You are on page 1of 300

บทที่ 15

เทอร์โมไดนามิกส์ ปรั บ ปรุ ง ล่ า สุ ด 7 มิ . ย. 65

Part 1 แก๊สอุดมคติ 1
Part 2 ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส 110
Part 3 กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์ 148
Part 4 แก๊สผสม 268

หากพบจุดที่สงสัยว่าจะพิมพ์ผิด โปรดแจ้งมาที่เพจ Tonsonphysics


เพื่อให้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

จัดทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้งานต่อในเชิงพาณิชย์
หากพบการซื้อขายเอกสารชุดนี้ โปรดแจ้งที่ Facebook page: Tonsonphysics
รวมข้อสอบ ม.ปลาย
แก๊สและเทอร์โมไดนามิกส์ Part 1

แก๊สอุดมคติ
แนวที่ ๑ : การคำนวณหาปริมาณต่างๆ จากสมการสภาวะ

1. (PAT2 ก.ค. 53) พิจารณาข้อความต่อไปนี้


(๑) ที่อุณหภูมิคงตัว ปริมาตรแปรผันตามความดัน
(๒) ที่ความดันคงตัว อุณหภูมิแปรผันตามปริมาตร
(๓) ในระบบปิด ผลคูณของความดันกับปริมาตรแปรผันตามอุณหภูมิ
ข้อใดเป็นสมบัติของแก๊สอุดมคติ
ก. (๑) และ (๒) ข. (๑) และ (๓)
ค. (๒) และ (๓) ง. (๑) (๒) และ (๓)

2. (PAT2 เม.ย. 57) เมื่อหารค่าคงตัวของแก๊สด้วยค่าคงที่โบลตซ์มันน์ ผลที่ได้คือข้อใด (เมื่อคิดในระบบ


เอสไอ)
ก. จำนวนโมล ข. จำนวนโมเลกุล
ค. เลขอะโวกราโด ง. ความจุความร้อน

1
3. (สอวน. มจพ. ธ.ค. 63) แก๊สไนโตรเจน (N2) ปริมาณ 2.45 โมล บรรจุอยู่ในถังปริมาตร 25 ลิตร มีความ
ดันเท่ากับ 1.3 105 ปาสคาล ถ้าให้แก๊สไนโตรเจนภายในถังนี้เป็นแก๊สอุดมคติ จงหาอุณหภูมิของแก๊ส
ไนโตรเจนภายในถัง
กำหนด ค่าคงที่สากลของแก๊สอุดมคติ R = 8.3 J/mol  K
ก. −160 C ข. −113 C ค. 160 C ง. 433 C

4. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 45) ถังบรรจุแก๊สทรงกระบอกขนาด 0.2 m3 ทนแรงดันได้ 300 กิโลปาสคาล ที่


อุณหภูมิ 27 C ข้อใดเป็นไปได้ (ค่าคงที่ของแก๊ส = 8 m3 Pa mol-1 K -1 )
ก. บรรจุแก๊สมีเทน ( CH 4 ) 17 โมล ข. บรรจุแก๊สอีเทน ( C2 H6 ) 27 โมล
ค. บรรจุแก๊สมีเทน ( C3H8 ) 37 โมล ง. บรรจุอากาศ 47 โมล

2
5. (PAT3 มี.ค. 60) แก๊สไนโตรเจนปริมาณ 1 kg บรรจุในถังปริมาตร 100 ลิตร หากอุณหภูมิภายในถังมีค่า
7 C ความดันของแก๊สไนโตรเจนในถังมีค่ากี่ kPa

6. (PAT3 มี.ค. 59) หากต้องการอัดแก๊สไนโตรเจนปริมาณ 560 g ลงไปในถัง 100 dm3 ที่เริ่มต้นเป็น


สุญญากาศ อุณหภูมิ 27 C จะต้องอัดแก๊สนี้จนความดันในถังมีค่ากี่ kPa

3
7. (PAT2 มี.ค. 60) แก๊สชนิดใดมีจำนวนโมลน้อยที่สุด
ก. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวน 440 กรัม
ข. แก๊สไนโตรเจน ปริมาตร 180 ลิตร ที่ STP
ค. แก๊สฮีเลียม ปริมาตร 3 ลิตร ที่อุณหภูมิ 400 เคลวิน ความดัน 100 บรรยากาศ
ง. แก๊สออกซิเจน ปริมาตร 20 ลิตร ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ความดัน 10 บรรยากาศ
จ. แก๊สนีออน ปริมาตร 300 ลิตร ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส

8. (กสพท. เคมี 2562) ปริมาตรของแก๊สฮีเลียม 40 g ที่อุณหภูมิ 27 C มีค่าไม่เท่ากับปริมาตรของแก๊ส


ในข้อใดที่ความดันเท่ากัน
ก. แก๊สอาร์กอน 300 g ที่อุณหภูมิ 400 K
ข. แก๊สนีออน 120 g ที่อุณหภูมิ 500 K
ค. แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ 150 g ที่อุณหภูมิ 600 K
ง. แก๊สไนโตรเจน 120 g ที่อุณหภูมิ 700 K
จ. แก๊สออกซิเจน 160 g ที่อุณหภูมิ 800 K

4
9. (PAT2 มี.ค. 53) เมื่อปล่อยให้แก๊สอุดมคติในมานอมิเตอร์ขยายตัวที่อุณหภูมิ −10 องศาเซลเซียส จนมี
ปริมาตรสุดท้ายเป็น 1 ลิตร และทำให้ความสูงของปรอทในมานอมิเตอร์ต่างกัน 60 มิลลิเมตร ดังรูป

จำนวนโมลของแก๊สเป็นเท่าใด
ก. 3.35 10−3 ข. 3.66 10−3
ค. 4.82 10−2 ง. 5.00 10−2

5
10. (สอวน. ธ.ค. 63) น้ำแข็งแห้ง (แก๊ส CO2 เมื่อเป็นของแข็ง) ปริมาณ 1 cm3 เมื่อกลายเป็นแก๊สหมดที่
อุณหภูมิ 0 C ที่ความดันบรรยากาศปกติ จะมีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
กำหนดให้ ใช้ความหนาแน่นของน้ำแข็งแห้ง = 1.56 g/cm3
ความดัน 1 บรรยากาศ = 1.01325 105 N/m2
ค่า gas constant R = 8.314 J/K  mol
แก๊ส CO2 ประกอบด้วย 126 C กับ 168 O

11. (สสวท. รอบที่ 2 ส.ค. 48) น้ำเย็น 1 กรัม เมือ่ กลายเป็นไอน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ความดัน 1
บรรยากาศ มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

12. (สอวน. เม.ย. 65)

6
13. (PAT2 ต.ค. 52) กราฟ ปริมาตรของอากาศในปอดคน เมื่อวัดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์

ถ้าหายใจ เข้า-ออก ตามปกติ (ตำแหน่ง ก. และ ข. ตามลำดับ) 1 ครั้ง ที่ 25 องศาเซลเซียส ความดัน 1
บรรยากาศ จะได้รับปริมาณออกซิเจนเข้าไปในปอดเท่ากับกี่โมล
ถ้าอากาศมีออกซิเจนอยู่ร้อยละ 20 โดยโมล
ก. 4.0 10−3 ข. 4.5 10−3
ค. 1.6 10−2 ง. 2.0 10−2

7
14. (EJU-1 2012) Consider a container that holds 400 L of oxygen molecules at 27 C and
7.0 105 Pa . One mole (1.0 mol ) of oxygen molecules occupies a volume of 22.4 L
when at a temperature of 0.0 C and a pressure of 1.0 105 Pa . One mole (1.0 mol ) of
oxygen molecules has a mass of 32 g .

What is the total mass (in kg ) of the oxygen molecules held in the container? From (a)-
(f) below choose the best answer.
(a) 0.11 (b) 0.36 (c) 1.1
(d) 3.6 (e) 11 (f) 36

15. (กสพท. เคมี 2563) เมื่อบรรจุโบรมีน ( Br2 ) ในขวดสุญญากาศขนาด 410 cm3 แล้วทำให้กลายเป็นไอ
จนหมดที่อุณหภูมิ 27 C พบว่า ภายในขวดมีความดันเป็น 228 mmHg ไอโบรมีนในขวดดังกล่าวมี
มวลกี่กรัม (กำหนดให้ ค่าคงที่ของแก๊ส R = 0.082 L  atm  mol−1  K −1 = 8.3 J  mol−1  K −1 )
ก. 7.9 10−3 ข. 5.0 10−3
ค. 0.40 ง. 0.80
จ. 3.8

8
16. (PAT3 ก.พ. 63) เมื่อหายใจเข้าเต็มที่ ถุงลมในปอดจะขยายตัวสูงสุด และมีปริมาตรประมาณ 0.5 L
หากความดันอากาศในปอดมีค่าสูงกว่าความดันบรรยากาศ 250 Pa อุณหภูมิอากาศมีค่า 27 C มวล
โมเลกุลของอากาศเฉลี่ยมีค่า 30 g/mol อากาศที่อยู่ในปอดขณะหายใจเข้าเต็มที่มีมวลทั้งหมดประมาณ
เท่าใด
ก. 0.00002 g ข. 0.0006 g
ค. 0.02 g ง. 0.6 g
จ. 6.5 g

17. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 50) จงหามวลของอากาศที่อยู่ในห้องขนาด 4 เมตร  3 เมตร  5 เมตร ที่


อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และความดัน 100 กิโลพาสคัล กำหนดให้ มวลโมเลกุลของอากาศเท่ากับ
29 กิโลกรัมต่อกิโลโมล ค่าคงตัวของแก๊ส (gas constant) มีค่าเท่ากับ R kJ/kmol  K
6, 444.44 580 644.44 5,800
ก. kg ข. kg ค. kg ง. kg
R R R R

18. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 51) จงหามวลของอากาศภายในห้องขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 5 เมตร
ซึ่งภายในห้องมีความดัน 100 กิโลพาสคัล และมีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส กำหนดให้มวลโมเลกุลของ
อากาศเท่ากับ 29 กิโลกรัมต่อกิโลโมล และ R เท่ากับ 8.31 กิโลจูลต่อกิโลโมล-เคลวิน
ก. 1.45 กิโลกรัม ข. 14.5 กิโลกรัม
ค. 140.5 กิโลกรัม ง. 1, 400.5 กิโลกรัม

9
19. (PAT3 ก.พ. 61) ถังบรรจุอากาศขนาด 3 m3 ที่ความดันสัมบูรณ์ 1 bar เมื่อเติมแก๊สไนโตรเจนลงไปจน
ความดันเกจในถังเป็น 8.3 bar จะต้องใช้แก๊สไนโตรเจนทั้งหมดกี่ kg หากสมมติให้อุณหภูมิแก๊สในถัง
คงที่ที่ 27 C

20. (มข. 2560) ก๊าซออกซิเจนในกระบอกสูบมีปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์เมตร มีความดัน 2.0 105 นิวตัน/
ตารางเมตร อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส จะมีมวลอยู่กี่กรัม ( R = 8.3 จูล/โมล·เคลวิน)
ก. 40 กรัม ข. 446 กรัม ค. 612 กรัม ง. 1, 285 กรัม

10
21. (PAT2 มี.ค. 64) เมื่อนำขวดก้นกลมปริมาตร 1 ลิตร ซึ่งบรรจุสาร A และภายในเป็นสุญญากาศไปต่อกับ
ลูกโป่ง แล้วให้ความร้อนกับขวดก้นกลม สาร A จะสลายตัวให้แก๊สออกซิเจน ดังภาพ

กำหนดให้ แก๊สออกซิเจนมีสมบัติเป็นไปตามกฎแก๊สอุดมคติ
ของแข็งที่อยู่ในขวดก้นกลมมีปริมาตรน้อยมาก
มวลต่อโมลของอะตอมออกซิเจนเท่ากับ 16 กรัมต่อโมล
R คือ ค่าคงตัวของแก๊สอุดมคติ มีหน่วยเป็น L  atm  mol−1  K −1

ถ้าให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 400 เคลวิน จนกระทั่งลูกโป่งไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก พบว่าลูกโป่งมีปริมาตร


4 ลิตร และความดัน 2 บรรยากาศ
สาร A จะสลายตัวให้แก๊สออกซิเจนทั้งหมดกี่กรัม
1 1 2 4 16
ก. ข. ค. ง. จ.
50R 40R 5R 5R 25R

11
22. (สอวน. ส.ค. 60) ภาชนะขนาด 0.25 m  0.60 m  0.50 m บรรจุแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ 27 C
และมีความดันเท่ากับ 0.05 บรรยากาศ จำนวนโมเลกุลของแก๊สไนโตรเจนในภาชนะนี้มีค่าประมาณ
เท่าใด
ก. 1024 ข. 1023 ค. 1019 ง. 1018

23. (Ent เคมี มี.ค. 45) แก๊สชนิดหนึ่งหนัก 3.20 g มีปริมาตร 2.00 dm3 ที่อุณหภูมิ 27 C ความดัน
0.5 atm แก๊สนี้มีมวลโมเลกุลเท่าใด
ก. 22.4 ข. 39.4 ค. 78.8 ง. 157.6

12
แนวที่ ๒ : การคำนวณการเปลี่ยนแปลงสภาวะ เมื่อแก๊สยังไม่รั่ว

24. (มช. 2556) แก๊สในอุดมคติ อุณหภูมิ T ความดัน P และมีปริมาตร V ข้อความใดไม่ถูกต้อง


ก. ถ้าความดันของแก๊สลดลงครึ่งหนึ่ง และปริมาตรของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อุณหภูมิของแก๊สจะคง
เดิม
ข. ถ้าอุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ขณะที่ความดันของแก๊สคงเดิม ปริมาตรของแก๊สจะเพิ่มเป็น
2 เท่า
ค. ถ้าปริมาตรของแก๊สลดลงครึ่งหนึ่ง ขณะที่อุณหภูมิของแก๊สคงเดิม ความดันของแก๊สจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า
ง. ถ้าอุณหภูมิของแก๊สลดลงครึ่งหนึ่ง ขณะที่ปริมาตรของแก๊สคงเดิม ความดันของแก๊สจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า

13
25. (มข. 2551) อัดก๊าซเข้าไปในบอลลูนอย่างช้าๆ จนปริมาตร 5 ลิตร มีความดัน 3.0 105 นิวตันต่อ
ตารางเมตร หลังจากปล่อยให้บอลลูนลอยขึ้นจนความดันก๊าซลดลงเหลือ 2.0 105 นิวตันต่อตารางเมตร
โดยที่อุณหภูมิมีค่าคงที่ จงหาปริมาตรของก๊าซในบอลลูนมีค่าเท่าไร
ก. 6.0 ลิตร ข. 7.5 ลิตร ค. 9.0 ลิตร ง. 12.0 ลิตร

26. (Ent เคมี มี.ค. 48) แก๊ส X ปริมาตร V1 และ ความดัน P1 ถ้าลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง แก๊สจะมีความดัน
เท่ากับ P2 แต่ถ้าลดปริมาตร ลงเหลือ 1/ 6 ของปริมาตร V1 แก๊สจะมีความดันเท่ากับ P3 กำหนดให้
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดที่อุณหภูมิ และมวลของแก๊สคงที่ ความสัมพันธ์ระหว่าง P1 P2 และ P3 ใน
ข้อใดถูกต้อง
ก. P1 / P2 = P3 / 2 ข. P1 / P3 = P2 / 6
ค. P1  P2 = P32 / 6 ง. P1  P3 = 3P22 / 2

14
27. (สอวน. ก.พ. 65) สำหรับแก๊สอุดมคติ (ซึ่งประพฤติตัวตามสมการ PV = nRT ) ถ้า P เปลี่ยนไปนิด
P
หน่อยเป็น P + P และ V เปลี่ยนไปเป็น V + V ในขณะที่ T มีค่าคงเดิมนั้น ค่า เป็นเท่าไร
V
P P V V
ก. ข. − ค. ง. −
V V P P

15
28. (PAT2 เม.ย. 57) แก๊สอุดมคติจำนวน 3 โมล บรรจุในภาชนะปิดใบหนึ่งโดยแก๊สมีอุณหภูมิ 100 องศา
เซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ ถ้าเพิ่มความดันเป็น 3 เท่าโดยที่ปริมาตรคงเดิม อุณหภูมิของแก๊ส
ภายในเป็นกี่องศาเซลเซียส
ก. 300 ข. 573 ค. 846 ง. 1119

29. (กสพท. เคมี 2557) แก๊สอุดมคติชนิดหนึ่งมีปริมาตร 8.4 L ที่ความดัน 0.82 atm และอุณหภูมิ
27 C ถ้าลดความดันลงครึ่งหนึ่งโดยให้ปริมาตรคงที่ ข้อใดเป็นอุณหภูมิและจำนวนโมลของแก๊สนี้

อุณหภูมิ ( C ) จำนวนโมล
ก. . −123 . . 0.28 .
ข. . −123 . . 2.8 .
ค. . 13.5 . . 3.1.
ง. . 150 . . 0.28 .
จ. . 150 . . 3.1.

30. (PAT2 ต.ค. 53) ลมยางในรถยนต์ขณะจอดมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และความดัน 240 กิโลพาส


คัล หลังจากรถวิ่งไปได้ 1 ชั่วโมง ลมยางมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 20 องศาเซลเซียส ถ้าปริมาตรภายในของยาง
ไม่เปลี่ยนแปลง ความดันภายในยางรถยนต์เป็นกี่กิโลพาสคัล

16
31. (มข. 2556) ลมในยางยนต์มีความดันเกจ 199 kPa ที่อุณหภูมิ 27 C ถ้าอุณหภูมิของลมยางเพิ่มเป็น
47 C โดยปริมาตรลมในยางคงที่ ความดันสัมบูรณ์ลมภายในยางตอนหลังจะเป็นกี่ kPa (กำหนดให้
1 atm = 101 kPa )
ก. 219 ข. 300 ค. 320 ง. 421

32. (สอวน. ส.ค. 61) บอลลูนสำรวจอากาศปริมาตรคงตัวลูกหนึ่งบรรจุก๊าซฮีเลียมไว้ภายใน ขณะอยู่ที่พื้นดิน


ก๊าซในบอลลูนมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีความดันเกจ 260 กิโลพาสคาล เมื่อปล่อยให้ลอยขึ้น
ไปสูง 5.0 กิโลเมตร ซึ่งความดันบรรยากาศมีค่าเท่ากับ 60 กิโลพาสคาล พบว่าอุณหภูมิก๊าซในบอลลูน
เปลี่ยนเป็น –23 องศาเซลเซียส ความดันเกจของก๊าซในบอลลูนมีค่ากี่กิโลพาสคัล กำหนดให้ ความดัน
บรรยากาศที่พื้นดินเท่ากับ 100 กิโลพาสคาล
ก. 217 ข. 240 ค. 300 ง. 372

17
33. (Ent เม.ย. 41) ยางรถยนต์มีความดันเกจ 2.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 27 องศา
เซลเซียส ถ้าขณะที่รถวิ่งทางไกล ยางรถมีอุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส ความดันเกจของยางจะเป็นเท่าใด
กำหนดให้ความดันบรรยากาศเป็น 1.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
ก. 2.1 kg/m3 ข. 2.2 kg/m3 ค. 2.3 kg/m3 ง. 2.4 kg/m3

34. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 45) ยางรถยนต์มีความดันลมที่วัดได้มีค่า 29.4 psi ที่อุณหภูมิ 27 C เมื่อนำ


รถยนต์ไปวิ่งทำให้ยางรถยนต์มีอุณหภูมิสูงเป็น 77 C จงหาความดันเกจที่วัดได้ที่อุณหภูมินี้ ถ้าหาก
ปริมาตรของยางไม่เปลี่ยนแปลง และกำหนดความดันบรรยากาศ = 14.7 psi
ก. 83.84 psi ข. 60.50 psi ค. 40.52 psi ง. 36.75 psi

35. (มข. 2553) ยางรถยนต์มีความดันเกจ 199 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 27 C ถ้าอุณหภูมิลมยางเพิ่มเป็น


47 C โดยปริมาตรภายในยางคงที่ ความดันเกจภายในยางตอนหลังเป็นเท่าใด (กำหนดให้ 1
บรรยากาศ เท่ากับ 101 กิโลปาสคาล)
ก. 219 กิโลปาสคาล ข. 320 กิโลปาสคาล
ค. 421 กิโลปาสคาล ง. 500 กิโลปาสคาล

36. (Ent 29) รถโดยสารคันหนึ่งจุผู้โดยสารได้ 60 ที่นั่ง เริ่มออกเดินทางตอนเช้าขณะที่อุณหภูมิของอากาศ


และผิวถนนเป็น 27 C ก่อนออกเดินทางตรวจสอบยางทุกเส้น มีความดันเกจ 2.5 105 N/m2 เมื่อถึง
ปลายทางเป็นเวลาบ่าย อุณหภูมิของผิวถนนเป็น 57 C คนขับรถทราบว่ายางทุกเส้นซึมเล็กน้อย แต่
ยังคงถือได้ว่าปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อถึงปลายทางจะคำนวณความดันเกจของยางรถยนต์ได้เท่าไร
(กำหนดความดันบรรยากาศ = 105 N/m2 )
ก. 2.75 105 N/m2 ข. 3.85 105 N/m2
ค. 7.40 105 N/m2 ง. ไม่สามารถคำนวณได้

37. (Ent 27) ถ้าความดันบรรยากาศเท่ากับ 105 นิวตันต่อตารางเมตรตลอดเวลา เมื่อสูบอากาศเข้าไปในยาง


รถยนต์คันหนึ่ง พบว่า มิเตอร์วัดความดันเกจอ่านค่าได้ 2 105 นิวตันต่อตารางเมตร อุณหภูมิของ
อากาศในยางขณะนั้นเท่ากับ 27 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิของอากาศในยางเปลี่ยนไปเป็น 87 องศา
เซลเซียส อยากทราบว่ามิเตอร์วัดความดันเกจจะอ่านค่าได้เท่าไร ถ้าถือว่าปริมาตรของยางรถยนต์
เปลี่ยนไปน้อยมาก
ก. 3.6 105 N/m2 ข. 3.4 105 N/m2
ค. 2.6 105 N/m2 ง. 2.4 105 N/m2

18
38. (PAT3 มี.ค. 59) ถ้าที่ระดับน้ำทะเล ความดันบรรยากาศเท่ากับ 100 kPa อุณหภูมิเท่ากับ 27 C และ
ที่ความสูง 10 km ความดันบรรยากาศลดลงเหลือ 30 kPa และอุณหภูมิลดลงเป็น −33 C หากมีล้อ
รถจักรยานซึ่งมีความจุ 2 ลิตร ที่ระดับน้ำทะเล เติมลมจนมีความดันภายในล้อรถเท่ากับ 400 kPa เมื่อ
นำล้อใส่ใต้ท้องเครื่องบินแล้วบินขึ้นไปที่ระดับความสูง 10 km ความดันภายในล้อจะเป็นเท่าไร ถ้า
ปริมาตรของล้อรถไม่เปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิของอากาศภายในล้อเท่ากับภายนอก
ก. 30 kPa ข. 100 kPa ค. 120 kPa
ง. 320 kPa จ. 488 kPa

39. (PAT3 เม.ย. 57) คนขับรถเติมลมยาง (เติมอากาศ) ขณะอุณหภูมิอากาศ 30 C จนความดันอากาศใน


ยางมีค่า 2 barg หลังจากรถวิ่งไประยะหนึ่ง แล้วตรวจสอบลมยาง พบว่า ความดันอากาศมีค่า 2.2 barg
จงหาว่าอุณหภูมิของลมยางมีค่าเท่าใด โดยสมมติว่าปริมาตรอากาศในยางไม่มีการเปลี่ยนแปลง
กำหนด น้ำหนักโมเลกุลของอากาศมีค่า 30 กรัมต่อโมล และ
ความดันบรรยากาศมีค่า 1 bara
ก. 33.3 C ข. 35.0 C
ค. 50.2 C ง. 80.5 C
จ. 323.2 C

19
40. (กสพท. เคมี 2558) บรรจุแก๊สชนิดหนึ่งที่ความดัน 60 atm และอุณหภูมิ 27 C ลงในถังจุ 10 L ที่
ทนความดันได้สูงสุด 70 atm อุณหภูมิสูงสุด (หน่วย C ) ที่ถังทนได้โดยยังไม่ระเบิดมีค่าเท่าใด และถ้า
นำถังแก๊สนี้ไปตั้งทิ้งไว้ในห้องเก็บของซึ่งมีอุณหภูมิ 37 C ถังจะระเบิดหรือไม่
(กำหนดให้ ค่าคงที่ของแก๊ส = 8.3 J K −1 mol−1 = 0.082 L atm K −1 mol−1 )
ก. 31.5 ระเบิด ข. 62 ไม่ระเบิด
ค. 77 ไม่ระเบิด ง. 257 ไม่ระเบิด
จ. 350 ระเบิด

41. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 46) ถังใบหนึ่งมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกมีปริมาตรบรรจุ 10 m3 ทนแรงดันได้


10 bar นำมาบรรจุแก๊ส A ซึ่งมีอุณหภูมิ 25 C ความดัน 5 bar วิศวกรผู้ดูแลถังพบว่า ใน
กระบวนการผลิต บางครั้งจำต้องบรรจุแก๊ส A ที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 C อยากทราบว่าแก๊ส A ที่นำมา
บรรจุลงในถังใบนี้มีอุณหภูมิสูงสุดได้เท่าไร (ถังใบนี้ทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงได้ดีมาก) (สมมติให้แก๊ส A
เป็นแก๊สอุดมคติ)

42. (กสพท. เคมี 2559) ในขั้นตอนการผลิตหลอดไฟ จะบรรจุแก๊สอาร์กอน (Ar) เพื่อยืดอายุการใช้งานของ


หลอด ซึ่งโรงงานจะทำการบรรจุที่อุณหภูมิ 15 C โดยแก๊สอาร์กอนมีความดัน 1.2 atm ถ้าหลอดไฟ
ดังกล่าวทนความดันได้สูงสุด 2 atm ข้อใดเป็นอุณหภูมิสูงสุด ( C ) ที่สามารถใช้หลอดไฟได้โดยไม่
ระเบิด
ก. 25 ข. 38 ค. 173 ง. 205 จ. 288

20
43. (Ent ต.ค. 42) ถ้าให้ความดันของก๊าซในกระบอกสูบหนึ่งคงที่ และให้อุณหภูมิของก๊าซภายในกระบอกสูบ
เปลี่ยนจาก 27 C เป็น 77 C อัตราส่วนของปริมาตรใหม่ต่อปริมาตรเดิมเป็นเท่าใด
ก. 0.3 ข. 0.9 ค. 1.2 ง. 3.5

44. (A-Net 2549) แก๊สอุดมคติอุณหภูมิ 360 เคลวิน ถูกอัดที่ความดันคงที่ให้ปริมาตรเหลือเพียง 0.8 เท่า


ของปริมาตรเดิม จะมีอุณหภูมิสุดท้ายเป็นเท่าใดในหน่วยเคลวิน

21
45. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 47) กระบอกสูบภายในบรรจุแก๊สไนโตรเจน 20 กรัม อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส
กระบอกสูบมีตัวกั้นอยู่ด้านบน หากกระบอกสูบเคลื่อนที่ไปถึงตัวกั้นจะไม่สามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปได้อีก
อยากทราบว่าต้องเพิ่มอุณหภูมิจนแก๊สไนโตรเจนมีอุณหภูมิสูงสุดได้เท่าไร โดยที่ความดันในกระบอกสูบ
ยังคงเท่าเดิม (กระบอกสูบมีพื้นที่หน้าตัด 20 ตารางเซนติเมตร)

ก. 117 องศาเซลเซียส ข. 147 องศาเซลเซียส


ค. 390 องศาเซลเซียส ง. 420 องศาเซลเซียส

22
46. (PAT3 มี.ค. 56) แก๊ส A จำนวน 200 กรัม อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส บรรจุอยู่ในกระบอกสูบ หาก
แก๊ส A ได้รับความร้อนและเกิดการขยายตัวส่งผลให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นแบบไร้แรงเสียดทานด้วย
กระบวนการความดันคงที่จนถึงตัวกั้นแสดงดังรูป จงหาอุณหภูมิสุดท้ายของแก๊ส A ในหน่วยองศา
เซลเซียส

23
47. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 46) จากรูปถังใบหนึ่งบรรจุแก๊ส X (แก๊สอุดมคติ) ต่อมานอมิเตอร์ติดกับถังโดยภายใน
มานอมิเตอร์บรรจุสาร Y ซึ่งมีความหนาแน่น 104 kg/m3 ความดันสัมบูรณ์ที่จุด A = 1.2 105 N/m2
ถ้าหากว่าเพิ่มอุณหภูมิของแก๊สภายในถังจาก 27 C เป็น 57 C จุด A กับ B จะต่างกันเป็นระยะทาง
เท่าไร (ความดันบรรยากาศ = 105 N/m2 ) ให้ค่า g = 10 m/s2

ก. 11 cm ข. 12 cm ค. 21 cm ง. 32 cm

24
48. (PAT3 ธ.ค. 54) ถังบรรจุแก๊ส NGV มีปริมาตร 70 ลิตร สามารถทนความดันได้สูงสุด 20 เมกกะ
ปาสคาล หากเรานำถังแก๊สอุดมคติที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส จะสามารถบรรจุแก๊สได้ 15 กิโลกรัม
แต่ถ้าเรานำถังแก๊สใบนี้ไปบรรจุแก๊สที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เราจะสามารถบรรจุแก๊สได้กี่กิโลกรัม

25
49. (PAT3 ต.ค. 58) แก๊สจำนวนหนึ่ง มีปริมาตร 1 m3 ที่อุณหภูมิ 27 C ความดัน 1 atm จงหาปริมาตร
ของแก๊สจำนวนนี้ที่อุณหภูมิ 127 C และความดัน 2 atm
ก. 0.4 m3 ข. 0.5 m3
ค. 0.67 m3 ง. 1.2 m3
จ. 1.5 m3

50. (มข. 2554) บอลลูนที่ภายในบรรจุแก๊สไฮโดรเจน ขณะอยู่ที่พื้นมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มีปริมาตร


1.8 10−2 ลูกบาศก์เมตร และมีความดัน 1.0 105 พาสคัล ถ้าบอลลูนลูกนี้ลอยสูงขึ้น จนอุณหภูมิของ
แก๊สภายในลดลงเหลือ 17 องศาเซลเซียส ความดันลดลงเหลือ 0.8 105 พาสคัล ลูกบอลลูนจะมี
ปริมาตรเท่าใด
ก. 1.42 10−2 ลูกบาศก์เมตร ข. 1.75 10−2 ลูกบาศก์เมตร
ค. 2.18 10−2 ลูกบาศก์เมตร ง. 2.55 10−2 ลูกบาศก์เมตร

51. (PAT3 มี.ค. 58) ถุงบรรจุแก๊สไนโตรเจน 200 ml ที่ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ 27 C เมื่อนำขึน้


เครื่องบินที่มีความดัน 0.8 บรรยากาศ อุณหภูมิ 23 C ถ้าถุงขยายตัวได้ไม่จำกัดจะขยายตัวเป็นกี่เท่า
ของปริมาตรเดิม
ก. 1.07 ข. 1.23 ค. 1.27 ง. 2.07 จ. 2.23

26
52. (PAT2 มี.ค. 55) ตัวอย่างแก๊สชนิดหนึ่งถูกอัดให้มีปริมาตรเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรเริ่มต้น และพบว่า
อุณหภูมิของแก๊สในหน่วยเคลวินเพิ่มขึ้น 20% ความดันของแก๊สนี้เพิ่มขึ้นเท่าใด
ก. 70% ข. 120% ค. 140% ง. 240%

53. (ทุนญี่ปุ่น 2020) An ideal gas with an initial volume of 1.5 m3 at a pressure of 1.0 105 Pa
and a temperature 3.0 102 K is compressed to a volume 1.0 m3 and heated to a
temperature 3.2 102 K . Calculate the final pressure of the gas.

27
54. (กสพท. เคมี 2560) แก๊สชนิดหนึ่งในกระบอกสูบมีปริมาตร 900 cm3 และความดัน 600 mmHg ที่
27 C ถ้าต้องการเพิ่มปริมาตรแก๊สขึ้น 20% ที่ความดัน 0.79 atm จะต้องใช้อุณหภูมิเท่าใด
ก. −23 C ข. 22.5 C
ค. 32.4 C ง. 87 C
จ. 360 C

55. (PAT3 ต.ค. 52) จงหาอุณหภูมิของแก๊สที่มีปริมาตรเป็น 2 เท่าของปริมาตรเดิม ที่ S.T.P. ถ้าความดัน


ของแก๊สเพิ่มขึ้น 50% (กำหนดให้อุณหภูมิที่ S.T.P. = 273 เคลวิน)
ก. อุณหภูมิ 341.25 เคลวิน ข. อุณหภูมิ 346.80 เคลวิน
ค. อุณหภูมิ 546.00 เคลวิน ง. อุณหภูมิ 819.00 เคลวิน

56. (Ent 21) แก๊สชนิดหนึ่งมีปริมาตร 110−3 ลูกบาศก์เมตร ที่ 27 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ
ขยายตัวจนกระทั่งปริมาตรเป็น 1.5 10−3 ลูกบาศก์เมตร และความดันเป็น 1.1 บรรยากาศ อุณหภูมิ
สุดท้ายกี่องศาเซลเซียส

28
57. (PAT2 ธ.ค. 54) ภาชนะที่เหมือนกันสองใบ A และ B ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติชนิดเดียวกัน ปริมาณ
เท่ากัน โดยมีความดัน P0 ปริมาตร V0 อุณหภูมิ T0 เหมือนกัน ถ้าลดความดันในภาชนะ A ลงครึ่งหนึ่ง
แต่เพิ่มปริมาตรเป็นสองเท่า ในขณะที่เพิ่มความดันในภาชนะ B แต่ลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง ข้อใดต่อไปนี้
ถูกต้อง
ก. TA = 0.5TB = T0 ข. TB = 0.5TA = T0
ค. TA = TB = T0 ง. TA = 2TB = T0

29
58. (มช. 2552) โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ทำสัญญาซื้อแก๊สจากบริษัทผู้ผลิตแก๊สในอัตรา 30 บาท ต่อ
1 ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บรรยากาศ ปรากฏว่าโรงงาน
อุตสาหกรรมได้แก๊สที่มีปริมาตร 1,100 ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส ความดัน 20
บรรยากาศ โรงงานอุตสาหกรรมนี้ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทผู้ผลิตแก๊สกี่บาท
ก. 33, 000 ข. 70, 000 ค. 600, 000 ง. 660, 000

30
59. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 47) จากรูปด้านข้าง

รูป ก. แสดงชุดกลไกอัดอากาศ
รูป ข. แสดงสภาวะเริ่มต้นของการอัดอากาศ โดยมีความดัน P1 และอุณหภูมิ T1
รูป ค. แสดงสภาวะสุดท้ายของการอัดอากาศ โดยสามารถวัดอุณหภูมิได้เป็น T2
จงคำนวณหาค่าของความดันที่สภาวะสุดท้ายว่ามีค่าเท่าใด
ก. PT1 2 / T1 1 2 ( a + b ) / T1c
ข. PT
ค. PT1 2 ( a + b + c ) / T1c 1 2 c / T1 ( a + b )
ง. PT

31
60. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 49) เม็ดปรอทจะเลื่อนขึ้นสูงจากเดิมเป็นระยะทางเท่าใด ถ้าอุณหภูมิของแก๊ส
อุดมคติในกระเปาะเพิ่มจาก T1 ไปเป็น T2 ( Pa เป็นความดันบรรยากาศ)

32
61. (กสพท. 2562) ถ้าอุณหภูมิของแก๊สอุดมคติในกระเปาะเพิ่มขึ้น 1 เคลวิน เม็ดปรอทจะเลื่อนขึ้นจาก
ระดับเดิมเป็นระยะทางเท่าไร (ไม่ต้องคำนึงถึงการขยายตัวของท่อ)

ท่อปลายเปิดรูเล็กมาก
พื้นที่ภาคตัดขวาง a

เม็ดปรอท

กระเปาะใหญ่ บรรจุแก๊สอุดมคติ
ปริมาตร V อุณหภูมิ T เคลวิน

V VT V a2 a 2T
ก. ข. ค. ง. จ.
aT a a V V

33
62. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 43) ในระบบท่อที่มีการขยายหน้าตัดดังรูป ภายในขดลวดทำความร้อนซึ่งทำหน้าที่ให้
ความร้อนกับอากาศซึ่งไหลด้วยอัตราการไหลคงที่ ถ้าสภาวะของอากาศที่จุด i มีความเร็ว 5 m/s ที่
350 kPa , 300 K และที่จุด e มีสภาวะ P = 240 kPa และความเร็วของอากาศที่จุด e มีค่าเป็น 1.2
เท่าของความเร็วที่จุด i จงหาว่าที่จุด e อากาศมีอุณหภูมิเท่าใด ถ้าพื้นที่หน้าตัดของจุด e มีขนาดเป็น
1.5 เท่าของพื้นที่หน้าตัดของจุด i (ให้อากาศเป็นแก๊สอุดมคติ)

ก. 350 K ข. 370 K ค. 390 K ง. 410 K

34
63. (PAT2 มี.ค. 64) การใช้หลอดเพื่อดูดน้ำในแก้ว สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการของ "ความดันอากาศ"

จากภาพที่ 1 ก่อนดูดน้ำ ความดันอากาศภายใน ( P1 ) และภายนอกหลอด ( Pout ) มีค่าเท่ากัน และ


ระดับน้ำภายใน และภายนอกหลอดสูงเท่ากันพอดี
ขณะดูดน้ำด้วยหลอด ดังภาพที่ 2 ปริมาตรช่องอกจะเพิ่มขึ้น อากาศที่เคยอยู่ภายในหลอดจะเคลื่อนที่เข้า
สู่ปาก ทาให้ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และมีค่าน้อยกว่าความดันอากาศภายนอก น้ำส่วนหนึ่ง
จึงถูกดันให้เข้าไปในหลอดได้มากขึ้นเนื่องจากผลต่างของความดันอากาศ
กำหนดให้  = ความหนาแน่นของน้ำ
g = ความเร่งโน้มถ่วง
อุณหภูมิของระบบนี้คงตัว
ถ้าใช้หลอดดูดน้ำในแก้วจนระดับน้ำภายในหลอดมีความสูงวัดจากระดับน้ำในแก้วเท่ากับ h แล้ว
ปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้นจะคิดเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาตรเดิม
 gh  gh
ก. 100% ข. 100%
Pout −  gh Pout
Pout −  gh Pout
ค. 100% ง. 100%
 gh Pout −  gh
Pout +  gh
จ. 100%
Pout

35
แนวที่ ๓ : กราฟการเปลี่ยนแปลงสภาวะของแก๊ส

64. (EJU-1 2016) As shown in the figure below, the state of a fixed quantity of an ideal gas is
changed in the pathway A → B. Let us define as C the state indicated by the midpoint
between A and B in the figure. Also, let us denote the absolute temperature of the gas
at A, B, and C as TA , TB , and TC , respectively.

What is the relationship among TA , TB , and TC ? From (a)-(e) below choose the correct
answer.
(a) TA = TB = TC (b) TA = TB  TC
(c) TC  TA = TB (d) TA  TC  TB
(e) TB  TC  TA

36
65. (EJU-2 2017) Let us denote as p,V , and T the pressure, volume, and absolute
temperature of a fixed quantity of an ideal gas, respectively. The state of the gas is
changed in the pathway A → B → C → D → A as shown in the V − T diagram in
Figure 1 below.

How is this change of state expressed in the p −V diagram in Figure 2? From (a)-(h) below
choose the correct answer.
(a) a → b → c → d → a (b) a → d → c → b → a
(c) b → c → d → a → b (d) b → a→ d → c → b
(e) c → d → a → b → c (f) c → b → a → d → c
(g) d → a → b → c → d (h) d → c → b → a → d

37
66. (EJU-2 2016) Pressure p and volume V of a certain quantity of an ideal gas is changed
in the path A → B → C → A as shown in the p − V diagram below. A → B is an
isochoric change, B → C in an isothermal change, and C → A is an isobaric change.

From (a)-(f) below choose the graph that best represents the change in absolute
temperature T and volume V of the gas in this case.

(a) (b) (c)

(d) (e) (f)

38
แนวที่ ๔ : เปรียบเทียบแก๊สสองชนิด

67. (PAT3 ต.ค. 55) ถังปริมาตร 20 ลิตร บรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิห้อง ถ้านำถังขนาด


เดียวกันนี้ไปบรรจุแก๊สออกซิเจนที่น้ำหนักเท่ากัน อุณหภูมิเดียวกัน จงหาความสัมพันธ์ระหว่างความดัน
ของถังที่บรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน โดยสมมติให้แก๊สทั้งสองชนิดนี้เป็นแก๊สในอุดม
คติ
11 8
ก. PCO2 = PO ข. PCO2 = PO
8 2 11 2
23 16
ค. PCO2 = PO ง. PCO2 = PO
16 2 23 2
11
จ. PCO2 = PO
23 2

68. (A-Net 2551) แก๊สออกซิเจนบรรจุในถังมีความดัน 1.2 บรรยากาศ แก๊สโอโซนมวลเท่ากันบรรจุอยู่ในถัง


ขนาดเท่ากัน อุณหภูมิเท่ากัน จะมีความดันกี่บรรยากาศ
ก. 0.4 ข. 0.8 ค. 1.8 ง. 3.6

39
69. (ม.อ. 52) ถังแก๊ส 2 ใบมีปริมาตรเท่ากัน ใบหนึ่งบรรจุแก๊สฮีเลียม อีกใบหนึ่งบรรจุแก๊สออกซิเจน ถ้ามวล
และความดันแก๊สในแต่ละถังเท่ากัน และอุณหภูมิภายในถังแก๊สฮีเลียมเท่ากับ 40 เคลวิน ถามว่า
อุณหภูมิภายในถังแก๊สออกซิเจนเท่ากับกี่เคลวิน
ก. 80 ข. 160 ค. 240 ง. 320

70. (PAT2 ต.ค. 53) ถังแก๊สใบหนึ่งบรรจุ O2 ไว้ที่ 20 บรรยากาศ 300 เคลวิน เมื่อเปลี่ยนไปบรรจุ SO2
แทนที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน พบว่าถังนี้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 4 กิโลกรัม ถังใบนี้มีปริมาตรบรรจุ
ประมาณกี่ลิตร (กำหนดให้ค่าคงที่ของแก๊ส = 0.082 atm  L  mol−1  K −1 )
ก. 0.154 ข. 0.769
ค. 76.875 ง. 153.750

40
71. (PAT2 พ.ย. 57) ลูกสูบ A และ B ที่เหมือนกันมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติ
ชนิดเดียวกัน แต่มีปริมาณไม่เท่ากัน โดยลูกสูบ A มีมวลแก๊สเท่ากับ mA ส่วนลูกสูบ B มีมวลแก๊สเท่ากับ
mB เมื่อให้แก๊สในลูกสูบทั้งสองขยายตัวจนมีปริมาตรเป็น 2 เท่าของเดิม โดยไม่มีการสูญเสียความร้อน
พบว่าการเปลี่ยนแปลงของความดันในลูกสูบ B เป็น 1.5 เท่าของการเปลี่ยนแปลงความดันในลูกสูบ A
ความสัมพันธ์ระหว่าง mA กับ mB เป็นอย่างไร
ก. 4mA = 9mB ข. 2mA = 3mB
ค. 9mA = 4mB ง. 3mA = 2mB

41
แนวที่ ๕ : การคำนวณการเปลี่ยนแปลงสภาวะ เมื่อปริมาณแก๊สไม่คงที่

72. (PAT2 ก.ค. 52) แก๊สชนิดหนึ่ง หนัก 1.0 กรัม ที่ 12 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ มีปริมาตร
2.0 ลิตร ถ้าแก๊สชนิดนี้ หนัก 2.0 กรัม ที่ 69 องศาเซลเซียส ความดัน 608 มิลลิเมตรปรอท จะมี
ปริมาตรเป็นกี่ลิตร
ก. 3.0 ข. 6.0 ค. 7.9 ง. 14.4

42
73. (Ent มี.ค. 43, มข. 2560) ถ้าอุณหภูมิภายในห้องเพิ่มขึ้นจาก 27 C เป็น 37 C และความดันในห้อง
ไม่เปลี่ยนแปลง จะมีอากาศไหลออกจากห้องกี่โมล หากเดิมมีอากาศอยู่ในห้องจำนวน 2000 โมล
ก. 65 ข. 940 ค. 1620 ง. 1940

74. (Ent 34) ภาชนะเปิดใบหนึ่งมีปริมาตร 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร เริ่มต้นมีอากาศอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่งที่


อุณหภูมิ 27 C ซึ่งเป็นอุณหภูมิและความดันเดียวกับสิ่งแวดล้อม จะต้องทำให้อุณหภูมิของภาชนะและ
3
อากาศในนั้นร้อนถึงอุณหภูมิเท่าใด จำนวนโมลของอากาศในภาชนะจึงจะเหลือ ของจำนวนโมลเดิม
4

75. (ทุนคิง 2555) ภาชนะเปิดใบหนึ่งมีปริมาตร 50 cm3 เริ่มต้นมีอากาศอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่งที่อุณหภูมิ


27 C ซึ่งเป็นอุณหภูมิและความดันเดียวกับสภาพแวดล้อม จะต้องทำให้อุณหภูมิของภาชนะและอากาศ
3
ในนั้นร้อนถึงอุณหภูมิเท่าใด จำนวนโมลของอากาศในภาชนะจึงจะเหลือ ของจำนวนโมลเดิม
4

43
76. (Ent มี.ค. 48) รถยนต์จอดในที่ร่ม อุณหภูมิอากาศภายในรถเป็น 27 องศาเซลเซียส แต่เมื่อจอดกลาง
แดด อุณหภูมิอากาศภายในรถเป็น 77 องศาเซลเซียส มวลอากาศแทรกออกจากรถไปกี่เปอร์เซ็นต์เทียบ
กับมวลเดิม ให้ถือว่าความดันอากาศภายในรถคงเดิม
ก. 14.3 ข. 16.7 ค. 83.3 ง. 85.7

77. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 43) แก๊สในขวดปากเปิดที่อุณหภูมิ T0 ที่ความดัน P0 ถูกทำให้ร้อนขึ้นมีอุณหภูมิ


เพิ่มขึ้นเป็น T0 + T จงหาปริมาณของแก๊สที่ล้นออกไปจากขวดว่าเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาณเดิม

78. (Ent 32) ถ้าอุณหภูมิของอากาศในห้องที่มีขนาด 40 ลูกบาศก์เมตร มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 27 C เป็น


63 C จงคำนวณหาอัตราส่วนของมวลอากาศที่ขยายตัวหนีออกจากห้องเทียบกับมวลตั้งต้นของอากาศ
(ให้ตอบค่าที่ได้เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

44
79. (Ent 36) ภาชนะปิดที่มีปริมาตร 4.15 ลูกบาศก์เมตร บรรจุก๊าซที่มีความดัน 6 104 นิวตัน/ตาราง
1
เมตร ที่อุณหภูมิ 27 C ถ้าปล่อยแก๊สนี้รั่วออกจากภาชนะจนความดันเหลือ ของความดันเดิม และ
4
อุณหภูมิเท่าเดิม จงหาจำนวนโมลของแก๊สที่รั่วออกไป

80. (PAT3 มี.ค. 64) เกิดการรั่วไหลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งบรรจุอยู่ในถังปริมาตร 240 L ความดัน


เริ่มต้น 1,830 kPa อุณหภูมิ 27 C เมื่อวิศวกรปิดรอยรั่วเรียบร้อยแล้ว พบว่า อุณหภูมิของแก๊สในถังมี
ค่าเท่าเดิม แต่ความดันของแก๊สในถังมีค่า 1, 000 kPa แก๊สรั่วออกมาทั้งหมดกี่กรัม ( g )

81. (Ent 35) ระบบหนึ่งบรรจุก๊าซไว้ 2 โมล โดยมีปริมาตร V0 ความดัน P0 และอุณหภูมิ T0 ถ้าก๊าซรั่ว


ออกไปอย่างช้าๆ โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เมื่ออุดรอยรั่วแล้วปรากฏว่าเหลือก๊าซอยู่เพียง 0.5 โมล
ความดันภายในจะเป็นเท่าใด ถ้าถือว่าเป็นก๊าซอุดมคติ
P0 P0 P0
ก. P0 ข. ค. ง.
2 3 4

45
82. (Ent ต.ค. 45) แก๊สออกซิเจน ( O2 ) บรรจุในภาชนะโดยมวลของแก๊สออกซิเจนเท่ากับ 12.0 กิโลกรัม
อ่านความดันเกจที่ภาชนะได้ 9.0 บรรยากาศ ถ้าออกซิเจนรั่วออกจากภาชนะไป คิดเป็นมวลเท่ากับ
3.0 กิโลกรัม จงหาความดันเกจของออกซิเจนที่เหลืออยู่ (ตอบในหน่วยบรรยากาศ ถ้ากำหนดให้ ความ
ดันบรรยากาศภายนอกเป็น 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิของแก๊สคงที่)

83. (B-PAT3 ต.ค. 51) บรรจุแก๊สออกซิเจนลงในถังที่มีปริมาตร 8.31 ลูกบาศก์เมตร จนความดันภายในถัง


เป็น 900 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส แต่ปรากฏว่าเกินขนาดบรรทุกของรถไป 20
กิโลกรัม ถามว่า ต้องปล่อยแก๊สออกจนความดันในถังเหลือเท่าใด (ค่าคงที่ของแก๊ส = 8.31 J/mol  K )
ก. 712.5 กิโลปาสคาล ข. 228 กิโลปาสคาล
ค. 881.2 กิโลปาสคาล ง. 625.2 กิโลปาสคาล

46
84. (ม.อ. 57) ห้องมีปริมาตร V อุณหภูมิภายในห้องตอนกลางวันเป็น T1 เคลวิน ตอนกลางคืนอุณหภูมิ
ลดลงเป็น T2 เคลวิน ความดันที่ P เมื่อ M และ R เป็นมวลโมลาร์ของอากาศและค่าคงตัวของแก๊ส
ตามลำดับ ในตอนกลางคืนมวลอากาศไหลเข้าห้องเท่าใด
MPV 1 1 MPV  1 1 
ก.  −  ข.  − 
R  T2 T1  2 R  T2 T1 
MPV MPV
ค. (T1 − T2 ) ง. (T1 − T2 )
R 2R

47
85. (PAT3 ก.ค. 52) พิจารณาขั้นตอนการบรรจุแก๊สออกซิเจนลงในถัง พบว่า ครั้งแรกพนักงานบรรจุแก๊สจน
ถังดังกล่าวมีความดัน 150 กิโลปาสคาล อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีน้ำหนักแก๊สเป็น 30
กิโลกรัม แต่เนื่องจากพบว่าความดันสูงสุดที่ถังทนได้คือ 250 กิโลปาสคาล จึงได้ทำการเติมแก๊สเพิ่ม
ในขณะที่เติมพบว่าอุณหภูมิของแก๊สออกซิเจนเป็น 30 องศาเซลเซียส ถามว่าน้ำหนักแก๊สที่เติมเข้าไป
ภายหลังมีค่ากี่กิโลกรัม (ค่าคงตัวแก๊ส O2 = 0.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน)
ก. 19.5 กิโลกรัม ข. 25.5 กิโลกรัม
ค. 30 กิโลกรัม ง. 49.5 กิโลกรัม

86. (Ent 18) แก๊สในถังที่อุณหภูมิ 30 C ความดัน 5 บรรยากาศ มีมวล 10 กิโลกรัม เมื่อปล่อยแก๊ส


ออกมาใช้เสียบ้าง ความดันจะลดเหลือ 2 บรรยากาศวัดที่อุณหภูมิ 27 C ถามว่าแก๊สที่เหลือจะมีมวลกี่
กิโลกรัม

48
87. (PAT3 ต.ค. 55) แก๊สหุงต้มบรรจุอยู่ภายในถัง ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ความดัน 500 กิโล
ปาสคาล หากเกิดการรั่วของแก๊สออกจากถัง 0.5 โมล ทำให้แก๊สในถังมีอุณหภูมิลดลงเหลือ 22 องศา
เซลเซียส และความดันลดลงเป็น 250 กิโลปาสคาล จงหาปริมาตรของถังนี้
ก. 0.005 ลูกบาศก์เมตร ข. 0.050 ลูกบาศก์เมตร
ค. 0.025 ลูกบาศก์เมตร ง. 0.500 ลูกบาศก์เมตร
จ. 5.000 ลูกบาศก์เมตร

88. (PAT3 ต.ค. 59) ถังบรรจุแก๊สออกซิเจน มวลโมเลกุล 32 ที่อุณหภูมิ 300 K เมื่อแก๊สภายในถังมีความ


ดัน 20 MPa ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักรวมของแก๊สและถังได้ 37 kg เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง แก๊สภายใน
ถังมีความดันลดลงเหลือ 10 MPa และน้ำหนักรวมของแก๊สและถังเป็น 21 kg ปริมาตรของถังใบนี้
เท่ากับกี่ลิตร

49
89. (สอวน. ม.4 ก.ย. 45)

90. (PAT2 ต.ค. 58) แก๊สออกซิเจนปริมาตร 0.3 m3 ถูกอัดอยู่ในถังจนมีความดัน 10 atm เมื่อแพทย์นำมา


ให้ผู้ป่วยเพื่อใช้ในการหายใจ จึงปรับอัตราการไหลออกมา 3 ลิตรต่อนาที อย่างทราบว่าจะใช้เวลากี่นาที
แก๊สออกซิเจนจึงจะไหลออกหมด
ก. 300 ข. 333 ค. 1, 000 ง. 3, 000 จ. 3,333

50
91. (ทุนคิง 2563) น้ำถูกต้มจนเดือดกลายเป็นไอในกาต้มน้ำไฟฟ้าด้วยกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 1.00 kW เมื่อ
สมมติให้ความดันของไอน้ำภายในกาต้มน้ำไฟฟ้าเท่ากับความดันบรรยากาศ และไอน้ำมีพฤติกรรมเป็น
แก๊สในอุดมคติ จงคำนวณหาอัตราเร็วของไอน้ำที่ไหลออกจากพวยกาต้มน้ำซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด 2.00 cm2
โดยแสดงวิธีคำนวณอย่างละเอียด กำหนดให้ มวลโมเลกุลของน้ำเท่ากับ 18.0 g/mol ความดัน
บรรยากาศเท่ากับ 105 N/m2 ค่าคงที่ของแก๊ส ( R ) เท่ากับ 8.314 J/mol  K และความร้อนแฝงของ
การกลายเป็นไอน้ำ ( Lv ) เท่ากับ 2, 257 kJ/ kg

51
แนวที่ ๖ : ความดันอากาศ

92. (O-Net ม.3 2564) ต้อมออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวภูเขาแห่งหนึ่งซึ่งอยู่สูงกว่าระดับทะเล เมื่อถึง


ที่พักบริเวณยอดภูเขา ต้อมพบว่า ถุงขนมซึ่งปิดสนิทที่ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางมีปริมาตรมากขึ้นหรือ
พองมากกว่าเดิม และเมื่อตรวจสอบถุงขนมก็ไม่พบรูรั่วใดๆ ดังภาพ

เพราะเหตุใด เมื่อถึงที่พักถุงขนมจึงมีปริมาตรมากขึ้นกว่าตอนก่อนออกเดินทาง
ก. เพราะปริมาณอากาศภายในถุงขนมมากขึ้น
ข. เพราะความดันอากาศภายในถุงขนมมากขึ้น
ค. เพราะความดันอากาศภายนอกถุงขนมลดลง
ง. เพราะแรงที่อากาศภายนอกกระทำตั้งฉากต่อถุงขนมมากขึ้น

52
93. (Ent 28) ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลสูงกว่าความดันอากาศบนยอดเขา เพราะ
ก. เมื่อเทียบอากาศที่ห่อหุ้มโลกเป็นทะเลอากาศ ที่สุดขอบเขตของบรรยากาศเป็นผิวทะเล มีแผ่นดินเป็น
ก้นทะเล ดังนั้นที่ก้นทะเลอากาศก็ย่อมมีความดันสูงกว่าที่ผิวทะเล
ข. ความยาวของแท่งอากาศที่เราแบกไว้บนตัวเราที่ระดับน้ำทะเล ยาวกว่าความยาวของแท่งอากาศที่เรา
แบกไว้เมื่ออยู่บนยอดเขา ดังนั้นความดันอากาศซึ่งมีค่าเท่ากับแรงหรือน้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ที่
ระดับน้ำทะเลจึงสูงกว่าบนยอดเขา
ค. ถ้าแบ่งอากาศที่หุ้มห่อโลกออกเป็นชั้นๆ หนาเท่ากัน จะวาดภาพได้ว่าเป็นทรงกลมหุ้มโลกเป็นชั้นๆ
1
ออกไป ชั้นนอกย่อมมีปริมาตรมากกว่าชั้นใน และเมื่อพิจารณาจากกฎของบอยล์ที่กล่าวว่า P
V
แล้ว จะเห็นว่าที่ระดับสูงหรือห่างจากโลก V มาก P หรือความดันย่อมต่ำกว่าที่ระดับน้ำทะเลที่มี
V น้อยกว่า
ง. ความหนาแน่นของอากาศบนยอดเขาน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศที่ระดับน้ำทะเล จำนวน
โมเลกุลอากาศที่ระดับน้ำทะเลมากกว่า เป็นเหตุให้จำนวนครั้งที่โมเลกุลอากาศชนทุกสิ่งที่สัมผัสมาก
ครั้งกว่าความดันอากาศที่ระดับน้ำในทะเลจึงสูงกว่า

53
แนวที่ ๗ : เกิดการถ่ายเทของแก๊ส

94. (Ent มี.ค. 44) ถังแก๊สใบหนึ่งมีปริมาตร 30 ลิตรบรรจุแก๊สออกซิเจนจำนวน 4.0 โมล ต่ออยู่กับถังอีกใบ


หนึ่งภายในเป็นสุญญากาศปริมาตร 20 ลิตรดังรูป จงหาว่าเมื่อเปิดวาล์ว จะมีแก๊สออกซิเจนไหลไปสู่ถัง
เปล่าได้อย่างมากที่สุดกี่โมล ถ้าการถ่ายเทแก๊สนี้เกิดที่อุณหภูมิคงที่

ก. 2.4 โมล ข. 1.8 โมล ค. 1.6 โมล ง. 1.2 โมล

54
95. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 44) ถัง A มีปริมาตร 0.2 m3 ต่อเชื่อมกับถัง B ดังรูปข้างล่างนี้ ที่สภาวะเริ่มต้น ถัง
A บรรจุแก๊สไนโตรเจน และมีความดัน 400 kPa อุณหภูมิ 27 C ในขณะที่ถัง B เป็นถังเปล่า จากนั้น
ทำการเปิดวาล์วเพื่อถ่ายโอนไนโตรเจนเข้าถัง B และจะหยุดการถ่ายโอนมวลเมื่อความดันของถังทั้งสอง
เท่ากันที่ 300 kPa และกระบวนการนี้อุณหภูมิจะถูกควบคุมให้คงที่โดยตลอด ถ้าไม่คิดการตกค้างของ
ไนโตรเจนในท่อที่เชื่อมถังทั้งสองแล้ว จงหาปริมาตรถัง B

ก. 0.07 m3 ข. 0.15 m3 ค. 0.05 m3 ง. 0.27 m3

55
96. (PAT2 ก.พ. 62) ตามปั๊มน้ำมันมักจะมีบริการเติมลมด้วยพนักงานจะนำถังอัดลมมาเติมลมยางรถยนต์ ถ้า
ถังอัดลมมีความดันอากาศ 50 psi (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และมีปริมาตรเป็น 5 เท่าของปริมาตรของ
อากาศภายในยาง รถยนต์ถังอัดลมนี้จะสามารถเติมลมยางจาก 25 psi เป็น 30 psi ได้จำนวนสูงสุดกี่
เส้น กำหนดให้อุณหภูมิคงที่ใน ขณะที่เติมลมยาง
ก. 16 ข. 20 ค. 25 ง. 30 จ. 50

56
97. (PAT3 มี.ค. 53) ถังลมขนาดใหญ่มีปริมาตร 5.6 ลูกบาศก์เมตร ความดันสัมบูรณ์ 1,500 กิโลปาสคาล
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 27 C ถ้าใช้ถังลมดังกล่าวในการอัดลมห่วงยางรถยนต์จากสภาวะที่ไม่มี
อากาศภายในจนมีปริมาตร 0.28 ลูกบาศก์เมตร และความดันสัมบูรณ์ 300 กิโลปาสคาล ถามว่าจะเติม
ลมยางได้สูงสุดกี่เส้น กำหนดให้ค่าคงที่ของอากาศ Rair = 0.28 กิโลจูลต่อกิโลกรัม-เคลวิน
ก. 1, 000 เส้น ข. 800 เส้น
ค. 100 เส้น ง. 80 เส้น
จ. 40 เส้น

57
แนวที่ ๘ : ความหนาแน่นของแก๊สอุดมคติ

98. (สอวน. ม.5 ก.ย. 47) ถ้าถือว่าบรรยากาศเป็นแก๊สอุดมคติที่อุณหภูมิ T K ซึ่งมีมวลเท่ากับ M ต่อหนึ่ง


โมล ความหนาแน่นของเนื้อบรรยากาศมีค่าเป็นเท่าใดในรูปของความดัน P อุณหภูมิ T ค่าคงที่แก๊ส
R และ M

99. (PAT3 ก.พ. 62) แก๊สเฮกเซน (Hexane) ถูกบรรจุอยู่ในภาชนะปิดที่ 27 C และ 1 atm หากแก๊สนี้
ประพฤติตาม Ideal gas law จะมีความหนาแน่นเท่าใด
ก. 0.034 kg/m3 ข. 0.345 kg/m3
ค. 3.454 kg/m3 ง. 38.375 kg/m3
จ. 383.757 kg/m3

100. (PAT3 มี.ค. 56) จงหาค่าความหนาแน่นของแก๊สออกซิเจนในหน่วยกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่บรรจุในถัง


ขนาด 5 ลิตร อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความดัน 8.3 บรรยากาศ
ก. 0.0067 ข. 0.1067
ค. 0.2067 ง. 0.3067
จ. 0.4067

58
101. (PAT2 ก.พ. 63) ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สหรือไอชนิดใดต่อไปนี้ มีความหนาแน่นมากที่สุด
กำหนดให้มวลอะตอมมีค่าดังนี้ H = 1, C = 12, F = 19, S = 32, I = 127
ก. แก๊สไข่เน่า ข. แก๊สหุงต้ม (LPG)
ค. ไอของเกล็ดไอโอดีน ง. ไอของก้อนแนฟทาลีน
ง. ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์

102. (สอวน. ธ.ค. 63) ที่ความดันปกติและที่อุณหภูมิห้อง อากาศมีความหนาแน่นเป็นที่เท่าของความ


หนาแน่นของแก๊สไฮโดรเจนล้วนๆ ที่ความดันและอุณหภูมิเดียวกัน ตอบในเทอมของมวลโมเลกุลของ
แก๊สไฮโดรเจน ( M H ) และของมวลโมเลกุลของอากาศ ( M air ) ทั้งนี้ให้ถือว่าแก๊สเหล่านี้ประพฤติ
2

ตามกฎของแก๊สอุดมคติ

59
103. (กสพท. เคมี 2561) แก๊สชนิดหนึ่งมีความหนาแน่นที่ STP เท่ากับความหนาแน่นของแก๊สไนโตรเจนที่
อุณหภูมิ 273 C ความดัน 1, 410 Torr แก๊สชนิดนี้อาจเป็นแก๊สใด
(กำหนดให้ 1 Torr = 1 mmHg )
ก. ฟลูออรีน ข. อะเซทิลีน
ค. แอมโมเนีย ง. คาร์บอนไดออกไซด์
จ. ไนโตรเจนมอนอกไซด์

60
104. (สอวน. ม.5 ก.ย. 46) ภายใต้ความดันบรรยากาศเดียวกัน แก๊สชนิดเดียวกันที่อุณหภูมิ T0 K จะมี
ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลงเป็น T1 K ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีกกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าเดิม

105. (สอวน. ม.5 ก.ย. 46) กำหนดความหนาแน่นของอากาศที่ 0 C ความดัน 101 กิโลพาสคาล มีค่า
1.29 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จงหาความหนาแน่นของอากาศที่ 100 C ความดัน 200 กิโลพาส
คาล

106. (สอวน. ม.4 ก.ย. 46) กำหนดความหนาแน่นของอากาศที่ 0 C ความดัน 101 กิโลพาสคาล มีค่า
1.29 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จงหาปริมาตรของอากาศมวล 1 กิโลกรัมที่ 100 C ความดัน 200
กิโลพาสคาล

61
107. (ทุนคิง 2546) ห้องมีขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร อากาศในห้องเย็นลงจากอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
เป็น 27 องศาเซลเซียส โดยมีความดันคงที่ ถ้าความหนาแน่นอากาศที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
และที่ความดันปกติ เท่ากับ 1.14 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีอากาศเข้ามาในห้องกี่กิโลกรัม ในช่วง
ที่อากาศในห้องกำลังเย็นลง (ให้ถือว่าค่ามวลเฉลี่ยของโมเลกุลอากาศไม่มีการเปลี่ยนแปลง)

62
108. (BMAT 2020) A supermarket has a large open-topped deep freezer to keep products
frozen but still visible to customers.

Which statement about the air in this freezer explains why the products remain frozen,
even though it is open-topped?
A. The temperature difference between the air inside and outside the freezer is too large
for heat to enter the freezer.
B. The temperature difference between the air inside and outside the freezer is too
small for heat to enter the freezer.
C. The warm air above the freezer is denser than cold air inside the freezer.
D. The cold air inside the freezer is denser than the hot air above the freezer.
E. The products inside the freezer trap the cold air so it cannot escape.

63
แนวที่ ๙ : แนวกราฟ

109. (PAT2 มี.ค. 53) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกำหนดสภาวะของแก๊สในข้อใดไม่เป็นเส้นตรง เมื่อ


กำหนดให้ตัวแปรอื่นคงที่
ก. ความดันและอุณหภูมิ ข. ความดันและจำนวนโมล
ค. ปริมาตรและความดัน ง. ปริมาตรและอุณหภูมิ

110. (IMAT 2019) A fixed mass of an ideal gas is compressed at constant temperature. The
pressure is recorded continuously as the volume decreases. The pressure ( y − axis) and
volume ( x − axis) are plotted on a linearly scaled graph.

Which statement describes the plotted line?


A. a curved line of increasing positive gradient starting at the origin of the graph
B. a curved line with negative gradient of decreasing magnitude
C. a straight line parallel to the pressure axis
D. a straight line parallel to the volume axis
E. a straight line of positive gradient starting at the origin of the graph

64
111. (กสพท. เคมี 2561) จากการวัดปริมาตรของแก๊สที่ความดันต่างๆ โดยให้อุณหภูมิคงที่ที่ 100, 200
และ 300 K กราฟในข้อใดถูกต้อง

ก. ข.

ค. ง.

จ.

65
112. (PAT2 มี.ค. 65) พิจารณาสถานการณ์ในชีวิตประจำวันต่อไปนี้
สถานการณ์ที่ I: เมื่อลิฟต์เคลื่อนขึ้นที่สูงจะทำให้ผู้โดยสารรู้สึกปวดหูหรือหูอื้อ เนื่องจากความดัน
ภายในหูลดลงช้ากว่าความดันภายนอก จึงทำให้แก้วหูโป่งออก
สถานการณ์ที่ II: เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ควันพิษและเปลวไฟจะลอยขึ้นไปตามช่องบันไดหรือปล่องลิฟต์ใน
อาคาร เนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศปกติ

กำหนดให้ P คือความดัน V คือปริมาตร T คืออุณหภูมิ n คือจำนวนโมล และ D คือความ


หนาแน่น
จากข้อมูล สถานการณ์ที่ I และ II สอดคล้องกับกราฟในข้อใดตามลำดับ

สถานการณ์ที่ I สถานการณ์ที่ II
ก.

ข.

ค.

ง.

จ.

66
113. (กสพท. 2565) แก๊สอุดมคติบรรจุอยู่ในภาชนะปิดปริมาตรคงตัว 0.5 ลูกบาศก์เมตร วัดความดันของ
แก๊สขณะที่แก๊สมีอุณหภูมิค่าต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่วัดได้ไปเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความ
ดันของแก๊สและอุณหภูมิของแก๊ส ได้ผลดังกราฟ

กำหนดให้
ค่าคงตัวแก๊ส R = 8.3 J/ ( mol K )
ค่าคงตัวอาโวกาโดร N A = 6.0 1023 mol−1
ค่าคงตัวโบลต์ซมันน์ kB = 1.4 10−23 J/K
แก๊สภายในภาชนะมีจำนวนกี่โมล

67
114. (PAT2 ก.ค. 52) จากความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติต่างๆ ของแก๊สอุดมคติชนิดหนึ่ง สามารถเขียนเป็น
กราฟความสัมพันธ์ได้หลายรูปแบบ ถ้ากำหนดให้ M แทนน้ำหนักโมเลกุล, C แทนความเข้มข้น, D
แทนความหนาแน่น, V แทนปริมาตร, P แทนความดัน และ T แทนอุณหภูมิเคลวิน ความสัมพันธ์
ของรูปแบบข้อใดถูกต้องทั้งหมด

68
115. (PAT2 ต.ค. 53) ค่าความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักโมเลกุล (แกนนอน) และความ
หนาแน่น (แกนตั้ง) ของแก๊สอุดมคติที่ภาวะ STP คือข้อใด
ก. 273R ข. −273R
1 1
ค. ง. −
273R 273R

69
แนวที่ ๑๐ : แก๊สอุดมคติกับสมดุลแรง

116. (กสพท. 2561) เมื่อลูกสูบมีพื้นที่ภาคตัดขวาง A อยู่ที่ตำแหน่ง x = 0 ความดันภายในกระบอกสูบ


เท่ากับความดันบรรยากาศ Pa พอดี ระยะทางจาก O ถึงก้นกระบอกสูบเท่ากับ L ต้องออกแรง F
เท่ากับเท่าไร เพื่อให้ลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่ง x โดยอุณหภูมิของแก๊สภายในกระบอกสูบมีค่าคงที่

 x   x  x
ก.   Pa A ข.   Pa A ค.   Pa A
 L−x  L+ x L
 L   x
ง.   Pa A จ. 1 +  Pa A
 L−x  L

70
117. (EJU-1 2014) As shown in Figure 1 below, an ideal gas is enclosed in a horizontal cylinder
by a smoothly moving piston with cross-sectional area S . Initially, the piston is distance
from the base of the cylinder, and the pressure of the ideal gas is equal to
atmospheric pressure p0 . An external force is applied to the piston so that it is pushed
inward very slowly. As the piston moves, the temperature of the gas is kept constant.
As shown in Figure 2, the magnitude of the force applied to the piston is F when the
piston is distance d from its initial position.

What is F ? From (a)-(d) below choose the correct answer.


p0 Sd p0 Sd p0 S ( − d ) p0 S
(a) (b) (c) (d)
−d d −d

71
118. (สอวน. มจพ. ธ.ค. 63) กระบอกสูบอันหนึ่ง มีพื้นที่หน้าตัด 100 ตารางเซนติเมตร บรรจุอากาศไว้
ภายใน ที่ความดันบรรยากาศ 1105 ปาสคาล และมีปริมาตร V ถ้านำมวล 300 กิโลกรัมมากด
ลูกสูบไว้ ปริมาตรภายในกระบอกสูบจะลดลงเหลือเท่าใด
ก. 0.75V ข. 0.33V ค. 0.25V ง. 0.67V

72
119. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 42) กระบอกสูบและลูกสูบบรรจุแก๊ส He ถูกยึดด้วยสลัก A ดังรูป ซึ่งภายใน
กระบอกสูบจะมีปริมาตร 1 ลิตร ความดัน 200 kN/m2 และลูกสูบมีพื้นที่หน้าตัด 0.1 m 2 มวล
100 kg จงหาปริมาตรภายในกระบอกสูบ เมื่อระบบอยู่ในสมดุลหลังดึงสลัก A ออก กำหนดให้
อุณหภูมิคงที่ตลอดเวลาและความดันบรรยากาศเท่ากับ 100 kN/m2 ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
ของโลกเท่ากับ 10 m/s2 .

ก. 1.42 ลิตร ข. 1.62 ลิตร ค. 2.00 ลิตร ง. 2.42 ลิตร

120. (มข. 2559) เมื่อนำหลอดแก้วรูเล็กที่มีปลายปิดข้างหนึ่งไปลนไฟ แล้วนำปลายนี้ไป


จุ่มลงในน้ำมัน ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ในขณะที่หลอดเย็นลง น้ำมันถูกดูดเข้าไปในหลอด
ข. เมื่อหลอดเย็นลง ปริมาตรแก๊สที่อยู่ระหว่างน้ำมันและปลายปิดลดลง
ค. เมื่อหลอดเย็นลง จำนวนโมเลกุลแก๊สที่อยู่ระหว่างน้ำมันและปลายปิดลดลง
ง. ในขณะที่หลอดเย็นลง ความดันแก๊สในหลอดคงที่

73
121. (กสพท. 2562) M เป็นมวลรวมของก้อนน้ำหนัก ถาดและลูกสูบซึ่งมีพื้นที่ภาคตัดขวาง A
Pa เป็นความดันบรรยากาศ ที่สภาวะสมดุลเชิงกลเราจะได้ว่า
M + (...) h = คงที่
จงหาปริมาณใน (...)

Pa
ก. 0 ข. Pa A ค.
g
gA Pa A
ง. จ.
Pa g

74
122. (สอวน. ม.5 ส.ค. 55) กระบอกสูบดิ่งผนังลื่นบรรจุแก๊สอุดมคติ n โมล อุณหภูมิคงที่ T ทับไว้ด้วย
ลูกสูบมวล M ลำแก๊สมีความสูง y ต่อมาถ้านำมวล m M ไปวางทับลูกสูบจะทำให้ลูกสูบเลื่อน
ต่ำลงจากเดิมเป็นระยะทางเท่าใด ตอบในรูปของ n, R, T , g , y และ m

75
123. (สอวน. ม.5 ส.ค. 48) แก๊สในกระบอกสูบเป็นแก๊สอุดมคติ ปริมาตร V0 ความดัน P1 ลูกสูบมีพื้นที่
ภาคตัดขวาง A สามารถเลื่อนขึ้นลงได้คล่องในแนวดิ่ง นำมวล m มาวางลงอย่างช้าๆ บนลูกสูบ
ลูกสูบจะเลื่อนลงไปอยู่ตำแหน่งสมดุลใหม่ต่ำจากตำแหน่งเดิมเป็นระยะทางเท่าใด

76
124. (สอวน. ส.ค. 61) กระป๋องทรงกระบอกสูง 20 เซนติเมตร ฝากระป๋องมวลน้อยมากมีพื้นที่หน้าตัด 40
1
ตารางเซนติเมตร ภายในบรรจุก๊าซจำนวน โมล โดยที่ความดันของก๊าซในกระป๋องมีขนาดน้อยกว่า
83
ความดันบรรยากาศ ฝากระป๋องถูกกดให้ปิดอยู่ได้ด้วยความดันอากาศเพียงอย่างเดียว จากการทดลอง
พบว่า เราจะต้องใช้แรงขนาด 240 นิวตัน ในการยกฝากระป๋องขึ้น จงหาอุณหภูมิของก๊าซในกระป๋อง
ในหน่วยเคลวิน กำหนดให้ความดันบรรยากาศมีค่าเท่ากับ 100 กิโลพาสคาล
ก. 320 ข. 480 ค. 800 ง. 1600

77
125. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 48) พิจารณากระบอกสูบและลูกสูบที่มีแก๊สบรรจุไว้ภายในดังรูปด้านล่าง จำนวน
โมลของแก๊สในกระบอกสูบคือ 2 โมล ปริมาตรและอุณหภูมิของแก๊สคือ 100 ลิตร และ 300 เคลวิน
ตามลำดับ และมีสปริงที่มีค่าคงที่ของสปริงเท่ากับ 200 กิโลนิวตันต่อเมตร ติดอยู่บนลูกสูบที่มี
พื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 0.1 ตารางเมตร ถ้าความดันบรรยากาศของระบบนี้คือ 105 ปาสกาล และลูกสูบ
หยุดนิ่งกับที่ จงหาระยะขจัดของสปริง โดยกำหนดให้แก๊สเป็นแก๊สในอุดมคติ และมวลของลูกสูบมีค่า
น้อยมากๆ จนไม่มีผลต่อระยะขจัดของสปริง
กำหนดให้ g = 10 เมตรต่อ(วินาที)2, R = 8.31 จูลต่อโมล*เคลวิน

ก. สปริงยืดตัว 25 มิลลิเมตร ข. สปริงหดตัว 25 มิลลิเมตร


ค. สปริงยืดตัว 35 มิลลิเมตร ง. สปริงหดตัว 35 มิลลิเมตร

78
126. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 45) หลอดแก้วเล็กและยาว มีขนาดสม่ำเสมอ ปลายปิดข้างหนึ่ง มีลำปรอทยาว
5.0 cm อยู่ภายในหลอด ถ้าคว่ำหลอดให้ตั้งในแนวดิ่งและมีปลายปิดอยู่ด้านบน พบว่าความยาวของ
ลำอากาศในหลอดส่วนบนเป็น 25.6 cm แต่ถ้าตั้งหลอดให้ปลายเปิดอยู่ด้านบนแทน จะมีความยาว
ของลำอากาศในหลอดส่วนล่างเป็น 22.4 cm ดังรูป จงหาความดันบรรยากาศในหน่วยมิลลิเมตรของ
ปรอท

79
127. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 46) รถกระบะ 4 ล้อ มีน้ำหนักรถเปล่า 10, 000 นิวตัน บรรทุกสินค้า 6, 000 นิว
ตัน การกระจายน้ำหนัก ล้อหน้า : ล้อหลัง เท่ากับ 40 : 60 ล้อรถที่ใช้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100
เซนติเมตร กระทะล้อรถมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร หน้ายางกว้าง 80 เซนติเมตร ความ
ดันลมยาง 400 กิโลพาสคัล จงหาขนาดพื้นที่สัมผัสระหว่างยางกับผิวถนนของล้อหลังแต่ละล้อเป็น
ตารางเซนติเมตร

80
แนวที่ ๑๑ : สมดุลแรง VS. แก๊ส 2-3 ส่วน

128. (มข. 2558) จากรูป อัดแก๊ส A ปริมาณ 2 โมล และ B ปริมาณ 4 โมล เข้าไปในถังทรงกระบอกซึ่งมี
ลูกสูบกั้นแก๊สทั้งสองไว้ พบว่าลูกสูบจะเคลื่อนตัวแล้วหยุดที่ความยาว x1 และ x2 จงหาอัตราส่วน x1
ต่อ x2

ก. 1: 2 ข. 1: 4 ค. 2 :1 ง. 4 :1

81
129. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 47) ภาชนะรูปทรงกระบอกปลายปิด ภายในมีลูกสูบทำหน้าที่แบ่งทรงกระบอกเป็น
3 ส่วน ดังรูป ส่วนที่ 1 บรรจุแก๊สออกซิเจน 64 กรัม ส่วนที่ 2 บรรจุแก๊สไฮโดรเจน 6 กรัม ส่วนที่ 3
บรรจุแก๊สไนโตรเจน 60 กรัม (ไม่คิดแรงเสียดทานระหว่างลูกสูบกับทรงกระบอก) กำหนดให้มวล
โมเลกุลของแก๊สออกซิเจน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน เท่ากับ 32, 2 และ 28 ตามลำดับ เมื่อลูกสูบอยู่
ในตำแหน่งสมดุล ข้อใดถูกต้อง

ก. L1  L2  L3 ข. L1  L3  L2
ค. L2  L3  L1 ง. L3  L2  L1

82
130. (ทุนคิง 2547) ท่อแก้วรูปวงแหวนมีก๊าซ 3 ชนิดอยู่ภายใน ก๊าซทั้งสามมีมวลและอุณหภูมิเท่ากัน แต่มี
มวลโมเลกุลต่างกันเท่ากับ 10, 20 และ 30 ถ้าก๊าซถูกแยกกันโดยผนังบางๆ ที่สามารถเลื่อนไปมาใน
ท่อแก้วได้โดยไม่มีแรงเสียดทานใดๆ (ดังรูป) ในสมดุลจงหาค่าของมุม 1 ,2 และ 3

83
131. (EJU-1 2019) As shown in the figure below, ideal gases of equal amount of substance
are enclosed inside cylinders A and B (cross-sectional areas: S A and S B , respectively)
using smoothly moving pistons. A and B are placed facing each other, and are fixed in
place so that their central axis is horizontal. The two pistons are connected with a rod.
The piston in A comes to rest at distance LA from A’s base, and the piston in B comes
to rest at distance LB from B’s base. The absolute temperature and pressure of the
ideal gas inside A are TA and pA , respectively. The absolute temperature and pressure
of the ideal gas inside B are TB and pB , respectively. Ignore the effect of atmospheric
pressure.

TB
What is ? From (a)-(f) below choose the correct answer.
TA
LB S B LB pB LB
(a) (b) (c)
LA S A LA p A LA
LA S A LA p A LA
(d) (e) (f)
LB S B LB pB LB

84
132. (EJU-1 2018) Two identical cylinders, A and B, enclose ideal gases of the same volume
with two smoothly moving pistons of the same cross-sectional area. As shown in the
figure below, A and B are fixed in place on a horizontal floor, facing each other, and
their pistons are joined with a rod. Initially, the gases in A and B both have pressure p0
, volume V0 , and absolute temperature T0 . Next, the absolute temperature of the gas
in B is changed to T1 while the absolute temperature of the gas in A kept at T0 . As a
result, the pressure of the gas in B changes to p1 .

T1
What is ? From (a)-(f) below choose the correct answer.
T0
p1 p0 2 p1
(a) (b) (c) −1
p0 p1 p0
2 p0 p1 p
(d) −1 (e) 2− (f) 2− 0
p1 p0 p1

85
133. (EJU-2 2018) As shown in the figure below, a closed cylinder is divided into two regions,
A and B, by a smoothly moving piston. The cylinder and piston are made of thermally
insulating material. There is a heater in A. Ideal gases are enclosed in A and B in equal
quantities. Initially, the gases in A and B have the same temperature, pressure, and
volume. The heater is used to slowly heat the gas in A for a certain period of time. As
a result, the piston moves and comes to rest at a position where the volume of the gas
in A has increased by a factor of 6 . Here, let us denote as TA and TB the absolute
5
temperature of the gases in A and B, respectively.

TA
What is ? From (a)-(f) below choose the correct answer.
TB
2 4 5 6 5 3
(a) (b) (c) (d) (e) (f)
3 5 6 5 4 2

86
134. (ทุนญี่ปุ่น 2010) As shown in the figure below, an enclosed cylindrical container (cross-
sectional area: S ) is divided into two sections (A, B) by a piston (P). The length of each
section is 10 cm . Each section contains a monatomic ideal gas at temperature 0 C
and pressure 1.0 105 Pa (both contain the same type of gas). The gas in B is contact
with a thermostatic bath at temperature 0 C , and does not change in temperature.
The piston and container do not conduct heat. The area of contact between the piston
and the container is tightly sealed and frictionless.

What the gas in A is heated to 57 C using a heater, what distance is traveled by P?


From (a)-(e) below choose the best answer.
(a) 0.1 (b) 0.5 (c) 1 (d) 5 (e) 10

87
135. (EJU-2 2017) As shown in the figure below, two identical cylinders, A and B are fixed in
place on a horizontal floor, facing each other. The two pistons move smoothly, have
the same cross sectional area, and are joined together by a common rod. The pistons
enclose 0.20 mol and 0.60 mol of an ideal gas in A and B, respectively. The gas in A
can be heated with a heater. Initially, the gases in A and B are at the same temperature
and pressure. The heater is used to heat the gas in A for a certain amount of time. As a
result, the volume of the gas in A increases by a factor of 1.5 . Let us denote as TA and
TB the temperature of the gas in A and the gas in B, respectively, for this state. The
cylinders and pistons are made of thermally insulating material, and their heat capacity
is negligible.

TA
What is ? From (a)-(f) below choose the best answer.
TB
(a) 0.50 (b) 0.80 (c) 1.0
(d) 1.3 (e) 1.8 (f) 2.0

88
แนวที่ ๑๒ : ฟองแก๊สกับความลึกของน้ำ

136. (TEDET ม.1 2563) ลูกโป่งที่ขายในสวนสนุกมีเส้นด้ายผูกอยู่ ถ้าปล่อยมือจากเส้นด้าย ลูกโป่งจะลอย


ขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งเกิดจากภายในลูกโป่งมีแก๊สที่เบากว่าอากาศบรรจุอยู่

ข้อใดคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับลูกโป่งที่ลอยบนท้องฟ้า
ก. ในที่สูงมีอากาศน้อย ขนาดของลูกโป่งจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นจนลูกโป่งแตก
ข. ในที่สูงมีอากาศน้อย ขนาดของลูกโป่งจะค่อยๆ เล็กลงจนลูกโป่งแตก
ค. ในที่สูงมีอากาศมากขึ้น ขนาดของลูกโป่งจะค่อยๆ เล็กลงจนลูกโป่งแตก
ง. ในที่สูงมีอากาศมากขึ้น ขนาดของลูกโป่งจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นจนลูกโป่งแตก
จ. ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่ต่ำหรือที่สูง ต่างก็มีอากาศปริมาณเท่ากัน ขนาดของลูกโป่งจึงไม่เปลี่ยนแปลง

89
137. (กสพท. 2558) ฟองอากาศที่ใกล้ผิวน้ำมีปริมาตรเป็นกี่เท่าของฟองเดียวกันเมื่อยังอยู่ที่ก้นถ้วยลึก h
(ความหนาแน่นของน้ำเป็น  และความดันบรรยากาศเหนือผิวน้ำเป็น Pa อุณหภูมิของน้ำมีค่าคงที่
ตลอดความลึก และไม่ต้องคำนึงถึงความตึงผิว)

 gh Pa Pa
ก. ข. ค. 1 +
Pa  gh  gh
1
 gh   gh  2
ง. 1 + จ. 1 + 
Pa  Pa 

138. (PAT2 ก.พ. 61) ปอดของชายคนหนึ่งจุอากาศได้ 4.0 ลิตร ที่ความดันบรรยากาศ 101.3 kPa ถ้าชาย
คนนี้ดำลงไปในน้ำลึกซึ่งลึก 5 เมตร อากาศปริมาณเดิมในปอดจะมีปริมาตรกี่ลิตร กำหนดความ
หนาแน่นน้ำเท่ากับ
ก. 0.1 ข. 0.4 ค. 2.7 ง. 4.0 จ. 8.3

90
139. (Ent มี.ค. 46) ฟองอากาศปุดขึ้นมาจากก้นสระ ปริมาตรของฟองอากาศที่ลอยขึ้นไป ณ ตำแหน่งที่ใกล้
ผิวน้ำเป็นสองเท่าของปริมาตรฟองอากาศที่ก้นสระ จงหาความลึกของสระ (สมมติให้อุณหภูมิของ
ฟองอากาศคงที่ ความดันบรรยากาศที่ผิวน้ำเป็น Pa และความหนาแน่นของน้ำเป็น  )
2 Pa Pa 2 Pa Pa
ก. ข. ค. ง.
g g 3 g 2 g

91
140. (IJSO รอบที่ 3 ต.ค. 49)

92
141. (Ent 37) ฟองอากาศปริมาตร 110−2 ลิตร ลอยขึ้นจากพื้นผิวดินใต้ท้องทะเลซึ่งมีอุณหภูมิ 7 องศา
เซลเซียส เมื่อลอยถึงผิวน้ำซึ่งมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ปรากฏว่ามีปริมาตร 3 10−2 ลิตร ถ้าน้ำ
ทะเลมีความหนาแน่น 1030 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และความดันบรรยากาศขณะนั้นมีค่า 1105
พาสคัล จงหาความลึกของน้ำทะเล ณ จุดนั้น
ก. 27.5 m ข. 17.5 m ค. 14.8 m ง. 9.8 m

93
แนวที่ ๑๓ : บอลลูนเริ่มลอยตัวในอากาศ

142. (PAT3 มี.ค. 60) บอลลูนทรงกลมบรรจุแก๊สฮีเลียม ต้องมีรัศมีอย่างน้อยเท่าไร จึงจะสามารถยกมวล


145.2 kg ให้ลอยในอากาศได้ กำหนดให้ความหนาแน่นของฮีเลียมเท่ากับ 0.18 kg/m3 และความ
หนาแน่นของอากาศเท่ากับ 1.25 kg/m3
ก. 0.79 m ข. 1.58 m
ค. 3.16 m ง. 6.32 m
จ. 9.48 m

143. (PAT3 ก.พ. 63) บอลลูนทรงกลมบรรจุแก๊สร้อนที่มีความหนาแน่น 0.95 kg/m3 บอลลูนนี้ต้องมีรัศมี


น้อยที่สุดเท่าไรจึงสามารถยกมวล 220 kg ได้ กำหนดให้ความหนาแน่นอากาศที่อุณหภูมิบรรยากาศมี
ค่า 1.2 kg/m3
ก. 3 m ข. 4 m ค. 5 m ง. 6 m จ. 7 m

94
144. (กสพท. 2557) บอลลูนอากาศร้อน ปริมาตร V กำลังยกตัวเองอยู่ในอากาศซึ่งมีค่ามวลโมเลกุลอากาศ
เฉลี่ยเป็น M บอลลูนนี้สามารถยกน้ำหนักโครงสร้างรวมสัมภาระได้มากสุดเท่าใด (กำหนดให้ R เป็น
ค่าคงตัวของแก๊ส)

PMVg (T1 − T0 ) PMVg (T1 − T0 ) PMVg


ก. ข. ค.
RT1T0 RT1T0 RT1
PMVg PMVg
ง. จ.
RT0 R T1T0

95
145. (กสพท. 2558) ลูกโป่งผิวบางมากบรรจุอากาศร้อนอุณหภูมิ T ปริมาตร V และความดัน P กำลัง
ลอยในอากาศเย็นอุณหภูมิ T0 และความดัน P0 จงหาค่าความตึงในเส้นเชือก (ให้ถือว่าอากาศทั้งใน
และนอกลูกโป่งเป็นแก๊สอุดมคติแบบเดียวกัน มีค่ามวลโมเลกุลเป็น M kg  mole−1 )

VMg  P − P0  VMg  P P0  VMg  P0 P 


ก.   ข.  −  ค.  − 
R  T − T0  R  T T0  R  T0 T 
PVMg 1 1  PVMg  1 1 
ง. 0
 −  จ.  − 
R  T T0  R  T T0 

96
146. (ทุนญี่ปุ่น 2020) A hot air balloon of mass M is shown in figure below. The volume of
the air bag is V . Mass M does not include the mass of the air inside the bag. The
bottom of the bag is open, and the air pressure inside the bag is equal to the surrounding
air pressure, P . The burner sitting on the basket is used to heat the air inside the bag.
The molar mass of air is denoted by m and the acceleration of gravity is denoted by g
. The air is an ideal gas, and the universal gas constant is denoted by R . The temperature
of the surrounding air is T0 .

After the air inside the bag is heated by the burner, the temperature of the air becomes
T.

(1) Find the density of the air inside the bag.


mP mP 2mP
(a) (b) (c)
2 RT RT RT
PV M Mg
(d) (e) (f)
RT V V

(2) Find the buoyancy force, namely the upward force created by the air surrounding
the balloon, acting on the balloon.
PVmg 2PVmg
(a) Mg (b) (c)
RT0 RT0
PVmg 5PVmg mg
(d) (e) (f)
2 RT0 RT0 RT0

97
The balloon starts rising from the ground when the temperature of the air inside the bag
Is T1 .

(3) Find the formula for T1 .


mPVT0 mPVT0 mPV
(a) (b) (c)
mPV − MRT0 mPV − 2MRT0 MR
mPV − MRT0
(d) (e) T0 (f) 2T0
mPVT0

(4) Using the values m = 2.9 10−2 kg  mol−1 , M = 5.0 102 kg , P = 1.0 105 Pa , V =
3.0 103 m3 , T0 = 3.0 102 K , and R = 8.3 J  K −1  mol−1 , find the approximate
value of T1 .
(a) 3.0 102 K (b) 7.0 102 K (c) 2.5 103 K
(d) 3.5 102 K (e) 4.5 102 K (f) 4.0 103 K

98
147. (PAT2 มี.ค. 64) การยกวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำให้ลอยขึ้นมา ทำได้โดยใช้บอลลูนยางที่สามารถหดหรือขยาย
ได้อิสระผูกติดกับวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ หากใช้บอลลูนยางชนิดหนึ่งที่มีมวลเท่ากับ 100 กิโลกรัม เมื่ออัด
แก๊สเฉื่อยเข้าไปในบอลลูนยางนี้ ทำให้บอลลูนยางมีปริมาตร 1.98 ลูกบาศก์เมตรที่บริเวณผิวน้ำ ถ้านำ
บอลลูนยางที่มีแก๊สเฉื่อยมวลเท่ากันนี้ ไปผูกติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีปริมาตร 0.50 ลูกบาศก์เมตร และ
ตำแหน่งกึ่งกลางของบอลลูนยางอยู่ใต้ผิวน้ำลึก 10 เมตร
กำหนดให้ ความดันอากาศที่ระดับผิวน้ำ เท่ากับ 1.0 105 พาสคาล
ความหนาแน่นของน้ำ เท่ากับ 1.0 103 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ความเร่งโน้มถ่วง เท่ากับ 9.8 เมตรต่อวินาที2
อุณหภูมิที่ผิวน้ำและใต้น้ำที่ระดับความลึก 10 เมตร มีค่าเท่ากัน
จากข้อมูล มวลของวัตถุที่มากที่สุดที่บอลลูนยางลูกนี้สามารถยกให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำได้คือข้อใด หากไม่
คำนึงถึงความหนืดของน้ำ
ก. 1.2 ตัน ข. 1.5 ตัน
ค. 1.8 ตัน ง. 2.1 ตัน
จ. 2.4 ตัน

99
148. (PAT3 มี.ค. 58) ลูกโป่งบรรจุแก๊สฮีเลียมมีขนาดบรรจุ 0.03 m3 จะต้องใช้ลูกโป่งทั้งหมดกี่ลูกในการ
ยกรถหนัก 1.2 ตัน
กำหนดให้ ความหนาแน่นของอากาศ = 1.2 kg/m3
ความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียม = 0.2 kg/m3
ก. 10, 000 ข. 20, 000
ค. 33,334 ง. 40, 000
จ. 80, 000

100
แนวที่ ๑๔ : บอลลูนลอยตัวความเร่ง

149. (สอวน. ธ.ค. 63) กำหนดให้ M เป็นมวลโมเลกุลของอากาศ (มวลของอากาศ 1 โมล) ในหน่วย kg


จงวิเคราะห์หาแรงยกลัพธ์ของบอลลูนนี้ (ไม่ต้องคำนึงถึงมวลของโครงสร้างของบอลลูน)

101
150. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 44) โคมลอยรูปทรงกลมมีโครงสร้างที่เบามาก อากาศภายนอกและอากาศร้อน
ข้างในมีอุณหภูมิสัมบูรณ์เป็น T0 และ T1 ตามลำดับ จับโคมไว้ให้อยู่นิ่ง ความดันอากาศภายในโคมมีค่า
เท่ากับของอากาศภายนอก ทันทีที่ปล่อยมือ โคมลอยจะเคลื่อนที่ขึ้นด้วยความเร่งขนาดเท่าไร ให้ตอบ
ในรูปของ T0 , T1 และ g ของโลก

102
151. (สอวน. ม.5 ต.ค. 58) บอลลูนลมร้อนตอนไม่มีลมร้อนมีมวล M และเมื่อเป่าลมร้อนเข้าไปจะม
ปริมาตรเท่ากับ V 1 โมลโมเลกุลอากาศมีน้ำหนักเท่ากับ ma ถ้าอากาศภายในบอลลูนมีอุณหภูมิ
เท่ากับ Tb และให้ประมาณว่าความดันอากาศภายในบอลลูนเท่ากับความดันภายนอกบอลลูนซึ่งเท่ากับ
P.
(ก) ถ้าอากาศภายนอกที่มีพื้นมีอุณหภูมิเท่ากับ Ta จงหาความเร่งของบอลลูนขณะเริ่มลอยขึ้น
(ข) จงหาอุณหภูมิของอากาศภายนอกเมื่อบอลลูนลอยอยู่ ณ ความสูงที่สูงที่สุด

103
แนวที่ ๑๕ : คว่ำแก้วลงในน้ำ

152. (สอวน. ม.5 ส.ค. 54)

104
153. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 51) คว่ำถ้วยทรงกระบอกผิวบางปริมาตร V มวลน้อยมากจากเหนือผิวน้ำ และ
กดลงไปตรงๆ ลงไปสู่ก้นถังน้ำความหนาแน่น  ลึก h จะต้องใช้แรงกดเท่าใดกดไว้ให้อยู่ที่ก้นถังได้
พอดี ในที่นี้ Pa เป็นความดันบรรยากาศ

105
154. (สอวน. ก.ย. 44) หลอดแก้วกลมยาวผนังบางเฉียบหลอดหนึ่งมีปลายด้านหนึ่งปิด มีรัศมีภายนอกเท่ากับ
a และมีมวล m (น้ำหนัก mg ) คว่ำหลอดแก้วนี้ลงในน้ำซึ่งมีความหนาแน่น  ให้มีอากาศกักอยู่บ้าง
และลอยอยู่ได้ดังรูป

(๑) ระดับน้ำในหลอดจะต่ำกว่าระดับน้ำนอกหลอดเป็นระยะทางเท่าใด
(๒) ความดันของอากาศในหลอดแก้วสูงกว่าข้างนอกหลอดอยู่เท่าใด

106
155. (TPhO 5th 2549) ในการหล่อเสาสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำ วิธีการไล่น้ำออกจากบริเวณดังกล่าวทำได้
โดยการหย่อนถังเหล็กรูปทรงกระบอกขนาดพื้นที่หน้าตัด 5.0 ตารางเมตร และสูง 8.0 เมตร ใน
ลักษณะที่คว่ำถังลง จากนั้นจึงดันอากาศเข้าไปในถังเพื่อไล่น้ำออกมา ในขณะที่หย่อนถังเหล็กจนถึงก้น
แม่น้ำ พบว่า มีน้ำไหลเข้าไปครึ่งหนึ่งของถัง
(๑) จงคำนวณความลึกของแม่น้ำ
(๒) จะต้องเพิ่มอากาศเข้าไปในถังเป็นมวลอีกกี่เท่าของของเดิม จึงจะสามารถดันน้ำออกจากถังได้
ทั้งหมด
(๓) ถ้าต้องการให้ถังเปล่าที่คว่ำอยู่ที่ก้นแม่น้ำตามข้อ (๒) สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องช่วยกดไว้ ถัง
ดังกล่าวจะต้องมีมวลอย่างน้อยเท่าใด
(กำหนดให้แม่น้ำมีอุณหภูมิและความหนาแน่นคงที่ตลอดความลึก)

107
156. (IJSO รอบที่ 2 มี.ค. 60) ทรงกระบอกยาว 4.0 เมตร มีอากาศอยู่เต็มถูกคว่ำลงโดยให้ปากกระบอกอยู่
ทีผ่ ิวน้ำพอดี จากนั้นค่อย ๆ กดทรงกระบอกดังกล่าวลงไปในน้ำตรงๆจนกระทั่งก้นกระบอกอยู่ที่ระดับ
เดียวกับผิวน้ำ จงคำนวณหาว่าลำอากาศภายในทรงกระบอกจะมีความยาวเหลือเป็นเท่าไร หาก
กำหนดให้น้ำมีความหนาแน่น 1.0 103 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความดันบรรยากาศมีค่าประมาณ
1.0 105 พาสคาล ค่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกมีค่า 9.8 m/s 2
1
( 2.568  1.602 ,  0.102 )
9.8

157. (Ent 28) คว่ำถังทรงกระบอกสูง 50 เซนติเมตรใบหนึ่ง แล้วกดลงไปในสระน้ำ ขณะนั้นอุณหภูมิที่ผิวน้ำ


เป็น 27 C เมื่อปากถังแตะก้นสระ น้ำถูกอัดเข้าไปทางปากถังสูง 20 เซนติเมตร เมื่ออุณหภูมิที่ก้น
สระเป็น 22 C ความลึกที่แท้จริงของน้ำในสระเป็นเท่าไร (ดูรูปประกอบ) กำหนดให้
ความดันบรรยากาศ = 105 N/m2
ความหนาแน่นของน้ำ = 103 kg/m3
ความโน้มถ่วง ( g ) = 10 m/s2

115 115
ก. m ข. + 0.2 m
18 18
175 175
ค. m ง. + 0.2 m
18 18

108
158. (IJSO รอบที่ 3 พ.ค. 52) อุปกรณ์ช่วยในการดำน้ำสมัยก่อนเรียกว่าระฆังดำน้ำ ใช้สำหรับลงไปกู้เอาของ
ขึ้นมา ระฆังดำน้ำใบหนึ่งเป็นถังหนักรูปทรงกระบอกที่ฝาบนปิดและฝ่าล่างเปิด เวลาใช้งานเขาจับถังนี้
ตั้งตรง ให้ด้านเปิดอยู่ด้านล่างและทิ้งถังนี้ลงไปในน้ำ อากาศที่ถูกกักขังอยู่ข้างในทำให้คนที่เข้าไปอยู่
ด้านในถังหายใจได้ ตอนที่ถังอยู่เหนือผิวน้ำ อากาศในถังมีอุณหภูมิ 20.0 C ถังถูกทิ้งลงไปในน้ำเย็นใน
ทะเลสาบแห่งหนึ่ง จงหาระดับความลึกที่ทำให้น้ำเข้าไปถึงระดับครึ่งหนึ่งของถัง ให้สมมติว่าตอนนั้น
อากาศในถังอยู่ในสมดุลความร้อนกับน้ำรอบๆ ที่มีอุณหภูมิ 4.0 C

109
รวมข้อสอบ ม.ปลาย
แก๊สและเทอร์โมไดนามิกส์ Part 2

ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
แนวที่ ๑ : คำนวณพลังงานภายในแก๊ส

1. (PAT2 มี.ค. 52) ข้อใดคือพลังงานจลน์ของแก๊สฮีเลียมในถังปิดปริมาตร 10 ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ


300 เคลวิน เมื่อแก๊สมีความดันเกจเท่ากับ 3 105 ปาสกาล กำหนดให้ความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับ
105 ปาสกาล
ก. 3.0 106 จูล ข. 4.0 106 จูล
ค. 4.5 106 จูล ง. 6.0 106 จูล

2. (Ent 39) พลังงานภายใน (U ) ของแก๊ส หรือนั่นคือพลังงานจลน์ของโมเลกุลของแก๊สทั้งหมด มีความ


สัมพันธ์กับความดัน ( P ) และปริมาตร (V ) ของแก๊สอย่างไร
ก. U = 3 PV ข. U = 2 PV ค. U = 1 PV 2 ง. U = 1 PV 2
2 3 2 3

3. (Ent 20) ถ้าความดันของอากาศในห้องปิดห้องหนึ่งเป็น a N/m2 พลังงานจลน์ของอากาศต่อหนึ่งหน่วย


ปริมาตรจะเป็นเท่าไร
a 2a 3a
ก. J/m 2 ข. J/m 2 ค. J/m 2
3 3 2
2a 3a
ง. J/m3 จ. J/m3
3 2

110
4. (EJU-2 2013) The figure below shows four states (A, B, C, D) of a fixed quantity of a
monatomic ideal gas in a p − V diagram. Let us denote the internal energy of the gas
in the states A, B, C, and D as U A ,U B ,UC , and U D ? From (a)-(d) below choose the
correct answer.

What is the magnitude relationship among U A ,U B ,UC , and U D ? From (a)-(d) below
choose the correct answer.
(a) U A  U B = U D  UC (b) U B  U A = UC  U D
(c) UC  U B = U D  U A (d) U D  U A = UC  U B

111
5. (PAT2 ธ.ค. 54) ภาชนะที่เหมือนกันสองใบ ใบหนึ่งบรรจุแก๊ส He อีกใบหนึ่งบรรจุแก๊ส Ne โดยมีมวล
ของแก๊สเท่ากัน และมีอุณหภูมิ 293 เคลวินเท่ากัน ข้อใดกล่าวถึงพลังงานภายในของแก๊สทั้งสองได้
ถูกต้อง
ก. พลังงานภายในของแก๊สเท่ากัน
ข. พลังงานภายในของ Ne เป็น 5 เท่าของ He
ค .พลังงานภายในของ Ne เป็น 0.5 เท่าของ He
ง. พลังงานภายในของ Ne เป็น 0.2 เท่าของ He

6. (Ent 23) แก๊สจำนวนหนึ่งมีความดัน 1 บรรยากาศและมีปริมาตร V พลังงานจลน์ของโมเลกุลของแก๊ส


จะต้องเป็นกี่เท่าของพลังงานเดิมจึงจะทำให้แก๊สนั้นมีปริมาตรเป็น 2V ความดันเท่าเดิม
ก. 0.5 ข. 1.4 ค. 2.0 ง. 4.0

112
7. (มข. 2551) เมื่อทำให้ความดันของก๊าซอุดมคติชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง
ของเดิม พลังงานจลน์ของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. เพิ่มขึ้น 4 เท่า ข. ลดลง 4 เท่า
ค. ลดลง 2 เท่า ง. เท่าเดิม

8. (มช. 2552) ถ้าอุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เท่า และความดันเพิ่มขึ้น 4 เท่า พลังงานภายในของ


แก๊สจะเปลี่ยนไปเป็นกี่เท่าของพลังงานภายในเดิม
ก. เท่าเดิม ข. 3 เท่า
ค. 4 เท่า ง. 12 เท่า

113
9. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 48) แก๊สอุดมคติในขวดปากเปิดปริมาตร V ที่อุณหภูมิ T0 มีพลังงานภายในเป็น
กี่เท่าของแก๊สที่เหลือในขวดที่อุณหภูมิ T1 (กำหนดให้ Pa เป็นความดันบรรยากาศ)

114
แนวที่ ๒ : คำนวณพลังงานจลน์เฉลี่ยต่อโมเลกุล

10. (สอวน. ส.ค. 59)

115
11. (มข. 2557) ตามทฤษฎีจลน์ของแก๊สที่อุณหภูมิ 500 K แก๊สหนึ่งโมเลกุลมีพลังงานจลน์เท่าไร และที่
อุณหภูมินี้มี เมื่อความดันแก๊สเป็น 1105 Pa แก๊ส 1 cc หรือ 10−6 m3 มีกี่โมเลกุล (กำหนดให้ค่าคง
ตัวของโบลทซ์มันเป็น kB = 1.4 10−23 J/K )
 10 
ก. พลังงาน =1.05 10−20 จูล จำนวนโมเลกุล=   1019
7
 20 
ข. พลังงาน = 2.00 10−20 จูล จำนวนโมเลกุล =   1019
 7 
 10 
ค. พลังงาน = 3.00 10−20 จูล จำนวนโมเลกุล =   1019
7
 20 
ง. พลังงาน = 2.05 10−20 จูล จำนวนโมเลกุล =   1019
 7 

12. (Ent มี.ค. 47) จงหาค่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สฮีเลียมที่อุณหภูมิ T เคลวิน กำหนดให้


มวลโมเลกุลของแก๊สฮีเลียมเท่ากับ 4 กรัมต่อโมล
3
ก. 4k B (T − 273) ข. kBT ค. k BT ง. 4kBT
2

116
13. (PAT2 มี.ค. 53) บอลลูนบรรจุแก๊สไฮโดรเจนจำนวน n โมล ที่ความดัน P และปริมาตร V พลังงาน
จลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สเป็นเท่าใด
1 3 3 PV 3 PV
ก. PV ข. PV ค. ง.
2 2 2 n 2 nN A

14. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 40) ถ้ามีก๊าซฮีเลียมอยู่หนึ่งโมล ซึ่งมีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ 0 C ความดัน 1
บรรยากาศ เมื่อก๊าซนี้ร้อนขึ้นจนความดันเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 บรรยากาศ โดยปริมาตรเท่าเดิม ก๊าซ
ฮีเลียมมีพลังงานจลน์ของโมเลกุลเพิ่มขึ้นกี่จูล ( R = 8.3 J/mol  K )

15. (Ent 31) ก๊าซอะตอมเดี่ยวมีความดัน P0 จะมีค่าพลังงานจลน์ของโมเลกุลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรเท่าใด


1 2 3 5
ก. P0 ข. P0 ค. P0 ง. P0
3 3 2 2

117
16. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 44) แก๊สอุดมคติบรรจุในภาชนะปิดโดยมีอุณหภูมิเริ่มต้นเท่ากับ 27 C นำภาชนะนี้
ไปใส่เตาอบ จนกระทั่งอุณหภูมิของแก๊สมีค่าเท่ากับ 77 C โดยที่ปริมาตรของภาชนะไม่เปลี่ยนแปลง จง
หาอัตราส่วนของพลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สภายหลังการอบต่อพลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สก่อนการอบ
27 77 77 7
ก. ข. ค. ง.
77 27 27 6

17. (Ent 18) แก๊สชนิดหนึ่งมีอุณหภูมิ 27 C ( 300 K ) ถ้าจะทำให้แก๊สนี้มีพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุล


เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของเดิม จะต้องทำให้อุณหภูมิเป็นเท่าใด

18. (Ent 20) ถ้าอุณหภูมิของแก๊สลดลงจาก 27 C เหลือเพียง 21 C พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของ


แก๊สจะลดลงจากเดิมกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 2% ข. 3% ค. 4% ง. 5% จ. 6%

118
19. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 47) ที่สภาวะสมดุลทางความร้อน โมเลกุลของแก๊สไนโตรเจน มีพลังงานรวมโดย
เฉลี่ยเป็นกี่เท่าของพลังงานของโมเลกุลของแก๊สฮีเลียม กำหนดว่า โมเลกุลของแก๊สไนโตรเจนนั้นหมุน
และสั่นด้วย

119
แนวที่ ๓ : ถามเกี่ยวกับความเร็วอาร์เอ็มเอส

20. (Ent 39) สมมติว่าสามารถทดลองวัดค่าอัตราเร็วของโมเลกุลแต่ละตัวได้ทั้งหมด 5 โมเลกุล ได้การ


กระจายอัตราเร็วโมเลกุลดังตาราง จงหาค่ารากที่สองเฉลี่ยของอัตราเร็ว

อัตราเร็วโมเลกุล (เมตรต่อวินาที) .3. .4. .5.


จำนวนโมเลกุล .2. .2. . 1.

ก. 3.5 m/s ข. 3.9 m/s ค. 4.2 m/s ง. 4.5 m/s

21. (Ent 33) ถ้ามีโมเลกุลของก๊าซที่มีอัตราเร็ว v หนึ่งโมเลกุล 2v สองโมเลกุล และ 3v หนึ่งโมเลกุล


อัตราเร็วรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยของโมเลกุลของก๊าซทั้งหมดมีค่าเท่าใด
ก. 2.1v ข. 2.2v ค. 2.4v ง. 3.0v

22. (PAT2 ต.ค. 55) ตารางแจกแจงความเร็วของกลุ่มอะตอมแก๊สเฉื่อยชนิดหนึ่ง กำหนดให้มวลของ 1


อะตอมเท่ากับ m

อัตราเร็ว ( m/s ) จำนวนอะตอม


. 1.0 . .3.
. 2.0 . .2.
. 3.0 . .2.
. 4.0 . . 1.
. 5.0 . .2.

พลังงานจลน์เฉลี่ยต่อมวล 1 อะตอม อยู่ในช่วงกี่จูล


ก. ( 2.0,3.0 ข. ( 3.0, 4.0
ค. ( 4.0,5.0 ง. ( 5.0, 6.0

120
23. (PAT2 มี.ค. 57) แก๊สอุดมคติชนิดหนึ่งมีความหนาแน่น 1.5 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร บรรจุอยู่ใน
ภาชนะที่มีปริมาตร 44.8 10−3 ลูกบาศก์เมตร มีอุณหภูมิ 273 เคลวิน ความดัน 1105 พาสคัล
อัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของแก๊สนี้เป็นกี่เมตร/วินาที
ก. 4.5 102 ข. 5.5 103
ค. 1.6 104 ง. 2.0 105

24. (ม.อ. 51) แก๊สออกซิเจนที่อุณหภูมิ 47 C ความดัน 1 บรรยากาศ มีรากที่สองของอัตราเร็วกำลังสอง


เฉลี่ย ( vrms ) กี่เมตรต่อวินาที กำหนดให้ มวลโมเลกุลของแก๊สออกซิเจน เท่ากับ 32 กรัม/โมล
ก. 37 ข. 5 10 ค. 10 370 ง. 500

25. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 40) ก๊าซฮีเลียมมีมวล 4 กรัมต่อโมล ที่อุณหภูมิ 333 เคลวิน จะมีอัตราเร็วอาร์
เอ็มเอสเป็นกี่เมตรต่อวินาที ถ้าคิดประมาณว่า R = 8.0 J/mol  K

26. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 45) แก๊สอุดมคติชนิดหนึ่งบรรจุในถังมีความดัน P ถ้า  เป็นความหนาแน่น


ของแก๊สในถัง จงหาค่ารากที่สองของอัตราเร็วยกกำลังสองเฉลี่ย ( vrms ) ของโมเลกุลของแก๊ส ตอบใน
เทอมค่าคงตัว P และ 

121
27. (ม.อ. 53) บอลลูนบรรจุแก๊สฮีเลียม 1.2 กิโลกรัม ที่ความดัน 105 พาสคัล มีปริมาตร 4 ลูกบาศก์เมตร
ถามว่าแก๊สฮีเลียมในบอลลูนมีค่า vrms กี่เมตรต่อวินาที
ก. 10 ข. 200 ค. 400 ง. 1, 000

28. (มข. 2559) แก๊สฮีเลียม 1 โมเลกุล หนัก 2.110−2.5 กิโลกรัม ค่าคงที่ของแก๊ส R = 8.3 J/K ค่าคงที่
โบสมานน์ kB = 1.4 10−23 J/K ต้องการทำให้อะตอมฮีเลียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว vrms = 1000 m/s
ต้องให้ความร้อนกับแก๊สฮีเลียมจนมีอุณหภูมิเท่าไร
ก. 3, 000 เคลวิน ข. 4, 000 เคลวิน
ค. 5, 000 เคลวิน ง. 6, 000 เคลวิน

122
29. (EJU-1 2013) As shown in the figure below, a monatomic ideal gas (amount of substance:
n mol) is enclosed in a cylinder using a piston of negligible mass (cross-sectional area:
S ). A weight of mass M is placed on the piston, causing the piston to be at rest at
height h above the bottom of the cylinder. Let us denote the external pressure as p0
, the magnitude of acceleration due to gravity as g , the Avogadro constant as N A , and
the mass of one molecule of the gas as m . Friction between the cylinder and the piston
is negligible.

What is the mean-square speed v 2 of the molecules of this gas? From (a)-(f) below choose
the correct answer.
(a) ( 0
p S + Mg ) h
(b) ( 0
p S + Mg ) h
(c) ( 0
3 p S + Mg ) h
2nN 0 m nN 0 m 2nN 0 m

(d) ( 0
2 p S + Mg ) h
(e) ( 0
5 p S + Mg ) h
(f) ( 0
3 p S + Mg ) h
2nN 0 m 2nN 0 m nN 0 m

123
แนวที่ ๔ : เปรียบเทียบความเร็วอาร์เอ็มเอส

30. (PAT2 มี.ค. 58) ถ้าอัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลอากาศเพิ่มเป็นสองเท่าของของเดิม พลังงานจลน์เฉลี่ยของ


โมเลกุลอากาศจะเป็นกี่เท่าของของเดิม
ก. 2 เท่า ข. 2 เท่า
ค. 4 เท่า ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

31. (Ent 19) อัตราเร็วเฉลี่ย (average speed) ของโมเลกุลไนโตรเจนเท่ากับ 400 เมตร/วินาที ที่อุณหภูมิ
27 C ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนเป็น 927 C อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลไนโตรเจนจะเป็นเท่าไร

32. (Ent 22) ถ้าอัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สนีออนที่อุณหภูมิ 10 C เท่ากับ 200 เมตรต่อวินาที


เมื่ออุณหภูมิของแก๊สนี้สูงขึ้นเป็น 859 C อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สนี้จะเป็นเท่าใด
ก. 200 เมตรต่อวินาที ข. 400 เมตรต่อวินาที
ค. 800 เมตรต่อวินาที ง. 1840 เมตรต่อวินาที

124
33. (Ent ต.ค. 46) ในบรรยากาศมีแก๊สไนโตรเจนและออกซิเจน เป็นส่วนใหญ่ มีแก๊สไฮโดรเจนปนอยู่บ้าง
แต่ในสัดส่วนน้อยมาก ถามว่า อัตราเร็ว vrms ของโมเลกุลไฮโดรเจนเป็นกี่เท่าของ vrms ของโมเลกุล
ออกซิเจน กำหนดให้มวลโมเลกุลของไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็น 2 และ 32 กรัมต่อโมลตามลำดับ
ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4

34. (สอวน. รอบพิเศษ ม.ค. 52) โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจน ( 11 H 2 ) มีอัตราเร็วเฉลี่ยเป็นกี่เท่าของโมเลกุล


ของแก๊สฮีเลียม ( 42 He ) ที่อยู่ในสมดุลเชิงความร้อนด้วยกัน

125
35. (PAT2 ก.พ. 61) แก๊สใดต่อไปนี้ เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยสูงสุด
(กำหนดให้มวลอะตอม H = 1, C = 12, O = 16, Cl = 35.5, S = 32 ที่อุณหภูมิเดียวกัน)
ก. ไดคลอโรมีเทน ข. ฟอร์มาลดีไฮด์
ค. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ง. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
จ. แก๊สทุกชนิดมีอัตราเร็วเฉลี่ยเท่ากันหมด ที่อุณหภูมิเดียวกัน

126
36. (EJU-1 2018) Consider a gas of hydrogen molecule ( H 2 ) and a gas of oxygen molecule
( O2 ) at the same temperature. Let us denote the root-mean-square speed of hydrogen
molecule as vH 2 , and that of oxygen molecule as vO 2 . Here, root-mean-square
2 2

speed is the square root of the mean square speed of molecules. Assume that the gases
can be regarded as ideal gases, and that the molecular weight of hydrogen molecule is
2.0 , and that of oxygen molecule is 32 .

vH 2 2
What is ? From (a)-(e) below choose the best answer.
2
vO2
(a) 0.063 (b) 0.25 (c) 1.0 (d) 4.0 (e) 16

37. (Ent 22) ถ้ามีแก๊สไฮโดรเจนอยู่ในอากาศ อัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สไนโตรเจนจะเป็นกี่เท่าของแก๊ส


ออกซิเจนในอากาศ (โดยประมาณ)
ก. 0.3 ข. 1.0 ค. 2.8 ง. 8.0

38. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 41) ถ้ามีก๊าซฮีเลียมปนอยู่ในอากาศเล็กน้อย อัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของโมเลกุลของ


ฮีเลียม จะเป็นกี่เท่าของโมเลกุลของออกซิเจน-16

39. (สอวน. ก.พ. 65) ภายใต้สภาวะที่พอจะถือได้ว่าอากาศเป็นแก๊สอุดมคตินั้น อัตราเร็วรากที่สอง ( vrms )


ของโมเลกุลของออกซิเจนมีค่าเป็นกี่เท่าของโมเลกุลของไนโตรเจน
2 1/2 1/3
7 7 7 7
ก.   ข. ค.   ง.  
8 8 8 8

127
40. (Ent ต.ค. 42) จงหาว่า ก๊าซไนโตรเจนที่อุณหภูมิเท่าใดที่มีค่าเฉลี่ยของกำลังสองของอัตราเร็วโมเลกุล
เท่ากับของก๊าซออกซิเจนที่อุณหภูมิ 47 C (กำหนดให้น้ำหนักโมเลกุลของไนโตรเจนและออกซิเจน
เท่ากับ 28 และ 32 ตามลำดับ)
ก. −28 C ข. 7 C ค. 42 C ง. 47 C

41. (Ent 26) แก๊สปริมาตรหนึ่ง อัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ความดันของแก๊สในปริมาตรนั้น


จะเพิ่มขึ้นเป็นกี่เท่า
ก. 3 / 2 เท่า ข. 2 เท่า ค. 5 / 2 เท่า ง. 4 เท่า

42. (ม.อ. 56) แก๊สอุดมคติในถังใบหนึ่งมีปริมาตรคงที่ เมื่อความดันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ข้อใดผิด


ก. อุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ข. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ค. อัตราเร็วของโมเลกุลแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ง. ความร้อนของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

128
43. (Ent ต.ค. 44) แก๊สอุดมคติจำนวนหนึ่ง ได้รับความร้อนจนมีความดันเป็น 1.5 เท่าของความดันเดิม และ
มีปริมาตรเป็น 1.2 เท่าของปริมาตรเดิม พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 30% ข. 40% ค. 70% ง. 80%

44. (Ent 34) ก๊าซชนิดหนึ่งบรรจุในกระบอกสูบที่มีลูกสูบเลื่อนได้โดยก๊าซไม่รั่ว เมื่อทำให้ความหนาแน่นของ


ก๊าซเพิ่มจากเดิมเป็นสองเท่า โดยความดันของก๊าซคงที่ อัตราเร็วเฉลี่ยของอนุภาคก๊าซจะต้อง
เปลี่ยนไปเป็นกี่เท่าของค่าเดิม
1 1 3 3
ก. ข. ค. ง.
2 2 2 2

129
45. (ม.อ. 58) กล่อง A และ B มีขนาดเท่ากัน บรรจุแก๊สอุดมคติที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และ 20
องศาเซลเซียส ตามลำดับ ข้อใดถูกต้อง
ก. โมเลกุลในกล่อง A มากกว่าในกล่อง B
ข. โมเลกุลในกล่อง A มีพลังงานจลน์มากกว่าในกล่อง B
ค. ความดันในกล่อง A มากกว่าในกล่อง B
ง. โมเลกุลในกล่อง A กำลังเคลื่อนที่เร็วกว่าในกล่อง B

46. (PAT2 ก.พ. 62) พิจารณาแก๊สอุดมคติ 1 โมล บรรจุในภาชนะปิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและ


ปริมาตรได้ ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
ก. เมื่อเพิ่มความดันแก๊สเป็น 2 เท่า แก๊สจะมีปริมาตรลดเหลือ 1/ 2 เท่าเสมอ
ข. เมื่อเพิ่มปริมาตรแก๊สเป็น 2 เท่า อัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สจะมีค่าลดเหลือ 1/ 2 เท่าเสมอ
ค. เมื่อเพิ่มปริมาตรแก๊สเป็น 2 เท่า โดยควบคุมให้ความดันแก๊สลดเหลือ 1/ 2 เท่า แก๊สจะมีอุณหภูมิไม่
เปลี่ยนแปลงเสมอ
ง. เมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับแก๊สขึ้นจาก 30 เป็น 60 องศาเซลเซียส ผลคูณระหว่างค่าความดันและ
ปริมาตรจะมีค่าเพิ่มเป็น 2 เท่า
จ. เมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับแก๊สขึ้นจาก 30 เป็น 60 องศาเซลเซียส ค่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สจะมีค่า
เพิ่มเป็น 2 เท่าเสมอ

130
แนวที่ ๕ : คำนวณจำนวนครั้งในการชนผนังของแก๊ส

47. (B-PAT2 ต.ค. 51) กล่องรูปลูกบาศก์ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร บรรจุแก๊สฮีเลียม 10 โมลที่อุณหภูมิ 300


เคลวิน จำนวนครั้งเฉลี่ยที่อะตอมฮีเลียมชนผนังด้านใดด้านหนึ่งของกล่องในเวลา 1 วินาที มี
ค่าประมาณเท่าไร (กำหนดให้แก๊สฮีเลียม 1 โมล มีมวล 4 กรัม)
ก. 2.4 1024 ข. 2.4 1025
ค. 2.4 1026 ง. 2.4 1027

48. (Ent ต.ค. 43) แก๊สชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในกระบอกสูบที่ความดัน P และอุณหภูมิ 273 K มีโมเลกุล


เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย v ชนฝาลูกสูบจำนวน f ครั้งต่อวินาที ถ้าเพิ่มปริมาตรกระบอกสูบเป็น 2
เท่าด้วยการขยายลูกสูบ โดยทำให้อุณหภูมิคงที่ ความถี่ในการชนฝาลูกสูบจะเป็นเท่าใด
ก. f / 4 ข. f / 2 ค. f ง. 2 f

131
49. (สอวน. ม.5 ต.ค. 57) กล่องขนาด 20  20  20 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางอยู่บนผิวดวงจันทร์ซึ่ง
บรรยากาศบางมากจนถือได้ว่าเป็นสุญญากาศ ภายในกล่องมีโมเลกุลออกซิเจนความดัน 1.013 105
พาสคัล อุณหภูมิ 300 เคลวิน ถ้าขณะหนึ่งที่กึ่งกลางฝาข้างหนึ่งเกิดรูรั่วขนาด 1 ตารางเซนติเมตร ขึ้น
ในทันที ภายหลังที่เกิดรูรั่วขึ้น 1 มิลลิวินาที แก๊สออกซิเจนจะรั่วออกจากกล่องกี่เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก)

132
แนวที่ ๖ : ให้กราฟการชนของโมเลกุลแก๊ส

50. (Ent 30) ภาชนะรูปลูกบาศก์มีพื้นที่แต่ละด้าน 100 ตารางเซนติเมตร มีแก๊สบรรจุอยู่ N โมเลกุล ใน


รูปแสดงถึงกราฟของแรงที่โมเลกุลตัวหนึ่งกระทำต่อผนังของภาชนะหนึ่งที่เข้าชน โดยที่ F คือแรงใน
หน่วยอัตโตนิวตัน ( aN ) หรือ 10−18 N , t คือ เวลาในหน่วยมิลลิวินาที ( ms ) จงหาว่า แรงเฉลี่ยใน
หน่วย aN ที่โมเลกุลตัวนี้กระทำต่อผนังของภาชนะมีค่าเท่าใด

133
แนวที่ ๗ : ถามสมบัติของแก๊สอุดมคติภายใต้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

51. (O-Net ม.3 2564) รัฐและหนิงเล่นปิงปอง หนิงเหยียบลูกปิงปองจนบุบ รัฐจึงขอนำกลับไปซ่อมที่บ้าน


วันรุ่งขึ้น รัฐนำลูกปิงปองที่ซ่อมจนพองเหมือนเดิมมาให้หนิงดู หนิงถามวิธีที่รัฐใช้ซ่อมลูกปิงปอง รัฐจึง
ให้หนิงลองคิดดูว่าใช้วิธ๊ใด ระหว่าง 2 วิธี ต่อไปนี้
วิธีที่ 1 นำไปแช่ในน้ำต้มเดือด หรือ วิธีที่ 2 นำไปแช่ในน้ำเย็นจัด
พิจารณาแบบจำลองที่แสดงส่วนหนึ่งของอนุภาคอากาศในลูกปิงปอง ดังต่อไปนี้

รัฐซ่อมลูกปิงปองด้วยวิธีใด และแบบจำลองของอนุภาคอากาศที่สอดคล้องกับวิธีที่รัฐใช้คือแบบจำลองใด
ก. วิธีที่ 1 และแบบจำลอง A
ข. วิธีที่ 1 และแบบจำลอง B
ค. วิธีที่ 2 และแบบจำลอง A
ง. วิธีที่ 2 และแบบจำลอง B

134
52. (TEDET ม.3 2562) ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับการทดลองของโรเบิร์ต บอยล์

โรเบิร์ต บอยล์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองโดยการเติมปรอทเข้าไปใน


หลอดแก้วรูปตัวเจ (J) ที่มีปลายสองด้าน โดยปลายด้านหนึ่งเปิด ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปิดสนิท
จากนั้นเพิ่มความดันของอากาศในหลอดแก้วเป็น 2 เท่า โดยการเติมปรอทเพิ่มลงไปใน
หลอดแก้ว พบว่าปริมาตรของอากาศในหลอดแก้วลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของอากาศที่
มีอยู่ในหลอดแก้วก่อนเติมปรอท

ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับการทดลองนี้ได้ถูกต้อง
ก. ถ้าเติมปรอทเข้าไปในหลอดแก้วรูปตัวเจ (J) อนุภาคของอากาศจะมีขนาดเล็กลง
ข. สาเหตุที่ปริมาตรของอากาศในหลอดแก้วรูปตัวเจ (J) ลดลง เป็นเพราะอนุภาคของอากาศจะค่อยๆ
แตกตัวและสลายไป
ค. ถ้าเติมน้ำเข้าไปในหลอดแก้วรูปตัวเจ (J) แทนปรอทจะได้ผลการทดลองที่เหมือนกัน
ง. แม้ว่าจะทำการทดลองโดยใช้หลอดแก้วรูปตัวเจ (J) ที่ปลายทั้งสองด้านเป็นปลายเปิด จะได้ผลการ
ทดลองที่เหมือนกัน
จ. เนื่องจากอากาศประกอบด้วยอนุภาคและพื้นที่ว่างระหว่างอนุภาค ดังนั้น เมื่อเพิ่มความดันอากาศใน
หลอดแก้วรูปตัวเจ (J) ปริมาตรของอากาศในหลอดแก้วรูปตัวเจ (J) จะลดลง

135
53. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 48) แก๊สในธรรมชาติจะมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับแก๊สในอุดมคติมากที่สุดก็ต่อเมื่อ
แก๊สนั้นอยู่ในสภาวะเช่นใด
ก. อุณหภูมิสูงมาก และความดันต่ำมาก ข. อุณหภูมิสูงมาก และความดันสูงมาก
ค. อุณหภูมิต่ำมาก และความดันต่ำมาก ง. อุณหภูมิต่ำมาก และความดันสูงมาก

54. (Ent 26) แก๊สในธรรมชาติจะมีสมบัติเป็นแก๊สอุดมคติ (ideal gas) หรือเป็นไปตามแบบจำลองแก๊ส


เมื่อใด
ก. มีอุณหภูมิและความดันสูงพอสมควร ข. มีความดันสูง
ค. มีความหนาแน่นน้อยมาก ง. มีปริมาตรเล็ก

55. (Ent 38) คำกล่าวต่อไปนี้ ข้อใดผิด


ก. การทำนายความดัน ปริมาตร อุณหภูมิของแก๊สเป็นไปตามกฎของแก๊สเสมอ
ข. การชนของโมเลกุลของแก๊สเป็นการชนแบบยืดหยุ่น
ค. ความร้อนจะถ่ายโอนจากระบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังระบบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
ง. พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊สอย่างเดียว

136
56. (PAT2 มี.ค. 55) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
(๑) พลังงานภายในของแก๊สอุดมคติขึ้นกับอุณหภูมิเท่านั้น
(๒) แรงที่กระทำต่อผนังของภาชนะที่บรรจุแก๊สอุดมคติเกิดจากการชนแบบยืดหยุ่นระหว่างโมเลกุล
แก๊ส
(๓) อัตราเร็วอาร์เอ็มเอส มีค่าเท่ากับรากที่สองของกำลังสองของอัตราเร็วเฉลี่ย
มีข้อความที่ถูกกี่ข้อ
ก. 0 ข. 1 ค. 2 ง. 3

57. (Ent มี.ค. 42) ถ้าแก๊สอุดมคติมีปริมาตรคงที่ ข้อความใดต่อไปนี้เป็นจริง


(๑) โมเลกุลของแก๊สทุกโมเลกุลมีอัตราเร็วเท่ากันที่อุณหภูมิที่กำหนด
(๒) พลังงานจลน์ทั้งหมดของโมเลกุลแปรผันโดยตรงกับความดันคูณปริมาตรของแก๊สนั้น
(๓) พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
(๔) ความดันแปรผันโดยตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์
คำตอบที่ถูกคือ
ก. (๑) (๒) และ (๓) ข. (๒) (๓) และ (๔)
ค. (๔) เท่านั้น ง. คำตอบเป็นอย่างอื่น

137
แนวที่ ๘ : พิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาวะของแก๊ส

58. (PAT2 ก.พ. 61) ทำการทดลองวัดความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับปริมาตรของแก๊สชนิดหนึ่งเมื่อความ


ดันคงที่ ได้ข้อมูลดังตาราง

การทดลองครั้งที่ t ( C) V ( cm3 )
1 . 10 . . 100 .
2 . 50 . . 114 .
3 . 100 . . 132 .
4 . 200 . . 167 .

ข้อสรุปใดผิด
ก. การทดลองนี้เป็นการศึกษากฎของชาร์ล
ข. แก๊สชนิดนี้ต้องมีอัตราส่วนปริมาตรต่ออุณหภูมิ (V / t ) คงที่
ค. แก๊สมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้แก๊สเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ง. เมื่อเขียนกราฟระหว่าง V กับ t ปริมาตรแก๊สจะเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส
จ. หากทำการทดลองซ้ำ โดยเปลี่ยนชนิดแก๊สในภาชนะทดลองโดยให้มีจำนวนโมลเท่าเดิม ปริมาตรของ
แก๊สที่วัดได้ ณ อุณหภูมิต่างๆ จะมีค่าเท่ากับค่าปริมาตรแก๊สที่แสดงในตาราง

138
59. (TEDET ม.1 2561) จากรูปแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของแก๊สต่อไปนี้ เมื่อแก๊สที่อยู่ในลูกสูบได้รับ
ความร้อนแล้วมีอุณหภูมิสูงขึ้น

(๑) จำนวนโมเลกุล
(๒) ขนาดของโมเลกุล
(๓) ความเร็วในการเคลื่อนที่ของโมเลกุล
(๔) ระยะห่างระหว่างโมเลกุล
ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงจาก A ไปสู่ B ตัวเลือกในข้อใดที่จะมีค่าคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ก. (๑), (๒) ข. (๒), (๓)
ค. (๓), (๔) ง. (๑), (๒), (๓)
จ. (๒), (๓), (๔)

139
60. (PAT2 ก.ค. 52) แก๊สอุดมคติชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีปริมาตรคงตัว ถ้าลดจำนวนโมเลกุลของแก๊ส
ลงครึ่งหนึ่งโดยรักษาความดันให้มีค่าคงเดิม ข้อใดไม่ถูก
ก. อุณหภูมิของแก๊สมีค่าเท่าเดิม
ข. พลังงานภายในของแก๊สมีค่าเท่าเดิม
ค. vrms ตอนหลังมีค่ามากกว่า vrms ตอนแรก
ง. พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สตอนหลังเป็น 2 เท่าของตอนแรก

61. (Ent ต.ค. 46, มข. 2551) ออกแรงกดลูกสูบของกระบอกสูบซึ่งบรรจุแก๊สชนิดหนึ่ง ทำให้ปริมาตรของ


แก๊สลดลงโดยอุณหภูมิคงที่ และแก๊สไม่รั่วออกมา จงพิจารณาว่าข้อใดถูกต้อง
(๑) ความดันเพิ่มขึ้น
(๒) อัตราเร็ว vrms ในโมเลกุลของแก๊สลดลง
(๓) พลังงานภายในเพิ่มขึ้น
(๔) พลังงานภายในคงที่
ก. (๑) และ (๔) ข. (๑) และ (๓)
ค. (๒) และ (๔) ง. (๑) (๒) และ (๔)

140
62. (Ent 29) เมื่ออัดลูกสูบลงในกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว ปริมาตรแก๊สภายในกระบอกสูบลดลง
(๑) พบว่า ความดันแก๊สสูงขึ้น เพราะความหนาแน่นของแก๊สเพิ่มขึ้น
(๒) จำนวนครั้งของโมเลกุลแก๊สชนผนังถี่ขึ้น เพราะพื้นที่ที่ถูกชนน้อยลง
(๓) อุณหภูมิแก๊สสูงขึ้น
คำตอบข้อใดถูกมากที่สุด
ก. (๑), (๒) ถูก ข. (๒), (๓) ถูก
ค. (๑), (๓) ถูก ง. ถูกทั้ง (๑), (๒) และ (๓)

63. (มช. 2557) แก๊สจำนวนหนึ่งถูกบรรจุไว้ในกระบอกสูบ ถ้าทำให้แก๊สจำนวนดังกล่าวมีความดันเพิ่มเป็น


สองเท่าในระบบที่อุณหภูมิคงที่ ข้อความใดไม่ถูกต้อง
ก. ปริมาตรของแก๊สลดลงเหลือครึ่งเดียว
ข. ความหนาแน่นของแก๊สเพิ่มเป็นสองเท่า
ค. จำนวนโมเลกุลต่อปริมาตรคงเดิม
ง. พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สคงที่

141
64. (Ent 36) เมื่ออุณหภูมิของแก๊สอุดมคติ แบบอะตอมเดี่ยวลดลงจากอุณหภูมิ 273 C เป็น 0 C แล้ว
ข้อใดบ้างถูกต้อง
(๑) อัตราเร็วรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
(๒) ค่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
(๓) ค่าพลังงานภายในของแก๊สในระบบลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ก. (๑) (๒) และ (๓) ข. (๑) และ (๓)
ค. (๒) และ (๓) ง. (๒) เท่านั้น

65. (Ent 31) เมื่ออุณหภูมิของก๊าซในอุดมคติเพิ่มขึ้น โดยปริมาตรของก๊าซในภาชนะปิดคงที่ อยากทราบว่า


ปริมาณต่อไปนี้อะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ก. จำนวนครั้งที่โมเลกุลของก๊าซชนกับผนังของภาชนะ
ข. โมเมนตัมเฉลี่ยของภาชนะ
ค. พลังงานจลน์เฉลี่ยของก๊าซ
ง. พลังงานภายในระบบของก๊าซ

142
66. (Ent 25) ในการทดลองเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความดันและปริมาตรของแก๊ส เมื่ออุณหภูมิคงที่ค่า
หนึ่ง ผลการทดลองสามารถแสดงได้ในรูปของกราฟระหว่างความดัน ( P ) และส่วนกลับของปริมาตร
1
  ได้ดังรูป จากผลการทดลองข้างต้น ข้อสรุปต่อไปนี้ข้อใด เกิน เหตุผลที่สมควร
V 

1
ก. ผลการทดลองบางค่าในช่วง   มาก อาจผิดพลาด
V 
ข. เมื่อมีปริมาตรมากๆ แก๊สจะมีพฤติกรรมผิดกับเมื่อถูกอัดให้มีปริมาตรน้อยๆ ภายใต้สภาวะแวดล้อม
เดียวกัน
ค. ความสัมพันธ์ระหว่าง P และ V ในช่วงของตัวแปรที่ทำการทดลอง สามารถแทนได้ด้วยสมการทาง
คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน
ง. เมื่อแก๊สมีปริมาตรมากๆ ( 1 น้อยๆ) P จะแปรตาม 1
และความชันของกราฟจะขึ้นกับอุณหภูมิ
V V
ของแก๊สนั้น
1
จ. P แปรตาม แต่มีข้อจำกัด
V

143
แนวที่ ๙ : เปรียบเทียบแก๊สสองชนิด

67. (กสพท. 2564) บรรจุแก๊สอาร์กอนและแก๊สฮีเลียมจำนวนเท่ากันในภาชนะปิดใบหนึ่ง โดยแก๊สทั้งสองมี


สมบัติใกล้เคียงแก๊สอุดมคติ และอยู่ในสมดุลความร้อนที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน
พิจารณาข้อความต่อไปนี้
(๑) พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สอาร์กอนและแก๊สฮีเลียมในภาชนะมีค่าไม่เท่ากัน
(๒) อัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สฮีเลียมมากกว่าอัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สอาร์กอน
(๓) ที่สมดุลความร้อน แก๊สอาร์กอนทุกโมเลกุลในภาชนะมีอัตราเร็วเท่ากัน
ข้อความใดถูกต้อง
ก. (๒) เท่านั้น ข. (๓) เท่านั้น
ค. (๑) และ (๒) ง. (๑) และ (๓)
จ. (๒) และ (๓)

144
68. (IMAT 2018) The Earth’s atmosphere contains oxygen and nitrogen. The mass of an oxygen
molecule is greater than the mass of a nitrogen molecule. The temperature of air in a
room on a particular day is 300 K .
Below are four statements about the motion of the two types of molecule in this room.
(1) They have an equal mean square velocity ( v 2 ) .
(2) A nitrogen molecule has a greater mean square velocity ( v 2 ) than an oxygen
molecule.
(3) A nitrogen molecule has a greater mean kinetic energy than an oxygen
molecule.
(4) An oxygen molecule has a greater mean kinetic energy than a nitrogen
molecule.
Which of the statements is/are correct?
A. statement 1 only B. statement 1 and 3 only
C. none of them D. statement 2 only
E. statement 2 and 4 only

145
69. (PAT2 มี.ค. 59) แก๊สฮีเลียมและแก๊สอาร์กอน มีจำนวนโมลเท่ากัน ที่อุณหภูมิเดียวกัน และความดัน
เท่ากัน ข้อใดผิด
ก. มีปริมาตรเท่ากัน ข. มี vrms เท่ากัน
ค. มีพลังงานจลน์รวมเท่ากัน ง. มีจำนวนอะตอมต่อปริมาตรเท่ากัน
จ. มีพลังงานจลน์เฉลี่ยต่ออะตอมเท่ากัน

70. (PAT2 ก.พ. 61) แก๊ส 2 ชนิดที่ประพฤติตัวแบบแก๊สอุดมคติ มีความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิเท่ากัน


มีปริมาณใดอีกบ้างต่อไปนี้ที่เท่ากัน
ก. มวล ข. อัตราเร็วเฉลี่ย
ค. พลังงานจลน์รวม ง. โมเมนตัมเฉลี่ยต่อโมเลกุล
จ. มีมากกว่า 1 ปริมาณที่เท่ากัน

146
แนวที่ ๑๐ : ทฤษฎีจลน์ VS. ความจุความร้อนของวัตถุ

71. (IJSO รอบที่ 2 มี.ค. 52) เอาก้อนลูกบาศก์โลหะสองก้อน มวลเท่ากัน ออกจากน้ำร้อนเดือด แล้วเอาไป


วางบนก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ โลหะก้อนหนึ่งทำจากทอง 19779 Au อีกก้อนหนึ่งทำจากทองแดง 6429 Cu
ถ้าก้อนทองแดงทำให้น้ำแข็งละลายได้ 100 กรัม ก้อนทองจะทำให้น้ำแข็งละลายได้ประมาณเท่าใด

147
รวมข้อสอบ ม.ปลาย
แก๊สและเทอร์โมไดนามิกส์ Part 3

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์
แนวที่ ๑ : ถามเกี่ยวกับสมการกฎเทอร์โมไดนามิกส์ข้อที่ 1

1. (มข. 2554) แก๊สในกระบอกสูบรับความร้อนจากภายนอก 142 จูล ขณะที่แก๊สขยายตัวทำงานต่อระบบ


ภายนอก 160 จูล พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น หรือลดลงเท่าใด และอุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลง
ก. พลังงานภายในของแก๊สลดลง 18 จูล และอุณหภูมิของแก๊สลดลง
ข. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น 18 จูล และอุณหภูมิของแก๊สลดลง
ค. พลังงานภายในของแก๊สลดลง 18 จูล และอุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้น
ง. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น 18 จูล และอุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้น

2. (PAT3 ต.ค. 58) แก๊สในกระบอกสูบ ได้รับความร้อนจากภายนอก 150 จูล และขยายตัวทำงาน 120


จูล พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร และอุณหภูมิของแก๊สจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น
ก. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 150 จูล อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ข. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 30 จูล อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ค. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 30 จูล อุณหภูมิลดลง
ง. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 120 จูล อุณหภูมิลดลง
จ. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 150 จูล อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

148
3. (A-Net 2550) ถ้าแก๊สอุดมคติในภาชนะปิดได้รับความร้อน 350 จูล และได้รับงาน 148 จูล พลังงาน
ภายในแก๊สจะเปลี่ยนไปเท่าใด
ก. เพิ่มขึ้น 202 J ข. ลดลง 202 J
ค. เพิ่มขึ้น 498 J ง. ลดลง 498 J

4. (PAT2 พ.ย. 57) เมื่อให้ความร้อนกับระบบหนึ่ง 4, 200 จูล ระบบจะทำงาน 1, 650 จูล การ
เปลี่ยนแปลงพลังงานภายในของระบบเพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่จูล
ก. ลดลง 5,850 จูล ข. ลดลง 2,550 จูล
ค. เพิ่มขึ้น 2,550 จูล ง. เพิ่มขึ้น 5,850 จูล

5. (ม.อ. 57) แก๊สในกระบอกสูบได้รับความร้อนจากภายนอก 150 จูล เกิดการขยายตัวทำงาน 180 จูล ข้อ


ใดถูกต้อง
ก. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น 30 จูล และอุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น
ข. พลังงานภายในของแก๊สลดลง 30 จูล และอุณหภูมิแก๊สลดลง
ค. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น 330 จูล และอุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น
ง. พลังงานภายในของแก๊สลดลง 330 จูล และอุณหภูมิแก๊สลดลง

149
6. (มข. 2556) แก๊สจำนวนหนึ่งบรรจุภายในกระบอกสูบ เมื่อทำงานให้แก่ระบบ 3, 000 J ทำให้พลังงาน
ภายในเพิ่มขึ้น 2, 000 J ความร้อนของระบบและสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนอย่างไรด้วยปริมาณเท่าไร
ก. เข้าสู่ระบบ 5, 000 J ข. เข้าสู่ระบบ 1, 000 J
ค. ออกจากระบบ 5, 000 J ง. ออกจากระบบ 1, 000 J

7. (มข. 2555) การเปลี่ยนแปลงทางเทอร์โมไดนามิกส์ของก๊าซในกระบอกสูบ ระบบมีพลังงานภายในลดลง


100 J และมีการคายความร้อน 300 J จงคำนวณหางานที่เกิดขึ้น
ก. ระบบทำงาน 200 J ข. ระบบถูกทำงาน 200 J
ค. ระบบทำงาน 400 J ง. ระบบถูกทำงาน 400 J

8. (มข. 2558) แก๊สในกระบอกสูบคายความร้อน 250 จูล ขณะที่พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 50 จูล ข้อใด


ต่อไปนี้ถูกต้อง
ก. แก๊สหดตัว ระบบถูกทำงาน 200 จูล ข. แก๊สหดตัว ระบบถูกทำงาน 300 จูล
ค. แก๊สขยายตัว ระบบทำงาน 200 จูล ง. แก๊สขยายตัว ระบบทำงาน 300 จูล

150
1
9. (A-Net 2549) แก๊สอุดมคติในกระบอกสูบเดิมมีอุณหภูมิ 293 เคลวิน จำนวน โมล ถ้าแก๊สนี้รับ
15
ความร้อน 75 จูล และขยายตัวสุดท้ายอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 343 เคลวิน ถามว่าในการนี้แก๊สทำงานเท่าใด

ก. 34 J
ข. 47 J
ค. 72 J
ง. 117 J

10. (PAT2 มี.ค. 53) กระบอกสูบบรรจุแก๊ส 2 โมล เมื่อลดอุณหภูมิลง 20 องศาเซลเซียส แก๊สจะคาย


ความร้อน 150 จูล กระบอกสูบให้งานกี่จูล

151
11. (ม.อ. 52) กระบอกสูบบรรจุแก๊สเฉื่อยจำนวน 12 โมล เมื่อแก๊สขยายตัวดันลูกสูบให้ทำงาน 1000 จูล
พบว่าอุณหภูมิของแก๊สลดลง 10 องศาเซลเซียส ถามว่า กระบอกสูบบรรจุแก๊สมีการเปลี่ยนแปลง
ปริมาณความร้อน (คายความร้อนให้ หรือ ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม) เท่าใด (ให้พิจารณาเสมือนเป็น
แก๊สอุดมคติ)
ก. ดูดความร้อน 500 จูล ข. ดูดความร้อน 2500 จูล
ค. คายความร้อน 500 จูล ง. คายความร้อน 2500 จูล

12. (Ent ต.ค. 42) จะต้องให้ความร้อนเท่าใดแก่ก๊าซฮีเลียมจำนวน 1 โมล ที่บรรจุอยู๋ในกระบอกสูบ แล้ว


ทำให้ก๊าซนั้นดันให้ลูกสูบทำงาน 20 จูล และอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 เคลวิน
ก. 72.5 J ข. 124.5 J ค. 144.5 J ง. 249.5 J

152
13. (PAT2 ต.ค. 53) กระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ จำนวน 5 โมล ถ้ากระบอกสูบได้รับความร้อน 2, 493
จูล โดยไม่มีงานใดๆ เกิดขึ้น อุณหภูมิของแก๊สในกระบอกสูบจะเปลี่ยนไปอย่างไร
ก. ลดลง 20 เคลวิน ข. ลดลง 40 เคลวิน
ค. เพิ่มขึ้น 20 เคลวิน ง. เพิ่มขึ้น 40 เคลวิน

14. (Ent 34) เมื่อให้ความร้อน 59.9 จูล แก่ก๊าซ 1 โมล ที่บรรจุกระบอกสูบ ก๊าซจะทำงาน 20 จูล ดัน
ลูกสูบให้เคลื่อนที่ อุณหภูมิของก๊าซจะเพิ่มขึ้นกี่เคลวิน
ก. 2.4 ข. 4.0 ค. 5.6 ง. 7.0

153
15. (PAT3 มี.ค. 60) การเผาไหม้ที่เกิดในกระบอกสูบของเครื่องยนต์สันดาปภายใน มีการคายความร้อน
350 J โดยพลังงานส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการขับเคลื่อนลูกสูบที่ความดัน 100 kPa และส่วนที่เหลือทำ
ให้พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้น 100 J ปริมาตรของแก๊สในกระบอกสูบเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. ปริมาตรลดลง 2.5 10−3 m3 ข. ปริมาตรลดลง 4.5 10−3 m3
ค. ปริมาตรเพิ่มขึ้น 2.5 10−3 m3 ง. ปริมาตรเพิ่มขึ้น 3.5 10−3 m3
จ. ปริมาตรเพิ่มขึ้น 4.5 10−3 m3

154
แนวที่ ๒ : พิจารณาเครื่องหมายของตัวแปรในการเปลี่ยนแปลงของระบบ

16. (PAT2 มี.ค. 60) กฎข้อที่ 1 ของอุณหพลศาสตร์คือ Q = U + W ค่า Q, U ,W ของก๊าซที่อยู่เหนือ


ของเหลวในขวดโซดาแช่เย็นเมื่อฝาถูกเปิดออกอย่างรวดเร็ว จะเป็นเช่นใด
ก. Q = 0 , U  0 , W  0
ข. Q = 0 , U  0 , W  0
ค. Q  0 , U  0 , W = 0
ง. Q  0 , U = 0 , W  0
จ. Q  0 , U  0 , W = 0

17. (PAT2 พ.ย. 58) จากกฎการอนุรักษ์พลังงานสำหรับแก๊ส Q = U + W การเปิดขวดน้ำอัดลมอย่าง


รวดเร็ว จะทำให้อากาศบริเวณเหนือของเหลวในขวดมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด

. U . . W .
ก. บวก บวก
ข. บวก ลบ
ค. ศูนย์ ลบ
ง. ลบ ลบ
จ. ลบ บวก

155
18. (Ent 29) เมื่อสูบลมยางรถจักรยาน โดยการชักลูกสูบอย่างเร็ว 10 ครั้ง ช่วงเลื่อนของลูกสูบในการชักแต่
ละครั้ง ยาว 0.2 เมตร สัมผัสดูพบว่ากระบอกสูบร้อนขึ้น
ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ สามารถอ่านค่า Q (ความร้อนที่ให้แก่ระบบ) U (พลังงานภายในระบบ)
และ W (งานที่ระบบทำ) จากสมการ Q = U + W ได้ดังนี้
ก. Q = 0 , U  0 , W  0 มีค่าเป็นลบ
ข. Q = 0 , U  0 , W  0 มีค่าเป็นบวก
ค. Q  0 , U  0 , W  0 มีค่าเป็นลบ
ง. Q  0 , U  0 , W  0 มีค่าเป็นบวก

156
แนวที่ ๓ : การใช้กราฟ P-V หางานที่แก๊สทำ

19. (PAT2 มี.ค. 58) ลักษณะใดของระบบของแก๊สในภาชนะปิดซึ่งแสดงให้เห็นว่าแก๊สมีการทำงาน


ก. ปริมาตรเพิ่ม
ข. ปริมาตรลด
ค. ปริมาตรเพิ่มโดยปราศจากแรงภายนอก
ง. ปริมาตรลดโดยปราศจากแรงภายนอก

20. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 43) ข้อความใดต่อไปนี้เป็นข้อความที่ถูกต้อง


ก. การลดความดันของแก๊สอุดมคติในระบบปิดตามกระบวนการอุณหภูมิคงที่นั้น พลังงานภายในจะมี
ค่าคงที่เสมอ
ข. การลดความดันของแก๊สอุดมคติในระบบปิดตามกระบวนการปริมาตรคงที่นั้น งานของระบบจะมีค่า
เพิ่มขึ้น
ค. ความร้อนที่ใช้ในการถ่ายเทของระบบที่มีงานนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในระบบ
ง. งานของระบบสามารถหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟของแผนภูมิความดันอุณหภูมิ

157
21. (Ent ต.ค. 47) ในการอัดแก๊สอุดมคติจากจุด A ไป B เราต้องทำงานกลเป็นปริมาณกี่กิโลจูล

22. (Ent มี.ค. 43) ระบบหนึ่งประกอบด้วยกระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ ถ้าแก๊สภายในกระบอกสูบมีการ


เปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตร ดังกราฟจาก A → B → C จงหางานที่แก๊สทำให้ขบวนการนี้ใน
หน่วยกิโลจูล

158
23. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 45) แก๊สชนิดหนึ่งมีความดัน P0 และปริมาตร V0 ต่อมาแก๊สเกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยแบ่งเป็นสามขั้นตอนดังรูป โดย
ขั้นตอน I แก๊สขยายตัวโดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งมีปริมาตร 2V0
ขั้นตอน II แก๊สเย็นตัวลงโดยความดันไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งมีปริมาตร V0
ขั้นตอน III แก๊สได้รับความร้อนโดนปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งความดันเป็น Po
ข้อความใดต่อไปนี้ไม่เป็นความจริง

ก. ขั้นตอน I ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานในระบบ มีงานเกิดขึ้น


ข. ขั้นตอน II มีการทำงานต่อระบบ
ค. ขั้นตอน III ไม่มีการทำงานต่อระบบ
ง. ขั้นตอน I ค่า Q = 0

159
24. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 45) ข้อความใดต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

ก. งานทั้งหมดในรูปที่ 1 มีค่าเท่ากับงานทั้งหมดในรูปที่ 2
ข. งานทั้งหมดในรูปที่ 1 มีค่ามากกว่างานทั้งหมดในรูปที่ 2
ค. งานทั้งหมดในรูปที่ 1 มีค่าน้อยกว่างานทั้งหมดในรูปที่ 2
ง. งานทั้งหมดในรูปที่ 1 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับงานทั้งหมดในรูปที่ 2

160
25. (PAT3 ต.ค. 52) ถ้าทำการทดลองกดอัดแก๊สชนิดหนึ่งภายในกระบอกสูบที่ไม่มีแรงเสียดทาน ได้
ความสัมพันธ์ระหว่างความดันและปริมาตรเป็นดังในรูปด้านล่าง ถ้าจุดตัดแกน y มีค่า 800 กิโล
ปาสคาล และความชันของกราฟดังกล่าวมีค่า 450 กิโลปาสคาลต่อลูกบาศก์เมตร จงหาว่า งานที่ลูกสูบ
กระทำจากสภาวะที่ 1 เป็น 2 มีค่าเป็นบวกหรือลบและมีปริมาณเท่าใด ถ้าปริมาตรเริ่มต้นและสุดท้ายมี
ค่า 0.4 ลูกบาศก์เมตรและ 0.1 ลูกบาศก์เมตรตามลำดับ

ก. มีเครื่องหมายเป็น + มีค่า 20.25 กิโลจูล


ข. มีเครื่องหมายเป็น - มีค่า 206.25 กิโลจูล
ค. มีเครื่องหมายเป็น - มีค่า 20.25 กิโลจูล
ง. มีเครื่องหมายเป็น + มีค่า 206.25 กิโลจูล

161
26. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 43) อากาศบรรจุอยู่ในกระบอกสูบปิดทับด้วยลูกสูบ ถ้ามีการให้ความร้อนแก่ระบบ
แล้ว ความดันและปริมาตรของระบบจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถเขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้
P = 20V + 100 โดยที่ P คือความดันมีหน่วยเป็น ( kPa ) และ V คือปริมาตรมีหน่วยเป็น ( m3 ) ถ้า
ที่สภาวะเริ่มต้นระบบมีปริมาตรเป็น 0.1 m3 และที่สภาวะสุดท้ายระบบมีปริมาตรเป็น 2 m3 แล้ว จง
หางานของระบบ
ก. 229.9 kJ ข. 145.1 kJ ค. 72.2 kJ ง. 127.1 kJ

162
27. (EJU-1 2011) As shown in the figure below, the state of a gas in changed as A → B →
C→D→A

From (a)-(f) below choose the answer that best indicates the amount of work done on
the external environment by the gas. Here, the minus sign expresses that the external
environment did work on the gas.
(a) −4 102 (b) −2 102 (c) −1102
(d) 1102 (e) 2 102 (f) 4 102

163
28. (EJU-2 2011) As shown in the figure below, the state of a fixed amount of an ideal gas is
changed in the path A → B → C → A.

How much work does the gas do on its environment during the process A → B → C →
A (one cycle)? From (a)-(d) below choose the best answer.
(a) 300 (b) 450 (c) 750 (d) 900

164
แนวที่ ๔ : กระบวนการ isothermal

29. (ม.อ. 55) แก๊สในกระบอกสูบมีความดันเพิ่มขึ้น 2 เท่า โดยอุณหภูมิคงที่ และไม่รั่วออกมา ข้อใดกล่าว


ถูกต้อง
ก. อัตราเร็วรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สเพิ่มขึ้น
ข. พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สเพิ่มขึ้น
ค. ความร้อนของระบบคงที่
ง. พลังงานภายในระบบคงที่

30. (ทุนญี่ปุ่น 2020) Consider a system of monoatomic ideal gas. The gas has an initial volume
of 2.0 10−3 m3 at a pressure of 2.2 105 Pa . The gas expands isothermally to a final
pressure of 1.0 105 Pa . In this process, the gas gains an amount of heat of 3.5 102 J .
Calculate the work done by the gas in this process.

165
31. (PAT2 ก.พ. 63) ออกแรง 10 นิวตัน กดลูกสูบลงไปเป็นระยะ 10 เซนติเมตร ถ้าอุณหภูมิของแก๊สอุดม
คติในกระบอกสูบมีค่าคงตัว แก๊สในกระบอกสูบจะดูดหรือคายความร้อนกี่จูล
ก. ดูดความร้อน 1 จูล ข. ดูดความร้อน 10 จูล
ค. คายความร้อน 1 จูล ง. คายความร้อน 10 จูล
จ. คายความร้อน 100 จูล

32. (Ent ต.ค. 44) ถ้าแก๊สในกระบอกมีการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงตัว (isothermal) จากตำแหน่ง ก.


ไปยังตำแหน่ง ข. ดังรูป ในการเปลี่ยนแปลงนี้ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

ก. แก๊สคายความร้อน โดยงานที่ให้กับแก๊สเท่ากับความร้อนที่แก๊สคายออก
ข. แก๊สรับความร้อน โดยพลังงานภายในเพิ่มขึ้น
ค. แก๊สคายความร้อน โดยพลังงานภายในเพิ่มขึ้น
ง. แก๊สรับความร้อน โดยมีการทำงานให้กับแก๊ส

166
33. (PAT2 มี.ค. 54) กระบอกสูงทำจากโลหะ ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติและมีลูกสูบซึ่งไม่มีความเสียดทาน
กับผนังกระบอกสูบ ดังรูป เราสามารถให้ความร้อนแก่กระบอกสูบโดยรอบแล้วยังคงทำให้อุณหภูมิของ
แก๊สคงที่ได้หรือไม่

ก. ไม่ได้ เพราะจาก Q = mcT ถ้า Q  0 แล้ว T  0


ข. ไม่ได้ เพราะแก๊สไม่สามารถเปลี่ยนสถานะต่อไปได้อีกแล้ว
ค. ได้ ถ้าพลังงานความร้อนทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นงานในการขยายตัวของแก๊ส
ง. ได้ ถ้าแก๊สสามารถเก็บพลังงานความร้อนในรูปของพลังงานภายในได้ทั้งหมด

167
3
34. (ทุนญี่ปุ่น 2007) Let kT be the mean kinetic energy of the ideal gas per molecule, T
2
the absolute temperature and N the Avogadro number. Answer the following
questions.
(a) How much is the internal energy of the one mole ideal gas?
(b) How much heat is needed to increase the temperature of one mole ideal gas by one
degree at constant volume?
(c) How much work is done by one mole ideal gas when the temperature of the gas is
increased by one degree at constant pressure?
(d) When the volume of the ideal gas is doubled at constant temperature, how many
times does the mean kinetic energy per molecule become greater than before?
(e) When the volume of the ideal gas is doubled without transfer of heat, how many
times does the mean kinetic energy per molecule become greater than before? In
this case, however, the pressure must become 0.3 times lower than before.

168
35. (ทุนคิง 2550) การขยายตัวของก๊าซ 1 โมล เมื่อเริ่มต้นมีความดัน 2000 พาสคาล ปริมาตร 0.2
ลูกบาศก์เมตร และอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สมมติว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นแบบอุณหภูมิคงที่
และก๊าซขยายตัวจนมีปริมาตรเท่ากับ 0.4 ลูกบาศก์เมตร จะมีงานเกิดขึ้นกี่จูล

36. (สสวท. รอบที่ 2 ส.ค. 50) ในข้อสอบชิงทุนไปต่างประเทศประจำปี 2549 ผู้ออกข้อสอบได้ออกข้อสอบ


ผิด ๆ ดังนี้:
“.................การขยายตัวของก๊าซ 1 โมล เมื่อเริ่มต้นมีความดัน 2000 พาสคาล ปริมาตร 0.2 ลูกบาศก์
เมตรและอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส...........”
J
(โจทย์กำหนดให้ด้วยว่าค่าคงที่ของก๊าซ R = 8.31 )
mol  K
จงวิเคราะห์ให้เห็นได้ชัดเจนว่าโจทย์นั้นให้ข้อมูลผิดอย่างไร ทั้งนี้ให้ถือว่าก๊าซนั้นเป็นก๊าซอุดมคติ

169
แนวที่ ๕ : กระบวนการ isovolumic

37. (กสพท. 2556) แก๊สอุดมคติอะตอมเดี่ยวจำนวนหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะปริมาตรคงที่ V เมื่อความดัน


ของแก๊สเพิ่มขึ้นจาก P1 ไปเป็น P2 พลังงานภายในเพิ่มขึ้นเท่าใด
ก. 1 ( P2 − P1 )V ข. 3 ( P2 − P1 )V ค. 2 ( P2 − P1 )V
2 2 3
1
ง. ( P2 − P1 )V จ. 3 ( P2 − P1 )V
3

38. (มข. 2550) จงหางานที่เกิดขึ้นเนื่องจากก๊าซหุงต้มในถังบรรจุขนาด 5 ลิตร มีความดันเพิ่มขึ้นจาก 1


บรรยากาศ เป็น 3 บรรยากาศ
ก. 0 จูล ข. 500 จูล ค. 1000 จูล ง. 1500 จูล

39. (ทุนญี่ปุ่น 2020) Consider a system of monoatomic ideal gas. The gas has an initial volume
of 5.0 10−3 m3 at a pressure of 6.0 104 Pa . The pressure increases to a final pressure
of 1.0 105 Pa while keeping the volume constant. Calculate the change of the internal
energy of the gas in this process.

170
40. (กสพท. 2556) แก๊สอุดมคติอะตอมเดี่ยวอยู่ในภาชนะปริมาตรคงที่เท่ากับ V ต่อมาเติมพลังงานความ
ร้อน Q ให้กับแก๊สนี้ ความดันในแก๊สจะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าใด
2Q 5V 3V
ก. ข. ค.
5V 2Q 2Q
2Q 3Q
ง. จ.
3V 5V

41. (ทุนคิง 2544) แก๊สนีออนจำนวน 1.2 โมลในภาชนะปิดมีปริมาตร 20 ลิตร ได้รับความร้อนจาก


ภายนอกทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจาก 300 เคลวินเป็น 306 เคลวิน ความดันจะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ และ
ความร้อนนี้มีค่าเท่าใด (ค่าคงตัวของแก๊ส = 8.3 J/mol  K )

171
42. (Ent 35, Ent 33) ก๊าซฮีเลียมจำนวนหนึ่งมีโมเลกุล N โมเลกุล ในปริมาตรหนึ่ง ที่อุณหภูมิ T เคลวิน
T
ถ้าต้องการลดอุณหภูมิของก๊าซนั้นเป็น เคลวิน จะต้องเอาพลังงานความร้อนออกจากก๊าซนั้นเป็น
2
ปริมาณเท่าใด
1 3 3
ก. Nk BT ข. Nk BT ค. Nk BT ง. 2 NkBT
2 2 4

43. (Ent 30) ก๊าซฮีเลียม 1 โมล บรรจุอยู่ในคนโทแก้วที่ปิดผนึกไว้อย่างดีและถือว่าปริมาตรคงที่ตลอดเวลา


เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ถ้าต้องการทำให้อุณหภูมิของก๊าซเปลี่ยนจาก 27 องศาเซลเซียส ไปเป็น 67
องศาเซลเซียส จะต้องให้ความร้อนเข้าไปเท่าใด
ก. 830 จูล ข. 498 จูล ค. 332 จูล ง. 276 จูล

172
44. (Ent มี.ค. 45) ต้องให้ความร้อนเท่าใดแก่แก๊สฮีเลียมในภาชนะปิด ซึ่งมีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร ความ
ดันของแก๊สจึงจะเพิ่มขึ้น 0.4 105 พาสคัล ให้ถือว่าปริมาตรของภาชนะไม่เปลี่ยนแปลง
ก. 6 104 J ข. 6 105 J ค. 8 104 J ง. 8 105 J

45. (B-PAT2 ต.ค. 51) ใช้ถังปิดที่แข็งแรงใบหนึ่งปริมาตร 500 ลิตร บรรจุแก๊สความดัน 2 105 นิวตันต่อ
ตารางเมตร ที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ถ้าแก๊สได้รับพลังงานความร้อน 2, 000 จูล แก๊สจะมีอุณหภูมิ
สูงขึ้นกี่เคลวิน
ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4

173
f
46. (สอวน. ม.5 ต.ค. 58) พลังงานรวมของโมเลกุล CO2 ที่อุณหภูมิ T เคลวิน เขียนได้เป็น KE = kT
2
โดย f เป็น total degrees of freedom , k= Boltzmann constant = 1.38 10−23 J/K

(๑) ตามรูป แก๊ส CO2 อุณหภูมิ 300 K ความดัน 1 บรรยากาศพอดี อยู่ในถังซึ่งทำด้วยฉนวนแข็งให้


กระแสไฟฟ้า 80 มิลลิแอมแปร์ ผ่านความต้านทาน 10 โอห์ม เป็นเวลา 20 วินาที ทำให้แก๊ส
CO2 มีอุณหภูมิสูงขึ้น 3.2 เคลวิน จงหาค่า total degrees of freedom ( f ) ของโมเลกุล CO2
(๒) จงหา vrms ของโมเลกุล CO2 ที่อุณหภูมิ 303.2 เคลวิน

174
47. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 41) ภาชนะปิดซึ่งบรรจุอาหารไว้ มีมาตรวัดความดันซึ่งอ่านค่าได้ 105 N/m2 หาก
ต้องการให้มาตรวัดความดันนี้อ่านค่าเป็นศูนย์ วิธีใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก. ใช้เครื่องดูดโมเลกุลของอากาศออกให้หมดจากภาชนะ
ข. เพิ่มความร้อนให้แก่อากาศในภาชนะ
ค. เจาะรูภาชนะให้อากาศในภาชนะไหลออก
ง. นำฉนวนมาหุ้มรอบภาชนะเพื่อไม่ให้เกิดการถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศและสิ่งแวดล้อม

175
แนวที่ ๖ : กระบวนการ isobaric

48. (มข. 2552) ถ้าเรามีแก๊สอุดมคติอยู่ในระบบปิด (closed system) คำกล่าวต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง


ก. ถ้ามีความร้อนไหลเข้าสู่ระบบโดยความดันของระบบมีค่าคงที่ แก๊สจะต้องขยายตัว
ข. ถ้ามีความร้อนไหลเข้าสู่ระบบโดยปริมาตรของระบบมีค่าคงที่ แก๊สจะต้องมีพลังงานภายในระบบ
เพิ่มขึ้น
ค. ถ้ามีความร้อนไหลเข้าสู่ระบบโดยอุณหภูมิมีค่าคงที่ แก๊สจะต้องขยายตัว
ง. ถ้ามีความร้อนไหลออกจากระบบโดยอุณหภูมิมีค่าคงที่ แก๊สจะต้องขยายตัว

49. (พืน้ ฐานวิศวะ ต.ค. 51) แก๊สมีปริมาตร 0.10 ลูกบาศก์เมตร ความดัน 500 กิโลพาสคัล บรรจุใน
กระบอกสูบพร้อมลูกสูบ ถ้าให้ความร้อน แก๊สจะขยายตัวไปตามความดันคงที่ จนกระทั่งมีปริมาตร
0.20 ลูกบาศก์เมตร จงหางานที่เกิดจากการขยายตัวของแก๊สเป็นกิโลจูล

176
50. (กสพท. 2565) ทรงกระบอกที่มีลูกสูบเคลื่อนที่ได้คล่อง ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติ 2 โมล อุณหภูมิ 67
องศาเซลเซียส และมีความดันคงตัวเท่ากับ 10 กิโลพาสคัล

กำหนดให้ R เป็นค่าคงตัวแก๊ส
ถ้าลดอุณหภูมิของแก๊สลงช้า ๆ จนเหลือ 48 องศาเซลเซียส โดยความดันเท่าเดิม งานที่เกิดขึ้นเมื่อลูกสูบ
เคลื่อนที่มีค่าเท่าใด และระบบมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรอย่างไร
ก. 3.8R 10−3 และ ปริมาตรลดลง ข. 38R และ ปริมาตรลดลง
ค. 38R และ ปริมาตรเพิ่มขึ้น ง. 3.8R 105 และ ปริมาตรลดลง
จ. 3.8R 105 และ ปริมาตรเพิ่มขึ้น

51. (PAT3 ก.พ. 63) เผาไหม้เชื้อเพลิงแก๊ส จำนวน 0.3 kmol ที่ความดัน 200 kPa ในกระบอกสูบของ
เครื่องยนต์ชนิดหนึ่ง ส่งผลให้อุณหภูมิภายในกระบอกสูบเพิ่มขึ้นจาก 305 K เป็น 350 K งานที่
เปลี่ยนแปลงไปในกระบอกสูบมีค่าประมาณเท่าใด
ก. 79.7 kJ ข. 112.1 kJ
ค. 120.5 kJ ง. 191.7 kJ
จ. 232.6 kJ

177
52. (EJU-2 2016) An ideal gas is enclosed inside a cylinder by a smoothly moving piston. When
the pressure of the gas is 1.0 105 Pa and its absolute temperature is 300 K , its volume
is 6.0 10−3 m3 . While keeping the pressure constant, the absolute temperature is raised
to 400 K .

What is the quantity of work (in J ) done on the external environment by the ideal gas?
From (a)-(d) below choose the best answer.
(a) 2.0 (b) 2.0 101 (c) 2.0 102 (d) 2.0 103

53. (มข. 2559) ที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน แก๊สฮีเลียมในกระบอกสูบอันหนึ่งมีปริมาตร 1.0 10−5 ลูกบาศก์
เมตร มีความดัน 1.01105 ปาสคาล เท่าความดันบรรยากาศ เมื่อเผาให้มีอุณหภูมิ 600 เคลวิน โดย
ความดันแก๊สไม่เปลี่ยน แก๊สทำงานเท่ากับเท่าไร
ก. แก๊สทำงาน 1.010 จูล ข. แก๊สทำงาน 1.515 จูล
ค. แก๊สทำงาน 2.020 จูล ง. แก๊สทำงาน 3.300 จูล

178
54. (EJU-1 2021) Consider a certain quantity of an ideal gas. Initially, the pressure, volume,
and absolute temperature of the gas are p0 ,V0 , and T0 respectively. While the pressure
is kept constant, the absolute temperature of the gas is changed from T0 to T (  T0 ) . Let
us denote as W the work done on the gas by the environment in this process.

What is W ? From (a)-(d) below choose the correct answer.


(a) 0 0 ( 0 ) (b) 0 0 (
p V T −T p V T − T0 )
T0 T0
p0V0 (T0 − T ) p0V0 (T − T0 )
(c) (d)
T T

179
55. (สสวท. รอบที่ 2 ส.ค. 44) ให้ความร้อนจำนวน  Q จูล แก่ระบบแก๊สอุดมคติ n โมล ที่ความดันคงที่
จงหาปริมาณข้างล่างนี้ในรูปของ n,  Q และค่าคงตัวสากลของแก๊ส (gas constant) R
(๑) งานที่ระบบแก๊สนี้ทำ
(๒) พลังงานภายในของระบบแก๊สที่เพิ่มขึ้น
(๓) อุณหภูมิของระบบแก๊สที่เพิ่มขึ้นในหน่วยเคลวิน

56. (PAT2 ต.ค. 52) แก๊สในกระบอกสูบได้รับความร้อน 300 จูล ทำให้ปริมาตรเปลี่ยนแปลงไป 5 10−3


ลูกบาศก์เมตร ถ้าในกระบวนการนี้ระบบมีความดันคงตัว 2 105 พาสคัล เครื่องหมายของ U และ
W เป็นอย่างไรตามลำดับ
ก. บวก, บวก ข. บวก, ลบ ค. ลบ, บวก ง. ลบ, ลบ

180
57. (มช. 2559) แก๊สอุดมคติจำนวนหนึ่งมีความดัน 120 กิโลพาสคัล อยู่ในกระบอกสูบที่ลูกสูบเคลื่อนที่ได้
อย่างไม่มีความฝืด เมื่อให้ความร้อนจนแก๊สมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยความดันคงที่ พบว่าใช้พลังงานความ
ร้อนไป 64 จูล และทำให้พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 28 จูล ปริมาตรของแก๊สนี้เพิ่มขึ้นกี่ลูกบาศก์
เซนติเมตร

58. (PAT3 ก.พ. 61) การเผาไหม้ในระบบปิดหุ้มฉนวนของเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่ความดันคงที่ 150 kPa เกิด


ความร้อน 1, 250 J ซึ่งส่งผลให้ปริมาตรของห้องเผาไหม้เพิ่มขึ้น 5.0 10−3 m3 พลังงานภายในห้องเผา
ไหม้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ก. ลดลง 500 J ข. เพิ่มขึ้น 500 J
ค. เพิ่มขึ้น 750 J ง. ลดลง 2000 J
จ. เพิ่มขึ้น 2000 J

59. (ทุนญี่ปุ่น 2016) A monatomic ideal gas expands from 100 cm3 to 200 cm3 at a constant
pressure of 1.0 105 Pa . Find the change in the internal energy of the gas.
(a) 5 J (b) 10 J (c) 15 J
(d) 50 J (e) 100 J (f) 150 J

181
60. (Ent มี.ค. 47) ถ้าทำให้แก๊สฮีเลียม 1 โมล ร้อนขึ้นจาก 0 องศาเซลเซียส เป็น 100 องศาเซลเซียส
ภายใต้ความดันคงตัว 1.0 105 นิวตันต่อตารางเมตร พลังงานภายในของแก๊สฮีเลียมนี้จะเพิ่มขึ้นเท่าใด
ก. 415 J ข. 830 J ค. 1245 J ง. 2075 J

61. (PAT2 ก.ค. 52) แก๊สอุดมคติชนิดอะตอมเดี่ยวกำลังขยายตัวอย่างช้าๆ ในกระบอกสูบ โดยมีความดัน


คงที่ P ปริมาตรเปลี่ยนจาก V1 เป็น V2 และอุณหภูมิเปลี่ยนจาก T1 เป็น T2 แก๊สอุดมคตินี้ได้รับ
พลังงานความร้อนเท่าใด
3 5
ก. P (V2 − V1 ) ข. P (V2 − V1 )
2 2
3 5
ค. R (T2 − T1 ) ง. R (T2 − T1 )
2 2

182
62. (ทุนญี่ปุ่น 2013) There is cylinder laid down horizontally equipped with a piston which
can move smoothly, as shown in Figure below. An ideal gas of monoatomic molecule
is contained in the cylinder. At the beginning, the volume of the gas was V and the
pressure of the gas was equal to the atmospheric pressure p0 . When this gas was
3
heated, the piston moved slowly and the volume of the gas increased to V . Choose
2
the correct formula which indicates the quantity of heat given to the gas, on condition
that the pressure of the gas is always equal to the atmospheric pressure, and the
exchanges of heat between the gas and the cylinder and between the gas and the piston
are negligible.

1 1
(a) poV (b) poV (c) poV
2 4
3 3 3
(d) poV (e) poV (f) poV
2 4 8
5 5 5
(g) poV (h) poV (i) poV
2 4 8

63. (ทุนคิง 2552) ก๊าซอุดมคติจำนวน 2 โมล ขยายตัวที่สภาวะความดันคงที่ 1.52 105 N/m2 จาก
ปริมาตร 0.03 m3 ไปเป็น 0.07 m3 กำหนดให้ค่าคงที่ของก๊าซ R = 8.31 J/mol  K จงหา
(๑) อุณหภูมิเริ่มต้น และอุณหภูมิสุดท้าย
(๒) ปริมาณความร้อนที่ก๊าซได้รับ

183
64. (สอวน. ม.4 มี.ค. 57) จากทฤษฎีการแบ่งเท่าของพลังงาน (Equipartition theorem) แก๊สอุดมคติ
โมเลกุลอะตอมเดี่ยวจำนวน n โมล จะมีพลังงานภายใน U = 3 nRT จงหาค่าอัตราส่วนของความ
2
ร้อนที่ถ่ายเทให้แก๊สนี้ต่องานที่แก๊สนี้ทำในขณะที่แก๊สนี้มีการขยายตัวภายใต้กระบวนความดันคงตัว

65. (Ent มี.ค. 44) ให้ความร้อนจำนวนหนึ่งแก่แก๊สฮีเลียมที่บรรจุในกระบอกสูบ เมื่อแก๊สขยายตัวภายใต้


กระบวนการความดันคงที่ จงหาว่าแก๊สใช้ความร้อนในการเพิ่มพลังงานภายในร้อยละเท่าใดของปริมาณ
ความร้อนที่ได้รับ

66. (ม.อ. 54) แก๊สอุดมคติในกระบอกสูบปริมาณ 1 โมล มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น T ที่ความดันคงที่ ถามว่าแก๊ส


ได้รับความร้อนเท่าไร
3 5
ก. RT ข. RT ค. 2RT ง. RT
2 2

184
67. (Ent 27) กระบอกสูบอันหนึ่งบรรจุแก๊สฮีเลียม 2 กิโลโมล และความดันของแก๊สเท่ากับ 1.05 105
นิวตันต่อตารางเมตร ปรากฏว่าเมื่อให้ความร้อนกับแก๊สเท่ากับ 105 จูล ปริมาตรของแก๊สในกระบอก
สูบเพิ่มขึ้น 0.4 ลูกบาศก์เมตร โดยความดันของแก๊สคงที่ อยากทราบว่าอุณหภูมิของแก๊สจะเพิ่มขึ้น
เท่าใด ให้ค่าคงที่ของแก๊สเท่ากับ 8.3 จูล/โมล•เคลวิน
ก. 1.40 K ข. 2.33 K ค. 4.01 K ง. 5.70 K

68. (PAT3 ต.ค. 58) แก๊สในกระบอกสูบมีอุณหภูมิ 27 C ความดัน 2 105 Pa และปริมาตร


2 10−3 m3 เมื่อแก๊สได้รับความร้อนขยายตัวดันกระบอกสูบที่ความดันคงที่ คิดเป็นงาน 20 J อุณหภูมิ
ของแก๊สในกระบอกสูบหลังขยายตัวมีค่าเท่าใด
ก. 28.35 C ข. 42.00 C
ค. 52.00 C ง. 301.30 C
จ. 315.00 C

185
69. (ทุนญี่ปุ่น 2016) Suppose a system of monoatomic ideal gas in a cylinder with a piston as
shown in the figure. Answer the following questions. Round off your answers to two
significant figures.

(1) The pressure p , the volume V , and the temperature T of the ideal gas at the initial
state were p1 = 1.0 105 Pa , V1 = 1.2 10−4 m3 , and T1 = 3.0 102 K , respectively. Next,
the external force F slowly pushed the piston. As a result, the pressure and the
volume at the final state changed as p2 = 1.2 105 Pa and V2 = 8.0 10−5 m3 .
Calculate the temperature T2 at the final state.

(2) The pressure pand the volume V of the ideal gas at the initial state were
p = 1.5 105 Pa and V1 = 1.2 10−4 m3 . Next, the external force F slowly pushed the
piston at constant pressure. As a result, the volume changed as V2 = 8.0 10−5 m3 .
Calculate the work W of the external force F to the ideal gas.

(3) The pressure p , the volume V , and the temperature T of the ideal gas at the initial
state were p1 = 1.0 105 Pa , V1 = 6.0 10−5 m3 , and T1 = 3.0 102 K , respectively.
Next, the volume and the temperature changed as V2 = 8.0 10−5 m3 and T2 at
constant pressure. Calculate the amount of the heat Q to the ideal gas from the
external system at this process.

186
แนวที่ ๗ : ค่าความจุความร้อนจำเพาะของแก๊ส

70. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 42) จงหาความจุความร้อนต่อโมลของก๊าซฮีเลียม (ความร้อนที่จะทำให้ฮีเลียม


หนึ่งโมลมีอุณหภูมิสูงขึ้นหนึ่งเคลวิน) ที่ปริมาตรคงที่ ถ้ามวลโมเลกุลของ He มีค่า M และ R เป็น
ค่าคงตัวของก๊าซ

71. (สอวน. ม.4 มี.ค. 53) จากทฤษฎีการแบ่งปันพลังงานเท่ากัน แก๊สอุดมคติโมเลกุลอะตอมคู่จำนวน n

โมล ที่อุณหภูมิ T จะมีพลังงานภายใน U = 7 nRT เมื่อ R คือค่าคงตัวสากลของแก๊ส


2
(๑) จงหาค่าความจุความร้อนต่อโมล cV ของแก๊สนี้ภายใต้กระบวนการปริมาตรคงตัว
(๒) จงหาค่าความจุความร้อนต่อโมล cP ของแก๊สนี้ภายใต้กระบวนการความดันคงตัว

187
72. (ทุนญี่ปุ่น 2009) Let the universal gas constant be R . Let c p and cV be the specific heat
of a gas at constant pressure and one at constant volume respectively. Choose the
correct answers to question (1)-(4).

(1) For argon gas, Ar , the value ( c p − cv ) / R is


(a) 0 (b) 1/ 2 (c) 1 (d) 3/ 2 (e) 2

(2) The value of cv / R for Ar is


(a) 1/ 2 (b) 1 (c) 3/ 2 (d) 2 (e) 5/ 2

(3) The value of cv / R for the diatomic gas N2 is


(a) equal to (b) less than (c) greater than
that for Ar .

(4) The value of ( c p − cv ) / R for N2 is


(a) equal to (b) less than (c) greater than
that for Ar .

188
73. (ทุนญี่ปุ่น 2006) One mole of air is enclosed in an insulated rigid enclosure with a piston
and an electric heater as shown in figure below. Let p,V , T , R be the pressure of the air,
the volume, the absolute temperature, and the universal gas constant. In this case
. pV = RT .
Now consider the following situation: heat is supplied to the air through the heater so
that the temperature is increased by 1 K under a constant pressure.

(1) How much work is done by the piston?


(a) −R 1 mol 1 K (b) R1 mol 1 K
(c) 0 J (d) 2R1 mol 1 K
(e) −2R 1 mol 1 K

(2) Let C be the specific heat of the air per mole (at constant pressure). Which is the
appropriate supplied heat quantity?
(a) R1 mol 1 K (b) −R 1 mol 1 K
(c) C 1 mol 1 K (d) ( C + R ) 1 mol 1 K
(e) 0 J

(3) Which is the appropriate relation?


(a) C  R (b) C=R
(c) R  C  0.5R (d) C = 0.5R
(e) 0.5R  C

189
74. (PAT3 ก.พ. 62) ในกระบอกสูบมีแก๊สอุดมคติ จำนวน 1.5 mol มีความดัน 120 kPa โดยลูกสูบจะ
เคลื่อนที่เมื่อแก๊สได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นจาก 320 K เป็น 340 K จงหาพลังงานความร้อนที่ใช้ในการ
ทำให้กระบอกสูบเคลื่อนที่
กำหนดให้ความจุความร้อนจำเพาะที่ปริมาตรคงที่ของแก๊สนี้มีค่า 1.7 kJ/ ( kmol  K )
ก. 5.1 J ข. 24.9 J
ค. 30.0 J ง. 51.0 J
จ. 300.0 J

190
75. (สอวน. มจพ. ธ.ค. 63) แก๊สชนิดหนึ่งปริมาณ 0.25 kg บรรจุในกระบอกสูบที่อุณหภูมิ 25 C ความ
ดันสัมบูรณ์ 100 kPa ถ้าเพิ่มความร้อนให้กับแก๊สในกระบอกสูบ ทำให้อุณหภูมิของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น
75 C โดยความดันคงที่ และพลังงานภายในของแก๊สเปลี่ยนแปลงไป 5 kJ จงหางานที่เกิดจากการ
ขยายตัวของแก๊ส
กำหนด ค่าความร้อนจำเพาะของแก๊ส = 1, 005 J/kg  K

191
แนวที่ ๘ : กระบวนการ adiabatic

76. (มข. 2550, มช. 2555) ถ้าระบบแก๊สในภาชนะปิดที่มีผนังของภาชนะเป็นฉนวนความร้อนมีพลังงาน


ภายในลดลง 800 จูล ข้อความใดต่อไปนี้สรุปได้ถูกต้อง
ก. ระบบสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อมปริมาณ 800 จูล
ข. ระบบดูดกลืนพลังงานจากสิ่งแวดล้อมในรูปของความร้อนปริมาณ 800 จูล
ค. ระบบทำงานให้กับสิ่งแวดล้อมปริมาณ 800 จูล
ง. สิ่งแวดล้อมระบบทำงานให้กับระบบปริมาณ 800 จูล

77. (PAT2 ก.ค. 53) กระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ 2 โมล ถ้าอุณหภูมิภายในกระบอกสูบเพิ่มขึ้น 100


เคลวิน โดยไม่มีการถ่ายเทความร้อนที่กระบอกสูบ งานที่ให้กับกระบอกสูบเป็นกี่จูล

192
2
78. (PAT2 มี.ค. 54) กระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ โมล ที่อุณหภูมิ 300 K ถ้าลูกสูบถูกอัดจนมี
R
ปริมาตรเป็น 1 ลิตรและมีความดันเป็น 2 105 N/m2 จงหางานที่กระทำโดยแก๊สในกระบอกสูบ
กำหนดให้ไม่มีการถ่ายเทความร้อนระหว่างแก๊สและสิ่งแวดล้อม
( R คือค่าคงตัวของแก๊ส = 8.31 J/mol  K )

193
แนวที่ ๙ : พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของระบบเอาเอง

79. (IMAT 2017) A fixed mass of an ideal gas undergoes a change in which it is supplied with
3500 J of thermal energy. At the same time this gas does 3500 J of work on its
surroundings.
Which type of change does the gas undergo during this time?
A. adiabatic B. isothermal
C. isochoric D. isometric
E. isobaric

80. (ทุนญี่ปุ่น 2018) Consider a system of an ideal gas of 1.0 mole monoatomic molecules in
a piston-cylinder arrangement. An external force F pushes the piston with a distance x
, with giving a heat Q (i.e. the ideal gas is compressed and heated). Derive the
temperature change (rise) of the ideal gas.

194
81. (ทุนญี่ปุ่น 2007) A cylinder with a frictionless piston is placed horizontally in an atmosphere
pf pressure 1.0 105 N/m2 as shown in figure below. A gas in the cylinder is initially at a
temperature of 300 K with a volume of 6.0 10−3 m3 . Then, the gas is heated slowly to
400 K . How much work is done by the gas in this process?

(a) −500 J (b) −300 J (c) −200 J


(d) 200 J (e) 300 J (f) 500 J

195
82. (EJU-1 2017) As shown in the figure below, a fixed quantity of an ideal gas is enclosed
inside a horizontal cylinder using a smoothly moving piston (cross-sectional area:
1.0 10−1 m2 ). The pressure of the gas is equivalent to atmospheric pressure 1.0 105 Pa
. A heater inside the cylinder is used to apply a quantity of heat of 2.5 103 J to the gas,
causing the piston to move 1.0 10−1 m to the right.

How much (in J ) does the internal energy of the gas increase as a result of being heated?
From (a)-(f) below choose the best answer.
(a) 1.0 103 (b) 1.5 103 (c) 2.0 103
(d) 2.5 103 (e) 3.0 103 (f) 3.5 103

196
83. (Ent มี.ค. 46) แก๊สอุดมคติเช่นแก๊สฮีเลียมบรรจุอยู่ในกระบอกสูบที่มีลูกสูบที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระ โดยมี
อุณหภูมิ 364 เคลวิน ปริมาตร 2.0 ลิตร และมีความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับความดันภายนอก ถ้านำ
กระบอกสูบนี้ไปแช่น้ำแข็ง พบว่าสุดท้ายแก๊สมีอุณหภูมิ 273 เคลวิน และปริมาตรลดลงเหลือ 1.5 ลิตร
ความร้อนทั้งหมดที่ออกจากแก๊สในกระบอกสูบเป็นกี่จูล (กำหนดให้ความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับ 105
ปาสคาล)

197
84. (สอวน. ส.ค. 62) แก๊สอุดมคติแบบอะตอมเดี่ยวจำนวน n โมล อุณหภูมิ T0 ปริมาตร V0 อยู่ในกระบอก
สูบ ต่อมาให้ความร้อนอย่างช้าๆ ปริมาณรวมเท่ากับ Q เป็นผลให้ปริมาตรเพิ่มขึ้นจาก V0 เป็น V1 และ
อุณหภูมิเป็น T1 จงหาค่าของ T1 − T0 ในเทอมของ Q, n และค่าคงที่ของแก๊ส R

198
85. (กสพท. 2563) เมื่อตั้งต้นลูกสูบอยู่นิ่งๆ ในกระบอกสูบที่วางตัวในแนวระดับ ต่อมาใส่ความร้อนให้ก๊าซ
เท่ากับ Q ปริมาตรของก๊าซอุดมคติจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่าไร

2Q 1Q Q 2Q 2Q
ก. ข. ค. ง. จ.
7 Pa 3 Pa Pa 5 Pa 3 Pa

199
86. (กสพท. 2555) ภาชนะปิดสนิททำด้วยฉนวนความร้อนแข็งเกร็งปริมาตร 500 cm3 บรรจุก๊าซอุดมคติ
แบบอะตอมเดี่ยวซึ่งมีความดัน 2.0 106 Pa ภายในภาชนะมีขดลวดตัวนำให้ความร้อนซึ่งต่อกับ
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากภายนอกที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 15 V พบว่าหลังจากที่ให้กระแสไหลเป็นเวลา 10 s
ความดันของก๊าซในภาชนะเปลี่ยนไปเป็น 1.1106 Pa ความต้านทานของขดลวดให้ความร้อนมีค่า
เท่าใด
3 1 1 10
ก.  ข.  ค.  ง. 3 จ. 
11 3 2 3

200
87. (PAT3 ก.พ. 63) เผาไหม้เชื้อเพลิงแก๊ส จำนวน 0.3 kmol ที่ความดัน 200 kPa ในกระบอกสูบของ
เครื่องยนต์ชนิดหนึ่ง ส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในกระบอกสูบเพิ่มขึ้นจาก 305 K เป็น 350 K งานที่
เปลี่ยนแปลงไปในกระบอกสูบมีค่าประมาณเท่าใด
ก. 79.7 kJ ข. 112.1 kJ
ค. 120.5 kJ ง. 191.7 kJ
จ. 232.6 kJ

201
88. (ทุนญี่ปุ่น 2015) An ideal gas is enclosed in a container with volume V and pressure P .
The gas expands adiabatically into a vacuum. The volume changes from V to V + V  in
this process. Find the final pressure.
V V V
(a) P (b) P (c) P
V +V  V V +V 
V +V  V +V  V
(d) P (e) P (f) P
V V V

202
89. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 44) อากาศ 1 โมล บรรจุอยู่ในกระบอกสูบปิดทับด้วยลูกสูบ ซึ่งลูกสูบสามารถ
เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ที่สภาวะเริ่มต้นระบบมีความดัน 200 kPa ปริมาตร 0.02 m3 จากนั้นระบบ
ได้รับความร้อน จึงขยายตัวจนกระทั่งที่สภาวะสุดท้ายมีปริมาตร 0.05 m3 ถ้าพลังงานภายในของระบบ
เป็นฟังก์ชันกับอุณหภูมิ ดังนี้
. U = 2T + 480 .
โดยที่ U = พลังงานภายใน ( J/mol ) , T = อุณหภูมิสัมบูรณ์ ( K )
กำหนดให้ ค่าคงตัวของแก๊ส R = 8.3 J/mol  K
จงหาพลังงานความร้อนที่ถ่ายโอนของระบบ
ก. 7446 J ข. 6000 J ค. 2890 J ง. 1444 J

203
90. (EJU-2 2013) As shown in the figure below, a cylinder fixed to a horizontal floor contains
a monatomic ideal gas enclosed by a lightweight piston (cross-sectional area: S ) that can
move smoothly. Initially, the pressure of the gas is equivalent to atmospheric pressure
p0 , and its volume is V0 . An object of mass M is placed on the floor in contact with the
right end of the piston. The ideal gas is gradually heated using a heater inside the cylinder.
After some tine passes, the object begins to move to the right. Let us denote the
coefficient of static friction between the object and the floor as  , and the magnitude
of acceleration due to gravity as g . Both the cylinder and the piston are made of
thermally insulating material, and no exchange of heat occurs with the environment.

What is the quantity of heat applied to the ideal gas until immediately before the object
began to move? From (a)-(f) below choose the best answer.
 MgV0 3 MgV0 5 MgV0
(a) (b) (c)
S 2S 2S
(d) (  Mg − p0 S )V0 (e)
3 (  Mg − p0 S )V0
(f)
5 (  Mg − p0 S )V0
S 2S 2S

204
91. (อ.อนันตสิน) แก๊สไนโตรเจนบรรจุอยู่ในกระบอกสูบและลูกสูบซึ่งเป็นฉนวน ตอนแรกแก๊สมีความดัน
101 กิโลพาสคัล เท่ากับความดันบรรยากาศภายนอก มีปริมาตร 0.52 ลิตร และอุณหภูมิ 300 เคลวิน
เมื่อให้กระแสผ่านความต้านทานดังรูปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ พบว่าพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นที่ความ
ต้านทานเท่ากับ 132 จูล พร้อมกันนั้นแก๊สขยายตัวอย่างรวดเร็วและสุดท้ายมีอุณหภูมิ 502 เคลวิน
และมีความดัน 101 กิโลพาสคัลเท่าเดิม ถามว่าในการขยายตัวนี้แก๊สทำงานเท่าใด (ความจุความร้อนของ
ตัวต้านทานและเส้นลวดน้อยมาก จนละเลยได้)

205
แนวที่ ๑๐ : ระบบมีการเปลี่ยนแปลงความสูง

92. (สอวน. มี.ค. 62)

206
93. (PAT3 พ.ย. 57) แก๊สในกระบอกสูบได้รับความร้อนจากภายนอก 140 จูล และขยายตัวยกมวล 5
กิโลกรัม ขึ้นได้สูง 1.2 เมตร พลังงานภายในของแก๊สจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร อุณหภูมิของแก๊สจะ
เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าไม่มีการสูญเสียความร้อนออกสู่ภายนอกระบบ
ก. พลังงานลดลง 60 จูล อุณหภูมิแก๊สลดลง
ข. พลังงานเพิ่มขึ้น 60 จูล อุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น
ค. พลังงานเพิ่มขึ้น 70 จูล อุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น
ง. พลังงานเพิ่มขึ้น 80 จูล อุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น
จ. พลังงานเพิ่มขึ้น 90 จูล อุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้น

207
94. (PAT3 ต.ค. 52) กระบอกสูบบรรจุแก๊สไนโตรเจนน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม เริ่มต้นลูกสูบอยู่นิ่งกับที่ โดยมี
ความดันเป็น 200 กิโลปาสคาล อุณหภูมิ 400 เคลวิน ดังแสดงในรูป ถ้ามีการให้ความร้อนกับกระบอก
สูบดังกล่าวจนสูกสูบเคลื่อนที่ด้วยความดันคงที่จนถึงตำแหน่งที่กั้น จากนั้นความดันเพิ่มขึ้นจนมีค่าเป็น
สองเท่าของความดันเริ่มต้น จงหางานที่ทำโดยลูกสูบ (ค่าคงตัวแก๊สไนโตรเจน = 0.3 กิโลจูล/กิโลกรัม-
เคลวิน)

ก. 60 กิโลจูล ข. 120 กิโลจูล


ค. 180 กิโลจูล ง. 240 กิโลจูล

208
95. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 44) อากาศ 1 โมล บรรจุอยู๋ในกระบอกสูบปิดทับด้วยลูกสูบข้างล่างนี้ ที่สภาวะ
เริ่มต้น ลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่ง 1 ซึ่งที่ตำแหน่งนี้จะมีปริมาตร 0.04 m3 และความดัน 250 kPa จากนั้น
ทำการถ่ายโอนความร้อนออกจากลูกสูบ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาถึงหลักยันในตำแหน่งที่ 2 และไม่
สามารถเคลื่อนที่ลงมาได้อีกเนื่องจากติดหลักยัน ซึ่งที่ตำแหน่ง 2 นี้จะมีปริมาตร 0.025 m3 จากนั้น
ยังคงมีการถ่ายโอนความร้อนออกจากระบบจนกระทั่งที่สภาวะสุดท้ายระบบมีอุณหภูมิ 500 K จง
คำนวณหาอุณหภูมิที่เริ่มแตะหลักยัน และความดันที่สภาวะสุดท้าย
กำหนดให้ ค่าคงตัวของแก๊ส R = 8.3 J/molK

ก. 1204.8 K และ 250 kPa ข. 753 K และ 166 kPa


ค. 500 K และ 250 kPa ง. 500 K และ 166 kPa

209
96. (PAT3 ต.ค. 52, พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 48) ระบบลูกสูบ/กระบอกสูบดังแสดงในรูป ในตอนเริ่มต้นมีอากาศ
บรรจุอยู่ที่ความดัน 150 กิโลปาสกาล และอุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส โดยที่ระบบลูกสูบ/กระบอก
สูบได้ถูกระบายความร้อนออกจนมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เท่ากับอุณหภูมิอากาศรอบข้าง สมมติ
อากาศเป็นแก๊สอุดมคติ จงหาว่าลูกสูบวางอยู่บนบ่าหรือไม่ และความดันสุดท้ายภายในกระบอกสูบมีค่า
เท่าใด

ก. วางอยู่บนบ่า, ความดันสุดท้าย = 15.0 กิโลปาสกาล


ข. ไม่วางอยู่บนบ่า, ความดันสุดท้าย = 15.0 กิโลปาสกาล
ค. วางอยู่บนบ่า, ความดันสุดท้าย = 130.6 กิโลปาสกาล
ง. ไม่วางอยู่บนบ่า, ความดันสุดท้าย = 130.6 กิโลปาสกาล

210
97. (ทุนญี่ปุ่น 2015) A cylinder is placed vertically in an atmosphere fitted with a frictionless
piston of mass M , as shown in figure below. One mole of a monatomic gas is contained
in the cylinder. The cross-sectional area inside the cylinder is denoted as S , and the
pressure of the atmosphere is denoted as p0 . Initially, the height of the gas in the
cylinder is h , and the pressure of the gas is twice the pressure of the atmosphere, 2 p0
. The cylinder and the piston do not conduct heat. The gas may be regarded as an ideal
gas. The acceleration of gravity is denoted as g , and the universal gas constant is
denoted as R . Answer the following questions.

(1) Express the mass M of the piston using other quantities.


p0 Sh
(a) p0 Shg (b) p0 Sg (c)
g
p0 S p0 p0
(d) (e) (f)
g Shg Sg

(2) Find the initial temperature of the gas.


p0 SR
(a) (b) p0 SR (c) 2 p0 SR
2
p0 S p0 S 2 p0 S
(d) (e) (f)
2R R R
p0 Sh p0 Sh 2 p0 Sh
(g) (h) (i)
2R R R

211
3
(3) Heat the gas slowly, and the height of the gas increased from h to h . Show the
2
work done by the gas in this process.
p0 Sh p0 Sh
(a) (b) (c) p0 Sh
4 2
p0 h
(d) 2 p0 Sh (e) 4 p0 h (f)
4
p0 h
(g) (h) p0 h (i) 2 p0 h
2
(j) 4 p0 h

(4) In the process outlined in (3) above, indicate the amount of heat given from
outside.
p0 Sh 2 p0 Sh
(a) (b) (c) p0 Sh
5 5
(d) 5 p0 Sh (e) 5 p0 Sh (f) p0 h
2 5
2 p0 h 5 p0 h
(g) (h) p0 h (i)
5 2
(j) 5 p0h

212
98. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 48) จากการทดลองให้ความร้อนกับแก๊ส A และแก๊ส B ที่บรรจุอยู่ภายในกระบอก
สูบและลูกสูบ 2 ชุดการทดลอง ดังรูป

ถ้ากระบอกสูบของแก๊ส B มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 2 เท่าของกระบอกสูบแก๊ส A และจำนวน


โมลของแก๊ส B เป็น 3 เท่าของแก๊ส A โดยที่ในตอนเริ่มต้นทั้ง 2 ชุด การทดลองมีความสูงของลูกสูบ
เหนือระดับอ้างอิงเท่ากับ L เมื่อให้ความร้อนกับแก๊สทั้ง 2 ชนิด พบว่า ปริมาตรของแก๊ส A ที่เพิ่มขึ้น จะ
มีค่าเป็น 3 เท่าของปริมาตรของแก๊ส B ที่เพิ่มขึ้น จงหาว่าความร้อนที่ให้กับแก๊ส A จะเป็นกี่เท่าของแก๊ส
B ถ้าความดันและอุณหภูมิของแก๊สทั้ง 2 ชนิดไม่เปลี่ยนแปลงขณะทดลอง และแก๊สทั้ง 2 ชนิดเป็นแก๊ส
ในอุดมคติ
ก. QA เป็น 2 เท่าของ QB ข. QA เป็น 4 เท่าของ QB
ค. QA เป็น 6 เท่าของ QB ง. QA เป็น 9 เท่าของ QB

213
99. (EJU-1 2010) As shown in Figure 1 below, an ideal gas is contained in a vertical cylinder
sealed with a smoothly moving piston that has cross-sectional area S , and mass M . The
height of the gas is L0 and the absolute temperature of the system including the gas is
T0 . Next, as shown in Figure 2, a weight with mass m is placed on top of the piston, and
the entire system is heated so as to restore the height of the gas to L0 . At this time, the
absolute temperature of the entire system changes to T . Here, atmospheric pressure is
denoted as p0 , and the magnitude of acceleration due to gravity is denoted as g .

What is the value of T ? From (a)-(f) below choose the correct answer.
 M   Mg 
(a) 1 +  T0 (b) 1 +  T0
 m   p0 S 
 Mg   m
(c) 1 +  T0 (d) 1 +  T0
 p0 S + mg   M
 mg   mg 
(e) 1 +  T0 (f) 1 +  T0
 p0 S   p0 S + Mg 

214
215
100. (ทุนญี่ปุ่น 2019) A non-adiabatic cylinder with cross-sectional area A is placed at normal
air pressure and is filled with an ideal gas as shown in figure (a). The cylinder is closed
by an adiabatic piston with mass m . The pressure of the air is P and the temperature
of the air is T . In equilibrium, the height of the piston is h from the bottom and the
temperature of the gas is T . An object of mass M is placed on the piston, and the
height of the piston becomes h1 in equilibrium as shown in figure (b). The acceleration
of gravity is denoted as g . Answer the following questions.

(1) Find the expression of h1 .


PA + mg
(a) h (b) h
PA + ( M + m ) g
mg PA + ( M + m ) g
(c) h (d) h
PA + ( M + m ) g PA + Mg

(2) Find the work done on the gas by the air when the height of the piston changes from
h to h1 .
Mg ( PA + Mg ) h
(a) 0 (b) (c) MgPAh
PA + Mg PA
MgPAh MgPAh MgPAh
(d) (e) (f)
PA + Mg PA + mg PA + ( M + m ) g

216
(3) We then cover the system with adiabatic walls and remove the object with mass M .
In equilibrium, the height of the piston becomes h2 . Find the temperature of the gas.
h h2 + h
(a) T (b) T (c) T
h2 h
h h2 h2 + h
(d) T (e) T (f) T
h + h2 h h2

(4) We then remove the adiabatic walls. In equilibrium, the height of the piston becomes
h3 . Find the expression of h3 .
(a) h (b) h2 (c) 2h
(d) 2h2 (e) h / 2 (f) h2 / 2

217
101. (EJU-2 2014) As shown in the figure below, a monatomic ideal gas is enclosed in a fixed
cylinder by a smoothly moving piston that has a cross-sectional area of S and whose
mass is negligible. One end of an inelastic string of negligible mass is attached to the
piston, and the other end is attached to a weight of mass m , which is suspended from
a fixed pulley. Initially, the weight is at rest. Next, a heater is used to apply quantity of
heat Q to the gas. As a result, the weight descends a distance of d before coming to
rest again. The pulley rotates smoothly and has negligible mass. Let us denote the
magnitude of acceleration due to gravity as g , and atmospheric pressure as p . Assume
that the cylinder and the piston do not conduct heat.

What is d ? From (a)-(d) below choose the correct answer.


2Q 2Q
(a) (b)
5 ( pS + mg ) 3 ( pS + mg )
2Q 2Q
(c) (d)
5 ( pS − mg ) 3 ( pS − mg )

218
102. (ทุนญี่ปุ่น 2009) A piston of mass M is attached to a cylinder made from thermal
insulation. There is no friction between the piston and the cylinder. At first, the cylinder
is placed horizontally and n mol of an ideal gas of monatomic molecule at the same
temperature T0 and the same pressure P0 as the atmosphere is contained in the
cylinder. The distance from the bottom of the cylinder to the piston is L as shown in
the figure. Let the gas constant be R , and let the gravitational acceleration be g .

(1) When this cylinder was stood perpendicularly, the piston fell slowly and stopped at
a height of L from the bottom. How much was the increase in the internal energy
inside the cylinder at this time?
(2) How much was the increase in temperature inside the cylinder at that time?
(3) After that, when the inside of the cylinder was heated with the heater, the height of
the piston returned from L to L . How much did the temperature in the cylinder
increase as compared with the case where the cylinder was placed horizontally?

219
แนวที่ ๑๑ : ระบบมีสปริงมาเกี่ยวข้อง

103. (EJU-1 2011) As shown in the figure below, 1 mol of monatomic ideal gas is enclosed in
a container composed of a cylinder and a piston that are made of heat insulators. The
container is equipped with a heater. The piston moves smoothly and is attached to one
end of a spring (spring coefficient: k ). The other end of the spring is fixed to a wall. The
piston has a cross-sectional area of S and its mass is negligible. The cylinder is fixed to
a horizontal floor. At this time, the spring is as its natural length. The external air pressure
is p0 .

Next, the heater is used to warm the gas, causing the temperature of the gas to rise by
T , and causing the spring’s length to contract by x . What is U , the change in the
internal energy of the gas? Also, what is W , the work done by the gas? From (a)-(d)
below choose the correct combination?

Change in internal energy U Work done by gas W


3 k
(a) ( x )
2
RT p0 S x +
2 2
3
(b) p0 S x + k ( x )
2
RT
2
5 k
(c) ( x )
2
RT p0 S x +
2 2
5
(d) p0 S x + k ( x )
2
RT
2

220
104. (EJU-1 2015) As shown in the figure below, an ideal gas (amount of substance: n mol )
is enclosed inside a cylinder (fixed to a horizontal floor) by a smoothly moving piston
with cross-sectional area S . The piston is attached to a horizontal spring (spring
constant: k ), and the spring’s other end is fixed in place. Initially, the gas has an absolute
temperature of T0 and its pressure is equal to atmospheric pressure p0 , and the spring
is at its natural length. Next, a heater inside the cylinder is used to heat the gas, changing
the absolute temperature of the gas to T0 + T . As a result, the gas expands and the
piston moves distance x to the right. Denote the molar specific heat of the gas at
constant volume as CV . The cylinder and the piston are made of thermally insulated
material. There is no exchange of heat between the gas and the environment.

What is the quantity of heat applied to the gas? From (a)-(f) below choose the correct
answer.
(a) nCV T (b) nCV T + p0 S x
1 1
(c) nCV T + k ( x ) (d) nCV T − k ( x )
2 2

2 2
1 1
(e) nCV T + p0 S x + k ( x ) (f) nCV T + p0 S x − k ( x )
2 2

2 2

221
105. (ทุนญี่ปุ่น 2008) A cylinder is equipped with a smoothly movable piston which is
connected by a spring to the bottom of the cylinder as shown in the figure. An ideal gas
of 0.10 mol is confined in the space on the left side of the cylinder at a temperature
of 300 K . The atmospheric pressure is 1.0 105 Pa . Take the cross-sectional area of the
piston to be 1.0 10−3 m2 , the spring constant to be 500 N/m and the gas constant to
be 8.3 J/mol  K .

(1) Initially the spring is at its natural length. Calculate the volume of the gas.

By heating the gas, the piston moves to the right a distance of 0.20 m .
(2) Calculate the pressure of the gas after the change.
(3) Calculate the temperature of the gas after the change.
(4) Calculate the work done by the gas during the change.

222
106. (สอวน. มี.ค. 61)

พิจารณากระบอกสูบที่มีลูกสูบยึดอยู่กับฐานโดยสปริงที่มีค่าคงที่สปริงเท่ากับ k ดังรูป ในกระบอกสูบมี


แก๊สที่มีจำนวนโมล n ไปบรรจุไว้ เราสมมติว่าแก๊สนี้เป็นแก๊สในอุดมคติ และเป็นแก๊สโมเลกุลเดี่ยว
เริ่มต้นอุณหภูมิของแก๊สเท่ากับ T0 ( R = 8.314 J K -1 mol-1 คือ ค่าคงที่ของแก๊ส) ลูกสูบของกระบอก
สูบนี้มีพื้นที่หน้าตัด A นอกจากนี้ ลูกสูบยังสามารถขยับได้โดยไม่มีความฝืด วงจรอย่างง่ายประกอบ
ด้วยสวิตช์ แบตเตอรี่ที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า  และตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้า r ได้นำไปใส่
ไว้ในกระบอกสูบดังแสดงในรูป สมมติว่า กระบอกสูบและลูกสูบเป็นฉนวนความร้อนที่ดี และด้านนอก
ลูกสูบเป็นสุญญากาศ กำหนดในตอนเริ่มต้นลูกสูบได้อยู่ในสภาพสมดุลโดยมีระยะห่างจากฐานเท่ากับ
L.
(๑) ถ้าลูกสูบถูกยึดไม่ให้ขยับ จงหาอุณหภูมิของแก๊สที่เวลา t หลังจากสับสวิตช์ ในเทอมของ t , T0 ,  ,
r , n และ R
(๒) ถ้าลูกสูบถูกปล่อยให้ขยับได้โดยไม่มีความฝืด และสมมติว่าตัวต้านทานมีความต้านทานสูงพอที่จะ
ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่อย่างช้าๆ จงหาระยะที่สปริงยืดออกที่เวลา t หลังจากสับสวิตช์ในเทอม t ,  ,
r , k และ L

223
107. (สอวน. ม.4 ต.ค. 54) พิจารณากระบอกสูบทำด้วยฉนวนซึ่งมีส่วนขวาบรรจุแก๊สอุดมคติโมเลกุลอะตอม
เดี่ยว โดยมีลูกสูบคั่นแก๊สนี้กับส่วนซ้ายที่เหลือของลูกสูบซึ่งเป็นสุญญากาศ และมีสปริงเบาต่อเชื่อมอยู่
กับลูกสูบและผนังของกระบอกสูบดังภาพ ถ้าเริ่มพิจารณาจากขณะที่สปริงมีความยาวเป็นความยาว
ธรรมชาติ ซึ่งในขณะนี้แก๊สฝั่งขวาของกระบอกสูบมีความดัน 1 atm อุณหภูมิ 300 K และปล่อยให้
ลูกสูบเคลื่อนที่จนกระทั่งระบบเข้าสู่สมดุล พบว่าปริมาตรของแก๊สจะขยายเป็น 2 เท่าของปริมาตร
ตอนเริ่มต้น ถ้าสามารถละความจุความร้อนของกระบอกสูบ ลูกสูบ และสปริงได้ จงหาอุณหภูมิและ
ความดันของแก๊สขณะสมดุล

224
108. (PAT3 ก.ค. 52) ลูกสูบที่มีภาระเป็นสปริงดังรูปบรรจุแก๊สฮีเลียม เมื่อลูกสูบยังไม่สัมผัสกับสปริง พบว่า
แก๊สมีความดันและปริมาตรเป็น 150 กิโลปาสคาล และ 0.4 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อให้ความ
ร้อนกับลูกสูบ ทำให้ฝาลูกสูบเริ่มสัมผัสกับสปริงจนแก๊สภายในกระบอกสูบมีความดันและปริมาตร
สุดท้ายเป็น 300 กิโลปาสคาล และ 0.8 ลูกบาศก์เมตร จงหางานรวมของทั้งระบบ

ก. 30 กิโลจูล ข. 60 กิโลจูล
ค. 90 กิโลจูล ง. 120 กิโลจูล

225
109. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 49) เมื่อเราทำการทดลองใส่ความร้อนให้กับกระบอกสูบที่มีปริมาตรเริ่มต้น 100
ลูกบาศก์เซนติเมตร จนกระบอกสูบขยายตัวและเคลื่อนที่ขึ้นไปจนปริมาตรเท่ากับ 150 ลูกบาศก์
เซนติเมตร โดยกระบอกสูบเคลื่อนที่ขึ้นแบบความดันคงที่ที่ 100 กิโลพาสคัล ไปกระทบสปริง และเรา
ยังให้ความร้อนไปต่อเนื่องจนทำให้สปริงถูกดันจนขยับขึ้นเป็นระยะ 2 เซนติเมตร จงหางานที่เกิดขึ้น
และกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาตร กำหนดให้ค่านิจสปริงเท่ากับ 10 กิโลนิวตัน
ต่อเมตร

ก. ข.

งาน =7 จูล งาน =7 จูล

ค. ง.

งาน =7 จูล งาน = 12 จูล

226
แนวที่ ๑๒ : หาอัตราเร็วของกระบอกสูบ

110. (สอวน. ม.5 ส.ค. 51) จงหาความเร็วที่ลูกสูบกำลังเคลื่อนที่ขึ้นในรูปของ M , g , Pa , A, R, I

227
111. (สอวน. ม.5 ต.ค. 56)

228
112. (ทุนคิง 2545) แก๊ส He บรรจุในกระบอกสูบและลูกสูบซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด 100 ตารางเซนติเมตร ทั้งคู่
ทำด้วยฉนวน แก๊สนี้มีปริมาตร 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีความดัน 1 บรรยากาศ เท่ากับ 1.0 105
นิวตันต่อตารางเมตร และอุณหภูมิเท่ากับ 300 เคลวิน เท่ากับความดันและอุณหภูมิภายนอก ต่อมาให้
ความร้อนแก่แก๊สโดยให้กระแสไฟฟ้า 0.3 แอมแปร์ ผ่านความต้านทาน 10 โอห์มซึ่งอยู่ภายในแก๊ส
ถามว่าขณะนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ออกไปด้วยอัตราเร็วเท่าใด ถ้าลูกสูบเคลื่อนที่โดยปราศจากความเสียด
ทาน (เนื่องจากการให้ความร้อนอย่างช้า ๆ ความดันของแก๊สและความดันภายนอกจะต่างกันน้อยมาก
จนถือได้ว่าเท่ากัน)

229
แนวที่ ๑๓ : มีการถ่ายเทความร้อนภายในระบบ

113. (EJU-1 2012) As shown in the figure below, a monatomic ideal gas is contained by a
cylinder and a piston that are made of thermally insulating material. The interior of the
cylinder is divided into two compartments (A and B) by a partition, which is fixed in
place and is impermeable to gas. The volume of A is constant, while the volume of B
changes with movement of the piston. The piston moves smoothly, and the pressure in
B constantly maintained at atmospheric pressure. The amount of monatomic ideal gas
in B (in terms of moles) is three times that of A. Initially, the absolute temperature of
the gas in A is 2T0 , while that of the gas in B is T0 . After sufficiently time elapses, the
gas in A and the gas in B both reach an absolute temperature of T1 . The partition is
highly conductive of heat, and its heat capacity is negligible.

What is the magnitude of T1 ? From (a)-(d) below choose the correct answer.
5 7 11 7
(a) T0 (b) T0 (c) T0 (d) T0
4 6 8 2

230
114. (ทุนคิง 2548, อ.อนันตสิน) แก๊สอุดมคติอยู่ในกระบอกสูบซึ่งเป็นตัวนำความร้อนและลูกสูบซึ่งเป็น
ฉนวนความร้อนและเคลื่อนที่ได้คล่อง เดิมแก๊สมีปริมาตร 1.6 10−3 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ 300
เคลวิน ความดัน 1.0 105 พาสคัล เท่ากับความดันของบรรยากาศภายนอกซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อ
บรรจุลูกสูบนี้ลงในน้ำแข็ง 0 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในภาชนะที่หุ้มด้วยฉนวนดังรูป ถ้าทิ้งไว้นานๆ
ปริมาตรของแก๊สจะลดลงเหลือเท่าใด และน้ำแข็งจะละลายเนื่องจากความร้อนของแก๊สนี้กี่กรัม

231
แนวที่ ๑๔ : การใช้กราฟ เพื่อบรรยายกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์

115. (Ent 31) จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาตร ระบบซึ่งประกอบด้วยก๊าซฮีเลียม 1 โมล


มีการเปลี่ยนแปลงสถานะจาก a ไป b จงหาค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในระบบ กำหนดให้ค่านิจ
ของก๊าซเท่ากับ 8.31 จูล/โมล.เคลวิน

ก. เพิ่มขึ้น 6.23 104 จูล ข. ลดลง 6.23 104 จูล


ค. เพิ่มขึ้น 7.5 103 จูล ง. ลดลง 7.5 103 จูล

232
116. (EJU-1 2017) A fixed quantity of a monatomic ideal gas is enclosed inside a cylinder. The
state of the gas is changed from state A to state B, as shown in the p − V diagram
below. Let us denote the work done on the environment by the gas as W , the quantity
of heat absorbed by the gas as Q , and change in internal energy resulting from this
process as U .

What are W , U , and Q ? From (a)-(h) below choose the correct combination.

(a) (b) (c) (d) (e) (f) (g) (h)


.W . p0V0 p0V0 p0V0 p0V0 3p0V0 3p0V0 3p0V0 3p0V0
15 15 15 15
. U . p0V0 p0V0 9 p0V0 9 p0V0 p0V0 p0V0 9 p0V0 9 p0V0
2 2 2 2
13 17 9 21
.Q. p0V0 p0V0 8 p0V0 10 p0V0 p0V0 p0V0 6 p0V0 12 p0V0
2 2 2 2

233
117. (มข. 2558) จากกราฟความดันและปริมาตรของระบบแก๊สที่กำหนดให้ ระบบแก๊สมีสภาวะเปลี่ยนจาก
A → B ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (กำหนดให้ 1 atm = 105 นิวตันต่อตารางเมตร)

ก. ระบบดูดความร้อน 800 จูล และพลังงานภายในระบบคงเดิม


ข. ระบบคายความร้อน 800 จูล และพลังงานภายในลดลง 400 จูล
ค. ระบบคายความร้อน 400 จูล และพลังงานภายในระบบคงเดิม
ง. ระบบดูดความร้อน 400 จูล และพลังงานภายในระบบเพิ่ม 400 จูล

234
118. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 45) ระบบแก๊สปริมาณ 2 โมล บรรจุภายในกระบอกสูบ ถ้าแก๊สเปลี่ยนสถานะ
จาก a ไปยัง b ดังรูป โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างความดันในหน่วย 105 Pa และปริมาตรในหน่วย
10−3 m3 ดังแสดง ระบบจะรับหรือคายปริมาณความร้อนกี่จูล

119. (EJU-1 2019) A fixed quantity of a monatomic gas is enclosed inside a cylinder. As shown
in the p − V diagram below, the state of the gas is changed in the path state A → state
B.

What is the net quantity of heat absorbed by the gas in the entire process of state A
→ state B? From (a)-(f) below choose the correct answer.
(a) 2 p0V0 (b) 4 p0V0 (c) 6 p0V0
(d) −2 p0V0 (e) −4 p0V0 (f) −6 p0V0

235
120. (มข. 2557) ให้ความร้อน 3000 จูล แก่ก๊าซในกระบอกสูบอันหนึ่ง ทำให้ก๊าซขยายตัวตามเส้นทาง AB
ตามกราฟในรูป พลังงานภายในของก๊าซเปลี่ยนไปเท่าไร

ก. ลดลง 1000 จูล ข. ลดลง 2000 จูล


ค. เพิ่มขึ้น 1000 จูล ง. เพิ่มขึ้น 2000 จูล

236
121. (สอวน. มิ.ย. 64)

237
122. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 43) อากาศจำนวน 2 โมล บรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบดังรูป เมื่อให้ความร้อนกับ
อากาศปริมาณ 2 กิโลจูล พบว่าความดันและปริมาตรของอากาศมีความสัมพันธ์กันดังแสดงในกราฟ
กำหนดค่าคงตัวของแก๊ส ( R ) = 8.3 จูล/โมล-เคลวิน อยากทราบว่าอากาศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเท่าใด

ก. 0.0482 องศา ข. 0.482 องศา


ค. 4.82 องศา ง. 48.2 องศา

238
123. (EJU-2 2018) A fixed quantity of a monatomic ideal gas is enclosed in a cylinder and its
state is changed in the path State A → State B → State C as shown in the p − V
diagram below.

What is the quantity of heat absorbed by the gas in the process of State A → State B
→ State C? From (a)-(e) below choose the correct answer.
1 3 5
(a) p0V0 (b) p0V0 (c) p0V0 (d) 2 p0V0 (e) p0V0
2 2 2

239
124. (EJU-2 2010) The state of n  mol of a monatomic ideal gas is changed according to A
→ B → C as shown in the p − V diagram below. The absolute temperature of the
initial state, A, is denoted as T , and the gas constant is denoted as R .

What is the quantity of heat added to the gas in the process of A → B →C? From
(a)-(f) below choose the correct answer.
9 11 13
(a) nRT (b) nRT (c) nRT
2 2 2
15 17 19
(d) nRT (e) nRT (f) nRT
2 2 2

240
125. (EJU-2 2015) Pressure p and volume V of an ideal gas (amount of substance: n mol )
are changed in the path A → B → C as shown in the figure below. The volume and
pressure in state A are V0 and 2 p0 , respectively. The volume, pressure, and absolute
temperature in state B are V0 , p0 and T0 , respectively. The volume and pressure in state
C are 2V0 and p0 , respectively. Let us denote molar specific heat of this gas at constant
volume as CV , its molar specific heat at constant pressure as C p , and the gas constant
as R .

What is the net quantity of heat absorbed by the gas during the entire process A → B
→ C? From (a)-(h) below choose the correct answer.
(a) −nRT0 (b) −nCV T0
(c) −nC pT0 (d) −n ( CV + C p ) T0
(e) nRT0 (f) nCV T0
(g) nC pT0 (h) n ( CV + C p ) T0

241
126. (EJU-1 2021) As shown in the p − V diagram below, the state of a certain quantity of an
ideal gas is changed from state A to state B in three pathways that go through different
states (I, II, III). Let us denote as QI , QII , and QIII the quantity of heat absorbed by the
gas in the change passing through state I, II, and III, respectively.

What is the magnitude relationship among QI , QII , and QIII ? From (a)-(e) below choose
the correct answer.
(a) QI  QII  QIII (b) QIII  QII  QI
(c) QI = QIII  QII (d) QII  QI = QIII
(e) QI = QII = QIII

242
127. (Ent ต.ค. 45) กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของความดันและปริมาตรของระบบแก๊สให้ข้อมูลดังนี้ ตาม
เส้นทาง acb มีพลังงานความร้อนที่ให้แก่ระบบเท่ากับ 500 จูล และงานที่ทำโดยระบบเป็น 200 จูล
ส่วนตามเส้นทาง adb งานที่ทำโดยระบบเป็น 100 จูล จงหาพลังงานความร้อนที่ให้แก่ระบบ ตาม
เส้นทาง adb นี้

ก. 300 J ข. 400 J ค. 500 J ง. 600 J

243
128. (ทุนญี่ปุ่น 2014) In the process of taking a gas from state A to state B along the curved
path AEB shown in the p − V diagram, 100 J of the heat are added to the gas and
60 J of work are done by the gas.
Assume that the paths AC and DB are isochoric (constant volume) processes and the
paths CB and AD are isobaric (constant pressure) processes.

(1) Calculate the change in internal energy U B − U A .


(2) When the gas is taken along the path ACB, the work done by the gas is 90 J . How
much heat is added to the gas in this process?
(3) If the change in internal energy U B − UC is 20 J , how much heat is added to the gas
in the isobaric process from C to B?
(4) If PC = 2.0PA , how much heat is added to the gas in the process ADB?

244
129. (มช. 2553) ให้ใช้กราฟต่อไปนี้ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของแก๊สอุดมคติ 1 โมล
ในกระบอกสูบปิด ตามกระบวนการ A → B → C

(a) เมื่อให้ความร้อนแก่แก๊สแล้ว พบว่าแก๊สทำงานจาก A → B จงหาค่างานที่แก๊สทำให้หน่วยกิโลจูล


ก. 3 ข. 6 ค. 7 ง. 9

(b) ในกระบวนการ A → B ถ้าแก๊สมีอุณหภูมิสูงขึ้น 20 เคลวิน ความร้อนที่ให้แก่แก๊สในกระบวนการ


นี้มีคา่ กี่จูล
ก. 249 ข. 3, 249 ค. 5, 751 ง. 6, 249

(c) ข้อใดกล่าวถึงกระบวนการจาก B → C ได้อย่างถูกต้อง


ก. มีงานเกิดขึ้น
ข. พลังงานภายในลดลง
ค. เป็นกระบวนการดูดความร้อน
ง. เป็นกระบวนการอุณหภูมิคงที่

245
130. (EJU-2 2020) A certain quantity of a monatomic ideal gas is enclosed in a cylinder.
Consider how the state of this gas changes when it undergoes the processes shown in
the p − V diagram below: process (1) which changes the state of the gas from state A
to state B; process (2), which changes the state of the gas from state A to state C; process
(3), which changes the state of the gas from state A to state D; and process (4), which
changes the state of the gas from state A to state E. Processes (1) and (3) are isobaric
changes, and processes (2) and (4) are adiabatic changes.

In which of processe (1)-(4) does the internal energy of the gas decrease? From (a)-(d)
below choose the correct answer.
(a) Processes (1) and (2)
(b) Processes (2) and (3)
(c) Processes (3) and (4)
(d) Processes (1) and (4)

246
131. (EJU-2 2012) As shown in the figure below, the state of a certain ideal gas is changed in
the path A → B. Absolute temperature T is taken on the horizontal axis, and volume
V on the vertical axis.

What happens to the pressure p of the gas as a result of change of state A → B.


Also, does the gas absorb heat, or emit it? From (a)-(f) below choose the correct
answer.
(a) The pressure p increases; the gas absorbs heat.
(b) The pressure p increases; the gas emits heat.
(c) The pressure p decreases; the gas absorbs heat.
(d) The pressure p decreases; the gas emits heat.
(e) The pressure p does not change; the gas absorbs heat.
(f) The pressure p does not change; the gas emits heat.

247
แนวที่ ๑๕ : แก๊สทำงานครบวัฏจักร

132. (EJU-2 2014) The pressure p and volume V of a fixed amount of an ideal gas changed
in the path A → B → C → A as shown in the p − V diagram below. Process A → B
is an isobaric change, B → C is an isochoric change, and C → A is an isothermal change.

In processes A → B, B → C and C → A, is the work done on the environment positive,


negative, or zero? From (a)-(f) below choose the correct combination.

A→B B→C C→A


(a) positive negative 0
(b) positive 0 negative
(c) negative positive 0
(d) negative 0 positive
(e) 0 positive negative
(f) 0 negative positive

248
133. (EJU-2 2021) A certain quantity of a monatomic ideal gas is enclosed in a cylinder and
its state is changed in the path state A → state B → state C → state A as shown in
the p − V diagram below. Let us denote as U the change in the internal energy of
the gas before and after this change of state, and as Q the net quantity of heat absorbed
by the gas during this change of state.

Is U positive, negative, and zero? Also, is Q positive, or negative? From (a)-(f) below
choose the correct combination.

(a) (b) (c) (d) (e) (f)


. U . positive positive negative negative .0 . .0 .
.Q. positive negative positive negative positive negative

249
134. (EJU-1 2013) The state of a fixed amount of ideal gas is changed in the path A → B
→ C → A as shown in the p − V diagram below. Here, C → A is an isothermal
change.

From (a)-(f) below choose the combination that correctly indicates whether the gas
absorbs or emits heat during changes A → B, B → C, C → A.

A→B B→C C→A


(a) absorbs absorbs emits
(b) absorbs emits absorbs
(c) emits absorbs absorbs
(d) emits emits absorbs
(e) emits absorbs emits
(f) absorbs emits emits

250
135. (ทุนญี่ปุ่น 2019) Consider a system of monoatomic ideal gas. The ideal gas is carried along
the path A → B → C → A as shown in the PV diagram. Assume that the path A →
B is a isochoric (constant volume) process, the path B → C is an isothermal process
(constant temperature), and the path C → A is an isobaric (constant pressure) process.
The temperature of the ideal gas is an initial state is T = 75 K . Round off your answers
to two significant figures.

(1) Calculate the temperature in the state B.


(2) How much work is done on the gas in the process from C to A?
(3) What is the change of the internal energy of the gas in the process from C to A?

251
136. (EJU-1 2014) The state of a fixed amount of a monatomic ideal gas is changed in the
path A → B → C → A as shown in the p − V diagram below, where A → B is an
isochoric change, B → C is an adiabatic change, and C → A is an isothermal change.
In state A, the pressure is p0 , and the volume is V0 . In state B, the pressure is 3p0 , and
the volume is V0 .

What is the work done on the gas in process B → C? From (a)-(h) below choose the
correct answer.
3 5
(a) p0V0 (b) p0V0 (c) 3p0V0 (d) 5 p0V0
2 2
3 5
(e) − p0V0 (f) − p0V0 (g) −3p0V0 (h) −5 p0V0
2 2

252
137. (PAT3 มี.ค. 64) แก๊สถูกอัดอยู่ในกระบอกสูบ ทำให้แก๊สในกระบอกสูบมีการเปลี่ยนแปลงทั้งความดัน
และปริมาตร จาก x → y → z → x จนครบรอบดังรูป จงหาว่าระบบนี้คายหรือดูดความร้อนเท่าใด

ก. ดูดความร้อน 300 J ข. ดูดความร้อน 450 J


ค. ดูดความร้อน 900 J ง. คายความร้อน 300 J
จ. คายความร้อน 900 J

253
138. (ทุนญี่ปุ่น 2015) Consider a system of monoatomic ideal gas. The ideal gas is carried
along the path A → B → C → A shown in the p − V diagram.

Assume that the path A → B is an isochoric (constant volume) process and the path C
→ A is an isobaric (constant pressure) process. Pressure and volume of the ideal gas in
an initial state are p0 = 1.0 105 Pa and V0 = 2.0 103 m3 . Let the gas constant be
8.3 J/ ( mol  K ) . Round off your answers to two significant figures.
(1) Temperature of the gas in the state A is 3.0 102 K . Calculate the temperature in
the state B.
(2) How much heat is added to the gas in the process from A to B?
(3) How much work is done by the gas in the process from B to C?
(4) How much heat is released to the outside in the process from C to A?

254
139. (ทุนญี่ปุ่น 2020) An ideal gas undergoes the cycle shown in the P − V diagram of figure
below. Find the net thermal energy added to the system during one complete cycle.

1
(a) 0 (b) PV
0 0 (c) PV
0 0
2
3 5
(d) PV
0 0 (e) 2PV
0 0 (f) PV
0 0
2 2

255
140. (สอวน. ม.4 มี.ค. 52) พิจารณาเครื่องยนต์ความร้อนที่ประกอบด้วยระบบอุณหพลวัตของแก๊สอุดมคติ
อะตอมเดี่ยวซึ่งมีการทำงานเป็นกระบวนการวัฏจักรที่มีสถานะและเส้นทางดังแสดงในแผนภาพ P − V

(๑) จงหาค่าความร้อนที่เข้าสู่ระบบและงานที่ระบบทำ สำหรับแต่ละกระบวนการ ab, bc, cd , da


(๒) งานสุทธิต่อหนึ่งวัฏจักรที่กระทำต่อแก๊สมีคา่ เท่าใด

256
141. (ทุนญี่ปุ่น 2014) One mole of a monatomic ideal gas is taken through the cycle shown in
Figure below. Starting from A where the pressure and the volume are p0 and V0 ,
respectively, the state of the gas is changed through B, C, D, and returns to A. Answer
the following questions.

(1) What multiple of the temperature at C is that at A?


1 1 1
(a) (b) (c) (d) 1
12 4 3
(e) 3 (f) 4 (g) 12

(2) Find the work done by the gas in the process A → B.


1 1 1 1
(a) p0V0 (b) p0V0 (c) p0V0 (d) p0V0
6 4 3 2
(e) p0V0 (f) 2 p0V0 (g) 3p0V0 (h) 4 p0V0
(i) 6 p0V0

(3) Choose the process in which the thermal heat the gas receives from outside is at
maximum, among four processes, A → B, B → C, C → D, and D →A.
(a) A → B (b) B → C (c) C → D (d) D →A

257
(4) Find the thermal heat the gas receives from outside in the process of question (3).
1 3 9
(a) p0V0 (b) p0V0 (c) p0V0 (d) p0V0
2 2 2
(e) 13 p0V0 (f) 21
p0V0 (g) 27
p0V0 (h) 31
p0V0
2 2 2 2
35
(i) p0V0
2

(5) Find the net thermal heat which the gas emits in the entire process from A to A
through A → B → C → D → A.
1 3 9
(a) p0V0 (b) p0V0 (c) p0V0 (d) p0V0
2 2 2
(e) 13 p0V0 (f) 21
p0V0 (g) 27
p0V0 (h) 31
p0V0
2 2 2 2
35
(i) p0V0
2

258
142. (ทุนญี่ปุ่น 2018) One mole of a monatomic ideal gas is taken through the cycle shown in
figure below. In the process AB the gas pressure increases from P0 to 4P0 at constant
volume V = V0 . In the process BC the gas volume increases from V0 to 4V0 at constant
pressure P = 4P0 . In the process CD the gas pressure decreases from 4P0 to P0 at
constant volume V = 4V0 . In the process DA the gas volume decreases from 4V0 to V0
at constant pressure P = P0 . The gas has a molar specific heat at constant volume,
CV = 3R / 2 with R the universal gas constant. Answer the following questions.

(1) Find the thermal energy transferred into the system in the process AB.
11
(a) PV
0 0 (b) 3PV
0 0 (c) PV
0 0
2
9 9 7
(d) PV
0 0 (e) PV
0 0 (f) PV
0 0
5 2 2

(2) Find the thermal energy transferred into the system in the process BC.
(a) 18PV
0 0 (b) 24PV0 0 (c) 30PV
0 0

25 45 75
(d) PV
0 0 (e) PV
0 0 (f) PV
0 0
2 2 2

(3) Find the net work done by the gas per cycle.
(a) 16PV
0 0 (b) 4PV
0 0 (c) 3PV
0 0

(d) 12PV
0 0 (e) 15PV
0 0 (f) 9PV
0 0

259
143. (ทุนญี่ปุ่น 2006) The diagram below shows state changes of an ideal gas. The temperatures
of states (1), (2) and (3) are T1 , T2 and T3 respectively. The state change from (1) to (2)
is an adiabatic change (not an isothermal change). The state change from (2) to (3) is a
change at constant pressure (isobaric change). The state change from (3) to (1) is a
change at constant volume (isochoric change).

(a) Write the size relation between T1 , T2 and T3 . (………… < ………… < ………….)
(b) Let the quantity of the ideal gas be 1 mol , and let R denote the gas constant. Find
the work which the gas did on the outside during the state change from (2) to (3)
(c) Furthermore, the ideal gas consists of a mono-atomic molecule. Find the work which
was done from the outside during the state change from (1) to (2).

260
144. (IOQP 2021) The work done by the three moles of an ideal gas in the cyclic process
ABCD shown in the diagram is approximately. Given that
T1 = 100 K , T2 = 200 K , T3 = 600 K , T4 = 300 K

(a) 7.5 kJ (b) 5.0 kJ (c) 2.5 kJ (d) Zero

261
แนวที่ ๑๖ : พิจารณาการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในของการเปลี่ยนแปลงสถานะ

145. (สอวน. ม.4 มี.ค. 57) ที่อุณหภูมิ 0 C ภายใต้ความดันบรรยากาศ P0 น้ำแข็งจะมีความหนาแน่น


ice และน้ำจะมีความหนาแน่น water และน้ำแข็งมีความร้อนแฝงต่อมวลของการหลอมเหลวเท่ากับ
Lm พิจารณาระบบของน้ำแข็งมวล m ที่อุณหภูมิ 0 C ละลายกลายเป็นน้ำทั้งหมดที่อุณหภูมินี้
(๑) จงหางานทั้งหมดที่ระบบกระทำต่อบรรยากาศ
(๒) จงหาความร้อนทั้งหมดที่ไหลเข้าสู่ระบบ
(๓) จงหาผลต่างของพลังงานภายในของระบบตอนที่เป็นน้ำและน้ำแข็ง

262
146. (Ent 26) ที่ความดัน 105 N  m−2 น้ำมวล 1 g ปริมาตร 1 cm3 ได้รับความร้อนกลายเป็นไอน้ำจน
หมด มีปริมาตร 1.5 ลิตร พลังงานในระบบที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ (กำหนดให้ความร้อนแฝงจำเพาะของ
น้ำที่ 100 C = 2.256 106 J/kg )
ก. 2.106 103 J ข. 2.256 103 J
ค. 2.106 106 J ง. 2.256 106 J

263
การประยุกต์ใช้กฎของเทอร์โมไดนามิกส์
แนวที่ ๑ : เครื่องจักรความร้อน

147. (Ent 28) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง อยากทราบว่า


เครื่องยนต์นี้ใช้เปลี่ยนพลังงานรูปใดบ้าง
(๑) พลังงานเคมี เป็น พลังงานความร้อน (๒) พลังงานกล เป็น พลังงานไฟฟ้า
(๓) พลังงานความร้อน เป็น พลังงานกล (๔) พลังงานความร้อน เป็น พลังงานจลน์
ก. (๑) และ (๒) ข. (๑) และ (๓)
ค. (๓) และ (๔) ง. (๑), (๓) และ (๔)

148. (Ent 32) เครื่องยนต์แก๊สโซลีน และเครื่องยนต์ดีเซล มีหลักการที่ต่างกันอยู่ 2 จังหวะ ได้แก่


ก. จังหวะกำลัง และจังหวะคาย ข. จังหวะดูด และจังหวะอัด
ค. จังหวะอัด และจังหวะกำลัง ง. จังหวะดูด และจังหวะกำลัง

264
แนวที่ ๒ : ตู้เย็น/เครื่องปรับอากาศ

149. (TEDET ม.1 2560) ข้อความต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับหลักการของเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศใช้หลักการที่ทำให้อุณหภูมิโดยรอบลดต่ำลงโดยการดูดความร้อนในขณะที่สารทำ
ความเย็นระเหยเป็นไอ ตัวกลางที่ส่งผ่านความร้อนโดยถ่ายเทความร้อนจากวัตถุอุณหภูมิต่ำไปยัง
วัตถุอุณหภูมิสูงเรียกว่า สารทำความเย็น รูปต่อไปนี้แสดงโครงสร้างการทำงานอย่างง่ายของ
เครื่องปรับอากาศ นั้นคือ การกดอัด → การควบแน่น → หลอดแคปิลลารี่ → การระเหย ทำ
ให้เกิดลมเย็นสบาย

ข้อใดไม่ถูกต้องทั้งหมด
ก. จุดที่มีการดูดพลังงานความร้อนคือ ④ การระเหย
ข. ด้านนอกห้องที่มีเครื่องปรับอากาศจะมีลมร้อนออกมาแตกต่างจากภายในห้อง
ค. ส่วนที่ต้องเชื่อมต่อกับภายนอกห้อง จาก ① ถึง ④ ดังรูปด้านบน คือ ① การกดอัด
ง. เครื่องปรับอากาศไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารทำความเย็น
จ. ถ้าเปิดเครื่องปรับอากาศ จำเป็นจะต้องมีท่อระบายน้ำ คือ ④ การระเหย

265
150. (TEDET ม.1 2561) จากรูปแสดงโครงสร้างของตู้เย็นต่อไปนี้

คำอธิบายในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. บริเวณ A จะมีการปล่อยความร้อนออกมา
ข. สาเหตุที่ภายในตู้เย็นมีอุณหภูมิต่ำ เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารทำความเย็นที่บริเวณ
A
ค. สารทำความเย็นมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของเหลวไปเป็นสถานะแก๊สที่บริเวณ B
ง. ความร้อนจากการควบแน่นทำให้ไอของสารทำความเย็น เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวและถูกปล่อย
ออกมาบริเวณ B จึงทำให้ด้านหลังตู้เย็นเกิดความร้อนขึ้น
จ. ในช่วงฤดูร้อน วันก่อนวันที่ฝนตกจะรู้สึกร้อนมากกว่าปกติ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน
ความร้อน เช่นเดียวกับบริเวณ B

266
151. (TEDET ม.1 2562) รูปแสดงหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

ข้อใดถูกต้อง
ก. สารทำความเย็นมีสถานะเป็นแก๊สเมื่ออยู่ที่ ⓐ และมีสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ที่ ⓑ
ข. เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะจากแก๊สเป็นของเหลวที่เครื่องการกลายเป็นไอ และเกิดการเปลี่ยนแปลง
สถานะจากของเหลวเป็นแก๊สที่เครื่องควบแน่น
ค. เครื่องการกลายเป็นไอคายความร้อนและและเครื่องควบแน่นดูดความร้อน
ง. การเกิดลมเย็นภายในอาคารเกี่ยวข้องกับความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ
จ. การเกิดลมร้อนภายนอกอาคารเกี่ยวข้องกับความร้อนแฝงของการแข็งตัว

267
รวมข้อสอบ ม.ปลาย
แก๊สและเทอร์โมไดนามิกส์ Part 4

แก๊สผสม
แนวที่ ๑ : มวล/ปริมาตรของแก๊สผสม

1. (PAT3 เม.ย. 57) ถังแก๊ส CNG ขนาด 100 ลิตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส บรรจุแก๊สธรรมชาติที่
ประกอบด้วยมีเทน ( CH 4 ) ร้อยละ 80 โดยปริมาตร และแก๊สอีเทน ( C2 H6 ) ร้อยละ 20 โดย
ปริมาตร ที่ความดัน 200 เท่าของบรรยากาศ (ความดันบรรยากาศเท่ากับ 101 กิโลปาสคาล) จะมี
ปริมาณแก๊สคิดเป็นน้ำหนักกี่กิโลกรัม
ก. 11 กิโลกรัม ข. 13 กิโลกรัม
ค. 15 กิโลกรัม ง. 18 กิโลกรัม
จ. 20 กิโลกรัม

268
2. (PAT3 ก.ค. 52) นักดำน้ำลึกคนหนึ่งมีถังอากาศ 2 ถัง (แบบถังอากาศคู่) โดยในแต่ละถังมีปริมาตร
0.15 ลูกบาศก์เมตร และส่วนผสมระหว่างแก๊สออกซิเจนและฮีเลียมที่มีสัดส่วนโดยปริมาตร 20 :80
ความดันของแก๊สเมื่ออยู่ใต้น้ำที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน มีค่า 900 กิโลปาสคาล ถามว่า นักดำน้ำคน
ดังกล่าวจะต้องแบกน้ำหนักแก๊สรวมกี่กิโลกรัม (ค่าคงตัวแก๊ส O2 = 0.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน และ
ค่าคงตัวแก๊ส He = 2.0 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน)
ก. 0.18 กิโลกรัม ข. 0.63 กิโลกรัม
ค. 1.26 กิโลกรัม ง. 2.5 กิโลกรัม

3. (B-PAT3 ต.ค. 51) ถังบรรจุแก๊ส CNG ทนความดันสูงสุดได้ 29 เมกกะปัสคาล มีปริมาตร 0.5


ลูกบาศก์เมตร ถ้าแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทยประกอบด้วยแก๊สมีเทน ( CH 4 ) และแก๊สอีเทน ( C2 H6 )
ในอัตราส่วนโดยปริมาตรเป็น 80 : 20 จงหาว่าเมื่อบรรจุแก๊สจนเต็มถังจะมีน้ำหนักของแก๊สธรรมชาติ
รวมกี่กิโลกรัม ถ้าถังดังกล่าวมีอุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส (ค่าคงที่ของ CH4 = 0.52 kJ/kgK และ
ค่าคงที่ของ C2H6 = 0.28 kJ/kgK )
ก. 112.6 กิโลกรัม ข. 68.7 กิโลกรัม
ค. 183.4 กิโลกรัม ง. 192.1 กิโลกรัม

269
4. (Ent เคมี มี.ค. 43) บอลลูนลูกหนึ่งบรรจุฮีเลียมเข้าไป 0.095 mol มีปริมาตร 1.90 dm3 ถ้าเติม
ไฮโดรเจนเข้าไปอีก 0.125 mol โดยให้ความดันและอุณหภูมิคงที่ บอลลูนจะมีปริมาตรเป็นกี่ลูกบาศก์
เดซิเมตร
ก. 2.5 ข. 4.4 ค. 5.0 ง. 8.8

5. (PAT3 ต.ค. 52) รถหกล้อทำหน้าที่ขนส่งถังแก๊สผสมระหว่างออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีสัดส่วนโดย


ปริมาตร 60 : 40 โดยถังทนความดันสูงสุดที่ 600 กิโลปาสคาล และน้ำหนักบรรทุดสูงสุดของแก๊สคือ
300 กิโลกรัม ถามว่า ข้อใดต่อไปนี้จะมีขนาดปริมาณถังบรรจุแก๊สใกล้เคียงกับที่วิศวกรคำนวณได้มาก
ที่สุด ถ้าอุณหภูมิของถังอยู่ที่ 300 เคลวิน (ค่าคงตัวแก๊ส R = 8.3 จูล/โมล-เคลวิน)
ก. 32 ลูกบาศก์เมตร ข. 41 ลูกบาศก์เมตร
ค. 56 ลูกบาศก์เมตร ง. 82 ลูกบาศก์เมตร

270
6. (PAT2 ก.พ. 61) โดยเฉลี่ยแล้วต้นไม้หนึ่งต้นสามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ
22 kg / ปี คิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศปกติที่ปริมาตรประมาณกี่ลูกบาศก์เมตร ถ้าอากาศ
ปกติที่ความดัน 105 N/m2 อุณหภูมิ 27 C หนึ่งลูกบาศก์เมตรมีมวล 1.225 kg และประกอบด้วย
ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อาร์กอน 0.93% คาร์บอนไดออกไซด์ 0.04% และอื่นๆ อีก
0.03% โดยปริมาตร (กำหนดให้ R = 8.31 J/mol  K )
ก. 310 ข. 3,100
ค. 31, 000 ง. 310, 000
จ. 3,100, 000

271
7. (PAT3 มี.ค. 57) ถ้าอากาศประกอบด้วยออกซิเจน ประมาณร้อยละ 20 โดยปริมาตร และไนโตรเจน
ประมาณร้อยละ 80 โดยปริมาตร ที่ความดันบรรยากาศประมาณ 100 กิโลปาสคาล อุณหภูมิ 27
องศาเซลเซียส ถ้ามวลโมเลกุลของ O2 = 32 กรัมต่อโมล และ N2 = 28 กรัมต่อโมล จงหาความ
หนาแน่นของอากาศที่สภาวะนี้โดยประมาณ กำหนดให้ ค่าคงที่สากลของแก๊ส R = 8.3 จูลต่อโมล-
เคลวิน
ก. 0.1 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ข. 1.1 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ค. 2.2 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ง. 5.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
จ. 11 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

8. (PAT3 มี.ค. 58) จงหาความหนาแน่นของอากาศร้อนในบอลลูน อุณหภูมิ T = 100 C ความดัน


101,000 N/m2 และอากาศประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 80 ออกซิเจนร้อยละ 20
ก. 0.88 ข. 0.94 ค. 1.02 ง. 1.16 จ. 1.20

272
9. (PAT2 ต.ค. 59) ที่สถานะ STP แก๊สผสมจำนวน 1 โมล ถูกบรรจุในภาชนะลูกสูบซึ่งควบคุมให้ความดัน
ภายในภาชนะเท่ากับความดันภายนอก เมื่อวัดความหนาแน่นของแก๊สผสม พบว่ามีค่า 1.25 กรัม/ลิตร
หากแก๊สผสมนี้เกิดจากการผสมกันของแก๊สมีเทนและแก๊สออกซิเจน อัตราส่วนจำนวนโมลแก๊สมีเทนต่อ
แก๊สออกซิเจนในแก๊สผสม มีค่าตรงกับข้อใดต่อไปนี้ (มวลอะตอมของ H = 1, C = 12, O = 16 )
ก. 1: 6 ข. 1: 3 ค. 1:1 ง. 3:1 จ. 6 :1

10. (PAT3 มี.ค. 55) แก๊สผสมระหว่าง แก๊ส A ร้อยละ 83 โดยโมล กับแก๊สเฉื่อยร้อยละ 17 โดยโมล ถูกส่ง
เข้าถังด้วยอัตราการไหลของแก๊สผสม 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิ 500 เคลวิน และความดัน
10 บรรยากาศ จงหาอัตราการไหลเชิงโมลของแก๊ส A (กิโลโมลต่อวินาที)
กำหนดให้ ความดันบรรยากาศ = 100 กิโลปาสคาล
ค่าคงที่ของแก๊ส = 8.3 กิโลปาสคาล-ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลโมล-เคลวิน

273
แนวที่ ๒ : หาสัดส่วนของปริมาตร/มวล/โมล

11. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 41) แก๊สที่ได้จากการสังเคราะห์มีส่วนประกอบโดยปริมาตร ดังนี้ CH4 50% และ


N2 50% (น้ำหนักโมเลกุลของ CH4 = 16 และของ N2 = 28 ) ส่วนประกอบของ CH 4 คิดเป็น
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเท่ากับเท่าใด
ก. 63.6% ข. 57.1% ค. 50% ง. 36.4%

12. (PAT3 มี.ค. 55) ภาชนะปิดบรรจุแก๊สผสมระหว่างแก๊สมีเทน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สฮีเลียม


โดยมีแก๊สมีเทนอยู่ร้อยละ 66 และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 33 โดยโมล จงหาอัตราส่วน
น้ำหนักของแก๊สมีเทนต่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในระบบนี้
กำหนดให้ แก๊สทั้งหมดในระบบนี้เป็นแก๊สในอุดมคติ และไม่ทำปฏิกิริยากัน
4 6 8 9 10
ก. ข. ค. ง. จ.
11 11 11 11 11

274
13. (PAT3 ต.ค. 59) แนฟทาลีน ( C10 H8 ) 10 g ระเหิดกลายเป็นไอจนหมดในห้องปริมาตร 10 m3
อุณหภูมิ 47 C ความดัน 100 kPa สมมติว่าไม่มีการถ่ายเทอากาศจากภายนอกเกิดขึ้นในห้อง ความ
เข้มข้นของแนฟทาลีนในห้องนี้มีค่ากี่ส่วนในล้านส่วน ( ppm )
ก. 0.0002 ppm ข. 0.2075 ppm
ค. 30.48 ppm ง. 207.50 ppm
จ. 2075.00 ppm

14. (ทุนญี่ปุ่น 2012) Air consists of approximately 78% Nitrogen in volume, 21% Oxygen,
and 1% Argon. The atomic weight of Nitrogen is approximately 14 , that of Oxygen 16 ,
and that of Argon 40 .
(1) Nitrogen occupies air in weight by
(a) 76% (b) 77% (c) 78% (d) 79%

(2) The density of air at 0 C , 0.1 MPa is


(a) 0.65 kg/m3 (b) 0.93 kg/m3 (c) 1.29 kg/m3 (d) 1.33 kg/m3

275
15. (ทุนญี่ปุ่น 2013) A container holds a mixture of Oxygen gas and Nitrogen gas. The mass
fraction of Oxygen is assumed to be 20% and that of Nitrogen 80% . The atomic weights
of Oxygen and Nitrogen are 16 and 14 respectively.

(1) The volumetric fraction of Oxygen is approximately


(a) 22% (b) 20% (c) 18% (d) 16%
(2) If the sum of the mole number of Oxygen gas and that of Nitrogen gas is unity, then
total mass of the gas is
(a) 0.0288 kg (b) 0.0287 kg (c) 0.0286 kg (d) 0.0285 kg

(3) If the said gas is at 273.15 K and 0.1013 106 Pa , the volume of the gas is
approximately
(a) 0.0230 m3 (b) 0.0224 m3 (c) 0.0218 m3

(4) The density of the mixture in the same condition is


(a) 1.30 kg/m3 (b) 1.28 kg/m3 (c) 1.26 kg/m3

276
แนวที่ ๓ : มวลโมเลกุลของแก๊สผสม

16. (PAT3 ต.ค. 53) ที่ยอดดอยสูงแห่งหนึ่ง พบว่าอากาศประกอบด้วยแก๊สออกซิเจน ( O2 ) 20%


ไนโตรเจน ( N2 ) 78% และอาร์กอน ( Ar ) 2% ถ้ากำหนดให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศที่ยอดดอยมี
ค่า 7 องศาเซลเซียส และมีความดัน 380 มิลลิเมตรปรอท ( mmHg ) (กำหนดให้ R = 0.08 ลิตร-
บรรยากาศ/(โมล-เคลวิน) และให้น้ำหนักอะตอม O = 16 N = 14 และ Ar = 40 )
(๑) จงหามวลโมเลกุลของอากาศที่ยอดดอย ณ อุณหภูมิและความดันที่กำหนด (หน่วยเป็นกรัม/โมล)
(๒) จงหาความหนาแน่นของอากาศที่ยอดดอยในสภาวะที่กำหนด (หน่วยเป็นกรัม/ลิตร)

277
17. (สอวน. มี.ค. 62)

278
18. (สอวน. ม.5 ต.ค. 57) กำหนดให้ มวลโมลาร์ของไนโตรเจนเท่ากับ 28.02 กรัมต่อโมล และของ
ออกซิเจนเท่ากับ 32.00 กรัมต่อโมล และเลขอโวกาโดรเท่ากับ 6.022 1023 ต่อโมล ถ้าคิดว่า
บรรยากาศมีแต่แก๊สออกซิเจนและไนโตรเจน และอากาศที่พื้นมีมวลโมลาร์เท่ากับ 28.9 กรัมต่อโมล
ถามว่าโดยเฉลี่ยในโมเลกุลของอากาศ 1, 000 โมเลกุล จะมีโมเลกุลของออกซิเจนกี่โมเลกุลของไนโตรเจน
กี่โมเลกุล

279
แนวที่ ๔ : ความดันแก๊สผสม

19. (B-PAT3 ต.ค. 51) แก๊สผสมประกอบด้วย แก๊ส CO2 11.0 กรัม และแก๊ส O2 48.0 กรัม บรรจุใน
ภาชนะขนาด 22.4 ลิตร ที่อุณหภูมิ 273 C จงคำนวณหาความดันรวมของแก๊สผสม ( C = 12 ,
O = 16 ) R = 0.082 ลิตร-บรรยากาศ/โมล-เคลวิน
ก. ความดันรวมของแก๊สผสม 2.5 บรรยากาศ
ข. ความดันรวมของแก๊สผสม 3.0 บรรยากาศ
ค. ความดันรวมของแก๊สผสม 3.5 บรรยากาศ
ง. ความดันรวมของแก๊สผสม 4.0 บรรยากาศ

20. (PAT3 ก.ค. 53) ใส่แก๊สผสมระหว่างอาร์กอน 1 กิโลโมล และฮีเลียม 2 กิโลโมล ในถังบรรจุแข็งเกร็ง


เริ่มต้นแก๊สผสมมีอุณหภูมิ 300 เคลวิน และความดันสัมบูรณ์เป็น 83 กิโลปาสคาล ถ้าให้ความร้อนกับ
ถังจนมีอุณหภูมิ 600 เคลวิน อยากทราบว่า ถังบรรจุแข็งเกร็งควรมีขนาดเท่าใด และความดันสัมบูรณ์
ควรเป็นเท่าใด (ค่าคงที่สากลของแก๊ส R = 8.3 กิโลปาสคาล-ลูกบาศก์เมตร/กิโลโมล-เคลวิน)
ก. 90 ลูกบาศก์เมตร, 166 กิโลปาสคาล
ข. 60 ลูกบาศก์เมตร, 166 กิโลปาสคาล
ค. 90 ลูกบาศก์เมตร, 110 กิโลปาสคาล
ง. 60 ลูกบาศก์เมตร, 110 กิโลปาสคาล
จ. 90 ลูกบาศก์เมตร, 90 กิโลปาสคาล

21. (สสวท. รอบที่ 1 ก.ค. 47) ในภาชนะปริมาตร V อุณหภูมิ T มีแก๊ส A จำนวน n1 โมล กับแก๊ส B
จำนวน n2 โมล บรรจุอยู่โดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น ความดันของแก๊สผสมเป็นเท่าใด

280
22. (EJU-2 2021) As shown in the figure below, thermally insulated containers A (volume: VA
) and B (volume: VB ) are connected by a thin tube that has negligible volume and is
made of thermally insulating material. The tube has a stopcock, which is made of
thermally insulating material. The stopcock is initially closed. A contains a monatomic
ideal gas with amount of substance nA  mol , and the pressute of the gas is pA . B contains
a monatomic ideal gas with amount of substance nB  mol , and the pressute of the gas
is pB . Next, the stopcock is opened, allowing the gases in A and B to mix. The pressure
of the mixed gas becomes p . The heat capacity of A, B, the tube, and the stopcock is
negligible.

What is p ? From (a)-(d) below choose the correct answer.


nA pA + nB pB nA pB + nB pA
(a) (b)
nA + nB nA + nB
pAVA + pBVB pBVA + p AVB
(c) (d)
VA + VB VA + VB

281
23. (Ent มี.ค. 42) แก๊สฮีเลียมบรรจุในถังสองใบซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยวาล์ว ถังแรกมีความดัน 2 บรรยากาศ
ปริมาตร 10 ลิตร ถังที่สองมีความดัน 3 บรรยากาศ ปริมาตร 15 ลิตร ถังเปิดวาล์วให้แก๊สรวมกันโดย
ไม่มีการถ่ายเทความร้อนจากนอกระบบ ความดันของแก๊สผสมเป็นกี่บรรยากาศ

24. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 45) แก๊ส A และแก๊ส B บรรจุอยู่ในถังขนาด 10 ลิตรขนาดเท่ากัน และสามารถ

เชื่อมต่อถังทั้งสองโดยการเปิดวาล์วดังรูป ที่อุณหภูมิคงที่ 300 เคลวิน ทำการวัด


ความดันของแก๊ส A ในถัง พบว่ามีความดัน 5.0 บรรยากาศ เมื่อทำการเปิดวาล์วให้แก๊ส A และแก๊ส B
ผสมกัน โดยถือว่าปริมาตรของท่อเชื่อมถังทั้งสองน้อยมากจนตัดทิ้งได้ วัดค่าความดันของแก๊สในถังที่
สภาวะสมดุล พบว่ามีความดันเป็น 7.0 บรรยากาศ จงหาความดันของแก๊ส B ในถังตอนเริ่มต้นเป็นกี่
บรรยากาศ

282
25. (B-PAT2 ต.ค. 51) ถังใบหนึ่งมีขนาด 200 cm3 บรรจุแก๊ส O2 ไว้ 200 mmHg ถังอีกใบหนึ่งมีขนาด
300 cm3 บรรจุแก๊ส N2 ไว้ 100 mmHg เมื่อต่อท่อให้แก๊สทั้งสองชนิดผสมกัน แล้วเพิ่มอุณหภูมิขึ้น
เป็น 2 เท่าในหน่วยเคลวิน โดยไม่เกิดปฏิกิริยาต่อกัน ความดันรวมของแก๊สผสมเป็นเท่าใด
ก. 70 mmHg ข. 140 mmHg
ค. 280 mmHg ง. 350 mmHg

26. (Ent 37) ถ้าผสมแก๊สฮีเลียม 3 ลูกบาศก์เมตร ความดัน 1 บรรยากาศ กับแก๊สอาร์กอน 2 ลูกบาศก์


เมตร ความดัน 3 บรรยากาศ ความดันของแก๊สผสมในถัง 5 ลูกบาศก์เมตร เป็นกี่บรรยากาศ
ก. 1.2 บรรยากาศ ข. 1.8 บรรยากาศ
ค. 2.0 บรรยากาศ ง. 4.0 บรรยากาศ

27. (พื้นฐานวิศวะ ต.ค. 44) ถังปิดใบหนึ่งรูปทรงสี่เหลี่ยมมีปริมาตร 30 m3 ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยแผ่นกั้น


ส่วนแรกมีปริมาตร 10 m3 และอีกส่วนมีปริมาตร 20 m3 ดังรูป ในส่วนแรกบรรจุอากาศที่มีอุณหภูมิ
25 C ความดัน 1 bar และในส่วนที่สองบรรจุอากาศแบบเดียวกันที่อุณหภูมิ 25 C ความดัน
2.5 bar ถ้าดึงแผ่นกั้นออกให้อากาศทั้งสองส่วนผสมกัน จะมีความดันรวมเท่ากันเท่าไร (หน่วยเป็น บาร์)

283
28. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 43) ถังเกร็งบรรจจุแก๊สอาร์กอนถังหนึ่งซึ่งมีปริมาตรภายในเท่ากับ 1 m3 อุณหภูมิ
ภายในถัง 60 C ความดัน 2 kPa เชื่อมต่อเข้ากับถังอีกใบหนึ่งโดยผ่านวาล์วเปิดปิด ถังใบที่สอง
บรรจุแก๊สอาร์กอนปริมาตร 0.5 m3 อุณหภูมิ 60 C ความดัน 4 kPa เริ่มต้นปิดวาล์วอยู่ ต่อมาจึง
เปิดวาล์วทำให้แก๊สอาร์กอนทั้งสองถังผสมกันและระบบเข้าสู่สภาวะสมดุลกับสิ่งแวดล้อม ที่อุณหภูมิ
สุดท้ายเท่ากับ 30 C จงหาความดันสุดท้ายภายในถัง

ก. 1.3 kPa ข. 2.4 kPa ค. 2.7 kPa ง. 3.0 kPa

29. (PAT3 มี.ค. 64) แก๊ส G ถูกบรรจุในถัง 2 ใบที่เชื่อมต่อกันโดยมีวาลว์ปิดอยู่ และแก๊สทั้งสองถังมีอุณหภูมิ


เท่ากัน โดยแก๊สในถังใบที่ 1 มีปริมาตร 30 dm3 และความดัน 2.0 atm และแก๊สในถังใบที่ 2 มี
ปริมาตร 20 dm3 และความดัน 4.5 atm เมื่อเปิดวาล์วระหว่างถังทั้งสองจนเกิดสมดุลความดันแก๊ส
ความดันแก๊สทั้งสองถังมีค่าเท่าใด โดยไม่คิดปริมาตรของท่อที่เชื่อม

ก. 3.00 atm ข. 3.25 atm


ค. 5.00 atm ง. 6.50 atm
จ. 7.50 atm

284
30. (PAT3 ต.ค. 53) ถังบรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1 กิโลโมล อุณหภูมิ 300 เคลวิน ความดัน 830 กิโล
ปาสคาล ต่อเชื่อมกับถังบรรจุแก๊สไนโตรเจน 2 กิโลโมล อุณหภูมิ 300 เคลวิน ความดัน 415 กิโล
ปาสคาล ดังรูป ถ้าเปิดวาล์วที่เชื่อมระหว่างสองถังดังรูป ถามว่าความดันที่อ่านได้ควรมีค่าเท่าใด
(ค่าคงที่สากลของแก๊ส R = 8.3 กิโลปาสคาล-ลูกบาศก์เมตร/กิโลโมล-เคลวิน)

ก. 2, 490 กิโลปาสคาล ข. 1, 245 กิโลปาสคาล


ค. 623 กิโลปาสคาล ง. 498 กิโลปาสคาล
จ. 208 กิโลปาสคาล

285
31. (PAT2 ก.ค. 52) แก๊ส H2 หนัก 0.10 กรัม บรรจุในถังขนาด 400 มิลลิลติ ร อุณหภูมิ 27 องศา
เซลเซียส แก๊ส CO2 หนัก 0.11 กรัม บรรจุในถังอีกใบหนึ่งขนาด 200 มิลลิลิตร อุณหภูมิเท่ากัน เมื่อ
ต่อท่อให้แก๊สทั้งสองชนิดผสมกันโดยไม่เกิดปฏิกิริยาต่อกัน และหลังการผสมอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
ความดันรวมของแก๊สผสมเป็นกี่บรรยากาศ
ก. 0.934 ข. 1.541 ค. 2.152 ง. 3.634

286
32. (PAT3 มี.ค. 57) ถังเปล่าปริมาตร 10 ลูกบาศก์เมตร (ภายในมีอากาศที่ความดัน 1 บรรยากาศ
สัมบูรณ์) จะใช้บรรจุสารไวไฟชนิดหนึ่ง เพื่อความปลอดภัย วิศวกรจึงต้องลดความเข้มข้นของแก๊ส
ออกซิเจน ( O2 ) ในถังให้ต่ำกว่าความเข้มข้นที่จะติดไฟได้ โดยการเติมแก๊สไนโตรเจนบริสุทธิ์เข้าไปในถัง
จนความดันสัมบูรณ์รวมในถังมีค่าเท่ากับ 10 เท่าของความดันบรรยากาศ แล้วจึงปล่อยแก๊สในถังออก
จนความดันในถังเท่ากับความดันบรรยากาศ ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนโดยโมลในถังมีค่าเท่าใด

กำหนดให้ ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนในอากาศมีค่า 20% โดยโมล และเมื่ออัดแก๊สไนโตรเจนเข้า


ไปในถังแล้ว อุณหภูมิของแก๊สในถังไม่เปลี่ยนแปลง
ก. 1 เปอร์เซ็นต์โดยโมล ข. 2 เปอร์เซ็นต์โดยโมล
ค. 10 เปอร์เซ็นต์โดยโมล ง. 15 เปอร์เซ็นต์โดยโมล
จ. 20 เปอร์เซ็นต์โดยโมล

287
33. (กสพท. เคมี 2564) เรือดำน้ำลำหนึ่งจำลองบรรยากาศเทียมด้วยการผสมแก๊สไนโตรเจน และแก๊ส
ออกซิเจนเข้าด้วยกันให้มีความดันย่อยของแก๊สออกซิเจน 164.2 มิลลิเมตรปรอท เพื่อให้ลูกเรือสามารถ
หายใจได้ปกติที่ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ถ้าบนเรือมีลูกเรือ 19 คน
แต่ละคนมีอัตราการใช้อากาศหายใจ 1.00 104 ลิตรต่อวัน จะต้องเตรียมถังออกซิเจนเหลวอย่างน้อยกี่
ถัง จึงจะมีอากาศเพียงพอต่อการหายใจนาน 12 วันพอดี
กำหนดให้ R = 0.0821 L  atm  mol−1  K −1
ถังออกซิเจนเหลว 1 ถัง บรรจุแก๊สออกซิเจน 20.0 กิโลกรัม

288
แนวที่ ๕ : อุณหภูมิแก๊สผสม

34. (EJU-2 2020) As shown in the figure below, the interior of a container made of thermally
insulated walls is partitioned into two regions by an immobile wall that conducts heat. A
monatomic ideal gas with amount of substance n1  mol and absolute temperature T1 is
enclosed in one region, and a monatomic ideal gas with amount of substance n2  mol
and absolute temperature T2 is enclosed in the other region. After sufficient time elapse,
the gases in both regions reach the same absolute temperature. Here n1  n2 and T1  T2

What is T3 ? From (a)-(g) below choose the correct answer.


T1 + T2 T1 n2T2 T1 n1T2
(a) (b) + (c) +
2 2 2n1 2 2n2
n1T1 T2 n2T1 T2 n1T1 + n2T2
(d) + (e) + (f)
2n2 2 2n1 2 n1 + n2
n2T1 + n1T2
(g)
n1 + n2

289
35. (สสวท. รอบที่ 1 มิ.ย. 41) ถ้านำก๊าซอีเลียม 3 โมล ที่ 27 องศาเซลเซียส มาผสมกับก๊าซอาร์กอน 1
โมลที่ 47 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของก๊าซผสมจะเป็นกี่องศาเซลเซียส

36. (ทุนคิง 2546) ผสมแก๊ส X ปริมาณ n1 โมล ที่อุณหภูมิ T1 กับแก๊ส Y ปริมาณ n2 โมล ที่อุณหภูมิ T2
อุณหภูมิแก๊สผสมจะเป็นเท่าไร

37. (Ent 33) ก๊าซฮีเลียม 1 โมล ทีอ่ ุณหภูมิ 300 เคลวิน ผสมกับก๊าซอาร์กอน 3 โมล ที่อุณหภูมิ 400
เคลวิน ก๊าซผสมจะมีอุณหภูมิเท่าใดในหน่วยเคลวิน

38. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 45) ผสมแก๊สฮีเลียม 1 โมลที่อุณหภูมิ 57 C กับแก๊สอาร์กอน 2 โมลที่อุณหภูมิ


17 C จงหาอุณหภูมิผสมของแก๊สผสมเป็นกี่องศาเซลเซียส (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

39. (PAT3 มี.ค. 54) หากต้องการผสมแก๊สอาร์กอน 3 โมล อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส รวมกับแก๊สฮีเลียม


2 โมล อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียสที่ความดันเท่ากัน จงหาอุณหภูมิผสมของแก๊สทั้งสองชนิด ถ้าเมื่อ
ปริมาตรของแก๊สผสมเท่ากับผลรวมของปริมาตรของแก๊สผสมเท่ากับผลรวมของปริมาตรของแก๊สทั้งสอง
และความดันไม่เปลี่ยนแปลง ให้ค่าคงที่สากลของแก๊ส R = 8.3 จูลต่อโมล-เคลวิน ให้อุณหภูมิสัมบูรณ์
เท่ากับ 273 องศาเซลเซียส

290
40. (PAT3 มี.ค. 52) ถ้าผสมแก๊สอาร์กอน ( Ar ) 2 กิโลโมล เข้ากับแก๊สฮีเลียม ( He ) 10 กิโลโมล โดยทั้ง
สองมีสภาวะเริ่มต้นตามรูป จงหาว่าอุณหภูมิสุดท้ายของแก๊สผสมเป็นเท่าใด ถ้าถังบรรจุนั้นหุ้มฉนวนกัน
kg
ความร้อนเป็นอย่างดี ถ้ากำหนดให้มวลโมเลกุลของ Ar เท่ากับ 40 , cAr = 0.5 kJ และ
kmol kg  K
kg
มวลโมเลกุลของ He เท่ากับ 4 , cHe = 5 kJ
kmol kg  K

ก. 12.50 องศาเซลเซียส ข. 37.50 องศาเซลเซียส


ค. 24.00 องศาเซลเซียส ง. 42.50 องศาเซลเซียส

291
41. (พื้นฐานวิศวะ มี.ค. 46) ภาชนะทรงกลม 3 อัน มีฉนวนกันความร้อนห่อหุ้มและต่อถึงดันด้วยท่อขนาด
เล็กที่มีวาล์วเปิดปิด ขณะที่วาล์วปิด ภาชนะทั้งสามบรรจุแก๊สที่มีความดันและอุณหภูมิดังรูป หลังจาก
เปิดวาล์วแล้ว อุณหภูมิของแก๊สจะเป็นเท่าใด (จำนวนโมลของแก๊สภายในภาชนะและปริมาตรของ
ภาชนะทั้งสามเท่ากัน) กำหนด P1 : P2 : P3 = 1: 2 : 3

ก. T = T1 + 2T2 + 3T3 ข. T = 3T1 + 2T2 + T3


ค. T = 2T1 + T2 + ( 2 / 3) T3 ง. T = (1/ 3) T1 + ( 2 / 3) T2 + T3

292
42. (PAT3 มี.ค. 54) ถังบรรจุแก๊สออกซิเจน 2 กิโลโมล ที่อุณหภูมิ 250 เคลวิน ความดันสัมบูรณ์ 5
เมกกะปาสคาล ถูกบรรจุแก๊สไนโตรเจนเพิ่มเข้าไปจำนวน 4 กิโลโมลที่อุณหภูมิ 310 เคลวิน ความดัน
สัมบูรณ์ 20 เมกกะปาสคาล ดังรูป ถ้าอุณหภูมิหลังจากบรรจุลงถังแล้วเป็น 300 เคลวิน อยากทราบว่า
ความดันสัมบูรณ์ของแก๊สผสมภายในถังมีค่ากี่เมกกะปาสคาล ให้ค่าคงที่ของแก๊ส R = 8.3 กิโลปาสคาล-
ลูกบาศก์เมตรต่อโมล-เคลวิน

293
43. (ทุนญี่ปุ่น 2018) Consider a system with two boxes A and B connected by a sufficiently
small tube with a stopcock. Initially the stopcock is closed. As shown in the figure below,
in the initial state, a volume, an absolute temperature, and a pressure of an ideal gas in
box A are 0.020 m3 , 285 K , and 1.2 105 Pa , and those of an ideal gas in box B are
0.040 m3 , 385 K , and 1.6 105 Pa , respectively. Answer the following four questions,
using the gas constant 8.31 J/ ( mol  K ) . Give your answers under two significant figures,
after calculating under three significant figures.

(1) Find the number of moles nA for the ideal gas in box A.
(2) Find the number of moles nB for the ideal gas in box B.
(3) Find the absolute temperature T of the ideal gas, after the stopcock is opened and
the system is in thermal equilibrium.
(4) Find the pressure P of the ideal gas, after the stopcock is opened and the system is
in thermal equilibrium.

294
44. (EJU-2 2015) As shown in the figure below, a thermally insulated container is divided
into two chambers (A and B) by a thermally conducting, smoothly moving partition.
Chamber A contains N A molecules of an ideal gas (mass of a molecule: mA ), and the
chamber B contains NB molecules of an ideal gas (mass of a molecule: mB ). The gases
are in thermal equilibrium at the same temperature and the same pressure. Let us
denote the volume of the gas in chamber A as VA , and the root-mean-square speed of
its molecules as vA2 . Also, let us denote the volume of the gas in chamber B as VB ,

and the root-mean-square speed of its molecules as vB 2 .

VA vA2
What are and ? From (a)-(d) below choose the correct combination.
VB vB 2

(a) (b) (c) (d)


VA NA NA NB NB
VB NB NB NA NA

vA2 mA mB mA mB
vB 2 mB mA mB mA

295
45. (ทุนญี่ปุ่น 2016) Two containers A and B of volume V are connected by a thin tube. A
cock is equipped in the thin tube, and is closed initially. A gas of a pressure P and a
temperature T is contained in the container A, and a gas of a pressure 2P and a
temperature 3T is contained in the container B. Exchange of thermal energies between
the gas and the containers may be ignored. The volume of the thin tube may be ignored.
The gas may be considered as an ideal gas composed of monatomic molecules. The
universal gas constant is denoted as R . Answer the following questions.

(1) Find the number of moles of the gas contained in container A.


VRT PVT RT
(a) (b) (c)
P R PV
VR PV R
(d) (e) (f)
PT RT PVT

(2) What multiple of the number of moles of the gas contained in container A is there
in container B?
3
(a) 6 (b) 3 (c) 2 (d) (e) 1
2
2 1 1 1
(f) (g) (h) (i)
3 2 3 6

(3) What multiple of the internal energy of the gas in container A is there in container
B?
3
(a) 6 (b) 3 (c) 2 (d) (e) 1
2
2 1 1 1
(f) (g) (h) (i)
3 2 3 6

296
(4) After opening the cock, the gas in containers A and B eventually reaches equilibrium.
Find the temperature of the gas in equilibrium.
9 10
(a) 6T (b) T (c) T (d) 3T (e) 2T
2 3
9 3 3
(f) T (g) T (h) T (i) T
5 2 5

(5) As in (4), when the gas reaches equilibrium after opening the cock, find the pressure
of the gas.
9 10
(a) 6P (b) P (c) P (d) 3P (e) 2P
2 3
9 3 3
(f) P (g) P (h) P (i) P
5 2 5

297
แนวที่ ๖ : การกระจายตัวของแก๊สผสม

46. (EJU-1 2016) As shown in the figure below, container A (volume: V ) and container B
(volume: 4V ) both contain the same ideal gas and are connected by a thin tube of
negligible volume. The tube has a stopcock, which is initially closed. The pressure of the
gas in A is 8 p , and the absolute temperature is T . The pressure of the gas in B is p ,
and the absolute temperature is T . Let us denote as nA  mol the amount of the ideal
gas in A. The stopcock is opened, allowing the gases in both containers to mix. Let us
denote as nA  mol the amount of the ideal gas in A after mixing. The containers, thin
tube, and stopcock are made of thermally insulating material.

nA
What is ? From (a)-(e) below choose the correct answer.
nA
3 1 3 3 12
(a) (b) (c) (d) (e)
10 2 5 4 5

298
แนวที่ ๗ : ความจุความร้อนจำเพาะของแก๊สผสม

47. (ทุนญี่ปุ่น 2008) A container of volume 10 includes 0.2 mol oxygen gas and 0.3 mol
nitrogen gas. Assume the atomic weight of oxygen is 16 and that of nitrogen is 14 .
(1) The total mass of the gas in the container is
(a) 7.4 g (b) 10.6 g (c) 11.6 g (d) 14.8 g

(2) Let the universal gas constant be R . Let the specific heat ratio be k , the for a single
k
component gas, specific heat at a constant pressure cp is given by cp = R . For
k −1
a monoatomic molecule gas k = 5 / 3 , for a diatomic molecule gas k = 7 / 5 , and for
a triatomic molecule gas k = 9 / 7 . The heat capacity (at a constant pressure) of oxygen
in the container is
(a) 0.5R ( J  K −1 ) (b) 0.7 R ( J  K −1 ) (c) 0.9 R ( J  K −1 )

(3) The total heat capacity in the container (at a constant pressure) is approximately
(a) 0.62 R ( J  K −1 ) (b) 0.87 R ( J  K −1 ) (c) 1.0 R ( J  K −1 )
(d) 1.25R ( J  K −1 ) (e) 1.75R ( J  K −1 )

(4) Let the speed (root-mean-square speed) of an oxygen gas molecule be v1 , and that
of a nitrogen gas molecule v2 . Which of the following holds?
(a) v1  v2 (b) v1 = v2 (c) v1  v2

299

You might also like