You are on page 1of 10

คู่มือการจัดการขยะติดเชื้อในชุมชน

โครงการวิจัยการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการภาวะวิกฤต
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุบลราชธานี
คานา
จากสถานการณ์ระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ มีการใช้หน้ากากอนามัยและชุด
ตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ใน
วงจากัด การสวมหน้ากากเป็นการป้องกันตนเองเมื่อสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือควบคุ มแหล่งแพร่เชื้อ อย่างไรก็
ตาม การใช้หน้ากากอนามัยอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อหรือควบคุมแหล่งแพร่เชื้อได้ทั้งหมด
แต่ควรใช้มาตรการระดับบุคคลหรือชุมชนเพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อทางเดินหายใจควบคู่ไปด้วยหรือควรปฏิบัติตาม
มาตรการดูแลสุขอนามัยมือ รักษาระยะห่างระหว่างกันและป้องกันควบคุมการติดเชื้อที่จาเป็นอย่างยิ่งในการ
ป้องกันการแพร่เชื้อจากคนสู่คน นอกจากนั้นควรมีการตรวจประเมินความเสี่ยงด้วยชุดตรวจ ATK ซึ่งหน้ากาก
อนามัยที่ใช้แล้วและ ATK จะกลายเป็นขยะติดเชื้อได้เมื่อมีการปนเปื้อนเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่ได้รั บเชื้อต่างๆ แต่
การจัดการหรือกาจัดทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วยังไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ ไม่ปลอดภัยต่อประชาชนใน
ชุมชนหรืออาจกลายเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรคในวงกว้างได้ ดังนั้นจึงควรมีวิธีการในการจัดการอย่าง
ถูกต้อง สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ เพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงหรือผลกระทบต่อสุขภาพ


สารบัญ
หน้า
คานา ก
สารบัญ ข
1. ความสาคัญของหน้ากากอนามัย 1
2. การเลือกใช้หน้ากากอนามัย 1
3. การจัดเก็บและรวบรวมขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว 2
4. การบาบัดและกาจัดขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว 3
5. การจัดการขยะติดเชื้อสาหรับในพื้นที่ที่มีระบบการให้บริการจัดเก็บขยะ 4
6. การจัดการขยะติดเชื้อสาหรับในพื้นที่ที่ไม่มีระบบการให้บริการจัดเก็บขยะ 5


แนวทางการจัดการขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วในชุมชน

1. ความสาคัญของหน้ากากอนามัย
โคโรนาไวรัส อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน 2 ชั่วโมง ถึง 9 วัน ซึ่งการสวมหน้ากาก
อนามัยเป็นวิธีการหนึ่งในมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ให้อยู่ในวงจากัด เป็นการป้องกันตนเองเมื่อสัมผัสใกล้ชิดผู้ติด
เชื้อหรือควบคุมแหล่งแพร่เชื้ อโรค อย่างไรก็ตาม การใช้หน้ากากอนามัยอย่าง
เดียวไม่เพียงพอที่จะป้องกันได้ทั้งหมด แต่ควรใช้มาตรการระดับบุคคลหรือชุมชนควบคู่ไปด้วย

เช่น มาตรการ DMHTT คือ อยูห่ ่างไว้ ใส่หน้ากากกัน หมั่นล้างมือ ตรวจ


ให้ไว ใช้ไทยชนะและหมอชนะ โดยหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจะกลายเป็น
ขยะติดเชื้อได้หากมีการปนเปื้อนเชื้อโรค แต่ในปัจจุบันพบว่าการจัดการและ
กาจัดยังไม่ปลอดภัยในชุมชน เช่น การไม่แยกทิ้งในถังรองรับเป็นการเฉพาะ
การสัมผัสหน้ากากที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อ
โรค การทิ้งในที่สาธารณะ เป็นต้น ดังนั้นจึง
ควรมีวิธีในการจัดการอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ เพื่อลด
และป้ อ งกั น ความเสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพ โดยหลั ก การทั่ ว ไปมี วิ ธี ก ารจั ด การขยะ
หน้ากากอนามัยใช้แล้ว ดังนี้

2. การเลือกใช้หน้ากากอนามัย

1
หน้ากากอนามัยมีหลายชนิด เช่น หน้ากากทางการแพทย์ หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไป รวมถึงหน้ากาก
ผ้า ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวบุคคลและสถานการณ์ ตลอดจนการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นหาก
เลือกใช้ชนิดที่สามารถใช้ซ้าได้หลายครั้ งอย่างหน้ากากผ้ า แต่ ส่วนใหญ่พบว่า ประชาชนในชุมชนจะนิยมใช้
หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเป็นขยะ ซึ่งมักจะทาด้วยพลาสติก ลวดอะลูมิเนียมและเส้นใย
บางชิ้นส่วนก็ย่อยสลายได้ยากและตกค้างในสิ่งแวดล้อม

3. การจัดเก็บและรวบรวมขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว
➢ หน้ากากอนามัยใช้แล้วถือเป็นขยะติดเชื้อชนิดหนึ่งจึง
ต้องให้แยกจัดเก็บในภาชนะหรือถุงที่ทาจากวัสดุที่มีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับ
น้าหนัก กันน้าได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม
➢ ควรแยกเก็บจากขยะอื่นๆ โดยเก็บรวบรวมใส่ภาชนะ
และต้องบรรจุไม่เกินสามในสี่ส่วนของภาชนะ ควรใช้เชือกมัดปากถุง ให้แน่น เขียนข้อความระบุวันที่เก็บ
ชนิดและแหล่งกาเนิดขยะติดเชื้อไว้บนภาชนะบรรจุก่อนนาไปกาจัด

2
4. การบาบัดและกาจัดขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว
เพื่อทาลายเชื้อโรคที่มีอยู่ในขยะโดยใช้ 2 ขั้นตอน คือ การบาบัดและการกาจัด ดังนี้
4.1) การบาบัดโดยการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อโรค เป็นการทาลายเชื้อโรคจะต้องใช้สาร
ในปริมาณที่สามารถฆ่าเชื้อได้ในเวลาสั้น ตัวอย่างสารที่ใช้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ 70% โซเดียมไฮโปคลอไรท์
0.1% และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%

สาหรับ การเตรียมน้ายาสาหรับฆ่าเชื้อขึ้นกับชนิดและความเข้มข้นของสาร โดยแนะนาให้เลือกใช้


ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ายาฟอกขาว) นามาผสมกับน้าโดยใช้น้ายา 1 ส่วน ผสม
ในน้า 49 ส่วน

4.2) การกาจัดโดยการใช้ความร้อน (การเผา) เป็นกระบวนการใช้อุณหภูมิที่สูง


ประมาณ 760-1,200 องศาเซลเซียส เพื่อเผาไหม้วัสดุให้หมดไปซี่งสามารถลดมวลและปริมาณขยะได้ แต่การ
เผาจะทาให้เกิดสิ่งต่างๆ ตามมา เช่น ควัน อนุภาค ฝุ่นละอองและขี้เถ้า การเผาไหม้จึงจาเป็นต้องมีการควบคุม
เพื่อไม่ให้ก่อมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

เตาเผาขยะติดเชื้ อ

3
5. การจัดการขยะติดเชื้อสาหรับในพื้นที่ที่มีระบบการให้บริการจัดเก็บขยะ
แนวทางในการจัดการขยะหน้ ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ในชุมชนที่ มีร ะบบการให้บริ การจัดเก็บขยะ เพื่อให้ มี
ประสิทธิผลมากที่สุดและไม่ทาให้มีการแพร่เชื้อโรค สามารถดาเนินการได้ ดังนี้
1. การคัดแยก
1.1. จัดให้มีถังขยะติดเชื้อไว้ในจุดรวบรวมเพื่อทิ้งขยะหน้ากากอนามัยใช้
แล้วเป็นการเฉพาะ
1.2. ให้ประชาชนทิ้งขยะหน้ากากอนามัย ใช้แล้ว โดยแยกใส่ถุงต่างหาก
ราดด้วยน้ายาฆ่าเชื้อแล้ว ปิดปากถุงให้แน่น ควรทาสัญลักษณ์ที่ถุง
เช่น การผูกเชือกสีแดง การเขียนข้อความ ก่อนนาไปทิ้งในถังขยะ
2. การเก็บขน
2.1. จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน สาหรับพนักงาน ได้แก่ ถุงมือ หน้ากาก
ชุดแต่งกาย รองเท้าบู้ทให้เพียงพอและมีการป้องกันการติดเชื้อ
โรคแก่พนักงานเก็บ ขนขยะทั้งก่อนและหลั งการปฏิบัติง านทุ ก
ครั้ง
2.2. หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบั ติงานทุกครั้งให้ ใช้
น้ายาฆ่าเชื้อทาความสะอาดอุปกรณ์และชุด
แต่งกาย รวมถึงการฉีดล้างรถเก็บขนขยะเป็น
ประจา
2.3. ตรวจสุขภาพพนักงานเก็บขนขยะเป็นระยะๆ
ตามความเหมาะสม

3. การกาจัด
การกาจัดขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วโดยการนาไปเผาในเตาเผาขยะติดเชื้อที่ได้มาตรฐาน

4
6. การจัดการขยะติดเชื้อสาหรับในพื้นที่ที่ไม่มีระบบการให้บริการจัดเก็บขยะ
แนวทางในการจัดการขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในชุมชนที่ ไม่มีระบบการให้บริการจัดเก็บขยะ
เพื่อให้มีประสิทธิผลมากที่สุดและไม่ทาให้มีการแพร่เชื้อโรค โดยเลือกใช้วิธีการตามบริบทของชุมชน ดังนี้
1. การคัดแยก
1.1. ให้ประชาชนแต่ละหลังคาเรือนจัดหาถัง รองรับขยะติดเชื้อไว้ในบ้านเพื่อทิ้งขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว
เป็นการเฉพาะ
1.2. ให้ประชาชนทิ้งขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว โดยแยกต่างหากจากขยะประเภทอื่น และราดด้วยน้ายาฆ่า
เชื้อและปิดปากถุงให้แน่น

2. การรวบรวมและเก็บขน
2.1. ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขณะปฏิบัติงาน ได้แก่ ถุงมือ หน้ากาก รองเท้า ชุดแต่งกาย
2.2. หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานทุกครั้งให้ทาความสะอาดมือและชุดแต่งกายทันที
3. การกาจัด
3.1. การกาจัดขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ในบริเวณพื้นที่ส่วนบุคคลโดยให้นาไปเผาในหลุมที่มีขนาด
กว้าง x ยาว x ลึก อย่างละประมาณ 1 เมตร และนาดินมากลบทับขี้เถ้าทุกๆ ครั้งที่ได้เผาเสร็จ
แล้ว สามารถดาเนินการได้เรื่อยๆ จนกว่าหลุมจะเต็ม

5
นอกจากขยะหน้ากากอนามัยแล้วยังมีขยะจากชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) ที่จาเป็นต้อง
ได้รับการกาจัดอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. แยกชุดตรวจโควิด-19 (ATK) ที่ใช้แล้ว ในซองยาหรือถุงพลาสติก เขียนระบุ “ขยะติดเชื้อ” ให้
ชัดเจน
2. พ่นหรือราดด้วย แอลกอฮอล์ น้ายาฆ่าเชื้อ น้ายาฟอกขาว เพื่อฆ่าเชื้อและปิดถุงให้สนิท
3. นาไปทิ้งโดยแยกถุงออกจากขยะทั่วไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่แยกไปกาจัดได้อย่างถูกต้อง

ที่มาของข้อมูล
1. WHO. (2020). คาแนะนาในการใช้หน้ากากอนามัยในบริบทโคววิด 19.
https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand
2. สานักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2561). เอกสารวิชาการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสาหรับ
เจ้าหน้าที่กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2564) เอกสารคาแนะนาในการทาความสะอาด ทาลายและฆ่าเชื้อ
โรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

6
จัดทาโดย
▪ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

▪ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

สนับสนุนโดย

▪ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

You might also like