You are on page 1of 66

Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-1

5 Rotating Coordinate
เนือ้ หา
5.1 Introduction
5.2 Angular Velocity - ความเร็ วเชิงมุม
5.3 Rotating Observer
5.4 ผูส้ งั เกตที่มีความเร่ ง - Non Inertia Coordinate
5.5 Rotating Coordinate และ Equation of Motion
5.6 Foucault Pendulum
5.7 บทสรุ ป
5.8 ปั ญหาท้ายบท

Section 5.1 Introduction


เมื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่ผา่ นมา เราล้วนกําหนดให้กรอบอ้างอิง หรื อ ที่เรี ยกว่า frame of
reference มีความเร็ วคงที่แทบทั้งสิ้ น ไม่วา่ จะเป็ น 1) การเคลื่อนที่แบบ projectile ที่ผสู ้ งั เกตหยุดนิ่ง
บนผิวโลก สังเกตเห็นลูกหินที่ลอยขึ้นไปบนอากาศและเคลื่อนที่เป็ นรู ป parabola ในบทที่ 1.
ทบทวนกลศาสตร์ Newton

2) การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ที่ผสู ้ งั เกตตั้งอยู่ ณ จุดศูนย์กลางมวล และสามารถ


ลดรู ประบบของ 2 อนุภาค ให้เป็ นเพียง 1 อนุภาคที่มีมวลเท่ากับ reduced mass ในบทที่ 3. Central
Force Motion หรื อแม้กระทัง่

3) การชนกันของ hard sphere ที่มีความเร็วต้นและมวลแตกต่างกัน ซึ่งถ้าผูส้ งั เกตคือ CM Frame ที่


กําลังเคลื่อนที่ดว้ ยความเร็ ว v cm ก็จะทําให้ระบบของสมการลดรู ปให้ง่ายดายยิง่ ขึ้น ในบทที่ 4.
System of Particles

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-2

ดังจะได้พิสูจน์ในลําดับต่อไป การกําหนดให้ผสู ้ งั เกตมีความเร็ วคงที่น้ นั ไม่เพียงแต่จะทําให้


รู ปแบบของสมการทางคณิ ตศาสตร์ที่ตามมา มีความเรี ยบง่ายแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ดว้ ยข้อจํากัด

ที่วา่ กฎข้อ 2 ของ Newton ที่เราท่องกันได้อย่างขึ้นใจว่า Fnet  ma นั้น จะเป็ นจริ งได้กต็ ่อเมื่อ ผู ้
สังเกตมีความเร็ วคงที่ หรื ออีกนัยหนึ่ง ความเร่ งของ frame of reference ต้องเป็ นศูนย์นนั่ เอง

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผสู ้ งั เกตจะต้องมีความเร่ ง อาทิเช่นผูส้ งั เกตที่อยูบ่ น


ผิวโลก โลกหมุนรอบตัวเอง 360 องศา ใช้เวลา 24 ชัว่ โมง และถึงแม้เราจะรู ้สึกว่าหยุดนิ่ง แท้จริ ง
แล้วกําลังหมุนไปกับโลก ด้วยอัตราเร็วเชิงมุม ω = 2 radian ต่อ 24 ชัว่ โมง นี้เอง ถ้าจะวิเคราะห์
กันให้ละเอียดถี่ถว้ นแล้ว ทุกคนบนพื้นโลก เป็ นผูส้ งั เกตที่กาํ ลังหมุน และ มิได้หยุดนิ่งหรื อมี
ความเร็ วคงที่แต่อย่างใด

Credit: Wikipedia
ภาพ (5.1) ปื นใหญ่ชื่อ Paris Gun ของกองทัพเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สามารถยิง
ถล่มกรุ งปารี สจากระยะไกลกว่า 120 กิโลเมตร ด้วยลูกกระสุ นความยาว 4 ฟุต และใช้เวลาเดินทาง
กว่า 170 วินาทีในอากาศ

ในชีวิตประจําวันแล้ว เมื่อขว้างก้อนหิ นขึ้นไปบนอากาศ การหมุนของโลกมีผลกระทบน้อยมากต่อ


การเคลื่อนที่ของมัน เนื่องจากก้อนหิ นลอยอยูใ่ นอากาศ เป็ นระยะเวลาอันสั้น แต่ถา้ เรานึกภาพของ
การยิงปื นใหญ่ ที่สามารถยิงในระยะราว 120 กิโลเมตร และลูกกระสุ นอยูใ่ นอากาศ นานประมาณ
170 วินาที นับจากเสี้ ยววินาทีที่ลูกกระสุนออกจากปลายกระบอกปื น กว่าจะถึงที่หมาย เป้ าที่เล็งไว้
แต่แรก มีการเบนออกไปเนื่องจากการหมุนของโลก ดังแสดงในภาพ (5.1)

นี้เองคือหัวใจสําคัญของการศึกษาในบทที่ 5. Rotating Coordinate เพือ่ วิเคราะห์การเคลื่อนที่ใน


มุมมองของผูส้ งั เกตที่มีการหมุน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-3

กระบวนการเกิดพายุเฮอริ เคน และ การแกว่งของระนาบลูกตุม้ Foucault เป็ นต้น

Foucault Pendulum

ระนาบของการแกว่ ง

ณ ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ระนาบของการแกว่ ง เบี่ยงเบน 17 องศา ทุก 4 ชั่วโมง

ภาพ (5.2) ชุดสาธิต Foucault Pendulum แห่งเดียวในอีสาน ณ ภาควิชาฟิ สิ กส์ คณะวิทยาศาสตร์


มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Section 5.2 Angular Velocity - ความเร็วเชิงมุม


เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุใน 3 มิติดงั ภาพ (5.3) สมมุติให้วตั ถุกาํ ลังหมุนรอบแกน z เรา
สามารถนิยามอัตราเร็ วเชิงมุม ω  d   เพื่อเป็ นตัวบ่งบอกถึงอัตราเร็ วของการหมุน ดังแสดง
dt
ในภาพ กําหนดให้ 1) R คือ รัศมีของการหมุน ซึ่งเป็ นระยะทางที่วดั จากแกนของการหมุน และ 2)
v คือ อัตราเร็ วของอนุ ภาคขณะนั้นๆ เราสามรถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง ω , R ,
และ v ได้วา่

v = (ระยะทางที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ) / (เวลาที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-4


R v

 
ω  r
y

x
ภาพ (5.3) แสดงอนุภาคที่กาํ ลังหมุนรอบแกน z ด้วยอัตราเร็ ว v และรัศมี R

เมื่อ ระยะทางที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ ก็คือ เส้นรอบวงของวงกลม และ เวลาที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ ก็


คือ คาบ T  2π นัน่ เอง ดังนั้น
ω
2πR
v
 2π
ω 
หรื อ
v = ωR ______________________________ (5.1)

แต่เมื่อพิจารณาสามเหลี่ยมมุมฉากโดยมีมุมยอดเท่ากับ  อยูท่ ี่จุดกําเนิด จะได้วา่ R  r sin 


และเมื่อผนวกกับสมการ (5.1) ทําให้

v  ω r sinα ______________________________ (5.2)

โดยที่สมการข้างต้นนั้น แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราเร็ ว (v) , ความเร็ วเชิงมุม (ω) , และ


ตําแหน่งของวัตถุในขณะนั้น (r)

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ในสมการ (5.2) มีขอ้ จํากัด เพราะเป็ นความสัมพันธ์ที่ไม่มีขอ้ มูลของ


ทิศทางการเคลื่อนที่ กล่าวคือ ทั้งๆที่ความเร็ วเป็ นปริ มาณ vector ซึ่งมีท้ งั ขนาดและทิศทาง แต่
สมการข้างต้น กล่าวถึงเพียงขนาดของความเร็ ว

เพราะฉะนั้น เราสามารถเขียนสมการ (5.2) เสี ยใหม่ให้อยูใ่ นรู ปของ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-5

  
v  ωr ________________________________ (5.3)

สมการ (5.3) เป็ นสมการสําคัญที่จะมีบทบาทอย่างมาก ในการศึกษาเนื้อหาที่วา่ ด้วย rotating


coordinate เพราะฉะนั้น จําเป็ นจะต้องขยายความเทอมต่างๆ ที่ปรากฏให้ละเอียดมากขึ้น


v และ r เป็ นปริ มาณ vector ที่แสดงถึงความเร็ ว และ ตําแหน่งของวัตถุ ซึ่งนักศึกษามีความคุน้ เคย
กับปริ มาณทั้งสองเป็ นอย่างดี ω ก็เป็ นปริ มาณ vector เช่นเดียวกัน โดยมีความหมายว่า


ω คือ angular velocity vector ที่มี ขนาด แสดงถึงอัตราเร็ วเชิงมุม
ทิศทาง แสดงถึงแกนของการหมุน
________________________________ (5.4)

ตัวอย่ างโจทย์
ในห้องมืด เราทดลองหมุนลูกข่าง ที่ขอบด้านหนึ่งมีหลอดไฟ LED เล็กๆติดอยู่ เมื่อลูกข่างกําหลัง
หมุน เราไม่สามารถที่จะเห็นลูกข่าง แต่สามารถเห็นหลอด LED กําลังเคลื่อนที่อยู่ จากการสังเกต
หลอด LED พบว่า ณ เวลา t = 0.5 sec หลอด LED มี


พิกดั คือ r   0,1, 2  cm

ความเร็ ว คือ v  1, 0, 0  cm/sec
อัตราเร็ วเชิงมุม คือ 2 rad/sec

จงหามุมที่แกนของลูกข่างกระทํากับแนวราบ ในขณะที่กาํ ลังหมุน

วิธีทาํ
ณ t  0.5second
 
r r


ω


ห้ องมืด

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-6

จากภาพ เมื่อลูกข่างกําลังหมุน หลอด LED ก็จะเปลี่ยนตําแหน่งไปตามเวลาที่เปลี่ยนไป และใน


โจทย์ขอ้ นี้ เราต้องการทราบ vector ω ซึ่งแสดงถึงแกนของกานหมุนนัน่ เอง

จากสมการ (5.3) และข้อมูลที่โจทย์กาํ หนดให้ จะได้วา่

  
v  ω ×r
1   ωx   0 
0    ω   1  _______________________________ (E.1)
   y  
 0   ω   2 
 z

โดยในกรณี น้ ี เรากําหนดให้องค์ประกอบตามแนวแกน x, y, z ของ vector ω เป็ นตัวแปรที่ยงั ไม่


ทราบค่า ซึ่งจะต้องทําการแก้สมการเพื่อหาคําตอบในลําดับต่อไป


เมื่อนักศึกษาทบทวนการคํานวณ cross product ดังที่เห็นใน สมการ (E.1) ก็จะพบว่า ถ้ามี vector A
   
และ vector B ใดๆ และ กําหนดให้ C  A  B แล้วจะได้วา่ องค์ประกอบตามแนวแกน x, y,

และ z ของ C ก็คือ
 C   A y Bz  A z B y 
  x  
C   C y    A z B x  A x Bz  … ______________________ (E.2)
 C  A B  A B 
 z  x y y x

เพราะฉะนั้น ถ้านําการคํานวณ cross product ดังแสดงในสมการ (E.2) เข้าไปประยุกต์กบั สมการ


(E.1) แล้วจะได้วา่
1   2ω y  ωz 
 0    2ω  ___________________________ (E.3)
   x 
 0   
 ωx 

จากความสัมพันธ์ขา้ งต้น ทําให้เราสรุ ปได้วา่ องค์ประกอบตามแนวแกน x ของ ω นั้น มีค่าเป็ น


ศูนย์ หรื ออีกนัยหนึ่ง
ω x  0 _________________________________ (E.4)

ทั้งนี้ สิ่ งที่เราต้องทําการหาคําตอบในลําดับต่อไปก็คือ องค์ประกอบตามแนวแกน y และ แกน z


ของ ω โดยที่ในสมการ (E.3) นั้น เราได้ความสัมพันธ์ที่วา่

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-7

2ω y  ωz  1 _________________________________ (E.5)


ผนวกกับข้อมูลที่โจทย์กาํ หนดให้ นัน่ ก็คือ ω  2  ω2x  ω2y  ω2z ดังนั้น

2  ω2y  ωz2 _________________________________ (E.6)

จะเห็นได้วา่ สมการ (E.5) และ สมการ (E.6) นั้น เป็ นระบบสมการที่มี 2 ตัวแปร ซึ่งวิธีการหา
คําตอบนั้น ทําได้โดยเปลี่ยนรู ปสมการ (E.5) ให้เป็ น ωz  2ω y  1 จากนั้น แทนความสัมพันธ์
ดังกล่าว เข้าไปในสมการ (E.6) จะได้วา่

 
2
2  ω2y  2ω y  1

2  5ω2y  4ω y  1
หรื อ

0  5ω2y  4ω y  1  5ω y  1 ω y  1   ___________________ (E.7)

ซึ่งจะได้คาํ ตอบของสมการ (E.7) สองค่าที่เป็ นไปได้ดว้ ยกัน คือ ω y  1,  15 ส่ งผลให้


ωz  1,  7
5
ทั้งนี้เราจะต้องเลือกเฉพาะคําตอบที่ ωz  0 เพราะว่า ลูกข่างที่หมุนอยูน่ ้ นั หมุน
อยูด่ า้ นบนของโต๊ะ ดังนั้น ω จะต้องชี้ข้ ึนเสมอ

เมื่อรวบรวมเทอมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบตามแนวแกน x, y, z ของ vector ω จะได้วา่


ωx  0 
    
ω   ω y   1  _________________________________ (E.8)
 ω  1 
 z  
z


ω
45
y

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-8

จากภาพ ในเมื่อ vector ω มีองค์ประกอบตามแนวแกน y และ แกน z เท่ากัน เพราะฉะนั้น


vector จะต้องทํามุม 45 องศา กับแนวราบ จะทําให้

แกนของลูกข่าง ทํามุม 45 องศา กับแนวราบ ตอบ

คนบนผิวโลก ที่ดูเหมือนจะยืนนิ่งสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุ แท้จริ งกําลังเคลื่อนที่ไปพร้อมกับ


โลกด้วยอัตราเร็ วสู งมาก สมมุติให้เรายืนอยู่ ณ เส้นศูนย์สูตร เนื่องจากโลกมีรัศมีประมาณ
R  6360 km เมื่อโลกหมุนรอบตนเอง ทําให้เราเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกันเป็ นระยะทางของเส้นรอ
บวง 2 R  39961.1km ภายในเวลาเพียง 24 ชัว่ โมง คิดเป็ นอัตราเร็ วโดยเฉลี่ยถึง
39961.1
 1665 km hours !
24

ω

เหนือ ตัวอย่ างโจทย์


กําหนดให้ผสู ้ งั เกตหยุดนิ่ง ณ ใจกลางของโลก
P จงคํานวณหาอัตราเร็ วของคนที่ยนื บนผิวโลก ณ

R มุม latitude ที่  องศาเหนือ ดังแสดงในภาพ
ตก λ ออก
Alice วิธีทาํ ในที่น้ ีสมมุติเราไม่สนใจว่าโลกโคจร
รอบดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้น Alice คือผูส้ งั เกตที่
หยุดนิ่ง ณ ใจกลางของโลก
ใต้

เธอลาก vector R เพื่อบอกตําแหน่งของคน ณ
จุด P ซึ่งอยู่ ณ latitude ที่  องศาเหนือ

นอกจากนี้ เมื่อโลกหมุนรอบตนเอง แกนของการหมุนอยูใ่ นแนว เหนือ-ใต้ ซึ่งเราสามารถคํานวณ


ω ในหน่ วย SI ได้เท่ากับ

2
Earth Rotation ω=  7.27 105 radian sec ____________ (5.5)
24  60  60


จากสมการ (5.3) ความเร็ วของคน ณ จุด P คือ v  ω  R หรื อถ้าพิจารณาเฉพาะขนาดของ v

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-9

 


v  ω R sin 90   

เมื่อ  90    คือมุมระหว่าง ω และ R ดังแสดงในภาพ และถ้าแทนให้

R  6360 km = 6.36  106 m จะได้วา่ อัตราเร็ วของคนดังกล่าวคือ

 

   
v  ω R sin 90    7.27  105 6.36  106 m sin 90   m s   
หรื อ


v  462.4sin 90   m s  ตอบ

วกกลับเข้ามาในกรณี ของการยิงปื นใหญ่ดงั แสดงในภาพ (5.1) นอกจากลูกกระสุ นจะมีความเร็วต้น


ที่เกิดจากแรงระเบิดภายในกระบอกปื น ยังมีความเร็วหนุนเนื่อง มาจากการหมุนของโลก ดังที่ได้
เห็นในตัวอย่างโจทย์ขา้ งต้น ส่ งผลให้การวิเคราะห์หาเป้ าหมายที่แท้จริ งของการยิงปื น มีความ
ยากลําบากพอสมควร

นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาความเร็ ว v ที่ปรากฏในสมการ (5.3) ว่าเป็ นการเปลี่ยนแปลงของตําแหน่ง



  dr
r ต่อหนึ่งหน่วยเวลา หรื ออีกนัยหนึ่ง v เพราะฉะนั้นเราอาจจะเขียนสมการ (5.3) ให้อยู่
dt
ในรู ป


dq  
 ω q เมื่อ q คือ vector ที่หมุนควงด้วย angular velocity ω
dt
________________________________ (5.6)

ตัวอย่ างโจทย์

ผูส้ งั เกตชื่อ Lisa ยืนบนผิวโลก ณ ตําแหน่ง R เธอสมมุติ vector ˆi, ˆj, kˆ  ขึ้นมาดังภาพ ในขณะที่
d  d ˆ d ˆ d ˆ
ผูส้ งั เกตชื่อ Alice หยุดนิ่ง ณ ใจกลางของโลก จงหา R และ i, j, k
dt dt dt dt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-10

ω

เหนือ kˆ 

ˆj
P

R
Lisa
ตก λ ˆi ออก
Alice

ใต้

วิธีทาํ จากภาพแสดงให้เห็นได้ชดั เจนว่าเมื่อโลกหมุนรอบตนเอง vector R มีการหมุนควงด้วย
angular velocity ω แต่ในกรณี ของ vector ˆi, ˆj, kˆ  ในเบื้องต้นนี้ อาจจะยังไม่ชดั เจนนัก

เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายยิง่ ขึ้น พิจารณา vector kˆ  ใน 4 ห้วงเวลาด้วยกันคือ 1) เช้าตรู่ 2) เที่ยงวัน 3)


พลบคํ่า และ 4) เที่ยงคืน
3)3)พลบคํ
พลบคํา่ า่ ω 
kˆ  1)1)เช้เช้าาตรูตรู่ ่
kˆ  4)4)เทีเทีย่ ย่ งคืงคืนน เหนือ
kˆ  kˆ  2)2)เทีเทีย่ ย่ งวังวันน

ω
P kˆ 

ตก λ ออก

จะเห็นว่าในช่วงเวลาต่างกันของวัน vector kˆ  มีการหมุนควงไปพร้อมกันกับตําแหน่งของ Lisa ที่


ยืนอยูบ่ นผิวโลก ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ สามารถนํามาประยุกต์ใช้กบั vector ˆi, ˆj ได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น โดยอาศัยสมการ (5.6) เราบอกได้ทนั ทีวา่

d   
R  ωR ______________________ (5.7)
dt
d ˆ  ˆ d ˆ  ˆ d ˆ  ˆ
i  ω  i j  ω  j k  ω  k ______________________ (5.8)
dt dt dt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-11

แบบฝึ กหัด 5.1 จากตัวอย่างโจทย์ที่ผา่ นมา ถ้าสมมุติให้ Lisa ถือเอา ˆi, ˆj, kˆ  แทนแกนทั้ง 3 ของ
พิกดั Cartesian ที่วดั โดยตัวเธอเอง และนิยามให้ตาํ แหน่งของวัตถุ r  x ˆi  y ˆj  z kˆ  จง
พิสูจน์วา่
d  dx ˆ dy ˆ dz  ˆ  
r  i  j  k   ω  r ______________________ (5.9)
dt dt dt dt
บอกใบ้ ใช้กฎลูกโซ่ และ ต้องไม่ลืมว่า vector ˆi, ˆj, kˆ  มิได้หยุดนิ่ง หากแต่เปลี่ยนแปลงกับเวลา

ω

เหนือ
kˆ 
ˆj


r  x ˆi  y ˆj  z  kˆ 
ˆi
ตก λ ออก

d   
แบบฝึ กหัด 5.2 จากแบบฝึ กหัดที่ผา่ นมา จงอภิปรายว่าเพราะเหตุใด r  ω  r ในทํานอง
dt
เดียวกันกับสมการ (5.6)
เฉลย r  x ˆi  y ˆj  z kˆ  มิได้หมุนควงอย่างสมํ่าเสมอด้วย angular velocity ω เพราะ
ฟังชันก์ x  x(t ) y  y(t ) , และ z  z(t ) อาจจะเปลี่ยนแปลงกับเวลา ในลักษณะใดก็ได้

ความเร่ งสู่ ศูนย์ กลาง


นอกเหนือจากความเร็ ว v ของอนุภาคที่กาํ ลังหมุนด้วย angular velocity ω ดังสมการ (5.3) เรา
สามารถคํานวณความเร่ ง a ของอนุภาคดังกล่าวได้ โดยอาศัยคํานิยาม


 dv d  
a  ω  r 
dt dt

และถ้าสมมุติให้ ω เป็ น vector ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกับเวลา กล่าวคือ r มีการหมุนอย่าง


สมํ่าเสมอรอบแกนที่มีทิศทางคงที่ชดั เจน ดังนั้น

 
 d   dω   d r
a  ω  r   r  ω
dt dt dt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-12


dr  
แต่เราทราบจากสมการ (5.6) ที่วา่  ω  r ทําให้ในท้ายที่สุดแล้ว
dt

   
ความเร่ งสู่ ศูนย์กลาง a  ω ω  r ______________________ (5.10)

2
และเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของความเร่ ง a  d r
2
ในขณะที่วตั ถุกาํ ลังหมุนด้วย angular velocity ω
dt
ได้เป็ นรู ปธรรมมากยิง่ ขึ้น พิจารณาภาพ (5.4)

SIDE VIEW TOP VIEW


  
R v  ωr
 
(ชี้ ออกนอกกระดาน)
  ω r
ω
   
  a  ω  ω  r 
ω  r
ความเร่
ความเร่งงมีมีททศิ ศิ เข้เข้าาสูสู่ ศ่ ศูนูนย์ย์กกลาง
ลาง

ภาพ (5.4) แสดงทิศทางของความเร่ ง a  ω   ω  r  ที่เป็ นไปตามกฎมือขวาของ


cross product ว่ามีทิศเข้าสู่ ศนู ย์กลางเสมอ

ภาพ (5.4) แสดงทิศทางของความเร่ ง a  ω   ω  r  ที่เป็ นไปตามกฎมือขวาของ cross product


เมื่อมองจากด้านบน (TOP VIEW) ปรากฏว่า vector v   ω  r  มีทิศชี้ข้ ึนด้านบน ในขณะที่ vector

ω พุง่ ออกนอกกระดาน

เพราะฉะนั้น เมื่อกางมือขวาออก ดังแสดงในภาพ ก็ยอ่ มหมายความว่า a  ω   ω  r  มีทิศเข้าสู่


ศูนย์กลางของการหมุน ด้วยเหตุน้ ีเอง ความเร่ งดังในสมการ (5.10) จึงมีชื่อเรี ยกว่า "ความเร่ งสู่
ศูนย์กลาง" หรื อ "centripetal acceleration"

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-13

แรงตึ
แรงตึงงเชืเชืออกกทํทําาให้ให้มมวลมี
วลมีCentripetal
CentripetalAcceleration
Acceleration
ความเร่ ง a
m 
Fnet

ในชีวิตประจําวัน เราสามารถสังเกตการเคลื่อนที่ ซึ่งมวล m มีลกั ษณะของความเร่ งแบบเข้าสู่


ศูนย์กลางได้ โดยการนํามวลมาผูกกับเชือกแล้วแกว่งเป็ นวงกลมดังแสดงในภาพ

2
และเนื่องจากความเร่ ง ก็คือ อนุพนั ธ์อนั ดับสองเทียบกับตําแหน่ง a  d r
เพราะฉะนั้นเราสามารถ
dt 2
เขียนความสัมพันธ์ในทํานองสมการ (5.6) ได้วา่


d 2q   
 ω  ω  q  เมื่อ q คือ vector ที่หมุนควงด้วย angular velocity ω
dt 2
________________________________ (5.11)

อาถรรพ์ "แรงหนีศูนย์ กลาง"


ในความพยายามที่จะอธิบายการเคลื่อนที่เป็ นวงกลม ด้วยอัตราเร็ วสมํ่าเสมอนั้น นักศึกษาจํานวนไม่
น้อย ที่มีแนวคิดในเรื่ องของ "แรงหนีศนู ย์กลาง" ซึ่งความพยายามที่จะคิดและวิเคราะห์หาสาเหตุ
ของการเคลื่อนที่น้ นั เป็ นต้นทุนที่สาํ คัญในการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์และโดยเฉพาะอย่างยิง่ วิชา
ฟิ สิ กส์ ที่ควรส่ งเสริ มใช้งอกเงยในตัวนักศึกษาเหล่านี้

ดังนั้น การที่จะอธิบายให้เห็นถึงความเข้าใจผิดในการนํา "แรงหนีศนู ย์กลาง" มาร่ วมเป็ นส่ วนหนึ่ง


ของการเคลื่อนที่แบบวงกลมนั้น จะต้องกระทําโดยอาศัยตรรกะและการถกปัญหา ซึ่งก็หมายถึงการ
รับฟังเหตุผลของนักศึกษาและชี้แจงให้เห็นถึงช่องโหว่ของตรรกะเหล่านั้น

การใช้อาํ นาจบังคับ ไม่วา่ จะเป็ นการใช้สถานะภาพของความเป็ นอาจารย์ลูกศิษย์ การอ้างข้อสรุ ปที่


ปรากฏตําราวิชาการ หรื อแม้กระทัง่ การออกเป็ นข้อสอบที่มดั มือนักศึกษาให้กาตัวเลือกที่จะได้
คะแนนนั้น รังแต่จะทําให้ฟิสิ กส์กลายเป็ นพจนานุกรมที่มีเพียงข้อมูลไว้ให้ท่องจํา แต่ปราศจากซึ่ง
แนวคิดและการวิเคราะห์ที่อาศัยเหตุและผลเป็ นสําคัญ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-14

พิจารณาวงแหวนวงกลมซึ่งขาดออกไปบางส่ วนดังแสดงในภาพข้างต้น เมื่อวางในแนวราบ นําลูก


เหล็กมากลิ้งให้อยูใ่ นแนววงกลม ไปตามขอบของวงแหวน เมื่อมายังจุดที่แหวนขาดออก ลูกเหล็ก
จะเคลื่อนที่อย่างไร?

จากการทดลอง จะพบว่า เป็ นเส้นทาง (B) กล่าวคือเป็ นเส้นตรง ที่น่าประหลาดใจก็คือ ในทาง


สถิติแล้ว นักศึกษาจํานวนมากเลือกข้อ (A) โดยให้เหตุผลว่า "แรงหนีศนู ย์กลางยังคงเหวีย่ งให้มวล
หนีห่างออกในแนวรัศมี" ซึ่งขัดกับผลการทดลอง

นักศึกษาเกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ข้อ (C) เป็ นไปไม่ได้ เพราะวงแหวนมีส่วนทําให้ลูกเหล็ก


เคลื่อนที่เป็ นวงกลม ในช่วงที่แหวนขาดออก ลูกเหล็กย่อมไม่อาจจะเคลื่อนที่เป็ นวงกลมอยูเ่ ช่นเดิมได้

ก็ต่อเมื่อนักศึกษาที่เลือกข้อ (A) ได้เห็นการทดลองจริ ง จึงยอมรับว่าเมื่อลูกเหล็กออกมาจากวง



แหวนแล้ว แรงลัพธ์ Fnet  0 ทําให้เคลื่อนที่เป็ นเส้นตรง ด้วยความเร็ วคงที่ ดังแสดงในเส้นทาง (B)
เพราะถ้ายังยึดติดกับแนวคิดเรื่ อง "แรงหนีศนู ย์กลาง" ก็ไม่อาจจะอธิบายได้วา่ แรงดังกล่าวหายไป
ไหน เมื่อลูกเหล็กออกมาจากวงแหวน

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่เลือกข้อ (A) ก็ยงั ไม่ลดละความพยายามที่จะโยง "แรงหนีศนู ย์กลาง" เข้ามา


เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม โดยเบี่ยงประเด็นไปที่การเคลื่อนที่ของลูกเหล็กขณะอยูใ่ นวง
แหวน โดยให้เหตุผลว่า

"ขณะอยูใ่ นวงแหวน แรงลัพธ์ตอ้ งเป็ นศูนย์ โดยที่แรงหนีศูนย์กลาง บดขยี้หกั ล้างกับแรง normal


force จากผิววงแหวน เพราะถ้าไม่เป็ นศูนย์แล้ว รัศมีจะคงที่เป็ นวงกลมได้อย่างไร?"

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-15

เพื่อจะเข้าใจธรรมชาติของการเคลื่อนที่เป็ นวงกลม ด้วยอัตราเร็ วสมํ่าเสมอได้ง่ายขึ้น ลองพิจารณา


แบบจําลองของการเคลื่อนที่แบบวงกลม ดังแสดงต่อไปนี้

Model อย่างง่ ายของ


A
การเคลือ่ นที่ “วงกลม”
B

P R

Q
1) ระหว่ างทาง P-Q หรือ Q-R มีแรงกระทํากับลูกบอลหรือเปล่ า?
2) หลังชน ทําไมความเร็วเปลีย่ นทิศ (ตอบ เจอกําแพงตบ)
3) ขณะกําลังชน ทิศทางของแรงปะทะ ทีก่ ระทํากับลูกบอล คือ?

จากภาพ ปรากฏกําแพงรู ปสี่ เหลี่ยมในแนวราบ และมีลูกบอล ชนกระทบชิ่งอยูอ่ ย่างต่อเนื่อง ถึงแม้


จะเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยม แต่ขอ้ สรุ ปที่ได้จากการวิเคราะห์ ยังจะสามารถอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลมได้
โดยจินตนาการว่าเราเพิ่มจํานวนเหลี่ยมให้มากขึ้น มากขึ้น เป็ น 5, 6, 8 เหลี่ยม จนลู่เข้าสู่ลกั ษณะของ
วงกลมในที่สุด

คราวนี้ลองวิเคราะห์ใน 3 ประเด็นด้วยกัน

1) ระหว่างทาง P-Q หรื อ Q-R มีแรงกระทํากับลูกบอลหรื อไม่? คําตอบก็คือ "ไม่" เนื่องจากลูก


เหล็กเคลื่อนที่เป็ นเส้นตรง ซึ่งเป็ นสภาวะการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็ นธรรมชาติอยูแ่ ล้ว ปราศจาก
แรงใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง

2) หลังชน ทําไมความเร็ วเปลี่ยนทิศ? คําตอบก็คือ เจอกําแพงตบ ที่ตอ้ งใช้คาํ ว่า "ตบ" ก็เพื่อเน้น
ยํ้าให้เห็นภาพว่า กําแพงออกแรง กระทํากับลูกเหล็ก ในขณะที่กาํ ลังมีการชนนัน่ เอง ซึ่งเมื่อเรา
พิจารณาการกระดอนของลูกเหล็กอย่างต่อเนื่องจนครบรอบ จะพบว่า มีอยูเ่ พียงแรงเดียวที่เข้ามา

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-16

เกี่ยวข้อง นัน่ ก็คือแรง normal force จากกําแพง ในขณะที่มีการชน

3) ขณะที่กาํ ลังมีการชน ทิศทางของแรงปะทะ ที่กระทํากับลูกบอลคือ? ตั้งฉากกับกําแพง และพุง่


เข้าหาจุดศูนย์กลางของกล่องสี่ เหลี่ยมเสมอ

ในคราวนี้จินตนาการว่าจํานวนเหลี่ยมของกล่องมีมากขึ้น มากขึ้น จาก 4 เหลี่ยม เป็ น 5 เหลี่ยม


หรื อ 8 เหลี่ยม จะพบว่า ลูกเหล็กจะต้องชนกําแพงบ่อยขึ้นในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ และเริ่ มที่
จะใช้เวลาส่ วนใหญ่ ในการชนกับกําแพง ก็ต่อเมื่อจํานวนเหลี่ยม n   กําแพงจึงแปรสภาพเป็ น
วงกลม และมีแรง "ตบ" ในทิศเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างต่อเนื่องนัน่ เอง

จะพบว่า ตลอดระยะเวลาของการเคลื่อนที่เป็ นวงกลม ลูกเหล็กได้รับแรง normal force เข้าสู่


ศูนย์กลางตลอดเวลา และในลําดับของการวิเคราะห์โดยอาศัยแบบจําลองนั้น ไม่มีข้นั ตอนใดเลยที่
เราจําเป็ นจะต้องนํา "แรงหนีศูนย์กลาง" เข้ามาเกี่ยวข้อง

วกกลับเข้ามาที่ขอ้ โต้แย้งของนักศึกษาที่สนับสนุนแรงหนีศูนย์กลาง และ เลือกข้อ (A) โดยกล่าวว่า

"ขณะอยูใ่ นวงแหวน แรงลัพธ์ตอ้ งเป็ นศูนย์ โดยที่แรงหนีศูนย์กลาง บดขยี้หกั ล้างกับแรง normal


force จากผิววงแหวน เพราะถ้าไม่เป็ นศูนย์แล้ว รัศมีจะคงที่เป็ นวงกลมได้อย่างไร?"

คํากล่าวข้างต้น ตั้งอยูบ่ นสมมุติฐานที่ผดิ พลาด โดยอนุมานว่า "การเคลื่อนที่แบบวงกลมเป็ นสภาพ


สมดุล ดังนั้นแรงลัพธ์เป็ นศูนย์" แท้จริ งแล้วการเคลื่อนที่แบบวงกลมไม่มีความสมดุล เพราะ
ความเร็ ว หรื อ ทิศทางของการเคลื่อนที่ มีการ "เลี้ยว" อยูต่ ลอดเวลา ซึ่งจากแบบจําลองก็จะเห็นว่า
ความเร็ วจะเปลี่ยนทิศได้ ต้องอาศัยแรง "ตบ" จากกําแพง หรื อ แรงสู่ศูนย์กลางนัน่ เอง

ด้วยเฮือกสุ ดท้ายของนักศึกษาที่เลือกข้อ (A) ซึ่งพยายามจะยกตัวอย่างการมีอยูข่ องแรงหนีศูนย์กลาง


ได้ยกตัวอย่างของผูโ้ ดยสารในขณะที่รถมีการเลี้ยว และอ้างว่า

"ถ้าไม่มีแรงหนีศูนย์กลาง ขณะรถเลี้ยว คนจะโดนเหวีย่ งออกไปได้อย่างไร?"

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-17

ผู้โดยสารโดนเหวีย่ งด้ วยแรงหนีศูนย์ กลางจริงหรือ ?

ข้อโต้แย้งอันนี้ พยายามที่จะโยงว่าการที่ผโู ้ ดยสารที่หลุดออกจากรถ ในขณะมีการเข้าโค้งนั้น เป็ น


สภาวะการเคลื่อนที่ ซึ่งต้องมีแรงมาเกี่ยวข้อง คล้ายกับจะพยายามอธิบายว่าโดนถีบออกจากรถ
เนื่องมาจากแรง และแรงนั้นก็ตอ้ งเป็ นแรงหนีศูนย์กลาง

แท้จริ งแล้ว การที่ผโู ้ ดยสารหลุดออกจากรถ เป็ นสภาพปกติอยูแ่ ล้ว เนื่องจากเขาเคลื่อนที่เป็ น


เส้นตรงมาโดยตลอด ก่อนที่จะเข้ามาถึงยังทางเลี้ยว จึงไม่แปลกที่ผโู ้ ดยสารจะพยายามเคลื่อนที่ดว้ ย
ความเร็ วคงที่ ในทิศทางคงที่ต่อไปเรื่ อยๆ อย่างเป็ นธรรมชาติ ตัวรถเองต่างหากที่บงั เอิญเลี้ยว ทํา
ให้ดูเสมือนว่า ผูโ้ ดยสารโดนเหวีย่ งออกจากรถด้วยแรงอันหนึ่ง ซึ่งให้ชื่อว่า แรงหนีศูนย์กลาง

ด้วยเหตุผล และตรรกะทางความคิดที่ได้แสดงมาแล้วนั้น คงพอให้นกั ศึกษาได้เข้าใจแล้วว่า การ


เคลื่อนที่เป็ นวงกลม ด้วยอัตราเร็ วสมํ่าเสมอนั้น ต้องอาศัยแรงลัพธ์ซ่ ึงมีทิศเข้าสู่ ศูนย์กลาง ไม่วา่ จะ
เป็ นแรงตึงเชือกในกรณี การแกว่งมวลที่ผกู อยูก่ บั เชือกเป็ นวงกลม แรง normal force ที่ดนั ลูกเหล็ก
ให้เคลื่อนที่เป็ นวงกลมภายในแหวน หรื อแม้กระทัง่ แรงโน้มถ่วงที่ดวงอาทิตย์ดึงดูดโลกไว้ในวง
โคจร และที่สาํ คัญที่สุด

"แรงหนีศนู ย์กลาง" เป็ นเพียงภาพลวงตาที่ไม่มีอยูจ่ ริ ง


________________________________ (5.12)

Section 5.3 Rotating Observer


เพื่อที่จะให้เรามองเห็นได้ชดั เจนมากขึ้น ในกรณี ที่ผสู ้ งั เกต 2 คน แทนด้วย Alice ซึ่งหยุดนิ่ง และ
Lisa ซึ่งกําลังหมุน มองการเคลื่อนที่อนั เดียวกัน แต่ตีความและวัดปริ มาณทางฟิ สิ กส์ออกมาได้
แตกต่างกัน ลองพิจารณาแบบจําลองอย่างง่ายของ reference frame 2 อันด้วยกัน ซึ่งในเบื้องต้นนี้
เพื่อความสะดวก สมมุติให้ผสู ้ งั เกตทั้งสอง มีจุดกําเนิดซ้อนทับกันอยู่ เพียงแต่วา่ Lisa มีการหมุน

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-18

ด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω ดังแสดงในภาพ (5.5)

SIDE
SIDEVIEW
VIEW k̂ Alice
Aliceและ
และLisa
Lisaสัสังงเกตเห็
เกตเห็นนผีผีเสืเสื้อ้อบิบินนแตกต่
แตกต่าางกั
งกันนอย่
อย่าางไร ?
งไร?

Lisa หมุนรอบตัวเอง

kˆ  ˆj

 ˆi

Alice หยุดนิ่ง
ภาพ (5.5) แสดงผูส้ งั เกต 2 คน Alice และ Lisa ซึ่งมีจุดกําเนิดซ้อนทับกัน แต่ Lisa นั้นหมุน
ด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω

Alice ซึ่งหยุดนิ่ง สร้างแกนในระบบ Cartesian ขึ้นมา 3 อันด้วยกันคือ ˆi, ˆj, kˆ เพราะฉะนั้น เมื่อ
สังเกตการเคลื่อนที่ของผีเสื้ อ เธอบอกตําแหน่งของมันด้วยพิกดั  x, y, z  โดยที่


r  x ˆi  y ˆj  z kˆ

จากสมการข้างต้นจะพบว่า ในขณะที่ผเี สื้ อเคลื่อนที่ พิกดั x  x(t ), y  y (t ), z  z (t ) ย่อม


เปลี่ยนแปลงเป็ นฟังชันก์ของเวลา ในขณะที่ unit vector ˆi, ˆj, kˆ ซึ่งเป็ นตัวแทนของแกน Cartesian
ทั้งสามของ Alice นั้นคงที่ ด้วยเหตุที่ Alice เองก็หยุดนิ่งเช่นกัน

Lisa ซึ่งกําลังหมุน ก็สร้างแกนในระบบ Cartesian ขึ้นมาเช่นกันคือ ˆi, ˆj, kˆ  เธอเองก็มองการ


เคลื่อนที่ของผีเสื้ อ และบอกตําแหน่งของมันด้วยพิกดั  x, y, z โดยที่


r  x ˆi  y ˆj  z  kˆ 

สมการข้างต้นมีความซับซ้อนอยูพ่ อสมควร ทั้งนี้นอกจาก  x, y, z จะเปลี่ยนแปลงกับเวลา


เพราะผีเสื้ อก็คงบินลดเลี้ยวไปมา แกน ˆi, ˆj, kˆ  ก็ยงั หมุนด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω ไปพร้อมๆกับ
Lisa ด้วย

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-19

แน่นอนว่าถ้าเราถาม Lisa ด้วยความที่เอาตนเองเป็ นใหญ่ (frame of reference) เธออ้างว่าตัวเธอนั้น


หยุดนิ่ง และ Alice ต่างหากที่กาํ ลังหมุน เพื่อความไม่สบั สน เนื่องจากเราเป็ นผูก้ าํ หนดโจทย์ของ
การวิเคราะห์ เปรี ยบเสมือนพระเจ้าผูท้ รงทราบความจริ งทั้งมวล เราทราบว่า Alice นั้นหยุดนิ่ง
และ Lisa นั้นหมุนรอบตัวเอง

ในที่น้ ีเราต้องการทราบว่า เส้นทางการเคลื่อนที่ซ่ ึง Alice สังเกตเห็น และเส้นทางการเคลื่อนที่ ซึ่ง


Lisa วัดได้ จะสัมพันธ์หรื อแตกต่างกันอย่างไร หรื ออีกนัยหนึ่ง

จงหาความสัมพันธ์  x, y, z และ  x, y, z  ดังในภาพ

เมื่อตั้งคําถามเป็ นที่ชดั เจนแล้ว เริ่ มด้วยการพิจารณาพิกดั ตามแนวตั้งของผูส้ งั เกตทั้งสอง ดังแสดง


ในภาพ (5.5) เนื่องจาก k̂ และ kˆ  ซ้อนทับกันพอดี และการหมุนของ Lisa ก็ยงั หมุนรอบแกนใน
แนวตั้ง เพราะฉะนั้น
z  z

คงเหลือแต่พิกดั  x, y และ  x, y  ที่จะมีความสัมพันธ์ซ่ ึงซับซ้อนมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการ


วิเคราะห์เรามองระบบจากด้านบน หรื อ TOP VIEW ดังแสดงในภาพ (5.6)

TOP
TOPVIEW
VIEW ˆj

P ˆi P
ˆj
r y
r Q
y  
ˆi
 O Q
î x
O r  r
x
ภาพ (5.6) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนที่ใช้ในการบ่งชี้พิกดั ของผูส้ งั เกตทั้งสอง เนื่องจาก
การหมุน มุม   ωt มีการเปลี่ยนแปลงกับเวลา

ภาพ (5.6) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนที่ใช้ในการบ่งชี้พิกดั ของผูส้ งั เกตทั้งสอง เนื่องจากการ


หมุนของ Lisa vector ˆi ทํามุม  กับ vector î ซึ่งเป็ นแกน x ของ Alice

ทั้งนี้ตอ้ งเข้าใจว่า   ωt มีการเปลี่ยนแปลงกับเวลา สมมุติให้ผเี สื้ อในขณะนั้น ตั้งอยู่ ณ จุด P ซึ่ง

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-20

Alice วัดพิกดั ของมันได้  x, y  จากภาพจะพบว่า

x  r cos     และ y  r sin    

เมื่อ r คือระยะห่ างระหว่างจุด P และจุดกําเนิด เมื่อสังเกตโดย Alice และเมื่อใช้กฎของ cosine และ


sine ฟังชันก์ จะได้วา่

x  r cos      r cos cos   r sin sin 


__________________ (5.13)
y  r sin      r sin cos   r cos sin 

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสามเหลี่ยมมุมฉาก OPQ (สี ฟ้า) ซึ่งมีฐานของสามเหลี่ยมขนานไปกับแกน


ˆi ของ Lisa พบว่า

x  r  cos  r cos และ y  r  sin  r sin

ในสมการข้างต้น เนื่องจากจุดกําเนิดของ Lisa และ Alice ซ้อนทับพอดีดงั นั้น r  r  จากนั้น


แทน r cos  x และ r sin  y ในสมการ (5.13) ทําให้

x  x cos   y sin 
y  x sin   y cos  เมื่อ   ωt ______________________ (5.14)
z  z

สมการข้างต้นนี้เอง คือความสัมพันธ์  x, y, z และ  x, y, z  ซึ่งก็คือพิกดั ที่วดั โดย Lisa และ
Alice

ตัวอย่ างโจทย์
ผูส้ งั เกต Alice และ Lisa ดังในภาพ (5.5) ถ้า Alice มองเห็นผีเสื้ อบินเป็ นเส้นตรงด้วยความเร็ วคงที่
ดังแสดงในภาพ Lisa จะเห็นเส้นทางของผีเสื้ อเป็ นเช่นใด ?

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-21


Alice
Aliceและ
และLisa
Lisaสัสังงเกตเห็
เกตเห็นนผีผีเสืเสื้อ้อบิบินนแตกต่
แตกต่าางกังกันนอย่
อย่าางไร?
งไร?
งไร? ĵ
Lisa หมุนรอบตัวเอง


kˆ  ˆj r  u 0 t ˆj

ˆi
î î
Alice หยุดนิ่ง Alice

วิธีทาํ แทน x0 และ y  u0t จากโจทย์กาํ หนดให้ ในสมการ (5.14) จะได้วา่

0  x cos ωt  y sin ωt
_________________________ (E.1)
u 0 t  x sin ωt  y cos ωt

ยกกําลังสองทั้งสองข้างของสมการ

0  x2 cos 2 ωt  2 xy sin ωt cos ωt  y2 sin 2 ωt


u 02 t 2  x2 sin 2 ωt  2 xy sin ωt cos ωt  y2 cos 2 ωt

เมื่อรวมทั้งสองสมการเข้าด้วยกัน และใช้เอกลักษณ์ cos2 ωt  sin 2 ωt  1 ทําให้

 u0t 
2
 x2  y 2 _________________________ (E.2)

สมการข้างต้น อยูใ่ นรู ปของวงกลม ที่มีรัศมี u 0 t ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่ อยๆเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้


จากสมการ (E.1)

cos ωt
y   x _________________________ (E.3)
sin ωt

cos 2 ωt
หรื อ y 2  x 2 ซึ่งเมื่อแทนลงในสมการ (E.2) จะพบว่า
sin 2 ωt

cos 2 ωt sin 2 ωt  cos 2 ωt


  1
2
u0t  x 2  x 2 2
 x2 2
 x2
sin ωt sin ωt sin 2 ωt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-22

ทําให้
x  u 0 t sinωt _________________________ (E.4)

ซึ่งถ้าแทนความสัมพันธ์ดงั กล่าวในสมการ (E.3) จะได้วา่

y  u 0 t cosωt _________________________ (E.5)

สมการ (E.4) และ สมการ (E.5) นี้เอง คือเส้นทางการบินของผีเสื้ อในมุมมองของ Lisa ซึ่งเป็ น
reference frame ที่กาํ ลังหมุน และถ้าเราจะทําการวาดกราฟของเส้นทางที่เห็นโดย Alice และ Lisa
เพื่อเป็ นการเปรี ยบเทียบ จะได้วา่
ĵ ˆj


 r  u 0 t sinωt ˆi  u 0 t cosωt ˆj
r  u 0 t ˆj

î ˆi
Alice Lisa
Lisa เห็นเส้นทางบินเป็ นลักษณะคล้ายก้นหอย ตอบ

จากตัวอย่างโจทย์ขา้ งต้นจะเห็นว่า เมื่อผูส้ งั เกตเองมีการหมุน ย่อมเห็นการเคลื่อนที่น้ นั ผิดเพี้ยนไป


จากผูส้ งั เกตที่หยุดนิ่ง และในกรณี ที่ผสู ้ งั เกตทั้งสองมีจุดกําเนิดร่ วมกัน สมการ (5.14) เป็ นสิ่ งที่
แสดงความสัมพันธ์ของพิกดั ที่ Alice และ Lisa วัดได้นนั่ เอง

แบบฝึ กหัด 5.3 ผูส้ งั เกต Alice และ Lisa ดังในภาพ (5.5) ถ้า Alice มองเห็นมวลที่ผตู ้ ิดกับสปริ ง
ซึ่งวางบนแกน y และมีการเคลื่อนที่แบบ simple harmonic oscillation y(t )  A sin ωt เมื่อ A
คือ constant จงหาว่า Lisa จะเห็นเส้นทางการเคลื่อนที่เป็ นแบบใด ?
0.5

0 0.5 1

 0.5

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-23

เฉลย วงกลม x(t )  A sin ωt sin ωt และ y(t )  A sin ωt cos ωt

แบบจําลองอย่างง่ายที่ Lisa มีการหมุนรอบตัวเองนั้น จะเป็ นพื้นฐานที่สาํ คัญในการวิเคราะห์การเล็ง


เป้ ากระสุ นปื นใหญ่ เมื่อนําเอาผลกระทบที่เกิดจากการหมุนของโลก มาพิจารณาร่ วมด้วย อย่างไรก็
ตาม การจะวิเคราะห์ในทางคณิ ตศาสตร์ถึงวิถีกระสุ นดังกล่าว มีความยุง่ ยากซับซ้อนมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิง่ กลไกทางคณิ ตศาสตร์ที่เรามีอยูใ่ นมือในตอนนี้ ยังไม่มีความพร้อม

เบื้องต้น เราลดระดับความยากของปั ญหา มาพิจารณาการปล่อยให้ลูกมะม่วง หล่นลงมาบนผิวโลก


สมมุติให้ปราศจากแรงลม หรื อ สิ่ งรบกวนภายนอก เราคาดว่ามันคงจะพุง่ ลงมาในแนวดิ่ง และ ตก
พื้น ณ เบื้องล่างในแนวเส้นตรง

สมมุติต่อไปอีกว่า มะม่วงอยูบ่ นต้นที่สูงมาก ร่ วมหลายกิโลเมตร และมันใช้เวลานานเกือบ 2


นาทีกว่าจะตกลงพื้นดิน คราวนี้นกั ศึกษาคิดว่า จุดที่ตกกระทบพื้น จะยังคงเป็ นแนวดิ่งที่ลากเป็ น
เส้นตรงอยูห่ รื อไม่ ?

ตอบได้ง่ายว่าไม่ นับจากเสี้ ยววินาทีที่มะม่วงหลุดจากต้น พื้นโลกเบื้องล่างมีการหมุนไป และถ้า


คุณอยู่ ณ เส้นศูนย์สูตร หมุนด้วยอัตราเร็วถึง 1665 km/hrs แต่การจะวิเคราะห์วา่ จุดตกกระทบพื้น
จะอยู่ ณ ที่ใด มิได้ง่ายอย่างที่คิด

เพื่อให้เห็นภาพได้ชดั เจนขึ้น เก็บปั ญหาของมะม่วงหล่นไม่ไกลต้นไว้ในใจชัว่ ขณะ และมาศึกษา


แบบจําลองของการยิงธนูดงั แสดงในภาพต่อไปนี้

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-24

ยิยิงงธนู
ธนูขข้ า้ างนอก
งนอกจากจุ
จากจุดดหยุ
หยุดดนินิ่ง่งชนวงกลมซึ
ชนวงกลมซึ่ง่งกํกําาลัลังงหมุ
หมุนน
ω
SIDE
SIDEVIEW VIEW 2

TOP
TOPVIEW
VIEW

3
1 ยิงธนู

จานกําลังหมุนในแนวราบด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω จากนั้นเราขีดเส้นเป็ นวงกลม 2 วงซึ่งหมุนไป


ด้วยกัน พิจารณาการยิงธนูเป็ น 3 ขั้นตอน
1) ยิงธนูจากข้างนอก จากจุดหยุดนิ่ง เล็งเข้าสู่ ศูนย์กลาง
2) เมื่อลูกศรปะทะวงกลมวงนอก เกิดเป็ นรอยปะทะสี แดง
3) ลูกศรถลําลึกเข้าไปในวงกลมด้านใน และปะทะอีกครั้ง และเนื่องจากในขั้นนี้ ลูกศรใช้
เวลาเดินทางเล็กน้อย จุดปะทะอันแรก หมุนไปและอยูท่ างขวามือ ของจุดปะทะอันที่สอง

คราวนี้ลองมาสังเกตการยิงธนูที่แตกต่างออกไป ดังแสดงในภาพข้างล่าง คราวนี้คนั ธนูยดึ ติดอยู่


กับจานที่กาํ ลังหมุน แม้จะเล็งลําลูกศรในแนวเข้าสู่ ศูนย์กลาง แต่เมื่อลูกศรหลุดจากคันธนู มันมี
ความเร็ วหนุนเนื่องที่เกิดจากจานที่เหวีย่ งไปด้านขวา ทําให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ลูกศรเคลื่อนที่ในแนว
เอียงไปทางขวา ดังนั้นจุดปะทะอันแรก อยูท่ างซ้ ายมือ ของจุดปะทะอันที่สอง

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-25

ยิยิงงธนู
ธนูจจากวงกลม
ากวงกลมซึซึ่ง่งกํกําาลัลังงหมุ
หมุนน
ω TOP
SIDE
SIDEVIEW VIEW TOPVIEW
VIEW
ผนวกกับจานเหวีย่ ง

แนวการเล็ง
ผลลัพธ์

ข้อแตกต่างของการยิงธนูท้ งั สองแบบนั้น ขึ้นอยูก่ บั ว่าคันธนูมีการเคลื่อนที่เป็ นวงกลมไปพร้อมกับ


จานหมุนหรื อไม่ หรื อว่าหยุดนิ่งอยูก่ บั ที่เมื่อยิงจากภายนอก


ω จุจุดดapple
appleตกดิ
ตกดินนเบนไปทางตะวั
เบนไปทางตะวันนออกเล็
ออกเล็กกน้น้ออยย!!
เหนือ แนวดิง่

ตก ออก

วกกลับมายังปัญหาของมะม่วง (หรื อ apple) ที่หล่นจากต้น เมื่อครั้งที่มะม่วงหลุดจากต้น


สถานการณ์เหมือนกับการที่คนั ธนูหมุนไปพร้อมกับจาน เพราะต้นไม้กห็ มุนไปพร้อมๆกับโลก
เช่นเดียวกัน และหมุนในแนว ตะวันตก  ตะวันออก ดังภาพข้างต้น

เพราะฉะนั้น เราบอกได้โดยประมาณว่า จุดที่มะม่วงตกเบนมาทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ซึ่งเป็ น


ข้อสรุ ปที่แปลกเป็ นอย่างยิง่ Isaac Newton เองได้ทาํ นายการเบนออกดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1679

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-26

และได้มีการทดลองปล่อยลูกเหล็กให้หล่นในเหมืองซึ่งลึก 188 เมตร เมื่อปี 1831 โดย F. Reich


พบว่ามีการเบนออกมาทางทิศตะวันออกโดยเฉลี่ยแล้ว 28 มิลลิเมตรจากจุดทิ้งดิ่ง (Marion and
Thornton, "Classical Dynamics of Particles and Systems")

เนื้อหาในลําดับต่อไปนี้ จะเป็ นการเตรี ยมความพร้อมที่จะทําให้เราสามารถผนวกกลไกทาง


คณิ ตศาสตร์ เข้ากับหลักการทางฟิ สิ กส์เพื่อคํานวณระยะเบนออกดังกล่าว โดยที่กระบวนชุด
ความคิดที่เราจะได้บรรเลงต่อไปนี้ เป็ นท่วงทํานองเดียวกันกับที่นกั ฟิ สิ กส์ช้ นั ครู อย่าง Newton ได้เคย
สําแดงไว้เมื่อราว 330 ปี ที่ผา่ นมา

Section 5.4 ผู้สังเกตทีม่ คี วามเร่ ง - Non Inertia Coordinate


ในการวิเคราะห์ถึงสมบัติของการเคลื่อนที่ของผีเสื้ อ ดังตัวอย่างโจทย์ที่ผา่ นมา การหมุนของ Lisa
ซึ่งอยูใ่ นถานะ frame of reference มีผลกระทบต่อเส้นทางการบิน ที่สงั เกตเห็น ตลอดจนความเร็ว
และความเร่ ง ของผีเสื้ อขณะเคลื่อนที่

นอกจากการสังเกตแล้ว ผูส้ งั เกตยังจําเป็ นต้องทํานายการเคลื่อนที่ของวัตถุ ภายใต้กรอบอ้างอิงที่



ตนเองกําหนดขึ้น แน่นอนว่าในการทํานายการเคลื่อนที่ กฎของ Newton Fnet  ma เป็ นสมการ
ชิ้นสําคัญที่จะทําให้เราสามารถสร้างสมการการเคลื่อนที่ เหมือนดังที่เราได้ศึกษามาแล้วในบทก่อนๆ

คําถามมีอยูว่ า่ กฎของ Newton ยังคงเป็ นสมการที่เป็ นจริ งอยูไ่ ม่ หากตัวผูส้ งั เกตเองมีการเคลื่อนที่ ?


คําตอบที่ถูกต้องนั้น เป็ นได้ท้ งั 1) ใช่ และ 2) ไม่ใช่ แล้วแต่กรณี

1) ใช่ ในกรณี ที่ผสู ้ งั เกตเคลื่อนที่ดว้ ยความเร็ วคงที่ หรื ออีกนัยหนึ่ง ความเร่ งเป็ นศูนย์ ในทาง
ฟิ สิ กส์เราเรี ยกผูส้ งั เกตลักษณะนี้วา่ "inertia coordinate" ซึ่งหมายถึง ผูส้ งั เกต หรื อ กรอบอ้างอิงที่มี
ความเร็ วคงที่

2) ไม่ใช่ ในกรณี ที่ผสู ้ งั เกตมีความเร่ ง หรื อที่เรี ยกว่า "non-inertia coordinate" ยกตัวอย่างเช่น ผู ้
สังเกตอยูภ่ ายในรถยนต์ที่กาํ ลังเร่ งเครื่ องเมื่อสัญญาณจราจรสี เขียวปรากฏขึ้น หรื อผูส้ งั เกตยืนอยูบ่ น
ม้าหมุน หรื อแม้กระทั้ง คนทุกคนบนโลกที่เฝ้ ามองการบินของนก ด้วยเหตุที่โลกหมุนรอบตัวเอง
ทําให้ตวั เราหมุนไปพร้อมๆกับโลก ส่ งผลให้ผสู ้ งั เกตมีความเร่ งเข้าสู่ศูนย์กลาง

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-27

เมือ่ Lisa ตกอิสระพร้ อมๆกับ apple


เธอสั งเกตเห็น apple หยุดนิ่ง

y

x
Lisa

ในกรณี ที่ผสู ้ งั เกตมีความเร่ งเช่นนี้ กฎของ Newton ไม่สามารถนํามาใช้ทาํ นายการเคลื่อนที่ได้



หรื ออีกนัยหนึ่ง สมการ Fnet  ma เป็ นเท็จ ในมุมมองของผูส้ งั เกตที่มีความเร่ งนัน่ เอง

เพื่อยกตัวอย่างที่เป็ นรู ปธรรม พิจารณาการเคลื่อนที่ของ apple ที่กาํ ลังตกอิสระดังภาพ แน่นอนว่า


ในถานะของผูส้ งั เกต Lisa ซึ่งกําลังตกอิสระมาพร้อมๆ กัน จะสังเกตเห็น apple หยุดนิ่ง
เพราะฉะนั้น ความเร่ งที่ของ apple ในมุมมองของ Lisa ก็คือ

มุมมองของ Lisa a  0 ________________________________ (5.15)

แต่เมื่อ Lisa พิจารณา apple เธอพบว่า แรงลัพธ์ที่กระทํากับผลไม้ลูกนี้มีค่าเท่ากับ

มุมมองของ Lisa Fnet  mg  0 _______________________ (5.16)

อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของโลก เพราะฉะนั้น เมื่อเปรี ยบเทียบสมการ (5.15) และ สมการ


(5.16) จะพบว่า ตามกรอบอ้างอิงของ Lisa แล้วนั้น

Fnet  ma เมื่อผูส้ งั เกตมีความเร่ ง ______________________ (5.17)

และในเมื่อผูส้ งั เกตที่มีความเร่ งไม่สามารถสร้างสมการได้ จึงไม่สามารถนํากระบวนการทาง


คณิ ตศาสตร์เข้ามาช่วยในการทํานายการเคลื่อนที่ หรื อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ได้เลย

แต่ดว้ ยวิธีการอันแยบยล การสร้างสมการการเคลื่อนที่ เพื่อที่จะนําไปสู่ การแก้สมการ, ผลเฉลย


ของสมการ, และในที่สุดการทํานายการเคลื่อนที่น้ นั ยังพอที่จะสามารถกระทําได้ เพียงแต่วา่

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-28

กฎของ Newton ในกรณี ที่ผสู ้ งั เกตมีความเร่ งนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับ


สถานการณ์

กล่าวคือ เราสามารถสมมุติแรง 2 แรงที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ คือ 1) fictitious force


 
( Ffictitious ) หรื อ แรงเสมือน และ 2) effective force ( Feffective ) หรื อ แรงลัพธ์ยงั ผล การที่จะ
เข้าใจที่มาและธรรมชาติของแรงดังกล่าวนี้ สามารถทําได้ง่ายที่สุด โดยการพิจารณาตัวอย่างที่เป็ น
รู ปธรรมใน 2 กรณี ดว้ ยกัน

ตัวอย่ าง 1
ในกรณี ของ Lisa และ apple ที่กาํ ลังตกอิสระมาพร้อมๆกัน Lisa สามารถที่จะสมมุติวา่ มีแรง
เสมือนที่กาํ ลังกระทํากับ apple ในขณะที่กาํ ลังเคลื่อนที่ นัน่ ก็คือ


Ffictitious  mg ˆj

เพือ่ ให้ อธิบายได้ ว่า ทําไม apple จึงหยุดนิ่ง


Lisa “สมมุติ” แรงเสมือนขึน้ มา

y
แรงเสมือน =  mg ˆj

Lisa x
นํา้ หนัก = mg ˆj


เราจําเป็ นจะต้องเน้นยํ้าว่า แรง Ffictitious  mg ˆj นั้นเป็ นแรงที่สมมุติข้ ึน (อันเป็ นที่มาของคําว่า
fictitious ซึ่งแปลว่า ปลอม หรื อ เสมือน) ด้วยเหตุที่แรงดังกล่าวไม่ได้มีอยูจ่ ริ ง เป็ นแรงที่ Lisa
สังเกตเห็นว่ากระทํากับ apple โดยหารู ้ไม่วา่ แท้จริ งแล้ว แรงดังกล่าวเป็ นภาพลวงตาจากการที่
Lisa เคลื่อนที่แบบมีความเร่ ง

ในมุมมองของ Lisa เมื่อมีแรง 2 แรงที่กระทํากับ apple เธอสามารถที่จะคํานวณแรงลัพธ์ที่ดู


ประหนึ่งว่า กระทํากับ apple เรี ยกว่า "แรงลัพธ์ยงั ผล" หรื อ effective force ซึ่งประกอบด้วย 2

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-29


ปั จจัยคือ 1) แรงลัพธ์ที่แท้จริ ง ในตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ Fnet  mg ˆj และ 2) แรงเสมือน

ในตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ Ffictitious  mg ˆj หรื อ เขียนในรู ปของสมการได้วา่

  
Non Inertia Coordinate Feffective = Fnet + Ffictitious ___________________ (5.18)


แรงลัพธ์ยงั ผล หรื อ Feffective (คําว่า "ยังผล" แปลว่า มีผลจริ งในทางปฏิบตั ิ) เป็ นแรงที่ Lisa
สามารถนํามาสร้างเป็ นสมการของ Newton ได้ กล่าวคือ


Non Inertia Coordinate Feffective = m a _________________________ (5.19)

ซึ่งตามตัวอย่างที่เรากําลังกล่าวถึงนี้ สมการ (5.19) นั้นเป็ นจริ งในมุมมองของ Lisa เพราะว่า


  
Feffective  Fnet +Ffictitious  mg ˆj  mg ˆj  0 และ สอดคล้องกับผลการสังเกตของ Lisa
ที่วา่ apple นั้นหยุดนิ่งอยูก่ บั ที่

ตัวอย่ าง 2
 
อีกตัวอย่างหนึ่งที่จะทําให้เราเข้าใจแรง และ แรง Feffective ได้ดียงิ่ ขึ้น พิจารณามดตัว
Ffictitious
หนึ่งที่ยดึ เอามวลที่ติดอยูก่ บั สปริ งเป็ นฐานในการสังเกตการเคลื่อนที่ดงั ภาพ

ˆj

Fnet =  mg ˆj

m
ˆi

มดคือผู้สังเกตทีม่ คี วามเร่ ง เส้ นทางล่นของใบไม้ ทมี่ ดสั งเกตเห็น


เนื่องจากสั่ นไปพร้ อมกับสปริง

เมื่อใบไม้หล่นอย่างอิสระ ผูส้ งั เกตที่อยูน่ ิ่งกับพื้นย่อมเห็นการเคลื่อนที่เป็ นเส้นตรงในแนวดิ่ง แต่


มดที่เกาะอยูบ่ นสปริ ง จะสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ของใบไม้ ดังภาพข้างต้น ความแตกต่างของผล
การสังเกตระหว่างผูห้ ยุดนิ่งบนพื้นและมด เกิดจากการที่มดมีความเร่ งนัน่ เอง

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-30

ในมุมมองของมด มันสังเกตเห็นใบไม้หล่นลงในแนวดิ่ง ในขณะเดียวกันก็มีการสัน่ ตามแนวราบ



ควบคู่กนั ไปด้วย แต่เมื่อมดพิจารณาแรงลัพธ์ที่กระทํากับใบไม้ พบว่า Fnet =  mg ˆj ซึ่งเป็ น
แรงที่มีผลเฉพาะแต่ในแกน y เท่านั้น

เพื่ออธิบายการสัน่ ตามแนวราบของใบไม้ มดจึงจําเป็ นต้องสมมุติแรงขึ้นมา เรี ยกว่า fictitious



force ซึ่งในตัวอย่างที่เรากําลังวิเคราะห์อยูน่ ้ ี Ffictitious  kx ˆi


เมื่อผนวกแรงทั้งสองเข้าด้วยกัน มดสามารถเขียนแรงลัพธ์ยงั ผลได้วา่ Feffective =  kx ˆi  mg ˆj
ซึ่งแรงดังกล่าวสามารถนํามาเขียนเป็ นสมการของ Newton ดังสมการ (5.19) ได้วา่


kx ˆi  mg ˆj  ma _____________________________ (5.20)

ทางซ้ายมือ เป็ นแรงที่มีท้ งั องค์ประกอบตามแกน x และแกน y ทางขวามือ เป็ นความเร่ งของใบไม้


ที่มดควรจะสังเกตเห็น ซึ่งก็มีความสอดคล้องกัน เพราะมดสังเกตเห็นใบไม้หล่นลงมาพร้อมๆกับ
สัน่ ในแนวราบควบคู่กนั ไป จึงพอจะสรุ ปได้วา่ สมการ (5.20) นั้นเป็ นจริ ง


จากตัวอย่าง 2 กรณี ที่เราได้วิเคราะห์ จะเห็นว่า แรงเสมือน หรื อ Ffictitious นั้น มีรูปแบบทาง
คณิ ตศาสตร์แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ลกั ษณะการเคลื่อนที่ของผูส้ งั เกต แรงเสมือนดังกล่าวนี้
ไม่มีอยูจ่ ริ งในธรรมชาติ แต่เป็ นผลจากการเคลื่อนที่อย่างมีความเร่ งของผูส้ งั เกตเอง

ถ้าจะวิเคราะห์ให้ละเอียดแล้ว คนที่ยนื บนผิวโลก มีสถานะภาพไม่แตกต่างจากมดน้อยที่บงั เอิญเป็ น


ผูส้ งั เกตที่มีความเร่ ง หรื อ non inertia coordinate สําหรับเราทุกคนบนผิวโลก การดันทุรังเขียน

สมการ Fnet  ma จะทําให้ผลของการทํานายการเคลื่อนที่ผดิ พลาด (เล็กน้อย) อันเนื่องมาจากการที่
เราล้วนเป็ นผูส้ งั เกตที่มีความเร่ ง กล่าวคือหมุนไปพร้อมกับโลก

ด้วยเหตุน้ ี สมการของการเคลื่อนที่ ซึ่งผูอ้ อกแบบปื นใหญ่ใช้ในการทํานายวิถีกระสุ นเพื่อที่จะให้


 
เป้ าหมายนั้นแม่นยําที่สุด จะต้องอยูใ่ นรู ปของ Feffective = m a เมื่อ Feffective คือแรงลัพธ์ยงั
ผล ซึ่งจะมีผลในทางปฏิบตั ิ และมีค่าเท่าแรงจริ ง (แรงโน้มถ่วงของโลก) บวกกับแรงเสมือน ที่เรา

จําเป็ นต้องอุปโลกน์ข้ ึนเอง หรื อที่เรี ยกว่า Ffictitious


คําถามที่เราจะวิเคราะห์ต่อไปก็คือว่า ในกรณี ของผูส้ งั เกตที่ยนื บนผิวโลกนั้น Ffictitious  ?

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-31

Section 5.5 Rotating Coordinate และ Equation of Motion



ω

เหนือ
kˆ 
Lisa
ˆj
 
R ˆi 
r 
r  x ˆi  y ˆj  z  kˆ 

ตก r ออก
Alice
  d2 
Alice หยุดนิ่ง ดังนั้น Fnet  ma  m 2 r
dt
ภาพ (5.7) แสดงผูส้ งั เกตสองคน Alice ซึ่งหยุดนิ่ง และ Lisa หมุนไปพร้อมกับโลก

ภาพ (5.7) แสดงการบินของผีเสื้ อเมื่อสังเกตโดยผูส้ งั เกต 2 คนด้วยกัน Lisa เป็ นผูส้ งั เกตที่กาํ ลังหมุน
ไปพร้อมกับโลก เธอสร้างกรอบอ้างอิงของตัวเอง และวัดพิกดั ได้เท่ากับ  x, y, z และบอก
ตําแหน่งของผีเสื้ อด้วย vector r


ตําแหน่งผีเสื้ อ วัดโดย Lisa r  x ˆi  y ˆj  z kˆ  ____________ (5.21)

ในมุมมองของ Lisa นั้น unit vector 1) ˆi ชี้ในแนวทิศใต้ 2) ˆj ชี้ในแนวทิศตะวันออก และ 3)
kˆ  พุง่ ขึ้นในแนวดิ่ง และเมื่อยึดเอาพิกดั  x, y, z   เป็ นตําแหน่ง Lisa ต้องเห็น
 dx dy dz   x d 2 y  d 2 z  
2
 , ,  และ  d , 2 , 2  เป็ นความเร็ วและความเร่ ง ในมุมมองของเธอ
 dt dt dt   dt 2
dt dt 

 dx ˆ dy ˆ dz ˆ


ความเร็ วผีเสื้ อ วัดโดย Lisa v  i  j  k ____________ (5.22)
dt dt dt

 d 2 x d 2 y d 2 z
ความเร่ งผีเสื้ อ วัดโดย Lisa a  2 ˆi  2 ˆj  2 kˆ  ________ (5.23)
dt dt dt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-32

ให้สงั เกตว่า ตําแหน่ง, ความเร็ ว, และ ความเร่ ง ดังในสมการ (5.21) - (5.23) ล้วนอิงอยูก่ บั unit
vector ˆi, ˆj, kˆ  ที่เป็ นเช่นนี้กเ็ พราะ vector ทั้งสามเป็ นตัวแทนของแกน x, y, z ที่ Lisa ใช้ในการ
สร้าง frame of reference นัน่ เอง

Alice ก็เป็ นผูส้ งั เกตอีกคนหนึ่ง เธอสร้างกรอบอ้างอิงของตนเองขึ้นมา และแทนตําแหน่งของผีเสื้ อ


ด้วย vector r


ตําแหน่งผีเสื้ อ วัดโดย Alice r  x ˆi  y ˆj  z kˆ __________________ (5.24)

พร้อมกันนั้น ความเร็ วและความเร่ งอยูใ่ นรู ปของ

 dx dy dz
ความเร็ วผีเสื้ อ วัดโดย Alice v  ˆi  ˆj  kˆ ____________ (5.25)
dt dt dt

 d 2x ˆ d 2 y ˆ d 2z ˆ
ความเร่ งผีเสื้ อ วัดโดย Alice a  2 i  2 j 2 k ________ (5.26)
dt dt dt

และเนื่องจาก Alice หยุดนิ่ง เธอสามารถเขียนกฎข้อ 2 ของ Newton

  d2 
Fnet  ma  m 2 r _______________________ (5.27)
dt


ซึ่ง Fnet เป็ นแรงลัพธ์ที่กระทํากับผีเสื้ อ ไม่วา่ จะเป็ นแรงโน้มถ่วง หรื อแรงลมที่เป่ าอยูอ่ ย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ Lisa ซึ่งอยูใ่ นถานะของ non-inertia coordinate หรื อผูส้ งั เกตที่มี

ความเร่ ง ดังนั้น Fnet  ma

อย่างไรก็ตาม Lisa สามารถสร้างสมการของการเคลื่อนที่ดว้ ยวิธีทางอ้อม โดยการใช้สมการ


(5.27) ของ Alice เป็ นจุดเริ่ มต้น และใช้การเคลื่อนที่สมั พัทธ์ระหว่างผูส้ งั เกตทั้งสอง ดังที่เราศึกษา
มาแล้วในหัวข้อที่ผา่ นมา เป็ นตัวเชื่อมโยงไปถึง Lisa ในที่สุด

จากภาพ (5.7) จะเห็นว่า

  
r  R  r

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-33

หาอนุพนั ธ์อนั ดับหนึ่งเทียบกับเวลา ทําให้

d  d  d 
r  R  r
dt dt dt


ข้างต้นจะพบว่า R นั้นมีการหมุนควงด้วย angular velocity ω นอกจากนี้ผลลัพธ์จากแบบฝึ กหัดที่
d   dx ˆ dy ˆ dz  ˆ   
ผ่านมา เราพบว่า r   i  j  k    ω  r เพราะฉะนั้นแล้ว
dt  dt dt dt 

d     dx ˆ dy ˆ dz  ˆ   
r  ωR   i  j  k    ω  r
dt  dt dt dt 

เพื่อจะนําไปสู่เทอมทางขวามือของสมการ (5.27) หาอนุพนั ธ์เทียบกับเวลาอีกครั้ง

d 2   d  d  dx ˆ dy ˆ dz  ˆ   d 
r  ω R   i  j  k    ω  r
dt 2 dt dt  dt dt dt  dt

สมการข้างต้นประกอบด้วย 3 เทอมด้วยกัน

   
1) ω   d R   ω  ω  R 
 dt 
 
  d     dx ˆ dy ˆ dz ˆ        
2) ω   r   ω   i  j  k   ω  r    ω  v  ω   ω  r  
 dt  dt
  dt dt  

 v 
d  dx ˆ dy ˆ dz  ˆ  d x ˆ d y ˆ d 2 z  ˆ dx d ˆ dy d ˆ dz  d ˆ
2 2
3)  i  j  k    2 i  2 j  2 k   i  j  k
dt  dt dt dt   dt dt
 dt dt dt
 dt dt dt dt

   
a ωˆi ωˆj ωkˆ 
  dx ˆ  dy ˆ  dz ˆ
 a  ω  i  ω  j  ω  k
dt dt dt
   dx ˆ dy ˆ dz  ˆ    
 a  ω   i  j  k    a  ω  v 
dt
 dt
 dt 

v

ดังนั้นเมื่อรวมผลลัพธ์ท้ งั 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-34

d 2   d  d  dx ˆ dy ˆ dz  ˆ   d 
r  ω R   i  j  k    ω  r
dt 2  dt 
 dt  dt dt dt
  dt

(1) (3) (2)
          
ω  ω  R   a  ω  v   ω  v  ω   ω  r  

หรื ออีกนัยหนึ่ง

       
a  a  ω  ω   R  r    2ω  v _______________________ (5.28)

ข้างต้นนี้เอง คือความสัมพันธ์ระหว่างความเร่ ง a ที่วดั ได้โดย Alice และความเร่ ง a ที่วดั ได้โดย


Lisa สังเกตว่า ถ้า ω  0 กล่าวคือโลกหยุดหมุนรอบตัวเอง จะทําให้ความเร่ งที่วดั ได้โดยผูส้ งั เกต
ทั้งสอง มีค่าเท่ากัน

แทนสมการข้างต้น ในกฎข้อ 2 ของ Newton ที่เขียนขึ้นโดย Alice ดังในสมการ (5.27) ทําให้

        
Fnet  ma  ma  mω  ω   R  r    2mω  v

จัดรู ปให้มีความละม้ายคล้ายกับ กฎข้อ 2 ของ Newton ที่เขียนขึ้นโดย Lisa

       
Fnet  mω  ω   R  r    2mω  v  ma

หรื ออีกนัยหนึ่ง

   
Rotating Coordinate Feffective  ma เมื่อ Feffective  Fnet  Ffictitious
_______________________ (5.29)
เมื่อ
 
Rotating Coordinate Ffictitious  mω  ω   R  r  2mω  v 
_______________________ (5.30)

สมการ (5.29) และ สมการ (5.30) นี้เองเป็ นหัวใจสําคัญในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ ของผูส้ งั เกตบน


ผิวโลก ทุกคนที่เฝ้ ามองการเคลื่อนไหวของเมฆบนท้องฟ้ า การบินของนกในอากาศ หรื อแม้กระทัง่
วิธีกระสุ นปื นใหญ่ระยะไกลหลายร้อยกิโลเมตร ในความพยายามที่จะเขียนสมการเพื่ออธิบายการ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-35

เคลื่อนที่เหล่านี้โดยอาศัยกระบวนการทางคณิ ตศาสตร์

นอกจากแรงลัพธ์ที่มีอยูจ่ ริ งอาทิแรงโน้มถ่วงของโลก หรื อ แรงลมที่พดั อยูอ่ ย่างต่อเนื่องแล้ว ผู ้


 
สังเกตยังจะสังเกตเห็นดูประหนึ่งว่า มีแรง Ffictitious  mω  ω   R  r  2mω  v  ที่คอย
กระทํากับวัตถุในขณะที่กาํ ลังเคลื่อนที่ แรงอันนี้เองเป็ นแรงเสมือนที่มิได้มีอยูจ่ ริ ง หากแต่เป็ น
ภาพลวงตาอันเนื่องมาจากการที่ผสู ้ งั เกตมีความเร่ ง และหมุนไปพร้อมกับโลกนัน่ เอง


อย่างไรก็ตาม การที่จะเข้าใจธรรมชาติของแรง Ffictitious ดังในสมการ (5.30) ให้ลึกซึ่งไปกว่าผิวที่
ฉาบฉวยของคณิ ตศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ จะสังเกตว่าประกอบด้วย 2 เทอมด้วยกันคือ
     
 mω  ω   R  r   เรี ยกว่า "Centrifugal Force" และ 2mω  v เรี ยกว่า "Coriolis Force" ซึ่ ง

จะได้ขยายความในลําดับต่อไป

Centrifugal Force - แรงหนีศูนย์ กลาง



เทอมแรกที่ปรากฏใน Ffictitious ดังสมการ (5.30) มีชื่อเรี ยกว่า centrifugal force หรื อ "แรงหนี
ศูนย์กลาง"

    
Fcentrifugal   mω  ω   R  r   _______________________ (5.31)

  
ω×(ω×r) สมมุติ ให้ วตั ถุหมุน ตามเข็มนาฬิ กา
  
(ω×r) จะได้ ว่า ω มีทศิ ชี้เข้ าในกระดาน

 ทําให้ Fcentrifugal ชี้ออกจากศูนย์ กลาง
r

x ω


ที่มาของชื่อ ที่เรี ยกว่าแรงหนีศูนย์กลางนั้น สามารถตีความได้วา่ มาจากทิศทางของแรง Fcentrifugal
ที่พงุ่ ออกจากจุดศูนย์กลางของการหมุนนัน่ เอง จากภาพข้างต้น วัตถุกาํ ลังหมุนตามเข็มนาฬิกา
เพราะฉะนั้นทิศทางของ angular velocity ω มีทิศพุง่ เข้าสู่กระดาน สมมุติวา่ รัศมีของการหมุนเป็ น

ศูนย์ หรื อ R  0 และกําหนดให้ตาํ แหน่งของวัตถุที่กาํ ลังหมุนแทนด้วย vector r

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-36


เมื่อเป็ นเช่นนี้ ผูส้ งั เกตจะเห็นว่า มีแรงเสมือน Fcentrifugal  mω  ω  r ซึ่งจากการใช้กฎมือ
ขวาของ cross product จะมีทิศทางออกจากจุดศูนย์กลางของการหมุนเสมอ

ตัวอย่ างโจทย์
ในการศึกษาเรื่ อง rotating observer ปรากฏว่า Lisa ซึ่งกําลังหมุนด้วย angular velocity ω วัด
เส้นทางการบินของผีเสื้ อเป็ นแบบก้นหอยดังภาพ ทั้งๆที่ Alice ซึ่งหยุดนิ่ง สังเกตเห็นผีเสื้ อบินเป็ น

เส้นตรง จงอธิบายเส้นทางดังกล่าวว่าสอดคล้องกับ Fcentrifugal อย่างไร
ĵ ˆj


 r  u 0 t sinωt ˆi  u 0 t cosωt ˆj
r  u 0 t ˆj

î ˆi
Alice Lisa
วิธีทาํ Lisa ถือเป็ นผูส้ งั เกตประเภท rotating coordinate ซึ่งจะเห็นเป็ นภาพลวงตาของ fictitious

force Ffictitious ดังแสดงในสมการ (5.30)

โดยที่เทอมแรก มีลกั ษณะเป็ น "แรงหนีศูนย์กลาง" นี้เอง Lisa จึงมองดูประหนึ่งว่าผีเสื้ อบินออกห่าง


จากจุดกําเนิดมากขึ้น มากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับลักษณะของรู ปก้นหอยนัน่ เอง ตอบ


ω
โดยทัว่ ไปแล้ว เมื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่
Lisa ของวัตถุจากมุมมองของผูส้ งั เกตที่ผวิ โลก
 

r R ก็คือ vector ที่ลากจากใจกลางของโลก
R 
มายังผูส้ งั เกต ซึ่งมีขนาด R  6360 km
ตก ออก หรื อ รัศมีของเปลือกโลกนัน่ เอง ในขณะที่
Alice 
r คือตําแหน่ งของผีเสื้ อ เมื่อให้ผส
ู ้ งั เกตบน
ผิวโลกเป็ นจุดกําเนิด

ด้วยขนาดอันมหาศาลของรัศมีของโลกเมื่อเปรี ยบเทียบกับ r นี้เอง ทําให้เราประมาณได้วา่


  
R  r  R เพราะฉะนั้น แรงหนี ศน ู ย์กลางในสมการ (5.31) จึงลดรู ปหรื อเพียง
   
Fcentrifugal   mω×ω×  R  ซึ่ งเป็ นค่าคงที่ และ ไม่ข้ น
ึ กับตําแหน่งของวัตถุที่กาํ ลังเคลื่อนที่

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-37

Coriolis Force

เทอมที่สองซึ่งปรากฏใน Ffictitious ดังสมการ (5.30) มีชื่อเรี ยกว่า coriolis force ซึ่งอยูใ่ นรู ปของ

  
Fcoriolis  2mω  v _______________________ (5.32)

เนื่องจากเป็ นแรงที่ยงั ไม่ได้มีการเอ่ยถึงในเนื้อหาของวิชาฟิ สิ กส์เบื้องต้น นักศึกษาอาจจะยังไม่


คุน้ เคยกับแรงที่ชื่อว่า "coriolis force" ดังกล่าว

เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของ coriolis force ได้ชดั เจนยิง่ ขึ้น พิจารณามดซึ่งอยูใ่ นถานะของผูส้ งั เกต


เฝ้ ามองการเคลื่อนที่ของใบไม้ที่ปลิวตามแรงลมในบริ เวณขั้วโลกใต้ ดังแสดงในภาพ

  
ω  v v
(เซซ้ าย)


x ω

บริเวณขั้วโลกใต้

เมื่อมองจากซีกโลกใต้ จะเห็น angular velocity ω ในทิศพุง่ เข้าสู่กระดาน ดังแสดงด้วยสัญลักษณ์



 สมมุติให้ในขณะนั้น ใบไม้มีความเร็ ว v ซึ่ งเป็ นความเร็ วที่มดสังเกตเห็น

อาศัยกฎมือขวาของ cross product   ω  v  จะต้องชี้ในทิศตั้งฉากกับความเร็ ว 


v โดยฉีก
ออกไปทางซ้ายของทิศทางการเคลื่อนที่เสมอ ดังแสดงในภาพ


เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณา Fcoriolis  2mω  v  (ซึ่งเป็ นแรงเสมือนที่มดคิดเอาเองว่ากําลัง
กระทํากับใบไม้น้ นั ) ในกรณี ของวัตถุที่เคลื่อนที่อยูบ่ ริ เวณซีกโลกใต้ คงจะไม่ผดิ นัก ที่เราจะ
บัญญัติศพั ท์เป็ นภาษาไทยว่า "แรงเซซ้าย"

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-38

  
Fcoriolis  2mω  v "แรงเซซ้าย" ในบริ เวณซีกโลกใต้
"แรงเซขวา" ในบริ เวณซีกโลกเหนือ
_______________________ (5.33)

กล่าวคือ เมื่อวัตถุกาํ ลังเคลื่อนที่ในทิศทางที่แทนด้วย vector v  ซึ่งแสดงความเร็ว จะดูประหนึ่ง


ว่ามีแรงมาคอยทําให้วตั ถุดงั กล่าว เซออกไปทางซ้ายอย่างต่อเนื่อง นี้เองเป็ นคุณลักษณะของ
coriolis force

ในทํานองเดียวกันกับวัตถุที่เคลื่อนที่บริ เวณซีกโลกเหนือ เพียงแต่ในคราวนี้ ทิศทางของ angular


velocity ω จะมีทิศพุง่ ออกจากกระดาน ส่ งผลให้ coriolis force มีลกั ษณะเป็ นแรงเซขวา ดังสรุ ป
ในสมการ (5.33)

ตัวอย่ างโจทย์
ในการศึกษาเรื่ อง rotating observer ปรากฏว่า Lisa ซึ่งกําลังหมุนด้วย angular velocity ω ในทิศ
ทวนเข็มนาฬิกา วัดเส้นทางการบินของผีเสื้ อเป็ นแบบก้นหอยดังภาพ ทั้งๆที่ Alice ซึ่งหยุดนิ่ง

สังเกตเห็นผีเสื้ อบินเป็ นเส้นตรง จงอธิบายเส้นทางดังกล่าวว่าสอดคล้องกับ Fcoriolis อย่างไร
ĵ ˆj


 r  u 0 t sinωt ˆi  u 0 t cosωt ˆj
r  u 0 t ˆj

î ˆi
Alice Lisa
วิธีทาํ Lisa ถือเป็ นผูส้ งั เกตประเภท rotating coordinate ซึ่งจะเห็นเป็ นภาพลวงตาของ fictitious

force Ffictitious ดังแสดงในสมการ (5.30)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-39

Coriolis ˆj
CoriolisForce
Force--แรงเซขวา
แรงเซขวา 
ω  TOP VIEW


ω v
Lisa หมุนรอบตัวเอง 
v
kˆ 
ˆi
ˆj

 ˆi

Alice หยุดนิ่ง เซออกขวาของทิศการเคลือ่ นที่ Lisa

ดังแสดงในภาพ เมื่อทําการวาดทิศทางของ angular velocity ω ลงบนภาพ TOP VIEW ของเส้นทาง


การบินที่สงั เกตเห็นโดย Lisa จะพบว่ามีทิศชี้ออกจากกระดาน เมื่อเป็ นเช่นนี้ coriolis force จะมี
สภาพคล้ายกับในกรณี ของซีกโลกเหนือ กล่าวคือเป็ นลักษณะของแรง เซขวา

Lisa มองเห็นแรงเสมือนในทิศที่พยายามทําให้ผเี สื้ อ เซออกขวามือของการเคลื่อนที่ อย่างต่อเนื่อง


ทําให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุนวนไปด้านขวา ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของก้นหอย ตอบ

มาถึงขั้นนี้ จําเป็ นต้องเน้นยํ้าอีกครั้งว่า 1) centrifugal force หรื อ แรงหนีศูนย์กลาง 2) coriolis


force หรื อ แรงเซ ล้วนเป็ นแรงเสมือนที่ผสู ้ งั เกตซึ่งมีความเร่ งอย่าง rotating coordinate ทึกทักว่า
ปรากฏอยู่ เพื่อที่จะสามารถใช้ทาํ นายและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุในมุมมองของผูส้ งั เกต
เหล่านี้

ผลกระทบของแรง coriolis force ที่เห็นชัดเจนมากที่สุดอันหนึ่งก็คือการเกิดพายุ cyclone และ พายุ


hurricane ซึ่งทําให้สามารถอธิบายได้วา่ เหตุใดพายุหมุนที่เกิดในซีกโลกเหนือ จึงมีทิศทางการหมุน
วน ตรงกันข้ามกับที่เกิดในซีกโลกใต้เสมอ ดังแสดงในภาพ (5.8) ซึ่งอธิบายกลไกการเกิดพายุ
cyclone Monica เหนือประเทศ Australia

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-40

“เซซ้ าย”

“เซซ้ าย”
หย่ อมความกดอากาศตํ

า่
x ω
“เซซ้ าย”
“เซซ้ าย”
Cyclone Monica in Australia
ความเร็วลม 250 km/hour
บริเวณซีกโลกใต้
ภาพ (5.8) แสดงกระบวนการเกิดพายุ cyclone เนื่องจาก coriolis force

1) เมื่อเกิดหย่อมความกดอากาศตํ่าในบริ เวณซีกโลกใต้ ทําให้โมเลกุลของอากาศโดยรอบซึ่งมีความ


ดันอากาศที่สูงกว่า พุง่ เข้าสู่บริ เวณหย่อมความกดอากาศตํ่า

2) ในขณะที่ความเร็ ว v  พุง่ เข้ามาในแนวรัศมีน้ นั เกิด coriolis force ทําให้เกิดการ "เซซ้าย"

3) เมื่อโมเลกุลของอากาศโดยรอบ ต่างก็เซออกด้านซ้ายของตน (คล้ายๆกับการเวียนเทียนในเทศ


การเข้าพรรษา) ส่ งผลให้เกิดการหมุนวนของอากาศ ทําให้เกิดใจกลางของพายุข้ ึน

พายุ cyclone ที่ก่อตัวขึ้นในบริ เวณซีกโลกใต้ จะมีการหมุนวนของพายุในทิศตรงกันข้าม กับพายุที่ก่อ


ตัวขึ้นในบริ เวณซีกโลกเหนือ


ทั้งนี้เนื่องมาจากแรงเสมือน Fcoriolis มีลกั ษณะเป็ นแรงเซซ้าย ในบริ เวณซีกโลกใต้ แต่มีลกั ษณะเซ
ขวา ในบริ เวณซีกโลกเหนือ ส่ งผลให้ความเร็ วลมโดยรอบดวงตาของพายุ มีการหมุนในทิศตรงกัน
ข้าม ดังแสดงในภาพ (5.9)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-41

Cyclone Monica in Australia Hurricane Katrina in


ความเร็วลม 250 km/hour America
ภาพ (5.9) แสดงทิศทางของพายุ cyclone บริ เวณซีกโลกใต้ และ hurricane บริ เวณซีกโลกเหนือ

ω
ตัวอย่ างโจทย์
เหนือ kˆ 
ผูส้ งั เกตที่อยูบ่ นผิวโลก ณ ตําแหน่ง ละติจูด λ
ˆj ได้สงั เกตเห็นก้อนหิ นมวล m หล่นลงมาจาก
P
 หอคอยที่ระยะความสูง h จากจุดหยุดนิ่ง
R
Lisa เนื่องจากการหมุนของโลก ทําให้กอ้ นหินตกลง
ตก λ ˆi ออก ณ ตําแหน่งที่เบี่ยงเบนไปจากจุดเป้ าหมายใน
Alice แนวดิ่งเป็ นระยะทาง d จงพิสูจน์วา่
3
1  2h  2
d  ωcosλg  
3  g 
ใต้

วิธีทาํ ดังแสดงในภาพ เมื่อโลกหมุน vector ω จะมีทิศทางชี้ในแนวเหนือใต้ และ มีขนาดเท่ากับ


1 rad
ω=  7.27  105 rad sec นอกจากนี้ เมื่อผูส้ งั เกตอยู่ ณ ตําแหน่ง ละติจูด λ
24  60  60 sec
เธอสามารถที่จะกําหนดกรอบอ้างอิง โดยให้แกน z เป็ นแนวดิ่ง และแกน y ชี้ไปในทิศ
ตะวันออก

ในมุมมองของผูส้ งั เกต เมื่อใช้กรอบอ้างอิงตามแนว unit vector ˆi , ˆj , และ kˆ  ที่กาํ หนดขึ้น เธอ
สามารถเขียน vector ω ได้วา่

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-42

 ωcosλ 
 
ω =  0  ________________________________ (E.1)
  ωsinλ 

ทั้งนี้เมื่อก้อนหิ น หล่นลงมาจากความสู ง h มันย่อมมีความเร่ ง ทําให้อตั ราเร็ วในแนวดิ่งเพิ่มขึ้น


เรื่ อยๆ ดังนั้น ความเร็ วของก้อนหินก็คือ

 0 
  
v   0  ________________________________ (E.2)
 gt 

จะเห็นว่า ความเร็ วในสมการ (E.2) ข้างต้น มีองค์ประกอบตามแนวแกน x และ แกน y เป็ นศูนย์
ทั้งนี้กเ็ พราะ ในมุมมองของผูส้ งั เกต เราประมาณว่าก้อนหิ นหล่นลงมาในแนวดิ่ง นอกจากนี้
อัตราเร็ วตามแนวแกน z มีค่าเป็ นลบ นัน่ ก็เพราะว่า ก้อนหิ นกําลังหล่นลงมานัน่ เอง

ในเมื่อผูส้ งั เกตอยูบ่ นผิวโลก ดังนั้นจึงหมุนไปพร้อมๆกับโลก เราสรุ ปได้วา่ ผูส้ งั เกตมีความเร่ ง ซึ่ง


ถ้าหากจะมีการเขียนสมการของ Newton แล้ว เธอจําเป็ นจะต้องคํานวณหา effective force หรื อแรง
ลัพธ์ยงั ผล โดยในกรณี น้ ี มีค่าเท่ากับ

   
Feffective = Fnet +Fcentrifugal +Fcoriolis ___________________ (E.4)

  
โดยที่ Fcentrifugal  mω  ω   R  r และ Fcoriolis =  2m  ω ×v  เนื่องจาก
ω  7.27 105 rad sec ที่ปรากฏใน coriolis force มีค่าน้อยมาก ทําให้เทอม centrifugal force
ซึ่งปรากฏเทอม ω  ω มีค่าน้อยลงไปอีก เพราะ ω2  5.29 109 rad sec ดังนั้นเราจะตัดผล
ของ centrifugal force ออกจากการวิเคราะห์ และคงเทอม coriolis force ไว้เท่านั้น

  
Fcoriolis =  2m  ω×v  _________________________ (E.4)

และเมื่อแทน angular velocity ω ในสมการ (E.1) และความเร็ ว 


v ในสมการ (E.2) ในสมการของ

Fcoriolis ข้างต้น จะได้วา่

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-43

 ωcosλ   0 
  
Fcoriolis =  2m  ω×v   2m  0  ×  0 
 ωsinλ  -gt 
ซึ่งลดรู ปเหลือเพียง
 0 

Fcoriolis   2mωcosλgt 

 0 

ให้สงั เกตว่า coriolis force ข้างต้น ชี้ในทิศ  y ซึ่งก็คือทิศตะวันออก ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับแรงลัพธ์


 
Fnet อันเนื่ องมากจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทําให้เกิดเป็ นแรงลัพธ์ยงั ผล หรื อ Feffective ซึ่ งจะมีผล
จริ งในทางปฏิบตั ิคือ

 0   0   0 
   
Feffective = Fnet + Fcentrifugal +Fcoriolis   0    2mωcosλgt    2mωcosλgt 
    

ignored  mg   0    mg 

_________________________ (E.5)

และ rotating coordinate ดังกล่าว สามารถเขียนสมการที่ละม้ายคล้ายกับกฎข้อ 2 ของ Newton


 
Feffective = ma เพราะฉะนั้นความเร่ ง

 0 
 
a   2ωcosλgt 
  g 

ทั้งนี้เมื่อเราแยกพิจารณาเฉพาะแกน y จะได้วา่

a  2ωcosλgt

โดยเราจะละไว้ในถานที่เข้าใจว่า กําลังพิจารณาองค์ประกอบตามแนวแกน y ที่ช้ ีในทิศตะวันออก


ซึ่งถ้าทําการ integrate หนึ่งครั้ง

d
a  v  2ωcosλgt
dt
v(t)=  dt 2ωcosλgt

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-44

ดังนั้นความเร็วตามแนวแกน y คือ

v(t)=ωcosλgt 2

และเมื่อทําการ integrate อีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้ระยะทางตามแนวแกน y ที่เป็ นฟังชันก์ของเวลา

d
v(t)= y(t)=ωcosλgt 2
dt
y(t)=  dt ωcosλgt 2
ดังนั้น
1
y(t)= ωcosλgt 3 _________________________ (E.6)
3

ข้างต้นนี้เอง คือระยะที่เบี่ยงเบนไปในแนวทิศตะวันออก เมื่อวัตถุหล่นจากความสูง h จะเห็นว่า


เมื่อเวลาผ่านไปนานเท่าใด ระยะเบี่ยงเบนดังกล่าวก็มากขึ้นเท่านั้น และในการตกอิสระจากความสู ง
h นั้น วัตถุจะใช้เวลาอยูใ่ นอากาศเท่ากับ t = 2h g เพราะฉะนั้น เมื่อผนวกเข้ากับสมการ (E.6)
จะได้วา่

3
1  2h  2
d  ωcosλg   ตอบ
3  g 


ω จุจุดดapple
appleตกดิ
ตกดินนเบนไปทางตะวั
เบนไปทางตะวันนออกเล็
ออกเล็กกน้น้ออยย!!
เหนือ แนวดิง่

ตก ออก

และจากสมการข้างต้น สมมุติความสู งเป็ น 100 เมตร ณ ตําแหน่ง latitude ที่ 45 องศาเหนือ ระยะ
เบี่ยงเบนจะมีค่าเท่ากับ 1.55 เซนติเมตรโดยประมาณ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-45

แบบฝึ กหัด 5.4 ยิงกระสุ นมวล m ขึ้นตรงในแนวดิ่งไปที่ความสูง h ณ ตําแหน่งบนผิวโลกที่


latitude  องศาเหนือ จงแสดงให้เห็นว่า เมื่อตกกลับลงมายังพื้น จุดกระทบพื้นจะเบี่ยงเบนออก
8h3
จากจุดยิงเป็ นระยะทาง d  4 ω cos  ไปทางทิศตะวันตก
3 g

ในตัวอย่างโจทย์ที่ผา่ นมา ในกรณี การหมุนของโลก เราได้ทาํ การประมาณโดยตัดผลของแรง


    
Fcentrifugal   mω  ω   R  r   ออกจากการพิจารณา และคงไว้เฉพาะแรง
  
Fcoriolis =  2m  ω×v  โดยอ้างเหตุผลว่า angular velocity ω ที่โลกหมุนรอบตนเองนั้น มีขนาด
เล็กมาก

อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่เราไม่สามารถตัด centrifugal force ออกไป เพราะการหมุนนั้น สร้างขึ้น


โดยเครื่ องจักรหรื อมอเตอร์ ทําให้ ω มีค่าสูงอยูพ่ อสมควร ดังจะได้แสดงในตัวอย่างโจทย์
ต่อไปนี้

ตัวอย่ างโจทย์
จานหมุนมีมวล m วางอยูห่ ่ างจากจุดศูนย์กลางของการหมุนเท่ากับ r ด้วยมีความเสี ยดทานวัตถุ
หมุนไปพร้อมกับจาน ปรากฏว่าวัตถุจะเริ่ มไถลก็ต่อเมื่อ ความเร็ วเชิงมุมของการหมุนมีค่าเท่ากับ
ωmax (หมุนเร็ วเกินไป) จงหาสัมประสิ ทธิ์ แรงเสี ยดทานสถิต  s ระหว่างจานหมุนกับมวล
คํานวณในมุมมองของผูส้ งั เกตทั้งสองคน a) Alice และ b) Lisa

ω
SIDE
SIDEVIEW
VIEW
มวล m


วิธีทาํ a) ในมุมมองของ Alice ซึ่งก็คือผูส้ งั เกตที่หยุดนิ่ง เธอสามารถเขียนสมการ Fnet  ma
จากภาพวัตถุเคลื่อนที่เป็ นวงกลม เพราะฉะนั้น a  ω  ω  r ซึ่งมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง และมีขนาด
เท่ากับ ω2r

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-46

SIDE
SIDEVIEW
VIEW N

f มองเห็นมวล m เคลือ่ นทีเ่ ป็ นวงกลม


Alice หยุดนิ่ง mg


ความเร่ งย่อมเป็ นผลลัพธ์ ที่เกิดจากการที่มี Fnet มากระทํา ซึ่งในที่น้ ี มีตน้ ตอมาจากแรงเสี ยดทาน
นัน่ เอง อาศัยกฎข้อ 2 ของ Newton จะได้วา่ ขนาดของแรงเสี ยดทานต้องเท่ากับ

f  mω2 r _____________________________ (E.1)

สังเกตว่าเมื่อหมุนเร็ วขึ้น ขนาดของแรงเสี ยดทานที่จะต้องมาคอยตรึ งมวล m ต้องมีค่าเพิ่มขึ้น


จนถึงค่าอัตราเร็ วเชิงมุม ωmax ปรากฏว่าแรงเสี ยดทานสถิต ไม่สามารถมีค่ามากไปกว่านี้อีกแล้ว
เรี ยกจุดวิกฤติน้ ีวา่

f max   s N เมื่อ N  mg
ดังนั้น จากสมการ (E.1)
2
f max  mωmax r
 s mg  mω2max r
หรื อ
ω2max r
s  ตอบ
g

วิธีทาํ b) ในมุมองของ Lisa ซึ่งหมุนรอบตัวเองไปพร้อมกับจาน ด้วย angular velocity ω และ



สมมุติให้ จุดกําเนิดของ Lisa และ Alice ซ้อนทับกันพอดี ดังนั้น R  0

Lisa หมุนรอบตัวเอง
มองเห็นมวล m หยุดนิ่ง N

หมายเหตุ: เป็ นภาพลวงตาเพราะ f Fcentrifugal


Lisa คือ Non Inertia Coordinate
mg

ในมุมมองของ Lisa เนื่องจากเธอเห็นมวล m หยุดนิ่ง (เพราะตัวเองก็หมุนไปพร้อมกับจาน)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-47

เพราะฉะนั้นแล้ว

 
v  0 และ a  0

เนื่องจาก Lisa เป็ น non-inertia coordinate จึงจําเป็ นต้องสร้างสมการในรู ปของ

 
Feffective  ma ____________________________ (E.2)

   
เมื่อ Feffective  Fnet  Fcentrifugal  Fcoriolis ซึ่งจะได้แจกแจงดังต่อไปนี้

   
Fnet เป็ นผลมาจาก 1) นํ้าหนัก W 2) แรง normal N และ 3) แรงเสี ยดทาน f เนื่องจากนํ้าหนัก
และ normal force หักล้างกันพอดี เฉพาะแรงเสี ยดทานเท่านั้น ทําให้เกิดแรงลัพธ์

    
Fcentrifugal   mω  ω   R  r   ซึ่งมีทิศหนีศนู ย์กลาง และมีขนาด mω2r

  
Fcoriolis =  2m  ω×v  มีค่าเป็ นศูนย์ เพราะในมุมมองของ Lisa v   0

ทั้งนี้เมื่อรวมแรงทั้งสาม เข้าไปในสมการ (E.2) จะทําให้


   
f  Fcentrifugal  Fcoriolis  ma  0

0


เนื่องจาก Lisa เห็นมวล m นั้นหยุดนิ่งหรื อ a  0 เธอต้องเห็นแรงเสี ยดทาน f ต้องหักล้างกับ

Fcentrifugal ซึ่ งเมื่อสังเกตจากแผนภาพข้างต้น เราสรุ ปได้วา่

2
f max  mωmax r
 s mg  mω2max r
หรื อ
ω2max r
s  ตอบ
g

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-48

ตัวอย่างโจทย์ขา้ งต้น แสดงให้เห็นถึงตรรกะที่แตกต่างกันระหว่าง Alice และ Lisa เมื่อสังเกตมวล m


ที่วางอยูบ่ นจานหมุน (ทั้งๆที่ในท้ายที่สุด นําไปสู่ ผลลัพธ์อนั เดียวกัน)

1) ตรรกะของ Alice มวล m เคลื่อนที่เป็ นวงกลมไปพร้อมกับจานที่กาํ ลังหมุน แรงเสี ยดทาน


ทําให้เกิดความเร่ งเข้าสู่ศูนย์กลาง

2) ตรรกะของ Lisa สังเกตเห็นมวล m หยุดนิ่ง ดังนั้นความเร่ งเป็ นศูนย์ นัน่ หมายถึง แรง

ลัพธ์ยงั ผลในทางปฏิบตั ิ Feffective  0 เพราะฉะนั้นแรงเสี ยดทาน ต้อง
หักล้างกับแรงหนีศูนย์กลาง (ซึ่งต้องยํ้าว่าเป็ นแรงเทียม)

ตัวอย่ างโจทย์
แก้วรู ปทรงกระบอกมีน้ าํ บรรจุอยู่ เอาช้อนคนจนนํ้าหมุนวนด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω จงพิสูจน์ให้
เห็นว่า ผิวนํ้าจะโค้งตัวขึ้นเป็ นรู ป parabola ดังแสดงในภาพ

คน

y

x

วิธีทาํ สมมุติให้น้ าํ ขณะกําลังหมุน และขอบของมัน แทนด้วยฟังชันก์ y  y( x) อันดับต่อไป


เราจะพิสูจน์วา่ y( x) เป็ นฟังชันก์รูป parabola นอกจากนี้สงั เกตว่า

dy
slope ของกราฟ y( x) มีค่าเท่ากับ ____________________ (E.1)
dx


พิจารณาโมเลกุล H 2O ที่อยูบ่ นผิวนอกสุ ดของผิวนํ้า มีแรง normal force N ที่กระทํากับโมเลกุล
ดังกล่าว ดังแสดงในภาพ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-49

 
แสดง Fnet ทีก่ ระทํากับโมเลกุลของนํา้ แสดง Feffective
y y( x) 
 slope  dy  N Ny
N dx N 
 
x Fcentrifugal Nx
mg y mg
slope  tan   N x
x Ny
Lisa หมุนพร้ อมกับนํา้


กําหนดให้แนวของ slope ทํามุม  กับแนวราบ ดังนั้น slope  tan  นอกจากนี้เมื่อแตกแรง N
Nx
ออกเป็ นองค์ประกอบในแนวราบและแนวตั้ง จะได้วา่  tan  เพราะฉะนั้นเราสรุ ปได้วา่
Ny

slope  N x ______________________________ (E.2)


Ny

ในมุมมองของ Lisa ซึ่งเป็ นผูส้ งั เกตที่หมุนไปพร้อมกับนํ้า ย่อมสังเกตเห็นโมเลกุลดังกล่าวหยุดนิ่ง



หรื อ v   0 และ a  0 และเมื่อเธอวิเคราะห์แรง Feffective  ma  0 ก็ตอ้ งเป็ นศูนย์ดว้ ย
เช่นกัน


จากภาพ แรง Feffective ประกอบด้วย


1) แรงลัพธ์ Fnet ซึ่งมาจากแรง normal force และ นํ้าหนัก

 
2) centrifugal Fcentrifugal  mω  ω   R  r  หรื อ แรงหนีศูนย์กลาง ซึ่งมีทิศชี้ออกจากแกน
ของการหมุน และ มีขนาดเท่ากับ ω2 x เพราะ x คือระยะห่างจากแกนการหมุนมายังโมเลกุล
ดังกล่าว


3) coriolis ซึ่งในที่น้ ีมีค่าเท่ากับศูนย์ เพราะ v  0
 Ny
Feffective  0
และเมื่อวาดเป็ นแผนภาพแสดงแรงทั้งหมด ในมุมมองของ
2
mω x Lisa ทําให้ เราบอกได้วา่ N x  mω2 x และ N y  mg
Nx
เพราะฉะนั้นจากสมการ (E.2)
mg
Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-50

mω2 x ω2 x
slope = N x  
Ny mg g

ซึ่งเมื่อผนวกกับสมการ (E.1) ทําให้เราได้ความสัมพันธ์

dy ω2 x
 ____________________________ (E.3)
dx g

สมการข้างต้นนี้เอง คือเครื่ องมือที่สาํ คัญในการหาฟังชันก์ y  y( x) ด้วยการ integrate

ω 2 x
 dy   g
dx

ω2 2
y  x  C
2g

เมื่อ C คือค่าคงที่ของการ integrate ซึ่งก็ข้ ึนอยูก่ บั ปริ มาตรของนํ้าที่มีอยูเ่ ดิม ดังแสดงในภาพ

y
ω2 2
y( x)  x  C
2g

y  C
x

ω2 2
จะอย่างไรก็ตาม การที่ y แปรผันกับ x ดังสมการ y  x  C นั้น หมายความว่า รู ปร่ าง
2g
ของผิวนํ้า มีลกั ษณะเป็ น parabola ตอบ

แบบฝึ กหัด 5.5 จากตัวอย่างโจทย์ของการคนนํ้าในแก้วที่ผา่ นมา พิสูจน์แนวความโค้งว่าเป็ นรู ป


parabola โดยกําหนดให้ผสู ้ งั เกตคือ Alice ซึ่งหยุดนิ่ง และเห็นโมเลกุลของนํ้าเคลื่อนที่เป็ นวงกลม

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-51

Section 5.6 Foucault Pendulum


ในปี ค.ศ. 1851 นักฟิ สิ กส์ชาวฝรั่งเศส Jean-Bernard-Leon Foucault ได้คิดค้นการทดลองที่แสดงให้
เห็นว่า แท้จริ งแล้วโลกมีการหมุนรอบตนเอง การทดลองดังกล่าวประกอบด้วยลูกตุม้ ที่แกว่งไป
มาอย่างต่อเนื่องเป็ นเวลานานกว่า 24 ชัว่ โมง และระนาบของการแกว่ง ดังแสดงในภาพ (5.10)a จะ
มีการหมุนอย่างช้าๆ ตามช่วงเวลาของวัน

แนวดิง่
เช้ าตรู่

ระนาบการแกว่ ง

ใต้

ตะวันตก San Diego Natural Museum


(a) (b)
ภาพ (5.10) a) แสดงระนาบการแกว่ง ของลูกตุม้ ซึ่งจะมีการหมุนอย่างช้าๆ ตามช่วงเวลา
ของวัน b) นิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์ San Diego ในประเทศ สหรัฐอเมริ กา เมื่อระนาบ
ของการแกว่งมาตรงกับแผ่นไม้พอดี ก็จะตีให้มนั ล้มลงไป เพื่อเป็ นการแสดงว่า ระนาบมี
การหมุนอย่างช้าๆ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจัดให้ลูกตุม้ แกว่งในแนว เหนือ-ใต้ ในตอนเช้าตรู่ และปล่อยให้มนั แกว่งอย่าง


ต่อเนื่อง ในช่วงบ่ายเมื่อมาสังเกตอีกครั้ง มันอาจจะแกว่งในแนว ตะวันออก-ตะวันตก และระนาบ
ของการแกว่งก็จะมีการหมุนอย่างช้าๆ เช่นนี้ จนวนมาครบ 1 รอบ กล่าวคือ ลูกตุม้ มาแกว่งในแนว
เหนือ-ใต้ เช่นเดิมเหมือนเมื่อครั้งที่เราจัดไว้ตอนต้นของการทดลอง

ดังแสดงในภาพ (5.10)b ซึ่งเป็ นนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์ San Diego ในประเทศสหรัฐอเมริ กา


ได้มีการตั้งแท่งไม้ไว้โดยรอบลูกตุม้ และเมื่อระนาบของการแกว่ง เบนมาอยูใ่ นแนวที่แผ่นไม้ต้ งั อยู่
ก็จะตีมนั ให้ลม้ ลงไป

การหมุนของระนาบดังกล่าว มีชื่อเรี ยกอีกอย่างหนึ่งว่า precession ของลูกตุม้ ซึ่งเวลาที่


precession ดังกล่าวมาครบ 1 รอบพอดี หรื อ "คาบการ precession" นั้น ขึ้นอยูก่ บั ตําแหน่งบนผิว
โลกของลูกตุม้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกตุม้ ตั้งอยู่ ณ บริ เวณ ขั้วโลกเหนือพอดี คาบของการ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-52

precession มีค่าเท่ากับ 24 ชัว่ โมง ใน latitude ที่ต่าํ ลงมา อาทิเช่น ลูกตุม้ ที่ต้ งั อยู่ ณ ภาควิชาฟิ สิ กส์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมี latitude ที่ 16 องศา 30 ลิปดา ระนาบการแกว่ง หมุน
ครบ 1 รอบ ใช้เวลาถึงประมาณ 85 ชัว่ โมง

การทดลองที่ใช้ลูกตุม้ หรื อ pendulum ในลักษณะดังกล่าวนี้เอง มีชื่อเรี ยกว่า Foucault Pendulum


ดังแสดงในภาพ (5.2) ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ได้วา่

24
คาบการ precession ของ Foucault Pendulum T hours ___________ (5.34)
sin 

เมื่อ  คือ latitude ของจุดที่ลูกตุม้ ตั้งอยู่ และเพื่อที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ดงั กล่าวได้ดียงิ่ ขึ้น


พิจารณาเส้นทางการเคลื่อนที่ของลูกตุม้ ที่ต้ งั อยู่ ในบริ เวณซีกโลกเหนือ ดังแสดงในภาพ

TOP
TOPVIEW
VIEW เซขวา เพราะ Coriolis Force

ตะวันออก

ใต้
เส้ นทางการเคลือ่ นที่
ภาพ (5.11) แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ของ Foucault Pendulum เมื่อมองจากด้านบน (TOP
VIEW) ลูกตุม้ มีการเบนออกขวาอยูอ่ ย่างสมํ่าเสมอ อันเนื่องมาจาก coriolis force

เมื่อมองจาก TOP VIEW ลูกตุม้ ที่กาํ ลังจะแกว่งจากทิศตะวันตก และเล็งตรงไปยังทิศตะวันออก ผู ้


สังเกตซึ่งยืนอยูบ่ นผิวโลก ย่อมสังเกตเห็นแรงเสมือนที่อยูใ่ นรู ปของ coriolis force ซึ่งในที่น้ ีเป็ น
แรงเซขวา เพราะการทดลองตั้งอยูใ่ นบริ เวณซีกโลกเหนือ ดังนั้น เมื่อลูกตุม้ แกว่งมาถึงยังอีกฟาก
หนึ่ง คือทิศตะวันออก มันเบนออกขวาเล็กน้อย ดังแสดงในภาพ (5.11)

การเบนออกขวาเล็กน้อย ทุกครั้งที่มนั แกว่งจากฟากหนึ่ง ข้ามมายังอีกฟากหนึ่งนี้เอง ทําให้เกิดการ


precession ของ pendulum ซึ่งเราสามารถพิสูจน์สมการ (5.34) ได้ดว้ ยการพิจารณาการเคลื่อนที่ใน
มุมมองของ Lisa ซึ่งเป็ นผูส้ งั เกตที่หมุนไปพร้อมกับโลก

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-53

kˆ 

ชูใจคือผู้สังเกต ทีก่ าํ ลังหมุน


ชู ใจ (เมือ่ เทียบกับ Lisa)
Lisa

R ˆj

ออก
Alice
Lisa
î ˆi ลูกตุ้ม
ภาพ (5.12) แสดงผูส้ งั เกต 2 คนคือ Lisa ซึ่งยืนอยูบ่ นผิวโลก และ ชูใจ ซึ่งเป็ นผูส้ งั เกตที่กาํ ลัง
หมุน เมื่อเทียบกับ Lisa ทั้งสองต่างก็กาํ ลังสังเกตการแกว่งของลูกตุม้

เพื่อที่จะแก้สมการทางคณิ ตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น เราจําเป็ นต้องสร้างผูส้ งั เกตขึ้นมาอีกคนหนึ่ง คือ "ชู


ใจ" ดังแสดงในภาพ (5.12) แสดงผูส้ งั เกต 2 คนคือ Lisa ซึ่งยืนอยูบ่ นผิวโลก และชูใจ ซึ่งเป็ นผู ้
สังเกตที่กาํ ลังหมุน เมื่อเทียบกับ Lisa ทั้งสองต่างก็กาํ ลังสังเกตการแกว่งของลูกตุม้

และเนื่องจากธรรมชาติของผูส้ งั เกตทั้งสองที่แตกต่างกัน พิกดั ของลูกตุม้ ที่วดั ได้โดย Lisa และ ชูใจ


ก็ยอ่ มต้องแตกต่างกัน ซึ่งจะได้เห็นในลําดับต่อไปว่า สมการการเคลื่อนที่ของลูกตุม้ ที่เขียนขึ้นโดย
Lisa จะมีความซับซ้อนอยูม่ าก เนื่องจากเราจําเป็ นต้องนําแรงต่างๆเข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย อาทิ แรง
โน้มถ่วง แรงตึงเชือก และ แรง coriolis

ในทางตรงกันข้าม สมการการเคลื่อนที่ซ่ ึงชูใจเขียนขึ้น จะมีความเรี ยบง่าย ส่ งผลให้เราสามารถหา


ผลเฉลยของสมการได้โดยทันที ในเบื้องต้นนี้ ลองพิจารณาการเคลื่อนที่ของลูกตุม้ ในมุมมองของ
Lisa ดังแสดงในภาพ (5.13)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-54


เชือกยาว L ลูกตุ้มตวัดขึน้ มาเป็ นมุม 
Lz
cos  
L 
x แตกแรงตึงเชือก
cos  sin  
L Tz  T cos 
y L  Tz
Tx  T sin  cos 
sin  sin   T
L
Ty  T sin  sin 

z
 x, y , z 
O
 Ty ĵ
P Tx Q (ทิศตะวันออก)
Lisa
î (ทิศใต้ )
L sin 
ภาพ (5.13) แสดงตําแหน่งของลูกตุม้ กําหนดให้เชือกยาว L เมื่อลูกตุม้ ห้อยในแนวดิ่ง วางจุด
กําเนิดไว้ตาํ แหน่งของลูกตุม้ พอดี และเมื่อมันตวัดขึ้นมาเป็ นมุม  มาอยู่ ณ พิกดั  x, y, z 

Equation of Motion ในมุมมองของ Lisa


ภาพ (5.13) แสดงพิกดั  x, y, z  ที่ Lisa ใช้ในการกํากับตําแหน่งของลูกตุม้ กําหนดให้เชือกยาว L
และเมื่อลูกตุม้ ห้อยในแนวดิ่ง วางจุดกําเนิดไว้ตาํ แหน่งของลูกตุม้ พอดี เมื่อมันตวัดขึ้นมาเป็ นมุม 
ก็จะมาอยู่ ณ พิกดั  x, y, z  เพราะฉะนั้น

Lz
cos  
L

และความยาว OQ มีค่าเท่ากับ L sin  ซึ่งเมื่อมองสามเหลี่ยม OPQ  ซึ่ งมี OQ เป็ นด้านตรงข้าม

มุมฉาก นัน่ ก็แสดงว่า x  OQ cos   L sin  cos  หรื ออีกนัยหนึ่ง

x
sin  cos  
L

ในทํานองเดียวกัน y  OQ sin   L sin  sin  หรื อ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-55

y
sin  sin  
L

สาเหตุที่ตอ้ งรวบรวมเอกลักษณ์ทางคณิ ตศาสตร์ที่เกี่ยวกับมุม  และ  ใน 3 สมการข้างต้นนั้น ก็



เพื่อเป็ นประโยชน์ในการแตกแรงตึงเชือก T ให้อยูใ่ นรู ปขององค์ประกอบ Tx , Ty , Tz  ซึ่งก็คือ

Lz
Tz  T cos   T
L
x
Tx  T sin  cos   T ____________________ (5.35)
L
y
Ty  T sin  sin   T
L

นอกจากแรงตึงเชือก ยังมีน้ าํ หนักในแนวดิ่งที่มีขนาดเท่ากับ mg ส่ งผลให้แรงลัพธ์อยูใ่ นรู ปของ

 x 
 T 
 Tx   L

    y 
Fnet   Ty  

T

____________________ (5.36)
 T  mg   L
 z  
 T L  z  mg 
 L 


เนื่องจาก Lisa หมุนไปพร้อมกับโลกจึงต้องนํา Fcoriolis เข้ามาร่ วมพิจารณาด้วย โดยในที่น้ ีเราจะ

ตัด Fcentrifugal ออกไป

 ω cos    x 
      
Fcoriolis  2mω  v  2m  0  y 
 ωsin    z 
   

dx dy dz
ซึ่งในการใช้สญ
ั ลักษณ์ขา้ งต้น กําหนดให้ x  , y  , z  คือความเร็ วของลูกตุม้ ที่
dt dt dt
สังเกตเห็นโดย Lisa ดังนั้น

 2mωy sin  
  
Fcoriolis   2mωx sin   2mωz cos   ____________________ (5.37)
 2mωy cos  
 

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-56

 
เมื่อรวม Fnet เข้ากับ Fcoriolis ก็จะได้แรงลัพธ์ยงั ผล

 x 
 T  2mωy sin  
L
 
   y
Feffective  Fnet  Fcoriolis  T  2mωx sin   2mωz cos  

 L 
 
 T L  z  mg  2mωy cos  
 L 

อย่างไรก็ตาม ถ้าสมมุติใช้เชือกมีความยาวมาก และลูกตุม้ แกว่งอย่างแผ่วเบา แสดงว่ามุม  ของ


การแกว่งมีค่าน้อย ส่ งผลให้โดยประมาณแล้ว ลูกตุม้ อยูแ่ ต่เฉพาะในระนาบ xy ดังนั้น

พิกดั z0 และ z  0


มีผลให้ Feffective ลดรู ปเหลือเพียง

 x 
 T L  2mωy sin  
 
 y
Feffective  T  2mωx sin  
 ____________________ (5.38)
 L 
 
 T  mg  2mωy cos  
 


ทําให้ Lisa สามารถสร้างสมการให้อยูใ่ นรู ปของ Feffective  ma หรื อ

 x 
 T L  2mωy sin  
   
x
y
 T  2mωx sin    m   
 y
 L 
    
T  mg  2 mω 
y cos  z
 
 

ทั้งนี้ เนื่องจากเราสนใจเฉพาะ pattern ของการแกว่งในระนาบ xy ลองพิจารณาสมการของการ


เคลื่อนที่ เฉพาะในแนวแกน x และแกน y ดังในสมการข้างต้น

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-57

 T 
x
  x  2  ωsin   y
 mL 
 T 
y
  y  2  ωsin   x
 mL 

ทั้ง 2 สมการข้างต้นนั้น มีความซับซ้อนอยูพ่ อสมควร ทั้งนี้เพราะขนาดของแรงตึงเชือก T ย่อม


เปลี่ยนแปลงตามตําแหน่งของลูกตุม้ ในขณะที่กาํ ลังแกว่ง เพื่อที่จะพอมีโอกาสในการแก้สมการอยู่
บ้าง เราจะสมมุติให้ลูกตุม้ แกว่งออกมาจากจุดสมดุลเพียงเล็กน้อย แทบจะเรี ยกได้วา่ เชือกตั้งชัน
อยูใ่ นแนวดิ่ง จึงประมาณได้วา่ T  mg เพราะฉะนั้นสมการทั้ง 2 ข้างต้น อยูใ่ นรู ปของ

x   2 x  2ω z y

Equation of Motion ในมุมมองของ Lisa 2
เมื่อ  2  g และ ω z  ωsin 
y   y  2ω z x
 L
_________________________________ (5.39)

Equation of Motion
x   2 x  2ω z y
 kˆ  Equation of Motion
k̂ x  ω2 x  0

2
y   y  2ω z x

y  0
ณ เวลา t = 0 ผลักลูกตุ้มไปทาง î
 x  0, y  0, x  u 0 , y  0 
ˆj

ชู ใจคือผู้สังเกต ที่กาํ ลังหมุน
  x, y, z 
Lisa (เมื่อเทียบกับ Lisa)

î   ω z  ωsin 
ˆi  x, y, z
ภาพ (5.14) แสดง equation of motion ในมุมมองของ Lisa ที่มีลกั ษณะเป็ น coupled differential
equation ในขณะที่สมการที่ชูใจเขียนขึ้นได้ อยูใ่ นรู ปของ simple harmonic ธรรมดา

สมการ (5.39) นี้เองคือ equation of motion ที่ Lisa สามารถเขียนขึ้น เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของ


ลูกตุม้ แน่นอนว่าลําดับต่อไปก็คือการใช้เทคนิควิธีทางคณิ ตศาสตร์เพือ่ แก้สมการหาผลเฉลย
x(t ), y (t ) ซึ่ งในท้ายที่สุดแล้วก็จะสะท้อนให้เห็นถึงการแกว่งของลูกตุม้ และการที่ระนาบของการ
แกว่งมีการหมุนอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงในภาพ (5.11)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-58

อย่างไรก็ตามสมการข้างต้น ยังมีความซับซ้อนเกินกว่าจะแก้หาผลเฉลยได้อย่างตรงไปตรงมา
เนื่องจากมีลกั ษณะเป็ น coupled differential equation กล่าวคือเป็ นสมการอนุพนั ธ์ที่มีท้ งั ตัวแปร x
และ y รวมอยูใ่ นสมการเดียวกัน

Equation of Motion ในมุมมองของ ชู ใจ


เพื่อที่จะทําให้สมการอยูใ่ นรู ปที่เรี ยบง่ายยิง่ ขึ้น พิจารณาสมการของการเคลื่อนที่ในมุมมองของชูใจ
ดังแสดงในภาพ (5.14) เธอเขียนสมการ การเคลื่อนที่ของลูกตุม้ ในรู ปของ simple harmonic
oscillation ในแนวแกน x ซึ่งหมายถึงในมุมมองชูใจ เธอสังเกตเห็นลูกตุม้ แกว่งซ้ายขวาเฉพาะ
ในแนวแกน x โดยที่ระนาบของการแกว่างมิได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

และก่อนที่เราจะได้วิเคราะห์โดยกระบวนการทางคณิ ตศาสตร์ เราจะอภิปรายว่าเหตุใดชูใจถึงได้


สังเกตเห็นการเคลื่อนที่ของลูกตุม้ ในลักษณะของ simple harmonic oscillation ธรรมดา แม้วา่ Lisa
ซึ่งยืนอยูบ่ นผิวโลก จะเห็นระนาบของการแกว่างหมุนวนอย่างช้าๆ

ถ้ากําหนดให้ชูใจเป็ นผูส้ งั เกตที่กาํ ลังหมุน (เมื่อเทียบกับ Lisa) และยังกําหนดต่อไปอีกว่า การหมุน


ของชูใจนั้น หมุนไปพร้อมกันกับระนาบของลูกตุม้ Foucault พอดี จึงไม่น่าแปลกที่ในมุมมองของชู
ใจแล้ว เธอเห็นเพียงลูกตุม้ กวัดแกว่งซ้ายขวา แต่เพียงเท่านั้น นี้เองคือยุทธศาสตร์การวิเคราะห์
โจทย์ของ Foucault Pendulum ซึ่งเราจะต้องคํานวณให้ได้วา่ ชูใจควรจะหมุนรอบตนเองด้วย
อัตราเร็ วเชิงมุมเท่าใด

ในเนื้อหาของ Section 5.3 Rotating Observer เราได้ศึกษาผูส้ งั เกต 2 คนเคลื่อนที่สมั พัทธ์ซ่ ึงกันและ
กัน 1) ผูห้ นึ่งยืนนิ่งวัดพิกดั ของวัตถุดว้ ย  x, y  ซึ่งในที่น้ ีคือ Lisa 2) อีกผูห้ นึ่งหมุนด้วยอัตราเร็ ว
เชิงมุม   d และวัดพิกดั ของวัตถุดว้ ย  x, y ซึ่งในที่น้ ีคือ ชูใจ โดยที่
dt

x  x cos   y sin 
__________________________ (5.40)
y  x sin   y cos 

และในลําดับต่อไปเราจะใช้ความสัมพันธ์ขา้ งต้น ผนวกกับสมการ (5.39) ซึ่งอธิบายการเคลื่อนที่ของ


ลูกตุม้ ในมุมมองของ Lisa เพื่อเขียน equation of motion ในมุมมองของชูใจ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-59

จากสมการ (5.40) เมื่อทําการหาอนุพนั ธ์เทียบกับเวลาทั้งสองข้างของสมการ จะได้วา่

x  x  cos   y  sin    x sin    y cos 


_______________ (5.41)
y  x  sin   y  cos    x cos    y sin 

d
โดยที่เราใช้สญ
ั ลักษณ์ dot  และเมื่อ differentiate อีกครั้งเทียบกับเวลา
dt

y sin   2 x  sin   2 y  cos    2 x cos    2 y sin 


x cos   
x  
 ____ (5.42)
และ
y cos   2 x cos   2 y  sin    2 x sin    2 y cos 
x sin   
y  
 ____ (5.43)

สาเหตุที่ตอ้ งคํานวณ x, y , x, y ดังในสมการ (5.41) , (5.42) , และ (5.43) ก็เพราะเทอมเหล่านี้
ปรากฏใน equation of motion ที่ Lisa เขียนขึ้น แทน x , x , และ y ในสมการ (5.39)

 x cos  y sin   2x sin   2 y  cos  2 x cos  2 y sin  

 2  x cos   y sin     2ω z x  sin   y  cos    x cos    y sin  

ซึ่งก็ยงั เป็ นสมการที่ซบั ซ้อนอยูท่ ีเดียว ดังแสดงในภาพ (5.14)  คือมุมที่แกน ˆi ของชูใจ กระทํา
กับแกน î ของ Lisa ในขณะที่ชูใจกําลังหมุน แนวความคิดก็คือเราจะกําหนดให้ชูใจหมุนไปกับ
ระนาบของ Foucault Pendulum ซึ่งในกรณี น้ ีเป็ นการหมุนตามเข็มนาฬิกา ถ้ากําหนดให้

d
   ω z ____________________________ (5.44)
dt

จะทําให้สมการที่ดูซบั ซ้อนข้างต้น ลดรู ปเหลือเพียง

 
   
x   2  ω2z x cos    
  
y   2  ω2z y sin   0

_________ (5.45)

แบบฝึ กหัด 5.6 แทน y , y , และ x ในสมการ (5.39) และแสดงให้เห็นว่า


 
   
x   2  ω2z x sin    
  
y   2  ω2z y cos   0

_________ (5.46)

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-60

และในท้ายที่สุด พิจารณา สมการ (5.45)  cos  + สมการ (5.46)  sin  :

x  ω2 x  0
 เมื่อ ω2   2  ω2z  _________________ (5.47)

และในทํานองเดียวกัน สมการ (5.46)  cos  - สมการ (5.45)  sin  :

y  ω2 y  0
 เมื่อ ω2   2  ω2z  _________________ (5.48)

สมการ (5.47) และ (5.48) ทั้งสองข้างต้นเป็ น equation of motion ของลูกตุม้ ในมุมมองของชูใจ ซึ่ง
นักศึกษาที่มีความรู ้ดา้ น differential equation อยูบ่ า้ ง ย่อมเล็งเห็นได้ชดั ว่า ผลเฉลยของสมการอยู่
ในรู ปของ simple harmonic oscillation

x(t )  A sin(ωt  1 ) และ y(t )  B sin(ωt   2 )

โดยที่ค่าคงที่ A, B ย่อมขึ้นอยูก่ บั เงื่อนไขเริ่ มต้นของการเคลื่อนที่ ซึ่งถ้าเราสมมุติให้

ณ เวลา t = 0: x  0, y  0, x  u 0 , y  0 _________________ (5.49)

กล่าวคือ จัดให้ลูกตุม้ ห้อยหยุดนิ่งอยูอ่ ย่างสมดุลในแนวดิ่ง  x  0, y  0  และ ณ เวลาเริ่ มต้น


ผลักมันด้วยอัตราเร็ ว u 0 ไปทางทิศใต้  x  u 0 , y  0  และความเร็ วเริ่ มต้นนี้เอง ที่ผลักให้ลูกตุม้
แกว่งอยูอ่ ย่างต่อเนื่อง ในมุมมองของ Lisa

ในมุมมองของชูใจ เราสามารถใช้ความสัมพันธ์ดงั ในสมการ (5.40) และ สมการ (5.41) ในการ


เปลี่ยนเงื่อนไขเริ่ มต้น  x, y, x, y    x, y, x, y   ได้วา่

ณ เวลา t = 0: x  0, y  0, x   u 0 , y   0 _________________ (5.50)

คราวนี้ใช้เงื่อนไขเริ่ มต้น y  0, y   0 กับสมการที่ชูใจสร้างขึ้นในแนวแกน ˆj ของเธอ กล่าวคือ


y  ω2 y  0 นี้ เป็ นสมการ simple harmonic oscillation คล้ายกับสปริ งที่สามารถสั่นกลับไป

กลับมาอย่างต่อเนื่อง แต่เงื่อนไข y  0, y   0 ณ เวลา t=0 ย่อมหมายถึงสปริ งดังกล่าว ทั้งหยุด
นิ่ง และ ทั้งอยู่ ณ ตําแหน่งสมดุล ณ เวลาเริ่ มต้น มันย่อมหยุดนิ่งอยูอ่ ย่างนั้นตลอดไป หรื ออีกนัย

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-61

หนึ่ง

y  0 _______________________________ (5.51)

สมการ x  ω2 x  0 และ y  0 นี้เองถือเป็ น equation of motion ในมุมมองของชูใจ ดังแสดงใน


ภาพ (5.14) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในมุมมองของชูใจแล้ว ลูกตุม้ มีการสัน่ ในระนาบเดียวเท่านั้น
โดยที่ระนาบของการสัน่ ดังกล่าวมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของวัน ดังเช่นที่ Lisa สังเกตเห็น
แต่อย่างใด

ที่เป็ นเช่นนี้ ก็เพราะเราสมมุติให้ ชูใจหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็ว   ω z  ωsin ดังใน


สมการ (5.44) ทั้งนี้กต็ รงกับยุทธศาสตร์การวิเคราะห์โจทย์ของ Foucault Pendulum ที่เราได้วางไว้
แต่แรก ดังนั้นสรุ ปได้วา่

ระนาบของ Foucault Pendulum หมุนด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ωsin


_______________________________ (5.52)

ซึ่งก็สอดคล้องกับสมการ (5.34) ที่เราตั้งปณิ ธานในการพิสูจน์ไว้ต้ งั แต่ตน้

ตัวอย่ างโจทย์
เขียนผลเฉลยการเคลื่อนที่ x(t ), y (t ) ในมุมมองของ Lisa ถ้ากําหนดให้เงื่อนไขเริ่ มต้น
x  0, y  0, x  u 0 , y  0 พร้อมทั้งวาดกราฟแสดงเส้นทางการเคลื่อนที่

วิธีทาํ ขั้นแรกเขียนผลเฉลย ในมุมมองของชูใจ จากเงื่อนไขเริ่ มต้น


x(t ), y(t )
x  0, y  0, x   u 0 , y   0 โดยเฉพาะอย่างยิง่ x  0 เมื่อผนวกกับสมการ
x(t )  A sin(ωt  1 ) แสดงว่า 1  0 ดังนั้น

x(t )  A sin(ωt )
เมื่อ ω   2  ω2z ___________________ (E.1)
y(t )  0

นอกจากนี้ x  Aω cos(ωt ) ซึ่งเมื่อแทน t  0 ทําให้ทราบว่า u 0  Aω หรื อ

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-62

u0
x(t )  sin(ωt )
ω __________________________ (E.2)
y(t )  0

ขั้นสุ ดท้ายคือการเปลี่ยนจาก x(t ), y(t ) ในสมการ (E.2) ให้อยูใ่ นรู ปของ x(t ), y (t ) โดยอาศัย
สมการ (5.40) ซึ่งจะได้วา่

u0
x sin(ωt ) cos  ω z t 
ω g
เมื่อ ω   2  ω2z , ω z  ωsin ,   ตอบ
u L
y  0 sin(ωt ) sin  ω z t 
ω

สมมุติให้ ω  8ω z จะได้กราฟแสดงการเคลื่อนที่ของลูกตุม้ Foucault ในระนาบ xy ดังต่อไปนี้

Solutions
y u0
x sin(ωt ) cos  ω z t 
ω
u
y  0 sin(ωt ) sin  ω z t 
ω
x
Initial Condition
x  0, y  0, x  u 0 , y  0

Section 5.7 บทสรุป


ผูส้ งั เกตที่กาํ ลังหมุนไปพร้อมกับโลก เป็ นอีกหนึ่งตัวอย่างของ rotating coordinate ที่เราได้ศึกษาใน
บทนี้ ในการวิเคราะห์วตั ถุที่กาํ ลังหมุน เราได้นิยามปริ มาณทางฟิ สิ กส์ที่เรี ยกว่า "angular velocity"
ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์


ω คือ angular velocity vector ที่มี ขนาด แสดงถึงอัตราเร็ วเชิงมุม
ทิศทาง แสดงถึงแกนของการหมุน

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-63

ในขณะที่วตั ถุมีการหมุนด้วย angular velocity นั้น ω vector แสดงตําแหน่ง r ย่อมมีการหมุน


ควงและเปลี่ยนแปลงกับเวลา ส่ งผลให้วตั ถุมีความเร็ วความเร็ วดังสมการ

  
v  ω r

อาทิเช่น angular velocity ω ที่แสดงการหมุนของโลก เป็ น vector ที่ช้ ีจากขั้วโลกใต้ ไปยังขั้วโลก


2
เหนือ และมีขนาดเท่ากับ ω =  7.27 105 radian sec
24  60  60

นอกจาก vector แสดงตําแหน่ง r ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา อันเนื่องมาจากการหมุนแล้ว


vector q ใดๆก็มีความสัมพันธ์ในทํานองเดียวกัน กล่าวคือ


dq  
 ω q เมื่อ q คือ vector ที่หมุนควงด้วย angular velocity ω
dt


อาทิเช่น Lisa ซึ่งเป็ นผูส้ งั เกตที่ยนื บนผิวโลก ณ มุม latitude  โดยที่ R คือ vector ที่ลากจากใจ
กลางของโลก มายังจุดที่ Lisa ยืนอยู่ เธอสามารถตั้ง unit vector ˆi, ˆj, kˆ  เป็ นตัวแทนของแกนทั้ง 3
ที่ใช้เป็ นกรอบอ้างอิงในการอธิบายตําแหน่งของวัตถุ ˆi ชี้ในแนวทิศใต้ ˆj พุง่ ตรงไปทิศ
ตะวันออก ในขณะที่ kˆ  ชี้ข้ ึนท้องฟ้ าในแนวดิ่ง

เมื่อโลกหมุนรอบตนเอง แกนทั้ง 3 ของ Lisa ดังกล่าวก็ยอ่ มต้องหมุนควงด้วย angular velocity ω


เช่นกัน ส่ งผลให้

d ˆ  ˆ d ˆ  ˆ d ˆ  d   
i  ω  i j  ω  j k   ω  kˆ  และ R  ωR
dt dt dt dt


  dv
นอกจากความเร็ ว แล้ว เรายังได้ศึกษาถึงความเร่ ง
v a ซึ่งในกรณี ของวัตถุที่เคลื่อนที่เป็ น
dt
วงกลมด้วยอัตราเร็ วเชิงมุมสมํ่าเสมอนั้น

   
ความเร่ งสู่ศูนย์กลาง a  ω  ω  r 

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-64


 d 2r
ให้สงั เกตว่า ความเร่ งก็คืออนุพนั ธ์อนั ดับสองเทียบกับเวลา หรื อ a 2 และจะนําไปสู่
dt
ความสัมพันธ์ที่วา่


d 2q
2
  
 ω  ω  q  เมื่อ q คือ vector ที่หมุนควงด้วย angular velocity ω
dt

และเพื่อที่จะให้นกั ศึกษาได้เข้าใจธรรมชาติการเคลื่อนที่แบบวงกลมได้ดียงิ่ ขึ้น เราใช้เวลาส่ วนหนึ่ง


ในการวิเคราะห์เรื่ อง "อาถรรพ์แรงหนีศนู ย์กลาง" และสรุ ปว่า

"แรงหนีศนู ย์กลาง" เป็ นเพียงภาพลวงตาที่ไม่มีอยูจ่ ริ ง

เราได้เริ่ มรู ้จกั กับการหมุนของผูส้ งั เกต โดยใช้แบบจําลองอย่างง่ายที่เรี ยกว่า rotating observer ใน


Section 5.3 โดยที่ Alice ซึ่งหยุดนิ่ง มีจุดกําเนิดซ้อนทับกับพอดีกบั Lisa ซึ่งก็เป็ นผูส้ งั เกตที่กาํ ลัง
หมุนรอบตนเอง ด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม ω  d
dt

ในกรณี น้ ี เราพบว่าพิกดั  x, y, z  ที่ Alice วัดตําแหน่งของวัตถุที่เธอกําลังสังเกตการเคลื่อนที่อยูน่ ้ นั


สัมพันธ์อยูก่ บั พิกดั  x, y, z ซึ่งวัดโดย Lisa ดังสมการ

x  x cos   y sin 
y  x sin   y cos  เมื่อ   ωt
z  z

เอกลักษณ์ทางคณิ ตศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเร็ ว และความเร่ ง ตลอดจนแบบจําลองอย่างง่ายของ


rotating observer ที่ผา่ นมานั้น ล้วนเป็ นพื้นฐานสําคัญที่จะทําให้สามารถเข้าใจกระบวนการ
วิเคราะห์ทางคณิ ตศาสตร์ของผูส้ งั เกตที่มีลกั ษณะพิเศษที่เราเรี ยกว่า "non-inertia coordinate"

ผูส้ งั เกตที่มิได้เคลื่อนที่ดว้ ยความเร็ วคงที่สมํ่าเสมอ หากแต่มีความเร่ ง อาทิเช่น Lisa ที่ยนื อยูบ่ น


พื้นดินและหมุนไปพร้อมกับโลก มีชื่อเรี ยกว่า non-inertia coordinate ซึ่งผูส้ งั เกตที่อยูใ่ นภาวะ
เช่นนี้มีขอ้ เสี ยที่สาํ คัญก็คือ

Fnet  ma เมื่อผูส้ งั เกตมีความเร่ ง

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-65

ด้วยเหตุน้ ี Lisa จึงพยายามเขียนสมการที่ละม้ายคล้ายกับ กฎข้อ 2 ของ Newton ให้อยูใ่ นรู ปของ

 
Non Inertia Coordinate Feffective = m a

   
เมื่อ Feffective = Fnet + Ffictitious โดยที่ Ffictitious คือแรงเสมือนหรื อแรงเทียม ที่ผสู ้ งั เกตจะ

มองเห็นประหนึ่งว่ามันกําลังกระทํากับวัตถุ นอกเหนือไปจากแรงลัพธ์ Fnet ที่มีอยูแ่ ล้วตามปกติ


เนื่องจาก Ffictitious เป็ นเพียงภาพลวงตาที่มีตน้ ตอมาจากการที่ผสู ้ งั เกตเอง เคลื่อนที่แบบมีความเร่ ง

Ffictitious จึงมีรูปแบบทางคณิ ตศาสตร์ แตกต่างกันออกไปตามธรรมชาติการเคลื่อนที่ของผูส ้ งั เกต
เอง

อาทิเช่น Lisa ที่ยนื อยูบ่ นผิวโลก ณ มุม latitude  ในกรณี เช่นนี้

      
Ffictitious   mω  ω   R  r    2mω  v

ทั้งสองเทอมที่ปรากฏในสมการของแรงเสมือนข้างต้น ก็คือแรงที่ผสู ้ งั เกตทุกคนบนโลกจะต้อง



นํามาพิจารณาในการสร้างสมการของการเคลื่อนที่ Feffective = m a โดยที่เทอมแรก

    
แรงหนีศูนย์กลาง Fcentrifugal   mω  ω   R  r  

และ เทอมสุ ดท้าย

  
Fcoriolis  2mω  v "แรงเซซ้าย" ในบริ เวณซีกโลกใต้
"แรงเซขวา" ในบริ เวณซีกโลกเหนือ

โดยเฉพาะอย่างยิง่ แรง coriolis หรื อที่เราตั้งชื่อเพื่อช่วยในการจดจําว่า "แรงเซ" นั้น มีบทบาทในการ


นําปาประยุกต์ใช้อธิบาย การเคลื่อนที่ของพายุหมุนในชั้นบรรยากาศ การยิงกระสุ นปื นใหญ่ใน
ระยะไกล และ การเบี่ยงเบนของ projectile อันเนื่องมาจากการหมุนของโลกเป็ นต้น

และในท้ายที่สุด เราได้นาํ แรง coriolis มาศึกษาการแกว่งของลูกตุม้ ที่เรี ยกว่า Foucault Pendulum ที่
ระนาบของการแกว่งมีการหมุนอย่างช้าๆ หรื อที่เรี ยกว่า precession อันเนื่องมาจากการหมุนรอบ
ตนเองของโลก

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011
Classical Mechanics ระดับอุดมศึกษา 5 Rotating Coordinate 5-66

โดยใช้เทคนิคพิเศษ กล่าวคือสร้างผูส้ งั เกตที่ชื่อว่า "ชูใจ" ที่กาํ ลังหมุนรอบตัวเอง ขณะที่กาํ ลังสังเกต


การแกว่งของลูกตุม้ เราพิสูจน์ให้เห็นว่า

24
คาบการ precession ของ Foucault Pendulum T hours
sin 

Section 5.8 ปัญหาท้ ายบท


แบบฝึ กหัด 5.7 ยิงกระสุ นมวล m ในแนวทิศตะวันออก ด้วยอัตราเร็ วต้น u และ มุมเงย  จง
แสดงให้เห็นว่า เป้ าจะเบนออกจากแนวเหนือใต้ เป็ นระยะทาง
4u 3
d 2
ωsin  sin 2  cos 
g
เมื่อ  คือตําแหน่ง latitude องศาเหนือ และ ω คืออัตราเร็ วเชิงมุมของโลกหมุนรอบตัวเอง

แบบฝึ กหัด 5.8 แก้วทรงกระบอกรัศมี r มีน้ าํ บรรจุอยู่ เอาช้อนคนจนนํ้าหมุนด้วยอัตราเร็ วเชิงมุม


่ ู งกว่าระดับนํ้าเดิมก่อนการคนเท่าใด
ω ปรากฏว่านํ้าโค้งขึ้นเป็ นรู ป parabola ขอบด้านบนอยูส
คน

y

x

เฉลย  ωr 
2

4g

แบบฝึ กหัด 5.9 พายุในบริ เวณซีกโลกใต้ เป็ นแรงเซซ้าย ทําให้อากาศหมุนวนตามเข็มนาฬิกา ใน


ขณะเดียวกัน ตัวอย่างโจทย์ของ rotating observer เป็ นแรงเซขวา Lisa เป็ นผีเสื้ อบินด้วยเส้นทาง
แบบก้นหอย ตามเข็มนาฬิกา จงอภิปราย
บอกใบ้ ในกรณี ของพายุ มีแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง ชี้เข้าบริ เวณความกดอากาศตํ่า

Dr. Teepanis Chachiyo ภาควิชาฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น teepanis@kku.ac.th Draft Feb 2011

You might also like