You are on page 1of 49

โครงงานวิทยาศาสตร์

สาขาชีววิทยา
้ งเชื้อ Bacillus
เรื่อง การศึกษาและการเพาะเลีย
amyloliquefaciens
ในน้ำเสีย เพื่อควบคุมเชื้อก่อโรคในยางพารา

ผู้จัดทำ
นางสาวเบญญทิพย์ แสนไชย
นายชนุดม ราชริวงษ์
นายพีรพัฒน์ แก้วร่องคำ
ครูที่ปรึกษา
นางสาวทิพย์สุคนธ์ วาณิชย์ร่งุ เรือง

รายงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของโครงการประชุมวิชาการ
และนำเสนอผลงานของ
นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน
ล่าง
ครัง้ ที่ 14 ประจำปี การศึกษา 2566
้ งเชื้อ Bacillus
การศึกษาและการเพาะเลีย
amyloliquefaciens ในน้ำเสีย
เพื่อควบคุมเชื้อก่อโรคในแผ่นยางพารา
Study and culture of Bacillus
amyloliquefaciens in wastewater
To control pathogens in rubber sheets
ผู้จัดทำ
นางสาวเบญญทิพย์ แสนไชย
นายชนุดม ราชริวงษ์
นายพีรพัฒน์ แก้วร่องคำ

ครูที่ปรึกษา
นางสาวทิพย์สุคนธ์ วาณิชย์ร่งุ เรือง

รายงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของโครงการประชุมวิชาการ
และนำเสนอผลงานของ
นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน
ล่าง
ครัง้ ที่ 14 ประจำปี การศึกษา 2566

สารบัญ
หน้

สารบัญ ก
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1. ที่มาและความสำคัญ 1
1.2. วัตถุประสงค์ 2
1.3. สมมติฐาน 2
1.4. ขอบเขตการทำโครงงาน 3
1.5. ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 3
1.6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4
1.7. นิยามศัพท์เฉพาะ 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
2.1. Aspergillus flavus 6
2.1.1. ข้อมูลทั่วไปของเชื้อรา Aspergillus 6
flavus 6
2.1.2. ถิ่นที่อยู่ของ Aspergillus flavus 6
2.1.3. อันตรายของเชื้อรา Aspergillus 7
flavus 7
2.1.4. การเจริญเติบโตของเชื้อรา 8
Aspergillus flavus 9
2.1.5. ลักษณะทั่วไปของเชื้อรา 10
Aspergillus flavus 11

2.2. Bacillus amyloliquefaciens 12


2.3. การเจือจาง 12
2.4. การขีดเชื้อในจานเพาะเชื้อ 12
2.5. การเทเพลท 13
2.6. ข้าวเหนียวขาว กข 6 13
2.6.1. ข้อมูลพื้นฐานข้าวเหนียวขาว กข 6 13
2.6.2. แหล่งที่มาของข้าวเหนียวขาว กข 6
2.7. ข้าวหอมมะลิ
2.7.1. ข้อมูลพื้นฐานข้าวหอมมะลิ 14
2.7.2. แหล่งที่มาของข้าวหอมมะลิ 14
14
15
2.8. ข้าวโพด 15
2.8.1. ข้อมูลพื้นฐานของข้าวโพด 16
2.8.2. แหล่งที่มาของข้าวโพดใน 16
ประเทศไทย 16
2.9. มันสำปะหลัง 17
2.9.1. ข้อมูลพื้นฐานของมันสำปะหลัง 17
2.9.2. แหล่งที่มาของมันสำปะหลัง
2.10. ถั่วเขียว
2.10.1. ข้อมูลพื้นฐานถั่วเขียว
2.10.2. แหล่งที่มาถั่วเขียว
2.11. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 บทนำ 20
สารบัญ (ต่อ)

3.1. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 20


3.2. สารเคมี จุลชีพ 20
3.3. ขัน
้ ตอนการดำเนินการ 21
3.3.1.การเตรียมน้ำเสียเพื่อใช้ในการสกัด 21
3.3.2.การเพาะเลีย
้ งและการจำแนกเชื้อ 21
3.3.3.การสกัดเอนไซม์ Amylase และการ 23
ทดสอบประสิทธิภาพ 26
3.3.4.ระยะเวลาการดำเนินการ
บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ

เกษตรกรในประเทศไทยมีการปลูกสวนยางพาราเพื่อนำน้ำ
ยางพาราผลผลิตจากยางพารามาขายให้กับผู้รับซื้อแล้วนำไป
แปรรูปเป็ นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากยางพารา ซึ่งเกษตรกรใน
ประเทศไทยได้มีการปลูกยางพาราทัง้ ประเทศถึง 19 ล้านไร่ ซึ่งผลิต
น้ำยางพาราได้ถึง 3.6 ล้านตันต่อปี และมีมูลค่าถึง 315,994 ล้าน
บาท และแนวโน้มในการปลูกยางพาราก็เพิ่มมากขึน
้ ด้วย
ในปี 2551 ถึงปั จจุบันนัน
้ เกษตรกรได้ทำการขยายพื้นที่ในการ
ทำสวนยางพาราทำให้ยางพาราปรับตัวลง ซึ่งทำให้ผู้รับซื้อยางพารา
ต้องคัดและเลือกยางพาราที่มีคุณภาพที่สูงขึน
้ จึงทำให้เกษตรกรได้
รับผลกระทบ เนื่องจากยางพารามีปริมาณมากแต่คุณภาพไม่สูง
เช่น น้ำยางพาราออกมาน้อย ยางพาราดัดแปลงรูปยากไม่มีความ
สะอาด และ มีเชื้อราในน้ำยางพารา โดยในการเก็บยางพารามาเก็บ
ไว้นน
ั ้ จะมีเชื้อราที่เกิดขึน
้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางยาพาราของ
เกษตรกรซึ่งส่งผลต่อมูลค่าของยางพารา ซึ่งต้นเหตุมาจาก เชื้อราที่
เกิดขึน

โดยในปั จจุบัน เชื้อรา Aspergillus flavus (A. flavus) มี
การคุกคามพืชผลทางการเกษตรเป็ นอย่างมาก โดยเฉพาะยางพารา
ซึ่งเมื่อมีเชื้อราชนิดนีอ
้ ยู่ในแผ่นยางพาราแล้ว จะทำให้ยางพารามี
เชื้อราเกิดขีน
้ ซึ่งเกษตรกรจึงได้นำน้ำผักบุง้ มาใช้ในการลดการเกิด
เชื้อรา แต่น้ำผักบุง้ ไม่มีคุณสมบัติในกรยับยัง้ เชื้อราได้ และทำให้
แผ่นยาพารากลายเป็ นสีเขียวอีกด้วย และทำให้ขายได้ในราคาที่ถูก
ลง อีกวิธีการคือการนำแผ่นยางพาราไปรมควัน แต่วิธีนีจ
้ ะทำให้เกิด
มลพิษกลิ่น และทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกอีกด้วย
ปั จจุบันเกษตรกรนิยมใช้การรมควันแผ่นยางพารา ซึ่งวิธีนีจ
้ ะ
ทำให้เกิดมลพิษกลิ่น และทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกอีกด้วย ซึง่ จะ
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และซ้ำเติมปั ญหา climate change ที่
กำลังเป็ นปั ญหาเป็ นอย่างมากในปั จจุบัน ดังนัน
้ วิธีที่จะสามารถ
จัดการกับปั ญหาที่เกิดขึน
้ ได้คือ การหลีกเลี่ยงกรรมวิธีที่จะซ้ำเติม
ปั ญหาที่มีอยู่แล้วในปั จจุบัน และหันมาใช้สารสกัดจากพืชและ
สมุนไพร หรือการนำปั ญหาที่มีอยู่แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์ ซึง่
จากการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปั ญหานี ้ จะเห็น
ได้ว่าสารสกัดจากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราก่อ
โรคในยางพารา โดยน้ำเสียซึ่งเป็ นอีกหนึ่งปั ญหาที่ถูกพบใน
ประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนในประเทศไม่ว่าจะ
เป็ น การส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็ นน้ำเสียที่ได้มาก
จากแหล่งโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตลาดผลไม้ กิจการ
ต่างๆที่มีผลไม้เป็ นส่วนประกอบ เป็ นต้น
2

โดยจากงานวิจัยขยะทั่วไปนัน
้ จะมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึง่ เป็ น
แบคทีเรียที่สามารถพบได้ตามขยะอินทรีย์ โดยแบคทีเรียชนิดนีม
้ ี
ฤทธิใ์ นการยับยัง้ การเกิดเชื้อรา Aspergillus sp. ของต้นมะเขือได้
ื ว่า Bacillus
ซึ่งเป็ นสาเหตุของการเหี่ยวในต้นมะเขือ โดยมีช่ อ
amyloliquefaciens
(B. amyloliquefaciens) ซึ่งสามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติทั่วไป
โดยเฉพาะในผลไม้ ดังนัน
้ น้ำเสียจากตลาดผลไม้หรือกิจการต่างๆที่
มีผลไม้เป็ นส่วนประกอบ สามารถสกัดแบคทีเรีย
B.amyloliquefaciens ซึ่งมีฤทธิใ์ นการยับยัง้ การเจริญเติบโตของ
เชื้อราได้ในต้นพืช
ด้วยเหตุดังนีผ
้ ู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึง
แบคทีเรีย B.amyloliquefaciens ในน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพใน
การยับยัง้ การเจริญเติบโตของเชื้อราในแผ่นยางพาราของต้น
ยางพารา และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่อเป็ นแนวทางในการลด
ปั ญหาด้านมลพิษ และเป็ นแนวทางในการนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์
ในทางอื่นและเป็ นการแก้ปัญหาโรคเชื้อราในแผ่นยางพาราต่อไป

1.2. วัตถุประสงค์

1.2.1. ศึกษาประสิทธิภาพของ B.amyloliquefaciens ในการ


ยับยัง้ การเจริญเติบโตของเชื้อก่อ
โรค
1.2.2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสร้างเอนไซม์
amylase ของ B.amyloliquefaciens ที่
3

ได้จากน้ำเสียที่แตกต่างกัน
1.2.3. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเอนไซม์ amylase ที่ได้
จากน้ำเสียที่แตกต่างกัน
ในการยับยัง้ เชื้อก่อโรค

1.3. สมมติฐาน

1.3.1. B.amyloliquefaciens มีความสามารถในการยับยัง้ การ


เจริญเติบโตของ Aspergillus
flavus
1.3.2. น้ำเสียที่ได้จากการหมักหมมของ ข้าวเหนียว กข 6 จะ
ทำให้ B.amyloliquefaciens
สร้างเอนไซม์ amylase ได้มากที่สุด
1.3.3. เอนไซม์ amylase ที่เกิดจาก จะมีประสิทธิภาพใน
การยับยัง้ เชื้อก่อโรคได้ดีที่สุด

1.4. ขอบเขตของการทำโครงงาน

1.4.1. ศึกษาการสกัดน้ำเสียเพื่อให้ได้แบคทีเรียที่บริสุทธ์
1.4.2. ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสร้าง
เอนไซม์ amylase
4

1.4.3. ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการใช้เอนไซม์
amylase ยับยัง้ การเจริญเติบโต
ของเชื้อก่อโรค

1.5. ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

1.5.1. ตัวแปรต้น
น้ำเสียจากพืชที่แตกต่างกัน ได้แก่ ข้าวเหนียว กข 6
ข้าวโพด ถั่วเขียว ข้าวหอมมะลิ
มันสำปะหลัง
1.5.2. ตัวแปรตาม
1) ปริมาณเอนไซม์ amylase ที่ผลิตได้
2) ประสิทธิภาพในการยับยัง้ การเจริญเติบโตของเชื้อก่อ
โรค
1.5.3. ตัวแปรควบคุม
1) ชนิดของอาหารเลีย
้ งเชื้อ
2) ความเข้มข้นของอาหารเลีย
้ งเชื้อ
3) ความเข้มข้นของน้ำเสีย
4) ปริมาณเอนไซม์ amylase ที่ใช้ในการยังยัง้ เชื้อก่อโรค
5) เวลาในการเลีย
้ งเชื้อ
6) อุณหภูมิ
7) ความชื้น
8) ตู้เพาะเชื้อ
5

1.6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.6.1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการยับยัง้ เชื้อรา


ในแผ่นยาพารา
1.6.2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของแบคทีเรียในการ
สร้างเอนไซม์ amylase
1.6.3. ได้รับความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของเอนไซม์
amylase ในการยับยัง้ การเจริญเติบโต
ของเชื้อก่อโรค
1.6.2. ค้นพบแบคทีเรียที่สามารถยับยัง้ การเจริญเติบโตของ
เชื้อก่อโรค
1.6.5. สามารถนำ B.amyloliquefaciens ไปต่อยอดเพื่อใช้
ในการยับยัง้ เชื่อก่อโรคใน
แผ่นยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าแผ่นยางพารา และเพิ่ม
ประสิทธิภาพของแผ่นยางพารา

1.7. นิยามศัพท์เฉพาะ
6

1.7.1. ประสิทธิภาพของ B.amyloliquefaciens หมายถึง


ประสิทธิภาพของ B.amyloliquefaciens ในการยับยัง้ การเจริญ
เติบโตของเชื้อรา Aspergillus โดยวัดจากรัศมีของโคโลนีเชื้อรา
Aspergillus หลังจากนำเอนไซม์ amylase จาก
B.amyloliquefaciens
ไปเพาะรวมกับเชื้อรา Aspergillus
1.7.2. เชื้อก่อโรค หมายถึง เชื้อรา Aspergillus flavus และ
Aspergillus flavus ซึง่ ก่อให้เกิดโรคในยางพารา และพืชชนิด
ต่างๆ
1.7.3. แบคทีเรียปฏิปักษ์ หมายถึง B.amyloliquefaciens ซึง่
เป็ นแบคทีเรียที่สามารถควบคุมโรคพืชได้ซึ่งได้มาจากการสกัด
จากน้ำเสีย
1.7.4. น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่เกิดจากการหมักหมมของพืช ในที่
นีค
้ ือ ข้าวเหนียว กข 6
ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเขียว
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาและการ
้ งเชื้อ Bacillus amyloliquefaciens ในน้ำเสีย เพื่อ
เพาะเลีย
ควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในยางพารา โดยผู้จัดทำโครงงานได้
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดัง
ต่อไปนี ้
2.1. Aspergillus flavus
2.2. Bacillus amyloliquefaciens
2.3. การเจือจาง
2.4. การขีดเชื้อในจานเพาะเชื้อ
2.5. การเทเพลท
2.6. ข้าวเหนียว กข 6
2.7. ข้าวหอมมะลิ
2.8. ข้าวโพด
2.9. มันสำปะหลัง
2.10. ถั่วเขียว
2.11. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
8

2.1. Aspergillus flavus

2.1.1. ข้อมูลทั่วไปของเชื้อรา Aspergillus flavus


Aspergillus flavus เป็ นเชื้อราชนิดหนึ่งที่กระจายอยู่ทั่วไป
ทั่วโลก เป็ นสายพันธุ์ saprotrophic และก่อโรคที่ส่วนใหญ่ตงั ้
รกรากในธัญพืชพืชตระกูลถั่วและถั่วต้นไม้ โดยทั่วไป อาการเน่า
หลังการเก็บเกี่ยวจะเกิดขึน
้ ระหว่างการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา
หรือการขนส่ง ชื่อ Flavus มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่าสีเหลือง
เนื่องจากสีของสปอร์ เชื้อรานีส
้ ามารถติดเชื้อพืชในไร่นาได้ แต่มัก
จะอยู่เฉยๆ และไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะมีการจัดเก็บหรือ
ขนส่งภายหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากทำให้เกิดการติดเชื้อก่อนเก็บ
เกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว เชื้อ A. flavus หลายสายพันธุ์ยัง
ผลิตสารพิษที่เรียกว่า mycotoxins ซึง่ อาจเป็ นอันตรายต่อสัตว์
เลีย
้ งลูกด้วยนมเมื่อบริโภคเข้าไป นอกจากนี ้ A. flavus ยังเป็ นเชื้อ
โรคฉวยโอกาสที่สามารถทำให้เกิดโรคแอสเปอร์จิลโลซิสในคนและ
สัตว์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภาวะนีม
้ ักเป็ นอันตรายถึงชีวิตหาก
ไม่ได้รับการรักษา ทำให้เป็ นปั ญหาด้านสุขภาพของประชาชนอย่าง
มาก
2.1.2. ถิ่นที่อยู่ของ Aspergillus flavus
Aspergillus flavus เป็ นราชนิดหนึง่ ที่พบได้ทั่วไปในดิน พืชที่
เน่าเปื่ อย และพืชผล เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และฝ้ ายนอกจากนีย
้ ัง
สามารถพบได้ในธัญพืช ถั่ว และเครื่องเทศที่เก็บไว้ Aspergillus
9

flavus เติบโตในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้นและพบได้ทั่วไปใน
เขตร้อนและกึง่ เขตร้อน นอกจากนีย
้ ังสามารถเติบโตได้ในสภาพ
แวดล้อมในร่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ช้น
ื หรือชื้น เช่น ห้องน้ำ
ห้องครัว และห้องใต้ดิน
2.1.3. อันตรายของเชื้อรา Aspergillus flavus
Aspergillus flavus เป็ นเชื้อรา saprophytic เป็ นที่ทราบกัน
ดีว่าทำให้เกิดโรคในพืช รวมถึงธัญพืช ธัญพืช ต้นไม้ และถั่ว เป็ น
เชื้อรา Aspergillus ที่พบมากเป็ นอันดับสองในมนุษย์ รองจาก
Aspergillus fumigatus เชื้อราชนิดนีก
้ ่อโรคได้น้อยและสามารถ
ทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสในพืชผล ติดเชื้อพืชก่อนและหลังการเก็บ
เกี่ยวในห้องเก็บของ ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว เชื้อจะยังคงอยู่เฉยๆ
จนถึงเวลาเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจทำให้ส่วนที่ติดเชื้อของพืชมีสีเหลืองได้
นอกจากนี ้ A. flavus ยังสามารถผลิตสารพิษจากเชื้อรา ซึ่งก่อให้
เกิดพิษทัง้ ในคนและสัตว์ เชื้อราเป็ นเชื้อโรคฉวยโอกาสที่สามารถ
ทำให้เกิดโรคแอสเปอร์จิลโลซิสในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เชื้อรา Aspergillus flavus สามารถผลิตสารพิษที่เรียกว่าอะฟลา
ทอกซิน ซึ่งสามารถปนเปื้ อนอาหารและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อ
สุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ดังนัน
้ จึงเป็ นสิง่ สำคัญที่จะต้องตรวจ
สอบการมีอยู่ของมันและดำเนินการ
เพื่อป้ องกันการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของมัน มันมีอยู่ใน
ดินในรูปของโคนิเดียหรือสเคลโรเทีย และในเนื้อเยื่อพืชเป็ นไมซีเลีย
เมล็ดธัญพืช พืชตระกูลถั่ว และถั่วเปลือกแข็งทำหน้าที่เป็ นโฮสต์
10

ของสิง่ มีชีวิตนี ้ เนื่องจากเป็ นเชื้อราที่ทนต่ออุณหภูมิ จึงสามารถอยู่


รอดได้บนพื้นผิวที่กว้างกว่าเชื้อราชนิดอื่นๆ
2.1.4. การเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus flavus
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของ A. flavus อยู่ระหว่าง
25-37°C การเติบโตสามารถเกิดขึน
้ ได้ระหว่าง 12-48°C แต่อัตรา
จะลดลงนอกช่วงที่เหมาะสม A. flavus เป็ นเชื้อราที่อาศัย
ออกซิเจนและต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต ระดับ
ออกซิเจนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตคือ 21% A. flavus
ต้องการแหล่งของคาร์บอน ไนโตรเจน วิตามิน และแร่ธาตุในการ
เจริญเติบโต มันสามารถเติบโตได้บนพื้นผิวหลากหลายชนิด รวมทัง้
ธัญพืช ถั่ว และผลไม้
2.1.5. ลักษณะทั่วไปของเชื้อรา Aspergillus flavus
เชื้อรา A. flavus มีลักษณะที่สำคัญประกอบด้วยเส้นใยที่มี
ผนังกัน
้ (septum hyplate)
ไม่มีสีหรือมีสีอ่อน (hyaline or subhyaline) มีก้านชูสปอร์
(conidiophore) เจริญจากเส้นใยโดยตรงมีลักษณะยาวและไม่แตก
กิ่งก้านสาขา ปลายก้านชูสปอร์โป้ งออกมีรูปร่างค่อนข้างกลม
(vesicle) และเป็ นที่เกิดของเซลล์ที่ทำให้เกิดสปอร์ (conidia) ซึง่
อาจมีหนึ่งชัน
้ หรือสองชัน
้ สปอร์เกิดต่อกันเป็ นลูกโซ่ สปอร์รูปร่าง
กลมและผนังขรุขระ มีการสืบพันธุ์ทงั ้ แบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ แต่
การสืบพันธุ์แบบใช้เพศเกิดขึน
้ น้อยมาก (Alexopoulos and
11

Mims, 1979) เมื่อสังเกตเชื้อราที่เลีย


้ งบนอาหารด้วยตาเปล่าจะพบ
ว่ามีสีเหลืองจนถึงสีเขียวเข้ม

รูปที่ 2.1 ลักษณะโคโลนีของเชื้อรา Aspergillus flavus


ที่มา : Pleas blog: aspergillus flavus
(pleasqgetana.blogspot.com)

2.2. Bacillus amyloliquefaciens

เป็ นแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Bacillus ซึง่ เป็ นแหล่ง


กำเนิดของเอนไซม์จำกัด BamHI นอกจากนี ้ มันยังสังเคราะห์
barnase โปรตีนยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ ซึ่งเป็ นไรโบนิวคลีเอสที่
มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายซึ่งก่อให้เกิดสารเชิงซ้อนที่แน่นหนาที่
มีช่ อ
ื เสียงด้วยบาร์สตาร์ที่ยับยัง้ ภายในเซลล์ และแพลนตาโซลิซิน
์ ัดเลือกต่อเชื้อ Bacillus anthracis มัก
ซึ่งเป็ นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิค
ถูกใช้ในการเกษตร การเพาะเลีย
้ งสัตว์น้ำ และการปลูกพืชไร้ดินเพื่อ
ต่อสู้กับเชื้อโรคที่ราก
12

เช่น Ralstonia solanacearum, ไพเธียม, Rhizoctonia solani,


Alternaria tenuissima และ Fusarium เป็ นช่วยเพิ่มความ
ทนทานต่อรากต่อความเครียดจากเกลือได้ดี
เป็ นไรโซแบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและมีความสามารถใน
การตัง้ รกรากอย่างรวดเร็ว

รูปที่ 2.2 ลักษณะโคโลนีของเชื้อรา Bacillus amyloliquefaciens


(ที่มา : Bacillus Amyloliquefaciens SEM - Stock Image -
C003/1929 - Science Photo Library)
13

2.3. การเจือจาง

Dilution plating method วิธีการเจือจางตัวอย่าง ใช้ได้ดี


กับการแยกเชื้อราจากอาหาร
การเจือจางเชื้ออย่างเป็ นลำดับ (serial dilution) การทาเจือจาง
โดยใช้ตัวทําเจือจาง (diluent) โดยมีการใช้น้ำเกลือ (normal
saline solution, NSS) ฟอตเฟต บัพเฟอร์ (phosphate buffer)
และน้ำกลั่น เป็ นต้น
ใช้ปริมาตร 9 มิลลิลิตรผสมกับเชื้อ 1 มิลลิลิตร จะได้เป็ นระดับ
ความเจือจางที่ 10 จากนัน
้ ดูดเชื้อจากหลอดขัน
้ ต้น 1 มิลลิลิตร ใส่
หลอดถัดไปซึ่งมีตัวเจือจางอยู่ 9 มิลลิลิตร จะได้เป็ นระดับความเจือ
จางที่ 10 ทำเช่นนีไ้ ปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ระดับความเจือจางที่
ต้องการ เรียกว่า การทำเจือจาง 10 เท่า
Serial dilution คือ การเจือจางตัวอย่างเชื้อเริ่มต้น เพื่อการนับ
จำนวนจุลินทรีย์ (microbial population count) ให้จำนวนโค
โลนีที่เจริญบนอาหารเลีย
้ งเชื้อ (culture media) มีจำนวนเซลล์
ระหว่าง 25-250 เซลล์ ไม่มากหรือน้อยเกินไปโดยทั่วไปทำเป็ นลำ
ดับๆ ละ 10 เท่า
14

ภาพที่ 2.3 Serial dilution


(ที่มา :
https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1766/s
erial-dilution )
2.4. การขีดเชื้อในจานเพาะเชื้อ

การแยกเชื้อให้บริสุทธิเ์ ป็ นเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาที่มี
ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ
พื้นห้องเรียน หรือแม้แต่ร่างกายของคนก็มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่หลาย
ชนิดที่อาจปนเปื้ อนในหลอดเพาะเชื้อได้ หลักการของการแยกเชื้อ
์ นอาหารเลีย
ให้บริสุทธิบ ้ งเชื้อ (Culture medium) คือ จะต้องแยก
15

เชื้อให้ได้โคโลนีเดี่ยวๆ (Single colony) จำนวนมาก จากนัน


้ จึงนำ
เชื้อที่เป็ นโคโลนีเดี่ยวไปศึกษารูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติต่างๆ
เพื่อให้ทราบว่าเป็ นเชื้อชนิดใด เทคนิคที่นิยมใช้ในการแยกเชื้อ
์ ือ วิธี cross streak plate ซึง่ ทำได้โดยใช้ห่วงเขี่ยเชื้อ
บริสุทธิค
(Loop) แตะตัวอย่างหรือสิ่งส่งตรวจแล้วลากหรือขีด (Streak) ลง
บนจานเพาะเชื้อที่มีอาหารแข็ง (Agar plate) อยู่ให้ได้แนวระนาบ
ติดต่อกัน 4-5 เส้น หลังจากเสร็จในระนาบแรกซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่
หนาแน่นที่สุด ให้นำห่วงเขี่ยเชื้อมาเผาไฟให้ลวดที่ปลายร้อนแดง
เพื่อฆ่าเชื้อที่ติดให้หมด จากนัน
้ จึงขีดเชื้อจากส่วนของรอยลากใน
ระนาบแรกออกมาเพียงหนึง่ ครัง้ แล้วลากเป็ นระนาบที่สอง 4-5 เส้น
ติดกันโดยรอยขีดของเชื้อจะไม่ทับกับระนาบแรกอีก หลังจากนัน
้ ก็
ทำเช่นเดียวกันกับระนาบที่สองจนครบทั่วทัง้ จานเพาะเชื้อซึ่งมี
ประมาณสี่ระนาบ เมื่อได้เชื้อบริสุทธิแ์ ล้วจะมีการศึกษาเชื้อต่อไปใน
ด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการถ่ายเชื้อจากอาหารเดิมไปยังอาหารใหม่
หรือมีการเพาะเชื้อลงในอาหารเพื่อการทดสอบและการวิเคราะห์
ต่างๆ ดังนัน
้ การเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องในการถ่ายเชื้อจึงมีความ
สำคัญเป็ นอย่างยิ่งซึ่งต้องอาศัยหลักการของ aseptic technique
เพื่อป้ องกันการปนเปื้ อนของเชื้อชนิดอื่นซึ่งจะทำให้ผลการทดลอง
ผิดพลาดได้ อุปกรณ์พ้น
ื ฐานที่ใช้ในการถ่ายเชื้อคือ ห่วงเขี่ยเชื้อ เข็ม
เขี่ยเชื้อ (Needle) และตะเกียงแอลกอฮอล์สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโดย
การเผา (Incineration) การถ่ายเชื้อจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและ
ยีสต์จะใช้ห่วงเขี่ยเชื้อเป็ นส่วนใหญ่ มีบางครัง้ ที่ใช้เข็มเขี่ยเชื้อปลาย
16

ตรง ส่วนเชื้อราที่เป็ นเส้นสาย (filamentous fungi) มักจะใช้เข็ม


เขี่ยปลายงอ (สสวท. 2561)

2.5. การเทเพลท

เทคนิคการเพาะเชื้อแบบ pour-plate technique เป็ นอีกวิธี


การหนึ่งที่ใช้ในการแยกเชื้อให้บริสุทธิไ์ ด้ โดยตัวอย่างเริ่มต้นจะถูก
เจือจางให้มีความเข้มข้นหลายระดับด้วยเทคนิค serial dilution
เพื่อทำให้เชื้อถูกเจือจางมากพอที่จะทำให้เกิดโคโลนีเดี่ยวๆ บนจาน
เพาะเชื้อ โดยนำตัวอย่างที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสมเติมลงในจาน
เพาะเชื้อเปล่าที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แล้วทำการเทอาหารวุ้นลง
ไปในจานเพาะเชื้อ (โดยอุณหภูมิของอาหารเพาะเชื้อประมาณ 48-
50 องศาเซลเซียส ซึ่งจะไม่ทำให้เชื้อแบคทีเรียและยีสต์ตายได้)
ผสมอาหารและเชื้อให้เข้ากันและให้เกิดการกระจายอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยการหมุนจานเพาะเชื้อ เมื่อวุ้นเกิดการแข็งตัว เซลล์จุลินทรีย์จะ
ถูกตรึงให้อยู่ด้านในของอาหาร และจะเกิดโคโลนีเดี่ยวๆ ของเชื้อขึน

มา

การแยกเชื้อโดย pour-plate technique วิธีการแยกเชื้อให้


บริสุทธิ ์ ทำได้ดังนี ้
17

1. นำหลอดอาหารที่มีอาหารเลีย
้ งเชื้อจำนวน 3 หลอด ไปหลอมให้
ละลายและแช่ใน Water bath ซึง่ มีอุณหภูมิประมาณ 45 องศา
เซลเซียส
2. นำลวดเขี่ยเชื้อ (Loop) ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในหลอดที่มี
เชื้อผสม แล้วนำไปใส่ในหลอดอาหารเลีย
้ งเชื้อหลอดที่ 1 เขย่า
หลอดเพื่อให้เชื้อกระจายทั่วหลอด
3. นำ Loop ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในเชื้อผสมหลอดที่ 1
ถ่ายลงในหลอดอาหารที่ 2 เขย่าเพื่อให้เชื้อแพร่กระจายทั่วหลอด
4. นำ Loop ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในเชื้อผสมหลอดที่ 2
ถ่ายลงในหลอดอาหารที่ 3 เขย่าเพื่อให้เชื้อแพร่กระจายทั่วหลอด
5. นำอาหารในหลอดที่ 1 เทใส่จานเพาะเชื้อจานที่ 1 หมุนจาน
เบาๆ เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียกระจายโดยทั่วจาน ปล่อยทิง้ ไว้จน
อาหารแข็งตัว
6. นำอาหารในหลอดที่ 2 และ 3 เทใส่จานเพาะเชื้อจานที่ 2 และ
3 ตามลำดับ หมุนจานเบาๆ เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียกระจายโดยทั่ว
จาน ปล่อยทิง้ ไว้จนอาหารแข็งตัว
7. นำจานเพาะเชื้อไปบ่มที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิที่เหมาะสม ทิง้
ไว้ประมาณ 24-48 ชม. จะเห็นโคโลนีเดี่ยวๆ ของแบคทีเรียเจริญ
ขึน
้ จนมีขนาดใหญ่พอที่จะเขี่ยเชื้อ หรือนำไปศึกษาคุณสมบัติอ่ น
ื ๆ
ต่อไป
ผลจากการแยกเชื้อบริสุทธิโ์ ดยวิธีนี ้ จะพบว่าในจานเพาะเชื้อที่ 1
จะมีเชื้อเจริญหนาแน่นมากที่สุด สำหรับจานเพาะเชื้อที่ 2 และ 3 มี
18

เชื้อเจริญหนาแน่นน้อยลงมาตามลำดับ นอกจากวิธีการแยกเชื้อ
บริสุทธิโ์ ดยวิธีนี ้ ยังสามารถศึกษาการเจริญของแบคทีเรียในที่มี
อากาศหรือไม่มีอากาศได้ด้วย ถ้าเชื้อมีการเจริญเฉพาะบนผิวหน้า
อาหาร แสดงว่าเชื้อนัน
้ เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน ถ้าเชื้อใด
เจริญบนก้นจานเพาะเชื้อ แสดงว่าเชื้อนัน
้ เจริญได้ดีในสภาพไม่มี
ออกซิเจน (สสวท. 2561)

2.6. ข้าวเหนียวขาว กข 6

2.6.1. ข้อมูลพื้นฐานข้าวเหนียวขาว กข 6
ข้าวเหนียวขาว กข 6 หมายถึงข้าวเหนียวต้นเตีย
้ สามารถ
ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เป็ นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่เกิด
จากการปรับปรุงพันธุ์แบบการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อรวมยีน โดยใช้
เครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือกพันธุ์ร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์
แบบมาตรฐาน ซึง่ เป็ นพันธุ์ข้าวเหนียวหอมที่ไวต่อช่วงแสง
(จดหมายเหตุ สวทช. 2563)
กข. ย่อมาจาก กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(Wordy Guru, 2562)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa L.
ชื่อสามัญ : Rice
ชื่อพันธุ์กลาย : RD 6
19

ปี ที่เผยแพร่หรือขอขึน
้ ทะเบียนพันธุ์ : วันที่ 4 พฤษภาคม
2520
หน่วยงานที่เผยแพร่ : สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ชื่อพันธุ์เดิม : ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105
(KDML 105)

2.6.2. แหล่งที่มาของข้าวเหนียวขาว กข 6
ข้าวเหนียวขาว กข 6 เป็ นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุง
พันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้รังสีแกมมาที่ 20
กิโลแรด ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2508 ปลูกและคัดเลือกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ฉายรังสี
ชั่วที่ 2 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ปลูกชั่วที่ 3 ที่สถานีทดลองข้าว
พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ฯลฯ คัดเลือกได้ข้าวสายพันธุ์ดี ทัง้ สาย
พันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ปลูกทดสอบผลผลิตระหว่างสถานีและ
ในนาเกษตรกรในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง
ปี พ.ศ. 2514- 2519 ผลปรากฏว่า สายพันธุ์ KDML 105’65-G3U-
68-254 ซึง่ เป็ นสายพันธุ์ข้าวเหนียว นุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมี
คุณภาพการหุงต้มรับประทานดี ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็ นอันดับ
หนึ่งและให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เหนียวสันป่ าตอง ซึ่งเป็ นพันธุ์ข้าว
เหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาคตะวันออก
20

เฉียงเหนือ กรมวิชาการเกษตรจึงพิจารณาให้เป็ นพันธุ์รับรอง และ


แนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520
(ผลิใบ, 2545)

2.7. ข้าวหอมมะลิ

2.7.1. ข้อมูลพื้นฐานข้าวหอมมะลิ
เป็ นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็ นข้าว
นาปี ปลูกได้เพียงปี ละ 1 ครัง้ ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสี
เป็ นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็ นเงา แกร่ง มีท้องไข่
น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็ นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่าง แพร่
หลายทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ และเป็ นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อ
เสียงให้ข้าวไทยเป็ นที่ร้จ
ู ักทั่วโลก (ธรรม, 2563)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa
ชื่อสามัญ : Jasmine Rice
ปี ที่เผยแพร่หรือขอขึน
้ ทะเบียนพันธุ์ : วันที่ 25 พฤศจิกายน
2502
หน่วยงานที่เผยแพร่ : กรมการค้าต่างประเทศ

2.7.2. แหล่งที่มาของข้าวหอมมะลิ
21

ข้าวหอมมะลิ เป็ น สายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มี


ลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย และเป็ นพันธ์ุข้าว ที่ทำให้ข้าวไทย
เป็ นสินค้าส่งออกที่ร้จ
ู ักไปทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ. 2497
นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวม
พันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า
ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อํานวยการกองบํารุง
้ )ได้ส่งไปปลูกคัดพันธ์ุบริสุทธิ ์ และเปรียบเทียบ
พันธุ์ข้าวในขณะนัน
พันธ์ุที่สถานีทดลองข้าวโคกสําโรง (ขณะนีเ้ ป็ นสถานีข้าวลพบุรี)
ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อ นายมังกร จูมทอง
ภายใต้การดูและ
ของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสําโรง จน
กระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิข์ ้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105
และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็ น พันธุส่งเสริม
แก่เกษตรกร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกร
ทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธ์ุข้าว
[ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธ์ุ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์
ประกาศให้ข้าวทัง้ 2 พันธุ์เป็ นข้าวหอมมะลิไทย ข้าวหอมมะลิใน
ปั จจุบันที่ นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอก
มะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ความหอมของ ข้าวหอมมะลิ เกิดจาก
สารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็ นสารที่ระเหยหายไปได้
การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนัน
้ ควรเก็บข้าว
ไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส
22

2.8. ข้าวโพด

2.8.1. ข้อมูลพื้นฐานของข้าวโพด
ข้าวโพดเป็ นธัญพืชที่มีความสำคัญเป็ นอันดับสามของโลก รอง
มาจากข้าวสาลี และข้าว สามารถปลูกได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศ
อบอุ่น เขตกึ่งร้อนชื้น และพื้นที่ราบเขตร้อน (คณาจารย์ภาควิชาพืช
ไร่นา, 2547) โดยแหล่งปลูกมักกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของ
โลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก จีน รวมทัง้ ใน
ทวีปแอฟริกาใต้ สำหรับประเทศไทยข้าวโพดถือเป็ นพืชเศรษฐกิจที่
สำคัญ เนื่องจากมีพ้น
ื ที่เพาะปลูกครอบคลุมอยู่ทั่วทุกภาค ทำให้
สามารถสร้างรายได้เป็ นจำนวนมากให้กับประเทศ ข้าวโพดที่ปลูก
ในประเทศไทยแบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ข้าวโพดฝั กสด และ
ข้าวโพดเลีย
้ งสัตว์ โดยข้าวโพดฝั กสดปลูกเพื่อใช้สำหรับบริโภคเป็ น
อาหารและส่งออก เนื่องจากผู้บริโภคนิยมรับประทาน และมีคณ
ุ ค่า
ทางโภชนาการสูง ส่วนข้าวโพดเลีย
้ งสัตว์เป็ นพืชที่มีความสำคัญต่อ
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปลูกเพื่อใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร
สัตว์ ซึ่งจังหวัดที่เป็ นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศไทย
ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี และนครสวรรค์
(โชคชัย และเกตุอร, 2561)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays L.
ชื่อสามัญ : Maize, corn
23

ชื่อวงศ์ : Gramineae

2.8.2. แหล่งที่มาของข้าวโพดในประเทศไทย
การนำข้าวโพดเข้ามาในประเทศไทยคาดว่าเกิดขึน
้ ประมาณปี
พ.ศ. 2223 ซึง่ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่
เป็ นพันธุ์ใดไม่ปรากฏ จากหลักฐานพบว่าในยุคก่อนสงครามโลกครัง้
ที่ 2 การผลิตข้าวโพดเพื่อการค้ายังมีอยู่อย่างจำกัด พันธุ์ที่เริ่ม
ทดลองปลูกมีอยู่ 4 พันธุ์ ได้แก่
พันธุ์พ้น
ื เมืองของไทย พันธุ์เม็กซิกันจูน พันธุ์นิโคลสัน เยลโล่ เด้นท์
และพันธุ์อินโดจีน ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ข้าวโพดเริ่ม
ขยายการปลูกเพิ่มขึน
้ เรื่อยๆ แต่ไม่ได้เพิ่มมากนัก จนกระทั่งหลัง
จากที่มีการนำข้าวโพดพันธุ์ทิกิเสท โกลเดน เยลโลว์ (Tiquisate
golden yellow) จากประเทศกัวเตมาลา เข้ามาทดสอบปลูกใน
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2496 โดยเรียกชื่อพันธุ์นว
ี ้ ่า
พันธุ์กัวเตมาลา ข้าวโพดพันธุ์นส
ี ้ ามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ
แวดล้อมของประเทศได้ดี และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิม ส่งผลให้มี
การปลูกข้าวโพดในประเทศเพิ่มมากขึน
้ แต่ในปี พ.ศ. 2508 เกิด
การระบาดของโรคราน้ำค้างทำให้การผลิตข้าวโพดในประเทศไทย
ประสบปั ญหา (โชคชัย และเกตุอร, 2561)
24

(ที่มา :
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?
book=3&chap=2&page=t3-2-infodetail03.html)
ภาพที่ 2.4 แผนที่แสดงแหล่งผลิตข้าวโพดในประเทศไทย

2.9. มันสำปะหลัง

2.9.1. ข้อมูลพื้นฐานของมันสำปะหลัง
เป็ นพืชดัง้ เดิมของชาวพื้นเมืองในเขตร้อนของทวีปอเมริกาตอน
กลาง และทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก
เพราะทนแล้ง ปลูกง่าย ศัตรูพืชน้อย แหล่งปลูกมันสำปะหลังที่
สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ
ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร ชัยภูมิ กาญจนบุรี
25

อุบลราชธานี สระแก้ว นครสวรรค์ เลย อุดรธานี และลพบุรี


(สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) มันสำปะหลังที่ปลูกใน
ประเทศไทย แบ่งออกเป็ น 2 ชนิด คือ มันสำปะหลังชนิดหวาน
(Sweet type) และมันสำปะหลังชนิดขม (Bitter type) สามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทัง้ บริโภคเป็ นอาหารโดยตรง และ
แปรรูปเป็ นผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ได้แก่ มันเส้น (Tapioca
chips) มันอัดเม็ด (Tapioca pellets) และแป้ งมันสำปะหลัง
(Tapioca starch) สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม
ต่างๆ (ฐานข้อมูลส่งเสริมการค้าและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP,
2566 )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta
ชื่อสามัญ : Cassava
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

2.9.2. แหล่งที่มาของมันสำปะหลัง
สำหรับประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่ามีการนำมัน
สำปะหลังเข้ามาปลูกเมื่อใดแต่สันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาในระยะ
เดียวกันกับการเข้าสู่ประเทศศรีลงั กา และฟิ ลิปปิ นส์ คือ ประมาณ
ปี พ.ศ. 2329-2383 และคาดว่ามีคนนำมันสำปะหลังจากมาลายูมา
ปลูกในภาคใต้ ประมาณปี พ.ศ. 2329 มันสำปะหลังเดิมเรียกกันว่า
มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตีย

ทางภาคใต้เรียกว่า มันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า มันหลา) คำว่า
26

สำปะหลัง คล้ายกับคำในภาษาชวาตะวันตกที่เรียกมันสำปะหลังว่า
สัมเปอ (Sampou) ซึง่ มีความหมายเหมือนคำในภาษามาเลย์ที่แปล
ว่า พืชที่มีรากขยายใหญ่ (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 2560) การปลูกมันสำปะหลังเป็ นการค้าเพื่อใช้ทำ
แป้ งและสาคูในภาคใต้ ซึ่งปลูกระหว่างแถวของต้นยางพารากัน
มากว่า 70 ปี แล้ว โดยเฉพาะที่จังหวัดสงขลามีอุตสาหกรรมทำแป้ ง
และสาคูจำหน่ายไปยังปี นัง และประเทศสิงคโปร์ แต่การปลูกมัน
สำปะหลังทางภาคใต้ค่อยๆ ลดลงเมื่อมีการขยายการปลูกยางพารา
ต่อมามีการปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี
ระยอง และจังหวัดใกล้เคียง และเมื่อความต้องการของตลาดใน
ด้านผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้ในการเลีย
้ งสัตว์และอุตสาหกรรม
มีเพิ่มมากขึน
้ ทำให้พ้น
ื ที่ในภาคตะวันออกผลิตได้ไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการ จึงมีการขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนในปั จจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็ นพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดของประเทศไทย (ฐานข้อมูล
ส่งเสริมการค้าและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP, 2566 )

2.10. ถั่วเขียว

2.10.1. ข้อมูลพื้นฐานของถั่วเขียว
27

ต้นถั่วเขียว จัดเป็ นพืชล้มลุก เป็ นพืชที่มีอายุสน


ั ้ หรือวงจร
ชีวิตสัน
้ ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 65 วัน จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่
อื่นหลายชนิดและงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืชหมุนเวียน
เป็ นปุ๋ยพืชสดที่ให้ปริมาณไนโตรเจนสูงเพราะสามารถตรึงไนโตรเจน
ได้ดี

ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้ปลูกก่อนข้าวโพด
ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่
เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช (เมดไทย, 2563)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiata (L.) R. Wilcz.
ชื่อสามัญ : Mung Bean, Mung
ชื่อวงศ์ : Fabaceae

2.10.1. แหล่งที่มาของถั่วเขียว
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ถั่วเขียวมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
และในเอเชียกลาง เนื่องจากพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีการ
ปลูกถั่วเขียวในแคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดียมากว่า 4,000
ปี แล้ว และยังปลูกแพร่หลายในพม่า ไทย ศรีลังกา ปากีสถาน
อิหร่าน จีน และในภาพตะวันออกของอดีตสหภาพโซเวียต แต่การ
ศึกษาของนักวิจัยในประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ระบุ
ว่าถั่วเขียวมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยโดยพบในถ้ำผี จังหวัด
28

แม่ฮ่องสอนอยู่ในสมัยหินกลางมีอายุราว 10,000 ปี การปลูกถั่ว


เขียวนัน
้ มีมาเนิ่นนานแล้ว
การเก็บเมล็ดถั่วเขียว ที่นิยมก็คือเก็บมาทัง้ ฝั กด้วยมือ แล้วนำมา
ตากแห้ง จากนัน
้ จึงสีเอาเมล็ดออกจากฝั กด้วยเครื่องหรือใช้วิธีการ
เขย่าผ่านรูตะแกรง โดยเมล็ดนอกจากจะมาปรุงอาหารแล้ว ที่นิยม
กันมากก็คือ การนำมาเพาะเป็ นถั่วงอก (เมดไทย, 2563)

2.11. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ณัฐธิญา เบือนสันเที๊ยะ และคณะ (2555). ได้ทำการศึกษา


เรื่องประสิทธิภาพของสารลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์จากเชื้อแบคทีเรีย
ที่มีประโยชน์ Bacillus amyloliquefaciens (B.
amyloliuefaciens) ต่อการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคของยางแผ่น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อราที่เจริญบนยางแผ่นและ
สกัดสารลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์ที่สกัดจากแบคทีเรียสายพันธุ์ไทย B.
amyloliuefaciens สายพันธุ์ NBSUT534 ที่มีผลยับยัง้ การเจริญ
เติบโตของเชื้อรารวมทัง้ การตรวจสอบหาประสิทธิภาพของสารลิพอ
พอลิแซคคาร์ไรด์ที่สกัดได้ จากการวิจัยพบว่า สามารถแยก ระบุ
ชนิดและจำแนกชนิดของเชื้อราที่เข้าทำลายคุณภาพบนยางพารา
แผ่น คือเชื้อรา Aspergillus sp. การทดสอบประสิทธิภาพของสาร
ลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์จากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus
amyloliquefaciens ในการควบคุมเชื้อรา Aspergillus sp.
29

เปรียบเทียบกับการควบคุมด้วยสาร copper hydroxide แคป


แทน เจอราด และซีแนบ พบว่าทุกกรรมวิธีสามารถลดความรุนแรง
ของโรคได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม (positive control)
ที่ไม่มีการควบคุมโรค
ซึ่งจะเกิดรุนแรงเท่ากับ 89.5 เปอร์เซ็นต์ ดังนัน
้ จึงสามารถนำสารลิ
พอพอลิแซคคาร์ไรด์จากเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ B.
amyloliuefaciens มาใช้ในการป้ องกันและกำจัดเชื้อราบนแผ่น
ยาง เป็ นทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทัง้ ภาคการเกษตรและภาค
อุตสาหกรรมการผลิตยางให้ได้วัตถุดิบที่มีคณ
ุ ภาพ
แบคทีเรีย B. amyloliquefaciens และการสกัดสารพอลิแซ
คคาร์ไรด์จากเซลล์เชื้อแบคทีเรีย
B. amyloliquefaciens และการทำให้บริสุทธิ ์ จากการเก็บ
ตัวอย่างสารลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์ของเชื้อแบคทีเรีย B.
amyloliquefaciens ที่เลีย
้ งในอาหาร nutrient broth สูตร
ดัดแปลง ที่มีส่วนผสมและปริมาณของ แหล่งคาร์บอนและ
ไนโตรเจนที่แตกต่างกัน มาทำการสกัดสารลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์
จากเซลล์เชื้อ แบคทีเรีย
B. amyloliquefaciens และทดสอบประสิทธิภาพในการยับยัง้ เชื้อ
รา Aspergillus ด้วยวิธี paper disc method พบว่า อาหาร
nutrient broth สูตรดัดแปลงที่มีส่วนผสมของน้ำตาล dextrose-2
เปอร์เซนต์ และ bacto-peptone 0.8 เปอร์เซนต์ ต่อปริมาตร
อาหาร 100 มิลลิลิตร ซึง่ เป็ นแหล่ง คาร์บอน และไนโตรเจนตาม
30

ลำดับ สามารถกระตุ้นการผลิตสารลิพอพอลิแซคคาร์ไรด์ของเชื้อ
แบคทีเรีย B. Amyloliquefaciens เพื่อยับยัง้ เชื้อ Aspergillus sp.
สาเหตุโรคยางพาราแผ่นได้ดีที่สุด ทัง้ นีเ้ ชื้อแบคทีเรีย B.
amyloliquefaciens สามารถผลิตพอพอลิแซคคาร์ไรด์ ได้ดีที่สุด
เมื่อเลีย
้ งใน อาหารดัดแปลงที่ปรับค่า pH เท่ากับ 7 โดยมีขนาด
ความกว้างของบริเวณยับยัง้ ของลิพอพอลิแซค คาร์ไรด์ของเชื้อ
แบคทีเรีย B. amyloliquefaciens ที่เลีย
้ งในอาหารดัดแปลงดัง
กล่าวเท่ากับ 24.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ (สุดฤดีและคณะ, 2547,
ณัฐธิญา และคณะ, ยังไม่ได้ตีพิมพ์) ซึ่งหากสารพอพอลิแซคคาร์ไรด์
ที่สกัดจากแบคทีเรียสายพันธุ์ไทย B. amyloliquefaciens สาย
พันธุ์ NBSUT534 สามารถช่วยกำกับดูแล ควบคุมเชื้อราที่เข้า
ทำลายคุณภาพยางแผ่นได้ อาจช่วยได้ในกระบวนการเสริมสร้าง ให้
แผ่นยางมีภูมิต้านทาน ต่อเชื้อราสาเหตุโรคเหล่านี ้ ส่งผลต่อการเพิ่ม
ผลผลิตทัง้ ปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้สารเคมี และ
ต้นทุนลดลงอย่างยั่งยืนและปลอดภัย

Atagana et al.11 ศึกษาการคัดแยกแบคทีเรียจากน้ำทิง้ จาก


กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยาง โดยทำการเก็บตัวอย่างมา
จากน้ำทิง้ จากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยาง และน้ำ
ตัวอย่างทัง้ หมดมาเจือจางก่อนการเพาะเชื้อ และ ทำาการคัดแยก
แบคทีเรียโดยใช้ NA และ McConkey Agar และการระบุชนิดของ
สายพันธุ์ท้าโดยการทดสอบทางชีวเคมี
31

รวมไปถึงการย้อมสีแบบ simple stain, gram stain, spore stain


และ acid fast stain นอกจากนี ้ ยังทำการทดสอบการเคลื่อนที่,
lactose, citrate และ urease และจากผลการศึกษานี ้
พบว่าแบคทีเรียที่ถูกคัดแยกนัน
้ สามารถจำแนกและระบุสายพันธุ์
คือ Arthrobacter sp, Bacillus sp, Lactobacillus sp,
Psuedomonas sp และ Streptococcus sp.

Rahul et al.21 ศึกษาการคัดแยกและจำแนกแบคทีเรีย โดย


์ ้วยวิธีSpread Plate ซึง่ เชื้อจะต้องถูก
การท้าให้แบคทีเรียบริสุทธิด
ท้าให้เจือจางโดยการทำ Serial Dilution และตัวอย่างที่ท้าให้
บริสุทธิแ์ ล้วจะถูกน้ามากระจายอย่างปลอดเชื้อบนจานอาหารเลีย
้ ง
เชื้อ NA บ่มที่อุณหภูมิ 30ºC เป็ นเวลา 48 ชั่วโมง และทำการศึกษา
ลักษณะสัณฐานวิทยา ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และจัด
จำแนกสายพันธุ์แบคทีเรียตาม Buchanan and Gibbons,
Bergey’s Manual
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาและการ
้ งเชื้อ Bacillus amyloliquefaciens ในน้ำเสียเพื่อควบคุม
เพาะเลีย
เชื้อก่อโรคในยางพารา นี ้ คณะผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานตาม
ขัน
้ ตอนดังต่อไปนี ้

3.1. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ

3.1.1. ข้าวเหนียวขาว กข 6 3.1.12. ตะเกียง


แอลกอฮอล์
3.1.2. ข้าวหอมมะลิ 3.1.13. เครื่องเขย่า
สาร
3.1.3. มันสำปะหลัง 3.1.14. เครื่องปั่ น
เหวี่ยง
3.1.4. ข้าวโพด 3.1.15. pH Meter
3.1.5. ถั่วเขียว 3.1.16. ตู้อบแห้ง
3.1.6. โหลแก้ว 3.1.17. หลอดฝาเกลียว
3.1.7. จานเพาะเชื้อ 3.1.18. อ่างควบคุม
อุณหภูมิ
3.1.8. เข็มเขี่ยเชื้อ 3.1.19. ปิ เปต
3.1.9. หลอดทดลอง 3.1.20. บิกเกอร์
3.1.10. น้ำกลั่น 3.1.21. หลอดพลาสติก
ทดลอง
3.1.11. กล้องจุลทรรศน์

3.2. สารเคมี จุลชีพ


3.2.1. Bacillus amyloliquefaciens 3.2.7.
pH Meter
3.2.2. Aspergillus flavus 3.2.8. เอทา
นอล
3.2.3. bacto-peptone 3.2.9.
คลอโรฟอร์ม
3.2.4. dextrose sugar 3.2.10. เมทานอล
3.2.5. อาหารเลีย
้ งเชื้อชนิด PDA ที่ปรับสูตรแล้ว 3.2.11.
กรดซัลฟิ วริก
3.2.6. 1M H
34

3.3. ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน
3.3.1. การเตรียมน้ำเสียเพื่อใช้ในการสกัด
1) นำน้ำเสียจากตลาดโคกสุวรรณ อ.เมืองมุกดาหาร
จ.มุกดาหาร
ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร มาใส่ในโหลสุญญากาศ จำนวน
5 โหล
2) นำข้าวเหนียว กข 6 ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง
ข้าวโพด ถั่วเขียว ที่สุกแล้ว
จำนวน 200 กรัม มาใส่ในโหลใบที่ 1-5 ตามลำดับเพื่อ
หมักให้ได้ Amylose
3) นำเชื้อ B. amyloliquefaciens มาใส่ในโหล ทัง้ 5
โหล ทิง้ ไว้ที่อุณหภูมิ
25 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 7 วัน เพื่อให้เชื้อโต

นำน้ำเสียปริมาตร 1,000

ข้าวเหนียว กข 6 ข้าวหอมมะลิ มัน


สำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเขียว จำนวน

นำเชื้อ B. amyloliquefaciens มา
ใส่ในโหล ทัง้ 5 โหล ทิง้ ไว้ที่อุณหภูมิ

ภาพที่ 3.1 การเตรียมน้ำเสียเพื่อใช้ในการสกัด


35

3.3.2. การเพาะเลีย
้ งและการจำแนกเชื้อ
1) นำน้ำเสียจากขัน
้ ตอนข้างต้นมาทำการเจือจางด้วย
เทคนิค ten-fold serial dilution
โดยทำทัง้ หมด 8 ครัง้
2) นำหลอดที่ 5 6 7 ที่ได้จากขัน
้ ตอนที่แล้วมาทำการเลีย
้ ง
ด้วยเทคนิค Pour plate
technique โดยทำการผสมกับ PDA ที่มีส่วนผสมของ
น้ำตาล dextrose 2 %
และ bacto-peptone จำนวน 0.8 % และมีค่า pH 7
โดยเพาะทิง้ ไว้
ในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 24 ชั่วโมง
3) นำสารที่ได้จากข้อ 2) ตรวจหาเชื้อ B.
amyloliquefaciens โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
และวิเคราะห์จากลักษณะโคโลนีของเชื้อ และสัณฐานของ
เชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์
4) นำเชื้อที่ได้จากการจำแนกจากข้อ 3) มาทำการเพาะ
เลีย
้ งต่อโดยใช้
เชื้อ B. amyloliquefaciens บริสุทธิเ์ พียงอย่างเดียวมา
เพาะด้วยเทคนิค Streak plate
ทิง้ ไว้ใน อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 24
ชั่วโมง เพื่อแยกโคโลนีและเพื่อให้ได้
์ ี่สุด
เชื่อที่บริสุทธิท
5) นำเชื้อที่บริสุทธิแ์ ล้ว ปริมาตร 10 มิลลิลิตร มาเลีย
้ งต่อ
บนเครื่องเขย่า 170 รอบ/นาที
36

ที่อุณหภูมิ 30 องศาเป็ นเวลาอีก 24 ชั่วโมง


6) นำเชื้อที่มีอายุครบ 24 ชั่วโมงแล้ว จำนวน 2 มิลลิลิตร
ลงไปผสมกับอาหารเลีย
้ งเชื้อ
ชนิด NA และเลีย
้ งต่อเป็ นระยะเวลา 72 ชั่วโมง
7) ทำการปั่ นแยกเอาเซลล์เชื้อแบคทีเรียออก ด้วยเครื่อง
ปั่ นเหวี่ยงที่
ความเร็ว 5,000 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ 4 อาศาเซลเซียส
เป็ นเวลา 15 นาที
8) ล้างด้วยสารละลาย 1M HCl ให้ได้ค่า pH 2

นำน้ำเสียจากขัน
้ ตอน 3.3.1 ด้วยเทคนิค Ten-fold

นำน้ำเสียที่เจือจางแล้วหลอดที่ 5 6 7 8 มาเลีย
้ ง เลีย
้ งที่ PDA ปรับ

ทิง้ ไว้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส

ตรวจหาเชื้อ B. amyloliquefaciens

นำเชื้อ B. amyloliquefaciens ที่


์ าทำการเพาะเลีย
บริสุทธิม ้ งต่อ ด้วย

ทิง้ ไว้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส

นำเชื้อที่บริสุทธิแ์ ล้ว ปริมาตร 10


มิลลิลิตร มาเลีย
้ งต่อบนเครื่องเขย่า 170

ทิง้ ไว้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส


37

นำเชื้อจำนวน 2 มิลลิลิตร ลงไปผสมกับ


อาหารเลีย
้ งเชื้อชนิด NA

ปั่ นแยกด้วยเครื่องปั่ นเหวี่ยงที่ความเร็ว


5,000 รอบ/นาที

ล้างด้วยสารละลาย 1M HCl

ภาพที่ 3.2 การเพาะเลีย


้ งและการจำแนกเชื้อ

3.3.3. การสกัดเอนไซม์ Amylase และการทดสอบประสิทธิภาพ


1) นำส่วน supernatant จากการปั่ นเหวี่ยงในขัน
้ ตอนที่
3.3.2. มาตกตะกอน
38

โดยเติมเอทานอลที่เย็นจัดลงไป แล้วตัง้ ทิง้ ไว้ที่อุณหภูมิ 4


องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 24 ชั่วโมง
2) ปั่ นเหวี่ยงด้วยความเร็ว 10,000 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ
4 องศา เป็ นเวลา 15 นาที
3) นำตะกอนที่ได้ไปอบแห้ง ด้วยอุณหภูมิ 70 องศา
เซลเซียส เป็ นเวลา 2 ชั่วโมง
4) นำส่วนที่อบแห้งแล้วปริมาณ 4 มิลลิกรัม ใส่หลอดฝา
เกลียว เติมคลอโรฟอร์ม
1 มิลลิลิตร และเมทานอล 0.85 มิลลิลิตร และกรดซัลฟิ ว
ริก 0.15 มิลลิลิตร
และนำไปใส่อ่างควบคุมอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็ น
เวลา 140 นาที
5) ทิง้ ให้เย็น แล้วเติมน้ำกลั่นจำนวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่า
ด้วยเครื่องเขย่านาน 1 นาที
6) ปั่ นเหวี่ยงที่ความเร็ว 1,000 รอบต่อนาที เป็ นเวลา 5
นาที
7) ใช้ปิเปตดูดสารชัน
้ ล่างออกมาเก็บในหลอดพลาสติก
ปราศจากเชื้อ
8) นำสารที่ได้จากข้อ 7) มาผสมกับ PDA
9) นำแผ่นยางที่คาดว่าจะมีเชื้อ A. flavus มาใส่ใน PDA
จากข้อ 8) และนำไปบ่มทิง้ ไว้
ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 48 ชั่วโมง
10) วัดประสิทธิภาพในการยับยัง้ โดยวัดจากบริเวณทีไม่มี
การเจริญของเชื้อ A. flavus
39

นำส่วน supernatant จากขัน


้ ตอนที่
3.3.2. มาตกตะกอน โดยเติมเอทานอล

ตัง้ ทิง้ ไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส

ปั่ นเหวี่ยงด้วยความเร็ว 10,000


รอบ/นาที

นำตะกอนที่ได้ไปอบแห้ง ด้วยอุณหภูมิ 70 องศา

นำส่วนที่อบแห้งแล้วปริมาณ 4 มิลลิกรัม ใส่หลอดฝาเกลียว


เติมคลอโรฟอร์ม 1 มิลลิลิตร

ใส่ในอ่างควบคุมอุณหภูมิ 100
องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 140

ทิง้ ให้เย็น แล้วเติมน้ำกลั่นจำนวน


0.5 มิลลิลิตร

ปั่ นเหวี่ยงที่ความเร็ว 1,000 รอบ


ต่อนาที

ใช้ปิเปตดูดสารชัน
้ ล่างออกมา
เก็บในหลอดพลาสติกปราศจาก

1
40

นำสารที่ได้จากข้อ 7) มา

นำแผ่นยางที่คาดว่าจะมีเชื้อ A. flavus มาใส่ใน

ตัง้ ทิง้ ไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

วัดประสิทธิภาพในการยับยัง้

ภาพที่ 3.3 การสกัดเอนไซม์ Amylase และการทดสอบประสิทธิภาพ


41

3.4. ระยะเวลาการดำเนินการ

ระยะการ ส. ก. ต. พ. ธ. ม. ก. มี. เม. พ.


ดำเนินการ ค. ย ค. ย. ค. ค. พ. ค ย. ค.
กำหนดปั ญหา
ตัง้ สมมติฐาน
เก็บรวบรวม
ข้อมูล
ทดลอง
วิเคราะห์
ข้อมูล
อภิปรายผล
ตารางที่ ระยะเวลาการดำเนินงานตัง้ แต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566
ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567

You might also like