You are on page 1of 8

6 เทอร์โมเคมี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ (Kc)
2. เพื่อหาค่าเอนทาลปีของปฏิกิริยาสะเทิน ( ΔH neut )

ทฤษฎี
เทอร์โมเคมี (Thermochemistry) เกี่ย วข้อ งกั บ การถ่ า ยเทความร้อ นที่ เกิ ด ขึ้น จากปฏิ กิ ริย าเคมี
ปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ที่ทดลองในห้องปฏิบัติการจะกระทำที่ความดันคงที่ นั่นคือ ที่ความดันบรรยากาศ
การเปลี่ยนแปลงทางความร้อนของปฏิกิริยาเคมีทเี่ กี่ยวข้อง ภายใต้สภาวะนี้ คือการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี
ของปฏิกิริยา (Enthalpy change of reaction, ΔH ) โดยที่ ΔH คือผลต่างระหว่างเอนทาลปีของระบบที่
สภาวะสุดท้ายกับเอนทาลปีของระบบที่สภาวะเริ่มต้น ดังสมการ (1)

ΔH = H (สารผลิตภัณฑ์) – H (สารตั้งต้น) (1)

ค่า ΔH ไม่ขนึ้ กับวิถที างของการเปลี่ยนแปลงของระบบ และ ΔH o หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปีที่


สภาวะมาตรฐาน นัน่ คือ ที่ความดัน 1 atm และอุณหภูมิ 25C
ปฏิกิริยาเคมีท่ีเกิดขึ้นและส่งผลให้ระบบมีอุณหภูมิสูงขึน้ ในระหว่างเกิดปฏิกิริยา แสดงว่ามีการคาย
ความร้อนออกจากปฏิกิริยา เรียก ‘ปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic reaction)’ มีค่า ΔH เป็นลบ
ส่ วนปฏิกิริย าเคมีที่ เกิด ขึ้น และส่ ง ผลให้ระบบมี อุ ณ หภู มิล ดลง แสดงว่ามี การดู ด ความร้อ นเข้าไปใช้ใน
ปฏิกิริยา เรียก ‘ปฏิกริ ยิ าดูดความร้อน (Endothermic reaction)’ มีค่า ΔH เป็นบวก
ความร้อนของแต่ละปฏิกิริยาจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาสะเทินระหว่าง HCl
กับ NaOH ดังสมการ (2)
HCl (aq) + NaOH (aq) → NaCl (aq) + H2O (l) (2)
ความร้อนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิรยิ าสะเทินเรียกว่า ความร้อนของการสะเทิน (Heat of neutralization) หรือ
เอนทาลปีของการสะเทิน (Enthalpy of neutralization) เขียนแทนด้วย ΔH neut หมายถึงความร้อ นที่
เปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดกับเบส แล้วเกิดน้ำ (H2O) จำนวน 1 โมล ซึ่งค่า ΔH neut จะแปร
ผันตามชนิดของกรดและเบส

ปฏิบัติการที่ 6 เทอร์โมเคมี  103


ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 303106

เอนทาลปีของการสะเทินระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ จะมีค่าค่อนข้างคงที่ เนื่องจากทั้งกรดแก่และ


เบสแก่ ส ามารถแตกตั ว เป็ น ไอออนได้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ จึ ง มี เพี ย ง H+ (จากกรด) กั บ OH– (จากเบส) ใน
สารละลายเท่านั้นที่ทำปฏิกิริยากัน ความร้อนที่เปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
จึงเป็นความร้อนสำหรับปฏิกิริยาระหว่าง H+ กับ OH– ดังสมการ (3)
H+ (aq) + OH– (aq) → H2O (l) (3)
ในกรณี กรดอ่อนหรือเบสอ่อน เช่น การสะเทิน ระหว่าง CH3COOH (กรดอ่อน) กับ NaOH (เบส
แก่) ปฏิกิรยิ าที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
CH3COOH (aq) + NaOH (aq) → CH3COO– (aq) + Na+ (aq) + H2O (l) (4)

ΔH neut ในสมการ (4) จะมีค่าน้อยกว่า ΔH neut ในสมการ (2) เพราะความร้อนบางส่วนถูกนำไปใช้เพื่อ


ทำให้กรด CH3COOH แตกตัวเป็นไอออนให้ H+ ที่เข้าทำปฏิกิริยากับ OH– จาก NaOH เกิดเป็น H2O
การหาความร้อนของปฏิกิรยิ าทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ‘คาลอริมิเตอร์ (Calorimeter)’ โดย
จัดให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นภายในคาลอริมิเตอร์ ความร้อนของปฏิกิริยาจะมีผลทำให้อุณหภูมิของสารละลาย
เปลี่ยนไป ( ΔT ) ซึ่งสามารถคำนวณหาความร้อนหรือเอนทาลปีของปฏิกิริยาได้จากสมการ (5)
Qสารละลาย = m c ΔT (5)

Qสารละลาย คือ ความร้อนของสารละลาย (หน่วย แคลอรี, cal)


m คือ น้ำหนักของสารละลาย (หน่วย กรัม, g)
c คือ ความร้อนจำเพาะ (Specific heat) ของสารละลาย (หน่วย cal/gC)
ΔT คือ อุณหภูมิท่เี ปลีย
่ นไป (หน่วย องศาเซลเซียส, C)

ตามหลักแล้วคาลอริมิเตอร์ที่สมบูรณ์ ต้องไม่มีการถ่ายเทความร้อนในระหว่างการทดลอง แต่ใน


การทดลองจริงพบว่า จะมีการถ่ายเทความร้อนระหว่างคาลอริมิเตอร์และสารละลาย ดังนั้นต้องมีการ
แก้ไขโดยต้องทำการทดลองเพื่อหาค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ก่อน ซึ่งจะนำมาใช้ในการคำนวณหาค่าความ
ร้อนที่เปลี่ยนแปลงของคาลอริมิเตอร์ (QC)
เนื่องจากระบบที่อ ยู่ภายในคาลอริมิเตอร์เป็ นระบบโดดเดี่ยว ดังนั้น ผลรวมของความร้อ นของ
ปฏิกิริยา (Qrxn) ความร้อนของสารละลาย (Qสารละลาย) และความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของคาลอริมิเตอร์ (QC)
จะมีค่าเป็นศูนย์ ดังสมการ (6)
Qrxn + Qสารละลาย + QC = 0 (6)

104  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


...

วิธกี ารหา ΔT จากกราฟข้อมูล


วัดอุณหภูมิท่ีเวลาต่าง ๆ ในช่วงของการผสมสารละลาย แล้วนำข้อมูลมาเขียนกราฟระหว่างเวลา
กับอุณหภูมิหลังผสม และหาค่า ΔT ได้โดยการลากต่อเส้นกราฟของอุณหภูมิหลังผสมมาที่จุดเริ่มผสม
(t = 0 นาที) แสดงดังรูปที่ 1 (ก และ ข)

อุณหภูมิ (C) อุณหภูมิ (C)


60
60

50 50 อุณหภูมกิ ่อนผสม
T = 39 - 49 = -10 C
40 อุณหภูมหิ ลังผสม 40
T = 39 - 30 = 9 C 30 อุณหภูมหิ ลังผสม
30 อุณหภูมกิ ่อนผสม
20 20
10 10
0 0
0 11 22 33 44 เวลา (นาที
5 ) 0 11 22 33 44 เวลา (นาที
5 )

(ก) อุณหภูมิก่อนผสมต่ำกว่าอุณหภูมิหลังผสม (ข) อุณหภูมิก่อนผสมสูงกว่าอุณหภูมหิ ลังผสม

รูปที่ 1 กราฟระหว่างอุณหภูมิกับเวลา

เครื่องแก้วและอุปกรณ์
1. เครื่องมือคาลอริมิเตอร์อย่างง่าย
2. บีกเกอร์ ขนาด 100 mL
3. กระบอกตวง ขนาด 50 mL
4. เทอร์โมมิเตอร์ (±0.1 C)
5. แท่งแก้วคน
6. นาฬิกาจับเวลา

สารเคมี
1. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เข้มข้น 3.0 M
2. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 3.0 M

ปฏิบัติการที่ 6 เทอร์โมเคมี  105


ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 303106

วิธีการทดลอง
สร้างเครื่องมือคาลอริมิเตอร์อย่างง่าย ดังรูปที่ 2 โดยนำบีกเกอร์ขนาด 100 mL ใส่ในกล่องไม้
มีฝาปิดที่ทำด้วยไม้ที่เจาะรู 2 รู สำหรับเสียบเทอร์โมมิเตอร์และแท่งแก้วคน ถ้ารูที่เสียบเทอร์โมมิเตอร์และ
แท่งแก้วคนหลวม ให้พันด้วยกระดาษทิชชูให้แน่นพอดีกับรูท่เี จาะไว้

เทอร์โมมิเตอร์ แท่งแก้วคน
ฝาไม้

บีกเกอร์

รูปที่ 2 เครื่องมือคาลอริมิเตอร์แบบง่าย
กล่องไม้

ตอนที่ 1 หาค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ ( KC )
(ข้อปฏิบัติ ให้นิสติ ใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียวกันตลอดการทดลอง ทั้งตอนที่ 1 และ 2)
1. ตวงน้ำประปา ปริมาตร 15.0 mL ใส่ลงไปในบีกเกอร์ที่วางอยู่ในคาลอริมเิ ตอร์ วัดอุณหภูมิของน้ำ
(เรียกว่า น้ำเย็น) และบันทึกเป็น อุณหภูมนิ ้ำเย็นก่อนผสม
2. ตวงน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 60C ปริมาตร 15.0 mL ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 mL อีกใบหนึ่ง
วัดอุณหภูมิของน้ำ (เรียกว่า น้ำอุ่น) และบันทึกเป็น อุณหภูมิน้ำอุ่นก่อนผสม (ก่อนที่จะตวงน้ำอุ่น
ให้ชะกระบอกตวงด้วยน้ำอุ่นก่อน 1 ครั้ง แล้วจึงตวงน้ำอุ่นและวัดอุณหภูมิทันที)
3. เทน้ำอุ่นในข้อ 2 ลงไปผสมกับน้ำเย็นในคาลอริมิเตอร์ เริ่มจับเวลาทันทีขณะเทผสม ปิดฝาไม้ให้สนิท
ค่อย ๆ คนสารละลาย เริ่มอ่านอุณหภูมคิ รั้งที่ 1 เมือ่ ครบ 30 วินาทีแรก และอ่านทุก ๆ 30 วินาที
เป็นเวลา 5 นาที (ต้องปิดฝาคาลอริมิเตอร์ให้แน่นตลอดการทดลองเพื่อป้องกันการสูญเสียความ
ร้อนออกจากคาลอริมิเตอร์)
4. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-3 อีกครั้ง และบันทึกเป็นข้อมูลการทดลองครั้งที่ 2
5. นำข้อมูลการทดลองครั้งที่ 1 และ 2 มาเขียนกราฟระหว่างอุณหภูมิ (T หน่วย C) ของน้ำที่ผสมใน
คาลอริมิเตอร์ กับเวลา (t) ในหน่วยวินาที (s) แล้วลากต่อเส้นกราฟให้ไปตัดแกน y ที่เวลา 0 วินาที
ซึ่งจุดนีก้ ็คือ อุณหภูมิน้ำหลังผสม นำค่าที่ได้ไปใช้ในการคำนวณหาความร้อนที่เปลีย่ นแปลงของ
น้ำอุ่น (Q น้ำอุ่น) และความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของน้ำเย็น (Q น้ำเย็น) โดยใช้สมการ Q = m C ΔT และ
คำนวณหาค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ ( K C ) ของครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งวิธีคำนวณได้แสดงดังในตัวอย่าง
ข้างล่าง แล้วหาค่าเฉลี่ยของ K C จากการทดลองทั้งสองครั้ง

106  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


...

กำหนดให้ ความหนาแน่นของน้ำ = 1.0 g/mL และ ความร้อนจำเพาะของน้ำ = 1.0 cal/gC

ตัวอย่างการคำนวณ หาค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ ( K C )
อุณหภูมิของน้ำเย็นก่อนผสม = 30.0C
อุณหภูมิของน้ำอุ่นก่อนผสม = 48.5C
อุณหภูมหิ ลังผสม (อ่านจากกราฟ) = 39.0C
น้ำหนักของน้ำ; m = ปริมาตรของน้ำ  ความหนาแน่นของน้ำ = (15.0 mL)  (1.0 g/mL) = 15.0 g
ความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของน้ำอุน่ ;
Qน้ำอุ่น = m c ΔT = (15.0 g)  (1.0 cal/gC)  (39.0 – 48.5)C
= -142.5 cal (ค่าเป็นลบแสดงว่าน้ำอุ่นคายความร้อน)
ความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของน้ำเย็น;
Qน้ำเย็น = m c ΔT = (15.0 g)  (1.0 cal/gC)  (39.0 – 30.0)C
= +135.0 cal (ค่าเป็นบวกแสดงว่าน้ำเย็นได้รับความร้อน)

เนื่องจากเป็นระบบโดดเดีย่ ว (Isolated system) ดังนั้น ผลรวมระหว่างความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของน้ำอุ่น


(Qน้ำอุ่น), ความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของน้ำเย็น (Qน้ำเย็น) และความร้อนที่เปลีย่ นแปลงของคาลอริมิเตอร์ (QC)
จะมีค่าเท่ากับศูนย์
Qน้ำอุ่น + Qน้ำเย็น + QC = 0
ดังนัน้ QC = – ( Qน้ำอุ่น + Qน้ำเย็น )
= – ( (–142.5) + 135.0 ) cal
= +7.5 cal (ค่าเป็นบวกแสดงว่าคาลอริมิเตอร์ได้รับความร้อน)

ความร้อนที่เปลีย่ นแปลงของคาลอริมิเตอร์ (QC) หารด้วย ΔT (C) มีค่าเท่ากับ ค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์


( K C ) ซึ่งมีหน่วย cal/C

อุณหภูมทิ ี่เปลี่ยนไปของคาลอริมเิ ตอร์;


ΔT = (Tหลังผสม – Tก่อนผสม) = (39.0 – 30.0)C = 9.0 C
ค่าคงที่ของคาลอริมเิ ตอร์;
K C = QC = 7.5 cal = 0.83 cal/C
ΔT 9.0 C

ปฏิบัติการที่ 6 เทอร์โมเคมี  107


ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 303106

ตอนที่ 2 หาค่าเอนทาลปีของปฏิกริ ยิ าสะเทิน ( ΔH neut )


1. ใช้คาลอริมิเตอร์ที่ทำไว้แล้วในตอนที่ 1
2. ตวงสารละลาย 3.0 M HCl ปริมาตร 15 mL ใส่บีกเกอร์ทีว่ างอยู่ในคาลอริมเิ ตอร์ วัดอุณหภูมิของ
สารละลาย HCl และบันทึกเป็น อุณหภูมิของกรดก่อนผสม
3. ตวงสารละลาย 3.0 M NaOH ปริมาตร 15 mL ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 100 mL อีกใบหนึง่ วัดอุณหภูมิ
ของสารละลาย NaOH และบันทึกเป็น อุณหภูมิของเบสก่อนผสม
4. เทสารละลายเบสในข้อ 3 ลงในคาลอริมิเตอร์ที่มสี ารละลายกรดอยู่แล้ว เริ่มจับเวลาขณะเทผสม
ปิดฝาไม้ให้สนิท ค่อย ๆ คนสารละลายเกลือ เริ่มอ่านอุณหภูมคิ รั้งที่ 1 เมื่อครบ 30 วินาทีแรก
และอ่านทุก ๆ 30 วินาที เป็นเวลา 5 นาที
5. ทำการทดลองซ้ำข้อ 2-4 อีกครั้ง
6. นำข้อมูลการทดลองครั้งที่ 1 และ 2 มาเขียนกราฟระหว่างอุณหภูมิ (T หน่วย C) ของสารละลาย
เกลือ กับเวลา ( t ) ในหน่วยวินาที (s) แล้วลากต่อเส้นกราฟให้ไปตัดแกน y ที่เวลา 0 วินาที ซึ่งจุดนี้
คือ อุณหภูมิของสารละลายเกลือ และคำนวณหาความร้อนของปฏิกิริยาสะเทินต่อ 1 โมลของ H2O
ที่เกิดขึน้ ( ΔH neut ) ของครั้งที่ 1 และ 2 แล้วหาค่าเฉลีย่ ของ ΔH neut จากการทดลองทัง้ สองครั้ง

กำหนดให้ ความหนาแน่นของสารละลาย NaCl = 1.06 g/mL


ความร้อนจำเพาะของสารละลาย NaCl = 0.96 cal/gC

ตัวอย่างการคำนวณ หา ΔH neut
จากกราฟ ΔT = Tหลังผสม – Tก่อนผสม = 7.0 C
ปริมาตรทัง้ หมดของสารละลาย = 30.0 mL
ความหนาแน่นของสารละลาย = 1.06 g/mL
ความร้อนจำเพาะของสารละลาย = 0.96 cal/gC
ค่าคงที่ของคาลอริมิเตอร์ = 0.83 cal/C
ความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของคาลอริมเิ ตอร์; Q C = K C ΔT = (0.83 cal/C)  (7.0C) = +5.83 cal

ความร้อนของสารละลาย; Qสารละลาย = m c ΔT = (   V ) c ΔT
= (1.06 g/mL)  (30.0 mL)  (0.96 cal/gC)  (7.0 C)
= +213.69 cal

108  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


...

เนื่องจากเป็นระบบโดดเดีย่ ว ดังนัน้ ผลรวมระหว่างความร้อนของปฏิกิริยา (Qrxn), ความร้อนของ


สารละลาย (Qสารละลาย) และความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของคาลอริมิเตอร์ (QC) จะมีค่าเท่ากับศูนย์ ดังสมการ
Qrxn + Qสารละลาย + QC = 0
ดังนั้น Qrxn = - ( Qสารละลาย + QC )
= – ( 213.69 + 5.83 ) cal
= –219.52 cal (ค่าเป็นลบแสดงว่าเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน)

เนื่องจากทำการทดลองที่ความดันคงที่ ดังนั้น ความร้อนของปฏิกิริยาสะเทิน (Qneut) มีค่าเท่ากับเอนทาลปี


ของปฏิกิริยาสะเทิน ( ΔH neut )

คำนวณหาค่าเอนทาลปีของปฏิกิรยิ าสะเทินต่อ 1 โมลของ H2O ที่เกิดขึ้น จะได้ว่า

= Qneut
ΔH neut
จานวนโมลของ H2O ที่ เ กิดขึนในปฏิ
้ กิรยา

-219.52 cal
= 0.045 mol
= – 4878.2 cal/mol  –4.9 kcal/mol

เพราะฉะนั้น เอนทาลปีของปฏิกิริยาสะเทิน มีค่าประมาณ – 4.9 กิโลแคลอรีต่อ 1 โมลของน้ำที่เกิดขึน้ ใน


ปฏิกิริยา

ปฏิบัติการที่ 6 เทอร์โมเคมี  109


ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 303106

110  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

You might also like