You are on page 1of 7

-1- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นของไซโคลนที่สร้ างจากขวดแก้ วเหลือทิง้


The Particle Separation Efficiency of Glass Bottle Cyclones
ทัศณุ เรื องสุวรรณ1,* และวิชยั พฤกษ์ ธาราธิกลู 2
1
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
19/1 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้ างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160
(E-mail: tassanu_r@hotmail.com)
2
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี แขวงทุง่ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
(E-mail: phvpt@mahidol.ac.th)
* Corresponding author

บทคัดย่ อ
งานวิจยั นี ้เป็ นการศึกษาเชิงทดลองเพื่อศึกษาความเป็ นไปได้ ในการนําขวดแก้ วซึ่งเป็ นวัสดุเหลือทิ ้งจากครัวเรื อนมาสร้ าง
เป็ นอุปกรณ์ สําหรับใช้ ดกั จับฝุ่ น โดยทําการคัดเลือกขวดแก้ วสามชนิดที่มีรูปทรงเหมาะสม นํามาออกแบบและสร้ างเป็ น
ไซโคลนขวดแก้ วที่มีทางเข้ าในแนวแกนซึง่ ประกอบด้ วยใบพัดอะคริ ลิก 8 ใบที่เอียงทํามุม 20๐ กับแนวราบ จากนันทดสอบ ้
ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นตัวอย่างที่อตั ราการไหลของอากาศ 12 ft3/min และตรวจวัดค่าประสิทธิภาพในการใช้ งานโดย
การชักเก็บตัวอย่างอนุภาคภายในท่อ และตรวจวัดค่าความดันสถิตที่บริ เวณจุดทางเข้ าและทางออกของไซโคลน ผลการ
ทดสอบพบว่าค่าประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นของไซโคลนที่สร้ างจากขวดซอส ขวดเบียร์ และขวดนํ ้าหวานมีค่า 99.81%,
98.31% และ 97.31% ตามลําดับ และมีค่าความดันลด 0.77, 0.85 และ 0.81 นิ ้วนํ ้า ตามลําดับ ผลการศึกษาพบว่า
ไซโคลนที่สร้ างจากขวดซอสเป็ นชนิ ดที่ เหมาะสมในการนํ ามาใช้ งานมากที่ สุด นอกจากนี ผ้ ลการศึกษาได้ ชีใ้ ห้ เห็น ว่า
ลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันของขวดแก้ วจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการดักจับฝุ่ น โดยขวดแก้ วที่มีทรงกรวยลักษณะตรงจะมี
ความสามารถดักจับฝุ่ นดีกว่าทรงกรวยที่มีลกั ษณะเว้ า ทังนี้ ้เนื่องจากสามารถลดอิทธิพลของ shortcut flow และ particle
re-entrainment ได้ ดีกว่า
คําสําคัญ
ขวดแก้ ว/ ไซโคลน/ อุปกรณ์ดกั จับฝุ่ น

Abstract
The purpose of this experimental research is to study the possibility of using constructed glass bottles as dust
control instrument. Three types of glass bottle, with different shapes, were selected to design and construct
the axial entry cyclones. The air inlet part consisted of eight acrylic blades, with 20๐ inlet guide vane. The
experiments were carried out at an airflow rate of 12 ft3/min. The separation efficiency was determined using a
particle stack sampling method. The experimental results found that the average separation efficiencies of
glass bottle cyclones, which were constructed from Sauce, Beer and Nectar bottles, were 99.81%, 98.31%
and 97.31%, respectively, and the corresponding static pressure drops were 0.77, 0.85 and 0.81 inch of

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-2- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

water. The Sauce bottle cyclone is the best dust collector with the lowest pressure drop. The results also
indicated that the variation in glass bottles shapes influenced the separation efficiency and pressure drop.
Because of reducing shortcut flow and particle re-entrainment, the cyclone with straight conceal shape (Sauce
bottle) can collect the dust better than that with concave shapes.
Keywords
Cyclone/ Dust separator/ Glass bottle

บทนํา
ปั ญหาที่สําคัญประการหนึ่งของการประกอบกิจการอุตสาหกรรม คือ มลพิษที่เกิดขึ ้นจากกระบวนการผลิต
ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบตั ิงานและชุมชนที่อยู่ในบริ เวณใกล้ เคียง โดยทัว่ ไปฝุ่ นจะเกิดขึ ้น
จากกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้ องกับการตัด ขัด บด ทุบ กระแทก หรื อระเบิด จะทําให้ เกิดอนุภาคของแข็ง
ขนาดเล็กฟุ้งกระจายและแขวนลอยอยู่ในอากาศ หากปราศจากการจัดทํามาตรการป้องกันควบคุมที่ดีจะ
ทําให้ ฝนละอองที
ุ่ ่มีขนาดเล็กเข้ าสูท่ างเดินหายใจของผู้ปฏิบตั งิ านและทําให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้
การควบคุมและป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพ คือ การควบคุมที่แหล่งกําเนิดโดยทําการติดตังอุ ้ ปกรณ์ดกั
จับฝุ่ นละอองซึง่ สามารถทําได้ หลายวิธีการ เช่น การใช้ ห้องตกตะกอน (settling chamber) ไซโคลน (cyclone)
การจับด้ วยละออง (wet scrubber) การดักจับด้ วยการกรอง (fabric filter) รวมถึงการดักจับด้ วย
สนามไฟฟ้า (electrostatic precipitator) ซึ่งแต่ละวิธีจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม
ค่าใช้ จ่ายที่ใช้ ในการสร้ างและติดตังระบบดั
้ งกล่าวนันค่
้ อนข้ างสูงแปรผันตามประสิทธิภาพในการควบคุม
ของแต่ละอุปกรณ์ ลักษณะดังกล่าวจึงเป็ นปั ญหาสําหรับสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มี
จํานวนเงินลงทุนในการประกอบกิจการไม่มากนัก โดยในปี 2542 สถานประกอบการขนาดกลางและขนาด
เล็กที่มีลกู จ้ างไม่เกิน 100 คน มีจํานวนกว่า 349,489 แห่ง คิดเป็ น 96.36% ของสถานประกอบการทังหมด ้
้ ้ยังไม่รวมถึงกิจการและกระบวนการผลิตที่เกิดขึ ้นในชุมชนอันเป็ นผลสืบเนื่องมาจากโครงการ “หนึ่ง
ทังนี
ตําบล หนึง่ ผลิตภัณฑ์” อีกเป็ นจํานวนมาก จากข้ อมูลดังกล่าวได้ สะท้ อนให้ เห็นถึงกลุม่ คนจํานวนไม่น้อยที่
มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับมลพิษที่เกิดขึ ้นโดยปราศจากการควบคุมที่ดีอนั เนื่องมาจากข้ อจํากัดในเรื่ อง
ของงบลงทุนในการจัดการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการควบคุมมลพิษจากกระบวนการผลิต
สําหรับกลุม่ อุตสาหกรรมดังกล่าวยังไม่เหมาะสมและเป็ นที่แพร่หลายเท่าที่ควร
อุปกรณ์ ที่ใช้ ในการดักจับฝุ่ นละอองในอากาศของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะใช้ ไซโคลน แต่ด้วย
หลักการออกแบบที่ซบั ซ้ อนและต้ องใช้ ต้นทุนสูง จึงทําให้ อตุ สาหกรรมขนาดเล็กละเลยที่จะนํามาใช้ ดังนัน้
ทางเลือกที่เหมาะสมสําหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม คือ การประยุกต์ใช้ วสั ดุทดแทนที่มี
ต้ นทุนตํ่าและมีประสิทธิภาพในการใช้ งานที่ใกล้ เคียงกัน เนื่องจากไซโคลนที่ใช้ งานกันทัว่ ไปจะมีลกั ษณะ
เป็ นรู ปทรงกระบอกและมีปลายเป็ นรู ปกรวย ดังนันทางเลื ้ อกที่เหมาะสมคือการประยุกต์ใช้ วสั ดุทดแทนใน
การสร้ างไซโคลน โดยวัสดุทดแทนชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสม คือ ขวดแก้ ว เนื่องจากมีลกั ษณะรู ปร่ างที่

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-3- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

คล้ ายกับตัวไซโคลน (cyclone body) ทังยั ้ งเป็ นวัสดุเหลือใช้ จากครัวเรื อน สามารถหาได้ ง่ายจากชุมชน
และมีความทนทาน การเลือกใช้ วสั ดุดงั กล่าวจึงเป็ นการช่วยลดต้ นทุนในการสร้ างอุปกรณ์ดกั จับฝุ่ น ทังยั้ งมี
ความสอดคล้ องกับข้ อจํากัดของอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนตํ่า จากทฤษฎีที่ว่า เมื่อตัวไซโคลนยิ่งมีขนาดเล็กจะ
ทําให้ ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นสูงขึ ้น แต่อาจส่งผลให้ อิทธิพลของ shortcut flow และ particle re-
entrainment มีค่าสูงขึ ้นตามไปด้ วย รวมถึงขนาดสัดส่วนและลักษณะรู ปทรงกรวยของขวดแก้ วที่นํามา
ศึกษาจะมีลกั ษณะที่ แตกต่างไปจากไซโคลนมาตรฐาน ดังนัน้ งานวิจัยนีม้ ีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
เป็ นไปได้ ในการนําไซโคลนขวดแก้ วที่สร้ างขึ ้นไปประยุกต์ใช้ งานจริ ง รวมถึงเพื่อคัดเลือกรูปแบบของไซโคลนที่
สร้ างจากขวดแก้ วที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นสูงสุด

วิธีการศึกษา

การสร้ างไซโคลนขวดแก้ วที่มีทางเข้ าของอากาศในแนวแกน (axial entry cyclone)


คัดเลือกขวดแก้ วที่มีรูปทรงใกล้ เคียงกับไซโคลนมาตรฐาน โดยพิจารณาลักษณะของทรงกรวย ทรงกระบอก
และขนาดของปากขวด ทํ าให้ ได้ ขวดแก้ วที่ เหมาะสมสามชนิ ด ประกอบด้ วย ขวดซอส ขวดเบียร์ และขวด
นํ ้าหวาน หลังจากที่ได้ ตดั ส่วนที่เป็ นก้ นขวดออกไป จะได้ ขวดแก้ วสําหรับการสร้ างไซโคลนที่มีรูปทรงและ
ขนาด ดังรูปที่ 1

ขวดซอส ขวดเบียร์ ขวดนํ ้าหวาน

รูปที่ 1 รูปทรงและขนาดของขวดแก้ วทังสามชนิ


้ ด (หน่วย : เซนติเมตร)

สร้ างชุดใบพัดที่เป็ นทางเข้ าและทางออกของไซโคลน โดยกําหนดให้ ทางเข้ าของอากาศประกอบด้ วยใบพัด


ที่สร้ างจากแผ่นอะคริ ลิกใสจํานวน 8 ใบ (Zhang et al., 2001) วางตัวในแนวเอียงทํามุม 20๐ กับแนว
ระนาบ (Lieblien, 1950; Postma et al., 1998; Zhang et al., 2001) เพื่อทําหน้ าที่บงั คับให้ กระแสอากาศที่
เข้ า มาเกิ ดการไหลวนภายในขวดแก้ ว โดยยึดติด อยู่กับ ท่อ ทางออกที่ สร้ างจากท่อ พี วี ซีข นาดเส้ น ผ่า น

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-4- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

ศูนย์กลางภายในเป็ น 0.42 เท่าของขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลางภายในของขวดแก้ ว จากนันนํ ้ าไปประกอบและ


ยึดติดกับขวดแก้ วที่เตรี ยมไว้ ในขันตอนแรก
้ โดยให้ ขอบของใบพัดสัมผัสติดกับขอบของขวดแก้ ว ดังรูปที่ 2

ขวดซอส ขวดเบียร์ ขวดนํ ้าหวาน

รูปที่ 2 รูปแบบไซโคลนที่สร้ างจากขวดแก้ วทังสามชนิ


้ ด

ชุดอุปกรณ์ ทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่ น
อุปกรณ์ชดุ ทดสอบระบบระบายอากาศเฉพาะที่สําหรับทดสอบประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นของไซโคลนที่
สร้ างขึ ้นจากขวดแก้ ว ประกอบด้ วย เครื่ องลําเลียงฝุ่ น ตู้คลุกเคล้ าฝุ่ น พัดลมเป่ าฝุ่ น ท่อทางเข้ า ไซโคลนขวดแก้ ว
ท่อทางออก แดมเปอร์ และพัดลมดูดอากาศ โดยมีการติดดังชุ ้ ดอุปกรณ์ในการทดสอบดังรูปที่ 3

Dust generator

Acrylic chamber Blower


Outlet duct

Inlet duct Damper


Glass bottle
cyclone

Dust hopper

รูปที่ 3 ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทดสอบประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นของไซโคลนขวดแก้ ว

อุปกรณ์ และเครื่ องมือที่ใช้ ในการวิเคราะห์


อุปกรณ์ และเครื่ องมือที่ใช้ ในการวิเคราะห์ ประกอบด้ วย เครื่ องวิเคราะห์ การกระจายขนาดของอนุภาค ชุด
อุปกรณ์ตรวจวัดความเร็ วลมภายในท่อ และชุดอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอนุภาคภายในท่อ

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-5- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

การทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่ น
ฝุ่ นตัวอย่างจากกระบวนการขัดเครื่ องทองลงหินที่มีความหนาแน่นเฉลี่ย 2.12 g/cm3 โดยมีช่วงขนาดของ
อนุภาคฝุ่ นอยู่ระหว่าง 1.68 - 351.46 ไมครอน และมีค่าเฉลี่ยของขนาดอนุภาคฝุ่ นเท่ากับ 80.91 ไมครอน
จะถูกป้อนและทําให้ เกิดการฟุ้งกระจายในอากาศที่ระดับความเข้ มข้ นระหว่าง 330 - 400 mg/m3 เมื่อระดับ
ความเข้ มข้ นของฝุ่ นในตู้คงที่แล้ ว อากาศจะถูกดูดผ่านท่อเข้ าสู่ไซโคลนที่สร้ างขึ ้นด้ วยอัตราการไหล 12
ft3/min หรื อที่ระดับความเร็วลมที่ทางเข้ าประมาณ 25 f/s จากนันทํ
้ าการเก็บตัวอย่างอนุภาคฝุ่ นและตรวจวัด
ค่าความดันสถิต ที่บริ เวณท่อทางเข้ าและทางออกของไซโคลนขวดแก้ วทัง้ 3 ชนิด โดยทําการตรวจวัดและ
เก็บตัวอย่างซํ ้า 5 ครัง้ จากนันนํ
้ าผลการทดลองไปคํานวณหาเป็ นค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการดักจับฝุ่ น
(average particle separation efficiency) และค่าความดันลด (pressure drop)

รู ปที่ 4 เครื่ องวิเคราะห์การกระจายขนาดของอนุภาค และผลการวิเคราะห์ฝนตั


ุ่ วอย่างจากกระบวนการขัด

ผลการทดลองและวิจารณ์
จากการทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นของไซโคลนที่สร้ างจากขวดซอส ขวดเบียร์
และขวดนํ ้าหวานมีคา่ เท่ากับ 99.81% (±0.06), 98.31% (±0.15) และ 97.31% (±0.13) ตามลําดับ และมี
ค่าความดันลด 0.83, 0.91 และ 0.87 นิ ้วนํ ้า ตามลําดับ
100 99.81% 0.92
ประสิทธิภาพในการแยกฝุ่ น (%)

99 0.9
98.31% 0.88
ความดันลด (นิ ้วนํ ้า)

98
0.86
97.31%
97 0.84
ขวดซอส
0.82
96 ขวดเบียร์
0.8
ขวดนํ้ าหวาน
95 0.78
1 2 3 4 5

ครัง้ ที่ของการทดสอบ ขวดซอส


ขวดซอส ขวดเบียยร์ร์
ขวดเบี ขวดนํ้ า้าหวาน
ขวดนํ หวาน

รูปที่ 5 ประสิทธิภาพและค่าความดันลดของไซโคลนขวดแก้ ว

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-6- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

จากผลการทดสอบแสดงให้ เห็นว่าไซโคลนที่สร้ างจากขวดซอสเป็ นชนิดที่เหมาะสมในการนําไปประยุกต์ใช้


งาน เนื่ อ งจากมี ค่า ประสิท ธิ ภ าพในการแยกฝุ่ นสูง ที่ สุด ขณะเดีย วกัน มี ค วามต้ อ งการพลัง งานในการ
ขับเคลื่อนกระแสอากาศน้ อย รองลงมาคือ ไซโคลนที่สร้ างจากขวดเบียร์ และขวดนํ ้าหวาน ผลการศึกษา
ชี ้ให้ เห็นว่าลักษณะรูปทรงของทรงกรวยของขวดแก้ วที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ น
โดยรู ปทรงกรวยของไซโคลนขวดแก้ วที่มีลกั ษณะตรง (straight cone shape) เช่น ขวดซอส จะทําให้
กระบวนการแยกฝุ่ นภายในไซโคลนเกิดขึ ้นได้ ดี สามารถลดอิทธิพลของ shortcut flow และ particle re-
entrainment แต่ถ้าลักษณะของกรวยเป็ นแบบเว้ าเข้ าด้ านใน (concave cone shape) เช่น ขวดเบียร์ และ
ขวดนํ ้าหวานประสิทธิภาพการดักจับฝุ่ นจะด้ อยกว่า เนื่องจากลักษณะดังกล่าวจะทําให้ กระแสวนของอากาศ
้ (inner vortex) และกระแสวนชันนอก
ชันใน ้ (outer vortex) อยู่ใกล้ ชิดกันเกินไปทําให้ อนุภาคฝุ่ นที่ถกู เหวี่ยง
ไปที่ผนังของไซโคลนจะถูกดูดเข้ าไปในกระแสวนชันในและเคลื
้ ่อนที่ออกไปกับกระแสอากาศ นอกจากนี ้รอย
ขรุ ขระด้ า นในของทรงกรวยที่ พ บในขวดนํ า้ หวานจะส่ง ผลกระทบต่อ ประสิท ธิ ภ าพในการแยกฝุ่ นด้ ว ย
เนื่องจากลักษณะดังกล่าวทําให้ อนุภาคฝุ่ นที่ถกู เหวี่ยงไปยังผนังของไซโคลนจะชนกับพื ้นผิวที่ขรุขระและเกิด
การกระเด็นไปยังกระแสวนชันในและเคลื
้ ่อนที่ออกจากไซโคลนไปกับกระแสอากาศ ผลการศึกษาที่พบใน
งานวิจยั นี ้มีความสอดคล้ องกับผลการศึกษาที่นกั วิจยั อื่นๆ ได้ ทดลองไว้ (Xiang et al., 2001; Yoshida et
al., 2001; Gimbun et al., 2005) ซึง่ พบว่าลักษณะทรงกรวยของไซโคลนจะส่งผลต่อสมรรถนะในการใช้ งาน

รูปที่ 6 ลักษณะทรงกรวยที่แตกต่างกันของไซโคลนขวดแก้ ว

สรุ ปผล
ผลการศึกษาแสดงให้ เห็นถึงความเป็ นไปได้ ในการนําขวดแก้ วซึง่ เป็ นวัสดุเหลือทิ ้งจากครัวเรื อนมาสร้ างเป็ น
ไซโคลนสําหรับดักจับฝุ่ นเพื่อลดปริ มาณของฝุ่ นละอองที่ฟ้ ุงกระจายแขวนลอยในสิ่งแวดล้ อมการทํางาน
โดยไซโคลนขวดแก้ วทังสามชนิ
้ ดที่สร้ างขึ ้นมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่ นตัวอย่างได้ มากกว่า 97% โดย
นํ ้าหนัก ผลการทดลองบ่งชี ้ว่าไซโคลนที่สร้ างขึ ้นจากขวดซอสมีความเหมาะสมในการนํามาใช้ งานสูงสุด
รองลงมาคือ ขวดเบียร์ และขวดนํ ้าหวาน ตามลําดับ โดยปั จจัยที่สําคัญในการพิจารณาเลือกใช้ ขวดแก้ ว คือ
ลักษณะทรงกรวยของขวดแก้ ว เนื่ องจากขวดแก้ วที่ มีทรงกรวยในลักษณะตรงสามารถลดอิทธิ พลของ

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ


-7- การประชุมวิชาการ ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ครัง้ ที่ 1

shortcut flow และ particle re-entrainment ได้ ดีกว่า ขวดแก้ วที่มีทรงกรวยในลักษณะเว้ า สําหรับการนํา
ผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ งานในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก สามารถนําไซโคลนขวดแก้ วที่สร้ างขึ ้นไปใช้ งานที่
ระดับอัตราการไหลของอากาศสูงๆ ได้ โดยการออกแบบให้ ไซโคลนทํางานร่ วมกันหลายๆ ตัว (multiple
cyclones) ด้ วยหลักการนี ้จึงมีความเป็ นไปได้ ในการสร้ างอุปกรณ์ดกั จับฝุ่ นที่มีประสิทธิภาพ มีราคาถูก และ
เหมาะสมกับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจยั ขอขอบพระคุณสําหรับทุนอุดหนุนวิจยั จาก โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ : ภาคการ
ผลิต (ภาคกลาง / กรุงเทพฯ)

เอกสารอ้ างอิง
Gimbun J., Chuah T.G., Choong T.S.Y. and Razi A.F. (2005). Prediction of the effects of cone tip
diameter on the cyclone performance. J. Aerosol Sci., 36, 1056 -1065.
Lieblien S. (1950). Turning angle design for constant thickness circular arc inlet guide vanes in
axial annular flow. National Advisory Committee for Aeronautics, New York.
Postma R., Hoffmann A.C., Dries H.W.A. and Williams C.P. (1998). The use of swirl tubes for
dedusting. World Conference on Particle Technology 3. Brighton, Available from:
http://www.fi.uib.no/~hoffmann/papershtml/part98rf.pdf [Accessed 2005 August 29].
Xiang. R., Park S.H. and Lee K.W. (2001). Effects of cone dimension on cyclone performance.
J. Aerosol Sci., 32, 549-561.
Yoshida H., Fukui K., Yoshida K. and Shinoda E. (2001). Particle separation by Iinoya’s type gas
cyclone. Powder Technology J., 118, 16-23.
Zhang Y., Wang X., Riskowski G.L., Christainson L.L. and Ford S.E. (2001). Particle separation
efficiency of a uniflow deduster with different type of dusts. The 2001 ASHRAE's Annual
Meeting, Cincinnati, 107, 2.

จัดโดย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 31 สิงหาคม 2550 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ

You might also like