You are on page 1of 24

ไฟฟ้า ( Electric)

PART 3

Aj. PANNIDA MEELA


DEPARTMENT OF SCIENCE, DEMONSTRATION SCHOOL
OF RAMKHAMHAENG UNIVERSITY
ความสัมพันธ์ของความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า
และความต้านทาน

กฎของโอห์ม
โอห์ม เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองศึกษาความต้านทานไฟฟ้าของลวด
ตัวนําหลายๆ ชนิด และตั้งเป็นกฎของโอห์ม โดยกล่าวไว้ว่า “เมื่อ
อุณหภูมิของตัวนําคงที่ อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าที่
ปลายทั้งสองของตัวนําต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าในตัวนําจะ
คงที่ และเท่ากับความต้านทานของตัวนํานั้น”
จากกฎของโอห์มเขียนความสัมพันธ์ของ V, I และ R ได้ดังนี้

เมื่อ I แทนกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)


V แทนความต่างศักย์ มีหน่วยเป็นโวลต์ (V)
R แทนความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) ซึ่งเป็นค่าคงที่
ความสัมพันธ์ของ V, I และ R จากกฎของโอห์ม
ตัวอย่าง 1 ไฟท้ายของรถยนต์เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ขนาด 12
โวลต์ ถ้ากระแสไฟฟ้ามีค่า 0.5 แอมแปร์ ความต้านทานของไฟท้าย
รถยนต์มีค่าเท่าไร
ตัวอย่างที่ 2 ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่มีความต้านทาน
10 โอห์ม มีขนาด 12 แอมแปร์ จงหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า
แบบฝึกหัด
1.หลอดไฟหลอดหนึ่งต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 220 โวลต์
มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 5 แอมแปร์ ไส้หลอดไฟฟ้าจะมีความ
ต้านทานไฟฟ้าเท่าใด
2.ตัวต้านทาน 800 โอห์ม มีกระแสไฟฟ้าผ่าน 0.02
แอมแปร์ ปลายทั้งสองของตัวต้านทานนี้ต่อกับความต่าง
ศักย์ไฟฟ้าเท่าใด
3.หลอดไฟมีความต่างศักย์ระหว่างขั้ว 110 โวลต์ ไส้หลอดมี
ความต้านทาน 55 โอห์ม จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านกี่แอมแปร์
แบบฝึกหัด
4. ลวดตัวนําเส้นหนึ่งมีความต้านทาน 10 โอห์ม ถ้าความต่างศักย์
ระหว่างปลายทั้งสองของลวดตัวนํานี้มีค่า 50 โวลต์ กระแสไฟฟ้า
ที่ไหลผ่านลวดตัวนํานี้มีค่ากี่แอมแปร์
5. ลวดตัวนําเส้นหนึ่งมีความต้านทาน 6 โอห์ม มีกระแสไฟฟ้าไหล
ผ่าน 0.25 แอมแปร์ ความต่างศักย์ระหว่างปลายทั้งสองของลวด
ตัวนําเป็นเท่าใด
ความสัมพันธ์ของแรงเคลื่อนไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน
กฎของโอห์ม

กําหนดให้ … R = ความต้านทานที่ต่อกับเซลล์ไฟฟ้า…(โอห์ม)
r = ความต้านทานภายในของเซลล์ไฟฟ้า…(โอห์ม)
E = แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า…(โวลต์)
VR = ความต่างศักย์ไฟฟ้าภายนอกเซลล์…(โวลต์)
Vr = ความต่างศักย์ภายในเซลล์…(โวลต์)
I = กระแสไฟฟ้าในวงจร…(แอมแปร์)
ความสัมพันธ์ของแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน

กฎของโอห์ม
จะได้ว่า …
E = VR + Vr (เมื่อ V = IR)
E = IR + Ir
E = I(R + r)
ดังนั้น … ถ้ามีเซลล์ไฟฟ้า (E) หลายเซลล์ มีตัวต้านทานหลายตัว เขียนสมการได้ดังนี้ …

เมื่อ …
∑E = แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม
∑ R r = ความต้านทานภายนอกและภายในรวม
I = กระแสไฟฟ้าในวงจร
การต่อตัวต้านทาน
การต่อความต้านทานในวงจรไฟฟ้ามี 3 แบบคือ
1. การต่อแบบอนุกรม
เป็นการต่อเรียงเป็นเส้นเดียวกัน วงจรเป็นดังนี้

ลักษณะสําคัญ

• ความต้านทานรวม หาได้จาก Rรวม = R1 + R2 + R3 + .... + Rn


• กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน Iรวม = I1 =I2 = I3 =…. In
•ความต่างศักย์รวมเท่ากับผลรวมของความต่างศักย์ย่อย Vรวม = V1 + V2 + V3 + ....+ Vn

จากกฎของโอห์ม V = IR จะเท่ากับ Vรวม = IR1 + IR2 + IR3 + .... + IRn

•ถ้าสายไฟที่ต่อตัวต้านทานตัวใดตัวหนึ่งขาด จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
ตัวอย่างที่ 1 ตัวต้านทาน 3 ตัว มีค่า
เท่ากับ 100  , 220 , และ 330 
ตามลําดับดังภาพ จงหาค่าความ
ต้านทานรวมของวงจร

ตัวอย่างที่ 2 ตัวต้านทาน 5 ตัว มีค่าเท่ากับ


240  , 300 , 50  , 120  , และ
470  ตามลําดับดังภาพ จงหาค่าความ
ต้านทานรวมของวงจร
2.การต่อแบบขนาน
เป็นการต่อแบบคร่อม วงจรไฟฟ้าเป็นดังนี้

ลักษณะสําคัญ
• ความต้านทานรวมภายในวงจร หาได้จาก

• กระแสไฟฟ้ารวมจะเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว
Iรวม = I1 + I2 + I3 + .... + In

• ความต่างศักย์รวมเท่ากับความต่างศักย์ย่อย Vรวม = V1 = V2 = V3 = .... =Vn

จากกฎของโอห์ม V = IR จะเท่ากับ Vรวม = I1R1 = I2R2 = I3R3 = .... = InRn

ถ้าสายไฟที่ต่อตัวต้านทานตัวใดตัวหนึ่งขาดก็ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจรต่อไปนี้
3.การต่อแบบผสม เป็นการต่อแบบอนุกรมและแบบ
ขนานอยู่ในวงจรไฟฟ้าเดียวกัน ต้องแยกคิดทีละแบบ ไม่มีสูตร
คํานวณเฉพาะ
ตัวอย่างที่ 4 จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจรต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 5 จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจรต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 6 จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจรต่อไปนี้
การต่อเซลล์ไฟฟ้า
ทบทวน
ก่อนนะจ๊ะ
เซลล์ไฟฟ้า ทําหน้าที่เป็นแหล่งกําเนิดไฟฟ้า จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่
วงจรไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้ากระแสตรงจะทําให้เกิดการไหลของกระแสในวงจรทิศทางเดียว
เซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์ จะประกอบด้วยค่าแรงเคลือ่ นไฟฟ้า (E) และ
ความต้านทานภายในเซลล์ (r) โดยที่ขีดยาว หมายถึง ขั้วบวก และขีดสั้น หมายถึง
ขั้วลบของเซลล์

รูปสัญลักษณ์ของเซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์
การต่อเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์

การต่อเซลล์ไฟฟ้า หมายถึง การนํา


เซลล์ไฟฟ้ามาต่อเข้าด้วยกัน (โดยปกติเซลล์ไฟฟ้า
เช่น ถ่านไฟฉายจะมีค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 V) ซึ่งมี
3 วิธีดังนี้
1. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม เรียกการต่อ
เซลล์ไฟฟ้าแบบ“ซีรี่ส์” (Series) คือการนําเอา
เซลล์ไฟฟ้ามาต่อเรียงกัน โดยนําขั้วของเซลล์ไฟฟ้าที่
มีขั้วต่างกันมาต่อเข้าด้วยกัน
การต่อเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์

2. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน
คือ การนําเอาขั้วของเซลล์ไฟฟ้าแต่ละ
เซลล์ทเี่ หมือนกันมาต่อเข้าด้วยกันโดยนําขั้วบวก
ของแต่ละเซลล์รวมกัน และนําขั้วลบของเซลล์
รวมกันอีกด้านหนึ่ง แล้วนําเอาขั้วของเซลล์ทตี่ ่อ
ขนานไปใช้งาน
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบ
ขนาน (Parallel cell) เซลล์ไฟฟ้าแต่ละเซลล์ต้องมี
ค่าแรงเคลือ่ นไฟฟ้า (Voltage) และความต้านทาน
ภายในเซลล์ไฟฟ้าแต่ละเซลล์เท่ากัน
การต่อเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์

3. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบผสม
เซลล์ไฟฟ้าแต่ละเซลล์ทจี่ ะนํามาต่อ
จะต้องมี แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ
ความต้านทานภายในเซลล์เท่ากันทุกตัว การต่อ
เซลล์ไฟฟ้าแบบผสมจะมีการต่อแบบอนุกรม และ
ขนาน จากรูป เป็นการต่ออนุกรมแถวละ x และต่อ
ขนานกันจํานวน y แถว

You might also like