You are on page 1of 32

แผนการสอนประจาสัปดาห์ ที่ 6

เรื่อง สมดุลเคมี

หัวข้อเรื่อง
1. นิยามของสมดุลเคมี
2. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่อตั รากับค่าคงที่สมดุล
3. ชนิดของสมดุล
4. ค่าคงที่สมดุล
5. ความสัมพันธ์ระหว่าง Kp กับ Kc
6. ค่าคงที่สมดุลและทิศทางของปฏิกิริยา
7. ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี
8. การคานวณค่าคงที่สมดุล
9. หลักของเลอชาเตอลิเอและแฟกเตอร์ที่มีผลต่อสมดุลเคมี

รายละเอียด
สมดุลเคมีเป็ นการกล่าวถึงนิยามของสมดุลเคมีที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงที่ผนั กลับได้ในระบบปิ ด
ทาให้มีอตั ราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ ซึ่งจะกล่าวในความสัมพันธ์
ระหว่างค่าคงที่อตั รากับค่าคงที่สมดุล และยังแสดงการคานวณหาค่าคงที่สมดุล ซึ่งมี 2 ค่า ในรู ปแบบของ Kp
และ Kc และนาค่าคงที่สมดุลไปใช้ในการกาหนดทิศทางของปฏิกิริยา และยังสามารถหาค่าคงที่สมดุลได้จาก
ความสัมพันธ์ของสมการเคมี และสุดท้ายเป็ นการกล่าวถึงการรบกวนสมดุลเคมีจากการเปลี่ยนแปลงของสาร
ความดัน อุณหภูมิ ทาให้ปฏิกิริยาเคมีตอ้ งมีการปรับตัวในทิศทางที่ลดผลของการรบกวนเพื่อเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง
ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ
เนื้อหา
ส่ วนใหญ่ ปฏิกิริ ยาที่พบในชี วิตประจ าวันเป็ นการศึกษาการเปลี่ยนไปของสารตั้งต้นกลายเป็ นผลิ ตภัณฑ์
เช่น การระเหยของน้ าให้กลายเป็ นไอ ( vaporization ) การระเหิด ( sublimation ) ของแนพทาลิน ซึ่งทั้งสองปฏิกิริยานี้
เป็ นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ( complete reaction ) กล่าวคือเป็ นปฏิกิริยาที่เกิดในทิศทางเดียว ดังภาพที่
13.1 แกนแนวนอนเป็ นเวลา ส่ วนแกนแนวตั้งเป็ นความเข้มข้นของสาร เมื่อ A + B เป็ นสารตั้งต้น และ C + D
เป็ นผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากรู ปจะสังเกตได้ว่าสารตั้งต้นได้ถูกใช้ไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาจนทาให้ความเข้มข้นของสาร
ตั้งต้นลดลงเท่ากับศูนย์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานั้นจะมีความเข้มข้นที่สูงเรื่ อยๆ แต่ในบาง
ปฏิกิริยาจะพบว่ามีท้ งั ปฏิกิริยาที่เกิดไปข้างหน้าและปฏิกิริยาที่ยอ้ นกลับ จึงทาให้เรี ยกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น นี้ ว่า
ปฏิกิริยาผันกลับได้ ( reversible reaction )

ภาพที่ 13.1 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง


ความเข้มข้น

สมบูรณ์ : A + B → C + D

เวลา
ตัวอย่างปฏิกิริยาที่ผนั กลับได้ในชีวิตประจาวัน เช่น การละลายของน้ าแข็งกลายเป็ นน้ า ซึ่งเขียนสมการได้เป็ น
H2O (s) H2O (l) 1)
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมการ 1) เป็ นการเปลี่ยนแปลงที่ผนั กลับได้ กล่าวคือ น้ าแข็งเมื่อตั้ง
ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเปลี่ยนเป็ นน้ าที่อยู่ในสถานะของเหลว แต่หากนาน้ าที่มีสถานะของเหลวเข้าตูเ้ ย็น ที่ช่อง
แข็งแล้วจะได้น้ าแข็งเกิดขึ้น จึงกล่าวว่าสมการ 1) เป็ นการเปลี่ยนแปลงแล้วสามารถกลับคืนสู่ สภาพเดิมได้อีก
เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ดูดความร้อนหรื อคายความร้อน ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงมีท้ งั การเปลี่ยนแปลงไป
ข้างหน้าและการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ
และหากพิจารณาจากภาพที่ 13.2 ซึ่งเป็ นปฏิกิริยาการสลายตัวของไดไนโตรเจนเตตระออกไซด์ (N2O4)
เกิดเป็ นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ตามสมการเคมี
N2O4 (g) 2NO2 (g)
ไม่มีสี สีน้ าตาล-แดง
ภาพที่ 13.2 การเปลี่ยนสีของปฏิกิริยา N2O4 (g) 2NO2 (g) ที่อุณหภูมิต่างๆ
ที่มา : Averill, Eldredge. 2007

จากภาพที่ 13.2 พบว่า N2O4 (s) เป็ นสารตั้งต้น และเป็ นของแข็งที่ไม่มีสี เมื่อมีการสลายตัวจะให้ NO2 (g)
เป็ นผลิตภัณฑ์และเป็ นแก๊สที่มีสีน้ าตาลแดง และเมื่อพิจารณาจากภาพด้านซ้ายสุดจะแสดงให้เห็นว่า ทีอ่ ุณหภูมิ
-78.4 oC จะพบเฉพาะสารตั้งต้น : N2O4 (s) ไม่มีสี แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น จนเป็ น - 9.3 oC จะพบสารตั้งต้น :
N2O4 (l) เป็ นของเหลว และ N2O4 (g) เป็ นแก๊ส และผลิตภัณฑ์ : NO2 (g) อยู่ร่วมกัน และภาพด้านขวาสุดที่
อุณหภูมิ 20.0 oC จะพบสารตั้งต้น : N2O4 (g) เป็ นแก๊ส และผลิตภัณฑ์ : NO2 (g) อยู่ร่วมกัน
ดังนั้นจึงเป็ นการบ่งบอกว่าปฏิกริ ิ ยา N2O4 (g) 2NO2 (g) เป็ นทั้งปฏิกริ ิ ยาไปข้างหน้าและปฏิกริ ิ ยา
ย้อนกลับที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ความเข้มข้น

เวลาที่สภาวะสมดุล

เวลา
ภาพที่ 13.3 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ N2O4 (g) 2NO2 (g)
และเมื่อพิจารณาภาพที่ 13.3 จะสามารถอธิบายได้ว่าสารตั้งต้น: N2O4 มีความเข้มข้นที่ลดลงในช่วงเวลาที่
เพิ่มขึ้นเรื่ อยๆ ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ : NO2 นั้นมีความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นเรื่ อยๆ
จนกระทัง่ ณ เวลาหนึ่งทีค่ วามเข้มข้นของสารทั้งสองคือ N2O4 และ NO2 คงที่ ซึ่งเรี ยกว่า ปฏิกิริยาก็จะเข้าสู่
สภาวะสมดุล (equilibrium condition) (สังเกตเห็นความเข้มข้นคงที)่ แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า
(rate of forward reaction) มีค่าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (rate of reverse reaction)
การเขียนสมการเคมีเพื่อแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาผันกลับได้ นิยมใช้ลูกศร ดังตัวอย่าง
N2(g) + 3H2(g) 2 NH3(g)
CO(g) + H2O (g) CO2(g) + H2(g)
HC2H3O2(aq) + H2O (l) H3O+(aq) + C2H3O2-(aq)
NH3(aq) + H2O(l) NH4+(aq) + OH- (aq)
Mg(OH)2(s) Mg2+(aq) + 2 OH- (aq)

1. นิยามของสมดุลเคมี
เมื่อสารตั้งต้นทาปฏิกิริยากันจะพบว่า ที่ภาวะสมดุลนั้นจะมีท้งั สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ โดยที่ความเข้มข้น
ของสารที่เข้าทาปฎิกิริยา (สารตั้งต้น) ไม่จาเป็ นต้องเท่ากับความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น แต่อตั ราเร็วของ
ปฎิกิริ ยาไปข้างหน้า (forward reaction) จะเท่ากับอัต ราการเกิด ปฏิกิริ ยาย้อนกลับ (reverse reaction) โดยใน
ระบบจะพบว่าปฏิกิริ ย าไปข้างหน้าและย้อนกลับมีก ารเกิด ขึ้น ตลอดเวลา ซึ่ งเรี ยกการเปลี่ยนแปลงที่ เ มื่ อ
เปลี่ยนไปแล้วสามารถกลับสู่สภาพเดิมนี้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ผนั กลับได้ จึงทาให้เรี ยกสมดุลที่เกิดขึ้นว่า สมดุล
พลวัตหรื อสมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium) เช่น
CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)
สารตั้งต้นคือ แคลเซียมคาร์บอเนต : CaCO3 อยู่ในสถานะของแข็งเมื่อนาไปเผาควรทาในภาชนะปิ ด
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็ นแคลเซียมออกไซด์ : CaO อยู่ในสถานะของแข็งและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ :
CO2 หากปฏิกิริยานี้ทาในภาชนะเปิ ดแล้วแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเคลื่อนที่ออกนอกภาชนะได้
ดังนั้นสมดุลไดนามิก จึงเป็ นสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หยุดนิ่ง เกิดขึ้น
ภายในระบบปิ ด (ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทเรื่ อง อุณหพลศาสตร์
เบื้องต้น) สมดุลเคมีจดั เป็ นสมดุลไดนามิกที่เกิดขึ้นในระบบปิ ด โดยทีอ่ ตั ราเร็วของปฎิกิริยาไปข้างหน้า (forward
reaction) จะเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (reverse reaction) หรื อกล่าวว่า ความเข้มข้นของทั้งสารตั้งต้น
และผลิตภัณฑ์คงที่ โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
ที่สภาวะสมดุล : เมื่อ kf และ kr เป็ นค่าคงที่อตั ราสาหรับปฎิกิริยาไปข้างหน้าและปฎิกิริยาย้อนกลับ
ตามลาดับ และเมื่ออัตราการเกิดปฎิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฎิกิริยาผันกลับ แทนค่าได้ดงั นี้
A B
k f A = k r B 
B  = 𝑘𝑓
= คงที่
 A 𝑘𝑟

2. ความสัมพันธ์ ระหว่างค่าคงที่อัตรากับค่าคงที่สมดุล
หากพิจารณาจากปฏิกิริยาที่มีกลไกการเกิดเพียงขั้นตอนเดียว ในสมการ
ClNO2(g) + NO(g) NO2(g) + ClNO(g)
พบว่า อัตราเร็วของปฎิกิริยาไปข้างหน้า = kf [ClNO2] [NO]
และ อัตราเร็วของปฎิกิริยาย้อนกลับ = kr [NO2] [ClNO]
เมื่อปฏิกิริยาเข้าสู่สมดุลแล้ว พบว่า อัตราเร็วของปฎิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราเร็วของปฎิกิริยาย้อนกลับ
ดังนั้น kf [ClNO2] [NO] = kr [NO2] [ClNO]
𝑘𝑓 [𝑁𝑂2 ] [𝐶𝑙𝑁𝑂]
ซึ่งก็คือ = [𝐶𝑙𝑁𝑂2 ] [𝑁𝑂]
= Kc
𝑘𝑟
เมื่อ Kc เป็ นค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา
จึงกล่าวได้ว่าจากความสัมพัน ธ์ระหว่างจลนพลศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีภ ายใต้สภาวะหนึ่ งๆ นั้น
องค์ประกอบของของผสมที่สมดุ ลจะถูก ก าหนดโดยขนาดของค่าคงที่อัต ราของปฏิกิริ ยาไปข้างหน้าและ
ปฏิกิริยาย้อนกลับ

ตัวอย่างที่ 13.1
ในปฏิกิริยา ClNO2(g) + NO(g) NO2(g) + ClNO(g)
พบว่าที่อุณหภูมิ 27 C ค่าคงที่อตั ราเร็ วของปฎิกิริยาไปข้างหน้า เท่ากับ 6.3 x 104 M/s และค่าคงที่อตั ราเร็ว
ของปฎิกิริยาย้อนกลับ เท่ากับ 1.2 M/s ให้หาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา
วิธีทา
ClNO2(g) + NO(g) NO2(g) + ClNO(g)
𝑘𝑓 6.3 𝑥 104
=
𝑘𝑟 1.2

Kc = 5.25 x 104 #

3. ชนิดของสมดุล
โดยทัว่ ไปสมดุลเคมีของปฏิกิริยาแบ่งออกเป็ น 2 ชนิด คือ สมดุลเชิงเดี่ยวและสมดุลแบบผสม ซึ่งมี
ลักษณะของสมดุลดังนี้

3.1 สมดุลเชิงเดี่ยว (homogeneous equilibrium) หรื อเรี ยกว่าสมดุลเอกพันธ์ เป็ นสมดุลเคมีที่ท้งั


สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์อยู่ในเฟส (phase) หรื อสถานะเดียวกัน ส่วนใหญ่จะพบว่าสารนั้นเป็ นแก๊ส ทาให้
ปฏิกิริยาแบบนี้อตั ราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กบั ความเข้มข้นของสารที่เข้าทาปฏิกิริยากัน ดังตัวอย่าง
2SO3(g) 2SO2 (g) + O2 (g)
HCl(g) + 1/4O2 (g) 1/2Cl2 (g) + 1/2H2O(g)
3.2 สมดุลแบบผสม (heterogeneous equilibrium) หรื อเรี ยกว่าสมดุลวิวิธพันธ์ เป็ นสมดุลเคมีที่
สารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์อยู่ต่างเฟส(หรื อต่างสถานะ) จึงทาให้ที่จุดสมดุลจะพบสารต่างๆ มีเฟสหลายเฟส
อาจพบของแข็งกับของเหลวหรื อของแข็งกับแก๊ส หรื อของแข็งกับสารละลาย เป็ นต้น ทาให้ปฏิกิริยาแบบนี้
มักขึ้นอยูก่ บั พื้นที่ผวิ สัมผัสระหว่าง เฟส ดังตัวอย่าง
NaOH(s) + CO2 (g) NaHCO3 (s)
CaCl2(s) + H2O (g) CaCl2.H2O(s)
AgI(s) Ag+ (aq) + I-(aq)

4. ค่าคงที่สมดุล
ในปี ค.ศ. 1864 คาโต แมกซิมิเลียน กูลด์เบิร์ก (Cato Maximilian Guldberg ) และ ปี เตอร์เวกก์
(Peter Waage ) ได้ใช้กฎของภาวะสมดุลทางเคมี (Law of chemical Equilibrium) ในการหาความสัมพันธ์ของ
สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่สภาวะสมดุล และสรุ ปได้ว่า
กฎของภาวะสมดุลทางเคมี (Law of chemical Equilibrium) กล่าวว่า สาหรับปฏิกริ ิ ยาที่ผนั กลับได้น้ นั
ณ ภาวะสมดุล ผลคูณของความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์เมื่อหารด้วยผลคูณของความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือ
โดยที่ความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดยกกาลังด้วยเลขสัมประสิทธ์บอกจานวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้ว
จะมีค่าคงที่เสมอเมื่ออุณหภูมิคงที่
ในการหาความสัมพันธ์ของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่สภาวะสมดุลและสรุ ปว่า
ปฎิกิริยาทัว่ ไป aA + bB cC + dD 2)
A, B, C, D เป็ นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในปฎิกิริยา
a, b, c, d เป็ นสัมประสิทธิ์ที่ดุลแล้วของสมการเคมี
จะได้ K =
C  D 
c d
3)
Aa Bb
เมื่อ [ ] แทนความเข้มข้นทีจ่ ุดสมดุลในหน่วยโมลาร์
K หรื อ Kc เรี ยกว่า ค่าคงที่สมดุล (equilibrium constant) ซึ่งอาจใช้สัญลักษณ์เป็ น Keq ก็ได้ ทั้งนี้ c ย่อ
มาจากคาว่า concentration ส่วน eq ย่อมาจาก equilibrium ทั้งนี้ Kc เป็ นค่าคงที่เฉพาะปฎิกิริยาหนึ่งๆ เท่านั้น
ไม่ข้ นึ กับกลไกของปฎิกิริยา ตัวอย่างการแสดงสมการค่าคงที่สมดุล ดังนี้
H2(g) + I2(g) 2 HI(g)
Kc =
HI 2
H 2  I 2 
N2(g) + 3H2(g) 2 NH3(g)
Kc =
NH 3 2
N 2  H 2 3
ข้อสังเกตของค่า K
I. ค่า K ขึ้นอยู่กบั อุณหภูมิ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิคงที่ ค่า K จะคงที่ แต่ถา้ อุณหภูมิเปลี่ยนไป ค่า K จะ
เปลี่ยนไปด้วย
II. ค่า K ในปฏิกิริยาหนึ่ง จะส่งผลทาให้หน่วยของ K ต่างกัน เพราะสัมประสิทธิ์ของสมการที่ ดุลแล้วต่างกัน
จึงทาให้ส่วนใหญ่กาหนดให้ค่า K ไม่มีหน่วย เนื่องจากใช้หลักการว่า ค่า K คานวณจากสัดส่วนระหว่าง
ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ต่อความเข้มข้นของสารตั้งต้น
III. ค่า K ขึ้นอยู่กบั ลักษณะของสมการเคมีที่เขียน ดังนั้นการกล่าวถึงค่า K จะต้องอ้างอิงสมการเคมีกากับมา
ด้วยทุกครั้งไป
ตัวอย่างที่ 13.2
ให้แสดงสมการค่าคงที่สมดุลในเทอมของความเข้มข้นของปฎิกิริยาต่อไปนี้
ก. 4 NH3(g) + 5 O2(g) 4NO (g) + 6H2O(g)
ข. 3O2(g) + 64.8 kcal 2O3(g)
ค. CH4(g) + Cl2(g) CH3Cl (g) + HCl (g) + 26.4 kcal
วิธีทา
ก. 4 NH3(g) + 5O2(g) 4NO (g) + 6H2O(g)
K eq =
NO 4 H 2 O6 #
NH 3 4 O2 5
ข. 3O2(g) + 64.8 kcal 2O3(g)
K eq =
O3 2 #
O2 3
ค. CH4(g) + Cl2(g) CH3Cl (g) + HCl (g) + 26.4 kcal
K eq
CH 3Cl  HCl 
= #
CH 4  Cl 2 
ในกรณีที่สารในสมการเคมีน้ นั อยู่ในสภาวะแก๊ส และเนื่องจากสัญลักษณ์ [ ] แทนความเข้มข้นของสาร
นั้นๆ ที่สภาวะสมดุล จะสามารถเขียนสมการค่าคงที่สมดุลดังตัวอย่าง 13.1 ได้ แต่หากพบว่าสารที่พบใน
สมการเคมีน้ นั บางสารอยู่ในสถานะของแข็ง (s) หรื อของเหลวบริ สุทธิ์ เช่น H2O(l) หรื อ C2H5OH (l)
การแสดงค่า Keq จะไม่แสดงความเข้มข้นของสารชนิดนั้น เนื่องจากความเข้มข้นของของแข็ง หรื อของเหลว
บริ สุทธิ์ข้ นึ อยูก่ บั ความหนาแน่นของสารจึงทาให้ความเข้มข้นมีค่าคงที่ จัดเป็ นสมดุลแบบผสม ดังตัวอย่าง

C(s) + H2O(g) CO (g) + H2 (g) C(s) ตัดออกไป


K eq =
CO  H 2  ไม่ต้องนำมำเกี่ยวข้องในกำรหำค่ำ Keq
H 2 O
หรือ CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)
K eq = CO2 
หรือ CaO(s) + CO2(g) CaCO3(s)
1
K eq =
CO2  H2O(l) ตัดออกไป
H2O(l) H+ (aq) + OH- (aq) ไม่ต้องนำมำเกี่ยวข้องในกำรหำค่ำ Keq
+ ][ −]
K eq = [H OH

ตัวอย่างที่ 13.3
ให้แสดงสมการค่าคงที่สมดุลในเทอมของความเข้มข้นของปฏิกิริยาต่อไปนี้
ก. NiO(s) + CO(g) Ni(s) + CO2(g)
ข. CCl4 (g) C(s) + 2Cl2(g)
ค. NH4HS(s) NH3(g) + H2S(g)
วิธีทา
ก. NiO(s) + CO(g) Ni(s) + CO2(g)

=
CO2  #
K eq
CO 
ข. CCl4 (g) C(s) + 2Cl2(g)
K eq =
Cl 2 
2

#
CCl 4 
ค. NH4HS(s) NH3(g) + H2S(g)
K eq = NH 3 H 2 S  #

5. ความสัมพันธ์ ระหว่าง Kp กับ Kc


เมื่อสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์อยู่ในสถานะแก๊ส ค่าคงที่สมดุลอาจอยู่ในเทอมของความดันย่อยของแต่ละ
แก๊ส จึงทาให้ค่าคงที่สมดุลสามารถแสดงในเทอมของความดัน โดยมีสัญลักษณ์เป็ น Kp
aA + bB cC + dD
ซึ่งแสดงค่าคงที่สมดุลในเทอมของความดันได้ในสมการ 4) ดังนี้
PCc . PDd
Kp = 4)
PAa . PBb
เมื่อ PA, PB, PC และ PD เป็ นความดันย่อยของแก๊ส A, B, C และ D ตามลาดับ
ตัวอย่างที่ 13.4
ให้แสดงสมการค่าคงที่สมดุลในเทอมความดันของปฏิกิริยาต่อไปนี้
ก. COCl2(g) CO(g) + Cl2(g)
ข. 1/2 O2 (g) + SO2(g) SO3(g)
ค. PCl5(g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
วิธีทา
ก. COCl2(g) CO(g) + Cl2(g)
PCO . PCl2
Kp = #
PCOCl 2
ข. 1/2 O2 (g) + SO2(g) SO3(g)
PSO3
Kp = #
PO12/ 2 . PSO2
ค. PCl5(g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
PPCl3 . PCl2
Kp = #
PPCl5
และจากเนื้อหาในบทเรื่ อง แก๊ส ในหัวเรื่ องสมการแก๊สอุดมคติ ได้สมการ PV = nRT หากย้าย V ไป
n
เป็ นตัวหาร จะพบว่า P = RT
V
เมื่อ P = ความดัน ในหน่วย atm
V = ปริ มาตร ในหน่วย L
n = จานวนโมลของแก๊ส ในหน่วย mol
T = อุณหภูมิ ในหน่วย K
R = ค่าคงที่ของแก๊ส = 0.0821 ในหน่วย L-atm/mol-K
n
= ความเข้มข้นของแก๊สใดๆ แทนด้วย [แก๊ส] ในหน่วย โมลาร์
V
ปฏิกิริยาทัว่ ไป aA(g) + bB(g) cC(g) + dD(g)
PCc . PDd
Kp =
PAa . PBb
เมื่อ PV = nRT
สาหรับสาร A ได้ P A V = n A RT
= ART
nA
PA = RT
V
และในทานองเดียวกันสาหรับสาร B, C, D
PB = B RT , PC = C RT และ PD = DRT
แทนค่า

ดังนั้นจะทาให้ความสัมพันธ์ของ Kp กับ Kc เป็ นสมการ 5) ดังนี้


K P = K C (RT ) 5)
n

เมื่อ
n คือผลต่างของผลรวมจานวนโมลของผลิตภัณฑ์และผลรวมจานวนโมลของสารตั้งต้น โดยคิดเฉพาะแก๊ส
เท่านั้น และ
ที่ n = 0 จะทาให้ K P มีค่าเท่ากับ K C
aA(g) + bB(g) cC(g) + dD(g)
n = (c + d ) − (a + b)
ตัวอย่างการหาค่า ∆n :
N2O4(g) 2NO2(g) n = (2) - 1 = 1
CaCl2(s) + H2O (g) CaCl2.H2O(s) n = (0) - (0 +1) = -1
2CO(g) + 2NO(g) 2CO2(g +N2(g) n = (2 +1) - (2 + 2) = -1
3 Fe(s) + 4 H2O(g) Fe3O4(s) + 4 H2(g) n = (4) - (4) = 0
ตัวอย่างที่ 13.5
ที่ 523 K ความดัน 1 บรรยากาศ ฟอสฟอรัสเพนทะคลอไรด์ซ่ ึงอยู่ในสถานะแก๊สมีการสลายตัวดังสมการ
มีค่าคงที่สมดุล K P = 1.78 ให้หาค่า n และ K C ของสมการเคมีน้ ี
PCl5(g) PCl3(g) + O2(g)
วิธีทา
n = (c + d ) − (a + b)
n = (1 +1) - 1 = 1 #
ความสัมพันธ์ของ กับ K C : K P = K C (RT )
n
KP
KP
ดังนั้น KC =
(RT )n
1.78
แทนค่า KC =
(0.0821  523)1
KC = 0.0415 #
ตัวอย่างที่ 13.6
N2O4(g) 2NO2(g)
ค่าคงที่สมดุล ( K C ) ของปฏิกิริยาเท่ากับ 4.636 x 10-3 ที่ 25 oC ให้หา K P ที่อุณหภูมิเดียวกัน
วิธีทา
ความสัมพันธ์ของ K P กับ K C : K P = K C (RT )n
โจทย์กาหนด KC = 4.636 x 10-3
โจทย์กาหนด T = 25 + 273 = 298 K
n = 2 - 1 = 1
แทนค่า K P = 4.636 x 10-3x (0.0821 x 298)1
K P = 0.113 #
ตัวอย่างที่ 13.7
CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)
ที่อุณหภูมิ 800 oC ความดันย่อยของแก๊ส CO2 เป็ น 0.236 atm ให้หา K C และ K P ของปฏิกิริยา
วิธีทา
KC = [CO2]
KP = PCO 2

โจทย์กาหนด PCO = 0.236


2

ดังนั้น K P = 0.236 #
ความสัมพันธ์ของ K P กับ K C : K P = K C (RT )n
จากสมการเคมี n = 1
กาหนดให้ R = 0.821 L-atm/mol-K
T = 800 + 273 = 1073 K
0.236
แทนค่า KC =
(0.0821  1073)1
KC = 2.68 x 10-3 #

6. ค่าคงที่สมดุลและทิศทางของปฏิกิริยา
ค่าคงที่สมดุลเป็ นค่าที่แทนด้วยความเข้มข้นหรื อความดันของสารที่สภาวะสมดุล ถ้า K มีค่าสูงย่อม
แสดงถึงความเข้มข้นหรื อความดันย่อยของผลิตภัณฑ์มีค่าสูงหรื อความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าต่า แต่เมื่อใดที่
K มีค่าต่า จะแสดงว่าความเข้มข้นหรื อความดันย่อยของผลิตภัณฑ์ที่สภาวะสมดุลมีค่าต่าด้วย หรื อกล่าวว่าความ
เข้มข้นของสารตั้งต้นที่สภาวะสมดุลมีค่าสูง
ในการทานายทิศทางของปฏิกิริยาเคมีน้ นั สามารถอธิบายได้จากค่านิพจน์ของค่าคงที่สมดุล (reaction
quotient) ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ Qc โดยค่านิพจน์น้ จี ะมีวธิ ีการหาแบบเดียวกับค่าคงที่สมดุลโดยแทนด้วย
ความเข้มข้นเริ่ มต้นของสาร ในขณะที่ K แทนด้วยความเข้มข้นของสารที่สภาวะสมดุล
การที่จะบอกว่าปฏิกริ ิ ยาจะมีทิศทางไปทางด้านซ้ายหรื อทางด้านขวานั้น ให้ทาการเปรี ยบเทียบระหว่าง
ค่า Qc กับค่า K โดยแสดงความเป็ นไปได้ มี 3 กรณี ดังนี้
I. Qc = K หมายความว่า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอยู่ในสภาวะสมดุล ไม่มีการเลื่อนไปในทิศทางใดๆ
ทั้งสิ้น
II. Qc >>>> K หมายความว่า อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์มีค่าสูงกว่าความ
เข้มข้นของสารตั้งต้น ดังนั้นหากต้องการให้ปฏิกิริยาเข้าสู่สภาวะสมดุลจะต้องมีการเพิ่มความ
เข้มข้นของสารตั้งต้นและลดความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ เพราะการที่สารตั้งต้นมีความเข้มข้น
มากขึ้น และความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ลดลงจะทาให้ปฏิกริ ิ ยามีทิศทางไปทางซ้าย
(เกิดปฏิกริ ิ ยาย้อนกลับ) เพื่อที่จะทาให้ระบบเข้าสภาวะสมดุลได้อีกครั้ง
III. Qc <<<<< K หมายความว่า อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ต่อความเข้มข้นของ
สารตั้งต้นมีค่าน้อยเกินไป จึงทาให้ปฏิกิริยามีทิศทางไปทางขวา (เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า)
ตัวอย่างที่ 13.8
ปฏิกิริยาระหว่าง N2 กับ O2 เกิดผลิตภัณฑ์ NO ดังสมการ
N2(g) + O2(g) 2NO(g)
ที่ 25 oC ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเท่ากับ 0.063 อยากทราบว่าถ้าให้ความเข้มข้นของ N2 เป็ น 1 M, O2 =
0.5 M และ NO = 1 M ทิศทางของปฏิกิริยาจะเป็ นอย่างไรก่อนที่จะเข้าถึงสภาวะสมดุล
วิธีทา
[𝑁𝑂]2 12
𝑄𝑐 = [𝑁2 ] [𝑂2 ]
= (1)(0.5)
= 2

โจทย์กาหนดให้ K เท่ากับ 0.063 แสดงว่า Qc > K ดังนั้นทิศทางของปฏิกิริยาคือ ปฏิกริ ิ ยาเกิด


ย้อนกลับ และมีผลิตภัณฑ์ NO เกิดขึ้นน้อย #
K บอกว่ามีผลิตภัณฑ์มากหรือน้ อยได้ แต่ไม่ได้บอกว่าปฏิกิริยาเกิดขึน้ เร็วหรือช้ า

นอกจากนี้ค่า K ยังสามารถกาหนดทิศทางของปฏิกิริยาว่าเกิดไปในทิศทางใดเป็ นปฏิกริ ิ ยาข้างหน้าหรื อ


ปฏิกิริยาผันกลับได้ กล่าวคือ
K = 1 ค่าคงที่สมดุลเท่ากับหนึ่ง แสดงว่าที่สภาวะสมดุล ความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าเท่ากับความ
เข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์
K << 1 ค่าคงที่สมดุลที่มีค่าน้อยกว่าหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาเกิดผันกลับ จึงทาให้โอกาสพบสาร
ตั้งต้นมีมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ทจี่ ุดสมดุล
K >> 1 ค่าคงที่สมดุลที่มีค่ามากกว่าหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าได้มากกว่า
เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ สารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมากกว่าสารตั้งต้นที่เหลืออยู่ในปฏิกิริยา
ตัวอย่างที่ 13.9
ปฏิกิริยาระหว่าง N2 กับ H2 เกิดผลิตภัณฑ์ NH3 ดังสมการ
N2(g) + 3H2(g) 2NH3(g)
ที่ 25 oC ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเท่ากับ 3.5 x 108 ให้อธิบายทิศทางของปฏิกิริยา
วิธีทา
โจทย์กาหนดให้ K เท่ากับ 3.5 x 108 เป็ นค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา ซึ่ง K มีค่ามาก แสดงให้
เห็นว่า ที่ภาวะสมดุลมีผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมาก และมีสารตั้งต้นอยู่นอ้ ยมาก ซึ่งทิศทางของปฏิกิริยา คือ
ปฏิกิริยาไปข้างหน้า มีผลิตภัณฑ์ NH3 เกิดขึ้นมาก #

7. ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี
ค่าคงที่สมดุลจะมีความสัมพันธ์กบั สมการเคมี ดังนี้
7.1 ที่อุณหภูมคิ งที่ การเขียนสมการแสดงค่าคงที่สมดุล จะระบุพร้อมๆ กับสมการเคมีทดี่ ุลแล้ว ทาให้
สัมประสิทธิ์ต่างกัน ค่า K จะต่างกันด้วย เช่น
เมื่อ 2A 3B …………6)
แล้ว K 1) =
B
3

A2
เมื่อ A 2B …………7)
แล้ว K 2) =
B2
A
จากสมการ .... 6) และ สมการ .... 7) จะสังเกตพบว่าหากมีการดุลสมการแล้วจะเกิดสัมประสิทธิ์ข้ นึ ซึ่ง
สัมประสิทธิ์จะส่งผลต่อค่าคงที่สมดุล เพราะสัมประสิทธิ์ของสมการเคมีที่ดุลแล้วจะเป็ นตัวเลขยกกาลังของ
ค่าคงที่สมดุล
7.2 ปฏิกิริยาที่ผนั กลับได้ ถ้าเขียนสมการย้อนกลับ ค่าคงที่สมดุลก็จะเป็ นส่วนกลับของค่าคงที่สมดุล
เดิม เช่น
เมื่อ A B …………8)
แล้ว K 3) =
B
A
เมื่อกลับสมการ ....8) จะได้สมการ ....9) คือ
เมื่อ B A …………9)
แล้ว K 4) =
A
B
ตัวอย่างของสมการเคมีที่ยอ้ นกลับ เช่น
2SO2 (g) + O2(g) 2SO3 (g) …………10)
[𝑆𝑂3 ]2
ได้ 𝐾10) = [𝑆𝑂2 ]2 [𝑂2 ]
หาก K10) = 7.8
เมื่อกลับสมการ 2SO3 2SO2 (g) + O2(g) …………11)
[𝑆𝑂2 ]2 [𝑂2 ]
ได้ 𝐾11) = [𝑆𝑂3 ]2
1
ดังนั้น 𝐾11) =
1
𝐾10)
แล้ว K11) = 7.8
7.3 สาหรับปฏิกิริยาที่ดุลแล้วนั้นหากสมการเคมีน้นั ถูกคูณด้วยตัวเลขใดก็ให้ใช้ตวั เลขนั้นเป็ นเลขยก
กาลังของค่าคงที่สมดุลเดิมด้วย เช่น
A B …………12)
[𝐵]
ได้ 𝐾12) = [𝐴]
คูณสมการ....12) ด้วย 2 จะได้สมการ ....13) คือ
2A 2B …………13)
[𝐵]2
ได้ 𝐾13 = [𝐴]2
ดังนั้น 𝐾13) = 𝐾12)2 แล้ว K12) = 2.52
ตัวอย่างของสมการเคมีที่ดุลแล้ว เช่น
N2 (g) + O2 (g) 2NO (g) …………13)
[NO]2
ได้ K13) = [N2 ][O2 ]
หาก K13) = 2.5
1
ถ้าปรับสมการโดยใช้ 2 คูณตลอด
ทาให้ ½ N2(g) + ½ O2(g) NO (g) …………14)
[NO]
ได้ K14) = 1 1
[N2 ] ⁄2 [O2 ] ⁄2
1⁄2
ดังนั้น K14) = (K13) ) แล้ว K14) = 2.51/2

7.4 สาหรับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลายขั้นตอน ถ้านาปฏิกิริยาย่อยมารวมกันแล้วจะได้ปฏิกิริยารวม ทาให้


ค่า K ของปฏิกิริยารวมเท่ากับผลคูณของปฏิกิริยาย่อยนั้นๆ
ดังเช่นปฏิกิริยาการเกิดแก๊ส NO3
(1) 2NO2 (g) N2O4 (g) K(1)
(2) N2O4 (g) + O2 (g) 2NO3(g) K(2)
(3) 2NO2 (g) + O2 (g) 2NO3(g) K(3)
K(3) = K(1)K(2)
NO3 2 =
N 2 O4   NO3 2
NO 2 2 O2  NO2 2 N 2 O4 O2 
ตัวอย่างที่ 13.10
ให้แสดงค่าคงที่สมดุลของของปฏิกิริยา ข. และ ค. เมื่อกาหนดค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา ก. เท่ากับ 0.19 ที่
532 oC
ก. N2(g) + 3H2(g) 2 NH3(g)
ข. ½ N2(g) + 3/2H2(g) NH3(g)
ค. 2 NH3(g) N2(g) + 3H2(g)
วิธีทา
ปฏิกิริยา ข. คือ การนา ½ คูณปฏิกิริยา ก. ดังนั้น
ข. ½ N2(g) + 3/2H2(g) NH3(g)
Kข = ( Kก)1/2 = 0.19 ½ = 0.44 #
ปฏิกิริยา ค. คือ การนาปฏิกิริยา ก. เขียนสมการย้อนกลับ ดังนั้น
ก. 2 NH3(g) N2(g) + 3H2(g)
Kค = 1/Kก = 1/0.19 = 5.26 #
ตัวอย่างที่ 13.11
ให้หาความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลของปฏิกริ ิ ยาต่อไปนี้ (ให้พิจารณาค่าคงที่สมดุลในเทอมของความดัน)
ก. C(s) + CO2(g) 2CO(g)
ข. 2CO(g) + O2(g) 2CO2(g)
ค. C(s) + O2(g) CO2(g)
วิธีทำ
(PCO 2 ) (PCO )2 (PCO 2 )2
= 
(PO 2 ) (PCO 2 ) (PCO )2 (PO 2 )
ดังนั้น Kค = KกKข #
ตัวอย่างที่ 13.12
กาหนดปฏิกริ ิ ยาและค่าคงที่สมดุล ต่อไปนี้
ก. N2(g) + 3H2(g) 2NH3(g) Kก. = 6.80 x 105
ข. NH4Cl(s) NH3(g) + HCl(g) Kข. = 7.31 x 10-17
ค. H2(g) + Cl2(g) 2HCl(g) Kค. = 2.52 x 1033
ให้หาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา ½ N2(g) + 2H2(g) + ½ Cl2(g) NH4Cl(s)
วิธีทา
นา 1/2 คูณสมการ ก. จะได้สมการ ง. และ Kง.
ง. ½ N2(g) + 3/2 H2(g) NH3(g) Kง. = (6.80 x 105)1/2
นา 1/2 คูณสมการ ค. จะได้สมการ จ. และ Kจ.
จ. ½ H2(g) + ½ Cl2(g) HCl(g) Kจ. = (2.52 x 1033)1/2
นาสมการ ข. มาเขียนย้อนกลับ จะได้สมการ ฉ. และ Kฉ.
ฉ. NH3(g) + HCl(g) NH4Cl(s) Kฉ. = 1/(7.31 x 10-17)
และนาสมการ ง. รวมกับสมการ จ. รวมกับสมการ ฉ. จะได้สมการ ช. และ Kช.
½ N2(g) + 3/2 H2(g) + ½ H2(g) + ½ Cl2(g) + NH3(g) + HCl(g)
NH3(g) + HCl(g) + NH4Cl(s)
นามารวมกัน
ซึ่งก็คือ ช. ½ N2(g) + 2H2(g) + ½ Cl2(g) NH4Cl(s)
Kช. = Kง. x Kจ. x Kฉ.

= (6.80  10 )  (2.52  10 )
5 33

7.31  10 −17
= 5.66 x 1035 #

8. การคานวณค่าคงที่สมดุล
ค่าคงที่สมดุลเป็ นสัดส่วนของความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กบั ความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่สภาวะสมดุล
การคานวณหาค่า K จึงกาหนดให้เป็ นความเข้มข้นทีจ่ ุดสมดุลเท่านั้น
8.1 การคานวณทีก่ าหนดความเข้มข้นที่จุดสมดุลมาให้
การหาค่า K วิธีน้ ี โจทย์ได้กาหนดความเข้มข้นที่จดุ สมดุลมาให้แล้ว จึงทาให้สามารถแทนค่าความ
เข้มข้นในสมการค่าคงที่สมดุลได้ ซึ่งจะทาให้ได้คาตอบ
ตัวอย่างที่ 13.13
แก๊ส N2, H2 และ NH3 อยู่ในสภาวะสมดุลที่ภาชนะ 1 ลิตร ดังสมการ N2 + 3H2(g) 2NH3(g)
ณ สภาวะสมดุลพบความเข้มข้นของ N2 = 0.300 โมล, H2 = 0.200 โมล และ NH3 = 0.800 โมล ให้หา
ค่าคงที่สมดุล
วิธีทา
เนื่องจากโจทย์ได้กาหนดความเข้มข้นที่สภาวะสมดุลมาให้ และโจทย์ได้ระบุว่าเกิดขึ้นในภาชนะ 1 ลิตร
ดังนั้น ความเข้มข้นที่สภาวะสมดุล จึงอยู่ในหน่วย โมลต่อลิตร ซึ่งก็คือ โมลาร์
อย่าลืม [ ] เป็ นความเข้มข้นที่สภาวะสมดุล ในหน่วยโมลาร์
[H2 ]2
Kc =
[N2 ][H2 ]3
ที่จุดสมดุล N2 = 0.300 โมล/ลิตร
H2 = 0.200 โมล/ลิตร
NH3 = 0.800 โมล/ลิตร
(0.800)2
แทนค่า Kc =
(0.3)(0.2)3

= 267 #
ตัวอย่างที่ 13.14
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทาปฏิกิริยากับออกซิเจนในภาชนะ 3 ลิตร ดังสมการ
2SO2(g) + O2(g) 2SO3(g)
ณ สภาวะสมดุล พบว่ามี SO3 = 0.96 กรัม, SO2 = 25.6 กรัม และ O2 = 19.2 กรัม ให้หา Kc
วิธีทา
เนื่องจากโจทย์ได้กาหนดมวลของสารในหน่วยกรัม ดังนั้นจะต้องทาให้แต่ละสารอยู่ในหน่วยความ
เข้มข้นที่เป็ นโมลาร์ จึงต้องแปลงจากกรัมเป็ นโมลด้วยการหารด้วยมวลโมเลกุลแล้วนาปริ มาตร 3 ลิตรไปหาร
จะทาให้ได้ความเข้มข้นเป็ นโมลต่อลิตร ซึ่งก็คือ โมลาร์
[SO3 ]2
Kc =
[SO2 ]2 [O2 ]
ที่จุดสมดุล ความเข้มข้นหน่วยเป็ นโมล/ลิตร
มวลโมเลกุล SO3 = 80, [SO3] = 0.96
80×3
= 0.004 โมล/ลิตร
มวลโมเลกุล SO2 = 64, [SO2] = 25.6
64×3
= 0.13 โมล/ลิตร
มวลโมเลกุล O2 = 32, [O2] =
19.2
32×3
= 0.2 โมล/ลิตร
(0.004)2
Kc = (0.13)2 (0.2)

= 4.73 x 10-3 #
8.2 การคานวณทีก่ าหนดความเข้มข้นที่จุดเริ่ มต้นมาให้
การหาค่า K วิธีน้ ี โจทย์กาหนดความเข้มข้นที่จุดเริ่ มต้นมาให้ ซึ่งการเข้าสู่สภาวะสมดุลนั้นสามารถแบ่งออกได้
เป็ น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ①ขั้นเริ่มต้น ② ขั้นเปลี่ยนแปลง และ ③ขั้นสมดุล อธิบายได้ดงั ภาพที่ 13.3




ความเข้มข้น

② เวลาที่สภาวะสมดุล

เวลา
ภาพที่ 13.4 การเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน ในปฏิกิริยาผันกลับได้

จากภาพที่ 13.4 จะพบการเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นมี 3 ขั้นตอน คือ ① ที่จุดเริ่ มต้นความเข้มข้นของ


สารตั้งต้นจะมีค่าที่สูง เมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของสารตั้งต้นจะลดลง ซึ่งทาให้เกิดจุดที่ ② เรี ยกว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จนกระทัง่ ความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าที่คงที่ในสภาวะสมดุลซึ่งก็คือ จุดที่ ③
และหากพิจารณาผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาที่ผนั กลับได้ จะพบว่าที่จุด ① ซึ่งเป็ นจุดเริ่ มต้นผลิตภัณฑ์มี
ความเข้มข้นเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ยงั ไม่เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น
(ในขณะทีค่ วามเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง) จึงทาให้เกิดจุดที่ ② เรี ยกว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จนกระทัง่
ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์มีค่าคงที่ในสภาวะสมดุลซึ่งก็คอื จุดที่ ③
ดังนั้นในกรณีที่โจทย์กาหนดความเข้มข้นของสารที่จุดเริ่ มต้นมาให้ จะต้องคานึงถึง 3 ขั้นตอนดังกล่าว
นี้ดว้ ย กล่าวคือ ขั้นเริ่ มต้น (initial) ① นั้น ส่วนใหญ่โจทย์กาหนดให้ ส่วนขั้นเปลี่ยนแปลง (change) ②ให้
คานึงว่าเป็ นสารตั้งต้นหรื อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากหากเป็ นสารตั้งต้นแล้วความเข้มข้นของสารตั้งต้นจะลดลง ซึ่ง
ต้องมีการเชื่อมโยงไปยังสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีที่ดุลแล้วด้วย แต่หากเป็ นผลิตภัณฑ์แล้วความเข้มข้นของ
ผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยงไปยังสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีที่ดุลแล้วเช่นกัน และขั้นสมดุล
(equilibrium) ③เป็ นการรวม 2 ขั้นตอน ซึ่งจะถูกนาไปใช้ในการคานวณเพื่อหาค่าคงที่สมดุล
ตัวอย่ างที่ 13.15
ให้หาความเข้มข้นทีจ่ ุดสมดุลของ H2, I2 และ HI ที่อุณหภูมิ 27 oC หากกาหนดความเข้มข้นเริ่ มต้นของ H2
เท่ากับ 0.1 M และความเข้มข้นเริ่ มต้นของ I2 เท่ากับ 0.2 M โดยค่าคงที่สมดุลเท่ากับ 57 และกาหนดปฏิกิริยา
เป็ น H2(g) + I2 (g) 2HI(g)
วิธีทา
ทาการแยก 3 ขั้นตอน และระบุความเข้มข้นใน 3 ขั้นตอน
จากปฏิกิริยา H2(g) + I2 (g) 2HI(g)
เริ่ มต้น (โมล/ลิตร) 0.1 0.2 0
เปลี่ยนแปลง (โมล/ลิตร) -x -x 2x
สมดุล (โมล/ลิตร) 0.1-x 0.2-x 2x
[𝐻𝐼 ]2
𝐾 =
[𝐻2 ][𝐼2 ]
[2x]2
57 =
[0.1 − x][0.2 − x]
ต้องการหาค่า x จึงใช้สมการกาลังสอง (quadratic equation) โดยจัดรู ปแบบสมการให้เป็ น ax2 + bx + c = 0
−𝑏±√𝑏2 −4𝑎𝑐
แล้วใช้สูตร 𝑥 =
2𝑎
[2x]2
และเมื่อนา 57 = [0.1−x][0.2−x]
มาจัดรู ปให้เป็ น ax2 + bx + c = 0

จะได้ 53x2 - 17.1x + 1.14 = 0


ดังนั้น a = 53 b = -17.1 c = 1.14
เมื่อแทนค่าลงในสูตรเพื่อหา x
−𝑏±√𝑏2 −4𝑎𝑐 −(−17.1)±√(−17.1)2 −4(53)(1.14)
𝑥 = = 𝑥 =
2𝑎 2(53)
x = 0.228 และ 0.093
ตัดตัวเลข 0.228 ทิ้ง เพราะความเข้มข้นเริ่ มต้นที่สูงคือ 0.2 ซึ่งเป็ นไปไม่ได้ที่ค่าตัวเลขที่ได้จะสูงกว่า
ความเข้มข้นเริ่ มต้น ดังนั้น x ที่เหมาะสม คือ 0.093
ที่จุดสมดุล (โมล/ลิตร)
H2 มีความเข้มข้น = 0.1-x = 0.1-0.093 = 7 x 10-3 M #
I2 มีความเข้มข้น = 0.2-x = 0.2-0.093 = 0.107 M #
HI มีความเข้มข้น = 2x = 2(0.093) = 0.186 M #
ตัวอย่ างที่ 13.16
ให้หาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา A + 2B 2C
ถ้าสมการ A 1 โมลกับสาร B 1.5 โมล ในภาชนะขนาด 2 ลิตร เมื่อถึงจุดสมดุลได้ความเข้มข้นของ C เท่ากับ
0.35 โมลต่อลิตร
วิธีทา
จากปฏิกิริยา A + 2B 2C
เริ่ มต้น (โมล/ลิตร) 1/2 1.5/2 0
เปลี่ยนแปลง (โมล/ลิตร) -0. 175 -0.35 0.35
สมดุล (โมล/ลิตร) 0.325 0.40 0.35
[C]2
K = [A][B]2
(0.35)2
K = (0.325)(0.40)2

= 2.36 #
ตัวอย่างที่ 13.17
จากการเผาของ PCl3 0.08 โมล ในภาชนะ 2 ลิตร ให้ความร้อน 300 oC เมื่อรอถึงสมดุลพบว่าจะเกิด Cl2
0.05 โมล ให้หาค่าคงที่สมดุล
วิธีทา
จากปฏิกิริยา PCl5 (g) PCl3 + Cl2(g)
เริ่ มต้น (โมล/ลิตร) 0.08/2 0 0
เปลี่ยนแปลง (โมล/ลิตร) - 0.025 0.025 0.025
สมดุล (โมล/ลิตร) 0.015 0.025 0.05/2
[PCl3 ] [Cl2 ]
K =
[ PCl5 ]
(0.025)(0.025)
แทนค่า K =
(0.015)
= 0.0417 #
ตัวอย่างที่ 13.18
กาหนดปฏิกริ ิ ยาให้เกิดขึ้นในภาชนะ 1 ลิตร มี E 5.0 โมล, F 7.0 โมล และเมื่อถึงจุดสมดุล มี G 4.5 โมล
ปฏิกิริยาจะมีค่าคงที่สมดุลเท่าใดในสมการ E + F G + H
วิธีทา
จากปฏิกิริยา E + F G + H
เริ่ มต้น (โมล/ลิตร) 5 7 0 0
เปลี่ยนแปลง (โมล/ลิตร) -4.5 -4.5 4.5 4.5
สมดุล (โมล/ลิตร) 0.5 2.5 4.5 4.5
[G][H]
K = [E][F]

แทนค่า K =
(4.5)(4.5)
(0.5)(2.5)

= 16.2 #

9. หลักของเลอชาเตอลิเอและแฟกเตอร์ ที่มผี ลต่อสมดุลเคมี


หลักของเลอชาเตอลิเอ ( Le Chatelier ‘s Principle ) ได้กล่าวถึงสภาวะ
สมดุลต่างๆ ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาวะใดๆ เป็ นรบกวนสภาวะของระบบ
ทาให้ระบบจะมีการปรับสมดุลใหม่ไปในทิศทางที่จะลดการเปลี่ยนแปลง
ให้น้อยลง” ซึ่งหลักนี้สามารถทานายทิศทางของปฏิกิริยาได้ โดยอธิบาย
การปรับตัว ของระบบเมื่อสมดุ ลของระบบถูก รบกวนการเปลี่ ยนแปลง
ปัจจัยหรื อสภาวะใดๆ ทาให้มีผลต่อสภาวะสมดุลของระบบ เพื่อให้ระบบ
เข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง
Henri Louis Le Chatelier

ทั้งนี้หลักของเลอชาเตอลิเอ สามารถให้อธิบายการเปลี่ยนภาวะสมดุลเมื่อระบบถูกรบกวนโดยปัจจัยที่มี
ผลต่อภาวะสมดุลทาให้ทราบว่าเมื่อระบบถูกรบกวนระบบจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด(ไปข้างหน้า หรื อ
ย้อนกลับ) และที่สมดุลใหม่ปริ มาณสารแต่ละชนิดเป็ นอย่างไรเมื่อเทียบกับภาวะสมดุลเดิม
ปัจจัยที่สามารถทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาที่อยู่ในสภาวะสมดุล ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
ความเข้มข้นของสาร การเปลี่ยนแปลงความดันและปริ มาตร และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มีดงั นี้
9.1 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร
การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นสารใดสารหนึ่งจะทาให้ระบบปรับตัวโดยการเกิดปฏิกิริยาไป
ข้างหน้าเพิ่มขึ้น และเข้าสู่ระบบสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร เช่น สมดุลระหว่างไอร์ออน (III) ไนเตรท; Fe(NO3)3 กับ
แอมโมเนียไทโอไซยาเนต ; NH4SCN
Fe3+(aq) + SCN-(aq) [FeSCN]2+(aq) …………15)
สีเหลือง ไม่มีสี สีแดง

(a) (b) (c) (d) (e)


ภาพที่ 13.5 การเปลี่ยนแปลงของสีเมื่อมีการรบกวนสภาวะสมดุลของการเติมสารละลายชนิดต่างๆ
(a) สีที่เกิดขึ้นจากการนา Fe3+(aq) ผสมกับ SCN-(aq) ทาให้เกิด [FeSCN]2+(aq) :เป็ นสีเปรี ยบเทียบ
(b) สีที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มสารละลาย Fe3+
(c) สีที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มสารละลาย SCN-
(d) สีที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มสารละลาย H2C2O4
(e) สีที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มสารละลาย HgCl2
ที่มา : McMurry, Fay, Kristen, 2016.

Fe3+ ใน Fe(NO3)3 มีสีเหลือง เมื่อทาปฏิกิริ ยากับ SCN- ใน NH4SCN ที่ไม่มีสี จะได้สารละลาย


สี แดงของ [FeSCN]2+ เมื่อความเข้มข้นของสี คงที่ แสดงว่าในขณะนั้นระบบอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เมื่อเติ ม
สารตั้งต้น Fe3+ หรื อ SCN- ตัวใดตัวหนึ่งลงไป จะพบว่าสารตั้งต้นดังกล่าวจะทาให้ระบบมีความเข้มข้นของสาร
นั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตเห็นสารละลายผสมสี แดงเข้มขึ้น ดังภาพที่ 13.5 (b) เมื่อเติม Fe3+ และภาพที่ 13.5
(c) เมื่อเติม SCN- แสดงว่าระบบเกิดการปรับตัวเกิดผลิตภัณฑ์ [FeSCN]2+ เพิ่มขึ้นและในที่สุดสี จะคงที่อีกครั้ง
แสดงว่าระบบเข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง
ในทางตรงกันข้ามกรณีที่ทาให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง ระบบจะปรับตัวโดยเกิดปฏิกิริยา
ย้อนกลับมากขึ้น และสุ ด ท้ายระบบจะเข้าสู่ สมดุลอีกโดยทาให้ผลิตภัณ ฑ์มีปริ มาณน้อยกว่าที่สมดุลเดิม ดัง
ตัวอย่าง 2 กรณี เช่น การเติมสารละลายออกซาลิก (H2C2O4) ซึ่งให้ไอออน C2O42- ที่เข้าทาปฏิกิริยากับ Fe3+ เกิด
เป็ นสารเชิ ง ซ้ อ นของ Fe(C2O4)3- ดัง สมการ 16) ท าให้ ค วามเข้ม ข้น ของสารตั้ง ต้น : Fe3+ ลดลง จึ ง ท าให้
สังเกตเห็นสี เหลืองอ่อน ดัง ภาพที่ 13.5 (d) หรื อ การเติมสารละลายเมอคิวริ กคลอไรด์ (HgCl2) ซึ่งให้ไอออน
Hg2+ ที่เข้าทาปฏิกิริยากับ SCN- เกิดเป็ นสารเชิงซ้อนของ Hg(SCN)42- ดังสมการ 17) จึงทาให้ความเข้มข้นของ
สารตั้งต้น : SCN- ลดลง จึงทาให้สังเกตเห็นสีเหลืองอ่อนมากๆ หรื ออาจไม่มีสี ดังภาพที่ 13.5 (e)
3H2C2O4(aq) + Fe3+(aq) → Fe(C2O4)3-(aq) + 6H+(aq) …………16)
H2C2O4(aq) + 4 SCN- (aq) → Hg(SCN)42-(aq) + 2Cl-(aq) …………17)
ดังนั้น การเปลี่ย นแปลงความเข้มข้น ของสารนั้น ไม่มีผลต่ อค่าคงที่สมดุ ล (K) แต่ จ ะส่ งผลต่ อ
ตาแหน่งของสภาวะสมดุล โดยทาให้ทิศทางของระบบเปลี่ยนไป
9.2 การเปลี่ยนแปลงความดันหรื อปริ มาตร
การเปลี่ยนแปลงความดันจะมีผลต่อสภาวะสมดุลเมื่อระบบเป็ นแก๊สเท่านั้น เมื่อเพิ่มความดันใน
ระบบให้แก่แก๊สจะพบว่าระบบพยายามปรับตัวในทิศทางที่จะลดความดันลง เพื่อให้เข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง แต่
ในทางกลับกันถ้าลดความดันของแก๊สในระบบที่อยู่ในสภาวะสมดุลจะทาให้ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่เพิ่ม
ความดันแล้วเข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง
หลักการพิจารณาทิศทางของสมดุลเคมีของแก๊สจะสามารถดูจากจานวนโมลรวมของสารตั้งต้นกับ
จานวนโมลรวมของผลิตภัณฑ์ได้ดงั ต่อไปนี้
• เมื่อจานวนโมลรวมของสารตั้งต้นเท่ากับจานวนโมลรวมของผลิตภัณฑ์แล้วการเปลี่ยนแปลง
ความดันจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสมดุล
N2(g) + O2(g) 2NO(g)
1 1 2
• เมื่อจานวนโมลรวมของสารตั้งต้นมากกว่าจานวนโมลรวมของผลิตภัณฑ์ หากแบ่ง
ความดันออกเป็ น 2 กรณี จะพบว่า
3 F2(g) + Cl2(g) 2ClF3(g)
3 1 2
 เมื่อเพิ่มความดัน จะทาให้ทิศทางของปฏิกิริยาดาเนินจากซ้ายไปขวา
อธิบายว่า จากปฏิกิริยา F2 3 โมเลกุลกับ Cl2 1 โมเลกุล รวม 4 โมเลกุล ทาปฏิกิริยาให้ ClF3 2 โมเลกุล
ซึ่งปฎิกิริยาไปข้างหน้า จะเป็ นการลดจานวนโมเลกุลและลดปริ มาณจะต้องเพิม่ ความดัน ส่วนปฏิกิริยาย้อนกลับ
เป็ นการเพิ่มจานวนโมเลกุลและเพิ่มปริ มาตรจะต้องลดความดันแก่ระบบ ดังนั้นการเพิ่มความดันจะทาให้
ทิศทางของปฏิกิริยาดาเนินจากซ้ายไปขวา จึงทาให้ผลิตภัณฑ์ ClF3 เกิดมากขึ้น
 การลดความดันจะทาให้ทิศทางของปฏิกิริยาย้อนกลับ เกิดสารตั้งต้น F2 และ Cl2
มากขึ้น
• เมื่อจานวนโมลของแก๊สของสารตั้งต้นน้อยกว่าจานวนโมลรวมของแก๊สที่เป็ นผลิตภัณฑ์
หากแบ่งความดันออกเป็ น 2 กรณี จะพบว่า
PCl5(aq) PCl3(aq) + Cl2(aq)
1 1 1
 การเพิ่มความดันจะทาให้สมดุลไปทางซ้ายมือ (ย้อนกลับ)
อธิบายว่า ความเข้มข้นของ PCl3 และ Cl2 จะลดลงและความเข้มข้นของ PCl5 จะเพิม่ ขึ้น การเพิม่ ความดัน
จะทาให้สมดุลไปทางซ้ายมือ (ไปข้างหน้า) พบว่าความเข้มข้นของ PCl3 และ Cl2 จะลดลงและความเข้มข้น
ของ PCl5 จะลดลง
 การลดความดันจะทาให้ทิศทางของปฏิกิริยาไปข้างหน้า เกิดผลิตภัณฑ์ PCl3 และ
Cl2 มากขึ้น
ทั้งนี้ผลของปริ มาตรจะสามารถพิจารณาความดันได้เพราะปริ มาตรเพิม่ จะทาให้ความดันลดลงหรื อถ้า
ปริ มาตรลดจะทาให้ความดันเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การเติมแก๊สเฉื่อยหรื อแก๊สที่ไม่ทาปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ลงในระบบของแก๊สที่อยู่ในภาวะ
สมดุล จะมีผลทาให้ความดันทั้งหมดภายในระบบเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ทาให้ความเข้มข้นของแก๊สหรื อความดันย่อย
ของแก๊ส โดยเปลี่ยนแปลง
จึงขอสรุ ปความสัมพันธ์ของความดันและปริ มาตรที่มตี ่อสมดุลของสมการเคมีดงั นี้
การเปลี่ยนแปลงความดันที่มีผลต่อสภาวะสมดุลเฉพาะในระบบที่มีสารเป็ นแก๊สเท่านั้น
การเพิ่มความดันในระบบ ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่มี จานวนโมลรวมของแก๊สน้อยกว่า
การลดความดันในระบบ ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่มี จานวนโมลรวมของแก๊สมากกว่า

เพิ่ม ปริ มาตร (ลดความดัน) จะทาให้สมดุลมีทิศทางไปด้านที่มีจานวนโมลของแก๊สมากกว่า


ลด ปริ มาตร (เพิ่มความดัน) จะทาให้สมดุลมีทิศทางไปด้านที่มีจานวนโมลของแก๊สน้อยกว่า

9.3 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
อุณหภูมิมีผลต่อสมดุลเคมีว่าดาเนินไปข้างหน้าหรื อย้อนกลับต้องพิจารณาก่อนว่าปฏิกิริยาเคมีน้นั
เป็ นดูดหรื อคายความร้อน หากปฏิกิริยาเป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจะส่ งผลให้ระบบดาเนินไป
ข้างหน้ามากขึ้นแต่หากลดอุณหภูมิจะส่ งผลให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ ปฏิกิริยาจะไปข้างหน้าเพราะปฏิกิริยาการ
เกิด NO เป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน
ดูดความร้อน

N2(g) + O2(g) 2NO(g)


คายความร้อน
ในทางกลับกันหากปฏิกิริยาเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อนเมื่อลดอุณหภูมิจะส่ งผลให้ปฏิกิริ ยา
ดาเนินไปข้างหน้า แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิปฏิกิริยาจะเกิดย้อนกลับ
สรุ ป ถ้าเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ระบบที่มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน ระบบจะ
ปรับตัวทาให้เกิดปฏิกริ ิ ยาไปข้างหน้ามากขึ้น เกิดผลิตภัณฑ์มากในขณะที่สารตั้งต้นลดลง
ส่วนการลดอุณหภูมิ ให้พิจารณาด้วยเหตุผลที่คล้ายกับการเพิ่มอุณหภูมิ ปฏิกริ ิ ยาดูดความร้อน
หรื อคายความร้อนพิจารณาได้จากค่าเอนทัลบีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
∆H > 0 (เอนทัลบีจะให้ค่าบวก) เกิดปฏิกริ ิยาดูดความร้อน
∆H < 0 (เอนทัลบีจะให้ค่าลบ) เกิดปฏิกิริยาคายความร้อน
ตัวอย่างเช่น
ปฎิกิริยาคายความร้อน คายความร้อน
N2(g) + 3H2(g) 2NH3(g) ∆ E = -22 kcal
ดูดความร้อน

C2H4(g) + 3H2(g) C2H6(g) ∆Ho = -149 kcal


2CO(g) + O2(g) CO2(g) + energy
- หากมีการเพิ่มอุณหภูมิในปฏิกิริยาคายความร้อนจะทาให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
- หากมีการเพิ่มอุณหภูมิในปฏิกิริยาคายความร้อนจะทาให้คา่ K ลดลง
- หากมีการลดอุณหภูมิในปฏิกิริยาคายความร้อนจะทาให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า
ปฎิกิริยาดูดความร้อน
ดูดความร้อน
N2(g) + O2(g) 2NO(g) ∆E = 43.5 kcal
คายความร้อน

I2(g) 2I_(g) ∆Ho = +150 kJ/mol I2


PCl5(g) + energy PCl3 (g) + Cl2(g)
- หากมีการเพิ่มอุณหภูมิในปฏิกิริยาดูดความร้อนจะทาให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า
- หากมีการลดอุณหภูมิในปฏิกิริยาดูดความร้อนจะทาให้ค่า K เพิ่มขึ้น
- หากมีการเพิ่มอุณหภูมิในปฏิกิริยาดูดความร้อนจะทาให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
ทั้งนีการเติมคะตาลิสต์ลงไปในปฏิกิริยา จะช่วยทาให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น หรื อทาให้อตั ราการ
เกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นปฏิกริ ิ ยาจะดาเนินไปสู่สภาวะสมดุลได้เร็วขึ้น แต่คะตาลิสต์ไม่มีผลต่อค่าคงที่ของสมดุลแต่
อย่างใด
ตัวอย่างที่ 13.19
ให้อธิบายทิศทางของปฏิกิริยาต่อไปนี้เมื่อลดอุณหภูมิและลดความดันจากภายนอก
ก. 2H2O(g) 2H2 + O2(g) ∆H = 484 kJ
ข. N2 + O2(g) 2NO(g) ∆H = 181 kJ
ค. N2 + 3H2(g) 2NH3(g) ∆H = -92.2 kJ
ง. 2O3(g) 3O2(g) ∆H = -285 kJ
จ. H2 + F2(g) 2HF(g) ∆H = 154 kJ
วิธีทา
ก. 2H2O(g) 2H2 + O2(g) ∆H = 484 kJ
- ปฏิกริ ิ ยาไปข้างหน้า เพราะเป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน
- การลดอุณหภูมจิ ะทาให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ ทาให้ผลิตภัณฑ์ (H2 และ O2 ) เกิดขึ้นน้อย และมี
สารตั้งต้น (H2O) มากขึ้น
- การลดความดันจากภายนอกจะทาให้ผลิตภัณฑ์เกิดมากขึ้นเพราะจานวนโมลรวมของ
ผลิตภัณฑ์มากกว่าจานวนโมลรวมของสารตั้งต้น
ข. N2 + O2(g) 2NO(g) ∆H = 181 kJ
- ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพราะเป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน
- การลดอุณหภูมจิ ะทาให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
- การลดความดันจากภายนอกจะไม่มีผลต่อสมดุลเพราะจานวนโมลของสารตั้งต้นเท่ากับจานวน
โมลรวมของผลิตภัณฑ์
ค. N2 + 3H2(g) 2NH3(g) ∆H = -92.2 kJ
- ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพราะเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อน
- การลดอุณหภูมิเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น ทาให้ผลิตภัณฑ์มีมากขึ้น
- การลดความดันจากภายนอกทาให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ มีสารตั้งต้นมากขึ้น (จากจานวนโมล
รวมของแก๊ส)
ง. 2O3(g) 3O2(g) ∆H = -285 kJ
- ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพราะเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อน
- การลดอุณหภูมิเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ทาให้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- การลดความดันจากภายนอกเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ทาให้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น
จ. H2 + F2(g) 2HF(g) ∆H = 154 kJ
- ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพราะเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อน
- การลดอุณหภูมิเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ มีสารตั้งต้นเพิ่มขึ้น
- การลดความดันจากภายนอกไม่มีผลต่อสมดุลเคมี
หลักของเลอชาเตอลิเอได้ถูกนาไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม โดยมีหลักการว่า ต้องพยายามหา
วิธีการที่จะเปลี่ยนวัตถุดิบ เพื่อทาให้เกิดผลิตภัณฑ์มากที่สุด เช่น ในกระบวนการผลิตแก๊สแอมโมเนีย (NH3)
และแยกแก๊สแอมโมเนียออกมาโดยการอัดแก๊สผสมในความดันสูงแล้วลดอุณหภูมิ จะได้แอมโมเนียเป็ น
ของเหลวในขณะที่แก๊สไนโตรเจน (N2) ยังคงเป็ นแก๊สอยู่ดงั สมการ
N2 + 3H2(g) 2NH3(g) ∆H = -92.2 kJ
หรื อการเตรี ยมแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) จากสมการ
ดูดความร้อน
SO2(g) + O2(g) SO3(g)
คายความร้อน

เพื่อให้ได้ SO3 ในปริ มาณที่สูงก็ทาการลดอุณหภูมิของระบบและจากการที่มี SO3 จะทาให้ความดันของ


ระบบลดลง ซึ่งถ้าเพิ่มความดันให้แก่ระบบจะทาให้ SO3 มากขึ้นด้วย สภาวะที่เหมาะสมในทางอุตสาหกรรม
ในการเตรี ยม SO3 คืออุณ หภูมิประมาณ 450 oC ความดัน 330 บรรยากาศ มีว าเนเดี ยมเพนตะออกไซด์
(V2O5) หรื อแพลทินมั เป็ นตัวเร่ งปฏิกิริยา

สรุปสาระที่สาคัญ
1. สมดุลเคมี เป็ นสมดุลไดนามิกซึ่งเป็ นสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หยุดนิ่ง
เกิดขึ้นภายในระบบปิ ด โดยที่อตั ราเร็วของปฎิกิริยาไปข้างหน้า (forward reaction) จะเท่ากับอัตราการ
เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (reverse reaction)
2. สมดุลเคมีแบ่งออกเป็ น 2 ชนิด ได้แก่ สมดุลเชิงเดี่ยวและสมดุลแบบผสม
3. K คือ ค่าคงที่สมดุล เป็ นค่าที่สามารถบอกทิศทางของปฏิกิริยาว่าดาเนินไปข้างหน้าหรื อเกิดปฏิกิริยา
ย้อนกลับ
4. การหาค่า K ทาได้โดยพิจารณาจากปฏิกิริยาที่ดุลแล้ว : aA + bB cC + dD แล้ว
K =
C  D 
c d
เมื่อ [ ] แทนความเข้มข้นทีจ่ ุดสมดุลในหน่วยโมลาร์ แต่หากสมการเคมีมีสาร
Aa Bb
ที่อยู่ในสถานะแก๊สด้วยแล้วยังสามารถใช้ค่าคงที่สมดุลในเทอมของความเข้มข้นได้ จึงทาให้เกิด
PCc . PDd
Kp =
PAa . PBb
5. K กับ Kp มีความสัมพันธ์กนั คือ K P = K C (RT )n โดยที่ n คือผลต่างของผลรวมจานวน
โมลของผลิตภัณฑ์และผลรวมจานวนโมลของสารตั้งต้น โดยคิดเฉพาะแก๊สเท่านั้น ซึ่งหาก n = 0
จะทาให้ K = Kp
6. เลอชาเตอลิเอ ( Le Chatelier ‘s Principle ) ได้กล่าวถึงสภาวะสมดุลไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาวะใดๆ เป็ น
การรบกวนสภาวะของระบบ ทาให้ระบบจะมีการปรับสมดุลใหม่ไปในทิศทางที่จะลดการเปลี่ยนแปลง
ให้นอ้ ยลง”
7. ปัจจัยที่สามารถทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาที่อยู่ในสภาวะสมดุล ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
ความเข้มข้นของสาร การเปลี่ยนแปลงความดันและปริ มาตร และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
8. การเติมตัวเร่ งปฏิกิริยาหรื อที่เรี ยกว่าคะตาลิสต์ไม่ได้ส่งผลต่อสมดุลเคมีแต่อย่างใด คะตะลิสต์จะช่วย
ทาให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น หรื อทาให้อตั ราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นปฏิกิริยาจะดาเนินไปสู่สภาวะ
สมดุลได้เร็วขึ้นเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
1. รานี สุวรรณพฤกษ์. 2559. เคมีทั่วไป เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุ งเทพฯ : วิทยพัฒน์.
2. ลัดดา มีศุขใ 2548. เคมีทั่วไป เล่ม 1 ฉบับรวบรัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุ งเทพฯ : สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน, สรณ์นริ นทร์ บังเกิดผล และอาทิตย์ สกุลตันติเมธา. 2554. เคมีทั่วไปสาหรับ
วิศวกร. กรุ งเทพฯ : บริษทั ทริ ฟเพิ้ล กรุ๊ป จากัด.
4. อินทิรา หาญพงษ์พนั ธ์ และบัญชา พูลโภคา. 2554. เคมีทั่วไป สาหรับนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุ งเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. Averill, Eldredge. 2007. Chemistry : Principles, Patterns and Application, Pearson.
6. Brown L. , Holme T. A. 2010. Chemistry for Engineering Students, 2nd ed. Thomson Brook
Cole.
7. Chang R. 2010. Chemistry. 11th ed. New York : McGraw-Hill.
8. Chang R., Goldsby K. A. 2013. Chemistry. 11th ed. New York : McGraw-Hill.
9. Ebbing, D.D. and Gammon, S.D. 2007. General Chemistry. 9th ed. United State of America :
Houghton Mifflin Company.
10. Flowers, P. et al. 2017. Chemistry. United State of America : OpenStax.
11. McMurry, J.E., Fay, R.C., Robinson, J.K. Chemistry. 7th ed. 2016, Pearson)
12. Pretrucci, R.H., Harwood, W.S. & Herring, F.G. 2002. General Chemistry-Principles and
Modern Applications. 8th ed. N.J. : Prentic Hall.
13. Ryan, L. and Norris, R. 2014. Cambridge International AS and A Level Chemistry Coursebook, 2nd
ed. Cambridge : Cambridge University Press.

14. Silberberg M. S. 2013. Principle of General Chemistry. New York: McGraw-Hill.


15. White, D.P. 2002. General Chemistry. [online], Available HTTP :
http://www.chem.neu.edu/courses/reiff/download/
16. Whitten, K.W., Davis, R.E., Peck, L., Stanley, G.G., 2003. General Chemistry. 7th ed. Brooks Cole.
17. Zumdahl, S.S. and Zumdahl, S.A. 2007. Chemistry. 7th ed. United State of America :
Houghton Mifflin Company.
แบบฝึ กหัด
1. ให้เขียนสมการเพื่อแสดงค่า Kc และ Kp ของปฏิกิริยาต่อไปนี้
1) CO2(g) + H2(g) CO(g) + H2O(g)
2) SrCO3(s) SrO(s) + CO2(g)
3) 2CHCl3(g) + 3H2(g) 2CH4(g) + 3Cl2(g)
4) NaF(s) + H2SO4(l) NaHSO4(s) + HF(g)
5) 2ZnS(s) + 3O2(g) 2ZnO(s) + 2SO2(g)
6) 4H3O+(aq) + 2Cl–(aq) + MnO2(s) Mn2+(aq) + 6H2O(l) + Cl2(aq)
7) As4O6(s) + 6C(s) As4(g) + 6CO(g)
2. ปฏิกิริยา 2Cl2(g) + 2H2O(g) 4HCl(g) + O2(g) H0 = +115 kJ/mol
มี Kp = 4.6 × 10–14 ให้หาค่า Kc ของปฏิกิริยาที่ 400
3. ที่ 500 K ปฏิกิริยา H2(g) + Br2(g) 2HBr(g) มี Kc = 7.9 × 10–11 ให้หาค่า Kc ของปฏิกิริยา
1) ½ H2(g) + ½ Br2(g) HBr(g)
2) 2HBr(g) H2(g) + Br2(g)
3) 4HBr(g) 2H2(g) + 2Br2(g)
4. กาหนดค่าคงตัวสมดุลของปฏิกิริยาที่อณ ุ หภูมิ 823 K ดังนี้
CoO(s) + H2(g) Co(s) + H2O(g) K-1 = 67
CoO(s) + CO(g) Co(s) + CO2(g) K-2 = 490
ให้หาค่า K-3 ของปฏิกิริยาต่อไปนี้
CO2 (g) + H2 (g) CO(g) + H2O(g) K-3 = ?
5. ปฏิกิริยา N2(g) + O2(g) 2NO(g) ที่ภาวะสมดุลที่ 1500 K พบว่ามีความเข้มข้นของ
O2 = 1.7 × 10–3 mol/L, N2 = 6.4 × 10–3 mol/L และ NO = 1.1 × 10–5 mol/L ให้หาค่า Kc ของ
ปฏิกิริยาที่อุณหภูมิเดียวกัน
6. ปฏิกิริยา H2(g) + Br2(g) 2HBr(g) ที่ 425 OC จุดสมดุลพบว่า PHBr = 0.708 atm และ PH2 = PBr2
= 0.096 atm ให้หาค่า Kp
7. ปฏิกิริยา 2H2S (g) 2H2 (g) + S2 (g) ที่สภาวะสมดุล พบว่ามี H2S 2.0 mole, H2 0.40 mole
และ S2 1.6 mole ในภาชนะขนาด 2 L ค่าคงที่ที่สภาวะสมดุลเป็ นเท่าใด
8. ในภาชนะปิ ดเริ่ มต้น มี H2 จานวน 9.84 × 10–4 mol และ I2 จานวน 1.38 × 10–3 mol จากนั้นให้อุณหภูมิ
กับภาชนะปิ ดที่ 350 OC จนกระทัง่ ปฏิกิริยา H2(g) + I2(g) 2HI(g) เข้าสู่ภาวะสมดุล ที่สมดุล
พบว่ามี I2 จานวน 4.73 × 10–4 mol
1) ให้หาจานวนโมลของ H2 และ HI ที่สมดุล
2) ให้หาค่า Kc
9. 2H2S(g) + O2(g) 2S(s) + 2H2O(g) ให้ Kc = 3.5 x 108 ทิศทางของปฏิกิริยาไปข้างหน้า หรื อ
ย้อนกลับ
10. 2CO(g) + O2(g) 2CO2(g)
1) ถ้าเพิ่มความดันให้กบั ปฏิกิริยาแล้วทิศทางของปฏิกริ ิ ยาไปข้างหน้าหรื อย้อนกลับ
2) ถ้าลดความดันให้กบั ปฏิกิริยาแล้วทิศทางของปฏิกริ ิ ยาไปข้างหน้าหรื อย้อนกลับ
3) ถ้าต้องการให้สมดุลเลื่อนจากซ้ายไปขวา ต้องลดหรื อเพิ่มความดัน
11. สมมติว่าปฏิกิริยา A(g) + 3B(g) 2C(g) + 3D(g) เป็ นปฏิกิริยาดูดความร้อน ให้พิจารณาปัจจัยที่
กาหนดให้ในข้อ 1) – ข้อ 4) แล้วตอบว่า ปฏิกริ ิ ยาจะดาเนินไปในทิศทางใดเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่
และส่งผลต่อค่า Kc อย่างไร
1) เพิ่มอุณหภูมิให้กบั ปฏิกิริยาโดยปริ มาตรคงที่
2) ดูดแก๊ส A ออกจากระบบที่อณ ุ หภูมิและปริ มาตรคงที่
3) ระบบมีความดันลดลงที่อุณหภูมคิ งที่
4) เติมตัวเร่ งปฏิกิริยา

You might also like