You are on page 1of 4

อัมริสา จันทนะศิริ • นักวิชาการอาวุโส สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท. • e-mail: amcha@ipst.ac.

th รอบรูค
้ ณิต

ตรีโกณมิติกับ
ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติมีความส�ำคัญมากในการศึกษาศาสตร์สาขาต่างๆ ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณต่างๆ ในธรรมชาติในหลายกรณีมีลักษณะคล้ายฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่
เป็นคาบ เมื่อสังเกตกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ จะพบว่า กราฟมีลักษณะซ�้ำกันเป็นช่วง ตัวอย่างเช่น กราฟของฟังก์ชันไซน์
และฟังก์ชันโคไซน์

ภาพ 1 กราฟของฟังก์ชันไซน์และฟังก์ชันโคไซน์

บทความนีจ้ ะเสนอการน�ำฟังก์ชนั ตรีโกณมิตไิ ปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ขา้ งขึน้ ข้างแรม ก่อนอืน่ เราต้องรูท้ มี่ า


ของปรากฏการณ์นี้ก่อน

21 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561


ดิถีของดวงจันทร์ (Phases of the moon)

ดิถีของดวงจันทร์หรือปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
และโคจรรอบโลก ท�ำให้คนบนโลกเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์แตกต่างกันไปในแต่ละคืน โดยดวงจันทร์
ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน การที่เราสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง แล้วส่วนสว่าง
ค่อยๆ ลดลงจนกระทัง่ มืดทัง้ ดวง เรียกช่วงดังกล่าวว่า ข้างแรม (Waning) วันทีด่ วงจันทร์มดื ทัง้ ดวง เรียกวันแรม 15 ค�ำ ่
หรือ จันทร์ดับ (New moon) ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นดวงจันทร์จะค่อยๆ
สว่างจนเต็มดวงอีกครั้ง เรียกช่วงนี้ว่า ข้างขึ้น (Waxing) โดยให้วันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวงเป็นวันขึ้น 15 ค�่ำ
หรือเรียกว่า จันทร์เพ็ญ (Full moon) ซึง่ เป็นวันทีด่ วงจันทร์โคจรมาอยูด่ า้ นตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนวันทีด่ วงจันทร์
เคลือ่ นทีท่ ำ� มุมฉากกับโลกและดวงอาทิตย์ จะท�ำให้เราเห็นดวงจันทร์สว่างครึง่ ดวง เรียกวันแรม 8 ค�ำ ่ หรือวันขึน้ 8 ค�ำ่

ขึ้น 7-8 ค�่ำ

แสงอาทิตย์

ขึ้น 15 ค�่ำ แรม 15 ค�่ำ

แรม 7-8 ค�่ำ

ภาพ 2 ส่วนสว่างของดวงจันทร์ ณ ต�ำแหน่งต่างๆ ขณะโคจรรอบโลก ภาพดวงจันทร์


ที่อยู่วงนอก เป็นภาพที่ผู้สังเกตบนโลกเห็น
สังเกตได้ว่า ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่ซ�้ำกันเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วง
ใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน ตามระยะเวลาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ หากเริ่มสังเกตจากวันแรม 15 ค�่ำ ซึ่งเป็นวันที่เรา
ไม่สามารถเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ วันต่อมาจะเป็นวันขึ้น 1 ค�่ำ และต่อมาจะเป็นวันขึ้น 2 ค�่ำ ไปเรื่อยๆ โดยส่วนสว่าง
ของดวงจันทร์ที่มองเห็นได้ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน จนถึงวันขึ้น 15 ค�่ำ ซึ่งเป็นวันที่เราเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง
ต่อจากนั้นวันต่อมาจะเป็นวันแรม 1 ค�่ำ และวันแรม 2 ค�่ำ ไปเรื่อยๆ โดยส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นได้จะลดลงไป
เรื่อยๆ ในแต่ละวัน จนถึงวันแรม 15 ค�่ำ
นิตยสาร สสวท
22
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมมีลักษณะเทียบเคียงได้กับพฤติกรรมของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งเป็น
ฟังก์ชันที่เป็นคาบดังที่กล่าวในตอนต้น ถ้าสมมติให้วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงกลม และก�ำหนดให้โลกอยู่ที่
จุดก�ำเนิด � ดวงจันทร์อยู่ที่จุด � ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด 􏶉 และ � แทนมุม ��􏶉 จะสามารถจ�ำลองการเกิดปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรมได้ดังรูป

ภาพ 3 กราฟจ�ำลองการเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม

หมายเหตุ สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.geogebra.org/m/TbT5zz75


เพื่อดูภาพเคลื่อนไหวของกราฟจ�ำลองปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม

โดยเมื่อเทียบกับภาพ 2 จะได้ว่า
เมื่อ x = 0 จะเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือวันแรม 15 ค�่ำ
π
เมื่อ 0 < x < π จะเป็นข้างขึ้น โดยเมื่อ x = จะเป็นวันขึ้น 8 ค�่ำ
2
เมื่อ x = π จะเป็นวันขึ้น 15 ค�่ำ

เมื่อ π < x < 2π จะเป็นข้างแรม โดยเมื่อ จะเป็
x= นวันแรม 8 ค�่ำ
2
( x ) 50 (1 − cos x ) เป็นฟังก์ชนั แสดงร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์ทสี่ ามารถ
ถ้าให้ f =
มองเห็นได้ จะสามารถเขียนกราฟของ f ได้ดังนี้

ภาพ 4 กราฟของฟังก์ชัน f
จะเห็นว่า โดเมนของฟังก์ชัน f คือ เซตของจ�ำนวนจริง เรนจ์ของฟังก์ชัน f คือ [0,100] คาบของฟังก์ชัน f
คือ 2π และแอมพลิจูดของฟังก์ชัน f คือ 50

23 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561


พิจารณาฟังก์ชัน f เมื่อ 0 ≤ x ≤ 2π
จะสามารถเขียนกราฟได้ดังนี้

ภาพ 5 กราฟของฟังก์ชัน f เมื่อ 0 ≤ x ≤ 2π


จากกราฟ จะเห็นว่า ในวันแรม 15 ค�่ำ ( x = 0 ) ร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่สามารถมองเห็นได้ เป็น 0
ซึ่งเป็นจุดต�่ำสุดของกราฟ ในวันขึ้น 8 ค�่ำ  x = π  และวันแรม 8 ค�่ำ  x = 3π  ร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่
 2  2 
สามารถมองเห็นได้ เป็น 50 และในวันขึ้น 15 ค�่ำ ( x = π ) ร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่สามารถมองเห็นได้ เป็น
100 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของกราฟ
ฟังก์ชัน f ช่วยให้เราสามารถค�ำนวณหาร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเราทราบ
ต�ำแหน่งของดวงจันทร์ในวันนั้น และในทางกลับกัน เราสามารถค�ำนวณหาต�ำแหน่งของดวงจันทร์ ถ้าเราทราบร้อยละของ
จาก x arccos 1 − ( )  เช่น ในวันที่ร้อยละของส่วนสว่างของดวงจันทร์
 f x 
ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่สามารถมองเห็นได้=
 50 
ที่สามารถมองเห็นได้เป็น 25 จะได้ว่า วันนั้นดวงจันทร์อยู่ในต�ำแหน่งที่มุม x เท่ากับ arccos 1 เมื่อพิจารณา x ∈ [0, 2π ]
2
π 5π
จะได้ x = (ในวันข้างขึ้น) หรือ x = (ในวันข้างแรม)
3 3

การน�ำฟังก์ชันตรีโกณมิติมาอธิบายปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมดังที่ได้แสดงข้างต้นนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียน
สามารถเข้าใจปรากฏการณ์ดงั กล่าวได้ดขี นึ้ แล้ว ยังจะท�ำให้ผเู้ รียนเห็นประโยชน์ของฟังก์ชนั ตรีโกณมิติ และเห็นความเชือ่ มโยง
ของคณิตศาสตร์กับชีวิตจริง ซึ่งจะช่วยให้การเรียนในชั้นเรียนน่าสนใจและไม่น่าเบื่อด้วย
นอกจากนี้ ฟังก์ชันตรีโกณมิติยังสามารถน�ำไปใช้ในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ได้อีกมาก เช่น ใช้ในการศึกษาเรื่องคลื่น
เสียงและคลืน่ แสงในวิชาฟิสกิ ส์ ใช้คาดการณ์อณ ุ หภูมใิ นฤดูกาลต่างๆ ในวิชาอุตนุ ยิ มวิทยา เป็นต้น หากผูส้ อนสามารถแสดง
ให้เห็นความเชือ่ มโยงของคณิตศาสตร์กบั ศาสตร์อนื่ ๆ และชีวติ จริงได้ ดังตัวอย่างในบทความนี้ จะช่วยให้ผเู้ รียนเห็นประโยชน์
ของคณิตศาสตร์ ซึง่ เป็นพืน้ ฐานส�ำคัญในการศึกษาศาสตร์อนื่ ๆ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิง่ เหล่านี้
จะช่วยจุดประกายความคิดของผูเ้ รียน และเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนคณิตศาสตร์ให้แก่ผเู้ รียนทีจ่ ะเติบโตเป็นก�ำลังส�ำคัญ
ในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

บรรณานุกรม
Frosty Drew Observatory & Sky Theatre. (October 1999). Phases of the Moon. Retrieved November 12, 2017,
from https://frostydrew.org/observatory/columns/1999/oct.htm.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2 กลุ่ม
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ เล่ม 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

นิตยสาร สสวท
24

You might also like