You are on page 1of 122

คณะทํางาน

ที่ปรึกษา นายมงคล พฤกษ์วฒ ั นา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม


นายสมคิด วงศ์ไชยสุวรรณ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายอภิจณ
ิ โชติกเสถียร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

คณะกรรมการประสาน นายศุภกิจ บุญศิริ ประธานคณะกรรมการ


และรับมอบงาน ผูอ้ าํ นวยการสํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย
นางสาวรัตนา รักษ์ตระกูล กรรมการ
รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชีย่ วชาญ
นายนบพร ม่วงแก้ว กรรมการ
นักวิทยาศาสตร์ชาํ นาญการพิเศษ
นายสุทศั น์ มังคละคีรี กรรมการ
นักวิทยาศาสตร์ชาํ นาญการพิเศษ
นายชัชวาลย์ จิตติเรืองเกียรติ กรรมการ
นักวิทยาศาสตร์ชาํ นาญการพิเศษ
นางสาวกฤติยา เหมือนใจ กรรมการ
นักวิทยาศาสตร์ชาํ นาญการพิเศษ
นางริกาญจน์ ฉัตรสกุลวิไล กรรมการและเลขานุการ
นักวิทยาศาสตร์ชาํ นาญการพิเศษ

คณะผูจ้ ดั ทํา ดร. พรวิภา คลังสิน


ดร. ณฐินี ศรีเนตร
ผศ.ดร. นันทวัฒน์ จรัสโรจน์ธนเดช
นายไพบูลย์ ต้นศิรอิ นุ สรณ์
นายชํานิ โมสกุล
นาวาเอก เทวัญ สุจริตวงศานนท์
นายพงศ์นรินทร์ เพชรชู
Mrs.Irena Meyer

พิ มพ์ครัง้ ที่ 1 กันยายน 2559


กิ ตติ กรรมประกาศ

การจัดทําคู่มือมาตรฐานการออกแบบ การสร้าง การติ ดตัง้ การใช้งาน การตรวจสอบ


และการบํารุงรักษาถังเก็บสารเคมีอนั ตราย (Storage tank) ประเภทสารไวไฟ เล่มนี้สาํ เร็จลุล่วงได้
เป็ นอย่างดีดว้ ยความร่วมมือจาก ผูป้ ระกอบกิจการโรงงาน และผูเ้ ชีย่ วชาญทีม่ ปี ระสบการณ์ดา้ นการ
ออกแบบ การสร้าง การใช้งาน และตรวจสอบถังเก็บสารเคมี ในการให้คาํ แนะนํา ข้อคิดเห็น ดังนี้
 คุณสายัณต์ นาคอยู่ บริษทั คอมพาสลิงค์ จํากัด
 คุณฐิตภิ ทั ร์ พิสฐิ พรสกุล บริษทั ปตท. จํากัด (มหาชน)
 ดร. ศราวลี ธนศิลป์ บริษทั ปตท. จํากัด (มหาชน)
 คุณวิทยา สวัสดิ ์โรจน์ บริษทั ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จํากัด (มหาชน)
 คุณประภาวุฒ ิ ปานสีทอง บริษทั มาบตาพุด แทงค์ เทอมินลั จํากัด
 คุณทักษ์พทั ธพล วงษ์ษาวรารักษ์ บริษทั วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จํากัด
 คุณวฤทธิ ์ จันทร์นุช บริษทั วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จํากัด
 คุณอาคม คงแก้ว บริษทั วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จํากัด
 คุณไพรัตน์ วัดน้อย บริษทั สยามเฆมี จํากัด
 คุณสมภพ ทองเกล็ด บริษทั ไทยแท้งค์เทอร์มนิ ลั จํากัด
 คุณกรณเสฎฐ์ ปิ ตอิ ริยะนันท์ บริษทั ไออาร์พซี ี จํากัด (มหาชน)

นอกจากนี้ยงั ได้รบั ความร่วมมือเป็ นอย่างดีจาก บริษทั เอเชีย ซิลโิ คนส์ โมโนเมอร์ จํากัด
บริษทั สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จํากัด บริษทั ระยอง เทอร์มนิ ลั จํากัด และบริษทั พีทที ี แทงค์ เทอร์มนิ ลั จํากัด
ในการให้ขอ้ มูลและอํานวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ ในการนําแบบตรวจสอบถังเก็บสารเคมีไปทดลอง
ใช้ ตลอดจนให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ เพือ่ ให้คมู่ อื นี้มคี วามสมบูรณ์ครบถ้วนและเกิดประโยชน์สงู สุด
ต่อผูป้ ระกอบกิจการโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะผูจ้ ดั ทําใคร่ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
คํานํา

สารเคมีเป็ นสิง่ สําคัญในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากถูกนําไปใช้เป็นวัตถุดบิ ตัวทําละลาย ตัวทําปฏิกริ ยิ า


หรือตัวเร่งปฏิกริ ยิ า และปริมาณการใช้สารเคมียงั แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมี จึงเป็ นสิง่ สําคัญทีผ่ ปู้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องตระหนัก
ในทุกขัน้ ตอนทีเ่ กีย่ วข้องตัง้ แต่การเก็บ การใช้ และการผลิตสารเคมีเพื่อป้องกันอุบตั เิ หตุทเ่ี กิดจากการรัวไหล

และการแพร่กระจายของสารเคมีทอ่ี าจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การระเบิด และส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความปลอดภัยในการดําเนินงานทีเ่ กีย่ วกับถังเก็บทีม่ กี ารเก็บสารเคมีทม่ี ปี ริมาณมาก
ต้องพิจารณาตัง้ แต่การออกแบบ การสร้างให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทัง้ กําหนดการใช้งาน
เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบทีอ่ าจจะเกิดต่อชีวติ ทรัพย์สนิ รวมทัง้ สิง่ แวดล้อม
กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จดั ทําโครงการพัฒนาการดําเนินการด้านความปลอดภัยถังเก็บสารเคมี
ปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาและจัดทําคูม่ อื มาตรฐานการออกแบบ การสร้าง
การติดตัง้ การใช้งาน การตรวจสอบ และการบํารุงรักษาถังเก็บสารเคมีอนั ตราย (Storage tank) โดยจัดทํา
ตามประเภทของสารเคมี 3 ชนิด ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน และสารพิษ สําหรับคูม่ อื ฉบับนี้เป็นมาตรฐาน
สําหรับสารไวไฟ ประเภท “ของเหลวไวไฟ” โดยไม่รวมถึงนํ้ามันเชือ้ เพลิง มีเนื้อหาครอบคลุมถังเก็บที่
เป็ นรูปทรงกระบอกทีต่ ดิ ตัง้ อยูบ่ นดิน ความจุไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตร และความดันในถังไม่เกิน 17.2 psi
(หรือ 2.5 psig)
กรมโรงงานอุตสาหกรรมหวังเป็ นอย่างยิง่ ว่าคู่มอื นี้จะเป็ นประโยชน์ต่อผูป้ ระกอบกิจการโรงงาน
ทีม่ กี ารใช้งานถังเก็บสารเคมีทงั ้ ในปจั จุบนั หรือทีจ่ ะมีการใช้ในอนาคต เพือ่ ให้เกิดความปลอดภัยทีพ่ จิ ารณา
ตัง้ แต่การออกแบบและการใช้งาน ตลอดจนเพื่อเป็ นประโยชน์ ต่อหน่ วยงานภาครัฐในการกํากับดูแล
ด้านความปลอดภัยถังเก็บสารเคมีในภาคอุตสาหกรรม
สารบัญ

บทที่ หน้ า
1 ความรู้ทวไป
ั่ 1-1
1.1 คําจํากัดความ 1-1
1.2 เกณฑ์การจําแนกประเภท 1-1
1.3 สมบัตทิ างกายภาพ 1-2
1.4 การสือ่ สารความเป็ นอันตราย 1-5
1.5 ชนิดของถังเก็บสารเคมีโดยทัวไป ่ 1-9
2 กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 2-1
2.1 การขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บสารเคมี 2-1
2.2 การดําเนินงานเกีย่ วกับถังเก็บสารเคมี 2-3
3 การเลือกและออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟ 3-1
3.1 การเลือกและออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟ 3-1
3.2 การเลือกชนิดวัสดุสาํ หรับถังเก็บและส่วนประกอบของถัง 3-2
3.3 การเลือกชนิดและเกรดของเหล็ก 3-3
3.4 การออกแบบและการคํานวณความหนาของถังเก็บ 3-7
3.5 การเจาะรูและการติดตัง้ ท่อทีผ่ นังของถัง (Shell openings) 3-14
3.6 การคํานวณนํ้าหนักถังเก็บ 3-15
3.7 การเคลือบ / ปูผวิ ถังเก็บสารเคมี (Coating/Lining) 3-16
4 การเลือกสถานที่ 4-1
4.1 การเลือกพืน้ ทีส่ าํ หรับก่อสร้างถังเก็บสารเคมี 4-1
4.2 การจัดวางถังเก็บสารเคมี 4-7
5 การติ ดตัง้ และการใช้งานถังเก็บของเหลวไวไฟ 5-1
5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว 5-1
(Basic component and level devices)
5.2 อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน (Venting devices) 5-4
5.3 อุปกรณ์สาํ หรับป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน (Lightning and Grounding system) 5-6
5.4 อุปกรณ์สาํ หรับระบบป้องกันและระงับไฟไหม้ (Fire protection device) 5-7
5.5 อุปกรณ์เฉพาะเพิม่ เติมอื่นๆ 5-10


สารบัญ (ต่อ)

บทที่ หน้ า
6 การสร้างฐานรากคอนกรีต 6-1
6.1 คุณสมบัตกิ ารรับกําลังของชัน้ ดิน 6-1
6.2 การกําหนดขนาดฐานราก 6-2
6.3 นํ้าหนักกระทําบนฐานรากและแรงปฏิกริ ยิ า 6-3
6.4 การเลือกชนิดของฐานราก 6-3
6.5 นํ้าหนักและแรงกระทําต่อฐานราก 6-4
6.6 ขัน้ ตอนการออกแบบฐานรากถัง 6-5
6.7 การคํานวณฐานราก 6-7
6.8 การสร้างฐานรากคอนกรีต 6-7
7 มาตรการความปลอดภัยและแผนฉุกเฉิ น 7-1
7.1 มาตรการความปลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ 7-1
7.2 แผนฉุกเฉิน 7-4
8 การตรวจสอบและการบํารุงรักษา 8-1
8.1 การตรวจทดสอบก่อนใช้งาน 8-1
8.2 การตรวจสอบระหว่างการใช้งาน 8-2
9 แบบตรวจสอบถังเก็บของเหลวไวไฟ (Checklist) 9-1

ภาคผนวก
ก.1 ตารางเปลีย่ นหน่วย
ข.1 ความสมดุลระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของถัง
ข.2 ข้อมูลเบือ้ งต้นทีต่ อ้ งการใช้ในการคํานวณ
ข.3 การคํานวณหาความหนาของเปลือกถัง (Shell) ชัน้ ที่ n
ข.4 ค่าความเค้นของวัสดุแต่ละชนิด
ข.5 การคํานวณค่าความเค้นสูงสุด
ข.6 ตัวอย่างวัสดุปผู วิ ถังเก็บของเหลวต่างๆ
ค ตัวอย่างการคํานวณสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ
ง วิธกี ารอัดนํ้าเพือ่ ทดสอบความดัน (Hydrostatic test), วิธกี ารวัดค่าความดิง่ (Plumbness), วิธกี าร
วัดค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถัง
เอกสารอ้างอิ ง


สารบัญรูป

รูปที่ หน้ า
1.1 ช่วงของการระเบิด 1-3
1.2 ป้ายแสดงความเป็ นอันตรายของสารเคมีตามมาตรฐาน NFPA 1-6
1.3 ตัวอย่างการติดป้ายแสดงความเป็ นอันตรายบนถังเก็บสารเคมีตามมาตรฐาน NFPA 1-6
1.4 ชนิดของถังเก็บสารเคมี 1-9
1.5 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่ 1-10
1.6 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายนอก 1-12
(External floating roof tank)
1.7 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายใน (Internal floating roof tank) 1-13
2.1 ขัน้ ตอนการขออนุ ญาตก่อสร้างถังเก็บสารเคมีตาม 2-2
พระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
3.1 ค่าอุณหภูมใิ ช้งานทีเ่ หมาะสมสําหรับเหล็กแต่ละกลุ่ม 3-5
3.2 ข้อมูลเบือ้ งต้นของถังเก็บ 3-9
3.3 ส่วนประกอบบริเวณพืน้ ถัง 3-12
3.4 การเชื่อมบริเวณหลังคากับผนังถัง และบริเวณพืน้ ถังกับผนังถัง 3-14
3.5 การเจาะรูเพือ่ ติดตัง้ Nozzles และช่องคนลง 3-14
3.6 แนวทางการออกแบบถังเหล็กกล้าสําหรับเก็บของเหลวไวไฟ 3-17
4.1 ตัวอย่างรูปแสดงระยะห่างตามกฎหมายควบคุมอาคาร 4-2
4.2 ตัวอย่างรูปแสดงระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บสารเคมี 4-3
4.3 พืน้ ทีท่ ร่ี ถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือ “Shadow zone” 4-7
6.1 สลักสมอยึดถัง 6-6
6.2 แป้นหูชา้ ง 6-7
7.1 การระบายของเหลวทีร่ วไหลไปยัั่ งพืน้ ทีก่ กั เก็บทีอ่ ยูร่ ะยะไกล 7-3
7.2 การบริหารจัดการแผนฉุกเฉิน 7-4
8.1 ตัวอย่างเครือ่ งมือวัดความหนาด้วยคลื่นเสียงชนิดอุลตร้าโซนิก 8-3


สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้ า
1.1 เกณฑ์สาํ หรับของเหลวไวไฟตามระบบ GHS 1-1
1.2 ตัวอย่างสารเคมีประเภทของเหลวไวไฟ 1-4
1.3 องค์ประกอบการสือ่ สารความเป็ นอันตรายสําหรับของเหลวไวไฟ 1-5
1.4 รายละเอียดและสรุปสัญลักษณ์ต่างๆ ของระบบ NFPA 1-7
1.5 เปรียบเทียบข้อดี-ข้อจํากัดของถังเก็บสารเคมีชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่ 1-14
กับชนิดหลังคาเคลื่อนที่
3.1 แสดงชนิดและความดันในการออกแบบสําหรับถังเก็บ 3-1
3.2 การเลือกชนิดถังเก็บของเหลวไวไฟ 3-2
3.3 ชนิดของเหล็กกล้าสําหรับ Plate ของถังเก็บของเหลวไวไฟ 3-3
3.4 ชนิดของเหล็กกล้าสําหรับ ท่อ ข้อต่อ และวัสดุทต่ี อ้ งใช้การตีขน้ึ รูป 3-6
ของถังเก็บของเหลวไวไฟ
3.5 ความหนาตํ่าสุดของเหล็กสําหรับผนังถังเก็บทีย่ อมรับได้ : tmin (มิลลิเมตร) 3-10
4.1 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันไม่เกิน 17.2 psi 4-3
(หรือ 2.5 psig) ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร)
4.2 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันมากกว่า 17.2 psi 4-5
(หรือ 2.5 psig) ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร)
5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว 5-2
5.2 อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน 5-5
5.3 อุปกรณ์สาํ หรับป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน 5-7
5.4 อุปกรณ์สาํ หรับระบบป้องกันและระงับไฟไหม้ 5-8
6.1 กําลังแบกทานของดิน ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 6-2
6.2 ข้อดี ข้อเสีย ของฐานรากแต่ละประเภท 6-3
8.1 การป้องกันการกัดกร่อน 8-4
8.2 ความถีใ่ นการตรวจสอบแต่ละประเภท 8-5


บทที่ 1 ความรู้ทวไป
ั่

1.1 คําจํากัดความ
ตามคําจํากัดความของระบบ GHS “ของเหลวไวไฟ” หมายถึง ของเหลวทีม่ จี ุดวาบไฟไม่เกิน
93 องศาเซลเซียส
1.2 เกณฑ์การจําแนกประเภท
ด้วยคูม่ อื นี้มขี อบข่ายครอบคลุมถังเก็บของเหลวไวไฟ ดังนัน้ จึงยกแนวทางในการจําแนกประเภท
ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) ตามข้อกําหนดของระบบการจําแนกประเภทและติดฉลากสารเคมี
ทีเ่ ป็ นระบบเดียวกันทัวโลก ่ (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of
Chemicals) หรือระบบ GHS โดยตามแนวทางการจําแนกประเภทของระบบ GHS ของเหลวไวไฟ
จําแนกเป็ นประเภทย่อยได้สป่ี ระเภทย่อยแสดงดังตารางที่ 1.1

ตารางที่ 1.1 เกณฑ์สาํ หรับของเหลวไวไฟตามระบบ GHS


ประเภทย่อย เกณฑ์
1 จุดวาบไฟ (Flash point) < 23 องศาเซลเซียส และจุดเดือดเริม่ ต้น (Initial boiling point)
≤ 35 องศาเซลเซียส
2 จุดวาบไฟ < 23 องศาเซลเซียส และจุดเดือดเริม่ ต้น > 35 องศาเซลเซียส

3 จุดวาบไฟ ≥ 23 องศาเซลเซียส และ ≤ 60 องศาเซลเซียส

4 จุดวาบไฟ > 60 องศาเซลเซียส และ ≤ 93 องศาเซลเซียส

หมายเหตุ 1: นํ้ามันเชื้อเพลิงในตระกูลนํ้ามันดีเซลทีม่ ชี ว่ งจุดวาบไฟระหว่าง 55 องศาเซลเซียส ถึง 75 องศาเซลเซียส อาจพิจารณาเป็ น


กลุ่มพิเศษเพือวั
่ ตถุประสงค์ทางกฎหมายบางอย่าง
หมายเหตุ 2: ของเหลวทีม่ จี ดุ วาบไฟสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อาจพิจารณาเป็ นของเหลวไม่ไวไฟเพือ่ วัตถุประสงค์ทางกฎหมาย
บางอย่าง (เช่น กฎระเบียบของการขนส่ง) ถ้าไม่เป็นไปตามผลจากการทดสอบการเผาไหม้แบบยังยื ่ น (Sustained combustibility test)
ของคูม่ อื การทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนําในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติเป็นลบ
หมายเหตุ 3: ของเหลวไวไฟทีม่ คี วามหนืด (Viscous flammable liquids) เช่น สี สารเคลือบ แลคเกอร์ นํ้ามันขัดเงา กาว และนํ้ายาขัด
อาจพิจารณาว่าเป็ นกลุ่มพิเศษเพือวั
่ ตถุประสงค์ทางกฎหมายบางอย่าง (เช่น กฎระเบียบการขนส่ง) การจําแนกประเภทหรือการตัดสินใจว่า
ของเหลวไวไฟเหล่านี้วา่ เป็ นสารไม่ไวไฟอาจกําหนดโดยกฎหมายทีบ่ งั คับใช้กบั สารดังกล่าวหรือโดยพนักงานเจ้าหน้าที ่

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-1
1.3 สมบัติทางกายภาพ
ในการจัดเก็บของเหลวไวไฟ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจําเป็ นต้องทราบสมบัตทิ างกายภาพ
พืน้ ฐานของของเหลวไวไฟ ดังนี้

1.3.1 ความไวไฟ (Flammability) ในการพิจารณาความไวไฟของสาร จะต้องใช้คุณสมบัตห


ิ ลายอย่าง
ของสารมาประกอบ ดังต่อไปนี้
 จุดวาบไฟ (Flash point) หมายถึง อุณหภูมขิ องของเหลวแต่ละชนิด ซึง่ เมือ่ ของเหลวนัน้
ได้รบั ความร้อนถึงอุณหภูมนิ ้ีแล้ว จะทําให้สารเกิดการระเหยกลายเป็ นไอ เกิดแสงวาบ (Flash
light) ขึน้ อย่างรวดเร็วเป็ นครัง้ แรก และสามารถสร้างส่วนผสมทีต่ ดิ ไฟได้ ซึง่ ส่วนผสมนัน้
สามารถจุดติดไฟได้เป็ นระยะเวลานาน และสามารถขยายเปลวไฟไปได้ไกลจากจุดเริม่ ต้น
เป็ นค่าทีช่ ใ้ี ห้เห็นถึงความไวไฟ หรือความยากง่ายในการติดไฟ หรือการระเบิดของสาร ถ้าสาร
ใดมีจุดวาบไฟนี้ต่าํ แสดงว่า สารนัน้ จะไวไฟมากหรือจะเกิดการติดไฟ หรือเกิดการระเบิดได้ท่ี
อุณหภูมติ ่าํ กว่า หรือง่ายกว่าสารทีม่ จี ุดวาบไฟสูง1
วิธที ดสอบจุดวาบไฟสามารถทดสอบได้ 2 วิธี คือ Open cup และ Closed cup ซึง่ จะทํา
ได้จากการทดลอง โดยเอาสารทีต่ อ้ งการหาจุดวาบไฟใส่ในถ้วยโลหะ แล้วค่อยๆ เพิม่ ความ
ร้อนให้สงู ขึน้ พร้อมกับจุดไฟในช่วงทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ แต่ละช่วง จนได้แสงวาบขึน้ ครัง้ แรก
โดย Open cup จะทดลองในถ้วยเปิ ด ขณะที่ Closed cup จะทดลองในถ้วยปิด สําหรับจุดวาบ
ไฟทีห่ าจากวิธี Closed cup จะเป็ นอุณหภูมทิ ใ่ี ช้อา้ งอิงการเกิดจุดวาบไฟในถังปิ ด และบริเวณ
ทีอ่ บั อากาศ ขณะทีจ่ ุดวาบไฟทีห่ าจากวิธี Open cup จะเป็ นอุณหภูมทิ ใ่ี ช้อา้ งอิงกับถังเปิ ดหรือ
สถานการณ์สารเคมีหกรัวไหล ่
 อุณหภูมิติดไฟ (Ignition temperature) หมายถึง อุณหภูมทิ ท่ี าํ ให้สารร้อนจนจุดติดไฟได้
เมือ่ มีแหล่งความร้อนจากภายนอก
 อุณหภูมิลกุ ติ ดไฟได้เอง (Auto-Ignition temperature) หมายถึง อุณหภูมทิ ส่ี ารประเภท
ติดไฟได้ จะเกิดการลุกเป็ นเปลวไฟขึน้ มาได้เอง โดยไม่มแี หล่งประกายไฟจากภายนอก1
 ช่วงของการระเบิด (Explosion range) จะถูกกําหนดให้อยูใ่ นรูปของอัตราส่วนร้อยละของไอ
ของของเหลวไวไฟ (Flammable vapor) หรือ ก๊าซไวไฟ (Flammable gas) ทีอ่ ยูใ่ นอากาศ
ทีส่ ามารถเกิดการลุกติดไฟได้ ช่วงของการระเบิดจะเป็นค่าระหว่างปริมาณเปอร์เซ็นต์ของก๊าซ
หรือไอระเหยมากทีส่ ดุ ทีผ่ สมกับอากาศ จนเกิดเป็ นส่วนผสมทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะทําให้เกิดการ
ระเบิดได้ หรือ Upper Explosive Limit (UEL) และปริมาณเปอร์เซ็นต์ของก๊าซหรือไอระเหย
ขัน้ ตํ่าทีผ่ สมกับอากาศ จนเกิดเป็ นส่วนผสมทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะทําให้เกิดการระเบิดได้หรือ Lower
Explosive Limit (LEL)2 ช่วงของการระเบิดแสดงดังรูปที่ 1.1
1
คลังศัพท์ไทย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2
คูม่ อื การตรวจสอบ ติดตัง้ ระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในพืน้ ทีอ่ นั ตรายทีม่ ไี อระเหยของสารไวไฟ สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม

1-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 1.1 ช่วงของการระเบิด3

ตัวอย่าง เมทานอลมีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของไอระเหยขัน้ ตํ่าทีผ่ สมกับอากาศจนทําให้เกิดการระเบิด


(LEL) ประมาณ 6.7 และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของไอระเหยมากทีส่ ดุ ทีผ่ สมกับอากาศจนทําให้เกิดการ
ระเบิด (UEL) ประมาณ 36 หมายความว่า ถ้าไอของเมทานอลผสมอยูใ่ นอากาศระหว่าง 6.7 เปอร์เซ็นต์
และ 36 เปอร์เซ็นต์ และในขณะเดียวกันกับทีม่ กี ารนําแหล่งความร้อนทีท่ าํ ให้เกิดการลุกติดไฟเข้ามาใน
บริเวณดังกล่าว ไอเมทานอลจะสามารถเกิดลุกติดไฟและระเบิดขึน้ ได้ หากปริมาณของไอเมทานอล
ในอากาศมีคา่ ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ (<LEL) จะไม่สามารถลุกติดไฟได้เพราะส่วนผสมเจือจางเกินไป
และในกรณีปริมาณของไอเมทานอลมีคา่ ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ (> UEL) ส่วนผสมดังกล่าวก็จะ
หนาแน่นเกินกว่าทีจ่ ะเกิดการระเบิด

1.3.2 ความดันไอ (Vapor pressure) หมายถึง ความดันทีเ่ กิดจากโมเลกุลของสารระเหยเป็ นไอ


แล้วชนกับผนังของภาชนะทําให้เกิดความดันขึน้ ในระบบปิด4
1.3.3 จุดเดือด (Boiling point) หมายถึง อุณหภูมขิ ณะทีค่ วามดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับ
ความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมนิ ้ี ของเหลวจะเปลีย่ นสถานะกลายเป็ นไอได้ทวทั ั ่ ง้ หมด5
1.3.4 ความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) หมายถึง อัตราส่วนโดยนํ้าหนักของวัตถุกบั นํ้าหนักของ
สารมาตรฐานทีม่ ปี ริมาตรเท่ากับวัตถุนนั ้ โดยทัวไปใช้ ่ น้ําบริสทุ ธิ ์ทีอ่ ุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
5
เป็ นสารมาตรฐาน (โดยความถ่วงจําเพาะจะถูกนําไปใช้ในขัน้ ตอนการคํานวณความหนาของ
ผนังถังเก็บและนํ้าหนักของถังเก็บในบทที่ 3)
1.3.5 ความเสถียร (Stability) เป็ นความสามารถในการคงตัวของสารเคมี ทัง้ ทางด้านกายภาพ และ
เคมี ซึง่ จะใช้บอกว่าสารเคมีนนั ้ อยูใ่ นกลุ่มทีเ่ ป็ น Stable หรือ Unstable และจะต้องนํามาพิจารณา
ในการกําหนดระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บในบทที่ 4 สําหรับ NFPA ได้ให้คาํ จํากัดความ
ของของเหลวในกลุ่มทีเ่ ป็ น Stable หรือ Unstable ดังนี้

3
ปรับปรุงรูปจาก http://www.exveritas.com/introduction-to-expolsive-atmospheres/
4
พจนานุกรมเคมี (Dictionary of Chemistry), ISBN 978-616-7136-73-8 โดย รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิศรี

5
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และสามารถสืบค้นจาก http://www.royin.go.th/dictionary/

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-3
 Unstable liquid : เป็ นของเหลวทีส่ ามารถเกิดปฏิกริ ยิ าพอลิเมอร์ไรเซชัน่ สลายตัว ควบแน่น
ภายใต้สภาวะการทํางานปกติ
 Stable liquid : เป็ นของเหลวทีไ่ ม่สามารถเกิดปฏิกริ ยิ าพอลิเมอร์ไรเซชัน่ สลายตัว ควบแน่น
ภายใต้สภาวะการทํางานปกติ

โดยสมบัตทิ ก่ี ล่าวถึงข้างต้น ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานสามารถหาได้จาก เอกสารข้อมูลความ


ปลอดภัย (Safety Data Sheet ; SDS) สําหรับตัวอย่างของเหลวไวไฟแสดงตัวอย่างดังตารางที่ 1.2

ตารางที่ 1.2 ตัวอย่างสารเคมีประเภทของเหลวไวไฟ


ความ จุดวาบไฟ จุดเดือด อุณหภูมิลกุ ติ ด
รายชื่อสารเคมี
ถ่วงจําเพาะ (°C) (°C) ไฟได้เอง (°C)
Acetaldehyde 0.78 -39 20.5 140
n-Pentane 0.75 -49 35 260
Acetone > 75% W/W 0.78 -17.78 56.05 465
Acrylonitrile 0.81 -0.2 77.3 480
Benzene 0.88 -11 80 560
Ethyl acetate > 75% W/W 0.90 -4 75 - 78 -
Ethylene dichloride 1.25 13 84 440
Ethyl acrylate 0.92 16 100 399
Methanol (Methyl alcohol) 0.79 11 64 464
Methyl methacrylate 1.20 10 100 430
Methyl ethyl ketone 0.81 -7 82 404
Methyl acrylate 0.95 -2.7 80.5 463
Methyl isobutyl ketone 0.80 14 115.9 448
Toluene 0.87 4.4 110.6 -
Vinyl acetate monomer 0.93 -8 72-73 385
Aniline 1.02 70 184 -
หมายเหตุ - หมายถึง ไม่มขี อ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้องระบุในเอกสารความปลอดภัย (Not Applicable)

1-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
1.4 การสื่อสารความเป็ นอันตราย
เนื่องจากปจั จุบนั ยังไม่มขี อ้ กําหนดเรือ่ งการสือ่ สารความเป็ นอันตรายทีถ่ งั เก็บของเหลวไวไฟ
ในคูม่ อื ฉบับนี้แนะนําให้การสือ่ สารความเป็ นอันตรายทีถ่ งั เก็บของเหลวไวไฟ ควรเป็ นไปตามข้อกําหนด
ในระบบ GHS และ/หรือ NFPA ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั กฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องทีก่ าํ หนดโดยหน่วยงานทีก่ าํ กับ
ดูแลของเหลวไวไฟในแต่ละประเภท โดยสัญลักษณ์ของเหลวไวไฟตามระบบ GHS และความหมายของ
สัญลักษณ์ในแต่ละประเภทย่อยแสดงดังตารางที่ 1.3

ตารางที่ 1.3 องค์ประกอบการสือ่ สารความเป็ นอันตรายสําหรับของเหลวไวไฟ


ประเภท รูปสัญลักษณ์ คําสัญญาณ ข้อความแสดงความเป็ นอันตราย
ย่อย (Pictogram) (Signal word) (Hazard statement)
1 อันตราย ของเหลวและไอระเหยไวไฟสูงมาก

2 อันตราย ของเหลวและไอระเหยไวไฟสูง

3 ระวัง ของเหลวและไอระเหยไวไฟ

4 ไม่มรี ปู สัญลักษณ์ ระวัง ของเหลวติดไฟได้

การสือ่ สารความเป็ นอันตรายตามมาตรฐาน NFPA ใช้สญ ั ลักษณ์สเ่ี หลีย่ มรูปข้าวหลามตัด


(Diamond shape) แบ่งเป็ น 4 ส่วน สําหรับความเป็ นอันตรายจากความไวไฟ (สีแดง) ใช้รว่ มกับความ
เป็ นอันตรายด้านอื่น ได้แก่ อันตรายต่อสุขภาพ (สีน้ําเงิน) การทําปฏิกริ ยิ าทีเ่ ป็ นอันตราย (สีเหลือง) และ
ความเป็ นอันตรายเฉพาะอืน่ ๆ เช่น ห้ามใช้น้ําในการดับเพลิง การกัดกร่อน กรด เป็ นต้น (สีขาว) แสดง
ดังรูปที่ 1.2 ทัง้ นี้ระดับความเป็ นอันตรายทีต่ วั เลขสูงจะมีความเป็ นอันตรายสูง ซึง่ กลับกันกับความเป็ น
อันตรายของระบบ GHS สําหรับตัวอย่างการใช้สญ ั ลักษณ์การสือ่ สารตามมาตรฐาน NFPA บนถังเก็บ
ของเหลวไวไฟแสดงดังรูปที่ 1.3 และสรุปรายละเอียดและความหมายของสีและสัญลักษณ์ตามมาตรฐาน
NFPA ดังตารางที่ 1.4

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-5
Flammable

Health Reactivity

Special

รูปที่ 1.2 ป้ายแสดงความเป็นอันตรายของสารเคมีตามมาตรฐาน NFPA

รูปที่ 1.3 ตัวอย่างการติดป้ายแสดงความเป็ นอันตรายบนถังเก็บสารเคมีตามมาตรฐาน NFPA

1-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ตารางที่ 1.4 รายละเอียดและสรุปสัญลักษณ์ต่างๆ ของระบบ NFPA

สีแดง : อันตรายจากความไวไฟ สามารถแบ่งออกได้เป็ น 5 ระดับ คือ

ระดับ ความหมาย

0 ไม่ตดิ ไฟ
ต้องทําให้รอ้ นขึน้ ก่อนจึงจะสามารถลุกไหม้หรือติดไฟได้
1
จุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 องศาเซลเซียส
ต้องทําให้อุ่นขึน้ หรือสูงกว่าอุณหภูมโิ ดยรอบจึงจะสามารถลุกไหม้ได้
2
จุดวาบไฟตัง้ แต่ 37.8 แต่ไม่ถงึ 93.4 องศาเซลเซียส
สามารถติดไฟได้ภายใต้อุณหภูมโิ ดยรอบในเกือบทุกสภาวะ
3
จุดวาบไฟตัง้ แต่ 22.8 แต่ไม่ถงึ 37.8 องศาเซลเซียส
4 มีไอและติดไฟได้งา่ ยทีอ่ ุณหภูมปิ กติ จุดวาบไฟตํ่ากว่า 22.8 องศาเซลเซียส

สีนํ้าเงิ น : อันตรายต่อสุขภาพ สามารถแบ่งออกได้เป็ น 5 ระดับ คือ

ระดับ ความหมาย

0 ไม่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพ

1 สามารถทําให้เกิดการระคายเคือง

2 สามารถทําให้สญ
ู เสียความสามารถชัวขณะหรื
่ อบาดเจ็บเล็กน้อย

3 สามารถทําให้บาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือถาวร

4 สามารถทําให้เสียชีวติ ได้

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-7
สีเหลือง :การทําปฏิ กิริยาที่เป็ นอันตราย สามารถแบ่งออกได้เป็ น 5 ระดับ คือ

ระดับ ความหมาย

0 เสถียร

1 ปกติเสถียร, ไม่เสถียรเมือ่ อุณหภูมสิ งู ขึน้

2 เกิดการเปลีย่ นแปลงทางเคมีอย่างรุนแรงทีอ่ ุณหภูมหิ รือความดันสูง

3 อาจระเบิดได้ทอ่ี ุณหภูมสิ งู หรือเมือ่ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง

4 อาจระเบิดได้ทอ่ี ุณหภูมแิ ละความดันปกติ

สีขาว : อันตรายเฉพาะ

สัญลักษณ์ ความหมาย

ทําปฏิกริ ยิ าอย่างรุนแรงหรือระเบิดอย่างรุนแรงกับนํ้า

COR สารกัดกร่อน

OX สารออกซิไดซ์

สารกัมมันตรังสี

ACID กรด

ALK ด่าง

ทําปฏิกริ ยิ าอย่างรุนแรงหรือระเบิดเมือ่ สัมผัสนํ้าและสารออกซิไดซ์

1-8 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
1.5 ชนิ ดของถังเก็บสารเคมีโดยทัวไป

ในปจั จุบนั ถังเก็บสารเคมีทใ่ี ช้ในภาคอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็ น 3 ชนิด ดังรูปที่ 1.4
สําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ สามารถใช้เป็ นถังชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่ (Fixed roof tank) และถังชนิด
หลังคาเคลื่อนทีภ่ ายใน (Internal floating roof tank)

รูปที่ 1.4 ชนิดของถังเก็บสารเคมี

1.5.1 ถังเก็บสารเคมีชนิ ดหลังคาไม่เคลื่อนที่ (Fixed roof tank)

ถังชนิดนี้สว่ นใหญ่นิยมใช้ในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ หรือสารเคมีทไ่ี ม่ได้มสี มบัตริ ะเหยง่าย


ทีอ่ ุณหภูมแิ วดล้อม (Ambient temperature) หรือสภาวะทีจ่ ดั เก็บสารเคมีนนั ้ ๆ ยกตัวอย่างเช่น
นํ้ามันหล่อลื่น หรือ สารเคมีทวไป
ั่
ถังชนิดทีม่ หี ลังคาไม่เคลื่อนที่ จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ส่วนผนังของถังซึง่ ส่วนใหญ่ผลิต
จากผนังเหล็กและเป็ นทรงกระบอก และ (2) ส่วนของหลังคาทีย่ ดึ ติดถาวร ในส่วนนี้อาจจะมีรปู ทรงที่
หลากหลายแตกต่างกันตัง้ แต่แบบกรวย (Cone) หรือแบบโดม (Dome) ซึง่ ลักษณะหลังคาแต่ละชนิดก็จะ
เหมาะสมสําหรับการใช้งานทีค่ วามดันแตกต่างกัน ตัวอย่างส่วนประกอบพืน้ ฐานของถังแบบหลังคา
ไม่เคลื่อนที่ แสดงดังรูปที่ 1.5

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-9
รูปที่ 1.5 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่

ตามมาตรฐาน API 650 : Welded Tanks for Oil Storage ได้อธิบายรายละเอียดของลักษณะ


หลังคาของแต่ละประเภทไว้ดงั นี้

 Supported cone roof tank หมายถึงถังทีห่ ลังคามีโครงสร้างแบบกรวยและมีการออกแบบ


หลังคาลักษณะแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
- แบบ 1 : มีคานคํ้าหลังคาหรือจันทัน (Rafter) ทีว่ างบนคานหลัก (Girder) และมีเสาคํ้า
(Column) เพือ่ รับนํ้าหนักของหลังคา หรือ
- แบบ 2 : มีคานคํ้าหลังคา (Rafter) บนโครงถัก (Trusses) เพือ่ รับนํ้าหนักของหลังคา
โดยทีอ่ าจมีเสาคํ้าหรือไม่มเี สาคํ้าก็ได้

1-10 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
คานหลัก จันทัน จันทัน

โครงถัก
เสาคํา้

Supported cone roof แบบ 1 Supported cone roof แบบ 2


 Self-supporting cone roof tank หมายถึงถังทีห่ ลังคามีโครงสร้างแบบกรวยและมีการ
ออกแบบหลังคาโดยทีต่ วั หลังคาทําหน้าทีร่ บั นํ้าหนักและภาระต่างๆ ทีม่ ากระทํา (Load)
โดยไม่มโี ครงสร้างอื่นมาช่วยรับนํ้าหนักของหลังคาเพิม่ นอกจากจุดรับนํ้าหนักทีข่ อบของถัง
เท่านัน้

Self-supporting cone roof tank

 Self-supporting dome roof tank หมายถึงถังทีห่ ลังคามีโครงสร้างแบบโดม และมีการ


ออกแบบโดยทีต่ วั หลังคาทําหน้าทีร่ บั นํ้าหนักและภาระต่างๆ ทีม่ ากระทํา โดยไม่มโี ครงสร้าง
อื่นมาช่วยรับนํ้าหนักของหลังคาเพิม่ นอกจากจุดรับนํ้าหนักทีข่ อบของถังเท่านัน้

Self-supporting dome roof tank

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-11
1.5.2 ถังเก็บสารเคมีชนิ ดหลังคาเคลื่อนที่ (Floating roof tank)

ถังชนิดนี้ หลังคาของถังจะไม่ได้ยดึ ติดอยูก่ บั ทีแ่ ต่สามารถเคลื่อนทีข่ น้ึ -ลงได้ตามระดับของเหลวที่


เปลีย่ นไป ซึง่ ถังแบบนี้มขี อ้ ดีทส่ี ามารถช่วยลดความเสีย่ งอันตราย จากการสะสมของความดันไอของ
สารเคมีในช่องว่างทีอ่ ยูเ่ หนือของเหลวทีจ่ ดั เก็บภายในถังได้
สําหรับถังชนิดนี้ สามารถนํามาใช้จดั เก็บของเหลวทีม่ คี า่ ความดันในการออกแบบน้อยกว่า
17.2 psi ทีส่ ภาวะการทํางานนัน้ ๆ กรณีถา้ ค่าความดันในการออกแบบมากกว่า 17.2 psi จะต้อง
เปลีย่ นเป็ นถังเก็บสารเคมีทม่ี แี รงดัน (Pressure tank) หรือมีการติดตัง้ ระบบ Vapor recovery เพิม่ เติม
นอกจากนัน้ ถังประเภทนี้ยงั สามารถนํามาใช้ในการจัดเก็บของเหลวทีม่ จี ุดวาบไฟตํ่ากว่าอุณหภูมิ
แวดล้อม หรือสภาวะทีจ่ ดั เก็บสารเคมี รวมทัง้ ของเหลวทีม่ โี อกาสเกิดประจุจากไฟฟ้าสถิตได้งา่ ย ซึง่ ถัง
แบบนี้สามารถแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ดังนี้
 External floating roof tank ถังชนิดนี้ ถูกออกแบบมาสําหรับการจัดเก็บของเหลวหรือ
สารเคมีทค่ี วามดันบรรยากาศทัวไป ่ มีลกั ษณะหลังคาแบบเปิ ดภายนอกด้านบน ทีส่ ามารถ
เลื่อนขึน้ หรือลงตามระดับของของเหลวภายในถังได้ ซึง่ ส่วนใหญ่จะแนะนําให้ใช้สาํ หรับถังทีม่ ี
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า หรือเท่ากับ 15 เมตร อย่างไรก็ตามถังแบบนี้สามารถนํามา
ประยุกต์ใช้กรณีทถ่ี งั มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆ ได้ แต่จะต้องคํานึงเสมอว่าเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของถังจะต้องมีคา่ เท่ากับความสูงเพือ่ ให้สามารถติดตัง้ และใช้งานบันไดแบบ Rolling
ladder ในการเข้าถึงส่วนบนของหลังคา ข้อดีของหลังคาถังชนิดนี้ คือ หลังคาสามารถเคลื่อนที่
ขึน้ -ลงตามระดับของของเหลวภายในถังเก็บสารเคมี บริเวณของ External floating deck จะมี
Rim seal ติดตัง้ อยูเ่ พือ่ ลดการสูญเสียจากการระเหย (Evaporation losses) ของของเหลว
ภายในถังเก็บสารเคมี (รูปที่ 1.6)

รูปที่ 1.6 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายนอก (External floating roof tank)

1-12 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
 Internal floating roof tank ถังชนิดนี้ ได้พฒ ั นาจากถังชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายนอกทัวไป

จะมีหลังคาชนิดไม่เคลื่อนทีอ่ ยูภ่ ายนอกด้านบนของหลังคาชนิดเคลื่อนที่ เพือ่ ช่วยป้องกันการ
เกิดฟ้าผ่าบริเวณหลังคาของถังเก็บสารเคมี ช่องว่างระหว่างหลังคาชนิดไม่เคลื่อนทีแ่ ละ
หลังคาชนิดเคลื่อนทีอ่ อกแบบมาเพือ่ ใช้ในการหมุนเวียน และถ่ายเทอากาศสูส่ งิ่ แวดล้อม
ภายนอก ด้วยการออกแบบแบบนี้จะช่วยให้การสะสมของไอระเหยของสารเคมีหรือของเหลวที่
จัดเก็บในถังเก็บสารเคมีลดลง และลดโอกาสการเกิดการลุกติดไฟของไอระเหยดังกล่าว
สําหรับส่วนประกอบพืน้ ฐานของถังชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายในแสดงในรูปที่ 1.7 สําหรับ
ลักษณะหลังคาไม่เคลื่อนทีท่ อ่ี ยูภ่ ายนอกด้านบน สามารถดูรายละเอียดเพิม่ เติมประกอบในถัง
ชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่

รูปที่ 1.7 ส่วนประกอบของถังเก็บชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายใน (Internal floating roof tank)

โดยถังเก็บสารเคมีชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่กบั ชนิดหลังคาเคลื่อนที่มขี อ้ ดี และข้อจํากัดสรุปดัง


ตารางที่ 1.5

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-13
ตารางที่ 1.5 เปรียบเทียบข้อดี-ข้อจํากัดของถังเก็บสารเคมีชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่กบั ชนิดหลังคา
เคลื่อนที่
ชนิ ดของถังเก็บสารเคมี ข้อดี ข้อจํากัด
Fixed roof tank ประเภท - ออกแบบและติดตัง้ ง่าย - เหมาะใช้สาํ หรับของเหลวทีม่ คี ่าจุด
- Supported cone roof tank - เหมาะสําหรับกรณีทพ่ี น้ื ทีถ่ งั มีจาํ กัด วาบไฟมากกว่า 60 °C แต่สามารถ
- Self-supporting cone roof นํามาใช้กบั ของเหลวทีจ่ ุดวาบไฟน้อย
tank กว่า 60 °C กรณีทถ่ี งั มีเส้นผ่าน
ศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เมตร1/
- ต้องก่อสร้างฐานรากทีแ่ ข็งแรงมากกว่า
เนื่องจากหลังคาแบบกรวยมีน้ําหนัก
มากกว่าหลังคาแบบโดม ราคาการ
ก่อสร้างฐานรากสูงกว่า
- อาจพิจารณาใช้ระบบควบคุม (Control
system) ทีเ่ หมาะสมรวมถึงควรจะมี
ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจน
หรือก๊าซเฉื่อย (Nitrogen/Inert gas
blanketing)2/
Fixed roof tank ประเภท - หลังคาทรงครึง่ วงกลม มีน้ําหนัก - เหมาะใช้สาํ หรับของเหลวทีม่ คี ่าจุด
Self-supporting dome roof น้อยกว่าหลังคาแบบกรวย ฐานราก วาบไฟมากกว่า 60 °C แต่สามารถ
tank รับนํ้าหนักน้อยกว่า ราคาการ นํามาใช้กบั ของเหลวทีจ่ ุดวาบไฟน้อย
ก่อสร้างฐานรากตํ่ากว่า กว่า 60 °C กรณีทถ่ี งั มีเส้นผ่าน
ศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เมตร
- ออกแบบและติดตัง้ ยาก
- ไม่เหมาะสําหรับกรณีทพ่ี น้ื ทีถ่ งั มีจาํ กัด
- อาจพิจารณาใช้ระบบควบคุม (Control
system) ทีเ่ หมาะสมรวมถึงควรจะมี
ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจน
หรือก๊าซเฉื่อย
External floating roof tank - ไม่มชี อ่ งว่างทีเ่ ป็ นพืน้ ทีข่ องไอระเหย - เหมาะใช้สาํ หรับของเหลวทีม่ คี ่าจุด
ลดโอกาสการสะสมของไอระเหย วาบไฟน้อยกว่า 60 °C
และโอกาสทีอ่ าจเกิดบรรยากาศที่ - เหมาะสําหรับถังทีม่ เี ส้นผ่านศูนย์กลาง
สามารถติดไฟได้ 15 เมตรขึน้ ไป
- ลดการสูญเสียของเหลวเนื่องจากการ
ระเหย
- ช่วยลดการเกิดการปนเปื้ อนใน
อากาศ (Air pollution)

1-14 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ตารางที่ 1.5 เปรียบเทียบข้อดี-ข้อจํากัดของถังเก็บสารเคมีชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่กบั ชนิดหลังคา
เคลื่อนที่ (ต่อ)
ชนิ ดของถังเก็บสารเคมี ข้อดี ข้อจํากัด
Internal floating roof tank - ไม่มชี อ่ งว่างทีเ่ ป็ นพืน้ ทีข่ องไอระเหย - เหมาะใช้สาํ หรับของเหลวทีม่ คี ่าจุด
ลดโอกาสการสะสมของไอระเหย วาบไฟน้อยกว่า 60 °C
และโอกาสทีอ่ าจเกิดบรรยากาศที่ - เหมาะสําหรับถังทีม่ เี ส้นผ่านศูนย์กลาง
สามารถติดไฟได้ 15 เมตรขึน้ ไป
- ช่วยลดการเกิดการปนเปื้ อนใน - ราคาในการก่อสร้างสูง
อากาศ (Air pollution)
- ช่วยเพิม่ การป้องกันการเกิดเพลิง
ไหม้ได้
- มีอตั ราการปล่อยระบายไอออกสู่
ภายนอก (Vapor emission)
น้อยกว่าถังเก็บของเหลวชนิดหลังคา
เคลื่อนทีภ่ ายนอก เนื่องจาก ไม่ได้รบั
ผลกระทบจากการพัดของกระแสลม
(Wind effect)
หมายเหตุ จุดวาบไฟ ใช้การทดสอบด้วยวิธถี ว้ ยปิด (Closed-cup flash point)
1/ กรณีเลือกใช้ถงั เก็บแบบ Fixed roof tank สําหรับจัดเก็บของเหลวทีม่ จี ดุ วาบไฟน้อยกว่า 60 °C จะต้องพิจารณาถึงการติดตัง้ ระบบ
ความปลอดภัยเพิม่ เติม เช่น ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซเฉื่อย (Nitrogen/Inert gas blanketing)
2/ การพิจารณาใช้ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซเฉื่อย ให้พจิ ารณาจากชนิดของสาร ความอันตราย จุดวาบไฟ ผลกระทบ
ต่อสิง่ แวดล้อม ความดันไอของสารเหนือผิวของเหลว และอุณหภูมแิ วดล้อม ทีจ่ ดั เก็บสารเคมีนนั ้ ๆ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-15
บทที่ 2 กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากในปจั จุบนั กฎหมาย ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับถังเก็บสารเคมีใน


ประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมในทุกด้าน ดังนัน้ ในบทนี้จงึ ได้ดาํ เนินการรวบรวมกฎหมายจากหน่วยงาน
ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ สรุปแนวทางในการปฏิบตั ิ เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบกิจการโรงงานได้เกิดความเข้าใจ และ
สามารถนําไปประยุกต์ใช้เป็ นแนวทางในการดําเนินกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกับถังเก็บสารเคมีได้อย่าง
เหมาะสมตัง้ แต่ขนั ้ ตอนการขออนุญาต การใช้ และมาตรการความปลอดภัยเพือ่ ก่อให้เกิดความปลอดภัย
ทัง้ ชีวติ ทรัพย์สนิ ตลอดจนสิง่ แวดล้อมทีอ่ ยูบ่ ริเวณโดยรอบของสถานประกอบการ สําหรับรายการ
กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องแบ่งตามการดําเนินงานแสดงดังนี้
2.1 การขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บสารเคมี

ตาม กฎกระทรวงมหาดไทย เรือ่ ง กําหนดสิ ง่ ทีส่ ร้างขึ้นอย่างอืน่ เป็ นอาคารตามกฎหมาย


ว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ภายใต้พระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กาํ หนดให้
ถังเก็บของทีม่ คี วามจุตงั ้ แต่ 100 ลูกบาศก์เมตรขึน้ ไป เป็ น “อาคาร” ทีถ่ ูกควบคุมและจะต้องขออนุญาต
ก่อสร้างกับหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในพืน้ ทีท่ โ่ี รงงานตัง้ อยู่ ดังนัน้ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานทีจ่ ะสร้าง
ถังเก็บจะต้องยืน่ ขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บ นอกจากนี้ กฎกระทรวงฉบับที ่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตาม
ความในพระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ยังกําหนดให้อาคารหรือสิง่ ทีส่ ร้างขึน้ สูงเกิน 15 เมตร
หรืออาคารทีใ่ ช้เก็บวัสดุไวไฟ วัสดุระเบิด หรือวัสดุกระจายแพร่พษิ จึงถือว่าถังนัน้ เป็ น “อาคารพิเศษ”
ทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ ามข้อกําหนดในพระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
สําหรับถังเก็บสารเคมีทม่ี ปี ริมาณน้อยกว่า 100 ลูกบาศก์เมตร ไม่นบั ว่าเป็ นอาคารจึงไม่
จําเป็ นต้องขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บ แต่ถา้ มีการก่อสร้างฐานรากเพือ่ วางถังเก็บผูป้ ระกอบกิจการ
โรงงานจําเป็ นต้องแจ้งยืน่ ขออนุ ญาตการก่อสร้างฐานรากกับหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในแต่ละพืน้ ทีด่ ว้ ย
 รายการเอกสารที่ใช้ขออนุญาต
- แบบคําขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (แบบ ข.1)
- แผนผังบริเวณ จํานวน 5 ชุด
- แบบแปลน จํานวน 5 ชุด
- รายการประกอบแบบ จํานวน 5 ชุด
- รายการคํานวณ จํานวน 1 ชุด
- หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผูอ้ อกแบบและคํานวณ จํานวน 1 ชุด
และสําเนาใบอนุญาตเป็ นผูป้ ระกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ
สถาปตั ยกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-1
 ขัน้ ตอนการขออนุญาต

ในขัน้ ตอนการก่อสร้างถังเก็บสารเคมีนนั ้ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องยืน่ แบบคําขออนุ ญาต


ก่อสร้างอาคาร (แบบ ข.1) พร้อมเอกสารต่างๆ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สําหรับในเขตพืน้ ที่
กรุงเทพมหานครจะต้องยืน่ ทีก่ รมโยธาธิการและผังเมืองเพือ่ พิจารณาคําขออนุญาตฯ ซึง่ สามารถสรุป
ขัน้ ตอนการขออนุญาตก่อสร้างอาคารดังรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.1 ขัน้ ตอนการขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บสารเคมีตามพระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

2-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
2.2 การดําเนิ นงานเกี่ยวกับถังเก็บสารเคมี

ตาม กฎกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที ่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ


โรงงาน พ.ศ. 2535 ข้อ 7 กําหนดข้อปฏิบตั เิ กีย่ วกับถังเก็บสารเคมีทบ่ี รรจุวตั ถุอนั ตราย เช่น วัตถุไวไฟ
วัตถุระเบิด หรือของเหลวทีอ่ าจทําให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์หรือสิง่ แวดล้อมทีม่ ขี นาด
ตัง้ แต่ 25,000 ลิตรขึน้ ไป ดังนี้
 ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานต้องมันใจว่ ่ าถังทีก่ ่อสร้างขึน้ มีความมันคง ่ และแข็งแรง เป็ นไปตาม
มาตรฐานทีย่ อมรับ
 ถังเก็บจะต้องมีใบรับรองของผูป้ ระกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
 ถังเก็บจะต้องมีเขือ่ นหรือกําแพงคอนกรีตโดยรอบทีส่ ามารถกักเก็บปริมาณของเหลวได้ทงั ้ หมด
แต่กรณีทใ่ี นพืน้ ทีก่ กั เก็บมีถงั มากกว่าหนึ่งถัง ให้สร้างเขือ่ นทีส่ ามารถเก็บกักปริมาณของเหลวได้
เท่ากับปริมาตรของถังเก็บขนาดใหญ่ทส่ี ดุ
 ต้องจัดให้มวี ตั ถุหรือเคมีภณ ั ฑ์ทม่ี สี มบัตเิ หมาะสมในการระงับหรือลดความรุนแรงของการแพร่
กระจายได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
 ถังควรตัง้ อยูใ่ นทีโ่ ล่งแจ้ง และควรติดตัง้ สายล่อฟ้าให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
 ถังควรติดตัง้ สายดิน เพือ่ ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต

นอกจากนี้ยงั มีกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องการดําเนินงานด้านความปลอดภัย และการป้องกันและระงับ


อัคคีภยั ทีก่ าํ หนดโดยกระทรวงแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัตคิ วามปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 คือ กฎกระทรวงแรงงาน เรือ่ ง กําหนดมาตรฐานในการ
บริ หาร จัดการ และดําเนิ นการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางานเกีย่ วกับการป้ องกันและระงับอัคคีภยั พ.ศ. 2555 ข้อ 25 กําหนดข้อปฏิบตั ทิ เ่ี กีย่ วข้องกับ
ความปลอดภัยของถังเก็บเพิม่ เติมคือ
 ให้มรี ะบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสําหรับถังเก็บสารเคมี โดยการติดตัง้ ระบบป้องกันอันตราย
จากฟ้าผ่าให้ปฏิบตั ติ ามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์
 จัดเตรียมเครือ่ งดับเพลิงแบบเคลื่อนย้าย ระบบดับเพลิงแบบอัตโนมัติ ในบริเวณพืน้ ทีถ่ งั เก็บทีม่ ี
เจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปทํางาน
 จัดให้มกี ารตรวจสอบอุปกรณ์ดบั เพลิงเพือ่ ให้มสี ภาพพร้อมใช้งานเป็ นประจําทุก 6 เดือน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-3
ตัวอย่างแบบคําขออนุญาตก่อสร้าง ข.1

2-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
แบบ ข.1
คําขออนุญาตกอสรางอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
เลขรับที่……………….
วันที…
่ …………………
ลงชื่อ…………ผูรับคําขอ
เขียนที.่ ..........................................................................
วันที่.......................... เดือน.................................................พ.ศ………….………
ขาพเจา…………………………………………………เจาของอาคารหรือตัวแทนเจาของอาคาร
เปนบุคคลธรรมดา อยูบานเลขที่……………….ตรอก/ซอย……………………………
ถนน…………………หมูท ี่………..ตําบล/แขวง…………………….อําเภอ/เขต……….………..จังหวัด…………………
เปนนิติบุคคลประเภท………….…….…………..จดทะเบียนเมื่อ……………….………
เลขทะเบียน…………………….………สํานักงานตัง้ อยูเลขที่………………………ถนน……………………………….…
หมูที่…….…..ตําบล/แขวง………………….………….อําเภอ/เขต………….……………….จังหวัด………………..…….
โดย……………………………………..ผูมีอํานาจลงชื่อแทนนิติบุคคลของผูขออนุญาต
อยูบานเลขที…
่ ……………ตรอก/ซอย……………….………..ถนน…………………………….……..หมูที่………..…….
ตําบล/แขวง……………………………..อําเภอ/เขต………………………………..จังหวัด…………………………..……..
ขอยื่นคําขอรับใบอนุญาต……………………………………..ตอเจาพนักงานทองถิ่น ดังตอไปนี้
ขอ 1 ทําการกอสรางอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/รื้อถอนอาคาร ที่บานเลขที่…………………………
ตรอก/ซอย………………………………..ถนน…………………………..หมูท… ี่ ……ตําบล/แขวง………………….……
อําเภอ/เขต……………………………จังหวัด……………………………โดย……………………………………………..
เปนเจาของอาคาร ในที่ดินโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3เลขที่/ส.ค.1 เลขที่……………………………………………….………
เปนที่ดินของ………………………………………………………………………………………………………………….
ขอ 2 เปนอาคาร
(1) ชนิด………………………….จํานวน………………..เพื่อใชเปน………………………….
โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเขาออกของรถ จํานวน…………….คัน
(2) ชนิด………………………….จํานวน………………..เพื่อใชเปน………………………….
โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเขาออกของรถ จํานวน…………….คัน
(3) ชนิด………………………….จํานวน………………..เพื่อใชเปน………………………….
โดยมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเขาออกของรถ จํานวน…………….คัน
ตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการคํานวณประกอบแบบแปลน และรายการคํานวณทีแ่ นบมา
พรอมนี้
ขอ 3 มี………………………………………………………………เปนผูควบคุมงาน
………………………………………………………… ……………………………………เปนผูออกแบบและคํานวณ
ขอ 4 มี กําหนดแลวเสร็จใน……….วัน นับตั้งแตวันทีไ่ ดรบั ใบอนุญาต
ขอ 5 พรอมคําขอนี้ขาพเจาไดแนบเอกสารหลักฐานตาง ๆ มาดวยแลว คือ
(1) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน จํานวน……….ชุด ชุดละ…………
(2) รายการคํานวณหนึ่งชุด จํานวน…………แผน (กรณีเปนอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษหรือ
อาคารที่กอสรางดวยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเปนสวนใหญ)
(3) หนังสือแสดงความเปนตัวแทนของอาคาร (กรณีตวั แทนเจาของอาคารเปนผูขออนุญาต)
-2-

(4) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงคและผูมีอํานาจลงชื่อแทนนิติบุคคล


ผูขออนุญาตออกใหไมเกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเปนผูขออนุญาต)
(5) หนังสือแสดงวาเปนผูจดั การหรือผูแทนซึ่งเปนผูดําเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่
นิติบุคคลเปนผูขออนุญาต)
(6) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผูออกแบบและคํานวณ จํานวน……….ฉบับ
พรอมทั้งสําเนาใบอนุญาตเปนผูประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปตยกรรมควบคุม จํานวน…..……. ฉบับ
(กรณีที่เปนอาคารมีลักษณะ ขนาด อยูใ นประเภทเปนวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุม
แลวแตกรณี)
(7) สําเนาหรือภาพถายโฉนดทีด่ ิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/ ส.ค. 1 เลขที่ ……………………….
จํานวน…………….ฉบับ หรือหนังสือยินยอมของเจาของที่ดิน จํานวน……………..ฉบับ
(8) หนังสือแสดงความยินยอมของผูควบคุมงานตามขอ 3 จํานวน….…………..ฉบับ
(9) สําเนาหรือภาพถายใบอนุญาตเปนผูประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพ
สถาปตยกรรมควบคุมของผูควบคุมงาน จํานวน………ฉบับ (เฉพาะกรณีที่เปนอาคารมีลักษณะขนาดอยูในประเภท
เปนวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือวิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุม แลวแตกรณี)
(10)เอกสารอื่น ๆ (ถามี)
………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………….

(ลงลายมือชื่อ)………………………………………
(………………………………….)
ผูขออนุญาต
หมายเหตุ (1) ขอความใดที่ไมใชใหขดี ฆา
(2) ใสเครื่องหมาย ในชอง หนาขอความที่ตองการ

หมายเหตุของเจาหนาที่

จะตองแจงใหผูขออนุญาตทราบวา จะอนุญาตหรือไมอนุญาตหรือขยายเวลาภายใน
วันที…
่ ……………เดือน……………………………………..พ.ศ. ……………………
ผูขออนุญาตไดชําระคาธรรมเนียมใบอนุญาต………………………………เปนเงิน……………………บาท
และคาธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน………………………..…………….เปนเงิน……………บาท ………………..สตางค
ตามใบเสร็จรับเงินเลมที…
่ …………………เลขที่…………………ลงวันที… ่ ……………เดือน………………..พ.ศ. ………..
ออกใบอนุญาตแลว เลมที… ่ ………..ฉบับ………….ลงวันที… ่ ………เดือน…………………พ.ศ…………

(ลงมือชื่อ)………………………………….
ตําแหนง………………………………
บทที่ 3 การเลือกและออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟ

3.1 การเลือกและออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟ
การเลือกและออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ขัน้ ตอน ดังนี้
3.1.1 พิ จารณาจากความดันในการออกแบบ (Design pressure)

การเลือกมาตรฐานสําหรับใช้ออกแบบถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องพิจารณาจากค่าความดันใน
การออกแบบ (Design pressure) ซึง่ เป็ นความดันไอเหนือระดับของเหลวและมีคา่ ไม่น้อยกว่า 110%
ของค่าความดันไอทีแ่ ท้จริง (TVP)1 ของสารทีจ่ ะจัดเก็บทีอ่ ุณหภูมใิ ช้งานสูงสุดโดยแบ่งความดันในการ
ออกแบบออกเป็ น 3 ช่วงดังตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 แสดงชนิดและความดันในการออกแบบสําหรับถังเก็บ


ชนิ ดของถังเก็บ ความดันในการออกแบบ มาตรฐาน
ถังเก็บใช้งานที่ค วามดันบรรยากาศ ความดันบรรยากาศ ถึง 2.5 psig* API 650 : Welded Tanks for Oil
(Atmospheric tank) หรือ ความดันบรรยากาศ ถึง 17.2 psi** Storage (อุณหภูมใิ ช้งานสูงสุด 93 °C)
ถังเก็บใช้งานทีค่ วามดันตํ่า ความดันบรรยากาศ ถึง 15 psig API 620 : Design and Construction of
(Low pressure tank) หรือ ความดันบรรยากาศ ถึง 29.7 psi Large, Welded, Low-Pressure Storage
Tanks (อุณหภูมใิ ช้งานสูงสุด 120 °C)
ถังเก็บใช้งานทีค่ วามดันสูง > 15 psig หรือ > 29.7 psi ASME Boiler and Pressure Vessel
(High pressure tank) Code
หมายเหตุ
*
psig เป็ นหน่วยของความดันเกจ (Gauge pressure) ซึง่ เป็ นค่าทีอ่ ่านได้จากเกจวัดความดันของของไหล
**
psi เป็ นหน่วยของความดันสัมบูรณ์ (Absolute pressure) ซึง่ เป็ นผลรวมของความดันเกจกับความดันบรรยากาศโดยคํานวณจาก
ความดันสัมบูรณ์ = ความดันเกจ +14.7 psi

3.1.2 พิ จารณาจากจุดวาบไฟ (Flash point) ของเหลวไวไฟ


การเลือกชนิดของถังเก็บของเหลวไวไฟ จะพิจารณาจากจุดวาบไฟ (Flash point) ซึง่ เป็ นค่า
อุณหภูมทิ ท่ี ดสอบด้วยวิธี Closed cup และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถังเก็บ โดยจะแบ่งจุดวาบไฟ
ออกเป็ น 2 ช่วงดังตารางที่ 3.2

1
ค่าความดันไอทีแ่ ท้จริง (True vapor pressure ; TVP) คือ ค่าความดันทีใ่ ช้บอกความสามารถในการกลายเป็ นไอของของเหลวในภาชนะ
ปิดทีส่ ภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยทําการวัดทีอ่ ุณหภูมคิ งทีใ่ ดๆ อุณหภูมหิ นึ่งทีต่ อ้ งการ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-1
ตารางที่ 3.2 การเลือกชนิดถังเก็บของเหลวไวไฟ
จุดวาบไฟ* ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถังเก็บ ประเภทถังเก็บ
จุดวาบไฟ < 60 °C < 15 เมตร Fixed roof tank**
≥ 15 เมตร Internal floating roof tank**
จุดวาบไฟ ≥ 60 °C ทุกขนาด Fixed roof tank
หมายเหตุ
* จุดวาบไฟในตารางเป็ นค่าอุณหภูมทิ ค่ี วามดันบรรยากาศซึง่ เป็ นอุณหภูมทิ ท่ี ดสอบด้วยวิธ ี Closed cup
** ในการพิจารณาเลือกใช้ถงั เก็บของเหลวไวไฟสําหรับจุดวาบไฟ < 60 °C ตามมาตรฐานความปลอดภัย ควรใช้ถงั เก็บแบบหลังคา
เคลื่อนทีภ่ ายใน (Internal floating roof tank) สําหรับถังเก็บทุกขนาด แต่กรณีทผ่ี ปู้ ระกอบกิจการโรงงานเลือกใช้ถงั เก็บแบบหลังคา
ไม่เคลื่อนที่ (Fixed roof tank) สําหรับถังเก็บเส้นผ่านศูนย์กลาง < 15 เมตร จะต้องพิจารณาถึงการติดตัง้ ระบบความปลอดภัยเพิม่ เติม
เช่น ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซเฉื่อย เป็ นต้น

ข้อแนะนําเพิม่ เติมสําหรับการเลือกใช้ Internal floating roof tank : ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานสามารถเลือกใช้ถงั เก็บชนิดนี้ในในกรณีท ี ่


ถังเก็บมีเส้นผ่านศูนย์กลาง < 15 เมตร ได้ เนือ่ งจากถังเก็บนี้เหมาะใช้สาํ หรับของเหลวทีม่ จี ดุ วาบไฟ < 60 °C ทัง้ นี้ตอ้ งพิจารณาถึง
งบประมาณและความคุม้ ค่าในการก่อสร้าง

อย่างไรก็ตามในการเลือกลักษณะหลังคาของถังแต่ละประเภท เช่น หลังคาแบบโดม (Dome roof)


หลังคาแบบกรวย (Cone roof) หลังคาแบบเคลื่อนทีภ่ ายใน (Internal floating roof) เป็ นต้น จําเป็ นต้อง
คํานึงถึงลักษณะพืน้ ดินและฐานรากทีส่ ามารถรับนํ้าหนักของถังเก็บสารเคมี รวมถึงงบประมาณของ
แต่ละโครงการ
3.2 การเลือกชนิ ดวัสดุสาํ หรับถังเก็บและส่วนประกอบของถัง

ในการเลือกวัสดุทจ่ี ะใช้สาํ หรับถังเก็บ ท่อ ข้อต่อ หน้าแปลน วัสดุทต่ี อ้ งใช้การตีขน้ึ รูป (Forging)2
ั ๊ างๆ สําหรับของเหลวไวไฟมีหลายชนิด และหลายเกรด เช่น เหล็กกล้า (Carbon steel หรือ Mild
ปมต่
steel), เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็ นต้น การเลือกวัสดุสาํ หรับถังเก็บของเหลวไวไฟ
และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจําเป็ นต้องคํานึงถึงปจั จัยดังต่อไปนี้

 เป็ นวัสดุทส่ี ามารถหาได้


 สภาวะในการทํางาน
 สมบัตทิ างกล เช่น ความสามารถในการรับแรงต่างๆ
 อายุการใช้งาน
 ราคา

2
การตีขน้ึ รูป (Forging) หมายถึง กรรมวิธผี ลิตชิน้ ส่วนโดยไม่ตอ้ งผ่านกระบวนการหลอม โดยนําเหล็กมาให้ความร้อนทีอ่ ุณหภูมทิ ่ี
เหมาะสม ก่อนนําไปกด อัด หรือตีให้เป็ นรูปร่างตามทีต่ อ้ งการ แล้วนํามาประกอบทีห่ น้างาน การตีขน้ึ รูปทีอ่ ุณหภูมสิ งู (Hot forging)
จะใช้แรงในการตีน้อย ได้ขนาดเทีย่ งตรง แต่ผวิ งานไม่คอ่ ยดีนกั

3-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
3.3 การเลือกชนิ ดและเกรดของเหล็ก
สําหรับคูม่ อื ฉบับนี้จะแนะนําวัสดุทใ่ี ช้สาํ หรับถังเก็บทีอ่ า้ งอิงตามมาตรฐาน API 650 ซึง่ เป็ น
เหล็กกล้าทีม่ คี า่ Minimum yield strength ประมาณ 30-60 กิโลปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึง่ มีจาํ หน่ายและใช้
อยูใ่ นปจั จุบนั
การเลือกใช้แผ่นเหล็กสําหรับทําผนังถังเก็บของเหลวไวไฟ ให้พจิ ารณาชนิดและเกรดของแผ่น
เหล็ก (Plate) จากตารางที่ 3.3 ซึง่ เป็ นเกรดเหล็กทีส่ ามารถนําไปใช้สร้างถังเก็บของเหลวไวไฟ สําหรับ
อุณหภูมใิ ช้งานตัง้ แต่ 10 °C ขึน้ ไป ดังนัน้ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานสามารถเลือกใช้เหล็กเกรดใดก็ได้ใน
ตารางดังกล่าว โดยสามารถเลือกซือ้ เหล็กมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐาน JIS
ทีเ่ ทียบเท่ามาตรฐาน ASTM ซึง่ แบ่งกลุ่มของเหล็กออกเป็ น 6 กลุ่มตามกระบวนการผลิตเหล็ก และ
หลังจากเลือกเกรดเหล็ก และคํานวณความหนาของผนังถังเก็บในแต่ละชัน้ แล้ว ควรมีการตรวจสอบว่า
เกรดเหล็กทีเ่ ลือกเหมาะสมกับอุณหภูมใิ ช้งานหรือจําเป็ นต้องทํา Impact test เพิม่ เติม

ตารางที่ 3.3 ชนิดของเหล็กกล้าสําหรับ Plate ของถังเก็บของเหลวไวไฟ


กลุ่ม3 Plate specification ตาม API 650 Plate specification เทียบเท่า
มาตรฐาน ความหนาสูงสุดที่
Grade มาตรฐาน มอก. มาตรฐาน JIS
ASTM4 สามารถผลิ ตได้ (มม.)
I : As Rolled, A36M/ A36 - 40 มอก. 1479-2541 G3101
Semi-killed A285M/ A285 C 25 มอก. 2060-2543 G3103 SB410
A131M/ A131 A 13 มอก. 1499-2541 G3106 SM400A
A283M/ A283 C 25 มอก. 1479-2541 G3101 SS400
II : As Rolled, Killed or A131M B 25 มอก. 1499-2541 G3106 SM400B
Semi-killed A36M - 40 มอก. 1479-2541 G3101
III : As Rolled, Killed , A573M 400 45 - -
Fine-Grain Practice A516M 380, 415 - มอก. 2060-2543 G3118 SGV410
IV- As Rolled, Killed , A573M / A 573 400, 450, 45 - G3118 SGV450,
Fine-Grain Practice 485 G3118 SGV480
A516M 450, 485 - - G3118 SGV450,
G3118 SGV480
A662M/ A662 B 40 - -
C 40 - -
V- Normalized, Killed , A573M 485 45 - -
Fine-Grain Practice A516M 450, 485 - G3118 SGV450,
มอก. 2060-2543
G3118 SGV480

3
สามารถดูชนิดและเกรดของเหล็กเพิม่ เติมจาก API 650 ตารางที่ 4-4a – (SI) Material group
4
ทีม่ า : API 650 หัวข้อ 4.2 : Material for Plate - ASTM Specification

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-3
ตารางที่ 3.3 ชนิดของเหล็กกล้าสําหรับ Plate ของถังเก็บของเหลวไวไฟ (ต่อ)
Plate specification ตาม API 650 Plate specification เทียบเท่า
กลุ่ม5
มาตรฐาน ความหนาสูงสุดที่
Grade มาตรฐาน มอก. มาตรฐาน JIS
ASTM6 สามารถผลิ ตได้ (มม.)
VI- Normalized, A537M/ A537 Class 1 45 G3115 SPV355N
มอก. 2060-254
Quenched, and Class 2 45 G3115 SPV450Q
Tempered, Killed, A633M/ A633 C 45 - G3126 SLA325
Fine-Grain Practice, D 45 - -
Reduce Carbon A678M/ A678 A 40 - -
B 45 - -
A737M/ A737 B 40 - G3126 SLA360
คําอธิบายกระบวนการผลิตในตาราง
: As Rolled เป็ นเหล็กทีถ่ ลุงและรีดตามกระบวนการทัวไป ่
: Killed เป็ นเหล็กทีถ่ ลุงแล้วไล่ก๊าซออกซิเจนออกจนหมดจากนัน้ นําไปรีดแล้วนําไปอบคืนให้เหนียว
: Normalized เป็ นกระบวนการนําเหล็กทีร่ ดี แล้วไปอบและทําให้เย็นลงเพือ่ ให้มกี ารจัดเรียงตัวของโครงสร้างและได้ขนาดของ grain เล็กลง
: Quenched and Tempered เป็ นกระบวนการเพิม่ ความแข็งทีผ่ วิ โดยการลดอุณหภูม ิ และเพิม่ ความเหนียวโดยการเพิม่ อุณหภูม ิ
: Semi-killed เป็ นเหล็กทีถ่ ลุงแล้วไล่กา๊ ซออกซิเจนออกบางส่วน จากนัน้ นําไปรีดแล้วนําไปอบคืนให้เหนียว
: Reduce carbon เป็ นเหล็กทีม่ ปี ริมาณคาร์บอนตํ่า
: Fine Grain Practice การปรับสภาพโครงสร้างให้มคี วามละเอียด

การพิจารณาอุณหภูมใิ ช้งาน คํานึงถึงอุณหภูมขิ องเหล็กกล้า (Metal temperature) ทีใ่ ช้สร้างถัง


ซึง่ เป็ นค่าเฉลีย่ ของอุณหภูมขิ องเหลวทีบ่ รรจุกบั อุณหภูมภิ ายนอกหรือเป็ นอุณหภูมทิ ค่ี าํ นวณตามหลัก
วิศวกรรม ซึง่ ค่าอุณหภูมใิ ช้งานทีเ่ หมาะสมสําหรับเหล็กแต่ละกลุ่มแสดงดังรูปที่ 3.1 โดยเหล็กในกลุ่ม
I ถึง VI จะมีความสามารถในการรับแรงกระแทก (Impact) ทีอ่ ุณหภูมติ ่าํ ทีแ่ ตกต่างกันโดยเส้นกราฟ
แต่ละเส้นจะแสดงอุณหภูมใิ ช้งานทีเ่ หมาะสมสําหรับเหล็กกลุ่มต่างๆ จากกราฟจะเห็นว่าอุณหภูมิ
เหมาะสมทีส่ ามารถนําเหล็กแต่ละกลุม่ ไปใช้งานได้คอื อุณหภูมทิ อ่ี ยูเ่ หนือเส้นกราฟ ขณะทีถ่ า้ นําเหล็ก
ไปใช้งานทีอ่ ณ ุ หภูมติ ่าํ กว่าเส้นกราฟทีค่ วามหนาใดๆ เหล็กนัน้ จะต้องผ่านการทํา Impact test และมี
ใบรับรองการใช้งานทีอ่ ุณหภูมนิ นั ้ ๆ (ดูวธิ กี ารใช้งานกราฟทีภ่ าคผนวก ค)

5
สามารถดูชนิดและเกรดของเหล็กเพิม่ เติมจาก API 650 ตารางที่ 4-4a – (SI) Material group
6
ทีม่ า : API 650 หัวข้อ 4.2 : Material for Plate - ASTM Specification

3-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 3.1 ค่าอุณหภูมใิ ช้งานทีเ่ หมาะสมสําหรับเหล็กแต่ละกลุ่ม
(ทีม่ า : ปรับปรุงรูปจาก Figure 4.1a ใน API 650)

ข้อมูลเพิม่ เติม
ในกรณีทอี ่ ุณหภูมใิ ช้งานตํา่ กว่า 10 องศาเซลเซียส เมือ่ เลือกเกรดเหล็ก และคํานวณความหนาของผนังถังเก็บ
ในแต่ละชัน้ แล้ว ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องกลับมาดูตารางที ่ 3.3 ในช่องความหนาสูงสุดทีส่ ามารถผลิตได้ เพือ่
ตรวจสอบว่าความหนาของแผ่นเหล็กทีค่ าํ นวณได้มคี า่ อยูใ่ นเกณฑ์เกรดเหล็กทีเ่ ลือกมาใช้หรือไม่ ถ้าหากค่าความหนาที ่
คํานวณได้มคี า่ มากกว่าค่าความหนาสูงสุดทีส่ ามารถผลิตได้ผปู้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องเลือกเกรดของเหล็กใหม่
โดยเลือกจากกลุม่ เหล็กทีม่ สี มบัตทิ างกลสูงขึน้ นอกจากนี้ควรกลับมาตรวจสอบว่าเกรดเหล็กทีเ่ ลือกเหมาะสมกับ
อุณหภูมใิ ช้งานหรือจะต้องทํา Impact test เพิม่ เติม ดังรูปที ่ 3.1 (สามารถดูวธิ กี ารใช้งานกราฟในภาคผนวก ค)

สําหรับรายการมาตรฐานท่อเหล็กมีลกั ษณะดังนี้

 A53 / A53M คือ ASTM A53 / A53M Standard Specification for Pipe, Steel, Black and
Hot-Dipped, Zinc-Coated, Welded and Seamless
 A105/A105M คือ ASTM A105/A105M-14 Standard Specification for Carbon Steel
Forgings for Piping Applications
 A106/A106M คือ ASTM A106/A106M-15 Standard Specification for Seamless Carbon
Steel Pipe for High-Temperature Service

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-5
 A181/A181M คือ ASTM A181/A181M-14 Standard Specification for Carbon Steel
Forgings, for General-Purpose Piping
 A333/A333M คือ ASTM A333/A333M-16 Standard Specification for Seamless and
Welded Steel Pipe for Low-Temperature Service and Other Applications with Required
Notch Toughness
 A334/A334M คือ ASTM A334/A334M-04a (2016) Standard Specification for Seamless
and Welded Carbon and Alloy-Steel Tubes for Low-Temperature Service
 A350/A350M คือ ASTM A350/A350M-15 Standard Specification for Carbon and Low-
Alloy Steel Forgings, Requiring Notch Toughness Testing for Piping Components
 A524 คือ ASTM A524-96 (2012) Standard Specification for Seamless Carbon Steel
Pipe for Atmospheric and Lower Temperatures
ชนิดของเหล็กกล้าทีใ่ ช้สาํ หรับ ท่อ ข้อต่อ และวัสดุทต่ี อ้ งใช้การตีขน้ึ รูป (Forging) ของถังเก็บ
ของเหลวไวไฟแสดงตัวอย่างดังตารางที่ 3.4

ตารางที่ 3.4 ชนิดของเหล็กกล้าสําหรับ ท่อ ข้อต่อ และวัสดุทต่ี อ้ งใช้การตีขน้ึ รูป ของถังเก็บของเหลวไวไฟ


ส่วนประกอบ Specification ตาม API 650 Specification เทียบเท่า
อื่นๆ มาตรฐาน ASTM* Grade มาตรฐาน JIS
ท่อและข้อต่อ A53/A53M A G3454 STPG370
(pipe and B G3454 STPG410
pipe coupling) A106/A106M A G3456 STPT370
B G3455 STPT410
A333/A333M 1, 6 G3460 STPL380
A334/A334M 1, 6 G3464 STBL38
A 524 I, II -
วัสดุที่ต้องใช้การตี A 105/A105M - G3202 SFVC2A
ขึน้ รูป (Forging) A 181/A181M 60, 70 G3202 SFVC1, G32C2A
A 350/A350M LF1 G3205 SFL1
LF2 G3205 SFL2
หมายเหตุ * ทีม่ า : API 650 หัวข้อ 4.5 : Material for Pipe and flange - ASTM Specification

3-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
การเลือกเกรดของเหล็กสําหรับทําท่อ มีขอ้ กําหนดดังนี้
 ท่อทีน่ ํามาใช้เป็ น Manhole หรือ Nozzle ซึง่ เชื่อมต่อกับถังโดยตรงจะต้องเลือกท่อทีไ่ ม่มี
ตะเข็บ (Seamless)
 ท่อทีไ่ ม่ได้เชื่อมต่อกับถังโดยตรงสามารถใช้ได้ทงั ้ แบบท่อมีตะเข็บ (Welded) และท่อทีไ่ ม่มี
ตะเข็บ (Seamless)
นอกจากพิจารณาชนิดของเหล็กสําหรับสร้างถังเก็บ ท่อ ข้อต่อ และวัสดุทต่ี อ้ งใช้การตีขน้ึ รูปแล้ว
ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานยังต้องคํานึงถึงอุปกรณ์ทจ่ี ะใช้กบั ถังเก็บ เช่น ปมั ๊ วาล์ว ปะเก็น เป็ นต้น โดย
จะต้องพิจารณาจากความเข้ากันได้ และความทนทานต่อของเหลวทีจ่ ดั เก็บกับวัสดุสาํ หรับอุปกรณ์ต่างๆ
ซึง่ สามารถขอข้อมูลดังกล่าวได้จากผูข้ ายอุปกรณ์นนั ้ ๆ ดังตัวอย่างในภาคผนวก ข.6
3.4 การออกแบบและการคํานวณความหนาของถังเก็บ
หลังจากทราบชนิดและเกรดของเหล็กทีจ่ ะใช้ในการสร้างถังเก็บของเหลวไวไฟแล้ว ผูป้ ระกอบ
กิจการโรงงานจะต้องรวบรวมข้อมูลพืน้ ฐาน ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลาง ระดับของของเหลว ค่าความ
ถ่วงจําเพาะ ค่าความเค้นของเหล็กแต่ละชนิด ขนาดแผ่นเหล็กทีม่ จี าํ หน่ายในท้องตลาด เพือ่ นําไปใช้
ประกอบการคํานวณความหนาของผนัง พืน้ ถัง และหลังคาของถังเก็บ อย่างไรก็ตาม ในการออกแบบ
ถังเก็บสารเคมีทุกประเภท จําเป็ นต้องใช้ผเู้ ชีย่ วชาญทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ดา้ นการออกแบบและ
สร้างถังเก็บเป็ นผูค้ าํ นวณและออกแบบถังเก็บดังกล่าว ซึง่ รายละเอียดทีจ่ ะอธิบายในหัวข้อต่อไปนี้
ได้รวบรวมข้อมูลพืน้ ฐานทีผ่ ปู้ ระกอบกิจการโรงงานควรทราบในแต่ละขัน้ ตอนทีอ่ ย่างน้อยต้องคํานึงถึง
และปฏิบตั ติ ามทีม่ าตรฐานกําหนด เพือ่ ให้เกิดความปลอดภัยในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ เกีย่ วข้องกับ
ถังเก็บมากทีส่ ดุ สําหรับในหัวข้อนี้จะแบ่งรายละเอียดออกเป็ น 3 ส่วน ดังนี้
3.4.1 ผนังถังเก็บ
ในการคํานวณความหนาผนังถังเก็บ จะเริม่ คํานวณจากผนังชัน้ ล่างสุด โดยความหนาของผนังชัน้
ล่างสุดจะมีความหนามากทีส่ ดุ เนื่องจากต้องรับแรงดันและนํ้าหนักมากทีส่ ดุ แล้วจากนัน้ จึงคํานวณทีผ่ นัง
ชัน้ ทีอ่ ยูด่ า้ นบนถัดไปตามลําดับจนถึงชัน้ บนสุด โดยผูค้ าํ นวณจะต้องทราบข้อมูลเบือ้ งต้นดังต่อไปนี้

 ข้อมูลของถัง

- เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลีย่ (Center line diameter) ของถังทีผ่ นังถังชัน้ ล่างสุด : เป็ นค่าเฉลีย่


ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางภายในและภายนอกทีผ่ นังชัน้ ล่างสุด โดยประเมินจากความจุ
สูงสุดของถังและพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการสร้างถัง
- ระดับของเหลวออกแบบ (Design liquid level; H) : เป็ นระดับของเหลวสูงสุดทีใ่ ช้ในการ
ออกแบบ และคํานวณความจุสงู สุดของถังเก็บ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-7
- ระดับการเติมของเหลวทัวไป ่ (Normal fill level) : เป็ นระดับของเหลวทีใ่ ช้งานทัวไป

ส่วนใหญ่กาํ หนดไว้ท่ี 80-90% ของระดับของเหลวออกแบบ
- ความสูงของผนังชัน้ บนสุด (Top of shell height) : เป็ นความสูงของถังทีว่ ดั จากแผ่นพืน้ ถัง
ถึงผนังชัน้ บนสุด ส่วนใหญ่ในการออกแบบจะคํานวณเผือ่ ความสูงไว้ประมาณ 10-20
เซนติเมตรจากระดับของเหลวออกแบบ
- ความจุสงู สุด (Maximum capacity) : เป็ นความจุของถังเก็บทีม่ ากทีส่ ดุ คํานวณจากระดับ
ของเหลวออกแบบ
- ความจุใช้งานสุทธิ (Net working capacity) : เป็ นความจุทใ่ี ช้งานทัวไปของถั
่ งเก็บ
ส่วนใหญ่กาํ หนดไว้ท่ี 80-90 % ของความจุสงู สุด
- ปริมาตรของเหลวใช้งานตํ่าสุดทีเ่ หลืออยูใ่ นถังเก็บ (Minimum capacity) : เป็ นปริมาตร
ของเหลวตํ่าสุดทีจ่ าํ เป็ นต้องเหลืออยูใ่ นถังเพือ่ สัมพันธ์กบั ระดับของเหลวออกแบบ

รายละเอียดข้อมูลของถังเก็บแสดงดังรูปที่ 3.2

 ข้อมูลเฉพาะของสารที่จดั เก็บ

- ค่าความถ่วงจําเพาะ : เป็ นค่าความถ่วงจําเพาะของของเหลวทีจ่ ดั เก็บทีอ่ ุณหภูมใิ ช้งาน


โดยในการออกแบบจะต้องใช้คา่ ความถ่วงจําเพาะเท่ากับ 1 สําหรับของเหลวทีม่ คี า่ ความ
ถ่วงจําเพาะน้อยกว่า 1 แต่ถา้ ของเหลวนัน้ มีคา่ ความถ่วงจําเพาะมากกว่า 1 จะต้องใช้คา่
ความถ่วงจําเพาะของของเหลวนัน้
- ค่าความหนาเผือ่ สําหรับการกัดกร่อน (Corrosion Allowance หรือ CA) : เป็ นผลคูณ
ระหว่างค่าอัตราการกัดกร่อนกับอายุการใช้งาน ค่าอัตราการกัดกร่อนของของเหลวกับ
เหล็กเป็ นค่าเฉพาะสําหรับสารใดสารหนึ่ง ซึง่ สามารถหาข้อมูลเบือ้ งต้นได้จากหนังสือ
ทีร่ วบรวมข้อมูลการกัดกร่อนไว้ เช่น Handbook of Corrosion Data7 เป็ นต้น นอกจากนี้
ในสูตรการคํานวณค่า CA จะเห็นว่าปจั จัยหนึ่งทีส่ ง่ ผลต่อความหนาของวัสดุทเ่ี ลือก คืออายุ
การใช้งาน ซึง่ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น
ชนิด ราคาของวัสดุ ลักษณะการใช้งาน การดูแลรักษา และความคุม้ ค่าในการลงทุน
เป็ นต้น

7
Handbook of Corrosion Data 2nd edition, edited by Bruce D. Craig, David S. Anderson, ASM International ®, 2002
(ISBN 0-87170-518-4)

3-8 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 3.2 ข้อมูลเบือ้ งต้นของถังเก็บ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-9
สําหรับตัวอย่างการคํานวณทีแ่ สดงในภาคผนวก ค กําหนดค่าอัตราการกัดกร่อนของเหล็กกับสาร
เมทานอลที ่ 0.508 มม.ต่อปี และสมมติคา่ อายุการใช้งานที ่ 30 ปี
- ค่าความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน (Product design stress; Sd) และค่าความเค้นสูงสุดขณะอัด
นํ้าทดสอบ (Hydrostatic design stress; St ) ซึง่ เป็ นค่าเฉพาะสําหรับเหล็กแต่ละเกรดโดย
ตาม API 650 จะมีการกําหนดค่า Sd และ St ในภาคผนวก ข.5 สําหรับเหล็กตามมาตรฐาน
ASTM แต่กรณีทใ่ี ช้เหล็กตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ เช่น มอก. (TIS) หรือ JIS
ผูค้ าํ นวณจะต้องคํานวณค่า Sd และ St เองจากสูตรด้านล่าง

Sd = 2 x Yield strength หรือ 2 x Tensile strength หน่วย เมกะพาสคาล (MPa)


3 5
3 3
St = x Yield strength หรือ x Tensile strength หน่วย เมกะพาสคาล (MPa)
4 7

หลังจากคํานวณค่า Sd และ St จากแต่ละสูตรเสร็จแล้ว เราจะเลือกใช้คา่ Sd และ St ทีน่ ้อยทีส่ ดุ


- ความกว้างแผ่นเหล็กทีม่ จี าํ หน่ายในท้องตลาดคือ 4 ฟุต (1.2192 เมตร) , 5 ฟุต (1.524
เมตร) และ 8 ฟุต (2.4384 เมตร) ซึง่ เป็ นค่าทีใ่ ช้ในการประมาณจํานวนชัน้ ของผนังถังเก็บ

สําหรับขัน้ ตอนการคํานวณสามารถดูรายละเอียดเพิม่ เติมในภาคผนวกที่ ค อย่างไรก็ตาม ในการ


คํานวณความหนาของผนังถังเก็บตามมาตรฐาน API 650 ได้กาํ หนดให้ผนังของถังเก็บทีท่ าํ ด้วยเหล็ก
ต้องมีความหนาตามค่าทีไ่ ด้จากการคํานวณออกแบบให้รบั นํ้าหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการกัดกร่อน
และต้องไม่น้อยกว่าความหนาตํ่าสุดตามทีก่ าํ หนดไว้ในตารางที่ 3.5
ตารางที่ 3.5 ความหนาตํ่าสุดของเหล็กสําหรับผนังถังเก็บทีย่ อมรับได้ : tmin (มิลลิเมตร)
เส้นผ่านศูนย์กลาง : D (เมตร) ความหนาของผนัง (Shell) ตํา่ ที่สดุ ที่ยอมรับได้ : tmin (มิ ลลิ เมตร)
< 15 5
15 ถึง < 36 6
36 ถึง < 60 8
≥ 60 10
หมายเหตุ ถ้าถังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 3.2-15 เมตร ความหนาของผนังชัน้ ล่างสุดต้องไม่น้อยกว่า 6 มม.

การเชื่อมแผ่นผนังถังต้องเชือ่ มให้มคี วามมันคงแข็


่ งแรงและปลอดภัย โดยในการเชื่อมต่อท่อต่างๆ
เข้ากับผนังถัง หากท่อทีจ่ ะเชื่อมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 2 นิ้ว ผนังของถังจะต้องมีการเสริม
ความแข็งแรงทีห่ น้าตัดของแผ่นเหล็ก ซึง่ จะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถัง และต้องมี
พืน้ ทีไ่ ม่น้อยกว่า 2 เท่าของพืน้ ทีห่ น้าตัดของท่อทีจ่ ะเชือ่ ม อ้างอิงมาตรฐานวิธกี ารเสริมความแข็งแรงและ
การเชื่อมจาก API 650 เรือ่ ง Reinforcement and Welding

3-10 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม ถังเก็บของเหลวไวไฟอาจก่อสร้างด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม ซึง่ มี
วิธกี ารออกแบบผนังถังส่วนใหญ่เหมือนกับถังเหล็กกล้าในคูม่ อื ฉบับนี้ โดยมีขนั ้ ตอนทีแ่ ตกต่างกันคือ
ส่วนของการคํานวณค่าความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน ; Sd และค่าความเค้นสูงสุดขณะอัดนํ้าทดสอบ ; St
โดยจะต้องคํานวณเองจากสูตรทีก่ าํ หนดข้างต้น ไม่มตี ารางสําเร็จรูปทีใ่ ช้งานได้เลยเหมือนเหล็กกล้า
ตามมาตรฐาน ASTM ทีร่ ะบุใน API 650 และหลังจากได้คา่ Sd , St แล้ว ให้นําค่าดังกล่าวมาคํานวณต่อ
เหมือนกับวิธกี ารคํานวณถังเหล็กกล้า

3.4.2 พืน้ ถังเก็บ


ลักษณะของพืน้ ถังมีหลายแบบเช่น แบบแบน (Flat) แบบกรวยควํ่า (Cone-up) แบบกรวยหงาย
(Cone-down) และแบบเอียงด้านเดียว (Single slope) โดยแต่ละแบบจะต้องมีการจัดการตะกอนทีก่ น้ ถัง
ทีแ่ ตกต่างกัน บริเวณพืน้ ถังเก็บจะประกอบด้วย 2 ส่วน (รูปที่ 3.3) คือ แผ่นพืน้ ถัง (Bottom plate) และ
แผ่นรองผนังถัง (Annular bottom plate) โดยมาตรฐาน API 650 ได้กาํ หนดลักษณะแผ่นพืน้ ถังไว้ดงั นี้
 แผ่นเหล็กพืน้ ถังต้องมีความหนาอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร (ยังไม่รวมความหนาเผือ่ การกัดกร่อน)
 พืน้ ถังทีม่ ลี กั ษณะแบบ Cone-up และแบบ Cone-down ควรมีความชัน (Slope) อย่างน้อย 1:120

 ในกรณีทต่ี อ้ งการให้ตดิ ตัง้ วงแหวนกันซึม (Drip ring) เพือ่ ป้องกันนํ้าซึมเข้าใต้กน้ ถังเก็บ โดย
วงแหวนกันซึมจะต้องมีความหนาอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร และต้องเชื่อมด้วยวิธกี ารเชื่อมปิด
คลุมแบบต่อเนื่อง (Continuously seal-welded) ขอบของวงแหวนต้องยืน่ ออกมาด้านนอกจาก
ขอบฐานรากของถังอย่างน้อย 75 มิลลิเมตร และมีการดัดงอลงทีป่ ลายเป็ นมุมไม่เกิน 90º ตาม
รูปที่ 3.3 และอาจจะมีการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อนทีผ่ วิ ของวงแหวนเพิม่ เติม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-11
รูปที่ 3.3 ส่วนประกอบบริเวณพืน้ ถัง
และกําหนดลักษณะแผ่นเหล็กรองผนังถังดังนี้

 แผ่นรองผนังถังต้องมีความหนาอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร (ยังไม่รวมความหนาเผือ่ การกัดกร่อน)


 ระยะห่างภายในระหว่างผนังถังเก็บกับรอยเชื่อมแบบ Lap-welded ทีแ่ ผ่นพืน้ ถัง จะต้องห่างไม่
น้อยกว่า 600 มิลลิเมตรและแผ่นรองผนังถังต้องต้องยืน่ ออกนอกขอบของตัวถัง อย่างน้อย 50
มิลลิเมตร

นอกจากนี้การเชื่อมผนังถังชัน้ ล่างทีต่ ดิ กับแผ่นเหล็กรองผนังถัง และแผ่นเหล็กพืน้ ถัง จะต้อง


เชื่อมเต็มแบบต่อเนื่องทัง้ ในและนอกของผนังถัง โดย ;

 การเชื่อมแผ่นพืน้ ถัง กําหนดให้แผ่นเหล็กต้องเกยกันอย่างน้อย 5 เท่าของความหนาของแผ่น


เหล็กทีน่ ําใช้ทาํ พืน้ ถัง
 การเชื่อมแผ่นพืน้ ถัง กับแผ่นรองผนังถัง แผ่นเหล็กนัน้ จะต้องเกยกันอย่างน้อย 65 มิลลิเมตร

3.4.3 หลังคาถังเก็บ
ในการคํานวณตัวหลังคาและโครงสร้างรองรับต่างๆ ต้องมีการคํานวณและออกแบบเพือ่ ให้หลังคา
สามารถรองรับนํ้าหนักและแรงกระทําต่างๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ กับหลังคาดังนี้

 ความดันภายในถังเก็บ (Internal pressure)


 ความดันขณะทดสอบด้วยนํ้า (Hydrostatic test pressure)
 แรงลม และฝนทีม่ าปะทะ (Wind load)
 นํ้าหนักของหลังคาและส่วนประกอบอื่นๆ ทีต่ ดิ ตัง้ บนหลังคา (Gravity loads)

3-12 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
 แรงทีเ่ กิดจากแผ่นดินไหว (Seismic load)
 แรงหรือนํ้าหนักอื่นๆ

ตาม API 650 มีขอ้ กําหนดเกีย่ วกับแผ่นเหล็กหลังคา ดังนี้

 แผ่นเหล็กหลังคาต้องมีความหนา อย่างน้อย 5 มิลลิเมตร (ไม่รวมค่าความหนาเผือ่ การกัดกร่อน)


 ลักษณะแผ่นเหล็กหลังคาของหลังคาแบบต่างๆ มีขอ้ กําหนดย่อยดังนี้
- แผ่นเหล็กหลังคาของ Supported cone roof ต้องไม่สมั ผัสกับโครงสร้างทีร่ องรับโดยตรง
โดยแผ่นหลังคาจะต้องวางบนคานคํ้าหลังคาหรือจันทัน (Rafter) ทีว่ างบนคานหลัก
(Girder) เท่านัน้ ขณะทีค่ วามหนาของโครงสร้างทีร่ องรับหลังคาต้องมีความหนาอย่างน้อย
4.3 มิลลิเมตร และเมือ่ ใช้งานและถูกกัดกร่อนไปแล้วความหนาจะต้องไม่น้อยกว่า 2.4
มิลลิเมตร ยกเว้น ความหนาของเสารับนํ้าหนัก (Column) ต้องไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร
(ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน API 650 เรือ่ ง Supported cone roofs ข้อ 5.10.4)
- แผ่นเหล็กหลังคาของ Self-supporting cone roof ต้องมีการเสริมความแข็งแรงด้วย
โครงสร้าง (Sections) และความหนาของแผ่นเหล็กหลังคาต้องหนาไม่น้อยกว่า 4.8
มิลลิเมตร มุมของหลังคา (θ) ต้องอยูร่ ะหว่าง 9.5 ถึง 37 องศา (9.5º ≤ θ ≤ 37º) เทียบกับ
ระดับพืน้ หรือความชัน (Slope) ต้องมีคา่ ระหว่าง 2:12 ถึง 9:12 (2:12 ≤ slope ≤ 9:12)
(ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน API 650 เรือ่ ง Self-supporting cone roofs ข้อ 5.10.5)
- แผ่นเหล็กหลังคาของ Self-supporting dome roof ต้องมีการเสริมความแข็งแรงด้วย
โครงสร้าง (Sections) และความหนาของแผ่นเหล็กหลังคาต้องหนาไม่น้อยกว่า 4.8
มิลลิเมตร รัศมีของหลังคา (Radius) ต้องอยูร่ ะหว่าง 0.8 D ถึง 1.2 D เมือ่ D คือ ขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลางของถัง (ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน API 650 เรือ่ ง Self-supporting dome
and umbrella roofs ข้อ 5.10.6)
 การเชื่อมแผ่นเหล็กหลังคาของถังชนิดหลังคาไม่เคลื่อนทีก่ บั ผนังถังให้ใช้วธิ กี ารเชือ่ มต่อกัน
แบบเกยทับและมีเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียวบนแผ่นหลังคา โดยเฉพาะถังชนิดหลังคาไม่
เคลื่อนทีด่ งั รูปที่ 3.4
 การเชื่อมพืน้ ถังกับผนังถัง จะต้องเชื่อมทัง้ ด้านในและด้านนอกถัง แสดงดังรูปที่ 3.4 และ
รอยเชื่อมต้องมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าการเชื่อมแผ่นเหล็กหลังคากับผนังถัง เมือ่ เกิดเหตุ
ฉุกเฉิน หรือเหตุระเบิด หลังคาจะสามารถปริแยกออกจากตัวถัง และช่วยระบายแรงดัน
ทีเ่ กิดขึน้ ได้ แต่ถา้ หากเชื่อมถังบริเวณหลังคาแข็งแรงกว่าบริเวณก้นถังจะทําให้เมือ่ เกิดเหตุ
ฉุกเฉินแรงดันจะทําให้กน้ ถังปริแยก และเกิดการระเบิดทีด่ า้ นล่างบริเวณพืน้ ถังซึง่ ก่อให้เกิด
อันตรายมากกว่า โดยขนาดของรอยเชื่อมจะขึน้ อยูก่ บั ความหนาของแผ่นเหล็กทีน่ ํามาใช้
ทําหลังคา ผนังถัง และพืน้ ถัง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-13
9.5º ≤θ≤ 37º

บริเวณหลังคากับผนังถัง บริเวณพืน้ ถังกับผนังถัง


รูปที่ 3.4 การเชื่อมบริเวณหลังคากับผนังถัง และบริเวณพืน้ ถังกับผนังถัง
อย่างไรก็ตาม ในการออกแบบหลังคาแบบเคลื่อนทีไ่ ด้ ให้ดาํ เนินการตามมาตรฐาน API 650
Appendix H : Internal Floating Roofs แต่ลกั ษณะหลังคาทีไ่ ม่เคลื่อนทีแ่ บบกรวย หรือแบบโดมปิดอยู่
ด้านนอกของถังเก็บแบบหลังคาเคลื่อนทีแ่ บบภายใน มีขอ้ กําหนดเหมือนทีก่ ล่าวมาข้างต้น

3.5 การเจาะรูและการติ ดตัง้ ท่อที่ผนังของถัง (Shell openings)

การเจาะรูทถ่ี งั เพือ่ ติดตัง้ Nozzles และช่องคนลง (Manhole) เพือ่ การตรวจสภาพถัง ผูป้ ระกอบ-
กิจการโรงงานควรทราบความหมายของลักษณะการเจาะรูแบบต่างๆ รายละเอียดดังรูปที่ 3.5

รูปที่ 3.5 การเจาะรูเพือ่ ติดตัง้ Nozzles และช่องคนลง


 RTR = Regular-Type Reinforced Opening เป็ นการเจาะโดยมีการเพิม่ แผ่นเสริมความ
แข็งแรง (Reinforcing plate) ทีเ่ ป็ นรูปวงแหวนหรือทรงหกเหลีย่ ม โดยทีไ่ ม่ยน่ื ลงไปถึงก้นถัง
 LTR = Low-Type Reinforced Opening เป็ นการเจาะโดยมีการเพิม่ แผ่นเสริมความแข็งแรง
ทีเ่ ป็ นรูปคล้ายป้ายหิน โดยยืน่ ลงไปถึงก้นถัง
 S-N = Shell Openings เป็ นการเจาะโดยไม่มกี ารเพิม่ แผ่นเสริมความแข็งแรง หรือเป็ นแบบ
Integrally reinforced shell openings หรือ รูเจาะทีไ่ ม่จาํ เป็ นต้องเพิม่ แผ่นเสริมความแข็งแรง
(< 2 นิ้ว)

3-14 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ในการเจาะรูทผ่ี นังถัง จะพิจารณาจากรูปทรงโดยเทียบระยะการเจาะถึงก้นถังระหว่างจุดที่
ต้องการเจาะกับ Bottom plate หรือ Annular plate
สําหรับระยะค่า A, B, C, D, E, F และ G สําหรับลักษณะของการเจาะรูแต่ละแบบและการกําหนด
ความหนาบริเวณ Manhole neck ทีค่ วามหนาของผนังกับขนาดของช่องคนลงขนาดต่างๆ จะแสดง
รายละเอียดอยูใ่ น API 650 เรือ่ ง Shell opening

3.6 การคํานวณนํ้าหนักถังเก็บ
ในการคํานวณนํ้าหนักรวมของถัง จะแบ่งการคํานวณออกเป็ น 2 ส่วน คือ
3.6.1 นํ้าหนักถังเปล่า
เป็ นผลรวมของนํ้าหนักแผ่นเหล็กทีน่ ํามาทําผนังถัง พืน้ ถัง และหลังคา กับนํ้าหนักของ
ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ช่องคนลง ช่องเปิดบนหลังคา บันได ราวจับ วาล์วต่างๆ เป็ นต้น สําหรับนํ้าหนัก
แผ่นเหล็กแบนสามารถคํานวณจากสูตร ดังนี้
นํ้าหนัก (กิโลกรัม) = หนา (มม.) x กว้าง (มม.) x ยาว (มม.) x 0.00785
1000
เมือ่ 0.00785 คือ ค่าความถ่วงจําเพาะของแผ่นเหล็กแบน
ตัวอย่าง
นํ้าหนัก = 6 x 500 x 950 x 0.00785 = 22.37 กิโลกรัม
1000

3.6.2 นํ้าหนักของเหลวไวไฟ ภายในถังเก็บ


เป็ นผลคูณระหว่างค่าปริมาตร (เต็มถัง) กับความถ่วงจําเพาะของของเหลวทีอ่ ุณหภูมใิ ช้งาน
ยกเว้น กรณีทค่ี วามถ่วงจําเพาะของของเหลวน้อยกว่า 1 ในการคํานวณนํ้าหนักให้ใช้คา่ ความ
ถ่วงจําเพาะของนํ้าแทน (มีคา่ เท่ากับ 1) เนื่องจากในช่วงการทดสอบถังหลังจากทีส่ ร้างเสร็จจะต้องใช้น้ํา
ในการอัดนํ้าเพือ่ ทดสอบความดัน (Hydrostatic test)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-15
3.7 การเคลือบ / ปูผิวถังเก็บสารเคมี (Coating /Lining)
นอกจากการเลือกประเภทถังเก็บ และข้อกําหนดเกีย่ วกับผนัง พืน้ และหลังคาถังเก็บแล้ว ขัน้ ตอน
ทีส่ าํ คัญอีกขัน้ ตอนหนึ่งคือ การเลือกวัสดุเคลือบ หรือปูผวิ ถังเก็บเพือ่ ป้องกันการกัดกร่อน ในการเลือก
วัสดุเพือ่ เคลือบ / ปูผวิ จะต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการเคลือบผิวว่าเป็ นการเคลือบภายใน หรือเคลือบ
ภายนอกถังเก็บ เนื่องจากถ้าเป็ นการเคลือบผิวภายนอก วัสดุทใ่ี ช้จะต้องทนต่อสภาพภูมอิ ากาศ แสง
รังสี UV ขณะทีก่ ารเคลือบผิวภายใน วัสดุทใ่ี ช้จะต้องป้องกันการกัดกร่อนจากไอ และของเหลวภายในถัง
และตะกอนหรือสลัดจ์ทส่ี ะสมบริเวณพืน้ ถัง รวมทัง้ ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับของเหลวทีจ่ ดั เก็บ
3.7.1 การเคลือบผิวภายนอก (External coating)
การเคลือบผิวภายนอก มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ป้องกันการผุกร่อนจากสภาพอากาศทัวไป ่ ความชืน้
ฝน แสง รังสี UV ดังนัน้ การทาสีถงั เก็บของเหลวไวไฟด้วยสีกนั สนิม สีทม่ี สี ว่ นผสมของสาร Epoxy หรือ
พอลิยรู เี ทน (Polyurethane) ก็เป็ นวิธหี นึ่งทีใ่ ช้ในการป้องกันการผุกร่อนภายนอก
3.7.2 การเคลือบ/การปูผิวภายใน (Internal coating/ Lining)
การเคลือบผิวภายใน มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ป้องกันการกัดกร่อนจากไอ และของเหลวภายในถัง
โดยพืน้ ฐานแล้วการเคลือบผิวภายในควรจะสามารถป้องกันการกัดกร่อนจากของเหลว และมีอายุใช้งาน
อย่างน้อย 10 ปี ในการเลือกวัสดุสาํ หรับเคลือบ / ปูผวิ ภายในจะต้องพิจารณาจากความเข้ากันได้กบั
ของเหลวทีจ่ ดั เก็บ หรือความทนทานต่อการกัดกร่อนของวัสดุนนั ้ ๆ โดยสามารถหาข้อมูลเรือ่ งการ
กัดกร่อนของสารกับวัสดุได้จาก Handbook of Corrosion Data ตามทีไ่ ด้กล่าวถึงในหัวข้อ 3.4.1
หรือสามารถขอตัวอย่างตาราง Compatibility resistant chart ได้จากบริษทั ผูใ้ ห้บริการเคลือบผิวถังเก็บ
ดังภาคผนวก ข.6 โดยให้เลือกวัสดุทส่ี ามารถทนต่อสารนัน้ ๆ มากทีส่ ดุ และข้อควรรูเ้ บือ้ งต้นสําหรับการ
เคลือบผิวภายในถังเก็บของเหลวไวไฟ มีดงั นี้

 วัสดุเคลือบผิวส่วนใหญ่ทส่ี ามารถใช้กบั ของเหลวไวไฟ คือสารในกลุม่ Epoxy และ Epoxy


copolymer แต่สามารถเลือกใช้วสั ดุเคลือบชนิดอื่นได้ โดยดูจาก Compatibility resistant chart
ทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว เนื่องจากสารแต่ละชนิดอาจมีความเฉพาะเจาะจงไม่เหมือนกัน
 การเคลือบผนังถังเก็บ สามารถใช้วธิ กี ารเคลือบแบบฟิลม์ บาง ซึง่ มีความหนาน้อยกว่า 20 mils
(0.508 มม. โดย 1 mils = 1/1000 นิ้ว) แต่บริเวณพืน้ ถัง จําเป็ นต้องใช้ วิธกี ารเคลือบแบบ
ฟิลม์ หนาซึง่ มีความหนามากกว่า 20 mils เนื่องจากบริเวณพืน้ ถังจะต้องสามารถทนต่อแรงดัน
จากการการสูบถ่ายสารเคมีมากกว่าบริเวณอื่นๆ
จากขัน้ ตอนทัง้ หมดทีก่ ล่าวมา สามารถสรุปแนวทางการออกแบบถังเหล็กสําหรับเก็บของเหลวไวไฟ
ได้ดงั รูปที่ 3.6

3-16 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 3.6 แนวทางการออกแบบถังเหล็กกล้าสําหรับเก็บของเหลวไวไฟ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-17
บทที่ 4 การเลือกสถานที่

4.1 การเลือกพืน้ ที่สาํ หรับก่อสร้างถังเก็บสารเคมี

ในการเลือกพืน้ ทีส่ าํ หรับก่อสร้างถังเก็บสารเคมี ถือเป็ นขัน้ ตอนหนึ่งทีม่ คี วามสําคัญก่อนทีจ่ ะเริม่


กระบวนการออกแบบ และก่อสร้างถังเก็บสารเคมี เนื่องจากผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจําเป็ นต้องทราบ
ขนาดพืน้ ที่ และข้อควรระวังว่าถังเก็บสารเคมีแต่ละประเภทไม่ควรตัง้ อยูใ่ กล้พน้ื ทีใ่ ดบ้าง ในหัวข้อนี้จะทํา
การสรุปข้อทีค่ วรจะพิจารณา ระยะทีป่ ลอดภัย รวมถึงสิง่ ทีต่ อ้ งคํานึงถึงในการจัดวางถังเก็บสารเคมี
กรณีทม่ี ถี งั เก็บสารเคมีในพืน้ ทีม่ ากกว่า 1 ถัง นอกจากนี้ ในบางประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ยังได้
กําหนดให้มกี ารประเมินความเสีย่ งในขัน้ ตอนการเลือกพืน้ ทีอ่ กี ด้วย สําหรับสภาพแวดล้อม หรือพืน้ ที่
รอบข้างพืน้ ฐานทีจ่ ะต้องคํานึงถึงในการก่อสร้างถังเก็บสารเคมี พบว่า พืน้ ทีน่ นั ้ ;

 ควรอยูห่ า่ งจากแหล่งนํ้าผิวดิน หรือแหล่งนํ้าใช้ และมีการควบคุมการปนเปื้อนมลพิษสําหรับ


นํ้าผิวดิน หรือแหล่งนํ้าใช้ กรณีทม่ี อี ุบตั เิ หตุ หรือเหตุฉุกเฉิน
 ควรห่างจากชุมชน ถนน ทางรถไฟ โรงเรียน และโรงพยาบาล เพือ่ ไม่ให้เป็ นอันตรายกรณีทเ่ี กิด
เหตุระเบิด เพลิงไหม้ หรือการรัวไหล ่
 ควรอยูห่ า่ งจากแหล่งจุดติดไฟ (Ignition source)
 ควรอยูห่ า่ งจากวัสดุทต่ี ดิ ไฟได้ (Combustible materials)
 ควรอยูห่ า่ งจากพืน้ ทีเ่ ก็บปุ๋ย หรือสารทีใ่ ช้ในการเกษตร
 ควรอยูห่ า่ งจากพืน้ ทีเ่ ก็บขยะ หรือวัสดุทไ่ี ม่ใช้แล้ว
 ควรแยกออกจากพืน้ ทีก่ ระบวนการผลิต และเป็ นพืน้ ทีเ่ พือ่ การจัดเก็บสารเคมีอย่างชัดเจน
 ควรง่ายต่อการเข้าถึง และสะดวกในการเข้าตรวจสอบและการบํารุงรักษา

โดยในคูม่ อื เล่มนี้ได้อา้ งอิงการกําหนดระยะห่างระหว่างถังถึงทางสาธารณะจากกฎหมายควบคุม


อาคาร และกําหนดระยะห่างทีป่ ลอดภัย (Minimum separation distance) จาก NFPA 30 –Chapter 22
– Storage of Liquids in Tanks ซึง่ กําหนดระยะห่างเป็ น 2 ระยะ คือ
 ระยะห่างจากผนังของถังเก็บสารเคมีและเขตรัว้ โรงงาน (Property line) หรือทางสาธารณะ
(Public way)
 ระยะห่างระหว่างผนังของถังเก็บสารเคมี (Shell-to-shell spacing)

จากกฎหมายควบคุมอาคารมีขอ้ กําหนดให้ถงั เก็บสารเคมี ซึง่ จัดว่าเป็ นอาคารประเภทหนึ่ง


โดยกฎหมายควบคุมอาคารได้กาํ หนดระยะร่นตามกว้างของทางสาธารณะทีอ่ ยูต่ ดิ กับถังเก็บสารเคมี
แสดงดังรูปที่ 4.1 และมีรายละเอียดดังนี้

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-1
 ถ้าถนนสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้รน่ แนวอาคารห่างจากกึง่ กลางถนน
สาธารณะอย่างน้อย 10 เมตร
 ถ้าถนนสาธารณะมีความกว้างตัง้ แต่ 10 เมตร ขึน้ ไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้รน่ แนวอาคาร
ห่างจากกึง่ กลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างสาธารณะ
 ถ้าถนนสาธารณะมีความกว้างเกิน 20 เมตร ขึน้ ไป ให้รน่ แนวอาคารห่างจากกึง่ กลางถนน
สาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

รูปที่ 4.1 ตัวอย่างรูปแสดงระยะห่างตามกฎหมายควบคุมอาคาร

ตามแนวทางของมาตรฐาน NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code การกําหนด


ระยะห่างต่างๆ จะพิจารณาจากชนิดของของเหลวทีต่ อ้ งการจัดเก็บ โดยแบ่งเป็ น (i) ของเหลวทีเ่ สถียร
(Stable liquid) และ (ii) ของเหลวทีไ่ ม่เสถียร (Unstable liquid) และความดันภายในของถังเก็บสารเคมี
สําหรับของเหลวทีไ่ ม่เสถียร จะหมายถึงของเหลวทีส่ ามารถเกิดปฏิกริ ยิ าพอลิเมอไรเซชัน่ สลายตัว
ควบแน่น หรือเกิดปฏิกริ ยิ าต่างๆ ได้เอง รวมทัง้ ต้องคํานึงถึงประเภทของถังเก็บสารเคมี และอุปกรณ์
ความปลอดภัย เช่น ระบบระบายแรงดันฉุกเฉิน (Emergency relief venting system)
สรุปสําหรับระยะห่างจากผนังของถังเก็บสารเคมีและเขตรัว้ โรงงาน (Property line) หรือทาง
สาธารณะ (Public way) และระยะห่างระหว่างผนังของถังเก็บสารเคมีสาํ หรับถังแต่ละประเภททีค่ วามดัน
ไม่เกิน 17.2 psi (หรือ 2.5 psig) และความดันทีม่ ากกว่า 17.2 psi (หรือ 2.5 psig) สามารถสรุปได้ดงั
ตารางที่ 4.1 และตารางที่ 4.2 ตามลําดับ โดยให้ดรู ปู ภาพระยะห่างต่างๆ ประกอบในรูปที่ 4.2

4-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 4.2 ตัวอย่างรูปแสดงระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บสารเคมี

ความหมายของระยะต่างๆ แสดงดังนี้
 A คือ ระยะห่างจากทางสาธารณะทีอ่ ยูด่ า้ นใกล้ทส่ี ดุ หรืออาคารทีใ่ กล้ทส่ี ดุ ทีอ่ ยูใ่ นแนวเขต
เดียวกัน
 B คือ ระยะห่างจากเขือ่ นกัน้ ล้อมรอบ (Dike) ถึงทางสาธารณะทีอ่ ยูด่ า้ นตรงข้าม
 D คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของถังเก็บสารเคมี
 X คือ ระยะห่างจากผนังถังถึงผนังเขือ่ นกัน้ ล้อมรอบ (Shell-to-Dike)
 Y คือ ระยะห่างระหว่างผนังของถัง (Shell-to-Shell)

ตารางที่ 4.1 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันไม่เกิน 17.2 psi (หรือ 2.5 psig)
ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร)
ระยะห่างอย่างน้ อย (Minimum distance); เมตร
ปริ มาตร X -อ้างอิงตาม
ประเภทถังเก็บ
ระบบป้ องกัน (ลูกบาศก์ Table Y-อ้างอิงตาม Table
สารเคมี B1 A
เมตร) 22.11.2.5 ใน 22.4.2.1ใน NFPA 30
NFPA 30
สําหรับของเหลวที่เสถียร (Stable liquid) – อ้างอิงตาม Table 22.4.1.1(a), (b) ใน NFPA 30
Protection for 1/6 x ผลรวมของเส้น
1/2 x D 1/6 x D
Floating roof exposure2/ ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
ไม่กาํ หนด 1.5
tank D (ไม่เกิน 52.5 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
ไม่ม ี 1/6 x D
เมตร) น้อยกว่า 0.9 เมตร)
Fixed roof tank มีระบบก๊าซ 1-10 1.5 0.25 1/6 x ผลรวมของเส้น
ทีม่ รี ะบบวาล์ว เฉื่อย (Inert > 10-45 2.25 0.25 ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
1.5
ระบายแรงดัน system) หรือ > 45-114 3 0.25 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
ฉุกเฉิน มีระบบโฟม > 114-190 4.5 0.5 น้อยกว่า 0.9 เมตร)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-3
ตารางที่ 4.1 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันไม่เกิน 17.2 psi (หรือ 2.5 psig)
ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร) (ต่อ)
ระยะห่างอย่างน้ อย (Minimum distance); เมตร
ปริ มาตร X -อ้างอิงตาม
ประเภทถังเก็บ
ระบบป้ องกัน (ลูกบาศก์ Table Y-อ้างอิงตาม Table
สารเคมี B1 A
เมตร) 22.11.2.5 ใน 22.4.2.1ใน NFPA 30
NFPA 30
(Foam > 190-380 7.5 0.75
system) > 380-500 12 1.25
1-10 3 0.5
> 10-45 4.5 0.5 1/6 x ผลรวมของเส้น
Protection for > 45-114 6 0.5 ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
1.5
exposure2/ > 114-190 9 1.0 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
Fixed roof tank
> 190-380 15 1.5 น้อยกว่า 0.9 เมตร)
ทีม่ รี ะบบวาล์ว
ระบายแรงดัน > 380-500 24 2.5
ฉุกเฉิน (ต่อ) 1-10 6 0.5
> 10-45 9 0.5 1/6 x ผลรวมของเส้น
> 45-114 12 0.5 ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
ไม่ม ี 0.5
> 114-190 18 1.0 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
> 190-380 30 1.5 น้อยกว่า 0.9 เมตร)
> 380-500 40 2.5
สําหรับของเหลวที่ไม่เสถียร (Unstable liquid) -อ้างอิงตาม Table 22.4.1.1 (b) และ Table 22.4.1.5 ใน NFPA 30
ถังทีม่ รี ะบบ 1-10 3
ป้องกันอย่าง > 10-45 4.5 1/6 x ผลรวมของเส้น
ใดอย่างหนึ่ง
ต่อไปนี้ ; > 45-114 6 ไม่น้อยกว่า ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
1.5
ระบบสเปรย์ > 114-190 9 7.5 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
นํ้าดับเพลิง, > 190-380 15 น้อยกว่า 0.9 เมตร)
Vertical tank ทีม่ ี
ฉนวนหรือ
ระบบวาล์ว > 380-500 24
ระบบหล่อเย็น
ระบายแรงดัน
1-10 7.5 ไม่น้อยกว่า 1.5 1/6 x ผลรวมของเส้น
ฉุกเฉิน
> 10-45 11.25 15 ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
Protection for > 45-114 15 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
Exposure2/ > 114-190 22.5 น้อยกว่า 0.9 เมตร)
> 190-380 37.5
> 380-500 60

4-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4.1 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันไม่เกิน 17.2 psi (หรือ 2.5 psig)
ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร) (ต่อ)
ระยะห่างอย่างน้ อย (Minimum distance); เมตร
ปริ มาตร X -อ้างอิงตาม
ประเภทถังเก็บ
ระบบป้ องกัน (ลูกบาศก์ Table Y-อ้างอิงตาม Table
สารเคมี B1 A
เมตร) 22.11.2.5 ใน 22.4.2.1ใน NFPA 30
NFPA 30
1-10 15
> 10-45 22.5 1/6 x ผลรวมของเส้น
> 45-114 30 ไม่น้อยกว่า ผ่านศูนย์กลางของถังคูท่ ่ี
ไม่ม ี 1.5
> 114-190 45 30 อยูต่ ดิ กัน (แต่ตอ้ งไม่
> 190-380 75 น้อยกว่า 0.9 เมตร)
> 380-500 120
1/
หมายเหตุ ระยะห่างจากเขือ่ นกัน้ ล้อมรอบ (Dike) ถึงทางสาธารณะทีอ่ ยูด่ า้ นตรงข้ามซึง่ จะต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
2/
Protection for exposure หมายถึงพืน้ ทีใ่ กล้เคียงถังเก็บสารเคมีมรี ะบบดับเพลิงหรือมีระบบนํ้าหล่อเย็นเพือ่ ป้องกันไฟ
ลุกลามกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้

ตารางที่ 4.2 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันมากกว่า 17.2 psi


(หรือ 2.5 psig) ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร)
ระยะห่างอย่างน้ อย (Minimum distance); เมตร
ปริ มาตร B1 A
X -อ้างอิงตาม Y-อ้างอิงตาม
ประเภทถังเก็บ
ระบบป้ องกัน (ลูกบาศก์ Table Table 22.4.2.1
สารเคมี
เมตร) 22.11.2.5 ใน ใน NFPA 30
NFPA 30
สําหรับของเหลวที่เสถียร (Stable liquid) - อ้างอิงตาม Table 22.4.1.1 (b) และ Table 22.4.1.3 ใน NFPA 30
1-10 4.5 2.25 1/6 x ผลรวม
> 10-45 6.75 2.25 ของเส้นผ่าน
Protection for > 45-114 9 2.25 ศูนย์กลางของ
1.5
exposure2/ > 114-190 13.5 4.5 ถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน
> 190-380 22.5 6.75 (แต่ตอ้ งไม่น้อย
ทุกประเภท
> 380-500 36 11.25 กว่า 0.9 เมตร)
1-10 9 2.25 1/6 x ผลรวม
> 10-45 13.5 2.25 ของเส้นผ่าน
ไม่ม ี 1.5
> 45-114 18 2.25 ศูนย์กลางของ
> 114-190 27 4.5 ถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-5
ตารางที่ 4.2 ระยะห่างทีป่ ลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีค่ วามดันมากกว่า 17.2 psi
(หรือ 2.5 psig) ทีม่ ปี ริมาตร 1-500 ลูกบาศก์เมตร (D < 45 เมตร) (ต่อ)
ระยะห่างอย่างน้ อย (Minimum distance); เมตร
ปริ มาตร B1 A X -อ้างอิงตาม Y-อ้างอิงตาม
ประเภทถังเก็บ
ระบบป้ องกัน (ลูกบาศก์ Table Table 22.4.2.1
สารเคมี
เมตร) 22.11.2.5 ใน ใน NFPA 30
NFPA 30
> 190-380 45 6.75 (แต่ตอ้ งไม่น้อย
ทุกประเภท (ต่อ)
> 380-500 72 11.25 กว่า 0.9 เมตร)
สําหรับของเหลวที่ไม่เสถียร (Unstable liquid) - อ้างอิงตาม Table 22.4.1.1 (b) และ Table 22.4.1.5 ใน NFPA 30

ถังทีม่ รี ะบบ 1-10 6


ป้องกันอย่าง > 10-45 9
1/6 x ผลรวม
ใดอย่างหนึ่ง >45-114 12
ต่อไปนี้ ; ของเส้นผ่าน
>114-190 18 ไม่น้อยกว่า ศูนย์กลางของ
ระบบสเปรย์
1.5
นํ้าดับเพลิง, >190-380 30 15 ถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน
ฉนวนหรือ (แต่ตอ้ งไม่น้อย
ระบบทําความ กว่า 0.9 เมตร)
>380-500 48
เย็น,
Barricade
Vertical tank ที่
1-10 12 1/6 x ผลรวม
มีระบบวาล์ว
> 10-45 18 ของเส้นผ่าน
ระบายแรงดัน
ฉุกเฉิน Protection for > 45-114 24 ไม่น้อยกว่า ศูนย์กลางของ
1.5
exposure2/ > 114-190 36 30 ถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน
> 190-380 60 (แต่ตอ้ งไม่น้อย
> 380-500 96 กว่า 0.9 เมตร)
1-10 24 1/6 x ผลรวม
> 10-45 36 ของเส้นผ่าน
> 45-114 48 ไม่น้อยกว่า ศูนย์กลางของ
ไม่ม ี 1.5
> 114-190 72 45 ถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน
> 190-380 120 (แต่ตอ้ งไม่น้อย
> 380-500 192 กว่า 0.9 เมตร)
1/
หมายเหตุ ระยะห่างจากเขือ่ นกัน้ ล้อมรอบ (Dike) ถึงทางสาธารณะทีอ่ ยูด่ า้ นตรงข้ามซึง่ จะต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
2/
Protection for exposure หมายถึงพืน้ ทีใ่ กล้เคียงถังเก็บสารเคมีมรี ะบบดับเพลิงหรือมีระบบนํ้าหล่อเย็นเพือ่ ป้องกันไฟ
ลุกลามกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้

4-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
4.2 การจัดวางถังเก็บสารเคมี
สําหรับการจัดวางถังเก็บสารเคมีจะต้องคํานึงถึงลักษณะพืน้ ที่ สมบัตขิ องสารเคมี และการ
จัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ หรือเส้นทางสําหรับรถดับเพลิงเพือ่ ให้สามารถเข้าช่วยเหลือได้กรณีมเี หตุ
ฉุกเฉิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 ถังเก็บสารเคมีแต่ละถังจะต้องมีการวางผังถังแต่ละถังอย่างชัดเจน เช่น จุดเติมหรือจุดปล่อย


สารเคมี ระบบท่อ และปมสู ั ๊ บสารเคมี เป็ นต้น
 สารเคมีทเ่ี ก็บในถังเก็บสารเคมีอาจจะทําปฏิกริ ยิ ากัน เมือ่ เกิดเพลิงไหม้ หรือไม่สามารถดับเพลิง
นัน้ ได้ดว้ ยเครือ่ งดับเพลิงชนิดเดียวกัน จึงต้องมีการติดตัง้ เครือ่ งดับเพลิงทีเ่ หมาะสมกับสารเคมี
นัน้ ๆ
 ควรมีระยะทีร่ ถดับเพลิงสามารถฉีดสารดับเพลิงถึงได้ หรือพืน้ ทีใ่ ห้รถดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้
อย่างน้อย 2 ด้าน ในกรณีทม่ี ถี งั เก็บสารเคมีมากกว่า 1 ถัง จะต้องมีทางหรือพืน้ ทีใ่ ห้รถดับเพลิง
สามารถเข้าถึงได้ทุกถังเช่นเดียวกัน
 ในกรณีทม่ี ขี อ้ จํากัดด้านพืน้ ที่ และพืน้ ทีท่ ร่ี ถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้ซง่ึ เรียกว่า “Shadow
zone” ดังแสดงในรูปที่ 4.3 (พืน้ ทีท่ ร่ี ะบายสีเหลือง) จะต้องมีการพิจารณาออกแบบ และติดตัง้
ระบบดับเพลิงทีเ่ หมาะสม หรือพิจารณาการติดตัง้ ระบบดับเพลิงจากด้านบนของถังเก็บสารเคมี

รูปที่ 4.3 พืน้ ทีท่ ร่ี ถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือ “Shadow zone”

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-7
บทที่ 5 การติ ดตัง้ และการใช้งานถังเก็บของเหลวไวไฟ

ในบทนี้จะสรุปรายการอุปกรณ์ทค่ี วรติดตัง้ ทีถ่ งั เก็บของเหลวไวไฟ โดยจะแบ่งออกเป็ น 5 กลุ่ม


ตามหน้าทีก่ ารทํางานของอุปกรณ์นนั ้ ๆ ดังนี้
1) ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว (Basic component and level devices)
2) อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน (Venting device)
3) อุปกรณ์สาํ หรับป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน (Lightning and grounding system)
4) อุปกรณ์สาํ หรับระบบป้องกันและระงับไฟไหม้ (Fire protection device)
5) อุปกรณ์เฉพาะเพิม่ เติมอื่นๆ
โดยรายละเอียดการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ แสดงดังนี้
5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว (Basic component and level devices)
ถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบพืน้ ฐาน ได้แก่ ช่องเปิดของถัง (Access
hatch) ช่องคนลงทีห่ ลังคา (Roof manhole) ช่องคนลงทีผ่ นังถังเก็บ (Shell manhole) ช่องระบาย
(Drain) และบ่อรองรับนํ้าหรือตะกอนทีพ่ น้ื ภายในถังเก็บ (Sump) และอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว ซึง่ มีทงั ้
วิธอี ตั โนมัติ และวิธี Manual
 ช่องเปิ ดของถัง เป็ นช่องเปิ ดทีอ่ ยูบ่ ริเวณหลังคาของถังเก็บ ซึง่ ใช้เปิดเพือ่ วัดอุณหภูมิ และระดับ
ของสารทีบ่ รรจุอยูใ่ นถัง โดยเป็ นการวัดโดยใช้วธิ ี Manual เช่น เทปวัดระดับ เป็ นต้น
 ช่องคนลงทีห่ ลังคา เป็ นช่องเปิดทีอ่ ยูบ่ นหลังคาเพือ่ ให้สามารถเข้าไปทํางานในระหว่างหยุดซ่อม
บํารุงได้
 ช่องคนลงทีผ่ นังถังเก็บ เป็ นช่องเปิ ดทีอ่ ยูส่ ว่ นล่างของถังเพือ่ ให้สามารถเข้าไปทํางานในระหว่าง
หยุดซ่อมบํารุง และเป็ นช่องให้นําตะกอนหรือสลัดจ์สารเคมีทต่ี กค้างอยูภ่ ายในถังเก็บออกระหว่าง
ซ่อมบํารุง โดยถังเก็บทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 25 เมตร จะต้องมีชอ่ งคนลงอย่างน้อย
2 ช่อง นอกจากนี้หากมีการติดตัง้ ช่องคนลงแล้ว ผนังรอบข้างของช่องคนลงจะต้องมีการติดตัง้
แผ่นเสริมความแข็งแรง เพือ่ สร้างความมันคงของผนั่ ง Shell ดังกล่าวไว้ในบทที่ 3
 ช่องระบาย และบ่อรองรับนํ้าหรือตะกอนทีพ่ น้ื ภายในถังเก็บ (Sump) มีไว้เพือ่ ใช้ระบายนํ้าและ
ตะกอนสารเคมีทส่ี ะสมอยูใ่ นถังเก็บ และทําบ่อพักทีจ่ ุดตํ่าทีส่ ดุ ภายในถัง พร้อมต่อท่อระบายผ่าน
วาล์วออกมาภายนอก

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-1
 อุปกรณ์วดั ระดับของเหลว เป็ นอุปกรณ์วดั ระดับความสูงของของเหลวในถังเก็บ โดยแบ่งออกเป็ น
2 แบบ คือ แบบ Manual และแบบอัตโนมัติ สามารถเลือกชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- แบบ Manual เช่น เทปวัดระดับทีไ่ ด้รบั การรับรองโดยสํานักงานกลางชังตวงวั่ ด กระทรวง
พาณิชย์ สําหรับอุปกรณ์ทจ่ี มุ่ ลงในของเหลวไวไฟจะต้องทําจากวัสดุไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ
กรณีถงั เล็กสามารถใช้ตดิ ตัง้ Sight glass ได้
- แบบอัตโนมัติ เช่น อุปกรณ์วดั ระดับอัตโนมัติ (Auto level gauge) ทีใ่ ช้วดั และแจ้งระดับ
สารเคมีภายในถังเก็บ พร้อมทัง้ ติดตัง้ เชือ่ มต่อกับระบบแจ้งเตือนระดับของเหลวทีร่ ะดับ High
alarm หรือ Low alarm เพือ่ ให้ของเหลวอยูใ่ นระดับถังเก็บทีเ่ หมาะสม ไม่ให้สงู จนล้นหรือตํ่า
เกินไป
รูปตัวอย่าง และหน้าทีก่ ารทํางานของส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว เพือ่ ให้
เกิดความรูค้ วามเข้าใจในอุปกรณ์เบือ้ งต้นแต่ละประเภท แสดงดังตารางที่ 5.1
ตารางที่ 5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
ส่วนประกอบพืน้ ฐาน
1) ช่องเปิดของถัง หรือทีเ่ รียกว่า Gauge hatches เป็ น
ช่องเปิดทีต่ ดิ ตัง้ บริเวณหลังคาของถัง
เก็บ เพื่อใช้วดั ระดับของสารทีบ่ รรจุ
อยูใ่ นถัง โดยเป็ นการวัดโดยใช้ระบบ
Manual นอกจากใช้เป็ นช่องในการ
วัดระดับแล้ว ยังสามารถเปิ ดฝาเพือ่
ตรวจวัดอุณหภูมภิ ายในถังเก็บหรือ
เก็บตัวอย่างของสารเคมี
2) ช่องคนลงทีห่ ลังคา เป็ นช่องเปิดทีอ่ ยูบ่ นหลังคาเพือ่ ให้
สามารถเข้าไปทํางาน ในระหว่างหยุด
ซ่อมบํารุงได้

3) ช่องคนลงทีผ่ นังถังเก็บ เป็ นช่องทางสําหรับเข้าไปทํา


ความสะอาด บํารุงรักษาภายหลังการ
ถ่ายเทสารเคมีออกไปหมดแล้ว
นอกจากนี้หากมีการติดตัง้ ช่อง
Manhole แล้ว ผนังรอบข้างของ
Manhole จะต้องมีการติดตัง้ แผ่นเสริม
ความแข็งแรง เพือ่ สร้างความมันคง

5-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ตารางที่ 5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว (ต่อ)
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
ของผนัง Shell ดังกล่าว
4) บ่อรองรับนํ้าหรือตะกอนที่ บ่อพักนํ้าหรือสารเคมีทต่ี กค้าง
พืน้ ภายในถังเก็บ (Sump) โดยทัวไป
่ sump จะตัง้ อยูบ่ ริเวณ
ตํ่าสุดของถังเก็บ

5) ช่องระบาย ท่อเชื่อมต่อกับบ่อพัก ใช้เพือ่ ระบาย


นํ้าและกากตะกอนสารเคมีทส่ี ะสมอยู่
ในถังเก็บ

6) บันได (Stair) และราวจับ ใช้เป็ นทางขึน้ -ลง และป้องกันการ


(Hand rail) พลัดตก

7) ถุงบอกทิศทางลม ใช้เพือ่ บอกทิศทางของกระแสลม


(Wind sock) ทีพ่ ดั ผ่านบริเวณถังเก็บ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-3
ตารางที่ 5.1 ส่วนประกอบพืน้ ฐานและอุปกรณ์วดั ระดับของเหลว (ต่อ)
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
8) อุปกรณ์วดั ระดับของเหลว
8.1) เทปวัดระดับ เป็ นอุปกรณ์แบบ Manual ใช้วดั ระดับ
สารเคมีภายในถังเก็บผ่านช่องเปิด
บนหลังคา

8.2) อุปกรณ์วดั ระดับอัตโนมัติ เป็ นอุปกรณ์แบบอัตโนมัติ ใช้วดั ระดับ


(Auto level gauge) สารเคมีภายในถังเก็บ อุปกรณ์
ดังกล่าวมีสว่ นเคลื่อนทีส่ งู ขึน้ หรือลด
ตํ่าลงตามระดับความสูงของสารทีเ่ ก็บ
อยูภ่ ายในถังเก็บ

8.3) ระบบแจ้งเตือนระดับ สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า High


ของเหลว (Level alarm) alarm หรือ Low alarm เป็ นอุปกรณ์
แจ้งเตือนปริมาตรของสารเคมีทอ่ี ยูใ่ น
ถังเก็บให้อยูใ่ นระดับทีเ่ หมาะสม
ไม่ให้สงู จนล้นหรือตํ่าเกินไป

5.2 อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน (Venting devices)


ถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องมีระบบระบายอากาศและความดันทีเ่ หมาะสม เพือ่ ป้องกันอันตราย
และการยุบตัวของถังเก็บจากการเปลีย่ นแปลงความดันทีล่ ดลงหรือความดันส่วนเกินทีเ่ พิม่ ขึน้
โดยอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในระบบระบายความดันนี้จะต้องออกแบบและได้มาตรฐานตามข้อกําหนดของ
API 2000 : Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks เพือ่ ให้สามารถควบคุม
อัตราส่วนค่า Pressure : Vaccuum ให้เหมาะสมได้ตามทีอ่ อกแบบไว้ สําหรับอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในระบบ
ระบายความดันมีหลายแบบ ดังนี้
 Open vent หรือ Free vent : เป็ นท่อระบายความดันทีเ่ ปิดออกสูบ่ รรยากาศโดยตรง ทีต่ ดิ ตัง้ อยู่
บนหลังคา โดยทีท่ อ่ ระบายนี้จะต้องติดตัง้ ตาข่ายทีป่ ลายท่อเพือ่ ป้องกันนกหรือแมลงเข้าไปในถัง

5-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรณีทเ่ี ป็ นของเหลวไวไฟ จะต้องไม่มแี หล่งจุดติดไฟอยูใ่ กล้กบั ท่อดังกล่าว กรณีทใ่ี ช้ทอ่ ระบาย
ความดันควรพิจารณาติดตัง้ อุปกรณ์ดกั เปลวไฟ (Flame arrestor) เพิม่ เติม
 Pressure safety valve (วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure relief valve (วาล์วระบายแรงดัน)
เป็ นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบมีหน้าทีห่ ลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึง่ จะทํางาน
เองโดยอัตโนมัตเิ มือ่ มีแรงดันเกินกว่าค่าทีต่ งั ้ ไว้
 Pressure vacuum valve (หรือเรียกย่อๆ ว่า PV Valve) หรือ Breather valve เป็ นอุปกรณ์ความ
ปลอดภัยของระบบซึง่ จะทํางานเองโดยอัตโนมัติ มีหน้าทีห่ ลักคือ ระบายแรงดันภายในระบบออก
เมือ่ มีแรงดันเกินกว่าค่าทีต่ งั ้ ไว้ และเปิดให้อากาศภายนอกเข้ามาในถัง เมือ่ มีแรงดันของสภาวะ
สุญญากาศตํ่ากว่าทีก่ าํ หนดไว้

ในการเลือกใช้อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดันนี้ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องพิจารณาถึง


ลักษณะการใช้งานของถังเก็บ และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทจ่ี ดั เก็บภายในถัง รูปตัวอย่าง และหน้าทีก่ าร
ทํางานของอุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน เพือ่ ให้เกิดความรูค้ วามเข้าใจในอุปกรณ์เบือ้ งต้นแต่ละ
ประเภท แสดงดังตารางที่ 5.2

ตารางที่ 5.2 อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน


ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
1) Open vent หรือ Free vent เป็ นท่อระบายความดันทีเ่ ปิดออกสู่
บรรยากาศโดยตรง ทีต่ ดิ ตัง้ อยูบ่ น
หลังคา โดยทีท่ ่อระบายนี้จะต้อง
ติดตัง้ ตาข่ายทีป่ ลายท่อเพือ่ ป้องกัน
นกหรือแมลงเข้าไปในถัง

2) Pressure safety valve เป็ นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบ


(วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure มีหน้าทีห่ ลักคือระบายแรงดันภายใน
relief valve (วาล์วระบาย ระบบออก ซึง่ จะทํางานเองโดย
แรงดัน) อัตโนมัตเิ มือ่ มีแรงดันเกินกว่าค่าทีต่ งั ้
ไว้

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-5
ตารางที่ 5.2 อุปกรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน (ต่อ)
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
3) PV Valve หรือ Breather อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกออกแบบเพือ่ ความ
valves ปลอดภัยของถังเก็บ ในกรณีทถ่ี งั มี
ความดันมากเกินปกติ ระบบนี้จะ
ระบายความดันออกมา เพือ่ ป้องกัน
ถังเก็บระเบิด ในทางตรงกันข้าม
หากภายในถังมีความดันลดลง
ระบบนี้จะเปิดและนําอากาศภายนอก
เข้าสูถ่ งั เก็บ เพื่อป้องกันถังยุบตัว

5.3 อุปกรณ์สาํ หรับป้ องกันฟ้ าผ่า และการต่อลงดิ น (Lightning and Grounding system)
ถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องมีการติดตัง้ ระบบป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดินตามมาตรฐาน
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ซึง่ มีรายละเอียดดังนี้
 อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า หรือระบบ Lightning : ถังเก็บทีอ่ ยูภ่ ายนอกอาคารจะต้องติดตัง้ ตัวนําล่อฟ้า
โดยจํานวนตัวนําล่อฟ้าจะต้องครอบคลุมบริเวณทีต่ อ้ งการป้องกันฟ้าผ่าได้ทงั ้ หมด และตัวนําล่อฟ้า
ทีเ่ ป็ นทองแดงควรมีความต้านทานจําเพาะไม่เกิน 0.02 โอห์มตารางมิลลิเมตรต่อเมตร หรือ
อะลูมเิ นียมทีม่ คี วามต้านทานจําเพาะไม่เกิน 0.03 โอห์มตารางมิลลิเมตรต่อเมตร เว้นแต่สถานทีท่ ม่ี ี
การผุกร่อนรุนแรง ให้ใช้ทองแดงเท่านัน้
 กรณีถงั เก็บของเหลวไวไฟทีท่ าํ จากเหล็กความหนามากกว่า 5 มม. หรืออะลูมเิ นียมความหนา
มากกว่า 7 มม. ถือได้วา่ ตัวถังเก็บเป็ นตัวนําล่อฟ้าโดยธรรมชาติ จึงไม่ตอ้ งมีการติดตัง้ ตัวนําล่อฟ้า
เพิม่ เติม แต่จะต้องติดตัง้ ระบบสายดินให้เหมาะสม
 การต่อลงดิน หรือระบบ Grounding : ถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องติดตัง้ สายดิน ทีม่ คี า่ ความ
ต้านทานไม่เกิน 10 โอห์ม ตาม "มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 3" ของ วสท. โดยจํานวนจุด
ทีต่ ่อตัวนําลงดินจะต้องพิจารณาจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถังเก็บ คือ
- กรณีถงั เก็บของเหลวไวไฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 20 เมตร ให้ต่อลงดิน 1 จุด
- กรณีถงั เก็บของเหลวไวไฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เมตร ให้ต่อลงดินอย่างน้อย
2 จุด ตําแหน่งทีอ่ ยูต่ รงกันข้าม
 สําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟทีไ่ ม่ได้ตดิ ตัง้ ตัวนําล่อฟ้า ควรพิจารณาติดตัง้ ตัวนําลงดินอย่างน้อย 2
จุด และต่อเชือ่ มถึงกันทุกถัง โดยจะต้องมีการประสานกันระหว่างตัวถังกับตัวนําของระบบสายดิน
โดยการเชื่อม การบีบอัด การยึดด้วยสกรู เพือ่ กระจายกระแสฟ้าผ่าลงสูด่ นิ โดยไม่เกิดความ
เสียหายต่อตัวถัง

5-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปตัวอย่าง และหน้าทีก่ ารทํางานของอุปกรณ์สาํ หรับป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน เพือ่ ให้เกิด
ความรูค้ วามเข้าใจในอุปกรณ์เบือ้ งต้นแต่ละประเภท แสดงดังตารางที่ 5.3
ตารางที่ 5.3 อุปกรณ์สาํ หรับป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
1) ตัวนําล่อฟ้า หรือสายล่อฟ้า เป็ นอุปกรณ์ทใ่ี ช้ดกั รับวาบฟ้าผ่า
เพือ่ ไม่ให้ฟ้าผ่าลงทีถ่ งั โดยตรง

2) ตัวนําลงดิน หรือสายดิน เป็ นอุปกรณ์ชว่ ยถ่ายเทประจุไฟฟ้า


ให้กระจายลงสูด่ นิ

5.4 อุปกรณ์สาํ หรับระบบป้ องกันและระงับไฟไหม้ (Fire protection device)


ถังเก็บของเหลวไวไฟจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้พน้ื ฐาน ได้แก่ อุปกรณ์ดกั จับ
เปลวไฟ และระบบนํ้าและโฟมดับเพลิง สําหรับรายละเอียดอุปกรณ์มดี งั นี้
 อุปกรณ์ดกั จับเปลวไฟ (Flame arrestor) เป็ นอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการดักจับเปลวไฟ เพือ่ ป้องกัน
การลุกติดไฟและการระเบิด โดยปกติแล้วจะต้องติดตัง้ ทีช่ อ่ งเปิ ดทุกช่องของถังเก็บ เช่น
ทีท่ อ่ ระบาย Open vent เป็ นต้น
 ระบบโฟมดับเพลิง1 (Foam system) เป็ นระบบทีใ่ ช้สาํ หรับดับเพลิงไหม้สารเคมีประกอบด้วย
ถังเก็บโฟม (Foam chamber) และระบบท่อนําโฟม (Foam line deflector) โดยจะต้องมีอตั ราการ
ใช้สารละลายโฟม ดังนี้
- 4.1 ลิตรต่อนาทีต่อตารางเมตร สําหรับ ถังเก็บชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่
- 12.2 ลิตรต่อนาทีต่อตารางเมตร สําหรับ ถังเก็บชนิดหลังคาเคลื่อนทีภ่ ายใน

1
อ้างอิงตาม กฎกระทรวงพลังงาน เรือ่ ง สถานทีเ่ ก็บรักษานํ้ามันเชือ้ เพลิง พ.ศ. 2551 ตีพมิ พ์ในราชกิจจานุ เบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 48ก
ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-7
 ระบบนํ้าดับเพลิงและหล่อเย็น12(Water cooling / Sprinkler system) เป็ นระบบนํ้าทีม่ ไี ว้สาํ หรับ
ฉีดนํ้าหล่อเลีย้ งถังเมือ่ เกิดเพลิงไหม้ เพือ่ ลดอุณหภูมขิ องถังเก็บ ประกอบด้วย ท่อนํ้าและ
Sprinkler ชุดอุปกรณ์น้ําดับเพลิง และปืนฉีดนํ้าดับเพลิง ซึง่ มีขอ้ กําหนดเบือ้ งต้นดังนี้
- นํ้าหล่อเย็น ต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 2 ลิตรต่อนาทีต่อตารางเมตร ในเวลา 1 ชัวโมง ่
- นํ้าดับเพลิง ต้องมีปริมาณนํ้าในอัตราไม่น้อยกว่า 1,900 ลิตรต่อนาที เป็ นเวลาไม่น้อยกว่า
30 นาที
รูปตัวอย่าง และหน้าทีก่ ารทํางานของอุปกรณ์สาํ หรับระบบป้องกันและระงับไฟไหม้ เพือ่ ให้เกิด
ความรูค้ วามเข้าใจในอุปกรณ์เบือ้ งต้นแต่ละประเภท แสดงดังตารางที่ 5.4
ตารางที่ 5.4 อุปกรณ์สาํ หรับระบบป้องกันและระงับไฟไหม้
ส่วนประกอบ รายละเอียด รูปตัวอย่าง
1) อุปกรณ์ดกั จับเปลวไฟ เป็ นอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการดักจับเปลวไฟ
(Flame arrestor) เพือ่ ป้องกันการลุกติดไฟและการ
ระเบิด

2) ระบบโฟมดับเพลิง (Foam system)


2.1) Foam line ท่อนําโฟมทีต่ ่อออกมาจากเครือ่ งผสม
นํ้ายาโฟม (Foam indicator) ซึง่ จะ
ทํางานเมือ่ เครือ่ งตรวจจับความร้อน Foam Line
ได้รบั ความร้อนจนถึงค่าทีอ่ อกแบบไว้
แล้วจึงส่งสัญญาณไปทีต่ คู้ วบคุม
จากนัน้ จึงสังให้
่ Deluge valve เปิ ด
เพือ่ ให้น้ําดับเพลิงไหลผ่านตัวผสม
(Line proportioner) เกิดเป็ น Foam
solution
2.2) Foam chamber อุปกรณ์น้ีจะติดตัง้ บริเวณขอบหลังคา
ของถังเก็บสาร ทําหน้าทีด่ ดู อากาศ
ไปผสมกับโฟมเพือ่ เกิดเป็ นฟอง
พร้อมทีจ่ ะดับเพลิง

1
อ้างอิงตาม กฎกระทรวงพลังงาน เรือ่ ง สถานทีเ่ ก็บรักษานํ้ามันเชือ้ เพลิง พ.ศ. 2551 ตีพมิ พ์ในราชกิจจานุ เบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 48ก
ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

5-8 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
5.5 อุปกรณ์เฉพาะเพิ่ มเติ มอื่นๆ
สําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานควรจะพิจารณาติดตัง้ ระบบควบคุมการ
ปลดปล่อยสาร (Emission) และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ เพิม่ เติม เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพในการ
ใช้งานและควบคุมของเหลวไวไฟในถังเก็บ โดยเลือกใช้ระบบทีเ่ หมาะสมกับของเหลวทีจ่ ดั เก็บ ขณะที่
ของเหลวไวไฟทีม่ สี มบัตคิ วามเป็ นพิษด้วย จะต้องพยายามควบคุมไม่ให้มไี อระเหยปลดปล่อยออกสู่
บรรยากาศภายนอก
 อุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ (Safety equipment)
- อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซและไอระเหยของเหลวไวไฟ ทําหน้าทีต่ รวจจับไอระเหยของเหลวไวไฟ
โดยทัวไปจะติ
่ ั๊
ดตัง้ ใกล้กบั ถังเก็บ พืน้ ทีแ่ ละอุปกรณ์เปลีย่ นถ่ายสาร เช่น ปมและท่ อระบาย
โดยอาจอยูใ่ นรูปของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อินฟราเรด กล้องตรวจจับ (Optical beam) หรือ
ระบบ Catalytic oxidation เป็ นต้น
- อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมขิ องเหลวไวไฟ ทําหน้าทีต่ รวจวัดอุณหภูมขิ องเหลว เหมาะสําหรับ
ของเหลวทีต่ อ้ งการควบคุมอุณหภูมใิ นการจัดเก็บ
- โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็ นอุปกรณ์เพิม่ เติม โดยทัวไปถู ่ กนํามาใช้เพือ่ วัตถุประสงค์ดา้ น
การรักษาความปลอดภัย แต่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการตรวจจับและเฝ้าระวังเมือ่ มีการ
เกิดไอระเหยของเหลวไวไฟ เกิดขึน้ ในบริเวณทีเ่ สีย่ ง
 ระบบควบคุมการปลดปล่อยสาร (Emission) ในการควบคุมไอระเหยของของเหลวไวไฟ จะต้อง
พิจารณาถึงลักษณะการใช้งาน และมูลค่าของของเหลว และความเป็ นพิษของสาร ซึง่ มีวธิ กี าร
ควบคุมอยูห่ ลายวิธี เช่น
- ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซเฉื่อย (Nitrogen/Inert gas blanketing) เป็ นวิธที ่ี
เหมาะกับของเหลวไวไฟทีร่ ะเหยกลายเป็นไอได้งา่ ย มีความไวไฟสูง และถูกออกซิไดซ์ดว้ ย
อากาศได้งา่ ย โดยติดตัง้ เพือ่ ป้องกันไอระเหยของเหลวไวไฟออกสูบ่ รรยากาศภายนอก และ
เพือ่ ป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้ามาในถังเก็บ และในกรณีทต่ี ดิ ตัง้ ระบบปกคลุมด้วยก๊าซเฉื่อยนี้
จะต้องพิจารณาติดตัง้ PV Valve ควบคูด่ ว้ ย
- ระบบเตาเผา (Incinerator) เป็ นวิธงี า่ ยทีส่ ดุ แต่ถา้ ติดตัง้ ระบบนี้จะต้องตรวจสอบมลสารที่
ระบายออกจากปล่องของเตาเผาเพิม่ เติมให้มคี า่ อยูต่ ามทีม่ าตรฐานกําหนด เนื่องจากวิธนี ้ี
อาจจะส่งผลให้ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลสารอื่นๆ เพิม่ ขึน้
- ระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ เช่น ระบบบําบัดแบบตัวเร่งปฏิกริ ยิ า (Catalytic emission
control system) ระบบ Wet scrubber เหมาะสําหรับใช้บาํ บัดไอระเหยของเหลวไวไฟทีม่ ี
ความเป็ นพิษ เช่น เบนซีน ฟอร์มลั ดีไฮด์ เป็ นต้น โดยไอระเหยจากถังเก็บจะถูกส่งไปบําบัดใน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-9
ระบบบําบัดมลพิษก่อนทีป่ ล่อยระบายออกสูบ่ รรยากาศภายนอก และต้องตรวจสอบมลสารที่
ระบายออกจากระบบบําบัดมลพิษให้มคี า่ อยูต่ ามทีม่ าตรฐานกําหนด
- ระบบ Vapor return line เหมาะสําหรับใช้กบั ไอระเหยของเหลวไวไฟทีม่ คี วามเป็ นพิษ
โดยจะดึงไอระเหยกลับเข้าสูถ่ งั เก็บ หรือเชื่อมต่อกับระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ

5-10 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
บทที่ 6 การสร้างฐานรากคอนกรีต

ในบทนี้จะสรุปวัสดุ และสิง่ ทีต่ อ้ งคํานึงถึงสําหรับงานโครงสร้างฐานรากคอนกรีต ซึง่ อ้างอิงตาม


มาตรฐานสากล เช่น ACI 313-97 Standard Practice for Design and Construction of Concrete
Silos and Stacking Tubes for Storing Granular Materials, ACI 318-95 Building Code
Requirements for Structural Concrete, ACI 301–99 Standard Specifications for Structural
Concrete, ASTM Standards C 31/ Standard Practice for Making and Curing, ASTM Standards
C 143M-98 Cement Concrete และ API STANDARD 650 Welded Tanks for Oil Storage เป็ นต้น
โดยมาตรฐานอ้างอิงเหล่านี้มกั นําไปใช้เป็นเพียงข้อแนะนําปฏิบตั ขิ นั ้ ตํ่า มิได้มผี ลบังคับให้ปฏิบตั ติ าม
อย่างเคร่งครัดดังเช่นกฎหมาย ดังนัน้ วิศวกรผูอ้ อกแบบจะต้องใช้ความรู้ ความเชีย่ วชาญ ประสบการณ์
หรือวิจารณญาณประกอบอย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงสภาพข้อเท็จจริง ความสมเหตุสมผล
อย่างไรก็ตามผูใ้ ช้คมู่ อื ฯ ฉบับนี้ยงั คงต้องคํานึงถึงการปฏิบตั ติ ามกฎหมายทีบ่ งั คับใช้ในพืน้ ทีน่ นั ้ ๆ
รวมทัง้ อุปกรณ์พน้ื ฐานทีต่ อ้ งติดตัง้ สําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ ประกอบด้วย

6.1 คุณสมบัติการรับกําลังของชัน้ ดิ น

การรับกําลังของชัน้ ดิน หรือแรงดันดิน หรือแรงดันแบกทาน (Bearing pressure) ภายใต้ฐานราก


หาได้โดยสมมุตใิ ห้ฐานรากเป็ นองค์อาคารทีแ่ ข็ง และดินใต้ฐานรากโดยตรงเป็ นวัสดุเนื้อเดียวทีม่ คี วาม
ยืดหยุน่ (Homogeneous elastic material) ทีถ่ ูกตัดขาดจากดินโดยรอบ เนื่องจากแรงดันดินถูกสมมุติ
ให้แปรผันโดยตรงกับการเสียรูปทรงของดิน แรงดันใต้ฐานรากทีถ่ ูกนํ้าหนักบรรทุกตามแนวแกนจึงถูก
สมมุตใิ ห้แผ่สมํ่าเสมอเพราะดินถูกอัดอย่างสมํ่าเสมอ
แต่เนื่องการกระจายแรงดันใต้ฐานรากไม่สมํ่าเสมอโดยขึน้ กับ (1) ความอ่อนตัว (Flexibility)
(2) ความลึกของฐานรากจากผิวดิน และ (3) ชนิดของดิน ตัวอย่างเช่น การทรุดตัวของฐานรากในดินที่
ไม่มคี วามเหนียว เช่น ทราย หรือหิน จะทําให้เกิดการเคลื่อนตัวทางด้านข้างทีข่ อบฐานราก สําหรับฐาน
รากทีอ่ ยูใ่ กล้ผวิ ดินซึง่ มีผวิ ดินบางๆ คลุมอยูจ่ ะมีแรงต้านทานไม่ให้ดนิ หนีออกจากฐานเล็กน้อย
การสูญเสียดินรองรับทีข่ อบทําให้แรงดันแบกทานลดลง ถ้าฐานรากอยูล่ กึ เพียงพอแรงดันดินจะสมํ่าเสมอ
มากขึน้ เนื่องจากนํ้าหนักดินถมมีมากจนสามารถป้องกันการเคลื่อนตัวออกด้านข้างของดินใต้ฐานรากได้
ถ้าฐานรากตัง้ อยูบ่ นดินเหนียว การทรุดตัวอย่างสมํ่าเสมอของฐานรากจะทําให้เกิดการกระจาย
แรงดันในดินเหนียว หน่วยแรงเฉือนทีเ่ กิดขึน้ ในดินโดยรอบฐานรากจะทําให้เกิดการรองรับในแนวดิง่
เพิม่ เติม แรงดันทีข่ อบจึงมีมากขึน้ แม้วา่ แรงดันทีแ่ ท้จริงใต้ฐานรากจะไม่สมํ่าเสมอก็ตาม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-1
ในการออกแบบฐานรากรับแรงตามแนวแกนจะสมมุตใิ ห้แรงดันกระจายสมํ่าเสมอไม่วา่ จะเป็ นดิน
ชนิดใดทัง้ นี้กเ็ พือ่ ความสะดวกในการวิเคราะห์จากสมการ
q
qa  u
F .S .
เมือ่ qu คือ หน่วยแรงทีท่ าํ ให้ฐานรากวิบตั ิ
F.S. คือ ตัวคูณความปลอดภัย (Factor of safety) ประมาณ 2.5 ถึง 3 ตามหลักทาง
วิศวกรรมธรณีเทคนิค
qa คือ หน่วยแรงของนํ้าหนักบรรทุกใช้งาน ถ้าออกแบบโดยวิธหี น่วยแรงใช้งาน
ก็จะนําไปใช้ได้ทนั ที

6.2 การกําหนดขนาดฐานราก

ขนาดของฐานรากพิจารณาจากนํ้าหนักถังเก็บ (หัวข้อ 3.6 บทที่ 3) หรือเรียกว่านํ้าหนักบรรทุก


ในสภาวะใช้งาน (Service load) และแรงดันดินทีย่ อมให้ซง่ึ จะต่างจากคํานวณออกแบบโดยวิธกี าํ ลังซึง่
จะใช้น้ําหนักบรรทุกประลัย ทัง้ นี้เนื่องจากค่าอัตราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบโครงสร้างและการ
ออกแบบกําลังของดินต่างกัน
หน่วยแรงแบกทานทีย่ อมให้หาตามหลักของปฐพีกลศาสตร์บนพืน้ ฐานของการทดสอบคุณสมบัติ
ของดิน หน่วยแรงแบกทานทีย่ อมให้ qa ภายใต้น้ําหนักบรรทุกใช้งานโดยปกติจะใช้ตวั คูณความ
ปลอดภัย 2.5 ถึง 3.0 ของหน่วยแรงแบกทานทีท่ าํ ให้การทรุดตัวถึงขีดจํากัด ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ถ้าไม่มผี ลทดสอบดินก็ให้ใช้กาํ ลังแบกทานซึง่ จําแนกตามชนิดของดินตามตารางที่ 6.1 ดังนี้

ตารางที่ 6.1 กําลังแบกทานของดิน ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

ประเภทดิน กําลังแบกทาน (ตัน/ตร.ม.)


ดินอ่อนหรือถมดินไว้แน่นเต็มที่ 2
ดินปานกลางหรือทรายร่วน 5
ดินแน่นหรือทรายหยาบ 10
กรวดหรือดินดาน 20
หินดินดาน 25
หินปูนหรือหินทราย 30
หินอัคนีทย่ี งั ไม่แปรสภาพ 100

6-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
สําหรับฐานรากรับนํ้าหนักตรงศูนย์พน้ื ทีฐ่ านรากทีต่ อ้ งการ สามารถหาได้จากสมการ

D ( structure, footing , surch arg e)  L


Areq 
qu
เมือ่ Areq คือ พืน้ ทีฐ่ านรากทีต่ อ้ งการ
qu คือ หน่วยแรงทีท่ าํ ให้ฐานรากวิบตั ิ
D คือ นํ้าหนักบรรทุกคงที่
L คือ นํ้าหนักบรรทุกจร

6.3 นํ้าหนักกระทําบนฐานรากและแรงปฏิ กิริยา


6.3.1 ฐานรากต้องมีขนาด สัดส่วนทีถ่ ูกต้องต่อการต้านทานนํ้าหนักกระทําบนฐานรากและ แรงปฏิกริ ยิ า
ต่างๆ ตามเกณฑ์การออกแบบทีเ่ หมาะสม
6.3.2 ขนาดพืน้ ทีใ่ ต้ฐานหรือจํานวนเสาเข็มให้พจิ ารณาจากแรงกระทําและโมเมนต์ทก่ี ระทําส่งผ่านจาก
ฐานรากสูช่ นั ้ ดินหรือเสาเข็ม โดยคุณสมบัตขิ องแรงดันจากดินและการรับกําลังของเสาเข็มให้
พิจารณาตามหลักการปฐพีกลศาสตร์
6.3.3 สําหรับฐานรากทีว่ างบนเสาเข็ม การคํานวณโมเมนต์และแรงเฉือนให้พจิ ารณาจากแรงปฏิกริ ยิ า
กระทําทีศ่ นู ย์กลางเสาเข็ม
6.4 การเลือกชนิ ดของฐานราก

การเลือกชนิดของฐานรากรองรับถังขึน้ อยูก่ บั ขนาดของถัง สภาวะของพืน้ ที่ สภาวะแวดล้อมต่างๆ


ดังตารางที่ 6.2

ตารางที่ 6.2 ข้อดี ข้อเสีย ของฐานรากแต่ละประเภท


ชนิ ดของฐานราก ข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะ
ฐานวงแหวนคอนกรีต 1. มีการทรุดตัวตามขอบริม 1. มีราคาแพง ขึน้ อยูก่ บั 1. เหมาะกับถังทีม่ เี ส้นผ่าน
(Concrete ringwall) น้อย สถานที่ ศูนย์กลางมากกว่า 6 เมตร
2. มีการกระจายแรงจากผนัง 2. ไม่เหมาะกับสภาพชัน้ 2. ใช้บนสภาพดินดีหรือ
ถังได้ดี ดินอ่อน สภาพดินปานกลาง
3. คอนกรีตวงแหวนต้อง
ทําเหล็กเสริม
ฐานวงแหวนหินคลุก 1. ราคาแพงน้อยกว่าฐาน 1. วัสดุหนิ คลุกอาจหลุด 1. เลือกใช้ได้ในกรณีชนั ้ ดิน
(Crushed stone วงแหวนคอนกรีต ออกจากใต้ฐาน มีสภาพดี
ringwall) 2. มีการกระจายแรงจากผนัง 2. ไม่เหมาะกับชัน้ ดินอ่อน 2. ใช้ในกรณีคอนกรีตจัดหา
ถังสูช่ นั ้ ดินได้ดี ได้ลาํ บากหรือมีราคาแพง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-3
ตารางที่ 6.2 ข้อดี ข้อเสีย ของฐานรากแต่ละประเภท (ต่อ)
ชนิ ดของฐานราก ข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะ
ฐานพืน้ คอนกรีต 1. มีการทรุดตัวน้อย 1. ราคาค่อนข้างแพง 1. ใช้สาํ หรับถังขนาดเล็ก
(Concrete slab) 2. รับแรงจากผนังถังและ โดยเฉพาะสําหรับถังขนาด ไม่แนะนําใช้กบั ถังกว้างเกิน
กระจายแรงได้ดี ใหญ่ 6 เมตร เพราะราคาแพง
3. มีอตั ราการกัดกร่อนน้อย 2. อาจมีการแตกร้าวทีพ่ น้ื 2. เหมาะใช้กบั สภาพดินดี
4. สามารถออกแบบใช้กบั ถัง กรณีสภาพชัน้ ดินอ่อน หรือชัน้ ดินสภาพปานกลาง
ทีม่ สี มอยึดต้านการล้มควํ่า ทีจ่ ดั เตรียมใช้งาน
เนื่องจากแรงลมและแผ่นดิน
ไหว
ฐานถมหินเกล็ดบดอัด 1. ราคาถูก 1. จํากัดให้ใช้กบั ถังเล็กบน 1. ใช้บนสภาพดินดีเท่านัน้
แน่น (Compacted 2. ก่อสร้างง่าย ชัน้ ดินสภาพดี
granular fill) 3. วัสดุก่อสร้างหาได้งา่ ย 2. ไม่สามารถใช้กบั ถังทีม่ ี
สมอยึดต้านการล้มควํ่า
เนื่องจากแรงลมและ
แผ่นดินไหว
3. วัสดุหลุดออกจากฐานได้
ฐานเสาเข็ม 1. มีการทรุดตัวน้อย 1. มีราคาแพงทีส่ ดุ 1. ใช้ทาํ ฐานถังได้ทุก
(Pile foundation) 2. ใช้กบั ถังทีม่ สี มอยึดต้าน 2. มีการออกแบบยุง่ ยาก ประเภทบนสภาพดินอ่อน
การล้มควํ่าเนื่องจากแรงลม 3. ต้องการการเจาะสํารวจ และทีไ่ ม่เหมาะกับฐานชนิด
และแผ่นดินไหว ชัน้ ดิน อื่น

6.5 นํ้าหนักและแรงกระทําต่อฐานราก

ฐานรากรับนํ้าหนักถังเก็บสารเคมีตอ้ งออกแบบให้รบั นํ้าหนักและแรงกระทําดังนี้


6.5.1 นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (Dead load) เป็ นนํ้าหนักของวัสดุโลหะทีใ่ ช้สร้างถังเก็บสารเคมี เช่น
แผ่นผนัง หลังคา พืน้ บันได เสารับหลังคา ท่อต่างๆ
6.5.2 นํ้าหนักบรรทุกจร (Product load) เป็ นนํ้าหนักสารเคมีทบ่ี รรจุในถัง โดยคํานวณจากระดับ
ของเหลวทีบ่ รรจุสงู สุด และค่าความถ่วงจําเพาะเพือ่ ใช้คาํ นวณหานํ้าหนัก และจะต้องพิจารณา
ของเหลว เช่น นํ้า ทีจ่ ะใช้ในการทดสอบ โดยพิจารณาค่าความถ่วงจําเพาะทีแ่ ตกต่างกันด้วย
6.5.3 แรงลม – ฐานรากของถังเก็บสารเคมีตอ้ งออกแบบให้สามารถต้านทานแรงลม โดยเฉพาะอย่างยิง่
กรณีถงั เปล่าหรือถังบรรจุเพียงบางส่วน
6.5.4 แรงแผ่นดินไหว – แผ่นดินไหวก่อให้เกิดแรงกระทําต่อถังทําให้เกิดแรงยกตัวถัง การล้มควํ่า
หรือการลื่นไถล
นํ้าหนักของถังรวมสารเคมีทบ่ี รรจุและสัดส่วนระหว่างความสูงถังต่อเส้นผ่านศูนย์กลางถัง (H/D)
จะส่งผลต่อขีดความสามารถต่อการต้านการล้มควํ่าของถังเพือ่ คํานึงถึงความมันคงของถั
่ ง

6-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ให้คาํ นวณนํ้าหนักของฐานรากรวมเข้าไปด้วยกับนํ้าหนักของผนังถัง และให้วเิ คราะห์ถงั เป็ นชนิด
ไม่มสี มอยึด
6.5.5 แรงเฉือน –ให้ประเมินแรงเฉือนทะลุ (Punching shear) เมือ่ พิจารณาถึงความกว้างของฐานราก
 ค่า Safety factor ของแรงเฉือนทะลุ แรงเฉือนทีข่ อบ และแรงเฉือนทีฐ่ าน (Edge shear and
base shear) ให้มคี า่ มากกว่า 1.5 เท่าแรงเฉือนทางเดียว (One-way shear)
 ฐานรากอาจวิบตั โิ ดยการเฉือนเหมือนคานกว้างเช่นดังในกรณีของฐานรากรองรับผนัง หน้าตัด
วิกฤตอยูท่ ร่ี ะยะ d จากผิวเสา กําลังรับแรงเฉือนของคอนกรีตสามารถหาได้จากสมการ

Vc 0.53 fc'bd

เมือ่ Vc คือ กําลังรับแรงเฉือนของคอนกรีต


fc คือ แรงอัดทีผ่ วิ บนของคาน
b คือ ความกว้างของฐานราก
d คือ ความลึกทีน่ บั จากผิวบนฐานรากมายังจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริม

การเสริมเหล็กรับแรงเฉือนมักไม่คอ่ ยทํากันเนื่องจากจัดวางเหล็กยาก ดังนัน้ หากกําลังเฉือนของ


คอนกรีตไม่พอก็จะเพิม่ ความหนาฐานรากเพือ่ ให้ Vc เพิม่ ขึน้ จนเพียงพอคือ Vc  Vu
เมือ่ Vu คือ แรงเฉือนทีเ่ กิดจากแรงดันประลัย

6.6 ขัน้ ตอนการออกแบบฐานรากถัง

การออกแบบฐานรากต้องจะต้องมีวศิ วกรโยธา ระดับสามัญวิศวกรขึน้ ไปรับรองรายการคํานวณ


ฐานรากแบบแปลน ในการออกแบบ โดยจะต้องคํานึงถึงขัน้ ตอนดังนี้

6.6.1 การออกแบบต้านแผ่นดินไหว (Seismic design) จะต้องคํานึงถึงหัวข้อย่อยต่อไปนี้


 คํานวณหาค่าโมเมนต์ลม้ ควํ่า (Overturning moment) เนื่องจากแรงแผ่นดินไหว (Seismic
forces) ทีก่ ระทําด้านล่างของผนังถัง
 คํานวณหาค่าแรงต้านต่อค่าโมเมนต์ลม้ ควํ่า (Overturning moment) ทีด่ า้ นล่างของผนังถัง
 ค่านี้อาจหาได้จากนํ้าหนักของผนังถัง และค่าทีไ่ ด้จากการออกแบบสมอยึดผนังถัง
 สําหรับถังทีอ่ อกแบบแบบไม่มสี มอยึด ให้ใช้คา่ นํ้าหนักของสารเคมีทบ่ี รรจุในถังในการ
ออกแบบต้านแรงการล้ม (Resist overturning) โดยค่านี้ขน้ึ อยูก่ บั ความหนาของแผ่นเหล็ก
(Plate) ด้านล่างถังทีอ่ าจถูกแรงยกลอยออกจากฐานราก
 คํานวณแรงอัดทีผ่ นัง (Shell compression)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-5
 หาค่าแรงอัดผนังทีย่ อมให้สงู สุด
 แผ่นผนังถังเก็บสารเคมี (Upper shell course) กรณีทค่ี วามหนาของผนังทีค่ าํ นวณเพือ่ ต้าน
การล้มควํ่ามีคา่ มากกว่าความหนาออกแบบสําหรับการใช้งานทีภ่ าวะปกติ (สารเคมีอยูน่ ิ่ง)
จะต้องพิจารณาเพิม่ ความหนาของถังแต่ละชัน้
 คํานวณสลักสมอยึดถัง (Anchorage of tanks) โดยรูปสลักสมอยึดถังแสดงดังรูปที่ 6.1
 ขนาดและจํานวนสมอยึดถังต้องออกแบบตามแรงต้านทานของสมอยึดตํ่าสุด ตามเส้นรอบวง
ของผนังถัง โดยพิจารณาจากแรงลม (Wind load) โมเมนต์การล้มควํ่า และการลื่นไถล
(Sliding)

รูปที่ 6.1 สลักสมอยึดถัง

6.6.2 โมเมนต์ลม้ ควํ่าเนื่องจากแรงลม (Overturning moment due to wind, Mw.)


6.6.3 หาตําแหน่งช่องตรวจสอบบนหลังคา (Inspection hatches)
6.6.4 นํ้าหนักรวมของถัง (Total weight of tank) คํานวณจากนํ้าหนักต่อไปนี้
 นํ้าหนักของผนัง (Weight of shell)
 นํ้าหนักของแผ่นพืน้ ถัง (Weight of bottom plate)
 นํ้าหนักของแผ่นรองผนังถัง (Weight of annular bottom plate)
 นํ้าหนักของแผ่นหลังคา (Weight of roof plate)
 นํ้าหนักของจันทัน (Weight of rafters)
 นํ้าหนักของเสา (Weight of column)
 นํ้าหนักของคานรับแรงลมด้านบน (Weight of top wind girder)
 นํ้าหนักของช่องคนลง ช่องเปิ ดทําความสะอาดและท่อทีเ่ ชื่อมติดกับถัง (Manholes, Cleanout
doors & nozzles)
 นํ้าหนักของบันไดและทางเดิน (Ladders & Platforms)
 นํ้าหนักของแป้นหูชา้ ง (Brackets) โดยรูปแป้นหูชา้ งแสดงดังรูปที่ 6.2
 นํ้าหนักของช่องตรวจสอบบนหลังคา (Inspection hatches)

6-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 6.2 แป้นหูชา้ ง

6.7 การคํานวณฐานราก
ในการคํานวณงานฐานรากจะต้องพิจารณาค่าโมเมนต์ลม้ ควํ่าสูงสุดเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว ผู้
คํานวณจะต้องคํานึงถึงค่าดังต่อไปนี้
 นํ้าหนักบรรทุกคงที่ + นํ้าหนักบรรทุกจร + แรงจากแผ่นดินไหว (Dead load + Product load
+ Earthquake load)
 หาโมเมนต์ทก่ี ระทําทีฐ่ านราก (Moment at base of footing)
 คํานวณ แรงกดแบกทานทีใ่ ต้ฐานราก (Bearing pressure under footing) เทียบกับแรงกด
แบกทานทีย่ อมให้ (Allowable pressure)
 คํานวณจํานวนและขนาดเหล็กเสริม
6.8 การสร้างฐานรากคอนกรีต
6.8.1 วัสดุที่ใช้เป็ นแบบหล่อในงานฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ ประกอบด้วย
 แบบหล่อสําหรับงานคอนกรีตฐานราก ขึน้ อยูก่ บั ผิวหน้าคอนกรีตทีต่ อ้ งการภายหลังแกะแบบหล่อ
 แบบหล่อสําหรับผิวคอนกรีตเปลือย ใช้แบบหล่อไม้อดั แบบเหล็ก แบบพลาสติก ทัง้ นี้ตอ้ ง
คํานึงถึงความสวยงามของรอยต่อ รอยจากการทาบของแบบหล่อภายหลังการถอดแบบ
 แบบหล่อสําหรับผิวตกแต่ง ใช้แบบหล่อไม้ แบบหล่อไม้อดั แบบหล่อเหล็ก แบบพลาสติก หรือ
วัสดุสงั เคราะห์อ่นื ๆ ทีม่ ใี นท้องตลาด
 อุปกรณ์ประกอบแบบหล่อ กรณีแบบหล่อเหล็กให้ใช้อป ุ กรณ์ประกอบของผูผ้ ลิตทุก
ส่วนประกอบสําคัญทีท่ าํ ให้เนื้องานคอนกรีตสมบูรณ์ เช่น แบบเข้ามุม ยูคลิป ฟอร์มไท เป็ นต้น

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-7
 สารเคลือบแบบหล่อ ใช้สารเคลือบแบบหล่อเพือ่ ป้องกันการดูดซับนํ้าจากคอนกรีต สารป้องกัน
การยึดตัวกับผิวคอนกรีตและป้องกันผิวคอนกรีตเป็ นริว้ รอย
 สารอุดรอยต่อขยาย กรณีงานทีต่ อ้ งมีรอยต่อในคอนกรีตให้ใช้สารอุดรอยต่อขยายตาม
มาตรฐาน ASTM D 994, D 1751, หรือ D 1752
 วัสดุประกอบอื่นๆ ให้ใช้วสั ดุยางกันซึม ช่องเปิ ด สมอฝงั สมอยึด และวัสดุอ่นื ๆ ทีต่ อ้ งใช้ฝงั ตัว
ในเนื้อคอนกรีต ตามมาตรฐาน CRD C 513 หรือ CRD C 572
6.8.2 คุณสมบัติของเหล็กเสริมคอนกรีตในงานฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ อย่างน้ อยจะต้องมี
คุณสมบัติดงั นี้
 เหล็กเส้นกลม (SR-24) ใช้สาํ หรับเหล็กทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ถึง 9 มิลลิเมตร
คุณสมบัตติ ามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอก.20 - 2543 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต :
เหล็กเส้นกลม
 เหล็กข้ออ้อย (SD-30, 40, 50) ใช้สาํ หรับเหล็กทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางตัง้ แต่ 12 ถึง 32
มิลลิเมตร คุณสมบัตติ ามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.24 - 2548 เหล็กเส้นเสริม
คอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย

6.8.3 สิ่ งที่ต้องคํานึ งถึงงานฐานรากคอนกรีตหล่อในที่


 ให้ออกแบบแบบหล่อคํ้ายัน ยึดโยง การรัดแบบ เพือ่ รับกําลังต่างๆ ทีจ่ ะส่งผ่านมายังแบบหล่อ
ให้สอดคล้องตามมาตรฐานกําหนด ให้แบบหล่อสามารถต้านทานแรงดันจากคอนกรีตฐานราก
ขณะเท และแรงสันสะเทื
่ อนจากการจีค้ อนกรีต
 ไม่ให้ใช้ผนังดินขุดทําเป็ นแบบหล่อ
 ทําการรัดแบบหล่อให้แน่น และวางแบบเข้ามุมตามขอบของแบบหล่อ ทําการรัด ยึดแบบให้
่ ้ องกันแบบปริแตก รัวซึ
แข็งแรงมันคงป ่ ม
 ทําช่องเปิ ดชัวคราวด้
่ านล่างของแบบหล่อฐานราก หรือตามจุดทีจ่ าํ เป็ นเพือ่ อํานวยความ
สะดวก ในการทําความสะอาด และทําการตรวจสอบทําความสะอาดภายในแบบหล่อก่อนเท
คอนกรีต
 การงอเหล็กเสริมจะต้องใช้วธิ ดี ดั งอเย็นสําหรับของอ ห้ามดัดเหล็กเส้นโดยวิธเี ผาให้รอ้ น และ
ห้ามต่อเหล็กเสริมโดยเด็ดขาด
 การเรียงเหล็กเสริม จะต้องคํานึงถึงระยะช่องว่างของเหล็กทีว่ างขนานกัน โดยระยะห่างจะต้อง
ไม่น้อยกว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมนัน้ ๆ และทีจ่ ุดตัดกันของเหล็กเสริมทุกแห่ง
จะต้องผูกให้แน่นด้วยลวดผูกเหล็กเบอร์ 18 SWG (Annealed iron wire) และในกรณีทม่ี เี หล็ก
เสริมหลายๆ ชัน้ จะต้องเสริมโดยมีชอ่ งว่างระหว่างผิวเหล็ก (Clear distance) ไม่น้อยกว่า
25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 40 มิลลิเมตร

6-8 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
 การผสมคอนกรีตต้องใช้เครือ่ งผสมโดยทีเ่ ครือ่ งผสมจะต้องมีแผ่นป้ายแสดงความจุ และจํานวน
รอบต่อนาทีทเ่ี หมาะสม และจะต้องสามารถผสมซีเมนต์และนํ้าให้เข้ากันโดยทัวถึ ่ งภายในเวลา
ทีก่ าํ หนด และต้องสามารถปล่อยคอนกรีตออกได้โดยไม่เกิดการแยกตัว
 สําหรับเวลาทีใ่ ช้ในการผสมคอนกรีตซึง่ มีปริมาณน้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร จะต้องไม่น้อยกว่า
2 นาที และให้เพิม่ อีก 20 วินาที สําหรับทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือส่วนของลูกบาศก์เมตรที่
เพิม่ ขึน้
 ให้ผสมคอนกรีตเฉพาะเท่าทีต่ อ้ งการใช้เท่านัน้ ห้ามนําคอนกรีตทีก่ อ่ ตัวแล้วมาผสมต่อเป็ นอัน
ขาด และห้ามมิให้เติมนํ้าเพือ่ การยุบตัว
 การเทคอนกรีตจะต้องเทให้ใกล้ตําแหน่ งทีต่ อ้ งการมากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทําได้ เพือ่ หลีกเลีย่ งการ
เกิดการแยกตัวเนื่องจากการเท และการไหลตัวของคอนกรีต ห้ามปล่อยคอนกรีตจากระยะสูง
เกินกว่า 2 เมตร นอกจากจะได้รบั อนุมตั จิ ากวิศวกรผูอ้ อกแบบ
ช่วงการบ่มคอนกรีตเป็ นช่วงทีส่ าํ คัญต่ออายุการใช้งานของคอนกรีต โดยหลังจากเทคอนกรีต
แล้วเสร็จและอยูใ่ นระยะกําลังแข็งตัวจะต้องป้องกันคอนกรีตนัน้ จากอันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ จากแสงแดด
แรงลม ฝนตก นํ้าไหล นํ้าเซาะ การเสียดสีต่างๆ และการบรรทุกนํ้าหนักเกินสมควร และนํ้าหนักกระทํา
ขณะก่อสร้างต่อโครงสร้างฐานรากเกินความสามารถการรับกําลังในแต่ละช่วงระยะเวลาระหว่างการบ่ม
คอนกรีตฐานราก

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-9
บทที่ 7 มาตรการความปลอดภัยและแผนฉุกเฉิ น

7.1 มาตรการความปลอดภัยสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ

โรงงานทีม่ ถี งั เก็บสารเคมีควรกําหนดให้มพี นักงานทีค่ อยดูแลรับผิดชอบในด้านความปลอดภัย


และจัดการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงจัดให้มรี ะบบเตือนภัย ในกรณีเกิดข้อผิดพลาดเกิดขึน้ ซึง่ อาจ
เป็ นแบบทีส่ ามารถตรวจจับความผิดปกติได้โดยอัตโนมัตทิ ถ่ี งั เก็บ และหรือ/มีระบบเตือนแบบใช้คนแจ้ง
เตือน เพื่อให้สามารถตรวจจับ วิเคราะห์ และตอบโต้ต่ออุบตั กิ ารณ์หรืออุบตั เิ หตุทอ่ี าจเกิดขึน้ ได้อย่าง
ทันท่วงที การดําเนินการดังกล่าวควรรวมตัง้ แต่ในช่วงของการออกแบบเพือ่ ก่อสร้างถังเก็บ
เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดระดับสารเคมีทจ่ี ดั เก็บในถัง อุปกรณ์ตรวจจับและเตือนภัยในกรณีเกิดการรัวไหล ่
และอุปกรณ์ทใ่ี ช้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุการณ์ทไ่ี ม่คาดคิดเกิดขึน้ เช่น ระบบดับเพลิงที่
เหมาะสมกับสารเคมีทจ่ี ดั เก็บในกรณีจดั เก็บของเหลวไวไฟ ระบบตรวจจับการรัวไหลในกรณี
่ ของการ
จัดเก็บของเหลวไวไฟ ดังทีอ่ ธิบายไว้ในบทที่ 5 เป็ นต้น ทัง้ นี้เพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันอันตรายจาก
การใช้งานถังเก็บสารเคมี จึงได้ทาํ การสรุปมาตรการความปลอดภัยสําหรับแต่ละประเด็นดังนี้
หัวข้อ มาตรการความปลอดภัยสําหรับของเหลวไวไฟ
มาตรการทัวไป
่  ตรวจสอบสภาพถังและอุปกรณ์ให้อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน
 กําหนดให้มกี ารติดป้ายแสดงชนิด สมบัติ และปริมาณของเหลวในบริเวณพืน้ ที่
ถังเก็บ
 ติดป้ายเตือนอันตรายทุกจุด
 การสือ่ สารความเป็ นอันตราย : มีการติดชื่อสารเคมี และติดสัญลักษณ์ไว้ทถ่ี งั เก็บ
ของเหลวไวไฟ ให้สามารถมองเห็นชัดเจนในระยะไกล โดยเป็ นป้ายแสดงความ
เป็ นอันตรายของสารเคมีตามระบบของ GHS และ NFPA

ระบบ GHS ระบบ NFPA


 จัดเตรียมข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet : SDS)
ของของเหลวไวไฟทีจ่ ดั เก็บไว้ในบริเวณทีป่ ฏิบตั งิ าน
 จัดหาและควบคุมให้มกี ารใช้อุปกรณ์คมุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ตลอดเวลาทีป่ ฏิบตั งิ าน
 ติดตัง้ ฝกั บัวฉุกเฉิน และทีล่ า้ งตาฉุกเฉินใกล้บริเวณปฏิบตั งิ าน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 7-1
หัวข้อ มาตรการความปลอดภัยสําหรับของเหลวไวไฟ
อันตรายจากไอระเหย  ติดตัง้ อุปกรณ์ตรวจวัดไอระเหยสารในอากาศ (Detector) เพือ่ ตรวจสอบการ
รัวไหลของของเหลวไวไฟในพื
่ น้ ทีถ่ งั เก็บ และควรมีการสอบเทียบอุปกรณ์
ตามระยะเวลาทีก่ าํ หนด
 กรณีถงั เก็บอยูใ่ นอาคาร ควรจัดให้มกี ารระบายอากาศทีด่ ใี นบริเวณทีม่ กี ารใช้
งานของเหลวไวไฟ เช่น ติดตัง้ พัดลมระบายอากาศ เป็ นต้น
อันตรายจากการระเบิดและการ  ห้ามทําให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟ รวมทัง้ กําจัดแหล่งกําเนิดความร้อนและ
ลุกติดไฟ อื่นๆ ในบริเวณพืน้ ทีถ่ งั เก็บ
 ถังเก็บต้องมีการติดตัง้ ระบบป้องกันฟ้าผ่าทีเ่ หมาะสม โดยจํานวนตัวนําล่อฟ้า
จะต้องครอบคลุมบริเวณทีต่ อ้ งการป้องกันฟ้าผ่าได้ทงั ้ หมด และตัวนําล่อฟ้าทีเ่ ป็ น
ทองแดงควรมีความต้านทานจําเพาะไม่เกิน 0.02 โอห์มตารางมิลลิเมตร
ต่อเมตร หรืออะลูมเิ นียมทีม่ คี วามต้านทานจําเพาะไม่เกิน 0.03 โอห์มตาราง
มิลลิเมตรต่อเมตร กรณีถงั เก็บของเหลวไวไฟทีท่ าํ จากเหล็กความหนามากกว่า 5
มิลลิเมตร หรืออะลูมเิ นียมความหนามากกว่า 7 มิลลิเมตร ถือได้วา่ ตัวถังเก็บเป็ น
ตัวนําล่อฟ้าโดยธรรมชาติ
 ถังเก็บต้องมีการต่อสายดิน โดยจํานวนจุดต่อลงดินพิจารณาจากขนาดของถัง
เก็บ และตรวจสอบระบบต่อสายดินของถังเก็บอย่างสมํ่าเสมอ โดยจํานวนจุดที่
ต่อลงดินจะต้องขึน้ กับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถังเก็บ
- กรณีมข ี นาดไม่เกิน 20 เมตร ให้ต่อลงดิน 1 จุด
- กรณีมข ี นาดมากกว่า 20 เมตร ให้ต่อลงดิน 2 จุด
 อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อ่นื ๆ ทีใ่ ช้งานทัง้ หมดต้องออกแบบพิเศษ
เพือ่ ป้องกันการแตก ร้าว แยก และทนต่อแรงระเบิด (Explosion proof)
ตามมาตรฐานสากลทีเ่ กีย่ วข้อง
 ระบบท่อและวาล์ว ควรออกแบบให้สามารถป้องกันเปลวไฟเล็ดลอดออกสู่
ภายนอก เพือ่ จํากัดเปลวไฟลุกลาม (Fire proof)
 จัดให้มรี ะบบป้องกันและควบคุมอัคคีภยั ได้แก่ ระบบโฟม ระบบนํ้าดับเพลิง
หัวฉีดนํ้าดับเพลิง ระบบสเปรย์น้ําดับเพลิง อุปกรณ์ชนิดมือถือ ระบบเตือนภัย
ฉุกเฉินในแต่ละจุดตามระยะทีก่ ฎหมายกําหนด
 ตรวจสอบถังดับเพลิงและอุปกรณ์เป็ นระยะอย่างสมํ่าเสมอเพือ่ ให้สามารถใช้งาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
อันตรายจากการรัวไหล
่  ติดตัง้ อุปกรณ์วดั ระดับสารเคมีในถังทัง้ ระดับตํ่าสุดและสูงสุดทีอ่ นุญาตพร้อมกับ
ระบบเตือนเมือ่ ถึงระดับดังกล่าว
 ควรสร้างเขือ่ นกัน้ ทีส่ ามารถกักเก็บของเหลวไวไฟทัง้ หมด เว้นแต่ทม่ี ถี งั เก็บ
มากกว่าหนึ่งถังให้สร้างเขือ่ นกัน้ ทีส่ ามารถจัดเก็บได้เท่ากับ 100% ของถังเก็บที่
มีขนาดใหญ่สดุ
 เขือ่ นทีส่ ร้างจากคอนกรีตจําเป็ นต้องมีตวั อุดกันรัวที
่ ท่ าํ จากสารในกลุม่ Epoxy
เช่น Epoxy phenolic และต้องทํามาจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ทีอ่ อกแบบให้
สามารถกันนํ้าและทนต่อแรงดันนํ้าได้ (Full hydrostatic head)

7-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
หัวข้อ มาตรการความปลอดภัยสําหรับของเหลวไวไฟ
 พืน้ ทีถ่ งั เก็บจําเป็ นต้องมีบอ่ พัก พร้อมติดตัง้ ปมเพืั ๊ อ่ สูบนํ้าและ/หรือของเหลว เพือ่
รวบรวมนํ้าและ/หรือของเหลวส่งไปกําจัดตามหลักวิชาการ โดยแนวท่อ หรือ
พืน้ ทีใ่ ห้ของเหลวไหลมายังพืน้ ทีก่ กั เก็บควรมีความชันประมาณ 1%
 การระบายของเหลวรัวไหลไปยั ่ งพืน้ ทีก่ กั เก็บทีอ่ ยูร่ ะยะไกลแสดงดัง
รูปที่ 7.1

รูปที่ 7.1 การระบายของเหลวทีร่ วไหลไปยั


ั่ งพืน้ ทีก่ กั เก็บทีอ่ ยูร่ ะยะไกล
 กรณีในพืน้ ทีถ่ งั เก็บมีการเก็บของเหลวไวไฟมากกว่าหนึ่งชนิด อาจจะพิจารณา
สร้างแนวกัน้ ระหว่างถังเก็บสารเคมี เพือ่ ป้องกันการเกิดปฏิกริ ยิ ากับสารเคมีท่ี
รัวไหลจากถั
่ งเก็บทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงกัน โดยความสูงของแนวกัน้ หรือเขือ่ นทีก่ นั ้ กลาง
จะต้องไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร
 กรณีทป่ี มั ๊ (Pump) เครือ่ งมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าติดตัง้ อยูภ่ ายในพืน้ ทีถ่ งั เก็บ หรือ
พืน้ ทีก่ กั เก็บ อุปกรณ์เหล่านัน้ จะต้องได้รบั การป้องกัน และต้องมันใจว่
่ า อุปกรณ์
เหล่านัน้ จะพร้อมใช้เมือ่ เกิดเหตุฉุกเฉิน
อันตรายจากภัยธรรมชาติ  กรณีทถ่ี งั เก็บและอุปกรณ์ต่างๆ ทีอ่ ยูภ่ ายนอก และตัง้ อยูใ่ นบริเวณทีเ่ ป็ นพืน้ ที่
เสีย่ งต่อการเกิดนํ้าท่วม จะต้องมีการป้องกันแรงจากการลอยตัว (Force of
buoyancy) ในระหว่างนํ้าท่วม เช่น การติดตัง้ สมอยึดแทงก์เพิม่ เติม เป็ นต้น
อันตรายจากการจัดการ  ตรวจสอบการเก็บ คัดแยก กากของเสียปนเปื้ อนของเหลวไวไฟ โดยต้อง
กากของเสีย พิจารณาแยกกากของเสียปนเปื้อนทีเ่ ข้ากันไม่ได้ออกจากกันก่อนส่งไปกําจัด
อันตรายต่อสุขภาพผูป้ ฏิบตั งิ าน  ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องผ่านการอบรมความรูเ้ กีย่ วกับความเป็ นอันตรายของของเหลว
ไวไฟทีจ่ ดั เก็บทัง้ ด้านการสูดดม การกลืนกิน และการสัมผัส รวมถึงไอพิษจาก
การเผาไหม้ และการใช้อุปกรณ์คมุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะ
ปฏิบตั งิ านและกรณีฉุกเฉิน
 ตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารอินทรียร์ ะเหยง่าย (VOCs) ในบรรยากาศ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 7-3
หัวข้อ มาตรการความปลอดภัยสําหรับของเหลวไวไฟ
สภาพแวดล้อมการทํางาน และควบคุมให้อยูใ่ นระดับทีป่ ลอดภัย
 ตรวจสุขภาพของผูป้ ฏิบตั งิ านปีละ 1 ครัง้
 จัดให้มกี ารฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินไฟไหม้ ระเบิด สารเคมีหกรัวไหล ่ และการอพยพ
อย่างน้อยปี ละ 1 ครัง้
อื่นๆ  ควรพิจารณาปริมาตรในการกักเก็บนํ้าทีใ่ ช้แล้วจากการดับเพลิง โดยประเมิน
จากสถาณการณ์ไฟไหม้ทค่ี าดว่าร้ายแรงทีส่ ดุ โดยพิจารณาจากตัวแปร
ดังต่อไปนี้
- ประเภทความเป็ นอันตรายของสารทีเ่ ก็บ
- ความพร้อมและศักยภาพของหน่ วยดับเพลิง และระยะเวลาทีใ่ ช้ในการมาถึง
พืน้ ทีเ่ พือ่ ควบคุมเพลิง
- อัตราการฉีดนํ้าในการดับเพลิงเพือ ่ ควบคุมเพลิง
- โครงสร้างพืน ้ ฐานในการป้องกันเพลิง เช่น ระบบตรวจจับเพลิงไหม้และระบบ
ดับเพลิงทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ที่ เป็ นต้น

7.2 แผนฉุกเฉิ น
แผนฉุกเฉิน หมายถึง การเตรียมแนวทางการดําเนินงานไว้ลว่ งหน้า สําหรับในกรณีทเ่ี กิด
เหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึง่ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวติ และทรัพย์สนิ และผลกระทบต่อ
สิง่ แวดล้อมภายนอกสถานประกอบการ วัตถุประสงค์ในการจัดทําแผนฉุกเฉินนัน้ มีขน้ึ เพือ่ จํากัด
ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ และกําหนดขัน้ ตอนในการปฏิบตั หิ ากเกิดเหตุการณ์ขน้ึ จริง เพือ่ ป้องกันความสับสน
และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เบือ้ งต้น โดยในการบริหารจัดการแผนฉุกเฉินจะประกอบด้วยระยะ
พืน้ ฐาน 4 ส่วนดังรูปที่ 7.1
Mitigation : การป้องกัน เป็ นการใช้บทเรียนจากผลกระทบและ
อันตรายต่อชีวติ ทีผ่ า่ นมาในการวางแผนป้องกันภัยทีจ่ ะเกิดขึน้
Preparedness : การเตรียมพร้อม เป็ นการเตรียมความพร้อม
บุคลากร หรือผูใ้ ห้ความช่วยเหลือให้มคี วามเข้าใจในแผนและการใช้
แผน
Response : การตอบสนอง เป็ นการให้ความช่วยเหลือในระยะเวลา
สัน้ ๆ ขณะเกิดเหตุทนั ที
Recovery : การฟื้นฟู เป็ นการดูแลช่วยเหลือหลังระยะเกิดอุบตั ภิ ยั

รูปที่ 7.2 การบริหารจัดการแผนฉุกเฉิน


ในการจัดทําแผนฉุกเฉินทีเ่ กีย่ วข้องกับสารเคมีอนั ตราย จะมีองค์ประกอบของแผนเช่นเดียวกับ
แผนฉุกเฉินโดยทัวไป
่ หากแต่ผปู้ ฎิบตั กิ ารระงับเหตุฉุกเฉินเกีย่ วกับสารเคมีอนั ตราย จะต้องมีความรู้

7-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
เกีย่ วกับสารเคมีชนิดทีเ่ กิดเหตุเป็ นอย่างดี โดยการศึกษาข้อมูลจากข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี
(Safety Data Sheet) ของสารเคมีชนิดนัน้ ซึง่ จะระบุถงึ การระงับเหตุสารเคมีรวไหล
ั่ อุปกรณ์คมุ้ ครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคลทีเ่ หมาะสมสําหรับการระงับเหตุ สารดับเพลิง ทีเ่ หมาะสมในการระงับเหตุ
เพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีทม่ี คี วามเป็ นอันตรายต่างกัน หรือมีความเป็ นอันตรายเฉพาะ เช่น
เมือ่ สารเคมีสมั ผัสกับนํ้าทําให้เกิดระเบิดได้ การระงับเหตุเพลิงไหม้จากสารเคมีจงึ ห้ามใช้น้ําในการ
ดับเพลิง เป็ นต้น

ในการจัดทําแผนฉุกเฉินควรประกอบด้วยข้อมูลทัวไปดั
่ งต่อไปนี้

 ขอบข่ายและวัตถุประสงค์ของแผนฉุ กเฉิน
 รายละเอียดและการประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน ความเป็ นอันตราย (รวมถึงความเป็ นอันตราย
จากธรรมชาติ ตามความเหมาะสม) และพืน้ ทีท่ อ่ี าจได้รบั ผลกระทบ
 ชื่อ นามสกุล ตําแหน่ง และข้อมูลการติดต่อของพนักงานทีร่ บั ผิดชอบในการดําเนินการ
ตามแผนฉุกเฉิน และของพนักงานทีม่ หี น้าทีใ่ นการประสานงานในพืน้ ทีใ่ นการเข้าระงับเหตุ
 หน้าทีค่ วามรับผิดชอบของพนักงานทีอ่ ยูใ่ นผังองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการสถานการณ์
ฉุกเฉินภายใต้แผนนี้ (ลําดับขัน้ ความรับผิดชอบ อํานาจหน้าทีใ่ นการปฏิบตั งิ าน)
 โครงสร้างการแจ้งเหตุ และ/หรือการสือ่ สารทัง้ ภายในและภายนอก (ตามทีก่ าํ หนดโดย
กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องและ/หรือกระบวนการภายในโรงงาน)
 อุปกรณ์และเครือ่ งมือทีจ่ าํ เป็ นต้องใช้สาํ หรับการเข้าปฏิบตั กิ ารเพือ่ ระงับเหตุ และทรัพยากร
ทีจ่ าํ เป็ นตามผลการประเมิน (สําหรับการสือ่ สารและการปฏิบตั กิ าร)
 ขัน้ ตอนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และการฟื้นฟูพน้ื ที่ สําหรับสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ทีไ่ ด้
กําหนดไว้ รวมทัง้ ในกรณีของการเตือนและการแลกเปลีย่ นข้อมูลกับหน่วยกูภ้ ยั ฉุกเฉินในพืน้ ที่
 ข้อกําหนดเกีย่ วกับการซ้อมแผนฉุกเฉินร่วมกับหน่วยงานภายนอกทีเ่ กีย่ วข้อง
เช่น สถานีดบั เพลิง สถานีตาํ รวจ โรงพยาบาลในพืน้ ที่ เป็ นต้น
 การประสานงาน บูรณาการ และเชื่อมโยงกับแผนอื่นๆ ทัง้ ภายใน เช่น แผนฉุกเฉินโรงงาน
แผนความต่อเนื่องของธุรกิจ เป็ นต้น และภายนอก เช่น แผนของโรงงานข้างเคียง และแผน
ระดับเทศบาลหรือจังหวัด เป็ นต้น
เมือ่ เกิดเหตุฉุกเฉินขึน้ บริเวณพืน้ ทีถ่ งั เก็บ อาจจะส่งผลกระทบต่อผูป้ ฏิบตั งิ าน สิง่ แวดล้อม
ประชาชนทีอ่ าศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สนิ แต่ถา้ หากมีการป้องกัน ตรวจสอบ
และมีการเตรียมการทีด่ ใี นการรับสถานการณ์เมือ่ เกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการ
สูญเสียชีวติ และทรัพย์สนิ ได้ วัตถุประสงค์ในการจัดทําแผนปฏิบตั กิ ารเหตุฉุกเฉินก็เพือ่ ทีจ่ ะควบคุมหรือ
กําจัดเหตุฉุกเฉินทีเ่ กิดขึน้ และกําหนดขัน้ ตอนในการระงับอุบตั ภิ ยั ได้อย่างทันสถานการณ์

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 7-5
7.2.1 แผนฉุกเฉิ นกรณี เกิ ดการรัวไหลจากถั
่ งเก็บของเหลวไวไฟ
ผูป้ ระสบเหตุของเหลวไวไฟรัวไหล
่ จากถังเก็บควรปฏิบตั ดิ งั นี้

 ในกรณีทพ่ี นักงานพบของเหลวไวไฟรัวไหล ่ ได้กลิน่ หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงาน


ดังกล่าวจะต้อง
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- ต้องแจ้งให้ศนู ย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผูค้ วบคุมเหตุฉุกเฉิน และต้องรีบออกไปให้พน้ จาก
พืน้ ทีถ่ งั เก็บ
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึ กซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อนจะต้องดําเนินการสวมใส่
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบตั ติ ามแนวทางในการปฏิบตั สิ าํ หรับสารนัน้ ๆ
 กําหนดเขตพืน้ ทีท่ ป่ี ลอดภัย ในกรณีรวไหลขนาดเล็
ั่ กให้ใช้ทรายแห้งหรือดินแห้ง เพือ่ ลดการ
แพร่กระจาย และใช้อุปกรณ์ทส่ี ะอาดไม่ก่อให้เกิดประกายไฟกับสารทีห่ ก และรวบรวมสารทีด่ ดู
ซับเก็บไว้ในภาชนะทีป่ ิ ดและนําไปกําจัดต่อไป
ในกรณีทร่ี วไหลปริ
ั่ มาณมาก ให้ดาํ เนินการปิ ดกัน้ เขตทีม่ กี ารรัวไหลโดยรอบไม่
่ น้อยกว่า
50 เมตร ทันที เพือ่ ป้องกันบุคคลไม่ให้ได้รบั อันตราย และใช้วสั ดุดดู ซับ ทุน่ หรือบูม ล้อมบริเวณ
ทีร่ วไหล
ั่ พร้อมทําคันดินหรือทรายกัน้ ในจุดเกิดเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้สารไหลลงแหล่งนํ้า
ทัง้ นี้จะต้องจัดให้มกี ารระบายอากาศในบริเวณทีเ่ กิดการรัวไหล ่ และให้เคลื่อนย้ายแหล่ง
จุดติดไฟทัง้ หมดออกไป
 ใช้น้ําฉีดเป็ นฝอย เพือ่ ลดการเกิดไอระเหย หรือทําให้ไอไม่กระจายตัว พร้อมทัง้ ห้ามแตะต้อง
หรือเดินยํ่าไปบนบริเวณทีม่ กี ารรัวไหล ่
 ห้ามเข้าปฏิบตั กิ าร ในกรณีทย่ี งั ไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็ นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทาง
เหนือลมเพือ่ หลีกเลีย่ งการสัมผัสไอระเหยของสารนัน้
 ประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีวา่ มีความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าทีส่ ามารถควบคุม
เหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ จะต้องตัดสินใจขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก
ประเด็นทีค่ วรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- ปริมาณการรัวไหลของสารนั
่ น้
- อุปกรณ์ในการควบคุมการรัวไหล ่ มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 เข้าปฏิบตั กิ ารควบคุมเหตุฉุกเฉิน เช่น อุดรอยรัว่ โดยปฏิบตั ติ ามข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี
สําหรับสารอันตรายชนิดนัน้ อย่างเคร่งครัด โดยเครือ่ งมือจะต้องเป็ นประเภททีไ่ ม่ก่อให้เกิด
ประกายไฟ และต้องมีการต่อสายดิน

7-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
 การดําเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สอบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบตั ภิ ยั เพือ่ เป็ นแนวทางในการป้องกันครัง้ ต่อไป
- สํารวจความเสียหาย
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินทีใ่ ช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบตั กิ ารฉุกเฉิน เพือ่ ปรับปรุงแผนปฏิบตั กิ ารเหตุฉุกเฉินให้
มีประสิทธิภาพ
7.2.2 แผนฉุกเฉิ นกรณี เกิ ดเพลิ งไหม้ถงั เก็บของเหลวไวไฟ
ผูป้ ระสบเหตุกรณีเกิดเพลิงไหม้ถงั เก็บของเหลวไวไฟ ควรปฏิบตั ดิ งั นี้

 เมือ่ มีผพู้ บเห็นเหตุการณ์ ต้องดําเนินการดังนี้


- ผูพ้ บเห็นต้องแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธกี ารใดทีร่ วดเร็ว ชัดเจน เพือ่ ให้ผอู้ ยูใ่ นอาคารทราบ
และแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครือ่ งดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อ่นื เท่าทีม่ เี พือ่ ดับเพลิงทันที
 พนักงานผูไ้ ม่มหี น้าทีเ่ กีย่ วข้องในการดับเพลิงต้องรีบออกจากพืน้ ทีถ่ งั เก็บทันที ตามแผนผัง
การหนีไฟของโรงงาน
 ให้ปิดกัน้ บริเวณทีเ่ กิดเหตุทนั ที 800 เมตร ในทุกทิศทาง โดยอนุญาตให้เจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ วข้อง
เข้าปฏิบตั กิ ารเท่านัน้
 พนักงานผูม้ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบตามแผนฉุกเฉินอํานวยความสะดวกแก่หน่วยดับเพลิงจาก
ภายนอกทีม่ าทําการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชีน้ ําไปยังสถานทีเ่ กิดเหตุ หรือนําไปยัง
สถานทีต่ ดิ ตัง้ อุปกรณ์ดบั เพลิงของโรงงาน และแจ้งรายละเอียดของเหลวทีบ่ รรจุในถังเก็บทีเ่ กิด
เพลิงไหม้ เป็ นต้น
 ในการดับเพลิงจะต้องฉีดนํ้าดับเพลิงเพือ่ หล่อเย็นถังเก็บทีเ่ กิดเพลิงไหม้และถังอื่นทีอ่ ยู่
ใกล้เคียงตลอดเวลา
 ให้พนักงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการปฐมพยาบาลหรือส่งต่อ
ผูป้ ว่ ยหรือผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
 กรณีทเ่ี กิดอุบตั ภิ ยั ร้ายแรง เช่น ถังเก็บของเหลวไวไฟระเบิด หรือมีไอเคมีไวไฟจํานวนมาก
หัวหน้าผูค้ วบคุมสถานการณ์ควรออกคําสังให้ ่ พนักงานทุกคนออกจาก พืน้ ทีบ่ ริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบตั ติ ามแผนอพยพในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าทีค่ วาม
ปลอดภัย หรือผูป้ ระสานงานเหตุฉุกเฉินรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสาร
แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ เพือ่ แจ้งข้อมูลสถานการณ์ให้กบั โรงงานใกล้เคียงและชุมชนโดยรอบ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 7-7
บทที่ 8 การตรวจสอบและการบํารุงรักษา

ในการใช้งานถังเก็บสารเคมี ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องมีการตรวจสอบและการบํารุงรักษา


เชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เพือ่ ให้มนใจว่
ั ่ าถังเก็บของเหลวไวไฟมีความปลอดภัย
โดยในคูม่ อื ฉบับนี้ การตรวจสอบและการบํารุงรักษาอ้างอิงตามมาตรฐาน API 650 ซึง่ ใช้สาํ หรับการ
ตรวจทดสอบก่อนใช้งาน และ API 653 ใช้สาํ หรับการตรวจสอบระหว่างการใช้งาน ซึง่ ประกอบด้วย
รายละเอียดดังนี้
8.1 การตรวจทดสอบก่อนใช้งาน

หลังจากสร้างและติดตัง้ ส่วนประกอบต่างๆ ของถังเก็บเสร็จแล้ว จะต้องดําเนินการ ดังนี้


 ตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ พร้อมทัง้ ระบุรายละเอียดค่าการออกแบบตามข้อกําหนดใน
Appendix : API Std 650 Storage Tank Data Sheet เช่น หลังคา พืน้ ถัง แผ่นรองผนังถัง
ผนังถัง น็อต หน้าแปลน ช่องคนลง บันได เป็ นต้น
 ตรวจสอบความแข็งแรง และหาจุดบกพร่อง รอยรัวซึ ่ ม รอยปริบวมใดๆ ของถังด้วยวิธกี าร
อัดนํ้าเพือ่ ทดสอบความดัน (Hydrostatic test) โดยจะต้องมีการเติมนํ้าเต็มถัง (ความจุ 100%)
และให้ทาํ การคงระดับนํ้าไว้ 24 ชังโมงเพื
่ ่อตรวจสอบการรัวซึ ่ มของถัง
 ตรวจสอบค่าการทรุดตัวและความเอียงของถัง โดยพิจารณา ดังนี้
- ค่าความดิง่ (Plumbness) ต้องไม่เกิน 1 ใน 200 ของความสูงของถัง โดยวัดจากขอบบนสุด
ของถังถึงขอบล่างสุด
- ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมตัง้ (Peaking) ต้องไม่เกิน 13 มิลลิเมตร
เมือ่ วัดเทียบกับความโค้งของผนังถัง
- ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมนอน (Banding) ต้องไม่เกิน 13 มิลลิเมตร
เมือ่ วัดเทียบกับความตรงของผนังถัง
 ทําการวัดความหนาของถังเก็บของเหลวไวไฟ ด้วยเครือ่ งมือวัดความหนา เช่น Ultrasonic
Thickness Measurement (UTM) โดยทําการสุม่ วัดความหนาของผนังถัง และหลังคาถัง
เพือ่ นําค่าจากการวัดจริงทีไ่ ด้ ไปเปรียบเทียบกับค่าทีไ่ ด้จากการคํานวณตามแบบของถังเก็บ
โดยค่าทีไ่ ด้จากการวัดจริง ต้องไม่น้อยกว่าค่าทีไ่ ด้จากการคํานวณตามแบบของถังเก็บ
 ทดสอบอุปกรณ์นิรภัยทีใ่ ช้ระบายแรงดัน ตามค่าออกแบบทีต่ งั ้ ไว้ เช่น วาล์วนิรภัย PV Valve
เป็ นต้น
 ตรวจทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์วดั ระดับของเหลว อุปกรณ์วดั อุณหภูมิ อุปกรณ์วดั
ความดัน อุปกรณ์ป้องกันการเติมล้น และอุปกรณ์แจ้งเตือนระดับของเหลว เป็ นต้น

รายละเอียดขัน้ ตอนการอัดนํ้าเพือ่ ทดสอบความดัน ค่าความดิง่ ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวแสดงใน


ภาคผนวก ง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 8-1
8.2 การตรวจสอบระหว่างการใช้งาน
8.2.1 การตรวจสอบตามปกติ (Routine in-service inspection)
ในหัวข้อนี้เป็นการตรวจสอบสภาพถังเก็บสารเคมีดว้ ยสายตา (Visual inspection) ซึง่ ผูป้ ระกอบ
กิจการโรงงาน จะต้องจัดให้มกี ารตรวจสอบนี้อย่างสมํ่าเสมอ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครัง้
การตรวจสอบด้วยสายตานี้จะตรวจสอบทีบ่ ริเวณผิวภายนอกของถังเก็บสารเคมี โดยการเดินรอบ
ั ่ าไม่มปี จั จัยใดๆ ทีท่ าํ ให้ถงั เกิดความเสียหายหรือเกิดอุบตั เิ หตุจน
ทัง้ ด้านข้างและด้านบนถังเพือ่ ให้มนใจว่
ทําให้ไม่สามารถใช้งานได้ โดยควรมีการตรวจสอบดังรายการต่อไปนี้
 สภาพแวดล้อมของพืน้ ทีต่ งั ้ ถังเก็บโดยทัวไป่
 สภาพทัวไปของถั
่ งเก็บของเหลว เช่น สภาพรอยเชื่อมภายนอก สภาพสีภายนอก รอยสนิม
และการผุกร่อน เป็ นต้น
 สภาพ และความแข็งแรงของราวกันตกบนหลังคาถัง
 สภาพทัวไปของพื
่ น้ ทีร่ องรับ เขือ่ นกัน้ และพืน้ ทีโ่ ดยรอบถัง เช่น รอยร้าว รอยรัว่ เป็ นต้น
 การรัวซึ
่ มตามหน้าแปลน ข้อต่อ ท่อ และวาล์วต่างๆ
 สภาพอุปกรณ์ประกอบถัง เช่น อุปกรณ์วดั ระดับของเหลว อุปกรณ์วดั อุณหภูมิ อุปกรณ์วดั
ความดัน อุปกรณ์นิรภัยระบายความดันต่างๆ เป็ นต้น
 สภาพสายล่อฟ้า
 สภาพสายดิน
 สภาพอุปกรณ์ระบบนํ้าดับเพลิง เช่น สายฉีดนํ้า ปื นฉีดนํ้า หัวรับนํ้าดับเพลิง เป็ นต้น
 สภาพอุปกรณ์ระบบโฟมดับเพลิง เช่น ถังโฟม Foam chamber เป็ นต้น
 สภาพทัวไปของบ่
่ อพักนํ้าทีอ่ ยูภ่ ายในเขือ่ นล้อมรอบถังเก็บ
 สภาพการทรุดตัวของฐานถัง และสภาพฐานถังความเอียงของถัง โดยพิจารณาว่าพืน้ ที่
โดยรอบมีรอยแตกร้าว หรือการทรุดตัวของฐานถัง
8.2.2 การตรวจสอบประจําปี (Annual inspection)
เป็ นการตรวจสอบสภาพถังเก็บสารเคมีดว้ ยสายตา (Visual inspection) ตามหัวข้อ 8.2.1 และวัด
ความหนาของผนังขณะทีม่ กี ารใช้งานโดยไม่รวมความหนาของฉนวน เฉพาะพื้นทีห่ รือจุดทีเ่ สีย่ งต่อการ
กัดกร่อนสูง สําหรับการตรวจสอบภายนอกขณะใช้งาน ซึง่ ผูป้ ระกอบกิจการโรงงาน จะต้องจัดให้มกี าร
ตรวจสอบนี้ อย่างน้อย ปี ละ 1 ครัง้

ตัวอย่างเครือ่ งมือวัดความหนาผนังถังด้วยคลื่นเสียงชนิดอุลตร้าโซนิก แสดงดังรูปที่ 8.1

8-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูปที่ 8.1 ตัวอย่างเครือ่ งมือวัดความหนาด้วยคลื่นเสียงชนิดอุลตร้าโซนิก

8.2.3 การตรวจสอบภายนอก ขณะใช้งาน (External inspection)


ถังเก็บสารเคมีควรได้รบั การตรวจสอบภายนอกโดยผูม้ ปี ระสบการณ์ หรือบริษทั ผูต้ รวจสอบที่
ได้รบั การรับรองตามมาตรฐาน API 653 การตรวจสอบภายนอกนี้ควรดําเนินการอย่างน้อยในทุกๆ 5 ปี
โดยการตรวจสอบนี้สามารถดําเนินการได้ในขณะทีถ่ งั เก็บสารเคมียงั ใช้งานอยู่ รายละเอียดการ
ตรวจสอบภายนอกทุก 5 ปี ประกอบด้วย
 ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection) ตามข้อกําหนด Appendix : API Std 653
Checklist for tank inspection สําหรับ Tank in-service inspection checklist ซึง่ มีรายการใน
การตรวจสอบตัวถัง หลังคา และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
 ตรวจวัดความเอียงของตัวถัง (Plumbness test) โดยค่าความเอียงต้องไม่เกิน 1 ใน 100
ของความสูงของถังโดยวัดจากขอบบนสุดของถังถึงขอบล่างสุดตามทีร่ ะบุใน API 653
 ตรวจวัดความหนาบริเวณผนังและหลังคาถังเก็บ
8.2.4 การตรวจสอบภายในของถังเก็บสารเคมี (Internal inspection)
ถังเก็บสารเคมีควรได้รบั การตรวจสอบภายในโดยผูม้ ปี ระสบการณ์ หรือบริษทั ผูต้ รวจสอบทีไ่ ด้รบั
การรับรองตามมาตรฐาน API 653 สําหรับระยะเวลาเริม่ ต้นในการตรวจสอบภายในของถังเก็บสารเคมี
ทัวไปควรจะดํ
่ าเนินการภายใน 10 ปีหลังจากเริม่ ใช้งานถังเก็บ และถ้าถังเก็บมีการป้องกันการกัดกร่อน
อื่นๆ เพิม่ เติม ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานสามารถบวกจํานวนปีเพิม่ จากระยะเวลาเริม่ ต้น ตามตารางที่ 8.1

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 8-3
ตารางที่ 8.1 การป้องกันการกัดกร่อน
การป้ องกันการกัดกร่อน จํานวนปี ที่เพิ่ มจากระยะเวลาเริ่ มต้น
การเคลือบผิวด้วยใยแก้วเสริมแรง (Fiberglass-reinforced) 5 ปี
ทีพ่ น้ื ถัง ตามข้อกําหนดใน API RP 652
การเคลือบผิวภายในแบบฟิลม์ บาง ตามข้อกําหนดใน API RP 652 2 ปี
การป้องกันการผุกร่อนแบบ Cathodic ทีพ่ น้ื ถังตามข้อกําหนด 5 ปี
ใน API RP 651
มีคา่ เผื่อสําหรับการกัดกร่อน (Corrosion Allowance) ทีพ่ น้ื ถัง ค่าเผื่อสําหรับการกัดกร่อนจริง – 150 mils
มากกว่า 0.038 เซนติเมตร ค่าอัตราการกัดกร่อน
พืน้ ถังทําจากเหล็กกล้าไร้สนิม และมีการประเมินจากผูเ้ ชีย่ วชาญ
ด้านการกัดกร่อนว่าสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกถังมีความ 10 ปี
เสีย่ งทีจ่ ะเกิดความเสียหายจากการกัดกร่อนตํ่า
ทีม่ า : Table 6.1 – Tank Safeguard ใน API 653

ตัวอย่างเช่น ถังเก็บมีการเคลือบผิวภายในแบบฟิลม์ บาง ควรจะมีระยะเวลาการตรวจสอบภายใน


ถังเก็บ ภายใน 12 ปี หลังจากเริม่ ใช้งานถังเก็บ
สําหรับรายละเอียดการตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย
 ตรวจวัดความหนา โดยทําการวัดทุกแผ่นบริเวณพืน้ ถัง
 ตรวจสอบและทดสอบพืน้ ถัง แนวเชื่อมบริเวณเชื่อมต่อระหว่างผนังถังกับพืน้ ถัง และบริเวณ
ใกล้เคียง
 ความเรียบของพืน้ ถัง การโก่งและทรุดของพืน้ ถัง การสึกกร่อนใต้พน้ื ถัง และตรวจหารอยรัว่
ตามแนวเชื่อม ซึง่ ทําการตรวจสอบบริเวณรอยเชื่อมของพืน้ ถัง (Bottom plate)
 ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection) ตามข้อกําหนด Appendix : API Std 653
Checklist for tank inspection สําหรับ Tank out-of-service inspection checklist ซึง่ มี
รายการในการตรวจสอบพืน้ ถัง อุปกรณ์ประกอบต่างๆ เช่น บริเวณแนวเชื่อมระหว่างผนังถัง
กับพืน้ ถัง รอยทีเ่ กิดจากการเชื่อมระหว่างแผ่นเหล็กเสริมแรงกับผนังถัง แนวเชื่อมของอุปกรณ์
การบิดงอและการเอียงของผนังถัง รอยสึกกร่อน รอยบุบ การยุบตัว การหลุดร่อนของสีเคลือบ
ภายในถัง หรือวัสดุเคลือบภายในถัง สําหรับถังชนิดหลังคาไม่เคลื่อนที่ หากพบว่ามีรอยรัวให้ ่
ตรวจสอบเพิม่ เติม ดังนี้
- การสึกกร่อนใต้ขอบหลังคา
- เสารับโครงหลังคา และเหล็กเสริมความมันคงแข็ ่ งแรงรอบขอบถังด้านบนสุด

สรุปหัวข้อการตรวจสอบ ความถี่ และผูด้ าํ เนินการตรวจสอบแสดงดังตารางที่ 8.2

8-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8.2 ความถีใ่ นการตรวจสอบแต่ละประเภท
สรุปหัวข้อการตรวจสอบ ความถี่ ผูด้ าํ เนิ นการ
1. การตรวจทดสอบก่อนใช้งาน ก่อนใช้งาน ผูผ้ ลิตถังเก็บสารเคมี
- ตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ ตามข้อกําหนดของ
Appendix : API Std 650 Storage Tank Data
Sheet
- ตรวจสอบความแข็งแรงและรอยรัวซึ ่ มของถัง
ด้วยวิธกี ารอัดนํ้าเพือ่ ทดสอบความดัน
(Hydrostatic test)
- ตรวจสอบค่าการทรุดตัวและความเอียงของถัง
- ตรวจวัดความหนาของถัง
- ตรวจทดสอบอุปกรณ์นิรภัยทีใ่ ช้ระบายแรงดัน
- ตรวจทดสอบอุปกรณ์วดั ระดับ อุณหภูม ิ
ความดัน และอุปกรณ์แจ้งเตือนต่างๆ (ถ้ามี)
2. การตรวจสอบระหว่างการใช้งาน
2.1 การตรวจสอบตามปกติ เดือนละ 1 ครัง้ เจ้าของหรือผูด้ าํ เนินการ
(Routine in-service inspection) ประจําถังเก็บสารเคมี
- สภาพแวดล้อมของพืน้ ทีต่ งั ้ ถังเก็บโดยทัวไป ่
- สภาพทัวไปของถั
่ งเก็บของเหลวไวไฟ เช่น สภาพ
รอยเชื่อมภายนอก สภาพสีภายนอก รอยสนิม
และการผุกร่อน เป็ นต้น
- สภาพ และความแข็งแรงของราวกันตกบนหลังคาถัง
- สภาพทัวไปของพื ่ น้ ทีร่ องรับ และเขือ่ นกัน้ ล้อมรอบ
เช่น รอยร้าว รอยรัว่ เป็ นต้น
- การรัวซึ
่ มตามหน้าแปลน ข้อต่อ ท่อ และวาล์วต่างๆ
- สภาพอุปกรณ์ประกอบถัง
- สภาพสายล่อฟ้า
- สภาพสายดิน
- สภาพอุปกรณ์ระบบนํ้าดับเพลิง เช่น สายฉีดนํ้า
ปื นฉีดนํ้า หัวรับนํ้าดับเพลิง เป็ นต้น
- สภาพอุปกรณ์ระบบโฟมดับเพลิง เช่น ถังโฟม
Foam chamber เป็ นต้น
- สภาพทัวไปของบ่
่ อพักนํ้าทีอ่ ยูภ่ ายในเขือ่ น
ล้อมรอบถังเก็บ
- สภาพการทรุดตัวของฐานถัง และสภาพฐานถัง
ความเอียงของถัง โดยพิจารณาว่าพืน้ ทีโ่ ดยรอบมี
รอยแตกร้าว หรือการทรุดตัวของฐานถัง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 8-5
ตารางที่ 8.2 ความถีใ่ นการตรวจสอบแต่ละประเภท (ต่อ)
สรุปหัวข้อการตรวจสอบ ความถี่ ผูด้ าํ เนิ นการ
2.2 การตรวจสอบประจําปี (Annual inspection) ปี ละ 1 ครัง้ เจ้าของหรือผูด้ าํ เนินการ
- วัดความหนาของผนังเฉพาะพืน้ ทีห่ รือจุดทีเ่ สีย่ งต่อ ประจําถังเก็บสารเคมีทม่ี ี
การกัดกร่อนสูง ประสบการณ์
2.3 การตรวจสอบภายนอก ขณะใช้งาน ทุก 5 ปี ผูม้ ปี ระสบการณ์ หรือบริษทั
(External inspection) ทีไ่ ด้รบั การรับรองตาม
- ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection) ตาม มาตรฐาน API
ข้อกําหนด Appendix : API Std 653 Checklist
for tank inspection สําหรับ Tank in-service
inspection checklist
- ตรวจวัดความเอียงของตัวถัง (Plumbness test)
- ตรวจวัดความหนาบริเวณผนังและหลังคาถังเก็บ
2.4 การตรวจสอบภายในของถังเก็บสารเคมี ระยะเวลาเริม่ ต้นควรจะ ผูม้ ปี ระสบการณ์ หรือบริษทั
(Internal inspection) ดําเนินการภายใน 10 ปี ทีไ่ ด้รบั การรับรองตาม
- ตรวจวัดความหนา โดยทําการวัดทุกแผ่นบริเวณพืน้ ถัง หลังจากเริม่ ใช้งานถังเก็บ มาตรฐาน API
- ตรวจสอบและทดสอบพืน้ ถัง แนวเชื่อมบริเวณเชื่อมต่อ และสามารถบวกจํานวนปี
ระหว่างผนังถังกับพืน้ ถัง และบริเวณใกล้เคียง เพิม่ เติมตามลักษณะการ
- ความเรียบของพืน้ ถัง การโก่งและทรุดของพืน้ ถัง ป้องกันการกัดกร่อนของ
การสึกกร่อนใต้พน้ื ถัง และตรวจหารอยรัวตามแนว
่ ถังนัน้ ๆ
เชื่อม ซึง่ ทําการตรวจสอบบริเวณรอยเชื่อมของพืน้
ถัง (Bottom plate)
- ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) ตาม
ข้อกําหนด Appendix : API Std 653 Checklist for
tank inspection สําหรับ Tank out-of-service
inspection checklist

8-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
บทที่ 9 แบบตรวจสอบถังเก็บของเหลวไวไฟ (Checklist)

1. ข้อมูลสถานประกอบการ
ชื่อสถานประกอบการ : เลขทะเบียนโรงงาน :
ทีอ่ ยู่ :

เบอร์โทรศัพท์ : โทรสาร :
วันทีเ่ ข้าสํารวจ :
ชื่อ-สกุล ผูก้ รอกแบบตรวจสอบ :
จํานวนถังเก็บของเหลวไวไฟ จํานวนถังเก็บสารกัดกร่อน จํานวนถังเก็บสารพิษ รวมทัง้ หมด

ให้กรอกข้อมูลในส่วนที่ 2-6 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องและเป็ นข้อมูลสําหรับถังเก็บ 1 ถัง

2. ข้อมูลสารเคมี
ชื่อสารเคมี (ชือ่ สามัญ) :
ค่าความถ่วงจําเพาะ (Max S.G.) : ค่า Corrosion Rate (ถ้ามี) มม./ปี

3. ข้อมูลถังเก็บสารเคมี
บริษทั ผูผ้ ลิตถัง: รหัสถังเก็บสารเคมี:
ประเภทถัง : [ ] Fixed roof tank [ ] Internal floating roof tank
ชนิดของวัสดุถงั เก็บ [ ] เหล็ก [ ] สแตนเลส [ ] อื่นๆ............................................................................
ปี ทส่ี ร้าง: อ้างอิงตาม API 650 Appendix :
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง : เมตร ความสูงของถัง (Shell height) : เมตร
ความจุสงู สุด (Max. Capacity) : ลบ.ม ความจุสทุ ธิทใ่ี ช้งาน (Net working capacity) : ลบ.ม
ลักษณะพืน้ ถังเก็บ [ ] แบบ Cone up [ ] แบบ Cone down [ ] แบบเอียงด้านเดียว
[ ] อื่นๆ ระบุ..........................
กรมโรงงานอุตสาหกรรม 9-1
4. การตรวจสอบถังเก็บสารเคมี (กรณี ถงั ไม่ได้อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้ข้ามไปที่ข้อ 5)
[ ] API ระบุ Code................................................................
การออกแบบถังอ้างอิงตามมาตรฐาน [ ] ASME ระบุ Code...........................................................
[ ] อื่นๆ ระบุ..............................................................lll.......
ลักษณะหลังคา [ ] แบบ Cone [ ] แบบ Dome
ความหนาออกแบบ ; ผนังชัน้ ล่างสุด : มม. หลังคา: มม.
พืน้ ถัง มม.
วัสดุทใ่ี ช้เคลือบ/ปูผวิ ภายในถังเก็บ (ถ้ามี)
ฐานรากของถังเก็บ [ ] บนดิน [ ] แบบวงแหวนคอนกรีต [ ] แบบเข็มแผ่ [ ] อื่นๆ

5. การทดสอบถังก่อนส่งมอบ
การทดสอบรอยเชื่อมครัง้ ล่าสุด เมือ่ ................................................. (แนบผลทดสอบ)
การทดสอบ Hydrostatic test ครัง้ ล่าสุด เมือ่ ................................................. (แนบผลทดสอบ)

9-2 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6. ข้อปฏิ บตั ิ สาํ หรับถังเก็บของเหลวไวไฟ
6.1 ที่ตงั ้ ถังเก็บของเหลวไวไฟ
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.1.1 ถังเก็บสารเคมีแยกออกจากพืน้ ทีก่ ระบวนการผลิต
และแบ่งโซนการจัดเก็บสารเคมีอย่างชัดเจน
6.1.2 ถังเก็บสารเคมีอยูห่ า่ งจากแหล่งนํ้าในระยะทีเ่ หมาะสม
6.1.3 กรณีมถี งั มากกว่า 1 ถัง ระยะห่างระหว่างถังเก็บสารเคมี
ทีอ่ ยูต่ ดิ กันไม่น้อยกว่า 0.9 เมตรเป็ นไปตามเกณฑ์ท่ี
เหมาะสม (ไม่น้อยกว่า 1/6 x ผลรวมของเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของถังคูท่ อ่ี ยูต่ ดิ กัน)
6.1.4 ถังเก็บสารเคมีอยูห่ า่ งจากถนนสาธารณะตามทีก่ ฎหมาย
ควบคุมอาคารกําหนด
6.1.5 มีระยะทีร่ ถดับเพลิงสามารถฉีดสารดับเพลิงถึงได้ หรือมี
พืน้ ทีใ่ ห้รถดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้อย่างน้อย 2 ด้าน

6.2 การติ ดตัง้ และการใช้งานถังเก็บ


ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
มาตรการทัวไป ่
6.2.1 มีป้าย (Name plate) เพือ่ แสดงข้อมูลของถังเก็บสารเคมี
6.2.2 มีป้ายแสดงชนิด สมบัติ และปริมาณของเหลวในบริเวณ
พืน้ ทีถ่ งั เก็บ
6.2.3 มีป้ายเตือนอันตราย และป้ายห้ามทําให้เกิดประกายไฟ
หรือเปลวไฟ ในบริเวณพืน้ ทีถ่ งั เก็บ
6.2.4 มีการติดชื่อสารเคมี และติดสัญลักษณ์ไว้ทถ่ี งั เก็บ
ของเหลวไวไฟ ให้สามารถมองเห็นชัดเจนในระยะไกล
6.2.5 มีขอ้ มูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) ของของเหลวไวไฟ
ทีจ่ ดั เก็บไว้ในบริเวณทีป่ ฏิบตั งิ าน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 9-3
6.2 การติ ดตัง้ และการใช้งานถังเก็บ (ต่อ)
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.2.6 มีการใช้อุปกรณ์คมุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ตลอดเวลาทีป่ ฏิบตั งิ าน
6.2.7 มีบ่อพัก เพือ่ รวบรวมนํ้าและ/หรือของเหลวในบริเวณ
พืน้ ทีถ่ งั เก็บ
6.2.8 มีการทําเครือ่ งหมายทีถ่ งั เก็บ มีการบ่งชีว้ สั ดุอุปกรณ์
เช่น วาล์ว สาย และท่อต่างๆ เป็ นต้น
6.2.9 มีการตรวจสภาพทัวไปของถั
่ งเก็บของเหลว เช่น
สภาพสีภายนอก รอยสนิม และการผุกร่อน เป็ นต้น
6.2.10 มีการตรวจสภาพ และความแข็งแรงของราวกันตก
บนหลังคาถัง
6.2.11 มีการตรวจการรัวซึ ่ มตามหน้าแปลน ข้อต่อ ท่อ และ
วาล์วต่างๆ
6.2.12 มีการตรวจสภาพทัวไปของพื่ น้ ทีร่ องรับ และเขือ่ นกัน้
ล้อมรอบ เช่น รอยร้าว รอยรัว่ เป็ นต้น
ส่วนประกอบถังเก็บของเหลวไวไฟ
6.2.13 มีชอ่ งเปิ ดของถัง (Access hatch)
6.2.14 มีชอ่ งคนลงอย่างน้อย 2 ช่อง และมีขนาดไม่น้อยกว่า
500 มม.
6.2.15 มีชอ่ งระบาย (Drain) เพือ่ สามารถใช้สงั เกตการรัวซึ
่ ม
ของพืน้ ถังได้
6.2.16 มีถุงบอกทิศทางลม
อุปกรณ์สาํ หรับถังเก็บของเหลวไวไฟ
6.2.17 มีอุปกรณ์วดั ระดับสารเคมี
[ ] วิธี Manual ระบุ.......................................
[ ] วิธอี ตั โนมัติ ระบุ.......................................
6.2.18 [ ] มีการติดตัง้ ระบบป้องกันฟ้าผ่าทีเ่ หมาะสม
(ยกเว้นกรณีทวี ่ สั ดุถงั เก็บมีความหนาอย่างน้อยตามที ่
มาตรฐานกําหนด)

9-4 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.2 การติ ดตัง้ และการใช้งานถังเก็บ (ต่อ)
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.2.19 มีการต่อสายดินทีถ่ งั เก็บตามทีม่ าตรฐานกําหนด
6.2.20 อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อ่นื ๆ ทีใ่ ช้งานทัง้ หมดต้อง
ออกแบบพิเศษเพือ่ ป้องกันการแตก ร้าว แยก และทน
ต่อแรงระเบิด (Explosion proof)
6.2.21 มีระบบป้ องกันและควบคุมอัคคีภยั
[ ] ระบบโฟม
[ ] ระบบนํ้าดับเพลิง
[ ] ระบบสเปรย์น้ําดับเพลิง
[ ] ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน
[ ] ถังดับเพลิงแบบคาร์บอนไดออกไซด์
[ ] ปืนฉีดนํ้าดับเพลิง
6.2.22 มีอปุ กรณ์สาํ หรับระบบระบายความดัน
[ ] Open vent หรือ Free vent
[ ] Pressure safety valve
[ ] PV Valve
[ ] อื่นๆ ระบุ..........................................................
6.2.23 มีอุปกรณ์ดกั จับเปลวไฟ โดยเฉพาะกรณีทเ่ี ป็ น
Open vent หรือ Free vent
6.2.24 มีการติดตัง้ อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซและไอระเหย
ของเหลวไวไฟ
6.2.25 มีการติดตัง้ อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมขิ องเหลวไวไฟ
6.2.26 มีการติดตัง้ อุปกรณ์ตรวจวัดความดันของเหลวไวไฟ
6.2.27 มีระบบควบคุมการปลดปล่อยสาร (Emission)
[ ] ระบบเตาเผา (Incinerator)
[ ] ระบบบําบัดมลพิษทางอากาศอื่นๆ
ระบุ .......................
[ ] ระบบ Vapor return line
[ ] ระบบการปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือ
ก๊าซเฉื่อย (Nitrogen/Inert gas blanketing)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 9-5
6.3 การปฏิ บตั ิ งานกับของเหลวไวไฟ
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.3.1 มีการอบรมความรูเ้ กีย่ วกับความเป็ นอันตรายของ
ของเหลวไวไฟ
6.3.2 มีการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารอินทรีย์
ระเหยง่าย (VOCs) ในบรรยากาศ สภาพแวดล้อมการ
ทํางาน
6.3.3 มีการตรวจสุขภาพของผูป้ ฏิบตั งิ านปีละ 1 ครัง้
6.3.4 มีการฝึ กซ้อมแผนฉุกเฉินไฟไหม้ ระเบิด สารเคมี
หกรัวไหล
่ และการอพยพ อย่างน้อยปีละ 1 ครัง้

6.4 การตรวจสอบและการบํารุงรักษาระหว่างการใช้งาน
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.4.1 มีแผนการตรวจสอบตามปกติ
(Routine in-service inspection)
ตามความถีท่ ก่ี าํ หนด (1 ครัง้ ต่อเดือน)
โดยตรวจครัง้ ล่าสุดเมือ่
.......................................................
6.4.2 มีแผนการตรวจสอบประจําปี (In-service inspection)
ตามความถีท่ ก่ี าํ หนด (1 ครัง้ ต่อปี) โดยวัดความหนา
ของผนังขณะทีม่ กี ารใช้งานโดยไม่รวมความหนาของ
ฉนวน เฉพาะพื้นทีห่ รือจุดทีเ่ สีย่ งต่อการกัดกร่อนสูง
โดยตรวจครัง้ ล่าสุดเมือ่
.......................................................

9-6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.4 การตรวจสอบและการบํารุงรักษาระหว่างการใช้งาน (ต่อ)
ไม่
ข้อ รายละเอียด มี ไม่มี หมายเหตุ
เกี่ยวข้อง
6.4.3 มีแผนการตรวจสอบภายนอกขณะใช้งาน
(External inspection) ตามความถีท่ ก่ี าํ หนด (ทุก 5 ปี)
ตามมาตรฐาน API 653 โดย
- ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection) ตาม
ข้อกําหนด Appendix : API Std 653 Checklist
for tank inspection สําหรับ Tank in-service
inspection checklist
- ตรวจวัดความเอียงของตัวถัง (Plumbness test)
- ตรวจวัดความหนาบริเวณผนังและหลังคาถังเก็บ
โดยตรวจครัง้ ล่าสุดเมือ่
......................................................
6.4.4 มีแผนการตรวจสอบภายในของถังเก็บสารเคมี
(Internal inspection) ตามมาตรฐาน API 653 โดย
- ตรวจวัดความหนา โดยทําการวัดทุกแผ่นบริเวณ
พืน้ ถัง
- ตรวจสอบและทดสอบพืน้ ถัง แนวเชื่อมบริเวณ
เชื่อมต่อระหว่างผนังถังกับพืน้ ถัง และบริเวณ
ใกล้เคียง
- ความเรียบของพืน้ ถัง การโก่งและทรุดของ
พืน้ ถัง การสึกกร่อนใต้พน้ื ถัง และตรวจหารอย
รัวตามแนวเชื
่ อ่ ม ซึง่ ทําการตรวจสอบบริเวณ
รอยเชื่อมของพืน้ ถัง (Bottom plate)
- ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection)
ตามข้อกําหนด Appendix : API Std 653
Checklist for tank inspection สําหรับ Tank
out-of-service inspection checklist
โดยตรวจครัง้ ล่าสุดเมือ่
.......................................................

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 9-7
สรุปผลการตรวจสอบ

…….……………………......................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
.................…….…………………….....................................................................................................
.................................…….……………………........................................……......................................
.................................…….……………………........................................……......................................

วันทีบ่ นั ทึกข้อมูล (วว/ดด/ปป) ............................ ผูใ้ ห้ขอ้ มูล ..........................................................

ผูต้ รวจสอบ 1)....................................................

2)....................................................

9-8 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ภาคผนวก ก.1
ตารางเปลี่ยนหน่ วย

Quantity English Unit Convert by multiply SI Unit

Length (ความยาว) ft (ฟุต) 0.3048 m (เมตร)

Mass (นํ้าหนัก) lb (ปอนด์) 0.4536 kg (กิโลกรัม)

Area (พืน้ ที)่ ft2 (ตารางฟุต) 0.09290 m2 (ตารางเมตร)

Volume ft3 (ลูกบาศก์ฟุต) 0.02832 m3 (ลูกบาศก์เมตร)


(ปริมาตร)
gallon (แกลลอน) 3.79 liter (ลิตร)

Density lb/ft3 kg/m3


16.02
(ความหนาแน่น) (ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต) (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

Pressure, stress
lbf/in2 (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) 6.895 kPa (กิโลปาสคาล)
(ความดัน ความเค้น)

Force, weight
lbf (ปอนด์) 4.448 N (นิวตัน)
(แรง นํ้าหนัก)
ภาคผนวก ข.1
ความสมดุลระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของถัง

Height, Diameter, m.

m. 3 4 6 8 10 12.5 15 17.5 20 22.5 25 27.5


1 7 12 28 50 78 122 176 240 314 397 490 593
2 14 25 56 100 157 245 353 481 628 795 981 1,187
3 21 37 84 150 235 358 530 721 942 1,192 1,472 1,781
4 28 50 113 201 314 490 706 962 1,256 1,590 1,963 2,375
5 35 62 141 251 392 613 883 1,202 1,570 1,988 2,454 2,969
6 42 75 169 301 471 736 1,060 1,443 1,884 2,385 2,954 3,563
7 87 197 351 549 859 1,237 1,683 2,199 2,783 3,436 4,157
8 226 402 628 981 1,413 1,942 2,513 3,180 3,926 4,751
9 254 452 706 1,104 1,590 2,164 2,827 3,578 4,417 5,345
10 282 502 785 1,227 1,767 2,405 3,141 3,976 4,908 5,393
11 552 863 1,349 1,943 2,645 3,455 4,373 5,399 6,533
12 603 942 1,472 2,120 2,886 3,769 4,771 5,890 7,127
ภาคผนวก ข.2
ข้อมูลเบือ้ งต้นที่ต้องการใช้ในการคํานวณ

กําหนดความหมายของตัวแปรต่างๆ ทีใ่ ช้ในการคํานวณ


- เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลีย่ ของถังทีเ่ ปลือกถังชัน้ ล่างสุด, D
- ระดับของเหลวออกแบบสูงสุด, H
- ค่าความถ่วงจําเพาะของของเหลวทีบ่ รรจุ ทีอ่ ุณหภูมใิ ช้งาน, G
- ค่าความหนาเผื่อสําหรับการกัดกร่อน, CA
- ค่าความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน, Sd
- ค่าความเค้นสูงสุดขณะอัดนํ้าทดสอบ, St
- ความกว้างของแผ่นเหล็กทีใ่ ช้ในการสร้างเปลือกถัง ความสูงของ (Shell course) ในแต่ละชัน้ , h
- Thickness hydrostatic test (tt ) หมายถึง ความหนาจากการอัดนํ้าทดสอบ
- Thickness minimum (tmin ) หมายถึง หาค่าความหนาตํ่าสุดทีย่ อมได้
- Thickness of shell (ts ) หมายถึง ความหนาออกแบบของ Shell
- Thickness product design (td ) หมายถึง ความหนาชัน้ ล่างสุด

การคํานวณหาความหนาของเปลือกถัง (Shell) ชัน้ ล่างสุด


ขัน้ ที่ การ สูตรที่ใช้ในการคํานวณ แทนค่าข้อมูลที่ได้จาก ผลลัพธ์ที่ หน่ วย
ดําเนิ นการ ลงในสูตร ได้จาก
การ
คํานวณ

4.9D(H − 0.3)G 4.9 × ___ ( _ − 0.3) × __ มิลลิเมตร


1.1 หาค่า t t =
S
+ + __ td
_____ (mm.)

4.9D(H − 0.3) 4.9 × ___( ___ − 0.3) มิลลิเมตร


1.2 หาค่า t t =
S
tt
______ (mm.)

1.3 หาค่าความ เปรียบเทียบค่า td และ tt td = _____


มิลลิเมตร
หนาจากการ เลือกค่าทีม่ ากกว่า จากทัง้ สอง t1
คํานวณ t1 (mm.)
ค่า tt = _____
การคํานวณหาความหนาของเปลือกถัง (Shell) ชัน้ ล่างสุด
ขัน้ ที่ การ สูตรที่ใช้ในการคํานวณ แทนค่าข้อมูลที่ได้จาก ผลลัพธ์ที่ หน่ วย
ดําเนิ นการ ลงในสูตร ได้จาก
การ
คํานวณ
2.1 หาค่าความ หาค่าความหนาตํ่าสุดของ Shell D = _______ เมตร
หนาตํ่าสุดที่ (t ) ตามขนาดเส้นผ่าน tmin มิลลิเมตร
min
ยอมรับได้ tmin ศูนย์กลางของถัง (D) จาก tmin = ______ มิลลิเมตร (mm.)
ตารางด้านล่าง

D (m) tmin (mm)


< 15 5
15 to < 36 6
36 to 60 8
>60 10
หมายเหตุ ถ้าถังมีขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลางระหว่าง 3.2-15
เมตร ความหนาของผนังชัน้
ล่างสุดต้องไม่น้อยกว่า
6 มิลลิเมตร
2.2 หาค่าความ เปรียบเทียบค่าทีไ่ ด้จากข้อ t1 = ________ มิลลิเมตร
มิลลิเมตร
หนาออกแบบ 1.3 (t1) และข้อ 2.1 (tmin) ts
ของ Shell (ts) โดยเลือกค่าทีม่ ากทีส่ ดุ (mm.)
tmin = _______ มิลลิเมตร
ภาคผนวก ข.3
การคํานวณหาความหนาของเปลือกถัง (Shell) ชัน้ ที่ n

ผลลัพธ์ที่
การ ได้จาก
ขัน้ ที่ สูตรที่ใช้ในการคํานวณ แทนค่าข้อมูลที่ได้ ลงในสูตร หน่ วย
ดําเนิ นการ การ
คํานวณ
1.1 หาค่าความ
สูงของ
เมตร
ของเหลวที่
Hn = H – (n-1)(h) Hn = ____- ( ___ - 1)( ____ ) Hn
นํามา (m.)
คํานวณ
Hn

1.2 กําหนดค่า H เมตร


ทีจ่ ะนําไป H = Hn H = __________ H
แทนค่าในข้อ (m.)
1.3 และ 1.4
1.3 หาค่า td 4.9 × _____ ( _____ − 0.3) × _____ มิลลิเมตร
t =
4.9D(H − 0.3)G
+
+ _____ td
S
______ (mm.)

1.4 หาค่า tt 4.9D(H − 0.3) 4.9 × ______( ______ − 0.3) มิลลิเมตร


t =
S
tt
______ (mm.)

1.5 หาค่าความ เปรียบเทียบค่า td และ tt t1


td = _______ มิลลิเมตร
หนาจากการ โดยเลือกค่าทีม่ ากกว่าจาก
(mm.)
คํานวณ t1 ทัง้ สองค่า tt = _______
ผลลัพธ์ที่
การ ได้จาก
ขัน้ ที่ สูตรที่ใช้ในการคํานวณ แทนค่าข้อมูลที่ได้ ลงในสูตร หน่ วย
ดําเนิ นการ การ
คํานวณ
2.1 หาค่าความ หาค่าความหนาตํ่าสุดของ
หนาตํ่าสุดที่ shell (tmin) ตามขนาดเส้น
ยอมได้ tmin ผ่านศูนย์กลางของถัง (D) D = ________ เมตร
จากตารางด้านล่าง
D (m) tmin (mm)
< 15 5 tmin = ________ มิลลิเมตร
15 to <36 6 มิลลิเมตร
tmin
36 to 60 8 (mm.)
>60 10
หมายเหตุ ถ้าถังมีขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง
3.2-15 เมตร ความหนา
ของผนังชัน้ ล่างสุดต้องไม่
น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร

2.2 หาค่าความ เปรียบเทียบค่าทีไ่ ด้จากข้อ


หนาออกแบบ 1.5 (t1) t1 = _________ มิลลิเมตร มิลลิเมตร
ของ shell ts(n)
และข้อ 2.1 (tmin) (mm.)
ts(n) โดยเลือกค่าทีม่ ากทีส่ ดุ tmin = _________ มิลลิเมตร
ภาคผนวก ข.4
ค่าความเค้นของวัสดุแต่ละชนิ ด

Nominal Plate Minimum Minimum Product Hydrostatic


Plate Thickness t Yield Strength Tensile Strength Design Stress Sd Test Stress St
Specification Grade mm Mpa Mpa Mpa Mpa
ASTM Specifications
A283M C 205 380 137 154
A283M C 205 380 137 154
A 131M A, B 235 400 157 171
A36M 250 400 160 171
A 131M EH 36 360 490a 196 210
A573M 400 220 400 147 165
A573M 450 240 450 160 180
A573M 485 290 435a 193 208
A516M 380 205 380 137 154
A516M 415 220 415 147 165
A516M 450 240 450 160 180
A516M 485 260 485 173 195
A662M B 275 450 180 193
A662M C 295 435a 194 208
A537M t ≤ 65 345 435a 194 208
65 < t ≤ 100 310 450b 180 193
A537M 2 t ≤ 65 415 550a 220 236
65 < t ≤ 100 380 515b 206 221
A633M C,D t ≤ 65 345 435a 194 208
65 < t ≤ 100 315 450b 180 193
A678M A 345 4853 194 208
A678M B 415 5503 220 236
A737M B 345 4853 194 208
A841M Class 1 345 4853 194 208
A841M Class 2 415 5503 220 236
CSA Specifications
G40.21M 260W 260 410 164 176
G40.21M 260WT 260 410 164 176
G40.21M 300W 300 450 180 193
G40.21M 300WT 300 450 180 193
G40.21M 350W 350 450 180 193
Nominal Plate Minimum Minimum Product Hydrostatic
Plate Thickness t Yield Strength Tensile Strength Design Stress Sd Test Stress St
Specification Grade mm Mpa Mpa Mpa Mpa
G40.21M 350WT t ≤ 65 350 4801 192 206
65 ≤ t ≤ 100 320 4801 192 206
National Standards
235 235 365 137 154
250 250 400 157 171
275 275 430 167 184
ISO Specifications
ISO 630 E 355C, t ≤ 16 275 410 164 176
D
16 ≤ t40 265 410 164 176
E 355, D t ≤ 16 355 4903 196 201
16 < t ≤ 40 345 4903 196 201
40 < t ≤ 50 335 4903 196 201
EN Specifications
EN 10025 S 355J0, t ≤ 16 275 410 164 176
J2
16 < t ≤ 1 ½ 265 410 164 176
S 355J0, t ≤ 16 355 4703 188 201
J2, K2
16 < t ≤ 40 345 4703 188 201
40 < t ≤ 50 335 4703 188 201

a
 By agreement between the Purchaser and the Manufacturer, the tensile strength of ASTM A 537M, Class 2, A 678M,
Grade B, and A 841M, Class 2, materials m be increased to 585 MPa minimum and 690 MPa maximum. The tensile
strength of the other listed materials may be increased to 515 MPa minimum and 620 MPa maximum. When this is done,
the allowable stresses s all be determined as stated in 5.6.2.1 and 5.6.2.2
b
 By agreement between the Purchaser and the Manufacturer, the tensile strength of ASTM A 537M, Class 2 materials map
be increased to 550 MPa minimum and 690 MPA maximum. The tensile strength of the other listed materials may be
increased to 485 MPa minimum and 620 MPa maximum. When this is done, the allowable stresses s all be determined as
stated in 5.6.2.1 and 5.6.2.2

ทีม่ า : Table 5-2a- (SI) Permissible Plate Materials and Allowable Stresses
API 650 Welded Tanks for Oil Storage ADDENDUM 2011 Chapter 5 (Paper 5-13)
ภาคผนวก ข.5
การคํานวณค่าความเค้นสูงสุด

Product design stress, Sd Hydrostatic design stress, St


มาตรฐานเหล็ก
(MPa) (MPa)
มอก. 1479-2541 116 131
มอก. 1499-2541 156 171
มอก. 2060-2543 160 172
ASTM 304 143 161

คํานวณหาค่าความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน , Sd
2 2
Sd = x yield strength หรือ x tensile strength หน่วย เมกะพาสคาล (MPa)
3 5
ค่าความเค้นสูงสุดขณะอัดนํ้าทดสอบ, St
3 3
St = x yield strength หรือ x tensile strength หน่วย เมกะพาสคาล (MPa)
4 7
หลังจากคํานวณค่า Sd และ St จากแต่ละสูตรเสร็จแล้ว เราจะเลือกใช้คา่ Sd และ St ทีน่ ้อยทีส่ ดุ

ตัวอย่างการคํานวณค่าความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน และค่าความเค้นสูงสุดขณะอัดนํ้าทดสอบ
ของเหล็กมอก. 1499-2541

มาตรฐานเหล็ก Yield strength (Mpa) Tensile strength (Mpa)


มอก. 1499-2541 235 400

2 2
จะได้ Sd = x 235 = 156 MPa หรือ x 400 = 160 MPa
3 5
3 3
St = x 175 = 176 MPa หรือ x 330 = 171 MPa
4 7
ดังนัน้ เหล็กมาตรฐาน มอก. 1499-2541 จะมีคา่ Sd = 156 MPa และค่า St = 171 MPa
ภาคผนวก ข.6
ตัวอย่างวัสดุปผู ิวถังเก็บของเหลวต่างๆ

Rating – Chemical Effect


A: No effect – Excellent B: Minor effect – Good
C: Moderate effect – Fair D: Severe effect – Not Recommended

Ethylene Propylene (EPM)


BUNA N (NITRILE)
CERAMAGNET “A”
POLYPROPYLENE

Rubber (Natural)
Tygon (E-3606)

Cycolac (ABS)
PVC (Type 1)

Polyethylene

CERAMIC
Polyacetal

Neoprene
CARBON
KYNAR

RYTON

VITON

Silicon

Epoxy
Teflon

Nylon
Noryl

3
Acetaldehyde - D D A - A A D C B A A A - D B B D B C A
4
Acetone D D D A D B A D C B A A A A D D B C A D B
Alcohol Amyl A A B A C A A B B B A A A - A A D A A C A
Alcohol Benzyl - D B - A A A D D A - A A - A D - B B D A
Alcohol Butyl A A B A A A A - B B A A A - A A D A A A A
1
Alcohol Diacetone - D - - A A A - - D - A A - D D - D A D A
Alcohol Ethyl - A C - A B A B B A - A A A A A B A B A A
Alcohol Hexyl - - - - A A A - - A - A A - A A D B A A A
Alcohol Isobutyl - - - - A A A B - A - A A - A C B A A A A
Isopropyl - - - - A A A - - A - A A - A C C B A A A
4
Alcohol Methyl - B - A A C A D B A - A A A C B - A A A A
1 B D C A D A A D D D A A A A A D - D D D A
Benzene
1
Ethyl Acetate D D D A D A A D C C A A A - D D C D B D A
Ethylene Dichloride - D D A D A A - D A A C A - A D D D C D A
Methyl Ethyl Ketone D D - A D B A D D A A A A - D D C D A D B
1
Methyl Isobutyl Ketone D D - A D B A D - C A A A - D D C D C D B
Methyl Methacrylate - - - - - A - - - - - A A - D D - D D D A
Styrene - - - A A A - - - - - A A - B D D D D D A
2
Toluene, Toluol A D D A D A A D D D A A A A C D D D D D A

Footnotes
1. Polypropylene - Satisfactory to 72 °F 2. Polypropylene - Satisfactory to 120 °F
3. Polyacetal - Satisfactory to 72 °F 4. Ceramag - Satisfactory to 72 °F

หมายเหตุ : ตารางข้างต้น เป็ นการยกตัวอย่าง Compatibility Resistant Chart ทีไ่ ด้จากผูใ้ ห้บริการหนึ่งซึง่ อาจมีความเหมือนหรือ
แตกต่างจากทีอ่ ่นื ก็ได้ (ทีม่ า http://www.quickcutgasket.com/pdf/Chemical-Resistance-Chart.pdf เข้าถึงเมือ่
กรกฎาคม 2559)

คําอธิบายตาราง : จากตารางจะเห็นว่าวัสดุทไี ่ ม่ทาํ ปฏิกริ ยิ ากับเมทานอลคือ วัสดุทมี ่ รี ะดับเป็ น A เช่น Teflon,


epoxy เป็นต้น ขณะทีว่ สั ดุทหี ่ า้ มนํามาใช้ คือระดับ D เช่น ยาง ABS เป็ นต้น
ภาคผนวก ค
ตัวอย่างการคํานวณสําหรับถังเก็บของเหลวไวไฟ

ขัน้ ตอนการคํานวณสําหรับการออกแบบถังเก็บสารเคมี/ คํานวณทีค่ วามจุสงู สุด (V) 500 ลูกบาศก์เมตร

กําหนดให้ระดับของเหลวออกแบบสูงสุด (H) = 7 เมตร


บรรจุเมทานอล Specific gravity (G) = 0.79 ทีอ่ ุณหภูมใิ ช้งานตํ่าสุด 15 องศาเซลเซียส
กําหนดให้ความหนาเผื่อกัดกร่อน CA 0.508 มิลลิเมตร/ปี ใช้งาน 30 ปี กําหนด CA = 0.508 x 30 = 15.24 มิลลิเมตร
วัสดุทเ่ี ลือกใช้ Shell (Plate) เลือกเหล็กตามมาตรฐาน ASTM ชนิด A36M Group I (As rolled, Semi-killed)
หาค่าความเค้นของเหล็ก จากตารางภาคผนวกที่ ข.4 โดย เหล็ก A36M มีคา่ ดังนี้
ความเค้นสูงสุดขณะใช้งาน (Sd) = 160 MPa
ความเค้นสูงสุดขณะอัดนํ้าทดสอบ (St) = 171 MPa
ความกว้างของแผ่นเหล็ก (h) = 1.524 เมตร
จาก V = 500 ลูกบาศก์เมตร , H = 7 เมตร
D2H = 500

×
D=
×

D = 9.54 เมตร

ดังนัน้ เส้นผ่านศูนย์กลาง, D = 9.54 เมตร และสรุปข้อมูลถังทีใ่ ช้ในการคํานวณ ดังนี้


ความหนาชัน้ ล่างสุด

. ( . )
จากสมการ t = + CA
. × . ( . . )( . )
t = + 15.24
.
= + 15.24 = 16.79 มิลลิเมตร
ความหนาจากการอัดนํ้าทดสอบ
จากสมการ
4.9D(H − 0.3)
t =
S
. × . ( . . )
t =
= 1.83 มิลลิเมตร
เปรียบเทียบระหว่างค่า td = 16.79 มิลลิเมตร และ tt = 1.83 มิลลิเมตร
td > tt ดังนัน้ t1 = 16.79 มิลลิเมตร
ความหนาตํ่าสุดสําหรับเส้นผ่านศูนย์กลาง (D) < 15 เมตร ดังนัน้ tmin = 6 มิลลิเมตร
ความหนาออกแบบของ Shell (ts) เปรียบเทียบระหว่าง t1 = 16.79 มิลลิเมตร และ tmin = 6 มิลลิเมตร
tmin < t1 ดังนัน้ ts1 = 16.79 มิลลิเมตร
หลังจากทราบความหนาของชัน้ ล่างสุดแล้ว ให้กลับไปตรวจสอบว่าเกรดเหล็กทีเ่ ลือกมาเหมาะสมกับอุณหภูมใิ ช้งาน
หรือไม่ จากรูปที่ 3.1 (โดยพิจารณาอุณหภูมกิ ารใช้งานตามหัวข้อ 3.4) กรณีของเมทานอลทีเ่ ลือกพิจารณาอุณหภูมติ ่าํ สุดที่
มีโอกาสเกิดขึน้ ในขณะใช้งานของสถานทีต่ ดิ ตัง้ คืออุณหภูม ิ 15 องศาเซลเซียส
จากรูปจะเห็นว่าความหนาของเหล็กที่ 16.62 มิลลิเมตร สําหรับเหล็ก A36M Group I (As rolled, Semi-killed)
จะสามารถใช้งานได้ทอ่ี ุณหภูมไิ ม่ต่าํ กว่า -3 องศาเซลเซียส ขณะทีโ่ อกาสอุณหภูมใิ ช้งานตํ่าสุดอยูท่ ่ี 15 องศาเซลเซียส
แสดงว่าเกรดเหล็กทีเ่ ลือกใช้เหมาะสมกับการใช้งานโดยไม่ตอ้ งทํา Impact test
ความหนาชัน้ ถัดจากชัน้ ล่างสุด
ความสูงของเหลวทีน่ ํามาคํานวณ จากสมการ Hn = H – (n-1)(h)
ความสูงของของเหลว Hn = 7.0 – (1-1)(1.524) และ H1 = 7.0 m. (ชัน้ 1 คือ ชัน้ ล่างสุด)
H2 = 7.0 –(2-1)(1.524) = 5.476 (ชัน้ ที่ 2)
. × . ( . . )( . )
td = + 15.24 = 16.43 มิลลิเมตร
. × . ( . . )
tt = = 1.41 มิลลิเมตร
เลือก t1 = 16.43 มิลลิเมตร
แต่ tmin = 6 มิลลิเมตร ดังนัน้ ts2 = 16.43 มิลลิเมตร
ถังใบนี้ตอ้ งใช้แผ่นเหล็กผนังถังทัง้ หมด 5 ชัน้ ดังนี้
ชัน้ ที่ 1 : ts1 = 16.79 มิลลิเมตร
ชัน้ ที่ 2 : ts2 = 16.43 มิลลิเมตร
ชัน้ ที่ 3 : ts3 = 16.08 มิลลิเมตร (H3 = 7.0 -(3-1)(1.524) = 3.952 เมตร )
ชัน้ ที่ 4 : ts4 = 15.73 มิลลิเมตร (H4 = 7.0 -(4-1)(1.524) = 2.428 เมตร )
ชัน้ ที่ 5 : ts5 = 15.38 มิลลิเมตร (H5 = 7.0 -(5-1)(1.524) = 0.904 เมตร )
หลังจากทราบความหนาของเหล็กในแต่ละชัน้ เมือ่ ถึงขัน้ ตอนการสร้างถังจะต้องเลือกใช้เหล็กทีม่ คี วามหนาขัน้ ตํ่าอย่างน้อย
ตามทีอ่ อกแบบได้
ภาคผนวก ง

1. วิ ธีการอัดนํ้าเพื่อทดสอบความดัน (Hydrostatic test) มีขนั ้ ตอนดังนี้


 ให้ทาํ การตรวจพินิจด้วยสายตา (Visual inspection) ตามมาตรฐานการตรวจสอบ บริเวณภายนอก ของ
ถัง เพือ่ ตรวจสอบความถูกต้องของงานสร้างและติดตัง้ ถังตามแบบ หาสภาพการผุกร่อนของถังรับ แรงดัน
รวมไปถึงสภาพบกพร่องอื่นๆ โดยที่คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบและทดสอบให้เป็ นไปตามมาตรฐานผู้
ตรวจสอบ และทดสอบโดยไม่ทาํ ลาย1
 ให้ทําการกําจัดเศษวัสดุต่างๆ จากงานสร้างและติดตัง้ ถังออกให้หมด และทําความสะอาดภายในถังให้
สะอาด
 ให้จดั หานํ้าสะอาดเพื่อใช้ในการทดสอบถัง โดยถ้าเป็ นถังเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) นํ้าจะต้องมี
ค่าคลอไรด์ไม่เกิน 30 ppm.
 ให้ทาํ การปิ ดรูทางออกทัง้ หมดทีเ่ ปลือก (Tank shell) ของถังด้วยวาล์วและหน้าแปลนทึบเพื่อไม่ให้น้ํารัว่
ออกจากถังในขณะทําการทดสอบการอัดนํ้า (Hydrostatic test)
 ให้ทําการตรวจสอบค่าการทรุดตัวและความเอียงของถังก่อนเติมนํ้ าและหลังจากทดสอบความดันและ
ระบายนํ้าออก ทีร่ ะดับปริมาตรความจุถงั ที่ 0%, 25%, 50%, 75% และ100%
 ให้ทําการตรวจสอบความเอียงของถังก่อนเติมนํ้าและหลังจากทดสอบความดันและระบายนํ้าออก ทีร่ ะดับ
ปริมาตรความจุถงั ที่ 0%และ100%
 ให้ทําการเติมนํ้าเพื่อทดสอบความดันของถัง โดยให้ควบคุมอัตราการเติมนํ้าเข้าถังตาม API 650 ตาม
ตาราง ดังนี้

 ในระหว่างการเติมนํ้าทีแ่ ต่ละระดับคือ 25%, 50% และ75% ให้ทาํ การพักการเติมนํ้าเพื่อตรวจสอบการ


ทรุดตัวของถังและที่ 100% ให้ทําการคงระดับนํ้าไว้ 24 ชัวโมงเพื ่ ่อทดสอบความแข็งแรงและตรวจสอบ
การรัวซึ
่ มของถัง
1.) หากพบจุดบกพร่อง ให้ทําการแก้ไข ณ จุดหรือตําแหน่ งที่มปี ญั หานัน้ ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มกั จะเกิด
บริเ วณของจุ ด ต่ อ ที่ใ ช้ง านบ่อ ย เช่น ข้อ ต่ อ เกลีย วของวาล์ว หรือ อาจพบได้บ ริเ วณหน้ า แปลน
(Flange) เป็ นต้น
2.) หากไม่พบจุดบกพร่อง หรือรอยรัวซึ ่ ม ปริบวมใดๆ ของถังเก็บ เมื่อครบระยะเวลา 24 ชัวโมง่ ถือว่า
ถังมีสภาพปกติ

1
มาตรฐานผูท้ ดสอบโดยไม่ทาํ ลาย สําหรับการทดสอบและตรวจสอบถังเก็บนํ้ามันเชือ้ เพลิง ถังขนส่งนํ้ามันเชือ้ เพลิง
ระบบท่อขนส่งนํ้ามันเชือ้ เพลิง สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน (http://www.doeb.go.th/v5/show_km.php?tid=105)
 ทํา การตรวจสอบค่ า การทรุ ด ตัว และความเอีย งของถัง ถ้า ค่ า ต่ า งๆ ยอมรับ ได้ ให้ทํ า การระบายนํ้ า
ออกจากถัง

2. วิ ธีการวัดค่าความดิ่ ง (Plumbness)2 มีขนั ้ ตอนดังนี้


 ดําเนินการตรวจวัดโดยรอบของถัง 0°, 45°, 90°, 135°, 180, 225°, 270°
 ค่าความดิง่ ของชัน้ บนสุดของถังเมือ่ เทียบกับจุดล่างสุดของถัง ต้องไม่เกิน 1/200 ของความสูงของถัง

ทัง้ นี้การตรวจวัดความดิง่ ควรทีจ่ ะดําเนินการตรวจวัดในผนังชัน้ ที่ 1 ก่อน เพื่อให้มคี วามมันใจว่


่ าผนังของ
เปลือกถังสามารถรองรับค่าพิกดั ความเผื่อทีจ่ ะเกิดขึน้ ในทุกมิติ

3. วิ ธีการวัดค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถัง มีขนั ้ ตอนดังนี้


3.1 ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมตัง้ (Peaking) ตรวจวัดโดยการใช้ Horizontal sweep
board ความยาว 36 นิ้ว หรือ 900 มิลลิเมตร ค่าความโก่งผนังตามแนวเชื่อมตัง้ จะต้องไม่เกิน ½ นิ้ว หรือ
12.7 มิลลิเมตร

3.2 ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมนอน (Banding) ตรวจวัดโดยการใช้ Vertical sweep


board ความยาว 36 นิ้ว หรือ 900 มิลลิเมตร ค่าความโก่งผนังตามแนวเชื่อมนอนจะต้องไม่เกิน ½ นิ้ว หรือ
12.7 มิลลิเมตร

2
Plumbness Test (https://lukmanwelding.wordpress.com/storage-tank/)
เอกสารอ้างอิ ง

1. คลังศัพท์ไทย (ออนไลน์). แหล่งทีม่ า : https://www.egov.go.th/th/e-government-service/102


2. สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2548). คูม่ อื การตรวจสอบ ติดตัง้ ระบบ
และอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นทีอ่ นั ตรายทีม่ ไี อระเหยของสารไวไฟ.
3. Introduction To Explosive Atmospheres (ออนไลน์). แหล่งทีม่ า :
http://www.exveritas.com/introduction-to-expolsive-atmospheres/
4. รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ ์ศรี. (2549). พจนานุกรมเคมี (Dictionary of Chemistry). สํานักพิมพ์
วิทยพัฒน์
5. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ออนไลน์). แหล่งทีม่ า:
http://www.royin.go.th/dictionary/
6. Agriculture, Trade and Consumer Protection. (2013). chapter ATCP 93 FLAMMABLE,
COMBUSTIBLE AND HAZARDOUS LIQUIDS.
7. The American National Standards Institute/ The American Society of Mechanical Engineers.
(1989). ANSI/ASME B 31.4 Liquid Transportation System for Hydrocarbon, Liquid Petroleum
Gas, Anhydrous Ammonia and Alcohols.
8. American Petroleum Institute. (11th edition, 2008). API 620: Design and Construction of
Large Welded Low. Pressure Storage Tanks.
9. American Petroleum Institute. (11th edition, 2012). API 650: Welded Steel Tanks for Oil
Storage.
10. American Petroleum Institute. (4th edition, 2014). API 652: Linings of Aboveground
Petroleum Storage Tank Bottoms.
11. American Petroleum Institute. (4th edition, 2014). API 653: Design and Construction of Large,
Welded, Low-Pressure Storage Tanks.
12. Deutsche Industrie Normen (DIN). (2007). DIN 6600 : Steel Tanks for The Storage of
Flammable and Non- Flammable Water Polluting Liquids Concepts and Inspection.
เอกสารอ้างอิ ง (ต่อ)

13. Deutsche Industrie Normen (DIN). (1989). DIN 6618 : Part 1 Vertical Single-wall Steel Tanks
for the Above Ground Storage of Flammable and Non- Flammable Water Polluting Liquids.
14. National Fire Protection Association (NFPA). (2012). NFPA 30: Flammable and Combustible
Liquids Code.
15. National Fire Protection Association (NFPA). (2012). NFPA 704: Standard System for the
Identification of the Hazards of Materials for Emergency Response.
16. Basle Chemical Industry (BCI). (2009). Tank Farm Guidelines for the Chemical Industry
(TRCI).
กรณี ฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมี

หมายเลขโทรศัพท์
หน่ วยงาน
ตลอด 24 ชัวโมง
่ เฉพาะเวลาทําการ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม - 02-202-4000
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356 -
ศูนย์กชู้ พี นเรนทร 1669, 02-354-8222 -
กรมควบคุมมลพิษ 1650 02-298-2000
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 0-2243-0020-27,
0-2241-7470-84
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 199 02-354-6858
กรุงเทพมหานคร
กองบังคับการตํารวจทางหลวง 1193, 0-2354-6007 -
สวพ. 91 1644, 0 2562 0033-4 -
จส. 100 1137, 02-249-9449-58 ต่อ 0 -
ร่วมด้วยช่วยกัน 1677 0-2730-2400

You might also like