You are on page 1of 25

เอกสารประกอบการสอน

กระบวนวิชา ฟสิกสรังสีการแพทยพื้นฐาน 515113 (ภาคบรรยาย)


เรื่อง ความรูทั่วไปเกี่ยวกับรังสี หนวยทางรังสี และการปองกันอันตรายจากรังสี
บรรยายโดย อ.ดร.ชญานิษฐ จำป

บทนำ
เมื่อกลาวถึงรังสีอาจมีนิยามที่แตกตางหลายตามบริบทของการใชงาน ซึ่งโดยหลักแลว รังสีสามารถ
แบงไดเปน 2 ชนิดหลัก ไดแก รังสีไมกอประจุ (Non-ionizing radiation) ซึ่งมีการใชงานอยางแพรหลายและ
ไมกอใหเกิดการแตกตัวเปนประจุในตัวกลาง และ รังสีกอประจุ (Ionizing radiation) ที่สามารถทำใหตัวกลาง
เกิดการแตกตัวเป นประจุได ซึ ่ ง นัก รังสี เทคนิคเปนบุคลากรที่ตองทำงานเกี่ยวขอ งกับรังสีกอประจุ โดยมี
วัตถุประสงคเพื่อใชรังสีในการวินิจฉัยและรักษาโรค แมวารังสีจะมีประโยชนมากมายแตเนื่องจากรังสีกอประจุ
เปนรังสีที่กอใหเกิดความเสียหายตอระบบชีววิทยาของรางกายได จึงมีความจำเปนอยางยิ่งที่ตองทำการศึกษา
เกี่ยวกับ ชนิดและคุณสมบัติของรังสี รวมทั้งปริมาณและหนวยตาง ๆ ทางรังสี เพื่อเปนพื้นฐานความรู ให
สามารถประยุกตใชรังสีและเลือกวิธีการปองกันอันตรายจากรังสีไดอยางเหมาะสมในลำดับตอไป
ความรูทั่วไปเกี่ยวกับรังสี หนวยทางรังสี
ความรูพื้นฐานทางรังสี
รังสี (Radiation) คือ พลังงานที่แผออกมาจากตนกำเนิด หรือบริเวณหนึง่ ไปยังอีกบริเวณหนึง่ ผาน
ตัวกลางชนิดตาง ๆ ซึ่งรังสีสามารถแบงออกเปน 2 ชนิด ไดแก
1. รังสีไมกอประจุ (Non-ionizing radiation)
รังสีชนิดนี้มักเปนรังสีที่มีพลังงานต่ำ เมื่อผานเขาไปยังตัวกลางใด ๆ จึงไมสามารถเหนี่ยวนำ
หรือกอใหตัวกลางนั้นเกิดการแตกตัวได เชน แสงอาทิตย คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ เปนตน
2. รังสีกอประจุ (Ionizing radiation)
เปนรังสีที่มีพลังงานสูง มักเกิดจากการสลายตัวของธาตุหรืออะตอมที่ไมเสถียร ซึ่งถูกเรียกวา
สารกัมมันตรังสี (Radioactive material) เชน คลื่นแมเหล็กไฟฟา จำพวกรังสีเอกซ และ รังสีแกมมา
อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา เปนตน หรือเกิดจากเครื่องกำเนิดรังสีอื่น ๆ ที่มนุษยสรางขึ้น เชนเครื่อง
กำเนิดรังสีเอกซ (X-ray machine) ซึ่งรังสีเหลานีส้ ามารถเหนี่ยวนำหรือทำใหตัวกลางทีร่ ังสีชนิดนี้ผาน
เขาไปเกิดการแตกตัวเปนประจุได โดยรังสีชนิดกอประจุนสี้ ามารถแบงไดเปน 2 ประเภทหลัก ไดแก
2.1.รังสีหรืออนุภาคที่มีประจุ ( Charged particulated radiation)
เนื่องจากเปนรังสีที่มีประจุทางไฟฟา รังสีชนิดนี้จึงสามารถทำอันตรกิริยากับตัวกลางได
โดยตรง (Directly interact) ผานแรงคูลอมบ (Coulomb force) ไดแก อนุภาคแอลฟา ( 42He; α)
อนุภาคบีตา ( −10e; β− ) อนุภาคโพซิตรอน ( +10e; β+ ) และ อนุภาคโปรตอน ( 11H+ ; P+ ) เปนตน
2.1.1. อนุภาคแอลฟา (Alpha particle) ( 𝟒𝟒𝟐𝟐𝑯𝑯𝑯𝑯; 𝜶𝜶)
อนุภาคแอลฟาเปนอนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบดวยโปรตอน 2 ตัว
และ นิ วตรอน 2 ตัว เชนเดียวกันกับนิวเคลียสของฮีเลียม (He) จึง มัก มีก ารใช
สัญลักษณ 42He แทนคุณลักษณะของอนุภาคแอลฟา แอลฟาจัดเปนรังสีที่อยูในกลุม
อ น ุ ภา คม ี ป ร ะ จ ุ ม วล ห น ั ก ( Heavy charged particle) เ น ื ่ อ ง จ า ก ม ี ม วล
6.6446573357 x 10-27 กิโลกรัม(1) หรือประมาณ 4 atomic unit (amu) ซึ่งมีมวล
มากกวาอิเล็กตรอน ประมาณ 7294 เทา และมีประจุเปน +2 สามารถเกิดอันตร
กิ ร ิ ย ากับ ตัว กลางไดโ ดยตรง (Direct interaction)ผ านแรงคูล อมบ (Coulomb
force) นอกจากนั้นแอลฟาจัดเปนอนุภาคมวลที่มีม วลมากเมื่อ เปรียบเทียบกับ
อนุภาคชนิดอื่น ๆ จึงสงผลใหมีอำนาจทะลุทะลวงในตัวกลางในระยะทางที่ส้ันมาก
อนุ ภาคแอลฟามัก มีแหลง กำเนิดอันเนื่อ งมาจากการสลายตัวของนิวไคลดร ัง สี
(Radionuclide) หรื อ สารกั ม มั น ตรั ง สี ใ นธรรมชาติ ท ี ่ จ ั ด อยู  ใ นกลุ  ม ธาตุ ห นั ก
ยกตัวอยางเชน การสลายตัวใหอนุภาคแอลฟา (Alpha decay) ของ Thorium-232
(Th-232) ดังแสดงในสมการที่ (1)
232
90Th → 228
88Ra + 42He (1)
2.1.2. อนุภาคบีตา (Beta particle) หรืออิเล็กตรอน
เกิดจากการสลายตัวของนิวไคลดที่ไมเสียรที่ม ีจำนวนโปรตอนมาก
เกิ นไปหรื อ น อ ยเกินไป มีอ ำนาจทะลุท ะลวงในตั วกลางสูง กว าอนุ ภาคแอลฟา
เนื่องจากมีมวลและประจุที่นอยกวา ซึ่งสามารถเกิดอันตรกิริยาโดยตรงกับตัวกลางได
ผ า นแรงคู ล อมบ และเนื ่ อ งจากอิ เ ล็ ก ตรอนมี ม วลน อ ยมาก โดยมี ม วลเทากับ
9.1093837015 x 10-31 kg จึงทำใหรังสีเบตาเกิดการเบีย่ งเบนไดงายในสนามไฟฟา
โดยสามารถแบงออกเปน 2 ชนิด ดังนี้
2.1.2.1 บีตาลบ หรือ อิเล็กตรอน ( −10𝑒𝑒; 𝛽𝛽−)
อนุภาคบีตา เปนอนุภาคที่มีประจุลบ เกิดจากเกิดจากการ
สลายตัวของนิวไคลดที่มีจำนวนนิวตรอน (พิจารณาไดจากสวนตางของเลข
มวล (A) และเลขอะตอม (Z); A-Z) มากเกินกวาโปรตอน จนกอใหเกิดความ
ไมเ สถียรในนิวเคลียสจึง ตอ งลดจำนวนนิวตรอนลงโดยการปลดปล อ ย
พลังงานสวนหนึ่งออกมาในรูปของบีตาหรืออิเล็กตรอน ( −10e) สงผลใหมี
จำนวนนิวตรอนของนิวไคลดที่ลดลง ยกตัวอยางเชน การสลายตัวใหอนุภาค
บีตาของนิวไคลด Carbon-14 (C-14) ดังแสดงในสมการที่ (2)
14
6C → 14
7N + −10e (2)
2.1.2.2. อนุภาคโพซิตรอน (Positron particle) ( +10𝑒𝑒; 𝛽𝛽+ )
อนุภาคโพซิตรอน เปนอนุภาคที่มีประจุบวก เกิดจากการ
สลายตัวของนิวเคลียสที่มีโปรตอนมากเกินกวานิวตรอน ดังนั้นจึงตองลด
จำนวนโปรตอนลงโดยปลดปลอ ยอนุภาคโพซิตรอนหรือ อิเล็กตรอนบวก
( +10𝑒𝑒) ออกมาเพื่อใหนิวเคลียสมีความเสถียร ยกตัวอยางเชน การสลายตัว
ใหอ นุภาคโพซิตรอนของของนิวไคลด Fluorine-18 (F-18) ดัง แสดงใน
สมการที่ (3)
18
9F → 18 0
8O + +1e (3)
2.1.3. อนุภาคโปรตอน (Proton particle) (𝟏𝟏𝟏𝟏𝑯𝑯+ ; 𝑷𝑷+ )
โปรตอนมีประจุไฟฟาเปนบวกหนึ่งหนวย มีมวลเทากับ 1.67262192369
-27
x 10 kg เปนองคประกอบมูลฐานของนิวเคลียสของอะตอม โดยอยูยึดรวมกับ
นิวตรอน ในนิวเคลียสของอะตอมใด ๆ จะพบโปรตอนอยางนอยหนึ่งตัวเสมอ Ernest
Rutherford นักฟสิกสชาวบริติช ไดคนพบนิวเคลียสของไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่ง
เปนนิวเคลียสที่เบาทีส่ ุดเนื่องจากไมมีนิวตรอนเปนสวนประกอบรวมดวย จากนั้นในป
ค.ศ. 1920 Rutherford จึงไดกำหนดชื่อใหกับ นิวเคลียสของไฮโดรเจนวา โปรตอน
(Proton) ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีกแปลวา "first" หรือ “สิ่งแรก”(2) ดังนั้นเมื่อกลาวถึง
โปรตอนก็มักหมายถึงนิวเคลียสของไฮโดรเจนนั่นเอง โดยจำนวนของโปรตอนภายใน
นิวเคลียสของอะตอมจะเปนตัวบอกเลขอะตอม และกำหนดชนิดของธาตุ รวมทั้งเปน
ตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของดวย
โปรตอนอิสระ (Free proton) หรือโปรตอนที่ไมไดถูกยึดอยูกับนิวเคลียส
ของ สามารถพบไดบางครั้ง ในธรรมชาติ เชน พายุฝ นฟาคะนองที่ในสภาวะที่ มี
พลังงานและอุณหภุมิสูงเพียงพอที่จะเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหวางอิเล็กตรอนใน
อะตอมของไฮโดรเจน หรือเอาชนะแรงยึดเหนึ่ยวภายในนิวเคลียสระหวางนิวตรอน
ได โปรตอนอิสระจึงถือเปนอนุภาครังสีที่สามารถถายเทพลังงานใหกับตัวกลางได
โดยตรงผานแรงทางคูลอมบของประจุบวก จึงทำใหตัวกลางเกิดการแตกตัวเปนประจุ
ได
2.2. รังสีหรืออนุภาคที่ไมมีประจุ ( Uncharged particulated radiation)
รั ง สี ชนิดนี้ เปนกลางทางไฟฟา จึง ตอ งทำอันตรกิริยากับตัวกลางโดยออม (Indirectly
interact) ไดแก โฟตอนหรือคลื่นแมเหล็กไฟฟา เชน รังสีเอกซ (X-ray) และรังสีแกมมา (Gamma
ray; γ) ซึ่งไมมีมวลและไมมีประจุ จึงมีอำนวจทะลุทะลวงสูง รังสีสองชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนกันทุก
ประการแตแตกตางกันที่แหลงกำเนิด โดยรังสีเอกซจะมีแหลงกำเนิดจากอิเล็กตรอน ในขณะที่รังสี
แกมมามีแหลงกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม นอกจากนั้น อนุภาคนิวตรอน ( 10𝑛𝑛)ซึ่งเปนกลางทาง
ไฟฟาก็จัดอยูในประเภทของรังสีที่ไมมีประจุ
1.2.1. รังสีเอกซ (X-ray) และ รังสีแกมมา (Gamma ray)
เป นคลื ่ นแมเ หล็ก ไฟฟาที่อ ยูในยานความถี่ส ูง หรือ ความยาวคลื่นสั้น ในช ว ง
ประมาณนอ ยกวา 10 นาโนเมตร ดัง แสดงในรูปที่ 1 เปนรังสีไมมีมวลไมม ีประจุ และมี
ความเร็วเทากับแสง สงผลใหรังสีเอกซและรังสีแกมมามีคุณสมบัติเชนเดียวกันกับอนุภาคของ
แสงหรือที่เรียกวาโฟตอน (Photon) เชนเดียวกัน ซึ่งในทางฟสิกส คลื่นสามารถประพฤติตัว
หรือแสดงคุณสมบัติเชนเดียวกับอนุภาคเมื่ออยูในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง และอนุภาคก็สามารถ
แสดงสมบัติของคลื่นไดเชนกัน ซึ่งสภาวะนี้เรียกวาเปนคุณสมบัติทวิภาคของคลื่น-อนุภาค
(wave–particle duality) ดังนั้นรังสีเอกซและรังสีแกมมาจึงถูกจัดใหอยูในกลุมของโฟตอน

รูปที่ 1 คลื่นแมเหล็กไฟฟาชนิดตางๆ
ที่มา: https://www.defencetalk.com/electromagnetic-spectrum-strategy-paves-way-for-new-
technologies-58837/ (สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

แมวารังสีเอกซและรังสีแกมมาจะมีคุณสมบัติโดยหลักเหมือนกัน เชน ไมมีมวล ไม


มีประจุ มีพลังงานสูงและมีอำนาจทะลุทะลวงสูงในตัวกลาง แตก็มีขอแตกตางที่แหลงกำเนิด
ในการรังสีเหลานี้ที่ไมเหมือนกัน เนื่องจากรังสีแกมมามีแหลงกำเนิดที่นิวเคลียส (Nucleus)
ของอะตอม แตรงั สีเอกซมีตนกำเนิดที่ชั้นของอิเล็กตรอน (Electron) ในอะตอม
แหลงกำเนิดรังสีเอกซและรังสีแกมมา
รังสีเอกซ
มั ก เกิ ดจากการผลิตโดยฝมือ มนุษยโ ดยทำการยิง ลำอนุภาคอิเ ล็ก ตรอนปฐมภูม ิ (Primary
electron beam) ใสเ ปาโลหะ (Target) เมื่อ อิเ ล็ก ตรอนปฐมภูม ิเขาไปชนที่เ ปาจะเกิดการถายเท
พลังงานใหกับอิเล็กตรอนของเปาโลหะนั้น และเปลี่ยนไปเปนพลังงานของรังสีเอกซ 2 ชนิด ไดแก
1) เบรมสชตราลุง (Bremsstrahlung)
มีรากศัพทมากจากภาษาเยอรมัน ของคำวา bremsen ที่แปลวา หยุดหรือหนวง (To brake)
และคำวา Strahlung ที่แปลวา รังสี (Radiation) ดังนั้นจึงมีความหมายโดยรวมวา รังสีหยุดหรือ
รังสีหนวง เปนรังสีเอกซทมี่ ีสเปกตรัมพลังงานแบบตอเนื่อง เกิดจากการที่ อิเล็กตรอนปฐมภูมิ ประจุ
ลบ ที่ความเร็วอันเนื่องมากจากพลังงานจนล (Kinetic energy) วิ่งเขามาใกลสนามไฟฟาบวกใน
นิวเคลียสของอะตอมที่เปนเปา ทำใหถูกดึงดูดหรือหรือหนวงความเร็ว สงผลใหสูญเสียพลังงานจลน
และมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของอิเล็กตรอน กลายเปนอิเล็กตรอนกระเจิง (Scattered electron)
ซึ่งพลังงานจลนที่สูญเสียไปนี้จะเปลีย่ นไปอยูในรูปของรังสีเอกซที่แผออกมาจากเปาโลหะนั่นเอง ดัง
แสดงในรู ป ที่ 2 เหตุ ผ ลที ่สเปกตรัมของ รัง สีเ อกซแบบเบรมสชตราลุงมีลักษณะแบบตอเนื่อง
เนื่องจากอิเล็กตรอนจากลำอิเล็กตรอนปฐมภูมิมีพลังงานที่หลากหลายและเขาใกลสนามไฟฟาใน
นิวเคลียสไดในระยะทางที่แตกตางกันทำใหถูกหนวงพลังงานไดไมเทากันสงผลใหรังสีเอกซที่แผ
ออกมามีพลังงานที่หลากหลายเชนเดียวกันจนสังเกตุเห็นไดในลักษณะสเปกตรัมแบบตอเนื่องดัง
แสดงในรูปที่ 3
2) รังสีเอกซเฉพาะตัว (Characteristic X-ray)
เป นรั ง สี เ อกซ ท ี่ ม ี พลัง งานเฉพาะ ขึ้นอยูก ับ เปาโลหะที่ใชเ ปนแหลงผลิตรังสีเ อกซนั้น ๆ
เนื่องจากธาตุแตละชนิดจะมีจำนวนชั้นอิเล็กตรอน (Electron shell) ไมเทากัน รวมทั้งในแตละ
ระดับชั้นก็มีพลังงานที่เฉพาะเจาะจงในแตละธาตุ รังสีเอกซชนิดนี้เกิดจากการที่อิเล็กตรอนปฐมภูมิ
เขาไปชนกับอิเล็กตรอนในชั้นของเปา และถายเทพลังงานจลนทั้งหมดใหกับอิเล็กตรอนของเปา ซึ่ง
ถาหากมีพลังงานมากพอที่จะเอาชนะแรงยึดเหนี่ยว (Binding enegy) ระหวางนิวเคลียสได ก็จะทำ
ใหอิเล็กตรอนในชั้นของเปาหลุดออกไปจากอะตอม เกิดเปนชองวางของชั้นอิเล็กตรอนนั้น ๆ จน
กอใหเกิดความไมเสถียรในอะตอม อิเล็กตรอนในชั้นที่มีพลังงานสูงกวาจึงเขามาแทนที่ชองวางนั้น
และปลดปลอยพลังงานสวนเกินออกมาในรูปรังสีเอกซที่มีพลังงานเฉพาะตัว (Characteristic X-
ray) เกิดเปนสเปกตรัมที่ไมตอเนื่องดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 2 การผลิตรังสีเอกซ (X-ray)
ที่มา: http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/quantum/xtube.html (สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

รูปที่ 3 สเปกตรัมรังสีเอกซ แบบตอเนื่อง (Bremsstrahlung) และไมตอเนื่องของรังสีเอกซ


เฉพาะตัว (Characteristic X-ray)
ที่มา: https://www.pngwing.com/en/free-png-pfxry (สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

The picture can't be displayed.

รูปที่ 4 ลักษณะการเกิดรังสีเอกซแบบตอเนื่อง (Bremsstrahlung) (ซาย)


และรังสีเอกซเฉพาะตัว (Characteristic X-ray) (ขวา)
รังสีแกมมา
ตนกำเนิดรังสีแกมมาสวนใหญมักเกิดจากนิวไคลดกัมมันตรังสี (Radioactive nuclide) ที่มี
นิวเคลียสที่ไมเสถียรจึงเกิดการสลายตัว (Decay) โดยปลดปลอยพลังงานออกมาในรูปของอนุภาค เชน
เบตา แอลฟา เป นต น ซึ ่ ง ยั ง คงอยูในสถานะกระตุน (Excited state) อยูจ ึง มักปลดปลอยพลังงาน
สวนเกินออกมาในรูปแบบของคลื่นแมเหล็กไฟฟาของรังสีแกมมา ยกตัวอยางเชน การสลายตัวของนิว
ไคลด ซีเซียม-137 (Cs-137) ที่มีการปลดปลอยอนุภาคบีตา และตามดวยรังสีแกมมาพลังงาน 0.662
MeV เพื่อใหกลายไปเปน แบเรียม-13 (Ba-137) ที่มีความเสถียร ดังแสดงในรูปที่ 5

รูปที่ 5 รูปแบบการสลายตัว (Decay scheme) ของ ซีเซียม-137 (Cs-137)


ที่มา: https://www.mdpi.com/2076-3417/11/11/5210 (สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

1.2.2. อนุภาคนิวตรอน (Neutron particle) ( 𝟏𝟏𝟎𝟎𝒏𝒏)


นิวตรอนปนอนุภาคมูลฐานที่อยูในนิวเคลียสของอะตอม เปนกลางทางไฟฟา มี
มวลเทากับ 1.67492749804 x 10-27 kg ซึ่งมีคาใกลเคียงกับมวลของอนุภาคโปรตรอน
หรือนิวเคลียสของไฮโดรเจน สามารถเกิดอันตรกิริยากับตัวกลางไดโดยออม (Indirect
interaction) ผานการชน (Collision) กับนิวเคลียสของตัวกลาง โดยนิวตรอนจะสูญเสีย
พลังงานมากที่สุดเมื่อชนกับนิวเคลียสที่มวลใกลเคียงกัน เชน ไฮโดรเจน
นิวตรอนอิสระ (Free neutron) จัดเปนอนุภาคที่ไมเสถียร สามารถสลายตัวให
โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวทริโน ไดเชนเดียวกันกับนิวไคลดกัมมันรังสี ดังแสดงในสมการ
ที่ (4) โดยมีอายุเฉลี่ย (Mean life time) เทากับ 879.6±0.8 วินาที (ประมาณ 14 นาที
40 วินาที) ซึ่งมีคาครึ่งชีวิต (Half-life) ประมาณ 10 นาที 10 วินาที(3)
1
0n → 11H + −10e + υe (4)
สัญลักษณเตือนภัยจากรังสี (Radiation warning symbol)
“Radiation warning symbol หรือ สัญ ลัก ษณเตือนภัยจากรังสี” มีก ารบัญญัติไวในศัพทานุกรม
นิวเคลียรวา หมายถึง “สัญลักษณสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อเตือนใหทราบวามีรังสี หรือให ระวังรังสี ประกอบดวย
ใบพัด 3 แฉก สีมวง หรือสีดำบนพื้นสีเหลือง สัญลักษณนี้ใชติดที่ภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี หรือบริเวณรังสี
(4) ดังแสดงในรูปที่ 6
1. เครื่องหมาย พื้นที่สีเหลือ วงกลมและแฉกสีมว ง
แดง (magenta)
2. ร หมายถึงรัศมี
3. ริมขอบบนของเครื่องหมาย มีอักษร “อันตราย”
ริม ขอบลางของเครื่อ งหมายมีอ ัก ษร “บริเ วณ
รังสี” หรือ “วัสดุกัมมันตรังสี” อักษรเหลานี้ ใชสี
ดำ ขนาดตัวอักษรเห็นไดชัดเจน
4. เครื่อ งหมายนี้ใหหม ีขนาดเหมาะสมแกบริเวณ
หรือหีบหอ สำหรับบริเวณรังสีที่เก็บรักษาวัส ดุ
ประจำใหทำแผนปายดวยโลหะเคลือบทนความ
รอนไดสูง และทนตอสภาพอากาศถาอยูภายนอก
อาคาร

รูปที่ 6 สัญลักษณเตือนภัยจากรังสี (Radiation warning symbol) หรือทีเ่ รียกวา Trefoil symbol


ที่มา: www.oap.go.th/images/documents/resources/articles/radiation/radiation-symbol.pdf (สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

เพื่อเปนประโยชนในการเตือนภัยในกรณีที่แตกตางกัน อาจมีการรวมขอมูลที่สำคัญอื่น ๆ รวมกับ


สัญลักษณรังสีเปนปายรังสี เพื่อนำไปใชประโยชนในการแสดงใหเห็นถึงการมีอยูของรังสี
อยางไรก็ตามสัญลักษณ สัญลักษณเตือนภัยจากรังสี รูปใบพัด 3 แฉก (Trefoil) ที่ใชอยางแพรหลายใน
ปจจุบัน อาจมีความหมายไมชัดเจนนัก เนื่องจากมีเพียงบุคคลเฉพาะกลุมเทานั้นที่ทราบในความหมาย ทบวง
การพลั ง งานปรมาณู ร ะหว า งประเทศ (International Atomic Energy Agency; IAEA) ร ว มกั บ องค ก ร
มาตรฐานสากลหรางประเทศ (The International Organization for Standardization; ISO) จึง นำเสนอ
สัญลักษณใหม เปนรูปคลื่นของรังสี กะโหลกไขว และคนกำลังวิ่งหนี เพิ่มเติมจากของเดิม ที่มีสัญลักษณของรังสี
เปนรูปใบพัด 3 แฉก(5) ดังแสดงในรูปที่ 7 โดยมีการนำออกมาใชง านเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ ค.ศ. 2007
เพื่อใหสามารถสื่อความหมายของอันตรายไดชัดเจนยิ่งขึ้นในระดับสากล โดยมีวัตถุประสงคเพื่อ ลดอัตราการ
ตายและลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรังสีจากวัสดุกัมมันตรังสีความแรงสูง ซึ่งเปนกัมมันตรังสีในกลุมที่ 1, 2
และ 3 ได แ ก เครื ่ อ งฉายรั ง สี อ าหาร (Food irradiators) เครื ่ อ งฉายรั ง สี ร ะยะไกลสำหรั บ รั ก ษามะเร็ง
(Teletherapy) และเครื่องถายภาพรังสีทางอุตสาหกรรม (Industrial radiography unit) ดังนั้นการใชงาน
รังสีในทางรังสีวินิจฉัยจึงยังคงพบ สัญลักษณเตือนภัยจากรังสี แบบใบพัด 3 แฉก (Trefoil) ดังเดิม
รูปที่ 7 สัญลักษณเตือนภัยจากรังสีแบบใหม
ที่มา: https://www.iaea.org/newscenter/news/new-symbol-launched-warn-public-about-radiation-dangers
(สืบคนเมื่อ 15 มีนาคม 2563)

การปองกันอัตรายจากรังสี
เนื่องดวยรังสีก อประจุสามารถกอใหเกิดผลเสียหายทางชีววิทยาตอสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการทำงานที่
เกี่ยวขอ งกั บ รั ง สี ก อ ประจุ จ ึ งต อ งมี ความระมัดระวัง อยางยิ่ง ดัง นั้น ICRP (International Commission
Radiological Protection: ICRP Publication 103(6) ) จึง ไดก ำหนดแนวทางเพื่อ ใชเ ปนหลัก การในการ
ป อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี ไว 3 หั ว ข อ หลั ก ได แ ก Justification, Optimization และ Dose limit เพื่ อ
ประยุกตใชในทางรังสี 3 เหตุการณ ไดแก 1) Planned exposure situations หรือเหตุการที่มีการวางแผนใน
การปฏิบัติเกี่ยวกับตนกำเนิดรังสีไวแลว 2) Emergency exposure situations หรือเหตุการณทางรังสีที่เปน
อุบัติเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นโดยไมคาดฝน การกอการราย รวมทั้งอุบัติเหตุเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีแมมีการ
วางแผนแลว และ 3) Existing exposure situations หรือ กรณีที่มีเปนบริเวณที่มีรังสีหรือความจำเปนตอง
ไดรับรังสีอยูแลว เชน รังสีในสิ่งแวดลอม เปนตน โดยที่จะมีการประยุกตใชหลักการ Justification และ
Optimization เสมอ เมื่ออยูในเหตุการณทั้งหมด [1), 2) และ 3)] ในขณะที่หลักการ Dose limits ถูกนำมา
ประยุกตใชเมื่อตองการทราบปริมาณรังสีที่ไดรับในสถานการณ Planned exposure situations เทานั้น โดยมี
รายละเอียดของหลักการในการปองกันอันตรายจากรังสี ดังนี้
1. The Principle of Justification
การปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวของกับรังสีตองกอใหเกิดประโยชนสูงสุดโดยมีผลกระทบ
หรือเกิดความเสี่ยงตอผูที่เกี่ยวของนอยที่สุด
2. The Principle of Optimization of Protection
เปนกระบวนการในการประเมินระดับของความปลอดภัย (Safety) และการปองกัน (Protection)
อันตรายจากรังสี โดยพิจารณาหาแนวทางหรือทางเลือกที่เหมาะสมและคุมคาที่สุดในการทำงานเกี่ยวกับรังสี ที่
ทำใหไดรับรังสีนอยที่สุดเทาทีจ่ ะเปนไปไดโดยยังคงบรรลุวัตถุประสงคในการใชประโยชนจากรังสีนั้น ๆ โดยการ
นำเอาปจจัยทาง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดลอม มาพิจารณารวมดวย ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษตรงกับ
คำวา “As low As Reasonably Achievable” หรือใชตัวยอวา “ALARA” โดยมีหลักปฏิบัติไดแก
• Time คือการใชเวลาอยูในบริเวณรังสีใหนอย (Minimize time) ที่สุดโดยยังคงบรรลุวัตถุประสงค
ในการใชรังสี
• Distance คือการรักษาระยะทางใหหางจากตนกำเนิดรังสีใหมากที่สุด (Maximize distance)
เนื่องจากรังสีจะมีความเขมลดลงเมื่อมีระยะหางจากตนกำเนิดรังสีเพิ่มมากขึ้น
• Shielding คือการใชวัสดุกำบังรังสีที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณรังสีที่ไดรับโดยเฉพาะอยางยิ่งใน
กรณีไมสามารถลดระยะเวลาในการอยูในบริเวณรังสีได และไมสามารเพิ่มระยะทางในการทำงาน
กับตนกำเนิดรังสีได
3. The Principle of Application of Dose Limits
ICRP ไดทำการกำหนดระดับรังสีที่ยอมรับได (Dose limit) ของแตละบุคคลไดรับ (นอกเหนือจากการ
ไดรับรังสีทางการแพทย) ไวแตกตางกันขึ้นอยูกับบริบทของบุคคลนั้น ๆ เชน ผูทที่ ำงานเกี่ยวของกับรังสีก็จะมี
Dose limit สูงกวา เนื่องจากมีความจำเปนตองไดรับรังสีจากการทำงานในปริมาณที่มากกวาประชาชนทั่วไป
(Public) (รายละเอียดดังตารางที่1) ดังนั้นการปฏิบัติงานหรือกระทำการใดที่เกี่ยวของกับรังสีควรพิจารณา
ปริมาณรังสีไมใหเกิน Dose limit ของแตละบุคคลรวมดวยเสมอ
ตารางที่ 1 ระดับรังสีที่ยอมรับได (Dose limit) ของกลุมบุคคล [ดัดแปลงจาก ICRPædia: Dose limit ค.ศ. 2019(7)]
ระดับรังสีที่ยอมรับได (Dose limit)

Type of Dose Limit นักเรียนนักศึกษาที่เรียนหรือ


ผูที่ทำงานเกี่ยวขอกับรังสี ฝกงานเกี่ยวของกับรังสี
ประชาชนทั่วไป (Public)
(Occupational)
(อายุ 16-18 ป)(8)
- 20 mSv ตอป (เฉลี่ย 5 ป) - 1 mSv ตอป - 6 mSv ตอป
- ในแตละปตองมีคาไมเกิน - ในกรณีที่ไดรับรังสีสูงในป
50 mSV ใดปหนึง่ ตองมีคาเฉลี่ยใน
Effective Dose - หากตั้งครรภ ตองไดรับ 5 ปไมเกิน 1 mSv ตอป
dose ที่ embryo/fetus ไม
เกินประมาณ 1 mSv ตลอด
ชวงการตั้งครรภ
- 20 mSv ตอป (เฉลี่ย 5 ป) - 15 mSv ตอป - 20 mSv ตอป
Equivalent Dose to
- ในแตละปตองมีคาไมเกิน
the Lens of the
50 mSV
Eye
(นักเรียนนักศึกษา)
Equivalent Dose to - 500 mSv ตอป - 50 mSv ตอป - 150 mSvตอป
the Skin
Averaged over 1
cm2 of skin
regardless of the
area exposed
Equivalent Dose to - 500 mSv ตอป - - - 150 mSvตอป
the Hands and
Feet
หมายเหตุ : Dose limits are primarily from ICRP Publication 103 Table 6. The recommendation
for pregnant workers is from ICRP Publication 103 Paragraph 186. The occupational limit for
the lens of the eye is from Paragraph 3 of the ICRP Statement on Tissue Reactions in ICRP
Publication 118.
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)
Radioactivity คือปรากฏการณที่ นิวไคลดกัมมันตภาพรังสีสลายตัวและมีการปลอยรังสีชนิดกอไออน
(Ionizing radiation) ออกมา เนื ่ อ งจากนิวไคลดก ัม มันตรังสีเปนนิวไคลดที่ไมเสถียรจึงมีการสลายตัวเพื่อ
ปลดปลอยพลังงานออกมาในรูปของรังสีตลอดเวลา โดยมีอัตราเร็วตามคาคงที่การสลายตัว (Decay constant;
𝜆𝜆) ของนิวไคลดนั้น ๆ จนกวาจะอยูในสถานะเสถียร (Stable state) ดังนั้นเมื่อเวลา (Time; t) ผานไปจำทำให
มีปริมาณรังสีลดลง (-) หรือกลาวอีกนัยคือมี ความแรงรังสี (Activity; A) ลดลงนั่นเอง ซึ่งสามารถอธิบายไดดวย
สมการอัตราสลายตัว (Decay rate) สารกัมมันตรังสีตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังแสดงในสมการที่ (5)
𝑑𝑑𝑑𝑑
𝑑𝑑𝑑𝑑
= −𝜆𝜆𝜆𝜆 (5)
เมื่อกลาวถึงคำวา กัมมันตภาพรังสี และ กัมมันตรังสี อาจเกิดความสับสนวาเหมือนหรือตางกันอยางไร
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (9) ใหนิยามวา
กั ม มั น ตภาพรัง สี (Radioactivity) เปนคำนาม (noun) หมายถึง การเสื่อมสลายโดยตัวเองของ
นิ ว เคลี ย สของอะตอมที ่ ไ ม เ สถี ย ร เป น ผลใหไ ด อ นุ ภ าคแอลฟา อนุ ภ าคบี ต า รั ง สี แ กมมา ซึ ่ ง เป นคลื่น
แมเหล็กไฟฟาที่มีชวงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุงออกมาดวยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี
พลังงานความรอนและพลังงานแสงเกิดตามมาดวย เชน การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเปน
ธาตุเรดอน
กัมมันตรังสี (Radioactive) เปนคำวิเศษณ (adj) หมายถึง ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได (ใชแก
ธาตุหรือสาร)
ดังนั้นคำทั้งสองคำนี้มีความหมายเดียวกันเพียงแตแตกตางกันในลักษณะการใชงาน เชน หากตองการ
ขยายความวาสารนี้สามารถแผรังสีได จะนำคำวิเศษณ คำวา “กัมมันตรังสี” มาใชรวมกัน คำวา “สาร” เปนคำ
วา “สารกัมมันตรังสี” เปนตน
หนวยของกัมมันตภาพรังสี
• หนวยเกา (The traditional unit) คือ คูรี (Curie) ใชสัญลักษณแทนดวย Ci หนวย Ci นี้ตั้งขึ้นตาม
ชื่อของมารี และปแอร คูรี (Marie and Pierre Curie) ผูคนพบธาตุเรเดียม(Radium)เมื่อ ค.ศ. 1898
1 Ci หมายถึง การสลายของนิวไคลดกัมมันตรังสี 3.7x1010 ครั้งตอวินาที ซึ่งเปนอัตราการ
สลายตัวของธาตุเรเดียม มวล 1 กรัม
• หนวย SI (International System of Units) คือ เบ็กเคอเรล (becquerel) โดยใชตัวพิมพเล็ก
ทั้งหมดเพื่อใหเห็นแตกตางจากชื่อบุคคล) ใชสัญลักษณแทนดวย Bq โดยหนวย Bq นี้ตั้งชื่อตาม อ็องต
วน อ็องรี แบ็กแรล(Antoine Henri Becquerel) นักฟสิกสชาวฝรั่งเศส ผูไดรับรางวัลโนเบลสาขา
ฟสิกส ในป พ.ศ. 2446 รวมกับปแยร คูรี และมารี คูรี
1 Bq หมายถึง การสลายของนิวไคลดกัมมันตรังสี 1 ครั้งตอวินาที (One disintegration per
second; dps) เขียนโดยยอเปน 1 Bq หรือ 1 s−1
1 Bq = 2.703 X 10-11 Ci
1 Ci = 3.7 x 1010 Bq
กัมมันตภาพรังสีจำเพาะ (Specific Activity)
เปนคาความแรงรังสี (Activity) ตอหนวยมวล (Mass) ของนิวไคลดกัมมันตรังสี ดังแสดงในสมการที่ (6)
𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴𝐴 𝜆𝜆𝜆𝜆 𝜆𝜆𝐴𝐴𝑣𝑣
Specific Activity = = = (6)
𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀 𝑁𝑁𝑁𝑁/𝐴𝐴𝑣𝑣 𝑀𝑀

เมื่อ M = Molecular weight of sample


Av = Avogadro's number (= 6.02 X 1023 nuclei/mole)
𝜆𝜆 = Radioisotope decay constant (= In2/half-life)
พลังงานงาน (Energy)
เนื่องจากโฟตอนหรืออนุภาคแสง ไดแก รังสีเอกซและรังสีแกมมา มีพลังงานเปลี่ยนแปลงไปตาม
ความถี่ (Frequency) จึงสามารถอิบายความสัมพันธไดดัง สมการที่ (7)
c
E = hν = h
λ
(7)
2
เมื่อ h = Planck's constant (6.62607015 × 10−34 J ∙ s or (kg ∙ m �s), or 4.135667696...×10−15 eV�s)

ν = Frequency (Hz or s-1)


c = Speed of light หรือความเร็วแสง (3 x 108 m/s)
λ = Wavelength หรือความยาวคลื่น (meter; m)
หนวยของพลังงาน
• หนวยเกา คือ electron volt ใชสัญลักษณแทนดวย eV หมายถึง พลังงานจลนของอิเล็กตรอนที่
เคลื่อนที่ผานความตางศักยไฟฟาขนาด 1 โวลต (V) ซึ่งเปนหนวยที่นิยมใชในทางรังสีจนถึงปจจุบัน
• หนวย SI คือ joule (J)
1 eV = 1.602 x 10-12 เอิรก (erg) = 1.602 x 10-19 จูล (J)
ปริมาณทางรังสีของโฟตอน
ความเขมของรังสี (Fluence)
ความเขมของรังสี (Fluence) เขียนแทนดวยสัญลักษณ 𝜙𝜙 ซึ่งหมายถึงจำนวนนับรังสี (อนุภาคหรือ
ตัว; N) ตอพื้นที่ (m2) ที่สนใจ หรือเรียกวาความเขมขน (Concentration) ของรังสี มีหนวยคือ ตัวตอตาราง
เมตร (m-2) ซึ ่ ง สามาถอธิ บ ายได ด  ว ยรู ป ที่ 8 ที่แสดงถึง จำนวนอนุ ภาครัง สี (dN) ที่ตกกระทบบนพื ้ น ที่
(dA)ระนาบตัดขวาง (Cross section)ของทรงกลม (Sphere) ดังแสดงในสมการที่ (6)

Particles Particles

(a) (b)

รูปที่ 8 แผนภาพอธิบาย Radiation fluence หรือ จำนวนอนุภาครังสีที่ตกกระทบบนพื้นที่


ระนาบตัดขวางของทรงกลม
𝑑𝑑𝑑𝑑
𝜙𝜙 = (8)
𝑑𝑑𝑑𝑑
อยางไรก็ตามเมื่อสังเกตุ รูปที่ 8(a) และ 8(b) พบวามี fluence เทากัน เนื่องจากเปนการพิจารณา
จำนวนอนุภาครังสีที่ตกกระทบบนพื้นที่ที่มีขนาดเทากัน แตเมื่อพิจารณทิศทางของลำอนุภาคพบวามีความ
แตกตางกันซึ่งสงผลใหการถายเทพลังงานของอนุภาครังสีบนตัวกลางมีคาลดลงเมื่อทิศทางของลำอนุภาคไมได
อยูในแนวตั้งฉาก (รูปที่8(b)) จึงไดมีการนำเสนอวิธีการคำนวณอีกวิธีที่สามารถชวยประเมิน Fluence ไดอยาง
ถูกตองมากขึ้นโดยอธิภายไดดังรูปที่ 9 ที่เปลี่ยนการพิจารณาจำนวนอนุภาคที่ตกกระทบบนพื้นที่พื้นที่ร ะนาบ
ตัดขวางของทรงกลม เปนการพิจารณา ระยะทางที่อนุภาค (Track lengths) เคลื่อนที่ผานปริมาตร (Volume)
ของ slab ที่มีพื้นที่หนาตัด dA และมีความหนา t โดยคำนึงถึงมุมตกกระทบรวมดวย (θ) (10)

Slab Thickness t

รูปที่ 9 การประเมิน Fluence ที่เคลื่อนที่ผานปริมาตร (Volume) ของตัวกลาง


Σ(Tracklengths in volume)
ϕ=
Volume
(9)
t�
cos (θ) 1
ϕ=
tdA
=
dA cos (θ)
(10)
ความเขมของพลังงาน (Energy Fluence)
ความเขมของพลังงาน (Energy Fluence) เขียนแทนดวยสัญลักษณ ψ ซึ่งหมายถึงพลังงานของรังสี
ตอพื้นที่ (m2) ที่สนใจ มีหนวยคือ จูลตอตารางเมตร (J/m2) แสดงถึงพลังงานของรังสี (dE) ที่ตกกระทบบน
พื้นที่ (dA) ระนาบตัดขวาง (Cross section)ของทรงกลม (Sphere) ดังแสดงในสมการที่ (7) และสามารถเขียน
ในเทอมของ ϕ ดังสมการที่ (8)
dE
ψ=
dA
(11)
dN
ψ=
dA
E = ΦE (12)
μtr
สัมประสิทธิ์การถายทอดพลังงานมวล (Mass Energy Transfer Coefficient ; )
ρ
dE
สัมประสิทธิ์การถายทอดพลังงานมวล คือ อัตราสวนของ ENtr หมายถึงอัตราสวนของการถายทอด
พลังงานจลน (Kinetic energy) หรือพลังงานจลนทสี่ ูญเสียไป (dEtr) ตอ EN เมื่อ E คือ พลังงานของรังสี
หรืออนุภาค และ N คือ จำนวนอนุภาค เมื่อพลังงานจลนเหลานี้เคลือ่ นทีผ่ านตัวกลางความหนาแนน
(Density; ρ)ที่มีระยะทาง dl ดังแสดงในรูปที่ 10 และสามารถอธิบายไดดวยสมการดังแสดงในสมการที่ (13)
Photon

Mass dl

รูปที่ 10 แผนภาพแสดงนิยามของ Mass Energy Transfer Coefficient


𝜇𝜇𝑡𝑡𝑡𝑡 𝑑𝑑𝐸𝐸𝑡𝑡𝑡𝑡 1
𝜌𝜌
=
𝑑𝑑𝑑𝑑

𝜌𝜌𝐸𝐸𝐸𝐸
(13)
𝛍𝛍𝐭𝐭𝐭𝐭
หนวยของ คือ m2/kg
𝛒𝛒
𝛍𝛍𝐞𝐞𝐞𝐞
สัมประสิทธิ์การดูกกลืนพลังงานมวล (Mass Energy Absorption Coefficient; )
𝛒𝛒

เมื่อโฟตอนถายทอดพลังงานในตัวกลาง จะสงผลพลังงานบางสวนถูกดูดกลืน (Absorb) ในตัวกลางโดย


ที ่ พ ลั ง งานส ว นที ่ เ หลื อ จะเปลี ่ ย นแปลงไปเป น พลั ง งานในรู ป แบบของการแผ ร ั ง สี (Radiative) เป น
𝜇𝜇 𝜇𝜇 μ
Bremsstrahlung ดั ง นั ้ นจึ ง สามารถอธิ บ ายคา 𝜌𝜌𝑒𝑒𝑒𝑒 ไดดวยสวนตางระหว างคา 𝜌𝜌𝑡𝑡𝑡𝑡 ทั้ง หมดและ ρtr ที่
เปลี่ยนไปเปนการแผรังสี Bremsstrahlung ดังแสดงใน สมการที่ (14)
μen μtr
ρ
=
ρ
(1 − g) (14)
เมื่อ g คือคาอัตราสวนของพลังงานทีเ่ ปลี่ยนไปเปนการแผรังสี Bremsstrahlung ในตัวกลาง
หมายเหตุ: โฟตอนที่มีพลังงานต่ำกวา 1 MeV และวัสดุที่มคี าเลขอะตอม (Z) ต่ำ สามารถอนุมานไดวาจะไมมี
อัตราสวนในการแผรังสี (g ~ 0)
𝛍𝛍𝐞𝐞𝐞𝐞
หนวยของ คือ m2/kg
𝛒𝛒

เคอรมา (Kerma; K)
ปริ ม าณรั ง สี Kerma มี ท ี ่ ม าจากคำว า Kinetic Energy Released per unit MAss (KERMA) ซึ่ ง
หมายถึง พลังงานจลนที่ถูกปลดปลอยหรือถายทอด (dEtr ) ตอมวล (dm) ของวัตถุตัวกลางที่ตำแหนงที่ส นใจ
(Point of interest) สามารถแสดงไดดังสมการ (15)
dEtr
K=
dm
(15)
หรือกลาวไดวา K คือ ผลรวมทั้ของพลังงานจลนทั้งหมดที่ถูกปลดปลอยออกมาสูมวลของตัวกลาง ซึ่ง
หมายรวมถึงทั้งการเกิดอันตรกิริยาแบบชน (Kcol) และการแผรังสี (Krad) ดังแสดงในสมการที่ (16)
K = Kcol + Krad (16)
นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาโฟตอนพลังงานเดี่ยว (Monoenergetic photons) พบวาสามารถคำนวณคา
K ไดในเทอมของ Energy fluence (ψ)ไดดังสมการที่ (17)
μtr μtr
K col = Ψ � � = Φ� � (17)
ρ ρ

หนวยของ Kerma (K) คือจูลสตอกิโลกรัม (J/kg) จัดเปนหนวยที่ไดมาจาก หนวยในระบบ SI หรือใช


หนวยเกาเปน เกรย (Gray; Gy)
การรับรังสี (Radiation Exposure; X)
เปนการวัดความแรงของสนามรัง สี ณ ตำแหนง ใด ๆ ในอากาศ โดยวัด การแตกตัวเปนไอออน
(ionization) (dQ) ของโมเลกุลใน มวลจำนวนหนึ่งของอากาศ (dm) เขียนไดดังสมการที่ (18)
dQ
X=
dm
(18)
เมื่อพิจารณาในเทอมของ Kerma (K) สามารถแสดงความสัมพันธไดดังสมการที่ (19) และ (20)
K col = X(Wair/e) (19)
(1 − g)K = X(Wair/e) (20)
ดังนั้น X = K col /(Wair/e)
เมื่อ (Wair/e) คือ พลังงานเฉลี่ยที่ทำใหเกิดการแตกตัวในอากาศเปนคูไออน (ion pair) ซึ่งมี
คาประมาณ 33.97 J/C(11)
หนวยของ Radiation Exposure
• หนวยเกา คือ เรินตเกน (Roentgen) ใชสัญลักษณแทนดวย R หนวย Roentgen นี้ตั้งชื่อตั้งชื่อตาม
วิลเฮลม ค็อนราท เรินทเกิน (Wilhelm Conrad Röntgen) นักฟสิกสชาวเยอรมันผูคนพบรังสีเอกซ
• หนวย SI คือ คูลอมบตอกิโลกรัม (C/kg) ซึ่งแสดงถึงการแตกตัวเปนประจุหรือคูไออนในหนวยคู
ลอมบ (Coulomb; C) ตอมวลของอากาศในหนวยกิโลกรัม
โดย 1 เรินตเกน หมายถึง ปริมาณของพลังงานโฟตอนที่ตองใชในการผลิต คูไอออน จำนวน
1.610 x 10 คู ในอากาศแหง (ที่ 0 oC) ปริมาตร 1 ลบ.ซม.(2.08 x 109 คูที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน
12

หรือ STP) (12) ดังแสดงในรูปที่ 11

Exposure = 1 R

Air = 1 cm3 - 2.08 x 109


- + + ionizations
- +
+ - + -

รูปที่ 11 แผนภาพแสดงความหมายของ 1 เรินตเกน (R)


ปริมาณรังสีดูดกลืน (Absorbed dose; D)
Absorbed dose หมายถึงอัตราสวนของพลังงานของรังสีที่ถายทอดไปยังตัวกลางสงผลใหตัวกลาง
ดูดกลืนพลังงานเหลานั้นจนกอใหเกิดการแตกตัวเปนคูไออน (dE) ตอมวล (dm) ของวัตถุตัวกลางนั้น ๆ ดัง
แสดงในสมการที่ (21)
dE
D=
dm
(21)
หนวยของ Absorbed dose
• หนวยเกา คือ แรด (rad) ซึ่ง 1 rad มีคาเทากับ 10-2 erg/g
• หนวย SI คือ เกรย (Gray; Gy) หรือ จูลตอกิโลกรัม (J/kg) (1 erg/g = 10-4 J/kg)
1 Gy = 100 rad
ปริมาณรังสีสมมูล (Equivalent dose; HT)
เมื่อพิจารณาอันตรายหรือผลกระทบของรังสีตอเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต (Living tissue) การประเมินคา
Absorbed dose เพียงอยางเดียวอาจไมครอบคลุมนัก เนื่องจากเมื่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ (Organ) ไดรับรังสีตาง
ชนิดกัน แตมี activity เทากันและถูกดูดกลืนในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน จะสามารถประเมินคา Absorbed dose
ไดเทากัน แตเนื่องจากรังสีตางชนิดมีคา การถายโอนพลังงานเชิงเสน (Linear Energy Transfer; LET) ตางกัน
ทำใหตัวกลางเกิดการแตกตัวเปนคูไออนไดตางกัน ซึ่ง LET หมายถึง การสูญเสียหรือการถายโอนพลังงานของ
รังสีขณะผานสสาร ตอหนวยระยะทาง (ปกติจะมีหนวยเปน keV/µ) รังสีที่มีคา LET ตางกันก็จะทำใหเกิดผล
ทางชีววิทยาแตกตางกันไป รังสีที่มีประจุและมีมวลสูงจะถายเทพลังงานใหกับตัวกลางไดมากกวาและทำให
ตัวกลางเกิดการแตกตัวเปนคูไออนไดอยางหนาแนนตลอดแนวทางที่รังสีผาน ดังนั้นการประเมินปริมาณรังสีที่
อวัยวะไดรับจึงควรคำนึงถึงความจำเพาะของรังสีนั้น ๆ ที่มีผลตอความเสียหายทางชีวภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งใน
ศาสตรดานการปอ งกันอันตรายจากรัง สี ไดม ีก ารกำหนด คาตัวประกอบถวงน้ำหนัก ตามชนิดของรัง สี
(Radiation Weighting Factor; WR) หรือ แฟกเตอรคุณภาพ (Quality factor; Q) (U.S.NRC 2011) ขึ้นมา
โดยมีท ี่ม าจากการอางอิง ค า Relative Biological Effectiveness (RBE) ซึ่ง หมายถึง คาที่ ใ ชบ อกผลทาง
ชีววิทยาของเนื้อเยื่อเมื่อไดรับ Absorbed dose จากรังสีกอประจุชนิดตาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ Absorbed
dose ที่ได จ ากรังสี อ างอิง (รั ง สี แกมมาจาก cobalt-60, cesium-137 และ รัง สีเอกซ 200–250 keV) เพื่อ
นำไปใชรวมกับการคำนวณปริม าณรังสีที่เ นื้อเยื่อไดรับอยางถูกตองมากขึ้น จึงเปนที่มาของปริมาณรัง สีที่
เรียกวา “ปริมาณรังสีสมมูล หรือ Equivalent dose”
Equivalent dose คือผลรวมของปริมาณรังสีดูดกลืนในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใด ๆ หลังจาก
ปรับเทียบการกออันตรายของรังสีทุกชนิดที่อวัยวะนั้นไดรับ โดยเทียบกับการกออันตรายของรังสีแกมมา กลาว
อีกนัยคือ Equivalent dose คือ ผลรวมของผลคูณระหวาง Radiation Weighting Factor (WR) มาคูณกับ
Absorbed dose (D) ดังแสดงในสมการที่ (22) โดยมีรายละเอียดของ Radiation Weighting Factor
HT = ∑R WR ∙ D (22)
หนวยของ Equivalent dose
• หนวยเกา คือ เร็ม (rem) ยอมาจาก roentgen equivalent in man
• หนวย SI คือ ซีเวิรต (sievert; Sv) ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อของ รอลฟ ซีเวิรต (Rolf Sievert) นักฟสกิ สชาว
สวีเดนผูบ ุกเบิกดานการปองกันรังสีชนิดกอไอออน
1 Sv = 100 rem

ตารางที่ 2 คา Relative Biological Effectiveness (RBE)(13)


ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/1-Typical-RBE-values-for-different-radiation-qualities_tbl1_308722052
[accessed 20 Apr, 2022]
ชนิดของรังสี Typical RBE
250 kV X-ray 1.0
MV X-rays 1.0
electron 1.0
proton 1.1-1.5a
C6+ ions 1.5-5a
Fast neutron 4-5
a อาจมีคามากขึ้นเมื่ออนุภาคมีคา LET สูงขึ้น
ตารางที่ 3 คา Quality Factors (Q) และ Radiation Weighting Factors (WR) [ดัดแปลงจาก Keith S, Faroon
O, Roney N, et al, ค.ศ.2013(14)]
Quality Factor Radiation Weighting Factor (WR)
ชนิดของรังสี (NRC 2011)(15) (ICRP 2007)(6)
Photons (x and 𝛾𝛾 rays) 1 1
Electrons 1
Electrons and muons 1
High energy protons 10
Protons and charged pions 2
Alpha particles, multiple- 20
charged particles, fission
fragments and heavy particles
of unknown charge
Alpha particles, fission 20
fragments, heavy ions
Neutrons of unknown energy 10
ฟงกชันตอเนื่องของนิวตรอนพลังงาน
ตาง ๆ
Neutrons of known energy ดูตารางที่ 4
รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 12 และ
สมการที่ (23)

2
2.5 + 18.2e−[ln(En )] ⁄6 , En < 1MeV
2
WR = �5.0 + 17.0e−[ln(2En )] ⁄6 , 1 MeV ≤ En ≤ 50 MeV (23)
2
2.5 + 3.25e−[ln(0.04En )] ⁄6 , En > 50 MeV
ตารางที่ 4 ค าแฟกเตอร คุ ณภาพเฉลี ่ ย (Mean Quality Factors; Q) และ Fluence Per Unit Dose
Equivalent ของนิวตรอนพลังงานเดี่ยว (Monoenergetic Neutrons) [ดัดแปลงจาก U.S.NRC, ค.ศ.1991(15)]
พลังงาน Quality factora (Q) Fluence per unit dose equivalentb
2.5×10−8 2 980×106
1×10−7 2 980×106
1×10−6 2 810×106
1×10−5 2 810×106
1×10−4 2 840×106
1×10−3 2 980×106
1×10−2 2.5 1010×106
1×10−1 7.5 170×106
5×10−1 11 39×106
1 11 27×106
2.5 9 29×106
5 8 23×106
7 7 24×106
10 6.5 24×106
14 7.5 17×106
20 8 16×106
40 7 14×106
60 5.5 16×106
1×102 4 20×106
2×102 3.5 19×106
3×102 3.5 16×106
4×102 3.5 14×106
aคา quality factor (Q) ไดจากการประเมินคา dose equivalent สูงสุด ในหุนจำลองสมมูลเนื้อเยื่อ (Tissue-equivalent
phantom) ทรงกระบอกเสนผานศูนยกลาง 30 cm
b พิจารณา Monoenergetic neutrons incident บนหุนจำลองสมมูลเนื้อเยื่อทรงกระบอกเสนผานศูนยกลาง 30 cm
รูปที่ 12 คาตัวประกอบถวงน้ำหนัก (Radiation weighting factor;Wr) ของนิวตรอนที่ชวงพลังงานตาง ๆ(6)
ที่มา: https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/ANIB_37_2-4 (สืบคนเมื่อ มีนาคม 2563)

ปริมาณรังสียังผล (Effective dose; E)


Effective dose คือ ผลรวมของปริมาณรังสีสมมูลของแตละอวัยวะของรางกายเมื่อถูกปรับเทียบดวย
ตัวประกอบตาม “สภาพไว” (sensitivity) ของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อตาง ๆ ตอรังสี โดย Effective dose (E)
คำนวณไดจาก Equivalent Dose (HT) คูณกับ ตัวประกอบถวงน้ำหนักตามชนิดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ (Tissue
weighting factor; WT) ดังแสดงในสมการที่ (24) ซึ่งตัวประกอบถวงน้ำหนักรวมกันมีคาเทากับ 1 ดังแสดงใน
ตารางที่ 5
E = ∑T WT ∙ HT (24)
หนวยของ Effective dose (ใชหนวยเดียวกับ Equivalent dose)
• หนวยเกา คือ เร็ม (rem)
• หนวย SI คือ ซีเวิรต (sievert; Sv)
ตารางที่ 5 คาตัวประกอบถวงน้ำหนักตามชนิดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ (Tissue weighting factor; WT)
[ดัดแปลงจาก Keith S, Faroon O, Roney N, et al, ค.ศ. 2013]

Tissue Weighting factor (WT)


เนื้อเยื่อ (Tissue) NRC (2011) NCRP115 and
ICRP103
/ICRP26 ICRP60
กระเพาะปสสาวะ (Bladder) 0.05 0.04
ไขกระดูก (Bone marrow (red)) 0.12 0.12 0.12
ผิวกระดูก (Bone surface) 0.03 0.01 0.01
สมอง (Brain) 0.01
เตานม (Breast) 0.15 0.05 0.12
ลำไส (Colon) – 0.12 0.12
หลอดอาหาร (Esophagus) – 0.05 0.04
อวัยวะสืบพันธุ (Gonads) 0.25 0.20 0.08
ตับ (Liver) – 0.05 0.04
ปอด (Lung) 0.12 0.12 0.12
ตอมน้ำลาย (Salivary glands) 0.01
ผิวหนัง (Skin) – 0.01 0.01
กระเพาะอาหาร (Stomach) – 0.12 0.12
ตอมไทรอยด (Thyroid) 0.03 0.05 0.04
รวม 0.70 0.95 0.88
a
สวนที่เหลือ (Remainder) 0.30 0.05 0.12
รวมทั้งหมด (Total) 1.00 1.00 1.00
a ICRP Publication 103 remainder tissues include adrenals, extrathoracic (ET) region, gall
bladder, heart, kidneys, lymphatic nodes, muscle, oral mucosa, pancreas, prostate, small
intestine, spleen, thymus, uterus/cervix
เอกสารอางอิง
1. Values of Fundamental Physical Constants [Internet]. The National Institute of Standards
and Technology ( NIST) . 1994 [ cited 11/ 6/ 2021https: / / physics. nist. gov/ cgi-
bin/cuu/Value?mal|search_for=alpha+mass].
2. Barnett RM, Carone CD, Groom DE, Trippe TG, Wohl CG, Armstrong B, et al. Review of
Particle Physics. Physical Review D. 1996;54(1):1-708.
3. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. ศัพทานุกรมนิวเคลียร. เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900: สำนักงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ; 2547. 156 p.
4. New Symbol Launched to Warn Public About Radiation Dangers [Internet]. International
Atomic Energy Agency. 2007 [ cited 16 April 2022] . Available from:
https: / / www. iaea. org/ newscenter/ news/ new- symbol- launched- warn- public- about-
radiation-dangers.
5. ICRP. Annals of the ICRP PUBLICATION 103 " The 2007 Recommendations of the
International Commission on Radiological Protection" . Polestar Wheatons Ltd, Exeter, UK:
International Commission on Radiological Protection; 2007. 332 p.
6. Dose limits [ Internet] . ICRPædia. 2019 [ cited 20 April 2022] . Available from:
http://icrpaedia.org/Dose_limits.
7. IAEA. Dose Limitation. Occupational radiation protection / International Atomic Energy
Agency. IAEA safety standards series No. GSG-7. International Atomic Energy Agency Vienna
International Centre PO Box 100 1400 Vienna, Austria: International Atomic Energy Agency;
2018. p. 33.
8. พจนานุก รม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [Internet]. สำนัก งานราชบัณฑิตยสภา. 2554
[cited 16 เมษายน 2564]. Available from: https://dictionary.orst.go.th/index.php.
9. Measurement of Radiation [ Internet] . AAPM Continuing Education Therapy Physics
Review Course. 2014 [ cited 17 April 2022] . Available from:
https://www.aapm.org/meetings/2014AM/ReviewCourses/documents/T06MaMeasurementc
hapter.pdf.
10. Philip Mayles AN, Jean-Claude Rosenwald. Useful Physical Constant. In: Philip Mayles
AN, Jean-Claude Rosenwald, editor. Handbook of Radiotherapy Physics: Theory and Practice.
1. New York London: Taylor & Francis Group; 2007. p. 1306.
11. มาตราวัดเกี่ยวกับผลทางชีวภาพของการรับรังสี [Internet]. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ
(องคการมหาชน).2554 [cited 18 มกราคม 2564]. Available from:
http://nkc.tint.or.th/nkc55/content55/nstkc55-012.html.
12. Kirby D. Radiation dosimetry of conventional and laser-driven particle beams 2011.
13. Keith S, Faroon O, Roney N, Scinicariello F, Wilbur S, Ingerman L, et al. APPENDIX D,
OVERVIEW OF BASIC RADIATION PHYSICS, CHEMISTRY, AND BIOLOGY. Toxicological Profile
for Uranium. 1600 Clifton Road NE Mailstop F-57 Atlanta, Georgia 30333: Agency for Toxic
Substances and Disease Registry (US); 2013. p. D-7.
14. PART 20—STANDARDS FOR PROTECTION AGAINST RADIATION [Internet]. U.S.NRC. 1991
[ cited 20 December 2020] . Available from: https: / / www. nrc. gov/ reading- rm/ doc-
collections/cfr/part020/full-text.html.
15. Keith S, Faroon O, Roney N, et al. Toxicological Profile for Uranium. Atlanta (GA): Agency
for Toxic Substances and Disease Registry (US); 2013 Feb. Table D-5, Tissue Weighting Factors
for Calculating Effective Dose (or Effective Dose Equivalent) for Selected 1 Tissues. Available
from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK158810/table/T50/

You might also like