You are on page 1of 128

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การกำจัดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตีย
รอยด์จากน้ำทิ้งโดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
ได้จากบัวหลวงแห้ง

รายงานโครงการหมายเลข
ChE2022-02
รายงานโครงการหมายเลข ChE2022-02

การกำจัดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จาก
น้ำทิ้งโดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากบัวหลวง
แห้ง

นางสาวธันยกานต์ รัตนพิทักษ์สุข เลขประจำตัว


623040118-1
นางสาวปลายสุดา จันทะบุตร เลขประจำตัว
623040276-3
รายงานนี้เป็ นรายงานงานโครงการของนักศึกษาชั้นปี ที่ 4 ซึ่ง
เสนอเป็ นส่วนหนึ่งใน
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2565
Project Report No. ChE2022-02

Removal of nonsteroidal anti-


inflammatory drug from wastewater using
activated carbon prepared from dried
lotus.

Miss Thanyakarn Rattanapitaksuk ID 623040118-1


Miss Plaisuda Janthabut ID 623040276-3
This is the report of fourth year project assignment
submitted in partial fulfillment of the requirement
for the Degree of Bachelor of Engineering.

Department of Chemical Engineering


Faculty of Engineering, Khon Kaen
University
2022

ใบประเมินโครงการ
ชื่อเรื่องภาษาไทย การกำจัดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จาก
น้ำทิ้งโดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
ได้จากบัวหลวงแห้ง
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Removal of nonsteroidal anti-
inflammatory drug from wastewater using
activated carbon prepared from dried lotus.

ชื่อผู้ทำโครงการ 1. นางสาวธันยกานต์ รัตนพิทักษ์สุข เลขประจำตัว


623040118-1
2. นางสาวปลายสุดา จันทะบุตร เลขประจำตัว
623040276-3
อาจารย์ที่ปรึกษา

…………………………………………………..
(รศ.ดร. ยุวรัตน์ เงินเย็น)

อาจารย์ผู้ร่วมประเมิน
1. ……………....................................………………..
(........................................................)
2. ……….....................................……………………..
(........................................................)
3. ……….....................................……………………..
(........................................................)

ประเมินผล ณ วันที่ ................................... (วันที่สอบครั้งสุดท้าย)


กิตติกรรมประกาศ
รายงานโครงการฉบับนี้สำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากทุนการ
ศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนงบประมาณในการทำ
โครงการในครั้งนี้ และด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก รศ.ดร.ยุวรัตน์ เงิน
เย็น ผู้ซึ่งเป็ นอาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการนี้ ที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ
และชี้แนะการค้นหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำโครงการ โดยเฉพาะการ
วางแผนขั้นตอนการทำงาน แนวทางการเรียบเรียงเนื้อหา การวิเคราะห์
ผลการทดลอง และสละเวลาอันมีค่าที่ช่วยตรวจสอบและแก้ไขข้อ
บกพร่องในการทำโครงการในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำจึงอยากขอขอบพระคุณ
เป็ นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณทุนสนับสนุนตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน
เนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
ทุนสนับสนุน Fundamental Fund: FF ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาย
ใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (NSRF) เป็ นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณคณะอาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการทุกท่าน ที่ช่วย
ชี้แนะถึงข้อบกพร่องเพื่อให้แก้ไขใน โครงการเพื่อให้ออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นางสาวธันยกานต์ รัตนพิทักษ์สุข
นางสาวปลายสุดา จันทะบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากบัวหลวงแห้ง
ด้วยวิธีการกระตุ้นทางเคมีแล้วผ่านกระบวนการคาร์บอไนซ์ และนำไปใช้
สำหรับการกำจัดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ออกจาก
ในน้ำทิ้ง ซึ่งการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลของการกระตุ้นด้วย
สารเคมีและผลของอุณหภูมิในการคาร์บอไนซ์ ที่ส่งผลต่อคุณภาพและ
คุณลักษณะของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากบัวหลวงแห้ง ซึ่งสารเคมีที่ใช้เป็ น
สารกระตุ้น คือ กรดฟอสฟอริก (H3PO4) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ไอออน(III)คลอไรด์ (FeCl3) และซิงค์คลอ
ไรด์ (ZnCl2) ส่วนอุณหภูมิที่ใช้คือ 400, 500, 600, 700 และ 800 องศา
เซลเซียส ได้มีการใช้เทคนิคในการวิเคราะห์คุณสมบัติหลายวิธี อาทิ
วิเคราะห์องค์ประกอบโดยประมาณ (proximate analysis) วิเคราะห์ค่า
การสลายตัวทางความร้อนด้วยเทคนิค Thermogravimetric analysis
(TGA) วิเคราะห์ความหนาแน่นรวม วิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วย
เทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) การดูดซับ
ด้วยแก๊สไนโตรเจน วิเคราะห์สัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์ด้วย
เทคนิค Scanning Electron Microscope (SEM) รวมถึงการวิเคราะห์
ธาตุและองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์ด้วยเทคนิค Energy Dispersive
X-Ray Spectroscopy (EDX) ซึ่งจากการทดสอบด้วยเทคนิคต่างๆ นี้
ทำให้ทราบว่าก้านบัวหลวงแห้งที่ผ่านการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก
(H3PO4) โดยใช้อุณหภูมิสำหรับการคาร์บอไนซ์ 500 องศาเซลเซียส
เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ผิว 740 ตารางเมตรต่อกรัม และพบว่ามีรู
พรุนขนาดกลางที่ 59 เปอร์เซ็นของพื้นที่ผิวทั้งหมด ส่วนสภาวะที่เหมาะ

สมที่สุดสำหรับการดูดซับไอบูโพรเฟนโดยใช้
ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกในอัตราส่วนวัตถุดิบต่อ
สารกระตุ้นเป็ น 1:2 พบว่าที่เวลาเข้าสู่สมดุล 50 นาที ค่า pH เท่ากับ 2
และอุณหภูมิ 333 เคลวิน เป็ นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด อีกทั้งมีปริมาณ
การดูดซับสูงสุดถึง 323.5 มิลลิกรัมต่อกรัม ดังนั้น ถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
จากก้านบัวหลวงแห้งจึงเหมาะสมอย่างมากในการใช้เป็ นตัวดูดซับไอบูโพ
รเฟนออกจากน้ำทิ้ง โดยการดูดซับเป็ นไปตามสมการแบบจำลองของแลง
เมียร์และแบบจำลองจลนศาสตร์อันดับสองเทียมที่ใช้สำหรับอธิบายได้ดี
ที่สุด

คำสำคัญ: ไอบูโพรเฟน การกระตุ้นทางเคมี อุณหภูมิในการคาร์บอไนเซ


ชัน ตัวดูดซับ และอุณหพลศาสตร์

Abstract
An activated carbons were prepared form dried lotus
(Nelumbo Nucifera) by carbonization method including
chemical activation and were used for nonsteroidal anti-
inflammatory drug (NSAID) removal from wastewater. The
purpose of this study is to analyst the effect of chemical
activation and carbonization temperature on the quality and
characteristics of activated carbons were prepared form lotus.
The types of activator agents used are H3PO4, ZnCl2, FeCl3,
NaOH and KOH. The temperature used are 400, 500, 600, 700
and 800 °C. Several characterization techniques, including
proximate analysis, Thermal gravimetric analysis (TGA), bulk
density, N2 adsorption, Fourier transform infrared
spectroscopy (FTIR), Scanning Electron Microscope (SEM) and
Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX), were used to
determine chemical characteristics of the activated carbon,
and the adsorption properties of the activated carbon were
tested. The best results are shown by dried lotus stalks with
a carbonization temperature of 500 °C with H3PO4 activator
agents which is a surface are of the activated carbon reached
2
740 m /g, the mesopore surface area accounts for 59% of the
total area. The optimal conditions for achieving the maximum
ibuprofen adsorption capacity of 323.50 mg/g by the
activated carbon were activations with a H3PO4/carbon ratio

of 2.0, time of 50-minute, pH of 2 and temperature of 333 K.


As a consequence, the activated carbon exhibited excellent
adsorption performance for removing ibuprofen from
wastewater. According to an investigation of the adsorption
process, the adsorption isotherm is most consistent with the
Langmuir isotherm model, and the adsorption kinetics were
well described by the pseudo-second-order model.

Keywords: ibuprofen, chemical activation, carbonization


temperature, adsorbent, thermodynamics

สารบัญ

หน้

กิตติกรรมประกาศ ก
บทคัดย่อภาษาไทย ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค
สารบัญ ง
สารบัญรูปภาพ ช
สารบัญตาราง ฌ
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ที่มาความสำคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ 2
1.3 ขอบเขต 2
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
2.1 บัวหลวง 4
2.2 ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) 4
2.2.1 ประเภทของถ่านกัมมันต์ 5
2.2.2 ประเภทของวัสดที่มีรูพรุน 5
2.2.3 กระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์ 6
2.3 การวิเคราะห์และการทดสอบคุณสมบัติ 7
2.3.1 เครื่อง Fourier Transform Infrared 7
Spectrometer (FT-IR)

2.3.2 เครื่องวิเคราะห์พื้นที่ผิวและคุณสมบัติของ 7
รูพรุน
2.3.3 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด 7
Scanning Electron Microscope (SEM)
2.3.4 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยรัง 8
สีเอกซ์ Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX)
2.4 กระบวนการดูดซับ 8
2.4.1 ปั จจัยที่มีผลต่อการดูดซับ 8
2.5 ไอโซเทอมการดูดซับ 9
2.6 การศึกษาการดูดซับโดยใช้แบบจำลองของ 11
จลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับหนึ่งเทียมและอันดับสองเทียม
2.7 ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 12
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12
บทที่ 3 ขั้นตอนในการดำเนินงาน 20
3.1 สารเคมี 20
3.2 วัสดุและอุปกรณ์ 20
3.3 วิธีการดำเนินงาน 21
3.3.1 การเตรียมถ่านกัมมันต์ 21
3.3.2 การวิเคราะห์วัตถุดิบและถ่านกัมมันต์ 23
3.3.3 การหาความหนาแน่นรวม 25
3.3.4 การหา pH ของถ่านกัมมันต์ 25
3.3.5 การวิเคราะห์พื้นที่ผิวที่ประจุเป็ นศูนย์ 25
(pH at the point of zero change, pHpzc)
3.3.6 การวิเคระห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นที่ผิวด้วยเครื่อง 26
Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR)

3.3.7 การวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ 27
3.3.8 การศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัม 28
มันต์ และการวิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์
3.3.9 การศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน 28
3.4 สถานที่ทำวิจัย 31
3.5 ระยะเวลาการดำเนินงาน 31
3.6 แผนการดำเนินการวิจัย 31
3.7 งบประมาณของโครงการวิจัย 32
บทที่ 4 ผลการทดลองและวิเคราะห์ผล 33
4.1 การวิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ 33
4.1.1 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ 33
(proximate analysis) ของวัตถุดิบ
4.1.2 การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อน 34
ของวัตถุดิบ
4.1.3 การวิเคราะห์ความหนาแน่นรวม (bulk 35
density)
4.1.4 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว 36
4.2 การเตรียมถ่านกัมมันต์ 36
4.2.1 การวิเคราะห์ผลของสารกระตุ้นต่อสมบัติ 36
รูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
4.2.2 การวิเคราะห์ผลของอุณหภูมิการคาร์บอ 38
ไนซ์ต่อสมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
4.2.3 การวิเคราะห์สมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ 39
สภาวะที่ดีที่สุดด้วยเทคนิคต่างๆ
4.3 การศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน (Adsorption 45

study)
4.3.1 ผลของเวลาต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน 45
4.3.2 ผลของค่า pH ต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน 48
4.3.3 ไอโซเทอมของการดูดซับไอบูโพรเฟน 49
4.3.4 ผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน 50
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ 53
5.1 สรุปผลการทดลอง 53
5.2 ข้อเสนอแนะ 54
เอกสารอ้างอิง 55
ประวัติย่อผู้ทำโตรงการ 63

สารบัญรูปภาพ

หน้

รูปที่ 2.1 ไอโซเทอมการดูดซับ 10
รูปที่ 3.1 กลีบบัว 21
รูปที่ 3.2 ก้านบัว 21
รูปที่ 3.3 เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (packed-bed reactor) 22
รูปที่ 3.4 เตาเผาไฟฟ้ าอุณหภูมิสูงแนวตั้ง 22
รูปที่ 3.5 เครื่อง Thermogravimetric Analyzer หรือ TGA 23
รูปที่ 3.6 ตู้อบลมร้อน 24
รูปที่ 3.7 เตาเผา muffle (TM3-550, VULCAN) 25
รูปที่ 3.8 เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy 27
(FTIR) (ALPHA II) สำหรับวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
รูปที่ 3.9 เครื่อง Surface area and Porosity Analyzer 28
(ASAP2460, Micromeritics)
สำหรับวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์
รูปที่ 3.10 เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer (Analytik- 31
Jena AG )
รูปที่ 4.1 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของกลีบดอกบัวหลวง 35
แห้ง
รูปที่ 4.2 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของก้านบัวหลวงแห้ง 35
รูปที่ 4.3 FTIR สเปกตรัมของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัว 36
หลวงแห้ง

รูปที่ 4.4 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่ 37


อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จาก
กลีบและก้านบัวหลวงแห้งโดยผ่านสารกระตุ้นต่างๆ
รูปที่ 4.5 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่ 38
อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
รูปที่ 4.6 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่ ของ 40
ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส
รูปที่ 4.7 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของถ่านกัมมันต์ 42
รูปที่ 4.8 กราฟ FTIR ของวัตถุดิบและถ่านกัมมันต์จากก้านบัว 43
หลวงแห้ง
รูปที่ 4.9 (ก) แสดง Scanning Electron Microscope (SEM) 44
และ(ข) แสดง Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX)
ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้ง
รูปที่ 4.10 กราฟค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pHpzc) ของถ่านกัมมัน 45
ต์ที่เตรียมจากก้านบัวหลวงแห้ง
รูปที่ 4.11 ผลของเวลาต่อการดูดซับไอบูโพรเฟนที่ความเข้มข้น 45
20 40 และ 60 mg/L โดยใช้ถ่านกัมมันต์ก้านบัวหลวงแห้งในการ
ดูดซับ
รูปที่ 4.12 แบบจำลองจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง(pseudo-first 47
order) ฝั่ งซ้ายมือ และแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสอง
เทียม (pseudo-second order) ฝั่ งขวามือ ที่ความเข้มข้น
สารละลายต่างๆ โดย
รูปที่ 4.13 ผลของค่า pH ต่อการดูดซับไอบูโพรเฟนที่ความเข้มข้น 48
20 40 และ 60 mg/L โดยใช้ถ่านกัมมันต์ก้านบัวหลวงแห้งในการ
ดูดซับที่ความเข้มข้นต่างๆ

รูปที่ 4.14 ไอโซเทอมการดูดซับไอบูโพรเฟน โดยใช้ถ่านกัมมันต์ใน 49


การดูดซับที่ความเข้มข้นต่างๆ
รูปที่ 4.15 ผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน โดยใช้ถ่าน 51
กัมมันต์ก้านบัวหลวงแห้งในการ
ดูดซับที่ความเข้มข้นต่างๆ
รูปที่ 4.16 กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง lnk กับ 1/T ที่ความเข้ม 52
ข้นสารละลายต่างๆ โดย
(ก) ความเข้มข้น 20 mg/L (ข) 40 mg/L และ (ค) 60 mg/L

สารบัญตาราง

หน้

ตารางที่ 1 สรุปการศึกษาการดูดซับจากงานวิจัยอื่นๆ 16
ตารางที่ 2 แผนการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาการดำเนินงาน 31
ตารางที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการทำโครงการวิจัย 32
ตารางที่ 4 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate 33
analysis) ของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง
ตารางที่ 5 ความหนาแน่นรวม (bulk density) ของวัตถุดิบ 35
ตารางที่ 6 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากสารกระตุ้น 37
ชนิดต่าง ๆ
ตารางที่ 7 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ผ่านการคาร์บอ 39
ไนซ์ที่อุณหภูมิต่างๆ
ตารางที่ 8 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากงานวิจัยนี้ 40
เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นๆ
ตารางที่ 9 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate 41
analysis) ของถ่านกัมมันต์เปรียบเทียบกับก้านบัวหลวงแห้ง
ตารางที่ 10 ความหนาแน่นรวม (bulk density) ของถ่านกัมมันต์ 42
ที่เตรียมได้
ตารางที่ 11 พารามิเตอร์การดูดซับไอบูโพรเฟนจากแบบจำลอง 47
ทางจลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม (pseudo-first order) และแบบ
จำลองทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม (pseudo-second order)
ตารางที่ 12 ค่าพารามิเตอร์การดูดซับไอบูโพรเฟนจากสมการแบบ 50

จำลองของ Langmuir และ Freundlich


ตารางที่ 13 ค่าพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ของการดูดซับไอ 51
บูโพรเฟน
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ
ในปั จจุบันมีสารอินทรีย์ที่ปนเปื้ อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
โดยส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากอุตสาหกรรม และมีการใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงนำ
ไปสู่การปนเปื้ อนของน้ำผิวดิน ดิน และน้ำใต้ดิน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
และต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ยา
ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย สารประกอบที่รบกวนต่อมไร้ท่อ สารประกอบเพ
อร์ฟลูออไรด์หรือของเหลวไอออนิก (Guedidi et al., 2020) เป็ นต้น ใน
การศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียสำหรับการกำจัดยาและผลิตภัณฑ์
ดูแลร่างกาย พบว่ากระบวนการทั่วไปกำจัดไม่ได้ผล เช่น กระบวนการจับ
ตัว(coagulation) กระบวนการรวมตัว (Flocculation) และกระบวนการ
ตกตะกอน (Sedimentation) แต่กระบวนการที่ใช้ถ่านกัมมันต์เป็ นตัวดูด
ซับ (adsorbent) นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า และถูกนำมาใช้กันอย่าง
แพร่หลาย สำหรับการบำบัดน้ำ น้ำบาดาล หรือน้ำเสีย เนื่องจากสามารถ
ใช้ดูดซับกับสารประกอบอินทรีย์ได้ มีพื้นผิวและรูพรุนในการดูดซับสูง
สามารถเตรียมได้จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้ที่เป็ นชีวมวล ซึ่งมี
ต้นทุนต่ำ สามารถหาได้ง่าย มีปริมาณมาก และยังสามารถเกิดขึ้นใหม่
ทดแทนได้ (Ternes et al., 2002)
บัวหลวง เป็ นพืชน้ำชนิดหนึ่งและมีการปลูกกันอย่างกว้างขวางใน
ฐานะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการใช้กันอย่างมากมายและเป็ นของเสียใน
ปริมาณมากทุกปี หรือเผาเป็ นฟื น บัวหลวงมีรูพรุนที่ก้านอาจเป็ นพื้นฐานที่
ดีสำหรับการผลิตถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นที่จะเพิ่ม
2

มูลค่าของบัวหลวงที่ถูกเสียและเพื่อเป็ นการลดขยะจากสิ่งแวดล้อมร่วม
ด้วย
จากการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยนำบัวหลวงโดยใช้ส่วนกลีบและก้านของ
บัวหลวงมาเตรียมเป็ นถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เนื่องจากบัว
หลวงเป็ นวัสดุชีวมวลที่มีคาร์บอนเป็ นองค์ประกอบ ทำให้สามารถผลิต
ถ่านกัมมันต์ได้ จากนั้นนำถ่านกัมมันต์มาศึกษาการดูดซับยาต้านอักเสบที่
ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory , NSAIDs) ซึ่งไอ
บูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็ นหนึ่งในเภสัชภัณฑ์ที่อยู่ในกลุ่มยาต้านอักเสบ
ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory , NSAIDs) ใช้
เป็ นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ข้ออักเสบ ปวดฟั น ช่วยลด
อาการปวดประจำเดือน รักษาไข้ และไมเกรน มีการสังเคราะห์
ไอบูโพรเฟนหลายกิโลตันทั่วโลกทุกปี ไอบูโพรเฟนสามารถเข้าสู่สิ่ง
แวดล้อมผ่านทางน้ำเสียจากอุตสาหกรรมยา น้ำเสียและน้ำทิ้งที่มาจาก
บ้านเรือน ชุมชน และโรงพยาบาล น้ำชะขยะจำพวกผลิตภัณฑ์ยาจาก
หลุมฝั งกลบขยะชุมชน รวมถึงปั สสาวะหรืออุจจาระของมนุษย์และสัตว์ที่
ได้รับการรักษาทางการแพทย์ด้วยการใช้
ไอบูโพรเฟนที่ตรวจพบเจอบ่อยในน้ำเสียจากโรงงานบำบัดน้ำเสียที่มี
ความเข้มข้นสูงถึง 25 มิลลิกรัมต่อลิตร (Miege et al., 2008) ซึ่งการกำ
จัดไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ออกจากน้ำเสียก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมนั้น
มีความสำคัญ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับการสัมผัสสารในระยะยาว
ทำให้เกิด
ความเป็ นพิษเรื้อรัง และเกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต (Carlsson et al., 2006)
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อเตรียมถ่านกัมมันต์จากบัวหลวงด้วยวิธีการกระตุ้นด้วย
สารเคมี โดยใช้ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) ไอร์รอน (III) คลอไรด์ (FeCl3) โซ
3

เดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) และ


กรดฟอสฟอริก (H3PO4) เป็ นตัวกระตุ้นแล้วผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซ
ชัน
2. เปรียบเทียบสมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากบัวหลวง
ที่ผ่านกระบวนการ
คาร์บอนไนเซชั่นของแต่ละตัวกระตุ้นปฏิกิริยา
3. เปรียบเทียบสมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากบัวหลวง
ที่ผ่านกระบวนการ
คาร์บอนไนเซชั่นของแต่ละอุณหภูมิที่ศึกษา
4. เพื่อศึกษาการดูดซับยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่ส
เตียรอยด์โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากบัวหลวงที่ผ่านกระบวนการ
คาร์บอนไนเซชัน

1.3 ขอบเขต
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ คือ บัวหลวงตากแห้ง โดย
ใช้ทั้งกลีบและก้านบัวหลวง
2. วิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ ได้แก่
- วิเคราะห์ค่าการสลายตัวทางความร้อนของวัตถุดิบด้วยเทคนิค
Thermogravimetric analysis (TGA)
- วิเคราะห์หาองค์ประกอบโดยประมาณ (Proximate analysis)
ประกอบด้วย %ความชื้น (%moisture) ตามวิธีของ Rengaral, %เถ้า
(%ash), %สารระเหย (%volatile matters) วิเคราะห์ตามวิธีของ
ASTM D2866-94 (standard test method for volatile matter
content of activated carbon samples) และ%คาร์บอนคงตัว
(%fixed carbon)
4

- วิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเทคนิค Fourier-transform


infrared spectroscopy (FTIR)
3. เตรียมถ่านกัมมันต์โดยผ่านการกระตุ้นทางเคมีด้วยสารเคมีกลุ่ม
กรด ได้แก่ กรดฟอสฟอริก (H3PO4) สารเคมีกลุ่มเบส ได้แก่ โพแทสเซียม
ไฮดรอกไซด์ (KOH) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารเคมีกลุ่ม
คลอไรด์ ได้แก่ ไอออน(III)คลอไรด์ (FeCl3) และซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) ซึ่ง
ใช้ความเข้มข้นของ
สารกระตุ้น 50 %โดยน้ำหนัก ในอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างวัตถุดิบ
และสารกระตุ้นคือ 1:2 ระยะเวลาในการแช่ 24 ชั่วโมง จากนั้นนำไปคาร์
บอไนซ์ภายใต้บรรยากาศของแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ 400 - 800
องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง
4. วิเคราะห์สมบัติของถ่านกัมมันต์ที่เตรียม ได้แก่
- วิเคราะห์พื้นที่ผิว (Surface area and Porosity analyzer ,
BET)
- วิเคราะห์องค์ประกอบโดยประมาณ (proximate analysis)
ประกอบด้วย %ความชื้น (%moisture) ตามวิธีของ Rengaral, %เถ้า
(%ash), %สารระเหย (%volatile matters) วิเคราะห์ตามวิธีของ
ASTM D2866-94 และ %คาร์บอนคงตัว (%fixed carbon)
- การศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์ และการวิเคราะห์
ธาตุและองค์ประกอบของ
ถ่านกัมมันต์ ด้วยเทคนิค Scanning Electron Microscope (SEM)
และ Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX)
- วิเคราะห์ pH โดยวิธีของ Alodul
- วิเคราะห์พื้นผิวที่ประจุเป็ นศูนย์ (pH at the point of zero
charge, pHpzc) โดยวิธีการเลื่อน pH หรือ pH drift method
5

- วิเคราะห์ความหนาแน่นรวม (bulk density) ด้วยวิธีของ


Sugumaran
- วิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเทคนิค Fourier-transform
infrared spectroscopy (FTIR)
5. ศึกษาการดูดซับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งใช้ถ่านกัมมัน
ต์ปริมาณ 0.01 กรัม ปริมาตรสารละลายไอบูโพรเฟน 50 มิลลิลิตร โดย
ใช้ไอบูโพรเฟนความเข้มข้นเริ่มต้น 20, 40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร
- วิเคราะห์เวลาการดูดซับที่เข้าสู่สมดุล เป็ นเวลา 3 นาที จนถึง 2
ชั่วโมง
- ปรับค่า pH ของสารละลายไอบูโพรเฟน โดยมีค่า pH ตั้งแต่ 2 –
12 ตามเวลาที่เข้าสู่สมดุล
- ศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ ความเข้มข้นเริ่มต้นของไอบูโพรเฟน 5
– 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามเวลาที่เข้าสู่สมดุล
- ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน โดยศึกษาที่
อุณหภูมิ 303 – 333 เคลวิน

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ถ่านกัมมันต์จากบัวหลวงที่ผ่านการกระตุ้นด้วยสารเคมี ที่มี
ประสิทธิภาพในการดูดซับยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ในแหล่งน้ำทิ้งจากโรงบำบัดน้ำเสีย
2. ได้ทราบเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากบัว
หลวงเพื่อใช้ในการดูดซับยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
3. ได้แนวทางในการนำวัสดุชีวมวลอย่างบัวหลวงมาเพิ่มคุณค่าด้วย
การทำถ่านกัมมันต์
6

บทที่ 2

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้วิจัยได้ให้รายละเอียดของทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้
รวมถึงได้ทำการทบทวน เอกสารงานวิจัยก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 บัวหลวง (Nelumbo nucifera)


บัวหลวงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera. และมีชื่อสามัญ
ว่า Lotus อยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae บัวหลวงเป็ นพืชไม้น้ำและไม้
ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ฝั งตัวอยู่ในโคลน ก้านใบและก้านดอกชู
เหนือน้ำ แผ่นใบเกือบกลมบริเวณผิวมีขนเส้นเล็กๆปกคลุม ทำให้ไม่เปี ยก
น้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง
30 - 40 เซนติเมตร ก้านใบมีความแข็งและมีหนามเล็ก ๆ เมื่อหักก้านใบ
จะมีสายใยและน้ำยางสีขาว ดอกเป็ นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ มีทั้งดอกป้ อม
และดอกแหลม กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น เมื่อกลีบ
บาน
เส้นผ่านศูนย์กลางจะมีขนาด 20 - 25 เซนติเมตร ดอกมีหลายรูปทรงและ
หลากสี เช่น สีขาว สีชมพู ขึ้นกับพันธุ์ของบัวหลวง โดยผู้วิจัยใช้บัวหลวง
ส่วนประกอบ ดังนี้ (กรมวิชาการเกษตร, 2564)
ใบบัวหลวง เป็ นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะชูขึ้น
เหนือน้ำ แผ่นใบเกือบกลม ขอบใบเรียบและเป็ นคลื่น ผิวด้านบนมีนวล
เคลือบทำให้แผ่นใบไม่เปี ยก
7

ก้านใบ/ก้านดอก เป็ นก้านแข็ง มีหนามเล็กๆ ล้อมรอบ เมื่อตัด


ขวางจะเห็นช่องอากาศภายใน ภายในเป็ นสายใยและมีน้ำยางขาว
ดอกบัวหลวง มีหลายรูปทรงและหลายสี เป็ นดอกเดี่ยวสีขาว
สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง
4 – 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกตูมมี
ขนาด 5 - 6 เซนติเมตร เมื่อกลีบดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 20 -
25 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

2.2 ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon)


ถ่านกัมมันต์เป็ นถ่านที่อยู่ในรูปคาร์บอนอสัณฐาน (amorphous
carbon) ชนิดหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการก่อกัมมันต์ (activation) ซึ่ง
ทำให้พื้นที่ผิวภายใน (internal surface area) เพิ่มขึ้น เนื่องจากมี
โครงสร้างเป็ นรูพรุนจำนวนมากโครงสร้างของถ่านกัมมันต์จะมีความแตก
ต่างจากถ่านชนิดอื่นๆ เช่น
ถ่านลิกไนท์ ถ่านโค้ก ถ่านไม้ หรือแกรไฟต์ เป็ นต้น และมีความสามารถ
ในการดูดซับสูง เนื่องจากมีพื้นที่ผิวมาก และโครงสร้างเป็ นแบบรูพรุน
ขนาดเล็กทำให้ความจุสำหรับการดูดซับสูง จึงดูดซับได้มาก
ถ่านกัมมันต์เป็ นคาร์บอนรูปแบบหนึ่งที่มีการผ่านกรรมวิธีทาง
กายภาพหรือทางเคมี เพื่อให้วัสดุมี
รูพรุนมาก และด้วยเหตุผลนี้ถ่านกัมมันต์จึงถูกใช้สำหรับการดูดซับและ
การใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น การทำให้น้ำบริสุทธิ์ การทำให้แก๊ส
บริสุทธิ์ การสกัดโลหะ การกู้คืนทองคำ ยา การบำบัดน้ำเสีย และตัว
กรองอากาศ เป็ นต้น
2.2.1 ประเภทของถ่านกัมมันต์
8

ในปั จจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ความก้าวหน้าในการผลิต


ถ่านกัมมันต์สามารถผลิตได้หลายรูปแบบ และมีวิธีการแบ่งประเภทถ่าน
กัมมันต์ตามลักษณะทางกายภาพ ดังนี้ (ฉวีวรรณ เพ็งพิทักษ์, 2562)
2.2.1.1 ถ่านกัมมันต์แบบผง (powered activated
carbon) เป็ นรูปแบบดั้งเดิมของถ่านและนิยมใช้โดยทั่วไป ผงถ่านมีขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.15 – 0.25 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับการเติม
ลงในภาชนะของเหลวโดยตรง
2.2.1.2 ถ่านกัมมันต์แบบเม็ด (granular activated
carbon) มีขนาดอนุภาคใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบผง เหมาะกับการ
ใช้ในการดูดซับแก๊สและไอระเหย เนื่องจากอัตราการแพร่กระจาย
เร็วกว่า
2.2.1.3 ถ่านกัมมันต์แบบอัดแท่ง (extruded activated
carbon) เป็ นถ่านที่นำมาอัดเป็ นรูปทรงเรขาคณิตที่เป็ นทรงกระบอกมี
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 - 45 มิลลิเมตร ใช้สำหรับการกรองดูดซับก๊าซ
และนิยมใช้งานมากกว่าถ่านกัมมันต์แบบผง เนื่องจากนำกลับมาใช้ใหม่ได้
2.2.1.4 ถ่านกัมมันต์เคลือบอนุภาค (impregnated
carbon) เป็ นถ่านกัมมันต์ชนิดพิเศษโดยเติมโมเลกุลสารประกอบที่ไม่ใช่
สารอินทรีย์ลงในโครงสร้าง เช่น การเติมอนุภาคของอะลูมิเนียม ทำให้
สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ ซึ่งเป็ นมากกว่าตัวกรองสาร
2.2.1.5 ถ่านกัมมันต์เคลือบพอลิเมอร์ (polymer-coated
carbon) เป็ นถ่านกัมมันต์ที่ถูกเคลือบด้วยพอลิเมอร์ที่เข้ากันได้ทาง
ชีวภาพ โดยใช้เทคนิคพิเศษ นำมาใช้เป็ นวัสดุทางการแพทย์ เช่น ดูดซับ
สารพิษออกจากเลือด
2.2.2 ประเภทของวัสดุที่มีรูพรุน
9

รูพรุนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้ณุพรุนมีความ
แตกต่างกันคือ รูปร่างของวัสดุ ขนาดรูพรุน ตำแหน่ง พันธะของวัสดุ และ
คุณสมบัติทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับพื้นผิววัสดุ
2.2.2.1 ขนาด ขนาดของรูพรุนมีอิทธิพลอย่างมากต่อ
คุณสมบัติของวัสดุที่มีรูพรุน และส่งผลต่อการใช้งาน ขนาดรูพรุนที่ใหญ่
ขึ้นจะทำให้อนุภาคขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้ปฏิกิริยาของ
วัสดุเพิ่มขึ้น ขนาดรูพรุนของวัสดุสามารถจำแนกตาม IUPAC
(International Union of Pure and Applied Chemistry) คือ
(1) รูพรุนขนาดเล็ก (micropores) มีขนาดน้อยกว่า 2 นาโน
เมตร
(2) รูพรุนขนาดกลาง (mesopores) มีขนาดรูพรุนระหว่าง 2
ถึง 50 นาโนเมตร
(3) รูพรุนขนาดใหญ่ (macropores) มีขนาดมากกว่า 50
นาโนเมตร
2.2.2.2 ตำแหน่ง รูพรุนสามารถพบได้บนพื้นผิวของวัสดุหรือ
ในโครงสร้างภายใน ซึ่งสอดคล้องกับพันธะภายในโครงสร้างที่ทำให้เกิด
ความเป็ นระเบียบหรือไม่เป็ นระเบียบภายในวัสดุ
2.2.3 กระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์
กรรมวิธีการผลิตถ่านกัมมันต์มีหลายวิธี ขึ้นกับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้
และคุณสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ต้องการ แต่โดยทั่วไปประกอบด้วย 3
ขั้นตอน คือ การเตรียมวัตถุดิบโดยใช้การกระตุ้นทางเคมี (นุชจิรา ดีแจ้ง,
2560)
2.2.3.1 การเตรียมวัตถุดิบ
ถ่านกัมมันต์สามารถผลิตได้จากหลายวัตถุดิบ โดยต้องมี
คาร์บอนเป็ นองค์ประกอบหลัก เช่น ไม้ ขี้เลื่อย หรือวัตถุดิบถ่าน เป็ นต้น
10

การคัดเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับการทำถ่านกัมมันต์คือ มีค่า
คาร์บอนคงตัวสูง ปริมาณความชื้นต่ำ มีสารระเหยได้ ปริมาณขี้เถ้าต่ำ ไม่
สลายตัวเมื่อเก็บ จะสามารถนำมาผลิตถ่านกัมมันต์ที่มีคุณภาพสูง ต้นทุน
ต่ำ และกระบวนการผลิต
2.2.3.2 การคาร์บอไนซ์ (carbonization)
การคาร์บอไนซ์เป็ นวิธีทางไพโรไรซิส (pyrolysis) โดยการนำ
วัตถุดิบมาเผาในที่อับอากาศอุณหภูมิต่ำกว่า 800 องศาเซลเซียส ขึ้นกับ
ชนิดของวัตถุดิบ การคาร์บอไนซ์เป็ นขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำ
ถ่านกัมมันต์ เนื่องจากเป็ นขั้นตอนที่เริ่มสร้างโครงสร้างให้มีรูพรุน ใน
ระหว่างการคาร์บอไนซ์ธาตุรวมถึงองค์ประกอบที่ไม่ใช่คาร์บอนและสาร
ระเหยต่างๆ จะถูกกำจัดออกจากโครงสร้างของวัตถุดิบในรูปของแก๊สและ
น้ำมันทาร์ จะได้ถ่านที่มีโครงสร้างเป็ นผลึกที่จัดเรียงกันไม่เป็ นระเบียบ
และมีช่องว่างรูพรุนระหว่างผลึก
2.2.3.3 การกระตุ้น (chemical activation)
ถ่านกัมมันต์สามารถกระตุ้นได้ 2 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่ การกระตุ้
นทางกายภาพ และการกระตุ้นทางเคมี ดังนี้
การกระตุ้นทางกายภาพ (physical activation) เป็ นการ
กระตุ้นด้วยการใช้
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ อากาศ หรือไอน้ำ ซึ่งใช้ความร้อนในการเผาสูง
ถึง 800 – 1,000 องศาเซลเซียส เพราะไอน้ำที่ใช้ต้องเป็ นไอน้ำที่ร้อน
ยิ่งยวด (superheated stream) เพื่อให้สารอินทรีย์ต่างๆ สลายไปทำให้
โครงสร้างภายในมีลักษณะรูพรุน (porous) การกระตุ้นด้วยไอน้ำเป็ นการ
กระตุ้นทางกายภาพอย่างหนึ่งทำโดยใช้ไอน้ำยิ่งยวด ซึ่งมีอุณหภูมิตั้งแต่
750 - 950 องศาเซลเซียส ไอน้ำจึงสามารถทำปฏิกิริยากับผลึกถ่านได้
(นุชจิรา ดีแจ้ง, 2560)
11

การกระตุ้นทางเคมี (chemical activation) เป็ นการนำ


วัตถุดิบผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็ นสารกระตุ้น โดยทำการคาร์บอไนซ์ที่
อุณหภูมิ 500 - 900 องศาเซลเซียส ขึ้นกับชนิดของวัตถุดิบและสารเคมี
ที่ใช้ สารเคมีที่ใช้เป็ นสารกระตุ้น เช่น โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)
ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) และ
กรดฟอสฟอริก (H3PO4) เป็ นต้น สารเคมีที่เติมลงไปจะช่วยทำลาย
โครงสร้าง สลายตัวสารอินทรีย์ในวัตถุดิบ และเกิดการเชื่อมไขว้กัน
(cross-link) ของโครงสร้าง ซึ่งทำให้ถ่านกัมมันต์เกิดรูพรุน ข้อดีคือ ใช้
อุณหภูมิไม่สูง ส่วนข้อเสียคือ ทำให้ยังคงมีสารเคมีบางส่วนอยู่ในถ่านกัม
มันต์

2.3 การวิเคราะห์และการทดสอบคุณสมบัติ
2.3.1 เครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrometer
(FT-IR)
เครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR)
เป็ นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์วัสดุที่เป็ นสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์
เพื่อตรวจวิเคราะห์หาโครงสร้างและองค์ประกอบของโมเลกุลร่วมกับ
เทคนิคอื่น โดยอาศัยหลักการของการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดช่วง
คลื่นปานกลาง (Middle infrared region) ประมาณ 400 – 4,000
-1
เซนติเมตร หากโมเลกุลรับพลังงานจากคลื่นรังสีดังกล่าว ซึ่งมีความถี่
ตรงกับการสั่น หรือ
การหมุนของพันธะโควาเลนซ์ ทำให้โมเลกุลเกิดการดูดกลืนแสงและ
เปลี่ยนแปลงค่าโมเมนต์ไดโพล (Dipole moment)จากนั้นเครื่องมือจะ
วัดค่าความเข้มแสงต่อความถี่หรือความยาวคลื่น (Wave number) ได้ผล
12

เป็ นสเปกตรัม ซึ่งในแต่ละพันธะของหมู่ฟั งก์ชันจะแสดงค่าความยาวคลื่น


เฉพาะต่างกัน (ณัฐศิริ วงษ์แสง, 2565)
2.3.2 เครื่องวิเคราะห์พื้นที่ผิวและคุณสมบัติของรูพรุน
(Surface Area and Pore Size Analyzer)
เครื่องวิเคราะห์พื้นที่ผิวและคุณสมบัติของรูพรุน (Surface Area
and Pore Size Analyzer) เป็ นเครื่องมือวิเคราะห์พื้นที่ผิว ขนาดการก
ระจาย และปริมาตรของรูพรุน โดยใช้หลักการดูดซับหรือคายก๊าซ เช่น
ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซอาร์กอน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน
และก๊าซที่ไม่มีการกัดกร่อน เป็ นต้น
ในการหาพื้นที่ผิว เครื่องวิเคราะห์พื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนจะวัด
ตัวอย่างของแข็งที่ได้รับการปรับสภาพล่วงหน้าด้วยกระบวนการทาง
ความร้อน สุญญากาศ หรือก๊าซที่ไหลรวมกันเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้ อนที่ดูด
ซับ จากนั้นของแข็งจะถูกทำให้เย็นลงภายใต้สภาวะสุญญากาศ (-196
องศาเซลเซียส) โดยก๊าซไนโตรเจน จะถูกป้ อนเข้าสู่ของแข็ง หลังจากการ
ดูดซับแต่ละครั้งความดันภายในเครื่องจะเข้าสมดุลและคำนวณปริมาณ
ของก๊าซที่ดูดซับ ปริมาตรของก๊าซที่ดูดซับในแต่ละความดัน (ที่อุณหภูมิ
คงที่หนึ่ง) จะเป็ นตัวกำหนดไอโซเทอมของการดูดซับ ซึ่งกำหนดปริมาณ
ของก๊าซที่จำเป็ นในการสร้างพื้นผิวภายนอกของของแข็งและรูพรุนของ
ของแข็ง เมื่อทราบพื้นที่ที่ครอบคลุมโดยโมเลกุลของก๊าซที่ถูกดูดซับแล้ว
เครื่องวิเคราะห์พื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนสามารถคำนวณพื้นที่ผิวได้
2.3.3 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning
Electron Microscope (SEM))
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ใช้ลำแสง
อิเล็กตรอนพลังงานสูงสร้างสัญญาณหลากหลายที่พื้นผิวของชิ้นงานที่เป็ น
ของแข็ง สัญญาณที่ได้มาจากปฏิสัมพันธ์ของอิเล็กตรอนกับตัวอย่างจะ
13

ทำให้ทราบลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอก (พื้นผิว) องค์ประกอบทาง


เคมี โครงสร้างผลึกและการวางแนวของวัสดุที่ประกอบขึ้นเป็ นตัวอย่าง
ในการใช้งานส่วนใหญ่ข้อมูลจะถูกเก็บจากการส่องกราดพื้นที่ผิวของ
ตัวอย่างที่เลือกไว้ และสร้างเป็ นภาพภาพ 2 มิติที่แสดงการเปลี่ยนแปลง
เชิงพื้นที่ในคุณสมบัติเหล่านี้ พื้นที่ที่มีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร
ถึง 5 ไมครอนสามารถถ่ายภาพในโหมดการสแกนโดยใช้เทคนิค SEM
ทั่วไป (กำลังขยายตั้งแต่ 20X ถึงประมาณ 30,000X ซึ่งมีความละเอียด
50 ถึง 100 นาโนเมตร) นอกจากนี้ SEM ยังสามารถทำการวิเคราะห์
ตำแหน่งของจุดที่เลือกบนตัวอย่าง
2.3.4 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยรังสีเอกซ์ (Energy
Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX))
Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX) เป็ นเทคนิค
การวิเคราะห์ที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีหรือองค์ประกอบ
ของวัสดุได้ ตัวอย่างที่กระตุ้นโดยแหล่งพลังงาน (เช่น ลำแสงอิเล็กตรอน
ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน) จะกระจายพลังงานที่ดูดกลืนออกไปบาง
ส่วนโดยการดีดอิเล็กตรอนจากเปลือกแกนกลางออกมา จากนั้น
อิเล็กตรอนเปลือกนอกที่มีพลังงานสูงกว่าจะเข้ามาแทนที่ ปล่อยความ
แตกต่างของพลังงานออกมาเป็ นรังสีเอกซ์ที่มีสเปกตรัมลักษณะเฉพาะ
ตามอะตอมของแหล่งกำเนิด ทำให้สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของ
ตัวอย่างที่ได้รับการกระตุ้นจากแหล่งพลังงาน ตำแหน่งของพีคใน
สเปกตรัมจะระบุองค์ประกอบ ในขณะที่ความเข้มของสัญญาณจะ
สอดคล้องกับความเข้มข้นขององค์ประกอบ

2.4 กระบวนการดูดซับ (Adsorption process)


14

กระบวนการดูดซับ เป็ นกระบวนการที่เกิดจากแรงกระทำระหว่าง


โมเลกุลของตัวถูกดูดซับ (Adsorbate) กับพื้นที่ผิวของถ่านกัมมันต์หรือ
ตัวดูดซับ (Adsorbent) ซึ่งแรงที่กระทำดังกล่าว นั่นคือ
แรงทางกายภาพและทางเคมี จึงจำแนกกระบวนการดูดซับออกเป็ น 2
ประเภท (สุคนทิพย์, 2561) ได้ดังนี้
1. การดูดซับทางกายภาพ (Physical adsorption) โมเลกุลของ
ของตัวถูกดูดซับกับผิวของ
ตัวดูดซับ แรงดึงดูดระหว่างทั้งสองจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิปกติและ
อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิบรรยากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนพื้นผิวของตัว
ดูดซับโดยตรงและบนชั้นของโมเลกุลของตัวถูกดูดซับที่สะสมบนพื้นผิว
ของตัวดูดซับ แบบไม่จำกัดจำนวนโมเลกุล ซึ่งเป็ นการดูดซับหลายชั้น
(Multilayer adsorption)
2. การดูดซับทางเคมี (Chemical adsorption) โมเลกุลของ
ของตัวถูกดูดซับกับผิวของตัวดูดซับ จะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ในลักษณะ
เดียวกันกับการเกอดปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิสูงๆและเกิด
ขึ้นเฉพาะบนผิวของตัวดูดซับเท่านั้น การดูดซับเคมีจึงเกิดได้เพียงชั้นเดียว
ซึ่งเป็ นการดูดซับชั้นเดียว (Monolayer adsorption)
2.4.1 ปั จจัยที่มีผลต่อการดูดซับ
2.4.1.1 ความปั่ นป่ วน อัตราเร็วของการดูดซับอาจขึ้นอยู่กับ
แผ่นหรือรูพรุนการแพร่ ถ้าน้ำมีความปั่ นป่ วนต่ำ ฟิ ล์มน้ำที่ล้อมรอบตัวดูด
ซับจะมีความหนามาก และเป็ นอุปสรรคสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของ
โมเลกุลเข้าไปหาตัวดูดซับ
2.4.1.2 ขนาดและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ จะส่งผลต่อ
อัตราเร็วและปริมาณการดูดซับ
15

นั่นคือเมื่อตัวดูดซับมีขนาดเล็ก อัตราการดูดซับจะสูงกว่าขนาดใหญ่ และ


หากตัวดูดซับมีพื้นที่ผิวมากจะสามารถดูดซับได้มากกว่าที่มีพื้นผิวน้อย
2.4.1.3 ความสามารถการละลายน้ำของสารที่ถูกดูดซับบน
ผิวของตัวดูดซับ การดูดซับที่เกิดขึ้นนั้นโมเลกุลจะถูกดึงออกจากน้ำ
แล้วไปเกาะที่ผิวของแข็งแทน แต่สารที่ละลายน้ำได้มีแรงยึดเหนี่ยวกับน้ำ
ซึ่งอาจยากต่อการดูดซับ ในทางตรงกันข้ามของสารที่ไม่ละลายน้ำหรือ
ละลายน้ำได้น้อยจึงสามารถติดผิวคาร์บอนได้ง่าย ทำให้การดูดซับอาจ
เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็ไม่สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าความสามารถของ
การดูดซับและความสามารถของการละลายน้ำมีความสัมพันธ์ที่แน่แท้
เนื่องจากมีสารบางตัวที่ละลายน้ำได้น้อยหลายชนิดเกาะติดผิวของสารดูด
ซับได้ง่าย
2.4.1.4 ค่า pH ส่งผลต่อการดูดซับ เนื่องด้วยค่า pH มี
อิทธิพลต่อการแตกตัวเป็ นไอออน และการละลายน้ำของสารต่างๆ
2.4.1.5 อุณหภูมิ โดยอุณหภูมิจะแปรผันตรงกับอัตราเร็ว
อาทิ หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอัตราเร็วจะเพิ่มขึ้นตามด้วย และอุณหภูมิจะ
แปรผันตรงกับความสามารถของการดูดซับ
2.4.1.6 ระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับ ต้องใช้ระยะเวลาที่มาก
พอสำหรับการดูดซับที่จะเข้าสู่สภาวะสมดุล

2.5 ไอโซเทอมการดูดซับ (adsorption isotherm)


เป็ นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของตัวถูกดูดซับกับ
ความดัน หรือปริมาณของตัวถูกดูดซับกับความเข้มข้นของสารละลายที่
สภาวะสมดุลของการดูดซับ ซึ่งจะควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ ได้แบ่งลักษณะ
ไอโซเทอมการดูดซับออกเป็ น 6 แบบ ดังนี้ (เสาวภา, 2558)
16

ไอโซเทอมที่ 1 เป็ นไอโซเทอมการดูดซับแบบชั้นเดียว หรือ ไอโซ


เทอมแบบแลงเมียร์ (ไอโซเทอม
การดูดซับ) ซึ่งการดูดซับส่วนใหญ่จะเป็ นการดูดซับที่มีขนาดรูพรุนขนาด
เล็กกว่า 2 นาโนเมตร การดูดซับจึงถูกจำกัดเนื่องจากไม่สามารถผ่าน
เข้าไปยังรูพรุนขนาดเล็กได้เมื่อตัวดูดซับมีขนาดใหญ่กว่า
ไอโซเทอมที่ 2 เป็ นไอโซเทอมการดูดซับหลายชั้น หรือ ไอโซเทอม
รูปตัวเอส (S-shaped isotherm) จะเกิดกับวัสดุที่มีรูพรุนขนาดใหญ่หรือ
ไม่มีรูพรุน ที่จุด B จากรูปที่ 1 เป็ นจุดเปลี่ยนกราฟ (inflection point
หรือ knee ofisotherm) เป็ นตำแหน่งที่ผิวหน้าของตัวถูกดูดซับปกคลุม
แบบชั้นเดียว การดูดซับจะเกิดมากกว่าหนึ่งชั้น ถ้ามีการเพิ่มความดัน
ไอโซเทอมที่ 3 เป็ นไอโซเทอมที่มักไม่พบบ่อย และไม่มีจุดเปลี่ยน
กราฟ รูปร่างคล้ายกระจกเว้า
การดูดซับเกิดขึ้นกับของแข็งที่มีรูพรุนขนาดเล็ก หรือไม่มีรูพรุนและดูดซับ
ไม่แข็งแรง เกิดการดูดซับแบบ
ชั้นเดียวทำให้ความดันสัมพัทธ์ต่ำ เมื่อเกิดการดูดซับแบบหลายชั้น
แรงดึงดูดระหว่างตัวถูกดูดซับด้วยกันเองจะมีค่าการดูดซับที่มากขึ้นและมี
ความดันสัมพัทธ์ที่มีค่าสูง
ไอโซเทอมที่ 4 เป็ นไอโซเทอมที่พบมากในวัสดุที่มีรูพรุนขนาดกลาง
(ขนาดรูพรุนระหว่าง 2-50
นาโนเมตร) ในช่วงแรกเส้นไอโซเทอมจะมีลักษณะคล้ายกับไอโซเทอมที่ 2
ซึ่งมีความดันสัมพัทธ์ต่ำ ต่อมา
การดูดซับจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อความดันสัมพัทธ์สูงเนื่องจากการ
ควบแน่นของแคปี ลารี (capillary condensation) ขึ้นในรูพรุนทำให้เกิด
ฮีทเทอรีซีส (hysteresis loop) ในช่วงการคายซับ จากนั้นนำข้อมูล
การควบแน่นแคปี ลารี (capillary condensation) ทำการคำนวณค่า
17

การกระจายของรูพรุน (pore size distribution) ในตัวดูดซับ ซึ่งการ


ควบแน่นของแคปี ลารีทำให้ช่วงการคายซับมีปริมาณการดูดซับที่สูงกว่า
การดูดซับที่ความดันเท่ากัน
ไอโซเทอมที่ 5 มีลักษณะไอโซเทอมที่คล้ายกับไอโซเทอมที่ 3 แต่
ต่างกันที่เกิดการควบคุมในรูพรุน โดยยังมีฮีทเทอรีซีสอยู่ (hysteresis
loop) และเป็ นไอโซเทอมที่มักพบไม่บ่อย
ไอโซเทอมที่ 6 เป็ นไอโซเทอมที่มีลักษณะเป็ นขั้นบันได (Stepped
isotherm) และเป็ นไอโซเทอมที่มักพบไม่บ่อย ส่วนมากพบในการดูดซับ
ที่เป็ นชั้นต่อชั้นบนพื้นผิวที่คล้ายกัน โดยรูปร่างจะขึ้นกับอุณหภูมิและ
ระบบของการดูดซับ

รูปที่ 2.1 ไอโซเทอมการดูดซับ

ไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์ (Langmuir adsorption


isotherm)
18

ใช้สำหรับการดูดซับแบบชั้นเดียว ซึ่งโมเลกุลของตัวถูกดูดซับจะไม่
เกิดการทับซ้อนกัน มีการจัดเรียงตัวเพียงชั้นเดียวบนพื้นผิวของตัวดูดซับ
ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์สำหรับการดูดซับได้ดังสมการ

qm K L C
q =
1+ K L C
สมการที่

(1)

เมื่อ q คือ ปริมาณตัวถูกดูดซับที่ถูกดูดซับบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์


ต่อมวลตัวดูดซับ
qm คือ ปริมาณการดูดซับสูงสุด (มิลลิกรัมต่อกรัม)
KL คือ ค่าคงที่ไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์ (ลิตรต่อ
มิลลิกรัม)
C คือ ความเข้มข้นหลังการดูดซับ
19

ไอโซเทอมการดูดซับแบบฟรุนดิช (Freundlich adsorption


isotherm)
การดูดซับที่พื้นผิวของตัวดูดซับจะไม่เป็ นเนื้อเดียวกันตลอด และ
พื้นที่ผิวของถ่านกัมมันต์มีลักษณะขรุขระ เป็ นไอโซเทอมที่พัฒนาจากไอ
โซเทอมแบบแลงเมียร์ ซึ่งการดูดซับบนพื้นผิวของตัวถูกดูดซับจะเป็ นแบบ
หลายชั้น ดังสมการนี้

สมการ
1/n
q = KFC

ที่ (2)

เมื่อ KF คือ ค่าคงที่ไอโซเทอมของการดูดซับแบบฟรุนดิช (มิลลิกรัม


1/n
ต่อกรัม)(ลิตรต่อมิลลิกรัม)
n คือ ใช้บ่งชี้ลักษณะเส้นกราฟไอโซเทอมของการดูดซับ โดย
ทั่วไป n จะมีค่ามากกว่าหนึ่ง

2.6 การศึกษาการดูดซับโดยใช้แบบจำลองของจลนพลศาสตร์การ
ดูดซับอันดับหนึ่งเทียม (pseudo-first order) และ อันดับสองเทียม
(pseudo-second order)
เป็ นการศึกษาเพื่ออธิบายกลไกการดูดซับจากอันดับของปฏิกิริยา
ของแบบจำลองจลนพลศาสตร์
การดูดซับอันดับหนึ่งเทียม (pseudo-first order) และแบบจำลอง
จลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับสองเทียม (pseudo-second order)
โดยแบบจำลองจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับหนึ่งเทียม (pseudo-first
order) จะอธิบายถึงกลไกการดูดซับเป็ นผลมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้ า
20

ระหว่างพื้นผิวของตัวดูดซับกับโมเลกุล
ตัวถูกดูดซับและการดูดซับเป็ นการดูดซับทางเคมี หาได้จากสมการที่ (1)
สำหรับแบบจำลองจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับสองเทียม
(pseudo- second order) ใช้สำหรับอธิบายกลไกการดูดซับจาก
แรงดึงดูดทางไฟฟ้ าและเป็ นการดูดซับทางเคมีที่เป็ นผลจากตำแหน่ง
การเกิดปฏิกิริยา (Active site) จากสมการที่ (2)

pseudo-first order: ln ( qe - q t ) = lnq e - K1 t

สมการที่ (3)

t 1 t
pseudo-second order: = -
q t K2 qe qe
2

สมการที่ (4)

-1
เมื่อ K1 คือ ค่าคงที่ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียม (min )
K2 คือ ค่าคงที่ปฏิกิริยาอันดับสองเทียม (g/mg-min)
21

2.7 ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)


ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen, (RS)-2- (4
isobutylphenyl)propanoic acid, CAS number 15687-27-1) เป็ น
หนึ่งในกลุ่มยาที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่ชนิดสเตียรอยด์ (NSAIDs)
รวมถึงเป็ นยาหลักที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (Essential Drugs List)
ขององค์การอนามัยโลก จึงมีการผลิตในปริมาณมากทั่วโลกและใช้กัน
อย่างแพร่หลาย โดยใช้เป็ นยาลดไข้ บรรเทาอาการปวดตามที่ต่างๆใน
ร่างกาย และต้านการอักเสบเพื่อบรรเทาอาการข้ออักเสบ โรคไขข้อ
(Hayashi et al., 2008) ไอบูโพรเฟนละลายได้เล็กน้อยในน้ำ ที่ pH
เป็ นกลางและเป็ นกรด ในทางตรงกันข้ามไอบูโพรเฟนสามารถละลายได้
ง่ายในตัวทำละลายอินทรีย์ และ
มีความคล่องตัวสูงในสภาพแวดล้อมทางน้ำ (Mestre et al. 2007) ทำให้
ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำเป็ นอย่างมาก มีรายงานความเข้มข้นที่
ค่อนข้างสูงขึ้นของไอบูโพรเฟนในน้ำเสียของโรงงานบำบัดน้ำเสีย (Brun
et al., 2006; Gömez et al., 2007) และ เมื่อมีการปนเปื้ อนในสิ่ง
แวดล้อมทางน้ำ ทำให้ส่งผลต่อการสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ วิธีการกำจัดไอบู
โพรเฟนจะใช้วิธีการดูดซับโดยใช้ถ่านกัมมันต์เป็ นตัวดูดซับ ซึ่งเป็ นหนึ่งใน
วิธีที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับการบำบัดน้ำที่ปนเปื้ อน นอกจากนี้ยังสามารถ
ขจัดความเข้มข้นบางส่วนของไอบูโพรเฟนออกจากน้ำเสียได้

2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Bello et al. (2020) ศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์จากแกลบ
มะพร้าว โดยใช้กระบวนการกระตุ้นด้วยสารเคมีคือกรดฟอสฟอริก
(H3PO4) ทำให้เกิดรูพรุนขนาดใหญ่บนพื้นผิวของตัวดูดซับ แล้วนำไปคาร์
บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส นาน 60 นาที ปล่อยให้อุณหภูมิ
22

ลดลงและล้างด้วยน้ำได้ค่า pH เท่ากับ 6.78 จากนั้นนำไปอบที่ 105


องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 4 ชั่วโมง และนำไปวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
ด้วยเทคนิค FTIR และศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน พบว่าค่าปริมาณการ
ดูดซับสูงสุด (qm) มีค่า 76.92 มิลลิกรัมต่อกรัม และแบบจำลองของแลง
2
เมียร์เหมาะสมที่สุดกับการดูดซับ (R ≤ 0.999) ส่วนอุณหพลศาสตร์ ค่า
0 0
∆G และ ∆H เท่ากับ 106.63 กิโลจูลต่อโมล แสดงให้เห็นว่าเป็ น
ปฏิกิริยาดูดความร้อน
Balarak et al. (2021) ศึกษาการดูดซับยาปฏิชีวนะไอบูโพรเฟน
ซึ่งใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตขึ้นจาก
แหนเล็กเป็ นตัวดูดซับ นำแหนเล็กปริมาณ 100 กรัม แช่ในซิงค์คลอไรด์
28% (ZnCl2) ปริมาตร 1 ลิตร
ในเวลา 12 ชั่วโมง แล้วอบให้แห้ง 24 ชั่วโมง อุณหภูมิ 105 องศา
เซลเซียส จากนั้นใส่เตาอบเซรามิกที่ปิ ดสนิท และไพโรไลซิสภายใต้แก๊ส
ไนโตรเจน ที่ 350 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิเตาอบเพิ่ม
ขึ้นต่อเนื่องเป็ น 650 องศาเซลเซียส ร้อยละผลได้เท่ากับ 0.482 ทำการ
วิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีพื้นที่ผิวเท่ากับ 1,164.5
ตารางเมตรต่อกรัม และปริมาตรรูพรุนรวมเท่ากับ 0.417 ลูกบาศก์
เซนติเมตรต่อกรัม
ทำการวิเคราะห์พื้นผิวที่ประจุเป็ นศูนย์ (pHpzc) ได้ค่าเท่ากับ 6.6 รวมถึง
ใช้ด้วยเทคนิค SEM ในการวิเคราะห์โครงสร้าง และการศึกษาการดูดซับ
ของไอบูโพรเฟน มีค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับการดูดซับเท่ากับ 3
เมื่อวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ ฟรุน
ดิช เทมคิน และดูบินิน-ราดัชเควิช พบว่าเวลาที่สมดุลคือ 75 นาที แบบ
จำลองของแลงเมียร์บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ได้ดีที่สุดกับข้อมูลการทดลอง
และความสามารถในการดูดซับสูงสุดของไอบูโพรเฟน คือ 124.5, 141.8,
23

159.2 และ 181.2 มิลลิกรัมต่อกรัม


ที่ 283, 298, 313 และ 328 เคลวิน ตามลำดับ การดูดซับชั้นเดียวบนพื้น
ผิวของถ่านกัมมันต์ พบว่าการดูดซับเป็ นไปตามแบบจำลอง
จลนพลศาสตร์อันดับสองเทียม
Beyan et al. (2021) ศึกษาการขจัดความต้องการออกซิเจนทาง
ชีวภาพ (BOD) และความต้องการออกซิเจนทางเคมี (COD) ของเสียจาก
สิ่งทอ โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตขึ้นจากกากอ้อย (SBAC) นำชานอ้อยมา
ล้างด้วยน้ำกลั่นให้สะอาดและนำไปอบที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส
ระยะเวลา 24 ชั่วโมง และนำมาร่อนให้ได้ขนาดอนุภาค 250 ไมโครเมตร
จากนั้นกระตุ้นด้วยวิธีการทางเคมีโดยใช้วัตถุดิบต่อกรดซัลฟิ วริกเป็ น
อัตราส่วน 1:3 (ร้อยละโดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก) ต่อมาถูกทำให้แห้งด้วย
การอบเป็ นเวลา 4 ชั่วโมง ที่ 115
องศาเซลเซียส นำไปอบที่เตาเผาความร้อนสูง (muffle furnace) เวลา 2
ชั่วโมง ที่ 450 องศาเซลเซียส ถ่านถูกแช่ในสารละลายโซเดียมไบ
คาร์บอเนตความเข้มข้นร้อยละ 1 สำหรับ 4 ชั่วโมง ชะล้างด้วยน้ำกลั่น
ตามด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้นร้อยละ 4 เพียงครั้งเดียว เป็ น
เวลา 24 ชั่วโมง เพื่อชะล้างความเป็ นกรด
เมื่อชะล้างเสร็จอบแห้งข้ามคืนโดยใช้อุณหภูมิในการอบ 120 องศา
เซลเซียส บดและร่อนเพื่อให้ได้ขนาดอนุภาคตั้งแต่ 250 ถึง 300
ไมโครเมตรนำมาใช้เป็ นถ่านกัมมันต์ ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD,
SEM, BET และ FTIR เมื่อนำตัวดูดซับไปวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของตัวดูด
ซับ พบว่ามีขนาด 591 ตารางเมตรต่อกรัม วัดค่า
ความเป็ นกรด-เบสได้ 8.9 ความสามารถในการขจัด BOD และ COD โดย
ใช้เทคนิค RSM ค่าที่เหมาะสมคือ ปริมาณตัวดูดซับ 0.915 กรัมต่อลิตร มี
24

ค่า pH เป็ น 3.225 และใช้เวลา 98.91 นาที ค่าที่ขจัด BOD และ COD
-1
ได้ คือ 0.0225 และ 0.023 มิลลิกรัมต่อลิตร.นาที ตามลำดับ
Nourmoradi et al. (2018) ศึกษาถ่านกัมมันต์จากโอ๊ก ที่กระตุ้น
ด้วยกระบวนการทางเคมี ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) และ
กรดฟอสฟอริก (H3PO4) ในอัตราส่วนมวลระหว่างวัตถุดิบและสารกระตุ้น
1:1 และ 1:2 นำไปคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 600 องซาเซลเซียส ใช้เวลา 1
ชั่วโมง เพื่อขจัดอะเซตามิโนเฟน และไอบูโพรเฟน ออกจากสารละลายที่
เป็ นน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ตัวดูดซับที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอก
ไซด์และกรดฟอสฟอริก
มีความสามารถในการดูดซับสูงสุดสำหรับอะเซตามิโนเฟน (45.45
มิลลิกรัมต่อกรัม) และไอบูโพรเฟน (96.15 มิลลกรัมต่อกรัม) ตามลำดับ
ที่เวลาสัมผัส 150 นาที, 120 นาที และค่า pH เท่ากับ 3 ตามลำดับ
จากการศึกษาจลนพลศาสตร์และไอโซเทอม แสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง
จลนพลศาสตร์อันดับสองเทียม และ
ไอโซเทอมของฟรุนดิช เหมาะสมที่สุดเมื่อเทียบกับแบบจำลองอื่นๆ และ
การศึกษาอุณหพลศาสตร์พบว่า
การดูดซับอะเซตามิโนเฟน และไอบูโพรเฟน โดยตัวดูดซับมีลักษณะดูด
ความร้อน นอกจากนี้ได้ทำ
การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเทคนิค FTIR และวิเคราะห์สมบัติรู
พรุนร่วมด้วย
Lütke et al. (2019) ศึกษาการทำถ่านกัมมันต์จากเศษเปลือกไม้
ต้นเหนียงดำและทำการดูดซับสารประกอบฟี นอล การเตรียมถ่านกัมมันต์
ทำได้โดยการนำเศษเปลือกไม้ต้นเหนียงดำมาล้างด้วยน้ำ (80
องศาเซลเซียส) และเอทานอล (60 องศาเซลเซียส) ตามลำดับ ต่อมาก
25

รองเศษออกและอบที่อุณหภูมิ 40
องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 วัน ล้างและกรองอีกครั้งให้มีขนาดอนุภาคเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 300 ถึง 425 ไมโครเมตร สำหรับขั้นตอนต่อไปเป็ นการ
กระตุ้นทางเคมีด้วยซิงค์(II)คลอไรด์ ใช้วัตถุดิบ 10 กรัม เติมสารละลาย
ซิงค์(II)คลอไรด์จนมีปริมาตร 200 มิลลิลิตร ในอัตราส่วนสารละลายต่อ
วัตถุดิบร้อยละ 20 โดยมวล และปั่ นกวนที่อุณหภูมิห้อง เป็ นเวลา 12
ชั่วโมง จากนั้นนำมากรองที่ภาวะสุญญากาศและอบแห้ง 24 ชั่วโมง ที่
อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส นำไปคาร์บอไนเซชั่นในเตาเผาโดยอุณหภูมิ
อยู่ที่ 700 องศาเซลเซียส ที่เวลา 2 ชั่วโมง เมื่อนำออกมาแล้วให้ทำการ
ชะล้างด้วยกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 0.5 โมลต่อลิตร ที่ 95
องศาเซลเซียส นาน 30 นาที และล้างหลายครั้งด้วยน้ำกลั่นจนมีค่า pH
ถึง 6 หลังจากนั้นนำไปอบให้แห้งที่ 110 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 วัน
ทำการวิเคราะห์หาสมบัติของรูพรุนตัวดูดซับ พบว่า มีค่า 414.097
ตารางเมตรต่อกรัม ค่า pH ของตัวดูดซับ คือ 6.5 เมื่อนำตัวดูดซับที่
เตรียมไปดูดซับพีนอล ความสามารถในการดูดซับสูงสุดคือ 98.57
มิลลิกรัมต่อกรัม ที่ 55 องศาเซลเซียส การดูดซับมีประสิทธิภาพร้อยละ
95.98
ในการกำจัดสารประกอบฟี นอล
Theamwong et al. (2021) การศึกษาถ่านกัมมันต์จากฝั กของต้น
กัลปพฤกษ์โดยดูดซับสีย้อม
แอนไอออนและยาปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซิน โดยฝั กเมล็ดถูกทำให้แห้ง
ที่ 110 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง จากนั้นกระตุ้นกระบวนการทางเคมี
ด้วยการเติมสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ในอัตราส่วน
สารชีวมวลต่อตัวกระตุ้นที่ 1:1 เป็ นเวลานาน 24 ชั่วโมง และทำให้แห้งที่
110 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน จากนั้นเผาที่อุณหภูมิ 700 องศา
26

เซลเซียส ในเวลา 1 ชั่วโมง ภายใต้การไหลของแก๊สไนโตรเจนเท่ากับ


200 มิลลิลิตรต่อนาที ถ่านกัมมันต์ถูกชะล้างด้วยน้ำรีเวิร์สออสโมซิส (RO)
จนได้ค่า pH เป็ นกลาง นำไปอบแห้งที่ 110 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 1
วัน เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่า การดูดซับสีย้อมคองโกเรด (congo red) มี
ค่าสูงมากโดยอยู่ที่ 970 มิลลิกรัมต่อกรัม ถึงแม้ว่าพื้นที่ผิวของวัสดุที่
ทดสอบได้มีค่าปานกลางที่ 283.4
ตารางเมตรต่อกรัม เมื่อนำถ่านกัมมันต์ไปวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันด้วย
เทคนิค FTIR พบว่าเป็ นรูปแบบอะโรมาติกคาร์บอนมีความดูดซับยา
ปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซิน (600 มิลลิกรัมต่อกรัม) ได้อย่างดีเยี่ยม
Paredes-Laverde et al. (2019) ศึกษาการกำจัดอะเซตามิโน
เฟนด้วยถ่านกัมมันต์ที่เป็ นตัวดูดซับจากข้าวและเปลือกกาแฟ นำวัตถุดิบ
มาเผาภายใต้สภาวะแก๊สไนโตรเจนที่อัตราการไหลเท่ากับ 60 มิลลิลิตร
ต่อนาที อัตราการเพิ่มความร้อน 5 องศาเซลเซียสต่อนาที ให้ความร้อน
จนถึง 500 องศาเซลเซียส คงสภาวะไว้นาน 2 ชั่วโมง ถือเป็ นการเสร็จสิ้น
กระบวนการคาร์บอไนเซชัน ต่อมานำถ่านที่ได้มากระตุ้นด้วยซิงค์(II)คลอ
ไรด์หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ในอัตราส่วนมวลถ่านต่อตัวกระตุ้นเป็ น 1:3
นำมาให้จนถึง 800 องศาเซลเซียส
(5 องศาเซลเซียสต่อนาที) ทิ้งไว้นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาชะล้างโดย
การใช้กรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร และล้างด้วยน้ำ
กลั่นจนมีpH เท่ากับ 6.8 - 10 ทำการอบแห้งที่ 105 องศาเซลเซียส เวลา
24 ชั่วโมง เมื่อเสร็จสิ้นนำมาร่อนจนได้ขนาดอนุภาค 35 ไมโครเมตร การ
วิเคราะห์พื้นที่ผิวและพื้นที่รูพรุน
ขนาดเล็กมีค่า 1004 และ 869 ตารางเมตรต่อกรัม ตามลำดับ ค่า pH
5.8 นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์
ตัวดูดซับด้วยเทคนิค Thermogravimetric analyses (TGA) เพื่อดูความ
27

เสถียรของวัสดุ เทคนิค Fourier transformed infrared spectroscopy


(FTIR) เป็ นการจำแนกหมู่ฟั งก์ชันในโมเลกุล และเทคนิค Scanning
electron microscopy (SEM) เมื่อนำตัวดูดซับไปทำการดูดซับจะได้
ความสามารถในการดูดซับยาที่เป็ น
สารเนื้อเดียวกันในน้ำกลั่นมีค่า 50.25 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 48.31
มิลลิกรัมต่อกรัมในปั สสาวะ
Na-Lampang et al. (2021) ทำการวิจัยดูดซับแอมโมเนียโดยการ
ใช้ถ่านกัมมันต์จากเยื่อมะขาม
ถ่านชีวภาพถูกเตรียมโดยเยื่อมะขามแห้งถูกทำให้เป็ นถ่านที่ 400 องศา
เซลเซียส เป็ นเวลา 120 นาที
(10 องศาเซลเซียสต่อนาที) จากนั้นถ่านกัมมันต์ถูกกระตุ้นโดยตัวกระตุ้น
ที่ต่างกัน ทั้งนี้ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมที่สุดคือกรดซัลฟิ วริก หลังจากนั้นนำ
ถ่านมาคาร์บอไนซ์ที่ 500 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 1 ชั่วโมง จากการ
วิเคราะห์เทคนิค FTIR แสดงให้เห็นถึงกลุ่มซัลโฟนิล (SO2) และคาร์บอนิล
(C=O) สภาวะนี้มีพื้นที่ผิวสูงสุดและมีความพรุนที่ 537 มิลลิกรัมต่อกรัม
สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับแอมโมเนียใช้เวลาในการสัมผัส 180 นาที
ปริมาณ 2 กรัมต่อสารตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร และ pH 11.0 สามารถดูด
ซับแอมโมเนียได้ถึงร้อยละ 49.05
Wong et al. (2018) ศึกษาการกำจัดอะเซตามิโนเฟน ออกจากน้ำ
เสีย ด้วยถ่านการมันต์ที่เตรียมจากใบชาที่ใช้แล้ว โดยใช้การกระตุ้นทาง
เคมี ได้แก่ กรดฟอสฟอริก ซิงคลอไรด์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
โพแทสเซียมคาร์บอเนต ในอัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบและสารกระตุ้น 1:1
นำไปคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชั่วโมง และ
ได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยเทคนิค SEM รวมถึงวิเคราะห์
หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเทคนิค FTIR และวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัม
28

มันต์ จากการศึกษาพบว่าการใช้
กรดฟอสฟอริกเป็ นตัวกระตุ้นมีประสิทธิภาพการดูดซับ พื้นที่ผิวและ
ปริมาตรพื้นผิวสูงที่สุด สำหรับการศึกษาการดูดซับของอะเซตามิโนเฟน
พบว่า ความสามารถในการดูดซับสูงสุดเท่ากับ 99.87% ที่ความเข้มข้น
เริ่มต้นของอะเซตามิโนเฟน 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณตัวดูดซับ 0.5
กรัม เวลาที่สัมผัส 60 นาที ที่ค่า pH เท่ากับ 3.0 ณ อุณหภูมิห้อง ส่วน
การวิเคราะห์ไอโซเทอมพบว่าแบบจำลองของแลงเมียร์มีความเหมาะสม
2
กว่าแบบจำลองของฟรุนดิช เท่ากับ R ≤ 0.9705 การศึกษาการดูดซับ
ด้วยจลนพลศาสตร์แบบจำลองอันดับสองเทียม พบว่ามีความเหมาะสม
2
กว่าแบบจำลองอันดับหนึ่งเทียม (R ≤ 0.9996) และการวิเคราะห์
อุณหพลศาสตร์พบว่ากระบวนการนี้เป็ นกระบวนการคายความร้อน (ΔHº
เท่ากับ -10.5754 กิโลจูล/โมล)
ที่เป็ นไปได้และสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ
IOP Conference Series et al. (2021) ได้ทำการศึกษาการดูดซับ
คีโตโพรเฟน โดยใช้ส่วนเปลือกของมะตาดในการทำถ่านกัมมันต์ ใช้กรด
ฟอสฟอริกเป็ นตัวกระตุ้นในกระบวนการทางเคมี ในอัตราส่วนวัตถุดิบต่อ
กรดฟอสฟอริก 1:2 และใช้เวลา 24 ชั่วโมง ต่อมาถูกทำให้เป็ นคาร์บอน
ด้วยสภาวะการไหลของก๊าซไนโตรเจน โดยการคาร์บอไนซ์ด้วยอุณหภูมิ
500 องศาเซลเซียส นาน 120 นาที เมื่อวิเคราะห์การดูดซับพบว่า
สภาวะที่เหมาะสมที่สุดของค่า pH เท่ากับ 6.0 และปริมาณตัวดูดซับ 0.4
กรัม มีความสามารถของการดูดซับเท่ากับ 8.354 มิลลิกรัมต่อกรัม การ
2
ศึกษาไอโซเทอมได้พบว่าแบบจำลองของแลงเมียร์ (R ≤ 0.994) เหมาะ
สมที่สุด ส่วนการศึกษาจลนพลศาสตร์แบบจำลองที่สองเทียมเหมาะสม
กับจลนพลศาสตร์การดูดซับเช่นกัน ดังนั้นกระบวนการนี้มีอัตราการดูด
ซับที่สูง
29

จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ปั จจัยที่ส่งผลกระทบต่อถ่านกัม


มันต์ที่ใช้ในการศึกษาการดูดซับยาในกลุ่มบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่
ชนิดสเตียรอยด์ ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการคาร์บอไนซ์ถ่าน
อัตราส่วนมวลของวัตถุดิบต่อตัวสารกระตุ้น สารจะถูกดูดซับได้ดีเมื่อตัว
ดูดซับมีค่าความเป็ นกรด-เบสต่ำ ในงานนี้จึงเลือกศึกษาในสภาวะการคาร์
บอไนซ์ที่ 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 60 นาที โดยถ่านที่จะ
ผ่านการกระตุ้นด้วยสารเคมีก่อนนำไปคาร์บอไนซ์ ในอัตราส่วนมวลถ่าน
ต่อตัวกระตุ้นเป็ น 1:2 แช่ทิ้งไว้เป็ นเวลา 24 ชั่วโมง
ผู้วิจัยได้สรุปชนิดของตัวดูดซับ และผลการศึกษาที่สำคัญของการ
ดูดซับ โดยแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปการศึกษาการดูดซับจากงานวิจัยอื่นๆ
ชนิดของ
ตัวถูกดูดซับ ผลการศึกษา อ้างอิง
ตัวดูดซับ

แกลบ ไอบูโพรเฟน - ปริมาณการดูดซับสูงสุด Bello et al.


มะพร้าว เท่ากับ 76.92 มิลลิกรัม (2020)

ต่อกรัม

- แบบจำลองของแลงเมียร์
เหมาะสมที่สุดสำหรับการ
ดูดซับ

- กระบวนการดูดซับเป็ นก
ระบวนการดูดความร้อน
30

กากอ้อย BOD และ - ค่าที่ขจัด BOD และ Beyan et al.


COD COD ได้ คือ 0.0225 และ (2021)
0.023 มิลลิกรัมต่อ
ลิตร.นาที-1 ตามลำดับ

เศษ สารประกอบ - ความสามารถในการดูด Lütke et al.


เปลือกไม้ ฟี นอล ซับสูงสุดคือ 98.57 (2019)

ต้นเหนียง มิลลิกรัมต่อกรัม

ดำ - การดูดซับมี
ประสิทธิภาพร้อยละ
95.98 ในการกำจัดสาร
ประกอบฟี นอล

เยื่อ แอมโมเนีย - ความสามารถในการดูด Na-Lampang


มะขาม ซับสูงสุดเท่ากับ 49.05 et al. (2021)
เปอร์เซน

- หมู่ฟั งก์ชันของตัวดูดซับ
คือกลุ่มซัลโฟนิล (SO2)
และคาร์บอนิล (C=O)
31

แหนเล็ก ไอบูโพรเฟน - มีพื้นที่ผิวเท่ากับ Balarak et al.


1,164.5 ตารางเมตรต่อ (2021)
กรัม และปริมาตรรูพรุน
รวมเท่ากับ 0.417
ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อ
กรัม

- พื้นผิวที่ประจุเป็ นศูนย์
(pHpzc) ได้ค่าเท่ากับ 6.6
และค่า pH ที่เหมาะสม
สำหรับการดูดซับเท่ากับ 3

- แบบจำลองของแลงเมียร์
บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ได้
ดีที่สุด

- ความสามารถในการดูด
ซับสูงสุดของไอบูโพรเฟน
คือ 124.5, 141.8, 159.2
และ 181.2 มิลลิกรัมต่อ
กรัม ที่ 283, 298, 313
และ 328 เคลวิน ตาม
ลำดับ

-การศึกษาของจลนศาสตร์
พบว่า การดูดซับเป็ นไป
32

ตามแบบจำลอง
จลนพลศาสตร์อันดับสอง
เทียม

โอ๊ก อะเซตามิโน - ปริมาณการดูดซับสูงสุด Nourmoradi


เฟน 96.15 มิลลิกรัมต่อกรัม et al. (2018)
และไอบูโพ
- แบบจำลอง
รเฟน
จลนพลศาสตร์อันดับสอง
เทียม และไอโซเทอมของ
ฟรุนดิช เหมาะสมที่สุดเมื่อ
เทียบกับแบบจำลองอื่นๆ

- แบบจำลอง
จลนพลศาสตร์อันดับสอง
เทียม และไอโซเทอมของ
ฟรุนดิช เหมาะสมที่สุดเมื่อ
เทียบกับแบบจำลองอื่นๆ

- การศึกษาอุณห
พลศาสตร์พบว่าเป็ นกระ
บวนการดูดความร้อน
33

ฝั กของ สีย้อมเมทิลี - ปริมาณการดูดซับสีย้อม Theamwong


ต้น นบลู สูงสุด 970 มิลลิกรัมต่อ et al. (2021)
และยา กรัม
กัลปพฤก
ปฏิชีวนะ
ษ์ - ปริมาณการดูดซับยา
ไซโปรฟลอก
ปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซา
ซาซิน
ซินสูงสุด 600 มิลลิกรัมต่อ
กรัม

- แบบจำลองของแลงเมียร์
เหมาะสมที่สุด

ข้าวและ อะเซตามิโน - พื้นที่ผิวและพื้นที่รูพรุน Paredes-


เฟน ขนาดเล็กมีค่า 1004 และ Laverde et al.
เปลือก
กาแฟ 869 ตารางเมตรต่อกรัม (2019)
ตามลำดับ

- ความสามารถในการดูด
ซับเท่ากับ 50.25
มิลลิกรัมต่อกรัม และ
48.31 มิลลิกรัมต่อกรัม
34

ใบชา อะเซตามิโน - ความสามารถในการดูด Wong et al.


เฟน ซับสูงสุดเท่ากับ 99.87% (2018)

- แบบจำลองของแลงเมียร์
มีความเหมาะสมที่สุด

- การศึกษาการดูดซับด้วย
จลนพลศาสตร์แบบจำลอง
อันดับสองเทียม พบว่ามี
ความเหมาะสมมากที่สุด

- การวิเคราะห์อุณห
พลศาสตร์พบว่า
กระบวนการนี้เป็ นกระบวน
การคายความร้อน

คีโตโพ เปลือกของ - ความสามารถของการ IOP


รเฟน มะตาด ดูดซับเท่ากับ 8.354 Conference
มิลลิกรัมต่อกรัม Series et al.
- การศึกษาไอโซเทอมได้ (2021)
พบว่าแบบจำลองของแลง
เมียร์เหมาะสมที่สุด
- การศึกษาจลนพลศาสตร์
แบบจำลองที่สองเทียม
เหมาะสมกับ
จลนพลศาสตร์การดูดซับ
35

บทที่ 3

ขั้นตอนในการดำเนินงาน

3.1 สารเคมี
 กรดฟอสฟอริก (H3PO4) ความบริสุทธิ์ 85% ของ RCI
LABSCAN LIMITED
 โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ความบริสุทธิ์ 85% จาก Ajax
Finechem
 โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความบริสุทธิ์ 98% จากบริษัท
Loba Chemie PVT. LTD.
 ไอออน(III)คลอไรด์ (FeCl3) ความบริสุทธิ์ 97% เป็ นของ
PANREAC
 ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) ความบริสุทธิ์ 97% ของ KemAus
 เมทานอล ความบริสุทธิ์ 99.9% ของ RCI LABSCAN LIMITED
 ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ความบริสุทธิ์ 98% ของ Sigma
Aldrich
 กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 37% ของ RCI LABSCAN
LIMITED

3.2 วัสดุและอุปกรณ์
 กลีบดอกและก้านของบัวหลวงตากแห้งใช้เป็ นวัตถุดิบสำหรับ
การเตรียมถ่านกัมมันต์
 เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (packed-bed reactor)
36

 เตาเผาไฟฟ้ าอุณหภูมิสูงแนวตั้ง
 แก๊สไนโตรเจน (N2)
 ตู้อบลมร้อน
 เตาเผา muffle (TM3-550, VULCAN)
 เครื่อง Thermogravimetric Analyzer (TGA, DTG-60H,
Shimudsu) ใช้วิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อน
 เครื่อง Surface area and Porosity Analyzer (ASAP2460,
Micromeritics) ใช้วิเคราะห์สมบัติรูพรุน
 เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (ALPHA
II) ใช้วิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
 เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer (Analytik-Jena AG)
 เครื่องเขย่า Orbital Shaker (GALLENKAMP)
 เครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM), Energy
Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX) (TESCAN ,Model :
MIRA) ใช้ศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์ และการ
วิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์
 ตู้ดูดควัน (Fume Hood)
3.3 วิธีการดำเนินงาน
3.3.1 การเตรียมถ่านกัมมันต์
การเตรียมถ่านกัมมันต์จะใช้กระบวนการกระตุ้นทางเคมี โดยมีขั้น
ตอนการทดลอง ดังนี้
3.3.1.1 การกระตุ้นทางเคมี (Chemical activation)
สารเคมีที่ใช้สำหรับกระบวนการกระตุ้นทางเคมี ได้แก่ กรด
ฟอสฟอริก (H3PO4) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) และโซเดียมไฮดร
37

อกไซด์ (NaOH) ไอออน(III)คลอไรด์ (FeCl3) และ


ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) โดยมีวิธีการเตรียมถ่านกัมมันต์ ดังนี้
- นำกลีบดอกและก้านบัวหลวง ปริมาณ 10 กรัม แสดงในรูป
ที่ 3.1 และ 3.2 มาแช่ในสารกระตุ้นที่ความเข้มข้น 50%โดยน้ำหนัก ใน
อัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบและสารกระตุ้น คือ 1:2 โดยแช่เป็ นเวลา 24
ชั่วโมง
- จากนั้นนำตัวอย่างมาบรรจุในเตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง
(packed-bed reactor) เพื่อใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ แล้วใส่ลงไปใน
เตาเผาไฟฟ้ าอุณหภูมิแนวตั้ง แสดงในรูปที่ 3.3 เพื่อเข้าสู่กระบวนการคาร์
บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 400, 500, 600, 700 และ 800 องศาเซลเซียส นาน 1
ชั่วโมง ที่อัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที ภายใต้แก๊ส
ไนโตรเจน
- เมื่อครบกำหนดเวลา ทำการปิ ดเตาเผา แล้วรอให้ตัวอย่าง
เย็นตัวจนถึงอุณหภูมิห้อง ภายใต้บรรยากาศแก๊สไนโตรเจน จะได้ตัวอย่าง
ที่เป็ นถ่านกัมมันต์ออกมา แต่ยังคงมีสารเคมีที่ใช้เป็ นสารกระตุ้นปนเปื้ อน
อยู่ จึงนำถ่านกัมมันต์มาชะล้างด้วยน้ำ โดยทำการล้างซ้ำหลายครั้ง เพื่อ
กำจัดสารเคมีที่ยังค้างอยู่
เมื่อค่า pH ของน้ำที่ผ่านการล้าง มีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับค่า pH ของน้ำ
เริ่มต้น ให้ทำการหยุดล้าง
- นำถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการล้างแล้ว มาอบที่อุณหภูมิ 105
องศาเซลเซียส จนแห้งสนิท จะได้ถ่านกัมมันต์ที่สามารถนำมาใช้ได้
- จากนั้นทำการคำนวณร้อยละผลผลิต
38

รูปที่ 3.1 กลีบบัว รูปที่ 3.2


ก้านบัว

รูปที่ 3.3 เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (packed-bed reactor)


39

รูปที่ 3.4 เตาเผาไฟฟ้ าอุณหภูมิสูงแนวตั้ง

3.3.1.2 การคำนวณร้อยละผลผลิตของถ่านกัมมันต์ (Yield


(wt%) of activated carbon)
การคำนวณหาร้อยละผลผลิตหาได้จาก สมการดังนี้

W AC
%yield= ×100
W Raw

เมื่อ WRaw คือ น้ำหนักของวัตถุดิบสำหรับใช้เตรียมถ่านกัมมันต์


WAC คือ น้ำหนักของถ่านกัมมันต์
40

3.3.2 การวิเคราะห์วัตถุดิบและถ่านกัมมันต์
3.3.2.1 การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อน
ในการวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อน จะใช้เครื่อง
Thermogravimetric Analyzer หรือ TGA (DTG-60H, Shimudsu)
แสดงในรูปที่ 3.5 ภายใต้บรรยากาศของแก๊สไนโตรเจน จากอุณหภูมิห้อง
ถึง 950 องศาเซลเซียส ใช้อัตราการให้ความร้อน 10 องศาเซลเซียสต่อ
นาที เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดอุณหภูมิในการเตรียมถ่าน

รูปที่ 3.5 เครื่อง Thermogravimetric Analyzer หรือ TGA

3.3.2.2 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate


analysis)
ในการวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณของวัตถุดิบและถ่านกัม
มันต์ จะวิเคราะห์สมบัติที่ประกอบด้วย ความชื้น (%moisture) สาร
ระเหย (%volatile matter) เถ้า (%ash) และคาร์บอนคงตัว
(%fixed carbon) ซึ่งสามารถหาได้ดังนี้
- ปริมาณความชื้น (%moisture) จะวิเคราะห์ตามวิธีของ
Rengaraj โดยใช้ความร้อนในการอบที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส นาน
41

4 ชั่วโมง ภายในตู้อบลมร้อน แสดงในรูปที่ 3.6 ในการคำนวณหาปริมาณ


ความชื้น (%moisture) สามารถหาได้จากสมการดังนี้

loss in weight on drying (g )


%Moisture= ×100
Initial weight (g)

- ปริมาณเถ้า (%ash) จะวิเคราะห์ตามวิธีของ ASTM


D2866-94 (standard test method for volatile matter content
of activated carbon samples) เมื่อทำการอบไล่ความชื้นกับตัวอย่าง
แล้ว จากนั้นจะให้ความร้อนกับตัวอย่างโดยใช้เตา muffle furnace
(TM3-550, VULCAN) แสดงในรูปที่ 3.7
ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส นาน 90 นาที ในการคำนวณหาปริมาณ
เถ้า (%ash) สามารถหาได้จากสมการดังนี้
Ash weight
%Ash= ×100
Oven dry weight

- ปริมาณสารระเหย (%volatile matter) จะวิเคราะห์ตาม


วิธีของ ASTM D2866-94 (standard test method for volatile
matter content of activated carbon samples) เช่นเดียวกับการหา
ปริมาณเถ้า (%ash) ทำการอบไล่ความชื้นกับตัวอย่าง ต่อมาให้ความ
ร้อนกับตัวอย่างโดยใช้เตา muffle furnace (TM3-550, VULCAN) ที่
อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 10 นาที ในการคำนวณหา
ปริมาณสารระเหย (%volatile matter) จากสมการดังนี้

Weight of volatile component (g)


%Volatile matter = ×100
Oven dry weight (g)

- ปริมาณคาร์บอนคงตัว (%fixed carbon) สามารถหาได้


จากสมการความแตกต่างของสารระเหย และเถ้า ดังนี้
42

%Fixed carbon = 100 - %Volatile matter - %Ash

รูปที่ 3.6 ตู้อบลมร้อน

รูปที่ 3.7 เตาเผา muffle (TM3-550, VULCAN)

3.3.3 การหาความหนาแน่นรวม (bulk density)


การหาความหนาแน่นรวม (bulk density) เป็ นการทดสอบหาน้ำ
หนักของตัวดูดซับต่อหน่วยปริมาตรโดยปริมาตร (ปริมาตรของช่องว่าง
ระหว่างอนุภาค ปริมาตรของรูพรุนของตัวดูดซับและปริมาตรของเนื้อ
43

ตัวดูดซับ) การคำนวณหาความหนาแน่นรวมของตัวดูดซับ จากสมการ


ดังนี้

Mass of sample (dry)


Bulk density = ×100
Volume of measuring cylinder

3.3.4 การหา pH ของถ่านกัมมันต์


เพื่อหาค่า pH ของถ่านกัมมันต์ว่าเหมาะสมในการดูดซับยาไอบูโพ
รเฟน ทำได้โดย
- เตรียมน้ำกลั่น 100 มิลลิลิตร ใส่บิกเกอร์ขนาด 250
มิลลิลิตร ปิ ดด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ นำไปต้มโดยใช้ Hotplate ที่อุณหภูมิ
130 องศาเซลเซียส จนเดือด
- นำถ่านกัมมันต์มาชั่งให้ได้ปริมาตร 0.1 กรัม ใส่ลงไปในบิก
เกอร์ที่น้ำเดือดบน Hotplate ที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 5
นาที
- นำบิกเกอร์ลงจาก Hotplate เติมน้ำจนมีปริมาตร 200
มิลลิลิตร และปล่อยไว้ที่อุณหภูมิห้องจนเย็น จากนั้นกรองถ่านกัมมันต์
ด้วยกระดาษกรอง และนำไปวัดค่า pH โดยใช้เครื่องวัด pH (pH meter)
3.3.5 การวิเคราะห์พื้นผิวที่ประจุเป็ นศูนย์ (pH at the point
of zero charge, pHpzc)
ในการหาค่า pH ที่ประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ จะวิเคราะห์ด้วยวิธีการ
เลื่อน pH หรือ pH drift method ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- เตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0.01 โมล
ต่อลิตร ปริมาตร 50 มิลลิลิตร
44

- เติมสารละลายไฮโดรคลอลิก หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มี


ความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร เพื่อทำการปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วง pH 2
- 12 (2, 4, 6, 8, 10 และ 12)
- นำถ่านกัมมันต์ ปริมาณ 0.15 กรัม ใส่ลงในแต่ละขวดรูป
ชมพู่ที่ปรับค่า pH แล้ว จากนั้นนำไปเขย่าด้วยเครื่อง Orbital Shaker
(GALLENKAMP) ใช้ความเร็วรอบที่ 120 รอบต่อนาที เป็ นเวลา
48 ชั่วโมง
- เมื่อครบตามเวลาที่กำหนด ใช้กระดาษกรองเพื่อกรองถ่าน
กัมมันต์ออก แล้ววัดค่า pH แต่ละขวด โดยใช้เครื่องวัด pH (pH meter)
- เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเป็ นกรด-เบสเริ่มต้น
และสุดท้าย ซึ่งจุดที่ประจุที่ผิวเป็ นศูนย์ของถ่านกัมมันต์ สามารถหาได้
จากเส้นความเป็ นกรด-เบสเริ่มต้น และความเป็ นกรด-เบสสุดท้าย
ตัดกับเส้นทแยงมุม 45 องศา
3.3.6 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเครื่อง Fourier-
transform infrared spectroscopy (FTIR)
เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) เป็ น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ และตรวจสอบองค์ประกอบโครงสร้างทาง
เคมีของสาร ดังรูปที่ 3.8 สามารถวัดสารได้ทั้งในสถานะของแข็งและ
ของเหลว โดยเป็ นการวัดปริมาณรังสีที่ถูกดูดกลืนที่ผ่านการกระตุ้นด้วย
พลังงานในช่วงอินฟราเรด โดยโมเลกุลที่ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ ความถี่
ของรังสีอินฟราเรดต้องเท่ากับความถี่การสั่นหรือการหมุนของโมเลกุล
ของสารนั้นๆ สารอินทรีย์แต่ละชนิดมีค่าความถี่ของการสั่นต่างกันจึง
ทำให้จำแนกหมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวได้
เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) ใช้
ตัวอย่าง (ถ่านกัมมันต์) สารเคมี และเวลาในการวิเคราะห์น้อยมาก จึง
45

นิยมใช้ในการนำมาวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบหมู่ฟั งก์ชัน โดยเปรียบเทียบ


จากอินฟราเรด สเปกตรัมของสารประกอบมาตรฐานกับตัวอย่าง ที่วัด
ด้วยตัวกลางชนิดเดียวกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบพีคต่อพีค หากพีคตรง
กันแสดงว่าเป็ นสารชนิดเดียวกัน (อรทัย ลีลาพจนาพร, 2546)
3.3.6.1 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวของวัตถุดิบด้วย
เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR)
- นำวัตถุดิบซึ่งคือกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง
ใส่ลงในเครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) โดย
ใช้หัว Attenuated total reflectance (ATR) หลังจากวิเคราะห์เสร็จให้
เช็ดทำความสะอาดเครื่องด้วยเอทิลแอลกอฮอล์
3.3.6.2 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวของถ่านกัมมันต์
ด้วยเครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR)
- นำโพแทสเซียมโบรไมด์ (KBr) และถ่านกัมมันต์ ไปอบที่
อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส
นาน 1 วัน จากนั้นนำออกมา และปล่อยจนเย็น ณ อุณหภูมิห้อง
- ใช้โกร่งบดสาร (mortar and pestle) บดโพแทสเซียม
โบรไมด์กับถ่านกัมมันต์ ในอัตราส่วน 1:99 โดยน้ำหนัก บดจนกระทั่งสาร
เป็ นเนื้อเดียวกัน
- นำตัวอย่างที่เตรียมจากโกร่งบดสาร (mortar and pestle)
ใส่บนชุดเตรียมจานโพแทสเซียมโบรไมด์ โดยเกลี่ยให้สม่ำเสมอ
- นำชุดเตรียมจานโพแทสเซียมโบรไมด์ไปวางบนแท่นเครื่อง
อัดไฮดรอลิก (hydraulic press) โดยใช้น้ำหนัก 1.5 ตัน และอัดทิ้งไว้ 2
นาที
- หลังจากอัดเสร็จจานโพแทสเซียมโบรไมด์จะมีลักษณะเป็ น
ทรงกลม และโปร่งแสง คล้ายฟิ ล์มเรียกว่า KBr disc
46

- นำ KBr disc เข้าเครื่อง เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยเครื่องจะ


แสดงผลเป็ นเส้นสเปกตรัมระหว่างความเข้มข้นและความถี่

รูปที่ 3.8 เครื่อง Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR)


(ALPHA II) สำหรับวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว

3.3.7 การวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์
การวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ ทำได้โดยใช้การวัดการ
ดูดซับและการคายซับของ
แก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ด้วยเครื่อง Surface area
and Porosity Analyzer (ASAP2460, Micromeritics) ดังแสดงรูปที่
3.9 ซึ่งสมบัติรูพรุนที่วิเคราะห์ ได้แก่ พื้นที่ผิว (surface area, SBET)
ปริมาตรรูพรุนขนาดเล็ก (micropore volume, Vmic) ปริมาตรรูพรุน
ทั้งหมด (total pore volume, VT) ปริมาตรรูพรุนขนาดกลาง
(mesopore volume, Vmeso) และเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของรูพรุน
(average pore diameter, DP)
47

รูปที่ 3.9 เครื่อง Surface area and Porosity Analyzer (ASAP2460,


Micromeritics)
สำหรับวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์

3.3.8 การศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์ และการ


วิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์
การศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์ และการวิเคราะห์
ธาตุและองค์ประกอบของ
ถ่านกัมมันต์ โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากเทคนิค Scanning Electron
Microscope (SEM) และ Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy
(EDX) จะพบรูปร่างรูพรุนและปริมาณของธาตุภายในถ่านกัมมันต์
3.3.9 การศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน
การศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน ขั้นตอนการเตรียมสารละลายไอบู
โพรเฟน จะใช้สารอินทรีย์เป็ น
ตัวทำละลาย นั้นคือเมทานอล 10% และน้ำ 90%
3.3.9.1 ศึกษาผลของเวลาต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
48

- นำตัวดูดซับปริมาณ 0.01 กรัม ใส่ลงไปในสารละลายไอบูโพ


รเฟนที่ความเข้มข้น 20, 40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 50
มิลลิลิตร
- ใช้เวลาในการดูดซับตั้งแต่ 3 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ
ห้อง
- เมื่อครบกำหนดเวลา ทำการแยกตัวดูดซับและสารละลายไอ
บูโพรเฟนโดยใช้กระดาษกรอง จากนั้นนำสารละลายไอบูโพรเฟนไป
วิเคราะห์หาค่าการดูดกลืนแสง (absorbance) ด้วยเครื่อง UV-VIS
Spectrophotometer (Analytik-Jena AG) ดังแสดงรูปที่ 3.10 โดยใช้
ค่าการดูดกลืนแสงสูงสุด (λmax)
222 นาโนเมตร
- นำค่าดูดกลืนแสง (absorbance) คำนวณหาความเข้มข้น
ของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ จากกราฟมาตรฐาน
(calibration curve)
- จากนั้นคำนวณหาปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟนที่เวลา
(qt , มิลลิกรัมต่อกรัม) จากสมการที่ (5)
- ทำการอธิบายแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม
(pseudo-first order) และแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม
(pseudo-second order)
3.3.9.2 ผลของค่า pH ต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
- ศึกษาผลของค่า pH ที่ส่งผลต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน ที่
ความเข้มข้น 20, 40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 50 มิลลิลิตร
- ปรับค่า pH ของสารละลายไอบูโพรเฟน ให้มีค่า pH ตั้งแต่
2 – 12 โดยใช้เครื่องวัด pH (pH meter)
49

- จากนั้นนำตัวดูดซับปริมาณ 0.01 กรัม ใส่ลงไปในสารละ


ลายไอบูโพรเฟนที่ปรับ pH แล้ว แช่ไว้ตามเวลาที่เข้าสู่สมดุล ณ อุณหภูมิ
ห้อง
- เมื่อครบกำหนดเวลา ทำการแยกตัวดูดซับและสารละลายไอ
บูโพรเฟนโดยใช้กระดาษกรอง จากนั้นนำสารละลายไอบูโพรเฟนไป
วิเคราะห์หาค่าดูดกลืนแสง (absorbance) ด้วยเครื่อง UV-VIS
Spectrophotometer (Analytik-Jena AG ) โดยใช้ค่าดูดกลืนแสงสูงสุด
(λmax) 222 นาโนเมตร
- นำค่าดูดกลืนแสง (absorbance) คำนวณหาความเข้มข้น
ของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ จากกราฟมาตรฐาน
(calibration curve)
- จากนั้นคำนวณหาปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟน (q ,
มิลลิกรัมต่อกรัม) จากสมการที่ (5)
- พลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการดูดซับไอบูโพ
รเฟน (q) และค่า pH
3.3.9.3 ไอโซเทอมของการดูดซับ (Adsorption
isotherms)
- นำตัวดูดซับปริมาณ 0.01 กรัม ใส่ลงไปในสารละลายไอบูโพ
รเฟนความเข้มข้น 5 - 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ณ อุณหภูมิห้อง ใช้ pH ที่มี
ค่าปริมาณการดูดซับสูงสุดและเวลาการดูดซับตามที่เข้าสู่สมดุล
- เมื่อครบกำหนดเวลา ทำการแยกตัวดูดซับและสารละลายไอ
บูโพรเฟนโดยใช้กระดาษกรอง จากนั้นนำสารละลายไอบูโพรเฟนไป
วิเคราะห์หาค่าดูดกลืนแสง (absorbance) ด้วยเครื่อง UV-VIS
Spectrophotometer (Analytik-Jena AG ) โดยใช้ค่าดูดกลืนแสงสูงสุด
(λmax) 222 นาโนเมตร
50

- นำค่าดูดกลืนแสง (absorbance) คำนวณหาความเข้มข้น


ของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ จากกราฟมาตรฐาน
(calibration curve)
- จากนั้นคำนวณหาปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟนที่สมดุล
(qe, มิลลิกรัมต่อกรัม) จากสมการที่ (6)
- พลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการดูดซับไอบูโพ
รเฟนที่สมดุล (qe) และความเข้มข้นของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการ
ดูดซับที่สมดุล (Ce)
- อธิบายการดูดซับโดยใช้สมการของแลงเมียร์ (Langmuir)
และสมการของฟรุนดิช (Freundluch)
3.3.9.4 ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
- นำตัวดูดซับปริมาณ 0.01 กรัม ใส่ลงในสารละลายไอบูโพ
รเฟนความเข้มข้น 20, 40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยใช้อุณหภูมิ
303, 313, 323 และ 333 เคลวิน จากนั้นทำการปรับค่า pH เป็ น 2 และ
ใช้เวลาการดูดซับตามที่เข้าสู่สมดุล
- เมื่อครบกำหนดเวลา ทำการแยกตัวดูดซับและสารละลายไอ
บูโพรเฟนโดยใช้กระดาษกรอง จากนั้นนำสารละลายไอบูโพรเฟนไป
วิเคราะห์หาค่าดูดกลืนแสง (absorbance) ด้วยเครื่อง UV-VIS
Spectrophotometer (Analytik-Jena AG) โดยใช้ค่าดูดกลืนแสงสูงสุด
(λmax) 222 นาโนเมตร
- นำค่าดูดกลืนแสง (absorbance) คำนวณหาความเข้มข้น
ของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ จากกราฟมาตรฐาน
(calibration curve)
51

- หาปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟนที่สมดุล (qe, มิลลิกรัมต่อ


กรัม) จากสมการที่ (6) และพลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการ
ดูดซับไอบูโพรเฟนที่สมดุล (qe) และอุณหภูมิ
- อธิบายความสัมพันธ์ของกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์
3.3.9.5 ความสามาถในการดูดซับไอบูโพรเฟน
ปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟนที่เวลา t (qt, มิลลิกรัมต่อกรัม)
และปริมาณการดูดซับ
ไอบูโพรเฟนที่สมดุล (qe , มิลลิกรัมต่อกรัม) คำนวณจากสมการที่ (5)
และ(6) ดังนี้

( C0 - Ct )
qt = ×V
m
สมการที่ (5)
( C0 - Ce )
qe = ×V
m
สมการที่ (6)

เมื่อ C0 คือ ความเข้มข้นแรกเริ่มของสารละลายไอบูโพ


รเฟน (มิลลิกรัมต่อลิตร)
Ct คือ ความเข้มข้นของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ ณ
เวลาใดๆ (มิลลิกรัมต่อลิตร)
Ce คือ ความเข้มข้นของสารละลายไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับ ที่
สมดุล (มิลลิกรัมต่อลิตร)
V คือ ปริมาตรของสารละลายไอบูโพรเฟนที่ใช้ในการดูด
ซับ (มิลลิลิตร)
m คือ ปริมาณตัวดูดซับที่ใช้ในการดูดซับ (กรัม)
52
53

รูปที่ 3.10 เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer (Analytik-Jena AG)

3.4 สถานที่ทำวิจัย
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น

3.5 ระยะเวลาการดําเนินงาน
ระยะเวลาที่ใช้ในการทํางานวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565
ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2566 รวมระยะเวลาประมาณ 9 เดือน

3.6 แผนการดำเนินการวิจัย

ตารางที่ 2 แผนการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
แผนการดำเนินงาน
วิจัย/กิจกรรม
มกรา
สิงหา

ธันวา

เมษา
พฤศ

กุมภ
กันย

มีนา
ตุลา

1. ศึกษาข้อมูลและ
54

รวบรวมงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง

2. ออกแบบและ
วางแผนการทดลอง

3. เตรียมวัตุดิบ
วิเคราะห์คุณสมบัติของ
วัตถุดิบ

4. เตรียมถ่านกัมมันต์
โดยการกระตุ้นทางเคมี

5. วิเคราะห์สมบัติต่างๆ
ของถ่านกัมมันต์ที่
เตรียมได้ และศึกษาการ
ดูดซับยาต้านการอักเสบ
ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

6. จัดทำรายงานฉบับ
สมบูรณ์

3.7 งบประมาณของโครงการวิจัย

ตารางที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการทำโครงการวิจัย
55

จำนวน
รายการ เงิน
(บาท)

1. ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาสร้าง Reactor ในการเตรี
ยมถ่านกัมมันต์ 1,000

2. ค่าวัสดุ
- ค่าสารเคมีในการเตรียมถ่านกัมมันต์ 4,000
- ค่าแก๊สไนโตรเจน

รวมงบประมาณที่เสนอขอ 5,000
56

บทที่ 4
ผลการทดลองและวิเคราะห์ผล

ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้แบ่งออก
เป็ น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ การเตรียมถ่านกัม
มันต์ และการศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน ซึ่งมีรายละเอียดของ
ผลการทดลองดังนี้

4.1 การวิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ
ทำการตรวจสอบสมบัติของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวง
แห้งที่จะนำมาเตรียมเป็ น
ถ่านกัมมันต์ โดยผ่านวิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การวิเคราะห์สมบัติแบบ
ประมาณ (proximate analysis)
การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อน การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
และการวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
4.1.1 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate analysis)
ของวัตถุดิบ
ตารางที่ 4 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate analysis)
ของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและ
ก้านบัวหลวงแห้ง
สมบัติแบบประมาณ (% โดยน้ำหนัก, dry basis)
ความชื้น
สมบัติ คาร์บอน
(wet เถ้า สารระเหย
คงตัว
basis)
57

กลีบดอกบัวหลวง
8.20 12.11 67.58 20.31
แห้ง
ก้านบัวหลวงแห้ง 7.79 11.94 65.60 22.46
จากตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ
(proximate analysis) ของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง
สังเกตได้ว่าวัตถุดิบ (กลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง) ที่นำมา
วิเคราะห์มีปริมาณความชื้น 8.20 และ 7.79 %โดยน้ำหนัก ตามลำดับ
ปริมาณเถ้า 12.11 และ 11.94 %โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณสาร
ระเหย 67.58 และ 65.60 %โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และมีปริมาณ
คาร์บอนคงตัว 20.31 และ 22.46 %โดยน้ำหนัก ตามลำดับ
ปริมาณสารระเหยของวัสดุชนิดอื่นๆ ที่นำมาใช้สำหรับการเตรียม
ถ่านกัมมันต์ พบว่า ชานอ้อยมีปริมาณสารระเหย 84.2 %โดยน้ำหนัก
(Kirubakaran et al., 2009) เส้นใยปาล์มมีปริมาณสารระเหย 77.46
%โดยน้ำหนัก (Hidayu et al., 2013) และกะลามะพร้าวมีปริมาณสาร
ระเหย 71.37
%โดยน้ำหนัก (Mohammed et al., 2014) ดังนั้นปริมาณสารระเหย
ของวัตถุดิบ (กลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง) นั้นมีค่าใกล้
เคียงกับวัสดุชนิดอื่น
ปริมาณเถ้าของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้งมีค่า
12.11 และ 11.94 %โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อเทียบกับฟางข้าวสาลีซึ่ง
มีปริมาณเถ้า 11.2 %โดยน้ำหนัก (Kirubakaran et al., 2009)
มีความต่างกันไม่มาก
สำหรับปริมาณคาร์บอนคงตัวของวัสดุอื่น เช่น ต้นข้าวโพดมี
ปริมาณคาร์บอนคงตัว 19.9
%โดยน้ำหนัก (Kirubakaran et al., 2009) เส้นใยปาล์มมีปริมาณ
58

คาร์บอนคงตัว 17.25 %โดยน้ำหนัก (Hidayu et al., 2014) และฟาง


ข้าวบาร์เลย์ มีคาร์บอนคงตัว 17.3 %โดยน้ำหนัก (Pallarés et al.,
2018)
เมื่อทำการเปรียบเทียบสมบัติแบบประมาณ (proximate
analysis) ของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง กับวัสดุชีว
มวลประเภทอื่นๆ ที่ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ สรุปได้ว่า กลีบดอกบัว
หลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง มีสมบัติที่เหมาะสมในการนำมาเป็ น
วัตถุดิบสำหรับการเตรียมถ่านกัมมันต์
4.1.2 การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อนของวัตถุดิบ
การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อนภายใต้สภาวะก๊าซ
ไนโตรเจนและอากาศของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง
แสดงในรูปที่ 4.1 แห้งเมื่อพิจารณาการสลายตัวภายใต้บรรยากาศของ
ก๊าซ
ทั้งสองชนิด น้ำหนักที่ลดลงในช่วงแรก คือ ตั้งแต่อุณหภูมิประมาณ 34
ถึง 134 องศาเซลเซียส ซึ่งภายใต้บรรยากาศของก๊าซทั้งสองชนิด มีน้ำ
หนักที่ใกล้เคียงกัน คือ 9 %โดยน้ำหนัก โดยน้ำหนักที่ลดลงในช่วงนี้คือน้ำ
ที่อยู่ในตัวอย่าง เมื่อพิจารณาการสลายตัวภายใต้บรรยากาศของก๊าซ
ไนโตรเจนที่อุณหภูมิการสลายตัวในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 108 องศา
เซลเซียส จนถึงอุณหภูมิสุดท้าย คือ การสลายตัวของคาร์บอนซึ่งมีค่า
เท่ากับ 60
%โดยน้ำหนัก ในขณะที่การสลายตัวทางความร้อนภายใต้สภาวะอากาศ
น้ำหนักสุดท้ายที่เหลืออยู่คือปริมาณเถ้าซึ่งมีค่าเท่ากับ 13 %โดยน้ำหนัก
จากผลการทดลองรูปที่ 4.2 เมื่อพิจารณาการสลายตัวภายใต้บรรยากาศ
ของก๊าซไนโตรเจนน้ำหนักที่ลดลงในช่วงแรก คือ ตั้งแต่อุณหภูมิเริ่มต้น
จนถึงอุณหภูมิประมาณ 90 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักที่ลดลงคือ 7 %โดย
59

น้ำหนัก เมื่อพิจารณาการสลายตัวภายใต้บรรยากาศของ
ก๊าซไนโตรเจนที่อุณหภูมิการสลายตัวในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 300 – 550
องศาเซลเซียส คือ การสลายตัวของคาร์บอนซึ่งมีค่าเท่ากับ 55 %โดยน้ำ
หนัก ในขณะที่การสลายตัวทางความร้อนภายใต้สภาวะอากาศน้ำหนัก
สุดท้ายที่เหลืออยู่คือปริมาณเถ้าซึ่งมีค่าเท่ากับ 5 %โดยน้ำหนัก จากผล
การทดลองดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า กลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัว
หลวงแห้งมีคาร์บอนเป็ นองค์ประกอบ ดังนั้น กลีบดอกบัวหลวงแห้งและ
ก้านบัวหลวงแห้ง จึงสามารถนำมาใช้เป็ นแหล่งคาร์บอนสำหรับการดูด
ซับไอบูโพรเฟนได้

รูปที่ 4.1 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของกลีบดอกบัวหลวงแห้ง


60

รูปที่ 4.2 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของก้านบัวหลวงแห้ง


4.1.3 การวิเคราะห์ความหนาแน่นรวม (bulk density)
จากตารางที่ 5 แสดงความหนาแน่นรวม (bulk density) ของ
วัตถุดิบ พบว่า กลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้งมีความหนา
แน่นรวม 0.12 และ 0.42 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ
จากการศึกษาพบก้านดอกทานตะวันและก้านถั่วแระ มีค่าความหนาแน่น
รวม 0.11 และ 0.12 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ
(Sibgaravelu et al., 2014)
ตารางที่ 5 ความหนาแน่นรวม (bulk density) ของวัตถุดิบ
3
ตัวอย่าง ความหนาแน่นรวม (g/cm )
กลีบดอกบัวหลวงแห้ง 0.12
ก้านบัวหลวงแห้ง 0.42

4.1.4 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว


จากการวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิวด้วยเทคนิค Fourier-transform
infrared spectroscopy (FTIR) ของวัตถุดิบ ดังรูปที่ 4.3 แสดง FTIR
สเปกตรัมของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า
กลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัวหลวงแห้งมีพีคที่เห็นได้อย่างชัดเจน ณ
ตำแหน่ง 3315 และ 3318 ต่อเซนติเมตร แสดงถึงพันธะ O-H ที่ยืดออก
ในกลุ่มฟั งก์ชันไฮดรอกซิล พบพันธะ C-H ที่ตำแหน่ง 2923 ต่อ
เซนติเมตร จากหมู่เมทิลหรือหมู่เมทิลลีน (Samanta et al., 2011) ต่อ
มาพบแถบสเปกตรัมที่ 1613 ต่อเซนติเมตร เป็ นพันธะ C=C ซึ่งเป็ นหมู่
61

แอลคีน (Qian et al., 2007) และพบหมู่ฟั งก์ชัน C-O ในตำแหน่ง 1027


และ 1023 ต่อเซนติเมตร (Sohaimi et al., 2017)

รูปที่ 4.3 FTIR สเปกตรัมของกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัว


หลวงแห้ง

4.2 การเตรียมถ่านกัมมันต์
4.2.1 การวิเคราะห์ผลของสารกระตุ้นต่อสมบัติรูพรุนของถ่านกัม
มันต์ที่เตรียมได้
ไอโซเทอมการดูดซับแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส
ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งทำการกระตุ้นทางเคมี
โดยใช้กรดฟอสฟอริก ซิงค์คลอไรด์ โพแทสเซียมไฮออกไซด์
โซเดียมไฮดรอกไซด์ และไอออน(III)คลอไรด์ ในอัตราส่วนร้อยละวัตถุดิบ
ต่อสารกระตุ้นเป็ น 1:2 โดยน้ำหนัก
ที่ความเข้มข้น 50 %โดยน้ำหนัก และผ่านการคาร์บอไนซ์ด้วยอุณหภูมิ
500 องศาเซลเซียส แสดงในรูปที่ 4.4 พบผลการทดลองไอโซเทอมการ
ดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนของถ่านกัมมันต์ที่ได้สอดคล้องกับไอโซ
62

เทอมการดูดซับแบบที่ 4 (Type IV) ตามหลักการแบ่งของ IUPAC


(International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งการดูด
ซับจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อความดันสัมพัทธ์สูง และการดูดซับของช่วง
การคายซับจะมีปริมาณที่มากกว่าช่วงการดูดซับ ณ ความดันที่เท่ากัน

รูปที่ 4.4 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ -196


องศาเซลเซียส ของถ่านกัมมันต์
ที่เตรียมได้จากกลีบและก้านบัวหลวงแห้งโดยผ่านสารกระตุ้นต่างๆ

จากตารางที่ 6 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากสาร
กระตุ้นชนิดต่าง ๆ เมื่อทำการเปรียบเทียบผลของการกระตุ้นของสาร
กระตุ้นแต่ละชนิดจะได้ว่า เมื่อวัตถุดิบได้รับสารกระตุ้นที่ต่างกันก็จะมี
พื้นที่ผิวรูพรุนที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากก้านบัวหลวงแห้งที่ผ่านการกระ
ตุ้นทางเคมีจะมีพื้นที่ผิวรูพรุนมากกว่ากลีบดอกบัวแห้ง ยกเว้นกลีบ
ดอกบัวหลวงแห้งที่กระตุ้นด้วยสารเคมีที่มีความเป็ นเบสซึ่งคือ
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมไฮดรอกไซด์มีพื้นที่ผิวรุพรุนมากกว่า
ก้านดอกบัวแห้งที่ผ่านกระตุ้นทางเคมีด้วยสารประเภทอื่น เมื่อทำการ
เปรียบเทียบพื้นที่ผิวรูพรุนของวัสดุชนิดเดียวกันกับสารต่างประเภทกัน
63

พบว่า ในงานวิจัยของ Sugumaran et al (2012) ได้เตรียมถ่านกัมมันต์


จากเครือกล้วยและเส้นใยปาล์มโดยผ่านการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก
และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ผลพบว่าวัสดุที่ผ่านการกระตุ้นด้วย
กรดฟอสฟอริกมีพื้นที่ผิวรูพรุนมากกว่าอีกสารหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับงาน
วิจัยนี้
ตารางที่ 6 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากสารกระตุ้นชนิด
ต่าง ๆ
ร้อยละ
ผลได้
SBET Vmic Vmeso VT DP
สาร (%โดย 2 3 3 3
(m /g) (cm /g) (cm /g) (cm /g) (nm)
กระ น้ำ
ตุ้น หนัก)
กลี ก้า กลี ก้า กลี กลี กลี ก้า กลี ก้า
ก้าน ก้าน
บ น บ น บ บ บ น บ น
0.1 0.3 0.1 0.4
H3P 71 68 27 74 2 2 7 7 0. 0. 4.1 4.2
O4 .0 .2 9 0 (41 (40 (59 (60 29 79 6 9
%) %) %) %)
0.0 0.2 0.0 0.1
ZnC 89 63 53 4 4 8 7 0. 0. 5.3 3.0
86
l2 .6 .6 6 (33 (59 (67 (41 12 41 9 3
%) %) %) %)
64

0.1 0.0 0.0 0.0


54 84 29 4 06 5 34 0. 0. 2.5 11.
KOH 14
.0 .0 6 (74 (15 (26 (85 19 04 7 44
%) %) %) %)
0.0 0.0 0.0 0.0
NaO 10 16 1 05 6 15 0. 0. 9.3 8.3
30 11
H .4 .0 (14 (25 (86 (75 07 02 7 5
%) %) %) %)
0.0 0.1 0.0 0.0
FeCl 50 21 37 03 8 17 7 0. 0. 10. 2.6
7
3 .2 .0 9 (15 (72 (85 (28 02 25 75 1
%) %) %) %)
สรุปได้ว่า ก้านบัวหลวงแห้งที่ถูกกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกมีพื้นที่
ผิว 740 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งเป็ นค่าพื้นที่ผิวที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับสาร
กระตุ้นอื่น ดังนั้นจึงนำกรดฟอสฟอริกไปใช้เป็ นตัวกระตุ้นต่อไปในการ
คาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิต่างๆ ต่อไป
4.2.2 การวิเคราะห์ผลของอุณหภูมิการคาร์บอไนซ์ต่อสมบัติรู
พรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
จากการศึกษาไอโซเทอมการดูดซับแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ –196
องศาเซลเซียส ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งที่ถูก
กระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกเป็ นเวลา 24 ชั่วโมง และคาร์บอไนซ์ด้วย
อุณหภูมิ 400 - 800 องศาเซลเซียส พบว่าผลการทดลองที่ได้จากรูปที่
4.5 สอดคล้องกับไอโซเทอมการดูดซับแบบที่ 4 (Type IV) ตามการแบ่ง
ของ IUPAC (International Union of Pure and Applied
Chemistry) โดยในช่วงแรกของการดูดซับนั้นการดูดซับจะค่อยๆ เพิ่มสูง
65

ขึ้นที่ความดันสัมพัทธ์ต่ำ หลังจากนั้นการดูดซับจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่
ความดันสัมพัทธ์สูง เนื่องจากเกิดการควบแน่นแคปี ลารี (capillary
condensation)
ทำให้การคายซับสูงกว่าการดูดซับที่ความดันเดียวกัน จากไอโซเทอมที่ได้
สามารถนำไปคำนวณหาสมบัติรูพรุน
ต่างๆ ได้ในตารางที่ 7

รูปที่ 4.5 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ -196


องศาเซลเซียส ของถ่านกัมมันต์
ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งที่ถูกกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกและผ่าน
การคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิต่างๆ

ที่วัตถุดิบชนิดเดียวกันและสารกระตุ้นเดียวกัน พบว่า การเพิ่ม


อุณหภูมิในการคาร์บอไนซ์จาก 400 ถึง 800 องศาเซลเซียส จะได้ถ่านกัม
มันต์ที่มีพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นและเมื่ออุณหภูมิถึงจุดหนึ่งพื้นที่ผิวของถ่านกัมมัน
ต์จะลดลง แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการคาร์บอไนซ์มีผลต่อการเกิดรู
66

พรุน อาจเนื่องมาจากอุณหภูมิที่มากขึ้นทำให้สารกระตุ้นไปทำลายผนังรู
พรุนพื้นที่ผิวจึงลดลง
ตารางที่ 7 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ผ่านการคาร์บอไนซ์ที่
อุณหภูมิต่างๆ
ร้อยละผล
อุณหภูมิในการก SBET Vmic Vmeso VT DP
ได้ 2 3 3 3
ระตุ้น (m / (cm / (cm / (cm / (n
(%โดยน้ำ
(องศาเซลเซียส) g) g) g) g) m)
หนัก)
0.31 0.31 3.5
400 69.6 709 0.62
(50%) (50%) 0
0.32 0.47 4.2
500 68.2 740 0.79
(41%) (59%) 9
0.31 0.30 3.3
600 62.6 719 0.61
(51%) (49%) 9
0.32 0.23 3.2
700 50.4 674 0.55
(58%) (42%) 7
0.21 0.15 3.0
800 46.8 474 0.36
(58%) (42%) 8
ผลการทดลองพบว่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นพื้นที่ผิวจะมีค่าเพิ่มมากขึ้น
และตกลงในที่สุด ดังนั้นจากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นว่า ก้านบัวหลวงแห้ง
ที่ผ่านการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกที่ความเข้มข้น 50
%โดยน้ำหนัก ในอัตราส่วน%โดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นคือ
1:2 แช่ทิ้งไว้ระยะเวลา 1 วัน และ
ทำการคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชั่วโมง มี
พื้นที่ผิวมากที่สุด (740 ตารางเมตรต่อกรัม) หลังจากเทียบกับอุณหภูมิใน
67

การคาร์บอไนซ์ต่างๆ ที่สภาวะการกระตุ้นเดียวกัน และขนาดรูพรุนที่พบ


เป็ นขนาดกลาง โดยใช้หลักการของ IUPAC (International Union of
Pure and Applied Chemistry)
ในการแบ่งขนาดรูพรุน ซึ่ง IUPAC แบ่งขนาดรูพรุนไว้ 3 ขนาด ได้แก่ (1)
รูพรุนขนาดเล็ก มีขนาดรูพรุน
น้อยกว่า 2 นาโนเมตร (2) รูพรุนขนาดกลาง มีขนาดรูพรุน 2–50 นาโน
เมตร และ (3) รูพรุนขนาดใหญ่มี
ขนาดรูพรุนมากกว่า 50 นาโนเมตร ขนาดรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
ได้เป็ นไปตามไอโซเทอมการดูดซับแบบที่ 4 (Type IV) ที่กล่าวไว้ว่ามัก
พบมากในวัสดุที่มีรูพรุนขนาดกลาง
4.2.3 การวิเคราะห์สมบัติของถ่านกัมมันต์ที่สภาวะที่ดีที่สุดด้วย
เทคนิคต่างๆ
4.2.3.1 การวิเคราะห์สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์
ไอโซเทอมการดูดซับไนโตรเจนของถ่านกัมมันต์ แสดงในรูปที่
4.6 ไอโซเทอมการดูดซับนี้เป็ นประเภท IV ตามการจัดประเภทของ
IUPAC และฮีทเทอรีซิส (hysteresis loop) ถูกสังเกตได้ประมาณ 0.5
ซึ่งถ่านกัมมันต์มีรูพรุนขนาดกลาง (mesopores) สามารถแบ่งได้เป็ นสาม
ประเภทตามนิยามของ IUPAC คือ วัสดุไมโครพอรัส (micropores)
ขนาดเล็กกว่า 2 นาโนเมตร , วัสดุมีโซพอรัส (mesopores) อยู่ระหว่าง
2 ถึง 50 นาโนเมตร และวัสดุไมโครพอรัส (macropores) มีขนาดใหญ่
กว่า 50 นาโนเมตร ถ่านกัมมันต์ชนิดนี้มีพื้นที่ผิว BET ปริมาตรรูพรุน และ
เส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุน เท่ากับ 740 ตารางเมตรต่อกรัม, 0.79 ลูกบาศก์
เซนติเมตรต่อกรัม และ 4.29 นาโนเมตร ตามลำดับ ดังนั้น ถ่านกัมมันต์ที่
ได้จึงสามารถจัดเป็ นวัสดุที่มีรูพรุน
ในประเภทรูพรุนขนาดกลาง (mesoporous)
68

รูปที่ 4.6 ไอโซเทอมการดูดซับและคายซับแก๊สไนโตรเจนที่ ของ


ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส

ตารางที่ 8 เปรียบเทียบพื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนรวมของ
ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งโดยการกระตุ้นทางเคมีด้วย
กรดฟอสฟอริกของงานวิจัยนี้เปรียบกับถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากวัสดุ
ชีวมวลชนิดอื่นๆ โดยผ่านการกระตุ้นทางเคมีเช่นเดียวกันจากงานวิจัยอื่น
พบว่า ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งมีพื้นที่ผิวสูงกว่าถ่าน
กัมมันต์ที่เตรียมได้จากกากกาแฟที่ถูกกระตุ้นด้วย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ เครือกล้วยที่กระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก ก้านยาสูบที่
กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ รวมถึงสายบัวและเมล็ดองุ่นที่กระตุ้นจากไอออน
(III) คลอไรด์ โดยถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้งที่กระตุ้นก
รดฟอสฟอริกมีพื้นที่ผิวใกล้เคียงกับชานอ้อยที่เตรียมได้จากการกระตุ้น
ด้วยกรดฟอสฟอริก
69

ตารางที่ 8 สมบัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากงานวิจัยนี้เปรียบ
เทียบกับงานวิจัยอื่นๆ
สาร SBET VT
วัตถุดิบ 2 3
อ้างอิง
กระตุ้น (m /g) (cm /g)
ก้านบัวหลวง
H3PO4 740 0.79 งานวิจัยนี้
แห้ง
ชานอ้อย H3PO4 671.54 0.43 Elwakeel et al., 2015
Laowachirasuwan,
กากกาแฟ NaOH 27.15 0.02
2009
เครือกล้วย H3PO4 15.37 0.46 Sugumaran et al.,
หางนกยูงฝรั่ง KOH 0.01 0.35 2012
ก้านยาสูบ ZnCl2 382.7 0.20 Chen et al., 2017
สายบัว FeCl3 374 0.20 Feng et al., 2018
เมล็ดองุ่น FeCl3 417 0.19 Diaz et al., 2019
4.2.3.2 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate
analysis) ของถ่านกัมมันต์
ตารางที่ 9 การวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ (proximate analysis)
ของถ่านกัมมันต์เปรียบเทียบกับ
ก้านบัวหลวงแห้ง
สมบัติแบบประมาณ (% โดยน้ำหนัก, dry basis)
ความชื้น
สมบัติ คาร์บอน
(wet เถ้า สารระเหย
คงตัว
basis)
ก้านบัวหลวงแห้ง 7.79 11.94 65.60 22.46
70

ถ่านกัมมันต์ 10.74 8.27 17.67 74.06


จากตารางที่ 9 แสดงการวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณ
(proximate analysis) ของถ่านกัมมันต์เปรียบเทียบกับก้านบัวหลวงแห้ง
พบว่าปริมาณเถ้า และสารระเหยลดลง ทำให้มีปริมาณคาร์บอนคงตัวที่
มากขึ้น ซึ่งเป็ นไปตามสมบัติที่ดีของถ่านกัมมันต์ จากการศึกษางานวิจัย
ของ Hidayu et al.(2013) พบว่า
ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จากเส้นใยปาล์มมีปริมาณความชื้น 7.53%
ปริมาณเถ้า 9.58% ปริมาณสารระเหย 15.23% และปริมาณคาร์บอน
คงตัว 67.66% โดยจากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
จากก้านบัวหลวงแห้งเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานมากกว่าวัสดุชีวมวลอื่นๆ
4.2.3.3 การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อนของถ่าน
กัมมันต์
การวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อนภายใต้สภาวะแก๊ส
ไนโตรเจนและอากาศของ
ถ่านกัมมันต์ แสดงในรูปที่ 4.7 เมื่อพิจารณาการสลายตัวภายใต้
บรรยากาศของก๊าซทั้งสองชนิดน้ำหนักที่ลดลงในช่วงแรก คือตั้งแต่ช่วง
อุณหภูมิ 22 ถึง 75 องศาเซลเซียส ซึ่งภายใต้บรรยากาศของแก๊สทั้งสอง
ชนิดมีค่าน้ำหนักที่ลดลงใกล้เคียงกันคือ 10 %โดยน้ำหนัก เป็ นปริมาณ
ความชื้นของถ่านกัมมันต์ ในขณะที่การสลายตัวทางความร้อนภายใต้
สภาวะอากาศน้ำหนักสุดท้ายที่เหลืออยู่ คือ ปริมาณเถ้า ซึ่งมีค่าเท่ากับ 7
%โดยน้ำหนัก ซึ่งจากรูปจะเห็นว่าถ่านกัมมันต์เริ่มกลายเป็ นเถ้าตั้งแต่
อุณหภูมิประมาณ 570 องศาเซลเซียส
จากผลการทดลองดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าถ่านกัมมันต์จากก้านบัว
หลวงแห้งมีคาร์บอนเป็ นองค์ประกอบ ดังนั้นถ่านกัมมันต์จากก้านบัว
หลวงแห้งจึงสามารถนำมาใช้สำหรับการดูดซับไอบูโพรเฟนได้
71

รูปที่ 4.7 กราฟการสลายตัวทางความร้อนของถ่านกัมมันต์

4.2.3.4 การวิเคราะห์ความหนาแน่นรวม (bulk density)


จากตารางที่ 10 แสดงความหนาแน่นรวม (bulk density) ของ
ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ พบว่ามี
ความหนาแน่นรวม 0.40 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความหนาแน่นรวม
ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้มีค่าที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับงานวิจัยอื่น
เช่น งานวิจัยของ Adebayo et al. (2016) ศึกษาการเตรียม
ถ่านกัมมันต์จากเปลือกต้นโคปาลแอฟริกาตะวันตก (Daniella oliveri)
พบว่าวัสดุที่ผ่านการกระตุ้นทางเคมีจะมีความหนาแน่นรวม 0.42 กรัมต่อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร จึงสรุปได้ว่า ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้นั้นเหมาะสมต่อ
การดูดซับไอบูโพรเฟน เมื่อทราบค่าความหนาแน่นรวมจะสามารถ
ออกแบบวิธีการบรรจุและการขนส่ง
ถ่านกัมมันต์ได้
ตารางที่ 10 ความหนาแน่นรวม (bulk density) ของถ่านกัมมันต์ที่
เตรียมได้
3
ตัวอย่าง ความหนาแน่นรวม (g/cm )
72

ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ 0.40
4.2.3.5 การวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชันพื้นผิว
ถ่านกัมมันต์ที่มีสภาวะที่ดีที่สุด เมื่อนำมาวิเคราะห์หมู่ฟั งก์ชัน
พื้นผิวโดยใช้เทคนิค FTIR พบว่า แถบสเปกตรัมที่คลื่น 3315 ต่อ
เซนติเมตร สอดคล้องกับหมู่ฟั งก์ชัน O-H ที่อาจเกิดจากไฮดรอกซิลและ
ยังดูดซับน้ำด้วยถ่านกัมมันต์มากกว่าวัตถุดิบ บริเวณตำแหน่งหมู่ฟั งก์ชัน
ของ C-H จากหมู่เมทิลหรือ
หมู่เมทิลลีน (Samanta et al., 2011) มีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดย
ลดลงหลังการกระตุ้นด้วย
กรดฟอสฟอริกเนื่องจากการเผาไหม้ของคาร์บอนและการปล่อยออกมา
ในรูปแบบของคาร์บอนออกซิไดซ์ พีคที่ตำแหน่ง 1597 ต่อเซนติเมตร
เป็ นการสั่นยืดของ C=C ซึ่งเป็ นหมู่แอลคีน (Qian et al., 2007) และ
นอกจากนี้ยังพบหมู่ฟั งก์ชัน C-O ในตำแหน่ง 1034 ต่อเซนติเมตร อีก
ด้วย (Sohaimi et al., 2017) อย่างไรก็ตาม สำหรับถ่านกัมมันต์จากก้าน
บัวหลวงแห้งที่กระตุ้นด้วย H3PO4 มีการอยู่ของกลุ่มฟอสฟอรัสอาจทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในตำแหน่งของพีคที่กล่าวถึงข้างต้นและการ
ซ้อนทับกันของพันธะ ซึ่งพันธะที่มีฟอสฟอรัส เช่น P=O, P–O–C และ
P=OOH อาจมีอยู่ในโครงสร้างของถ่านกัมมันต์ H3PO4 ดังแสดงในรูปที่
4.8
73

รูปที่ 4.8 กราฟ FTIR ของวัตถุดิบและถ่านกัมมันต์จากก้านบัวหลวงแห้ง

4.2.3.6 การศึกษาสัณฐานวิทยาของพื้นผิวถ่านกัมมันต์
และการวิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์
มีการใช้เทคนิคแสกนไมโครสโคปอิเล็กตรอนแบบส่องกราด
หรือ Scanning Electron Microscope (SEM) เพื่อตรวจสอบสัณฐาน
และรายละเอียดของพื้นที่ถ่านกัมมันต์ รูปที่ 4.9 (ก) แสดงให้เห็นถึง
Scanning Electron Microscope (SEM) ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้
จากก้านบัวหลวงแห้ง โดยเป็ นภาพถ่านกัมมันต์ที่ถูกกระตุ้นด้วย H3PO4
ผ่านการคาร์บอไนซ์ที่ 500 องศาเซลเซียส ซึ่งจากรูปดังกล่าวเห็นได้ว่า
พื้นที่ผิวภายนอกของถ่านกัมมันต์มีขนาดรูพรุนและรูปร่างที่ต่างกัน
เนื่องจากเมื่อเทียบกับพื้นที่ผิว BET ที่สูง
รูพรุนของถ่านกัมมันต์เป็ นผลมาจากการระเหยของสารกระตุ้น H3PO4 ใน
ระหว่างการทำให้เป็ นคาร์บอน ทำให้เหลือพื้นที่การดูดซับ ดังภาพที่
ปรากฏ สเปกตรัม EDX ที่แสดงในรูปที่ 4.9 (ข) เผยให้เห็นว่าองค์
74

ประกอบของถ่านนี้มีคาร์บอน และออกซิเจนเป็ นหลัก โดยมีคาร์บอนสูง


ถึง 81.1 %โดยน้ำหนัก ออกซิเจน 17.6
%โดยน้ำหนัก และยังพบเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสปริมาณ 0.8 %โดยน้ำ
หนัก บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของ
กรดฟอสฟอริกที่อาจมาจากสารกระตุ้นที่ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์

c)
โครงสร้าง

(ก)
(ข)

รูปที่ 4.9 (ก) Scanning Electron Microscope (SEM) และ(ข)


แสดง Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDX) ของถ่านกัมมัน
ต์ที่เตรียมได้จากก้านบัวหลวงแห้ง

4.2.3.7 ค่า pH และค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pH at the


point of zero charge, pHpzc)
จากการศึกษาวิเคราะห์ผลของค่า pH ของตัวดูดซับที่เตรียม
จากก้านบัวหลวงแห้งในสภาวะที่ดีที่สุด พบว่า มีค่า pH ของสารละลาย
เท่ากับ 6.77 ซึ่งเป็ นค่าที่ยอมรับได้ ตามการรายงานงานวิจัยของ
Ahmedna et al.(2000) และ Okieimen et al.(2007) กล่าวว่าค่า pH
75

ที่เป็ นที่ยอมรับจะอยู่ในช่วง pH เท่ากับ 6-8 สำหรับการใช้งานเป็ นส่วน


ใหญ่ ค่า pH ของผลการทดลองยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Bello et
al.(2020) ที่ใช้ใบมะรุมในการเตรียมเป็ นถ่านกัมมันต์ และใช้กรดฟอสฟ
อริก (H3PO4)
ในกระบวนการกระตุ้นทางเคมี ได้ค่า pH เท่ากับ 6.95 เมื่อเปรียบเทียบ
แล้วมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับ
ผลการทดลอง ดังนั้น ตัวดูดซับที่เตรียมจากก้านบัวหลวงแห้งในสภาวะที่
ดีที่สุดเหมาะสมสำหรับการดูดซับ
เมื่อวิเคราะห์ผลของค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pHpzc) จากรูปที่
4.10 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง pH เริ่มต้น และ pH สุดท้าย พบ
ว่ามีค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pHpzc) เท่ากับ 5.2 ซึ่งจะนำไปเปรียบเทียบ
กับ pH ของสารละลายไอบูโพรเฟน ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของการ
ดูดซับของถ่านกัมมันต์และบ่งบอกถึงประจุบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์
อาทิ pH ของสารละลายมีค่าต่ำกว่า pHpzc แสดงว่าบนพื้นผิวของถ่านกัม
มันต์เป็ นประจุบวก ซึ่งจะดูดซับสารละลายไอบูโพรเฟนที่มีประจุเป็ นลบ
ได้ดี หาก pH ของสารละลายมีค่าสูงกว่า pHpzc นั้นแสดงว่าบนพื้นผิวของ
ถ่านกัมมันต์เป็ นประจุลบ ทำให้ความสามารถของ
การดูดซับสารละลายไอบูเฟนได้ไม่ดี เนื่องจากแรงผลักของไฟฟ้ าสถิตส่ง
ผลให้ความสามารถการดูดซับนั้นแยกตัวออกจากพื้นผิวของถ่านกัมมันต์ที่
มีประจุลบ และค่า pHpzc มีค่าที่ใกล้เคียงกับงานวิจัยของ Liu et al.
(2012) ที่หาค่า pHpzc ได้เท่ากับ 6.17 โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจาก
ก้านบัว และใช้กรดฟอสฟอริกใน
การกระตุ้นเช่นกัน และงานวิจัยของ Huang al.(2011) ที่ได้มีการเตรียม
ถ่านกัมมันต์จากก้านบัว โดยใช้สารเคมีในการกระตุ้นคือกรดฟอสฟอริก
เช่นกัน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ค่า pHpzc เท่ากับ 4.09
76

รูปที่ 4.10 กราฟค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pHpzc) ของถ่านกัมมันต์ที่


เตรียมจากก้านบัวหลวงแห้ง

4.3 การศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟน (Adsorption study)


4.3.1 ผลของเวลาต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
จากการศึกษาพบว่า การใช้ตัวดูดซับที่เป็ นถ่านกัมมันต์จากก้านบัว
หลวงแห้งที่มีพื้นที่ผิวสูงที่สุด ดูดซับที่ความเข้มข้นต่างกัน 20, 40 และ
60 มิลลิกรัมต่อลิตร และที่เวลาต่างกัน 3-120 นาที ดังแสดงในรูปที่
4.11 จะเห็นว่าในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นมีปริมาณการดูดซับไอบูโพรเฟนที่
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีพื้นที่ผิวและปริมาณรูพรุนที่มากต่อการ
ดูดซับ เมื่อเวลาผ่านไปที่เวลาประมาณ 50 นาที แนวโน้มของกราฟเริ่ม
เข้าสู่สมดุล เนื่องจากปริมาณพื้นผิวถูกใช้จนปริมาณลดลงจนหมด จึงได้
ว่าที่ความเข้มข้น 20, 40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร จะใช้เวลาในการดูด
ซับเข้าสู่สมดุลที่เวลา 50 นาที ซึ่งจะใช้เวลาเข้าสู่สมดุลนี้ในการศึกษา
หัวข้อต่อไป
77

รูปที่ 4.11 ผลของเวลาต่อการดูดซับไอบูโพรเฟนที่ความเข้มข้น 20 40


และ 60 mg/L โดยใช้ถ่านกัมมันต์ก้านบัวหลวงแห้งในการดูดซับ
จากนั้นทำการศึกษาแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม
(pseudo-first order) และแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม
(pseudo-second order) ซึ่งจากสมการแบบจำลองทางจลนศาสตร์
อันดับหนึ่งเทียมสมการที่ (3) จะสามารถสร้างสมการเส้นตรงโดยมีความ
สัมพันธ์ระหว่าง ln(qe-qt) และ t และจากสมการแบบจำลองทาง
จลนศาสตร์อันดับสองเทียมสมการที่ (4) จะสามารถสร้างสมการเส้นตรง
t
โดยมีความสัมพันธ์ระหว่าง qt และ t ได้ โดยแสดงในรูปที่ 4.12 เพื่อบอก
ถึงอัตราเร็วของการดูดซับ และ
2
ความสอดคล้องของผลการทดลองจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R )
รวมถึงค่าพารามิเตอร์ต่างๆ โดยแสดงในตารางที่ 11
78

(ก)

(ข)

(ค)
79

รูปที่ 4.12 แบบจำลองจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง(pseudo-first order) ฝั่ ง


ซ้ายมือ และแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม (pseudo-
second order) ฝั่ งขวามือ ที่ความเข้มข้นสารละลายต่างๆ โดย
(ก) ความเข้มข้น 20 mg/L (ข) 40 mg/L และ (ค) 60 mg/L

ตารางที่ 11 พารามิเตอร์การดูดซับไอบูโพรเฟนจากแบบจำลองทาง
จลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม (pseudo-first order) และแบบจำลองทาง
จลนศาสตร์อันดับสองเทียม (pseudo-second order)
qe,ex Pseudo-first order Pseudo-second order
ความเข้ม
p
ข้น qe,cal K1 2
qe,cal K2 2
(mg -1
R -1
R
(mg/L) (mg/g) (min ) (mg/g) (min )
/g)
58.3 0.026 0.536 0.002
20 16.10 60.98 0.984
2 8 2 4
128. 0.044 0.597 131.5 0.002
40 31.80 0.999
33 4 2 8 7
158. 0.027 0.746 161.2 0.002
60 35.17 0.999
46 9 9 9 0
จากข้อมูลตารางที่ 11 พบว่าข้อมูลการทดลองเป็ นไปตามแบบ
จำลองทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม ที่ความเข้มข้น 20 มิลลิกรัมต่อ
2
ลิตร มีค่า R เท่ากับ 0.984 และความเข้มข้นของสารละลาย 40 และ 60
2
มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่า R เท่ากับ 0.999 จะเห็นว่าแบบจำลองทาง
2
จลนศาสตร์อันดับสองเทียมมีค่า R
ที่มากกว่าแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม และจากการ
คำนวณความสามารถการดูดซับ
80

ไอบูโพรเฟนที่สมดุล (qe) พบว่าแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสอง


เทียมมีค่าความสามารถการดูดซับที่ใกล้เคียงกับค่าความสามารถการดูด
ซับที่ได้จากการทดลองทั้ง 3 ความเข้มข้น โดยมีความสอดคล้องกับงาน
วิจัยอื่นๆ เช่น งานวิจัยของ Mestre et al.,2007 ได้ทำการศึกษาการดูด
ซับไอบูโพรเฟน ซึ่งตัวดูดซับ
ทำจากไม้ก๊อก ใช้สารเคมีในการกระตุ้นผ่าน K2CO3 ตามแบบจำลองทาง
จลนศาสตร์อันดับสองเทียมได้ค่า
2
R เท่ากับ 0.999 และ Nourmoradi et al.,2018 ได้ศึกษาการดูดซับไอ
บูโพรเฟนเช่นกัน แต่ใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากโอ๊ก ผ่านการกระตุ้นด้วย
2
กรดฟอสฟอริก ได้ค่า R เท่ากับ 0.976 ซึ่งสอดคล้องกับแบบจำลอง
ทางจลนศาสตร์อันดับสองเทียม ซึ่งแบบจำลองทางจลนศาสตร์อันดับสอง
เทียมจะบ่งบอกถึงเป็ นการดูดซับที่เกิดจากแรงทางเคมี ที่เกิดจากการใช้
อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างโมเลกุลของสารละลายไอบูโพรเฟนและถ่าน
กัมมันต์ (มานิต.,2558)
4.3.2 ผลของค่า pH ต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
ผลของค่า pH เป็ นหนึ่งในปั จจัยที่ส่งผลต่อการแตกตัวของไอออน
ของโมเลกุลตัวดูดซับและหมู่ฟั งก์ชันบนพื้นผิวของตัวดูดซับ (Ferreira et
al. 2011) โดยผู้ศึกษาพิจารณาค่า pH ตั้งแต่ 2 - 12 ความเข้มข้น 20,
40 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็ นเวลา 50 นาที ดังแสดงรูปที่ 4.13 จะ
เห็นว่าปริมาณการดูดซับ
ไอบูโพรเฟนจะค่อยๆลดลงเมื่อค่า pH เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อค่า pH ของ
สารละลายต่ำกว่า pHpzc (pHpzc = 5.2) ของตัวดูดซับ พื้นผิวของตัวดูด
ซับจะแสดงประจุที่เป็ นบวก ทำให้ดูดซับไอบูโพรเฟนที่มีประจุลบได้ดี
ในขณะเดียวกัน เมื่อค่า pH สูงกว่าค่า pKa ของไอบูโพรเฟน (pKa =
4.9) โมเลกุลจะถูกลดโปรตอน ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับไอบูโพรเฟน
81

น้อยลง เมื่อค่า pH มากกว่า 4.9 เนื่องจากแรงผลักไฟฟ้ าสถิตระหว่าง


ประจุลบที่ดูดซับและพื้นผิวของถ่านกัมมันต์ค่อยๆกลายเป็ นประจุลบมาก
ขึ้น (Mestre et al.,2007) ซึ่งบ่งบอกได้ว่าประจุที่พื้นผิวของตัวดูดซับขึ้น
อยู่กับค่า pH ของสารละลายและค่า pH ที่จุดประจุเป็ นศูนย์ (pHpzc) โดย
มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ Nourmoradi et al.,2018 ซึ่งได้
ทำการศึกษาการดูดซับไอบูโพรเฟนโดยเตรียมถ่านกัมมันต์จากโอ๊ค ที่ pH
ช่วงเท่ากับ 3 – 5 มีความสามารถในการดูดซับที่สูงเช่นกัน ดังนั้นในการ
ศึกษาต่อไปจึงพิจารณาที่ pH เท่ากับ 2

รูปที่ 4.13 ผลของค่า pH ต่อการดูดซับไอบูโพรเฟนที่ความเข้มข้น 20 40


และ 60 mg/L โดยใช้ถ่านกัมมันต์ก้านบัวหลวงแห้งในการดูดซับที่ความ
เข้มข้นต่างๆ
82

4.3.3 ไอโซเทอมของการดูดซับไอบูโพรเฟน
จากการศึกษาการใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากก้านบัวหลวงแห้งโดย
ใช้เวลาในการดูดซับที่เข้าสู่
สภาวะสมดุล 50 นาที และ pH เป็ น 2 ที่สภาวะที่ดีที่สุด โดยทำการปรับ
ความเข้มข้นของสารละลายที่ต่างกัน 5-100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าถ่าน
กัมมันต์จะดูดซับได้มาก เมื่อความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในช่วง
แรกนั้นตัวดูดซับยังมีพื้นผิวอยู่จำนวนมาก และเมื่อพื้นที่ผิวเหลืออยู่น้อยห
รือหมด จะเริ่มดูดซับได้น้อยลงเมื่อใกล้เข้าสู่สมดุล ดังแสดงในรูปที่ 4.14
จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองไอโซเทอมของ Langmuir และ
แบบจำลองไอโซเทอมของ Freundlich จากสมการที่ (1) และ (2) ทำให้
ทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ได้จากกราฟรูปที่ 4.14 ซึ่งแสดงข้อมูลของ
พารามิเตอร์ต่างๆในตารางที่ 12 จะเห็นว่าการใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจาก
ก้านบัวหลวงแห้งสอดคล้องกับแบบจำลองของ Langmuir มากที่สุด
2
เนื่องจากค่า R เท่ากับ 0.9914
2
ซึ่งมากกว่า R ของแบบจำลอง Freundlich ที่เท่ากับ 0.9451 ดังนั้นการ
ดูดซับจะเป็ นการดูดซับชั้นเดียว
มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ Omorogie et al.,2021 และ Balarak
et al.,2021 ที่ศึกษาการดูดซับ
ไอบูโพรเฟน และผลการทดลองเป็ นไปตามแบบจำลองของ Langmuir
เช่นเดียวกัน
เมื่อพิจารณาปริมาณการดูดซับสูงสุด พบว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
จากก้านบัวหลวงแห้ง มีปริมาณ
การดูดซับสูงสุดเท่ากับ 323.50 มิลลิกรัมต่อกรัม และได้มีการเปรียบ
เทียบกับงานวิจัยอื่นที่มีการศึกษา
การดูดซับไอบูโพรเฟน จากวัตถุดิบต่างๆ เช่น งานวิจัยของ Omorogie
83

et al.,2021 เตรียมถ่านกัมมันต์จาก
ต้นโอพีเป (Nauclea diderrichii) มีปริมาณการดูดซับสูงสุด 70.92
มิลลิกรัมต่อกรัม งานวิจัยของ
Balarak et al.,2021 เตรียมถ่านกัมมันต์จากแหน (Lemna minor) มี
ปริมาณการดูดซับสูงสุด 181.2 มิลลิกรัมต่อกรัม และงานวิจัยของ
Nourmoradi et al.,2018 ที่ใช้โอ๊กมาเตรียมเป็ นถ่านกัมมันต์ ได้ปริมาณ
การดูดซับสูงสุด 96.15 มิลลิกรัมต่อกรัม จะเห็นว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียม
จากก้านบัวหลวงแห้งสามารถดูดซับไอบูโพรเฟนได้ในปริมาณที่มากกว่า
ของงานวิจัยอื่นๆที่ได้กล่าวมา ซึ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการดูดซับ
ไอบูโพรเฟน

รูปที่ 4.14 ไอโซเทอมการดูดซับไอบูโพรเฟน โดยใช้ถ่านกัมมันต์ในการดูด


ซับที่ความเข้มข้นต่างๆ
ตารางที่ 12 ค่าพารามิเตอร์การดูดซับไอบูโพรเฟนจากสมการแบบจำลอง
ของ Langmuir และ Freundlich
Langmuir model Freundlich model
Sample KL qm 2
KF 2
R 1/n R
(L/mg) (mg/g) (L/g)
84

Dried lotus 0.991 0.94


0.047 323.50 31.69 0.51
stalk AC 4 51
4.3.4 ผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน
จากการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน อุณหภูมิ
ต่างกันที่ 303, 313, 323 และ 333 เคลวิน ความเข้มข้น 20, 40 และ
60 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็ นเวลา 50 นาที และ pH เป็ น 2 ที่สภาวะที่ดีที่สุด
ดังแสดงในรูปที่ 4.15 พบว่าปริมาณการดูดซับจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีอุณหภูมิ
สูงขึ้น
ผู้ศึกษาได้พิจารณาพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ที่คำนวณโดย
0
ค่ามาตรฐานของการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระของกิบส์ (∆G ) การ
0
เปลี่ยนแปลงเอนทาลปี การดูดซับ (∆H ) และการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปี
0
การดูดซับ (∆S ) ร่วมด้วย จากสมการดังนี้

0 0
การเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระของกิบส์ (∆G ) : (∆G ) = -
RTlnk สมการที่ (7)

o o
0 ∆S ∆H
การเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี การดูดซับ (∆H ) : lnk = R - RT
สมการที่ (8)

qe
โดย k หาจากสมการ k = Ce เมื่อ k คือ ค่าคงที่ qe คือ ปริมาณการ
ดูดซับไอบูโพรเฟนที่สมดุล (มิลลิกรัมต่อกรัม) และCe คือ ความเข้มข้นของ
ไอบูโพรเฟนหลังการดูดซับที่สมดุล (มิลลิกรัมต่อกรัม)
เมื่อพลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง lnk และ 1/T ดังรูปที่ 4.16
0 0
จะทำให้ทราบค่าความชัน คือ ∆H /RT และจุดตัดแกน คือ ∆S /R จาก
85

สมการเส้นตรง เมื่อค่า R เท่ากับ 8.314 J/mol-K ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่


คำนวณได้ได้แสดงในตารางที่ 13 จะเห็นว่าค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
0
อิสระของกิบส์ (∆G ) ของทั้ง 4 อุณหภูมินั้นมีค่าที่ติดลบ บ่งบอกว่าเป็ นก
ระบวนการดูดซับที่เกิดขึ้นเองได้ ส่วนค่าการเปลี่ยนแปลง
0
เอนทาลปี การดูดซับ (∆H ) มีค่าเป็ นบวก แสดงว่ากระบวนการที่เกิดขึ้น
นั้นเป็ นกระบวนการที่ดูดความร้อน และสำหรับค่าการเปลี่ยนแปลงเอน
0
โทรปี การดูดซับ (∆S ) มีค่าเป็ นบวกเช่นเดียวกับค่าการเปลี่ยนแปลง
0
เอนทาลปี การดูดซับ (∆H ) แสดงว่าบริเวณผิวของตัวดูดซับมีความไม่เป็ น
ระเบียบของพื้นผิวในกระบวนการ
ดูดซับที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Balarak et al.,2020 ได้
ทำการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อ
การดูดซับไอบูโพรเฟน โดยใช้ตัวดูดซับที่เตรียมจากแหน (Lemna
minor) ที่อุณหภูมิ 283, 298, 313 และ 328 เคลวิน พบว่าปริมาณการ
ดูดซับจะสูงขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นตาม และยังเป็ นกระบวนการที่เกิด
0
ขึ้นเองได้ เนื่องจากมีค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระของกิบส์ (∆G )
เป็ นลบ อีกทั้งในส่วนของพารามิเตอร์อื่นๆ เช่น ค่าการเปลี่ยนแปลงเอน
0
โทรปี การดูดซับ (∆S ) และค่าการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี การดูดซับ
0
(∆H ) มีค่าเป็ นบวก ซึ่งบ่งบอกว่าเป็ นกระบวนการดูดความร้อนเช่นเดียว
กับผลการทดลองของผู้ศึกษา
86

รูปที่ 4.15 ผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับไอบูโพรเฟน โดยใช้ถ่านกัมมันต์


ก้านบัวหลวงแห้งในการดูดซับ
ที่ความเข้มข้นต่างๆ

ตารางที่ 13 ค่าพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ของการดูดซับไอบูโพ
รเฟน
0
∆G (kJ/mol) 0 0
ความเข้ม ∆H ∆S
313 323
ข้น(mg/L) 303 K 333 K (kJ/mol) (kJ/mol)
K K
20 -5.37 -6.52 -6.96 -7.56 15.92 0.071
40 -5.56 -6.48 -7.15 -7.49 14.03 0.065
60 -4.34 -4.96 -5.22 -5.54 7.32 0.039
87

(ก) (ข)

(ค)
รูปที่ 4.16 กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง lnk กับ 1/T ที่ความเข้มข้น
สารละลายต่างๆ โดย
(ก) ความเข้มข้น 20 mg/L (ข) 40 mg/L และ (ค) 60 mg/L
88

บทที่ 5
สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
จากการทดลองการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกลีบดอกบัวหลวงแห้ง
และก้านบัวหลวงแห้ง โดยผ่านการกระตุ้นด้วยวิธีการทางเคมี คือ การก
ระตุ้นด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ กรดฟอสฟอริก
ซิงค์คลอไรด์ และไอออน(III)คลอไรด์ และการศึกษาการดูดซับไอบูโพ
รเฟน สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้

5.1 สรุปผลการทดลอง
จากการศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกลีบดอกบัวหลวงแห้ง
และก้านบัวหลวงแห้ง เมื่อนำมาวิเคราะห์จากสมบัติแบบประมาณ
(proximate analysis) และการสลายตัวทางความร้อน พบว่ากลีบดอก
บัวหลวงแห้งมีปริมาณความชื้นประมาณ 9 %โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้า 12
%โดยน้ำหนัก ปริมาณสารระเหย 68 %โดยน้ำหนัก และปริมาณ
คาร์บอนคงตัว 20 %โดยน้ำหนัก ก้านบัวหลวงแห้งมีปริมาณความชื้น
ประมาณ 7 %โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้า 12 %โดยน้ำหนัก ปริมาณสาร
ระเหย 66 %โดยน้ำหนัก และปริมาณคาร์บอน
คงตัว 22 %โดยน้ำหนัก และเมื่อนำกลีบดอกบัวหลวงแห้งและก้านบัว
หลวงแห้งมาเปรียบเทียบกับวัสดุชีวมวลอื่นๆ สรุปได้ว่ากลีบดอกบัวหลวง
แห้งและก้านบัวหลวงแห้ง มีสมบัติที่เหมาะสมในการนำมาเป็ นวัตถุดิบ
สำหรับการเตรียมถ่านกัมมันต์
ผลการของสารกระตุ้นต่อสมบัติต่อรูพรุนและผลของอุณหภูมิการ
คาร์บอไนซ์ต่อสมบัติต่อรูพรุนของถ่านกัมมันต์ สรุปได้ว่าสารกระตุ้นและ
อุณหภูมิมีผลต่อพื้นที่ผิวรูพรุน โดยถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้จาก
89

การกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้น 50 %โดยน้ำหนัก ใน
อัตราส่วนร้อยละโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อ
สารกระตุ้นคือ 1:2 แช่ทิ้งไว้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง และทำการคาร์บอไนซ์
ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส
เป็ นเวลา 1 ชั่วโมง มีพื้นที่ผิวมากที่สุด (740 ตารางเมตรต่อกรัม) และ
ขนาดรูพรุนที่พบเป็ นขนาดกลาง
เมื่อวิเคราะห์สมบัติแบบประมาณออกมาจะได้ว่า ถ่านกัมมันต์ปริมาณ
ความชื้นประมาณ 10 %โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้า 8 %โดยน้ำหนัก
ปริมาณสารระเหย 17 %โดยน้ำหนัก และปริมาณคาร์บอนคงตัว 74
%โดยน้ำหนัก และสอดคล้องกับผลที่ได้จากเทคนิค Energy Dispersive
X-Ray Spectroscopy (EDX) บ่งชี้ว่ามีปริมาณคาร์บอนถึง 81.1 %โดย
น้ำหนัก ซึ่งเป็ นไปตามสมบัติของถ่านกัมมันต์
การศึกษาค่า pH ของตัวดูดซับพบว่ามีค่า pH เท่ากับ 6.77 เมื่อนำ
ไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นๆแล้วมีค่าที่ใกล้เคียงและเป็ นที่ยอมรับใน
การจะใช้เป็ นตัวดูดซับ และการศึกษาค่าประจุพื้นผิวเป็ นศูนย์ (pH at
the point of zero charge , pHpzc) พบว่ามีค่า pHpzc เท่ากับ 5.2
ทำให้ทราบว่าพื้นผิวของตัวดูดซับเป็ นประจุบวก ซึ่งสามารถดูดซับไอบูโพ
รเฟนที่เป็ นประจุลบได้
การศึกษาการดูดซับที่ใช้ถ่านกัมมันต์จากก้านบัวหลวงในสภาวะที่ดี
ที่สุดมาใช้ดูดซับไอบูโพรเฟน
ที่ความเข้มข้นสารละลายต่างๆ โดยมีความเข้มข้น 20, 40 และ 60
มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า การดูดซับจะเข้าสู่สมดุลที่เวลา 50 นาที ส่วนค่า
pH สำหรับการดูดซับไอบูโพรเฟนที่เหมาะสมที่สุดจะมีค่า pH เท่ากับ 2
และอุณหภูมิที่ 333 เคลวิน สามารถดูดซับไอบูโพรเฟนได้ดีที่สุด ทำให้
ทราบถึงความเป็ นไปของกระบวนการดูดซับว่าเป็ นกระบวนการดูดซับที่
90

สามารถเกิดขึ้นได้เอง อีกทั้งเป็ นกระบวนการที่ดูดความร้อน สำหรับการ


ศึกษาแบบจำลองจลนศาสตร์และไอโซเทอมของการดูดซับ พบว่าแบบ
จำลองจลนศาสตร์อันดับสองเทียม
(Pseudo-second order kinetic model) และสมการแลงเมียร์มีความ
สอดคล้องที่มากที่สุด

5.2 ข้อเสนอแนะ
- ควรนำถ่านกัมมันต์ทางการค้ามาเปรียบเทียบโดยวิเคราะห์สมบัติ
ต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพของ
การดูดซับไอบูโพรเฟนด้วย
- ควรนำถ่านกัมมันต์จากก้านบัวหลวงไปวิเคราะห์ช่วงเวลาและ
ความเข้มข้นของการดูดซับเหมาะสมกับการนำไปใช้งานจริงในอนาคต
หรือไม่
91

เอกสารอ้างอิง
กุสุมา เชาวลิด. (2562). การเตรียมถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟโดย
ไมโครเวฟร่วมกับการกระตุ้นด้วยโซเดียม
คลอไรด์เพื่อการดูดซับสีย้อมผ้าบาติก. มหาวิทยาลัยบูรพา

ฉวีวรรณ เพ็งพิทักษ์. (2562). ถ่านกัมมันต์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.


จาก.http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/chem-2-
62- charcoal.pdf?
fbclid=IwAR2cs7R0SpgWKJTFIe8vXPGcUlTsnuBtaScppb9BNjNjp
BPseafhRP Ucg0

ณัฐศิริ วงษ์แสง. (2565). Fourier Transform Infrared Spectrometer


(FT-IR). สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566
จาก.https://www.ubu.ac.th/web/sec/content/Fourier
%20Transform%20Infrared%20Sp ectrometer%20(FT- IR)/?
fbclid=IwAR3TVMBi3kAhSfxWHXZQOziPcdqg_UB4cf0XTPdYD8_
KYaFEUwOs2dhtegs

นุชจิรา ดีแจ้ง. (2560). การผลิตเม็ดถ่านกัมมันต์จากซังข้าวโพดเพื่อการ


ดูดซับแก๊ส. มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปริญญา บุญมาเลิศ. (2564). การออกแบบและสร้างเตาเผาถ่านกัมมันต์


จากข้อไม้ไผ่ (พันธุ์ซางหม่น).
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
92

มานิต อังโชติพันธุ์. (2558). การดูดซับทองแดงและตะกั่วในน้ำเสียด้วยไฮ


ดรอกซีอาพาไทต์จากเปลือกไข่.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สุคนทิพย์ เถาว์โมลา. (2561). การเตรียม การวิเคราะห์ และการ


ประยุกต์ใช้ถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือทิ้งทาง
การเกษตรจากภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อป็ นตัวดูดซับ
โลหะหนักจากสารละลายน้ำ. มหาวิทยาลัยบูรพา

เสาวภา ไวบสุศรี. (2558). การกำจัดฟอสเฟตในน้ำเสียโดยการดูดซับด้วย


แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียม
ออกไซด์จากเปลือกไก่. มหาวิทยลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อดิศักดิ์ คีรีรักษ์. (2561). การศึกษาตัวดูดซับราคาถูกจากเส้นใยธรรมชาติ


เหลือทิ้งเพื่อกำจัดสีคริสตัลไวโอเลต.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อรทัย ลีลาพจนาพร. (2547). คู่มือปฏิบัติการเทคนิคอินฟราเรดสเปกโท
รสโกปี . สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.

จาก.http://lib3.dss.go.th/fulltext/Vichakran/vichakran_lpd_000
6.pdf?fbclid=IwAR12z21 evPNhL20Gh9ufHBq_-
WeVk3QDdfvWBCAeCgj-gDQmXdKej_CFLN8
93

ฮาซัน ดอปอ. (2561). คุณลักษณะทางกายภาพของอนุภาคผงสมุนไพร


ภูมิปั ญญาท้องถิ่นที่มีผลต่อการยับยั้ง
เชื้อแบคทีเรียบางชนิด. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Adebayo, G. B., Adegoke, H. I., & Sidiq, F. (2016). ADSORPTION


OF PB(ll) BY MODIFIED AND ACTIVATED CARBON PREPARED
FROM Deniella oliveri STEM BARK. In J. Chem. Soc. Nigeria
(Vol. 41, Issue 1)

Ahmedna M, Marshall W.E. and Rao R.M., (2000) Granular


activated carbons from agricultural by –products:
preparation properties and application in cane sugar refining,
Bulletin of Louisana state University Agricultural centre, 54

Babatunde, K. A., Agbede, O. O., Olateju, I. I., Bamidele, S. D.,


Osuolale, O. M., & Osuolale,
F. N. (2019). Biomass Gasification Potential in Nigeria: A
Review. LAUTECH Journal of Civil and Environmental
Studies, 3(Issue 1).

Baccar, R., Sarrà, M., Bouzid, J., Feki, M., & Blánquez, P. (2012).
Removal of pharmaceutical compounds by activated
carbon prepared from agricultural by-product. Chemical
Engineering Journal, 211–212, 310–317.
94

Balarak, D., Taheri, Z., Joon Shim, M., Lee, S.-M., & Jeon, C.
(2021). Adsorption kinetics and thermodynamics and
equilibrium of ibuprofen from aqueous solutions by
activated carbon prepared from Lemna minor.

Behera, S. K., Oh, • S Y, & Park, • H S. (2012). Sorptive removal


of ibuprofen from water using selected soil minerals and
activated carbon.

Bello, O. S., Moshood, M. A., Ewetumo, B. A., & Afolabi, I. C.


(2020). Ibuprofen removal using coconut husk activated
Biomass. Chemical Data Collections, 29, 100533.

Bello, O. S., Adegoke, K. A., & Akinyunni, O. O. (2017).


Preparation and characterization of a novel adsorbent
from Moringa oleifera leaf. Applied Water Science, 7(3),
1295–1305.

Beyan, S. M., Prabhu, S. V., Sissay, T. T., & Getahun, A. A.


(2021). Sugarcane bagasse based activated carbon
preparation and its adsorption efficacy on removal of BOD
and COD from textile effluents: RSM based modeling,
optimization and kinetic aspects. Bioresource Technology
Reports, 14, 100664.
95

Bhagwanrao, S. V., & Singaravelu, M. (2014). Bulk density of


biomass and particle density of their briquettes.
International Journal of Agricultural Engineering, 7(1), 221-224.

Carlsson, C., Johansson, A. K., Alvan, G., Bergman, K., & Kühler,
T. (2006). Are pharmaceuticals potent environmental
pollutants?. Part I: Environmental risk assessments of
selected active pharmaceutical ingredients. Science of the
Total Environment, 364(1–3), 67–87.

Chen, R., Li, L., Liu, Z., Lu, M., Wang, C., Li, H., Ma, W., & Wang,
S. (2017). Preparation and characterization of activated
carbons from tobacco stem by chemical activation. Journal
of the Air and Waste Management Association, 67(6), 713–724

Chopra, S., & Kumar, D. (2020). Ibuprofen as an emerging


organic contaminant in environment, distribution and
remediation. Heliyon, 6(6), e04087.

Dubey, S. P., Dwivedi, A. D., Sillanpää, M., & Gopal, K. (2010).


Artemisia vulgaris-derived
mesoporous honeycomb-shaped activated carbon for
ibuprofen adsorption. Chemical Engineering Journal,
165(2), 537–544.
96

Diaz, E., Manzano, F. J., Villamil, J., Rodriguez, J. J., &


Mohedano, A. F. (2019). Low-cost activated grape seed-
derived hydrochar through hydrothermal carbonization and
chemical activation for sulfamethoxazole adsorption.
Applied Sciences (Switzerland), 9(23)
Elwakeel, K. Z., El-Sayed, G. O., & Abo El-Nassr, S. M. (2015).
Removal of ferrous and manganous from water by activated
carbon obtained from sugarcane bagasse. Desalination and
Water Treatment, 55(2), 471–483
Feng, Z., Chen, N., Feng, C., & Gao, Y. (2018). Mechanisms of
Cr(VI) removal by FeCl3- modified lotus stem-based biochar
(FeCl3@LS-BC) using mass-balance and functional group
expressions. Colloids and Surfaces A: Physicochemical and
Engineering Aspects, 551, 17–24

Ferreira, L. S., Rodrigues, M. S., de Carvalho, J. C. M., Lodi, A.,


Finocchio, E., Perego, P., &
Converti, A. (2011). Adsorption of Ni2+, Zn2+ and Pb2+
onto dry biomass of Arthrospira (Spirulina) platensis and
Chlorella vulgaris. I. Single metal systems. Chemical
Engineering Journal, 173(2), 326–333.

Fröhlich, A. C., dos Reis, G. S., Pavan, F. A., Lima, É. C., Foletto,
E. L., & Dotto, G. L. (2018).
97

Improvement of activated carbon characteristics by


sonication and its application for pharmaceutical
contaminant adsorption. Environmental Science and
Pollution Research, 25(25), 24713–24725.

Gómez, M. J., Martínez Bueno, M. J., Lacorte, S., Fernández-


Alba, A. R., & Agüera, A. (2007). Pilot survey monitoring
pharmaceuticals and related compounds in a sewage
treatment plant located on the Mediterranean coast.
Chemosphere, 66(6), 993–1002.

Guedidi, H., Lakehal, I., Reinert, L., Lévêque, J. M., Bellakhal,


N., & Duclaux, L. (2020). Removal of ionic liquids and
ibuprofen by adsorption on a microporous activated
carbon: Kinetics, isotherms, and pore sites. Arabian Journal
of Chemistry, 13(1), 258–270.

Guedidi, H., Reinert, L., Lévêque, J.-M., Delpeux, S., Soneda, Y.,
Bellakhal, N., Duclaux, L., & Duclaux, L. (2020). Comptes
Rendus Chimie Ultrasonic pre-treatment of an activated
carbon powder in different solutions and influence on the
ibuprofen adsorption Ultrasonic pre-treatment of an
activated carbon powder in different solutions and
influence on the ibuprofen adsorption. 23(1), 17–31.
98

Han, S., Choi, K., Kim, J., Ji, K., Kim, S., Ahn, B., Yun, J., Choi, K.,
Khim, J. S., Zhang, X., & Giesy, J. P. (2010). Endocrine
disruption and consequences of chronic exposure to
ibuprofen in Japanese medaka (Oryzias latipes) and
freshwater cladocerans Daphnia magna and Moina
macrocopa. Aquatic Toxicology, 98(3), 256–264.

Hayashi, Y., Heckmann, L. H., Callaghan, A., & Sibly, R. M.


(2008). Reproduction recovery of the crustacean Daphnia
magna after chronic exposure to ibuprofen. Ecotoxicology,
17(4), 246–251.

Hidayu, A. R., Mohamad, N. F., Matali, S., & Sharifah, A. S. A. K.


(2013). Characterization of
Activated Carbon Prepared from Oil Palm Empty Fruit
Bunch Using BET and FT-IR Techniques. Procedia
Engineering, 68, 379–384.

Huang, L., Sun, Y., Wang, W., Yue, Q., & Yang, T. (2011).
Comparative study on characterization of activated
carbons prepared by microwave and conventional heating
methods and application in removal of oxytetracycline
(OTC). Chemical Engineering Journal, 171(3), 1446–1453.
99

IOP Conference Series: Earth and Environmental Science


Batch adsorption studies for ketoprofen removal via
Dillenia Indica peel activated carbon. (2021).

Kirubakaran, V., Sivaramakrishnan, V., Nalini, R., Sekar, T.,


Premalatha, M., & Subramanian, P. (2009). A review on
gasification of biomass. Renewable and Sustainable Energy
Reviews, 13(1), 179–186.

Kumar, A., & Jena, H. M. (2016). Preparation and


characterization of high surface area
activated carbon from Fox nut (Euryale ferox) shell by
chemical activation with H 3 PO 4. Results in Physics, 6,
651–658.

Liu, H., Zhang, J., Bao, N., Cheng, C., Ren, L., & Zhang, C.
(2012). Textural properties and
surface chemistry of lotus stalk-derived activated
carbons prepared using different phosphorus oxyacids:
Adsorption of trimethoprim. Journal of Hazardous
Materials, 235–236, 367–375.
100

Lütke, S. F., Igansi, A. v., Pegoraro, L., Dotto, G. L., Pinto, L. A.


A., & Cadaval, T. R. S. (2019). Preparation of activated
carbon from black wattle bark waste and its application
for phenol adsorption. Journal of Environmental Chemical
Engineering, 7(5), 103396.

Mestre, A. S., Pires, J., Nogueira, J. M. F., & Carvalho, A. P.


(2007a). Activated carbons for the adsorption of ibuprofen.
Carbon, 45(10), 1979–1988.

Miège, C., Choubert, J. M., Ribeiro, L., Eusèbe, M., & Coquery,
M. (2008). Removal efficiency of pharmaceuticals and
personal care products with varying wastewater treatment
processes and operating conditions - Conception of a
database and first results. Water Science and Technology,
57(1), 49–56.

Mohan, D., & Pittman, C. U. (2006). Activated carbons and low


cost adsorbents for remediation of tri- and hexavalent
chromium from water. Journal of Hazardous Materials,
137(2), 762–811.

Mohammed, J. (2014). Synthesis and Characterization of


Green Porous Carbons with Large Surface Area by Two Step
101

Chemical Activation with KOH.


https://www.researchgate.net/publication/261296665

MOHTASHAMI, S.-A., ASASIAN KOLUR, N., KAGHAZCHI, T.,


ASADI-KESHEH, R., & SOLEIMANI, M.
(2018). Optimization of sugarcane bagasse activation to
achieve adsorbent with high affinity towards phenol.
TURKISH JOURNAL OF CHEMISTRY, 42(6), 1720–1735.

Na-Lampang, C., Assawasaengrat, P., Phumjan, L., Narkrugsa,


W., & Sriprom, P. (2021). Optimizing Ammonia Adsorption
Using Activated Carbon from Tamarind Pulp. J. Jpn. Inst.
Energy, 100(12), 2021.

Nourmoradi, H., Moghadam, K. F., Jafari, A., & Kamarehie, B.


(2018). Removal of acetaminophen and ibuprofen from
aqueous solutions by activated carbon derived from
Quercus Brantii (Oak) acorn as a low-cost biosorbent.
Journal of Environmental Chemical Engineering, 6(6),
6807–6815.

Okieimen F.E., Okiemen C.O. and Wuana R.A., . (2007).


Preparation and characterization of activated carbon from
rice husks, J. Chem. Soc., 32, 126-136
102

Omorogie, M. O., Babalola, J. O., Ismaeel, M. O., McGettrick, J.


D., Watson, T. M., Dawson, D. M., Carta, M., & Kuehnel, M.
F. (2021a). Activated carbon from Nauclea diderrichii
agricultural waste–a promising adsorbent for ibuprofen,
methylene blue and CO2. Advanced Powder Technology,
32(3), 866–874.

Paredes-Laverde, M., Salamanca, M., Silva-Agredo, J.,


Manrique-Losada, L., & Torres-Palma, R. A. (2019). Selective
removal of acetaminophen in urine with activated carbons
from rice (Oryza sativa) and coffee (Coffea arabica) husk:
Effect of activating agent, activation temperature and
analysis of physical-chemical interactions. Journal of
Environmental Chemical Engineering, 7(5), 103318.

Pallarés, J., González-Cencerrado, A., & Arauzo, I. (2018).


Production and characterization of activated carbon from
barley straw by physical activation with carbon dioxide
and steam. Biomass and Bioenergy, 115, 64–73.

Qian, Y., Zuo, C., Tan, J., & He, J. (2007). Structural analysis of
bio-oils from sub-and supercritical water liquefaction of
woody biomass. Energy, 32(3), 196–202
103

Rengaraj, S., Moon, S. H., Sivabalan, R., Arabindoo, B., &


Murugesan, V. (2002). Agricultural solid waste for the
removal of organics: adsorption of phenol from water and
wastewater by palm seed coat activated carbon. Waste
Management (New York, N.Y.), 22(5), 543–548.

Samanta, A. K., Pandey, P., Bandyopadhyay, B.,


Mukhopadhyay, A., & Chakraborty, T. (2011). Intra- and
intermolecular H-bond mediated tautomerization and
dimerization of 3- methyl-1,2-cyclopentanedione: Infrared
spectroscopy in argon matrix and CCl4 solution. Journal of
Molecular Structure, 994(1–3), 97–103

Saputra, N. A., Saputra, I. S., Yuniarti, K., & Andianto. (2020).


Preparation and characterization
of Gigantochloa robusta activated carbon to reduce
COD levels of pharmaceutical waste. IOP Conference
Series: Materials Science and Engineering, 935(1),
012045.

Sugumaran, P., Priya Susan, V., Ravichandran, P., & Seshadri, S.


(2012). Production and Characterization of Activated Carbon
from Banana Empty Fruit Bunch and Delonix regia Fruit
Pod. In Journal of Sustainable Energy & Environment (Vol. 3).
104

Ternes, T. A., Meisenheimer, M., McDowell, D., Sacher, F.,


Brauch, H. J., Haist-Gulde, B., Preuss, G., Wilme, U., & Zulei-
Seibert, N. (2002). Removal of pharmaceuticals during
drinking water treatment. Environmental Science &
Technology, 36(17), 3855–3863.

Theamwong, N., Intarabumrung, W., Sangon, S., Aintharabunya,


S., Ngernyen, Y., Hunt, A. J., & Supanchaiyamat, N. (2021).
Activated carbons from waste Cassia bakeriana seed pods
as high-performance adsorbents for toxic anionic dye and
ciprofloxacin antibiotic remediation. Bioresource
Technology, 341, 125832.

Wang, S., Nam, H., & Nam, H. (2020). Preparation of activated


carbon from peanut shell with KOH activation and its
application for H2S adsorption in confined space. Journal
of Environmental Chemical Engineering, 8(2), 103683.

Wong, S., Lim, Y., Ngadi, N., Mat, R., Hassan, O., Inuwa, I. M.,
Mohamed, N. B., & Low, J. H. (2018). Removal of
acetaminophen by activated carbon synthesized from
spent tea leaves: equilibrium, kinetics and
thermodynamics studies. Powder Technology, 338, 878–
886.
105
106

ประวัติย่อนักศึกษาผู้ทำโครงการ

ชื่อ - สกุล ธันยกานต์ รัตนพิทักษ์สุข

เบอร์โทร 0883605883

สถานที่อยู่ปั จจุบัน 319-321 ถ.พรหมราช ต.ใน


เมือง อ.เมือง จ.
อุบลราชธานี 34000

ผลงาน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวด


โครงการนักศึกษา ประเภทพัฒนาองค์ความรู้

ชื่อ - สกุล ปลายสุดา จันทะบุตร

เบอร์โทร 0823665228

สถานที่อยู่ปั จจุบัน 129 หมู่ 2 ต.แจระแม


อ.เมือง
จ.อุบลราชธานี 34000
107

ผลงาน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวด


โครงการนักศึกษา ประเภทพัฒนาองค์ความรู้

You might also like