You are on page 1of 9

1

15.8 การแผ่รังสีของวัตถุดำ ( Black body radiation)


วัตถุดำเป็นวัตถุอุดมคติ สามารถดูดกลืนและแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าได้ทุกความยาวคลื่น
พลังงานรังสีที่แผ่ออกจากวัตถุดำขึ้นกับอุณหภูมิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ขึ้นกับชนิดหรือรูปร่างของ
วัตถุดำ เราศึกษาการแผ่รังสีของวัตถุดำ เพื่อเป็นต้นแบบศึกษาการแผ่รังสีของวัตถุอื่น ๆ ในชีวิต
ประจำวันทั้งของแข็งและของเหลว
ในทางปฏิบัติเราจะใช้ก้อนวัตถุข้างในเป็นโพรงที่มีรูเล็ก ๆ เสมือนเป็นวัตถุดำ ดังรูป 15.13
เพราะนอกจากจะแผ่รังสีออกมาทุกความถี่แล้ว ยังสามารถดูดกลืนรังสีภายนอกที่ผ่านรูเข้าไปในโพรง
เพราะรังสีจะสะท้อนกลับไปมาในโพรงและถูกดูดกลืนจนหมด ไม่สามารถออกมาจากโพรงได้

รูปที่ 15.13 วัตถุที่มีคุณสมบัติเสมือนวัตถุดำ

มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามหาคำอธิบายการแผ่รังสีและดูดกลืนรังสีของวัตถุดำ จน
กระทั่ง ลอร์ดเรย์เลย์ และ เซอร์เจมส์จีนส์ ( Lord Rayleigh and Sir Jame Jeans) ชาว
อังกฤษเสนอว่า วัตถุดำประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก เรียกว่า “ออสซิลเลเตอร์” (Oscillator)
และอธิบายโดยใช้ฟิ สิกส์ดั่งเดิม (Classical physics) คือ ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าของแมกเวลล์
อธิบายว่า เมื่อออสซิลเลเตอร์ได้รับความร้อนจะดูดกลืนและสั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าที่แผ่ออกไป โดยจะสั่นด้วยความถี่ใดๆ ก็ได้ แต่เมื่อนำแนวคิดนี้เป็นสร้าง
สมการพบว่า ได้ตรงกับผลการทดลองเฉพาะช่วงความยาวคลื่นยาวๆ เท่านั้น
ปี พ.ศ. 2443 แมกซ์ พลังค์ (Max Planck) นักฟิ สิกส์ชาวเยอรมัน ตั้งสมมติฐาน
ว่า พลังงานที่ออสซิลเลเตอร์รับเข้าไปหรือปล่อยออกมานั้นมิได้ต่อเนื่อง แต่มีได้เฉพาะบางค่าเป็น
จำนวนเท่าของ และเรียกปริมาณ นี้ว่า “ควอนตัมของพลังงาน”(Quantum of
energy) เขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ ดังนี้

( 15.13)
เมื่อ เป็นพลังงานของออสซิลเลเตอร์ที่ดูดกลืนหรือปล่อยออกมา ในหน่วยจูล
เป็นค่าคงที่ของแพลงค์ (Planck’s constant) เท่ากับ
เป็นความถี่การสั่นของออสซิลเลเตอร์ ในหน่วย เฮริตซ์
2

เป็นเลขควอนตัม(Quantum number) เป็นเลขจำนวนเต็ม 1 , 2 , 3 , …

เมื่อนำแนวคิดของ แพลงค์ สร้างเป็นสมการพบว่า ได้ผลตรงกับการทดลองทุกค่า


ความยาวคลื่นที่รังสีแผ่นออกมา อย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวคิดของแพลงค์จะใช้อธิบายการดูดกลืนและ
แผ่รังสีของวัตถุดำได้ แต่ยังไม่ยอมรับกันนักในขณะนั้น เวลาต่อมาจึงยอมรับกันเมื่อใช้อธิบาย
ปรากฏการณ์อื่น ๆ ได้ เช่น ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก ปรากฎการณ์คอมพ์ตัน
แนวคิดพลังค์เกี่ยวกับควอนตัมพลังงานนี้ ได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับพลังงานซึ่งเดิมคิดว่า
พลังงานมีค่าต่อเนื่อง มาเป็นมีค่าไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวคิดของฟิ สิกส์ยุคปัจจุบัน
15.19 ทฤษฎีอะตอมของบอร์
นีล บอร์( Niel Bohr)นักฟิ สิกส์ชาวเดนมาร์ก เสนอแบบจำลองอะตอมในปี พ.ศ. 2456 ซึ่ง
เป็นแบบจำลองอะตอมที่ได้จากการผสมผสานระหว่างโครงสร้างอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แนวคิด
การแผ่รังสีเป็นควอนตัมของพลังค์และทฤษฎีโฟตอนของไอน์สไตน์ แบบจำลองนี้สามารถอธิบาย
การเกิดสเปกตรัมชนิดเส้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แบบจำลองอะตอมของบอร์ใช้สมมติฐาน ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 อิเล็กตรอนวิ่งรอบนิวเคลียสในวงโคจรบางวง(ต่อไปจะเรียก วงพิเศษ )ซึ่งจะ
ไม่เสียพลังงาน โดยวงพิเศษนี้อิเล็กตรอนจะมีโมเมนตัมเชิงมุม คงที่ และมีขนาดเป็นจำนวนเท่า
ของ  ดังความสัมพันธ์
( 15.14)
เมื่อ เป็นเลขควอนตัม = 1 , 2 , 3 ... เป็นมวลของอิเล็กตรอน ส่วน และ
เป็นอัตราเร็วตามเส้นรอบวงและรัศมีวงโคจร ตามลำดับ
สมมติฐานที่ 2 เมื่ออิเล็กตรอนเปลี่ยนจากวงพิเศษที่มีพลังงาน ไปยังวงพิเศษที่มีพลังงาน
อิเล็กตรอนจะแผ่รังสีเป็นโฟตอน 1 ตัว หรือดูดกลืนโฟตอนเข้าไป 1 ตัว โดยความถี่ของโฟ
ตอนหาได้จากสมการ ( ) ซึ่งมีที่มาของสมการดังนี้
เมื่ออิเล็กตรอนเปลี่ยนวงโคจร จะคายพลังงานหรือดูดกลืนพลังงาน เท่ากับ โดย
ซึ่งพลังงาน จำนวนนี้ก็คือพลังงานของโฟตอนนั่นเอง
จากแนวคิดของพลังค์ซึ่งกล่าวว่าพลังงานของโฟตอนแต่ละตัวเท่ากับ ดังนั้น

(15.15 )
เมื่อแทน เมื่อ คืออัตราเร็วแสงในสุญญากาศ สมการ ( ) จะเป็น
( 15.16)
เมื่อ คือความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าซึ่งอยู่ในรูปของโฟตอน
3

ถ้า มากกว่า ( ติดลบ ) แสดงว่าอิเล็กตรอนโดดจากวงโคจรที่มีพลังงานมากไป


วงโคจรมีพลังงานน้อย มันจะปล่อยพลังงานโดยการแผ่รังสีเป็นโฟตอน 1 ตัว ในตรงข้ามถ้า
น้อยกว่า ( ติดบวก ) มันจะดูดกลืนพลังงานจากโฟตอน 1 ตัว

15.20 ผลที่ได้จากแบบจำลองอะตอมของบอร์
แบบจำลองอะตอมของบอร์ สามารถอธิบายสิ่งต่างๆต่อไปนี้ได้
1 อธิบายข้อบกพร่องโครงสร้างอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดได้ โดยอธิบายว่าสาเหตุที่
อิเล็กตรอนไม่สูญเสียพลังงานแล้ววิ่งเข้ารวมกับนิวเคลียสนั้นเป็นเพราะ อิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรพิเศษ
2 หารัศมีวงโคจรและพลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจรพิเศษแต่ละวงได้ โดย
รัศมีหาจากสมการ( 15.17) ส่วนพลังงานหาจากสมการ( 15.18 ) ที่มาของสมการทั้งสองนี้จะ
แสดงในโจทย์ฝึกคำนวณ
รัศมีวงโคจรพิเศษ หน่วยเมตร( ) (15.17)
พลังงาน หน่วยอิเล็กตรอนโวลท์ ( 15.18)

เมื่อ เมตร ส่วน เป็นลำดับวงโคจร มีค่า 1 , 2 , 3 ,… เมื่อเรา


แทนค่า =1 , 2 , 3 , … ลงในสมการ ( ) จะได้ข้อมูลเป็นตาราง ดังรูป 15.14

ความหมาย รัศมี พลังงานของอิเล็กตรอน


( )
=1 วงพิเศษวงที่ 1
(วงในสุด) หรือ
=2 วงพิเศษวงที่ 2
=3 วงพิเศษวงที่ 3
=4 วงพิเศษวงที่ 4
=5 วงพิเศษวงที่ 5
=6 วงพิเศษวงที่ 6
=7 วงพิเศษวงที่ 7
= วงพิเศษวงสุดท้าย ไกลมาก เกือบศูนย์
(วงนอกสุด)

รูปที่ 15.14 ตารางแสดงข้อมูลที่สำคัญของไฮโดรเจนอะตอม


4

ตามรูปที่ 15.14 ข้อมูลในตาราง เป็นข้อมูลรัศมีและพลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจร


พิเศษ ลำดับที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 และวงสุดท้าย ส่วนวงอื่น ๆ (วงลำดับที่ 8 , 9 , 10 , 11 , … ) จะ
ไม่แสดงข้อมูลในที่นี้ ท่านผู้อ่านที่สนใจขอให้แทนค่าด้วยตนเอง
จากข้อมูลดังกล่าว จะทำให้เราวาดภาพจำลองอะตอมของบอร์ได้ดังรูป 15.15 และเมื่อ
นำพลังงานมาเขียนเป็นเส้นเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในลักษณะระดับพลังงาน จะได้ดังรูป 15.16

รูป 15.15 ภาพจำลองอะตอมของบอร์


5

รูป 15.16 แสดงระดับพลังงานของไฮโดรเจนอะตอม


จากรูป ขอให้สังเกตว่า ลำดับวงสูง ๆ นั้น ระดับพลังงานจะใกล้เคียงกันมาก ส่วนวง
สุดท้ายหรือวงนอกสุดจะมีระดับพลังงานน้อยมาก ๆ ซึ่งจะสรุปว่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งหมายความว่า
อิเล็กตรอนถูกนิวเคลียสดึงดูดน้อยมากหรือเกือบไม่ดึงดูดเลย ถ้ารับพลังงานจากภายนอกเพียงเล็กน้อย
จะหลุดจากอะตอมได้ง่ายมาก ส่วนวงในสุดซึ่งมีระดับพลังงานเป็นลบมากสุดนั้นหมายความว่า
อิเล็กตรอนถูกนิวเคลียสดึงดูดด้วยพลังงามมากที่สุด ต้องใช้พลังงานจากภายนอกมากจึงจะหลุดจาก
อะตอมได้ แต่ในวงในสุดนี้อะตอมจะมีเสถียรภาพมากสุด ในภาวะปกติอิเล็กตรอนจะอยู่ในระดับ
พลังงานนี้ เราเรียกกระดับพลังงานนี้ว่า “สภาวะพื้น”(Ground State) และเรียกระดับพลังงาน
ลำดับที่ 2 ขึ้นไปว่า “สภาวะถูกกระตุ้น”(Exited State) ซึ่งอิเล็กตรอนจะอยู่ในสภาวะเพียงชั่ว
ขณะเท่านั้น จากนั้นจะคายพลังงานเพื่อกลับสภาวะพื้นดังเดิม
3. ใช้อธิบายสาเหตุการเกิดเส้นสเปกตรัมไฮโดรเจนได้ โดยอธิบายว่าถ้าอิเล็กตรอนจาก
วงที่ ซึ่งมีระดับพลังงาน รับพลังงานแล้วโดดขึ้นไปยังวงที่ ซึ่งมีระดับพลังงาน
โดยที่ มันจะโดดกลับเพื่อสู่สภาวะพื้น ซึ่งอาจจะกระโดดเพียงครั้งเดียวหรือโดดกลับเป็น
ขั้นๆ ก็ได้ รูปแบบการกระโดดจึงหลากหลาย ยิ่งกระโดดจากวงลำดับสูงมาก ๆ เพื่อกลับสู่สภาวะ
พื้นยิ่งมีรูปแบบการกระโดดที่หลากหลายรูปแบบ การโดดกลับแต่ละครั้งจะคายพลังงานแม่เหล็กไฟ
ฟ้ าเป็นโฟตอน 1 ตัว มีความถี่เดียวตามสมการ ( ) เป็นสเปกตรัมแบบเส้น
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างกรณีอิเล็กตรอนจากระดับพลังงานที่ 3 โดดกลับสู่
สภาวะพื้น รูปแบบการกระโดดจึงเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 จะกระโดดจากระดับพลังงานที่ 3
มาสภาวะพื้นครั้งเดียว ส่วนรูปแบบที่ 2 จะกระโดดจากระดับพลังงานที่ 3 มาระดับพลังงานที่ 2
แล้วมาสภาวะพื้น แต่ละรูปแบบจะให้เส้นสเปกตรัมความยาวคลื่นดังนี้
รูปแบบที่ 1 จะได้สเปกตรัมเส้นเดียว มีความยาวคลื่นหาได้ดังนี้

รูปแบบที่ 2 จะได้สเปกตรัม 2 เส้น ความยาวคลื่นแต่ละเส้นหาได้ดังนี้


6

เส้นแรก

เส้นสอง

ขอให้ผู้อ่านพิจารณากรณีอื่น ๆ เช่น กรณีโดดจากวงที่ 4 หรือ 5 หรือ 6 หรือวงสุดท้าย เพื่อ


กลับสู่สภาวะพื้น ซึ่งจะได้รูปแบบการกระโดดซับซ้อนและได้เส้นสเปกตรัมหลายเส้น ดังนั้นก๊าซ
ไฮโดรเจนที่กำลังร้อน อิเล็กตรอนในสภาวะพื้นของแต่ละอะตอมจะรับพลังงานความร้อนแล้วกระ
โดดขึ้นไปยังวงลำดับสูง ๆ แล้วคายพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ ากลับสู่สภาวะพื้น แล้วรับพลังงานกระโดด
ขึ้นไปยังวงสูงวนเวียนไปมา รูปแบบการกระโดดของแต่ละอะตอมจึงไม่เหมือนกันและหลากหลายรูป
แบบ ภาพรวมจึงปรากฏเป็นเส้นสเปกตรัมอยู่นิ่ง ถ้าเราแบ่งกลุ่มสเปกตรัมจะแบ่งได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นสเปกตรัมที่ได้จากอิเล็กตรอนโดดตั้งแต่ระดับพลังงานที่ 2 ขึ้นไปกลับสู่
สภาวะพื้น ซึ่งก็คือสเปกตรัมในอนุกรมไลมานนั่นเอง โดยแต่เส้นในอนุกรมนี้ เกิดจากกรณีต่อไปนี้
เส้นที่ 1 อนุกรมไลมาน เกิดจาก อิเล็กตรอนโดดจากระดับพลังงานที่ 2 มา 1
เส้นที่ 2 อนุกรมไลมาน เกิดจาก อิเล็กตรอนโดดจากระดับพลังงานที่ 3 มา 1
เส้นที่ 3 อนุกรมไลมาน เกิดจาก อิเล็กตรอนโดดจากระดับพลังงานที่ 4 มา 1
เส้นสุดท้ายอนุกรมไลมาน เกิดจาก อิเล็กตรอนโดดจากระดับพลังงานสุดท้าย มา 1
ทำนองเดียวกันอนุกรมอื่นๆ เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
กลุ่มที่ 2 เป็นสเปกตรัมที่ได้จากอิเล็กตรอนโดดตั้งแต่ระดับพลังงานที่ 3 ขึ้นไปกลับสู่
ระดับพลังงานที่ 2 ซึ่งก็คือสเปกตรัมในอนุกรมบาล์เมอร์นั่นเอง
กลุ่มที่ 3 เป็นสเปกตรัมที่ได้จากอิเล็กตรอนโดดตั้งแต่ระดับพลังงานที่ 4 ขึ้นไปกลับสู่ระดับ
พลังงานที่ 3 ซึ่งก็คือสเปกตรัมในอนุกรมพาสเซนนั่นเอง
กลุ่มที่ 4 เป็นสเปกตรัมที่ได้จากอิเล็กตรอนโดดตั้งแต่ระดับพลังงานที่ 5 ขึ้นไปกลับสู่
ระดับพลังงานที่ 4 ซึ่งก็คือสเปกตรัมในอนุกรมแบรก์เกตนั่นเอง
กลุ่มที่ 5 เป็นสเปกตรัมที่ได้จากอิเล็กตรอนโดดตั้งแต่ระดับพลังงานที่ 6 ขึ้นไปกลับระดับ
พลังงานที่ 5 ซึ่งก็คือสเปกตรัมในอนุกรมฟุนด์นั่นเอง

15.21 อะตอมคล้ายอะตอมไฮโดรเจน
เราสามารถนำทฤษฎีของบอร์ไปประยุกต์ใช้กับอะตอมอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายไฮโดรเจน
อะตอม คือเป็นอะตอมที่นิวเคลียสมีประจุ และมีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียววิ่งวนรอบนิวเคลียส
เช่น ฮีเลียมไอออน ซึ่งนิวเคลียสมีประจุ และมีอิเล็กตรอนตัวเดียว หรือลิเทียม
ไอออน ซึ่งนิวเคลียสมีประจุ และมีอิเล็กตรอนตัวเดียว
7

เมื่อนำทฤษฎีอะตอมของบอร์มาใช้กับอะตอมลักษณะนี้ จะได้สมการต่างๆ ดังนี้

( 15.19 )

( 15.20 )
เมื่อ เป็นเลขอะตอมของธาตุ

15.22 ข้อบกพร่องทฤษฎีอะตอมบอร์
แม้แบบจำลองอะตอมของบอร์จะสามารถอธิบายสิ่งต่างๆได้ แต่มีบางกรณีที่ไม่สามารถ
อธิบายได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1 แบบจำลองนี้ ใช้ได้เฉพาะอะตอมมีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว เช่น ไฮโดรเจนอะตอม
2 แบบจำลองนี้ ไม่สามารถอธิบายการเกิดสเปกตรัมอะตอมชนิดอื่นๆ ได้
3 ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่ออะตอมไฮโดรเจนอยู่ในสนามแม่เหล็ก เส้นสเปกตรัม
ของอะตอมแต่ละเส้น จึงแยกออกเป็นเส้นย่อยเล็ก ๆ ดังรูป 15.17

รูป 15.17 แสดงการแยกเส้นสเปกตรัมไฮโดรเจน เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก

ตัวอย่างที่ 15.4 จงพิสูจน์สมการ


วิธีคิด พิจารณาอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว เช่น ไฮโดรเจนอะตอม ซึ่งขณะ
อิเล็กตรอนมวล โคจรรอบนิวเคลียสด้วยอัตราเร็วตามเส้น จะมีแรงสู่ศูนย์กลางขนาดตาม
สมการ ซึ่งแรงสู่ศูนย์กลางนี้ แท้จริงก็คือแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกของนิวเคลียสกับ
ประจุลบของอิเล็กตรอนนั่นเอง ตามรูป 15.18 โดยมีขนาดแรงตามสมการ ดังนั้น

(15.21 )
8

รูป 15.18 แสดงแรงกระทำอิเล็กตรอนตามสมมติฐานของบอร์

สำหรับ นั้น เป็นปริมาณประจุไฟฟ้ าในนิวเคลียสและในอิเล็กตรอนตามลำดับ ซึ่ง


เท่ากับ ซึ่งเราจะแทนเลขจำนวนนี้ด้วย
เราจะปรับสมการ ( ) โดยนำแทน ด้วย แล้วนำ คูณสมการนี้ทั้งสองข้าง
จะได้
( 15.22)

แต่เทอม ก็คือโมเมนตัมเชิงมุม ของอิเล็กตรอน ซึ่งจะต้องเท่ากับ ตาม


สมมติฐานข้อ 1 ของบอร์ ดังนั้นเมื่อเราแทน สมการ ( ) จะเป็น
(15.23)
ถ้าแทน ในสมการ ( ) จะได้ เป็นรัศมีวงโคจรอิเล็กตรอนรอบ
นิวเคลียส วงที่ 1 , 2 ,3 , 4 , … , และวงสุดท้าย ตามลำดับ
เมื่อแทน จะได้

เมื่อแทน จะได้

เมื่อแทน จะได้

เมื่อแทน จะได้
เมื่อแทน จะได้รัศมีวงโคจรสุดท้าย ซึ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมาก
ถ้าเขียนสรุปใหม่ จะเป็น เมื่อ โดย เป็นรัศมี
วงโคจรที่ 1 หรือวงในสุด มีค่าเท่ากับ ส่วน หมายถึงลำดับวงโคจรของ
อิเล็กตรอน

ตัวอย่างที่ 15.5 จงพิสูจน์สมการ


9

วิธีคิด เราพิจารณากรณีนิวเคลียสไม่เคลื่อนที่ ดังนั้นพลังงานรวมของอะตอมในวงโคจรใด ๆ


ก็คือพลังงานรวมของอิเล็กตรอนในวงโคจรรอบนิวเคลียส ซึ่งเท่ากับพลังงานศักย์ไฟฟ้ าของ
อิเล็กตรอน รวมกับพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอน ตามสมการ ( )
( 15.24 )
โดย และ ทำให้สมการ ( ) เป็น

( 15.25)

เมื่อแทน ในสมการ ( ) จะได้

( 15.26 )

เมื่อแทนค่า , ,
และทำให้หน่วยพลังงานเป็นอิเล็กตรอนโวลท์ จะได้
ในหน่วย

You might also like