You are on page 1of 28

ไฟฟ้า ( Electric)

PART 1

Aj. PANNIDA MEELA


DEPARTMENT OF SCIENCE, DEMONSTRATION SCHOOL
OF RAMKHAMHAENG UNIVERSITY
อะตอม (Atom)
-
Electron

-
Proton
+
+ + +

-
Neutron

ส่วนประกอบของอะตอม

อิเล็กตรอน
•อะตอมของธาตุต่าง ๆ ประกอบไปด้วยอนุภาคสําคัญ 3 อนุภาคได้แก่
(electron), โปรตอน(proton) และนิวตรอน(neutron)
โดยแต่ละอนุภาคมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ต่างกัน
CPE‐KU‐KPS Lt.ANUMAT ENGKANINAN
ความรู้เกี่ยวกับประจุไฟฟ้า ( Electric Charge)

ประจุไฟฟ้า คือ สิ่งที่แสดงอํานาจไฟฟ้า


มี 2 ชนิด
1. ประจุบวก ( +) คือ โปรตอน
2. ประจุลบ ( - ) คือ อิเล็กตรอน
จําแนกชนิดของวัตถุ โดยพิจารณาจากประจุไฟฟ้า
1. วัตถุที่เป็นกลางทางไฟฟ้า คือ วัตถุที่ไม่แสดงอํานาจไฟฟ้า
เนื่องจากมีจํานวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ
2. วัตถุที่แสดงอํานาจทางไฟฟ้า คือ วัตถุที่สามารถดึงดูดวัตถุ
ใดๆได้ เพราะมีจํานวนประจุบวกกับประจุลบไม่เท่ากัน
ถ้าวัตถุนั้นมีจํานวนประจุบวก > ประจุลบ วัตถุนั้นจะ
แสดงอํานาจไฟฟ้าบวก
ถ้าวัตถุนั้นมีจํานวนประจุลบ > ประจุบวก วัตถุนั้นจะ
แสดงอํานาจไฟฟ้าลบ
สมบัติของประจุไฟฟ้า

ถ้าประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน จะ ผลักกัน
ถ้าประจุไฟฟ้าต่างกัน จะ ดูดกัน
ประเภทของไฟฟ้า
• เมื่อพิจารณาทีก
่ ารเคลื่อนที่ของประจุ แบ่งออกเป็น
2 ประเภท ได้แก่
1. ไฟฟ้าสถิต (Static Electricity)
=> ประจุไฟฟ้าไม่เคลื่อนที่
2. ไฟฟ้ากระแส (Current Electricity)
=> ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่
กระแสไฟฟ้า ( Electric Current )

คือ ปริมาณประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่
ตัดขวางของตัวนําจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ใน 1
หน่วยเวลา

เกิดจาก การไหลของประจุไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
กระแสไฟฟ้า ( Electric Current )

กระแสอิเล็กตรอน กระแสสมมติ
เกิดจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จาก เกิดจากการสมมติให้โปรตอน
ศักย์ไฟฟ้าต่ําไปศักย์ไฟฟ้าสูง เคลื่อนที่จากศักย์ไฟฟ้าสูงไป
หรือ ศักย์ไฟฟ้าต่ํา หรือ
จากขั้วลบ  ขั้วบวก จากขั้วบวก  ขั้วลบ
ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
ชนิดของกระแสไฟฟ้า มี 2 ชนิด
*** เมื่อพิจารณาตามทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า

1. ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current ; D.C )


คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลในทิศทางเดียว ไม่มีการสลับขั้ว เช่น
กระแสไฟฟ้าที่ได้จากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์
2. ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current ; A.C )
คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลวนสลับทางไปมาอยู่ตลอดเวลา เช่น
กระแสไฟฟ้าในตามบ้านเรือน
การวัดกระแสไฟฟ้าด้วยแอมมิเตอร์
1. การวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แอมมิเตอร์

เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
2. หน่วยที่ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้า คือ แอมแปร์ (Ampere) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A
3. วิธีใช้แอมมิเตอร์ ให้ต่อแบบอนุกรมโดยต่อเรียงกันไปจนครบวงจรไฟฟ้า เริ่มจาก
ต่อขั้วบวกของถ่านไฟฉายเข้ากับขั้วบวกของแอมมิเตอร์ และต่อขั้วลบของแอมมิเตอร์เข้ากับข้าง
หนึ่งของขั้วหลอดไฟ แล้วต่อขั้วที่เหลือของหลอดไฟเข้ากับขั้วลบของถ่านไฟฉาย
การวัดกระแสไฟฟ้าด้วยแอมมิเตอร์
4. แอมมิเตอร์ที่ดีต้องมีค่าความต้านทานต่ํา จึงจะวัดค่ากระแสไฟฟ้าได้
แม่นยํากว่าแอมมิเตอร์ที่มีความต้านทานสูง
5. เมื่อเพิ่มจํานวนถ่านไฟฉาย กระแสไฟฟ้าจะมากขึ้น หลอดไฟจึงสว่าง
มากขึ้น
สรุปสาระสําคัญ
การหาปริมาณกระแสไฟฟ้า
การวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า เป็นการวัดอัตราการไหลของประจุ
ผ่านจุดอ้างอิงใดๆในทิศทางที่กําหนด ณ เวลาหนึ่ง
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ I หรือ i จะมีค่าเป็น

I คือ กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์


Q
I  (ampere : A) หรือ คูลอมบ์/วินาที (C/s)
Q คือ ประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (C)
t t คือ เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s)

CPE‐KU‐KPS Lt.ANUMAT ENGKANINAN


ฝึกฝนกันหน่อยจ้า....
1. ปริมาณไฟฟ้า 180 คูลอมบ์ ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านโลหะตัวนํา ในเวลา
2 นาที จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนํานี้กี่แอมแปร์

A. 1.5 แอมแปร์ B. 9.0 แอมแปร์


ฝึกฝนกันหน่อยจ้า....
2. แบตเตอรี่สําหรับรถยนต์คันหนึ่ง สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสม่ําเสมอ
ได้ 5 แอมแปร์ จะใช้ได้นานกี่ชั่วโมง ถ้าแบตเตอรี่นี้สามารถจ่ายประจุ
ไฟฟ้าได้ทั้งหมด 3.6 x 106 คูลอมบ์
A. 200 ชั่วโมง B. 350 ชั่วโมง
การผลิตกระแสไฟฟ้า มี 2 วิธี

เซลล์ไฟฟ้าเคมี

กระแสไฟฟ้าจาก
การเหนี่ยวนํา
1. เซลล์ไฟฟ้าเคมี

คือ อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เป็นการเปลี่ยน พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี ให้เป็น ไฟฟ้า
ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี

1.1 แผ่นโลหะที่ต่างกัน 2 ชนิด ทําหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า ขั้วบวกและขั้วลบ


1.2 อิเล็กโทรไลต์ (eletrolyte) สารละลายที่นําไฟฟ้า จะมีไอออนบวกและ
ไอออนลบ โดยจะจุ่มแผ่นโลหะทัง้ 2 ชนิดลงในสารละลายที่นาํ ไฟฟ้าได้
2.หลักการของเซลล์ไฟฟ้าเคมี มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อจุ่มแผ่นโลหะทั้ง 2 ชนิด ที่ต่างกันลงในสารละลาย จะสามารถ
แตกตัวให้ไอออนบวกและไอออนลบได้
2. โลหะที่ต่างกันจะแตกตัวให้อิเล็กตรอนได้ต่างกัน
โลหะที่แตกตัวให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่า จะมีศักย์ไฟฟ้าต่ํา เรียกว่า ขั้วลบ
โลหะที่เสียอิเล็กตรอนได้ยากกว่า จะมีศักย์ไฟฟ้าสูง เรียกว่า ขั้วบวก
3. อิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ําไปยังขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง
กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ํา
4. กระแสไฟฟ้าจะไหลจนกระทั้งศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองเท่ากัน จึงจะ
หยุดไหล แสดงว่าไฟหมด
ตัวอย่างเซลล์ไฟฟ้าในชีวิตประจําวัน
1.เซลล์ปฐมภูมิ เป็นเซลล์ที่เมื่อใช้ไฟแล้วไม่สามารถประจุไฟ เพื่อ
นํากลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น เซลล์ถ่านไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์
2.เซลล์ทุติยภูมิ เป็นเซลล์สะสมไฟฟ้าทีเ่ มื่อใช้ไฟหมดแล้วสามารถประจุไฟเพื่อนํา
กลับมาใช้ ใหม่ได้ เช่น แบตเตอรี่
สัญลักษณ์ของเซลล์ไฟฟ้า
เซลล์ไฟฟ้า ทําหน้าที่เป็นแหล่งกําเนิดไฟฟ้า จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่
วงจรไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้ากระแสตรงจะทําให้เกิดการไหลของกระแสในวงจรทิศทางเดียว
เซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์ จะประกอบด้วยค่าแรงเคลือ่ นไฟฟ้า (E) และ
ความต้านทานภายในเซลล์ (r) โดยที่ขีดยาว หมายถึง ขั้วบวก และขีดสั้น หมายถึง
ขั้วลบของเซลล์

รูปสัญลักษณ์ของเซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์
2. กระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนํา

1.2 กระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนํา
กระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนําเกิดจากตัวนําหรือขดลวดเคลื่อนที่
ตัดสนามแม่เหล็ก หรือเมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านตัวนําเกิดการ
เปลี่ยนแปลง จะทําให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา เรียกเครื่องกําเนิด
ไฟฟ้าชนิดนี้ว่า"ไดนาโม" หรือ "เครื่องกําเนิดไฟฟ้า"
ไดนาโม เป็นเครื่องกลที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า เมื่อ
เคลื่อนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก หรือเคลื่อนแม่เหล็กตัดกับขดลวด
จะทําให้สนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเกิดกระแสไฟฟ้า
เหนี่ยวนําขึ้น
ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
ดังนี้
- จํานวนรอบของขดลวด
- กําลังขั้วของแท่งแม่เหล็ก
- ความเร็วของการเคลื่อนที่ของขดลวดหรือแท่งแม่เหล็ก
- พื้นที่ของขดลวด ถ้ามีพื้นที่มากก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าได้มาก
ไดนาโมแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.ไดนาโมกระแสตรง มีวงแหวนเดียวโดยแบ่งเป็น 2 ซีกไม่ติดกัน แต่ละ
ซีกต่อกับปลายขดลวดคนละข้าง เรียกวงแหวนนี้ว่า “แหวนแยกหรือ
คอมมิวเทเตอร์”
2. ไดนาโมกระแสสลับ มีวงแหวน 2 วง สัมผัสอยู่กับแปรงที่ต่อไปยัง
วงจรภายนอก

พลังงานที่นํามาใช้หมุนขดลวดของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ามีหลาย
ประเภท เช่น พลังงานความร้อนได้จากเชื้อเพลิง เช่น น้ํามัน ถ่านหิน เป็น
ต้น พลังงานน้ํา ได้จากเขื่อนกั้นน้ํา เครื่องจักรไอน้ํา

You might also like