You are on page 1of 18

เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)

หน้า 1
ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)

การศึกษาไฟฟ้าสถิต (Electrostatic) ในบทที่ผานมาเป็นการศึกษา


กรณีที่ประจุไฟฟ้าที่เกดขึ้นไม่เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนที่แบบระยะสั้นชั่ว
ขณะเวลาหนึ่ง ตอไปนี้เป็นการศึกษาประจุที่เคลื่อนที่อยางต่อเนื่องซึ่งเรา
เรียกว่า กระแสไฟฟ้าและ ถ้ากระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบรอบวงปิดเราจะ
เรียกว่า วงจรไฟฟ้า (Electric circuit) วงจรไฟฟ้าเป็นพื้นฐานสำคัญของ
การส่งพลังงานจากที่หนึ่งไปยังอีกกที่หนึ่งในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าเพื่อ
นำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปแบบอื่นให้เราใช้ประโยชน์กันในทุกวันนี้
การนําไฟฟ้าของตัวกลางต่างๆ
การนําไฟฟ้าในโลหะ
ในโลหะประกอบด้วย Valence electron ที่ถูกยึดไว้
อย่างหลวม ๆ อิเล็กตรอนเหล่านี้จะหลุดจาก วงของ
อิเล็กตรอนได้ง่าย เมื่อหลุดแล้วจะเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
สามารถไปได้ท่ัวโลหะทั้งก้อน เรียกอิเล็กตรอนเหล่านี้ว่า
อิเล็กตรอนอิสระ (free electron) ซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้จะ
เคลื่อนที่อย่างไร้ระเบียบไม่มีทิศทางที่แน่นอน การเคลื่อนที่แบบนี้เรียก
ว่า การเคลื่อนที่แบบบราวน์ ซึ่งความเร็วเฉลี่ยของอิเลกตรอนเป็น ศูนย์
(0) เมื่อเราทำให้ปลายโลหะทั้งสองข้างมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเกิดขึ้น
โดยต่อปลายทั้งสองข้างของโลหะกับแหล่งกำาเนิดไฟฟ้าจะทำให้
อิเล็กตรอนเคลื่อนที่โดยมีความเร็วเฉลี่ยไม่เท่ากับศูนย์ (0) เรียกว่า
ความเร็วลอยเลื่อน(Drift velocity) ดังนั้น การนําไฟฟ้าในโลหะเกิดจาก
การเคลื่อนที่ ของอิเล็กตรอนอิสระ

การนำไฟฟ้าในหลอดสุญญากาศ

หลอดสุญญากาศเป็นหลอดแก้วที่สูบอากาศออกหมด ส่วน
ประกอบหลักภายในจะมีข้ัวสำหรับให้
อิเล็กตรอน เรียกว่า ขั้วแคโทด (Cathode) และขั้วสำหรับรับอิเล็กตรอน
เรียกว่า แอโนด (Anode) หรือเพลต
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 2

ภาพหลอดสุญญากาศ ที่มาของภาพ http://4.bp.blogspot.com/

หลอดสุญญากาศที่มีเฉพาะ ขั้วแคโทด และ แอโนด เรียกว่า หลอด


ไดโอด (Diode) หลอดประเภทอื่นก็จะมีส่วนประกอบทที่มากกว่านั้นต่าง
กันไปตามลักษณะการใช้งาน
กระแสในหลอดสุญญากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ถ้าเราต่อขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับขั้วแอโนด และขั้วลบที่ข้ัว
แคโทดของหลอดไดโอดและทำให้แคโทดร้อน อิเลกตรอนบางตัวจะหลุด
ออกจากแคโทด เป็นอิเล็กตรอนอิสระ ดังนั้นถ้าเราต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
กับแคโทดและแอโนด โดยให้ศักย์ไฟฟ้าที่แอโนดสูงกว่า (ขั้วบวกต่อกับ
แอโนด ขั้วลบต่อกับแคโทด) สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะทำให้ อิเล็กตรอน
อิสระเคลื่อนที่ ไปยังแอโนด จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในวงจร ดังนั้น
การนําไฟฟ้าในไดโอดเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
แล้วถ้าเราต่อสลับขั้วจะนำไฟฟ้าได้หรือไม่ ?
นอกจากนีย ้ ังมีหลอดสุญญากาศที่ใช้ความร้อนจากแสงทำให้
อิเล็กตรอนหลุดจากแคโทดอีกด้วย เรียกหลอดประเภทนี้ว่า หลอดโฟ
โตอิเล็กตริก นอกจากนี้สมบัติของหลอดไดโอดเรานำมาใช้ ประกอบเป็น
อุปกรณ์เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง

การนำไฟฟ้าในหลอดสุญญากาศ (หลอดบรรจุแก็ส)
หลอดบรรจุแก็สเป็นหลอดสุญญากาศที่บรรจุแก็สบางชนิดลงไป
เป็นปริมาณน้อย เช่น ไฮโดรเจน
นีออน อาร์กอน หรือ ไอปรอท ความดันภายในหลอดจะต่ำกว่าความดัน
บรรยากาศมาก ที่ปลายขั้วหลอดทั้ง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 3
สองข้างจะต่อกับขั้วไฟฟ้า ถ้าความต่างศักย์ สูงพอจะทำให้มีกระแส
ไฟฟ้าเกิดขึ้นและมีแสงสีต่างๆ ตาม
คุณสมบัติแก็สที่ใส่ในหลอด เช่น หลอดไฟโฆษณาต่างๆ
กระแสเกิดขึ้นจาก เมื่อเราให้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วมากๆ ทำให้
เกิดสนามไฟฟ้า โมเลกุลของแก็สจะแตกตัว เป็นไอออนบวก และ
อิเล็กตรอนอิสระ โดยไอออนบวกจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าลบ
อิเล็กตรอนอิสระจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าบวก ดังนั้นจะเห็นว่าการนำ
ไฟฟ้าของหลอดบรรจุแก๊สเกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออนบวก และ
อิเล็กตรอนอิสระ

การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์
สารอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เช่น สารละลายของ
กรด เบส หรือเกลือ ไม่ว่าจะเป็น
สารละลายเกลือกำมะถัน สารละลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกลือ
ซัลเฟต เป็นต้น โดยกระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออนที่เกิด
จากการแตกตัวของกรด เบส หรือ เกลือ การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทไลต์
ทำให้เกิดขึ้นโดยจุ่มแผ่นโลหะ 2 แผ่น แผ่นหนึ่งต่อเข้ากับขั้วบวก และอีก
แผ่นต่อกับขั้วลบ ลงไปในอิเล็กโทรไลต์ แท่งแผ่นโลหะจะทำหน้าที่เป็น
ขั้วบวกและขั้วลบ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งส่งผลให้
ไอออนบวก เคลื่อนที่ไปยังขั้วลบ ไอออนลบ เคลื่อนที่ไปยังขั้วบวก จึง
ทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น
ดังนั้น กระแสไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์ จึงเกิดจากการเคลื่อนที่ ของ
ทั้งประจุบวก และประจุลบ
หลักการนี้การนำไปใช้ประโยชน์ในการชุบโลหะ และการแยกธาตุบริ
สุทธ์ิ เมื่อต้องการชุบวัตถุด้วยโลหะชนิดใดก็ต้องใช้อิเล็กโทไลต์ที่มี
ไอออนชนิดนั้น เพื่อให้ไอออนมาเกาะ

ภาพ สารละลายอิเล็กโทรไลต์ ที่มาของภาพ


http://3.bp.blogspot.com
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 4
การนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
สารกึ่งตัวนำเป็นสารที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและ
ฉนวน พิจารณาโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำเช่น ซิลิกอน พบว่า Valence
Electron ของแต่ละตัวจะมีพันธะกับ Valence Electron ข้างเคียง
ดังรูป 1.1 และ 1.2 จึงไม่มีอิเล็กตรอนอิสระที่จะนำไฟฟ้าได้

ที่มาของภาพ http://3.bp.blogspot.com

ถ้าใส่สนามไฟฟ้าเข้าไป หรือ ให้ความร้อนมากพอ Valence


Electron สามารถหลุดเป็นอิสระได้ ทำให้เกิดช่องว่างเรียกว่า โฮล ซึง่ มี
ลักษณะคล้ายประจุไฟฟ้าบวก แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าที่กระทำต่อ
อิเล็กตรอนอิสระและโฮลจะมีทิศตรงข้ามกัน ทำให้มันเคลื่อนที่ในทิศตรง
ข้ามกัน โดยอิเล็กตรอนอิสระ
เคลื่อนที่ตรงข้ามกับสนาม โฮลเคลื่อนที่ทิศเดียวกับสนามไฟฟ้า ทำให้
เกิดการนำไฟฟ้าขึ้น ดังนั้น การนำไฟฟ้า
ของสารกึ่งตัวนำเกิดจากการเคลื่อนที่ของ โฮล และอิเล็กตรอนอิสระ

กระแสไฟฟ้า (Electric current)


กระแสไฟฟ้า คือ การเคลื่อนที่ของประจุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
กรณีที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าในวัสดุ
ตัวนำ ไม่ได้แปลว่าไม่มีประจุไฟฟ้าในวัสดุนั้น ตัวอย่างเช่น วัสดุตัวนำ
พวกลวดโลหะ พาหะในการถ่ายเท
ประจุไฟฟ้าคืออิเล็กตรอนอิสระ (Free electron) อิเล็กตรอนอิสระเหล่า
นี้จะเคลื่อนที่โดยไม่มีทิศทางแน่นอน
(random) ดังรูปที่ 2.1
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 5

รูปที่ 2.1 ประจุลบเคลื่อนที่แบบไม่มีทิศทางแบบสุ่ม ทำให้ไม่มีกระแส


สุทธิ
ทำให้ไม่เกิดการไหลของประจุไฟฟ้าไปทางใดทางหนึ่งอย่าง
แน่นอน จึงถือว่าไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าต่อปลายทั้งสองข้างของลวด
ตัวนำกับขั้วของเซลล์ไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่ จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้า E ที่
ทุกจุดในเส้นลวดนั้น และทำให้เกิดแรงกระทำต่ออิเล็กตรอน ทำให้
อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกันตามแรง F=qE และเนื่องจาก
ประจุของอิเล็กตรอนเป็นลบทำให้ประจุลบเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับทิศ
ของสนามไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้านี้ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า
ขึ้น เรากำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดใดๆ ด้วย
อัตราการถ่ายเทประจุไฟฟ้า q ผ่านพื้นที่หน้าตัดนั้น ๆ นั่นคือถ้ามีประจุ
เคลื่อนที่ผา่ นพื้นที่หน้าตัดใดๆ ในเวลา t วินาที กระแสไฟฟ้ามีค่า เท่ากับ
q ( C)
I = หน่ วย
t (s )
ในระบบเอสไอ (SI Unit) กระแสไฟฟ้า (I) มีหน่วยเป็น C/s หรือ
แอมแปร์ (ampere) ใช้อักษรย่อ A เพื่อเป็นเกียรติให้กับ อองเดร-มารี
อองแปร์ (André Marie Ampére) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสผู้ค้นพบ

รูปที่ 2.2 แสดงกระแสของประจุไฟฟ้าเมื่อมีสนามไฟฟ้า

ถึงแม้ว่าในตัวนำโลหะ ตัวพาประจุเคลื่อนที่คือ อิเล็กตรอนอิสระ


แต่ในตัวกลางอื่นๆ เช่น อิเล็กโทรไลต์ ตัวพาประจุเป็นทั้งไอออนบวกและ
ลบ ดังนั้น จึงต้องกำหนดทิศทางของกระแสว่าให้มีทิศใด เพราะประจุ
บวกและประจุลบเคลื่อนที่ในทิศตรงขามกนในสนามไฟฟ้า ดังรูปที่ 2.2
โดยทั่วไปกำหนดว่าทิศการไหลของกระแส คือ ทิศการเคลื่อนที่ของประจุ
บวก หรือ ทิศของสนามไฟฟ้า นั่นเอง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 6

กระแสไฟฟ้าในตัวนําใด ๆ
ตัวนํา คือ ตัวที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน
ฉนวน คือ ตัวที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน
กระแสไฟฟ้า คือ ปริมาณประจุที่วิ่งผ่านตัวกลางในหนึ่งหน่วยเวลา
มีหน่วยเป็น แอมแปร์
Q ne
I= =
t (t)
เมื่อ Q แทน ประจุไฟฟ้าทั้งหมด มีหน่วยเป็นคูลอมบ์ (C)
q แทน ประจุไฟฟ้าของอนุภาค 1 ตัว มีหน่วยเป็นคูลอมบ์
(C) (1.6x10-19 C)
t แทน เวลาที่อนุภาคผ่านภาคตัดขวาง มีหน่วยเป็นวินาที
(s)
I แทน กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นคูลอมบ์ต่อวินาที (C/s)
หรือ แอมแปร์ (A)
n แทน จํานวนประจุ

แบบฝึกทักษะ 1
1. กำหนดให้สนามไฟฟ้า ( E ) มีทิศทางดังรูป การเคลื่อนที่ของอนุ ภาคที่
มีประจุไฟฟ้าและทิศทางของกระแสไฟฟ้า ( I ) ที่เกิด ขึ้นจะเป็นจริง
ดังรูปในข้อใด
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 7

2. ถ้าประจุไฟฟ้าที่ผ่านลวดตัวนำหนึ่งภายในเวลา 2 นาที เท่ากับ 600


ไมโครคูลอมบ์ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดตัวนำนี้ จะมีค่ากี่ไมโคร
แอมแปร์

3. แบตเตอรี่อันหนึ่งสามารถจ่ายประจุไฟฟ้าได้ทั้งหมด 1.8 x 103 คูลอม


บ์ ในช่วงที่ใช้งานอยู่ ถ้าแบตเตอรี่จ่ายกระแสไฟฟ้าสม่ำเสมอ 20 มิลลิ
แอมแปร์ แบตเตอรี่ นี้ จะใช้งานได้นานกี่ชั่วโมง

4. ถ้ามีประจุไฟฟ้าลบเคลื่อนจากขั้วลบไปบวกจำนวน –5 คูลอมบ์ พร้อม


กันนั้นมีประจุบวกเคลื่อนจากข้วบวกไปลบจำนวน + 3 คูลอมบ์
ภายในเวลา 10 วินาที จงหาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหน่วย
แอมแปร์
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 8

กระแสไฟฟ้าในเส้นลวดตัวนําโลหะ
I = nevA
เมื่อ I แทน กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นคูลอมบ์ต่อวินาที (C/s) หรือ
แอมแปร์ (A)
n แทน จํานวนอิเล็กตรอนในปริมาณ 1 ลูกบาศก์เมตรหรือ
ความหนาแน่น
e แทน ประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน = 1.6 x 10-19 คูลอมบ์
v แทน ความเร็วลอยเลื่อนของอิเล็กตรอนอิสระ หน่วยเป็น
เมตรต่อวินาที ( m/s)
A แทน พื้นที่ภาคตัดขวางของโลหะ หน่วยเป็น ตารางเมตร
(m2)
เมื่อนําโลหะมาต่ออนุกรมกัน (การต่ออนุกรมกันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน)
โลหะชนิดเดียวกัน ( n เท่ากัน ) โลหะต่างชนิดเดียวกัน ( n ไม่เท่า
กัน )
I1 = I2 I1 = I2
n1e1v1A1 = n2e2v2A2 (n , e เท่า n1e1v1A1 = n2e2v2A2 (e เท่ากัน)
กัน) n1v1A1 = n2v2A2
v1A1 = v2A2

แบบฝึกทักษะ 2
5. ถ้าต่อเส้นลวดโลหะเส้นหนึ่งกับเซลล์ไฟฟ้า แล้วปรากฏว่ามีกระแส
ไฟฟ้าผ่านเส้นลวดนี้ 3.20 แอมแปร์
จงหาจำนวนอิเล็กตรอนอิสระที่ผ่านภาคตัดขวางของลวดโลหะนั้น
ในเวลา 5.0 วินาที
( อิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้า 1.6 × 10-19 คูลอมบ์ )
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 9

6. ลวดโลหะเส้นหนึ่งมีจำนวนอิเล็กตรอนอิสระ 5.0 × 1028 ต่อลูกบาศก์


เมตร ลวดโลหะนี้มี ภาคตัดขวาง 2.5 ตารางมิลลิเมตร ถ้าอิเล็กตรอน
เหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยขนาดความเร็วลอยเลื่อน 0.30 มิลลิเมตรต่อ
วินาที จะมีกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดนี้เท่าใด และจงหาค่าของกระแส
ไฟฟ้า ต่อหนึ่งตารางเมตร

7. ลวดทองแดงพื้นที่หน้าตัด 2.0 × 10-7 ตารางเมตร สามารถให้กระแส


5.0 แอมแปร์ผ่านได้ โดยไม่หลอมละลาย จงประมาณอัตราเร็วลอย
เลื่อนของอิเล็กตรอน กำหนดจำนวนอิเล็กตรอนอิสระในทองแดง
เท่ากับ 1029 ต่อลูกบาศก์เมตร
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 10

8. ลวดโลหะเส้นหนึ่ งมีพ้ น
ื ที่ภาคตัดขวาง 1 ตารางมิลลิเมตร ถ้ามีกระแส
ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งไหลผ่านลวดนี้ ในเวลา 10 วินาที โดยขนาด
ความเร็วลอยเลื่อนของอิเล็กตรอนเท่ากับ 0.02 เซนติเมตรต่อวินาที
จงหาปริมาณประจุไฟฟ้ าที่เคลื่อนที่ผ า่ นลวดนี้ ในเวลาดังกล่าว ( ให้
ความหนาแน่นอิเล็กตรอนอิสระของโลหะนี้ เท่ากับ 1.0 x 1029 m–3 )

ควรทราบเพิ่มเติม
พื้นที่ใต้กราฟกระแสไฟฟ้า ( I ) กับเวลา ( t ) จะมีขนาดเท่ากับ
ปริมาณประจุไฟฟ้า ( Q )
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 11

แบบฝึกทักษะ 3

9. กระแสไฟฟ้า I ที่ผ่านเส้นลวดโลหะเส้น
หนึ่งสัมพันธ์กับเวลา t ดังกราฟ จงหา
ปริมาณประจุไฟฟ้าทั้งหมดที่ผ่านพื้นที่
หน้าตัดของเส้นลวดโลหะนี้ ในช่วงเวลา 0
ถึง 6 วินาที

10. แบตเตอรี่ซ่งึ มีแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้า 20


โวลต์ ลูกหนึ่ง เมื่อต่อจ่ายกระแสให้แก่
ความต้านทานขนาด 1.8 โอห์ม พบว่า
กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามเวลา ดัง
กราฟที่แสดง ปริมาณประจุที่เคลื่อนผ่าน
วงจรในเวลา 20 นาทีแรก เท่ากับกี่คูลอมบ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 12
11. จากรูป เป็นกราฟแสดงไฟฟ้ าที่ไหลผ่านลวดเส้นหนึ่งกับเวลา จง
หาว่าเมื่อสิน
้ สุดเวลา t = 5 วินาที จะมีประจุไฟฟ้าไหลผ่านลวดเส้นนี้กี่
คูลอมบ์

12. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวดหนึ่ง
เปลี่ยนแปลงตามเวลา ดังแสดงใน
กราฟจงหาจํานวนอิเล็กตรอนที่ผ่าน
พื้นที่หน้าตัดหนึ่งในช่วงเวลาวินาทีที่ 8
ถึงวินาทีที่ 16

13. ในการทดลองครั้งหนึ่งสามารถเขียนกราฟ
ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเวลา ดังรูป ถามว่า
ตั้งแต่เริม
่ ต้นจนกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 0 แอมแปร์
มีประจุเคลื่อนที่ผ่านเครื่องวัดเฉลี่ยวินาทีละกี่คู
ลอมบ์
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 13

โจทย์ฝึกทักษะ (การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าผ่าน
ตัวกลาง)
ตอนที่ 1 เติมคำในช่องว่าง
1. เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางใดๆ
แสดงว่าเกิด…………………ในตัวกลางนั้น
2. การที่ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้แสดง
ว่าที่ตำแหน่งทั้งสองของตัวกลางนั้นเกิด ….
…………………………………………………………………………………………………
……..
3. การนำไฟฟ้าในโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้านั้นคือ………………………………
4. การนำไฟฟ้าในหลอดไดโอด เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้านั้นคือ…………………….
5. การนำไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้านั้นคือ…………………
6. การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์ เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้านั้นคือ…………………….
7. การนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้านั้นคือ………………………
8. การนำไฟฟ้าในตัวกลางใดๆ เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
ปริมาณที่ได้คือกระแสไฟฟ้า สัญญลักษณ์ที่ใช้แทน
คือ…………………………………………มีหน่วยเป็น…………….
…………………………….
9. กระแสไฟฟ้าในตัวกลางใดๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณใด บอกมา 1
อย่าง…………………………………………..
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 14
10. สมการที่ใช้ หากระแสไฟฟ้าในตัวกลางใดๆ
คือ……………………………………………………………..
11. อิเล็กตรอนอิสระมีการเคลื่อนที่
แบบ…………………………………………………………………………
12. ความเร็วเฉลี่ยของอิเล็กตรอนอิสระมี
ค่า……………………………………………………………………..
13. ขั้วแคโทด ทำหน้าที่ เป็นขั้วไฟฟ้า
ที่……………………………………………………………………….
14. ขั้วแอโนด ทำหน้าที่ เป็นขั้วไฟฟ้า
ที่……………………………………………………………………….
15. ไอออนบวกและไอออนลบมีการเคลื่อนที่
อย่างไร……………………………………………………………
16. การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์มีประโยชน์อย่างไรบอกมา 1
อย่าง……………………………………………
17. ที่ว่างในสารกึ่งตัวนำเรียกว่า
อะไร……………………………………………………………………………

ตอนที่ 2 จงหาคำตอบ
1. กระแสไฟฟ้ าในตัวกลางคู่ใดต่อไปนีÊ เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
ลบอย่างเดียวเท่านั้น
ก. แท่งโลหะตัวนําและหลอดบรรจุก๊าซ
ข. สารละลายอิเล็กโตรไลท์และหลอดสุญญากาศ
ค. หลอดสุญญากาศและแท่งโลหะตัวนํา
ง. หลอดบรรจุก๊าซและสารละลายอิเล็กโตรไลท์
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 15

2. กระแสในข้อใดบ้างที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
ทั้งบวกและลบ
1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ 2. หลอดไฟฟ้าไส้ทังสเตน
3. สารละลายกรดกํามะถัน 4. ไดโอดสารกึ่งตัวนํา
คําตอบที่ถูกต้องคือข้อใด
ก. 1 , 2 , 3 และ 4 ข. 1 , 3 และ 4 ค. 3 และ 4
ง. คําตอบเป็นอย่างอื่น

3. ข้อความในข้อใดผิด
ก. กระแสไฟฟ้าในโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ
ข. กระแสไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนําเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
อิสระ
ค. กระแสไฟฟ้าในสารอิเล็กโทรไลต์เกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออน
บวกและไอออนลบ
ง. กระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุก๊าซเกิดจากการเคลื่อนที่ของ
อิเล็กตรอนอิสระและไอออนล

4. ในแท่งตัวนำหนึ่งๆ ที่มีกระแสไฟฟ้าซึ่งมีค่ามากกว่าศูนย์ไหลผ่าน ข้อ


ต่อไปนี้ข้อใดผิด
1. กระแสอิเล็กตรอนมีทิศทางเดียวกับสนามไฟฟ้า
2. กระแสอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากศักย์ต่ำไปยังศักย์สูง
3. กระแสไฟฟ้ามีทิศตรงข้ามกับกระแสอิเล็กตรอน
4. สนามไฟฟ้าในตัวนำนี้มีค่ามากกว่าศูนย์

5. เมื่อทำให้ปลายทั้งสองข้างของแท่งโลหะมีความต่างศักย์จะมี
1. การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระในแท่งโลหะจากปลายที่มีศักย์
ไฟฟ้าสูงไปยังปลายที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ
2. การถ่ายเทประจุไฟฟ้าผ่านพื้นที่หน้าตัดของแท่งโลหะจากปลายที่มี
ศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังปลายที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ
3. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแท่งโลหะจากปลายที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปยัง
ปลายที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 16
4. การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าบวกไปยังขั้วลบและประจุไฟฟ้าลบไป
ยังขั้วบวก

6. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. การนำไฟฟ้าในหลอดบรรจุก๊าซ เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
บวก และประจุไฟฟ้าลบ
2. การนำไฟฟ้าในแท่งโลหะเกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าลบ
3. การนำไฟฟ้าในอิเล็กโตรไลต์ เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า
บวกอย่างเดียวเท่านั้น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3
ง. ข้อ 1, 2 และ 3
7. คำกล่าวต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. เมื่อใช้โซเดียมคลอไรด์เป็นอิเล็กโตรไลด์ โซเดียมไอออนจะจับที่ขั้ว
บวก คลอไรด์ไอออนจะจับที่ขั้วลบ
2. เมื่อต่อโลหะเข้ากับแบตเตอรี่ให้ครบวงจร จะมีประจุบวกและประจุ
ลบเคลื่อนที่ในโลหะเข้าหาขั้วไฟฟ้าตรงกันข้าม
3. เมื่อให้ความต่างศักย์กับขั้วแคโทด และ แอโนดของหลอด
สุญญากาศ จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากโลหะที่เป็นแคโทด
4. เมื่อต่อหลอดไฟโฆษณากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ประจุลบจะเคลื่อนที่
ในทิศทางตรงกันข้ามกับสนามไฟฟ้าประจุบวกจะเคลื่อนที่ในทิศ
เดียวกับสนามไฟฟ้า

8. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดผิด
1. เมื่อนำแท่งโลหะต่อเข้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ไหล
ผ่านแท่งโลหะ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ
2. กระแสไฟฟ้าในสารอิเล็กโทรไลต์เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุ
บวกและประจุลบ
3. กระแสไฟฟ้าในหลอดนีออนหรือหลอดไฟโฆษณาสีต่างๆ เกิดจากการ
เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระเท่านั้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 17
4. ในการใช้งานของหลอดไดโอด ถ้าต่อขั้วแอโนดกับขั้วลบ และแคโธ
ดกับขั้วบวกของแบตเตอรี่ จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดได
โอด

9. ข้อความในข้อใดผิด
1. กระแสไฟฟ้าในสารอิเล็กโตรไลด์เกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออน
บวกและไอออนลบ
2. กระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุก๊าซเกิดจากการเคลื่อนที่ของ
อิเล็กตรอนอิสระและไอออนบวก
3. กระแสไฟฟ้าในโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ
4. กระแสไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
อิสระ

10. กระแสไฟฟ้าขนาดคงที่ 2 แอมแปร์ ไหลในลวดตัวนำ 4 นาที


อิเล็กตรอนที่ถ่ายเทในตัวนำนีเ้ ป็นกี่อนุภาค
ก. 1.5 x 1021
ข. 2.0 x 1021
ค. 3.0 x 1021
ง. 8.0 x 1021

11. สารตัวนำหนึ่งมีประจุ +120 คูลอมบ์ เคลื่อนที่จากขั้วบวกไปยัง


ขั้วลบ ในเวลา 1 นาที และมีประจุ –240 คูลอมบ์ เคลื่อนที่
จากขั้วลบไปยังขั้วบวกในเวลาเดียวกัน จงหาขนาดของกระแสไฟฟ้า
ในลวดตัวนำนี้
ก. 2 แอมแปร์
ข. 3 แอมแปร์
ค. 6 แอมแปร์
ง. 12 แอมแปร์
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (ตอนที่ 1)
หน้า 18

12. ตัวนำไฟฟ้าหนึ่ง มีอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่จากแคโทดไปยังอา


โนด จำนวน 2x1019 อนุภาคในเวลา 4 วินาที จะมีกระแส
ไฟฟ้าผ่านตัวนำนี้เท่าใด
ก. 0.2 แอมแปร์
ข. 0.8 แอมแปร์
ค. 3.2 แอมแปร์
ง. 12.8 แอมแปร์

13. ลวดตัวนำเส้นหนึ่งมีพ้ น
ื ที่หน้าตัด 0.1 ตารางเซนติเมตร มี
28
อิเล็กตรอน 5 x 10 อนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร อิเล็กตรอนมีความเร็ว
ลอยเลื่อน 5 x 10- 6 m/s จงหากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
ก. 0.5 แอมแปร์
ข. 0.4 แอมแปร์
ค. 0.3 แอมแปร์
ง. 0.1 แอมแปร์

You might also like