทำให้เกิดการ
แปรสภาพในลักษณะนีเ้ ป็ นจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรียที่ต้องการอากาศ
เชื้อรา และ แอคทิโนมัยซีท ในดินที่มีเนื้อหยาบหรือดินที่มีการไถพรวน
บ่อย มีการระบายอากาศดี อัตราการสลายตัวของสารอินทรีย์จะเกิดขึน

ได้เร็ว มีระดับอินทรียวัตถุเหลืออยู่ในดินค่อนข้างต่ำ และในทางกลับกัน
ดินที่อยู่ในสภาพขาดอากาศหรือมีน้ำท่วมขังนัน
้ การสลายตัวของสาร
อินทรีย์เกิดขึน
้ ได้น้อยและไม่สมบูรณ์ สารที่เกิดขึน
้ มักจะเป็ นกรดอินทรีย์
แอลกอฮอล์ และ สารอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น อะมีน อัลดีไฮด์ คีโตน
พร้อมทัง้ เกิดกาซต่าง ๆ อีกมากมาย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มหลักที่ทำให้เกิด
การแปรสภาพของสารอินทรีย์แล้วเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแม้แต่มีเทนนัน
้ เป็ นแบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการ
อากาศ ส่วนเชื้อราและแอคทิโนมัยซีทจะชงักการเจริญเติบโตเมื่อมี
ออกซิเจนในดินต่ำ

น้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ มีอิทธิพลต่อ
กิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสาร
อินทรีย์ เป็ นตัวทำละลายสารประกอบของธาตุอาหารต่าง ๆ ตลอดจน
เป็ นที่อยู่อาศัยและช่วยในการเคลื่อนที่ของจุลินทรีย์ นอกจากนีย
้ ังมีผลต่อ
การถ่ายเทอากาศในดินอีกด้วย ดังนัน
้ ระดับของความชื้นในดินจึงมีความ
สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัตราการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในดิน ระดับ
ความชื้นที่พอเหมาะต่อการย่อยสลายอยู่ระหว่าง -0.01 ถึง -0.05 เมกะ
พาสคาล ทัง้ นีข
้ น
ึ ้ อยู่กับความสามารถในการทนสภาพแห้งแล้งของกลุ่ม
จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องและอัตราการทำงานของเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์เหล่า
25

นัน
้ ทัง้ นีใ้ นดินที่มีสภาพของความชื้นค่อนข้างต่ำนัน
้ จุลินทรีย์ที่มีบทบาท
ในการย่อยสลายอินทรียวัตถุมักจะเป็ นเชื้อราและแอคทิโนมัยซีทซึ่งส่วน
ใหญ่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าแบคทีเรีย

กระบวนการทางเคมี ฟิ สิกส์ และ กิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินมี


อุณหภูมิเป็ นปั จจัยที่ควบคุมทัง้ สิน
้ อุณหภูมิที่สูงขึน
้ มีผลในการเร่งอัตรา
การสลายตัวของอินทรียวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 25-35 –ซ ซึ่งเป็ น
ช่วงที่นับได้ว่าเหมาะสมต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงเป็ นเหตุผลที่ว่าดินใน
เขตร้อนชื้นของประเทศไทยมีอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ
ประเทศในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่น

ปั จจัยที่มีผลกระทบต่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินอีกปั จจัย
หนึ่งคือความเป็ นกรดเป็ นด่างของดิน โดยที่การสลายตัวเกิดขึน
้ ในดินที่มี
สภาพเป็ นกลางได้รวดเร็วกว่าดินที่มีสภาพเป็ นกรดเกินไปหรือเป็ นด่าง
เกินไป ดินที่เป็ นกรดจัดหรือเป็ นด่างจัดจึงแสดงผลในทางยับยัง้ ในดินที่
เป็ นกรดค่อนข้างมาก เช่น มี pH เท่ากับ 5.5 หรือต่ำกว่าจะพบว่า
กิจกรรมของแบคทีเรียและแอคทิโนมัยซีทลดลงมากในขณะที่เชื้อรายัง
คงทนอยู่ได้ ทำให้การย่อยสลายของอินทรียวัตถุในดินที่มีสภาพดังกล่าว
เกิดจากเชื้อราเสียเป็ นส่วนใหญ่

การย่อยสลายของเศษซากพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เกิดขึน
้ ได้
รวดเร็วในช่วงแรกหลังจากนัน
้ อัตราการย่อยสลายจะลดลง ช้าลงเรื่อย ๆ
เนื่องจากสารอินทรีย์ได้กลายสภาพไปเป็ นสารฮิวมิกซึ่งเป็ นสารประกอบที่
มีโครงสร้างซับซ้อนและสลายตัวได้ยากดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่ก็ยัง
26

คงมีการสลายตัวต่อไปอีกจนในที่สุดกลายสภาพไปเป็ น
คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

สารฮิวมิกเป็ นส่วนของอินทรียวัตถุในดินที่ทำปฏิกิริยาได้ดีใน
ธรรมชาติ สารนีเ้ กาะยึดอยู่กับเซลล์จุลินทรีย์หรืออนุภาคของสารอนินท
รีย์ต่าง ๆ เช่น ดูดซับอยู่กับอณุภาคดินเหนียว หรือเกาะยึดกับสารประ
กอบพวกไฮดรัสออกไซด์ เป็ นต้น การแปรสภาพของสารอินทรีย์ไปเป็ น
สารฮิวมิกเป็ นกระบวนการที่มีหลายขัน
้ ตอนและเกิดได้หลายรูปแบบ ขึน

อยู่กับองค์ประกอบของสารอินทรีย์ สภาพแวดล้อม และจุลินทรีย์ที่
เกี่ยวข้องโดยตรง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.5 ความสัมพันธ์ของอินทรียวัตถุในดินและความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

อินทรียวัตถุในดินมีความสำคัญในแง่ของการบ่งบอกถึง
ความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละแห่งดังที่กล่าวแล้ว แต่ปริมาณอินทรีย
วัตถุในดินแต่ละแห่งนัน
้ ยังขึน
้ อยู่กับปั จจัยหลายอย่างดังที่เห็นได้จากดิน
ในเขตทุ่งหญ้าซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีระดับของอินทรียวัตถุในดินสูงกว่าดิน
ในเขตของพื้นที่ป่าเนื่องจากว่าในทุ่งหญ้ามีปริมาณของเศษซากพืชคลุก
เคล้าลงไปในดินในปริมาณที่มากกว่า ดินที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกมาเป็ น
เวลานานจะมีอินทรียวัตถุในระดับต่ำ เพราะการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างใน
การทำการเกษตรมีผลในการลดปริมาณเศษพืชที่จะลงไปสู่ดิน และการ
ปฏิบัติบางอย่างมีส่วนในการเร่งอัตราการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน
เป็ นต้น ดังนัน
้ จึงกล่าวได้ว่ามีปัจจัยหลายปั จจัยที่มีผลต่อปริมาณของอิน
27

ทรียวัตถุในดิน โดยที่ปัจจัยที่มีความสำคัญได้แก่ ชนิดและปริมาณของพืช


ที่ปกคลุมพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ สมบัติของดิน และ ระบบการเกษตรใน
พื้นที่แต่ละแห่งโดยตรง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.6 ปั จจัยที่มีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

พืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการผลิตชีวมวล
(biomass)ได้แตกต่างกัน พืชพรรณบางชนิดเจริญเติบโตได้หนาแน่นจึง
สร้างชีวมวลได้มาก มีระยะเวลาในการเจริญเติบโตปกคลุมพื้นดินได้นาน
เช่น พืชพรรณในทุ่งหญ้า พืชพรรณเหล่านีม
้ ีระบบรากฝอยที่หนาแน่น
และมีการปลดปล่อยสารอินทรีย์ออกมาจากเศษซากของรากซึ่งอยู่ในดิน
ได้มาก รวมทัง้ มีการร่วงหล่นทับถมของใบและต้นลงสู่ดินตลอดช่วงเวลา
ของการเจริญเติบโตของพืชเหล่านัน
้ ส่งผลให้ดินทุ่งหญ้ามีปริมาณอินทรีย
วัตถุสูงกว่าพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร นอกจากพืช
พรรณต่างชนิดกันจะมีปริมาณของชีวมวลที่แตกต่างกัน เศษซากของพืช
ต่างชนิดเหล่านัน
้ ก็จะเป็ นเศษซากพืชที่มีคณ
ุ ภาพแตกต่างกันไปด้วย เศษ
ซากเหล่านีจ
้ ะถูกย่อยสลายได้เร็วหรือช้าไม่เท่ากัน ทัง้ ยังแปรสภาพเป็ น
สารฮิวมิกได้ในปริมาณที่ไม่เท่ากันอีกด้วย

สภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณของฝน ตลอดจนการกระ


จายของฝน มีผลต่อชนิดและความหนาแน่นของพืชพรรณ มีผลต่อ
ความเร็วหรือช้าของการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน พื้นที่ที่มีฝนมาก
และฝนกระจายดีจะมีพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามส่งผลให้ผืนดินนัน
้ ๆ
มีสารอินทรีย์ทับถมและคลุกเคล้าอยู่ในดินในปริมาณมาก แต่อย่างไร
28

ก็ตามการคาดเดาถึงปริมาณของอินทรียวัตถุในดินไม่สามารถจะอาศัยการ
ประมาณจากปริมาณฝนแต่เพียงอย่างเดียวจะต้องคำนึงถึงระดับของ
อุณหภูมิในพื้นที่อีกด้วยเนื่องจากอุณหภูมิในระดับสูงจะเร่งให้การสลาย
ตัวของอินทรียวัตถุในดินให้เกิดเร็วขึน
้ และเกิดในอัตราที่เพิ่มขึน
้ ด้วยเช่น
กัน

ในแง่ของสมบัติของดิน เช่น เนื้อดิน โครงสร้างดิน ความอุดม


สมบูรณ์ของดิน ความเป็ นกรดเป็ นด่าง ความเค็มของดิน และอื่น ๆ พบ
ว่ามีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและการสลายตัวของอินทรียวัตถุ
ในดินด้วยเช่นกัน ดินที่มีสมบัติดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
พรรณจะช่วยให้เกิดการสร้างชีวมวลในปริมาณมาก มีผลให้ดินมีปริมาณ
ของสารอินทรีย์เพิ่มเติมลงไปในดินในแต่ละปี ได้มาก แต่ในขณะเดียวกัน
สมบัติของดินก็มีผลโดยตรงต่อการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในดินด้วย
เช่นกัน โดยเฉพาะเนื้อดินซึง่ เป็ นปั จจัยที่กำหนดสภาพของการระบาย
อากาศของดิน กล่าวคือ ดินเนื้อหยาบซึง่ มีการถ่ายเทอากาศดีนน
ั้
จุลินทรีย์ในดินที่มีลักษณะเช่นนีย
้ ่อมย่อยสลายอินทรียวัตถุได้รวดเร็วกว่า
การย่อยสลายในดินเนื้อละเอียดซึ่งมีการระบายอากาศที่ไม่ดีนักและการ
ย่อยสลายอินทรียวัตถุเกิดขึน
้ ได้ไม่มาก ประกอบกับดินเนื้อละเอียดนัน

สามารถเก็บรักษาน้ำและแร่ธาตุอาหารไว้ได้มากกว่าดินเนื้อหยาบจึงช่วย
ให้ต้นพืชเจริญเติบโตได้ดี และมีปริมาณอินทรียวัตถุมากกว่าดินเนื้อหยาบ

ระบบการเกษตรหรือวิธีการเพาะปลูกพืชมีผลต่อระดับอินทรีย
วัตถุในดิน โดยที่การเพาะปลูกมักจะทำให้ระดับของอินทรียวัตถุในดินลด
ลงไปจากเดิม คือสารอินทรีย์จะกลับลงไปสู่ดินในปริมาณที่น้อยกว่าการ
ย่อยสลายสารอินทรีย์ไปจากดิน กระบวนการทางการเกษตรต่าง ๆ ที่
29

ทำให้มีเศษซากพืชกลับลงไปสู่ดินในปริมาณน้อย ดังเช่น การปล่อยพื้นที่


ให้ว่างเปล่า การกำจัดวัชพืชออกไปจากพื้นที่ การปลูกพืชซึง่ มีความแน่น
น้อยกว่าพืชธรรมชาติที่เคยปกคลุมดิน การปลูกพืชชนิดที่มีสัดส่วนของ
รากอยู่น้อยเมื่อเทียบกับพืชธรรมชาติที่เคยขึน
้ ในพื้นที่นน
ั ้ ๆ การนำเอา
เศษซากพืชรวมทัง้ ผลผลิตออกจากพื้นที่ การปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ ที่มี
ส่วนในการเร่งอัตราการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน เช่น การไถพรวน
การให้น้ำชลประทานในระบบที่ทำให้ดินเปี ยกและแห้งสลับกัน ตลอดจน
การเปิ ดหน้าดินทิง้ ไว้โดยไม่มีพืชปกคลุมอันเป็ นการทำให้อุณหภูมิในดิน
สูงขึน
้ เป็ นต้น การดำเนินการดังกล่าวมานีท
้ ำให้อินทรียวัตถุในดินที่เคยมี
ในปริมาณมากมาตัง้ แต่การเปิ ดป่ าเพื่อใช้ประโยชน์นน
ั ้ ลดปริมาณลงไป
เรื่อย ๆ โดยที่แม้ว่าจะมีการนำเอาสารอินทรีย์ใส่ลงไปในดินเพิ่มเติมเป็ น
ช่วง ๆ ก็ตาม แต่ปริมาณของอินทรียวัตถุก็จะไม่เพิ่มมากขึน
้ เท่าที่เคยมี

ปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณของอินทรียวัตถุที่กล่าวถึงแล้วนัน

เป็ นตัวกำหนดหลักเกี่ยวกับปริมาณและระดับของอินทรียวัตถุของดินใน
ระบบนิเวศแต่ละแห่ง ซึ่งปกติจะอยู่ในสภาพค่อนข้างสมดุลระหว่างการ
เพิ่มเติมและการสูญสลายของสารอินทรีย์ในดิน ดังนัน
้ การเปลี่ยนระบบ
นิเวศของดินจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึง่ จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยน
ระดับสมดุลของอินทรียวัตถุในดินตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น การแปรสภาพ
ดินในเขตทุ่งหญ้าหรือดินในเขตป่ าไม้ที่มีอินทรียวัตถุในดินอยู่มากไปเป็ น
พื้นที่สำหรับการเพาะปลูกจะมีผลให้ระดับอินทรียวัตถุในดินเปลี่ยนไปโดย
มีปริมาณลดลงเนื่องจากระบบนิเวศใหม่มีการเพิ่มเติมเศษซากพืชลงไปใน
ดินน้อยลงในขณะที่มีอัตราการย่อยสลายสูงขึน
้ ซึ่งในระยะแรกของการ
เปลี่ยนแปลงของนิเวศดังกล่าวระดับอินทรียวัตถุในดินจะลดลงอย่าง
30

รวดเร็ว และธาตุอาหารที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะมีมาก หลังจากนัน


้ อัตรา
การลดจะช้าลงเรื่อย ๆ ซึ่งช่วงนีใ้ ช้ระยะเวลานานมากเพื่อปรับเข้าสู่สมดุล
ใหม่ อัตราของการลดลงของปริมาณอินทรียวัตถุในดินจะเกิดขึน
้ เร็วหรือ
ช้าและระดับอินทรียวัตถุในดินจะอยู่ในระดับใดในสมดุลใหม่นน
ั ้ จะขึน
้ อยู่
กับปั จจัยต่าง ๆ ทัง้ หลายทัง้ ปวงที่มีอิทธิพลต่อปริมาณของอินทรียวัตถุใน
ดินดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง หากไม่มีวิธีการจัดการที่เหมาะสมเกี่ยวกับอิน
ทรียวัตถุในดินแล้วการลดปริมาณลงของอินทรียวัตถุจะเกิดขึน
้ อย่าง
รวดเร็ว ระดับปริมาณในสมดุลใหม่ก็จะอยู่ในระดับต่ำ เป็ นเหตุให้
ทรัพยากรดินอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมได้ง่ายโดยตรง (สำนักงานคณะ
กรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)

2.5.7 วิธีการวิเคราะห์อินทรียวัตถุในดิน

การวิเคราะห์อินทรียวัตถุในดินทำได้โดยการเก็บตัวอย่าง
ดินที่ต้องการทราบปริมาณอินทรียวัตถุแล้วนำดินเหล่านัน
้ ไปวิเคราะห์ใน
ห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน จากการวิเคราะห์ใน
ห้องปฏิบัติการนีจ
้ ะได้ข้อมูลของปริมาณอินทรียวัตถุในดินเป็ นเปอร์เซ็นต์
ของคาร์บอนอินทรีย์ เปอร์เซ็นต์คาร์บอนอินทรีย์ที่ออกซิไดส์ได้ และ
เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอินทรียวัตถุ(ต่อน้ำหนักดิน) การวิเคราะห์ในห้อง
ปฏิบัติการดังกล่าวนีเ้ ป็ นการวิเคราะห์ที่ละเอียดและใช้เวลา แต่สามารถ
วิเคราะห์ข้อมูลที่แยกส่วนได้ดังกล่าวไปแล้วนัน
้ แต่ถ้าต้องการจะ
วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินแบบที่ไม่ละเอียดนักและใช้เวลาไม่
มากสามารถจะทำได้โดยการเก็บตัวอย่างดินจากจุดที่ต้องการหาปริมาณ
อินทรียวัตถุในดิน นำดินเหล่านัน
้ ไปผึง่ ให้แห้ง บดดินแล้วร่อนผ่าน
31

ตะแกรงที่มีรูขนาด 1 มิลลิเมตร นำไปชั่งให้ได้ปริมาณ 10 กรัม แล้วใส่ดิน


นัน
้ ลงในกระป๋อง เติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงไป 30 เปอร์เซ็นต์ นำไป
เผาในตู้ที่มีอุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้อินทรีย
วัตถุในดินของตัวอย่างดินนัน
้ ถูกเผาจนหมด จากนัน
้ นำดินไปทำให้เย็นลง
ในโถสูญญากาศ นำไปชัง่ หาน้ำหนักที่หายไป ซึ่งน้ำหนักที่หายไปนีถ
้ ือว่า
เป็ นน้ำหนักโดยประมาณของอินทรียวัตถุในตัวอย่างดิน

ปริมาณอินทรียวัตถุซึ่งวิเคราะห์ได้จากตัวอย่างดินสามารถนำไป
ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ณ. จุดที่เก็บตัวอย่างได้ ตามวิธีการ
แบ่งชัน
้ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเสนอไว้โดย DLD/FAO (1973) ใน

คู่มือการแปลผลปฏิบัติการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังแสดงไว้
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ สำนักงาน กปร.มปป: ออนไลน์)
32

รูปที่ 2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดินแบ่งตามปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน

ที่มา http://www.rdpb.go.th/th/Studycenter

2.6 ค่าพีเอชของดิน

คำว่า “pH” ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion เป็ นหน่วย


ที่ใช้แสดงความเป็ นกรด (Acidity) และด่าง (Alkaline) ของสารเคมีในดิน
+
จากปฏิกิริยาของไฮโดรเจน ซึ่งจะแตกตัวออกเป็ น (H ) หรือ “ไฮโดรเจน
- +
อิออน” และ (OH ) หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” หาก H หรือ “ไฮโดรเจนอิ
-
ออน” มีมากกว่า OH หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” แสดงว่าดินนัน
้ เป็ นกรด
-
กลับกัน ถ้า OH หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” มีมากกว่า ดินนัน
้ จะมีค่าเป็ น
ด่างแต่ถ้ามีจำนวนเท่าๆ กัน ถือว่า ดินมีค่าเป็ นกลาง

เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ มักจะใช้ตัวเลข 1-14 pH ในการแสดงค่าความเป็ นก


รดด่าง โดยที่มี pH 7 เป็ นค่ากลาง ถ้าวัดค่า pH ในดิน แล้วได้ค่าต่ำกว่า
pH 7 แสดงว่าดินนัน
้ เป็ นกรด (ดินเปรีย
้ ว) แต่ถ้าวัดออกมาแล้วได้มาก
pH 7 ก็แสดงว่าดินตรงนัน
้ เป็ นด่าง (ดินเค็ม) โดยปกติแล้วดินส่วนใหญ่มี
ค่า pH อยู่ในช่วง pH 5-8 นัน
้ เป็ นสาเหตุที่เครื่องวัดค่า pH ดินมักมีย่าน
การวัดอยู่ที่ pH 3-8 (ดร.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ ผู้บริหารไอฟาร์ม, 2564)

2.6.1 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าพีเอชในดินและพืช

ค่าพีเอชในดินไม่ได้มีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของพืช แต่
มีส่วนช่วยให้พืชสามารถดูดซับสารอาหารจากดินได้ดีขน
ึ ้ เท่านัน
้ ซึ่งถ้า
33

หากพืชเจริญเติบโตในดินที่มีค่าความเป็ นกรดต่ำเกินไป ใบก็จะเหลือง


เนื่องจากไม่สามารถดูดธาตุเหล็กเข้าไปบำรุงต้นได้อย่างเต็มที่ ดังนัน
้ ดินที่
จะเหมาะกับการปลูกพืช จึงต้องมีค่าความเป็ นกรดอยู่พอสมควร เพื่อที่
ความเป็ นกรดจะได้แปลงธาตุอาหารให้พืชดูดกินได้สะดวก

แต่ถึงอย่างนัน
้ ค่าพีเอช ก็มีผลเสียต่อพืชอยู่เช่นกัน โดยหากดิน
มีค่าพีเอชต่ำ ธาตุแมงกานีสในดินก็จะกลายเป็ นพิษต่อพืช เป็ นสาเหตุให้
พืชมีใบเหลือง ใบแห้ง และตายได้ในที่สุด และถ้าหากค่าพีเอช ในดินต่ำ
มากจนเกินไป ดินก็จะดูดซับสารอะลูมิเนียมแทนธาตุอาหารจำเป็ น ต้นไม้
จึงเติบโตช้า เพราะไม่ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ถ้าดินมีค่าพีเอช อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสมก็จะช่วยให้สารอาหารและสิ่งมีชีวิตในดินเจริญเติบโตได้
ดี อีกทัง้ ยังช่วยแปลงธาตุไนโตรเจนให้พืชสามารถดูดซับได้ ส่งผลให้พืช
งอกงามสุขภาพดีอีกด้วย (ดร.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ ผู้บริหารไอฟาร์ม,
2564)

2.7 ความชื้นในดิน

ความชื้นในดินหรือนํา้ ในดินเป็ นส่วนประกอบหลักของดิน


โดยมีส่วนประกอบอื่นๆ คือ อนินทรีย์วัตถุ อินทรียวัตถุ และอากาศ
ความชื้นของดินอยู่ในส่วนที่เป็ นที่ว่างของดินและส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะ
ของเหลวมากกว่าภาวะอื่นๆ ความสําคัญของความชื้นของดินมี 4
ประการ คือ ประการแรกพืชและจุลินทรีย์ดินทุกชนิดต้องการนํา้ เพื่อเป็ น
ส่วนประกอบของส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ในกระบวนการเมตาบอลิ
ซึ่มต่างๆ ประการที่สอง นํา้ เป็ นตัวทําละลายที่ดีมาก สามารถละลาย
ไอออนต่างๆ ที่เป็ นโภชนะของพืชและของจุลินทรีย์ดินให้อยู่ในสภาวะที่
34

พร้อมมากที่สุดที่จะให้ชใช้ประโยชน์ประการที่สามนํา้ เป็ นกลางที่ดีในการ


เคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติจึงมีบทบาทในการเคลื่อนย้ายไอออน
และสารอื่นๆจากดินเข้าไปในพืชและในจุลินทรีย์ดิน ประการที่สี่ นํา้ มี
ความร้อนจําเพาะเเละความร้อนแฝงที่สูงจึงเปลี่ยนอุณหภูมิยากสามารถ
ป้ องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจัดของดินไม่ให้อุณหภูมิของดินสูงหรือ
ตํ่าเกินไปจนพืชที่ขน
ึ ้ อยูj บนดินและจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในดินทนไม่ได้ (ค
ณาจารย์ ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2535 )

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

งานวิจัยนีเ้ ป็ นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ลักษณะสมบัติของดินที่ปนเปื้ อน
สารเคมีอะลาคอร์

3.1 สารเคมีและอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการทดลอง

1. อุปกรณ์

1. ขวดชมพู่ (Erlemeyer flask) ขนาด 250 มล.

2. Dispenser ขนาด 10 และ 20 มล.

3. กระบอกตวงขนาด 100 มล.

4. บิวเรตขนาด 50 มล.

5. เครื่องกวน (magnetic stirrer)


35

2. สารเคมี

1. สารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไดโครเมต(K2Cr2O7) 1.0
N

2. กรดซัลฟูริกเข้มข้น (Conc. H2SO4)

3. สารละลายเฟอรัสแอมโมเนียมซัลเฟต (Ferrous
Ammonium Sulfate) 0.5 N

4. สารละลายออร์โทฟี แนนโทรลีน อินดิเคเตอร์

3.2 ขัน
้ ตอนการทดลอง

3.2.1 การเตรียมสารเคมี

1. สารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) 1.0


N

ละลาย K2Cr2O7 (A.R grade อบที่ 105 C 24 ชั่วโมง) 49.04


กรัมในน้ำกลั่น แล้วทำสารละลายให้เป็ น 1000 มล. ด้วยน้ำกลั่น

2. สารละลายเฟอรัสแอมโมเนียมซัลเฟต (FAS) 0.5 N

ละลาย Fe (NH4)2 . 6H2O 196.1 กรัมในน้ำกลั่น 800 มล. ที่


มีกรด H2SO4 เข้มข้นอยู่ 20 มล. แล้วทำให้สารละลาย 1 ลิตร ด้วย
น้ำกลั่น เก็บไว้ในขวดสีน้ำตาล

3. สารละลายออร์โทฟี แนนโทรลีน (อินดิเคเตอร์)

ละลายเฟอรัสซัลเฟต (FeSo4 . 7H2O) 0.7 กรัม และฮอร์โท


ฟี แนนโทรลีน 1.48 กรัม ในน้ำกลั่น และทำให้มีปริมาตร 100 มล.
36

สารละลายมาตรฐานโปแตส
เซียมไดโครเมต (K2Cr2O7)

สารละลายออร์โทฟี แนน
โทรลีน

สารละลายเฟอรัสแอมโมเนียม
ซัลเฟต (FAS) 0.5 N

รูปที่ 3.1 สารเคมีที่เตรียมไว้เพื่อใช้ในการทดลอง


37

3.2.2 วิธีการ

1. ชั่งดิน 1 กรัม ใส่ขวดชมพู่ขนาด 250 มล. (ปริมาณ


ตัวอย่างดินอาจลดลงได้ตามความเหมาะสมถ้าดินนัน
้ มีปริมาณอินทรีย
วัตถุ สูง

สังเกตได้จากสีของดิน ถ้าเป็ นสีดำหรือ สี


น้ำตาลเข้มต้องชั่งดินให้ลดลงแต่ถ้ากรณีเป็ นดินทรายก็ต้องเพิ่มปริมาณ
ดินให้มากขึน
้ กว่าเดิม)

รูปที่ 3.2 ทำการชั่งดินที่ รูปที่ 3.3 ตักดินจนชั่งได้


เก็บมาใส่ขวดชมพู่ขนาด ปริมาณ 1 กรัม
250 มล.
38

2. เติมสารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไดโครเมต(K2Cr2O7) 1.0 N 10
มล. โดยใช้ Dispenser

3. เติม H2SO4 เข้มข้น 20 มล. โดยใช้ปิเปต พยายามให้กรดไหลลงข้างๆ ขวดให


รูปที่ 3.4 Dispenser ที่ใช้ รูป ที่ 3.5 เมื่อ เติมสาระลาย
ไป
ในเติมสารละลายมาตรฐาน เ ต ิม ส า ร ล ะ ล า ย
อยู่
มาตรฐานโปแตสเซียมไดโคร มาตรฐานโปแตสเซียมไดโคร
ใน
เมต(K2Cr2O7)

ขวดให้หมด เพื่อ ป้ องกันไม่ให้เม็ด


ดินเกาะติดตามข้าง ขวด เขย่าเบาๆให้
ตัวอย่างเข้ากันดีเป็ นเวลาประมาณ 1 นาที
39

รูปที่ 3.6 เติม H2SO4 เข้มข้น 20 มล. โดยใช้ปิเปต

4. ตัง้ ทิง้ ไว้จน


สารละลายเย็นเท่า อุณหภูมิห้อง

รูปที่ 3.7 ตัง้ ทิง้ ไว้จนสารละลายเย็นเท่าอุณหภูมิห้อง

5. เติมน้ำกลั่น 50 มล. แล้วทิง้ ไว้ให้เย็น


40

รูปที่ 3.8 หลังจากเติมน้ำกลั่น ทิง้ ไว้ให้เย็น

6. หยด อินดิเคเตอร์ออร์โท
ฟี แนนโทรลีน 5 หยด

รูปที่ 3.9 อินดิเคเตอร์ออร์โทฟี แนนโทรลีน


41

7. ไต
เตร
ทสาร
ละลาย
FAS
0.5 N
ที่จุด end point สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็ นสีน้ำตาลแดง

รูปที่ 3.10 ไตเตรทสารละลาย FAS 0.5 N จนสารละลายเปลี่ยนสี


42

รูปที่ 3.11 สารละลายจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็ นสีน้ำตาลแดง

8. ทำ Blank โดยเริ่มทำตัง้ แต่ขน


ั ้ ตอนที่ 2 ถึงขัน
้ ตอนที่ 6

จากการไตเตรทจะทราบปริมาตรของสารละลาย FAS ในแต่ละ


ตัวอย่าง สามารถนำไปคำนวณหาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนได้ โดยอยู่ใน
หน่วยเปอร์เซ็นต์ (%) ดังนี ้
10×(B−S)×100 ×3 × N
อินทรีย์คาร์บอน(Organic Carbon, O.C.) = B ×77 ×1000 × w

โดย B = สารละลาย FAS ที่ใช้ในการไตเตรท Blank (มิลลิลิตร)

S = สารละลาย FAS ที่ใช้ไตเตรทตัวอย่าง (มิลลิลิตร)

N = ความเข้มข้นของ K2Cr2O7 ในหน่วย normality (ในที่นี่ใช้


1.0 N)

W = น้ำหนักดินที่ใช้ (กรัม)

ตัวอย่าง การคำนวณหาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของดิน (soil) วันที่เริ่ม


เตรียมดินก่อนปลูกพืช ( Day 0) โดยใช้สารละลาย FAS ที่ใช้ทำ Blank
19.70 มิลลิลิตรและสารละลาย FAS ที่ใช้ไตเตรทตัวอย่างดิน 0.80
มิลลิลิตร จะได้ว่า
10×( B−S)×100 ×3 × N
อินทรีย์คาร์บอน(Organic Carbon, O.C.) = B ×77 ×1000 × w
10×(19.70−0.8)× 100× 3 ×1
= 19.70 ×77 ×1000 ×1
×100 %

= 3.73 %
43

บทที่ 4

ผลการทดลอง และ วิจารณ์ผลการทดลอง

4.1 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน

จากการทดลองนำดินที่เก็บในแต่ละวันมาหาปริมาณอินทรีย์
คาร์บอนในดิน โดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือดิน (soil) และดินที่มีสารเคมี
อะลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช ได้ผลการคำนวณ
ดังตาราง

ตารางที่ 4.1 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของดิน(soil) และดินที่มีสารเคมีอะ


ลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช

%Soy Organic Carbon Day


(SOC) 0 5 12 19 26
Soil 3.73 3.38 3.84 3.65 3.28
Soil+ Alachlor 3.58 3.42 3.70 3.67 3.14

กราฟที่ 4.1 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า SOC ระหว่าง


% Soy organic carbon (SOC)

soil และ soil + Alachlor

4.00

3.00

2.00

1.00

0.00
0 5 12 19 26
Day

Soil Soil+Alachlor
44

ตารางที่ 4.2 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของดิน(soil) และดินที่มีสารเคมีอะ


ลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืช

%Soy Organic Carbon Day


(SOC) 0 5 12 19 26
Soil + Plant 3.49 3.37 3.83 3.68 3.26
Soil+ Alachlor + Plant 3.39 3.40 3.38 3.11 3.26

กราฟที่ 4.2 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า SOC ระหว่าง soil + plant


และ soil + plant + Alachlor
4
% Soy organic carbon (SOC)

0
0 5 12 19 26
Day
Soil+Plant Soil+ Alachlor+Plant
45

4.2 ค่าพีเอชของดิน

จากการทดลองนำดินที่เก็บในแต่ละวันมาวัดค่าพีเอช โดยใช้
เครื่องวัดค่าพีเอชและอ่านค่า โดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือดิน (soil) และ
ดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช ได้
ผลดังตาราง

ตารางที่ 4.3 ค่าพีเอชของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+


Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช

กราฟที่ 4.3 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า pH ระหว่าง


soil และ soil + Alachlor

8.00

6.00
pH

4.00

2.00

0.00
0 5 12 19 26
Day

Soil Soil+Alachlor
46

ตารางที่ 4.4 ค่าพีเอชของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+


Alachlor) ที่ปลูกพืช

Day
pH 0 5 12 19 26
Soil + Plant 7.52 7.72 7.98 8.06 8.12
Soil+ Alachlor + Plant 7.73 7.65 7.55 7.78 7.93

กราฟที่ 4.4 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า pH ระหว่าง soil + plant


และ soil + Alachlor + plant
8

6
pH

0
0 5 12 19 26
Day

Soil+Plant Soil+ Alachlor+Plant


47

4.3 ค่าความชื้นของดิน

จากการทดลองนำดินที่เก็บในแต่ละวันมาชั่งหาน้ำหนักของดิน
ก่อน จากนัน
้ ทำการอบแห้งโดยใช้เตาอบความร้อนจนดินแห้งสนิทจากนัน

กลับมาชั่งน้ำหนักดินที่ผ่านการอบ โดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือดิน (soil)
และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช
ได้ผลดังตาราง

ตารางที่ 4.5 ค่าความชื้นของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์


(Soil+ Alachlor) ที่ไม่ปลูกพืช
น้ำหนั กดิ นก่ อนอบ−น้ำหนั กดิ นหลั งอบ
โดยคำนวณจาก % Moisture = ×100
น้ำหนั กก่ อนอบ

หมายเหตุ ในการทดลองนีใ้ ช้น้ำหนักดินก่อนอบจำนวน 20 กรัมที่เท่ากัน


ทุกตัวอย่าง

Day
% Moisture 0 5 12 19 26
Soil 15.20 21.65 34.55 35.00 39.7
Soil +Alachlor 31.30 27.2 35.10 38.70 37.00
48

กราฟที่ 4.5 กราฟแสดงความสัมพันธ์ค่า% Moisture


ระหว่าง soil และ soil + Alachlor
40.00

30.00
% Moisture

20.00

10.00

0.00
0 5 12 19 26
Day

Soil Soil+Alachlor

ตารางที่ 4.6 ค่าความชื้นของดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์


(Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืช

Day
% Moisture 0 5 12 19 26
Soil+ Plant 15.55 22.10 38.90 35.30 36.5
Soil+ Alachlor+ Plant 31 30.00 38.35 36.10 35.8
49

กราฟที่ 4.6 กราฟแสดงความสัม พันธ์ค่า% Moistuee


ระหว่าง soil + plant และ soil + Alchlor + plant

40
% Moisture

30

20

10

0
0 5 12 19 26
Day

Soil+Plant Soil+ Alachlor+Plant

4.4 ลักษณะของพืช(ลำต้น)

จากการทดลองทำการวัดความสูงของลำต้นโดยใช้ไม้บรรทัด โดย
วัดทัง้ หมด 5 ต้น แล้วนำทุกค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือ
ดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor) ที่ปลูกพืชและ
ไม่ปลูกพืช ได้ผลดังตาราง
50

ตารางที่ 4.7 ความสูงของลำต้นพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มี


สารเคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor)

Day
ความสูงลำต้น (cm)
0 5 12 19 26 33 40 47
20.0
Soil+ Plant   15 21 25.67 29.4 30.6 32.9
7
Soil+ Alachlor+ 17.0
  0 0 0 0 0 0
Plant 3

กราฟที่ 4.7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความสูงลำต้นระหว่าง soil


40 +plant และ soil+Alachlor+plant
ความสูงลำต้น (cm)

30

20

10

0
0 5 12 19 26 33 40 47
Day

Soil+Plant Soil+Alachlor+Plant
51

4.4 ลักษณะของพืช(ความกว้างใบ)

จากการทดลองทำการวัดความกว้างของใบโดยใช้ไม้บรรทัด โดย
วัดทัง้ หมด 5 ใบที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วนำทุกค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดย
เปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+
Alachlor) ที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช ได้ผลดังตาราง

ตารางที่ 4.8 ความกว้างใบพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มีสาร


เคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor)

Day
ความกว้างใบ(cm)
0 5 12 19 26 33 40 47
Soil+ Plant   3.4 6.17 3.63 4.43 3.6 3.9 3.3
Soil+ Alachlor+
3.23 0 0 0 0 0 0
Plant  

กราฟที่ 4.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความกว้างใบระหว่าง


soil+plant และ soil+Alachlor +plant
ความกว้า งใบ(cm)

0
0 5 12 19 26 33 40 47
Day

Soil+Plant Soil+Alachlor+Plant
52

4.4 ลักษณะของพืช(ความยาวใบ)

จากการทดลองทำการวัดความยาวของใบโดยใช้ไม้บรรทัด โดย
วัดทัง้ หมด 5 ใบที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วนำทุกค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดย
เปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือดิน (soil) และดินที่มีสารเคมีอะลาคอร์ (Soil+
Alachlor) ที่ปลูกพืชและไม่ปลูกพืช ได้ผลดังตาราง

ตารางที่ 4.9 ความยาวใบพืชที่ปลูก ระหว่างดิน (soil) และดินที่มีสาร


เคมีอะลาคอร์ (Soil+ Alachlor)

Day
ความยาวใบ (cm)
0 5 12 19 26 33 40 47
Soil+ Plant   4.53 7.3 6.07 7.33 7.3 5.6 4.5
Soil+ Plant+
  4.47 0 0 0 0 0 0
Alachlor
53

กราฟที่ 4.9 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความยาวใบระหว่า ง soil +


plant และ soil+ Alachlor +plant

6
ความยาวใบ(cm)

0
0 5 12 19 26 33 40 47
Day

Soil+Plant Soil+ Plant+Alachlor

บทที่ 5

สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
54
55

บรรณานุกรม

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม. (มปป). ผลกระทบต่อ


สุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช.

สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564, จาก


http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์พิษ
วิทยารามาธิบดี. (2558). สารเคมีกำจัด

วัชพืช (Herbicides). สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564, จาก

https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul
99/v7n3/Herb

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).

(มปป). โครงการการศึกษาปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน. สืบค้น


เมื่อ 17 มกราคม 2565,จาก

http://www.rdpb.go.th/th/Studycenter

บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด.


(2563). ค่า pH ในดินคืออะไรมีผลกับ

พืชยังไง. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก


https://legatool.com/wp/5641/
56

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(มปป). ความชื้นของ
ดิน. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565,

จาก
https://globethailand.ipst.ac.th/globe_data/data-soil/pdf/Soil
Mois.PDF สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม
2565

You might also like