You are on page 1of 22

1 Introduction to Organic Chemistry

Outline
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอะตอม และโมเลกุล
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์
3. ประเภทของปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์
4. การเขียนแสดงกลไกการเกิดปฏิกิริยา
5. เทอร์โมไดนามิกกับการเกิดปฏิกิริยา
References
- Janice G. Smith, “Organic Chemistry”, 3rd edition, McGraw Hill (2011) [1]
- L.G. Wade, Jr., “Organic Chemistry”, 9th edition, Pearson Education (2017) [2]
- สำเนียง อภิสันติยาคม, “กลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์เบื้องต้น”, พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2016) [3]
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอะตอม และโมเลกุล (Atom and Molecule)
อะตอม (atom)
อะตอม เกิ ด ขึ ้ น จากการรวมกั น ของ โปรตอน (proton, p) นิ ว ตรอน (neutron, n) และ
อิเล็กตรอน (electron, e) โดยที่โปรตอน และอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่มีประจุ
o โปรตอนมีประจุบวก (positive charge) อิเล็กตรอนมีประจุลบ (negative charge)
- ทั้งสองอนุภาคจึงสามารถถูกเหนี่ยวนำในสนามไฟฟ้าได้ เมื่อมีสนามไฟฟ้าภายนอก และทั้งสอง
อนุภาคยังสามารถถูกเหนี่ยวนำในสนามแม่เหล็กได้
- โดยโปรตอนจะอยู่รวมกับนิวตรอนในนิวเคลียส ซึ่งอยู่ตรงกลางอะตอม และมีอิเล็กตรอนอยู่รอบ ๆ
อิเล็กตรอนที่อยู่บริเวณรอบ ๆ นิวเคลียสจะมีการจัดเรียงตัวให้มีพลังงานของระบบต่ำที่สุด กล่าวคือ
มีความเสถียร (stability) มากที่สุด
- การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอน (electron configuration) จะสามารถบ่งบอกถึงสมบัติบางประการ
ของอะตอมของธาตุนั้น ๆ ได้ เช่น สมบัติการถูกเหนี่ยวนำในสนามแม่เหล็ก
- โปรตอนในนิวเคลียสเองก็มีการจัดเรียงตัวเช่นเดียวกัน แต่ว่าอนุภาคทั้งหมดในนิวเคลียส (นิวคลีออน
, nucleon) สามารถเกิดการสับเปลี่ยนได้ระหว่างกัน
1
1 p 1
0 n + 0
1+ 1
0 n 1
1 p + 0
−1−
- อิเล็กตรอนจะโคจรอยู่รอบ ๆ นิวเคลียสด้วยค่าพลังงานหนึ่ง ๆ ที่แตกต่างกันไป แต่มีค่าที่แน่นอน
โดยที่อิเล็กตรอนที่อยู่บนระดับชั้นพลังงานเดียวกันจะมีค่าพลังงานที่ใช้ในการโคจรเท่า ๆ กัน
- พลังงานของอิเล็กตรอนที่ใช้ในการโคจรรอบนิวเคลียสจะมีค่าคงที่ค่าหนึ่งเสมอ เราสามารถกล่าวได้
ว่า ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเป็นควอนไตซ์ (quantized)
- แบบจำลองอะตอมมของ Bohr สามารถใช้อธิบายการโคจรของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสได้

[4]

▪ อิเล็กตรอน (electrons)
- อิเล็กตรอนสามารถมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้ง คลื่น (waves) และอนุภาค (particles) แต่ในการ
พิจารณาคุณสมบัติของอิเล็กตรอน ณ สภาวะหนึ่ง ๆ เราจะใช้พิจารณาโดยใช้สมบัติว่าเป็น คลื่น หรือ
อนุภาคเท่านั้น
- เมื ่ อ เราพิ จ ารณาตาม หลั ก ความไม่ แ น่ น อนของไฮเซนเบิ ร ์ ก (Heisenberg’s uncertainty
principle) ซึ่งกล่าวไว้ว่า เราไม่สามารถที่จะทราบตำแหน่งของอิเล็กตรอน และโมเมนตัมในเวลา
เดียว ๆ กันได้ (ไม่สามารถทราตำแหน่ง และพลังงานที่แน่นอนในเวลาเดียวกัน)
- โดยความไม่นอนของการวัดค่าทั้งสองสามารถเขียนแสดงตามความสัมพันธ์ดังนี้
h
x p 
4

- จากการที่เราทราบว่า อิเล็กตรอนสามารถแสดงพฤติกรรมเป็นคลื่นได้ทำให้มีการสร้างแบบจำลอง
อิเล็กตรอนซึ่งเรียกว่า กลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะดังนี้
o อิเล็กตรอนจะถูกอธิบายโดยใช้สมบัติของคลื่นนิ่ง (stand wave) ซึ่งจะมีการสั่นเป็นควอนไตซ์
และการสั่นของคลื่นจะต้องมีแอมพลิจูดเป็น 0 จำนวนอย่างน้อย 2 จุด (จุดที่แอมพลิจูดเป็น 0
เรียกว่า โหนด (node))

[4]

Page 2 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


o จากการที่พิจารณาอิเล็กตรอนเป็นคลื่นนิ่ง เราใช้การควอนไตเซชัน (quantization) ในการ
อธิบายโครงสร้างของอิเล็กตรอนระบบสามมิติ โดยใช้เลขควอนตัมสามตัว n, l และ ml
o เราใช้  ซึ่งเป็นตัวแปรที่แสดงถึงอนุกรมของสมการคลื่นของอิเล็กตรอนโดยเป็นฟังก์ชันของ
ตำแหน่ ง ของอิ เ ล็ ก ตรอนในที ่ ว ่ า งสามมิ ติ (coordinate function x , y and z ) โดยมี
ความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันคลื่นและพลังงานของอิเล็กตรอนดังนี้

H  = E

E คือ
พลังงานทั้งหมดของอะตอม ผลรวมของพลังงานศักย์เนื่องขจากแรงดึงดูดระหว่าง
โปรตอน และอิเล็กตรอน และพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
o โดยแต่ละฟังก์ชันคลื่นจะมีค่าพลังงานเฉพาะ กล่าวคือพลังงานเป็นควอนไทซ์ จากผลเฉลยที่จะให้
ค่าพลังงานบางค่าที่เป็นไปได้สำหรับอิเล็กตรอน
o ค่าของฟังก์ชันคลื่น  ที่จุดหนึ่ง ๆ ในที่ว่าง คือ ค่าแอมพลิจูดของคลื่น โดยค่านี้เป็นไปได้ทั้งค่า
บวก และค่าลบ
o ที่จุดต่าง ๆ ในที่ว่างค่าของฟังก์ชันคลื่นยกกำลังสอง (  2 ) คือ ค่าความน่าจะเป็นที่จะพบ
อิเล็กตรอน หรือความหนาแน่นอิเล็กตรอน (electron density) และในทางกลศาสตร์คลื่นจะ
เรียกบริเวณนี้ว่า ออร์บิทัล (orbital) หรือ อะตอมมิกออร์บิทัล (atomic orbital)

โดยสรุป ออร์บิทัล คือ ฟังก์ชันที่แสดงถึงระดับพลังงานที่เป็นไปได้ของอิเล็กตรอน ซึ่งสอดคล้องกับ


การกระจายความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในพื้นที่ว่าง (ฟังก์ชันความน่าจะเป็น)
Note ฟังก์ชันความหนาแน่นของอิเล็กตรอน (electron density function) เป็นฟังก์ชันของ
ระยะห่างจากนิวเคลียสเท่านั้น

- แต่ละอะตอมมิกออร์บิทัลที่เป็นไปได้จะอยู่รวมกันในแต่ละชั้นพลังงาน (shell) โดยระดับ ชั้น


พลังงานแต่ละชั้นนั้นจะมีค่าระยะห่างระหว่างนิวเคลียสที่แตกต่างกัน
- ระดั บ ชั ้ น พลั ง งานของอะตอมจะถู ก กำหนดด้ ว ย เลขควอนตั ม หลั ก (principal quantum
number, n) โดยชั้นพลังงานที่ 1 จะมีค่าพลังงานต่ำที่สุด และอยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุด
- เมื่อค่า n มากขึ้น ระดับชั้นพลังงานจะอยู่ไกลนิวเคลียสมากขึ้น และมีพลังงานมากขึ้น และสามารถ
บรรจุอิเล็กตรอนได้มากขึ้น (solutions of probability function have higher value) โดยจำนวน
อิเล็กตรอนที่สามารถบรรจุได้ในแต่ละชั้นพลังงานจะมีจำนวนตามความสัมพันธ์
2n 2
n คือ เลขควอนตัมหลัก (principal quantum number

Introduction to Organic Chemistry Page 3


- โดยรูปร่างของออร์บิทัลแต่ละชนิดจะถูกกำหนดด้วยฟังก์ชันในทางคณิตศาสตร์ (wavefunctions)
- ในระดับชั้นพลังงานชั้นแรกสุดจะมีออร์บิทัลที่เป็นไปได้เพียงแค่อันเดียว คือ 1s orbital ออร์บิทัลที่
ถูกกำหนดด้วยตัวอักษร s จะมีรูปร่างเป็นทรงกลมที่สมมาตร (จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นทรงกลมที่มี
ขอบชัดเจน แต่เป็นรูปร่างในสามมิติ)
- บริเวณที่มีสีเข้ม ๆ หมายความว่ามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนที่บริเวณนี้มาก โดยความหนาแน่น
อิเล็กตรอนจะมีค่าสูงสุดที่นิวเคลียส และลดลงไปเรื่อย ๆ ตามความสัมพันธ์แบบ exponential เมื่อ
มีระยะห่างจากนิวเคลียสที่มากขึ้น ดังแสดงในแผนภาพ

[2]

- ในระดับชั้นพลังงานถัดมาชั้นที่ n = 2 จะประกอบด้วยออร์บิทัล 2 s, 2 p โดยออร์บิทัล 2s จะมี


รูปร่างเป็นทรงกลมที่สมมาตรเหมือน 1s แต่การกระจายตัวของความหนาแน่นของอิเล็กตรอนจะไม่
เป็นไปตามสมการ exponential
- ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนของ 2s ออร์บิทัลที่บริเวณใกล้นิวเคลียสนั้นจะมีค่าน้อยกว่า 1s ออร์-
บิทัล แต่จะพบอิเล็กตรอนส่วนมากที่บริเวณไกลออกไปจากนิวเคลียส ดังแสดงในแผนภาพ
- บริเวณที่ค่าความหนาแน่นอิเล็กตรอนเป็น 0 บริเวณนี้เรียกว่า โหนด (node) โดยโหนดที่พบใน
2s ออร์บิทัลนี้จะมีรูปร่างเป็นทรงกลม เรียกว่า spherical node

[2]

Page 4 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


- 2 p ออร์บิทัล จะเป็นออร์บิทัลที่วางตัวตามแนวแกนสามมิติ ( x, y, z ) axis โดยจะประกอบไป
ด้วย 2 px , 2 p y และ 2 pz ซึ่งขนานตามแกน x, y และ z ตามลำดับ
- 2 p ออร์บิทัล จะมีพลังงานสูงกว่า 2s ออร์บิทัลเนื่องจากความหนาแน่นของอิเล็กตรอนโดยเฉลี่ยจะ
อยู่ไกลจากนิวเคลียสมากกว่า 2s ออร์บิทัล
- รูปร่างของ p ออร์บิทัลจะประกอบไปด้วย โลป (lobe) สองอัน โดยแต่ละอันจะวางตัวกันคนละฝั่ง
ของนิวเคลียสตามแนวแกนของออร์บิทัลคั่นกลางด้วยระนาบที่ มีความหนาแน่นอิเล็กตรอนเป็น 0
เรียกว่า ระนาบโนด (nodal plane) โดยระนาบโนดนี้จะเป็นบริเวณที่มีลักษณะแบนในพื้นที่ว่าง
ของออร์บิทัล เป็นบริเวณที่มีนิวเคลียสอยู่ และค่าความหนาแน่นอิเล็กตรอนเป็น 0
- ออร์บิทัลของ 2 p ออร์บิทัลทั้งสามออร์บิทัลนั้นจะมีความแตกต่างกันเพียงอย่างเดียว คือ การ
วางตัวตามแนวแกน เท่านั้น จึงทำให้พลังงานของแต่ละออร์บิทัลนั้นมีค่าเท่ากัน
- เราเรียกออร์บิทัลที่มีพลังงานเท่ากันว่า ดีเจอเนอเรท ออร์บิทัล (degenerate orbital)
- โดยการกระจากตัวของอิเล็กตรอนใน 2 p ออร์บิทัล ดังแสดงในแผนภาพ

[2]

Introduction to Organic Chemistry Page 5


- จากรูปร่างของ 2 p ออร์บิทัล จะเห็นว่ามีสิ่งที่คล้ายกันกับการสั่นของคลื่นนิ่งใน Harmonic ที่ 1 คือ
เกิดการเปลี่ยนเฟสเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเดินทางผ่านจุด โหนด ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันใน
ออร์บิทัล โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงเฟสของออร์บิทัลที่บริเวณจุดโหนดนี้ เราอาจใช้สัญลักษณ์ (+)/(-)
ในการกำหนดเฟสของออร์บิทัล หรือใช้ การแรเงา/ไม่แรเงา ก็ได้
- แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าการกำหนดสัญลักษณ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับประจุทั้งสิ้น เนื่องจากทั้งสองฝั่งของออร์
บิทัลนั้นมีการกระจายตัวของอิเล็กตรอนเสมอกัน ดังที่แสดงจากกราฟการกระจายตัวของอิเล็กตรอน
แต่การกำหนดเฟสนั้นเป็นการกำหนด ค่าแอมพลิจูดว่าจะเป็น + หรือ – จากการพิจารณาว่า
อิเล็กตรอนนั้นมีสมบัติเป็นคลื่นนิ่ง (ฟังก์ชันคลื่น (wave function) เป็นตัวกำหนดเฟสของออร์บิทัล)
ซึ่งภายในออร์บิทัลนั้นมีอิเล็กตรอนกระจายตัวอยู่ดังนั้น ทุก ๆ เฟสในออร์บิทัลจึงแสดงประจุลบ (-)
▪ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับออร์บิทัล
1. ออร์บิทัลไม่จำเป็นต้องมีอิเล็กตรอนนบรรจุอยู่ก็ได้ - ออร์บิทัลสามารถเป็นที่ว่าง ๆ ที่ไม่มีอิเล็กตรอน
อยู่สักตัวก็ได้ เช่นใน อะตอมของงธาตุ He ถึงแม้จะมีอิเล็กตรอนแค่ 2 ตัวบรรจุอยู่ใน 1s ออร์บิทัล
แต่เมื่อให้พลังงานกระตุ้นแก่อะตอมของฮีเลียมนี้เพียงพอ อิเล็กตรอนตัวใดตัวหนึ่งสามารถถูกกระตุ้น
ไปยังชั้นพลังงานที่สูงขึ้นเช่น 2s หรือ 2 p หรือ 3s,... etc. ได้ จะเห็นได้ว่ามีออร์บิทัลที่มีพลังงานสูง
กว่าออร์บิทัลเดิมที่อิเล็กตรอนบรรจุอยู่ในสภาวะปกติ คอยรองรับอิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงขึ้นเสมอ
2. เราสามารถพบอิเล็กตรอนในบริเวณในของงออร์บิทัลก็ได้ ยกเว้น บริเวณโหนด – จากรูปร่างของ
2 p ออร์บิทัลที่ประกอบไปด้วยโลป 2 โลปที่มีเฟสตรงกันข้ามกัน ถ้าหากมีอิเล็กตรอนจำนวน 1 ตัวที่
ถูกบรรจุอยู่ใน 2 p ออร์บิทัลนี้ เราอาจพบอิเล็กตรอนตัวนี้อยู่ในทั้งสองฝั่งของออร์บิทัลได้ ยกเว้น
บริเวณระนาบโหนด เมื่อมีอิเล็กตรอนจำนวน 2 ตัวใน 2 p ออร์บิทัล อิเล็กตรอนทั้งสองตัวนี้สามารถ
อยู่ตรงไหนก็ได้ในออร์บิทัล ยกเว้นบริเวณระนาบโหนด ไม่จำเป็น ว่าอิเล็กตรอนตัวหนึ่งจะอยู่ในโลป
ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และอิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งจะอยู่อีกฝั่งตรงกันข้าม
3. ทุก ๆ ออร์บิทัลในอะตอมจะมีการซ้อนเหลื่อมซึ่งกันและกัน - จากรูปร่างของ 2s ออร์บิทัลที่มีโหนด
ทรงกลม (spherical node) 1 โหนดอยู่ตรงกลางของออร์บิทัล ซึ่งทำให้เกิดการแยกของ 2s ออร์
บิทัล เป็นทรงกลมสองอันซ้อนกันโดยทรงกลมที่มีขนาดเล็กกว่าจะอยู่ด้านในทรงกลมที่มีขนาดใหญ่
กว่า ทรงกลมที่มีขนาดเล็กนี้เป็นส่วนหนึ่งของ 2s ออร์บิทัล ไม่ใช่ 1s ออร์บิทัล ดังแสดงในแผนภาพ
ซึ ่ ง จะทำให้ เ ห็ น ว่ า ทุ ก ๆ ออร์ บ ิ ท ั ล นั ้ น มี ก ารซ้ อ นเหลื ่ อ มกั น และเกิ น ขึ ้ น กั บ p ออร์ บ ิ ท ั ล ด้ ว ย
เช่นเดียวกัน
[4]

Page 6 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


โมเลกุล (molecule)
▪ Molecular orbitals (MO)
เรากำหนดพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่พบภายในอะตอมจากบริเวณที่พบอิเล็กตรอน คือ อะตอม
มิกออร์บิทัล (atomic orbitals) ส่วนบริเวณที่สามารถพบอิเล็กตรอนภายในโมเลกุล คือ โมเลกุลาร์ออร์
บิทัล (molecular orbital) จากที่เราทราบว่า โมเลกุล (molecule) เกิดจากการประกอบขึ้นกันของ
อะตอม ดังนั้นแนวคิดนี้ทำให้เราสามารถคิดได้ว่าการเกิดขึ้นของ molecular orbitals เกิดจากการ
รวมกันของ atomic orbitals
จากแนวคิดก่ อนหน้า ว่า ออร์บิท ัล คือ ฟังก์ชันคลื ่น (wave functions) ดังนั้นเราสามารถ
พิจารณาการรวมกันของออร์บิทัล หรือการซ้อนเหลื่อมกัน (overlap) ในรูปแบบเดียวกันกับการรวม
คลื่น การรวมคลื่นมี 2 ลักษณะ คือ
- การรวมแบบเสริม (constructively, in phase)
- การรวมกันแบบหักล้าง (destructively, out of phase)
[4]

การรวมกันของอะตอมมิกกออร์บิทัลสามารถพิจารณาได้ 2 แบบเช่นเดียวกับการรวมคลื่น
บริเวณที่แสดงเป็น จุด สื่อถึง นิวเคลียส และการแรเงาเป็นการแสดงถึงเฟส
- การรวมอะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสเดียวกัน จะทำให้เกิดออร์บิทัลกระจายไปทั่วรอบ ๆ นิวเคลียส
ของทั้งสองอะตอม* (เกิดออร์บิทัลกระจายรอบ ๆ ทั่วอะตอมทั้งสอง) ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นนี้ คือ
โมเลกุลาร์ออร์บิทัล
- การรวมอะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสต่างกัน จะทำให้เกิดโมเลกุลาร์ออร์บิทัลที่มีระนาบโหนด อยู่
ตรงกลางระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม โดยบริเวณนี้เกิดจากการหักล้างกันของฟังก์ชัน
คลื่นของทั้งสองอะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสตรงกันข้ามกัน
[4]

Introduction to Organic Chemistry Page 7


* key concepts: ออร์บิทัล หมายถึงบริเวณที่มีความน่าจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอน หรือกล่าวแบบง่าย
ๆ ว่าบริเวณที่มีอิเล็กตรอนอยู่ และเราใช้โมเลกุลาร์ ออร์บิทัลเพื่อดูการกระจายตัวของอิเล็กตรอนทั่วทั้ง
โมเลกุล (molecular orbital is the function which describes the new electron distribution)
จากการรวมกันของอะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสเหมือนกันจะพบว่า โมเลกุลาร์ออร์บิทัลที่เกิดขึ้น
นั้น (ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นเป็นของทั้งโมเลกุล ไม่ใช่อะตอมใดอะตอมหนึ่ง) มีความหนาแน่น (ความน่าจะเป็น)
ของอิเล็กตรอนส่วนมากอยู่ที่บริเวณระหว่างนิวเคลียสทั้งสองของแต่ละอะตอมที่เกิดการรวมกัน และจาก
ที่เราทราบว่าอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคประจุลบ และนิวเคลียสซึ่งมีโปรตอนเป็นประจุบวก การที่ความ
หนาแน่นของอิเล็กตรอนส่วนมากนั้นกระจายอยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง ทำให้เราทราบได้ว่าจะเกิดแรง
ดึงดูดระหว่างประจุบวก(นิวเคลียส) และประจุลบ(อิเล็กตรอน) เกิดขึ้น และทำให้พลังงานของออร์บิทัล
ต่ำลง ซึ่งแรงดึงดูดนี้สามารถทำให้ เกิดการรวมนิวเคลียสของทั้งสองอะตอมเข้าไว้ด้วยกันได้ ดังนั้นจึงเกิด
พันธะเคมี (chemical bond) ขึ้นที่บริเวณนี้ การรวมกันของอะตอมมิกออร์ทัลที่มีเฟสเหมือนกันจึงถูก
เรียกว่า การรวมแบบสร้างพันธะ (bonding orbital)
ส่วนการรวมอะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสต่างกันจะไม่ทำให้เกิดแรงดึงดูดเกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อ
สังเกตแผนภาพจะทำให้เราทราบได้ว่า ความหนาแน่นอิเล็กตรอนส่วนมากจะพบอยู่ที่บริเวณอื่น ๆ ของทั้ง
สองอะตอม ยกเว้น บริเวณระหว่างนิวเคลียส ซึ่งจะไม่มีความน่าจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอนเลย (บริเวณ
โหนด) ดังนั้นเมื่อไม่มีอิเล็กตรอนอยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง ประจุบวกซึ่งแสดงอยู่ที่นิวเคลียสจึงเกิดการ
ผลักกัน ทำให้มีออร์บิทัลมีพลังงานสูงขึ้น และไม่สามารถรวมอะตอมทั้งสองเข้าเป็นโมเลกุลได้ การรวมกัน
ของอะตอมมิกออร์ทัลที่มีเฟสต่างกันจึงถูกเรียกว่า การรวมแบบต้านพันธะ (antibonding orbital)
โดยออร์บิทัลที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของ 1s อะตอมมิกออร์บิทัลนี้มีสมมาตรแบบทรงกระบอก
(cylindrical symmetry) รอบ ๆ แกนซึ่งลากผ่านระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง เราจะให้สัญลักษณ์ว่า 
โดยเราสามารถพิจารณาถึงการเกิด molecular orbital ของโมเลกุลหนึ่ง ๆ ได้ดังแผนภาพ

Page 8 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


▪ Molecular orbital of H2
เมื่อเราทราบถึงความน่าจะเป็นของ molecular orbital ทั้งสองแบบที่เป็นไปได้จากการรวม
1s อะตอมมิ ก ออร์ บ ิ ท ั ล ขึ ้ น เป็ น โมเลกุ ล ได้ แ ก่ bonding molecular orbital และ antibonding
molecular orbital เราลองพิจารณาจากโมเลกุลของธาตุตัวแรกในตารางธาตุ คือ Hydrogen
H2 (Hydrogen gas)

Hydrogen atom มี การจัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration) คือ 1s1 ดังนั้น เมื่อเรา


นำ Hydrogen atom จำนวน 2 อะตอมมารวมกันเพื่อเกิดเป็นโมเลกุล H2 ที่ molecular orbital ของ
โมเลกุล H2 นี้จะมีอิเล็กตรอนจำนวน 2 ตัว (มาจากอิเล็กตรอนที่อยู่ใน 1s อะตอมมิกออร์บิทัลของแต่ละ
อะตอม ซึ่ง 1s เป็นออร์บิทัลที่เกี่ยวข้องกับการ overlap กันเกิดขึ้นเป็นโมเลกุล) การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ภายใน molecular orbital ใช้หลักกการเดียวกันกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนใน atomic orbital คือ จัด
อิเล็กตรอนลงในระดับชั้นพลังงานที่ต่ำสุดก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มชั้นพลังงานมาเรื่อย ๆ โดยการจัด
อิเล็กตรอนใน molecular orbital ของ molecule H2 เป็นดังแสดงด้านบน
จากแผนผังด้านบนพบว่า อิเล็กตรอนทั้งสองตัวของ molecule H2 จะถูกบรรจุอยู่ใน bonding
orbital ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่า และ antibonding orbital ซึ่งมีพลังงานสูงกว่า จะเป็นออร์บิทัลว่าง การที่
อิเล็กตรอนทั้งสองตัวบรรจุอยู่ใน bonding orbital สื่อความหมายว่าความหนาแน่นอิเล็กตรอนส่วนมาก
นั้นอยู่ระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม ทำให้เราสามารถบอกได้ว่ามีพันธะเกิดขึ้นระหว่างอะตอมทั้ง
สอง
Note: orbital ที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ เรียกว่า filled orbital
orbital ที่ไม่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ (ออร์บิทัลว่าง, empty orbital) เรียกว่า unfilled orbital

Introduction to Organic Chemistry Page 9


▪ การสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิทัล
หลักการสำคัญของการเกิดโมเลกุลาร์ออร์บิทัล คือ จำนวนโมเลกุลาร์ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นมาใหม่
จะต้องมีจำนวน เท่ากับ จำนวนของอะตอมมิกออร์บิทัลทั้งหมดที่เกิดการรวมกัน โดยรูปร่างของโมเล
กุลาร์ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นนั้นจะได้จากการแก้ wave function ของ Schrödinger แต่โดยทั่วไปเรา
สามารถใช้การประมาณจากแนวคิดที่ว่า โมเลกุลาร์ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นเป็นผลรวมเชิงเส้นของอะตอมมิ
กออร์บิทัล (Linear Combination of Atomic Orbital, LCAO)
สมมุติให้เกิดการรวมกันของอะตอม A และอะตอม B เกิดขึ้นเป็นโมเลกุล A−B เราสามารถ
เขียนฟังก์ชันคลื่นของโมเลกุลาร์ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นได้ดังแสดง
 = c A A + cBB or  MO = cA  A + cB  B *

 and  MO หมายถึง wave function ของ molecular orbital


 A and  A หมายถึง wave function ของ atomic orbital ของ atom A
B and  B หมายถึง wave function ของ atomic orbital ของ atom B
cA หมายถึง ค่าคงที่ซึ่งสื่อถึงการมีส่วนรวมของ atom A ในการสร้าง MO
cB หมายถึง ค่าคงที่ซึ่งสื่อถึงการมีส่วนรวมของ atom B ในการสร้าง MO
ในกรณีที่อะตอม A และ B เป็นอะตอมชนิดเดียวกัน จะทำให้เกิดเป็นโมเลกุลที่เป็นโมเลกุล
อะตอมคู ่ ช นิ ด เดี ย วกั น (homonuclear diatomic molecule) จะทำให้ ข นาดของ c A และ cB มี ค่ า
เท่ากัน แต่สามารถเป็นไปได้ทั้งค่าบวก (positive) และค่าลบ (negative) เราอาจสังเกตได้ว่า ถ้าหากเรา
กล่าวถึงขนาดที่เท่ากันของ c A และ cB เราควรจะได้ความสัมพันธ์ดังนี้
c A2 = cB2 หรือ c A = cB
ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของค่า c A และ cB ว่า cA = cB
ดังนั้นเพื่อที่จะพิจารณาถึงการกระจายตัวของอิเล็กตรอนเราจะพิจารณาจาก ค่ายกกำลังสอง
ของฟังก์ชันคลื่น (square of the wave function) ดังแสดง
 2 = ( cA A + cBB ) = ( cA A ) + ( cBB ) + 2cAcB AB
2 2 2

สั ง เกตได้ ว ่ า ผลต่ า งที ่ เ กิ ด ขึ ้ น จากค่ า  2 เมื ่ อ เที ย บกั บ ค่ า ที่ พ ิ จ ารณาการรวมกั น ของ
อะตอมมิกออร์บิทัล ( cAA ) + ( cBB ) คือ 2cAcBAB เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเราจะกำหนดให้
2 2

A = ( cA A ) และ B = ( cBB ) เราจะได้ความสัมพันธ์ดังแสดง


2 2

Page 10 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


ในกรณีที่ค่าของ c A และ c B มีเครื่องหมายเหมือนกัน จะได้ความสัมพันธ์ว่า
 2 =  2+ = A2 + B 2 + 2 AB

และในกรณีที่ค่าของ c A และ c B มีเครื่องหมายตรงกันข้าม จะได้ความสัมพันธ์ว่า


 2 =  2− = A2 + B 2 − 2 AB

เราจะสังเกตได้ว่า molecular orbital ที่เกิดขึ้นแบบแรกมีเทอม 1 เทอมที่เพิ่มเข้ามา คือ


+ 2 AB โดยเทอมนี้ จ ะสื ่ อ ถึ ง ส่ ว นร่ ว มพิ เ ศษ (extra contribution) ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น กั บ ความหนาแน่ น
อิเล็กตรอนซึ่งเกิดจากทั้งสองอะตอมมิกออร์บิทัล โดยเครื่องหมายบวก (+) สื่อถึงว่าเทอมนี้ทำให้ค่าความ
หนาแน่นของอิเล็กตรอนเพิ่มมากขึ้น เราเรียกเทอมนี้ว่า (overlap density)
การที่มี overlap density ทำให้เราทราบว่าการรวมกั นของอะตอมมิกออร์บิทัลแบบที่เฟส
เหมือนกัน (constructively overlap, c A และ cB มีเครื่องหมายเหมือนกัน ) จะทำให้เรามีบริเวณที่
สามารถพบอิเล็กตรอนได้เพิ่มมากขึ้น (ความน่าจะเป็นมีค่าเพิ่มขึ้น) ซึ่งคือ บริเวณที่เกิดการรวมกันของทั้ง
สองอะตอมมิกออร์บิทัล (บริเวณที่เกิดพันธะ) นอกจากนี้ยังสื่อถึงว่า แอมพลิจูดของอิเล็กตรอนในบริเวณ
ของ overlap density (ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง) มีค่าเป็นบวก ทำให้แอมพลิจูดรวมของทั้งโมเลกุลาร์ -
ออร์บิทัลมีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม ถ้าหากพิจารณาแค่แอมพลิจูดที่เกิดจากอะตอมมิกออร์บิทัลสองอันมา
รวมกัน ดังนั้น  2+ จึงสื่อถึง probability function ของ molecular orbital ที่เกิดจากการรวมกัน
แบบ bonding orbital

electron density

Introduction to Organic Chemistry Page 11


ส่วนในกรณีของ molecular orbital ที่เกิดขึ้นแบบที่สองพบว่ามีค่า − 2 AB แสดงถึงส่วนร่วม
ระหว่างสองอะตอมมิกออร์บิทัล โดยเทอมของ overlap density นี้มีค่าเป็นลบ เราสามารถพิจารณาได้
ในลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ มีการลดลงของความหนาแน่นอิเล็กตรอนเมื่อเกิดการรวมกันของ
อะตอมมิกออร์บิทัลที่มีเฟสตรงกันข้าม ซึ่งเกิดจากการหักล้างกันของฟั งก์ชันคลื่นที่เฟสต่างกัน เกิดเป็น
ระนาบโหนด (nodal plane) ขึ ้ น ( − 2 AB สื ่ อ ถึ ง ว่ า มี ค วามหนาแน่ น อิ เ ล็ ก ตรอนหายไปที ่ ร ะหว่ า ง
นิวเคลียสของทั้งสองอะตอม) ดังนั้น  2− จึงสื่อถึง probability function ของ molecular orbital ที่
เกิดจากการรวมกันแบบ antibonding orbital

electron density
โดยจากที่เราทราบว่า โมเลกุลาร์ ออร์บิทัลที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของ 1s อะตอมมิกออร์บิทัล
ซึ่งมีสมมาตรแบบ cylindrical ถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์  เราจึงเรียก molecular orbital ที่เกิด
จากการรวมแบบ bonding ว่า bonding molecular orbital เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  1s และใน
ขณะเดียวกันเราเรียก molecular orbital ที่เกิดจากการรวมแบบ antibonding ว่า antibonding
molecular orbital เขี ย นแทนด้ ว ยสั ญ ลั ก ษณ์  1s , สั ญ ลั ก ษณ์ asterisk (  )สื ่ อ ถึ ง antibonding
orbital ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนแสดงแผนภาพการเกิด molecular orbital ของ H − 1s ออร์บิทัล
ได้อีกแบบดังนี้

Page 12 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


จากแผนภาพการรวมกั น ของ 1s atomic orbital ของ Hydrogen ทั ้ ง สองอะตอมเกิ ด เป็ น
โมเลกุล Hydrogen (H2) เราจะเห็นได้ว่า  1s ออร์บิทัลมีพลังงานต่ำลงกว่าเดิมที่เป็น Hydrogen atom
โดยผลต่างของพลังงานที่เกิดขึ้นนั้นมีค่า E และในขณะเดียวกันจะพบว่า  1s ออร์บิทัลมีพลังงานสูงขึ้น
จากโดยผลต่าง คือ E 

โดยถ้าหากว่าเราต้องพิจารณาถึง การลดลงของพลังงานที่เกิดขึ้นใน  1s ออร์บิทัล ซึ่งทำให้


โมเลกุลมีความสเถียรมากขึ้นนั้น เราจะต้องพิจารณาถึงการซ้อนเหลื่อมที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองอะตอม
โดยเราพิจารณาได้จากค่า S ซึ่ง คือ ค่าอินทิกรัลของการซ้อนเหลื่อม (overlap integral) ดังสมการ
S =   AB d
เราสามารถเขียนแสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่า overlap integral กับระยะห่างระหว่าง
นิวเคลียสของทั้งสองอะตอมได้ดังแสดงด้านล่าง

โดยค่าพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใน bonding molecular orbital สามารถเขียนแสดงอย่าง


ง่ายได้ดังสมการ
 +
E=
1+ S
และค่าพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใน antibonding molecular orbital สามารถเขียนแสดง
อย่างง่ายได้ดังสมการ
 −
E=
1− S
ตัวแปร  สื่อถึงค่าพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ในเฉพาะอะตอมมิกออร์บิทัลเท่านั้น เรียกว่า
ค่าอินทิกรัลคูลอมบ์ (Coulomb integral) และตัวแปร  เป็นฟังก์ชันสื่อถึงค่าพลังงานของอิเล็กตรอน
ซึ่งถูกดึงดูดอยู่ระหว่างทั้งสองนิวเคลียสของอะตอม เรียกว่า ค่าอินทิกรัลเรโซแนนซ์ (Resonance
integral) โดยเราสามารถประมาณค่าของ  ได้อย่างคร่าว ๆ ว่าจะแปนผันตรงตามค่า S

Introduction to Organic Chemistry Page 13


โดยคำว่า เรโซแนนซ์ นัน้ ไม่ได้สื่อถึงว่ามีการสั่นเกิดขึ้น และก็ไม่ได้สื่อถึงการเกิด resonance
ตามทฤษฎีพันธะเวเลนซ์เช่นเดียวกัน เรายังสามารถใช้คำว่า delocalized และ delocalization เพื่อสื่อ
ถึงการกระจายตัวของอิเล็กตรอนในความหมายของ  function ได้
Function  นี้เป็นตัวเลขที่มีค่าเป็นเลขลบ (-) โดยการเพิ่มขนาดของ  จะทำให้ พลังงาน
( E ) ของ bonding molecular orbital มี ค ่ า ลดลง และจะทำให้ พลั ง งาน ( E ) ของ antibonding
molecular orbital มีค่าเพิ่มขึ้น โดยเราสามารถดูถึงอิทธิพลของค่าพลังงานทั้งสองที่มีต่อพลังงานรวม
ของออร์บิทัล ตามระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองได้ ตามกราฟดังแสดง

ความสั ม พั น ธ์ ด ั ง แสดงในกราฟสามารถหาคำอธิ บ ายได้ จ ากหนั ง สื อ เคมี ท ั ่ ว ไป (General


Chemistry) ในชั้นปีที่ 1 แต่โดยสรุปเราสามารถทราบจากกราฟได้ว่า ใน bonding molecular orbital
ขณะที่ระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอมมีความเหมาะสม ถึงแม้แรง Nuclear coulombic
repulsion จะมีค่าที่สูงแต่เนื่องจากมีอิเล็กตรอนที่อยู่ในบริเวณระหว่างทั้งสองนิวเคลียสที่ทำให้เกิดแรง
ดึงดูดระหว่างประจุบวก และลบขึ้น จึงมีแรง electronic energy เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้พลังงานของระบบ
ลดต่ำลง bonding molecular orbital ที่เกิดขึ้นจึงมีความสเถียรมากกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันที่
ระยะห่างระหว่างนิวเคลียสค่าเดิม พลังงานของ antibonding molecular orbital ที่เกิดขึ้นจะมีเฉพาะ
แรง Nuclear coulombic repulsion เท่านั้น ซึ่งทำให้ molecular orbital ที่เกิดขึ้นมีพลังงานสูง จึงมี
ความเสถียรต่ำ ในส่วนของการคำนวณเกี่ยวกับ overlap integral สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
หนังสือ Physical Chemistry ในชั้นปีที่ 2 ทั่วไป ซึ่งจะมีรายละเอียดในส่วนของการคำนวณต่าง ๆ

* จริง ๆ แล้ว wavefunction ต่าง ๆ จะมีการ normalized มาก่อน แต่เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จึงขอ


อนุญาตไม่เขียนแสดง normalization factor ต่าง ๆ

Page 14 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


▪ Molecular orbital of diatomic molecule
จากที่เราได้ทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎี molecular orbital มาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่านักเคมี
สามารถใช้ ทฤษฎี molecular orbital นี้ในการอธิบายถึงโครงสร้าง และความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา
ของโมเลกุล หรือไอออนต่าง ๆ ได้ ก่อนที่เราจะดูโครงสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิทัลของโมเลกุลอื่น ๆ ต่อไป
เราลองมาตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างที่พื้นฐานที่สุด ซึ่งเราพึ่งศึกษามาก่อนหน้านี้

เช็คความเข้าใจเกี่ยวกับ MO ของ H2
1. เกิ ด จาก atomic orbitals (AOs) 2 orbital รวมกั น ขึ ้ น เป็ น molecular orbitals (MOs)
2 orbital – จำนวน AOs ที่เกิดการรวมกันจะเท่ากับจำนวนของ MOs เสมอ
2. การรวม wavefunction ของ AOs แบบเฟสเหมื อ น จะเกิ ด bonding orbital ส่ ว นการรวม
wavefunction ของ AOs แบบเฟสต่าง จะเกิด antibonding orbital
3. ถ้าหากเกิดการรวมกันของ AO ของธาตุชนิดเดียวกัน แต่ละ AO จะมีส่วนร่วม (contribute) ใน
การสร้าง MOs เท่า ๆ กัน
4. bonding MO จะมีพลังงานต่ำกว่า AOs – ความเสถียรที่เพิ่มขึ้น (พลังงานที่ลดลง) จะเกิดขึ้นก็
ต่อเมื่อมีอิเล็กตรอนบรรจุลงไปใน bonding MO
5. antibonding MO จะมี พ ลั ง งานสู ง กว่ า AOs – ความเสถี ย รที ่ ล ดลง (พลั ง งานที ่ เ พิ ่ ม ขึ ้ น )
จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีอิเล็กตรอนบรรจุลงไปใน antibonding MO
6. แต่ละ Hydrogen atom จะมีอิเล็กตรอนอยู่อย่างละ 1 ตัว ซึ่งการที่อิเล็กตรอนแต่ละตัวในตอน
แรกมี spin แบบไหนก็ตาม spin เดิมนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับ spin ที่กำหนดให้ใน MOs
7. อิเล็กตรอนที่บรรจุลงไปใน MO จะบรรจุลงในชั้นพลังงาน MO ที่ต่ำสุดก่อน – บรรจุลงไปใน
bonding MO
8. การบรรจุอิเล็ก ตรอนลงไปใน MO จะเหมือนกับที ่บรรจุใ น AOs คือ แต่ล ะ MO สามารถมี
อิเล็กตรอนอยู่ได้แค่ 2 ตัวเท่านั้น โดนอิเล็กตรอนแต่ละตัว ใน MO จะต้องมี spin ตรงกันข้ามกัน
( ms มีขนาดตรงกันข้าม)
9. ใน bonding MO ของ H2 ซึ่งมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ 2 ตัว อิเล็กตรอนทั้งสองตัวนั้นจะอยู่ระหว่าง
นิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง ทำให้เกิดแรงดึงดูดขึ้นเกิดการรวมเป็นโมเลกุลได้ – เกิดพันธะเคมี
10. จากการที่อิเล็กตรอนทั้งสองตัวบรรจุอยู่ใน bonding MO ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่า AOs โมเลกุล H2
ที่เกิดขึ้นจึงมีความเสถียรมากกว่าเมื่อ H อยู่เป็นอะตอมเดี่ยว ๆ – มีพลังงานลดลงเมื่ออะตอมทั้ง
สองรวมเป็นโมเลกุลขึ้น

Introduction to Organic Chemistry Page 15


การทำลายพันธะ (breaking bonds)
ในสภาวะปกติของอะตอม H2 จะมีอิเล็กตรอนจำนวน 2 ตัวบรรจุอยู่ในชั้นพลังงานที่ต่ำที่สุด คือ
ชั้น bonding MO แต่ลองพิจารณาดูว่าถ้าหากเราให้พลังงานกระตุ้นแก่โมเลกุล H2 ในค่าที่เหมาะสมค่า
หนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้อิเล็กตรอนตัวใดตัวหนึ่งที่เดิมอยู่ในชั้น bonding MO ย้ายมาอยู่ในชั้นพลังงาน
ที่สูงขึ้นถัดจากเดิมได้ คือ ชั้น antibonding MO (ดูได้จากแผนผัง MO) สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีอิเล็กตรอนอยู่ใน
ชั้น antibonding MO คือ จะเกิดการหักล้างของพลังงานที่เดิมทำให้เกิดความเสถียร และเกิดการรวมกัน
ขี้นเป็นโมเลกุลได้ เนื่องจากจะทำให้ความหนาแน่นอิเล็กตรอนที่เดิมอยู่ระหว่างนิวเคลียสของทั้งสอง
อะตอมหายไป อะตอมทั้งสองจึงเกิดการผลักกันขึ้น และแยกออกมากลายเป็นอะตอมเดี่ยว ๆ กล่าวโดย
สรุป คือ การให้พลังงานกระตุ้นแก่อิเล็กตรอนในชั้น bonding MO มาอยู่ในชั้น antibonding MO จะ
ทำลายพันธะเคมีระหว่างทั้งสองอะตอม โดยแผนผัง MO ของการให้พลังงานกระตุ้นเป็นดังแสดง

Molecular orbital of He2


อะตอมของ He มีลักษณะเหมือนอะตอมของ H คือ มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ใน 1s AO เหมือนกัน
ดังนั้นแผนผัง MOs ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่เนื่องจาก He atom มีอิเล็กตรอนอยู่ใน 1s AO
จำนวน 2 ตัว ดังนั้นเมื่อพิจารณาตามแผนผัง AO ซึ่งแสดงดังด้านล่างจะพบว่า ทั้ง bonding MO และ
antibonding MO จะถูกบรรจุด้วยอิเล็กตรอนอย่างละ 2 ตัวเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นพันธะเคมีที่เกิดขึ้นจาก
bonding MO จึงถูกหักล้างด้วยอิเล็กตรอนจำนวน 2 ตัวที่บรรจุอยู่ใน antibonding MO จึงทำให้เกิด
แรงผลักระหว่างอะตอมทั้งสองเกิดขึ้น แยกออกเป็น He atom 2 atom ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสร้าง
พันธะเคมีระหว่าง He atom เพื่อให้เกิดเป็น He2 molecule ขึ้นได้

Page 16 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


อันดับพันธะ (bond order)
จากการศึกษาที่ผ่านมาจะพบว่าถ้าหากมีจำนวนอิเล็กตรอนที่บรรจุอยู่ในชั้น bonding MO
จำนวนมากกว่าที่บรรจุอยู่ในชั้น antibonding MO จะมีพันธะเคมีเกิดขึ้นระหว่างอะตอมทั้งสอง โดยเรา
จะให้นิยามว่า จำนวนพันธะเคมีระหว่างอะตอมทั้งสองที่สนใจ คือ อันพับพันธะ (bond order) เรา
สามารถคำนวนอันดับพันธะได้จากความสัมพันธ์ดังแสดง

bond order =
( no. of electrons in bonding MOs ) − ( no. of electrons in antibonding MOs )
2

การสร้างพันธะของอะตอมในระดับชั้นพลังงานที่ 2
จากที่เคยกล่าวไปในเนื้อหาส่วนของอะตอมว่าในระดับชั้นพลังงานที่สูงขึ้นจาก n = 1 คือ ชั้น
พลังงานที่ n = 2 จะมีออร์บิทัลที่สามารถเป็นไปได้มากขึ้นจากเดิม ได้แก่ 2s และ 2 p ออร์บิทัลซึ่งจะ
เป็นออร์บิทัลที่พบในชั้นพลังงานนี้ และลักษณะของทั้ง 2s และ 2 p ออร์บิทัล ก็เคยได้กล่าวไปแล้วใน
ส่วนแรก ตอนนี้เราเริ่มที่จะศึกษาการเกิดพันธะของธาตุในคาบที่ล่างลงมาจากคาบที่ 1 ซึ่งมีแค่ H และ
He ต่อจากนี้เราจะเริ่มศึกษาการเกิดพันธะของธาตุในคาบที่ 2 ซึ่งกระกอบไปด้วยธาตุ Li, Mg, B, C, N,
O, F และ Ne ในการศึกษาวิชาเคมีอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่นอกเหนือจาก H ที่อยูบ่ นคาบ
ที่ 1 ก็มักจะประกอบไปด้วยธาตุในคาบที่ 2 นี้ ได้แก่ C, N, O และ F
ก่อนที่จะเริ่มศึกษาการเกิดพันธะของธาตุในคาบที่ 2 เราควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สมมาตร
(symmetry) ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมกันของ AO แต่ละชนิด โดยจะมีสมมาตรที่เป็นไปได้ดังนี้
- การเกิดการซ้อนเหลื่อมระหว่าง s − s orbital
ทั้ง 1s และ 2s AO ต่างก็มีรูปร่างเป็นทรงกลมทั้งสิ้น ซึ่งลักษณะของการรวมกันจาก 2s AO
เกิดขึ้นเป็น MOs ก็เหมือนกับที่เกิดขึ้นใน 1s AO คือ มีทั้ง bonding MO และ antibonding MO
เกิดขึ้น และรูปร่างของทั้งสอง MOs ก็เหมือนกับที่เกิดจาก 1s AO แต่ MOs ที่เกิดขึ้นจาก 2s AO
จะมีพลังงานสูงกว่า เนื่องจาก 2s orbital มีพลังงานสูงกว่า 1s orbital และขนาดของ 2s orbital
ก็ใหญ่กว่า 1s orbital แต่โดยคร่าว ๆ เราสามารถพิจารณาการเกิด MOs ของ 2s orbital ใน
รูปแบบเดียวกันกับ MOs จาก 1s orbital โดยการเกิด bonding MO และ antibonding MO เป็น
ดังแสดง

Introduction to Organic Chemistry Page 17


จะสังเกตได้ว่า bonding MO ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1s − 1s และ 2 s − 2 s มีสมมาตรรูปแบบหนึ่ง
เกิดขึ้น คือ สมมาตรแบบทรงกระบอก (cylindrically symmetrical) ซึ่งเกิดจากการที่เราหมุน
วัตถุใด ๆ รอบ ๆ แกนหมุน (ในที่นี้คือเส้นที่ลากผ่านระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม) ไม่ว่าด้วย
มุมใด ๆ ก็ตามจะทำให้วัตถุที่สังเกตนั้นมีรูปร่างเหมือนเดิมทุกประการ (identical)
*bonding orbital ใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น และมี cylindrical symmetry ปรากฏ เราจะเรียก
bonding orbital แบบนี ้ ว ่ า  orbital (sigma orbital) และพั น ธะที ่ เ กิ ด ขึ ้ น จากการนำ
อิเล็กตรอนลงไปบรรจุใน  orbital เรียกว่า พันธะซิกมา (  -bond, sigma bond) ดังนั้น
พันธะที่เกิดขึ้นใน H2 molecule จึงเรียกว่า พันธะซิกมา
ส่วนของ antibonding orbital ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1s − 1s และ 2 s − 2 s นี้ก็ มี cylindrical
symmetry ปรากฏเช่นเดียวกัน เราจึงเรียกว่า   orbital (sigma-star orbital) สัญลักษณ์
asterisk (  ) สื่อถึงการเป็น antibonding
* รายละเอียดนี้เคยกล่าวไปคร่าว ๆ แล้วในส่วนการอธิบายการเกิดโมเลกุลาร์ออร์บิทลั

- การเกิดการซ้อนเหลื่อมระหว่าง p − p orbital

จากที่เคยศึกษามาก่อนหน้าว่า p orbital นั้นมีทั้งหมด 3 แบบที่เป็นไปได้ โดยแต่ละแบบจะ


orthogonal ซึ่งกัน และกัน วางตัวตามแนวแกนทั้ง 3 ในระบบ coordinate ( x, y , z )
เราจะยกตัวอย่างการเกิดการรวมกันของ p orbital โดยใช้ N2 molecule มาอธิบาย โดยการ
รวมกันของ p orbital นั้นมีทั้งหมด 2 แบบที่เป็นไปได้ แบบแรก คือ การรวมแบบ ปลายชนปลาย
(end-on overlap) ดังที่แสดงเป็นสีแดง และอีกแบบ คือ การรวมแบบ ข้างชนข้าง (side-on
overlap) ดังที่แสดงเป็นสีดำ

Page 18 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


เราลองมาเริ่มพิจารณาการรวมแบบแรก คือ แบบปลายชนปลาย (end-on overlap) ออร์บิทัลที่
เกิดจาก p orbital แบบเฟสต่างกัน (out of phase) มารวมกันจะมีลักษณะคล้ายกับที่เกิดใน 1s
AO คือ มีโหนดเกิดขึ้น โดยโหนดที่เกิด ขึ้นเป็นระนาบโหนด (nodal plane) ดังนั้นความหนาแน่น
อิเล็กตรอนของ MO นี้ส่วนมากจึงกระจายอยู่ที่บริเวณอื่น ๆ ยกเว้นระหว่างนิวเคลี ยสของทั้งสอง
อะตอม ซึ่งจะเกิดเป็น antibonding orbital ดังแสดง

ส่วนออร์บิทัลที่เกิดจาก p orbital แบบเฟสเหมือนกัน (in phase) มารวมกันจะมีลักษณะ คือ


ความหนาแน่นอิเล็กตรอนของ MO นี้ส่วนมากกระจายตัวอยู่ระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง
และส่วนอื่น ๆ จะอยู่ด้ านนอกบริเวณระหว่างนิวเคลียส ดังนั้นการที่ ความหนาแน่นอิเล็กตรอน
ส่วนมากกระจายตัวอยู่ระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองทำให้เราทราบว่ามีแรงดึงดู ดเกิดขึ้น
ระหว่างอะตอม ซึ่งหมายความว่ามีพันธะเกิดขึ้น ดังนั้น orbital ที่เกิดขึ้นจึงเป็น bonding orbital
ดังแสดง

และเนื ่ อ งจาก MOs ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ทั ้ ง bonding MO และ antibonding MO มี ส มมาตรแบบ


cylindrical จึงถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์  และ   ตามลำดับ โดยพันธะที่เกิดจากการบรรจุ
อิเล็กตรอนลงใน MO แล้วทำให้เกิดพันธะระหว่าง p orbital ที่มีการชนแบบปลายชนปลายนี้จะ
เรียกว่า พันธะ 
ส่วนการรวมกันของ p orbital แบบที่สอง คือ แบบข้างชนข้าง (side-on overlap) จะเป็นไป
ได้ 2 แบบเหมือนการรวม orbital ทั่วไป ได้แก่ bonding MO และ antibonding MO โดยการเกิด
MOs ทั้งสองแบบ เป็นดังแสดง
- antibonding orbital

Introduction to Organic Chemistry Page 19


- bonding orbital

เนื่องจาก MOs ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีสมมาตรแบบ cylindrical แต่ถ้าหากเราลองหมุนออร์บิทัลนี้


ด้วยมุมขนาด 180 ผ่านแกนหมุนที่ลากผ่านนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม จะพบว่าเราได้ออร์บิทัลที่
มีรูปร่างเหมือนเดิม แต่เฟสของออร์บิทัลจะเป็น เฟสตรงกันข้ามกับเดิม เราจะกำหนดสมมาตรที่
เกิดขึ้นแบบนี้ด้วยสัญลักษณ์  ดังนั้น bonding MO และ antibonding MO ที่เกิดขึ้น จะถูก
เรียกว่า  orbital และ   orbital ตามลำดับ และพันธะที่เกิดขึ้นจากการบรรจุอิเล็กตรอนลงไปใน
 orbital นี้จะถูกเรียกว่า พันธะ  (pi bond) และในระบบสมมาตรแบบ  นี้ ความหนาแน่น
ของอิเล็กตรอนในพันธะนี้ส่วนมากจะไม่ได้กระจายตัวอยู่ระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง แต่จะ
กระจายตัวอยูค่ นละฝั่งของเส้นที่ลากเชื่อมนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม แสดงดังแผนภาพด้านบน

เนื่องจาก 2 p orbital มีทั้งหมด 3 orbital ที่เป็นไปได้ และออร์บิทัลทั้ง 3 จะตั้งฉากซึ่งกัน และ


กันตามแนวแกนทั้ งสามในระบบโคออร์ดิเนต เราจะพบว่ า มี 2 p orbital จำนวน 1 orbital ที่
สามารถเกิดการรวมแบบปลายชนปลายได้ และมี อีก 2 orbital ที่สามารถเกิดการรวมแบบข้างชน
ข้างได้ ซึ่งทั้ง 2 orbital ที่สามารถเกิดการรวมแบบข้างชนข้างนี้ จะเกิดเป็น  orbital 2 orbital
ที่ตั้งฉากกัน และมีพลั งงานเท่ากัน (degenerate) และ   orbital 2 orbital ที่ตั้งฉากกัน และมี
พลังงานเท่ากัน (degenerate) โดย 2 p orbital ที่สามารถเกิดการรวมแบบปลายชนปลายได้ จะ
เกิดเป็น  orbital และ   orbital อย่างละ 1 orbital ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในเชิงของพลังงานจะพบว่า  orbital จะมีพลังงานต่ำกว่า  orbital เนื่องจาก
เมื่อพิจารณาการเกิดการซ้อนเหลื่อม (overlap) ของทั้งสองออร์บิทัลจะพบว่าการรวมแบบปลายชน
ปลายจะมีการ overlap ที่มากกว่าการรวมแบบข้างชนข้าง ดังนั้นเมื่อบรรจุอิเล็กตรอนลงไปในทั้ง
สองออร์บิทัล อิเล็กตรอนจะกระจายตัว อยู่ระหว่างนิวเคลียสของทั้ งสองอะตอมได้มากกว่าใน 
orbital ส่งผลให้ 2 p − 2 p  orbital มีพลังงานต่ำกว่า 2 p − 2 p  orbital

Page 20 Akeanan Marutakula Sroithongmoon


เมื่อเราได้ทราบถึงพลังงานของทุก ๆ ออร์บิทัลที่สามารเป็นไปได้ ซึ่งเกิดจากการรวมกันของทั้ง
1s, 2 s และ 2 p orbital แล้ว เราสามารถวาดแผนภาพพลังงานของทุก ๆ MOs ได้ดังแสดง

เราสามารถยกตัวอย่างการเกิดขึ้นเป็นโมเลกุลของ N atom เป็น N2 molecule โดยมีแผนภาพ


MOs ที่มีการบรรจุอิเล็กตรอน ดังแสดง

Introduction to Organic Chemistry Page 21


โดยจะพบว่าพันธะที่เกิดขึ้นจะมีทั้งหมด 3 พันธะ จากอิเล็กตรอน 6 ตัว ประกอบไปด้ว ย
พันธะ  จำนวน 1 พันธะจาก ออร์บิทัลจำนวน 2 ออร์บิทัลวางตัวอยู่ระหว่างนิวเคลียสของทั้งสอง
อะตอม และพันธะ  จำนวน 2 พันธะจากออร์บิทัลจำนวน 2 คู่ ซึ่งวางตัวตั้งฉากซึ่งกัน และอยู่
เหนือพันธะ  แสดงดังแผนภาพ

ส่วนพันธะที่เกิดขึ้นจากการบรรจุอิเล็กตรอนลงไปในทั้ง  1s และ  2s orbital จะถูกหักล้างด้วย


อิเล็ กตรอนที่ บรรจุลงไปใน   และ   ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อ คำนวณ bond order ของ N2
1s 2s

molecule จะได้อันดับพันธะเป็น 3 ซึ่งหมายความว่าพันธะที่เกิดขึ้นระหว่าง N atomทั้ง 2 คือ


พันธะสาม (triple bond) โดยเราสามารถเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลนี้ได้ดังแสดง

Page 22 Akeanan Marutakula Sroithongmoon

You might also like