You are on page 1of 23

การผลิต (ร่าง)

มะพร้าวน้ำหอมผลดกทั้งปี

ก่อน (Before)

หลัง (After)

ดอกตัวเมียที่พร้อม

วรภัทร ลัคนทินวงศ์

ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2558
กิตติกรรมประกาศ

โครงการจัด การความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและ
นวัตกรรม ประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย (เชิงชุมชน/
สังคม) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนงบ
ประมาณประจำปี พ.ศ. 2558 ให้ดำเนินโครงการ “อบรมการถ่ายทอด
เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมนำ
ความรู้วิชาการ และผลงานวิจัยไปขยายผล เผยแพร่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้
เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ในมิติทางด้าน เศรษฐกิจ ชุมชน สังคม ให้
มีความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอม พืชเศรษฐกิจ
น้องใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก อาทิ อเมริกาเหนือ ยุโรป จีน ให้
ผลผลิตมีออกสู่ตลาดทั้งปี การนี้ขอขอบพระคุณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ (วช.) ที่สนับสนุนทุนส่งเสริมกิจกรรมฯ และสภาเกษตรกรจังหวัด
ราชบุรี เกษตรจังหวัดราชบุรี และผู้ประกอบการส่งออกมะพร้าวน้ำหอม บริษัท
เอ็น ซี โคโคนัท จำกัด นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ที่มีส่วน
ร่วมทุกท่าน เพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ i

รองศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร ลัคนทินวงศ์


หัวหน้าโครงการ
คำนำ

มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจน้องใหม่ มีความต้องการของ


ตลาดโลกเพิ่มขี้นทุกปี มีตลาดที่สำคัญ อาทิ อเมริกาเหนือ แคนนาดา ยุโรป
จีน เป็นต้น แต่ผลผลิตที่ผลิตได้กลับไม่เพียงต่อการส่งออก เนื่องจากปัญหา
การติดผลของมะพร้าวน้ำหอมในรอบปีที่มีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ ผล
สัมฤทธิ์ของงานวิจัยการผลิตมะพร้าวให้ติดผลดกทั้งปี จึงได้รับการสนับสนุน
ให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้นี้แก่เกษตรกร ภายใต้โครงการจัดการความรู้
และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประเภททุนกิจกรรมส่ง
เสิรม และสนับสนุนการวิจัย (เชิงชุมชน/สังคม) ของสำนักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ. 2558 ให้ดำเนินโครงการ “อบรมการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี” เพื่อให้ดำเนิน
กิจกรรมนำความรู้วิชาการ และผลงานวิจัยไปขยายผล เผยแพร่ ถ่ายทอด
เทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ในมิติทางด้าน เศรษฐกิจ
ชุมชน สังคม ให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตมะพร้าว
น้ำหอม พืชเศรษฐกิจน้องใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ให้ผลผลิตมีออก
สู่ตลาดทั้งปี ii

รองศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์


หัวหน้าโครงการ
สารบัญ

เรื่อง หน้า
คำนำ i
กิตกรรมประกาศ ii
สารบัญ iii
สารบัญภาพ iv
สารบัญตาราง v
บทที่ 1 มะพร้าวน้ำหอม 1
ความสำคัญ 1
พื้นที่เพาะปลูก 2
ความต้องการน้ำ 3
การเตรียมพื้นที่ปลูก 3
การเลือกพันธุ์มะพร้าว 4
การเตรียมต้นมะพร้าวก่อนปลูก 5
การปลูกและการดูแล 5
iii
บทที่ 2 สรีรวิทยามะพร้าวน้ำหอม 8
ทำไมถึงหอม 8
ลักษณะของต้นมะพร้าวน้ำหอม 8
ต้นมะพร้าว 8
ดอกมะพร้าว 9
ผลมะพร้าว 11
บทที่ 3 เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าน้ำหอมผลดกทั้งปี 14
สาเหตุที่ทำให้มะพร้าวไม่ติดผล 14
เทคนิคการทำให้มะพร้าวติดผลดกทั้งปี 14
ดอกที่พร้อมผสม 14
เทคนิคการล้างช่อดอก 14
เกสรตัวผู้ 15
สารละลายเกสร 15
การฉีดพ่น 16
ผลจากการใช้เทคโนโลยี 17

เอกสารอ้างอิง 18
สารบัญภาพ
เรื่อง หน้า

ภาพที่ 1 การยกร่องสวนเพื่อปลูกมะพร้าวน้ำหอม 3

ภาพที่ 2 ผลมะพร้าวทุยที่เกิดจากการผสมข้าม ระหว่างมะพร้าวน้ำหอม 4

ต้นแม่ กับมะพร้าวแกงผลสีเขียว หรือมะพร้าวใหญ่

ภาพที่ 3 ต้นอ่อนมะพร้าวน้ำหอม นำไปใส่ถุงอนุบาลประมาณ 2-3 เดือน 5

ให้ต้นแข็งแรงก่อนปลูก

ภาพที่ 4 การปลูกมะพร้าวกลางร่องสวน 6

ภาพที่ 5 การปลูกมะพร้าวที่ขอบร่องสวน ระยะปลูก 6x8 เมตร 6

โดยเว้นระยะปลูกห่างจากขอบร่อง 1 เมตร

ภาพที่ 6 ลักษณะมะพร้าวน้ำหอมแท้และไม่แท้ 8

ภาพที่ 7 ลักษณะดอกของมะพร้าว 9

ภาพที่ 8 การพัฒนาดอกมะพร้าวสัปดาห์ที่ 1 (ก) และ 2 (ข) 10


iv
ภาพที่ 9 การพัฒนาดอกมะพร้าวสัปดาห์ที่ 3 (ค) และ 4 (ง) 10

ภาพที่ 10 ดอกที่พร้อมผสม (จ) และผสมแล้ว (ฉ) 11

ภาพที่ 11 ผลมะพร้าวอายุ 1.5 เดือนหลังดอกบาน 11

ภาพที่ 12 ลักษณะผลทุย และผลที่ไม่พัฒนา 12

ภาพที่ 13 ผลมะพร้าวที่เกิดจากมะพร้าวน้ำหอ 12

ภาพที่ 14 จำนวนดอก, ผล และราคามะพร้าวน้ำหอมในรอบปี 13

ภาพที่ 15 ล้างช่อดอกด้วยสารละลายไอโซโทนิก 15

ภาพที่ 16 การเตรียมสารละลายเกสร 16

ภาพที่17 การพ่นสารละลายเกสรนาน 2-3 วินาที 16


สารบัญตาราง

เรื่อง หน้า

ตารางที่ 1 ผลของการผสมข้ามกับมะพร้าวน้ำหอม (ต้นแม่) 4

v
บทที่ 1
มะพร้าวน้ำหอม
ความสำคัญ
มะพร้าวน้ำหอม (Cocos nucifera L.) เป็นสายพันธุ์ต้นเตี้ย (Dwarf type)
ในอดีตที่ผ่านมา มะพร้าวน้ำหอม (aromatic coconut) ของไทย น้ำมะพร้าวมีกลิ่น
หอมและรสหวาน ไม่มีมะพร้าวของประเทศใดๆ เสมอเหมือน อีกทั้งคุณค่าทาง
โภชนาการมีเกลือแร่ และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายสูง จึงได้นำน้ำมะพร้าวมาดื่มแทน
เกลือแร่ (Refreshes drinking ) และใช้ทดแทนนน้ำเกลือให้กับทหารในสงครามโลก
ครั้งที่สอง ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของมะพร้าวที่มีน้ำหอมเป็นสินค้าที่นิยมอย่างมาก
ในต่างประเทศส่งออกปีละประมาณกว่า 1,800 ล้านบาท ประเทศที่นำเข้ามากที่สุด
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนนาดา จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น มะพร้าวน้ำหอม
มีพื้นที่ปลูกกระจายในจังหวัดที่สำคัญๆได้แก่ เขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และกระจาย
พื้นที่ปลูกไปจังหวัดใกล้เคียงได้แก่ ปทุมธานี สุพรรณบุรี อ่างทอง และฉะเชิงเทรา
เป็นต้น ปกติมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูกเป็นการค้า เกษตรกรมักตัดจั่นผลผลิตมาจำหน่าย
มีอายุนับตั้งแต่ติดผลแล้วโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 7 เดือน แต่มะพร้าวที่ส่งออกมักตัด
จั่นที่มีอายุประมาณ 6 ถึง 7 เดือนหลังผสมติดเพื่อคุณภาพการบริโภคและการเก็บ
รักษา มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการบริโภคในประเทศ และการส่งออก มักขาดแคลนในฤดู 1

ร้อน ปกติมักเริ่มตั้งแต่เดือน ต้นเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป


ถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี สาเหตุต้องนับย้อยกลับไปภายหลัง 6.5 ถึง 7 เดือน เป็น
ช่วงที่มะพร้าวนั้นออกดอกติดผลน้อย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือน
กันยายนเป็นต้นไป ถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเข้าฤดูฝนในเขตภาคกลาง มี
พายุและฝนฟ้าคะนอก ตกติดต่อกันหลายวัน

ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มะพร้าวที่ปลูกแบบร่องสวนในพื้นที่ภาคกลางจะมี
จำนวนดอกน้อย เนื่องจากปริมาณไนโตรเจนที่มาจากน้ำฝนส่งผลให้เจริญทางลำต้น
มากกว่าและน้ำฝนชะล้างช่อดอก ทำให้เกสรขาดสารอาหารในการงอกเพื่อผสมกับ
ดอกตัวเมียบนจั่นมะพร้าว ปัญหาดังกล่าวในอดีตที่ผ่านเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย
เนื่องจากปริมาณ ความต้องการมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ที่ตลาดมีความต้องการ
มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการบริโภคทั้งภายและในประเทศ และการส่งออก ส่งผลให้
มะพร้าวขาดแคลนอย่างยิ่ง ส่งผลให้ราคามะพร้าวจากผลละ 5 บาทต่อผลจากสวนเมื่อ
ปี 2553 เป็นราคา 15-30 บาทต่อผลในปัจจุบัน และราคาขายปลีกที่ตลาดไทยผลละ
25-35 บาทต่อผล และราคาในห้างสรรพสินค้าราคาผลละ 40-45 บาทต่อผล ราคาส่ง
ออก FOB 30-35 บาทต่อผล หากเกษตรกรมีผลผลิตจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวจะ
ส่งผลดีต่อภาคการผลิตและการส่งออก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ามีความต้องการสูง
ตลอดปี แต่ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรเชิงพาณิชย์
และการส่งออก ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับโจทย์ปัญหาดังกล่าวจากเกษตรกร และผู้ประกอบการ
ส่งออกมะพร้าวน้ำหอม ได้ทำการวิจัยตั้งแต่ปี 2552-2557 เพื่อหาสาเหตุแนวทางการ
แก้ไขจนประสบความสำเร็จ สามารถทำให้ผลมะพร้าวน้ำหอมติดผลดีขึ้นร้อยละ
70-80 ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากงาน Seoul International Invention Fair
2015 โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง และรางวัล special prize on state และพร้อม
ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเกษตรกร และได้นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 2
มิถุนายน 2558 เกษตรกรในหลายพื้นที่ที่ปลูกมะพร้าวมีความสนใจเป็นอย่างมาก
ต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำสารละลายผสมเกสรไปทดลองใช้

พื้นที่เพาะปลูก
มะพร้าวน้ำหอม เป็นไม้ผลเขตร้อน สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่
ในความเป็นจริง พื้นที่ปลูกแล้วมะพร้าวน้ำหอม ที่เหมาะสมน้ันในปัจจุบันมีเพียงพื้นที่
เท่าน้ัน ได้แก่ อ.สามพราน จ.นครปฐม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางคนที
อ.อัมพวา และบางส่วนของ อ.เมือง จ.สมุทร สงคราม และ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
ที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นการค้า แต่จริงแล้วในสภาพภูมิอากาศ และดินตะกอนปาก
แม่น้ำ บางพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเพชรบุรี หรือบางส่วนของ 2
จังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี และอยุธยา ก็สามารถปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้มีกลิ่นหอม
ได้ พื้นที่อื่นๆ ในภาคอีสานเช่นกัน ถ้ามีสภาพดินตะกอนปากแม่น้ำ และอากาศคล้าย
กับสี่จังหวัดข้างต้น ก็สามารถปลูกให้มีน้ำหอมได้ พื่นที่ในเขตภาคใต้ตอนบน และ
ภาคใต้ตอนล่าง อาจจะประสบปัญหาการติดผลเนื่องจากปริมาณน้ำฝนมากเกินไป
ส่วนกลางตอนบนและภาคเหนือ อาจประสบปัญหากะลาแตกในฤดูหนาวได้ เนื่องจาก
มะพร้าวจะหยุดการพัฒนากะลาในช่วงที่ฤดูหนาวเย็น และขาดน้ำ หรือได้รับน้ำไม่
สม่ำเสมอ เมื่อมีการให้น้ำจะเกิดแรงดันไปดันให้กะลาของผลมะพร้าวที่กำลังพัฒนาใน
เดือนที่ 4-6 แตกได้ขณะที่อยู่บนต้น

ความต้องการน้ำ
ประมาณความต้องการน้ำของมะพร้าวมีความต้องการสูงมาก หากขาดน้ำจะ
ไม่พัฒนาต้นไปให้สมบูรณ์ได้ การสร้างตาดอก การติดผลลดลงหรืออาจไม่มีผลผลิต
เลยก็เป็นได้ ดังนั้นเกษตรกรก่อนปลูกต้องสำรวจสภาพพื้นที่ปลูกและแหล่งน้ำ รวมถึง
แหล่งน้ำใต้ดิน ต้องเพียงพอต่อการเจริญเติบโต มะพร้าวมีความต้องการน้ำในการ
เจริญเติบโตประมาณ 14 ลิตรต่อต้นต่อวัน การรขาดน้ำยังส่งผลต่อการแตกของกะลา
ในฤดูหนาวอีกด้วย
การเตรียมพื้นที่ปลูก
การปลูกมะพร้าวสามารถปลูกได้ท้ังแบบยกร่องเป็นร่องส่วน หรือไม่ยกร่อง
ก็ได้ แต่เกษตรกรต้องจัดหาน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของมะพร้าว ระยะปลูก
สามารถปลูกได้ต้ังแต่ 6x6 เมตร ถึง 6x8 เมตร ที่สำคัญในการวางระยะปลูก ทางใบ
ของมะพร้าวเมื่อโตเต็มที่จะแผ่ออกด้านข้าง ทางใบจะต้องไม่ชนหรือประสานกันเกิน
ครึ่งทางใบ หากเกินครึงทางใบ ประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสงจะลดลง ส่งผลต่อ
การสร้างตาดอก ของมะพร้าวน้ำหอมในอนาคต

หากยกร่องส่วน สามารถปลูกมะพร้าวกลางสันร่อง หรือปลูกที่ขอบสันร่อง


โดยให้ห่างจากขอบสันร่องประมาณ 1 เมตร หากสันร่องกว้าง 4 เมตร คูน้ำกว้าง 2
เมตร จะได้ระยะปลูก 6x8 เมตร ทางใบจะไม่ประสานกัน และยังเหลือพื้นที่ปลูกพืชอื่นๆ
ระหว่างรอมะพร้าวโตจนเก็บผลผลิตได้

2m 4m

สันร่อง
คูน้ำ

ภาพที่ 1 การยกร่องสวนเพื่อปลูกมะพร้าวน้ำหอม

การเลือกพันธุ์มะพร้าวปลูก
การเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม เพื่อปลูกน้ันเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหากได้ต้น
พันธุ์ที่ไม่แท้จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในแปลง จากการวิจัย (วรภัทร ลัคน
ทินวงศ์ 2558) ศึกษากลิ่นของมะพร้าวน้ำหอม พบว่าคู่ผสมของมะพร้าวน้ำหอมต้นแม่
กับมะพร้าวน้ำหอมเท่าน้ันที่ผลผลิตได้น้ำมีกลิ่นหอม นอกน้ันไม่หอม และหากผสมกับ
มะพร้าวน้ำหวานก้นกลม ผลมะพร้าว น้ำท่ีเกิดจากต้นแม่พันธุ์น้ำหอมจะกลายเป็น
มะพร้าวน้ำหวาน และหากมะพร้าวน้ำหอมต้นแม่ผสมกับมะพร้าวแกงผลสีเขียว หรือ
มะพร้าวใหญ่ ผลมะพร้าวที่ได้จะเป็นผลทุย หรือไม่พัฒนาต่อไป ดังนั้นเกษตรกรต้อง
ระวังเรื่องเหล่านี้ให้มาก หากมีการผสมข้ามพันธุ์มากๆ จะส่งผลถึงคุณภาพของ
มะพร้าวน้ำหอม ที่ตกต่ำลงไป ผลมะพร้าวที่เกิดจากคู่ผสมมะพร้าวน้ำหอม กับมะพร้าว
น้ำหอม เมื่อนำมาทำพันธุ์ ต้นพันธุ์เมื่อออกแตกหน่ออ่อนและมีรากงอกแล้ว ปลายราก
ที่งอกจะมีกลิ่นหอม
ภาพที่ 2 มะพร้าวผลทุยที่เกิดจาการผสมข้าม ระหว่าง มะพร้าวน้ำหอม (แม่)
กับมะพร้าวแกงผลสีเขียว หรือมะพร้าวใหญ่ (พ่อ)

ตารางที่ 1 ผลของการผสมข้ามกับมะพร้าวน้ำหอม (ต้นแม่)

คู่ผสม ผลผลิต

มะพร้าวน้ำหอม x มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหอม

มะพ้าวน้ำหอม x มะพร้าวน้ำหวาน มะพร้าวน้ำหวาน 4

มะพ้าวน้ำหอม x มะพร้าวใหญ่ ผลทุย/ผลไม่พัฒนาต่อไป

การเตรียมต้นมะพร้าวก่อนปลูก

มะพร้าวที่งอกแล้ว หากเกษตรซื้อมาแล้วไม่ควรปลูกทันที เนื่องจากต้นยัง


อ่อนเกินไป ไม่สามารถทนกับสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกได้ ควรนำผลมะพร้าวที่งอก
แล้วไปอนุบาลในถุงปลูกขนาดปากกว้างไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร ใช้ขุยมะพร้าวผสม
ดินผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1:1:1 หรืออย่างใดอย่าหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้ ลดน้ำให้
ชุ่มสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 เดือน พลางแสงร้อยละ 40-50 เพื่อให้ต้นอ่อนมะพร้าวมี
ขนาดลำต้นใหญ่ขึ้น แข็งแรง มีโคนต้นประมาณเท่าข้อมือผู้ใหญ่ ก่อนนำไปปลูก
โอกาสรอดตายในแปลงสูงสุด (ยกเว้นเกษตรกรปล่อยให้เทวดาเลี้ยง)
ภาพที่ 3 ต้นอ่อนมะพร้าวน้ำหอม นำไปใส่ถุงอนุบาลประมาณ 2-3 เดือน
ให้ต้นแข็งแรงก่อนปลูก

การปลูกและการดูแล

มะพร้าวน้ำหอมสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล มีข้อคำนึงเรื่อง ภูมิอากาศ และ


แหล่งน้ำเท่าน้ัน ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในฤดูแล้ง มีโอกาศหรือความ
เสี่ยงสูงที่จะยืนต้นตายได้ หากมีน้ำบริบูรณ์ ไม่ขาดแคลน ก็สามารถปลูกได้ เทคนิค
การปลูก ขุดหลุมสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 50 cm ลึก 50 cm เช่นกัน เอาหน้าดินแยกหนึ่ง
กอง และดินในหลุมอีกหนึ่งกอง นำกองหน้ากินที่ผสมกับปุ๋ยหมักรองก้นหลุมจนสูงขึ้น
5
มาประมาณ 2ใน 3 ของหลุม แกะถุงชำมะพร้าวมาวางในหลุม วางต้นมะพร้าวเอียง 45
องศาเข้าหาสันร่อง จากน้ำปุ๋ยหมักผสมกับดินกองดินก้นหลุม มาเติมในหลุม จนพูน
เล็กน้อยเปิดหน้าดินให้ผลมะพร้าวโดนแสงแดด คลุมหน้าดินด้วยเศษฟางหรือหญ้า
แห้ง ลดน้ำชุ่ม อย่างสม่ำเสมอ หากมีการบำรุงรักษาที่ดี ประมาณ 2-3 ปีนับจากวัน
ปลูกมะพร้าว มะพร้าวจะแทงจั่นแรกให้เห็น ไม่ควรปล่อยให้ติดผล เพราะต้นไม่
สมบูรณ์ รอประมาณจั่นที่สามเป็นต้นไป ควรไว้ผลได้

การปลูกเกษตรกรสามารถเตรียมแปลงปลูกได้สองลักษณะคือ ปลูกแบบไม่
ยกร่องสวน และแบบยกร่องสวน ภาพที่ 4 และ 5 ระยะปลูกทั้งสองแบบ ประมาณ 6x6
และไม่เกิน 6x8 เมตร เนื่องจากใบจะซ้อน ทับกัน และการระบายอากาศไม่ดี

หลุมปลูก ขนาด 50x50x50 ซม.

ทำให้เกิดโรคได้ง่าย
ภาพที่ 4 การปลูกมะพร้าวกลางร่องสวน

2m 8m

หลุมปลูก ขนาด 50x50x50 ซม.

ภาพที่ 5 การปลูกมะพร้าวที่ขอบร่องสวน ระยะปลูก 6x8 เมตร


โดยเว้นระยะปลูกห่างจากขอบร่อง 1 เมตร

การดูแลรักษาให้ต้นสมบูรณ์นั้น ไม่ใช่เรื่องยากและก็ไม่ง่ายจนเกินไป อันดับ


แรกเกษตรกรต้องทำแปลงให้สะอาดปราศจากวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยและแหล่งสะสม
แมลง และสัตว์กัดแทะ พวกกระรอก คอต้นมะพร้าวควรสะอาด ใบที่แห้งแล้วควรตัด
ออก ใบที่ยังไม่แห้งไม่ควรตัดออก เนื่องจาก ต้นมะพร้าวจะดึงอาหารที่ใบกลับไปสะสม
ที่ต้นก่อนแห้งไป ใบนั้นสำคัญมากเป็นแหล่งสร้างอาหารทางเดียวของต้นมะพร้าว เมื่อ
ตัดไปแล้วไม่สามารถแตกออกมาหใหม่ได้

การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอก่อน เนื่องจากมะพร้าวให้ผลผลิตทั้งปี ในหนึ่ง


ต้นมีผลที่มีการพัฒนาหลายระยะ ตั่งแต่ เริ่มแทงกาบดอก, ระยะกาบดอกแตก, ระยะ
ดอกพร้อมผสม การให้ปุ๋ยไม่สมดุลจะส่งกระทบกับการสร้างตาดอก จำนวนดอกตัว 6
เมีย การติดผลและการร่วงของผลที่ติดแล้ว ไม่สามารถใส่ปุ๋ยเหมือนไม้ผลที่ออกเป็น
ฤดูกาลได้ ส่วนปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกใส่ได้ตามปกติ แต่ปุ๋ยคอกควรไปทำการหมักกับ
เศษซากพืช หรือใบที่แห้งในแปลง นำมาบดให้เป็นชิ้นเล็กแล้วนำมาหมักกับปุ๋ยคอก
ก่อนนำไปโรยรอบต้นมะพร้าว ในเขตพื้นที่ภาคกลางสี่จังหวัด ไม่สามารถเอาปุ๋ยคอก
ไปโรยที่โคนต้นได้ อาจเกิดอาการเน่าของรากได้ หากปุ๋ยหมักยังหมักไม่ได้ที่
บทที่ 2
สรีรวิทยามะพร้าวน้ำหอม

ทำไมถึงหอม
มะพร้าวน้ำหอม (Cocos nucifera L.) เป็นมะพร้าวต้นเตี้ย (Dwarf type) สี
เขียว ปกติเป็นมะพร้าวไม่หอม น้ำหวาน หรือที่เรียกว่ามะพร้าวน้ำหวาน จากประวัติที่
สืบทอดกันมา มะพร้าวน้ำหอม พบคร้ังแรกที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม เดิมทีเรียก
มะพร้าวหมูสี การเกิดการกลายพันธุ์นี้อาจเนื่องมาจาก สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
หรืออาจเกิดจากการผสมข้ามเกสรจากมะพร้าว

ในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการรับรองแน่ชัด จากการศึกษาพบว่า สารที่ทำให้


มะพร้าวน้ำหอม น้ันเป็นสาร 2-acetyl-1-pyrroline หรือเรียกว่า 2AP ซึ่งพบในพืช
หลายชนิด อาทิ ข้าวหอมมะลิ, เตยหอม, ดอกชมนาด เป็นต้น สารนี้พบในปลายราก
ดอกตัวผู้ที่เริ่มบาน น้ำหวานจากช่อดอก เนื้อและน้ำของมะพร้าว

ลักษณะของต้นมะพร้าวน้ำหอม

ต้นมะพร้าว
มะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่มีสองลักษณะที่เกษตรกรมักเรียกว่ามะพร้าวน้ำหอม คือ
มะพร้าวต้นเตี้ยผลสีเขียว ผลกลม และผลรีก้นจีบ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาหลายสิบปี แต่
7
จากการศึกษาศึกษาของ วรภัทร ลัคนทินวงศ์ (2555) พบว่า มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้
จะมีลักษณะลำต้นต้ังตรงไม่มีสะโพก

มีสะโพก ไม่มีสะโพก

ภาพที่ 6 ลักษณะต้นมะพร้าวน้ำหอมที่แตกต่างกัน

ผลจะมีลักษณะกลม อาจเกิดจากการผสมข้าม ต้นที่ไม่มีสะโพกผลจะเป็นก้นจีบ รอย


กาบใบจะถี่ ไม่ห่าง ใบมะพร้าวจะแผ่ออกไม่ต้ังชะลูดเหมือนมะพร้าวใหญ่ ใบเป็นแหล่ง
สร้างอาหารอย่างเดียว ในหนึ่งรอบปีจะมีใบอย่างน้อย 12 ทางใบหรืออาจมากกว่านี้
ทุกๆ รอยทางใบประมาณ 6 รอยจะมาชนกันหนึ่งรอบ ทางใบมีอายุ 2-3 ปี เมื่อต้นยัง
อายุน้อยจะมีประมาณ 9 ทางใบ เมื่ออายุเกิน 7 ปีไปแล้ว จะมีทางใบประมาณ 30-40
ทางใบ

ดอกมะพร้าว
ดอกของมะพร้าว มีลักษณะเป็นทรงป้านกลมรี อยู่บนก้านชูดอกบริเวณโคน
ก้าน ก้านชูดอก หรือที่เรียกกันว่า หางหนู ถัดจากดอกตัวเมีย จะเป็นดอกตัวผู้ซึ่งมี
มากกว่า 150-200 ดอกต่อหางหนู ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้นมะพร้าวน้ำหอม ตาด
อกมะพร้าวจะสร้างบนทางใบทุกทางใบ ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 2 ปีจน
สามารถแทงช่อออกมา ดังนั้นการที่จะมีตาดอกที่สามารถพัฒนาไปจนเป็นช่อดอกได้
น้ันต้องการการสะสมอาหารที่พอเพียง การที่เกษตรกรตัดใบของมะพร้าวก่อนเวลาอัน
ควรจะส่งผลกระทบต่อการสร้างอาหารและการเกิดตาดอก ในอีกสองปีถัดไป

ภาพที่ 7 ลักษณะดอกของมะพร้าว

การพัฒนาของดอกที่จะพร้อมผสมเกสรได้ต้องอาศัยเวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์หลัง


กาบหุ้มดอก แตกออก ช้าเร็วขึ้นกับสภาพอากาศ ถ้าอากาศร้อนความพร้อมของดอก
จะพัฒนาเร็วขึ้น หากสภาพอากาศเย็นการพัฒนาจะช้าลง
(ก) (ข)

ภาพที่ 8 การพัฒนาดอกมะพร้าวสัปดาห์ที่ 1 (ก) และ 2 (ข)

หลังจากกาบหุ้มดอกแตกออก ประมาณ 1 สัปดาห์ ดอกตัวผู้จะเริ่มบาน จาก


ปลายหางหนูมาโคนหางหนู ส่วนดอกตัวเมียจะพัฒนาจากดอกสีเหลืองไปเป็นดอกที่มี
เขียวอ่อน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดอกตัวเมียพร้อมผสมน้ัน ปลายดอกจะแยกออกเป็นสาม
แฉก และมีน้ำหวานที่ปลายดอก ซึ่งระยะพร้อมผสมนี้ หากอากาศร้อนดอกตัวเมียจะ
บานเร็วขึ้น อาจอยู่ในสัปดาห์ที่ 2-3 หากอากาศเย็นดอกจะบานในสัปดาห์ที่ 3-4 หลัง
กาบหุ้มดอกแตกออก เมื่อดอกที่ผ่านการผสมแล้ว ปลายดอกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ระยะ
เวลาที่ดอกสามารถผสมได้หลังบานแล้ว ไม่ควรเกินเที่ยงวัน เนื่องจากปลายดอกตัว
เมียจะแห้งไม่สามารถผสมได้
9

(ค) (ง)

ภาพที่ 9 การพัฒนาดอกมะพร้าวสัปดาห์ที่ 3 (ค) และ 4 (ง)


(จ) (ฉ)

ภาพที่ 10 ดอกที่พร้อมผสม (จ) และ ผสมแล้ว (ฉ)

ดอกที่ผ่านการผสมแล้วปลายดอกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดอกที่ไม่ผ่านการผสม ปลาย


ดอกก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเช่นกัน เมื่อดอกถูกผสมแล้วจะพัฒนาไปเป็นผล ดอกที่ไม่
ได้รับการผสม ดอกจะร่วงไปในที่สุด ผลท่ีพัฒนาผ่านไปเดือนที่สามหลังผสมแล้ว จึง
แน่ใจว่าผลมะพร้าวจะติดแน่นอน การบนของดอกมะพร้าวจะบานจากบนลงล่าง ใช้
เวลาประมาณ 3 วันจึงบานหมดช่อ

ผลมะพร้าว 10

ดอกมะพร้าวเมื่อได้รับการผสมเกสรแล้ว ดอกจะมีการพัฒนาขยายขนาด
เป็นผลมะพร้าว ระหว่าง 1-2 เดือนหลังดอกบาน แม้ดอกจะได้รับการผสมแล้วก็ยัง
สามารถร่วงได้ เมื่อเข้าเดือนที่สามเป็นต้นไป ผลที่ติดอยู่บนต้นจะติดถาวรไม่หลุดล่วง
หรือหลุดล่วงน้อยมาก ผลมะพร้าวจะเริ่มพัฒนาเริ่มมีน้ำในผลต้ังแต่อายุ 1 เดือน
เป็นต้นไป แต่ปริมาณน้ำน้อยมาก และจะเพิ่มขี้นเรื่อยๆ จนเริ่มคงที่ในเดือนที่ 8 เป็นต้น
ไป หลังดอกบาน เนื้อในกะลาจะเริ่มเห็นในเดือนที่ 4 เป็นต้นไป

ภาพที่ 11 ผลมะพร้าวอายุ 1.5 เดือน หลังดอกบาน

ในเดือนที่ 4-4.5 นี้ เนื้อในกะลามะพร้าวมีลักษณะเป็นวุ้น เมื่อเข้าเดือนที่ 5-5.5 เนื้อจะ


พัฒนาเต็ม 1 ชั้น เมื่อเข้าเดือนที่ 6 เนื้อจะเริ่มพัฒนาเป็น 1.5 ชั้น และเข้าเดือนที่ 7 เนื้อ
จึงพัฒนาเป็น 2 ชั้นเต็ม เป็นระยะที่คุณภาพการบริโภคสุงสุด หากต้องการเก็บเพื่อขาย
ในประเทศควรเก็บระยะ 6-6.5 เดือน หากเก็บส่งขายต่างประเทศให้เก็บต้ังแต่ 6.5-7
เดือน ผลมะพร้าวที่ติดผลแล้วมีการพัฒนาไปเป็นผลทุย หรือผลมีขนาดเล็ก เนื่องจาก
การผสมกับมะพร้าวใหญ่ ต้นสูง โดยเฉพาะมะพร้าวใหญ่ผลสีเขียว จากเดิมต้นแม่หาก
ผสมกับมะพร้าวน้ำหอมด้วยกัน จะได้ผลทรงรีก้นจีบคงเดิม หากมะพร้าวน้ำหอมผสม
กับมะพร้าวน้ำหวานจะได้ผลทรงกลมก้นไม่จีบ

11

ภาพที่ 12 ลักษณะผลทุย และผลที่ไม่พัฒนา

ภาพที่ 13 ผลมะพร้าวที่เกิดจากผลมะพร้าวน้ำหอมผสม
กับมะพร้าวน้ำหวาน (ผลกลาง)
เมื่อพิจารณาจำนวนผล และดอกในรอบปีจะพบว่า เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน บน
ต้นมะพร้าวจะมีจำนวนดอกตัวเมียเป็นจำนวนมาก ที่ทะยอยแตกออกมา ทุกๆ 20 วัน
โดยประมาณ และจะลดจำนวนดอกตัวเมียลงไปเรื่อยๆ ขณะที่จำนวนผลที่อยู่บนต้นมี
จำนวนน้อยลงเรื่อยๆ และน้อยที่สุดในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน จากน้ันจะเพิ่ม
ขึ้นเรื่อยๆในเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนและเริ่มลดลงในเดือนธันวาคม

จำนวนดอกตัวเมีย & จำนวนผลเฉลี่ยตลอดทั้งปี


ดอกตัวเมีย จำนวนผล ราคาต่อผล
50 40
40 30
30
20
20
10 10

0 0
ม.ค. มี.ค . พ.ค. ก.ค. ก.ย. พ.ย.

ภาพที่ 14 จำนวนดอก, ผล และราคามะพร้าวน้ำหอมในรอบปี (ข้อมูลปี 2552-2557) 12

ส่วนกลิ่นหอมในน้ำมะพร้าว เป็นสารที่มีชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) พบว่าเริ่ม


สร้างขึ้นต้ังแต่เดือน 4-4.5 เป็นต้นไป กลิ่นหอมเพิ่มมากขึ้นจนถึงเดือน 12 ผลแห้งเลย
ทีเดียว 

บทที่ 3
เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวผลดกทั้งปี
สาเหตุที่มะพร้าวไม่ติดผล

การที่มะพร้าวไม่ติดผลมีหลายสาเหตุ อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่


ความสมบูรณ์ของต้น โรคและแมลง แต่สาเหตุหลักๆ ที่สำคัญที่อาจถูกมองข้าม คือน้ำ
ฝนที่ตกลงมาในช่วงครึ่งปีหลัง นับต้ังแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไปเริ่มมีปริมาณน้ำฝน
เพิ่มขึ้น เมื่อดอกตัวเมียพร้อมผสม หากฝนตกลงมาในช่วงตอนเช้า ช่วงใดช่วงหนึ่ง
ก่อนเที่ยงวัน หรือมีอากาศปิดไม่มีแมลงมาช่วยผสมเกสร ฝนที่ตกลงมาจะชะล้าง น้ำ
หวานปลายช่อดอก อีกประการเมื่อนฝนตกชุกราน้ำค้างจะระบาดได้ ปลายเกสรตัวเมีย
อาจจะถูกเชื้อราเข้าทำลาย ไม่พร้อมผสม ส่งผลให้มะพร้าวติดผลน้อยในฤดูฝน

ครั้นเมื่อฝนตกมาต้นมะพร้าวจะได้รับปริมาณธาตุไนโตรเจนที่มากับปริมาณ
น้ำฝน เมื่อปริมาณไนโตรเจนที่สูง ส่งผลให้เจริญทางด้านลำต้นและใบ การสร้างตา
ตอกจะลดลง หรืออีกทฤษฏีหนึ่งคืออาหารที่สะสมมาลดลงในปลายปีทำให้มีการสร้าง
ตาดอกน้อยลง ซึ่งเป็นวัฎจักรแบบนี้ทุกปี ดังนั้นสามารถปรับให้เกิดความสมดุลทำให้
มีการสร้างดอกตัวเมียให้สม่ำเสมอแล้ว จักเป็นหนทางทำให้มีมะพร้าวผลดกได้ทั้งปี

เทคนิคการทำให้มะพร้าวติดผลดกทั้งปี

การทำให้มะพร้าวติดผลดกทั้งปีน้ันไม่ใช่เรื่องยาก และก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้อง 13


อาศัยเทคนิคอันปราณีต ซึ่งเกษตรต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของมะพร้าวอย่างดี และ
ต้องหมั่นตรวจแปลง ตรวจสภาพการบานของดอกมะพร้าวเพื่อทำการผสมเกสรแทน
สืบเนื่องจากฝนตกน้ำฝนล้างช่อดอก เทคนิคการการทำให้มะพร้าวติดผลดกทั้งปี มี
เทคนิคดังต่อไปนี้

1. ดอกที่พร้อมผสม
ระยะดอกที่พร้อมผสม เป็นระยะที่สำคัญมาก หากดูระยะที่ผิดการช่วยผสม
เกสรจะไม่ประสบความสำเร็จ เกษตรกต้องหมั่นตรวจแปลงและระยะที่เหมาะสมเสมอๆ

2. เทคนิคการล้างช่อดอก (สะอาด)
ดอกมะพร้าวที่บานพร้อมผสม เมื่อโดนน้ำฝนตกลงใส่ในช่วงเช้า หรือสภาพ
อากาศปิด น้ำฝนทำให้ปลายดอกตัวเมียมีสภาพไม่พร้อมผสมเกสร น้ำหวานโดนฝน
ชะล้าง น้ำฝนมีธาตุ N สูง และอาจมีราน้ำค้างเข้าทำลาย (เนื่องจากเป็นช่องเปิดทาง
ธรรมชาติ) ดังน้ันต้องปรับสภาพดอกตัวเมียให้กลับมา ด้วยการล้างดอกปรับสภาพ
ปลายดอกให้กลับมาพร้อมผสม การล้างดอกต้องล้างด้วยสารละลายที่สามารถปรับ
สภาพให้ปลายดอกตัวเมียมาพร้อมผสมได้ใหม่ สารละลายที่เหมาะสมในการล้างคือ
สารละลายเกลือไอโซไทนิคความเข้มข้นร้อยละ 0.9 ซึ่งความเข้มข้นนี้จะไม่ทำลาย
เซลล์คล้ายน้ำยาล้างแผล
3. เกสรตัวผู้
ในการทำให้มะพร้าวติดผลดก ต้องใช้เทคนิคการผสมเกสรแทนน้ัน การ
เลือกเกสรตัวผู้ที่นำมาผสมน้ันให้เลือกจากดอกหางหนูที่ดอกตัวผู้เริ่มบานมาแล้ว เก็บ
ดอกตัวผู้ที่ยังไม่บาน นำมาใส่ถุงทับให้แตกออก ก่อนนำไปผสมกับสาระลายเกสร

(ก) (ข)

ภาพที่ 15 ล้างช่อดอกด้วยสารละลาย ไอโซโทนิค (ก) ฉีดพ่นล้างดอก (ข)

4. สารละลายเกสร (เรณู)
หยดน้ำหวานปลายดอกตัวเมีย ถูกน้ำฝนชะล้าง และช่องทางเปิดมีสภาพไม่
14
เหมาะสมต่อการผสมเกสร เมื่อผ่านการล้างด้วยสารละลายไอโซโทนิค (isotonic)
คล้ายกับน้ำยาล้างแผล ปลายดอกตัวเมียจะกลับมาพร้อมผสมเกสรได้อีกคร้ัง นำดอก
ตัวผู้ประมาณ 200-300 กรัม หรือประมาณ 1 กำมือที่นำมาทุบให้แตกในถุงพลาสติก
จากน้ันนำสารละลายเกสร (เรณู) มาเติมในถุง แล้วกรองผ่านผ้าขาวบางใส่ลงในถัง
พ่นสารละลาย แล้วทิ้งไว้ก่อน 30 นาทีเพื่อให้เกสรตัวผู้เริ่มงอก หลังจากน้ันนำไปฉีด
พ่นจั่นที่มีดอกพร้อมผสมต่อไป

(ก) (ข)

ภาพที่ 16 การเตรียมสารละลายเกสร นำดอกตัวผู้ที่เลือกไว้มาทุบให้แตก


ในถุงพลาสติก (ก) แล้วเติมสารละลายเกสรลงไปก่อนแล้วกรองก่อนผสม
ในถุงพ่น (ข)
5. การฉีดพ่น
การฉีดพ่นควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. พ่นด้วยสารละลาย ไอโซโทนิค (สะอาด) ก่อน ล้างปลายดอกตัวเมีย ทิ้งไว้สัก
ครุ่แต่ไม่ควรให้ดอกแห้ง
2. พ่นด้วยสารละลายเกสร (เรณู)
เวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่น ควรอยู่ระหว่างเวลา 5.00-12.00 น ไม่ควรเกินเวลานี้ไป
ความพร้อมของดอกมะพร้าวจะลดลงไป ควรพ่นจั่นเดิมด้วยสารละลายเกสรติดต่อกัน
2-3 วัน หากฝนตกมาในระหว่าง 2-3 วัน ให้ล้างจั่นด้วย สารละลายไอโซโทนิคก่อ
นทุกคร้ังหากฝนตก

15
ภาพที่ 17 การพ่นสารละลายเกสรนาน 2-3 วินาที

ผลจากการใช้เทคโนโลยี
เมื่อทำการฉีดพ่นสารดังกล่าวในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม 2558
เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุดของปี พื้นที่ทดสอบแปลงปลูกมะพร้าว จำนวน 7 ไร่ ปลูกระยะ
6x6 เมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนๆ ละ 3.5 ไร ที่ใช้เทคโนโลยี และอีก 3.5 ไร่ที่ไม่ใช้
เทคโนโลยี พบว่า มะพร้าวที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวลูกดก มีผลผลิตติดใน
เดือนที่สามร้อยละ 95 ขณะที่แปลงที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ มีมะพร้าวติดผลเพียงร้อยละ
3 เท่าน้ัน มีจำนวนต้นทั้งหมดที่ใช้เทคโนโลยีฯ 60 ต้น และไม่ใช้เทคโนโลยีฯ 60 ต้น
พบว่า มีจำนวนผลที่ติด ผลผลิตคิดรวมสองเดือนที่ทดลองใช้เทคโนโลยีการผลิต
มะพร้าวลูกดก เก็บผลเดือน มีนาคม และเมษายน 2559
จากการทดลองพบว่า มีส่วนต่างอยู่มากอย่างเห็นได้ชัดประมาณ 7-8 เท่าตัว
ดังน้ันการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวลูกดก สามารถเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม
และได้รับมูลค่าในช่วงที่มะพร้าวขาดแคลนได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย.


แหล่งที่มา: http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/pdf/
D_Cseries_thai.pdf, 19 กรกฎาคม 2558.

กรมศุลกากร. 2558. สถิติการนำเข้า-ส่งออก. แหล่งที่มา: http://


www.customs.go.th/Statistic/Index.jsp., HSCode=08011900000, 19
กรกฎาคม 2558.

สำนักส่งเสริมและการจัดการสินค้าเกษตร. 2558. ยุทธศาสตร์มะพร้าวน้ำหอม .แหล่ง


ที่มา: http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/
Strategy.html, 1 สิงหาาคม 2558.

เกรียงไกร มีถาวร และจริงแท้ ศิริพานิช. 2553. การหายใจและการผลิตเอทธิลีนของ


มะพร้าวอ่อน, น. 183-190. ใน รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
นครปฐม.

จริงแท้ ศิริพานิช และ โสภิดาริยะกุล. 2549. การลดปริมาณโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์


เพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาลและเชื้อราบนผลมะพร้าวอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว. 16
ว. วิทย์. กษ. 37(5) (พิเศษ): 50-53.

จุลพันธ์ เพชรพิรุณ. 2551. พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม, น. 43-51 ใน


เกษตรก้าวหน้า, 21(3).

เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร. 2554. การเปลี่ยนแปลงกลิ่นในมะพร้าว


น้ำหอมระหว่างการเก็บรักษา. รายงานการวิจัยศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยี
หลังการเก็บเกี่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธีรนุต ร่มโพธิ์ภักดิ์ และ สมนึก ทองบ่อ. 2551. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของมะพร้าว


น้ำหอมก่อนและภายหลังการเก็บเกี่ยว. ว. วิทย์. กษ. 39(3) (พิเศษ):
99-102.

นวพร อุตรินทร์. 2548. การวิเคราะห์สารหอมในน้ำมะพร้าวน้ำหอม. ปัญหาพิเศษ


ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิรนาม. 2557. มะพร้าวน้ำหอมรสชาติดี เขามีวิธีการอย่างไร?. แหล่งที่มา: http://


www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=7112&s=tblplant, 25
กรกฎาคม 2558.
ประชิต อยู่หว่าง. 2540. การยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลในมะพร้าวอ่อนโดยใช้สารทด
แทนซัลไฟต์ และการบรรจุแบบบรรยากาศดัดแปลง. วิทยานิพนธ์ปริญญา
โท, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.  

แม้น อมรสิทธิ์, อมร เพชรสม, พลกฤษณ์ แสงวนิช, ภควดี สุทธิ์ไวยกิจ, มาณพ สิทธิ
เดช, สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์, อุมาพร สุขม่วง และ วันเพ็ญ ช้อนแก้ว.
2555. หลักการและเทคนิควิเคราะห์เชิงเครื่องมือ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ชวน
พิมพ์ 50 จำกัด, กรุงเทพฯ.

วรภัทร ลัคนทินวงศ์ และ ปิยะพงษ์ สอนแก้ว. 2554. คุณภาพมะพร้าวน้ำหอมที่ผ่าน


กรรมวิธี Blanching เพื่อการส่งออก. ว. วิทย์. กษ. 42(1) (พิเศษ):
147-150. ในบทนำและวิจารณ์เขียน 2553.

แววตา ชี้ทางดี. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด 2-Acetyl-1-pyrroline และสารให้กลิ่น


อื่นๆ ในใบเตย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมชาย วัฒนโยธิน. 2551. เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวอ่อนลูกผสมพันธุ์ดี, น. 22-42.


ใน สมศรี ภัทรธรรม, บรรณาธิการ. เกษตรก้าวหน้า. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและ
ฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิทยาเขต
กำแพงแสน.
17

สุพจน์ ตั้งจตุพร. 2543. มะพร้าวน้ำหอม. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี กรม


อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ชลบุรี.

สุภาวดี ภัทรโกศล, มนต์ชัย โกฏเพชร, เอกนิตย์ หาญศักดิ์ และ ปกรณ์ ลิ้มสมุทรชัย


พร. 2543. การปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้า. กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2550. มะพร้าวน้ำหอม. มกอช.


15-2550 มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, สำนักงานมาตรฐาน
สินค้าเกษตรและอาหาร
แห่งชาติ, กรุงเทพ.

You might also like