You are on page 1of 7

3.5.

6 การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของเมืองเป็นสิ่งจาเป็นและมีความสาคัญอย่างยิ่ง เพราะ
เป็นการบริการด้านสาธารณูปโภคและบริโภคให้คนในเมืองด้วยการจัดการหรือกาจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ให้อยู่ใน
ตาแหน่งที่เหมาะสมของเมืองโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่
ใกล้เคียง ในอดีตการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของเมืองอาจจะไม่เป็น ประเด็นหลักมากนักของการวาง
ผังเมือง เพราะปัญหาของขยะและสิ่งปฏิกูลยังไม่รุนแรง ประกอบกับสภาพแวดล้อมในเมืองยังรับได้ แต่เมื่อ
เมืองมีประชากรเพิ่มขึ้น มีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ต่างผลิตสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น หาก
จัดการไม่เป็นระบบจะเกิดปัญหาตามมา อาทิ การเกิดโรคระบาดดังที่ปรากฏในสมัยกรุงเทพในตอนต้น เพราะ
ขยะและสิ่งปฏิกูลต่างถูกทิ้งลงแม่น้าลาคลองทั้งสิ้น หรือแม้การทาลายสภาพแวดล้อมของเมืองตามมา ดังนั้น
การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของเมืองที่ดีย่อมทาให้เมืองน่าอยู่และสามารถพัฒนาเมืองให้ประชาชนมี
สุขภาพอนามัยที่ดีได้ เมืองหลายเมืองไม่ได้มีการวางแผนจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลไว้จะเกิดปัญหาตามมา คือ
ไม่สามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองได้ และเป็นปัญหาสร้างความแตกแยกของประชากรในเมืองกับผู้
ได้รับผลกระทบเพราะทุกคนไม่ต้องการให้มีสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยไปไว้ใกล้บ้านของตนเองเสมอ

1) การจัดการขยะมูลฝอย
1.1) การจัดการขยะมูลฝอยในสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การจัดการขยะมูลฝอยในอดีต บันทึกข้อมูลรายละเอียดที่สามารถสืบค้นได้น้อย
มาก อาจจะเป็นเพราะเมืองในอดีตมีจานวนประชากรน้อยประกอบกับกิจกรรมของคนในเมืองผลิตขยะใน
ปริมาณน้อยและขยะส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ และเศษอาหารที่สามารถย่อยสบายได้ตาม
ธรรมชาติหรือเศษอาหารจะนาไปเป็นอาหารสัตว์ หากจะย้อนไปมองในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ข้อมูลการ
จัดการขยะมีปรากฏเพียงว่ามีที่พักขยะ “ช่องทิ้งผง” ในผังเมืองสุโขทัยที่อยู่นอกเมืองใกล้กับถนนพระร่วง
ก่อนที่จะเข้าสู่เขตเมืองชั้นใน จากข้อมูล ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเมืองได้มีการวางแผนให้นาขยะออกไปรวมกันที่
นอกเมืองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเมืองชั้นใน
พอถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีประชากรเพิ่มขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างเข้า
มาอยู่อาศัยและทาการค้า มากมาย ข้อมูลขยะมูลฝอยไมได้มีหลักฐานชัดเจน บันทึกเกี่ยวกับเมืองสยามของ
บาทหลวงคณะเยซูอิต (Jesuits) ก็ไม่ได้กล่าวถึงขยะ เพียงแต่บอกว่าเมืองสยามเป็นเมืองน้า มีน้าท่วมอยู่หลาย
เดือน ประชาชนสัญจรทางเรือ เมื่อน้าลดก็สัญจรทางบกโดยการเดิน เท้า สันนิษฐานว่าขยะมูลฝอยคงไม่ใช่
ปัญหาของเมือง เพราะขยะส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ สามารถย่อยสลายได้ ส่วนเศษอาหารนาไปเลี้ยงสัตว์ของ
แต่ละบ้าน หรือขยะบางส่วนไหลไปตามน้า ในขณะที่บันทึกของบาทหลวงกีย์ ตาร์ชาร์ด (Guy Tachard) ที่เข้า
มาสยามพร้อมคณะทูตเดอโชมงค์ พ.ศ. 2228 มีกล่าวชมพระนครศรีอยุธยาว่างดงามน่าอยู่อาศัย นอกจากนั้น
มีบันทึกรายงานว่าในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลง กษัตริย์จากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นพระเพท
ราชา (พ.ศ. 2231) คณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสถูกจองจาหลายคนและต้องถูกเกณฑ์มาทาความสะอาดถนนใน
เขตพระนครที่มีความสกปรก มีแต่สิ่งปฏิกูลและน้าท่วมขังเฉอะแฉะ
1.2) พัฒนาการการจัดการขยะมูลฝอยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กรุงเทพมหานครมีป ระชากรอยู่หนาแน่นมาก เพราะ
บ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นห่างไกลจากสงคราม ที่มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติจานวนมาก เขตพระนครที่
กาหนดไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 จะดูคับแคบเกินไปจนต้องมีการขยายตัวเมืองไปทางฝั่ง ทิศตะวันออกของพระนคร
โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมทาให้เขตพระนครให้กว้างขึ้นและในสมัยรัชกาลที่

1
5 ได้ขุดคลองหลายสาย รวมทั้งตัดถนนเพิ่มขึ้นจานวนมาก ทาให้ ตัว พระนครขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเมืองมี
ประชากรมากขึ้นมีกิจกรรมมากมาย ปัญหาขยะจึงเกิดขึ้นโดยที่คนในพระนครสมัยนั้นจะทิ้งขยะ ซากสัตว์ เช่น
หมาเน่า หมูเน่า สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ที่ตายแล้วลงในคลอง จนทาให้น้าในคลองสกปรกและเน่าเสีย นอกจากนั้นเขต
พระนครกว้างใหญ่มากขึ้น การจัดการขยะยังไม่มีหน่วยงานมาดาเนินการ ยังคงปรากฏว่าประชาชนทิ้งขยะ
ตามที่ว่างทั่วไปโดยเฉพาะการทิ้งลงคลองและแม่น้าที่เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุด จนในพ.ศ. 2440
(รศ.116) ได้มีการออกพระราชกาหนดการสุขาภิบาลขึ้นในขณะที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก
ขณะสมเด็จพระนางเจ้าเสาภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถทรงสาเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ โดยในพระราช
กาหนดได้ระบุข้อห้ามต่าง ๆ พร้อมทั้งการตรวจรักษาความสะอาด ป้องกันโรคร้าย ต่าง ๆ การทาลายขยะมูล
ฝอย การตั้งเว็จที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของประชาชน การย้ายสิ่งโสโครก การปลูกสร้างอาคาร นับได้ว่า
พระราชกาหนดฉบับนี้มีความสาคัญต่อการสุขาภิบาลของประเทศเป็นอย่างยิ่งและเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ฉบับแรกของประเทศก็ว่าได้ และได้ตั้งกรมศุขาภิบาลขึ้นในปีเดียวกั นกาหนดหน้าที่ดูแลความสะอาดของ
บ้านเมืองและจัดหาน้าสะอาดให้กับเมือง
จากการที่มีกรมศุขาภิบาลเป็นหน่วยงานดูแลการจัดการขยะมูลฝอยโดยตรง จึงทา
ให้การจัดการขยะมูลฝอยดีขึ้น เมื่องานจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น กล่าวคือ เทศบาลต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบการรักษาความสะอาดในเขตเมือง มีการให้บริการเก็บขน
ขยะและกาจัดขยะที่เก็บได้ในเมือง ระยะแรกที่มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาลในพ.ศ. 2496 เทศบาล
ต่าง ๆ ดาเนินการจัดการเก็บขนขยะออกจากเมืองและนาไปทิ้งนอกเมือง ไม่มีการทิ้งลงแม่น้าลาคลองอี กต่อไป
การนาขยะนอกพื้นที่เมืองในพื้นที่ว่างเปล่าแล้วปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ แต่องค์ประกอบของขยะ
สมัยใหม่ที่มีขยะที่ย่อยสลายยากประกอบอยู่ อาทิ กระดาษ พลาสติก จึงก่อปัญหาแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
รวมทั้งการปลิวไปตกในที่ไร่นาของประชาชนก่อความเดือดร้อน ส่วนขยะอินทรีย์กองทิ้งไว้เกิดการย่อยสลาย
เน่าเหม็น เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์พาหะนาโรค อาทิ แมลงวัน หนู และสุนัข จนได้มีการกาหนดระบบการ
กาจัดขยะให้ท้องถิ่นต่าง ๆ จะต้องมีสถานที่ กาจัดขยะของตนเองที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกรม
ควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักด้านวิชาการ
การจัดการขยะมูลฝอยของเมืองมีแนวทางดังนี้
(1) การรวบรวมเก็บขนขยะมูลฝอยในเขตเมือง จัดให้มีการคัดแยกขยะออกเป็น 4
ประเภท ได้แก่ ขยะย่อยสลายได้ (ขยะเปียก) ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะ
อันตราย และจัดให้มีการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เช่น มีการ
นาขยะย่อยสลายได้ไปผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ขยะรีไซเคิลนาไปขายคืน เพื่อเข้าสู่
กระบวนการแปรรูปใหม่หรือขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ขยะอันตรายต้องนาไป
กาจัด ณ สถานที่ปลอดภัย ส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ตามข้างต้น
ได้ ให้นาไปฝังกลบหรือเผาในเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงาน เป็นต้น
(2) การกาจัดขยะที่เก็บขนได้ หลังจากที่ผ่านการคัดแยกแล้ว นาไปฝังกลบในหลุม
ฝังกลบแล้วมีการปิดทับด้วยดินหรือพลาสติก พร้อมระบบป้องกันผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่นิยมที่จะนาขยะที่เก็บขนได้
ทั้งหมดโดยไม่มีการคัดแยกไปกองกลางแจ้งหรือเทลงหลุมดินโดยไม่มีการกลบ
ทับ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวก แต่สิ่งที่ตามมา คือ กลิ่นเหม็นจากหลุมฝัง
กลบที่ไม่ได้มีการกลบทับ รบกวนประชาชน และเป็นแหล่งเพาะแมลงวันก่อ
ปัญหาตามมา รวมทั้งมีการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซมีเทน ซึ่ง

2
เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกาลังรณรงค์ลดก๊าซประเภทนี้ ดังนั้นวิธีการเผาในเตาเผาขยะ
จึงเป็นทางเลือกที่นิยมเพื่อทาลายขยะและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ส่วน
พวกที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ให้นาไปฝังกลบ และส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะ
ต้นทาง เมืองต้องจัดสิ่งอานวยความสะดวกในการคัดแยกและมีการรับซื้อขยะ
ไปรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และทาความเข้าใจกับประชาชนเพื่อการ
แก้ไขปัญหานี้ อันเป็นการลดภาระของเมืองในการกาจัดขยะอีกด้วย

2) การจัดการสิ่งปฏิกูล
2.1) การจัดการสิ่งปฏิกูลในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานส้วมที่มีไว้สาหรับพระสงฆ์ที่ทาจากแผ่นศิลาแล้ว
เจาะรูไว้ให้อุจจาระผ่านและมีรางรับน้าปัสสาวะให้ไหลออกจากตัวผู้ขับถ่าย (รูปที่ 3.5.6-1) หากแต่ข้อมูลที่มี
สาหรับประชาชนทั่วไป ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจัดการกับสิ่งขับถ่ายได้อย่างไร คงสันนิษฐานว่าคงขับถ่าย
ในสวนหรือในทุ่ง เพราะมีบ้านเรือนอยู่ห่างกัน โดยการขุด หลุมดินเมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จก็จะกลบด้วยดิน เป็น
การจัดการที่เหมาะสม หากจะปล่อยลงน้าอาจจะมีบ้างสาหรับบ้านเรือนที่อยู่ริมน้า ปัญหาสิ่งปฏิกูลในเมืองยัง
ไม่ใช่ปัญหาหลักที่ทาให้บ้านเมืองไม่น่าอยู่ อาจจะเป็นเพราะจานวนประชากรยังน้อยอยู่ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คนไทยอาศัยอยู่ริมแม่น้าลาคลองจึงมีการขับถ่ายลงแม่น้าลาคลอง หรือยังคงไปถ่ายในสวนในไร่ ส่วนพวกที่อยู่
ในเขตเมืองที่ไม่ใกล้ลาคลองสันนิษฐานว่ามีการขุดหลุมขับถ่ายคล้ายสมัยสุโขทัย แม้แต่ในบันทึกของบาทหลวง
คณะเยซูอิตที่เข้ามาอยู่ในสยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่ปรากฏกล่าวถึงเรื่องส้วม เพียงแต่กล่าวว่า
ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้า มีชีวิตโดยอาศัยน้าในคลองหรือแม่น้าเป็นปัจจัยในการดารงชีวิต ส่วนอาราม
ของบาทหลวงอันเป็นที่พานักสันนิษฐานว่ าจะมีส้วมหลุมที่ปิดมิดชิดภายในอาราม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตอนต้น มีหลักฐานว่าคนในพระนครส่วนใหญ่ที่อยู่ริมน้าจะขับถ่ายและปล่อยสิ่งปฏิกูลลงคลองหรือแม่น้า มี
บ้านเรือนที่อยู่ในคลองหรือแม่น้าขับถ่ายลงน้าโดยตรง ด้วยเหตุนี้ในช่วงรัชกาลที่ 2 และ 3 เกิดโรคระบาดทาง
น้า เช่น “โรคห่า” หรือ “ป่วงใหญ่” อันเป็นโรคทางเดินอาหารคืออหิวาตกโรค ยิ่งมีประชากรในพระนครมาก
เท่าใดสิ่งปฏิกูลยิ่งเพิ่มมากตาม สาหรับพวกที่อยู่ห่างไกลไปจากคลองสันนิษฐานว่ามีการใช้ส้วมหลุมหรือไม่ไป
ขับถ่ายในสวนในไร่ เป็นต้น และในสมัย รัชกาลที่ 4 พระนครยังปรากฏว่าเกิดโรคไข้ห่าลงอีกเช่นกัน มีคนตาย
ทุก ๆ วันของช่วงการระบาด

รูปที่ 3.5.6-1 แผ่นศิลาฝาส้วมสมัยสุโขทัย

3
2.2) พัฒนาการจัดการสิ่งปฏิกูลในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
พระนครมีคนอยู่จานวนมากและหนาแน่น ด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลไม่ดีจึงเกิดโรค
ระบาดขึ้น ตราบใดที่คนในพระนครยังอาศัย อยู่ริมคลองหรือในคลอง (เรือแพ) และแม่น้าเป็นแหล่งน้าใช้ใน
ครัวเรือน ขณะที่ประชาชนยังขับถ่ายลงในแม่น้าลาคลอง รวมทั้งทิ้งสิ่งสกปรกลงคลอง มีหลักฐานว่าวัดที่อยู่ริม
คลองในเขตพระนครมีการตั้งส้วมรวมไว้ที่วัดโดยเป็นที่ให้คนในพระนครที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามาขับถ่ายในอาคารที่
ทาไว้สาหรับพระ สามเณร และประชาชน อุจจาระที่ขับถ่ายแล้วจากห้องส้วมจะร่วงลงไปกองบนดินใต้อาคาร
ห้องส้วม กองทับถมกันตามจานวนอุจจาระที่ผู้คนมาใช้บริการ พอน้าขึ้นจากคลองก็จะพัดพาอุจจาระลงไปตาม
น้าทาให้สะอาดเป็นช่วงเวลา ส่วนพวกที่อยู่ในอาคารห้องแถวมีการถ่ายลงกระโถนหรือถังเพื่อรวบรวมไว้ก่อน
แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับสัมปทานมาขนอุจจาระไปกาจัดทุก ๆ คืน บริษัทที่ว่ามีชื่อว่า บริษัท สะอาด ของ
พระศิริไอศวรรย์ อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมศุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในสมัยนั้น แม้การจัดการสิ่งปฏิกูลจะดีขึ้น
แต่ก็ยังปรากฏเกิดโรคระบาดในสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ ในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาส้วมแบบเทน้าราดที่พัฒนา
โดยพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) ร่วมกับคณะแพทย์ของมูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ และหมอไนติงเกล ในปี
พ.ศ. 2467 ซึ่งเป็นในสมัยรัชกาลที่ 6 การจัดการสิ่ งปฏิกูลเริ่มดีขึ้น กล่าวคือ อุจจาระได้ถูกขับถ่ายลงส้วมขุด
ที่มีที่นั่งแบบเทน้าราดหรือส้วมคอห่าน โดยเฉพาะในเขตพระนคร เพราะมีกฎหมายห้ามขับถ่ายอุจจาระลงใน
คลองหรือแม่น้าที่มีกรมศุขาภิบาล สังกัดกระทรวงนครบาลเป็นผู้ควบคุม จนได้ มีการย้ายไปที่กระทรวงโยธาธิ
การและมีการกระจายอานาจให้กับเทศบาลต่าง ๆ เป็นผู้ดูแลจัดการสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในเขตเมือง ซึ่งในแต่ละ
บ้านจะต้องมีส้วมที่บาบัดสิ่งปฏิกูลภายในบ้านก่อน แล้วจึงปล่อยน้าที่ผ่านการบาบัดจากถังส้วมให้ซึมผ่านดิน
ดั ง ที่ เ ราเรี ย กว่ า “ส้ ว มซึ ม ” โดยไม่ ต้ อ งระบายออกนอกบ้ า นหรื อ ระบายลงคลอง แต่ ส าหรั บ ดิ น ของ
กรุงเทพมหานครเป็นดินเหนียว การซึมผ่านดินจะเกิดลาบาก จึงได้มีการต่อท่อนาน้าที่ผ่านการบาบัดจากส้วม
ออกมาระบายตามริมถนนหรือลงแม่น้าลาคลอง และในที่สุดได้มีการรวบรวมน้าเสียจากห้องส้วมเข้าไปบาบัด
น้าเสียรวม ซึ่งเป็นน้าเสียจากส้วม จากการอาบน้า จากห้องครัว ไปบาบัดอีกครั้งก่อนระบายลงสู่แม่น้าลาคลอง
ทั้งนี้เพราะการบาบัดสิ่งปฏิกูลเบื้องต้นในอาคารบ้านเรือนยังไม่สะอาดพอที่จะทิ้งลงสู่แม่น้าลาคลอง

การจัดการสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือนมีดังนี้
- สิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายออกมาจะถูกเก็บไว้ในถังหมักที่มีการหมักแบบไร้อากาศ (Septic
Anaerobic Tank) ที่ ผ่ า นการหมั ก แบบไม่ ใ ช้ อ อกซิ เ จนในถั ง หมั ก หรื อ แบบที่ ใ ช้
อากาศ (Septic Aerobic Tank) เป็นแบบการหมักที่มีการเติมออกซิเจนเข้าไป เพื่อ
ช่วยให้ปฏิกิริยาการย่อยสลายได้เร็วและลดการเกิดกลิ่นเหม็น จากเมอร์แคปแตน
และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ส่วนน้าใสที่ผ่านการหมักและไหลออกจากถังไปที่บ่อซึมซึ่งจะ
ผ่านชั้นดินที่อยู่นอกถังซึม หากเป็นดินทรายโดยรอบจะซึมได้ดีกว่าดินเหนียว หรือ
หากไม่สามารถซึมได้น้าที่ผ่านการบาบัดจากถังส้วมจะไหลออกจากอาคารบ้านเรือน
ไประบายลงแหล่งน้าหรือถูกรวบรวมเข้าสู่ระบบบาบัดอีกครั้ง เพื่อให้น้าทิ้งสะอาด
ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมาตรฐานคุณภาพน้าทิ้งที่ผ่านจากบ้านเรือนและผ่านจาก
ระบบบาบัดน้าเสียรวมไว้แล้ว
- การกาจัดสิ่งปฏิกูลที่สูบได้จากถังส้วม (Night Soil) เมื่อส้วมที่เราใช้เป็นเวลานาน
การสะสมของกากตะกอนที่ผ่านการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ในถังส้วมแล้วมีจานวน
มาก จาเป็นจะต้องทาการดูดออกไปบาบัด เรามักจะเรียกว่า “ส้วมเต็ม” ซึ่งการ
บาบัดจะนาไปหมักเป็นเวลา 28 วัน แล้วจึงนาสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการหมักไปแยกน้า

4
และตะกอนหนักออกจากกันบนลานทรายกรอง แล้วปล่อยให้ กากตะกอนสิ่งปฏิกูล
ตากแดดให้แห้ง แล้วจึงนากากตะกอนแห้งไปใช้เป็นปุ๋ยปลูกต้นไม้ หรือมีระบบการ
จัดการสิ่งปฏิกูลที่มาจากบ้านเรือนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการหมักสิ่งปฏิกูล
28 วัน จากนั้นจึงนากากตะกอนเข้าสู่ระบบบาบัดน้าเสีย โดยมีการแยกตะกอนหนัก
และตะกอนเบาออกจากกันแล้วบาบัดน้าเสียที่มีตะกอนเบาปะปนมาให้มีคุณภาพน้า
ทิ้งที่เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานน้าทิ้งก่อนระบายออกสู่แหล่งน้าธรรมชาติ
ส่วนกากตะกอนหนักที่แยกได้เข้าสู่ระบบบีบน้าออกก่อนแล้วนาไปฝังกลบหรือไปทา
ปุ๋ยหรือเผาในเตาเผาขยะที่สามารถให้พลังความร้อนในการผลิตกระแสไฟฟ้า (ดังรูป
ที่ 3.5.6-2)

รูปที่ 3.5.6-2 ตัวอย่างระบบบาบัดสิ่งปฏิกูล

5
3) เมืองกับการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
การวางผังเมืองจาเป็นต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ไว้สาหรับกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่ ง
ปฏิกูลที่เกิดจากเมือง โดยคานึงถึง
(1) การคัดแยกขยะมูลฝอยต้นทางและการจัดการสิ่งปฏิกูล ณ แหล่งกาเนิด
(2) ปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
(3) วิธีการกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) การกาหนดขนาดของสถานที่กาจัดที่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกุล
ตามเทคนิ ค หรื อ วิ ธี ก ารก าจั ด ที่ ไ ด้ ตั ด สิ น ใจเลื อ ก ทั้ ง นี้ ก ารคั ด เลื อ กสถานที่ มี
ความสาคัญและจาเป็นต่อการกาหนดตาแหน่งเพราะจะต้องคานึงถึงผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง

สาหรับการคัดเลือกสถานที่กาจัดขยะมูลฝอย สามารถศึกษาได้จากเอกสารคู่มือของกรม
ควบคุมมลพิษ ส่วนการกาจัดสิ่งปฏิกูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารของกรมอนามัย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการขยะมูลฝอยส่วนใหญ่เกิดจากการต่อต้านของประชาชนที่ไม่
ต้องการให้ก่อสร้างใกล้บ้านเรือนของตน จนทาให้ไม่สามารถจัดหาที่ดินที่เหมาะสมในการก่อสร้างระบบกาจัด
ขยะได้ ทั้งนี้เพราะประชาชนได้รับ รู้และเห็ นภาพการดาเนินการขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นที่ผ่านมา
ก่อให้ เกิดปั ญหาต่อสิ่ งแวดล้ อม ประชาชนจึง กังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้จะมีการนาเสนอหรือชี้แจงเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีหรือวิธีการกาจัดให้ประชาชนรับทราบแต่ก็ยังไม่ต้องการให้ก่อสร้างใกล้บ้านของตนเองอยู่ดี

6
บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (2506). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่


2. สานักพิมพ์คลังวิทยา. 751 หน้า
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขา บุนนาค). (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1
– 4. ศรีปัญญา.
ชัย เรืองศิลป์. (2517). ประวัติศาสตร์ไทย สมัย พ.ศ. 2352 – 2453 ตอนที่ 1 ด้านสังคม บ้านเรืองศิลป์
พิมพ์จาหน่าย. หน้า 432 – 433.
ธเรศ ศรี ส ถิตย์ , วัฒ นา ธรรมมงคล, ธารง เปรมปรีดิ์. (2525). รายงานการศึกษา วิวัฒ นาการด้านการ
สุขาภิบาลในรอบ 200 ปี แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์. โครงการศึกษาวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในรอบ
200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เงินทุนเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ เนื่องในโอกาส
สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันต์ ท. โกมลบุตร. (2551) จดหมายเหตุการณ์เดินทางเข้าสู่ประเทศสยามครั้งที่ 1 และจดหมายเหตุการณ์
เดินทางครั้งที่ 2 โดยบาทหลวง ตา ชาร์ค.
สันต์ ท. โกมลบุตร. (2564) จดหมายเหตุรายวัน การเดินทางสู่สยามประเทศในปี ค.ศ. 1685 และ 1686
ฉบับสมบูรณ์ โดยบาทหลวง เดอ ซัวซีย์. สมาชิกสภาราชบัณฑิตฝรั่งเศส. ศรีปัญญา.
เสถียร วิชัยลักษณ์. (2478). ร.ต.ท. ประชุมกฎหมายประจาศก เล่ม 16. พระนคร.
อรุณ อมาตยกุล. (2563). จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา : (บาทหลวง
โลเน รวบรวมพิมพ์เพื่อ พ.ศ. 2463). ศรีปัญญา.

You might also like