You are on page 1of 23

MEDICAL PHYSICS

3000105

Basic Radiation Physics


นิยามศัพท์ทางฟิสิกส์นวิ เคลียร์

• นิวคลีออน (Nucleon) = อนุภาคที่รวมกันกันเป็นนิวเคลียส


นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ดังนั้นอนุภาคทั้งสองต่างก็เป็นนิวคลีออน
• เลขมวล (Atom mass number) = จำนวนนิวคลีออนทั้งหมดที่อยู่ในนิวเคลียส สัญลักษณ์แทนด้วย A
• เลขอะตอม (Atomic number) = จำนวนโปรตอนที่มอี ยู่ในนิวเคลียส แต่เนื่องจากอะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า ดังนั้นจำนวนโปรตอน
จึงเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน สัญลักษณ์แทนด้วย Z
𝐴
• นิวไคลด์ (Nuclide) หรือธาตุ = นิวเคลียสที่มีสมบัติบางอย่างเหมือนกัน สัญลักษณ์ของนิวไคลด์แทนด้วย 𝑍𝑋
โดยที่ X แทนนิวไคลด์ใด ๆ A แทนเลขมวล Z แทนเลขอะตอม
• ไอโซโทป (Isotope) นิวไคลด์หรือธาตุที่มีเลขอะตอม หรือจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น 126𝐶 , 136𝐶
• ไอโซโทน (Isotone) นิวไคลด์หรือธาตุที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน เช่น 125𝐵 , 147𝑁
• ไอโซบาร์ (Isobar) นิวไคลด์หรือธาตุที่มีเลขมวลเท่ากัน เช่น 146𝐶 , 148𝑂
• ไอโซอิเล็กทรอนิก (Isoelectronic) นิวไคลด์หรือธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน
• ไอโซเมอร์ (Isomer) นิวไคลด์หรือธาตุเดียวกันที่ถูกกระตุ้นอยู่ในสถานะต่างกัน เช่น 177
71𝐿𝑢 ,
177𝑚
71𝐿𝑢
เราอาจใช้สัญลักษณ์ * แทนสถานะกระตุ้น ส่วนสัญลักษณ์ m แทนสถานะกึ่งเสถียร (Metastable State) คือสถานะกระตุ้นที่มีช่วงอายุยาวนานมาก

• นิวไคลด์กัมมันตรังสี (Radionuclide) หรือไอโซโทปกัมมันตรังสี (Radioisotope)


คืออะตอมที่มีนิวเคลียสที่ไม่เสถียร จากการที่มีสัดส่วนของ Proton : Neutron ไม่เท่ากับ 1
มีพลังงานสูงมากจนสามารถสร้างอนุภาคกัมมันตรังสีขึ้นใหม่ภายในนิวเคลียสหรือโดยผ่านการ
แปลงภายใน เรียกว่ากำลังเกิดการสลายให้กัมมันตรังสี ซึ่งทำให้เกิดการเปล่งรังสีแกมมา
และ/หรือ อนุภาคย่อยของอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา หรือ บีตา
• การสลาย (Decay) หมายถึงการที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีปลดปล่อยพลังงานผ่านการแผ่รังสีใน
รูปแบบอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เราเรียกคุณสมบัตินี้ของนิวไคลด์กัมมันตรังสีว่า
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) เพื่อให้เกิดความเสถียรของคุณสมบัติทั้งประจุและฟิสิกส์ เช่น
พลังงาน โมเมนตัม
• รังสี (Radiation) หมายถึงพลังงานที่แผ่ในรูปของอนุภาคหรือคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านตัวกลาง มี 2
ประเภทคือ
o รังสีไม่ก่อประจุ (Non-ionizing Radiation) – มีพลังงานต่ำกว่าทีจ่ ะทำลายพันธะ แต่
สามารถเกิดการสั่นของอะตอมได้
o รังสีก่อประจุ (Ionizing Radiation) มีพลังงานสูงจากนิวไคลด์กัมมันตรังสี ได้แก่
อนุภาคแอลฟา เบตา รังสีแกมมา เอ็กซ์ และนิวตรอน

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 1
MEDICAL PHYSICS
3000105

RADIATION UNITS
หน่วยวัดทางรังสี กำหนดโดย International Commission on Radiation Unit and Measurement (ICRU) มีดังต่อไปนี้

1. กัมมันตภาพ (Activity: A) คืออัตราการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อวินาที มีหน่วยได้หลายหน่วย เช่น

• นิวเคลียส/วินาที
• ครั้งต่อวินาที หรือ dps (Disintegration per second)
• เบคเคอเรล (Bq) [SI Unit] ; 1 Bq = ปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่สลายตัวให้ A 1 dps (1 Bq = 1 dps)
• คูรี (Ci) โดยที่ 1 Ci = 3.7 x 1010 Bq

กำหนดให้สมการการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสีจาก Parent into Daughter คือ 𝑃 →𝜆 𝐷 เมื่อ 𝜆 คือ Decay Constant จะได้ว่า
𝑑𝑁
𝐴=− = 𝜆𝑁
𝑑𝑡
จัดรูปแล้วอินทิเกรตทั้งสองฝั่งจะได้
𝑁(𝑡) 𝑡
𝑑𝑁
− ∫ = ∫ 𝜆𝑑𝑡
𝑁
𝑁(0) 0

𝑁0
ln ( ) = 𝜆𝑡
𝑁
∴ 𝑁 = 𝑁0 𝑒 −𝜆𝑡 และ 𝐴 = 𝐴0 𝑒 −𝜆𝑡

เมื่อพลอตกราฟจะได้กราฟเอกซ์โพเนนเชียล

Half-life หรือครึ่งชีวิต (𝑇1⁄ ) คือเวลาที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวจนเหลือปริมาณครึ่งหนึ่งจากเริ่มต้น เมื่อเราแทนตามนิยามจะ


2
ได้ความสัมพันธ์ของครึ่งชีวิตคือ…

1
𝑁 = 𝑁0 𝑒 −𝜆𝑡
2 0
ln 2 0.693
𝑇1⁄ = ~
2 𝜆 𝜆

Mean life หรือชีวิตเฉลี่ย คือค่าเฉลี่ยของช่วงชีวิตของอะตอมในนิวไคลด์กัมมันตรังสีทั้งหมด นิยามโดย


0𝑁
∫0 𝑡𝑑𝑁 1
𝜏= 𝑁 =
0
∫0 𝑑𝑁 𝜆

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 2
MEDICAL PHYSICS
3000105

2. ปริมาณรังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed Dose: D) คือปริมาณพลังงานเฉลี่ยที่ถา่ ยเทให้กับวัตถุต่อมวล 𝑑𝜀̅


เดิมมีหน่วย Radiation absorbed dose (rad) แต่ในปัจจุบันใช้หน่วย SI คือเกรย์ (Gy) 𝐷=
𝑑𝑚
โดยที่ 1 Gy = 1 J/kg = 100 rad และ 1 rad = 1 ergs/g และ D มีค่าดังสมการ

3. ปริมาณรังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure: X) คือปริมาณอากาศที่แตกตัวเป็นประจุต่อมวลอากาศในหน่วยกิโลกรัม


เป็นที่นิยมใช้ในการวัดรังสีเนื่องจากมีความรวดเร็วและแม่นยำ
𝑑𝑄
มีหน่วยเดิมคือเรินต์เกน (R) = พลังงานรังสีที่ทำให้ประกาศแตกตัวให้ประจุ 1 e.s.u. ในอากาศแห้ง 1 cm3 ที่ STP 𝑋=
𝑑𝑚
ส่วนปัจจุบันใช้หน่วย C/kg โดยประจุ 1 e.s.u. = 3.335 x 10-10 C และ 1 R = 2.58 x 10-4 C/kg

(วิธีนี้ใช้ได้กับรังสีที่ทำให้อากาศแตกตัวได้เช่น X-Ray, Gamma Ray ที่มีพลังงานน้อยกว่า 3 MeV)

4. ปริมาณรังสีสมมูล (Dose Equivalent: HT) คือปริมาณที่บอกว่ารังสีที่ถูกดูดกลืนว่ามีอันตรายมากน้อยเพียงใด


มีหน่วยเดิมคือ Roentgen equivalent man (rem) ส่วนปัจจุบันใช้หน่วยซีเวิรต์ (Sv) 𝐻𝑇 = 𝑊𝑅 × 𝐷𝑇,𝑅
แต่นิยมใช้ mSv มากกว่า โดยที่ 1 Sv = 100 rem

เมื่อ 𝐷𝑇,𝑅 คือปริมาณรังสีดูดกลืนของรังสีแต่ละชนิดในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใด ๆ


𝑊𝑅 คือ Radiation Weighting Factor: WR ขึ้นกับชนิดของรังสีและเนื้อเยื่อนั้นๆ

Type and energy range Radiation Weighting Factor: WR


Photons from all energy sources 1
Electrons and muons from all energy sources 1
Energy neutrons
< 10 keV 5
10 - 100 keV 10
100 keV - 2 MeV 20
2 – 20 MeV 10
> 20 MeV 5
Protons other than recoil protons w/ Energy > 2MeV 5
Alpha, Fission Fragments, Heavy nuclei, Sun Particle 20

5. ปริมาณรังสียังผล (Dose Effective: E) คือปริมาณที่บอก Sensitivity ของอวัยวะหรือเนื้อเยือ่ เมื่อได้รับปริมาณรังสีจำเพาะ


หรือรังสีสมมูล จึงมีหน่วยเดียวกันกับ Dose Equivalent
*ค่า 𝑊𝑇 คือ Tissue Weighting Factor เป็นค่าประจำอวัยวะต่างๆ
ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็มีค่านี้เท่ากัน และทุกค่ารวมกันได้ 1.0

𝐸 = ∑(𝑊𝑅 × 𝐷𝑇,𝑅 × 𝑊𝑇 ) = ∑(𝐻𝑇 × 𝑊𝑇 )

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 3
MEDICAL PHYSICS
3000105

IONIZING RADIATION
Radioactive Decays
คุณสมบัติ Alpha (𝜶) Beta (𝜷) Gamma Ray (𝜸)
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ 4 0 0
2𝐻𝑒 −1𝑒 0𝛾
มวล 4u 1 e- 0
พลังงาน 2nd 3rd 1st
การทำให้อากาศแตกตัวเป็น electron 1st 2nd 3rd
อำนาจการทะลุทะลวง
3rd 2nd 1st
ความอันตราย
การเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก คล้ายประจุบวก คล้ายประจุลบ คล้ายนิวตรอน

โฟตอน หรือรังสีแกมมาที่ชนกับวัตถุต่างๆ อาจเกิดปรากฏการณ์ได้ดังนี้


• Absorbed หรือการดูดกลืนผ่านการส่งผ่านพลังงาน
• Scattered หรือการกระเจิง นับเป็น 2º Radiation เช่นเดียวกับการ Leakage
• Transmitted หรือการส่งผ่าน นับเป็น 1º Radiation
• เราเรียกโฟตอนที่ถกู ดูดกลืนหรือกระเจิง ว่าถูกลดทอน (Attenuation)

เนื่องจากรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ไม่มีประจุ จึงวัดผ่านสนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้าไม่ได้ จึงมักวัดพลังงานผ่านตัว


ดูดกลืน (Absorber) เพื่อดูการลดลงของรังสี โดยอัตราการลดลงแปรผันตรงกับขนาดความเข้มรังสี (Beer-Lambert attenuation law) ดังนั้น

𝑑𝐼 𝑑𝐼
− = 𝜇𝐼 → − = 𝜇𝑑𝑥
𝑑𝑥 𝐼
Integrating both sides
𝐼𝑙 𝑥
𝑑𝐼
−∫ = ∫ 𝜇𝑑𝑥
𝐼0 𝐼 0

∴ 𝐼 = 𝐼0 𝑒 −𝜇𝑥
Or for board beam 𝐼 = 𝐵𝐼0 𝑒 −𝜇𝑥

โดยที่ 𝜇 คือ Linear Attenuation Coefficient


ค่า 𝜇 นั้นขึ้นกับพลังงานของรังสี เลขอะตอมและความหนาแน่นของตัวกลาง ถ้าหากเรานำความหนาแน่นของตัวกลางมาหารจะได้ค่า Mass Attenuation Coefficient มักใช้
เพื่อให้ตัวแปรไม่ขึ้นกับความหนาแน่น แต่ทั้งนี้ การดูดกลืนรังสีแปรผันตรงกับความหนา หรือความหนาแน่นของตัวกลาง และน้ำหนัก (ถ้าหากจะมองภาพกว้างๆ)

จำนวนโฟตอนที่ถกู ลดทอน (Id) หาได้จากจำนวนโฟตอนก่อนลบกับหลัง ดังนั้น

𝐼𝑑 = 𝐼0 − 𝐼 = 𝐼0 (1 − 𝑒 −𝜇𝑥 )

Half-Value Layer (HVL) คือความหนาของวัสดุบังรังสีที่ต้องใช้เพื่อลดความเข้มของรังสีให้เหลือเพียงครึ่งเดียว ดังนั้นจาก 𝐼 = 𝐼0 𝑒 −𝜇𝑥 จะได้


1 ln 2
= 𝑒 −𝜇𝑥 → 𝑥 =
2 𝜇
ค่า HVL นี้ มีค่าขึ้นอยู่กบั ตัววัสดุและพลังงานของรังสี และค่านี้สามารถใช้บอกคุณภาพของรังดี (เราอาจ Modify Beam Quality โดยการ Filtration)

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 4
MEDICAL PHYSICS
3000105

ซึ่งเราเรียก 𝑒 −𝜇𝑥 ว่าเป็นจำนวนโฟตอนทีว่ ิ่งออกมาจาก Absorber ซึ่งถ้ามีค่าน้อยมากจนประมาณเป็นโอกาสในการเกิดกระบวนการต่างๆ ที่


เกี่ยวข้องกับรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ ได้แก่

• Coherent Scattering (𝑤)


• Photoelectric (τ) 𝑒 −𝜇𝑥 = (𝑒 −𝑤𝑥 )(𝑒 −τ𝑥 )(𝑒 −𝜎𝑥 )(𝑒 −𝐾𝑥 )(𝑒 −𝜋𝑥 )
Diagnostic X-ray
• Compton Scattering (𝜎) ∴𝜇 =𝑤+𝜏+𝜎+𝐾+𝜋
โดยที่ 𝜇 คือ Total Linear Attenuation Coefficient
Therapeutic X-ray • Pair Production (K)
และโดยทัว่ ไปไม่พิจารณา Coherent Scattering และ Photodisintegration
• Photodisintegration (𝜋)

Coherent Scattering (𝑤) - การกระเจิงอย่างเป็นระเบียบ


คือรังสีเปลี่ยนทิศทางแบบไม่เปลี่ยนความยาวคลื่น มี 2 ลักษณะคือ
1. Thompson – X-Ray ถูกดูดกลืนในอิเล็กตรอนและปล่อยออกมาอย่างสุ่มทุกทิศทาง
2. Rayleigh – X-Ray พลังงานต่ำชนกับอิเล็กตรอน เกิดการสั่นและเปล่งรังสีที่ความยาว
คลื่นค่าหนึ่ง
𝑍2
𝑃∝
𝐸
Compton Scattering (𝜎)
เกิดขึ้นเมื่อรังสีพลังงานสูง (30 keV – 30 MeV) ชนกับ Free Electron ในระดับชั้นพลังงานวงนอก
จนเกิดการกระเจิงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้พลังงานลดลง (พลังงาน
จะเปลี่ยนไปอย่างไรขึ้นอยู่กับมุมกระเจิง) และค่า 𝜎 มีค่าขึ้นอยู่กับความหนาแน่นอิเล็กตรอน
ℎ𝑐
𝜆′ − 𝜆 = 𝜆0 (1 − cos 𝜃) และ 𝐸 =
𝜆
*รูปฟิล์ม Diagnose = Hight contrast (E in kV), Radiotherapy = Low contrast (E in MV)
Photoelectric (τ)
เมื่อ Photoelectron หลุดออกไปจะมีอิเล็กตรอนจากระดับพลังงานที่สูงกว่าวิ่งเข้ามา เกิดการคาย
พลังงานในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ถ้าพลังงานต่ำกว่า 0.5 keV ก็จะถูกดูดกลืนเข้าสู่ผิว)

𝐸𝑘𝑚𝑎𝑥 = ℎ𝑓 − 𝑊

ในเนื้อเยื่อของคน มีโอกาสสูงถึง 80% ที่จะเกิด Photoelectric ในระดับชั้น K


𝜏 𝑍3

𝜌 𝐸3
*Binding Energy คือพลังงานยึดเหนี่ยวที่รั้งอิเล็กตรอนไว้ในอะตอม อิเล็กตรอนวงในมี BE ที่มาก

Pair Production (K) - การผลิตคู่ (Triple production give 2 e- and 1 Positron = 2.04 MeV)
เกิดเมื่อรังสีพลังงานสูง (ไม่น้อยกว่า 1.022 MeV หรือ 2me) ทำปฏิกิริยากับนิวเคลียส เกิดสลายตัว
เป็นอิเล็กตรอน โพสิตรอน อย่างละ 0.51 MeV และ โพสิตรอนจะทำปฏิกิริยากับ Free Electron
เกิด Annihilation Radiation เป็น 2 Photon 0.51 MeV
• ถ้า E = 1.02 MeV พลังงานจะถูกใช้ไปกับอนุภาคทั้งสอง
• ถ้า E > 1.02 MeV พลังงานส่วนเกินจะเป็นพลังงานจลน์ให้อนุภาคทั้งสอง
• ถ้า E > 10 MeV ปฏิกิริยา Pair Production จะเป็น Dominant Photon Interaction
Photodisintegration (𝜋) - การแตกด้วยแสง
เกิดเมื่อรังสีพลังงานสูง (> 10 MeV) ถูกดูดซึมโดยนิวเคลียส เข้าสู่ Excited State และสลายตัวทันที
โดยการปล่อยอนุภาคย่อยออกมา และอาจปล่อยนิวตรอนและรังสีแกมมาออกมา โดยปกติจะเกิดใน
เนื้อเยื่อ หรือ Linear Accelerator และเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิด Nuclear Fission ต่อไป

PET Scan ใช้วิธีการฉายแสงด้วย Photodisintegration เช่นกัน

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 5
MEDICAL PHYSICS
3000105

X-ray (λ ประมาณ 10-8 – 10-12 m และเป็นรังสีที่หักเหไม่ได้)

• รังสีเอกซ์ ค้นพบโดย William Conrad Roentgen ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1895 จากการศึกษา


สมบัติของแสงในหลอดแคโทด โดยขณะที่ใช้กระดาษการ์ดดำกั้นหลอดแคโทด ได้เห็นกระดาษที่
เคลือบสารประกอบของสารเรืองแสง Barium Platinocyanide เรืองแสงออกมา จึงสรุปว่ามีรังสีที่
มองเห็นเกิดขึ้นขณะจ่ายกระแสไฟฟ้ากับหลอดแคโทด แต่เขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร จึงตั้งชื่อว่า
Unknown Ray หรือ X-ray (8 พฤศจิกายนจึงเป็นวันรังสีเทคนิคโลก: World Radiography Day)
• ภาพถ่าย X-ray ทางการแพทย์ภาพแรก คือภาพ Hand mit Ringen หรือมือซ้ายของ Wilhelm
Rontgen ภรรยาของเขา ในวันที่ 22 ธันวาคม 1895 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสกิ ส์ในปี 1901 ในนาม รังสีเริตเกนส์
• X-ray มีสองชนิดคือ
• Bremsstrahlung หรือรังสีเอกซ์ต่อเนื่อง เกิดจากอิเล็กตรอนทีว่ ิ่งช้าลงจากการผ่านตัวกลางต่างๆ หรือ
ถูกหน่วงเมื่อผ่านนิวเคลียส ทำให้สูญเสียพลังงานไปในรูป X-Ray ถ้าตัวกลางมีเลขอะตอมมาก พลังงาน
ที่ปล่อยออกมาก็ยิ่งมาก (ร้อยละ 99 เป็นความร้อน) เป็น X-ray ที่ใช้ประโยชน์มากกว่า
• Characteristic หรือรังสีเอกซ์เฉพาะ เกิดจากการหลุดของอิเล็กตรอนในชั้นพลังงานหนึ่ง (โดยมากเป็น K) จาก Ionization
และทำให้อิเล็กตรอนจากชั้นสูงกว่ามาแทนที่ และเกิดการคายพลังงานที่มี Spectrum แบบจำเพาะ มีประโยชน์ในระดับ
low kVp

*พลังงานเฉลี่ยของสเปกตรัม คือประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของพลังงานสูงสุด

Application

• Teletherapy (การฉายรังสี) ใช้แกมมาจาก Co-60


• Brachytherapy (รังสีระยะใกล้) ใช้แกมมาจาก Cs-137, Ir-192, I-125
• Diagnostic ใช้แกมมาจาก Tc-99m, Tl-201, F-18
• Internal Treatment ใช้บีตาจาก I-131 (Thyroid CA), Alpha จาก Ra-223 (Cancer with Bone met)

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 6
MEDICAL PHYSICS
3000105

Diagnostic Radiology
• การดูดกลืนรังสีแปรผันตรงกับความหนา หรือความหนาแน่นของตัวกลาง และน้ำหนัก (ถ้าหากจะมองภาพกว้างๆ)
• ดูดกลืนรังสีดีหมายถึงมีเนื้อเยื่อหนา หรือหนาแน่นมาก รังสีไปไม่ถึงฉากกั้นหลังจึงเห็นเป็นสีขาว (ในทางกลับกันก็เช่นกัน)

เราจึงนำฟิสิกส์รังสีมาใช้ทำเครื่องมือทางรังสีวิทยา ดังต่อไปนี้

Digital Radiography - มีข้อดีคือสามารถนำอุปกรณ์รับภาพกลับมาใช้ซ้ำได้


• Computed Radiography (CR) เช่น Photostimulable Phosphors
• Direct Digital Radiography (DR) เช่น Flat Panel Detector

Fluoroscopy - ใช้ X-Ray ในการส่องตรวจแบบ Real time โดยการยิงรังสีแบบต่อเนื่อง

• XRII (Image Intensifier) มี Input Phosphor ทำหน้าที่แปลง X-Ray


Photon เป็น High Fluence Visible Light โดยมากมักเป็น CsI (Tl)
Crystal มีลักษณะเป็นรูปแท่งเพื่อลดแสงที่กระจายออกไปด้านข้าง
• CCD ทำหน้าที้ปลีย่ นแสงให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
• Digital Fluoroscopy คือ Flat Panel Detector-based Receptor
มีข้อดีคือ
o สามารถแสดงภาพได้ทันที
o ภาพใหญ่ คมชัด มีคุณภาพดีขึ้น ลดการ Error
o ใช้ปริมาณรังสีน้อยลง
• มักใช้ตรวจกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น, หลอดเลือด
(Angiography) การหายใจ การกลืน และ Cone-Beam CT

X-Ray Mammography หรือการเอกซ์เรย์ตรวจเต้านม มักตรวจกันในระดับทีล่ ะเอียดมาก เช่น cm เพื่อส่องดูภายใน

• หลอด X-Ray มีการเอียงเพื่ออาศัยความเข้มที่แตกต่างกัน (ไม่สม่ำเสมอ)


ในการดูรายละเอียด (Effective Anode Angle is 22º)
• Collimator ใช้ในการกำหนดขอบเขตรังสี
• Paddle มีไว้ใช้วางเต้านม
• Grid ใช้ในการตัดรังสีกระเจิง
• เราบีบอัดเต้านม (Compress) เพื่อลดปัญหาในการถ่ายภาพต่างๆ ทั้งการ
ใช้รังสี การเบลอ การกระเจิงแสงต่างๆ และทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น
• Breast Tomosynthesis คือการถ่ายภาพเต้านมแบบ 3D โดยการยิง X-
Ray จากหลายๆมุม คล้ายๆการทำ CT Scan และมีคุณภาพรูปที่สูงมาก ใน
ระดับ mm ข้อดีคือสามารถมองเห็นภาพที่ถูกซ้อนอยู่ภายในได้
• ค่าของ Dose กับ Contrast มีแนวโน้มแปรผกผันกัน ดังนั้นภาพที่ดีควรจะ
มี Contrast สูงผ่านการใช้ Dose ต่ำๆ

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 7
MEDICAL PHYSICS
3000105

Ultrasonography

วิธีนี้ใช้คลื่นเสียงความถี่ประมาณ 2 – 10 MHz โดยอาศัยการสะท้อนและหักเหที่ต่างกัน เราพบว่าอวัยวะที่มีตัวกลาง


หนาแน่นมาก ถูกบีบอัดได้ยากก็จะมีความเร็วของอัตราซาวนด์ที่สูงมาก (Ultrasound เป็นคลื่นตามยาว มีอัตราเร็วคลืน่
ประมาณ 1,540 m/s)

เมื่อเราประจุไฟฟ้าเป็นระยะๆใส่ผลึก (Crystal) ที่สามารถเกิด Piezoelectric effect จะเกิด


Pulses เมื่อพบรอยต่อของตัวกลางที่ต่างกัน จะเกิดการสะท้อนและหักเห เมื่อสัญญาณเข้าสู่หัว
ตรวจ (Transducer or Transceiver) ก็จะเกิดภาพ

• เนื้อเยื่อชนิดแข็ง เช่น กระดูก จะมองเห็นเป็นสีขาว เพราะผิวด้านนอกสะท้อนคลื่น


เสียงออกได้มาก
• เนื้อเยื่อที่มีน้ำมาก อย่างเช่น ถุงน้ำครำในมดลูก จะมองเห็นเป็นสีดำ
*อวัยวะที่อยู่ลึก เช่น หน้าท้อง จะใช้คลื่นความถี่ต่ำ ส่วนอวัยวะเล็กๆ (เช่นต่อมไทรอยด์ เต้านม) หรืออยู่ตื้นจะใช้ความถี่สูง
**ไม่ควรใช้วิธีนี้ในการส่องตรวจปอด อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับช่องอากาศ (ไม่ Transmit) หรือกระดูก (ถูกสะท้อนหรือดูดกลืน)

Echogenicity คือการแปลผลการ Ultrasound โดยดูจากการสะท้อนเมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อข้างๆ

• Hyperechoic = สะท้อนมากกว่ารอบข้าง (ขาวกว่า)


• Isoechoic = สะท้อนเท่ากัน
• Hypoechoic = สะท้อนน้อยกว่า (มืดกว่า)
• Anechoic = มืดทึบ ไม่มีสัญญาณ

*Piezoelectric Crystal ในธรรมชาติคือ Quartz หรือหัวสังเคราะห์เช่น Lead Zirconate Titanate (PZT)


***เราทาเจลเพื่อลด Acoustic Impedance และการสะท้อน เป็นการลดอากาศระหว่างวัตถุกับ Transducer

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 8
MEDICAL PHYSICS
3000105

Computed Tomography (CT)

CT Scan ถูกอธิบายหลักการโดย Alan Cormack ในปี 1963 และมีเครื่องที่ใช้งาน


ได้จริงในปี 1972 โดยใช้สแกนสมองเป็นอย่างแรก โดย Godfrey Hounsfield
(เครื่อง EMI Brain Scanner ปัจจุบันอยู่ที่โรงพยาบาล Atkinson Morley) เครื่องนี้
ใช้วัดค่า µ ระหว่างหลอด X-Ray และหัวจับ

CT Scan มีหลายระบบในแต่ละยุค เช่น

• ในยุคแรก การฉายรังสีใช้วิธีการเลื่อนหัวจับ (Translate-Rotate acquisition)


• ระบบ Fan beam หรือ Rotate-Rotate สามารถรองรับรังสีบนส่วนโค้งได้มากขึ้น
• Fan beam ที่พื้นที่หัวจับสามารถรับรังสีได้สม่ำเสมอ (Cone-beam acquisition)
• Spiral CT เกิดจาก Slip ring ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า จึงสามารถหมุนรอบวัตถุได้
• Multi Slice คือการแบ่ง Detectors เป็นระยะๆในการสแกน

Magnetic Resonance Imaging (MRI)

เครื่องมือนี้อาศัยคุณสมบัติของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยร่างกายมนุษย์สว่ นใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนอะตอม จึงนำสัญญาณของมันมาใช้สร้างภาพ MRI

• ในธรรมชาติ H จะหมุนแบบสุ่ม จึงมีผลรวมของเวกเตอร์แม่เหล้กเป็น 0 = ไม่มสี ัญญาณ


• ปกติแล้ว แนวโน้มของ Magnetization Vector หรือเวกเตอร์รวมของกลุ่ม
โปรตอนที่เกิดการหมุน จะมีทิศทางตามแกน Z เนื่องจากเกิดการหักล้างใน
แนว Transverse (XY) จากการที่ H แต่ละตัวไม่ได้หมุนในเฟสเดียวกัน
• เมื่อปล่อยสนามแม่เหล็กหลักในแกนๆหนึ่ง ตัว H จะหมุนควงรอบแกนด้วย
ความถี่ Larmor ความถี่นี้ใช้กำหนด Radiofrequency Pulse ที่กระตุ้นให้
เกิดสัญญาณ
• การเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก ทำให้มีสัญญาณแรงขึ้น แต่นั่นไม่ได้
หมายความว่า Receiver Coil (Using Helium Cooled 4 K) จะรับสัญญาณ
ได้ เพราะมันสามารถรับได้แต่การเปลี่ยนแปลงเท่านั้น จึงจะต้องทำให้
Magnetization Vector เปลี่ยนแปลงจากการกระตุ้นโดย RF Pulse
• การกระตุ้นด้วย RF Pulse ทำให้โปรตอนที่หมุนอยู่รอบแกน Z หมุนควงลงมาด้วยความถี่ Larmor และทำให้ Mz ลดลง ใน
ขณะเดียวกัน ตัว Mxy ก็จะเพิ่มขึ้น (เกิดจากการดูดกลืนพลังงาน) การเกิดเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานจน Receiver
Coil สามารถรับสัญญาณได้ โดย Larmor Frequency มีค่าดังสมการ

⃑|
𝑓 = 𝛾|𝐵

o γ คือ Gyromagnetic Ratio ซึ่งค่าคงที่ของ H มีค่า 42.6 MHz/T


o ที่ 1.5 T มี Larmor Frequency = 63.8 MHz เป็นขนาดสนามแม่เหล็กปกติ
ในเครื่อง MR
o สนามแม่เหล็กโลก มีขนาด 0.05 mT หรือ 0.5G
o ขนาดสนามแม่เหล็กที่เหมาะสมต่อมนุษย์คือ 1.5 – 7 T.
o 1 T = 10,000 G

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 9
MEDICAL PHYSICS
3000105

หลังจากหยุดกระตุ้นแล้ว ตัวโปรตอนเองก็จะหาทางคายพลังงานเพื่อให้มาอยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งมีกลไกลอยู่ 2 กลไกได้แก่

T1 Relaxation หรือ Longitudinal Relaxation: กลุ่มของโปรตอนเกิดการถ่ายเทพลังงานแก่ Nuclei อื่นๆ ทำให้ Mz เพิ่มขึ้น


T1 เป็นเวลาที่ Mz คืนตัวที่ 63% ของจุดสุดท้าย: โมเลกุลที่มีความถี่ธรรมชาติใกล้เคียงความถี่ Larmor มาก ก็จะมีโอกาสถ่ายเทพลังงานมาก มัก
เกิดในโมเลกุลขนาดกลาง เช่น Fat

T2 Relaxation หรือ Transverse Relaxation: ในแนว XY ตัว Magnetization Vector จะเริ่มหักล้างกันเอง ทำให้สัญญาณในแนวนี้ลดลง
T2 เป็นเวลาที่ M0 สูญเสียสัญญาณไปจนกระทั่งถึง 37% ของค่าเดิม

ข้อจำกัดของ MRI คือเนื่องจากใช้สนามแม่เหล็กเป็นตัวรบกวนอะตอม ดังนั้นจึงมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ใช้แม่เหล็กหรือไฟฟ้าเป็นแกน เช่นหัวใจ


เทียม เครื่องช่วยฟัง (Cochlear Implants) ที่อุดหลอดเหลือดเหล็ก หรืออาจจะมีผลต่อผู้กลัวที่แคบ (Claustrophobia) อีกทั้งยังมีราคาที่แพง ช้า
*สำหรับ MRI ในการตรวจครรภ์ สามารถทำได้โดยไม่มีผลข้างเคียง แต่นิยมทำหลังตั้งครรภ์ไปแล้วสามเดือน เพื่อความปลอดภัย

** ปัจจุบันมีการทำสัญลักษณ์ MR ติดบนอุปกรณ์เพื่อระบุว่าสิ่งใดปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยในการเข้าห้อง MRI ได้แก่ สีเขียว = Safe, สีเหลือง = Some Condition และสีแดง
= Unsafe

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 10
MEDICAL PHYSICS
3000105

Radiotherapy
รังสีรักษา คือการใช้รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรักษาโรคทั้งที่เป็น Malignant และ Non Malignant Tumor
ผ่านกระบวนการทำให้ DNA เกิด Denaturation ทั้งการได้รับรังสีโดยตรง หรือผ่าน Free Radical โดยปริมาณรังสี
ใช้หน่วยของปริมาณรังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed Dose: D) คือหน่วย เกรย์ (Gy)

กระบวนการในการฉายรังสีรักษา มีดังต่อไปนี้

1. Simulation (การจำลองการรักษา)
เราจะถ่ายภาพ X-Ray 2 มิติ และจำลองด้วยเครื่อง Simulation ซึ่งจะได้ภาพสามมิติ ทั้งนี้เพื่อการหาตำแหน่งของโรคและกำหนด
ขอบเขตของการรักษา

2D (Conventional Simulator)
เครื่องจำลองเครื่องฉายรังสี แต่มีข้อแตกต่างคือเครื่องจำลองนี้ ให้รังสีเอกซ์ในพลังงานต่ำกว่าระดับ kV
เพราะต้องการแค่สร้างภาพเท่านั้น (ของจริงใช้ระดับ MV)

CT เครื่อง CT ที่ใช้ทำ Simulation มีคุณสมบัตืพิเศษเพิ่มเติมคือ


• เตียงที่ให้ผู้ป่วยนอนเป็นพืน้ ราบ (flat tabletop) เพื่อให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่เหมาะสมกับการฉายรังสี
• อุโมงค์กว้างขึน้ เนือ่ งจากมีการใช้วัสดุช่วยในการจัดท่าผู้ป่วยให้อยูน่ ิ่ง (immobilization device)
• มีเลเซอร์ภายนอกกำหนดจุดอ้างอิงเทียบกับศูนย์กลางรังสี
• ระบบจำลองการวางลำรังสี

PET-CT ภาพที่ได้เป็นมาตรฐานในการรักษา (Gold Standard in Hounsfield Unit: HU) มีความแม่นยำสูง มี


ความไวและถูกเมื่อเทียบกับ MRI มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นอิเล็กตรอน และ Compton Effect
จึงนำไปใช้แก้ความแตกต่างการดูดกลืนรังสีของเนื้อเยื่อในร่างกายได้ แต่มีข้อเสียคือ Soft Tissue
Contrast
*4DCT คือ IMRT วิธีหนึ่งที่ใช้ติดตามรอยโรคที่อยู่ในอวัยวะที่เคลื่อนไหวตามการหายใจ
**Hounsfield Number หรือ CT Number ถูกใช้เพื่อบอกค่าคงที่ในการลดลงเชิงเส้นของตัวกลางใดๆ เทียบกับน้ำ ตัวกลางที่
มีค่า CT Number สูง นั่นแปลว่าสามารถดูดกลืนรังสีได้เยอะ (ทำให้ภาพขาวขึ้น) เช่นกระดูกที่มี Window width HU =
+1,000 (Set as 0, 2,000)
MRI เครื่องนี้สามารถให้รายละเอียดและแยกแยะความแตกต่างของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้ดี โดยไม่ต้องใช้รังสี
เหมาะสำหรับการสร้างภาพบริเวณ Soft Tissue เช่น สมอง ศีรษะ ลำคอ ไขสันหลัง อุ้งเชิงกราน
ข้อเสีย คือภาพอาจมีความผิดรูป และไม่ได้ความสัมพันธ์ของความเข้มภาพกับความหนาแน่นอิเล็กตรอน
ภาพจาก MRI จึงไม่เหมาะไปใช้กับการดูการดูดกลืนรังสีต่างๆ จึงใช้ภาพประเภทนี้คู่กับภาพ X-Ray
Computer หรือ CT เรียกว่า Registration

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 11
MEDICAL PHYSICS
3000105

2. Treatment Planning

2D (Conventional) 3D-CRT (Conformal)

เป็นการจำลองการฉายรังสีแบบสามมิติ โดยใช้ MLC


อวัยวะใกล้เคียงอาจได้รับรังสีที่
(Multileaf Collimator) มาปรับรูปทรงและขนาดรังสีใน
แผ่เป็นวงกว้าง และถ้าลำรังสี
แต่ละมุมมองเพื่อครอบคลุมเป้าหมายและลดการฉายสู่
เล็กไป อาจไม่โดนก้อนมะเร็ง
อวัยวะข้างเคียง

IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy) เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจาก 3D-CRT


เป็นการฉายรังสีที่กำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะต่อความหนาบางได้ สามารถให้ความแม่นยำ
มากขึ้น และการกระจายของรังสีสอดคล้องกับรูปทรงของเป้าหมายได้ แต่ใช้เวลาฉายรังสีนาน
ถึง 10-20 นาที อาจเกิดการผิดแผนได้

VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจาก IMRT โดยสามารถปรับอัตราปริมาณรังสี และความเร็วการหมุน


ของเครื่องฉายได้ด้วย ซึ่งในเวลาที่ลดลง สามารถให้ปริมาณรังสีสู่ก้อนมะเร็งได้มากสุด และ
สามารถหลบอวัยวะที่ไม่ต้องการได้มากสุด

SRS/SRT & SBRT (Stereotactic (Body) Radiation Therapy) เป็นการรวมรังสีปริมาณสูงไปยังเป้าหมายโดยอาศัยภาพ X-ray Computer และ/หรือ MRI
เหมาะสำหรับเนื้องอกขนาดเล็กๆ อาณาบริเวณชัดเจน ใช้เวลาสั้น และ Dose เยอะ แต่ไม่
สามารถรักษาเนื้องอกที่อยู๋ในบริเวณที่ไวต่อรังสี เช่น ไขสันหลัง
* SBRT สามารถใช้กับเนื้องอกหรือมะเร็งขนาดเล็กบริเวณทรวงอก ช่องท้อง อุ้งเชิงกราน

3. Verification
เทคนิค IGRT (Image-Guided Radiotherapy) คือการฉายรังสีที่มีการถ่ายภาพรังสีของผู้ป่วย
เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงรูปทรง ขนาดและตำแหน่งหลายๆครั้ง เพื่อนำมาจัดการในการ
ฉายรังสีเพื่อความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเครื่องถ่ายภาพรังสีดังกล่าวมีหลายรูปแบบ เช่น
• Planar kV Radiographs KVCT, kV Cone-beam CT (CBCT)
• MV Fluoroscopy, 2D MV EPID
• Ultrasound, MRI

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 12
MEDICAL PHYSICS
3000105

4. Delivering
วิธีการรักษา แบ่งเป็น 2 หลักใหญ่ๆ
• ระยะไกล (External หรือ Teletherapy) – นิยมใช้เครื่อง Co-60 และ Linear Accelerator Machine (LINAC)
• ระยะใกล้ (Internal หรือ Brachytherapy) - ได้แก่ การใส่แร่ ฝังแร่ หรือการวางแร่
(Permanent = Short HL & Low Energy, I-125, Pd-103 Temporary = Long HL & High Energy, Co-60, Ir-192)

Co-60 Machine

Linear Accelerator Machine (LINAC) A is photon-production mode (X-ray) (Deep) B is electron-production mode (Shallow)

Bragg Peak

Plateau Nuclear fragments in tail

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 13
MEDICAL PHYSICS
3000105

Nuclear Medicine and Radiopharmaceutical


เวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือการนำสารกัมมันตรังสีมาใช้วินิจฉัยหรือรักษาร่างกาย โดยเราอาจตรวจโดยการนำสารเภสัชรังสีเข้าไป เมื่ออยู่ในอวัยวะ
เป้าหมายและปล่อยรังสี จึงนำเครื่องมือไปถ่ายภาพเพื่อวินิจฉัยโรคหรือรักษา *กรุณาอย่าสับสนกับ รังสีวินจิ ฉัย

สารเภสัชรังสีในอุดมคติ มีคุณสมบัติคือ สาเหตุที่ไม่นิยมใช้สารที่ปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาและเบตา เนื่องจาก

• ปลดปล่อยรังสีแกมมาเพียงอย่างเดียว - มี Linear Energy Transfer (LET) สูง หรือพลังงานดูดกลืนในเนื้อเยื่อที่


• เสถียร มีความเป็นพิษต่ำ รังสีผ่านสูง ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีสูง
• พลังงาน มีค่าอยู่ระหว่าง 50 – 500 keV - มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำ ไม่สามารถไปถึงหัววัดรังสี จึงถ่ายภาพไม่ได้
• ครึ่งชีวิตเหมาะสมต่อการเตรียมสารและการติดตามผล

Gamma Camera

Collimator* (มักใช้รูปแบบ Par) Scintillator หรือตัวเปล่งแสง

A is for PEDS/ Thyroid, B is common, C is not common, D is for Fan-beam (brain image)
Scintillator ที่ดีจะต้อง
Collimator มีหน้าที่เหมือนเลนส์นูน คือไว้ใช้ตัดรังสีให้เหลือเพียงเฉพาะที่วิ่งมาอย่าง 1. เป็นวัสดุที่สามารถแปลงพลังงานของรังสีให้กลายเป็นแสงแบบฉับพลัน
ถูกมุม (Prompt) และเกิดการเรืองแสงด้วยเวลาอันสั้น* สามารถลดอาการ
Delay และลดการเกิดปัญหาทางแสงต่างๆ
ปัญหาที่เกิดจากทิศทางการเปล่งของรังสีแกมมา เป็นผลจากสมบัติคลื่น 2. Light-Yield หรือโฟตอนต่อพลังงาน แปรผันตรงกับพลังงานที่ได้รับ
• Spetal Penetrate = ทะลุผ่านแบบผิดมุม = Distortion 3. มีเนื้อวัสดุสม่ำเสมอ, ขึ้นรูปได้ดี และมี Good Optical Quality
ในที่นี้ มักใช้ Thallium-activated sodium iodide crystal: NaI(Tl)
• Coincident = กระเจิง + หักเหจนไปตกถูกมุม = Scatter
*ถ้าหากใช้เวลานาน จะเกิด Dead Time ที่ไม่สามารถวัดสัญญาณโฟตอนตัวถัดๆไปได้
• Scatter ตัว PMTs เป็นกล้อง ขนาด 50 x 40 cm อยู่ 30 – 100 มาเรียงเป็นรูปหกเหลีย่ ม
เป็นกล้องที่ไวต่อสนามแม่เหล็กมาก

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 14
MEDICAL PHYSICS
3000105

เมื่อเราใช้สารเภสัชรังสีเข้าไปในตัวผู้ป่วยแล้ว จึงใช้เครื่องมือถ่ายภาพรังสีถ่าย ได้แก่

SPECT = Single Photon Emission Computed Tomography


ใช้สมบัติของ Photodisintegration ในการตรวจจับรังสีแกมมาในแต่ละแนว แล้วนำมาต่อกัน
ตัวกล้องจะสามารถหมุนได้ และเก็บภาพไปทีละแนว ประมาณ 3-6 องศา ทุกๆ 30 วินาที (Iteration คือการถ่ายภาพซ้ำ เพื่อให้ภาพชัดขึ้น)

PET = Positron Emission Tomography


ใช้วิธีการตรวจวัด Positron ที่ถูกปลดปล่อยแล้วเกิดการชนกระแทกกับอิเล็กตรอนในเนื้อเยื่อ เมื่อเกิด Annihilation เกิดแกมมาโฟตอนสองตัวที่มี
พลังงาน 511 keV เดินทางในทิศทางตรงกันข้ามแบบ 180º ± 0.2º สามารถตรวจพบ Early Stage Cancer ได้

* คู่ True Coincidence ควรจะมีผลต่างของเวลาต่ำกว่า 12 ns จึงจะถูกสร้างเป็นภาพ


ด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องใช้หัววัด หรือ Collimator
**นิยมใช้ FDG (18F, Fluorodeoxyglucose) เป็นสารรังสี

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 15
MEDICAL PHYSICS
3000105

SPECT vs PET

Theragnostic = Therapeutics (การรักษา) + Diagnostics (การตรวจวินิจฉัย) คือการรักษามะเร็งที่สามารถทำการรักษามะเร็งพร้อมกับการ


ตรวจวินิจฉัย คือเมื่อตรวจพบก็สามารถทำลายด้วยยาเคมีบำบัดหรือความร้อนได้ทันที

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 16
MEDICAL PHYSICS
3000105

Medical Application

• Non-Imaging Process ของเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น Gamma Counting (การนับรังสีจากเลือดหรือปัสสาวะ) หรือ Probe


Counting (วัดการจับรังสีของอวัยวะทีส่ นใจ)
• Radiopharmaceuticals (สารเภสัชรังสี) มีส่วนประกอบสำคัญคือ
1. Ligand หรือ Targeting antibody, peptide
นั่นคือตัวเป้าหมายของยา หรือสารเภสัชรังสี
2. Radionuclide หรือนิวไคลด์กัมมันตรังสีของยา
บางครั้งอาจมากับตัว Chelator เพื่อความ
ปลอดภัยในการขนส่ง
3. Linkage หรือตัวเชื่อม เพื่อให้ Radionuclide
สามารถส่งเข้าสู่ Ligand ได้

สารเภสัชรังสีสามารถใช้ได้อย่างเดี่ยวๆ หรือสามารถติด Tag


บนโมเลกุลอินทรีย์มีธาตุที่มี Lone Pair ที่สามารถเกิด
Coordinate Covalent ได้
Alpha (𝛼 or 42𝐻𝑒) 225
𝐴𝑐
Treatment
Beta (𝛽 or −10𝑒) 131
𝐼, 89
𝑆𝑟, 90𝑌
Gamma (𝛾) Planar Image 99𝑚
𝑇𝑐, 111𝐼𝑛, 67𝐺𝑎
SPECT Image
SPECT: Bone scan using 99mTc-MDP Positron (𝛽 + or +10𝑒) PET Image 11
𝐶 , 13𝑁, 15𝑂, 18𝐹
(Methylene diphosphonate)

เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะไปสะสมในกระดูก โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการสร้างกระดูก จึงใช้ในการสแกน SPECT เพื่อตรวจความผิดปกติในกระดูก


บริเวณที่มีการไหลเวียนของเลือดสูง หรือบริเวณที่มีความผิดปกติของกระดูกก็จะเห็นสารนี้เข้มข้นขึ้น

เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการ Infection ที่ไม่สามารถแยกอาการจากการตรวจหรือการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ ก็จะใช้ Three-phase Bone Scan


เพื่อแยกสาเหตุวา่ มาจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ (Cellulitis) หรือการติดเชื้อของกระดูก (Osteomyelitis)

Flow phase Blood Pool Phase Delay Phase


Osteomyelitis + + Focal increased bony uptake
Cellulitis + + Normal

* อาการที่เกิดกับนักวิ่งส่วนมาก คือ Tibial Stress Fracture

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 17
MEDICAL PHYSICS
3000105

SPECT: Bone scan using 99mTc-RBCs


(Multi-Gated Cardiac Blood Pool: MUGA Scan)
อาจเรียกว่า Compartmental Localization เพราะสารนั้นไหลวนอยู่ในระบบหมุนเวียน
โลหิต สามารถตรวจจับความผิดปกติของหัวใจได้ เป็นวิธีที่มีความอันตรายน้อย

PET Scan

อาศัยเซลล์ที่มีการใช้งาน Glucose เยอะ มักพบในเซลล์ที่ติดเชื้อ หรือเกิดการอักเสบ จึง


เลือกใช้สารเภสัชรังสีที่เป็น Analog กัน โดยสารนี้จะถูกกักไว้ ไม่สามารถออกมาจาก
เซลล์ได้ จึงนำมาถ่ายรูป PET Scan

ข้อดี คือการทีถ่ ่ายภาพการเปลีย่ นแปลงของเนื้อเยื่อได้ จึงมีความ Sensitivity สูงสามารถตรวจจับมะเร็งในระยะแรกๆ สามารถถ่ายภาพได้แทบจะ


เต็มตัว มะเร็งที่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ดี คืออวัยวะที่มี Metabolism สูง คือ สมอง กล้ามเนื้อหัวใจ ทางเดินอาหาร (โดยเฉพาะกระเพาะ และ
ลำไส้ใหญ่) ต่อมไทมัส ไขกระดูด ม้าม อัณฑะ เต้านมในช่วงให้นมบุตร ส่วนข้อเสีย คืออาจไม่สามารถตรวจมะเร็งในระยะเริ่มเกิด หรือแพร่กระจาย

Image Error

• False Positive = ไม่มีก้อนมะเร็ง แต่ผลตรวจกลับมี


มักพบในเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบติดเชือ้ หรือ Benign Tumor
• False Negative = มีก้อนมะเร็ง แต่ผลตรวจกลับไม่มี
มักพบในเซลล์มะเร็งระยะเริ่มแรก หรือเนื้อเยื่อเมือก เนื้องอกใน
ระบบประสาท หรือ Tumor ที่มี High FDG Uptake เช่น สมอง
ตับ ไต

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 18
MEDICAL PHYSICS
3000105

I-131 / Hyperthyroidism, Grave’s disease, Toxic Adenoma, Toxic Goiter, Thyroid Cancer
Passing on thyroid, salivary glands and gastric mucosa

Ga-68 PSMA Diagnostic / Lu-177 PSMA positive target Therapy


PSMA (Prostate Specific Membrane Antigen) มีหน้าที่จับกับ PSMA Targeting Ligand ที่มี Radionuclide อยู่เพื่อทำการรักษามะเร็ง

Alpha Emitter เช่น Ac-225 เนื่องจากอนุภาคแอลฟามี Linear Energy Transfer (LET) หรือพลังงานที่คายออกมาสูงกว่า จึงคาดว่าน่าจะรักษา
ได้ผลที่ดีกว่าอนุภาคเบตา

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 19
MEDICAL PHYSICS
3000105

Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation


LASER

เลเซอร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีลักษณะสำคัญคือ

• มีความยาวคลื่นในย่านรังสีอินฟราเรด มีความยาวคลื่นเดียว (จึงมีสีเดียว)


• เลเซอร์เป็นลำแสงอาพันธ์ คือมีคลื่นสม่ำเสมอ มีเฟสเดียวกัน มีทิศทางแน่นอน
• เป็นรังสีรังสีไม่ก่อประจุ (Non-ionizing Radiation) – มีพลังงานต่ำกว่าที่จะทำลายพันธะ แต่สามารถเกิดการสั่นของอะตอมได้
(Low Energy/Quantum = Photon Energy < 10eV)
• เป็นรังสีพลังงานสูง มีความเข้มสูง และมีขนาดของลำแสงแคบมาก ตัดวัตถุแข็งมากได้ ไม่กระจาย สามารถรวมให้สอ่ งมายังจุดเดียวได้

ความเป็นสีเดียว (Monochromaticity) สังเกตได้จากการนำแสงไปผ่านปริซึม โดยปกติแสงจะผ่านและเห็นเป็นแถบสีเรียงกัน แต่เมื่อผ่านเลเซอร์


เข้าไปจะเห็นเพียงแค่เส้นเดียว ความยาวคลื่นเดียว มีขนาดความกว้างของลำแสงที่แคบมาก

การค้นพบเลเซอร์

• ตอนแรก คณะมหาวิทยาลัยโคลัมเบียสร้าง MASER (เหมือนเลเซอร์นั่นแหละ ไม่ใช่ Light แต่เป็น Microwave)


• ต่อมา Schawlow และ Townes ระบุว่าหลักการของ MASER สามารถผลิต Optical Maser (LASER)
• Theodore Maiman สร้างเลเซอร์เครื่องแรก ที่เป็น Ruby Laser ให้แสงสีแดงเป็นช่วงๆ ความยาวคลื่น 694.3 nm เรียกว่า Pulsed
Laser

องค์ประกอบของเครื่องกำเนิดเลเซอร์ ได้แก่

• ตัวกลางเลเซอร์ (Medium) เป็นตัวที่ถูกกระตุ้นแล้วเปล่งแสงเลเซอร์


ออกมา
• Optical Resonator เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการปล่อยแสงแบบถูกกระตุ้น
ซ้ำๆ จนถึงจุด Lasing ประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นวางหันหน้าเข้าหา
กัน ตรงกลางมีตัวกลางเลเซอร์วางอยู่
• แหล่งกำเนิดพลังงาน เป็นตัวกระตุ้นอะตอมให้อยู่ในสถานะ Inversion

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 20
MEDICAL PHYSICS
3000105

การเกิดแสงเลเซอร์ มีกลไกหลักคือการแปล่งแสงออกมา (Emission) โดย

• การเกิดได้เอง (Spontaneous Emission) เกิดจากการดูดกลืนแสง หรือโฟตอนแสงโดยธรรมชาติ


• การถูกกระตุ้น (Stimulated Emission) เกิดจากการถูกกระตุ้นโดยพลังงาน
ภายนอก เช่น โฟตอนแสงที่มีพลังงานเท่ากับ Ei – Ef พอดี จะทำให้อะตอมที่อยู่
ในระดับชั้นพลังงาน Ei ถูกกระตุ้นลงมายังชั้น Ef และคายพลังงานออกมาเท่ากับ
Ei – Ef และโฟตอนแสงไม่ถูกดูดกลืน ทำให้จำนวนโฟตอนเพิ่มขึ้นเป็นสอง
อนุภาค
* โฟตอนที่สองนี้ มีความถี่ พลังงาน เฟส โพลาไรเซชัน ทิศทางเดียวกัน เรียกว่าเป็นการขยาย
สัญญาณ (Amplification)

ด้วยเหตุนี้ การเกิดเลเซอร์จึงเกิดจากระบบ Stimulated Emission

ชนิดของเลเซอร์ แบ่งตามลักษณะของตัวกลางเลเซอร์ได้ดังนี้

• Solid State Lasers เช่น Nd:YAG, Ruby Laser, Ti:Sapphire Laser


• Liquid (Dye) Lasers เช่น Rhodamin 6G Laser
• Gas Lasers เช่น CO2, Argon Laser, Xenon Laser, He-Ne Laser
• Semiconductor Lasers เช่น Diode Laser, GaAlAs Laser, GaN Laser
• Free Electron Lasers เช่น Synchrotron Light or Radiation Beamline
• X-Ray Lasers
• Chemical Lasers เช่น Oxygen Iodine Laser, All gas-phase Iodine Laser, Hydrogen Fluoride Laser.
*ใช้ Optical Pumping Source *ใช้ Chemical Pumping Source *ใช้ Electrical Pumping Source

ระดับ (Class) ของเลเซอร์ แบ่งตามความอันตราย หรือความเข้มข้น และกำลังของเลเซอร์ ดังนี้


1 มีความเข้มข้นหรือมีกำลังน้อยมาก
มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อตา ผิวหนัง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
1M มีกำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 ปกติ แต่ลำแสงเป็น Diffuse คือขยายได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ
(Magnifier)
2 มีกำลังต่ำและมีความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นได้ มีกำลังไม่เกิน 1 mW เป็นเลซอร์ชนิดต่อเนื่องเท่านั้น
มีความเร็วมาก ประมาณ 0.25 วินาที ถ้าเข้าตาควรรีบหลับตาทันที มักใช้ในการทดลองในห้องเรียน
2M มีกำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 2 ปกติ แต่ลำแสงเป็น Diffuse คือขยายได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ
3R มีความยาวคลื่นในย่านทั้งที่ตามองเห็น กำลัง 1 – 5 mW และมองไม่เห็น กำลังระหว่าง 1-5เท่าของ Class 1
(Restricted) ควรหลีกเลี่ยงการมองเข้าไปในลำแสงของเลเซอร์ชนิดนี้ หรือแสงที่เกิดจากการสะท้อนของพลาสติก
3B มีความยาวคลื่นในย่านทั้งที่ตามองเห็น กำลัง 5 – 500 mW และมองไม่เห็น กำลังต่ำกว่า 500 mW แต่มากกว่า
5 เท่าของ Class 1 เป็นเลเซอร์กำลังปานกลาง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและสายตาได้ พบได้ในห้องทดลอง
วิจัยทัว่ ๆไป ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน
4 มีกำลังสูงมาก ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา และผิวหนังได้ ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด
เช่น Argon Laser กำลังสูง หรือ Nd:YAG Pulse Laser

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 21
MEDICAL PHYSICS
3000105

ลักษณะของเลเซอร์ที่เปล่งออกมา มี 3 แบบได้แก่

1. แบบต่อเนื่อง (Continuous)
2. แบบเป็นจังหวะ (Pulse)
3. แบบ Q-spoiled คือการยิงเลเซอร์ความเข้มและความหนาแน่นสูง
ในช่วงระยะเวลาที่สั้นมาก

ความอันตรายของเลเซอร์

• ระยะเวลาของเลเซอร์ในช่วงสีต่างๆ ในการฆ่าเชื้อโรคจากน้อยไปมาก
= Clear < Blue < Red < Green
• เลนส์แก้วตา เป็นส่วนที่รวมแสงให้โฟกัสบนเรตินา (ส่วนที่ดูดกลืนแสงคือ Pigmented Epithelium of
Retina) การที่แสงเลเซอร์เข้มข้นมากพอเข้าสู่ตา อาจทำให้ตาบอดได้ ขึ้นอยูก่ ับความยาวคลื่น และการ
ดูดกลืนพลังงานของเนื้อเยื่อนัยน์ตาด้วย (ถ้าย่านไหนที่มีการดูดกลืนมาก จะยิ่งเป็นอันตรายมาก)
• เลเซอร์ที่มีความเข้มมากพอ อาจตัดหรือทะลุผิวหนังจนเกิดแผลได้ ขึ้นอยู่กบั ความยาวคลื่น และระยะเวลาใน
การรับเลเซอร์ (การได้รับแสงช่วง UV อาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์ จนเกิดมะเร็งได้)
• Maximum Permissible Exposure (MPE) คือระดับความเข้มแสง (W/cm2) หรือความเข้มข้นของพลังงาน
(J/cm2) สูงสุดที่ไม่ก่ออันตรายต่อกระจกตา หรือผิวหนัง ในความยาวคลื่นแสงและระยะเวลาหนึ่ง เป็นค่าที่
กำหนดโดย ICNIRP เป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (ACGIH, ANSI)
• ความเข้มของแสงที่ OSHA กำหนดไว้
o 1 µW/cm2 for direct observe
o 1 mW/cm2 for incidental observe
o 2.5 W/cm2 for diffuse reflected light
• Radiant Exposure (E) = Energy/Area (Q/A) และเมื่อผันสมการจะได้
Inverse Square Law
• แว่นกันแสง มีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงตามความทึบแสง (Optical
Density) โดยที่
𝐸
𝑂𝑝𝑖𝑡𝑐𝑎𝑙 𝐷𝑒𝑛𝑠𝑖𝑡𝑦 = log ( )
𝑀𝑃𝐸

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 22
MEDICAL PHYSICS
3000105

Medical Application

• ปัจจุบันในวงการการแพทย์มกี ารใช้เลเซอร์เพื่อการผ่าตัด และการผ่าตัดขนาดเล็กเป็นวงกว้าง มีผลข้างเคียงน้อย


• ข้อเสียของเลเซอร์ ได้แก่
o เกิด Laser Plume หรือควันจากความร้อน อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ เช่น
Bronchitis, Emphysema
o แสงอาจพลาดเป้าไปโดนอวัยวะข้างเคียง
o โมเลกุลแก๊สที่เกิดขึ้นจากความร้อน อาจเป็นพิษได้ มักเกิดในการผ่าตัดส่องกล้อง
(Laparoscopic หรือ Hysteroscopic Laser Surgery)
o พลังงานบางส่วนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณอื่น เช่นผิวหนัง หรือดวงตาได้
o อาจก่อให้เกิดการระเบิด เกิดการติดไฟได้เมื่อเลเซอร์สัมผัสกับวัตถุพวกพลาสติก หรือยาง
• Rhegmatogenous Retinal Detachment (RRD) หรือจอตาลอกชนิดมีรอยฉีกขาด สามารถใช้เลเซอร์
ยิงไปที่จอตาเพื่อป้องกันการหลุดลอกเป็นวงกว้าง
• LASIK หรือ Laser In Situ Keratomileusis คือการใช้เลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา (Cornea)
เพื่อรักษาสายตา โดยใช้เครื่อง Microkeratome แยกชั้นกระจกตา แล้วใช้ Excimer Laser ทำการปรับ
ความโค้ง
• Coagulation คือการทำให้เกิดการแข็งตัวของเนื้อเยื่อ เกิดจากความร้อนของเลเซอร์ไปทำให้
Denaturation เกิดขึ้น โดยมากมักให้ความร้อนผ่านเลเซอร์ประมาณ 50 – 100 ºC
o Argon Laser ใช้ทำ Photocoagulation เพื่อรักษาหลอดเลือดบริเวณเรตินา หรือรักษาเบาหวานขึ้นตา
o Photovaporization คือ การทำเลเซอร์ระเหย เพื่อให้เนื้อเยือ่ ส่วนที่โดนเกิดการระเหยไป มักใช้ในการลอกผิว หรือการ
บำบัดผิวหนัง (Rejuvenation = Makes Younger)
o Photochemical Ablation คือการใช้เลเซอร์ในย่าน UV เพื่อทำลายสารเคมี หรือพันธะเคมมีของสาร
o Selective Absorption คือการใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นเดียว (สีเดียว) ในการยิงเนื้อเยื่อหรือสารเพื่อให้จำเพาะต่อกัน เช่น
Oxyhemoglobin = UV, Blue, Green light, Melanin = Visible & Near IR light, Water = UV light < 300 nm
and IR > 1,300 nm
• Dermatology Application
o Vascular Lesions = Oxygenated Hemoglobin, absorbs visible light at 418, 542, 577 nm
o Argon CW Laser มักก่อความร้อนสูง และทำให้เกิดรอยแผลเป็น จึงเลือกใช้ Yellow Quasi-CW หรือ Pulse แทน
o ปัจจุบันมักใช้ Dye Laser ในการรักษา Vascular Lesions มากที่สุด (อาจเกิดรอยช้ำหลังทำการยิงเลเซอร์)
o Actinic Keratosis หรือโรคก่อนมะเร็งผิวหนัง อาจใช้ Pulse CO2 Laser ในการรักษา นอกจากนีย้ ังใช้ในการรักษารอยย่น
บนใบหน้า ผิวหนังที่ถูกแดดเผา Keloids, แผลเป็นนูน หรือใช้ในการลอกผิว (อาจใช้ Er:YAG Laser ก็ได้)
o สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย อาจใช้ Violet-blue Metal Halide Light ในการรักษา
o โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) อาจใช้ Excimer Laser ที่ใช้แก๊สเฉื่อย หรือแฮโลเจนในการเกิดเลเซอร์ในย่าน UV
o การลบรอยสัก ปาน อาจใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นสั้นในรอยระดับตื้น และยาวในระดับลึก
o การเลเซอร์กำจัดขน อาจใช้ Long-pulsed Ruby หรือ Alexandrite Laser, Nd:Yag Laser
o Low Level Laser Therapy คือการใช้เลเซอร์พลังงานอ่อนยิงเข้าไปในเซลล์ เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของ Mitochondria
(กระตุ้น Flavoprotein, Cytochrome a/a3) มักใช้ในการเร่งการสร้างคอลลาเจน
• เราอาจใช้ Nd:Yag Laser ในการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บได้
• เราอาจใช้เลเซอร์เพื่อการสลายไขมัน (Lipolysis) โดยการกระตุ้นให้เซลล์ไขมันแตกตัวได้

BY # M A R K N E W M A N

TU.80 ART-MATHS / MDCU76 NEODOD24 BB


FOR STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY
PAGE 23

You might also like