You are on page 1of 3

โครงงาน เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพแผ่นปิดแผลจากเส้นใยฟางข้าว

บทที่1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม (Enviroment Problems) การเผาฟางข้าวนั้นสร้างปัญหาหมอกควัน และฝุ่น
ละอองใน ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนอกจากส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังมีผลต่อ
คุณสมบัติดินและเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การเผาตอซัง ฟางข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เป็นการปลด
ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก พื้นดินสู่บรรยกาศ ซึ่งเป็สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และยังทำ
ให้ดินแน่นทึบ อัตราการซึมของน้ำช้าลง การไหล ทางแนวราบสูงขึ้นทำให้เกษตรกรต้องใช้น้ำมากกว่าปกติใน
การปลูกพืช อีกทั้งยังทำให้ปริมาณจุลินทรีย์หลายชนิดลดลง หลังจากการเผาตอซัง และทำให้สูญเสี ยธาตุสาร
อาหารที่ควรจะหมุนเวียนลงในดิน
ฟางข้าวเป็นผลผลิตพลอยได้ชนิดหนึ่งจากการเกษตรกรรม คือ ส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บ
เกี่ยวข้าว และนำเมล็ดข้าวออกแล้ว เดิมมักใช้การเกี่ยวมือและนวดข้าวด้วยมือ เพื่อแยกเมล็ดข้าวเดิมออก จน
เหลือแต่ฟางข้าว ออกมา ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากหันมาเกี่ยวมือและนวดข้าวด้วยรถมากขึ้น หรือ ใช้รถ
เกี่ยวข้าวแยกเฉพาะเมล็ดข้าว ออก แล้วใช้รถอัดฟางข้าวในการจัดเก็บอีกทีหนึ่ง เนื่องจากช่วยทุ่นแรงและ
ประหยัดเวลามากกว่า โดยแต่ละวิธีจะได้สภาพ ของฟางข้าวแตกต่างกัน ดังนี้ ฟางข้าวจากการเก็บเกี่ยวมือ มี
ความสมบูรณ์ไม่แตกเป็นเส้น ฟางข้าวจากการเก็บเกี่ยวมือ และนวดด้วยรถนวด ฟางข้าวแตกเป็นเส้นขนาด
เล็ก ไม่มกี ารจัดตัวเป็นระเบียบ และฟางข้าวจากการใช้รถอัดฟางข้าว แตก ขาดเป็นเส้นๆมีสั้นบ้างยาวบ้าง
แตกต่างกันไป ฟางข้าวมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ผนังเซล์ 79% เนื้อเซลล์ 21% เซลลูโลส 33% เฮมิ
เซลลูโลส 26% ซิลิกา 13% ลิกนิน 7%
ทางคณะผู้จัดทำต้องการผลิตพลาสเตอร์ปิดแผลที่ทำมาจากวัตถุดิบของเกษตรกรไทย คือ ฟางข้าวและ
นวัตกรรมชิ้นนี้ผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม หลังจากชิ้นงานเมื่อ
ใช้งานเสร็จแล้ววก็สามารถกำจัดทิ้งได้โดยง่ายจึงสามารถย่อยสลายได้โดยกระบวนการธรรมชาติและปลอดภัย
ต่อสิ่งเเวดล้อม
1.2 วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการนำฟางข้าวที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ นำมาทำวัสดุปิดแผล
- เพื่อนำวัสดุเหลือใช้จากการเก็บเกี่ยวมาใช้ให้เกิดประโยชน์
1.3 ขอบเขตของการศึกษา
ศึกษาความสามารถในการดูดซับของเหลวของวัสดุปิดเเผลโดยใช้การบวมตัวและการดูดซับที่วัดโดยชั่ง
น้ำหนัก
1.4 สมมติฐาน
แผ่นปิดแผลที่มีเส้นใยจากฟางข้าวมาก จะสามารถดูดซับของเหลวได้มาก
1.5 ตัวแปร
ตัวแปรต้น – ปริมาณเส้นใยของฟางข้าวในการทำแผ่นปิดแผลที่แตกต่างกัน
ตัวแปรตาม – ปริมาณการดูดซับน้ำของแผ่นปิดแผล
ตัวแปรควบคุม – ความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ สภาพแวดล้อม เวลา
1.6 นิยามเชิงปฏิบัติการ
วัสดุปิดแผล หมายถึง ผลิตภัณฑ์ป้องกันบาดแผลจากเชื้อโรค ความชื้น สิ่งสกปรกต่างๆ และยังช่วยในกา
ห้ามเลือดและสมานแผลของผู้ป่วยให้หายเร็วยิ่งขึ้น
เซลลูโลส หมายถึง สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ มีสูตร (C6H10O5)n ประกอบด้วย
โมเลกุลของกลูโคสเชื่อมโยงกันเป็นองค์ประกอบสำคัญในผนังเซลล์ของพืช
เจลาติน หมายถึง โปรตีนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสลายคอลลาเจนด้วยกรดหรือด่าง มีลักษณะเป็นผงสี
น้ำตาลอ่อน สามารถสกัดได้จากกระดูกและหนังสัตว์ กระดูกวัวและเกล็ดปลา เจลาตินมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้
5 – 10 เท่า และเมื่อเจลาตินได้รับความร้อนจะกลายเป็นของเหลว มีลักษณะหนืดคล้ายเจลหรือเยลลี่ ปัจจุบัน
เจลาติน ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหาร เช่น แคปซูลยา เยลลี่ ทำแยม และในอุตสาหกรรมอื่น เช่น
ทำกาว เป็นต้น
กลีเซอรอล หมายถึง มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นพอลิออล (polyol) เป็นสาร
ที่เป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวานเล็กน้อย (ความหวานสัมพัทธ์ 60) ในโมเลกุลมีหมู่ไฮดรอกซิล
(-OH) 3 หมู่
จึงทำให้ละลายในน้ำได้ดี มีสมบัติในการดูดจับน้ำได้ดี (hydroscopic) กลีเซอรอลเป็นส่วนประกอบหลักใน
โมเลกุลของ
ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) ซึ่งได้จากการรวมตัวของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล
กรดเเลคติค หมายถึง เป็นกรดที่ผลิตได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีหรือการเมทาบอลิสซึมของ
จุลินทรีย์ มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ละลายในน้ำ และตัวทำละลายได้ดี คุณสมบัติทางกายภาพของกรดแล
คติกและการกระทำที่หลากหลายของกรดแลคติกเป็นที่ชื่นชมจากผู้ผลิตในหลายอุตสาหกรรม: เครื่องสำอาง
ยา อาหาร การเลี้ยงผึ้ง การฟอกหนัง และสารเคมี ในโรงงานผลิตและแปรรูป กรดแลคติกเกรดอาหารเรียกว่า
E270
โซเดียมไฮดรอกไซด์ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่ใช้สำหรับ
ขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อนหรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ ใช้
สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-
ด่างของน้ำ
กระดาษลิตมัส เป็นวิธีที่สามารถระบุได้เพียงว่าสารละลายนั้นเป็นกรดหรือด่าง โดยกระดาษลิตมัสจะมี 2
สีคือ คือแดงและสีน้ำเงิน วิธีทดสอบคือ นำกระดาษทั้ง 2 สีไปจุ่มในสารละลายที่ต้องการทดสอบ ถ้าทดสอบ
แล้วกระดาษสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดง สารละลายนั้นคือเป็นกรด และถ้าสารละลายนั้นเป็นด่าง กระดาษสีแดง
จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
การวัดค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่าง => หรือค่ากรด-เบส คือการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนใน
สารละลาย เพื่อระบุว่าสารละลายนั้นๆ มีความเป็นกรดหรือเป็นด่าง การวัดค่า pH สามารถพบได้ทั่วไปใน
กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำแผ่นปิดแผลจากเส้นใยฟางข้าว
- ลดการใช้วัสดุที่เป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ได้ศึกษาสารที่เป็นองค์ประกอบของการทำพลาสเตอร์ปิดแผลจากเส้นใยฟางข้าว

You might also like