You are on page 1of 9

การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

การประเมินทางเลือกของการลงทุนโรงไฟฟ้ าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยวิธีการเรียลออปชั่น


Investment Alternatives evaluation of 3 MW Municipal solid waste Power Plant by Real Option
approach

พชรพร เพ็งอ้ น1, ฐิ ติศกั ดิ์ บุญปราโมทย์ 2


Phacharaporn Peng-on1,ThitisakBoonpramote2

บทคัดย่ อ
งานวิจัยนี ม้ ีวัตถุประสงค์ เพื่อทํ าการวิเคราะห์ ความยืดหยุ่นของปั จจัยที่ มีผลต่อการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้า
พลังงานขยะชุมชนและประเมินความเสี่ยงที่ อาจจะเกิ ดขึน้ เมื่อมีปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ด้ วยการวิเคราะห์
ผลตอบแทนจากโครงการด้ วยตัวชี ้วัดทางการเงินร่ วมกับการจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล โดยทําการศึกษาการ
ก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะขนาด 3 เมกะวัตต์ ประกอบด้ วยการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยี เตาเผาขยะมูลฝอย
เทคโนโลยีแก๊ สซิฟิเคชั่น และเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ อากาศและการผลิตขยะเชื อ้ เพลิง ซึ่งมีทางเลือก 10
ทางเลื อก ผลการวิ จัยพบว่ า การลงทุ นในโรงไฟฟ้ าขยะเทคโนโลยี การย่ อยสลายแบบไร้ อากาศ (Anaerobic
digestion) และการผลิตขยะเชื ้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 3MW มีมลู ค่าปั จจุบนั สุทธิ (NPV) และอัตรา
ผลตอบแทนภายในการลงทุน (IRR) สูงที่สุด เท่ากับ 120.59 ล้ านบาท และ 10.24% ผลจากการวิเคราะห์ ความ
อ่อนไหว พบว่า ปั จจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะชุ มชนมากที่สุดคือ เงินลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี
รายได้ จากการขายไฟฟ้าและรายได้ จากค่ากําจัดขยะ ผลจากการจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล เพื่อนํามาประเมิน
ความเสี่ยงของโครงการและทําการวิเคราะห์หาความยืดหยุ่นของการลงทุน โดยใช้ ค่าความน่าจะเป็ นที่เกิดขึ ้นมาเขียน
เป็ นแผนภูมิต้นไม้ สรุ ปได้ ว่า ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดคือ การลงทุนเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ อากาศ
(Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื ้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 4.5MW มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 366.16
ล้ านบาท
คําสําคัญ: ความยืดหยุน่ , การจําลองสถานการณ์มอนติ คาร์ โล, โรงไฟฟ้าขยะชุมชน

Abstract
This research aimed to assess to analysis the flexibility of factors affecting investment in Municipal solid
waste Power Plant and the potential risks associated with various factors. This research analysis by the return
on the project with financial indicators. Determine the Net Present Value (NPV), Sensitivity analysis with Monte
Carlo simulations to assess project risk from probability. Probability is the decision tree and the valueof the
project's flexibility. The study involved the construction of a 3 MW Municipal solid waste Power Plant
consists of an investment in a waste Incinerator technology, Gasification technology, and Anaerobic

Keyword: Flexibility Valuation, Monte Carlo Simulation, Municipal solid waste Power Plant
E-mail khanoon.jumping@gmail.com
1
สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1
Department of Energy Technology and Management Graduate School,Chulalongkorn University
2
ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิ โตรเลียมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2
Department of Mining and Petroleum Engineering, Chulalongkorn University
521
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

digestion technology and Refuse Derived Fuel. There are 10 alternative choices, the results found that
Investment in Anaerobic digestion technology and Refuse Derived Fuel of a 3 MW Municipal solid
waste Power Plant has the highest Net Present Value (NPV)120.591million Bath and Internal rate of
return (IRR) was 10.24%.The result of Sensitivity analysis found the investment of each technology,
revenue from electricity sales and revenue from garbage collection is factors higher affecting
construction Investment. Monte Carlo simulations are used to assess project risk and to analyze the
flexibility of investment. Using the probability value, it is written a decision tree.The conclusion is that
the most flexible alternative is an investment in Anaerobic digestion and Refuse Derived Fuel (4.5
MW) has the flexibility of 366.16 million Baht.

คานา
ปั ญหาขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย (Municipal solid waste) นับว่าเป็ นปั ญหาสําคัญที่ อยู่คู่กับ
สังคมไทยมายาวนาน ปริ มาณขยะในประเทศไทยเกิดขึ ้นประมาณ 41,532 ตันต่อวันหรื อมากกว่า 15 ล้ านตันต่อปี โดย
ร้ อยละ 30เป็ นขยะที่นําไปรี ไซเคิลได้ แต่มีการรี ไซเคิลนํามาใช้ ประโยชน์จริ งเพียง 1 ใน 4 เท่านัน้ (กรมควบคุมมลพิษ
,2559) และการประเมินปริ มาณก๊ าซเรื อนกระจกจากของเหลือทิ ง้ หลังการบริ โภค พบว่า มีการปล่อยก๊ าซเรื อน
กระจกถึง 5% ของปริ มาณการปล่อยก๊ าซเรื อนกระจกทังหมดของโลก ้ ซึ่งการลดปริ มาณขยะและกําจัดขยะอย่าง
ถูกวิธีสามารถช่วยบรรเทาปั ญหาในส่วนนี ้ได้ ดังนัน้ ภาครัฐจึงพยายามหาทางแก้ ไขปั ญหาให้ สอดคล้ องกับสภาพ
สังคมในปั จจุบนั กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน (พพ.)จึงได้ มีการดําเนินการศึกษาพัฒนาและ
ปรับปรุ งระบบฐานข้ อมูลศักยภาพของพลังงานขยะในประเทศไทย เพื่อให้ ทราบถึงปริ มาณของขยะมูลฝอยที่มีอยู่
ในพื ้นที่ตา่ งๆทังที
้ ่มีการนําไปใช้ ประโยชน์แล้ วและยังไม่ได้ นําไปใช้ ประโยชน์เพื่อหาศักยภาพในการนําขยะมาผลิต
พลังงานรวมถึงการนําขยะไปใช้ ประโยชน์ในการผลิตพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน,
2559)ซึ่งสอดคล้ องกับนโยบายส่งเสริ มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของภาครั ฐในปั จจุบัน ที่ม่งุ เน้ นการ
แก้ ไขปั ญหาสังคมส่วนรวม คือ ปั ญหาขยะชุมชนและจากข้ อมูลแนวทางการดําเนินงานการขับเคลื่อน Roadmap
การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของกรมควบคุมมลพิษปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีขยะมูลฝอยที่ยงั ตกค้ างอยู่
ถึง 30.49 ล้ านตัน รั ฐบาลจึงส่งเสริ มการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนมากขึน้ ด้ วยการกําหนดแผนพัฒนาพลังงาน
ทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015) ฉบับปั จจุบันที่มีการสนับสนุนพลังงานขยะเพิ่มขึน้
จากเดิมถึง 7.6 เท่าซึง่ คาดว่าจะสามารถกําจัดขยะตกค้ างได้ ด้ วยวิธีการสนับสนุนต่างๆ เช่น ให้ เอกชนแปรรู ปขยะ
เป็ นเชือ้ เพลิงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยการนําส่งเป็ นวัตถุดิบให้ โรงงานปูนซีเมนต์หรื อส่งไปเตาเผาขยะ เป็ นต้ น
(สํานักข่าวออนไลน์ ไทยพับลิก้า ,2559) เมื่อรั ฐบาลให้ การสนับสนุน มาก ผู้ประกอบการเอกชน และหน่วยงาน
ราชการหลายอําเภอในแต่ละจังหวัดก็มีแนวคิดในการดําเนินโครงการก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิต
ไฟฟ้าเพิ่ มมากขึน้ แต่การก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยนัน้ มีความเสี่ยงค่อนข้ างสูงในทางเศรษฐศาสตร์ จึงเป็ น
สาเหตุให้ งานวิจยั นี ้มีวตั ถุประสงค์เพื่อทําการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของปั จจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้า
พลังงานขยะชุมชนและประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิ ดขึน้ เมื่อมีปัจจัยที่ เปลี่ยนแปลงไปเพื่ อเป็ นแนวทางในการ
ตัดสินใจภายใต้ ความไม่แน่นอนของปั จจัยต่างๆเช่น ต้ นทุนของโรงไฟฟ้าขยะในแต่ละเทคโนโลยีปริ มาณขยะราคา

522
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

การรับซื ้อไฟฟ้าของรัฐบาลและราคาของเชื ้อเพลิง(RDF) เป็ นต้ น โดยพิจารณาจากพื ้นฐานของการคํานวณตัวเลข


ทางการเงินเพื่อนําเสนอทางเลือกที่เหมาะสมที่สดุ สําหรับการก่อสร้ างโรงไฟฟ้าชุมชน

วิธีการดาเนินงานวิจัย
ขอบเขตการศึกษาวิจัย
ทําการศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ ซึ่งประกอบด้ วย การลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะ
เทคโนโลยีเตาเผาขยะมูลฝอย(Incineration)การลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีแก๊ สซิฟิเคชัน่ (Gasification)และการ
ลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ อากาศ(Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื ้อเพลิง (Refuse
Derived Fuel: RDF) โดยมีการกําหนดทางเลือกดังต่อไปนี ้
ทางเลือกที่ 1 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncinerationขนาด 3 MW แบบลงทุนทันที
ทางเลือกที่ 2 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncinerationขนาด 3 MW แบบชะลอการลงทุน 2 ปี
ทางเลือกที่ 3 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncinerationขนาด 4.5 MWแบบลงทุนทันที
ทางเลือกที่ 4 การลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิต RDF ขนาด 3 MW แบบลงทุนทันที
ทางเลือกที่ 5 การลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิต RDF ขนาด 3 MW แบบชะลอการ
ลงทุน 2 ปี
ทางเลือกที่ 6 การลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิต RDFขนาด 4.5 MWแบบลงทุนทันที
ทางเลือกที่ 7 การลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิตRDF ขนาด 3 MW โดยเปลี่ยน
ผลิตภัณฑ์ขายขันสุ
้ ดท้ าย
ทางเลือกที่ 8 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด 3 MW แบบลงทุนทันที
ทางเลือกที่ 9 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด 3 MW แบบชะลอการลงทุน 2 ปี
ทางเลือกที่ 10 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด 3 MW โดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบใน
การผลิต

ข้ อมูลที่ใช้ ในการวิเคราะห์
รวบรวมข้ อมูลจากพื ้นที่ที่มีศกั ยภาพในการเป็ นศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อแปลงเป็ นพลังงาน
1. ข้ อมูลปฐมภูมิข้อมูลด้ านต้ นทุนของการผลิต RDF เก็บข้ อมูลโดยการใช้ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์
2. ข้ อมูลทุติยภูมิ ข้ อมูลด้ านต้ นทุนของโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationได้ ใช้ ข้อมูลจากศูนย์กําจัดขยะ
มูลฝอยรวมเทศบาลนครหาดใหญ่จงั หวัดสงขลาและศึกษาเพิ่มเติมจากงานวิจยั , ข้ อมูลด้ านต้ นทุนของโรงไฟฟ้าขยะ
เทคโนโลยีIncinerationได้ ใช้ ข้อมูลจากศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวมจังหวัดภูเก็ตและศึกษาเพิ่มเติมจากงานวิจยั , ข้ อมูล
ด้ านต้ นทุนของโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestionได้ ใช้ ข้อมูลจากศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวมเทศบาลระยองและ
เทศบาลชลบุรีและศึกษาเพิ่มเติมจากงานวิจยั
วิธีการวิเคราะห์ ผลจากการรวบรวมข้ อมูล
โดยการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากโครงการด้ วยตัวชี ้วัดทางการเงิน
1. ทําการวิเคราะห์แบบกระแสเงินสดคิดลด (Discounted Cash flow) เพื่อหามูลค่าปั จจุบนั สุทธิ (Net
Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) โดยใช้ อตั ราดอกเบี ้ยจาก

523
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

ต้ นทุนเงินเฉลี่ยถ่วงนํ ้าหนักของโครงสร้ างเงินทุน (Weighted average cost of capital: WACC)โดยตัวแปรที่


นํามาคิดผลตอบแทนโครงการ มีรายละเอียดดังนี ้
1.1 อายุโครงการ (Project life) ค่าที่กําหนดไว้ สําหรับการคํานวณเท่ากับ 20 ปี
1.2 อัตราคิดลดที่ใช้ คํานวณจากWACCโดยคิดจากการสัดส่วนของการลงทุนในส่วยของหนีส้ ินระยะ
ยาวและส่วนของเจ้ าของ ค่าที่กําหนดไว้ สําหรับการคํานวณเท่ากับ 7.57%
1.3 ค่าเสื่อมราคาหักค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี ด้วยการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้ นตรง
1.4 ค่ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื ้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้า50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ต่อปี (สํานักงานนโยบาย
และแผนพลังงาน,2558)
1.6 รายได้ จากการบริ การกําจัดขยะ ค่าที่กําหนดไว้ สําหรับการคํานวณเท่ากับ 500 บาทต่อตัน
1.7 เงินเฟ้อ ค่าที่กําหนดไว้ สําหรับการคํานวณเท่ากับ 3% ต่อปี (ธนาคารแห่งประเทศไทย,2560)
2. ทําการวิเคราะห์ ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis) ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการ
ลงทุนภายใต้ ความไม่แน่นอน โดยการคํานวณค่ามูลค่าปั จจุบนั สุทธิจากการที่ปัจจัยต่างๆนันได้ ้ เปลี่ยนแปลงไป
3. ทํ าการวิ เคราะห์ ระดับโอกาสหรื อความเสี่ ยงจากการกระจายตัวของค่ามูลค่าปั จจุบันสุทธิ โดยทํ า
แบบจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล (Monte Carlo Simulation) ซึ่งเป็ นวิธีหนึ่งทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้ คอมพิวเตอร์
ช่วยในการจําลองสถานการณ์ (Simulation) โดยอาศัยตัวเลขสุ่ม (Random Number) มาสร้ างตัวแปรให้ เหมือนกับ
สถานการณ์จริ ง และมีการทดลองซํ ้าหลายๆ ครัง้ เพื่อให้ ได้ คา่ ที่แน่นอนที่สามารถใช้ เป็ นข้ อสรุ ป ในกรณีที่ปัจจัยต่างๆ
นันมี
้ การเปลี่ยนแปลงไปพร้ อมๆกัน(HamedArmesh, 2558) เพื่อหาผลของการกระจายตัวของข้ อมูล โดยกําหนด
ลักษณะของการกระจายตัวของตัวแปรที่ใช้ ในการวิเคราะห์ดงั นี ้เงินลงทุน (Investment Cost) กําหนดการกระจายตัว
แบบปกติ (Normal distribution), รายได้ จากการขายไฟฟ้า(อันเนื่องมากจากกําลังการผลิตเปลี่ยนแปลง) กําหนดการ
กระจายตัวแบบปกติ (Normal distribution), ค่าแรงงาน (Labor Cost) กําหนดการกระจายตัวแบบสามเหลี่ยม
(Triangular distribution), รายได้ จากการรั บกํ าจัดขยะ กํ าหนดการกระจายตัวแบบสามเหลี่ ยม(Triangular
distribution) และรายได้ จากการขายเชื ้อเพลิง RDF กําหนดการกระจายตัวแบบสามเหลี่ยม(Triangular distribution)
4. การวิเคราะห์ความยืดหยุ่น (Real option analysis: ROA) โดยการนําค่าความน่าจะเป็ น (Probability) จาก
การจําลองสถานการณ์ มาเขียนเป็ นแผนภูมิต้นไม้ (Decision Tree) เพื่อคํานวณมูลค่าคาดหวัง (Expected Monetary
Value: EMV) (Zhang, M.M., 2016) แล้ วนํ ามาหามูลค่าความยื ดหยุ่นของแต่ละทางเลือกในการลงทุนก่อสร้ าง
โรงไฟฟ้าขยะชุมชน

ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล
1. ผลการวิเคราะห์ กระแสเงินสดคิดลดของการก่ อสร้ างโรงไฟฟ้ ากรณีฐาน
จากการประเมินพบว่า การลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncinerationขนาด 3 MWมีมลู ค่าปั จจุบนั สุทธิ
เท่ากับ 100,562,104.38 บาท อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุนเท่ากับ 9.14%การลงทุนในโรงไฟฟ้า ขยะ
เทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิตRDF ขนาด 3 MW มีมลู ค่าปั จจุบนั สุทธิเท่ากับ 120,591,578.14 บาท
อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน เท่ากับ 10.24% และการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยี Gasification
ขนาด 3 MW มีมลู ค่าปั จจุบนั สุทธิเท่ากับ-35,435,355.41 บาท อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุนเท่ากับ 6.70%

524
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

เมื่อพิจารณาตัวชี ้วัดทางการเงินของการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะพบว่า การลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีAnaerobic


digestionและการผลิต RDF ขนาด 3 MW มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สดุ
2. ผลการวิเคราะห์ ความอ่ อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis)
การวิ เคราะห์ ความอ่อนไหวของโครงการเป็ นตัวชี ว้ ัดให้ เห็ นว่าปั จจัยใดมีผลกระทบต่อการลงทุนของ
โครงการมากที่ สุด ซึ่งปั จจัยที่ มีความชันของเส้ นกราฟมาก ปั จจัยนัน้ ควรพิ จารณาอย่างระมัดระวังในการลงทุน
เพราะมี ความเสี่ ย งสู งที่ จ ะส่ งผลกระทบต่ อผลตอบแทนของโครงการ จากการวิ เคราะห์ ความอ่ อนไหวมี การ
เปลี่ยนแปลงดังแสดงในรู ปที่ 1โดยแกน X คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ ้นและลดลงของแต่ละปั จจัย แกน Y คือมูลค่า
ปั จจุบนั สุทธิซงึ่ ปั จจัยที่มีผลต่อโครงการมากที่สดุ คือ เงินลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี เนื่องจากมีมลู ค่าการลงทุนที่สงู
ปั จจัยรองลงมาคือ รายได้ จากการขายไฟฟ้าและค่ากําจัดขยะ (วัตถุดิบ) เนื่องจากปริ มาณการผลิตไฟฟ้าขึน้ อยู่กับ
ปริ มาณของวัตถุดิบ (ขยะ) ที่ เข้ าโรงไฟฟ้ า และปั จจัยด้ านต้ นทุนการเดินระบบ ปั จจัยด้ านรายได้ จากการขาย
เชื ้อเพลิง RDF ปั จจัยด้ านรายได้ จากการขายปุ๋ ย ปั จจัยด้ านค่าแรงงาน ตามลําดับ

รู ปที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของกรณี โรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncineration ขนาด 3 MW


จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า ปั จจัยทุกปั จจัยมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการแตกต่างกันไป แต่การ
วิเคราะห์ความอ่อนไหวเป็ นการวิเคราะห์แบบปั จจัยเดี่ยว (Single of Factor Sensitivity Analysis) คือการเปลี่ยนแปลงค่า
ปั จจัยต่างๆทีละตัวในอัตราเพิ่ มหรื อลดเท่าๆกัน ปั จจัยอื่นกําหนดให้ เป็ นค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง (อาภากร, 2557)
ดังนัน้ การวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยการจําลองสถานการณ์สามารถช่วยให้ วิเคราะห์โครงการได้ แม่นยํามากยิ่งขึ ้น
3. ผลการวิเคราะห์ การจาลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล เพื่อประเมินความเสี่ยงของโครงการ
การจําลองสถานการณ์ เป็ นการวิเคราะห์เหตุการณ์ภายใต้ ความไม่แน่นอน เป็ นวิธีที่แตกมาจากการวิเคราะห์
ความอ่อนไหว ซึง่ เป็ นการสร้ างแบบจําลองให้ กบั โครงการ โดยกําหนดให้ ปัจจัยต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้ อมๆ กัน ซึง่
ผลจากการจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โลนัน้ แสดงตัวอย่างในรู ปที่ 2 การจําลองสถานการณ์ กรณี โรงไฟฟ้าขยะ
เทคโนโลยี Incineration ขนาด 3 MW โดยจําลองสถานการณ์ผ่านโปรแกรม @Risk ซึง่ จะแสดงผลลัพธ์ เป็ นค่าต่างๆ เช่น
ค่า NPV Max, Min และค่า Mean รวมถึงค่าการกระจายตัวของมูลค่าปั จจุบนั สุทธิและความน่าจะเป็ นโดยดูจากพื ้นที่ใต้
กราฟ ซึง่ สามารถบอกถึงความเป็ นไปได้ ของเหตุการณ์ ที่จะทําให้ ค่า NPV มากกว่าหรื อน้ อยกว่าศูนย์ ทําให้ สามารถ
ประเมินระดับความเสี่ยงในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ ้นได้

525
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

รู ปที่ 2 ตัวอย่างการจําลองสถานการณ์ กรณี โรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncineration ขนาด 3 MW


ตารางที่ 1 ผลการประเมินความเสี่ยงของโครงการ
อัตรา ค่ าการกระจาย
ผลตอบแทน โอกาสที่ ระดับ
ลาดับ เทคโนโลยี การลงทุน (MW) เงินลงทุน (บาท) ผลตอบแทน ตัวจากการ
(NPV) NPV < 0 ความเสี่ยง
ภายใน (IRR ) Simulation
1 Incinerator - ลงทุนปกติ (3 MW) 681,770,000.00 100,562,104.38 9.14% 54,508,415.71 3.20% 8
2 Incinerator - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 613,593,000.00 393,507,763.66 14.01% 5,878,215.35 0% 5
3 Incinerator - ขยายลงทุน (4.5 MW) 788,770,000.00 441,125,266.76 13.21% 8,188,194.39 0% 6
4 AD & RDF - ลงทุนปกติ (3 MW) 471,993,000.00 120,591,578.14 10.24% 22,698,771.91 0% 7
5 AD & RDF - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 448,396,350.00 336,637,015.65 15.03% 2,230,974.55 0% 2
6 AD & RDF - ขยายลงทุน (4.5 MW) 633,560,000.00 471,646,330.21 14.92% 5,685,846.67 0% 4
- เปลี่ยน Final Product (ขาย
7 AD & RDF 440,547,000.00 13,171,047.85 7.90% 7,366,941.86 3.70% 9
แก๊ สชีวภาพแทน)
8 Gasification - ลงทุนปกติ (3 MW) 447,039,372.42 - 35,435,355.41 6.70% 7,508,204.83 100% 10
9 Gasification - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 424,687,403.80 141,608,221.61 11.03% 2,399,166.71 0% 3
10 Gasification - เปลี่ยน Raw Material (3 MW) 191,250,000.00 334,666,111.35 23.97% 1,817,425.37 0% 1

จากตารางที่ 1 ผลจากการจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล เพื่อประเมินความเสี่ยงของโครงการ จะแบ่งการ


พิจารณาเป็ น 2 ส่วน คือ ทางเลือกที่คา่ NPV < 0 ทําการพิจารณาจากความน่าจะเป็ น และทางเลือกที่ NPV > 0ทําการ
พิจารณาจากค่าการกระจายตัวของค่า NPV เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละทางเลือก
ผลการประเมินพบว่า ทางเลือกที่ 10 การลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด 3MW โดย
การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตมีความเหมาะสมในการลงทุนสูงที่สุด เพราะมีความเสี่ยงด้ านผลตอบแทนของ
โครงการตํ่า เนื่องด้ วยเทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชัน่ เป็ นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัตถุดิบประเภทชีวมวล อีกทังต้
้ นทุนในการ
ผลิตในด้ านการจัดการและการดําเนินระบบตํ่ากว่าการใช้ ขยะชุมชนเป็ นวัตถุดิบ การลงทุนในทางเลือกที่ 2, 3, 4, 5, 6
และ 9 สามารถเลือกลงทุนได้ เนื่องจากความน่าจะเป็ นที่ค่า NPV < 0 เท่ากับ 0% และมีอตั ราผลตอบแทนภายในการ
ลงทุนอยู่ในระดับที่ดี การลงทุนในทางเลือกที่ 7ลงทุนในโรงไฟฟ้าเทคโนโลยี Anaerobic digestionและการผลิตRDF
ขนาด 3 MW โดยเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ขายขัน้ สุดท้ ายและการลงทุนในทางเลือกที่ 1 ลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยี
Incinerationขนาด 3 MW แบบลงทุนทันทีมีความเสี่ยงในด้ านผลตอบแทนโครงการระดับปานกลาง เนื่องจากมูลค่า
ปั จจุบนั สุทธิจากการจําลองสถานการณ์ มีความน่าจะเป็ นที่ค่า NPV < 0 เท่ากับ 3.70% และ 3.20% ตามลําดับแต่ทงั ้
2 ทางเลือกนี ้ยังสามารถลงทุนได้ เพราะมีความน่าจะเป็ นที่คา่ NPV > 0 ในสัดส่วนที่มากกว่า
ในทิศทางตรงกันข้ ามการลงทุนในทางเลือกที่ 8 ลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยี Gasificationขนาด 3 MW
แบบลงทุนทันที ให้ ผลตอบแทนโครงการตํ่าและมีโอกาสที่คา่ NPV < 0 ถึง 100% ซึง่ ทางเลือกนี ้อาจไม่เหมาะสมที่จะ
ลงทุนในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเทคโนโลยียงั มีจุดบกพร่ อง เพราะยังไม่มีการกําหนดมาตรฐานการผลิต ผลผลิตและ
การใช้ งานที่ ชัดเจน อีกทัง้ การขยายกํ าลังการผลิตเชิ งพาณิ ชย์ (ใช้ ขยะวัตถุดิบตังต้
้ น) มีจํานวนจํ ากัดอยู่มากใน

526
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

ปั จจุบนั แต่สามารถแก้ ไขได้ โดยการชะลอโครงการไปอีก 2 ปี เพราะราคาเครื่ องจักรอุปกรณ์ ค่าการดําเนินการระบบ


มีแนวโน้ มตํ่าลง และการพัฒนาด้ านประสิทธิ ภาพของการผลิตไฟฟ้าของระบบมีแนวโน้ มดีขึน้ หรื อเปลี่ยนแปลง
วัตถุดิบตังต้
้ นในการผลิตเป็ นชีวมวล
นอกจากนี ้การจําลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล ยังสามารถนํามาวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของโครงการได้ โดย
การนําความน่าจะเป็ นมาแบ่งเป็ น 2 ส่วน คือส่วนที่ค่า NPV มากกว่าและน้ อยกว่า ค่า NPV คาดหวัง (Expected
Value) โดยพิจารณาใน 2 มุมมอง คือ มุมมองในแง่ดี (Up) และมุมมองในแง่ร้าย (Down) เพื่อนํามาเขียนเป็ นแผนภูมิต้นไม้ โดย
กําหนดการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncineration, เทคโนโลยีGasification, เทคโนโลยีAnaerobic digestionและ
การผลิตRDF ขนาด 3 MW แบบลงทุนทันทีเป็ นกรณีฐานในการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง ซึง่ สามารถ
คํานวณได้ จากมูลค่าคาดหวังของแต่ละทางเลือกและหาค่าความยืดหยุ่นโดยประเมินค่าความแตกต่างจากการลงทุน
ในทางเลือกใดๆ เทียบกับทางเลือกอ้ างอิง
53.3%
up 71.42
100.95
MW
72.60% 46.5% 29.53
up 287.18 down
366.77
Incinerator MW
delay 2 yr 27.40% 50%
down 106.06 up 223.28

441.10
.5 MW
50% 217.82
down

59.3%
up 69.85
334.59
MW
MSW Power Plant 40.7%
49.90% down 35.36
up 168.74
314.45
AD & RDF MW
59.20%
delay 2 yr 50.10% up 280.96
down 168.40
471.37
.5 MW 40.80%
down 190.41

MW up
50.10%
9.103
13.003
change final product
39.90%
up -16.8
49.90%
-35.80 down 3.90
MW
60.10% -19.09
down
75%
up 106.78
Gasification MW 141.50
delay 2 yr
25%
down 34.72
.5 MW 334.59 68.30%
up 229.08
change raw material

31.70%
down 105.51

รู ปที่ 3แผนภูมิต้นไม้
จากรู ปที่ 3 แผนภูมิต้นไม้ ของโรงไฟฟ้าขยะชุมชน เมื่อนํ ามาวิเคราะห์ ความยื ดหยุ่นของโครงการ ผลการ
ประเมินแสดงดังตารางที่ 2โดยแสดงค่า EMV จากทังหมด ้ 10 ทางเลือก ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากที่สดุ คือ การ
ลงทุนเทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิตRDF ขนาด 4.5MW มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 366.16 ล้ านบาทการ
ลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีIncineration ขนาด 4.5 MW มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 340.15 ล้ านบาท และการลงทุน
โรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด 3 MW แบบเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ(ชีวมวล) ในการผลิต มีความยืดหยุ่น
เท่ากับ 334.59 ล้ านบาท ตามลําดับ เมื่อพิจารณาผลการประเมินความยืดหยุ่นร่ วมกับการประเมินความเสี่ยง พบว่า
ทางเลือกที่ ดีสุด คือ การลงทุนเทคโนโลยี Anaerobic digestionและการผลิตRDF ขนาด 4.5 MW เนื่ องด้ วยให้
ผลตอบแทนการลงทุนที่สงู และมีความเสี่ยงตํ่าในการลงทุนทังในด้ ้ านการลงทุนในเทคโนโลยี เพราะเป็ นเทคโนโลยีที่

527
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

Commercial แล้ วอีกทัง้ การจัดการผลิตไม่ซับซ้ อน เนื่ องจากขยะในประเทศไทยที่ เป็ นวัตถุดิบหลักของโรงไฟฟ้า มี


ความเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าประเภท Anaerobic digestionสําหรับการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีGasificationขนาด
3 MW แบบเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (ชีวมวล) ในการผลิตให้ มลู ค่าความยืดหยุ่นสูงเป็ นอันดับสอง แต่สําหรับโรงไฟฟ้าขยะ
เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชั่นจําเป็ นต้ องพิจารณาข้ อจํากัดเกี่ยวกับประสิทธิ ภาพ ขนาด และความชื ้นของชีวมวลที่ใช้ เป็ น
วัตถุดิบ และการปนเปื อ้ นของนํ ้ามันดินในแก๊ สซึง่ ทําให้ ไม่สามารถใช้ งานเครื่ องกําเนิดไฟฟ้าได้ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติม
ด้ วย

ตารางที่ 2 ผลการประเมินความยืดหยุ่น
EMV (ล้านบาท) ค่ าความยืดหยุ่น
ลาดับ เทคโนโลยี การลงทุน (MW)
ค่ า EMV ค่ า EMV อ้ างอิง (ล้านบาท)
1 Incinerator - ลงทุนปกติ (3 MW) 100.95 100.95 0.00
2 Incinerator - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 366.77 100.95 265.82
3 Incinerator - ขยายลงทุน (4.5 MW) 441.10 100.95 340.15
4 AD & RDF - ลงทุนปกติ (3 MW) 105.21 105.21 0.00
5 AD & RDF - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 314.45 105.21 209.24
6 AD & RDF - ขยายลงทุน (4.5 MW) 471.37 105.21 366.16
- เปลี่ยน Final Product (ขายแก๊ ส
7 AD & RDF
ชีวภาพแทน) 13.00 105.21 -92.21
8 Gasification - ลงทุนปกติ (3 MW) -35.800 -35.800 0.00
9 Gasification - ชะลอการลงทุน 2 ปี (3 MW) 141.50 -35.800 141.50
10 Gasification - เปลี่ยน Raw Material (3 MW) 334.59 -35.800 334.59

สรุปผลและเสนอแนะ
งานวิจยั นี ้ทําการศึกษาความยืดหยุ่นของปั จจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยชุมชน
และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ ้นเมื่อมีปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยวิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการ
ด้ วยตัวชีว้ ดั ทางการเงิน ใช้ อตั ราคิดลดโดยคํานวณ WACCค่าเท่ากับ 7.57% ผลจากการวิเคราะห์ ตวั ชีว้ ดั ทาง
การเงินมูลค่าปั จจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) กรณี ฐาน พบว่า การลงทุนใน
โรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยี Anaerobic digestionและการผลิตRDFขนาด 3 MW มีมลู ค่าปั จจุบนั สุทธิ และอัตรา
ผลตอบแทนภายในการลงทุนสูงที่สดุ เท่ากับ 120,591,578.14 บาท และ10.24%โดยปั จจัยที่มีผลต่อการลงทุน
ก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยมากที่สดุ คือ เงินลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี รายได้ จากการขายไฟฟ้าและรายได้ จาก
ค่ารั บกํ าจัดขยะ ตามลําดับ ผลจากการจํ าลองสถานการณ์ มอนติ คาร์ โล เพื่ อนํ ามาประเมินความเสี่ ยงของ
โครงการและทํ า การวิเคราะห์ หาความยื ดหยุ่นของการลงทุน โดยใช้ ค่าความน่าจะเป็ นที่ เกิ ดขึน้ มาเขี ยนเป็ น
แผนภูมิต้นไม้ จากทางเลือกทัง้ หมด 10 ทางเลือก สรุ ปได้ ว่า ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากที่สดุ คือ การลงทุน
เทคโนโลยีAnaerobic digestionและการผลิตRDF ขนาด 4.5MWมีความยืดหยุ่นเท่ากับ366.16ล้ านบาท ซึง่ ถือ
เป็ นทางเลือกที่เหมาะสมที่สดุ ในการลงทุนก่อสร้ างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน เนื่องจากมีความเสี่ยงตํ่ามากในการลงทุนทังใน

528
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560

ด้ านการลงทุนในเทคโนโลยี การจัดการผลิต การปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้ อม อีกทังขยะในประเทศไทยที


้ ่เป็ น
วัตถุดิบหลักของโรงไฟฟ้ามีความเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีAnaerobic digestion

เอกสารอ้ างอิง
กรมควบคุ ม มลพิ ษ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อม. 2559. ศั ก ยภาพการ
ผลิ ต พลั ง งานจากขยะเชิงพืน้ ที่แผนแม่ บทการบริ หารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ(พ.ศ. 2559 -
2564). แหล่งที่มา: http://webkc.dede.go.th/testmax/node/2215, 20 กันยายน 2559.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน.2559. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน
ทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. แหล่งที่มา: http://www.dede.go.th/ewt_news.php? nid=42195, 12 กันยายน
2559.
ไทยพับลิก้า. 2559. วิกฤตขยะชุมชนเมือง. แหล่งที่มา: http://thaipublica.org/2012/06/crisis-
solid-waste/, 20 กันยายน 2559.
สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน. 2558. กองทุนพัฒนาชุมชนในพืน้ ที่รอบโรงไฟฟ้ าเพื่อการ
พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต ข อ ง ป ร ะ ช า ช น แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม อ ย่ า ง ยั่ ง ยื น . แ ห ล่ ง ที่ ม า :
http://www2.eppo.go.th/cdf/about_cdf.html, 20 กันยายน 2559.
ธ น า ค า ร แ ห ่ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย . 2560. อ ัต ร า เ ง ิน เ ฟ ้ อ ทั ่ ว ไ ป . แ ห ล ่ง ที ่ม า :
http://www2.eppo.go.th/cdf/about_cdf.html, 20 มกราคม2560.
HamedArmesh.2558. Decision Making. แหล่ง ที่ ม า: https://www.wbiconpro.com/483-
Hamed.pdf, 25 กันยายน 2559.
อาภากร พันธุวชั รพล. 2557. การประเมินมูลค่ าความยืดหยุ่นโดยวิธีเรี ยลออปชั่นจาก กรณีศึกษา
โรงไฟฟ้ าชีวมวลระบบแก๊ สซิฟิเคชั่นแบบเชือ้ เพลิงหลายชนิด ขนาดน้ อยกว่ า 1 เมกะวัตต์ . วิทยานิพนธ์
ปริ ญญาโท, สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Zhang, M.M., P. Zhou, and D.Q. Zhou. 2016. A real options model for renewable energy
investment with application to solar photovoltaic power generation in China. Energy Economics.
Thesis. 59: p. 213-226.

529

You might also like